จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ

   เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ เจ้าชายกฤษณะ คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล ขณะนั้น พญาฆา เป็นมหาราชาปกครองอาณาจักรสุวรรณภูมิ มีราชธานีอยู่ที่ เมืองครหิต คือท้องที่ บ้านดอนธูป ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน จึงมีเรื่องราว ของ เจ้าชายกฤษณะ ส่วนหนึ่ง ได้เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และเพราะความเชื่อดังกล่าวได้ส่งผลต่อการสร้าง อาณาจักรสุวรรณภูมิ และ การนับถือศาสนาพราหมณ์ ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา และยังส่งผลต่อมา ให้รัฐของเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สลักรูปเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ ไว้ตามปราสาทต่างๆ ทั่วทั้งดินแดนสุวรรณภูมิ และเกิดการใช้พุทธศาสนา มาเป็นศาสนาประจำชาติ  ในสมัยต่อๆ มา อีกด้วย

       เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติ พระกฤษณะ คือเรื่องราวของ ตำนาน ถ้ำพระกฤษณะ หรือ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง บริเวณภูเขาแม่นางเอ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน คือเรื่องราวส่วนหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งนับถือพระเจ้า ๓ พระองค์ พระเจ้าองค์ที่หนึ่ง คือ พระพรหม ซึ่งยึดถือว่าเป็นผู้สร้าง พระเจ้าองค์ที่สอง คือ พระศิวะ หรือ พระอิศวร ซึ่งยึดถือว่าเป็นผู้ทำลาย และ พระเจ้าองค์ที่สาม คือ พระวิษณุกรรม หรือ พระนารายณ์(พระกฤษณะ) ซึ่งยึดถือว่าทำหน้าที่รักษาและคุ้มครองโลก ให้เกิดความสงบสุข

       ตามตำนาน ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขานางเอ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า พระนารายณ์ จะอุบัติขึ้นในโลกเมื่อโลกเกิดยุคเข็ญ โดยจะเกิดมาเป็นภพชาติต่างๆ ซึ่งเรียกว่า อวตาล มาเป็นสิ่งมีชีวิต หรือเป็นมนุษย์ เช่นเชื่อว่า ภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ เคยประสูติมาเป็น พระรามจันทร์ เรียกว่า รามาวตาล ซึ่งเป็นเรื่องราวของ รามเกียรติ เป็นภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ และต่อมา จตุคามรามเทพ ได้ประสูติมาอีกภพชาติหนึ่งเป็น พระกฤษณะ เรียกว่า กฤษณาวตาล เพื่อทำการปราบยุคเข็ญ อีกภพชาติหนึ่ง

       เนื่องจาก อาณาจักรสุวรรณภูมิ ในสมัยที่ จตุคามรามเทพ อวตาล มาเป็น พระกฤษณะ นั้น อาณาจักรสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย แคว้นนาคน้ำ(เกาะทอง) , แคว้นนาคฟ้า(ภาคใต้ตอนบน ภาคกลาง และ ภาคเหนือ) , แคว้นนาคดิน(ภาคอีสาน และ เขมร) และ แคว้นเหงียนก๊ก(เวียตนาม) เหตุการณ์ครั้งนั้น มีเมือง ๒ เมือง ของ แคว้นนาคฟ้า คือ เมืองสุธรรม(สิชล-นครศรีธรรมราช) และ เมืองมิถิลา(ไชยา) ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พระกฤษณะ และเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ดินแดนเกษียรสมุทร และ ประเทศอินเดีย ด้วย

เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติ พระกฤษณะª- คือเรื่องราวในวรรณกรรมพุทธศาสนา เรื่อง มหาชนกชาดก กล่าวโดยสรุปว่า มหาชนกกุมาร(พระกฤษณะ) เป็นพระราชโอรส ของ เจ้าชายวสุ(สังข์พราหมณ์) กับ พระนางเทวกี เนื่องจาก พระกฤษณะ มีพระเชษฐา ชื่อ เจ้าชายพลราม ขณะนั้น พระราชบิดา ของ เจ้าชายวสุ(สังข์พราหมณ์) ปกครองเมืองอยู่ในอินเดีย

ก่อนที่ เจ้าชายกฤษณะ และ เจ้าชายพลราม จะประสูติมานั้น เจ้าชายวสุ เป็นพระราชโอรส องค์โต มี เจ้าชายกงส์ เป็นพระราชโอรส องค์รอง ซึ่งต้องการแย่งชิงราชย์สมบัติ จาก เจ้าชายวสุ ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าจากพระราชบิดา ให้เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ปกครองแคว้นหนึ่ง ในอินเดีย ขณะนั้น เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ ยังไม่ประสูติ

ต่อมา เมื่อพระราชบิดา ของ พญาวสุ เสด็จสวรรคต ทาง พญากงส์ ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พญาวสุ ได้แย่งชิงราชย์สมบัติ เป็นเหตุให้ พญาวสุ และ พระนางเทวกี ต้องนำไพร่พลหลบหนีมาอาศัยอยู่ที่ ดินแดนเกษียรสมุทร ณ เกาะพระกฤต(เกาะชวา) ซึ่งเป็นที่ตั้งรกราก ของ ชนพื้นเมืองชาวป่าเขา ที่มีแต่ความโหดร้าย และยังถูก พญากงส์ ส่งกองทัพสืบค้นติดตามไล่ฆ่า อย่างต่อเนื่องอีกด้วย เป็นที่มาให้ พญาวสุ และ พระนางเทวกี ต้องนำไพร่พล อพยพมาตั้งรกราก ณ เมือง มิถิลา(ไชยา) หรือ เมืองแมนที่ลา หรือ เมืองมถุรา อาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ เมืองครหิต(คันธุลี) ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร พญาวสุ ได้นำไพร่พลมาแสวงหาทองคำ เพื่อใช้เป็นทุนรอน ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ณ ดินแดนเกษียรสมุทร ด้วย

ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ เมืองมิถิลา(ไชยา) พญาวสุ และ พระนางเทวกี ได้มาสร้างที่พักอาศัยอยู่บริเวณ ภูเขาพุทธทอง เชิงภูเขาแม่นางเอ ของท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ต่อมา พระนางเทวกี ได้ประสูติ เจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ ในวัยเยาว์ คนเลี้ยงโค ได้เลี้ยงดู เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ อย่างหลบๆ ซ่อนๆ อยู่บริเวณเชิงเขาแม่นางเอ เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดตามไล่ฆ่า ของ พญากงส์ ส่วน พญาวสุ ได้แยกไปสร้างบ้านแปลงเมือง ณ เกาะชวา ดินแดนเกษียรสมุทร ปล่อยให้ พระนางเทวกี เลี้ยงดูพระราชโอรส ๒ พระองค์ อยู่กับคนเลี้ยงโคในขณะที่ พระกฤษณะ ทรงพระเยาว์ อาศัยอยู่ ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) คือท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นั้น พระองค์เป็นเด็กซุกซุน น่าเอ็นดู โปรดการยั่วแหย่ และการเล่นสนุกสนาน ในช่วงเวลาเดียวกัน พระกฤษณะ ได้แสดงพละกำลังอำนาจ ให้ปรากฏพบเห็นตั้งแต่วันเด็ก อยู่เนืองๆ ขณะนั้น พระยาฆิน เป็นราชา ผู้ปกครอง เมืองมิถิลา(ไชยา) 

เมื่อเจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ เติบโตเข้าสู่วัยหนุ่ม จึงเสด็จกลับไปยัง เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร เพื่อร่วมสร้างบ้านแปลงเมือง ต่อมา พญาวสุ มีความประสงค์จะแสวงหาโภคทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนรอนในการกอบกู้ราชย์สมบัติ กลับคืนมาจาก พญากงส์ เป็นเหตุให้ เจ้าชายกฤษณะ ขออาสาร่วมเดินทางไปกับคณะพ่อค้า เพื่อเดินทางไปเสี่ยงโชคยัง เมืองครหิต(คันธุลี) ดินแดนสุวรรณภูมิ

เจ้าชายกฤษณะ นำเรือแล่นออกจาก เมืองท่า เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร พร้อมไพร่พล ระหว่างเดินทาง เรือถูกพายุพัดอับปางลง กลางทะเลใหญ่ เจ้าชายกฤษณะ  ต้องว่ายน้ำด้วยความเพียรพยายาม มานอนสลบอยู่ ณ ชายหาดแห่งหนึ่ง ของดินแดน แคว้นสุธรรม(สิชล) บริเวณ เมืองโมกข์คลานª- ณ สถานที่ก่อสร้าง พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน

ในช่วงเวลาเดียวกัน เจ้าหญิงเมฆขลา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงเชื้อสายเจ้าอ้ายไต แห่ง แคว้นสุธรรม(สิชล) ซึ่งเสด็จมายัง เมืองโมกข์คลาน คือบริเวณ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน ได้เสด็จผ่านมาพบ เจ้าชายกฤษณะ โดยบังเอิญ และได้ช่วยชีวิตไว้

ความสัมพันธ์ ดังกล่าว ทำให้ เจ้าชายกฤษณะ กับ เจ้าหญิงเมฆขลา เกิดมีความรัก ระหว่างกัน และได้เสียกันในที่สุด จนกระทั่ง เจ้าหญิงเมฆขลา ทรงมีพระครรภ์ และเกรงว่า พญากุวัลย์ปิยะ พระราชบิดา ของ พระนาง จะทรงทราบ และทรงพระพิโรธ เป็นเหตุให้ เจ้าหญิงเมฆขลา ได้ไปกราบทูลลา สมเด็จย่า ให้ทรงทราบ จึงได้แนะนำให้ พระนางเมขลา หลบหนี จึงเป็นที่มาให้ เจ้าชายกฤษณะ ต้องนำ เจ้าหญิงเมฆขลา หลบหนี เดินทางมุ่งหน้ามายัง เมืองมิถิลา(ไชยา) ซึ่งเคยใช้ชีวิตในวัยเยาว์ เพื่อเดินทางไปแสวงหาทองคำ ณ เมืองครหิต(คันธุลี) ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ตามเจตนารมณ์

เมื่อ พญากุวัลย์ปิยะ กษัตริย์ แคว้นสุธรรม(สิชล) ทรงทราบข่าว จึงแจ้งข่าวให้ พญากงส์ ซึ่งเป็นมิตรสหายรับทราบ เพื่อร่วมกันส่งกองทัพออกติดตามไล่ฆ่า เจ้าชายกฤษณะ ส่วนสมเด็จย่า เมื่อทราบข่าว จึงเสด็จติดตามมาด้วย เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือพระเจ้าหลานเธอ เป็นที่มาให้เกิดตำนานท้องที่ คำว่า ท่าทอง และ ท่าข้าม ในระหว่างการเดินทางหลบหนีของ เจ้าชายกฤษณะ และ เจ้าหญิงเมฆขลา เป็นตำนานเรื่องเล่า สืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน

เรื่องราวความเป็นมาของชื่อ ภูเขาแม่นางเอ และ สระแม่นางเอ คือเรื่องราวการต่อสู้ของ พระกฤษณะ กับ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ ณ สระแม่นางเอ ก่อนที่ พระนางเมฆขลา จะประสูติพระราชโอรส มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ เจ้าชายกฤษณะ พร้อมด้วย เจ้าหญิงเมฆขลา เดินทางรอนแรม ๙ เดือน มาถึงเมืองมิถิลา(ไชยา) ณ สระแม่นางเอ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ สวนโมกข์ผลาราม ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เจ้าหญิงเมฆขลา ได้เกิดอาการเจ็บพระครรภ์ อย่างรุนแรง แต่ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ ได้มาขัดขวางมิให้พระนางเมขลา ประสูติพระราชโอรส ข้างสระน้ำ ดังกล่าว พระกฤษณะ จึงต้องต่อสู้กับ นาคกาลียะ ในขณะที่ พระนางเมขลา ต้องประสูติ พระราชโอรส เอ-อ้าน(เรี่ยราด) อยู่บริเวณริมสระน้ำแม่นางเอ ณ เชิงภูเขาแม่นางเอ ดังกล่าว เป็นที่มาให้ เจ้าหญิงเมฆขลา จึงถูกเรียกพระนามใหม่ ว่า แม่นางเอ และ เป็นที่มาให้ ภูเขาดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า ภูเขาแม่นางเอ สืบทอดเรื่อยมา จนถึงปัจจุบันส่วนสระน้ำ ซึ่งเป็นที่ประสูติพระราชโอรส ของ แม่นางเอ ถูกเรียกชื่อว่า สระแม่นางเอ โดยถูกเรียกสืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน เช่นกัน

ต่อมาพระกฤษณะ  และพระนางเมฆขลา  หรือ แม่นางเอ  ได้ไปพักพิงอยู่ที่บริเวณ ถ้ำแม่นางเอ   เพื่อสร้างพระตำหนัก หลบภัย การติดตามของ พญากงส์ และ พญากุวัลย์ปิยะ ราชาแห่งแคว้นสุธรรม ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ พระนางเมฆขลา  หรือ แม่นางเอ ขณะนั้น นางเอ ได้ทรงเลี้ยงดูพระราชโอรสที่เพิ่งประสูติ โดยที่ พระกฤษณะ ได้นำไพร่พล ต่อเรือสำเภาลำใหม่ เพื่อทดแทนเรือที่แตกไป แต่ พญากงส์ ซึ่งเป็นพระเจ้าอา ผู้แย่งชิงราชย์สมบัติ ทราบข่าว จึงส่งกองทัพมาร่วมทำสงครามปราบปราบ พระกฤษณะ ด้วย

หลังจากที่ พระกฤษณะ ต่อสู้กับ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ เรียบร้อยแล้ว กองทัพของ พญากุวัลย์ปิยะ ได้ส่งกองทัพมาถึง เมืองมิถิลา(ไชยา) พร้อมกับได้ส่งช้างกุวัลย์ปิยะ และ ปล่อยราชสีห์ ให้เข้าไปทำร้าย พระกฤษณะ ณ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ เป็นเหตุให้ พระกฤษณะ ต้องต่อสู้กับ ช้างกุวัลย์ปิยะ และ ราชสีห์ จนได้รับชัยชนะ สามารถฆ่าช้างกุวัลย์ปิยะ และ ราชสีห์ ณ ตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ เป็นผลสำเร็จ

 

ต่อมา กองทัพของ พญากงส์ มิตรสหายของ พญากุวัลย์ปิยะ ได้ส่งกองทัพจากอินเดีย มาถึง เมืองมิถิลา(ไชยา) เพื่อช่วย พญากุวัลย์ปิยะ ทำสงครามปราบปราม พระกฤษณะ ให้สิ้นพระชนม์ เนื่องจาก พญากงส์ เกรงว่า พระกฤษณะ จะต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม พญากงส์ เพื่อแย่งราชสมบัติกลับคืนให้กับ พญาวสุ ในอนาคต พญากงส์ จึงปล่อยราชสีห์ อีกตัวหนึ่งให้ไปทำร้าย พระกฤษณะ ณ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พระกฤษณะ ก็สามารถฆ่าราชสีห์ ของ พญากงส์ เป็นผลสำเร็จ ปราสาทต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมักจะมีภาพสลัก พระกฤษณะ ต่อสู้กับราชสีห์ ของ พญากงส์ เพื่ออธิบายความเป็นมาของ ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ อยู่ด้วยเสมอ

ภายหลังการต่อสู้ ของ พระกฤษณะ กับ ราชสีห์ ของ พญากงส์ ครั้งนั้น สมเด็จย่า ของ พระนางเมฆขลา ได้พยายามเกลี้ยกล่อม พญากุวัลย์ปิยะ ให้ถอนทัพกลับไป ปล่อยให้เป็นการต่อสู้ระหว่าง พระกฤษณะ กับ พญากงส์ แทนที่ ขณะเดียวกัน พญาฆิน ซึ่งเป็นราชาแห่ง เมืองมิถิลา(ไชยา) และ พญาฆา มหาราชา แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าว จึงส่งกองทัพมาขับไล่ พญากงส์ ให้ออกไปจาก เมืองมิถิลา(ไชยา) ผลของสงครามครั้งนั้น พญาฆิน สวรรคต ในสงคราม

เมื่อ มหาราชาพญาฆา(พะยาค่ะ) แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าวว่า พญาฆิน สวรรคตในสงคราม จึงส่งกองทัพใหญ่มาทำสงครามขับไล่ พญากงส์ ให้ต้องถอยทัพกลับอินเดีย เป็นที่มาให้ สมเด็จย่า ของ พระนางเมฆขลา เข้ามาช่วยเหลือ พญาฆา ทำสงครามครั้งนั้นด้วย

       ตำนานความเป็นมาของคำว่า "ดอนดวด" คือท้องที่แห่งหนึ่งใน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และคำว่า "ใบแม่ย่านาง" และคำไทย คำว่า "ดวด" มีเรื่องราวตำนานกล่าวว่า ในขณะที่เกิดสงครามระหว่าง พญาฆา กับ พญากงส์ นั้น กองทัพของ มหาราชาพญาฆา ตั้งอยู่ที่ดอนดวด มี สมเด็จย่า ของ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) ซึ่งได้เดินทางมาช่วยเหลือ พระนางเมฆขลา ด้วย

       เมื่อ สมเด็จย่า ได้พบกับ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) และ พระกฤษณะ จึงได้ทราบที่หลบซ่อน ณ พระตำหนักถ้ำพระกฤษณะ หรือ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) เรียบร้อยแล้ว สมเด็จย่า จึงได้พยายามช่วยเหลือไพร่พล ของ มหาราชาพญาฆา ซึ่งมีกำลังไพร่พลส่วนหนึ่งตั้งกองทัพอยู่ที่ ดอนดวด ซึ่งคอยเฝ้าเวรยามอยู่บริเวณ ดอนดวด คือท้องที่บริเวณใกล้เคียงกับ สำนักงานที่ดิน จ.สุราษฎร์ธานี สาขา-ไชยา ในปัจจุบัน ให้เตรียมพร้อมอยู่เสมอ มิให้กองทัพของ พญากงส์ เข้าโจมตี

เนื่องจาก ไพร่พลของ มหาราชาพญาฆา จะหลับยาม กันเป็นประจำ สมเด็จย่า เกิดความห่วงใย เกรงว่า กองทัพของพญากงส์ จะส่งกองทัพไปยัง ตำหนักพระกฤษณะ สำเร็จทำให้ พระกฤษณะ และ พระนางเมฆขลา จะถูกนำไปฆ่า โดยไม่สามารถหลบหนี ได้ทัน จึงเป็นที่มาให้สมเด็จย่า ของ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) ได้นำใบไม้ชนิดหนึ่ง มาต้มกับหน่อไม้ไผ่ และปรุงด้วยเครื่องปรุง หลายชนิด กลายเป็น ซุ๊ปหน่อไม้ และ น้ำซุ๊ปแม่ย่านาง เพื่อใช้เป็นอาหารแก้ง่วงนอน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ใบไม้ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า ใบแม่ย่านาง ซึ่งถูกเรียกกันสืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารแล้ว หรือ เมื่อนำไปดื่ม หรือรับประทานแล้ว จะไม่เกิดอาการง่วงนอน อาหารดังกล่าว เกิดขึ้นในท้องที่ บ้านดอนดวด ตามที่กล่าวมา คำว่า "ดวด" จึงเป็นคำไทย มีความหมาย เช่นเดียวกับคำว่า "ดื่ม" แต่เป็นการดื่ม เครื่องดื่ม ที่ปรุงขึ้นพิเศษ เพื่อภารกิจพิเศษ เท่านั้น บ้านดอนดวด คือ ที่ให้กำเนิดอาหาร ซุ๊ปหน่อไม้ นั่นเอง

ในที่สุด กองทัพของ มหาราชาพญาฆา สามารถขับไล่ กองทัพของ พญากงส์ ให้ต้องถอยทัพกลับไป และกองทัพพญากงส์ ได้ยกกองทัพเข้าโจมตีเมือง ของ พญาวสุ ณ ดินแดนเกษียรสมุทร ด้วย เป็นที่มาให้ พระพลราม ต้องต่อสู้กับ ปีศาจธนุกะ จนได้รับชัยชนะ กองทัพของ พญากงส์ จึงต้องถอยทัพกลับ อินเดีย เหตุการณ์ในขณะนั้น มหาราชาพญาฆา แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ จึงนำพระกฤษณะ ไปขุดหาทองคำ ณ เมืองครหิต(คันธุลี) ตามเจตนาเดิม เมื่อได้ทองคำ ตามที่ต้องการ พระกฤษณะ จึงได้เสด็จกลับคืนดินแดน เกษียรสมุทร เพื่อทำสงครามกู้ชาติจากการยึดครองของ พญากงส์ กลับคืน ปล่อยให้พระนางเมฆขลา หรือ แม่นางเอ ประทับอยู่ที่ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) เพื่อเลี้ยงดูพระราชโอรส เพียงลำพัง

 

       ต่อมา พญาวสุ ได้ทุนรอนจาก ทองคำ ที่พระกฤษณะ ส่งมอบให้ จึงจัดกองทัพใหญ่ เข้าต่อสู้กับ พญากงส์ เพื่อแย่งยึดอำนาจกลับคืนให้กับ พญาวสุ ผู้เป็นพระราชบิดา ผลของสงคราม พระกฤษณะ สามารถฆ่า พญากงส์ เป็นผลสำเร็จ สามารถกอบกู้คืนราชสมบัติให้กับ พญาวสุ ผู้เป็นพระราชบิดา เป็นผลสำเร็จ พระพลราม ซึ่งเป็นพระเชษฐา ของ พระกฤษณะ จึงต้องช่วยราชการ พระราชบิดา เป็นเหตุให้ พระกฤษณะ ต้องกลับมาเป็นราชา ปกครอง ดินแดนเกษียรสมุทร จึงเป็นที่มาให้เกาะชวา มีชื่อว่า เกาะพระกฤษณะ หรือ เกาะพระกฤต ในสมัยนั้น ด้วย

ส่วนชีวิต แม่นางเอ(พระนางเมฆขลา) ในขณะที่ พระกฤษณะ ต้องออกไปทำสงครามกู้ชาติ กลับคืน นั้น แม่นางเอ ประทับอยู่ที่พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ ก็ใช้เวลาว่างสกัดหิน บริเวณหน้าถ้ำ เป็นบ่อขึ้นมาได้ ๗ แห่ง เพื่อใช้เป็นที่เก็บน้ำ  ที่ต้องเดินทางไปลำเลียงน้ำ จากสระแม่นางเอ  เพื่อนำมาใช้ในการปรุงอาหาร  และการใช้เพื่อการเลี้ยงดู พระราชโอรส ที่เพิ่งประสูติมา  บ่อน้ำดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า บ่อ ๗ แห่ง ของ ถ้ำแม่นางเอ หรือ ถ้ำพระกฤษณะ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

 

       ขณะที่ พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) เลี้ยงดูพระราชโอรส รอการกลับมา ของ พระกฤษณะ นั้น พระนางเมฆขลา ผูกแปล ไกวเปล กล่อมโอรส อยู่ที่ใต้ต้นไม้ใกล้ถ้ำ บริเวณที่ตั้งเจดีย์พระกฤษณะ ในปัจจุบัน บังเอิญสายเปล ขาด พระราชโอรส หัวกระแทกพื้นก้อนหิน สิ้นพระชนม์ เป็นเหตุให้ พระนางเมฆขลา เสียพระทัยมาก ใช้สายเปล แขวนคอ ใต้กิ่งไม้ สิ้นพระชนม์ ตามไปด้วย

 

เมื่อพระกฤษณะ เสด็จจากเกาะพระกฤต(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร มายัง เมืองมิถิลา(ไชยา) อาณาจักรสุวรรณภูมิ เพื่อรับ พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) กลับไปยังเกาะพระกฤต ก็พบเพียงกองกระดูก ของ พระนาง และ โอรส กองอยู่ ณ บริเวณที่ตั้ง เจดีย์พระกฤษณะ เท่านั้น เจ้าชายกฤษณะ จึงเสียพระทัยมาก กลายเป็นผู้ถือศีล อยู่ที่ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) และนั่งกรรมฐานอยู่ที่ เจดีย์พระกฤษณะ จนกระทั่งได้ ตรัสรู้ มีพลังจิตรที่เข้มแข็ง สามารถสร้าง รอยพระบาทฝ่ายซ้าย บนพื้นหิน ด้วยพลังจิต ของพระองค์เองได้สำเร็จ ปรากฏหลักฐาน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

พระกฤษณะ ยังสามารถได้ใช้พลังจิตร ก่อให้เกิด แผ่นดินไหว แผ่นดินแยกตัว เกิด ภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นมา กลางทะเล ของ เมืองมิถิลา(ไชยา) และ ภูเขาน้ำร้อนขึ้นอีก ๔ ลูก ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย คือ ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาลาวสูง , ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาทุ่งใหญ่ , ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาหาร และ ภูเขาน้ำร้อนเขาพลู จึงเรียกภูเขาน้ำร้อนทั้ง ๕ ลูกดังกล่าวว่า ภูเขาโควรรธนะ และได้มาเปลี่ยนชื่อ ภูเขาน้ำร้อนทั้ง ๕ ลูก ในเวลาต่อมา ตามชื่อที่กล่าวมา

ด้วยอิทธิฤทธิ์ ดังกล่าว ทำให้ พระกฤษณะ ได้รับการนับถือ กลายเป็นศาสดาของลัทธิหนึ่ง ของ ศาสนาพราหมณ์ เผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง มหาราชาพญาฆา และ พระนางเพฆา อัครมเหสี ของ พญาฆา มาขอสมัครเป็นศิษย์ เป็นที่มาของการใช้คำไทย คำว่า พญาฆา(พะยาคะ) และ เพฆา(เพค่ะ) มาใช้ในการลงท้าย ในการเข้าเฝ้ากษัตริย์ของชนชาติไทย ในเวลาต่อมา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  

 

ในขณะที่ พระกฤษณะ เผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น พระกฤษณะ ได้ทำนายว่า ต่อไป จะเกิด เกาะดอนขวาง ขึ้นมารอบๆ ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์อำนาจรัฐ ของ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต พื้นที่ดังกล่าว จะเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ และเข้าสู่ดินแดน เกษียรสมุทร ในภพชาติต่อไป ของ พระกฤษณะ หรือ จตุคามรามเทพ ด้วย

 

เมื่อพระกฤษณะ สวรรคต ไป ดวงวิญญาณ ของ พระกฤษณะ มีอยู่ ๒ ภาค คือ ภาคคุณธรรม และ ภาคนักรบ ดังนั้น ในภพชาติต่อมา จึงเชื่อกันว่า วิญญาณภาคคุณธรรม ของ พระกฤษณะ ได้ อวตาลมาประสูติเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ ส่วน พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) ได้มาประสูติเป็น พระนางพิมพา ส่วนพระราชโอรสที่เสียชีวิตไป ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ เป็น เจ้าชายราหุล เพราะความเชื่อเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อก่อกำเนิด พระพุทธศาสนา ขึ้นมาในสมัยต่อมา เพราะความเชื่อดังกล่าว ได้ส่งผลต่อมา ในการนำ พระพุทธศาสนา เข้ามาเผยแพร่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง รัฐของชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ใช้พระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ สืบทอดเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐของชนชาติไทย จึงค่อยๆ เพี้ยนไปในปัจจุบัน

ส่วนวิญญาณภาคนักรบ ของ พระกฤษณะ ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ เป็น ขุนราม พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) คืออีกภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ คือภพชาติที่ ๓ นั่นเอง

       ส่วน พระนางเมฆลา ได้ไปประสูติในภพใหม่เป็น พระนางพิมพา เมื่อสิ้นพระชนม์ไป วิญญาณได้มาประสูติในภพใหม่เป็น พระนางศรีจันทร์ อัครมเหสี ของ ขุนราม นั่นเอง ส่วน เจ้าชายราหุล ได้มาประสูติเป็น เจ้าชายภาณุ พระราชโอรส ของ ขุนราม ผู้นำพระพุทธศาสนา ไปเผยแพร่ในดินแดนเกษียรสมุทร ในสมัยต่อมา

ด้วยความเชื่อที่ว่า พระนารายณ์ ได้อวตารมาเป็น กฤษณาวตาร หมายถึงพระนารายณ์อวตาร มาเป็นพระกฤษณะ ซึ่งได้มาเกี่ยวข้องกับ ดินแดนสุวรรณภูมิ และการที่วิญญาณภาคคุณธรรม ของ พระกฤษณะ อวตารในภพชาติถัดมา คือ พุทธาวตาร หมายถึงการที่ พระนารายณ์ อวตารลงมาเป็น พระพุทธเจ้า และต่อมา วิญญาณภาคนักรบ ของ พระกฤษณะ ได้อวตาร ลงมาเป็น ขุนราม หรือ จตุคามรามเทพ อีกหลายครั้ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อดับทุกข์เข็ญหลายครั้งให้กับชนชาติไทย ด้วยความเชื่อเหล่านี้ ได้ส่งผลต่อโครงสร้างชั้นบนของ สังคมไทย และ กระบวนการพัฒนา ของ สังคมไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ตลอดจน กระบวนการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ ของสังคมไทย ในอดีต มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยชนชาติไทย ปะทะกับ โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี การหลอมเหล็ก

 

       นับตั้งแต่รัชสมัย ของ ท้าวพญาฆา นำศาสนาพราหมณ์ มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติในดินแดนสุวรรณภูมิ เนื่องจากความสัมพันธ์กับ พระกฤษณะ ตามที่กล่าวมา รัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ก็เข้มแข็งมากขึ้น มี แว่นแคว้น ต่างๆ เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ หลายแว่นแคว้น จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน มหาอาณาจักรหนานเจ้า พ่ายแพ้สงครามเหล็ก กับ มหาอาณาจักรเจ็ก(ประเทศจีน) เป็นเหตุให้ ชนชาติอ้ายไต อพยพลงมาตั้งรกรากยังดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้พัฒนากลายเป็น มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย

 



ª-๔  คำกลอนลายแทงเรื่องการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ในท้องที่ภาคใต้ กล่าวว่า เมืองโมกข์คลาน สร้างก่อน เมืองนคร สร้างภายหลัง มีเรื่องราวกล่าวว่า เมืองโมกข์คลาน เป็นเมืองหนึ่ง ของ แคว้นสุธรรม ต่อมา ในปลายสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คือ สมัยของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน ซึ่งมีราชธานีอยู่ที่ กรุงสระทิ้งพระ ในปลายรัชกาลของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน นั้น แคว้นสุธรรม และ เมืองโมกข์คลาน ถูกชนชาติกลิงค์ จากดินแดนเกษียรสมุทร ส่งกองทัพเข้าตีเมืองแตก ดินแดนสุวรรณภูมิ เต็มไปด้วยสงคราม ทำให้ พระกฤษณะ ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ มีพระนามว่า ขุนราม เป็นภพชาติที่ ๓ ของ จตุคามรามเทพ ได้มาทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืน ต่อมา พระเชษฐา ของ ขุนราม มีพระนามว่า ศรีไชยนาท ได้ไปสร้างเมืองโมกข์คลาน ขึ้นใหม่ และเรียกชื่อว่า เมืองนาคร หรือ เมืองตาม้ากลิงค์ ขณะนั้น เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) กลายเป็นเมืองมหาจักรพรรดิ ส่วนเมืองนคร ได้กลายเป็นเมืองจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๒๔ เป็นต้นมา ต่อมา จักรพรรดิศรีไชยนาท เป็นผู้ทำสงครามปราบปรามชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ และ ชนชาติกลิงค์ ในดินแดนเกษียรสมุทร เป็นผลสำเร็จ ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงสงบสุข เรื่อยมา

 



ª-  ศ.ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ปราสาทเขาพนมรุ้ง สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๓๔๘-๓๖๓

 

 
Visitors: 54,285