รัชกาลที่ ๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔)

รัชกาลที่ ๓ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย

(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔)

 

 

ปี พ.ศ.๑๒๔๕ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) สวรรคต เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อศรีวิชัย ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยมี นายกพ่อจันทร์ภาณุศรีธรรมราช เป็น จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ ว่าราชการที่ แคว้นนครศรีธรรมราช และมี พ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๓

ปี พ.ศ.๑๒๔๕ สภาโพธิ พระราชทานพระนามใหม่ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) หลังจากการพระราชทานเพลิงศพว่า พระอินทร์บรมเทพ 

ปี พ.ศ.๑๒๔๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) พระราชทาน พระราชวังศรีเวียง ให้สร้างวัดตามราชประเพณี จึงโปรดเกล้าให้ สร้างวัดศรีเวียง ขึ้นที่ บริเวณพื้นที่พระราชวังศรีเวียง และพระราชทานชื่อว่า วัดศรีเวียง เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับ มหาจักรพรรดิ พ่อศรีทรัพย์ ตามราชประเพณี

ปี พ..๑๒๔๖ พระนางมัญชุศรี เป็น พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ เป็นอัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิ พ่ออู่ทอง และเป็น พระราชมารดา ของ พระนางเหมรินทร์ อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย เสด็จสวรรคต เนื่องจาก โรคชรา ในดินแดน ของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะราม(เกาะชวา)

ปี พ..๑๒๔๖ เมื่อ พระนางมัญชุศรี เสด็จสวรรคต มหาราชาพ่อศรีสงครามธนัญชัย(พ่อใบทอง) แห่ง อาณาจักรม้าตาราม และ เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม ได้สร้างศิลาจารึก พระนางมัญชุศรี ขึ้นที่ภาคกลางของดินแดนเกาะชวา พร้อมกับได้สร้างเทวรูป ของ พระนางมัญชุศรี เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของบุคคลสำคัญตามคำแนะนำของ พระราชครูกุมารโฆษ(หลวงตาผ้าขาวรอด) ศิลาจารึกพระนางมัญชุศรี หลักนี้จึงเกิดขึ้น โดยใช้ภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาคครี ซึ่งได้รับอิทธิพล จาก มหาวิทยาลัยนาลันทา โดยใช้ท่าจารึก เป็นที่ประทับ ของ เทวรูป พระนางมัญชุศรี  เนื้อหาของจารึกนี้แปลโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์  มีข้อความบันทึกเนื้อหาว่า...

...นโม พระรัตนตรัย โลกนี้ได้รับการคุ้มครองป้องกันภัย จาก มหาจักรพรรดิ ผู้ยิ่งใหญ่ มีพระนามว่า พระอินทร์(มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์) ผู้เป็นต้นราชวงศ์สำคัญพระองค์หนึ่ง ของ กษัตริย์ แห่ง ราชวงศ์ภูเขา(ราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์) พระองค์ได้บรรลุถึงซึ่งความบริสุทธิ์ เพราะได้รับคำสอนจากพระราชครู ซึ่งมีนามว่า พระราชครูกุมารโฆษ(ตาผ้าขาวเถระรอด) ได้ประดิษฐาน เทวรูป ปฏิมามัญชุศรี นี้ขึ้น เพื่อความรุ่งเรืองแห่งโลกทั้งมวล  ในเทวรูป ของ พระนางมัญชุนี้ มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สถิตอยู่พร้อม ในองค์เทวรูป ผู้กวัดแกว่งสายฟ้า มีเพลง สวามี มัญชุวาก ประกอบด้วยเทพเจ้าทั้งมวลในอนาคต  จงช่วยกันรักษา สิ่งอันเป็นธรรมวิเศษนี้ ขอ พระราชครูกุมารโฆษ ผู้ได้รับสักการะจาก มหาราชาศรีสงครามธนัญชัย (พ่อใบทอง)...

ปี พ.ศ.๑๒๔๘ จดหมายเหตุจีน ของ ม้าต้วนหลิน ได้รวบรวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในสมัยที่ พระนางบูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) ฮ่องเต้สัตรี ราชวงศ์โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้กล่าวถึงรัฐต่างประเทศ โดยได้ทำการคัดลอก เรื่องราวบันทึกถึง ดินแดนของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ เมื่อปี พ.ศ.๑๒๔๘ มีเนื้อหาว่า...

...ดินแดนทมิฬโจฬะ(เจนละ) นั้น แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดินแดนครึ่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ ซึ่งเต็มไปด้วยภูเขา และ หุบเขา เรียกว่า อาณาจักรโจฬะบก(อาณาจักรโพธิ์หลวง) ส่วนดินแดนอีกครึ่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางภาคใต้ ซึ่งจดฝั่งทะเล เต็มไปด้วยทะเลสาบ เรียกว่า อาณาจักรโจฬะน้ำ(เจนละน้ำ-เขมร)...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๖๐)

ปี พ.ศ.๑๒๔๘ พระนางบูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) หรือ ฮ่องเต้บูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) สละราชย์สมบัติ จาก ฮ่องเต้ เนื่องจากการประชวร และถูกกดดัน จึงโปรดเกล้าให้ ฮ่องเต้จงจง(พ.ศ.๑๒๒๖-๑๒๒๗) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ขึ้นปกครอง มหาอาณาจักรจีน มีพระนามว่า ฮ่องเต้จงจง(พ.ศ.๑๒๔๘-๑๒๕๓) ในรัชกาลถัดมา เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๒๔๘ ขณะที่ ฮ่องเต้บูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) มีพระชนมายุ ๘๕ พรรษา และ ฮ่องเต้บูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) เสด็จสวรรคต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๑๒๔๘

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๒๙๙)

ปี พ.ศ.๑๒๔๘ อุปราชศรีสัญชัย(มีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา) พระราชโอรส ของ พระนางไทร กับ พระเจ้ามังร่า แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้รับโปรดเกล้า ให้เป็น ราชา ปกครอง แว่นแคว้น ของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา

ปี พ.ศ.๑๒๔๙ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว-ตะวันตก) ของ ราชวงศ์ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง  เมืองนครหลวง ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เป็นผลสำเร็จ ประชาชนในดินแดน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ดั้งเดิม ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต ผสมกับ ชนชาติทมิฬ ได้อพยพหนีภัยสงครามขึ้นไปทางทิศเหนือ ซึ่งเต็มไปด้วย ภูเขา และ หุบเขา

ปี พ.ศ.๑๒๔๙ หลวงจีนอี้จิง ได้บันทึกถึงเรื่องราวของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ซึ่งก่อนหน้านั้น ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรโพธิ์นาน(เขมร) มาก่อน ได้กล่าวถึงการที่ ชนชาติทมิฬโจฬะ ทำลายพระพุทธศาสนา ในดินแดน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ว่า...

...พระธรรม ของ พระพุทธเจ้า เคยเจริญรุ่งเรือง และแผ่ขยายออกไปในดินแดนของ อาณาจักรโพธิ์นาน(เขมร) แต่ในขณะนี้ มีมหาราชาผู้โหดร้าย ได้ทำลายพระพุทธศาสนาในดินแดน ของ อาณาจักรโพธิ์นาน(เขมร) จนหมดสิ้น และไม่มีพระภิกษุ หลงเหลืออยู่อีกเลย ในขณะนี้...

ปี พ.ศ.๑๒๕๑ ราชาศรีสัญชัย(มีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา) พระราชโอรส ของ พระนางไทร กับ พระเจ้ามังร่า แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้รับโปรดเกล้า ให้เป็น มหาอุปราช ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา

ปี พ.ศ.๑๒๕๓ พระนางเว่ยหวงโฮ่ อัครมเหสี ของ ฮ่องเต้จงจง(พ.ศ.๑๒๔๘-๑๒๕๓) ได้ลอบวางยาพิษ ฮ่องเต้จงจง(พ.ศ.๑๒๔๘-๑๒๕๓) จนกระทั่ง สวรรคต ทำให้เกิดการรัฐประหารขึ้นใน พระราชวังหลวง ของ ราชธานีกรุงลั่วหยาง โดยที่ หลี่หลงจี ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ ฮ่องเต้ลุ่ยจง ทำการรัฐประหารสำเร็จ แล้วแต่งตั้งให้ ลุ่ยจง ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น ฮ่องเต้ลุ่ยจง(พ.ศ.๑๒๕๓-๑๒๕๕) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ในรัชกาลถัดมา 

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๐๑)

ปี พ.ศ.๑๒๕๔ เรือสินค้า ของ สหราชอาณาจักรอาหรับ ซึ่งค้าขายระหว่างเกาะศรีลังกา กับ กรุงแบกแดด ถูกโจรสลัดปล้นในมหาสมุทรอินเดีย เป็นเหตุให้ กาหลิบ วาลิต แห่ง สหราชอาณาจักรอาหรับ กรุงดามัสกัส ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรสินธุ เป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้น กาหลิบ วาลิต ได้ส่ง โมฮัมหมัด บินกาซิม มีอายุ ๑๗ ปี ซึ่งเป็นพระญาติ เข้าปกครอง รัฐสินธุ ของ ประเทศอินเดีย พร้อมกับนำศาสนาอิสลาม เข้าไปเผยแพร่ ด้วย

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๓)

ปี พ.ศ.๑๒๕๕ ฮ่องเต้ลุ่ยจง(พ.ศ.๑๒๕๓-๑๒๕๕) สละราชย์สมบัติ เป็นเหตุให้ หลี่หลงจี ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น ฮ่องเต้เสี้ยนจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ในรัชกาลถัดมา มีพระนามว่า ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เรียกว่า รัชกาลหมิงหวาง ในรัชกาลนี้ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) โปรดปรานการแสวงความสำราญด้วยสตรีเพศ เป็นที่ยิ่ง ในพระราชวังหลวง นั้น มีพระสนมถึง ๓,๐๐๐ นาง มีโอรสและธิดา มากจำนวนมากถึง ๕๙ คน 

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๐๑-๓๐๒)

ปี พ..๑๒๕๕ หลวงจีนอี้จิงได้ถึงแก่ มรณภาพ หลังจากนั้น ผู้นับถือพุทธศาสนาในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน จึงทำสงครามปราบปรามผู้นับถือพุทธศาสนาอย่างรุนแรง

ปี พ.ศ.๑๒๕๕ จักรพรรดิโลเชงเยน(พ.ศ.?-๑๒๕๕) หรือ หลวงเชียงเย็น แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห สวรรคต จักรพรรดิเชงโลพี(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๗๑)หรือ เชียงหลวงพี่ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห เป็นรัชกาลถัดมา ประชาชนชาวไต ลุกขึ้นก่อกบฏ เนื่องจาก นายพลจีนชื่อ ลีจีกู ซึ่ง ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งไปเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทำการกดขี่ขูดรีด ประชาชน ชนชาติอ้ายไต อย่างโหดร้าย ต่อมา ชนชาติอ้ายไต ลุกขึ้นต่อต้าน แม่ทัพลีจีกู จึงถูก จักรพรรดิเชียงหลวงพี่(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๗๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห ทำสงครามปราบปราม

ปี พ.ศ.๑๒๕๖ มหาราชาท้าวศรีไกรสร(พ.ศ.๑๒๓๕-๑๒๕๖) หรือ พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๑ พระราชโอรสของ มหาราชาท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา สวรรคต ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า มหาราชาผู้เสด็จไปสู่ ศิวปุระ พระราชธิดา มีพระนามว่า มหารายาชัยเทวี(พ.ศ.๑๒๕๖-๑๒๕๙) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรคามลังกา ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๖๐ )

ปี พ.ศ.๑๒๕๗ จักรพรรดิเชียงหลวงพี่(เชงโลพี) (พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๗๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ต่อ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ณ กรุงลั่วหยาง ราชทูตชื่อ เกียนเชียง(เกียนเชง) จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๒๕๗ ชนชาติอ้ายไต ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ได้ร่วมกันลุกขึ้นก่อกบฏ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ทำการปราบปราม ชนชาติอ้ายไต ผู้นับถือ พระพุทธศาสนา อย่างรุนแรง

ปี พ.ศ.๑๒๕๗ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง สั่งจับ พระภิกษุ และ แม่ชี สึกออกมาประมาณ ๑๒,๐๐๐ รูป ต่อมา ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘ ได้มีคำสั่ง ห้ามสร้างวัด ห้ามสร้างพระพุทธรูป ห้ามจารึกพระธรรมคัมภีร์ ด้วย และสั่งห้าม ขุนนางจีน คบค้ากับ พระภิกษุ ด้วย

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๑๗)

ปี พ.ศ.๑๒๕๙ มหารายาชัยเทวี(พ.ศ.๑๒๕๖-๑๒๕๙) แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงอนินทิตะปุระ เสด็จสวรรคต มหาราชาปุษรากษ์(พ.ศ.๑๒๕๙-๑๒๙๑) หรือ พระอินทรโลก ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรคามลังกา กรุงอนินทิตะปุระ ในรัชกาลถัดมา โดยการเสกสมรส มาก่อนหน้านี้

ปี พ.ศ.๑๒๕๙ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งมีพระชนมายุ ๖๙ พรรษา ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

...ปีที่ ๔(พ.ศ.๑๒๕๙) ในรัชกาลหมิงหวาง ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ชีลีโฟชิ-ไชยา) ได้ส่งราชทูตชื่อ ... เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปสร้างสัมพันธ์ไมตรี และ ถวายสิ่งของที่ระลึก แด่ ฮ่องเต้เสี้ยนจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน...

ปี พ.ศ.๑๒๕๙ มหาอุปราชศรีสัญชัย ซึ่งมีพระชนมายุ ๓๓ พรรษา พระราชโอรส ของ พระนางไทร กับ พระเจ้ามังร่า แห่ง อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) ได้รับโปรดเกล้า ให้เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๑๒๕๙ ถือเป็น ศักราชสันชัย ปีที่ ๑ ของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๙)

ปี พ.ศ.๑๒๖๐ มหาราชาพระเจ้าพาลาทิตย์(พา-โล-ทิ-โป) ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรเจนละ(เขมร) ส่งคณะราชทูต เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๒๖๐ มหาราชาแห่ง เจนละ(เขมร) มีพระนามว่า พระเจ้าพาลาทิตย์(พา-โล-ทิ-โป) ราชทูตแจ้งว่า พระเจ้าพาลาทิตย์ ทรงสืบเชื้อสายมาจาก พราหมณ์โกณทัญญะ และ นางนาคโสมา ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๖๑)

ปี พ.ศ.๑๒๖๐ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรโพธิ์ใน กรุงเวียงจันทร์ ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน

(ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๒๖๑ พระเจ้าชัยจันทร์วรมัน(พ.ศ.๑๒๖๑-?) ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ แห่ง แคว้นยาไข(ยะไข่) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู ผลของสงคราม กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ สามารถทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงปยู เป็นผลสำเร็จ มหาราชาหะริวิกรม(พ.ศ.๑๒๓๘-๑๒๖๑)สวรรคตในสงคราม

ปี พ.ศ.๑๒๖๑ มหาราชาศรีหะวิกรม(พ.ศ.๑๒๓๘-๑๒๖๑) ราชวงศ์วิกรม แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) สวรรคตในสงคราม มหาราชา พระเจ้าชัยจันทร์วรมัน ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) หรือ เมืองแปรเก่า แทนที่ มีพระนามว่า พระเจ้าชัยจันทร์วรมัน(พ.ศ.๑๒๖๑-?) เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติต่อมา คือ พระเจ้าประภุวรมัน(พ.ศ.?-๑๒๙๑) สันนิษฐานว่า เป็นโอรส ของ พระเจ้าชัยจันทร์วรมัน

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๙๔ )

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า ปี พ.ศ.๒๕๔๘ หน้าที่ ๑๗)

ปี พ.ศ.๑๒๖๔ จักรพรรดิเชียงหลวงพี่(เชงโลพี) (พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๗๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห พระราชโอรส ของ นายกโลเชง เชื้อชาติจีน ได้ก่อกบฏต่อ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง แต่ยังไม่ถูกปราบปรามจากกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน เนื่องจาก เกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) กับ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ)

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๕๕)

ปี พ.ศ.๑๒๖๕ อาณาจักรโพธิ์ใน(เวียงจันทร์) กรุงเวียงจันทร์ ของ ชนชาติอ้ายไต ซึ่งอพยพมาจาก อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ได้ร่วมกับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เพื่อทำสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ด้วย เนื่องจาก ข้าหลวงจีน ที่มณฑลกวางเจา ปราบปรามชนชาติอ้ายไต ณ อดีต แคว้นกวางเจา มีบันทึกว่า...

...มีชนพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง ที่ เมืองแง่อัน ได้ร่วมกันต่อต้านกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน หัวหน้าขบวนการ เป็นชนเผ่าอ้ายไต และมีเผ่าอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เช่น พวกไตเวียต พวกคามลังกา พวกเขาเหล่านี้ สามารถเอาชนะกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง กำลังทหารจาก กรุงเวียงจันทร์ นั้น เดินทางไปจาก คามลังกา ในที่สุด หัวหน้ากลุ่ม ได้ตั้งตนเองว่า จักรพรรดิดำ ก่อนที่กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน จะทำสงครามปราบปราม อีกครั้งหนึ่ง...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๖๑)

(ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๘๕ และ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๒๖๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) พระชนมายุ ๗๕ พรรษา ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง คณะราชทูต ได้ฟ้องร้องต่อ ฮ่องเต้เสี้ยนจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ว่า ขุนนางจีน ที่เป็นนายด่าน ดูหมิ่นคณะราชทูต แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีบันทึกว่า...

...ปีที่ ๑๐(พ.ศ.๑๒๖๕) ในรัชสมัยหมิงหวาง แห่ง ราชวงศ์ถัง มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง คณะราชทูต ได้ฟ้องร้องต่อ ฮ่องเต้เสี้ยนจง ว่า ขุนนางจีนที่เป็นนายด่าน ดูหมิ่นคณะราชทูต...

ปี พ.ศ.๑๒๖๗ เดือนกรกฎาคม มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งมีพระชนมายุ ๗๗ พรรษา ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โดยมี พระราชโอรส(พระยาเธอ) เดินทางไปเป็น หัวหน้าคณะราชทูต ด้วย มีบันทึกว่า...

....ปีที่ ๑๒(พ.ศ.๑๒๖๗) เดือนกรกฎาคม ในสมัยรัชกาลหมิงหวาง ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง มีบันทึกว่า พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นหัวหน้าขุนนาง ควบคุมคณะราชทูต เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน คณะราชทูต ได้นำชนพื้นเมือง คนเงาะสองคน เป็นหญิงหนึ่งคน และผู้ชายหนึ่งคน มีนักดนตรีคนพื้นเมืองหนึ่งคณะ มีนกแก้วห้าสี ๑ ตัว ถวายแด่ ฮ่องเต้เสี้ยนจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้ ได้แต่งตั้งให้ พระราชโอรสของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม มีตำแหน่งเป็น นายพล(โช-ชุน) พร้อมกับได้ถวายผ้าแพรไหม ๑๐๐ ม้วน มอบให้กับ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ด้วย…”

ปี พ.ศ.๑๒๖๗ เดือนสิงหาคม มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกสั้นๆว่า

....เดือนสิงหาคม ในปีที่ ๑๒(พ.ศ.๑๒๖๗) สมัยฮ่องเต้หมิงหวาง แห่ง ราชวงศ์ถัง มีราชทูตชื่อ ... เป็นหัวหน้าคณะราชทูต จาก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ชีลีโฟชี-ไชยา) ได้เดินทางมาสร้างความสัมพันธไมตรี และ ถวายสิ่งของที่ระลึก แด่ ฮ่องเต้หมิงหวาง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้  ได้ทรงแต่งตั้ง ให้หัวหน้าคณะราชทูต มีตำแหน่งเป็น นายทหารใหญ่ฝ่ายขวา(โส-ไว-ไว-ต้าเจียวกุน) พร้อมทั้งได้พระราชทาน เสื้อยศประจำตำแหน่ง เป็นเสื้อสีม่วง และเข็มขัดยกทอง ให้เป็นของขวัญ แก่ หัวหน้า คณะราชทูต ด้วย…”

(แปลจากรายงานการวิจัยของ นายโรกุโร กุวาตะ หนังสือบางเล่ม อ้างว่า มหาราชาในขณะนั้นมีพระนามว่า ชี-ลี-เท-โร-ปะ-โมบางข้อมูลก็อ้างว่า มหาราชามีพระนามว่า ชี-ลี-วิ-ชะ-โย จึงเป็นข้อมูลที่ยังสงสัยมาก เพราะแสดงว่า ขณะนั้น พ่อศรีทรัพย์ ยังเป็นมหาราชากรุงศรีโพธิ์อยู่ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้)

ปี พ.ศ.๑๒๗๑ จักรพรรดิเชียงหลวงพี่(เชงโลพี) (พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๗๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห เสด็จสวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า พีล่อโก๊ะ(พ.ศ.๑๒๗๑-๑๒๙๑) หรือ พ่อหลวงโก หรือ โกหลวงกริช(ไกวโละกิช) หรือ พี่ไหโท(พีไฮโท) ขึ้นครองราชย์สมบัติ มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห พระองค์ได้ทำการกวาดล้างอำนาจของ ราชาแห่ง แว่นแคว้น ต่างๆ จำนวน ๓๗ แว่นแคว้น ที่อยู่ภายใต้อำนาจ ของ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง พร้อมกับได้ทำการยุบแว่นแคว้นต่างๆ ให้คงเหลือเพียง ๖ แคว้น แล้วจัดให้มี ข้าหลวงเข้าปกครองแว่นแคว้น เปลี่ยนการปกครองเป็นแบบเดียวกันกับ มหาอาณาจักรจีน แทนที่

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๕๗-๕๙)

ปี พ.ศ.๑๒๗๔ พระเจ้าวิกรานต วรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) หรือ อาณาจักรเวียตน้ำ ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต(ส่งไปแล้ว ๑๕ ครั้ง) กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน จดหมายเหตุจีน มีบันทึกสั้นๆ ว่า

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๒๗๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ผลของสงคราม พระเจ้าวิกรานต สวรรคต ในสงคราม พระเจ้ารุทรวรมันที่ ๒ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และพยายามทำสงครามยึดครองดินแดน แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน สามารถยึด เมืองกวางน้ำ(กวางนัม แคว้นถัวเถียน) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้ารุทรวรมันที่ ๒ พระราชโอรส ของ พระเจ้าวิกรานต วรมัน ต้องถอยทัพไปอยู่ที่ เมืองปาณฑุรัง(ผันรัง ในปัจจุบัน) พร้อมกับพยายามทำสงคราม ยึดครองดินแดน แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตน้ำ) กลับคืน

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๒๗๖ เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรกาลี้(เกาะบอร์เนียว-ตะวันออก) กับ อาณาจักรม้าตาราม(เกาะชวา) สงครามเป็นไปอย่างยืดเยื้อ

ปี พ..๑๒๗๗ มหาราชาสันนา มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชามังกา กับ พระนางสันลิกา(พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) มีพระชนมายุ ๘๑ พรรษา เสด็จ สวรรคต

ปี พ..๑๒๗๗ มหาราชาสันนา และ พระนางมาลิสา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา สวรรคต ในรัชกาลที่-๔ ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย เป็นเหตุให้ มหาราชาศรีสัญชัย มีพระชนมายุประมาณ ๕๐ พรรษา เป็น พระราชโอรส ของ มหาราชามังร่า กับ พระนางไทร ซึ่งได้ อภิเษกสมรสกับ พระนางนาลิสา ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา

ปี พ.ศ.๑๒๗๗ มหาราชาศรีสัญชัย แห่ง อาณาจักรม้าตาราม ได้สร้างศิลาจารึกไว้ ณ ภูเขาวูกีร์ ในดินแดนภาคกลางของ เกาะชวา เนื่องในโอกาสที่ พระนางสันลิกา พระราชมารดา ของ มหาราชาสันนา ผู้เป็นพ่อตา และ พระนางมาลิสา ผู้เป็นแม่ยาย ของ มหาราชาศรีสัญชัย ได้เสด็จ สวรรคต และ พระนางศรีจันทร์ พระราชมารดา ของ พระนางมาลิสา เสด็จสวรรคต เรียกว่า ศิลาจารึกมหาราชาศรีสัญชัย ศิลาจารึกหลักนี้ สะท้อนถึงระบบการปกครองของ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ใช้ระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และน่าจะสร้างศิลาจารึกดังกล่าว เคียงคู่กับ เทวรูป ของ พระนางมาลิสา ผู้เป็นอัครมเหสี ของ มหาราชาสันนา  ทั้งนี้เพราะจารึกดังกล่าว มีการกล่าวถึง พระนางมาลิสา ซึ่งอยู่ในสายราชวงศ์จันทร์วงศ์ ไว้ด้วย  คำแปลศิลาจารึกนี้ แปลโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์  มีเนื้อหาดังนี้...

...พระเจ้านรบดี(มหาราชา) ศรีสัญชัย ได้ทรงประดิษฐาน ศิวลึงค์ ซึ่งกำหนดเป็น สัญลักษณ์ (แห่งพระศิวะผู้เป็นเจ้า) เพื่อความสงบสุข(สันติ)  ไว้บนภูเขานี้ เมื่อ ศกศักราชล่วงแล้ว ๖๕๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ พระจันทร์เสวยฤกษ์ ปูรวภัทรบท ลัคนาปรากฏว่าอยู่ในราศีกุมภ์ (เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ถึง ๑๔๐๐ น.ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ พ..๑๒๗๗) พระศิวะ(มหาราชาสันนา) ผู้เป็นเจ้า นั้น (เป็นพระราชโอรส ของ พระนางสันลิกา ซึ่ง) มีดวงจันทร์เป็นปิ่นปักไว้ที่มวยผม(เป็นสายราชวงศ์ จันทร์วงศ์) ซึ่งย้อมด้วยคลื่นอันสูงสุดแห่งแม่น้ำคงคา มีพระวรกายปรากฏเป็นละอองรัศมี งามสง่าด้วยพวงมาลัย(การเคารพจาก) พระยานาค อันรุ่งเรือง มีเทพยดาประนมกร อัญชลีสรรเสริญ ขอพระองค์ซึ่งเป็นดั่งดวงอาทิตย์ จงได้ประทานความประเสริฐอันไม่เคยมี ให้แก่ท่านทั้งหลาย

ดอกบัวทั้งคู่(พระนางศรีจันทร์ และ พระนางมาลิสา) อันหาที่ติมิได้ คือพระบาทของพระตรีเนตร (ความสามารถในการใช้ญาณจิตร) ซึ่งจอมปราชญ์บูชา(ยอมรับความสามารถ) แล้ว ด้วยความภักดี และคำสรรเสริญ (พระนางทั้งสอง)มีกลีบสีแดง(มีความสามารถในการทำสงคราม) คือ นิ้วพระบาท ปรากฏเกสรอันบานกระจาย มีละอองอันส่องแสง ติดที่ปลายคือเล็บ มีแมลงผึ้ง คือ เทพยดา และ องค์อินทร์ เป็นต้น (ประชาชนและเทพที่มาเกิดเป็นมนุษย์)  น้อมมงกุฎลงจมพิศ(ให้ความเคารพ) เป็นเนืองนิตย์ เพราะต้องการสวรรค์ และ นิพพาน (จากการนับถือพุทธศาสนา) ขอดอกบัวทั้งคู่(ดวงวิญญาณของพระนางศรีจันทร์ และ พระนางมาลิสา) จงประทานความสุขความเจริญ แก่ท่านทั้งหลาย ชั่วนิรันดร

พระตรีเนตร(พระนางศรีจันทร์) ผู้เป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง มีมวยผมประดับด้วยดวงจันทร์(สายราชวงศ์ จันทร์วงศ์) ซึ่งเป็นที่เก็บความแปลกประหลาด อันยิ่งใหญ่ เพราะเป็นแดนเกิด(ดินแดนสุวรรณภูมิ) ที่เลิศด้วยอำนาจอันสูงสุด ทรงยินดีในการบริจาค(เสียสละ) ถ่ายเดียว แผ่ไปสู่ความพิศวงของโยคีทั้งหลาย(ผู้เผยแพร่ศาสนาพราหมณ์) เป็นเนืองนิตย์ ทรงบำรุงเลี้ยงโลกด้วยพระกาย ๘ ประการ ด้วยการใช้ ความกรุณา ไม่ใช้ความเห็นแก่ตัว ขอ(ดวงวิญญาณพระนาง) จงได้ทรงอภิบาลรักษาท่านทั้งหลาย ด้วย

พระสยมภู(มหาราชาสันนา) ผู้เป็นครู ที่เคารพของโลก มีทิพย์อำนาจควรแก่การนับถือ มีพระกายเป็นสีทองคำ(วสีเหลืองทอง) มีมวยผมอันโชติช่วง ประหนึ่งว่า เปลวเพลิงได้แผดเผาโทษของตนเอง ให้มีศาสนาของโลก อันพระองค์(มหาราชาสันนา) ยังคงผูกติดแนบแน่นกับเสาหลักคือ พระเวท(ศาสนาพราหมณ์) เป็นแดนเกิดแห่ง ธรรมศาสตร์ อรรถศาสตร์ และ กามศาสตร์ ทั้งหลาย มีคู่(อัครมเหสี) แห่งดอกบัว(พระนางสันลิกา อัครมเหสี นับถือพระพุทธศาสนา) คือ พระบาท(ดินแดนประสูติ) อันเทพยดาทั้งหลายกราบไหว้ เป็นเจ้าแห่งโยคะ ของหมู่โยคี ทั้งหลาย ขอ(ดวงวิญญาณของ พระนางสันลิกา) จงประทานความสำเร็จที่มุ่งหวัง ให้แก่ท่านทั้งหลาย

พระศรีบดี(พระนางมาลิสา) ซึ่งมีพระเนต เหมือนกลีบดอกบัวแดง(ดอกบัวหลวง) กำด้วยโยคะ ทรงไสยาสน์(นอน)บนแท่นบรรทม คือน้ำ มีเทพยดา สดุดีสรรเสริญ เพื่อประสงค์ให้ทรงคุ้มครองป้องกัน มีพระลักษมี มองดูมาจากที่ไกล ซึ่งมีพระโขนงขมวด และ พระเนตจ้องเพ่ง ด้วยอาการโกรธ เพราะเห็นพระฉายาลักษณ์ ของพระนางเอง อันทรงโฉม ติดอยู่ที่ผนังแก้ว คือ พังพานของ พระยานาค ขอ(ดวงวิญญาณของพระนาง) จงประทานความมั่งคั่งสมบูรณ์ ให้แก่ท่านทั้งหลาย

มีทวีปอันประเสริฐ หาที่เปรียบมิได้ทวีปหนึ่ง ชื่อ ชวาทวีป (อาณาจักรชวาทวีป)  อุดมด้วยพืช มีข้าว เป็นต้น สมบูรณ์ด้วยเหมืองทองคำ…(จารึกชำรุดอ่านไม่ได้ท่อนบรรทัด)……เป็นแหล่งการค้าประจำวันของสินค้าต่างๆ เช่น พืชเกษตร และ สินค้าเหมือง(แร่ธาตุต่างๆ) นั้น มิรู้วาย(มีเป็นจำนวนมาก) เป็นที่ตั้งของสถานที่สิ่งสูงสุด(รอยพระบาทพระกฤษณะ ณ บ่อ ๗ แห่ง ภูเขานางเอ) ของ พระผู้เป็นเจ้า(พระกฤษณะ) แวดล้อมด้วยแม่คงคา (เกาะภูเขานางเอ) และ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สระสนาน อันเป็นทิพย์อย่างยิ่ง เพื่อนรชน มีความสุข ความเจริญ อันตั้งอยู่ที่ กุญชรประเทศ(สหราชอาณาจักรเสียม) ซึ่งมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยช้างรูปงาม

บนทวีปอันมีชื่อว่า ชวาทวีป อันเป็นที่มีโชคใหญ่ยิ่ง ของคนที่มีชื่อเสียง มี พระราชา ทรงพระนามว่า สันนาได้ถือกำเนิดอันเลิศในราชตระกูลสูง(เป็นพระราชโอรสของ มหาราชามังกา กับ พระนางสันลิกา) มี(มหาจักรพรรดิ) พระยศยิ่งใหญ่ ไพศาล ทรงปกครองประชาชนทั้งปวง โดยชอบ ด้วยพระวาจาอ่อนโยน และด้วยทรงให้ทานแก่ประชาชนตั้งแต่ ประชาชนแรกเกิดมา ประหนึ่งเป็นบิดาปกครองบุตรแรกเกิดมา ทรงเป็นผู้อ่อนโยน ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม เป็นเวลานาน เหมือนกับ พระมนู

เมื่อพระองค์(มหาราชาสันนา) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ(อาณาจักรม้าตาราม-เกาะชวา) อันมีโชคลาภ โดยยุติธรรม เป็นเวลานานแล้ว มหาราชาผู้ทรงพระนาม สันนา ก็เสด็จไปรับผล อันเป็นความสุขในสวรรค์(สวรรคต) ซึ่งพระองค์ได้ทรงสะสมไว้ โลกเหมือนหนึ่งถูกทำลายเสียแล้ว โลกหมุนไปสู่ความอนาถา เพราะอำนาจแห่งความโศกเศร้า

ต่อมามี มหาราชาองค์หนึ่ง(พ่อศรีสัญชัย) ทรงอุบัติขึ้น...(ในดินแดนสุวรรณภูมิ)...พระองค์ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ เหมือนภูเขาพระสุเมรุ พระองค์มี พระฉวีวรรณ บริสุทธิ์เหมือนทองคำ(ผิวสีเหลืองทอง) ที่ละลายคว้างอยู่ในไฟอันรุ่งโรจน์ มีพระพาหา(แขน) และ พระโสนี(ตะโพก) ใหญ่ มีจอนนูน ขึ้นที่กระหม่อมสูง มีพระบาทสูงเหนือภูเขา อันตั้งอยู่บนแผ่นดินราชตระกูล (มีเชื้อสาย อินโดยูโรเปี้ยน)

มหาราชาพระองค์นี้ มีพระนามว่า ศรีสัญชัย เป็นโอรส (ลูกเขย) ของ พระสัสสุระ(พ่อตา) ของ มหาราชาสันนา ทรงครองราชย์สมบัติ ด้วยระเบียบแบบแผน ทรงมีชื่อเสียง ปวงปราชญ์ สรรเสริญพระองค์ ทรงรอบรู้อรรถอันสุขุม ในศาสตร์ทั้งหลาย ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติ มีความกล้าหาญ เป็นต้น ทรงมีพระราชอำนาจ ชนะสามัญราช ดั่ง พระเจ้าร(เชื้อสายของ จตุคามรามเทพ) มีพระยศรุ่งเรือง แผ่ไปทั่วทุกทิศ เหมือนแสงของดวงอาทิตย์

พระองค์(มหาราชาศรีสัญชัย) ทรงปกครองแผ่นดิน(อาณาจักรม้าตาราม) ซึ่งมีทะเลอันมีระลอกคลื่น ล้อมรอบ เหมือนเข็มขัด(เกาะชวา) มีภูเขา เสมือนหน้าอกหญิง ประชาชนนอนหลับในถนนหลวง ได้ โดยปราศจากโจรผู้ร้าย และภัยอย่างอื่น ประชาชน(ใน อาณาจักรม้าตาราม) ล้วนมีชื่อเสียง มีการสร้างสม ธรรมะ อรรถ กามะ อย่างมั่นคง ทำเอาเจ้าแม่กาลี ถึงกับได้แต่ร้องให้หนัก เพราะไม่มีเคยได้รับเครื่องเซ่นสังเวย(ประชาชนไม่เสียชีวิต)...

 (แปลโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์)

ปี พ.ศ.๑๒๘๐ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปิดล้อม อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เพื่อขัดขวางมิให้ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ทำสงครามขับไล่ ชนชาติทมิฬโจฬะ ออกจากดินแดนสุวรรณภูมิ

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๒๘๐ อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ตามที่ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ทรงร้องขอ เพื่อทำสงครามปราบปราม อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๒๘๑ จักรพรรดิพีล่อโก๊ะ(พ.ศ.๑๒๗๑-๑๒๙๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห ได้เสด็จไปยัง กรุงลั่วหยาง และได้ส่งกองทัพช่วยทำสงครามปราบปราม ชนชาติทิเบต อาณาจักรมิเชน และได้ทำการปราบกบฏ ในฐานะ เจ้าแห่ง มณฑลยูนาน ประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๕๙)

ปี พ.ศ.๑๒๘๓ จักรพรรดิพีล่อโก๊ะ แห่ง มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า กรุงไตโห ได้ย้ายเมืองนครหลวง ของ ราชอาณาจักรไทยน่านเจ้า ไปอยู่ที่ เมืองไตโห(เมืองหลวง) และ เมืองตาลี มีอำนาจในการปกครอง ดินแดนยูนนาน ทั้งหมด

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๕๙)

ปี พ.ศ.๑๒๘๓ เกิดสงครามขึ้นในอินเดีย พระเจ้านนทิวรมัน ปัลลวะ ต้องเสียเมืองกาญจีปุรัม ซึ่งเป็นเมืองนครหลวง ไประยะหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๒๘๓ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ให้กำเนิด วันตรุษจีน จัดให้มีการฉลอง ตรุษจีน เป็นพระเพณีการขึ้นปีใหม่ของจีน ตามความเชื่อ ของ ลัทธิขงจื้อ หลังจากที่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์ ให้กำเนิดสร้างประเพณี วันสงกราน เป็นประเพณีการขึ้นวันขึ้นปีใหม่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๒๔ แพร่หลายออกไปตาม อาณาจักรต่างๆ รวมทั้งดินแดน ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามยึดครอง ด้วย 

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๒๔)

ปี พ.ศ.๑๒๘๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต โดยมี พระยาเธอ(พระยาตะกละ) พระราชโอรสของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย กับ มเหสีฝ่ายซ้าย เป็นขุนนาง ควบคุม คณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกไว้สั้นๆว่า

...ปีที่ ๒๙ สมัยฮ่องเต้หมิงหวาง ราชวงศ์ถัง(พ.ศ.๑๒๘๔) มีมหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ชีลีโฟชิ) ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เสี้ยนจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน คณะราชทูต มีพระราชโอรสเสด็จมาเป็นขุนนาง ควบคุมคณะราชทูต เดินทางมาด้วย เพื่อสร้างสัมพันธ์ไมตรี และถวายสิ่งของที่ระลึก ทาง ฮ่องเต้ ทรงเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูต ณ พระราชวัง เมืองจูเกียง และพระราชทานสิ่งของตอบแทน ด้วย…”

(แปลโดยนายโรกุโร กุวาตะ)

      ปี พ.ศ.๑๒๘๔ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ทรงมอบให้ ขุนนางขันทีจีน ยุยงให้ พระยาเธอ(พระยาตะกละ) ทำการยึดอำนาจ เพื่อสร้างความแตกแยก ให้กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

      ปี พ.ศ.๑๒๘๔ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ และ นายกศรีสงครามธนัญชัย(พ่อใบทอง) ส่งกองทัพใหญ่ ทำสงคราม ขับไล่ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ให้ออกจาก อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ)

 

ปี พ.ศ.๑๒๘๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เสด็จสวรรคต ด้วยโรคชรา

Visitors: 54,290