รัชกาลที่ ๔๗ มหาจักรพรรดิ พ่อพระยาร่วงโรจน์ กรุงสุโขทัย ปี พ.ศ.๑๗๙๙-๑๘๑๓

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๗ 

มหาจักรพรรดิ พ่อพระยาร่วงโรจน์ 

กรุงสุโขทัย ปี พ.ศ.๑๗๙๙-๑๘๑๓

 

      ปี พ.ศ.๑๗๙๙ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช นำพระพุทธสิหิงส์ มายัง กรุงสุโขทัย เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ณ ราชธานี กรุงสุโขทัย อีกครั้งหนึ่ง ต่อหน้าพระพักตร์ เทวรูป พระพุทธสิหิงส์ เพื่อสืบทอดราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสุโขทัย โดยมี พ่อจันทร์ภาณุ เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงศรีธรรมราชปุระ และมี พ่อพระยาเสือ เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงกลิงค์ชวากะรัฐ(คันธุลี) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เป็นรัชกาลที่ ๔๗

      ต่อมา ได้เกิดสงคราม ณ อาณาจักรศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ.๑๘๐๓-๑๘๐๗ นายกพ่อพระยาเสือ สวรรคต ในสงคราม จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ จึงต้องถอยทัพกลับคืน ดินแดนสุวรรณภูมิ ภายหลังสงครามครั้งนี้ พระยาศรีไสณรงค์สงคราม พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ จึงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกพระยาศรีไสณรงค์สงคราม เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที

ต่อมา ในปี พ.ศ.๑๘๑๓ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ กรุงศรีธรรมราชปุระ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องถอยทัพ กลับมา สวรรคต ณ กรุงศรีธรรมราช เป็นเหตุให้ นายกพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม กรุงศรีอยุธยา ต้องขึ้นดำรงตำแหน่ง เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม กรุงศรีอยุธยา เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช โปรดเกล้าให้ พ่อขุนบานเมือง เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสุโขทัย ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ แทนที่ ทันที

ปี พ..๑๗๙๙พระเจ้าอุษานา(พ.ศ.๑๗๙๓-๑๗๙๙) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง ราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต และ พระเจ้านรสีหบดี(พ.ศ.๑๗๙๙-๑๘๓๐) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

      (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๑๑)

ปี พ.ศ.๑๘๐๐ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๖ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สวรรคต เนื่องจาก เจ้าชายหริเทพ ซึ่งเป็น พระเจ้าหลานเธอ ได้ก่อกบฏ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา มีพระนามว่า พระเจ้าชัยสิงหวรมัน เป็นรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๘๐๐ จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้มอบให้ นายพล อะเรียงกะไต ทำการยกกองทัพเข้าโจมตี กรุงฮานอย แคว้นอันหนำ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าอันหนำ ยอมอ่อนน้อมต่อ ฮ่องเต้กุบไลข่าน จักรพรรดิกุบไลข่าน เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรไตเวียต เป็นชื่อ อาณาจักรอันหนำ(ใต้ที่มีสันติ)

 (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๓)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๘๐๑ ไทยยะอำมาตย์ เข้ายึดอำนาจ ลอบปลงพระชนม์ พระยาพันโตญญะ กษัตริย์ราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงหิรัญภุญชัย เป็นผลสำเร็จ แล้วมีกษัตริย์ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต อีก ๕ พระองค์ ทำการปกครองอีก ๓๔ ปี จนถึงสมัย พระยายี่บา ทำการปกครอง และถูก พระยามังราย ส่งกองทัพเข้ายึดครองเมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๕ เป็นผลสำเร็จ

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๖๕)

ปี พ.ศ.๑๘๐๒ กองทัพ ของ ฮ่องเต้ลี่จง(พ.ศ.๑๗๖๗-๑๘๐๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ กรุงนานกิง สามารถใช้อาวุธ ปืนไฟ และ ระเบิด และ อาวุธลูกหนู ทำสงครามขัดขวางการรุกราน ของ กองทัพมองโกล เป็นผลสำเร็จ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๘๐๓ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภานุ ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรศรีลังกา อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๘๐๓ จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นพระราชนัดดา ของ จักรพรรดิแจงกิสข่าน(เตมูจิน) สามารถทำสงครามเข้าครอบครองดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ฯลฯ เป็นผลสำเร็จ เป็นส่วนใหญ่ เป็นเหตุให้ ซื่อจู่หวางตี้ หรือ กุบไล ทำพิธีบรมราชาภิเษก ประกาศเป็น จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๘๐๓-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็น จักรพรรดิ ของโลก  

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๒)

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๐๔)

ปี พ.ศ.๑๘๐๔ พระเจ้าเม็งราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน แทน พระราชบิดา และเริ่มขยายอิทธิพลเข้ายึดครอง อาณาจักรศรีพิง(ลานนา)

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๗)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๘๐๕ พระเจ้าเม็งราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน แทน พระราชบิดา ได้โยกย้ายราชธานี มายัง เมืองเชียงราย เป็นราชธานี ของ อาณาจักรเงินยาง

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๗)

ปี พ.ศ.๑๘๐๖-๑๘๐๗ บันทึกของ ศรีลังกา บันทึกว่า กษัตริย์ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรศรีลังกา ทำสงครามปราบปราม เชื้อสายราชวงศ์ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ เชื้อสายราชวงศ์ศรีลังกา ๒ พระองค์ คือ พ่อศรีธรรมราช(พ่อสุรนารายณ์ที่-๖) และ พ่อจันทร์ภาณุ และยังมี พระราชโอรสเชื้อสาย เจ้าชายเชื้อสาย ชวากะรัฐ อีก ๑ พระองค์ คือ จักรพรรดิพ่อกลิงค์ชวากะรัฐ(พ่อศรีสงคราม) โดยใช้กองทัพจาก อาณาจักรปาณฑัย และ อาณาจักรทมิฬโจฬะ จาก อินเดียใต้ มาต่อต้านกองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ผลของสงคราม กองทัพของ พระเจ้าวิชัยพาหุ และ พระเจ้าวีระพาหุ สามารถต่อต้านกองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เป็นผลสำเร็จ ต่อมา จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ ทราบข่าวว่า อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรมาลายู และ อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรเสียม(ชวาภูมิ) เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ จึงต้องตัดสินพระทัย ถอยทัพกลับคืน ดินแดนสุวรรณภูมิ

ปี พ.ศ.๑๘๐๗ ฮ่องเต้ลี่จง(พ.ศ.๑๗๖๗-๑๘๐๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ถูกกดดันให้สละราชสมบัติ พระราชโอรส ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๔ พรรษา มีพระนามว่า ตูจง แห่ง ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ กรุงนานกิง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีพระนามว่า ฮ่องเต้ตูจง(พ.ศ.๑๘๐๗-๑๘๑๗) เป็นรัชกาลสุดท้าย ของ ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๐๓)

ปี พ.ศ.๑๘๐๗ มหาราชา แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี

ปี พ.ศ.๑๘๐๗ พระเจ้าวิษณุวรรธนะ(พ.ศ.๑๗๙๑-๑๘๑๑) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) ผลของสงคราม พระยาเสือสงคราม สวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองครหิต(คันธุลี) หรือ เมืองกลิงค์ชวากะรัฐ(คันธุลี)

ปี พ.ศ.๑๘๐๗ นายกพ่อพระยาเสือ สวรรคต ในสงคราม เป็นเหตุให้ พ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วง จึงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที ว่าราชการอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม

ปี พ.ศ.๑๘๐๙ พระเจ้าชัยสิงหวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ทำพิธีบรมราชาภิเษก จึงเปลี่ยนพระนามใหม่ว่า พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕ เพื่อรักษาสัมพันธไมตรี กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๒)

ปี พ.ศ.๑๘๐๙ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ อาณาจักรไตเวียต เพื่อยอมรับการเป็นประเทศราช ของ อาณาจักรไตเวียต

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๘๑๑ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภานุ กรุงศรีธรรมราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามล้างแค้นให้กับ นายกพระยาเสือสงคราม เข้าโจมตี อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ผลของสงคราม พระเจ้าวิษณุวรรธนะ แห่ง อาณาจักรเกเดรี สวรรคตในสงคราม

ปี พ.ศ.๑๘๑๑ พระเจ้าวิษณุวรรธนะ(พ.ศ.๑๗๙๑-๑๘๑๑) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา สวรรคต พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้าศิวพุทธ(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๘)

ปี พ.ศ.๑๘๑๑ จักรพรรดิตรานอันตอง แห่ง มหาอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงฮานอย ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง พร้อมกับได้มีพระราชสาส์น ไปร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ว่า ถูก อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งกองทัพเข้ารุกราน อยู่เสมอ จึงขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน ด้วย มีบันทึกว่า...

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๑๑)

ปี พ.ศ.๑๘๑๒ พระเจ้าเม็งราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง ราชอาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงราย ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงของ เป็นผลสำเร็จ

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๗)

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภานุ กรุงศรีธรรมราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่งกองทัพไปยัง อาณาจักรศรีลังกา หวังที่จะสร้างเป็นพันธมิตร โดยมี พระราชสาส์น ไปขอ พระทันตธาตุ และ รอยพระบาทจำลอง ของ พระพุทธองค์ ซึ่งสร้างขึ้นโดย ขุนศรีธรรมโศก เคยมอบให้กับ อาณาจักรศรีลังกา ในอดีต ผลปรากฏว่า มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีลังกา ไม่ยอมมอบให้ เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ จึงต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองราชย์ธานี ของ อาณาจักรศรีลังกา ผลของสงคราม กองทัพ ของ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ พ่ายแพ้สงคราม จักรพรรดิ พ่อจันทร์ภาณุ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องถอยทัพ กลับมา สวรรคต ณ กรุงศรีธรรมราช เป็นเหตุให้ นายกพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม ต้องขึ้นดำรงตำแหน่ง เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม กรุงศรีอยุธยา และ โปรดเกล้าให้ พ่อขุนบานเมือง กรุงสุโขทัย เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ แทนที่ ทันที

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย จึงโปรดเกล้าให้ พ่อพงศ์สุราห์ ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรเสียม ว่าราชการอยู่ที่ กรุงศรีธรรมราช และโปรดเกล้าให้ พ่อขุนศรีทูล(ขุนคีรีรัฐ)ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ นายกพ่อพระยาเสือ เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรชวาภูมิ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงกลิงค์ชวากะรัฐ(คันธุลี) ด้วย

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร ราชวงศ์กลิงค์ แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตียึดครองดินแดนต่างๆ ของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา และ อาณาจักรมาลัยรัฐ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร ราชวงศ์กลิงค์ แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตียึดครองดินแดนต่างๆ ของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองต่างๆ เป็นเมืองขึ้น ของ อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา คือ...

...แคว้นจัมบี(จัมบี) แคว้นปาเล็มบัง(โพธิ์กลิงค์บัง) แคว้นการิตัง(ทางใต้ของเมืองอินคีรี) แคว้นเตบา(ต้นแม่น้ำจัมบิ) แคว้นธรรมาศรัย(ต้นน้ำบะตังหริ) แคว้นกัณฑิส(เหนือเมืองธรรมาศรัย) แคว้นกะวาส(ทางตะวันตก ของ กัณฑิส) แคว้นมะนังกะโบ(เมืองมานังกะเบา) แคว้นสิยัก แคว้นเรกัน(เมืองโรกัน) แคว้นกมปัน(กัมปัน) แคว้นปาไน(โพธิ์ใน) แคว้นกัมเป(กัมโพธิ์) แคว้นหรุ(ใต้เมืองกัมเป) แคว้นมันฑหิกลิงค์ แคว้นตุมิหัง แคว้นปรรลาก แคว้นบะรัต(ฝั่งตะวันตก ของ แหลมหะฉิน) และ แคว้นบารุส...

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร ราชวงศ์กลิงค์ แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตียึดครองดินแดนต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองต่างๆ เป็นเมืองขึ้น ของ อาณาจักรเกเดรี คือ...

...แคว้นปาหัง แคว้นหุชง แคว้นตานะ(ยะโฮ-ยี่หุน) แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) แคว้นไทรบุรี แคว้นกลันตัน แคว้นตรังกานู(ตรังกานู) แคว้นปะกะ(ใต้ตาคุณ) แคว้นมุวา(ทางทิศใต้ ของ ยะโฮ) แคว้นตาคุณ(ตรังกานู) แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) แคว้นสังหยังหุชุน(แหลมราชาโด) แคว้นเกลัง(ตรัง) แคว้นเกดะ(เมืองเกดะ ไทรบุรี) แคว้นเชเร(เมืองหนึ่งในแคว้นไทรบุรี) แคว้นกันจาบ และ แคว้นนิราน...

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕)หรือ พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ของ ราชอาณาจักรเสียม โดยนำกองทัพเรือมาทอดสมอที่ปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ได้ส่งพระราชสาสน์ ให้กับ มหาราชาพระยาพงศ์สุรา เสนอให้ส่งราชธิดาไปถวาย และยอมสวามิภักดิ์แก่ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี โดยลวงให้ มหาราชาพระยาพงศ์สุราห์ ไปรับพระราชสาสน์ ด้วยพระองค์เอง เนื่องจาก มหาราชาพระยาพงศ์สุราห์ กำลังเมาสุรา จึงหลงกล เดินทางไปรับพระราชสาสน์ ด้วยพระองค์เอง จึงถูก พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา จับตัว มหาราชาพระยาพงศ์สุรา ได้เป็นตัวประกัน

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕)หรือ พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา มีข้อเสนอให้ เมืองนครศรีธรรมราช ส่งส่วยไข่ ให้กับ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าสาหรี เกาะชวา เป็นประจำ จึงจะคืน มหาราชาพระยาพงศ์สุราห์ กลับคืนให้ เป็นเหตุให้ พระนางคำ อัครมเหสี ของ มหาราชาพระยาพงศ์สุราห์ นำกองทัพเรือออกติดตามพระภัสดา ไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง พระนางคำ จึงบรรทม ในเกาะนั้น เกาะดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า เกาะบันทม รุ่งขึ้น พระนางคำ เดินทางไปถึงเกาะอีกแห่งหนึ่ง มีการเจรจากันที่เกาะนั้น

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เสนอให้ เมืองนครศรีธรรมราช ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อ อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา โดยต้องยอมส่งส่วยไข่เป็ด ให้กับ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าสาหรี เป็นประจำ จึงจะส่งมอบตัว มหาราชาพระยาพงศ์สุราห์ กลับคืนให้ ผลการเจรจา พระนางคำ ยอมเป็นเมืองขึ้นของ อาณาจักรสิงหะส่าหรี และยอมส่งส่วยไข่เป็ด ให้กับ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เป็นประจำ เกาะดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า เกาะนางคำ สืบทอดต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕)หรือ พระเจ้ากฤตนคร ราชวงศ์กลิงค์ แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ร่วมกับ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ยกกองทัพเข้าโจมตีดินแดน อาณาจักรมาลายู และ อาณาจักรชวาภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม โดยได้ยกกองทัพเข้ายึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ด้วยพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช บันทึกว่า...

...มหาราชาพ่อพระยาพงศ์สุราห์ แห่ง อาณาจักรชวาภูมิ กรุงศรีธรรมราชปุระ ได้นำกองทัพเรือมาทอดสมอที่ปากอ่าวทะเลสาบสงขลา มาประจันหน้ากับ กองทัพของ พระเจ้ากฤตนคร(พระเจ้ากรธนากร) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงสิงห่าส่าหรี(จากาต้า) เกาะชวา ในที่สุด พระเจ้ากฤตนคร ได้มอบให้ ราชทูต ส่งพระราชสาสน์ ไปให้กับ มหาราชาพ่อพระยาพงศ์สุรา เสนอให้ มหาราชาพ่อพระยาพงศ์สุรา ส่งพระราชธิดาไปถวาย และยอมสวามิภักดิ์แก่ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงสิงห่าส่าหรี(จากาต้า) เกาะชวา โดยแสร้งแจ้งให้ราชทูต แจ้งแก่ มหาราชาพ่อพระยาพงศ์สุราห์ ให้ไปรับพระราชสาสน์ ด้วยพระองค์เอง มหาราชาพ่อพระยาพงศ์สุราห์ อยู่ในสภาพที่ กำลังเมาสุรา จึงหลงกล เดินทางไปรับพระราชสาสน์ ของ พระเจ้ากฤตนคร ตามแผนลวงที่กำหนด จึงถูก พระเจ้ากฤตนคร จับตัว มหาราชาพ่อพระยาพงศ์สุรา ไปเป็นเชลยศึก นำไปกักขังไว้ที่เกาะแห่งหนึ่ง เป็นผลสำเร็จ ตามแผนที่กำหนด 

พระเจ้ากฤตนคร จึงมีพระราชสาส์นไปยัง พระนางคำ อัครมเหสี ของ มหาราชาพ่อพระยาพงศ์สุราห์ เสนอให้ เมืองนครศรีธรรมราช ยอมเป็นเมืองขึ้น ของ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา และให้ ส่งส่วยไข่เป็ด  ให้กับ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงสิงห่าสาหรี(จากาต้า) เกาะชวา เป็นประจำ จึงจะคืน มหาราชาพ่อพระยาพงศ์สุราห์ กลับคืนให้ พระนางคำ มเหสีของ พระยาพงศ์สุราห์ ได้นำกองทัพเรือติดตามไปถึง เกาะแห่งหนึ่ง พระนางจึงบรรทม อยู่ในเกาะนั้น เกาะดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า เกาะบันทม รุ่งขึ้น พระนาง นำกองทัพเดินทางไปถึงเกาะ อีกแห่งหนึ่ง มีการเจรจากันกับ ราชทูต ของ พระเจ้ากฤตนคร ที่เกาะนั้น ในที่สุด พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงสิงห่าส่าหรี(จากาต้า) เกาะชวา จึงเสนอให้ เมืองนครศรีธรรมราช ส่งส่วยไข่เป็ด  ให้กับ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงสิงห่าสาหรี เป็นประจำ จึงจะคืน พระยาพงศ์สุราห์ กลับคืนให้ ผลการเจรจา พระนางคำ จึงยอมนำเอา แคว้นนครศรีธรรมราช เป็นเมืองขึ้นของ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงสิงหะส่าหรี(จากาต้า) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๑๓ เป็นต้นมา และ พระนางคำ ได้ยินยอมส่งส่วย ไข่เป็ด  ให้กับ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา เป็นประจำ เกาะดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า เกาะนางคำ สืบทอดต่อเนื่อง เรื่อยมา...

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ นายศรีธนู มาปกครอง เมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองขึ้น ของ อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา เพื่อควบคุมการส่งส่วยไข่เป็ด ให้แก่ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เป็นเครื่องบรรณาการ

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ มหาราชาพระยาศรีจันทร์ทอง แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ สวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงมะละกา เป็นเหตุให้ กรุงมะละกา จึงถูกยึดครองโดย พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ บันทึกในหนังสือนครกฤตตาคม ของ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๘ ได้กล่าวถึงดินแดนประเทศราช ของ อาณาจักรมัชฌปาหิต มีดังต่อไปนี้...

...ดินแดนประเทศราช ในแหลมมาลายู ประกอบด้วย แคว้นปาหัง แคว้นหุชง แคว้นตานะ(ยะโฮ-ยี่หุน) แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) แคว้นไทรบุรี แคว้นกลันตัน แคว้นตรังกานู แคว้นนคร(นครศรีธรรมราช) แคว้นปะกะ(ใต้ตาคุณ) แคว้นมุวา(ทางทิศใต้ ของ ยะโฮ) แคว้นตาคุณ(ตรังกานู) แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) แคว้นสังหยังหุชุน(แหลมราชาโด) แคว้นเกลัง(ตรัง) แคว้นเกดะ(เมืองเกดะ ไทรบุรี) แคว้นเชเร(เมืองหนึ่งในแคว้นไทรบุรี) แคว้นกันจาบ และ แคว้นนิราน

ส่วนดินแดนประเทศราช บนดินแดนเกาะสุมาตรา ประกอบด้วย แคว้นจัมบี แคว้นปาเล็มบัง แคว้นการิตัง(ทางใต้ของเมืองอินคีรี) แคว้นเตบา(ต้นแม่น้ำจัมบิ) แคว้นธรรมาศรัย(ต้นน้ำบะตังหริ) แคว้นกัณฑิส(เหนือเมืองธรรมาศรัย) แคว้นกะวาส(ทางตะวันตก ของ กัณฑิส) แคว้นมะนังกะโบ แคว้นสิยัก แคว้นเรกัน(เมืองโรกัน) แคว้นกมปัน แคว้นปาไน แคว้นกัมเป แคว้นหรุ(ใต้เมืองกัมเป) แคว้นมันฑหิกลิงค์ แคว้นตุมิหัง แคว้นปรรลาก แคว้นบะรัต(ฝั่งตะวันตก ของ แหลมหะฉิน) และ แคว้นบารุส...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๗-๘๘)

 

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ มหาราชา ชนชาติทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ส่งกองทัพเข้าโจมตี เมืองนครปฐม แคว้นจักรนารายณ์(นครไชยศรี) อาณาจักรละโว้ กองทัพของ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช ส่งกองทัพไปประจันหน้ากันที่ ปากแม่น้ำท่าจีน ผลของสงคราม กองทัพทมิฬโจฬะ ของทั้งสองอาณาจักร พ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไป แต่ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช บาดเจ็บสาหัส สวรรคต ในเวลาต่อมา 

Visitors: 54,386