บทที่ ๒ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ

บทที่-๒

รัฐไทย สมัย มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ

จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระพุทธเจ้า

        เนื่องจากความเชื่อของคนไทยในเรื่องราวการเวียนว่ายตายเกิด ของ พระราม ตามที่กล่าวมาแล้วในบทที่แล้ว สรุปว่า ในภพชาติที่ พระรามจันทร์ ได้ อวตาลมาเป็น พระกฤษณะ นั้น หลังจาก พระกฤษณะ มีพลังมหัสจรรย์เหนือธรรมชาติ และทำการกอบกู้บ้ายเมืองกลับคืนให้กับท้าววสุ พระราชบิดาแล้วนั้น พระกฤษณะ ได้เสด็จจากอินเดีย มายังไปหลายท้องที่ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

        ต่อมา พระเจ้าสุมิตร(หารคำ) พระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้สร้างรอยพระบาทจำลอง ของ พระกฤษณะ ไว้เป็นที่ระลึก ตามพื้นที่สำคัญซึ่ง พระกฤษณะ เคยเสด็จไปประทับ คือ พื้นที่พระบาทที่ ๑ คือ บริเวณ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน พื้นที่พระบาทที่ ๒ อยู่ที่ คลองราชคฤห์ คือ คลองหิต ท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน พระบาทที่ ๓ ของ พระกฤษณะ นั้น พระเจ้าสุมิตร ได้สร้างไว้ บริเวณภูเขาพนมเบญจา(ภูเขาพนมสายรุ้ง) ในท้องที่ อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน พระบาทที่ ๔ ของ พระกฤษณะ สร้างไว้ที่เกาะศรีลังกา พระเจ้าสุมิตร สร้างไว้เดิม เป็นรอยพระบาทฝ่ายขวา แต่เมื่อส่งไปมอบให้สมัยต่อมา กษัตริย์ แห่ง ประเทศศรีลังกา ไม่พอพระทัย และขอมาใหม่ให้ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ให้จัดสร้างเป็น พระบาทฝ่ายซ้าย ของ พระพุทธเจ้า แทนที่

        ต่อมาเมื่อ พระกฤษณะ ได้ อวตาล มาเป็น พระพุทธเจ้า พระองค์ได้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง โดยได้มาประทับอยู่ที่ยอดภูเขา และได้เสด็จมาถึงหน้าถ้ำ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติอ้ายไต ในเวลาต่อมา ซึ่งเรียกว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ(ไชยา) จึงมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ พระกฤษณะ และ พระพุทธเจ้า สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเช่นกัน

ยังมีคำสวดมนต์ อีกบทหนึ่ง กล่าวว่า เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็นผู้รจนาขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๒๑๗ เพื่อใช้ในการบวงสรวงเซ่นไหว้พระพุทธบาท ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน กล่าวกันว่า ครั้งแรกเป็นการใช้ในการทำพิธีกรรม มหาไชยาบรมราชาภิเษก ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิตร และ จักรพรรดิพ่อศรีชัยนาท ในสมัยกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม ต่อมา ทุกๆ ปี เมื่อถึงวันสงกรานต์ ก็จะต้อง ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ ทุกวันสงกรานต์ เป็นไปตามพิธีกรรม ตามศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์ ทั้งนี้เพื่อบวงสรวงรอยพระบาทพระพุทธองค์ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ก่อนที่จะมีการสวดมนต์ตามคำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์ หลังจากนั้นจึงจะเป็นพิธีกรรม ของพระสงฆ์ จนกลายเป็นประเพณี ซึ่งสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คำกลอนบวงสรวงดังกล่าว มีเนื้อหากล่าวถึง ๒ ภพชาติของพระพุทธเจ้า คือภพชาติที่ประสูติมาเป็น พระกฤษณะ และภพชาติที่ประสูติมาเป็น พระพุทธเจ้า คำบวงสรวงบางตอน ว่าไว้ ดังนี้§-13

         "...พระบาทที่หนึ่ง เขาล้อมขอบเขต(ภูเขานางเอ) เป็นเทศที่หนึ่ง พระบาทที่สอง อยู่คลองราชคฤห์ (คลองหิต-คันธุลี) พระบาทที่สาม อยู่เหนือศิลา บนแผ่นภูผา ศิลาภูเขา(ภูเขาพนมเบญจา กระบี่) พระบาทที่สี่ เมืองลังเขาตั้ง พระบาทฝ่ายขวา อยู่เมืองลังกา เป็นที่พึ่งรักษา แก่สาธุชน พระบาทพระองค์ เมื่อส่งไปไว้ กลับ โปรดมาใหม่ ขอเป็นฝ่ายซ้าย จะตั้งเรียงราย เป็นเขตแผ่นผา พระพุทธองค์ เขาลงมาใหม่ มาถึงแดนไกลของผาที่ต่ำ มาถึงหน้าถ้ำ ของคูหาใหญ่(หน้าถ้ำ ภูเขาสุวรรณคีรี ไชยา)..."

        คำกลอนการบวงสรวงเซ่นไหว้รอยพระบาทพระพุทธองค์ และการบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณบูรพกษัตริย์ สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ตามพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาพุทธ ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมา มีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นว่า พระกฤษณะ ได้อวตาล มาในภพชาติใหม่เป็น พระพุทธเจ้า และในภพชาติของ พระพุทธเจ้า นั้น พระองค์ได้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

 

การเข้ามาของพระพุทธศาสนา ยังดินแดนสุวรรณภูมิ

        เรื่องราวการเสด็จของพระพุทธองค์มายังดินแดนสุวรรณภูมิ มิใช่เพียงแค่เพียงตำนานอุรงคธาตุ เท่านั้น ยังมีเรื่องราวซึ่งเป็นคำสวดมนต์ชั้นสูงเพื่อบวงสรวงเซ่นไหว้บูชา พระพุทธองค์ เช่น "คำสวดมนต์ลายลักษณ์พระพุทธองค์" ซึ่งถือว่าเป็นคำสวดมนต์ชั้นสูงของพวกราชวงศ์กษัตริย์ไทย ต้องปฏิบัติทุกๆ วัน ในสมัยโบราณ

จากการรวบรวมเอกสารโบราณเกี่ยวกับความเป็นมาทางพระพุทธศาสนา ของ พระปัญญาสามีเถระ ซึ่งเขียนขึ้นเป็นภาษาบาลี เสร็จเมื่อวันเพ็ญ เดือนอ้าย พ.ศ.๒๔๐๕ ชื่อ หนังสือศาสนาวงศ์ จากหนังสือ ศาสนาวงศ์ หรือ ประวัติพระพุทธศาสนา กล่าวว่า ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพาน ๓๕ ปี ได้มี พระภิกษุ ๒ องค์ เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ประมาณ ๗ สัปดาห์ คือ พระตปุสสะ และ พระภัลลิกะ

การศึกษาของ พระราชกวี(อ่ำ) ซึ่งเป็นผู้ค้นคว้าการเข้ามาของพระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกผู้หนึ่ง กล่าวว่า ชนชาวไตคนแรก ที่บวชเป็นพระภิกษุองค์แรกมีนามว่า พระปุณณเถระ§-11 ได้บวชเรียนอยู่ ๓ พรรษา ต่อมาได้นิมนต์พระพุทธองค์ให้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ พระพุทธเจ้า จึงได้เสด็จมาประทับ ณ กรุงราชคฤห์(โพธาราม ราชบุรี)

        หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ คนไทยผู้สูงอายุในท้องที่ภาคใต้ มีความเชื่อถึงการเข้ามาของพระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ สองกลุ่ม กลุ่มแรก เชื่อว่า พระพุทธศาสนา เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กลุ่มที่สอง เชื่อว่า พระพุทธศาสนา ได้เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระพุทธเจ้า นั่นเอง เพราะหลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย โดยมีพระภิกษุ จำนวนหนึ่ง ได้มาตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) แคว้นคลองหิต โดยมิได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ผู้ปกครอง ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ภูเขาภิกษุ คือ ภูเขาชวาลา ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

 

พระพุทธเจ้า เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ

หลักฐาน ตำนานอุรังคธาตุ§-10 ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้า เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ บางตอนมีเนื้อหากล่าวถึงการเสด็จของพระพุทธเจ้า โดยสรุป ว่า

"...ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพาน พระองค์ได้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับ พระมหากัสสปะ และ พระอานนท์ โดยเดินทางจาก แคว้นราชคฤห์(โพธาราม ราชบุรี) ไปประทับอยู่ที่ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ(เวียงจันทร์) พระองค์ได้ตรัสพยากรณ์เรื่องราวของบ้านเมืองของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไว้สองระยะ ระยะแรก ในสมัยของราชวงศ์พระเจ้าอโศกมหาราช ของอินเดีย จะมีการสร้าง เมืองเวียงจันทร์ ขึ้น ณ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ และพระอรหันต์ จะนำพระบรมธาตุของพระองค์ มาเก็บรักษาไว้ ณ เมืองเวียงจันทร์ รวมทั้งจะมีการสร้าง เมืองดอยนันทกังรี(ลานช้าง) ขึ้นด้วย

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปตามสถานที่ต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขง เข้าสู่ แคว้นศรีโคตรบูรณ์ และพำนักที่ ดอยกัปปนคีรี(ภูกำพร้า) พร้อมกันนั้น พระองค์ตรัสแก่พระอานนท์ ได้ทำนายว่า ในอนาคต พระยาโคตรบูรณ์ จะเกิดมาที่เมืองร้อยเอ็ด ชาติหนึ่ง แล้วเกิดเป็น พระยาสุมิตตธรรม ณ เมืองมรุกนคร อีกชาติหนึ่ง แล้วจะนำพระอุรังคธาตุ ไว้ที่ ภูกำพร้า(นครพนม) จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปยัง เมืองหนองหานหลวง(สกุลนคร) ได้เทศนาให้พญาสุวรรณภิงคาร ฟัง พร้อมประทับรอยพระบาทไว้ แล้วเสด็จกลับไปยัง นครราชคฤห์(โพธาราม) รับสั่งพระมหากัสสปะ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จนิพพาน ให้นำเอาพระอุรังคธาตุ มาไว้ที่ ภูกำพร้า(นครพนม) เหตุการณ์หลังจากนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับไปยัง ภูกูเวียน อีกครั้งหนึ่ง แล้วพระพุทธเจ้า ก็เสด็จกลับ พร้อมกับได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ ดอยนันทกังรี(แคว้นลานช้าง) ก่อนเสด็จกลับอินเดีย..."

        ตามเนื้อหาบันทึกของตำนานอุรังคธาตุ แสดงให้เห็นว่า เส้นทางเดินทางของพระพุทธเจ้า พระมหากัสสปะ พร้อมกับ พระอานนท์ ได้เคยเสด็จมาโดยทางเรือ จากอินเดีย มาสู่ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ โดยเสด็จมาประทับ ณ เมืองราชคฤห์(โพธาราม ราชบุรี) ต่อมาพระองค์ พร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เล่นเรือจาก แคว้นราชคฤห์(โพธาราม ราชบุรี) ไปยังอ่าวลึก ระหว่างคาบสมุทรจามปา กับคาบสมุทรเขมร ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้น มีอ่าวลึกเข้าไปตามเส้นทางแม่น้ำโขง ไปผ่านเมืองสุวรรณเขต พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ คือ เมืองเวียงจันทร์ ในปัจจุบัน แล้วเสด็จย้อนกลับ ไปตามลำน้ำโขง ไปยัง แคว้นศรีโคตรบูรณ์(นครพนม) โดยได้ไปประทับอยู่ที่ ภูกำพร้า แล้วเสด็จกลับทางบก ไปยัง เมืองหนองหานหลวง(สกุลนคร) แล้วเสด็จทางเรือกลับไปยังกรุงราชคฤห์(โพธาราม ราชบุรี) ซึ่งพระมหากัสสปะ รออยู่ หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ได้เสด็จโดยทางเรืออีกเที่ยวหนึ่ง ไปยัง ภูกูเวียน(เมืองพานกง) บริเวณเทือกเขาภูพาน แล้วเสด็จต่อไปยัง ดอยนันทการี(ลานช้าง) คือเมืองหลวงพระบางในปัจจุบัน จึงเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ อีกครั้งหนึ่ง

        หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ คนไทยผู้สูงอายุในท้องที่ภาคใต้ มีความเชื่อถึงการเข้ามาของพระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ สองกลุ่ม กลุ่มแรก เชื่อว่า พระพุทธศาสนา เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กลุ่มที่สอง เชื่อว่า พระพุทธศาสนา ได้เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระพุทธเจ้า นั่นเอง เพราะหลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย โดยมีพระภิกษุ จำนวนหนึ่ง ได้มาตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) แคว้นคลองหิต โดยมิได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ผู้ปกครอง ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ภูเขาภิกษุ คือ ภูเขาชวาลา ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

ความเชื่อที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้า เคยเสด็จมายังอาณาจักรสุวรรณภูมิ มีบันทึกไว้ใน ตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งเป็นตำนานการก่อสร้างพระบรมธาตุนครพนม และปรากฏใน บทสวดมนต์ คำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์§-12 และยังปรากฏในคำกลอนบวงสรวงดวงวิญญาณบูรพกษัตริย์ บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี อีกด้วย โดยมีเนื้อหาบางตอน ที่ขอคัดเลือกมากล่าวไว้ มีข้อความคำสวด บางตอน ดังนี้

"...พระเจ้าสรรค์เพชร พระเจ้าเสด็จ โปรดโลกโลกา

มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากพสุธา รองรับบาทองค์

พระเจ้าย่างกราย บัวทองรองบาท มาบันดารให้

ที่ไหนไม่สบาย พระพายพัดพาน มีมาสาบาน  นมัสการพระองค์

หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้ว มาโปรยปรายลง

ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบง  พระเจ้าเสด็จลง บาทดำเนินสบาย

พระเจ้าเสด็จประภาส บัวทองรองบาท มาบันดานให้ 

ไม่ให้ปรากฏ แก่ลูกหญิงชาย เหยียบย่ำทำลาย จะเป็นโทสา

พระศาสดาจารย์ เสด็จเข้านิพพาน ล่องลับเอกา

ยังมีแต่รอย บาทบง พระศาสดา บรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี

พระบาทหนึ่งปรากฏ อยู่เขาบรรพต สุวรรณคีรี(ภูเขาสุวรรณคีรี ไชยา)

พระบาทสองนั้นซ้าย อยู่ในกรุงศรี ประเทศธานี โยนกนคร(หลวงพระบาง)

พระบาทสามนั้นโศก อยู่เขาบรมโกษ ลังกาบวร(เขาบรมโกษ ประเทศศรีลังกา)

พระบาทสี่ทศพล อยู่บนสิงขร นพรัตน์บุรี(ภูเขาสุวรรณบรรพต สระบุรี)

พระบาทห้า ประดิษฐาน อยู่แถบชลธาร แม่น้ำนที(อยุธยา)

เป็นที่วันทา เทวาธิบดี ฝูงปลากุมภีร์ เข้าเฝ้าวันทา

พระบาทห้าแห่ง พระพุทธองค์สำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น

เป็นที่วันทา นกกาสัตว์สัน มนุษย์สกุนทัน อสุราอสุรี

ลายลักษณ์เลิศไกร ไว้สั่งสอนใจ หญิงชายถ้วนหน้า

หัวค่ำไก่ขัน ทุกวันอัตตา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจทุกวัน

ใครท่องลายลักษณ์ ได้บุญมากนัก แปดหมื่นสี่พัน

ได้พบพระองค์ ผู้ทรงในธรรม จำไว้ให้มั่น อย่าได้อุเบกขา...."

 

เนื้อหาของคำสวดมนต์ ตาม คำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์ ดังกล่าว ซึ่งกล่าวถึงพระบาทของพระพุทธองค์ ๕ แห่ง ซึ่ง เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้เป็นผู้ประดิษฐ์สร้างขึ้นไว้ เป็นอนุสร ในสมัยต่อๆ มา แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนานว่า พระพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จ มายังดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก หรือ พระวิษณุกรรม ทรงสร้างรอยพระบาทจำลอง ไว้เป็นสัญลักษณ์ ๔ แห่ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ และประดิษฐานไว้ในดินแดนศรีลังกา อีก ๑ แห่ง

คำสวดมนต์นี้ มีประวัติโดยย่อๆ ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็นผู้แต่งขึ้น ในขณะที่พระองค์เสด็จจาก เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ไปยัง เมืองตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) เพื่อทำการบรรจุ พระมหาบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ ไว้ในพระบรมมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช โดยได้ทรงรจนาขึ้น ขณะที่พระทับแรมอยู่ ณ ภูเขาหลวง ท้องที่ จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน และถูกใช้เป็นคำสวดมนต์ ของ มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ , มหาราชา , ราชา และพวกราชวงศ์ กษัตริย์ไทย สืบทอดกันมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งยังมิได้ถูกราชวงศ์จักรี ใช้สืบทอด จึงค่อยๆ เลือนหายไป แต่มีการใช้สืบทอดในบางท้องที่ ของภาคใต้ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ ยังดินแดนต่างๆ นอกดินแดนชุมพูทวีป ต่อมาในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เจ้าพระยาศรีธรรมโศก หรือ พระวิษณุกรรม ตามหลักศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ เป็นผู้ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ทั้ง ๕ แห่ง ไปตั้งไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อให้ผู้คนได้เคารพบูชา

 

 

การเข้ามา ของ พระพุทธศาสนา สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

ความเชื่อที่ว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย แล้ว ได้มีพระภิกษุ ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต ซึ่งได้เดินทางไปบวชเรียน ณ ประเทศอินเดีย ได้มาตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) แคว้นคลองหิต(คันธุลี) โดยมิได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ผู้ปกครองอาณาจักรสุวรรณภูมิ แต่อย่างใดนั้น ในเรื่องนี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดารไทยอาหม ใกล้เคียงกับ ตำนานความเป็นมาของภูเขาชวาลา ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

        ภูเขาชวาลา เคยมีชื่อว่า ภูเขาภิกษุ§-14 มีตำนานเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จมายัง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งปกครองโดย มหาราชาเงาคำ และเสด็จกลับ อินเดีย แล้ว มีชายคนหนึ่งที่แคว้นคลองหิต ชื่อ "หารคำงาม" เป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ได้เดินทางตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยัง อินเดีย ด้วย และได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ ต่อมา ภิกษุหารคำงาม ได้เดินทางกลับมายังแคว้นครหิต(คลองหิต) และได้มาสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) เพื่อทำการเผยแพร่พุทธศาสนา เป็นเหตุให้ ภูเขาชวาลา จึงถูกเรียกชื่อว่า ภูเขาภิกษุ แต่สมัยนั้น พระพุทธศาสนา มิได้รับการยอมรับจากประชาชนมากนัก เพระมิได้รับการสนับสนุนจาก มหาราชาเงาคำ ผู้ปกครอง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมื่อภิกษุหารคำ ถึงแก่อนิจกรรม ก็ยังมี พระภิกษุสงฆ์ ใช้ภูเขาภิกษุ เป็นสำนักสงฆ์เผยแพร่พระพุทธศาสนา สืบทอดเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดสงครามขึ้นที่ ทุ่งพระยาชนช้าง ภูเขาภิกษุ จึงถูกเปลี่ยนชื่อ โดย ขุนเทียน เป็นชื่อ ภูเขาชวาลา อีกครั้งหนึ่ง

        บุญกุศลที่ ภิกษุหารคำงาม ได้สร้างไว้ ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ทำให้ในภพชาติต่อมา หาญคำงาม ได้ไปประสูติ เป็นพระราชโอรส ของ พระนางสังฆมิตร และเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ในประเทศอินเดีย มีพระนามว่า เจ้าชายสุมิตร ต่อมาพระองค์ได้กลับมาเป็นกษัตริย์ ของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ใกล้กับ แคว้นครหิต(คลองหิต) และได้เปลี่ยนพระนามใหม่เป็นภาษาไทย ว่า "หารคำ" ในเวลาต่อมา เป็นต้นราชวงศ์คำ และ ราชวงศ์ขอม และเป็นผู้ที่นำวิชาการต่างๆ มาใช้เพื่อการปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ให้เกิดแบบแผน และเป็นผู้ที่ นำพระพุทธศาสนา มาทำการเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างได้ผล ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน ในเวลาต่อมา

วรรณกรรมในพระพุทธศาสนา ชื่อ มหากรรมวิภัง ได้กล่าวถึงพ่อค้าผู้มีความเชี่ยวชาญในการเดินเรือ มักจะนิยมเดินทางไปค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเดินทางจากเมืองท่า ๒ แห่ง คือ เมืองท่ามหาโกศลี และ เมืองท่าตามรลิปติ มายังดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๑ และยังบันทึกว่า พระความปิติ(ความปิติเถระ) เป็นผู้นำพระพุทธศาสนา มาประดิษฐานยังดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๘

 

ความขัดแย้งในการนับถือ พระพุทธศาสนา

        ปี พ.ศ.(-1) ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จ ปรินิพาน พระเทวทัต พระญาติ ของพระองค์ ได้พยายามที่จะแยกคณะสงค์ ออกไปปกครองต่างหาก พระพุทธเจ้า มิได้มอบให้ผู้ใดมีอำนาจสูงสุด แต่ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า ให้ใช้พระธรรม และ พระวินัย เป็นศาสดา แทนพระองค์  หลักธรรมใดๆ ที่มีการอ้างว่าเป็น พระพุทธพจน์ จะต้องตรวจสอบกับพระสูตร และ พระวินัย ก็ควรยอมรับนับถือ แต่ถ้าไม่ตรงกัน ก็ไม่ควรยอมรับ

 

การสังคายนา พระธรรมวินัย ครั้งที่ ๑

ปี พ.ศ.๑ เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จนิพาน ๓ เดือน มีการสังคายนา ครั้งที่ ๑ ณ กรุงราชคฤห์ โดยมี พระมหากัสสปะ เป็นประธาน มีพระภิกษุเข้าร่วม ๓๐๐ รูป

 

การอพยพของ ชนชาติอ้ายไต สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

กำเนิด มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ

ภาพที่-26 แผนที่แสดงที่ตั้งรัฐของ อาณาจักรเจ็ค ดั้งเดิม สันนิษฐานว่า แรกเริ่มเดิมที น่าจะตั้งอยู่ที่แคว้นจิ๋น ตั้งแต่สมัยพระเจ้าไห แล้วค่อยๆ ขยายตัวมายัง แคว้นโจว แคว้นเว่ย และ แคว้นฉี ต่อมาเมื่อมีการพบแร่เหล็กที่แคว้นฉี ชนชาติเจ็ค โดยราชวงศ์โจว ได้เริ่มทำสงครามเหล็ก เข้ายึดครองแว่นแคว้นอื่นๆ ของ ชนชาติอ้ายไต แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ ส่วนชนชาติอ้ายไตในดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม ต้องอพยพขึ้นไปทางเหนือ ทางใต้ อีกส่วนหนึ่ง อพยพไปทางทิศตะวันออก ได้สร้างแคว้นต่างๆ ขึ้นมาใหม่ ด้วย

 

ผลจากการที่ชนชาติอ้ายไต ปะทะกับโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีหลอมโลหะเหล็ก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ เกิดขึ้นมาแทนที่โลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งเกิดขึ้นในดินแดน แคว้นฉี ของ มหาอาณาจักรเจ็ค ก่อนสมัยพุทธกาล นั้น เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรเจ็ค สามารถทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ถึง ๑,๗๖๓ แว่นแคว้น มาอยู่ภายใต้การปกครอง เป็นเหตุให้ ชนชาติอ้ายไต ผู้พ่ายแพ้สงคราม แตกออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรก ได้ผสมกับชนชาติเจ็ค แล้วตั้งรกรากอยู่ที่ ลุ่มแม่น้ำฮั่น แคว้นเสฉวน ดั้งเดิม กลายเป็นชนชาติใหม่ เรียกชื่อว่า ชนชาติฮั่น ต่อมา ชนชาติฮั่น ได้ทำสงครามกับ ราชวงศ์เว่ย แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค กลุ่มที่สอง อพยพไปตั้งรกรากในดินแดน ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า และ กลุ่มที่สาม ได้อพยพหนีภัยสงครามลงมาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ

ภาพที่-27 แผนที่แสดงชื่อแว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ซึ่งถูกกองทัพ ของ อาณาจักรเจ็ค ทำสงครามยึดครองในสมัยสงครามเหล็ก ประกอบด้วย แคว้นฉู่(เสฉวน) แคว้นฉิน แคว้นสู่ แคว้นปา แคว้นลานเจ้า(โจว) แคว้นเจิ้ง แคว้นจ้าว แคว้นเฉิน แคว้นซ่ง แคว้นลู่ แคว้นอู๋ และ แคว้นไตจ้วง(เย่) ต่อมา แว่นแคว้นเหล่านี้ ได้ก่อกบฏ จึงได้เกิดสงครามระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง จึงส่งผลให้เกิดอพยพระลอกที่ ๓ เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

การอพยพของชนชาติอ้ายไต ในสมัยสงครามเหล็ก เป็นการอพยพของชนชาติอ้ายไต ครั้งใหญ่ เป็นครั้งที่ ๒ สงครามครั้งนั้น ราชธานี กรุงเฉินตู แห่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า บริเวณลุ่มแม่น้ำฮั่น ถูกกองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ค ทำสงครามเข้ายึดครอง และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นฉู่ ราชธานี ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ต้องย้ายมาตั้งอยู่ที่ กรุงหนองแส

ผลจากสงครามเหล็กครั้งนั้น มหาอาณาจักรเจ็ค ยังสามารส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองกวางตุ้ง ราชธานี ของ แคว้นไตจ้วง(เย่ว) เป็นผลสำเร็จ แล้วส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองกวางสี กวางเจา และ ตาเกี๋ย เป็นผลสำเร็จอีกด้วย พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อแคว้นใหม่ ว่า แคว้นเย่ว ผลของสงครามครั้งนั้น มีการยุบรวมแว่นแคว้นต่างๆ จาก ๑,๗๖๓ แว่นแคว้น คงเหลือประมาณ ๒๐๐ แว่นแคว้น จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๒๒๘ ปี ก่อนพุทธกาล ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน แคว้นฉู่(เสฉวน) ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ ทำสงครามครั้งใหญ่กับ มหาอาณาจักรเจ็ค อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ราชวงศ์โจว์ แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค ต้องย้ายราชธานีจาก เมืองเฮาจิง มายัง เมืองลั่วอี้ ในสงครามครั้งนั้นด้วย

ในช่วงเวลาดังกล่าว แว่นแคว้นทั้ง ๒๐๐ แว่นแคว้น ต่างทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างกัน ทำให้แว่นแคว้นทั้ง ๒๐๐ แว่นแคว้น คงเหลือเพียง ๑๖ แว่นแคว้นที่ต่างทำสงครามระหว่างกัน เรียกว่า ยุคสมัยซุนซิว ผลของสงครามครั้งนั้นทำให้เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต คือเชื้อเจ้า ๙ พระองค์ ได้รวบรวมไพร่พล อพยพลงมาทางใต้ ตามริมฝั่งทะเลตะวันออก มารวมกันอยู่ในดินแดนเวียดนามตอนเหนือ ในปัจจุบัน และตั้งแว่นแคว้นขึ้นใหม่ เรียกว่า แคว้นเก้าเจ้า สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ท้าวจุลนี ได้อพยพลงมาสร้าง แคว้นจุลนี ในดินแดนทางภาคใต้ ของ ประเทศเวียตนาม ในปัจจุบัน ด้วย

ต่อมาเมื่อชนชาติอ้ายไต แห่ง อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นเย่ว แคว้นอู๋ แคว้นเฉิน และ แคว้นซ่ง) และ ชนชาติฮั่น แห่ง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่ แคว้นปา และ แคว้นสู่) ในดินแดนลุ่มแม่น้ำฮั่น ได้พยายามทำสงครามยึดครองดินแดนกลับคืน แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรเจ็ค ได้ทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างกัน ส่งผลให้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ได้แตกแยกออกเป็น ๓ ก๊กใหญ่ คือ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่ แคว้นสู่ แคว้นปา แคว้นเจิ้ง และ แคว้นเจ้า) อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นเย่ว แคว้นอู๋ แคว้นเฉิน แคว้นซ่ง และ แคว้นลู่) และ อาณาจักรหนานเจ้า(แคว้นหนานเจ้า แคว้นยูนนาน แคว้นเก้าเจ้า และ แคว้นอ้ายลาว)

ภาพที่-28 แผนที่ แว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ชนชาติฮั่น และ ชนชาติเจ็ค จำนวน ๑๖ แว่นแคว้น ยุคสมัยซุนซิว ที่แว่นแคว้นทั้ง ๑๖ แว่นแคว้น ทำสงครามระหว่างกัน ก่อนที่ชนชาติอ้ายไต จะอพยพครั้งใหญ่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามระหว่าง ๑๖ แว่นแคว้น ในสมัยซุนซิว เกิดขึ้นจนกระทั่งเมื่อประมาณ ๑๑๓ ปี ก่อนพุทธกาล มีกษัตริย์แคว้นฉี มีพระนามว่า หวนกง เป็นผู้ปกครอง ซึ่งเป็นแคว้นที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และมีความเข้มแข็งทางการทหารก่อนแว่นแคว้นใดๆ มาก่อน เนื่องจากแคว้นฉี มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการหลอมเหล็ก มาก่อนแคว้นอื่นๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว แคว้นฉี ของ อาณาจักรเจ็ค ได้พยายามส่งกองเข้าโจมตี อาณาจักรไตจ้วง ของ ชนชาติอ้ายไต ที่ผสมกับ ชนชาติเจ็ค ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำฮั่น ซึ่งประกอบด้วย แคว้นอู๋(เสี่ยงให้) แคว้นเย่(กวางตุ้ง) แคว้นเฉิน แคว้นจ้าว แคว้นเจิ้น และ แคว้นฉู่(เสฉวน) ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยี การทำอาวุธ ด้วยโลหะเหล็ก เช่นเดียวกัน ทำให้เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรไตจ้วง กับ อาณาจักรเจ็ค อย่างรุนแรง ผลของสงครามครั้งนั้น แคว้นฉู่(แคว้นเสฉวน) ถูกกองทัพของ อาณาจักรเจ็ค ยึดครองสำเร็จ ตกเป็นเมืองขึ้น ของ อาณาจักรเจ็ค อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ชนชาติอ้ายไต ผสมเผ่าพันธุ์กับ ชนชาติเจ็ค ณ ลุ่มแม่น้ำฮั่น ของ แคว้นฉู่(เสฉวน) กลายเป็นชนชาติใหม่ เรียกว่า ชนชาติฮั่น ได้พัฒนากลายเป็น อาณาจักรฉู่(เสฉวน) และมีบทบาทในการทำสงครามกับ ชนชาติเจ็ค และ ชนชาติอ้ายไต ในสมัยต่อมา

        ต่อมา โอรส ๒ พระองค์ ของ กษัตริย์หวงกง แห่ง แคว้นฉี ต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างกัน ทำให้ แคว้นฉี แห่ง อาณาจักรเจ็ค อ่อนกำลังลง ทำให้ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) และ อาณาจักรไตจ้วง(เย่ว) ก่อกบฏ ไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ ราชวงศ์โจว แห่ง อาณาจักรเจ็ค อีกต่อไป สงครามระหว่าง ๓ อาณาจักร จึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

        จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๙๓ ปี ก่อนพุทธกาล มหาอาณาจักรเจ็ค และ แว่นแคว้นพันธมิตร ได้พยายามทำสงครามปราบปราม อาณาจักรไตจ้วง ของ ชนชาติอ้ายไต และ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ของ ชนชาติฮั่น อีกครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว มหาราชาเซียงหวาง ราชวงศ์โจว์ตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค ได้แต่งตั้งให้ เหวินกง พระราชโอรส ของ กษัตริย์หวงกง แห่ง แคว้นฉี เป็นกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นจิ๋น พร้อมกับได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เหวินกง เป็นผู้นำของแคว้นพันธมิตร ของ มหาอาณาจักรเจ็ค วางแผนทำสงครามกับ ชนชาติฮั่น ของ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ซึ่งประกอบด้วย แคว้นฉู่ แคว้นสู่ แคว้นปา แคว้นฉิน แคว้นเจิ้ง แคว้นจ้าว และ แคว้นเฉิน และได้ทำสงครามปราบปรามชนชาติอ้ายไต แห่ง อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นลู่ แคว้นอู๋ แคว้นซ่ง และ แคว้นเย่) อีกด้วย สงครามครั้งนั้น เกิดการสู้รบระหว่างกันอย่างยืดเยื้อ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ

        จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๖๔ ปี ก่อนพุทธกาล นักปรัชญาจีนชื่อ ขงจื้อ ได้ให้กำเนิด ลัทธิขงจื้อ ขึ้นมาในสังคมจีน ขงจื้อ เป็นผู้สั่งสอนประชาชน ให้มีคุณธรรม สอนให้ทุกคนในสังคม มีสิทธิ และ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามบทบาทในการเป็น กษัตริย์ , ขุนนาง , บิดา , มารดา , บุตรธิดา และได้กำหนดว่า ถ้ากษัตริย์ มิได้บำเพ็ญตนอยู่ในคุณธรรม ตามที่กำหนด ก็ไม่ถือว่าเป็น กษัตริย์ ขงจื้อ กำหนดว่า กษัตริย์ ต้องมีความกตัญญู เสียสละ มีคุณธรรม , เมตาธรรม และ มีความสามารถ ขงจื้อ สั่งสอนว่า หากว่า กษัตริย์พระองค์ใด ไม่มีคุณธรรม และ ความสามารถ และไม่ทำตามหน้าที่ของกษัตริย์ ประชาชนย่อมมีสิทธิ์ลุกขึ้นก่อกบฏ ลุกขึ้นก่อการปฏิวัติได้ และถ้าทำการปฏิวัติสำเร็จ ก็ถือว่า หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้อาณัติจากสวรรค์ ให้ทำการปกครองประชาชน แทน กษัตริย์ องค์เดิมอย่างชอบธรรม คำสอนของ ขงจื้อ ดังกล่าว เป็นผลให้แม่ทัพแต่ละแว่นแคว้น ลุกขึ้นก่อกบฏต่อ กษัตริย์ราชวงศ์โจว แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค อย่างต่อเนื่อง สงครามเกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ แว่นแคว้นต่างๆ ได้ลดลงจาก ๑๖ อาณาจักร คงเหลือ ๘ อาณาจักร

        ต่อมา อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ของ ชนชาติฮั่น ก็สามารถพิชิต แคว้นจิ๋น ได้สำเร็จเมื่อ ๕๔ ก่อนพุทธกาล และพยายามทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นเว่ย และ แคว้นฉี ต่อไป ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นช่วงเวลาที่ อาณาจักรเสฉวน ทำสงครามกับราชวงศ์โจว์ตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค อย่างดุเดือด มีเพียงแคว้นฉิน แคว้นลู่ และแคว้นเอี๋ยน เท่านั้น ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ครั้งนั้น ผลของสงครามครั้งนั้นทำให้ชนชาติฮั่น ในดินแดนลุ่มแม่น้ำฮั่น จึงเริ่มมีอิทธิพลแทนที่ ชนชาติเจ็ค จนกระทั่งในปี พ.ศ.๓๗ ได้เกิดความขัดแย้งระหว่าง อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นอู๋ แคว้นลู่ แคว้นซ่ง และ แคว้นเย่) กับ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) โดยการสนับสนุนของแคว้นฉี เป็นเหตุให้ อาณาจักรฉี ส่งกองทัพเข้าสงครามเข้ายึดครองแคว้นอู๋ ของ อาณาจักรไตจ้วง ไปครอบครอง และทำการเปลี่ยนราชาผู้ปกครองแคว้นอู๋ เป็นเชื้อสายราชวงศ์โจว์ตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค และมอบให้ ราชาแห่ง แคว้นอู๋ ทำสงครามพิชิต อาณาจักรเสฉวน(ฉู่) เป็นผลสำเร็จ ต่อมา แคว้นอู๋ กลายเป็นผู้นำแว่นแคว้นต่างๆ คือ แคว้นอู๋ แคว้นฉี แคว้นฉู่ แคว้นเย่ ในการต่อสู้กับราชวงศ์โจว์ตะวันออก เป็นเวลาต่อเนื่องประมาณ ๒๔ ปี

        จนกระทั่งปี พ.ศ.๖๑ มหาราชา โกเจี้ยน แห่ง อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นเย่) เป็นผู้นำของแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรไตจ้วง และ อาณาจักรฉู่(เสฉวน) ได้ร่วมกันทำสงครามต่อสู้กับ แคว้นอู๋ ซึ่งเป็นเครื่องมือของราชวงศ์โจว์ตะวันออก แต่ต่อมา แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรฉู่(เสฉวน) กลับไม่ยอมรับการนำ ของ มหาราชาโกเจี้ยน แห่ง อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นเย่) เป็นเหตุให้ อาณาจักรเสฉวน(ฉู่) แยกดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ออกไปปกครองอิสระออกจาก อาณาจักรไตจ้วง อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ.๗๐ เป็นต้นมา อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นเย่) ได้กลายเป็นผู้นำของแว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต และ ชนชาติฮั่น อีกครั้งหนึ่ง โดย มหาราชาโกเจี้ยน แห่ง อาณาจักรไตจ้วง(เย่ว) ได้ร่วมกับ อาณาจักรเสฉวน(ฉู่) ร่วมกันทำสงครามต่อต้านราชวงศ์โจว์ตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค ด้วยการส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองดินแดน แคว้นลานเจ้า และ แคว้นจิ๋น มาครอบครอง เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับได้ทำสงครามปราบปรามยึดครอง แคว้นฉี เป็นผลสำเร็จอีกด้วย บทบาท ของ ชนชาติอ้ายไต และ ชนชาติฮั่น จึงมีบทบาทเหนือชนชาติเจ็ค แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค อีกครั้งหนึ่ง

        ปี พ.ศ.๑๔๐ แคว้นจิ๋น ได้แตกออกเป็น ๓ แคว้น โดยตระกูล ๓ แซ่ คือ แซ่หาน แซ่จ้าว และแซ่เว่ย ทั้งสามสายตระกูลได้แบ่งแยกดินแดนของ แคว้นจิ๋น เดิม ออกเป็น แคว้นหาน แคว้นจ้าว และ แคว้นเว่ย ในที่สุดแคว้นจ้าว กลายเป็นผู้ครอบครอง แคว้นจิ๋น อีกครั้งหนึ่ง

        ปี พ.ศ.๑๕๗ ขุนนางแซ่เถียน ได้กอบกู้แคว้นฉี ขึ้นใหม่ เป็นราชาแห่ง แคว้นฉี แหล่งแร่เหล็ก ของอาณาจักรเจ็ค จึงเกิดเป็นสงครามระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ เรียกว่า ยุคจ้านกั้ว คือสงครามระหว่างแคว้นต่างๆ ๗ แคว้น คือ แคว้นฉิน แคว้นฉู่ แคว้นฉี แคว้นเอี้ยน แคว้นหาน แคว้นจ้าว และแคว้นเว่ย โดยไม่มีผู้ใดจงรักภักดีต่อ ราชวงศ์โจว์ตะวันออก อีกต่อไป

        สมัย ยุคจ้านกั้ว ทำให้เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรต่างๆ ๗ อาณาจักร คือ อาณาจักรฉิน , อาณาจักรฉู่(อาณาจักรเสฉวน + อาณาจักรไตจ้วง) อาณาจักรฉี , อาณาจักรเอี้ยน , อาณาจักรหาน , อาณาจักรจ้าว และ อาณาจักรเว่ย โดยไม่มีผู้ใดจงรักภักดีต่อ มหาอาณาจักรเจ็ค ราชวงศ์โจว์ตะวันออก แคว้นโจว แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค อีกต่อไป อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นเย่) จึงหายไปจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพราะไปรวมอยู่กับ อาณาจักรฉู่(เสฉวน)

        ปี พ.ศ.๑๘๗ ซางหยาง เป็นต้นตระกูล แซ่หยาง เคยเป็นขุนนาง แคว้นเว่ย ซึ่งอพยพมาจาก แคว้นฉู่ หรือ แคว้นเสฉวน จากผลของสงคราม โดยมีสายตระกูลดั้งเดิมเป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่ง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) มาก่อน โดยมีแซ่เดิมคือ แซ่กงซุน ต่อมา ซางหยาง ถูกจับเป็นเชลยศึก ไปเป็นขุนนางที่ แคว้นเว่ย และถูกส่งไปรับราชการที่ แคว้นฉิน และต่อมา ซางหยาง ได้รับความไว้วางใจจาก มหาราชาเสี่ยวกง แห่ง อาณาจักรฉิน มอบให้ ซางหยาง เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในอาณาจักรฉิน เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗ ซางหยาง จึงเป็นผู้วางแผนปฏิรูป อาณาจักรฉิน ทั้งทางด้านการผลิต การทหาร และการปกครอง เป็นที่มาให้ ซางหยาง ได้ทำการปฏิรูปครั้งสำคัญขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรฉิน

        ปี พ.ศ.๒๐๓ แคว้นฉิน ถือโอกาสดังกล่าว นำกองทัพเข้ายึดครองเมืองต่างๆ ของ แคว้นเว่ย อีกครั้งหนึ่ง โดยสามารถยึดครอง เมืองอินจิ้น อันเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ ในการรุกคืบหน้าไปทางทิศตะวันออก ทำให้แคว้นฉิน ประกาศเป็นผู้นำรวบรวมดินแดนจีน เป็นปึกแผ่น ภายใต้การปฏิรูปของ ซางหยาง ทำให้ แคว้นฉิน ซึ่งเป็นแคว้นที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบแคว้นอื่นๆ อยู่แล้ว เกิดความเข้มแข็งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ ราชาผู้ปกครองแคว้นฉิน มีนโยบายสร้างกำลังทหาร ให้เข้มแข็ง อย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นแว่นแคว้นที่เป็นผู้รวบรวม อาณาจักรเจ็ค เป็นปึกแผ่น เป็นผลสำเร็จ ในเวลาต่อมา

        ปี พ.ศ.๒๒๗ ผลการปฏิรูปของ ซางหยาง ในสมัยของ มหาราชาฮุ่ยเหวินกง เป็นมหาราชาแห่ง อาณาจักรฉิน ขณะนั้น อาณาจักรฉิน สามารถยึดครอง แคว้นสู่ และแคว้นปา ซึ่งเคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นผลสำเร็จ ทำให้ อาณาจักรฉิน มั่นคงไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และทำให้ อาณาจักรฉิน กลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ และเข้มแข็งทางการทหารสูงสุด ทำให้ อาณาจักรฉิน มีอาณาเขตติดต่อกับ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ด้วย

 

 

        ผลของสงครามตั้งแต่ยุคซุนซิว มาถึงยุคจ้านกั้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๘๗ กองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ค สามารถทำสงครามยึดครองดินแดน แคว้นลู่ และ แคว้นซ่ง ของอาณาจักรไตจ้วง เป็นผลสำเร็จ ต่อมา กองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ค ยังได้ขยายขอบเขตของสงครามเข้าสู่ อาณาจักรเสฉวน ด้วย ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้ชนชาติอ้ายไต อพยพหนีภัยสงคราม ทั้งทางบก และ ทางเรือ อย่างต่อเนื่อง เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง จนถึงสมัยพุทธกาล เป็นเหตุให้ ประชากร ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับ เกิดแว่นแคว้นต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เป็นเหตุให้ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้ขยายเติบใหญ่ กลายเป็น มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ พร้อมกันไปด้วย

 

การสังคายนา พระธรรมวินัย ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๑๐๐

ปี พ.ศ.๑๐๐ มีการสังคายนา พระธรรมวินัย ครั้งที่ ๒ ณ เมืองเวศาลี(เพสารห์) มีการแก้ไขบัญญัติ ๑๐ ประการ หรือ วัตถุ ๑๐ ประการ เกิดความขัดแย้ง ๒ ฝ่าย พระภิกษุ ฝ่ายที่เห็นชอบให้แก้ไข คือ พวกวัชชีบุตร แห่ง เมืองเวศาลี และฝ่ายที่คัดค้านมิให้ทำการแก้ไข มี พระยศเถระ เป็นหัวหน้า ทำให้มีการยึดถือพระธรรมวินัยที่แตกต่างกัน พระพุทธศาสนา จึงแตกแยกออกเป็น ๒ นิกาย คณะสงฆ์ที่ทำการโต้แย้งมิให้ทำการแก้ไขบัญญัติ ๑๐ ประการ เรียกว่า ฝ่ายเถรวาท ฝ่ายคณะสงฆ์วัชชีบุตร เรียกชื่อว่า ฝ่าย อาจาริยวาท เพราะยึดถือตามที่มีการแก้ไขในภายหลัง

ต่อมา คณะสงฆ์ทั้ง ๒ นิกาย ได้ร่วมกันทำการสังคายนาพระวินัย ที่พระอริยสาวกได้เคยรวบรวมจากการสังคายนา ครั้งที่ ๑ ไว้แล้ว อีกครั้งหนึ่ง ณ เมืองเวศาลี ภายหลังการสังคายนา ครั้งนี้ พระสงฆ์ ทั้ง ๒ ฝ่าย ได้แตกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายเถรวาท เรียกชื่อว่า สถวีระ กับฝ่ายอาจริยวาท เรียกชื่อใหม่ว่า มหาสังฆิกะ

 

สงคราม ระหว่าง ชนชาติเจ็ค กับ ชนชาติไต ยุคจ้านกั้ว

สถานการณ์สงครามในดินแดนของ มหาอาณาจักรเจ็ค ในยุคจ้านกั้ว คือยุคที่เกิดสงครามระหว่าง ๗ แว่นแคว้น ผลของการทำสงครามระหว่างกันมาอย่างยาวนาน แคว้นจิ๋น ได้แตกออกเป็น ๓ แคว้น อีกครั้งหนึ่ง โดยแม่ทัพตระกูล ๓ แซ่ คือ แซ่หาน แซ่จ้าว และ แซ่เว่ย ทั้งสามสายตระกูลได้แบ่งแยกดินแดนแคว้นจิ๋นเดิม เป็น แคว้นหาน แคว้นจ้าว และแคว้นเว่ย เมื่อปี พ.ศ.๑๔๐ ในที่สุดแม่ทัพสายตระกูลแซ่เว่ย แห่ง แคว้นจ้าว กลายเป็นผู้ครอบครองดินแดนแคว้นจิ๋น ทั้งหมด ในเวลาต่อมาอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว แคว้นจ้าว ของแม่ทัพตระกูลจ้าว ได้แยกแคว้นจ้าวออกเป็นแคว้นใหม่ ขึ้นต่อการปกครองของ แคว้นจิ๋น ของแม่ทัพตระกูลแซ่เว่ย เพราะแม่ทัพตระกูลแซ่เว่ย ต้องการให้ แคว้นจ้าว กลายเป็นแคว้นกันชน ระหว่างแคว้นเอี๋ยน กับแคว้นฉิน และ แคว้นฉี

ปี พ.ศ.๑๕๗ ขุนนางแซ่เถียน ได้กอบกู้แคว้นฉี ขึ้นใหม่ เป็นราชาแห่งแคว้นฉี แหล่งแร่เหล็ก ของอาณาจักรเจ็ค จึงเกิดเป็นสงครามระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ เรียกว่า ยุคจ้านกั้ว คือสงครามระหว่างแคว้นต่างๆ ๗ แคว้น คือ แคว้นฉิน แคว้นฉู่ แคว้นฉี แคว้นเอี้ยน แคว้นหาน แคว้นจ้าว และแคว้นเว่ย โดยไม่มีผู้ใดจงรักภักดีต่อ ราชวงศ์โจว์ตะวันออก อีกต่อไป

ปี พ.ศ.๑๕๙-พ.ศ.๒๕๔ ปรัชญาเมธีตะวันตก ชื่อ อริสโตเติล กล่าวว่า ประชาชนมีสิทธิในการก่อกบฏ ต่อ ทรราชโดยคนข้างมาก

ปี พ.ศ.๑๗๑ สาวกเอก ของ ขงจื้อ พยายามเผยแพร่คำสอนของ ขงจื้อ ว่า ถ้าโอรสแห่งสวรรค์(กษัตริย์) ไม่ทำตามหน้าที่ของท่าน ประชาชนย่อมมีสิทธิ์ปฏิวัติได้ และถ้าทำการปฏิวัติ สำเร็จ ผู้ทำการปฏิวัติสำเร็จ ก็เท่ากับได้ อาณัติแห่งสวรรค์(เทียนมิ่ง) ให้ปกครองประชาชน แทน กษัตริย์ คนเดิมได้

ปี พ.ศ.๑๘๔ แคว้นฉิน ได้รับพระราชทานพื้นที่เพิ่มเติมจากราชวงศ์โจว์ โดยการขยายพื้นที่เข้าสู่แคว้นจิ๋นแคว้นสู่ และแคว้นฉู่ ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรหนานเจ้า จนกระทั่งได้กลายเป็นแคว้นใหญ่

ปี พ.ศ.๑๘๔ แคว้นสู่ ถูกราชวงศ์โจว์ นำที่ดินไปมอบให้กับ แคว้นฉิน เหลือพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๘๗ ซางหยาง เป็นต้นตระกูล แซ่หยาง เคยเป็นขุนนาง แคว้นเว่ย ซึ่งอพยพมาจากแคว้นฉู่ หรือแคว้นเสฉวน จากผลของสงคราม โดยมีสายตระกูลดั้งเดิมเป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต มาก่อนแห่งแคว้นเสฉวน มาก่อน โดยมีแซ่เดิมคือ แซ่กงซุน ต่อมา ซางหยาง ต้องอพยพจากแคว้นเว่ย ไปตั้งรกรากที่แคว้นฉิน และได้รับความไว้วางใจจาก ราชาเสี่ยวกง ราชาแห่งแคว้นฉิน ให้ ซางหยาง มาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในแคว้นฉิน เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗ ให้เป็นผู้วางแผนปฏิรูปแคว้นฉิน ทั้งทางด้านการผลิต การทหาร และการปกครอง เป็นที่มาให้ ซางหยาง ได้ทำการปฏิรูปครั้งสำคัญขึ้นมาในแคว้นฉิน

ปี พ.ศ.๑๘๗ แคว้นฉิน เป็นแคว้นแรกที่สามารถพัฒนาการชลประทานอย่างได้ผล ในช่วงเวลาดังกล่าว คือ พ.ศ.๑๘๗ และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อ ซางหยาง เข้ามาเป็นขุนนาง และดำเนินการปฏิรูปแคว้นฉิน ครั้งใหญ่ ส่งผลต่อชัยชนะของแคว้นฉิน ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๘๗-๒๐๕ สมัยการปฏิรูปของ ซางหยาง เป็นเวลาประมาณ ๒๐ ปี

ปี พ.ศ.๑๘๙ แคว้นเว่ย ส่งกองทัพเข้าตีแคว้นจ้าว ทำให้แคว้นฉี ต้องส่งกองทัพเข้าช่วยแคว้นจ้าว และยังส่งกองทัพเข้าโจมตี เมืองต้าเหลียง อันเป็นเมืองนครหลวงของแคว้นเว่ย ทำให้แคว้นเว่ย ต้องถอนทัพจาก แคว้นจ้าว กลับมาป้องกันเมืองนครหลวง

ปี พ.ศ.๑๙๐ แคว้นฉี ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก โดยมี เว่ยหวาง เป็นราชาปกครองแคว้นฉี ได้ทำการปราบปรามขุนนางกังฉิน อย่างจริงจัง และได้แต่งตั้งให้ โจวจี้ และ ซุนปิน ทำการปฏิรูปการผลิต และพัฒนาการทหาร ทำให้แคว้นฉี มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการทหาร แข่งขันกับแคว้นฉิน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ทั้งสองแคว้น คุมเชิงกันอยู่ คนละมุม

ปี พ.ศ.๑๙๑ ขณะนั้นแคว้นฉิน มีความเข้มแข็งทางการทหารแล้ว ได้ถือโอกาส เข้ายึดเมืองต่างๆ ของแคว้นเว่ย ขณะนั้น แคว้นเว่ย มีสงครามอยู่กับแคว้นจ้าว

 

ชนชาติไต อพยพเข้าสู่ ดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่

ปี พ.ศ.๒๐๑ แคว้นเว่ย ยกกองทัพเข้าโจมตีแคว้นหาน แคว้นฉี จึงส่งกองทัพเข้าช่วย แคว้นหาน กองทัพแคว้นเว่ย ต้องพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ในสงครามครั้งนั้น ไท่จื่อเซิน รัชทายาทของแคว้นเว่ย ถูกจับเป็นเชลยศึก

ปี พ.ศ.๒๐๓ แคว้นฉิน จึงถือโอกาสดังกล่าว นำกองทัพเข้ายึดครองเมืองต่างๆ ของ แคว้นเว่ย อีกครั้งหนึ่ง โดยสามารถยึดครอง เมืองอินจิ้น อันเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ ในการรุกคืบหน้าไปทางทิศตะวันออก ทำให้ แคว้นฉิน อยู่ในฐานะได้เปรียบ

ปี พ.ศ.๒๐๓ แคว้นฉิน ถือโอกาสดังกล่าว นำกองทัพเข้ายึดครองเมืองต่างๆ ของ แคว้นเว่ย อีกครั้งหนึ่ง โดยสามารถยึดครอง เมืองอินจิ้น อันเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ ในการรุกคืบหน้าไปทางทิศตะวันออก ทำให้แคว้นฉิน ประกาศเป็นผู้นำรวบรวมดินแดนจีน เป็นปึกแผ่น ภายใต้การปฏิรูปของ ซางหยาง ทำให้ แคว้นฉิน ซึ่งเป็นแคว้นที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบแคว้นอื่นๆ อยู่แล้ว เกิดความเข้มแข็งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ ราชาผู้ปกครองแคว้นฉิน มีนโยบายสร้างกำลังทหาร ให้เข้มแข็ง อย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นแว่นแคว้นที่เป็นผู้รวบรวม อาณาจักรเจ็ค เป็นปึกแผ่น เป็นผลสำเร็จ ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๒๐๕ ขณะนั้นดินแดนตอนเหนือสุด ของอาณาจักรของชนชาติไต คือแคว้นปา มี เมืองปา เป็นเมืองนครหลวงของแคว้น ซึ่งขึ้นต่อ อาณาจักรหนานเจ้า

ปี พ.ศ.๒๐๕ ราชาแห่งแคว้นฉิน ได้ยกทัพเข้าโจมตีแคว้นปา และแคว้นสู่ ของชนชาติไต ทางตอนเหนือ การทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นปา เป็นผลสำเร็จ ทำให้ชนชาติไต ต้องอพยพลงมาทางใต้ครั้งใหญ่ มารวมกำลังกันอยู่ที่ แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน)

ปี พ.ศ.๒๑๗ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์กรีก ผู้ปกครอง แคว้นมาเซโดเนีย ในทวีปยุโรป ได้ยกกองทัพมาโจมตี อินเดีย ขากลับ ได้ยกทัพกลับทางบก ส่วนหนึ่ง และ ทางเรือ อีกส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ทำการปกครองอยู่ที่ แคว้นแบคเตรีย

ปี พ.ศ.๒๑๘ ฮ่องเต้ฮุ่ยเหวินกง ขึ้นครองราชย์สมบัติ(พ.ศ.๒๑๘-๒๙๑) เป็น ฮ่องเต้ของ แคว้นฉิน

ปี พ.ศ.๒๒๗ แคว้นฉิน ก็ทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนส่วนที่เหลือของแคว้นสู่ และแคว้นปา ซึ่งเคยเป็นดินแดนของ อาณาจักรหนานเจ้า มาเป็นดินแดนในส่วนของแคว้นฉิน ทำให้ แคว้นสู่ และ แคว้นปา หายไป

 

 

 ชนชาติอ้ายไต อพยพเข้าสู่ ดินแดนสุวรรณภูมิปี พ.ศ.๒๒๗¨-6

เกิดการอพยพของชนชาติอ้ายไต จากดินแดนประเทศจีน เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๐๕ เมื่อราชาแห่งแคว้นฉิน ได้ยกทัพเข้าโจมตี แคว้นปา และ แคว้นสู่ ของชนชาติอ้ายไต การทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นปา ครั้งนั้น ทำให้ชนชาติอ้ายไต ต้องอพยพลงมาทางใต้ และทางทิศตะวันออก ลงสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ และบางส่วน มารวมกำลังกันอยู่ที่ แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๒๗ แคว้นฉิน ก็ทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนส่วนที่เหลือของแคว้นสู่ และ แคว้นปา ซึ่งเคยเป็นดินแดนของ อาณาจักรหนานเจ้า มาเป็นดินแดนในส่วนของแคว้นฉิน ทำให้แคว้นสู่ และแคว้นปา ถูกผนวกเข้ากับ แคว้นฉิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๒๗ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.๒๒๗ สมัยของ ราชาฮุ่ยเหวินกง เป็นราชาแห่งแคว้นฉิน ขณะนั้น แคว้นฉิน สามารถยึดครอง แคว้นสู่ และแคว้นปา ซึ่งเคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของ แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) เป็นผลสำเร็จ ทำให้แคว้นฉิน มั่นคงไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และทำให้แคว้นฉิน กลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ และเข้มแข็งทางการทหารสูงสุด ทำให้ แคว้นฉิน มีอาณาเขตติดต่อกับแคว้นฉู่ ของ อาณาจักรหนานเจ้า ด้วย

ปี พ.ศ.๒๒๙ ได้เกิดจลาจลขึ้นมาใน แคว้นเอี๋ยน เนื่องจากมีการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างกัน เป็นที่มาให้ แคว้นฉี ถือโอกาส ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเอี๋ยน

ปี พ.ศ.๒๓๐ แคว้นฉี สามารถยึดครองเมืองนครหลวงของ แคว้นเอี๋ยน ไว้ได้ แล้วยึดครองไว้ จนกระทั่งต่อมา ในปี พ.ศ.๒๕๙ เจ้าหวาง ราชาแห่งแคว้นเอี๋ยน ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีแคว้นฉี โดยสามารถยึดเมืองต่างๆ ของแคว้นฉี ได้มากกว่า ๗๐ เมือง คงเหลือเมืองเพียง ๒ เมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจของ แคว้นฉี

ปี พ.ศ.๒๔๔ ราชาแห่ง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เริ่มพ่ายแพ้สงครามแก่ แคว้นฉิน เพราะเกิดความขัดแย้งกับแคว้นอู๋(เซี่ยงไฮ้-นานกิง) และ แคว้นเย่(กวางตุ้ง กวางสี) ทำให้ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ต้องเสียเมืองหลายเมือง

ปี พ.ศ.๒๕๔ สาวกเอก ของ ขงจื้อ พยายามเผยแพร่คำสอนของ ขงจื้อ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๑ ว่า ถ้าโอรสแห่งสวรรค์(กษัตริย์) ไม่ทำตามหน้าที่ของท่าน ประชาชนย่อมมีสิทธิ์ปฏิวัติได้ และถ้าทำการปฏิวัติ สำเร็จ ผู้ทำการปฏิวัติสำเร็จ ก็เท่ากับได้ อาณัติแห่งสวรรค์(เทียนมิ่ง) ให้ปกครองประชาชน แทน กษัตริย์ คนเดิมได้ ทำให้การก่อการปฏิวัติ ของ กษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ ได้รับการยอมรับจากประชาชน

ปี พ.ศ.๒๕๙ เจ้าหวาง ราชาแห่งแคว้นเอี๋ยน ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีแคว้นฉี โดยสามารถยึดเมืองต่างๆ ของแคว้นฉี ได้มากกว่า ๗๐ เมือง คงเหลือเมืองเพียง ๒ เมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจ ของ แคว้นฉี

ปี พ.ศ.๒๖๔-๒๙๙ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แคว้นเจ้า กำลังทำสงครามกับแคว้นเอี๋ยน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๖๔ และเกิดสงครามยืดเยื้อเป็นเวลา ๓๕ ปี นั้น

 

สายราชวงศ์แมนสม ให้กำเนิด แคว้นแมนที่ลา หรือ แคว้นมิถิลา¨-7

        ตำนานท้องที่คันธุลี ได้ถ่ายทอดเรื่องราวการก่อกำเนิดขึ้นของแคว้นโกสมพี ว่า ในสมัยที่ ท้าวอินทปัต ปกครองแคว้นคลองหิต(คันธุลี) ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ นั้น มีเจ้าชายชนชาติอ้ายไต สายราชวงศ์แมนสรวง(แมนจูเจ้า ตระกูล แซ่เชียง) ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม และต้องอพยพไปตั้งรกรากทางเหนือสุด ของ ประเทศจีน เรียกว่า แคว้นแมนจูเจ้า หรือ แคว้นแมนสม มีพระนามว่า เจ้าชายแมนที่ลา(มิถิลา) ได้มาสร้าง แคว้นแมนที่ลา(มิถิลา) ซึ่งคนไทยเรียกเพี้ยนในสำเนียงภาษาท้องถิ่นภาคใต้ ว่า แคว้นมิถิลา โดยได้อพยพไพร่พล มาตั้งแคว้นมิถิลา ขึ้นใหม่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ใกล้กับ แคว้นคลองหิต(คันธุลี) โดยตั้งพระราชวังอยู่ในพื้นที่ สวนโมกข์ผลาราม อ.ไชยา ในปัจจุบัน

ต่อมา เจ้าชายมิถิลา(แมนที่ลา) ได้ไปอภิเษกสมรสกับราชธิดา ของ ท้าวอินทปัต แห่ง แคว้นคลองหิต(คันธุลี) ได้ราชธิดามาพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า เจ้าหญิงเชียงเม่งกุ้ย(เม่งกุ้ย แซ่เชียง) เป็นเหตุให้ แคว้นมิถิลา ได้ถูกชนชาติอ้ายไต เรียกชื่อแคว้นมิถิลา เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นโกสมพี ตั้งแต่นั้นมา เพราะ คำว่า โก(กู) คือคำนำหน้าที่ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ใช้เรียกนำหน้า ชนชาติอ้ายไต ที่อพยพมาจากประเทศจีน เพราะพูดคำว่า "กู" เพี้ยนเป็น "โก" ส่วนคำว่า "สมพี" หมายถึง หลังจากการแต่งงานแล้ว ตั้งท้อง ทันที ดังนั้น คำว่า "โกสมพี" จึงมีความหมายรวม ว่า เจ้าชายมิถิลา(โก) ได้สมรส กับ พระนางอินทปัต แล้วทรงพระครรภ์ ทันที ทำให้ การเรียกชื่อ แคว้นมิถิลา(ไชยา) จึงถูกเรียกชื่อใหม่ เป็น แคว้นโกสมพี(ไชยา) เรื่อยมา แคว้นนี้ จะมีบทบาท ในการทำสงครามกับ ชนชาติกลิงค์ ในเวลาต่อมา

 

เจ้าชาย ๔ พี่น้อง สร้างแว่นแคว้นทางชายฝั่งทะเลตะวันตก

หลักฐานประวัติศาสตร์ของประเทศจีนกล่าวว่า ในสมัยชุนชิว แห่งราชวงศ์โจว์ ตะวันออก ของ อาณาจักรเจ็ค คือเหตุการณ์ระหว่าง สมัยพุทธกาล จนถึง พ.ศ. ๓๒๒ ซึ่งได้เกิดสงครามระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ ของอาณาจักรเจ็ค กับ อาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแว่นแคว้นของชนชาติอ้ายไต ที่ถูกอาณาจักรเจ็ค แห่งราชวงศ์โจว์ตะวันออก ยึดครองไป คือ แคว้นฉู่(เสฉวน) แคว้นอู๋(เซี่ยงไห้) และ แคว้นเย่(กวางตุ้ง) ซึ่งเป็นแคว้นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับ อำนาจรัฐ ของ แคว้นโจว์ แห่งราชวงศ์โจว์ ตะวันออก มากที่สุด ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ กอบกู้ดินแดนกลับคืน

        ในขณะที่ดินแดน อาณาจักรเจ็ค(จีน) เต็มไปด้วยสงครามระหว่างแว่นแคว้น เพื่อการรวบรวมดินแดนจีน ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนกระทั่งเกิดการอพยพของชนชาติอ้ายไต ผู้ลี้ภัยสงครามเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นจำนวนมาก การอพยพดังกล่าว มิได้ส่งผลกระทบต่อ อาณาจักรสุวรรณภูมิ กลับเป็นการเสริมความเข้มแข็งให้กับ อาณาจักรสุวรรณภูมิ มากขึ้น

        ผลของสงครามในดินแดนจีน ส่งผลให้ชนชาติอ้ายไต แห่ง อาณาจักรหนานเจ้า บางแว่นแคว้น ซึ่งเป็นผู้พ่ายแพ้สงคราม คือ สายราชวงศ์แมนสรวง(แมนจูเจ้า) และ สายราชวงศ์จิว(ไตจ้วง) ต้องอพยพไปรวมตัวกันที่ เกาะไตหวัน(แคว้นแมนสรวง) และเกาะไหหลำ ได้นำไพร่พล เดินทางอพยพ โดยทางเรือ เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ

สายราชวงศ์จิว(แซ่จิว) ซึ่งได้นำไพร่พล เดินทางอพยพโดยทางเรือ เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ นำโดย เจ้าชายสามพี่น้อง คือ เจ้าชายตาโกลา แซ่จิว , เจ้าชายตาโกนา แซ่จิว และ เจ้าชายตาโกปา แซ่จิว ได้นำไพร่พล เดินทางอพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก เจ้าชายตาโกลา ได้นำไพร่พล เดินทางอพยพโดยทางเรือเข้ามาตั้งรกรากในท้องที่ จ.ตรัง ในปัจจุบัน และได้สร้าง "แคว้นตาโกลา" ขึ้นมา ให้เป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ในกลุ่ม อาณาจักรนาคนำ ซึ่งมีแคว้นพรหมทัต(ยะลา) เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ แคว้นตาโกลา(ตรัง) จึงมีบทบาทสำคัญในการร่วมทำสงครามขับไล่ชนชาติกลิงค์ และชนชาติทมิฬ ให้ออกจากดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา ด้วย

เจ้าชายตาโกนา ได้นำไพร่พล เดินทางอพยพโดยทางเรือเข้ามาตั้งรกรากในท้องที่ จ.กระบี่ ในปัจจุบัน และได้สร้าง แคว้นตาโกนา(กระบี่) ขึ้นมา ให้เป็นอีกแว่นแคว้นหนึ่ง ทางฝั่งทะเลตะวันตก ในกลุ่ม อาณาจักรนาคฟ้า ส่วน เจ้าชายตาโกปา ได้นำไพร่พล เดินทางอพยพโดยทางเรือเข้ามาตั้งรกรากในท้องที่ จ.พังงา ในปัจจุบัน และได้สร้าง แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) ขึ้นมา ให้เป็นอีกแว่นแคว้นหนึ่ง ทางฝั่งทะเลตะวันตก ในกลุ่ม อาณาจักรนาคฟ้า ซึ่งมีแคว้นอินทปัต(คันธุลี) เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ แคว้นตาโกนา(กระบี่) และ แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) จึงมีบทบาทสำคัญในการร่วมทำสงครามขับไล่ชนชาติกลิงค์ และชนชาติทมิฬ ให้ออกจากดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา ด้วยเช่นกัน

 

กำเนิด แคว้นตาโกลา ในดินแดนสุวรรณภูมิ

เหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๖๔ ได้เกิดสงครามระหว่างแคว้นฉี กับ แคว้นเอี๋ยน ซึ่ง เจ้าหวาง ราชาแห่งแคว้นเอี๋ยน เกิดการสวรรคต แคว้นฉี จึงถือโอกาสส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองกลับคืน เกิดการสู้รบยืดเยื้อระหว่างแคว้นฉี กับ แคว้นเอี๋ยน เป็นเวลา ๓๕ ปี ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเสียหาย และอ่อนแรง แคว้นฉิน จึงถือโอกาส ทำสงครามรุกราน แคว้นฉู่(แคว้นเสฉวน) ของชนชาติอ้ายไต อีกครั้งหนึ่ง

ชนชาติอ้ายไต จึงทยอยอพยพลงมายัง ดินแดนสุวรรณภูมิ โดยทางเรือ เรื่อยมาทำให้ชนชาติอ้ายไต ต้องอพยพลงมาทางใต้ ทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ บางส่วนได้เดินทางอพยพเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นจำนวนมาก ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง คือที่มาของ แว่นแค้นใหม่ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ แคว้นตาโกลา(ตรัง) แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) แคว้นมิถิลา(ไชยา) และ แคว้นกิมหลิน(ราชบุรี) เป็นต้น ซึ่งได้เกิดขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งสิ้น

ปี พ.ศ.๒๖๔ เกิดสงครามระหว่าง แคว้นฉี กับ แคว้นเอี๋ยน ซึ่ง เจ้าหวาง ราชาแห่งแคว้นเอี๋ยน เกิดการสวรรคต แคว้นฉี จึงถือโอกาสส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองกลับคืน เกิดการสู้รบยืดเยื้อระหว่างแคว้นฉี กับ แคว้นเอี๋ยน เป็นเวลา ๓๕ ปี ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเสียหาย และอ่อนแรง แคว้นฉิน จึงถือโอกาส ทำสงครามรุกรานแคว้นฉู่ อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๒๖๔ เจ้าหวาง ราชาแห่งแคว้นเอี๋ยน สวรรคต แคว้นฉี จึงถือโอกาสส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองกลับคืน เกิดการสู้รบยืดเยื้อระหว่างแคว้นฉี กับ แคว้นเอี๋ยน เป็นเวลา ๓๕ ปี ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเสียหาย และอ่อนแรง ช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนของแคว้นฉี และ แคว้นจิ๋น ดั้งเดิม เกิดเป็นแว่นแคว้นใหม่ เรียกว่า แคว้นจ้าว มี เมืองหานตาน เป็นเมืองหลวงของแคว้น ทำให้แคว้นจ้าว กลายเป็นแคว้นกันชน ระหว่างแคว้นฉี และ แคว้นฉิน

ปี พ.ศ.๒๖๕ กองทัพแคว้นฉิน โดย ฮ่องเต้ฮุ่ยเหวินกง สามารถทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองอิ่ง ซึ่งเป็นเมืองนครหลวงของ แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) เป็นผลสำเร็จ แคว้นฉิน จึงเข้าทำสงครามกับแคว้นจ้าว แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) จึงสามารถกู้เมืองกลับคืนได้ในเวลาไม่นาน

 

สายราชวงศ์แมนสรวง ให้กำเนิด แคว้นกิมหลิน(โพธาราม ราชบุรี)¨-8

เนื่องจากเหตุการณ์ในประเทศจีน ในช่วงเวลาดังกล่าว แคว้นฉี ได้ถือโอกาสทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นอู๋(เสี่ยงไห้ และ นานกิง) และ แคว้นเย่(กวางตุ้ง และ กวางสี) อันเป็นแว่นแคว้นดั้งเดิม ของ ชนชาติอ้ายไต อาณาจักรหนานเจ้า เป็นที่มาให้เจ้าชายสองพี่น้อง มีพระนามว่า เจ้าชายกิม และ เจ้าชายหลิน แห่ง ราชวงศ์แมนสรวง ได้นำไพร่พล อพยพจาก แคว้นอู๋ บริเวณเมืองเซี่ยงไฮ้ ของประเทศจีน ในปัจจุบัน มายังดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ

ต่อมา สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต "แซ่เชียง" คือ เจ้าชายกิม และ เจ้าชายหลิน แห่ง ราชวงศ์แมนสรวง ได้ไปสมรสกับเชื้อสายราชวงศ์ของ แคว้นแม่กลอง(โพธาราม ราชบุรี) และกลายเป็นผู้ปกครอง แคว้นแม่กลอง เจ้าชายสองพี่น้อง เป็นผู้ทำสงครามสู้รบกับชนชาติกลิงค์ และชนชาติทมิฬ ซึ่งเป็นที่มาให้ชนชาวไต และ จดหมายเหตุจีน เรียกชื่อ แคว้นแม่กลอง ในช่วงเวลาต่อมา ว่า แคว้นกิมหลิน(โพธาราม ราชบุรี) ด้วยเช่นกัน

 

พ.ศ.๒๘๐ แคว้นฉิน เริ่มทำสงคราม เข้ายึด แคว้นจ้าว

ปี พ.ศ.๒๘๓ แคว้นฉิน โดย ฮ่องเต้ฮุ่ยเหวินกง ซึ่งทราบข่าวการรวบรวมดินแดน สหราชอาณาจักรภาระตะ ของพระเจ้าอโศกฯ เป็นปึกแผ่น ทำให้แคว้นฉิน เกิดความใฝ่ฝัน เช่นเดียวกัน ขณะนั้นแคว้นฉิน

ปี พ.ศ.๒๘๓ แคว้นฉิน โดย ฮ่องเต้ฮุ่ยเหวินกง ถือโอกาส แห่งความขัดแย้ง ยกกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นฉู่ เป็นผลสำเร็จ โดยกองทัพของ แคว้นฉิน ได้เริ่มทำสงคราม เข้ายึดแคว้นเว่ย แคว้นจ้าว และ แคว้นหาน สำเร็จ ในเวลาต่อมา

พ.ศ.๒๘๓ กองทัพ แคว้นฉิน โดย ฮ่องเต้ฮุ่ยเหวินกง สามารถปิดล้อมกองทหาร แคว้นจ้าว จำนวน ๔๕๐,๐๐๐ คน และฆ่าตายหมด เป็นที่หวาดเกรงของแคว้นต่างๆ มาก แคว้นฉิน จึงยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และเตรียมทำสงครามกับ แคว้นเอี๋ยน เรื่อยมา

ปี พ.ศ.๒๘๖ ได้เกิดความแตกแยกขึ้นในสำนักราชวงศ์โจว์ตะวันออก ซึ่งความขัดแย้งครั้งนั้น ทำให้มีราชสำนักเกิดขึ้นทั้งที่ เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) และ เมืองก่งเสี้ยน ทำให้ แคว้นหาน และ แคว้นจ้าว ได้ส่งกองทหารเข้าแทรกแซง

ปี พ.ศ.๒๘๗ เป็นต้นมา แคว้นอู๋(อาณาจักรเสี่ยงให้) และ แคว้นเย่(อาณาจักรไตจ้วง) ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน)

ปี พ.ศ.๒๘๗ เรียกว่า ยุคจ้านกั้ว ทำให้เกิดสงครามระหว่า แว่นแคว้นต่างๆ ๗ แคว้น คือ แคว้นฉิน แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) แคว้นฉี , แคว้นเอี้ยน แคว้นหาน แคว้นจ้าว และ แคว้นเว่ย โดยไม่มีผู้ใดจงรักภักดีต่อ ราชวงศ์โจว์ตะวันออก อีกต่อไป แคว้นเย่(อาณาจักรไตจ้วง) จึงหายไปจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ปี พ.ศ.๒๘๗ แคว้นฉิน โดย ฮ่องเต้จวงเซียงหวาง ส่งกองทหารมาตัดสินปัญหา และได้ยกเลิกราชวงศ์โจว์ตะวันออกที่เมืองลั่วหยาง จึงเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โจว์ตะวันออก ตั้งแต่นั้นมา และเริ่มเข้าสู่ ยุคจ้านกั้ว

พ.ศ.๒๘๗ เป็นต้นมา จึงเกิดเป็นสงครามระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ เรียกว่า ยุคจ้านกั้ว คือสงครามระหว่างแคว้นต่างๆ ๗ แคว้น คือ แคว้นฉิน แคว้นฉู่ แคว้นฉี แคว้นเอี้ยน แคว้นหาน แคว้นจ้าว และแคว้นเว่ย ราชา ทั้ง ๗ แคว้น ล้วนแย่งชิงความเป็นใหญ่ ในที่สุด แคว้นฉินก็สามารถพิชิต แว่นแคว้นต่างๆ ได้ทั้งหมด

ปี พ.ศ.๒๘๘ เกิดสงครามระหว่าง ราชวงศ์โจว์ตะวันออก แห่ง แคว้นฉิน กับ ราชวงศ์โจว์ตะวันออก โดย ฮ่องเต้จวงเซียงหวาง ได้ยกกองทัพเข้าตีแคว้นนครหลวง ของ ฮ่องเต้กินอ๋อง แห่งราชวงศ์โจว์ตะวันออก โดยสามารถจับ ฮ่องเต้กินอ๋อง ได้สำเร็จ เป็นที่มาให้เชื้อสายราชวงศ์โจว์ตะวันออก ต้องล่มสลาย ไม่มีแว่นแคว้นใดเชื่อถืออีกต่อไป

ปี พ.ศ.๒๘๘ ฮ่องเต้จวงเซียงหวาง แห่งแคว้นฉิน ได้ครอบครองแคว้นนครหลวง ของราชวงศ์โจว์ตะวันออก

ปี พ.ศ.๒๙๑ ฮ่องเต้จวงซียงหวาง แห่งแคว้นฉิน สวรรคต ทำให้ หวางเจิ้ง ผู้เป็นพระราชโอรสซึ่งมีพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ขึ้นเสวยราชสมบัติ(พ.ศ.๒๙๑-๓๓๓) มีพระนามว่า ฮ่องเต้ฉินซี หรือ ฉินซีฮ่องเต้ โดยมี ขุนนางหลีปู๊เว่ย เป็นผู้สำเร็จราชการ

 

การค้าขาย ระหว่าง อินเดีย กับ สุวรรณภูมิ

        วรรณกรรมพุทธศาสนา เรื่อง สุสันธีชาดก กล่าวว่า พระเจ้าตัมพราชา กษัตริย์ แห่ง กรุงพาราณสี มีมเหสี ทรงพระนามว่า พระนางสุสันธี เนื่องจาก พระเจ้าตัมพราชา ทรงโปรดการเล่นสะกา พระยาครุฑ จึงแปลงกายเป็นมาณพ มาเล่นสกา กับ พระเจ้าตัมพราชา ทำให้ พระยาครุฑแปลง และ พระนางสุสันธี เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ซึ่งกันและกัน จนกระทั่ง พระยาครุฑแปลง ได้ลักพาพระนางไป พระเจ้าตัมพราชา ได้ส่งคนธรรพ์ไปตามหา คนธรรพ์ ได้เดินทางไปยังเมืองท่าภรุกัจฉะ ได้พบกับพวกพ่อค้า ซึ่งกำลังเตรียมตัวเดินทางไปยังสุวรรณภูมิ จึงขออาศัยไปด้วย ระหว่างเดินทาง เรือถูกพายุอับปางลง คนธรรพ์ไปขึ้นฝั่งที่เกาะแห่งหนึ่ง และได้พบกับ พระยาครุฑ กับ พระนางสุสันธี

        วรรณกรรมในพุทธศาสนา ชื่อ มหากรรมวิภัง ได้กล่าวถึงพ่อค้าผู้มีความเชี่ยวชาญในการเดินเรือ มักจะนิยมเดินทางไปค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเดินทางจากเมืองท่า ๒ แห่ง คือ เมืองท่ามหาโกศลี และ เมืองท่าตามรลิปติ และยังบันทึกว่า พระความปิติ(ความปิติเถระ) เป็นผู้นำพระพุทธศาสนา มาประดิษฐานยังดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๘

         พระเจ้าจันทร์คุปต์ ซึ่งเป็นพระอัยกา ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ขึ้นครองราชย์สมบัติ(พ.ศ.๒๒๒-๒๔๖) ประเทศอินเดีย ได้บันทึกไว้ใน วรรณกรรมด้านการปกครองโบราณ คือ เกาฏิลยอรรถศาสตร์ ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยการปกครองบ้านเมือง และหน้าที่ของ อำมาตย์ราชสำนัก เขียนขึ้นโดย เกาฏิลยะ(เกาฎิลย์) ได้กล่าวถึงหน้าที่ ของ ขุนคลัง ได้กล่าวถึงเนื้อไม้หอมชนิดหนึ่ง เรียกว่า อคุรุ คือ ไม้กฤษณา ซึ่งเป็นไม้เนื้อหอมมีเนื้อสีเหลืองเป็นมันเยิ้ม บันทึกว่า เป็นไม้ที่ส่งมาจากดินแดนสุวรรณภูมิ และยังกล่าวถึงไม้กฤษณาว่ามีอีกหลายแห่ง เช่น เกาะลังกา และประเทศหนึ่งเรียกชื่อว่า สุวรรณกุฑยะ แสดงว่ามีการค้าขายระหว่าง อินเดีย และ สุวรรณภูมิ อย่างคึกคักแล้ว

        วรรณกรรมพุทธศาสนา ในชาดกมาลา แต่งโดย อารศูร(พุทธศตวรรษที่ ๘-๙) เป็นนิทานของพุทธศาสนา นิกายมหายาน เขียนเป็น ภาษาสันสกฤต มีเรื่องเล่าถึง การเดินทางของพ่อค้า เพื่อมาค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ คือเรื่อง สุปารกชาดก กล่าวว่า พ่อค้าเดินทางจาก เมืองท่าภรุกัจฉะ เพื่อมาค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ

 

กำเนิด วิชาการปกครอง ของ เกาฏิลยะ(เกาฎิลย์)

        ในรัชสมัย ของ พระเจ้าจันทร์คุปต์ ซึ่งเป็นพระอัยกา ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ขึ้นครองราชย์สมบัติ(พ.ศ.๒๒๒-๒๔๖) ประเทศอินเดีย ได้บันทึกไว้ใน วรรณกรรมด้านการปกครองโบราณ คือ เกาฏิลยอรรถศาสตร์ ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยการปกครองบ้านเมือง และหน้าที่ของ พระราชา อำมาตย์ราชสำนัก เขียนขึ้นโดย เกาฏิลยะ(เกาฎิลย์) ซึ่งถูกนำไปใช้ในอินเดีย และถูกนำมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยต่อมา

 

 

 

 

พระเจ้าอโศกมหาราช ทำสงครามรวบรวมดินแดน อินเดีย เป็นปึกแผ่น

ปี พ.ศ.๒๖๙ เจ้าชายอโศก เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าพินธุสาร และ พระนางสุภัทรางคี(พระนางธรรมา) สามารถยึดอำนาจเป็นกษัตริย์พระองค์ที่สาม แห่ง ราชวงศ์เมารยะ ขึ้นครองราชสมบัติ เป็น พระเจ้าอโศก(พ.ศ.๒๖๙-๓๑๑) เมื่อมีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา

พ.ศ.๒๗๓ พระเจ้าอโศก เมื่อพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา ทำพิธีบรมราชาภิเษก เป็นมหาจักรพรรดิ ของ อาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) โดยมี พระเจ้าติสสะ เป็น จักรพรรดิ กลายเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งชุมพูทวีป เพราะเป็นผู้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ ให้มาอยู่ภายใต้อาณาจักรอันเดียวกัน ซึ่งขณะนั้น เรียกว่า สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย)

ปี พ.ศ.๒๗๓ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทำการปราบปราม ๓ อาณาจักร เพื่อรวบรวมดินแดน สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) เป็นปึกแผ่นปราบปรามแว่นแคว้นที่ไม่ขึ้นต่อ คือ แคว้นกัศมีร์ , แคว้นกลิงค์รัฐ และ แคว้นทมิฬ

ปี พ.ศ.๒๗๗ หลักฐานของ อินเดีย และ กรีก บันทึกว่า พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอาณาจักรอินเดีย ต้องการรวบรวมดินแดนอาณาจักรอินเดียให้เป็นปึกแผ่น จึงได้ทำสงครามปราบปรามกลิงค์รัฐที่กระด้างกระเดื่อง การทำสงครามปราบปรามในครั้งนั้น พระเจ้าอโศกมหาราช ไม่สามารถทำสงครามปราบปรามแคว้นกลิงค์รัฐ และแคว้นทมิฬ ในดินแดนอินเดียตอนไต้ได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว สงครามจึงยืดเยื้อ

ปี พ.ศ.๒๗๗ ศิลาจารึกหลักที่ ๑๓ ของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้กล่าวถึงการเริ่มทำสงครามปราบปรามกลิงค์รัฐเมื่อปี พ.ศ.๒๗๗ มีเนื้อหาสรุปว่า...

เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติได้เป็นปีที่ ๘ พระองค์ได้มีชัยในการทำสงครามปราบปรามอาณาจักรกลิงค์รัฐ ได้สำเร็จ ประชาชนชาวกลิงค์ จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ คน ถูกจับเป็นเชลย ทหารและประชาชนถูกฆ่าเสียประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน และประชาชนอีกเป็นจำนวนมากได้สิ้นชีพลง นับแต่นั้นมา อาณาจักรกลิงค์รัฐ ได้ถูกยึดครองแล้ว

บันทึกของประเทศกรีก ซึ่งสรุปโดย นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อ พลินี ได้สรุปมีเนื้อหาสรุปว่า..

 สงครามปราบปรามอาณาจักรกลิงค์รัฐ มหาราชาแห่งอาณาจักรกลิงค์ มีกองทหารราบ ๖๐,๐๐๐ คน มีทหารม้า ๑,๐๐๐ คน มีทหารช้าง ๗๐๐ เชือก ประชาชนชนและทหารของอาณาจักรกลิงค์รัฐ ต้องล้มตายไปประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน อีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ต้องอพยพหนีภัยสงครามมายังดินแดนตะวันออก ทั้งโดยทางบกและทางเรือ ส่วน ชนชาติโจฬะ ซึ่งตั้งอาณาจักรอยู่ทางอินเดียภาคใต้ อีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ได้อพยพไพร่พลหนีการปราบปราม ต้องเดินทางโดยทางบก และทางทางทะเล มุ่งสู่ดินแดนทะเลตะวันออก และดินแดนรอบข้าง เช่นเดียวกัน

พ.ศ.๒๗๗ ชนชาติกลิงค์รัฐ  จำนวนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ที่อพยพเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ก็คือพื้นฐานของชนชาติมอญในปัจจุบัน ชนชาติกลิงค์ ได้เดินทางอพยพหลบหนีภัยสงครามมาตั้งรกราก  ตั้งแต่ริมฝั่งทะเลทางทิศใต้ของประเทศพม่าในปัจจุบัน โดยตั้งรกรากกันอย่างต่อเนื่องตามริมฝั่งทะเลอันดามัน ไปถึงเกาะสุมาตรา และยังอพยพมาตั้งรกรากในดินแดนเกษียรสมุทร หมู่เกาะพระกฤต(เกาะชวา)  ตามริมฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของดินแดนไทยในปัจจุบัน อีกด้วย 

ปี พ.ศ.๒๗๗ พระเจ้าอโศกมหาราช เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพราหมณ์ มานับถือพระพุทธศาสนา จากผลของการได้ สนทนาธรรม โดยบังเอิญ กับ พระภิกษุอุปคุปต์ ทำให้เริ่มสนใจในพระพุทธศาสนา และต่อมา สามเณรนิโครส ซึ่งเป็นพระราชนัดดา(หลาน) ของ พระองค์

ปี พ.ศ.๒๗๘ พระนางสังฆมิตร ได้ประสูติ เจ้าชายสุมิตร

ปี พ.ศ.๒๗๙ พระนางสังฆมิตร ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุณี

 

การอพยพของ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ เข้าสู่เกษียรสมุทร

        ในช่วงเวลาเดียวกัน กลับมีผู้อพยพชนชาติกลิงค์ และชนชาติทมิฬ จากดินแดนชมพูทวีป(อินเดีย) เข้ามาสู่ดินแดนเกษียรสมุทร และดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่ออาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นอย่างยิ่ง จากผลที่พระเจ้าอโศกมหาราช ทำสงครามรวบรวมดินแดนประเทศอินเดีย ให้เป็นปึกแผ่น

        เหตุการณ์เกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์ที่สาม แห่ง ราชวงศ์เมารยะ พระองค์เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าพินธุสาร และ พระนางสุภัทรางคี หรือ พระนางธรรมา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๒๖๙ ในขณะที่มีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา และได้ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก เมื่อมีพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา มี พระเจ้าติสสะ เป็นมหาอุปราช พระเจ้าอโศกมหาราช ได้กลายเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แห่ง ดินแดนชุมพูทวีป(อินเดีย) เพราะเป็นผู้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ ให้มาอยู่ภายใต้อาณาจักรอันเดียวกัน ซึ่งขณะนั้น เรียกว่า สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) แห่ง ดินแดนชุมพูทวีป โดยมี อาณาจักรเกษียรสมุทร เป็นประเทศเมืองขึ้น อีกด้วย

        เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ขึ้นครองราชย์สมบัติ นั้น เป็นช่วงเหตุการณ์เดียวกัน กับ การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในประเทศจีน โดยมี แคว้นฉิน กำลังรวบรวมดินแดนจีน ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกัน ดินแดน ของ อาณาจักรเจ็ค(จีน) จึงเต็มไปด้วยสงคราม ส่วนเหตุการณ์ในชุมพูทวีป นั้น ก็เต็มไปด้วยสงคราม เช่นกัน เนื่องด้วย พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทำการปราบปราม ๓ อาณาจักรใหญ่ เพื่อการรวบรวมดินแดน สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) ให้เป็นปึกแผ่น จึงจำเป็นต้องทำสงครามปราบปรามแว่นแคว้น และ อาณาจักร ต่างๆ ที่ไม่ยอมขึ้นต่อ คือ อาณาจักรกัศมีร์ , อาณาจักรกลิงค์รัฐ และ อาณาจักรทมิฬ(โจฬะ) เป็นที่มาให้ประชาชนของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ และ อาณาจักรทมิฬ เกิดการอพยพครั้งใหญ่ เข้าสู่ ดินแดนอาณาจักรเกษียรสมุทร(เกาะสุมาตรา เกาะชวา และ เกาะบาหลี) และดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งส่งผลต่อเหตุการณ์ ความไม่สงบที่ได้เกิดขึ้นมาในดินแดน ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา ด้วยเช่นกัน

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศอินเดีย และประเทศกรีก ได้บันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๗๗ พระเจ้าอโศกมหาราช แห่ง สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) ต้องการรวบรวมดินแดน สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) ให้เป็นปึกแผ่น จึงได้ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรกลิงค์รัฐ ซึ่งกระด้างกระเดื่อง ต่อพระเจ้าอโศกมหาราช การทำสงครามปราบปรามในครั้งนั้น พระเจ้าอโศกมหาราช ไม่สามารถทำสงครามปราบปราม อาณาจักรกลิงค์รัฐ และ อาณาจักรทมิฬ(โจฬะ) ในดินแดนอินเดียตอนไต้ ให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว ตามแผนการที่กำหนด สงครามจึงยืดเยื้อ

ศิลาจารึกหลักที่ ๑๓ ของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้กล่าวถึงการเริ่มทำสงครามปราบปรามกลิงค์รัฐเมื่อปี พ.ศ.๒๗๗ มีเนื้อหาตอนหนึ่ง¨-2 ว่า...

 ....เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติได้เป็นปีที่ ๘ พระองค์ได้มีชัยในการทำสงครามปราบปรามอาณาจักรกลิงค์รัฐ ได้สำเร็จ ประชาชนชาวกลิงค์ จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ คน ถูกจับเป็นเชลย ทหารและประชาชนถูกฆ่าเสียชีวิต ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน และประชาชนอีกเป็นจำนวนมากได้สิ้นชีพลง นับแต่นั้นมา อาณาจักรกลิงค์รัฐ ได้ถูกยึดครองแล้ว….”

บันทึกของประเทศกรีก ซึ่งสรุปโดย นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อ "พลินี" ได้สรุปเรื่องราวตอนหนึ่ง ว่า..

....สงครามปราบปรามอาณาจักรกลิงค์รัฐ มหาราชาแห่งอาณาจักรกลิงค์ มีกองทหารราบ ๖๐,๐๐๐ คน มีทหารม้าจำนวน ๑,๐๐๐ คน มีทหารช้าง ๗๐๐ เชือก ประชาชนชนและทหารของอาณาจักรกลิงค์รัฐ ต้องล้มตายไปประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน อีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ต้องอพยพหนีภัยสงครามไปยังดินแดนตะวันออก ทั้งโดยทางบกและทางเรือ ส่วนชนชาติทมิฬ(โจฬะ) ซึ่งตั้งอาณาจักรอยู่ทางอินเดียภาคใต้ อีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ได้อพยพไพร่พล หลบหนีการปราบปราม ต้องเดินทางโดยทางบก และทางทางทะเล มุ่งสู่ดินแดนทะเลตะวันออก และดินแดนรอบข้าง เช่นเดียวกัน…”

        ผลของการอพยพของทั้งชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ จากดินแดนชุมพูทวีป แห่ง สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) มาสู่ ดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอินเดีย และ ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้สร้างความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นกับ ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ทันที ชนพื้นเมืองแขกดำ หรือพวกนาคา หลายชนเผ่า ซึ่งเป็นผู้ที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ มาก่อนชนชาติอื่นๆ จึงเริ่มถูกแบ่งแยก โดยถูกนำไปใช้เป็นข้าทาส และเป็นไพร่พล ของ ผู้อพยพหนีภัยสงคราม ของทั้งชนชาติกลิงค์ และชนชาติทมิฬ ที่อพยพมาจาก ดินแดนชุมพูทวีป เพื่อการทำสงครามการแย่งชิงยึดดินแดนสุวรรณภูมิ ไปจากเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ที่เคยตั้งรกรากอยู่อาศัยและปกครองชนพื้นเมืองแขกดำ หลายเผ่าพันธุ์ มาก่อน อย่างยาวนาน และเคยอยู่ร่วมกันกับ ชนพื้นเมืองแขกดำ ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างสงบสุข ในที่สุด สงครามแย่งชิงดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๗๘ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

 

ชนชาติทมิฬ เข้าตั้งรกราก ณ เกาะทมิฬอาแจ๊ะ

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๗๗ เป็นต้นมา ชนชาติกลิงค์รัฐ  จำนวนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นผู้อพยพเข้าสู่ ดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร(เกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะบาหลี) และดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ก่อนที่ชนชาติทมิฬ ซึ่งจะอพยพเข้ามาภายหลังอีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน เข้ามา ยังดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร เช่นเดียวกัน

ผู้อพยพ ชนชาติกลิงค์ ก็คือพื้นฐานของ ชนชาติมอญ ในปัจจุบัน นั่นเอง ชนชาติกลิงค์ อีกส่วนหนึ่ง ได้ตั้งรกรากในหมู่เกาะชวา(เกาะพระกฤต หรือ เกาะชบาตะวันออก) ของ ประเทศอินโดนีเชีย เป็นส่วนใหญ่ ส่วนชนชาติทมิฬ คือผู้ที่ตั้งรกรากในดินแดน หมู่เกาะสุมาตรา(เกาะชบา ตะวันตก) ของ ประเทศอินโดนีเชีย ในปัจจุบัน และอีกส่วนหนึ่ง คือ ประชาชนส่วนใหญ่ ในดินแดนประเทศเขมร และ พม่า ในปัจจุบัน นั่นเอง

ตามตำนาน บ้านทุ่งเล่นดิบ(ทุ่งเล่นของผีดิบ) คือท้องที่บ้านบางน้ำจืด ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน กล่าวว่า พวกราชวงศ์ชนชาติกลิงค์รัฐ ได้นำไพร่พลชนชาติกลิงค์ เดินทางอพยพหลบหนีภัยสงคราม โดยทางเรือ มาตั้งรกราก ในดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร คือดินแดน หมู่เกาะกาละ(เกาะสุมาตรา) และ หมู่เกาะพระกฤต(เกาะชวา) ซึ่งเป็นดินแดนเมืองขึ้นของประเทศอินเดีย ก่อนการอพยพ ของ ชนชาติทมิฬ ซึ่งอพยพตามมาภายหลังประมาณ ๑ ปี

ในระยะแรกๆ ชนชาติกลิงค์ มิได้อพยพเข้ามาสู่ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ของ ชนชาติอ้ายไต แต่อย่างใด แต่ต่อมา พวกราชวงศ์ของชนชาติทมิฬ นำไพร่พลชนชาติทมิฬ ๒๐๐,๐๐๐ คน อพยพโดยทางเรือ เข้ามายังดินแดนเกษียรสมุทร ในภายหลัง เช่นกัน และได้นำกองทัพของชนชาติทมิฬ เข้าโจมตี ชนชาติกลิงค์ ที่หมู่เกาะสุมาตรา(เกาะชบา ตะวันตก) เป็นเหตุให้ ชนชาติกลิงค์ ต้องหลบหนีจากเกาะสุมาตรา ไปยัง ดินแดน เกาะพระกฤต(เกาะชวา หรือ เกาะชบาตะวันออก) และดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้เกาะสุมาตรา ถูกชนชาติอ้ายไต เรียกชื่อว่า เกาะกาละ(สุมาตรา หรือ ชบา ตะวันตก) ตั้งแต่นั้นมา คำว่า "กา" หมายถึง ชนชาติกลิงค์ นั่นเอง คำว่า "เกาะกาละ" จึงหมายถึง เกาะที่ชนชาติกลิงค์ ต้องหลบหนี ออกไปจากการรุกราน ของ ชนชาติทมิฬ

 

ชนชาติกลิงค์ อพยพเข้าตั้งรกรากในเกาะพระกฤต

 ชนชาติกลิงค์ ซึ่งถูกชนชาติทมิฬ เข้าโจมตี หมู่เกาะกาละ(เกาะชบาตะวันตก หรือเกาะสุมาตรา)¨-3 จึงต้องอพยพ เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง และเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ ทางฝั่งทะเลตะวันตก บริเวณท้องที่ จ.ระนอง และ จ.กระบี่ ในปัจจุบัน อีกส่วนหนึ่ง อพยพเข้าสู่ เกาะพระกฤต(เกาะชบาตะวันออก หรือ เกาะชวา)¨-4 แต่ยังถูกกองทัพชนชาติทมิฬ ไล่ติดตามเข้าโจมตีอีกครั้งหนึ่ง ชนชาติกลิงค์ จึงต้องอพยพ เข้ามาตั้งรกราก ในดินแดนริมฝั่งทะเลตะวันออก ทางภาคใต้ของประเทศไทย บริเวณ ทุ่งเล่นดิบ คือท้องที่ บ้านบางน้ำจืด ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี และ ท้องที่ รัฐกลันตัน(กลิงค์ตัน) ของประเทศมาเลเซีย ในปัจจุบัน นั่นเอง

ผู้อพยพชนชาติทมิฬ อีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ที่อพยพหลบหนีภัยสงคราม มาจากดินแดนทางตอนใต้ของอินเดีย มาในภายหลัง ได้เข้ามาทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์ ตามที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ชนชาติทมิฬ ได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในดินแดน เกาะกาละ(เกาะสุมาตรา) เป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมา ชนชาติกลิงค์ จากหมู่เกาะพระกฤต(เกาะชวา) ได้ยกกองทัพเข้าปราบปราม ชนชาติทมิฬ ที่ เกาะกาละ(สุมาตรา) เป็นการตอบแทนบ้าง เป็นเหตุให้ ชนชาติทมิฬ ส่วนหนึ่ง ได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ ทางฝั่งทะเลตะวันตก คือบริเวณท้องที่ทางทิศตะวันตกของ ภูเขาศก คือท้องที่ จ.พังงา และ จ.กระบี่ ในปัจจุบัน นั่นเอง ชนชาติทมิฬ ที่มาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ ถูกประชาชนชาวไทยเรียกชื่อว่า "พวกเวียดบก" หมายถึง ชนชาติทมิฬ ผู้บุกรุก รุกราน ผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ ของ ชนชาติอ้ายไต

ชนชาติทมิฬ อีกส่วนหนึ่งได้อพยพไปตั้งรกรากในดินแดนเกษียรสมุทร คือดินแดนหมู่เกาะชวา และหมู่เกาะบอร์เนียว ในปัจจุบัน กลุ่มนี้ จะถูกเรียกว่า "โจรละน้ำ" ส่วนคนไทยบางกลุ่ม จะเรียกชนชาติทมิฬ กลุ่มนี้ ว่า "เวียดน้ำ" ชนชาติทมิฬ กลุ่มนี้ ต่อมาได้หนีภัยสงครามไปยึดครองดินแดน แคว้นจามปา และผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนชาติอ้ายไต ในแว่นแคว้นต่างๆ และยังผสมเผ่าพันธุ์กับ ชาวอินเดีย ที่อพยพมาจากแคว้น จามปา กลายเป็น ชนชาติเวียตนาม ในปัจจุบัน

จะสังเกตเห็นว่า หลักฐานจดหมายเหตุจีน ในเวลาต่อมา มักจะเรียกชนชาติทมิฬ ว่า เจนละ(โจฬะ) โดยแบ่งชนชาติทมิฬ ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ เจนละบก(เขมร) และ เจนละน้ำ(เกาะบอร์เนียว และ เวียตนาม) ส่วนหลักฐานจดหมายเหตุอาหรับ จะเรียก โจรละน้ำ ในหมู่เกาะบอร์เนียว ว่า ศรีบูชา(ศรีโพธิ์ช้า) และเรียกโจรละบก ว่า กำบูชา(กำโพธิ์ช้า) การเรียกชื่อชนชาติทมิฬ จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการพัฒนา ของสงครามที่เกิดขึ้น ในสมัยต่อๆ มา

 

สงครามกับ ชนชาติกลิงค์ ณ สมรภูมิ เมืองสุวรรณภูมิ

พระราชโอรสฝาแฝด ๒ พระองค์หลบหนีไปได้ โดยได้ไปสร้างแคว้นอินทปัต ขึ้นใหม่ ในดินแดน แคว้นสุวรรณเขต ทำให้ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เปลี่ยนที่ตั้งไปอยู่ที่ เมืองพรหมทัศน์(ยะลา) แคว้นพรหมทัศน์ แห่ง อาณาจักรนาคน้ำ มี มหาราชาท้าวกู เป็นมหาราชาปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ แข่งขันกับ มหาราชาท้าวหมึง ที่สร้างแคว้นอินทปัต ขึ้นปกครอง ก่อนการเปลี่ยนแปลงเป็น สหราชอาณาจักรเทียน

 

แคว้นคลองหิต(คันธุลี) เมืองหลวง อาณาจักรสุวรรณภูมิ ถูกยึดครอง

ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ผลจากการที่ ชนชาติกลิงค์ ทำสงครามกับ ชนชาติทมิฬ เพื่อแย่งชิงดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร ระหว่างกัน โดยที่ ชนชาติทมิฬ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในดินแดน หมู่เกาะชบาตะวันตก หรือ หมู่เกาะกาละ(สุมาตรา) ยกกองทัพเข้าโจมตี ชนชาติกลิงค์ ณ เกาะชบา ตะวันออก หรือ เกาะพระกฤต(เกาะชวา) ทำให้ ชนชาติกลิงค์ ต้องอพยพ เข้ามาตั้งรกราก ในดินแดนริมฝั่งทะเลตะวันออก ทางภาคใต้ของประเทศไทย บริเวณ ทุ่งเล่นดิบ คือท้องที่ บ้านบางน้ำจืด ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี และ ท้องที่ รัฐกลันตัน(กลิงค์ตัน) ของประเทศมาเลเซีย ในปัจจุบัน นั่นเอง สงคราม จึงเริ่มเกิดขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ

ตำนานพวกบ้านวังพวกราชวงศ์ กล่าวถึง สงครามในดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ ที่รบกันรุนแรง จนเกิดความเป็นมาของ คำไทย คำว่า "พวกู" หมายถึงฝ่าย มหาราชาท้าวกู และ "พวกมึง" หมายถึง ฝ่ายมหาราชาท้าวหมึง มีความเป็นมาโดยสรุปว่า เมื่อเกิดสงครามขึ้น โดยที่ กองทัพของชนชาติกลิงค์ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่ บ้านทุ่งเล่นดิบ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นคลองหิต(คันธุลี) ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ อาณาจักรสุวรรณภูมิ มี ท้าวอินทปัต เป็นกษัตริย์ปกครอง

ชนชาติกลิงค์ สามารถทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองคลองหิต(ครหิต) ซึ่งเป็นเมืองนครหลวง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ ระหว่างปี พ.ศ.๒๘๐-๒๙๗ ท้าวอินทปัต สวรรคต ในสงคราม พระเจ้าน้า(ท้าวหมึง หรือ ท้าวคำบาง) ได้นำโอรสฝาแฝด ๒ พระองค์ พระนามว่า เจ้าชายตาแก้ว(มหารัตน์กุมาร) และ เจ้าชายออกแก้ว(จุลรัตน์กุมาร) พร้อมพวกราชวงศ์ และไพร่พล ต้องอพยพหลบหนีลงเรือสำเภา ไปตั้งรกราก สร้างเมืองใหม่ อยู่ที่ เมืองอินทปัต แคว้นสุวรรณเขต โดยได้สร้างแคว้นขึ้นใหม่ มีชื่อว่า แคว้นอินทปัต ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ ระหว่างภูเขาบรรทัด กับทะเล อ่าวแม่โขง โดยที่ ท้าวหมึง ได้ตั้งตัว เป็น มหาราชา ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ขึ้นใหม่ แต่ ไม่ยอมนำกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์-ทมิฬ ให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ

เนื่องจาก มหาราชาท้าวกู แห่งรัฐนาคน้ำ ต้องการทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์ และชนชาติทมิฬ ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ จึงตั้งตัวขึ้นเป็นมหาราชา แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ ขึ้นที่ แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) ขึ้นเช่นกัน ผลที่สุด จึงเกิดการแบ่งพวก ในชนชาติอ้ายไต ด้วยกัน ว่า เป็น "พวกกู" หรือ "พวกหมึง" ผลปรากฏว่า "พวกกู" มากกว่า มหาราชาท้าวกู จึงได้รับการยอมรับเป็น มหาราชา ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ต่อเนื่องจาก มหาราชาท้าวอินทปัต¨-9

ส่วน แคว้นคลองหิต(คันธุลี) ถูกชนชาติกลิงค์ เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "กลิงค์รัฐ" โดยย้ายที่ตั้งพระราชวังหลวง ซึ่งเคยตั้งอยู่บริเวณ วัดศรีราชัน(สั่งประดิษฐ์) ในปัจจุบัน ไปตั้งใหม่ อยู่ที่บริเวณสองฟากฝั่ง คลองกลิงค์(คลองตลิ่ง) ของ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เป็นเหตุให้ ราชามิถิลา แห่ง แคว้นโกสมพี(มิถิลา-ไชยา) จึงต้องทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์รัฐ หลายครั้ง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ มหาราชาท้าวกู และ ท้าวกุเวร แห่ง แคว้นพรหมทัต(ยะลา) แห่ง อาณาจักรนาคน้ำ จึงกลายเป็นมหาราชา และ มหาอุปราช ปกครองอาณาจักรสุวรรณภูมิ ทั้งอาณาจักร ตั้งแต่ ปีที่ท้าวอินทปัต สวรรคต เป็นต้นไป นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ อาณาจักรสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง แต่ มหาราชาท้าวหมึง พระอนุชาของ มเหสีของ ท้าวอินทปัต ตั้งแคว้นสุวรรณภูมิ(อินทปัต) มาแข่งขันด้วย แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ

 

การอพยพของ ชนชาติไต เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ปี พ.ศ.๒๘๔

ในขณะที่ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ต้องทำสงครามขับไล่ชนชาติกลิงค์ และชนชาติทมิฬ ที่เข้ามายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ อยู่นั้น เหตุการณ์ในประเทศจีน ซึ่งเกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรหนานเจ้า กับ อาณาจักรเจ็ค แห่งราชวงศ์โจว์ อยู่นั้น มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๘๓ เมื่อกองทัพ แคว้นฉิน สามารถปิดล้อมกองทหาร แคว้นจ้าว จำนวน ๔๕๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ ปี และได้ทำการฆ่าทหารดังกล่าว เสียชีวิตหมดสิ้น แว่นแคว้นต่างๆ จึงเกรงขาม แคว้นฉิน มาก  แคว้นฉิน จึงกลายเป็นแคว้นที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กษัตริย์ราชวงศ์โจว์ตะวันออก แห่งอาณาจักรเจ็ค จึงเหลือแต่ชื่อ ไม่มีผู้ใดยำเกรง อีกต่อไป

        เหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๘๘ ซึ่งเกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรหนานเจ้า กับ อาณาจักรเจ็ค แห่งราชวงศ์โจว์ตะวันออก อยู่นั้น แคว้นฉิน โดย ฮ่องเต้จวงเซียงหวาง ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพใหญ่ เข้าโจมตีแคว้นนครหลวง ของ ฮ่องเต้กินอ๋อง แห่งราชวงศ์โจว์ตะวันออก โดยสามารถจับกุม ฮ่องเต้กินอ๋อง ได้สำเร็จ เป็นที่มาให้เชื้อสายราชวงศ์โจว์ตะวันออก ต้องล่มสลายลง โดยไม่มีแว่นแคว้นใดๆ เชื่อถืออีกต่อไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นส่งผลให้ ฮ่องเต้จวงเซียงหวาง แห่งแคว้นฉิน ได้ครอบครองแคว้นนครหลวง ของ ราชวงศ์โจว์ตะวันออก ต่อมา ฮ่องเต้จวงซียงหวาง สวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๙๑ ทำให้ เจ้าชายหวางเจิ้ง ผู้เป็นพระราชโอรสซึ่งมีพระชนมายุได้เพียง ๑๓ พรรษา ขึ้นเสวยราชสมบัติ จนกระทั่งพระองค์เติบโตเป็นหนุ่ม คือเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๙๗ ฮ่องเต้หวางเจิ้ง ได้ยกทัพเข้าปราบปรามก๊กต่างๆ ได้ทั้งหมดอีก ๖ ก๊ก ชนชาติอ้ายไต ได้อพยพเข้ามาในช่วงเวลาดังกล่าว อีกครั้งหนึ่ง

 

พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จมาจาริกแสวงบุญ ทั่วอินเดีย

        หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศอินเดีย กล่าวว่า ผลของสงครามในดินแดนชมพูทวีป(อินเดีย) ครั้งนั้น ส่งผลให้พระเจ้าอโศกมหาราช เกิดความเบื่อหน่ายสงครามมาก เมื่อพระองค์ได้สนทนาธรรม โดยบังเอิญ กับ พระภิกษุอุปคุปต์(พระบัวเข็ม)¨-5 ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราช เริ่มสนใจในพระพุทธศาสนา และต่อมา สามเณรนิโครส ซึ่งเป็นพระราชนัดดา ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงแนะนำให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ.๒๗๗ ซึ่งเป็นที่มาให้พระเจ้าอโศกมหาราช เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพราหมณ์ มานับถือ พระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๗๗ เป็นต้นมา

        พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงชักจูงให้ พระทัยติษยะ ผู้เป็นพระอนุชา ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ด้วย หลังจากนั้น พระอัคนิพราหมณ์ ผู้เป็นพระราชบุตรเขย ซึ่งอภิเษกสมรสกับ พระนางสังฆมิต ใด้ออกบวชเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.๒๗๘ หลังจากที่ พระนางสังฆมิต ได้ประสูติ เจ้าชายสุมิต(ท้าวหารคำ) เมื่อปี พ.ศ.๒๗๘ เรียบร้อยแล้ว และเมื่อปี พ.ศ.๒๗๙ พระนางสุมิตร ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุณี เช่นกัน เหตุการณ์ใน สหราชอาณาจักรภาระตะ ขณะนั้น จึงปราศจากสงคราม แต่สงครามกลับเปลี่ยนแปลงมาเกิดขึ้นในดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ และ ประเทศจีน แทนที่

ปี พ.ศ.๒๙๐-๒๙๗ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เดินทางไปจาริกแสวงบุญยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา ทั่วดินแดนภาระตะ โดยมี พระอุปคุปต์เถระ เป็นผู้ถวายคำแนะนำ

ปี พ.ศ.๒๙๖ สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช หลักฐาน คัมภีร์อวทาน ของประเทศอินเดีย ได้บันทึกไว้ว่า...

"..พระเจ้าอโศกมหาราช ได้โปรดให้เปิดกรุพระบรมธาตุ ซึ่งพระเจ้าอชาติศัตรู ได้ทรงบรรจุไว้ในพระสถูปใหญ่ด้านทิศตะวันออกของเวฬุวันวิหาร แล้วโปรดให้แบ่งส่วนพระธาตุ จัดให้มีการเดินทางเพื่อนำไปบรรจุไว้ในสถูปที่สร้างขึ้นใหม่ ตามดินแดนต่างๆ จำนวน ๘๔,๐๐๐ สถูป..."

ปี พ.ศ.๒๙๗ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จ มายัง อาณาจักรสุวรรณภูมิ เพื่อเข้ามาจาริกแสวงบุญ เคารพรอยพระบาทเบื้องซ้าย ของ พระกฤษณะ ซึ่งเชื่อว่า พระกฤษณะ ได้ อวตาลมาเป็นพระพุทธองค์ และได้มาสร้างรอยพระบาทเบื้องซ้าย ไว้ ณ ท้องที่บ่อ ๗ แห่ง ภูเขาแม่นางเอ จึงได้แนะนำ พร้อมกับนำระบบการปกครอง รูปแบบใหม่ มาแนะนำให้กับ มหาราชาท้าวกูเวร แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ

 

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรนาคน้ำ

ผลจากการที่ ชนชาติกลิงค์ ทำสงครามกับ ชนชาติทมิฬ เพื่อแย่งชิงดินแดนเกษียรสมุทร โดยที่ ชนชาติทมิฬ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในดินแดน หมู่เกาะชบา ตะวันตก หรือ หมู่เกาะกาละ(สุมาตรา) ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี ชนชาติกลิงค์ ณ เกาะชบาตะวันออก หรือ เกาะพระกฤต(เกาะชวา) ทำให้ ชนชาติกลิงค์ จาก เกาะพระกฤต(เกาะชวา) ต้องอพยพ เข้ามาตั้งรกราก ในดินแดนริมฝั่งทะเลตะวันออก และทางฝั่งทะเลตะวันตก ทางภาคใต้ของประเทศไทย บริเวณ แคว้นชัยเทศ(กลันตัน) , ทุ่งเล่นดิบ(แคว้นโกสมพี) และ แคว้นตาโกนา(กระบี่) สงคราม ระหว่าง อาณาจักรสุวรรณภูมิ ของ ชนชาติอ้ายไต กับ ชนชาติกลิงค์ ผู้รุกราน จึงเริ่มเกิดขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทันที

        ตำนานสงคราม ทุ่งเล่นดิบ(บ้านบางน้ำจืด ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง) กล่าวว่า ก่อนเกิดสงคราม ที่ทุ่งเล่นดิบ ได้เกิดสงครามขึ้นที่ แคว้นชัยเทศ(กลันตัน) และ แคว้นตาโกนา(กระบี่) ขึ้นมาก่อน โดยที่ กองทัพ ของ ชนชาติกลิงค์ จาก เกาะพระกฤต(เกาะชวา) สามารถยกกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นชัยเทศ(กลันตัน) เป็นผลสำเร็จ พวกสายราชวงศ์ท้าวชัยเทศ สามารถหลบหนี ไปได้ จึงร่วมกับ กองทัพ ของ แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) และ แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) เข้าทำสงคราม กองทัพชนชาติกลิงค์ ถูกปิดล้อม ขาดแคลนเสบียงอาหาร จึงขอยอมแพ้ เรียกสงครามครั้งนั้น ว่า สงครามกลิงค์ตัน เพราะชนชาติกลิงค์ ถูกจับเป็นข้าทาส บางส่วน หลบหนีกลับไปยัง หมู่เกาะพระกฤต(เกาะชวา)

        ชัยชนะ ของ สงครามกลิงค์ตัน ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ แคว้นชัยเทศ ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นกลิงค์ตัน(กลันตัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๙๗ เป็นต้นมา จดหมายเหตุจีน เรียกชื่อแคว้นนี้ ในเวลาต่อมาว่า ลิงตัน และต่อมา ถูกเรียกเพี้ยนเป็น กลันตัน คือ รัฐกลันตัน ของ ประเทศมาเลเชีย ในปัจจุบัน นั่นเอง

ส่วนสงครามขึ้นที่ แคว้นตาโกนา(กระบี่) กองทัพ ของ ชนชาติกลิงค์ จาก เกาะพระกฤต(เกาะชวา) สามารถยกกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นตาโกนา(กระบี่) เป็นผลสำเร็จ พวกราชวงศ์จิว สามารถหลบหนี ไปได้ จึงร่วมกับ กองทัพ ของ แคว้นตาโกลา(ตรัง) และ ตาโกปา(ตะกั่วป่า) เข้าทำสงคราม กองทัพชนชาติกลิงค์ ถูกโจมตี เสียชีวิตเกือบทั้งหมด จึงเรียกสงครามครั้งนั้น ว่า สงครามกลิงค์พัง หมายถึง ชนชาติกลิงค์ ต้องเสียชีวิตจำนวนมาก ชัยชนะของ สงครามกลิงค์พัง เป็นเหตุให้ แคว้นตาโกนา(กระบี่) ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๙๗ เป็นต้นมา จดหมายเหตุจีน จึงเรียกชื่อแคว้นนี้ ในเวลาต่อมา ว่า ลิงพัง(กระบี่) และต่อมา ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โพธิ์กลิงค์พัง(กระบี่) จดหมายเหตุจีน จึงเรียกชื่อแคว้นนี้ ในเวลาต่อมาว่า โฮลิงพัง คือท้องที่ จ.กระบี่ ในปัจจุบัน นั่นเอง

 

สงครามกับ ชนชาติกลิงค์ ณ สมรภูมิ ทุ่งเล่นดิบ พ.ศ.๒๙๗

        ตามตำนาน สงครามทุ่งเล่นดิบ กล่าวว่า เกิดขึ้นก่อนที่ พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จมาจาริกแสวงบุญ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ก่อนหน้านี้ สงครามทุ่งเล่นดิบ เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อ กองทัพชนชาติกลิงค์ ของ พระเจ้ามอญ ได้ส่งกองทัพใหญ่ไปตั้งทัพอยู่ที่ บ้านทุ่งเล่นดิบ ท้องที่บ้านบางน้ำจืด ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน แล้วแสร้งส่งกองทัพส่วนน้อย เดินทัพเข้าสู่ทุ่งพนมแบก เพื่อแสร้งเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นมิถิลา(ไชยา) เพื่อลวงให้ กองทัพของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) และ กองทัพของ แคว้นคลองหิต(คันธุลี) นำกำลังส่วนใหญ่ ออกต่อสู้ ณ ทุ่งพนมแบก

แผนลวงของ พระเจ้ามอญ สำเร็จตามแผน ผลของ สงครามทุ่งเล่นดิบ ครั้งที่ ๑ นั้น กองทัพของชนชาติกลิงค์ จากทุ่งเล่นดิบ เข้าโจมตียึดครอง แคว้นคลองหิต(คันธุลี) ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเหตุการณ์จริง ระหว่างปี พ.ศ.๒๘๐-๒๙๗ สงครามครั้งนั้น ท้าวอินทปัต สวรรคต ในสงคราม พระเจ้ามอญ จึงเข้ายึดครอง แคว้นคลองหิต(คันธุลี) เพื่อปกครองดินแดนแหล่งทองคำสำคัญ ในดินแดนสุวรรณภูมิ แล้วเปลี่ยนชื่อ แคว้นคลองหิต(ครหิต) เป็นชื่อใหม่ว่า กลิงค์รัฐ และต่อมา พระเจ้ามอญ ได้กวาดต้อนชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่าชวา มาเป็นไพร่พล ของ กลิงค์รัฐ เป็นจำนวนมาก กลิงค์รัฐ จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชวากะรัฐ อีกด้วย

        สงครามทุ่งเล่นดิบ ครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นในปีที่ พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จมาจาริกแสวงบุญ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งสันนิษฐานว่า คือปี พ.ศ.๒๙๗ เพราะชนชาติกลิงค์ ทราบว่า พระเจ้าอโศกมหาราช จะเสด็จมายัง แคว้นมิถิลา(ไชยา) จึงส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นมิถิลา(ไชยา) หวังที่จะล้างแค้น พระเจ้าอโศกมหาราช ที่เคยปราบปรามชนชาติตนเอง จึงส่งกองทัพเข้ามาตี เมืองมิถิลา ผ่านทาง บ้านทุ่งเล่นดิบ สงครามครั้งนั้น เจ้าแมนสม(โกแมนสม แซ่เชียง) ราชาแห่งแคว้นมิถิลา สามารถทำลายกองทัพ ของ ชวากะรัฐ เป็นจำนวนมาก พระยามอญ ต้องหนีตาย ไปยัง ชวากะรัฐ(คันธุลี)

กล่าวกันว่า หลังจากสงครามครั้งนั้น ผู้ตาย คือ ผีดิบ ชนชาติกลิงค์ ได้ออกมาหลอกหลอนประชาชน จนไม่มีผู้ใดกล้าตั้งรกรากอยู่อาศัย ณ บ้านทุ่งเล่นดิบ อีกต่อไป บ้านเล่นดิบ จึงกลายเป็นหมู่บ้านร้าง เรียกกันว่า ทุ่งเล่นของผีดิบ และถูกเรียกสั้นๆ ว่า ทุ่งเล่นดิบ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ผลของสงครามทุ่งเล่นดิบ ครั้งนั้น ทำให้ ชนชาติกลิงค์ ยอมสวามิภักดิ์ ต่อสหราชอาณาจักรเทียน โดยการติดต่อ ของ คณะราชทูต ของ พระเจ้าอโศกมหาราช กลิงค์รัฐ จึงถูกเปลี่ยนชื่อ เป็น แคว้นมอญกลิงค์(คันธุลี) หรือ แคว้นชวากะรัฐ เรื่อยมา ชนชาติกลิงค์ จึงผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่า ชวา เรียกกันว่า ชนชาติมอญ ดังนั้น แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) จึงกลายเป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเทียน หลังจากที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจรจา กับ พระเจ้ามอญ อีกครั้งหนึ่ง

 

สงคราม ระหว่าง ท้าวหมึง กับ ท้าวกู

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๗๗ เป็นต้นมา ชนชาติกลิงค์รัฐ  จำนวนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นผู้อพยพเข้าสู่ ดินแดน หมู่เกาะเกษียรสมุทร(เกาะสุมาตรา-เกาะชวา-เกาะบาหลี-เกาะบอร์เนียว) และ ดินแดนสุวรรณภูมิ ภายใต้การปกครอง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ก่อนที่ชนชาติทมิฬ ซึ่งจะอพยพเข้ามาภายหลังอีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน เข้ามา ยังดินแดนของ หมู่เกาะเกษียรสมุทร เช่นเดียวกัน

ต่อมา ชนชาติกลิงค์ ที่เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เกิดการปะทะ ต้องทำสงครามกับ ชนชาติอ้ายไต หลายครั้งหลายคราว สงครามได้พัฒนาไป จนกระทั่ง ชนชาติทมิฬ สามารถทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองคลองหิต(ครหิต) ของ แคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเมืองนครหลวง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ ระหว่างปี พ.ศ.๒๘๐-๒๙๗ ทำให้ มหาราชาท้าวอินทปัต สวรรคต ในสงคราม

ส่วน ท้าวหมึง ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ อัครมเหสี ของ มหาราชาท้าวอินทปัต ได้นำพระโอรส ฝาแฝด ๒ พระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าชายตาแก้ว(มหารัตน์กุมาร) และ เจ้าชายออกแก้ว(จุลรัตน์กุมาร) พร้อมพวกราชวงศ์ และไพร่พล ต้องอพยพหลบหนีลงเรือสำเภา ไปตั้งรกราก สร้างเมืองใหม่ อยู่ที่ เมืองอินทปัต แคว้นสุวรรณเขต โดยได้สร้างแคว้นขึ้นใหม่ มีชื่อว่า แคว้นอินทปัต ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ ระหว่างภูเขาบรรทัด กับทะเล อ่าวแม่โขง

หลังจากนั้น ท้าวหมึง ได้ตั้งตัว เป็น มหาราชา ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นอินทปัต ให้เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐใหม่ ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ โดยไม่ยอมนำกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์-ทมิฬ ให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ มีแต่ ท้าวกู แห่ง อาณาจักรนาคน้ำ(แหลมมาลายู) เท่านั้น ที่เป็นผู้ทำสงครามขับไล่ข้าศึกกลิงค์-ทมิฬ ให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้เกิดการแบ่งแยก ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เรียกว่า พวกกู และ พวกหมึง เป็นที่มาให้ ท้าวกู ได้ประกาศตั้งตนขึ้นเป็น มหาราชา ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ด้วย โดยมีเมืองนครหลวงอยู่ที่ เมืองพรหมทัศน์(ยะลา) ความขัดแย้งดังกล่าว เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ต้องล่มสลายลง หลังจากนั้นไม่นาน และได้เกิด สหราชอาณาจักรเทียน ขึ้นมาแทนที่

 

มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ สมัย ท้าวกู

สายราชวงศ์ มหาราชาท้าวกู ผู้ให้กำเนิดคำไทย คำว่า "กู" และ "พวกกู" มหาราชาท้าวกู เป็นมหาราชาพระองค์สุดท้าย ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ในสมัยพุทธกาล สืบทอดสายราชวงศ์ มาจาก ท้าวพรหมทัศน์ ผู้สร้างรัฐ ของ ชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเริ่มต้นที่ถ้ำคูหา ท้องที่ จ.ยะลา ในปัจจุบัน จนกระทั่งได้มีกระบวนการพัฒนามาเป็น รัฐนาคน้ำ มหาราชาท้าวกู มีพระราชโอรส พระนาม ท้าวกุเวร เป็นมหาราชา แห่งรัฐนาคน้ำ ในสมัยที่ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ อพยพจากอินเดีย เข้ามาตั้งรกรากใน อาณาจักรเกษียรสมุทร(เกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะบาหลี) ทำให้ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เปลี่ยนแปลงเป็น สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ รัชสมัย มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร เป็นต้นมา

การอพยพเข้ามาของ ชนชาติกลิงค์ และชนชาติทมิฬ ในสมัยท้าวกู นั้น เป็นเหตุให้ รัฐนาคน้ำ กรุงพรหมทัศน์(ยะลา) กลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองใหม่ ที่เรียกว่า สหราชอาณาจักรเทียน(แถน) ขึ้นมาแทนที่ รูปแบบการปกครองแบบเดิม โดย พระเจ้าอโศกฯ และ ท้าวหาญคำ(พระเจ้าสุมิตร) เป็นผู้นำวิชาการ การปกครอง การศึกษา และศาสนาพุทธ เข้าเปลี่ยนดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่

 



§-13 ผู้เรียบเรียง ถอดข้อความจากเทป ซึ่งได้บันทึกไว้ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งมีการทำพิธีกรรมบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณ บูรพกษัตริย์ ของ อาณาจักรชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ข้อความที่นำมาเขียนไว้ เป็นส่วนหนึ่ง ของ พิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ที่กล่าวถึง รอยพระบาทของ พระพุทธองค์ ในสองภพชาติ ที่เคยประดิษฐานไว้ ณ ยอด ภูเขาสุวรรณคีรี

         นางเชื้อ ช่วยยิ้ม และผู้เฒ่า อีกหลายราย เล่าให้ผู้เรียบเรียง รับฟังตรงกันว่า เดิมที่ มีรอยพระพุทธบาททองคำ ฝังดินอยู่บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี และมีนักลักลอบขุดโบราณวัตถุ ปลอมตัวเป็นพระธุดง ไปแสร้งจำศีลอยู่บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี สามารถลักลอบขุดพระพุทธบาททองคำ ไปได้ แล้วนำไปหลอมเป็นทองคำแท่ง ขายให้กับร้านขายทอง แต่เกิดเหตุเภทภัย กับ ครอบครัว นักลักลอบขุดโบราณวัตถุ ดังกล่าวเรื่อยมา จึงต้องทำพระพุทธบาท จำลอง มาวางไว้แทนที่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ และตั้งรอยพระบาท จำลอง ดังกล่าว สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน

 

§-11 ต้นไทย คนไทย ก่อนสุโขทัย เรียบเรียงโดย วันอุ่น เขียนไทย เรียบเรียงเรื่องจาก การอ่านลายสือไทย จากจารึกในแผ่นหินทราย และกระเบื้องจาน ซึ่งขุดได้มาก จากเมืองคูบัว ราชบุรี

 

§-10 อุรังคธาต(ตำนานพระธาตุพนม) จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร เนื่องในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง วรรณกรรมสองฝั่งโขง ณ ห้องมงกุฎเพชร โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน-๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗

 

§-12 คำขานจารึกเรื่อง คัมภีร์ลายลักษณ์พระพุทธบาท โดย น.สพ.ชาญณรงค์ พุฒิคุณเกษม บันทึกเมื่อ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รวบรวมบทสวดมนต์ คำกลอนลายลักษณ์ จากหลายท้องที่ ใน จ.สุราษฎร์ธานี มาจัดพิมพ์ บันทึกไว้ เพื่อมิให้สูญหาย

 

§-14 พงศาวดารไทยอาหม จัดพิมพ์โดย กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ เรียก ภูเขาภิกษุ ว่า ภูภิกษุ กล่าวว่า หาญคำงาม เคยเกิดมาในเมืองที่เต็มไปด้วยเมฆหมอก(แคว้นยืนนาน) เมื่อตายไป มีบริวารอยู่ในสรวงสวรรค์ ๙,๐๐๐ องค์ ต่อมาได้มองเห็น เงาคำ ไปนั่งสมาธิ อยู่ที่ ภูเขาภิกษุ จึงถูกภูเขาภิกษุ ยึดเอาไว้ และได้สถาปนา เงาคำ ให้เป็น พระราชาแห่ง เมืองกลิงครุ(แคว้นกลิงค์รัฐ หรือ แคว้นคลองหิต) มีพระนามใหม่ว่า รุ่งช้างดำ

         แต่ ตำนานภูเขาภิกษุ กล่าวว่า หารคำงาม เป็นเชื้อสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต มาบวชเป็นพระภิกษุ ที่ ภูเขาภิกษุ และได้สร้างสำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ ขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นแห่งแรก และได้บวชเป็นพระภิกษุ จนกระทั่ง ถึงแก่อนิจกรรม บุญกุศลที่สร้างไว้ จึงได้เกิดมาในภพชาติใหม่ เป็น พระเจ้าสุมิตร เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้มาอภิเษกสมรส กับ เชื้อสายราชวงศ์แมนสม คือ พระนางเชียงเม่งกุ้ย ทำให้ พระเจ้าสุมิตร เปลี่ยนพระนามใหม่ว่า หารคำ กลายเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ต่อจาก มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ซึ่งสละราชสมบัติ ออกบวช

 

¨-6 ค้นคว้าจากหนังสือ ประวัติศาสตร์จีน ของทวีป วรดิลก จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ ปี พ.ศ.๒๕๓๘

 

¨-7 สันนิษฐานว่า แคว้นมิถิลา(ไชยา) น่าจะเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๗๗-๒๙๗ เกิดขึ้นเพราะทราบข่าวว่า ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ อพยพเข้ามายังดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร เป็นจำนวนมาก จึงเกรงกันว่า ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ อาจจะไม่ปลอดภัยจากการรุกราน ท้าวกู จึงได้เชิญสายราชวงศ์แมนสม เข้ามาตั้งแว่นแคว้นขึ้นมาในท้องที่ อ.ไชยา เป็นแคว้นแรก ต่อมา แคว้นมิถิลา ถูกประชาชนเรียกชื่อใหม่ว่า แคว้นโกสมพี และแคว้นนี้ ถูกชนชาติทมิฬ(เขมร) เข้าตีเมืองแตก ในสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตอนต้น เชื้อสายราชวงศ์ส่วนหนึ่ง จึงอพยพไปตั้ง แคว้นโกสมพี ขึ้นมาในดินแดนประเทศพม่า ในปัจจุบัน จนกระทั่งพัฒนาเป็น อาณาจักรศรีชาติตาลู ในสมัยต่อมา ส่วนที่ตั้งพระราชวังหลวงของ แคว้นมิถิลา บริเวณ สวนโมกขผลาราม ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสำนักสงฆ์

         ต่อมา ดินแดน อ.ไชยา ได้ถูกสร้างแคว้นขึ้นใหม่ โดยสร้างพระราชวังหลวงขึ้นมาในบริเวณ ภูเขาสายสมอ เรียกชื่อใหม่ว่า แคว้นศรีโพธิ์ ในสมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จากการสำรวจร่องรอยโบราณวัตถุ ในพื้นที่ รอบๆ สวนโมกขผลาราม ทราบว่า เคยมีกำแพงพระราชวังหลวง แคว้นมิถิลา ล้อมรอบอยู่ด้วย แต่เนื่องจาก ต่อมา มีการเข้าไปครอบครองที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ประชาชนเกรงว่า กรมศิลปากร จะยึดครองที่ดินกลับคืน จึงใช้รถแทรกเตอร์ทำลาย ร่องรอยอิฐโบราณ ที่เคยเป็นกำแพงพระราชวังหลวง ออกเสีย ปัจจุบันคงเหลืออยู่ใต้พื้นดิน บริเวณหลังสถานีอนามัย ต.เลม็ด ในที่ดินของ นายประสงค์ ภูมิไชยา บ้างเล็กน้อย ในเรื่องนี้ ควรจะเป็นบทเรียนของรัฐบาล ที่ไม่ควรให้ใช้อำนาจรัฐทางการปกครอง ยึดครองที่ดินโบราณสถาน จากราษฎร กลับคืน ควรจะจัดหาที่ใหม่ ให้กับราษฎร ที่คุ้มค่า มิฉะนั้น ร่องรอยโบราณวัตถุ และโบราณสถาน จะไม่หลงเหลือ ให้ตรวจสอบหลักฐาน ได้อีกต่อไป ในอนาคต

 

¨-8 แคว้นกิมหลิน เดิมชื่อ แคว้นแม่กรอง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นแม่กลอง สร้างขึ้นพร้อมๆ กับ แคว้นคลองหิต(ครหิ) และ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) เพื่อตอบสนองการลำเลียงทองคำ เป็นส่วย ปีละ หนึ่งแสนขัน ให้กับ อาณาจักรหนานเจ้า ตามตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งบันทึกขึ้นมาภายหลัง เรียกแคว้นนี้ว่า แคว้นราชคฤห์ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกล่าวว่า พระพุทธเจ้า เคยเสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ และมาประทับ ณ แคว้นนี้ แต่ตามตำนาน ของ กลุ่มพวกบ้านวังพวกราชวงศ์ กล่าวว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้า เสด็จมาประทับ นั้น ยังใช้ชื่อว่า แคว้นแม่กลอง แต่ต่อมา มหาราชาท้าวกู ทราบข่าวว่า ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ อพยพเข้ามายังดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร เป็นจำนวนมาก จึงเกรงกันว่า ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ อาจจะไม่ปลอดภัยจากการรุกราน จึงได้เชิญสายราชวงศ์ไตจ้วง เข้ามาสมรสเกี่ยวดอง และเปลี่ยนชื่อแว่นแคว้นขึ้นใหม่ว่า แคว้นกิมหลิน

แสดงว่า แคว้นนี้ ต้องเปลี่ยนชื่อ จากแคว้นแม่กลอง เป็นแคว้นกิมหลิน หลังจากที่ แคว้นคลองหิต ถูกชนชาติกลิงค์ ตีเมืองแตก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๙๗ เรียบร้อยแล้ว และ มหาราชาท้าวกู จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติ อาณาจักรสุวรรณภูมิ แต่ มหาราชาท้าวกู ขึ้นครองราชสมบัติได้ไม่นาน ก็ได้กำเนิด สหราชอาณาจักรเทียน ขึ้นมาแล้ว โดยมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ซึ่งเป็นพระราชโอรส ต่อมา ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) หรือ มหาจักรพรรดิ ท้าวม้าทอง จึงใช้แคว้นกิมหลิน เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเทียน กลายเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ วัฒนธรรมขอม ในดินแดนสุวรรณภูมิ แคว้นกิมหลิน จึงถูกเปลี่ยนชื่อ เป็น แคว้นราชคฤห์ อีกครั้งหนึ่ง แต่จดหมายเหตุจีน ยังคงเรียกชื่อ ว่า "กิมหลิน" มาอย่างต่อเนื่อง

 

¨-2 จากหนังสือ มนุษย์ กับ อารธรรมในเอเชียใต้ โดย รศ.ดนัย ไชยโยธา เล่ม ๑

 

¨-3 คำว่า เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเชีย ปัจจุบัน จะเรียกชื่อว่า เกาะชบา ตะวันตก มาก่อนสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่หลังจากนั้น จะเรียกชื่อ ๒ ชื่อ คือ เกาะกาละ และ เกาะชะบา ตะวันตก ส่วนชื่อ สุมาตรา เกิดขึ้นในสมัยที่ชาติโปรตุเกส เข้ามาล่าอาณานิคม โดยนำเอาชื่อ แคว้นสมุทรา มาเรียกเพี้ยนเป็น สุมาตรา

 

¨-4 เกาะชวา ของ ประเทศอินโดนีเชีย ในปัจจุบัน เคยมีชื่อเรียกกันมาหลายชื่อมาก แรกสุด เรียกชื่อว่า เกาะชบา ตะวันออก ต่อมา เมื่อ พระกฤษณะ ได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ เกาะนี้จะถูกเรียกชื่อว่า เกาะพระกฤต แต่อินเดีย ยังเรียกชื่อว่า เกาะชบา ตะวันออก ต่อมาในสมัยของ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ เกาะพระ กฤต ตกเป็นรัฐเมืองขึ้นของ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ จึงถูกเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ ว่า เกาะราม

ในสมัย สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ มีการอพยพประชาชนจาก รัฐชวาทวีป(ภาคใต้ ประเทศไทย) ไปตั้งรกราก ณ เกาะราม ทำให้เกาะราม ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เกาะชวา ตั้งแต่รัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ เป็นต้นมา และเมื่อสิ้นสมัย สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์(เสียม-หลอ) เมืองหลวงของ อาณาจักรศรีโพธิ์ ถูกยึดครอง โดยรัฐทมิฬ ประชาชน จาก กรุงศรีโพธิ์ ถูกกวาดต้อน ไปเป็นข้าทาส ใน เกาะชวา ทำให้ เกาะชวา ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เกาะศรีโพธิ์ อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ยกกองทัพเข้าปราบปราม ข้าศึก ณ เกาะศรีโพธิ์(เชโป) ในเวลาต่อมา เกาะนี้ จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเกาะชวา อีกครั้งหนึ่ง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นักประวีติศาสตร์ชาติตะวันตก จึงนำเอาชื่อ ศรีโพธิ์ หรือ เชโป ในจดหมายเหตุจีน ทุกสมัย ไปตั้งไว้ที่ เกาะชวา สร้างความสับสนเรื่อยมา

 

¨-9 ตำนานอุรังคธาตุ(ตำนานพระธาตุพนม) หน้าที่ ๙ ของ กรมศิลปากร กล่าวแตกต่างบ้าง ว่า ขณะที่เกิดสงคราม ณ อาณาจักรสุวรรณภูมิ นั้น พระราชโอรสฝาแฝด ของ ท้าวอินทปัตฐ(อินทปัต) มีพระนามว่า เจ้าชายมหารัตนกุมาร และ จุลรัตนกุมาร มีพระชนมายุเพียง ๑ พรรษา และกล่าวว่า ท้าวคำบาง(ท้าวหมึง) เป็นพระเจ้าน้า ที่นำพระราชโอรสฝาแฝด ๒ พระองค์ หลบหนีมาได้ และได้ไปสร้างเมืองสุวรรณภูมิ ขึ้นมาใหม่ ณ เมืองเก้าเลี้ยว เก้าคด เพื่อสืบทอดประเพณี ของเมืองที่ล่มไป แต่มิได้กล่าวถึง ความขัดแย้ง ระหว่าง มหาราชาท้าวกู กับ มหาราชาท้าวหมึง(ท้าวคำบาง) ตามตำนานของ พวกบ้านวังพวกราชวงศ์ แต่อย่างใด

 

¨-5 รายงานการค้นคว้า ของ น.สพ.ชาญณรงค์ พุฒิคุณเกษม ซึ่งมีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผา พระบัวเข็ม ในบริเวณควนสราญรมณ์ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ซึ่งเคยใช้เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ แคว้นพันพาน(พุนพิน) อยู่ในรายงานการสืบค้น คำขานจารึก เรื่อง พระกิสนาคอุปคุตตเถระ ผู้ปราบพญามาร สรุปว่า คนไทยเรียกพระอุปคุตตะเถระ ว่า พระบัวเข็ม ด้วย

 


Visitors: 54,476