รัชกาลที่ ๖๕ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ กรุงครหิต(คันธุลี) ปี พ.ศ.๑๙๕๐-๑๙๕๒

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๖๕

สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ 

กรุงครหิต(คันธุลี) ปี พ.ศ.๑๙๕๐-๑๙๕๒

 

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ย้ายราชธานี จาก กรุงศรีอยุธยา มายัง กรุงครหิต(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง โดยมี สมเด็จเจ้าพระยามานะชวาลา(พ่อพระยาปืนไฟ) หรือ พระยามานะชีวาลี เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ ว่าราชการที่ กรุงศรีธรรมราช และมี เจ้าพระยาศรีราชา หรือ พระยาพระยาตากร้อ เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) รับสั่งให้ จักรพรรดิพระธรรมราชา(พ่อพระยาปืนไฟ) กรุงศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน และยังส่งกองทัพเข้าไปช่วยเหลือ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เพื่อทำสงครามขับไล่ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ออกไปจากดินแดน อาณาจักรไตเวียต ด้วย

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรมอญ กรุงพะโค(หงสาวดี) ทั้งทางบก และทางเรือ แต่ถูกต่อต้าน จึงถอยทัพกลับ

 (หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๑)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ คณะราชทูต จาก อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ สุมาตรา และ แคว้นมาลายู กรุงมะละกา(แมนจูเจ้าเก้า) ได้ร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ว่า สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ และ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ทำสงครามรุกราน จึงขอความคุ้มครอง จาก มหาอาณาจักรจีน ด้วย

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๖ ราชวงศ์โจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ร่วมกับกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองดินแดน ของ มหาราชาเลอฉีลี ราชวงศ์โฮ แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) และ แคว้นอินทรปุระ กรุงอมราวดี พร้อมกับทำการรวบรวมดินแดน แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ให้มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ของ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๗)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ เกิดกบฏ ขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ยึดครองและเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นอันหนำ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตียึดครอง แคว้นอันหนำ หรือ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม มหาอาณาจักรจีน สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นอันหนำ กลับคืนเป็นผลสำเร็จ สามารถควบคุมตัว นายโพธิ สมาชิกคนหนึ่ง ของ คณะราชทูตไทย แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู ซึ่งเรือสำเภาแตก มาส่งที่ กรุงศรีอยุธยา ด้วย อาณาจักรไตเวียต จึงตกเป็นเมืองขึ้นของ มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๕๐ เป็นต้นมา

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๘)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งคณะราชทูต ราชทูตชื่อ นายพี เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...เดือน ๙ ปี พ.ศ.๑๙๕๐ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่ง นายพี เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ ตามที่ฮ่องเต้ กำหนด ฮ่องเต้หยุงโล้ ได้ตรัสแก่ ราชทูต นายพี ขอให้ช่วยกราบทูล มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ว่า ให้ช่วยบอกกล่าวต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ว่า อย่าได้ทรงรุกราน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) และ อาณาจักรแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) อีกเลย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง รับสั่งให้ นายพลเจิ้งหัว นำกองทัพเรือ ดำเนินการ ปฏิบัติการครั้งที่ ๒(พ.ศ.๑๙๕๐-๑๙๕๒) โดยที่ นายพลเจิ้งหัว ได้ออกปฏิบัติการครั้งที่ ๒ เมื่อเดือน ๙ ปี พ.ศ.๑๙๕๐ เพื่อทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา และ อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา กลับคืน ให้ไปเป็นประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน ตามแผนการที่กำหนด

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม กองทัพเรือ ของ มหาอาณาจักรจีน สามารถทำสงครามยึดครอง ราชธานี ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) สำเร็จ ภายใน ๘ วัน อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จึงถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมณฑลหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน มีชื่อว่า มณฑลเชียวจื้อ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๕๑ เป็นต้นมา ส่วน มหาราชาเลอฉีลี ต้องลงเรือหลบหนีไปยังภาคใต้ ของ อาณาจักรไตเวียต และทำสงครามกองโจร กอบกู้เอกราชกลับคืน เรื่อยมา

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๙-๔๕๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต มายัง สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา จำนวน ๒ ชุด ในวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๑๙๕๑ ขันทีจางหยวน ได้นำราชทูต นายโพธิ สมาชิกคนหนึ่ง ของ คณะราชทูตไทย ซึ่ง กองทหารของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ช่วยเหลือให้ออกจากที่คุมขังในดินแดน แคว้นอันหนำ(มณฑลเชียวจื้อ) อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กลับมายัง กรุงศรีอยุธยา พร้อมกับมีพระราชโองการ ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ขอให้ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ให้ช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกในคณะราชทูต ที่ถูกฆ่าตาย มากๆ ด้วย

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ นายพลเจิ้งหัว ได้นำขบวนเรือ ๖๒ ลำ พร้อมทหารเรือมากกว่า ๒๗,๐๐๐ คน เดินทางถึง เมืองแมนจูเจ้ากัว(มะละกา) แคว้นมาลายู อาณาจักรมาลัยรัฐ เมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ.๑๙๕๑ สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) แคว้นมาลายู เป็นผลสำเร็จ ทำให้ พระยามะละกา ราชา แห่ง แคว้นมาลายู กรุงมะละกา ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ไม่สามารถต้านทานกองทัพเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว และ กองทัพของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ได้ จึงต้องหลบหนี ไปยัง เมืองโพธิ์รักษ์(เปรัก) และรายงานต่อ มหาราชา แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) มีพระราชสาส์น ถึง ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) เพื่อยืนยันว่า เมืองแมนจูเจ้าเก้า(ม้าละกา) แคว้นมาลายู เป็นดินแดนของ อาณาจักรมาลัยรัฐ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ มาอย่างยาวนาน และถูก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ทำสงครามรุกราน จึงไม่ยอมรับข้อเสนอ พร้อมทำสงครามกับ กองทัพเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว กองทัพเสียม ทำการต่อต้านกองเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว ตลอดแนวชาวฝั่งทะเลภาคใต้ เป็นที่มาให้ นายพลเจิ้งหัว ต้องขอเข้าเฝ้า เจ้านครอินทร์ เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อวางแผนทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙-๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ นายพลเจิ้งหัว กำหนดเป้าหมายในการออก ปฏิบัติการครั้งที่ ๒(พ.ศ.๑๙๕๐-๑๙๕๔) เพื่อทำสงครามยึดครอง เมืองมะละกา เป็นผลสำเร็จ ต่อจากนั้น นายพลเจิ้งหัว ได้ขอเข้าเฝ้า เจ้านครอินทร์ ณ กรุงสุพรรณบุรี เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อเดือน ๙ ปี พ.ศ.๑๙๕๑ พร้อมกับมอบสินบน ให้กับ เจ้านครอินทร์ เป็นจำนวนมาก เพื่อเสนอให้ เจ้านครอินทร์ ผลักดันให้ เมืองแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) เป็นประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน และเสนอให้ เจ้านครอินทร์ ให้ข้อมูลลับ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อให้ นายพลเจิ้งหัว สามารถวางแผนทำสงครามทำลายอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง การร่วมมือ ของ เจ้านครอินทร์ ครั้งนั้น เนื่องจาก เจ้านครอินทร์ ต้องการยืมมือกองทัพของ นายพลเจิ้งหัว ทำลายกองทัพหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) เพื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ทั้งหมด

 (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙-๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ นายพลเจิ้งหัว ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรศรีลังกา เพื่อตัดกำลังมิให้ อาณาจักรศรีลังกา ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี)

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙-๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ นายพลเจิ้งหัว ได้เดินทางเข้าเฝ้า เจ้านครอินทร์ เมื่อเดือน ๙ ปี พ.ศ.๑๙๕๑ เพื่อถวายพระราชสาสน์ ให้กับ สมเด็จพระรามราชา เพื่อเสนอให้เป็นตัวกลางในการเสนอให้ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ยุติการทำสงครามยึดครอง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู กลับคืน อีกต่อไป มิฉะนั้น สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) จะต้องทำสงครามกับกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน และ พันธมิตร อย่างแน่นอน

 (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ ชาวจีนมุสลิม ชื่อ ม้าหวน ได้เดินทางมากับ นายพลเจิ้งหัว ได้บันทึกไว้ใน หนังสือยิงไยเชงลัน ได้บันทึกถึง สภาพทั่วไป ของ ราชธานี กรุงครหิต(คันธุลี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ว่า...

...อาณาจักรเสียม มีความยาวประมาณ ๑,๐๐๐ ลี้ มีภูเขาที่ล้อมรอบ ราชธานี เป็นภูเขาสูงชันทั้งหมด และขรุขระ(ภูเขาคันธุลี ภูเขาจอสี และ ภูเขาประสงค์) พื้นดินแฉะ ดินไม่ดี แทบจะทำการเพาะปลูกไม่ได้ อากาศ ไม่แน่นอน ถ้าไม่มีหมอก อากาศก็ร้อนจัด

การเดินทาง แล่นเรือจาก อาณาจักรจามปา มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๗ วัน ๗ คืน จะมาถึงท่าเรือ ของ เสียมใหม่(กรุงครหิต) แล้วท่านจะเข้าปากแม่น้ำ(ปากแม่น้ำ ครหิต หรือ คลองกลิงค์) ซึ่งเป็นทางไปสู่ ราชธานี(กรุงครหิต-คันธุลี)

พระราชวัง ของ มหาจักรพรรดิ(บริเวณวัดศรีราชัน) หรูหรามาก พลเมืองอาศัยอยู่ในบ้านยกพื้นสูง ทำด้วยกระดาน หรือ ไม้ต้นหมาก วางปูเรียงติดกัน และผูกด้วยหวาย เพื่อให้แข็งแรงยิ่งขึ้น บนพื้นไม้ต้นหมาก นี้ พวกเขาปูฟากหวาย และเตียงไม้ไผ่ และนอนบนเตียงฟากไม้ไผ่ นี้

มหาราชา ของ อาณาจักรเสียม มีเชื้อสายราชวงศ์สืบทอดมาจากอินเดียใต้(ราชวงศ์ มหาจักรพรรดิศรีจุฬามณี) พระองค์ทรงคาดผ้าขาวม้าสีขาว ที่ทำด้วยผ้าฝ้าย บนพระเศียร และท่อนบน ไม่ฉลองพระองค์ใดเลย รอบพระนาภี พระองค์ทรงคาดผ้าขาวม้าปัก ที่ทำด้วยผ้าไหมยกดอกทอง เป็นผ้าคาดเอว

มหาราชา เสด็จพระราชดำเนิน โดยการทรงช้าง หรือ ประทับบนเกี้ยว และกั้นด้วยกลดสีทอง ซึ่งทำด้วยใบไม้ชนิดหนึ่ง มหาราชา ทรงเชื่อถือในคำสอนของ พระพุทธศาสนา มาก

ประชาชนใน ราชธานี(กรุงครหิต) จะออกบวชเป็น พระสงฆ์ และ แม่ชี เป็นจำนวนมาก เครื่องนุ่งห่ม ของ พระสงฆ์ และ แม่ชี นั้น เป็นแบบเดียวกับที่ใช้สวมกันอยู่ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน บรรดาพระสงฆ์ และ แม่ชี นั้น จะอาศัยอยู่ในวัด และ สำนักแม่ชี จะถือศีล กินอาหารเพียง ๒ มื้อ และทำพิธีปลงอาบัติ ด้วย

เป็นธรรมเนียม ของ ประชาชนในราชธานี(กรุงครหิต) ของ อาณาจักรเสียม ที่ปล่อยให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว มีอำนาจที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง สามีจะเชื่อฟังคำแนะนำ ของ ภรรยาตน แต่ถ้าผู้หญิงเป็นหม้าย ก็จะสามารถคบเป็นชู้สาวกับ ชาวจีน เป็นสามีใหม่ เป็นเรื่องธรรมดา โดยไม่มีข้อห้าม

   พวกผู้ชาย โพกศีรษะ ด้วย ผ้าขาวม้าผ้าฝ้ายสลับสีขาว และสวมเสื้อผ้ายาวๆ(โสร่ง) คล้ายของผู้หญิง(ผ้าถุง) ผู้หญิงจะขมวดผมไว้เป็นมวย ส่วนผู้ชายมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องเริ่มสวมเครื่องประดับ ด้วยการแขวนสร้อยลูกปัด หรือหินมีค่า สำหรับคนร่ำรวย จะสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำ ที่ประดับด้วยลูกปัดเพื่อทำให้มีเสียงดัง คล้ายกระดิ่ง(ตุ้มหู) เวลาเดินไปไหน จะได้รับความชื่นชม อย่างมาก แต่ถ้าหากเป็นคนยากจน ก็จะไม่มีเครื่องประดับเหล่านี้

ในเรื่องพิธีการแต่งงาน จะมีพระสงฆ์และฝูงชนเข้าร่วมขบวนไปเป็นเพื่อน ของ เจ้าบ่าว ในเวลาเดินทางไปยังบ้านของ เจ้าสาว จะจูงเจ้าสาวมาเป็นพยานเพื่อให้ พระสงฆ์ ทำการเจิมเครื่องหมายสีแดง บนหน้าผากของผู้ชาย เครื่องหมายนี้ เรียกว่า หลีฉือ(สละโสด) ซึ่งไม่สมควรที่จะกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ อีก ๓ วันต่อมา พระสงฆ์และบรรดาญาติ ตลอดจนเพื่อนฝูง จะร่วมเดินทางไปกับขบวนของเจ้าบ่าว เรียกว่า ขบวนเจ้าบ่าว ซึ่งจะนำเจ้าสาวเดินทางกลับไปยังบ้านของเจ้าบ่าว จะเป็นขบวนเรือที่ตกแต่งสวยงามมาก เมื่อเดินทางถึงบ้านเจ้าบ่าว เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะมีงานเลี้ยงฉลอง ณ บ้านเจ้าบ่าว ทั้งเจ้าสาวและเจ้าบ่าว จะเลี้ยงสนุกสนาน กันอย่างเต็มที่

ในเรื่องของพิธีศพ ในหมู่คนมั่งคั่งร่ำรวย จะมีการกรอกปรอทลงในปากศพ และทำการฝังศพ นั้น สำหรับในหมู่สามัญชน พวกเขาจะแบกศพลงเรือเดินทางไปยังเกาะเล็กๆ ในทะเล(เกาะเสร็จ) ณ ที่นั้น นกสีทอง จะบินมากินศพ จากนั้นศพที่เหลือ จะถูกโยนทิ้งลงในทะเล วิธีการนี้ เรียกว่า การฝังศพโดยนก พวกเขาจะทำพิธีถือศีลกินเพล ตามความเชื่อ ของ ศาสนาพุทธ และมีผู้สวดมนต์ เช่นเดียวกับการปฏิบัติกันใน เมืองกวางตุ้ง ของ มหาอาณาจักรจีน

ประชาชนในดินแดน ของ อาณาจักรเสียม ไว้วางใจได้ยาก พวกเขามีความสามารถในการทำสงครามทางเรือ มาก พวกเสียม มักจะส่งกองทัพเข้าโจมตี ประเทศเพื่อนบ้าน อยู่บ่อยครั้ง

ในด้านการค้าขาย พวกเขาใช้หอยเบี้ย แทนสตางค์แดง ผลผลิตในท้องถิ่น คือ หินพลอยสีแดง ซึ่งมีค่าน้อยกว่า ทับทิมสีแดง และมีประกายสว่างสุกใสเท่าๆ กับ สีเม็ดทับทิม ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของราชธานี ห่างออกไปประมาณ ๒๐๐ ลี้(ระนอง) ยังมีตลาดอีกตลาดหนึ่ง เรียกกันว่า ชาง-ฉุย(ไชยา) ซึ่งมีเส้นทางทิศต่อกับ เมืองต่างๆ ทางทิศใต้ได้ ตลาดแห่งนี้ มีพลเมืองประมาณ ๖๐๐ ครอบครัว

 ผลผลิตต่างๆ จากต่างประเทศ ทุกชนิด สามารถที่จะหาซื้อได้ในตลาด ราชธานี ของ อาณาจักรเสียม ได้ เช่น ฮวงเหลียนเซี่ยง ซึ่งเป็นรากไม้ชนิดหนึ่ง โล้โหเหลียนเซี่ยง ซึ่งเป็นไม้หอมชนิดหนึ่ง มีไม้กฤษณา ไม้กระวานหอม เม็ดลูกกระเบา เลือดมังกร หวาย ไม้ฝาง ดีบุก งาช้าง ขุนนกกระเต็น ไม้ฝางนั้น มีราคาถูกมาก เท่าๆ กับ ไม้ฟืน สีของไม้ฝางงดงามมากที่สุด

สำหรับสัตว์สำคัญ ที่มีในราชธานี ของ อาณาจักรเสียม นั้น มี ช้างเผือก สิงโต แมว และ กระรอกเผือก ส่วนผัก และ ผลไม้ มีเช่นเดียวกันกับในดินแดน ของ อาณาจักรจาปา(เวียตนามใต้) ยังมีโรงต้มเหล้า(เหล้าขาว) โรงทำน้ำตาลเมา(กะแช่) ทั้งสองประเภทล้วนดื่มแล้ว มึนเมา

อาณาจักรนี้ ต้องส่งเครื่องบรรณาการที่เป็น ไม้ฝาง และ ไม้หอม ให้กับ มหาอาณาจักรจีน ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๗๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ กองเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว เดินทางต่อมาเพื่อเข้ามาทำสงครามขับไล่ กษัตริย์ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ผู้ปกครอง แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับเชิญ พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ ให้เข้าปกครอง แคว้นมะละกา(แมนจูเจ้าเก้า) อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น กองทัพเรือใหญ่ ของ นายพลเจิ้งหัว ได้เดินทางไปกดดัน อาณาจักรศรีลังกา ต่อไป

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ นายพลเรือเจิ้งหัว เชิญ พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์โจฬะ เข้าปกครอง เมืองแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) แคว้นมาลายู แทนที่ และ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง รับเอา แคว้นมาลายู กรุงมะละกา เป็นประเทศราช รัฐในการคุ้มครองของ มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ นายพลเจิ้งหัว เรียก ราชาเชนสุย แห่ง แคว้นกูกัง(โพธิ์กลิงค์บัง) เกาะสุมาตรา เข้าพบที่ เมืองมะละกา แคว้นมาลายู เนื่องจากทราบข่าวว่า ราชาเชนสุย ออกทำการปล้นสะดม เรือสำเภาบรรทุกเครื่องราชบรรณาการ ที่เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน และ ทราบข่าวว่า ราชาเชนสุย กำลังวางแผนปล้นกองเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว อีกด้วย แต่ ราชาเชนสุย ขัดขืน ต่อมา ชาวจีนคนหนึ่งชื่อ ฉีชินชิง นำความลับมาแจ้งแก่ นายพลเจิ้งหัว ในขณะที่ ราชาเชนสุย วางแผนเข้าทำสงครามโจมตีกองเรือของ นายพลเจิ้งหัว เป็นที่มาให้ นายพลเจิ้งหัว ส่งกองทัพเข้าทำการจับกุม ราชาเชนสุย ส่งไปยังราชสำนักจีน สอบสวนแล้ว ต้องโทษถูกประหารชีวิต

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ มหาราชากามา แห่ง อาณาจักรโพธิ์ใน(พูนิ) เกาะบอร์เนียว นำราชวงศ์ มเหสี พร้อมโอรส ธิดา เป็นคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง พร้อมกับขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ต่อมา มหาราชากามา เสด็จสวรรคต ในประเทศจีน ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) จึงทรงแต่งตั้งให้ พระราชโอรส มีพระนามว่า เฮียวัง เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรโพธิ์ใน เกาะบอร์เนียว ในรัชกาลถัดไป มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีตราตั้ง แต่งตั้งให้ ชินจิง ซึ่งเป็นราชบุตรเขย ของ ราชาเชนสุย เป็นผู้ปกครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงกูกัง เกาะสุมาตรา ในรัชกาลถัดมา

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ไม่พอพระทัย เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) ซึ่งสมคบกับ นายพลเจิ้งหัว เป็นอย่างมาก เพราะทรยศต่อ ชนชาติไทย ผู้ปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) จึงมีพระราชสาส์น สั่งให้ สมเด็จพระรามราชา ส่งทหาร เข้าทำการ จับกุม เจ้านครอินทร์ และ ขุนนาง ข้างจีน ไปประหารชีวิต เป็นจำนวนมาก ส่วน เจ้านครอินทร์ ต้องหลบหนีไปอาศัยอยู่ที่ เมืองสุพรรณบุรี อีกครั้งหนึ่ง

   (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) สั่งให้ จักรพรรดิพระธรรมราชา(พ่อพระยาปืนไฟ) กรุงศรีธรรมราช ร่วมกับ กองทัพของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นมาลายู กรุงมะละกา กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าปรเมศวร ต้องหลบหนี ไปอาศัยอยู่ใน หมู่เกาะต่างๆ  

  (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ เดือน ๑๒ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะราชทูต ราชทูตชื่อ นายหู-ตา-หวู-เสีย-เหมย(นายหูตาไว เสียเมีย) และ นาย-ยี่-เสี่ย-ฉือ(นายยี่ เสียชื่อ) เดินทางไปขอพระราชทานอภัยโทษ การกระทำความผิดอันเนื่องมาจาก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ทำสงครามรุกรานอาณาจักรต่างๆ ที่ผ่านมา เพื่อขออภัยโทษ จาก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...เดือน ๑๒ ปี พ.ศ.๑๙๕๑ พระรามราชา แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ได้ส่ง ราชทูตชื่อ นายหู-ตา-หวู-เสีย-เหมย(นายหูตาไว เสียเมีย) และ นาย-ยี่-เสี่ย-ฉือ(นายยี่ เสียชื่อ) เป็นคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เพื่อกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ ต่อการกระทำความผิดที่ผ่านมา ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๑ พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ ยกกองทัพเข้าทำสงครามกับ พระเจ้าสอบา แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี อีกครั้งหนึ่ง

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ พร้อมกับ แม่ทัพ มังกยอชวา พระราชโอรส ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรมอญ กรุงหงสาวดี(พะโค) ซึ่งขณะนั้น พระเจ้าราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๒๘-๑๙๖๖) กษัตริย์มอญ มีทหารต่างชาติ มาร่วมทำการต่อสู้ในสงครามด้วย ผลของสงคราม พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) ต้องถอยทัพกลับไป

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ เดือน ๑ สมเด็จพระรามราชา แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งคณะราชทูต มี ราชทูตชื่อ นาย-ฉือ-ไล-ซู เพื่อเดินทางไปถวายเครื่องสักการะ พระบรมศพ ของ พระนางเหรินเสียว และขออภัยโทษต่อการกระทำความผิดอันเนื่องมาจาก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ทำสงครามรุกรานอาณาจักรต่างๆ ที่ผ่านมา เพื่อขออภัยโทษจาก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง อีกครั้งหนึ่ง มีบันทึกว่า...

...เดือน ๑ ปี พ.ศ.๑๙๕๒ พระรามราชา แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ได้ส่ง ราชทูตชื่อ นาย-ฉือ-ไล-ซู เป็นคณะราชทูตไปถวายเครื่องสักการะ พระบรมศพ ของ มเหสีเหริน-เสียว และเพื่อกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ ต่อการกระทำความผิดที่ผ่านมา...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ นายพลเจิ้งหัว ดำเนินการตามแผน ปฏิบัติการครั้งที่ ๒(พ.ศ.๑๙๕๐-๑๙๕๔) โดยที่ นายพลเรือเจิ้งหัว นำกองทัพเรือขนาดใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นมาลายู เมืองมะละกา(แมนจูเจ้าเก้า) กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเชิญ พระเจ้าปรเมศวร กลับมาเป็นกษัตริย์ปกครอง แคว้นมาลายู กรุงแมนจูเจ้ากัว(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นรัฐในการอารักขาของ มหาอาณาจักรจีน และ นายพลเจิ้งหัว ได้ตั้งกองเรือ พักอยู่ที่ เมืองมะละกา เพื่อมิให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) และ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ทำสงครามยึดครอง เมืองมะละกา กลับคืน

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง แคว้นมาลายู กรุงมะละกา ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง ราชวงศ์หมิง ของ มหาอาณาจักรจีน โดยให้พ่อค้าสำเภาจีน เดินทางผ่านช่องแคบมะละกา โดยไม่เก็บค่าภาษี เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน ยอมรับให้ อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อมิให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ทำสงครามยึดครอง กลับคืน

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ เจ้าพระยาเสนาบดี(สมุหนายก พระปรมะราชาธิราช) ร่วมกับ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) แห่ง อาณาจักรละโว้ ซึ่งว่าราชการอยู่ที่ เมืองสุพรรณบุรี ได้นำกำลังทหารจาก เมืองอินทร์บุรี ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงศรีอยุธยา กลับคืน ผลของสงคราม เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) สามารถยึดอำนาจ จาก สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) เป็นผลสำเร็จ สมเด็จพระรามราชา สวรรคตในสงคราม เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) จึงขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา เป็นผลสำเร็จ ส่งผลให้ อาณาจักรหลอหู(ละโว้) ต้องขัดแย้งกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) อย่างรุนแรง

  (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ สมเด็จเจ้าทองจันทร์ ส่งกองทัพจาก กรุงละโว้ มายังกรุงศรีอยุธยา ผลของสงคราม ถูกจับกุม และ ถูกสำเร็จโทษ หลังจากนั้น เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) จึงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) ปกครอง ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา โดยมิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์ ประกาศแยก อาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา ออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ทันที

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพหลวงเข้าทำสงครามปราบปราม สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา โดยการปิดล้อม กรุงศรีอยุธยา ไว้ ตามแผนการที่ นายพลเจิ้งหัว กำหนด สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) ได้ส่งพระราชสาส์น ไปให้ นายพลเจิ้งหัว ปฏิบัติการ ตามแผนการที่กำหนด

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ นายพลเรือเจิ้งหัว ส่งกองทัพเรือขนาดใหญ่ ร่วมกับ กองทัพของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรโจฬะ(เขมร) และ อาณาจักรโพธิ์ใน(บอร์เนียว) ส่งกองทัพเข้าโจมตี ราชธานี กรุงครหิต(คันธุลี) พระราชวังศรีราชัน และ วัดศรีราชัน ถูกเผาทำลายหมดสิ้น โฮ-บ๋า-กวน และพวก ถูกจับกุม

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ซึ่งอยู่ระหว่าง ปิดล้อม กรุงศรีอยุธยา ทราบข่าว จึงรีบยกกองทัพกลับจาก กรุงศรีอยุธยา นำกองทัพไปขับไล่ กองทัพของ นายพลเจิ้งหัว ให้ถอยทัพออกไป และ นำกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นมาลายู กรุงมะละกา กลับคืน แล้วเสด็จกลับมายัง กรุงครหิต(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง

 

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ได้ย้ายราชธานี จาก กรุงครหิต(คันธุลี) ไปยัง กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

Visitors: 54,466