รัชกาลที่ ๖ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(สมราครวีระ หรือ สิทธิยาทตรา) ปี พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๖ 

มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(สมราครวีระ หรือ สิทธิยาทตรา) 

ปี พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕ 

 

ปี พ.ศ.๑๓๑๖ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) เสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อพระทอง(สิทธิยาตรา) ซึ่งมีพระชนมายุประมาณ ๕๑ พรรษา ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก บนยอด ภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นเป็น มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิสมราครวีระ ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง โดยมี พ่อสิริกิตติ เป็น จักรพรรดิพ่อสิริกิติ และมี พ่อเจ้าพระยาใหญ่ ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ จักรพรรดิจันทร์ภาณุ เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๖ โดยมี เจ้าพระยาศรีพาลบุตร เป็นแม่ทัพใหญ่

ปี พ.ศ.๑๓๑๖ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ พ่อสมราครวีระ โดยมี พระนางดารา เป็น อัครมเหสี หรือ แม่ธรณี เนื่องจาก พระนางดารา เป็น พระราชธิดาของ มหาราชาวรวีร์(วรมะเสตุ พระราชโอรส ของ มหาราชาจันทร์โชติ กับ พระนางศรีสุดาดวงจันทร์) แห่ง อาณาจักรละโว้ สันนิษฐานว่า ขณะนั้น พระนางดารา มีพระชนมายุ  ๔๗ พรรษา ขณะนั้น พระนางดารา มีพระราชโอรส และพระราชธิดา ๓ พระองค์ คือ จักรพรรดิพ่อสิริกิตติ , พระนางปราโมทวรรชนี (อัครมเหสี ของ ระตู ปิกะตัน) และ เจ้าพระยาศรีพาลบุตร

ปี พ.ศ.๑๓๑๖ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ พ่อสมราครวีระ พระราชทานที่ดินส่วนหนึ่ง ในพื้นที่ พระราชวังศรีเวียงไชย เพื่อใช้ในการสร้าง วัดเวียง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย และ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) ในพื้นที่ของ พระราชวังศรีเวียงไชย ภายในกำแพงเมืองศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อสืบทอดราชประเพณี

ปี พ.ศ.๑๓๑๖ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ พ่อสมราครวีระ หรือ พ่อสิทธิยาตรา ได้สร้างจารึกหลักที่ ๒๓ ไว้ที่ พระราชวังศรีเวียงไชย หลังจากพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ของ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(สงครามธนัญชัย) พร้อมกับ มอบพื้นที่ส่วนหนึ่ง ให้สร้าง วัดเวียง ด้วย หลังจาก พระราชสถวีระ(ตาผ้าขาว ชยันตะ) ได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว ศิษย์ของท่านชื่อ อธิมุกติ ได้เป็น พระราชสถวีระ(ประธานสภาโพธิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม) แทนที่ ท่านได้สร้างพระสถูปเจดีย์ อีกคู่หนึ่ง ขึ้นในบริเวณเจดีย์ประสาทอิฐทั้งสาม นั้น พร้อมกับได้สร้าง ศิลาจารึกหลักที่-๒๓ เมื่อปี พ.ศ.๑๓๑๖ ซึ่งพบในพื้นที่ พระราชวังศรีเวียงชัย อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มีเนื้อหาบันทึกว่า...

...ด้วยพระเกียติคุณประสิทธิ์ ของ มหาจักรพรรดิ(มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์) อันแผ่ไปทั่วทุกทิศ ด้วยกระแสอันไม่รู้สิ้นสุด คือ วินัยคุณความประพฤติ เศารยคุณความสุภาพ ศรุตคุณความรู้ ศมคุณความอดทน กษมาคุณความเพียร ไธรยคุณความกล้าหาญ ตยาคคุณความบริจาค ทุติคุณความสง่า มติคุณความฉลาด ทยคุณความเมตาจิต มหาจักรพรรดิ(แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม) ประกอบด้วยคุณเหล่านั้นเป็นอาทิ มีพระเกียรติ ปราศจากอันตราย และ มีชื่อเสียงแพร่หลาย...(ออกไปยังต่างประเทศ)...ทำให้บังเกิดความเสื่อมแห่งพระเกียรติ ของ พระราชา(ของ อาณาจักร) อื่นๆ ดุจดังแสงดาวที่หรี่ลงไป เมื่อพระจันทร์ขึ้น ในฤดูศราท(ฤดูประเพณี เดือนศราท) ซึ่งแสงแห่งพระจันทร์ ได้กลบแสงของดวงดาวต่างๆ จนหมดสิ้น

มหาจักรพรรดิ ต่างๆ(แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ที่ล่วงลับไปแล้ว) เป็นตัวอย่างแห่งคุณความดีทั้งมวล และเป็นที่พึ่งของสาธุชน และผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในโลกนี้ โดยที่ มหาจักรพรรดิ ต่างๆ(แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม) มีบารมี ที่เสมือนว่า จะสามารถกลบรัศมี(มหาจักรพรรดิ) แห่งดินแดนหิมะอันขาวโพลนบนยอดเขาหิมาลัย(ประเทศอินเดีย) มหาจักรพรรดิ(แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ประกอบด้วยพระคุณ ยิ่งใหญ่เท่ากับมหาสมุทร ซึ่งสามารถชำระสิ่งปฏิกูล (มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ผู้ล่วงลับไปแล้ว) มิใช่เป็นแต่บ่อเกิดแห่งทรัพย์สิน แห่ง แก้วมุกดา เพชรพลอย ทั้งปวง เท่านั้น (มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ยังเป็นที่พึ่งอาศัยของบรรดาผู้นับถือ พระยานาค(ชนพื้นเมืองนาคา) ทั้งหลาย ซึ่งมีศีรษะ แผ่รัศมีด้วยแก้ว อันมีแสงประกาย

       ผู้ใดก็ตามซึ่งมาเข้าเฝ้า(บวงสรวงเซ่นไว้) มหาจักรพรรดิ(แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ด้วยใจอันรุ่มร้อน(ด้วยทุกข์ร้อน) เพราะเปลวเพลิง แห่งความยากจนอันแสนเข็ญ(ด้วยความทุกข์ที่เกิดจากความยากจน) ย่อมได้รับความสุขใจอันสูงสุด(เมื่อได้รับการแก้ไข) เหมือนดั่งช้างที่เร่าร้อน เพราะแสงแดดอันแผดกล้า กลับได้รับความสุขอันชุ่มชื่น เมื่อได้ลงสู่สระน้ำ อันรื่นรมย์ ที่ประกอบด้วยน้ำใสสะอาดสงบเงียบตลอดปี และเต็มไปด้วย เกสรดอกบัว

       สาธุชนทั้งหลาย จากทุกสารทิศทั่วโลก เมื่อได้มา(บวงสรวง)เข้าเฝ้า(เซ่นไหว้) มหาจักรพรรดิ(แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ผู้ทรงพระเกียรติคุณ เทียบด้วยพระมนูแล้ว ย่อมได้รับการตอบสนอง ได้รับสิ่งอันประเสริฐ(ตามที่ได้บวงสรวง-เซ่นไหว้) มีความสง่างาม ดุจดั่งต้นมะม่วง แล ต้นพิกุล และ พญาไม้อื่นๆ ที่สง่างาม เมื่อถึงฤดูที่เกิดการผลิดอก ออกผล

       พระองค์(มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ที่ล่วงลับไปแล้ว) คือ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย เป็นผู้ที่ประสบแต่ ชัยชนะ มีพระสิริขาว อำนาจของพระองค์(มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย) เป็นที่รับรองกันทั่วไป พระบรมราชโองการของพระองค์(มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย) เป็นที่เชื่อฟังของ มหาราชา ของ อาณาจักรข้างเคียง และ พระองค์(มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย) เป็นผู้ที่พระพรหม ผู้สร้างโลก ได้จงใจสร้างขึ้นเพื่อให้นำพระธรรมคำสั่งสอนของ พระพุทธองค์ อันควรนอบน้อม (เผยแพร่ให้) ให้จักมั่นคง รุ่งเรืองอยู่ในโลก ในอนาคตกาล ตลอดไป

       มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย ผู้เป็น พระอินทร์(มหาจักรพรรดิ) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านคุณธรรม เหือกว่า พระราชาทั้งหลาย บนพื้นพิภพนี้ พระองค์(มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย) ได้ทรงสร้างปราสาทอิฐ ทั้งสามขึ้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระปัทมปาณี(พระโพธิสัตว์ ผู้ถือดอกบัว) , พระผู้ผจญมาร และ พระวัชรปาณี(พระโพธิสัตว์ ผู้ถือวชิระ)

       เจดีย์ปราสาทอิฐ ทั้งสามหลังนี้ มีความงามราวกับเพชรบนภูเขา อันเป็นมลทินของโลกทั้งปวง ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศ แด่ พระชินราช(ดวงวิญญาณ พระพุทธชินราช) ผู้สูงสุด ทั้งปวง ทั่วทศทิศ(ทุกๆ อาณาจักร) ในท้องฟ้า(สรวงสวรรค์) และ เป็นเสมือนหนึ่งสายฟ้า(ดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์) อันจะพังทลายภูเขาแห่งความชั่วช้าทั้งหลายในโลกนี้ จะใช้เป็นที่สิงสถิต(ของดวงวิญญาณ) แห่ง องค์อมฤต(ดวงวิญญาณชั้นสูง) และ แห่งองค์(ดวงวิญญาณ)ผู้ประทานความมั่งคั่ง(ให้กับ ดินแดนสุวรรณภูมิ) อันสูงสุดในตรีภพ ตลอดกาล เนืองนิจ

       เจดีย์ปราสาทอิฐ สามหลังนี้ พระราชสถวีระ(ประธานสภาโพธิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม) ชื่อ ชยันตะ(ตาผ้าขาว ชยันตะ) ได้รับอาราธนาของ มหาจักรพรรดิ(พ่อศรีทรัพย์) ว่า ขอพระผู้เป็นเจ้า จงสร้างพระสถูปขึ้นสามองค์เถิด พระองค์(มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์) จึงได้สร้างสถูปนี้ขึ้น(เจดีย์ปราสาทอิฐวัดเวียง) อย่างเดียวกัน ตามพระราชประสงค์ ของ พระองค์(มหาจักรพรรดิ พ่อศรีทรัพย์)

       หลังจากพระราชสถวีระ(ตาผ้าขาว ชยันตะ) รูปนั้น ได้ไปสู่สวรรค์(ถึงแก่มรณภาพ) แล้ว ศิษย์ของท่านชื่อ อธิมุกติ ได้เป็น พระราชสถวีระ(ประธานสภาโพธิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม) แทนที่ ท่านได้สร้างพระสถูปเจดีย์ อีกคู่หนึ่ง ขึ้นในบริเวณเจดีย์ประสาทอิฐทั้งสาม นั้น ด้วย

       เมื่อ ศกศักราชที่ ๖๙๓(ปี พ.ศ.๑๓๑๖) วันคำรบ ๑๑ ค่ำ แห่ง มาธวมาส ศุกุลปักษ์ ของ เดือนไวศาขะ(เดือน-๖) พระอาทิตย์สู่ ราศรีกรกฎ  ด้วย พระศุกร์อุทัยในดาวกรกฎ ดุจดั่ง มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม(มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง) พระองค์มีรูปสัณฐานคล้ายกับ เทวราช แล ประกอบด้วยสิริอันประเสริฐ ยิ่งกว่า มหาราชา อื่นๆ พระองค์(มหาจักรพรรดิ พ่อพระทอง) เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ  ได้ทรงสร้างเจดีย์พระสถูป และ พระเจดีย์อิฐ ทั้งหลาย ซึ่งมีความงามราวกับว่า สร้างขึ้นด้วย แก้วจินดามณี อันได้คัดเลือกแล้ว เฉพาะที่ดีที่สุดในโลก ในไตรโลก ได้สร้าง.......พระสถูป...

       (จาก กรมศิลปากร ปี พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑ หน้าที่ ๑๙๕-๑๙๖ และจาก หนังสือโบราณคดีศรีวิชัย ของ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หน้าที่ ๘๐-๘๑)

                                     จารึกด้านหลัง(ด้านที่-๒)

       สวัสดี  มหาจักรพรรดิ(แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์) ผู้เป็นเจ้าแห่ง พระราชา ทั้งปวง(ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์) พระองค์ทรงพระเดชานุภาพ ดุจดั่งพลังของ ดวงพระอาทิตย์ ทรงบำบัดความมืดมัว ของ กลุ่มศัตรูของพระองค์ รูปสัณฐานของพระองค์ งามมีเสน่ห์ ราวกับความงามของ ดวงจันทร์ อันปราศจากเมฆหมอก ในฤดูสารท ทรงมีสรีระงาม เสน่ห์ดุจดัง พระกามเทพ และมีความกล้าหาญ เปรียบเสมือน พระวิษณุ องค์ที่ ๒ สามารถทรงทำลาย ความหยิ่งยโส ของ บรรดาราชศัตรู ทั้งมวล เมื่อพระองค์ได้มาปฏิสนธิในโลกนี้ จนได้รับการขนานนามว่า พระวิษณุองค์ที่ ๒…(มหาจักรพรรดิ พ่อศรีธรรมโศก) โดยพระราชอำนาจของพระองค์ จึงทรงเป็นประมุขของ พระราชา ทั้งปวง ของ ราชวงศ์ไศเลนทร์ ทั้งมวล พระองค์ทรงพระนามว่า มหาจักรพรรดิ….. (มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง หรือ มหาจักรพรรดิ พ่อศรีสงครามธนัญชัย).....เพื่อแสดงว่า พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์ไศเลนทร์ จากนั้นพระองค์...(ยังจารึกไม่เสร็จ)...” 

      (เซเดส์ , ๒๕๐๒ หน้า ๒๖ และ จากหนังสือโบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่ ของ การศึกษาวิเคราะห์ แหล่งโบราณคดี รอบอ่าวบ้านดอน ของ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หน้าที่ ๘๐-๘๑ )

      (จารึกนี้ นักประวัติศาสตร์ ของ ประเทศอินโดนีเชีย ระบุว่า เป็นเรื่องของ อาณาจักรปาเล็มบัง มาสร้างศิลาจารึกไว้ที่ เมืองตาม้าพรกลิงค์ คือ นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน)

ปี พ.ศ.๑๓๑๖ จักรพรรดิพ่อสิริธรรมกิตติ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) ได้ยกกองทัพทำสงครามปราบ อาณาจักรโจฬะ(เขมร) เพื่อยึดครองดินแดนกลับคืน

ปี พ.ศ.๑๓๑๖ มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตียึดครอง แคว้นจุลนี ของ อาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งปกครอง พระยาจูสง พระราชโอรสของ เจ้าพระยาบรมฤกษ์

ปี พ.ศ.๑๓๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ พ่อสมราครวีระ หรือ สิทธิยาตรา ให้การอุปถัมภ์ แก่ มหาวิทยาลัยนาลันทา ศิลาจารึกบนแผ่นทองแดง ของ มหาวิทยาลัยนาลันทา จารึกว่า...

...ปี พ.ศ. ๑๓๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) (หรือ สมราครวีระ หรือ สิทธิยาตรา) เป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) (ศรีสงครามธนัญชัย) ได้ทรงอุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยนาลันทา พระองค์(พ่อพระทอง) มีอรรคมเหสี ซึ่งเป็นราชธิดาของ มหาราชาวรวีร์ (วรมะเสตุ) แห่ง อาณาจักรละโว้ มีพระนามว่า พระนางดารา...

ปี พ.ศ.๑๓๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) มอบให้ นายกพ่อใหญ่ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าสัตยวรมัน(อีศวรโลก) สามารถทำลายปราสาทโพธิ์นคร ณ เมืองยาตรัง และยึดเอามุขลึงค์ มาเก็บรักษาไว้ที่ เมืองท่าชนะ (เป็นการคาดเดาของนักประวัติศาสตร์บางท่าน) ศิลาจารึกในดินแดนของจามปากล่าวว่า……..

...ข้าศึกเดินทางข้ามทะเลมาจากที่อื่น ชอบกินของโสมมยิ่งกว่าซากศพ มีหน้าตา น่าเกลียดน่ากลัว ผิวดำเป็นมัน ผอมโซ ผอมแห้ง มีสันดาน เป็นพาล และหยาบช้าทารุณโหดร้ายยิ่งกว่ามัจจุราช พากมันได้ยกกองทัพเรือบุกเข้าโจมตี ปล้นสดมภ์ ศิวลึงค์ และจุดไฟเผาผลาญ เทวสถาน ของพระผู้เป็นเจ้า แต่ มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา สัตยวรมัน ได้ยกกองทัพติดตามไปโดยทางเรือ และสามารถรบชนะข้าศึก ในสงคราม ณ สมรภูมิ ในทะเล…”

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๒๙ )

(ส่วนข้อมูลของอินโดนีเซียกล่าวว่า อาณาจักรมะตะราม ยกกองทัพไปโจมตี)

ปี พ.ศ.๑๓๑๘ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง สนับสนุนให้ อาณาจักรมาลัยรัฐ(มาลายู) ก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๓๑๙ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงโพธิ์กะลิงค์ (ปัตตานี) ได้ส่งคณะราชทูต ๓ ท่านไปยัง ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง จดหมายเหตุจีน อ้างว่า ในระหว่างปี พ.ศ.๑๓๑๙-๑๓๒๑ อาณาจักรม้าตาราม ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน อย่างลับๆ ถึง ๓ ครั้ง

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๕)

ปี พ.ศ.๑๓๑๙ มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ก่อกบฏ ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้ใต้จง แห่ง มหาอาณาจักรจีน

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๕)

ปี พ.ศ.๑๓๒๐ มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๕)

ปี พ.ศ.๑๓๒๐ กองทัพของ ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรละโว้

ปี พ.ศ.๑๓๒๐ มหาราชาวรวีร์(วรมะเสตุ) แห่ง อาณาจักรละโว้ ซึ่งเป็น พระราชบิดาของ พระนางดารา ได้ทำสงครามสู้รบกับกองทัพมอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี เพื่อรักษาแว่นแคว้นในผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ สวรรคต ในสงคราม

ปี พ.ศ.๑๓๒๐ พระนางดารา อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง ได้เสด็จไป เผาพระบรมศพ ของ มหาราชาวรวีร์(วรมะเสตุ) แห่ง อาณาจักรละโว้

ปี พ.ศ.๑๓๒๐ พระนางดารา ได้สร้าง วัดพระนางดารา ไว้ในดินแดน แคว้นนครศรีธรรมราช เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ มหาราชาวรวีร์(วรมะเสตุ) แห่ง อาณาจักรละโว้ ซึ่งเป็น พระราชบิดา

ปี พ.ศ.๑๓๒๑ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๕)

ปี พ.ศ.๑๓๒๑ จักรพรรดิโก๊ะล่อเฟง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้เสด็จสวรรคต ใช้เวลาในการครองราชย์สมบัติ ๓๐ ปี มีพระชนมายุ ๖๖ พรรษา ผู้สืบทอดราชสมบัติต่อมา เป็นพระราชโอรส ของ เฟงกาอี ทรงพระนามว่า จักรพรรดิอีมูชน(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๕๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ เป็นรัชกาลถัดมา

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๖๐)

ปี พ.ศ.๑๓๒๑ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา เป็นผลสำเร็จ แล้วแต่งตั้งให้ มหาราชาปะนังกะรัง ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๓๒๑ พระนางดารา อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(สิทธิยาตรา) เสด็จสวรรคต

ปี พ.ศ.๑๓๒๑ พระยาโสธร(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครธม(อินทปัต) สละราชสมบัติ ออกผนวช เพราะเบื่อหน่ายการแย่งชิงราชสมบัติ ในดินแดนราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) และมอบราชสมบัติให้ พระยาชเยษฐา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๒๓) พระราชโอรส สายราชวงศ์ท้าวไกรสร เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๓๒๑ มหาราชาปะนังกะรัง แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ทรงสร้าง ศาสนสถาน พระเจดีย์กาลาสัน ที่เมืองกาลาสัน ภาคกลางของเกาะชวา เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐาน ของ เทวรูป และ อัฐิ ของ พระนางดารา

ปี พ.ศ.๑๓๒๑ มหาราชาปณมกรณะ แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง (ปาเล็มบัง) และ มหาราชาระตู-ปะนังกะรัน ได้ร่วมกันสร้าง ศาสนสถาน พระเจดีย์กาลาสัน ณ เมืองกาลาสัน พร้อมกับได้สร้าง ศิลาจารึกกาลาสัน ขึ้นในดินแดนของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวาตะวันออก เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐาน เทวรูป ของ พระนางดารา ผู้เป็นอรรคมเหสี ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อปี พ.ศ.๑๓๒๑(อาจจะเป็นปี พ.ศ.๑๓๒๓) ศิลาจารึกมีเนื้อหาแปลได้ว่า...

      ...ขอนอบน้อมแด่องค์ อารยดารา คุรุแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ ได้ร่วมกันสร้างวิหาร เพื่อประดิษฐาน เทวรูป และ อัฐิ ของ พระนางดารา ด้วยความอนุเคราะห์ ของ มหาราชา ปัญจปณะ ปณมกรณะ ผู้เป็นดิลก แห่ง กษัตริย์ ราชวงศ์ไศเลนทร์ พร้อมกันนี้ องค์พระศรีมานะ กริยานะ ปณมกรณะ(พระราชโอรส ของ พระนางปราโมชวัชนี)  ได้ถวาย หมู่บ้านกาลาสัน นี้ เพื่อให้สร้างวัดทางพุทธศาสนา ขอให้บรรดากษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ ทั้งมวล จงช่วยกันดูแลรักษาสถานที่แห่งนี้ รวมทั้งหมู่บ้านที่ถวายเป็นข้าพระ ให้คงอยู่ตลอดกาลนาน…”

(แปลโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์)

      (ข้อสังเกต พระศรีมานะ นี้ คงจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร์ พระองค์หนึ่ง ที่ยังไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานได้ ในขณะนี้)

ปี พ.ศ.๑๓๒๒ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เสด็จสวรรคต หลี่จือ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา จึงมีการปฏิรูป มหาอาณาจักรจีน ครั้งใหญ่ และเริ่มแทรกแซง สหราชอาณาจักรเสียม อีกครั้งหนึ่ง

  (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๖)

ปี พ.ศ.๑๓๒๒ พระยาพรหมแกล แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) กรุงพนมมันตัน ยกกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกา ไปครอบครอง ผลของสงคราม เชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร์ พระยาชเยษฐา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๒๓) กรุงพระนครธม(อินทปัต) ถูกปิดล้อมประมาณ ๑ ปี

ปี พ.ศ.๑๓๒๒ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

(ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๓๒๒ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ทำสงครามปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา เนื่องจาก อาณาจักรต่างๆ ตอนเหนือของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ขัดแย้งกับ มหาอาณาจักรจีน อย่างหนัก ทั้งนี้เพราะ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ได้ทำการปราบปรามชนชาติอ้ายไต ผู้นับถือพุทธศาสนา ในดินแดนของชนชาติอ้ายไต ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามยึดครอง เป็นเหตุให้ ชนชาติอ้ายไต ต้องเดินทางอพยพลี้ภัยสงครามการปราบปราม มาอาศัยอยู่ในแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ทางภาคเหนือ ของผืนแผ่นดินใหญ่ จำนวนมาก

      ปี พ.ศ.๑๓๒๒ จักรพรรดิอีมูชน(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๕๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตีกองทัพต่างๆ ของ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง กองทัพของ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ต้องล่าถอยไม่เป็นขบวน

      ปี พ.ศ.๑๓๒๒ เกิดสงครามระหว่าง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กับ มหาอาณาจักรจีน เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ต้องขอให้กองทัพ ของ พระเจ้ามหิปติวรมัน ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) กรุงพนมมันตัน ร่วมมือกับ กองทัพ ของ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทำการยกกองทัพเข้าตีกองทัพกองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ด้านหลัง มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(สมราครวีระ หรือ สิทธิยาตรา) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ทราบข่าว จึงไม่พอใจ อาณาจักรโจฬะ(เขมร) กรุงพนมมันตัน เป็นอย่างมาก รับสั่งให้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ทันที

ปี พ.ศ.๑๓๒๓ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้มอบให้ นายกพ่อพระใหญ่ ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ปราบปราม พระเจ้ามหิปติวรมัน ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ในฐานะที่ก่อกบฏ ยกกองทัพไปช่วย กองทัพ ของ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ซึ่งได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี กองทัพของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา)

ปี พ..๑๓๒๓ นายกพ่อพระใหญ่ ได้ยกกองทัพไปทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ผลของสงคราม กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) สามารถทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) กรุงพนมมันตัน กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พระเจ้ามหิปติวรมัน ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ สวรรคตในสงคราม สามารถยึดเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรโจฬะ(เขมร) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ด้วย

ปี พ.ศ.๑๓๒๓ พระเจ้าพรหมแกล แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) กรุงพนมมันตัน ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงพระนครธม(อินทปัต) ผลของสงคราม พระยาชเยษฐา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๒๓) เชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร์ พระราชโอรส ของ พระยาโสธร แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา ต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ในป่าเขา รวมทั้ง เจ้าหญิงทวดี ด้วย หลังจากนั้น อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ได้นำ อาณาจักรคามลังกา รวมเข้าด้วยกัน เรียกชื่อใหม่ว่า อาณาจักรกำโพธิ์ช้า(กัมพูชา)

ปี พ.ศ.๑๓๒๓ พระยาชเยษฐา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๒๓) แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครธม(อินทปัต) ถูกกองทัพ พระเจ้าพรหมแกล แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ตีเมืองแตก พระยาชเยษฐา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๒๓) ต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ในป่าเขา รวมทั้ง เจ้าหญิงทวดี ด้วย หลังจากนั้น อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ได้นำ อาณาจักรคามลังกา รวมเข้าด้วยกัน เรียกชื่อใหม่ว่า อาณาจักรกำโพธิ์ช้า(กำพูชา)

ปี พ.ศ.๑๓๒๓ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ สมราครวีระ หรือ สิทธิยาตรา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง ราชอาณาจักรคามลังกา กลับคืน จากการยึดครอง ของ กองทัพทมิฬโจฬะ โดย พระเจ้าพรหมแกล แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) สงครามครั้งนั้น สายราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์ มหาราชาท้าวไกรสร ซึ่งต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ในป่าเขา กลับคืนเมือง เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง ได้พบรัก และได้เสียกับ เจ้าหญิงทวดี พระราชธิดา ของ พระยาชเยษฐา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๒๓) ณ ชายหาด ทะเลใต้ แห่งหนึ่ง แต่สงครามยังไม่ยุติ พระนางทวดี ซึ่งทรงพระครรภ์ ต้องพลัดพรากจาก มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง เพราะกองทัพข้าศึก ของ พระเจ้าพรหมแกล บุกเข้ามาทำสงครามอีก

ปี พ.ศ.๑๓๒๓ พระยาชเยษฐา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๒๓) แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครธม(อินทปัต) เสด็จสวรรคต ในสงคราม เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ต้องส่งกองทัพหลวงไปทำสงครามขับไล่ข้าศึก และ โปรดเกล้าให้ พระนางชเยษฐารยา อัครมเหสี ของ พระยาชเยษฐา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๒๓) สายราชวงศ์ท้าวไกรสร ราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ เป็น มหารายา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา โดยได้ย้ายราชธานีไปตั้งอยู่ที่ กรุงสมโพธิ์(สมโบ)

ปี พ..๑๓๒๔ พระนางทวดี พระราชธิดา ของ มหาราชา ชเยษฐา แห่ง อาณาจักรคามลังกา ได้ประสูติ เจ้าชายเกตุมาลา พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) กับ พระนางทวดี ในขณะที่ กองทัพ ของ พระเจ้าพรหมแกล ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ยังคงทำสงครามรุกราน ต่อมา เจ้าชายเกตุมาลา พระองค์นี้ จะเป็นผู้มีบทบาทต่อ อาณาจักรคามลังกา ในเวลาต่อมา พงศาวดารกำพูชา บันทึกว่า...

...ในขณะที่ กองทัพข้าศึก ของ พระเจ้าพรหมแกล ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรโจฬะ (เขมร) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกา นั้น สายราชวงศ์ไศเลนทร์ สาย มหาราชาท้าวไกรสร ต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ในป่าเขา รวมทั้ง เจ้าหญิงทวดี ด้วย ต่อมา มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ได้ส่งกองทัพไปขับไล่ข้าศึก ทมิฬโจฬะ ออกไป พร้อมกับพยายามกวาดต้อน สายราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์ มหาราชาท้าวไกรสร ซึ่งต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ในป่าเขา ให้กลับคืนเมือง เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง ได้พบรัก และได้เสียกับ เจ้าหญิงทวดี ณ ชายหาด ทะเลใต้ แห่งหนึ่ง แต่สงครามยังไม่ยุติ พระนางทวดี ซึ่งทรงพระครรภ์ ต้องพลัดพรากจาก มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง เพราะกองทัพข้าศึก ของ พระเจ้าพรหมแกล บุกเข้ามาทำสงครามอีก

พระนางทวดี ต้องหลบหนีข้าศึก เดินทางรอนแรม จวนจะประสูติกาล จึงได้มาพัก ณ ปลายชนบท แห่งหนึ่ง พร้อมกับที่ พระเจ้าพรหมแกล มอบให้ทหารออกติดตามพระนางทวดี จนพบ พระเจ้าพรหมแกล ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ รับสั่งให้สำเร็จโทษพระนางทวดี ด้วยการบั่นพระศอ แต่ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ที่พระราชกุมารในพระครรภ์ หาได้เป็นอันตรายแต่อย่างใดไม่ เมื่อเพชฌฆาต ฟันพระศอ ของ พระนางทวดี แล้ว ก็จะลงมือฟัน ราชกุมาร ในพระครรภ์ ของ พระนาง อีก ฝ่ายพระราชกุมาร ซึ่งอยู่ในอุทร นั้น ได้เคลื่อนไปอยู่ในอุระประเทศ ครั้นเพชฌฆาต ลงมือฟันพระอุทร ของ พระนางทวดี ขาดเป็นท่อนแล้ว เพชฌฆาต ก็กลับคืนไป พระราชกุมารก็คลานออกมาอยู่บนพื้นปฐพี

ต่อมา ครั้นพระราชกุมาร(เกตุมาลา) ออกมาคลานอยู่นั้น ได้มีหมู่ปักษี พากันบินลงมากางปี ปกป้องพระราชกุมาร มิให้ต้องแสงพระอาทิตย์ ในเวลานั้น มีบุรุษผู้หนึ่ง อาชีพเลี้ยงโค ชื่อ ตากุเห ได้มาพบพระราชกุมารเข้า จึงได้นำไปเลี้ยงดู จนกระทั่ง พระราชกุมารเจริญวัย ขึ้น เจ้าชายเกตุมาลา มีวรรณะและสิริโฉม งดงามมาก ทรงมีลายวงกงจักร ที่พระหัตถ์ และ พระบาท ด้วย ทรงมีบุญญาภินิหาร ด้วยการที่ทรงเปล่งวาจาเช่นไร ก็จะเป็นไปตามที่พระทัยปรารถนา จนกระทั่งมีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา เชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร์ จึงส่งไปถวายให้กับ มหาจักรพรรดิ พ่อพระทอง เป็นผู้เลี้ยงดู ณ ราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้รับการศึกษา ตามราชประเพณี จนเติบใหญ่...

(จาก ปราสาทเขาพระวิหาร รศ.ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ สำนักพิมพ์เมืองโบราณ หน้าที่ ๔๖-๔๘)

ปี พ..๑๓๒๕ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ พ่อสมราครวีระ หรือ สิทธิยาตรา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีนโยบายให้ มหาราชาธรรม แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง (ปาเล็มบัง) สร้าง เจดีย์กาลาสัน ไว้ที่ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวาตะวันออก เมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว มหาราชาธรรม เสด็จสวรรคต

ปี พ.ศ.๑๓๒๕ มหาราชาธรรม แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เสด็จสวรรคต มหาอุปราชพ่ออินทระ ผู้เป็นพระราชโอรส จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชาอินทะระ ปกครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เป็นรัชกาลที่-

ปี พ..๑๓๓๐ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ผลักดันให้ มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ทำการก่อสร้าง เจดีย์บรมพุทโธ ซึ่งสร้างมาแล้ว ๑๕ ปี สำเร็จ ซึ่งเป็นสิ่ง มหัสจรรย์ ของโลกในปัจจุบัน

ปี พ.ศ.๑๓๓๐ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ พ่อสมราครวีระ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าสัตยวรมัน หรือ พระอินทรวรมันที่-๑ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สามารถทำลาย เทวาลัยพระภัทราธิปตีศวร ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ เมืองนครหลวง ของ อาณาจักรจามปา คือ เมืองวีรปุระ ใกล้กับเมืองผันรัง ในปัจจุบัน เป็นผลสำเร็จ จารึกภาษาสันสกฤต ณ ปราสาทโพธิ์นคร เมืองยาตรัง จารึกไว้ว่า...

...ปี พ.ศ.๑๓๓๐ กองทัพ เดินทางมาจาก อาณาจักรชวาทวีป(สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์) ได้เดินทางมาโดยทางเรือ พร้อมกับได้ทำการเผาเทวาลัย อีกแห่งหนึ่ง...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๒ และ ๑๒๙)

ปี พ.ศ.๑๓๓๓ พระเจ้าพรหมแกล แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) กรุงพนมมันตัน สวรรคต พระเจ้าชัยวรมันที่-๑ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลถัดมา

(ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๙๓)

ปี พ.ศ.๑๓๓๔ จักรพรรดิอีมูชน(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๕๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๓๓๖ พระเจ้าสัตยวรมัน หรือ พระอินทรวรมันที่-๑ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๒๙)

ปี พ.ศ.๑๓๓๗ จักรพรรดิอีมูชน(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๕๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้ขัดแย้งกับ อาณาจักรมิเชน ของ ชนชาติทิเบต จนกระทั่ง เกิดสงครามระหว่างกัน ผลของสงคราม กองทัพทิเบต พ่ายแพ้ที่สะพานเหล็ก ทางทิศเหนือ ของ เมืองลีเกียงฟู เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน หันมาสร้างความสัมพันธไมตรีกับ มหาอาณาจักรน่านเจ้า เสนอให้ จักรพรรดิอีมูชน(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๕๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า ได้รับรางวัลเป็น ตราทองคำ ในฐานะ มหาราชาผู้มีความสามารถ แห่ง ประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๓๓๙ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ สมราครวีระ หรือ สิทธิยาตรา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรโจฬะ(เขมร) เป็นผลสำเร็จ สามารถตัดพระเศียร ของ พระเจ้าชัยวรมันที่-๑ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) เป็นผลสำเร็จ เพื่อข่มขวัญ มิให้ก่อกบฏ อีกต่อไป ในเรื่องนี้ จดหมายเหตุอาหรับ บันทึกว่า...

...มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ(เขมร) ทรงปรารถนาที่จะทอดพระเนตรเห็น พระเศียร ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ใส่ถาดมาถวายต่อพระพักตร์ ของ พระองค์ เมื่อ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ทราบข่าว ก็ทรงแสร้งที่จะเสด็จไปประพาสตามเกาะต่างๆ ในดินแดน สหราชอาณาจักร ของ พระองค์ แต่แท้ที่จริงแล้ว มหาจักรพรรดิ กลับทรงตระเตรียมกองทัพเรือ เพื่อยกกองทัพไปทำสงครามปราบปราม อาณาจักรเจนละ(เขมร)

มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้แล่นเรือมุ่งสู่ อาณาจักรเจนละ แล้วแล่นเรือไปตามแม่น้ำ จนถึงเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรเจนละ(เขมร) สามารถทำสงคราม จับกุม มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ (เขมร) สำเร็จ หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิ ได้รับสั่งให้ตัดพระเศียร ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ(เขมร) เสีย ต่อจากนั้นจึงรับสั่งให้อำมาตย์ (ของ อาณาจักรคามลังกา) จัดหาผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรเจนละ แทนที่ต่อไป เมื่อ มหาจักรพรรดิ เสด็จกลับมายัง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิ ทรงโปรดให้อบพระเศียรที่ตัดมา พร้อมกับใส่ในโถ ส่งไปถวาย มหาราชา อาณาจักรเจนละ พระองค์ใหม่ พร้อมกับตักเตือนให้ระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิให้ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ต่อไป

เมื่อข่าวนี้ ทราบไปถึง มหาจักรพรรดิ แห่ง ประเทศอินเดีย และ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ต่างก็ทรงเห็นความสำคัญ ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนๆ และตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา มหาราชา ของ อาณาจักรเจนละ(เขมร) เมื่อบรรทมตื่นในตอนเช้า ก็จะหันพระพักตร์ ไปยังทิศ เมืองหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อก้มพระองค์ลงกับพื้น เพื่อแสดงความเคารพ ต่อ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เรื่อยมา...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๓)

ปี พ.ศ.๑๓๓๙ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ มหาจักรพรรดิสมราครวีระ หรือ มหาจักรพรรดิสิทธิยาตรา ได้สำเร็จภารกิจ ในสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะ(เขมร) เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เสด็จไปยัง อาณาจักรคามลังกา เพื่อตามหา พระราชโอรส พระเกตุมาลา ซึ่งมีพระชนมายุ ๕ พรรษา กับ พระนางทวดี ซึ่งหายสาบสูญไป เพื่อนำไปประทับ ณ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๓๔๑ เชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร์ ได้นำ เจ้าชายเกตมาลา ซึ่งมีพระชนมายุ ๗ พรรษา จาก อาณาจักรคามลังกา มาส่งมอบให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) ซึ่งเป็นพระราชบิดา ทรงอุปถัมภ์ เลี้ยงดู ณ ราชธานี กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) ตามราชประเพณี

ปี พ.ศ.๑๓๔๒ พระเจ้าสัตยวรมัน หรือ พระอินทรวรมันที่-๑ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ทรงสร้าง ศาสนสถาน ซึ่งถูกกองทัพของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ทำลายไป ทรงซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ เป็นผลสำเร็จ

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๒๙)

ปี พ.ศ.๑๓๔๒ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ซึ่งอพยพมาจาก อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรโพธิ์นาน ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นครั้งสุดท้าย ได้มีการบันทึกเรื่องเส้นทางเดินทางจาก เมืองแง่อัน ไปยัง กรุงเวียงจันทร์ ด้วย มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๒๙๗ อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์(เวน-ตัน) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๖๑)

 (ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๓๔๓ พระเกตุมาลา มีพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา ได้เสด็จออกผนวช ณ วัดพระคู่ พร้อมกับเข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ(ยะลา) อาณาจักรมาลัยรัฐ หลังจากสำเร็จการศึกษา ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็น พระยาเกตุมาลา ได้มารับราชการ ณ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๓๔๓ อาณาจักรหงสาวดี ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) ราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู เป็นผลสำเร็จ

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า ปี พ.ศ.๒๕๔๘ หน้าที่ ๑๘)

ปี พ.ศ.๑๓๔๔ มหาราชา พระยาจอมศรี ราชวงศ์คำ(พ.ศ.?-๑๓๔๔) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) เสด็จสวรรคต มหาราชา พระยาอ้ายศรี(พ.ศ.๑๓๔๔-๑๓๕๐) ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่

ปี พ.ศ.๑๓๔๔ มหาราชา พระยาอ้ายศรี(พ.ศ.๑๓๔๔-๑๓๕๐) ราชวงศ์คำ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ด้วยการส่ง พระยาเจ้าศรี ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ มหาราชา พระยาอ้ายศรี เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอเป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า ปี พ.ศ.๒๕๔๘ หน้าที่ ๑๙)

ปี พ.ศ.๑๓๔๕ พระเจ้าสัตยวรมัน หรือ พระอินทรวรมันที่-๑ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้เสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ พระเจ้าหริวรมันที่-๑ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๒๙)

ปี พ..๑๓๔๕ พระยาเกตุมาลา  หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่-๒ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) กับ พระนางทวดี มีพระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ได้เสด็จจาก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) พร้อมกับ พราหมณ์ศิวไกวัลย์ ไปช่วยราชการ ณ ราชอาณาจักรคามลังกา และขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาอุปราช ปกครอง อาณาจักรคามลังกา มีพระนามว่า มหาอุปราชพระยาเกตุมาลา ว่าราชการอยู่ที่ เมืองนครธม พร้อมกับได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ณ ภูเขากูเลน เรียกชื่อว่า เมืองอินทรปุระ หรือ เมืองบันทายไพรนคร ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตก ของ สระบาราย ในพื้นที่ของ เมืองอินทปัต(นครธม) ขึ้นมาว่าราชการ เรียกว่า เมืองนครธม โดยมี พระนางชเยษฐารายา ซึ่งเป็นสมเด็จย่า เป็น มหารายา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา กรุงสมโพธิ์(สมโบร์) จารึกสดกก๊อกธม ได้จารึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๓๔๕ พระเกตุมาลา ได้เสด็จกลับมาจาก ชวาทวีป เพื่อมาครองเมือง อินทรปุระ...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๖๓-๑๖๔)

(ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๙๓)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๔๙)

      ปี พ..๑๓๔๕ พระยาเกตุมาลา  แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) กับ พระนางทวดี มีพระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๕ แห่ง จากการครอบครอง ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ กลับคืน และยังส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกด้วย แล้วส่งมอบ กรุงเวียงจัน ให้กับ อาณาจักรอ้ายลาว กรุงลานช้าง ส่วนอาณาจักรโพธิ์หลวง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรจามปาศักดิ์ หรือ อาณาจักรโพธิ์ใน แทนที่

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๔๙)

      ปี พ.ศ.๑๓๔๕ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) มีพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา เสด็จสวรรคต ได้รับพระนามใหม่ ว่า พระเจ้าสมราครวีระ หรือ สิทธิยาตรา วรมะเทวะ

(ตรวจสอบจากหลักฐานของศรีลังกา)

 

ปี พ.ศ.๑๓๔๕ หลักฐานของประเทศศรีลังกา บันทึกว่า มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) ได้เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๓๔๕ ได้รับพระราชทาน พระนามว่า สมราครวีระ และ สิทธิยาทตรา วรมะเทวะ

Visitors: 54,382