รัชกาลที่ ๕๔ มหาจักรพรรดิพระยาไสสงครามณรงค์ กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๘๗๓-๑๘๘๗

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๔ 

มหาจักรพรรดิพระยาไสสงครามณรงค์ 

กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๘๗๓-๑๘๘๗

 

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเลอไทย เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพระยาไสสงครามณรงค์ กรุงศรีอยุธยา จึงทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อพระยาไสสงครามณรงค์ โดยมี นายกพระยาโชดึก เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาโชดึก ว่าราชการที่ กรุงละโว้ และมี พระยาเชษฐาธิราช กรุงสุพรรณบุรี เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา เป็นรัชกาลที่ ๕๔

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ ฮ่องเต้หมิงจง(พ.ศ.๑๘๗๒-๑๘๗๓) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า หวุ่นจง ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้หวุ่นจง(พ.ศ.๑๘๗๓-๑๘๗๖) แห่ง ราชวงศ์หงวน (มองโกล) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๙

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๓)

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ ได้เกิดสงครามภายในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน อย่างต่อเนื่อง อิทธิพล ของ มหาอาณาจักรจีน บริเวณช่องแคบมะละกา จึงลดลง เป็นเหตุให้ อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ไม่ได้รับการคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย จึงถือโอกาส วางแผนส่งกองทัพเข้าแย่งชิงดินแดนกลับคืน เพื่อมีอิทธิพล เหนือช่องแคบมะละกา ในเวลาต่อมา ทำให้ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า จึงมีอิทธิพล เพียง เกาะชวา เท่านั้น

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ นักเดินเรือชาวจีน ชื่อ หวังตาหยวน ได้บันทึก ว่า มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามเข้ายึดครอง เกาะตาม้าซิก(สิงค์โป) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ มหาจักรพรรดิพ่อไสสงครามณรงค์ กรุงศรีอยุธยา มอบให้กองทัพของ เมืองนครศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นมาลายู กรุงมะละกา(แมนจูเจ้ากัว) กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง

(ตามบันทึกของ หยางต้าหยวน ปี พ.ศ.๑๘๙๒)

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ มหาจักรพรรดิพ่อไสสงครามณรงค์ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มอบให้กองทัพของ เมืองนครศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ กองทัพของ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ออกไปจาก แคว้นมะละกา เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ พระเจ้าชัยวรรมาทิปรเมศวร แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หวุ่นจง(พ.ศ.๑๘๗๓-๑๘๗๖) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๕ เจ้าฟ้างุ้ม โอรส ของ เจ้าฟ้าเงี้ยว แห่ง ราชอาณาจักรลาว กรุงลานช้าง มีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระภิกษุชื่อ พระมหาปาสมันต์ ได้นำ เจ้าฟ้างุ้ม ไปฝากฝังต่อ พระเจ้าชัยวรรมาทิปรเมศวร แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) ให้เข้าฝึกราชการในพระราชวังหลวง

(สิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๓๙)

ปี พ.ศ.๑๘๗๕ พระนางตรีภูวนา(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๓) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้หวุ่นจง(พ.ศ.๑๘๗๓-๑๘๗๖) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ราชทูตมีชื่อว่า เชงเจียลิเย มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๖ ฮ่องเต้หวุ่นจง(พ.ศ.๑๘๗๓-๑๘๗๖) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า ซุ่นตี้ ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้ซุ่นตี้(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๙๑๑) แห่ง ราชวงศ์หงวน (มองโกล) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๑๑ ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้าย ของ ราชวงศ์หงวน

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๓)

ปี พ.ศ.๑๘๗๖ พระเจ้าสีหสุ(พ.ศ.๑๘๕๕-๑๘๗๖) ราชวงศ์ไทยใหญ่ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปินยา เสด็จสวรรคต พระเจ้าสวาสอแก(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๘๙๐) พระราชโอรส ของ พระเจ้ากะยอชวา ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง กรุงปินยา แทนที่

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๘๗๖ ราชา แห่ง แคว้นยาไข(ยะไข่) ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ ส่งกองทัพข้ามภูเขายะไข่ เข้าทำสงครามยึดครอง เมืองตะเยเมียว ตรงข้าม เมืองแปร เป็นผลสำเร็จ บนฝั่งแม่น้ำอิราวดี สามารถจับเจ้าเมืองแปร เป็นเชลยศึก และเข้าปกครอง เมืองตะเยเมียว และ เมืองแปร แทนที่ ราชวงศ์มิเชน

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๘๗๖ เจ้าชายถินขบะ(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๙๐๗) ราชวงศ์ผัวหมา ในดินแดน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู เริ่มอพยพไพร่พล ไปส้องสุมกำลังอยู่ที่ เมืองตองอู ซึ่งแปลว่า เมืองเชิงเขา เตรียมป้อมปราการ กำแพงเมืองที่เข้มแข็ง สร้างกองทัพ เพื่อเตรียมทำสงคราม กับ ราชวงศ์ไทยใหญ่ และ ราชวงศ์มอญ โดยวางแผนใช้ เมืองตองอู เป็นราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู ต่อไปในอนาคต ทรงใฝ่ฝันที่จะยึดครองดินแดน ของ ชาวไทยใหญ่ และ ชาวมอญ เป็นของ ราชวงศ์ผัวหมา

  (หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๘๗๗ มหาราชา พระยาแสนพู(พ.ศ.๑๘๖๘-๑๘๗๗) แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน สวรรคต พระยาฟูคำราช หรือ พระยาคำฟู ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา พระยาคำฟู(พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙) ปกครอง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงแสน ในรัชกาลถัดมา โดยมี พระยาผายู เป็น มหาอุปราช ปกครอง เมืองเชียงใหม่

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๔๕-๒๔๖)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๘๗๘ พระเจ้าชัยวรรมาทิปรเมศวร แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนครหลวง ได้ส่งคณะราชทูต ไปยังช่องเขาคัวเรา เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ จักรพรรดิพระเจ้าตรานเฮียนตอง แห่ง มหาอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) คณะราชทูตคณะนี้ ได้พบกับ คณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ณ กรุงฮานอย ด้วย

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๙ มหาราชา พระยาคำฟู(พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงแสน เสด็จสวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า พระยาผายู(พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา พระยาผายู ปกครอง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ในรัชกาลถัดมา โดยมี พระยากือนา เป็น มหาอุปราช ปกครองอยู่ที่ เมืองเชียงแสน ในรัชกาลนี้ พระยาผายู ได้สร้าง วัดศรีเชียงพระ(วัดพระสิงห์) ขึ้นที่ เมืองเชียงใหม่ ด้วย

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๔๖)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๘๘๒ พระนางตรีภูวนา(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๓) แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา รับสั่งให้ ส่งกองทัพจากเกาะชวา เข้ายึดครอง กรุงมะละกา แคว้นมาลายู ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ไปครอบครอง อีกครั้งหนึ่ง  

    (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๘๘๒ มหาราชาพระเจ้าผายู แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงราย ได้ย้ายราชธานี มาตั้งอยู่ที่ แคว้นลานนา ตั้งเมืองขึ้นมาใหม่ เรียกว่า เมืองเชียงใหม่ สร้างกำแพงเมือง และป้อมปราการต่างๆ พร้อมกับได้สร้าง วัดพระสิงห์ ขึ้นมาใช้เป็นที่ประทับ ของ พระพุทธสิหิงส์ พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรเงินยาง เป็นชื่อใหม่ว่า อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๘๒ เป็นต้นมา

    (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๔๖)

ปี พ.ศ.๑๘๘๓ นักเดินเรือชาวจีน ชื่อ หวังตาหยวน ได้บันทึก ว่า อาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามเข้ายึดครอง เกาะตาม้าซิก(สิงค์โป) กลับคืนอีก

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๘๘๓ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มอบให้กองทัพของ เมืองนครศรีธรรมราช ทำการยกกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ กองทัพของ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ออกไปจาก กรุงมะละกา(แมนจูเจ้ากัว) แคว้นมาลายู อาณาจักรมาลัยรัฐ เป็นผลสำเร็จ

    (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๘๘๓ มหาจักรพรรดิพ่อไสสงครามณรงค์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มอบให้กองทัพของ เมืองนครศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กลับคืน และยังสามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา เป็นผลสำเร็จด้วย

(ตามบันทึกของ หยางต้าหยวน ปี พ.ศ.๑๘๙๒)

ปี พ.ศ.๑๘๘๓ พระยาคำฟู แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองพะเยา สำเร็จ

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๘๘๓ พระยาคำฟู แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองแพร่ แต่ไม่สำเร็จ ต้องถอยทัพกลับ เมืองเชียงแสน

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๘๘๓ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาไสสงครามณรงค์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแสงคาเลียต แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ต้องหลบหนีไปที่ แคว้นปาสัย เกาะสุมาตรา

ปี พ.ศ.๑๘๘๔ สมเด็จพระบรมจักรพัตราธิราช หรือ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาไสสงครามณรงค์ (พระบรมราชา กษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ประกาศใช้ กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บังคับใช้ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ

ปี พ.ศ.๑๘๘๕ นายพลแจอานาน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้เสด็จสวรรคต เจ้าชายแจโม เป็นผู้สืบทอดราชสมบัติ แต่ ถูกแย่งราชสมบัติจาก พระราชบุตรเขย พระนาม ตราฮัวโบแด จึงเกิดสงครามภายในดินแดน ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เกิดการสู้รบกันเป็นเวลาต่อเนื่อง ประมาณ ๑๐ ปี

ปี พ.ศ.๑๘๘๕ มหาราชาพระยาชัยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี สวรรคต ในสงคราม มหาอุปราชพระยาฤทธิ์เทวา(แจ๊ะศรีเคเมีย-ศรีสุดหรา) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี  

ปี พ.ศ.๑๘๘๕ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาไสสงครามณรงค์(พระเจ้ารามาธิบดีศรีวิสุทธิวงศ์)(พระบรมราชา) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าให้ พระพนมวัน และ นางเสดียงทอง สามีภรรยา ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช(พระพนมวัง-นางเสดียงทอง มีโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าศรีราชา และ เจ้ากุมาร และ ราชธิดา ๑ คน พระนาม นางสนตรา ส่วน เจ้าศรีราชา มีมเหสี พระนามว่า นางสน เป็นหลานของ พระพนมวัง ไปสร้างเมืองสรอุเลา(อ.ท่าศาลา และ อ.สิชล เจ้ากุมาร มีภรรยา ชื่อ นางจันทร์ ซึ่งเป็นหลานสาวพระพนมวัง เช่นเดียวกัน ส่วนนางสนตรา เป็นภรรยาของ ขุนอินทราชา

ปี พ.ศ.๑๘๘๕ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาไสสงครามณรงค์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ พระพนมวัง ผู้ปกครองแคว้นมหาอุปราช นครศรีธรรมราช ได้แต่งเรือให้ชาวไทยที่ เข้ารีต นับถือศาสนาอิสลาม ไปปกครองเมืองต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ จำนวน ๑๐ เมือง ดังนี้

(๑) แจ๊ะอูมา เป็น ราชาประหยัด(เจมี ระบูเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองยี่หน(ยะโฮ)

(๒) แจ๊ะระวังสา เป็น ราชาระวังสา (เจลาบูเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองจะนะ(สงขลา)

(๓) แจ๊ะสูมา เป็น ราชาประเมส (ราเจสุมาเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองปะหัง(ปาหัง)

(๔) แจ๊ะศรีสุดหรา เป็น ราชาฤทธิ์เทวา(แจ๊ะศรีเคเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองตานี(ปัตตานี)

(๕) แจ๊ะเสน เป็น  ราชาศรีสุลต่าน(เจาะสาลีเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองสายบุรี(ยะลา)

(๖) แจ๊ะสาริง เป็น ราชาพิติมัน(เจเปียตะเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองพัทลุง

(๗) แจ๊ะสีดาประวังสา เป็น ราชาพิติมัน เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองไทรบุรี(เกดะ)

(๘) แจ๊ะสาวัง เป็น ราชายุรา(เจสาคานายังเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองละงู(สตูล)

(๙) แจ๊ะศรีสะหลัม เป็น ราชาอะยู(เจปะราชสิเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา)

(๑๐) แจ๊ะนาวา เป็น ราชาปะเสน(เจปารูเมีย) เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองพลู

ปี พ.ศ.๑๘๘๖ ได้เกิดสงครามใหญ่ ระหว่าง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ร่วมมือกับ พระนางตรีภูวนา(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๓) แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา โดยที่ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ตามลำดับ เจ้าฟ้างุ้ม ได้รับมอบหมายให้ทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรลาว กลับคืน และให้ทำสงครามก่อกวน สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ด้วย

 (สิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๒)

ปี พ.ศ.๑๘๘๖ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ได้สำเร็จ มหาราชาฤทธิ์เทวา(แจ๊ะสุดหรา) แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี สามารถหลบหนีไปได้ หลังจากสงครามครั้งนั้น อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ส่ง พระเจ้าอาทิตย์วรมัน เชื้อสายไศเลนทร์ ผสมราชวงศ์ทมิฬโจฬะ จาก เกาะสุมาตรา ขึ้นเป็น มหาราชาอาทิตย์ ปกครอง อาณาจักรมาลัยรัฐ มีราชธานี อยู่ที่ กรุงมะละกา แคว้นมาลายู และ เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรมาลัยรัฐ เป็นชื่อใหม่ว่า อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา แทนที่

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๘)

ปี พ.ศ.๑๘๘๖ เจ้าฟ้าเงี้ยว แห่ง ราชอาณาจักรลาว กรุงลานช้าง เสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าคำเฮียว(พ.ศ.๑๘๘๖-๑๘๙๖) พระอนุชา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง กรุงลานช้าง ในรัชกาลถัดมา

(สิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๐)

ปี พ.ศ.๑๘๘๖ พระยาอู่ทอง ซึ่งปกครอง เมืองเพชรบุรี ซึ่งมีศักดิ์ญาติเป็น คุณลง ของ มหาราชาฤทธิ์เทวา ต้องยกกองทัพมาทำสงครามปราบปราม ขับไล่กองทัพ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ให้ออกไปจาก อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ได้สำเร็จ พระเจ้าอาทิตย์วรมัน เชื้อสายไศเลนทร์ ผสมราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ต้องหลบหนีไปยัง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา

 ปี พ.ศ.๑๘๘๖ มหาจักรพรรดิพ่อไสสงครามณรงค์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าให้ พระยาอู่ทอง ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี และโปรดเกล้าให้ ราชาฤทธิ์เทวา(แจ๊ะศรีสุดหรา) เป็น มหาอุปราชฤทธิ์เทวา(แจ๊ะสุดหรา) ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี

ปี พ.ศ.๑๘๘๖ มหาจักรพรรดิพ่อไสสงครามณรงค์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มอบให้ มหาราชาพระยาอู่ทอง แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นมาลายู กรุงมะละกา อาณาจักรมาลัยรัฐ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง อาณาจักรมาลายู จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี อีกครั้งหนึ่ง  

ปี พ.ศ.๑๘๘๗ เกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา กับ อาณาจักรกำพูชา(เขมร-โจฬะ) ของชนชาติทมิฬโจฬะ มหาราชาพระยาอู่ทอง ต้องยกกองทัพขึ้นไป รักษา อาณาจักรละโว้ ให้กับ จักรพรรดิ เจ้าพระยาโชดึก ซึ่งเป็นพระราชบิดา เป็นเหตุให้ มหาอุปราชฤทธิ์เทวา(แจ๊ะศรีสุดหรา) จึงต้องขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชาฤทธิ์เทวา ปกครอง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี แทนที่

ปี พ.ศ.๑๘๘๗ มหาจักรพรรดิพ่อไสสงครามณรงค์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรกำพูชา(เขมร-โจฬะ) ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อไสสงครามณรงค์ บาดเจ็บสาหัส ต้องถอยทัพกลับมา เสด็จสวรรคต ในสงคราม ครั้งนั้น ระหว่างเดินทางกลับ เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อพระยาโชดึก กรุงละโว้ จึงต้องขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงละโว้ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที

 

ปี พ.ศ.๑๘๘๗ มหาราชาพระยาอู่ทอง แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงละโว้ ส่วน อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ปกครองโดย มหาราชา ฤทธิ์เทวา อีกครั้งหนึ่ง 

Visitors: 54,261