รัชกาลที่ ๕๗ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่ ๑) กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๗

มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่๑) 

กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒

 

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเชษฐาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา สละราชสมบัติ จักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง จึงทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง มีพระนามว่า พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ โดยมี พระยารามเมศวร พระราชโอรส เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการ ณ กรุงละโว้ และมี สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ ดำรงตำแหน่ง นายก ว่าราชการ ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นรัชกาลที่ ๕๗ พงศาวดารไทย บันทึกว่า...

...ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒(พ.ศ.๑๘๙๓) ปีขาลโทศก วันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพระพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบาท ได้สังข์ทักษิณาวรรต ใต้ต้นหมันใบหนึ่ง แล้วสร้างพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วพระเจ้าอู่ทอง เสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ จึ่งให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร ขึ้นไปครองราชย์สมบัติ เมืองลพบุรี... 

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๑)

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย เมืองพระยาประเทศราช หมายถึงเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง มีจำนวน ๑๖ เมือง คือ...

...เมืองมะละกา(อาณาจักรมาลัยรัฐ) เมืองชวา(อาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์-ไชยา) เมืองตะนาวศรี(ดูแลชายฝั่งทะเลตะวันตก) เมืองนครศรีธรรมราช(ตาม้ากลิงค์) เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา(สระทิ้งพระ) เมืองจันทบูร เมืองพิษณุโลก(สองแคว) เมืองสุโขทัย(อาณาจักรสุโขทัย) เมืองพิชัย(อุตรดิษถ์) เมืองสวรรคโลก เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพชร และ เมืองนครสวรรค์...   

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๒)

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มอบให้ สมเด็จพระรามเมศวร พระราชโอรส และเป็น มหาอุปราช ปกครองเมืองลพบุรี ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง กลับคืน ใช้เวลาทำสงคราม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๙๓-๑๘๙๕ เป็นเวลาประมาณ ๓ ปี พงศาวดารบันทึกว่า...

...แล้วให้ขึ้นไปเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร ลงมาแต่เมืองลพบุรี ทรงพระกรุณาตรัสว่า ขอมแปรพักตร์ จะให้ออกไปกระทำเสีย พระราเมศวร ได้ฤกษ์ ยกพล ๕,๐๐๐ คน ยกกองทัพไปถึง กรุงกัมพูชาธิบดี เพลา พลบค่ำ พระยาอุปราช ราชบุตรของ พระเจ้ากัมพูชาธิบดี ทูลว่า ทัพซึ่งยกมาเมื่อยล้าอยู่ ยังมิได้พร้อมรบ จะขอออกโจมตีกองทัพ พระเจ้ากัมพูชาธิบดี เห็นด้วย พระยาอุปราช ก็ออกโจมตีทัพข้าศึก ทัพหน้ายังไม่ทันตั้งค่าย ก็แตกฉานมาปะทะทัพหลวง เสียพระศรีสวัสดิ์ แก่ชาวกัมพูชาธิบดี

เมื่อมีข่าวเข้ามาถึง พระนคร มีพระราชโองการให้ขุนตำรวจออกไปอัญเชิญ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ผู้เป็นพระเชษฐา อยู่ ณ เมืองสุพรรณบุรี ครั้นเสด็จมาถึง พระนคร แล้ว พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ให้อัญเชิญท่าน ออกไปช่วยหลานท่าน สมเด็จพระบรมราชาธิราช จึงยกกองทัพเรือออกไป ถึง กรุงกัมพูชาธิบดี ได้รบเอาชนะได้ ให้กวาดข้าว ถ่ายครัว ชาวกรุงกัมพูชาธิบดี เข้าพระนคร เป็นอันมาก...

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๒)

ปี พ.ศ.๑๘๙๔ พระนิรวาณบท(พ.ศ.๑๘๘๙-๑๘๙๔) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) ซึ่งบาดเจ็บ สวรรคต ในสงคราม ณ กรุงพระนครหลวง(นครวัด) เป็นเหตุให้ พระลำพงราชา(พ.ศ.๑๘๙๔-๑๘๙๕) ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ พระนิรวาณบท(พ.ศ.๑๘๘๙-๑๘๙๔) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนครหลวง ในรัชกาลถัดมา ในขณะที่เกิดสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา

ปี พ.ศ.๑๘๙๔ เจ้าฟ้างุ้ม ราชบุตรเขย ของ พระนิรวาณบท(พ.ศ.๑๘๘๙-๑๘๙๔) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองต่างๆ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จำนวน ๓ เมือง เป็นที่มาให้ มหาราชาแจโม แห่ง อาณาจักรไตเวียต กรุงฮานอย ต้องส่งคณะราชทูต ไปเจรจา เรื่อง แนวเขตพรหมแดน กับ อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรคามลังกา ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๔)

ปี พ.ศ.๑๘๙๔ เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี กับ มหาอาณาจักรจีน ยืดเยื้อมาเป็นปีที่ ๔ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้ซุ่นตี้ (ติมุ) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ต้องเปลี่ยนแม่ทัพ ๒ คน แต่ยังไม่สามารถทำสงครามปราบปราม มหาราชาเจ้าเสือข่านฟ้า สำเร็จ ฮ่องเต้ซุ่นตี้(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๙๑๑) ต้องใช้วิธีการเกลี้ยกล่อม มหาราชาเจ้าเสือข่านฟ้า แทนที่ แต่ไม่เป็นผล พงศาวดาร อาณาจักรโกสมพี บันทึกว่า...

...มหาราชาเสือข่านฟ้า ได้รวบรวมทหารทุกหมู่ทุกกอง ไปรับศึก...ทั้งสองฝ่ายรบกัน ๑๐ วัน ๑๐ คืน กองทัพของ แม่ทัพซีต้าหวาง กลัวจนขวัญหนีพ่ายแพ้ ต้องถอยทัพมาทางทิศใต้ ของ เมืองน้ำขอน สุดท้าย กองทัพของ แม่ทัพซีต้าหวาง ก็ไม่ยอมรับการพ่ายแพ้อย่างง่ายดาย เขารวบรวมกำลังมาสู้รบอีก โดยอาศัยแม่น้ำยางเป็นชัยภูมิ เริ่มจากแม่น้ำคง ถึง ดอยป่าแตง ได้สร้างค่ายรบ นับไม่ถ้วน...ผู้อาวุโส เมืองมาว ได้เสี่ยงทายกระดูกไก่ ครั้งที่ ๑ ปรากฏว่า กองทัพของ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน จะพ่ายแพ้ที่เมืองขอน จะต้องถอยทัพกลับ การเสี่ยงทายครั้งที่ ๒ ยิ่งเป็นสิริมงคล กำลังแข็งแรง ของ กองทัพ ฮ่องเต้ แห่ง ราชวงศ์หยวน เสียหายยับเยิน มหาราชาเสือข่านฟ้า มีพระบรมราชโองการให้ ส่งกองทัพเข้าโจมตี กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์หยวน ทุกสาย ประกอบด้วยกองทัพช้างศึก ๕๐๐ เชือก อาศัยความมือ แอบเข้าไปโจมตี ค่าย ของ แม่ทัพซีต้าหวาง บนดอยปางแตง เสียงรบฆ่าฟันกัน สะเทือนถึงฟ้า ทหารของ แม่ทัพซีต้าหวาง วนเวียนไม่รู้ทิศทาง ไม่ทันเตรียมตัวมารับศึก ถูกฆ่า ทัพแตก ทหารตายในสงคราม นับได้ ๕,๐๐๐ กว่าคน ทหารที่กระโดดผา ตกน้ำตาย นับไม่ถ้วน อาวุธ ของ ทหาร แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทหาร ของ มหาราชาเสือข่านฟ้า ยึดได้จำนวนมาก ได้ขนกลับไปเก็บยัง เมืองมาว...

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๙)

ปี พ.ศ.๑๘๙๕ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง และ อาณาจักรกำพูชา(ขอม-เขมร) กลับคืน ใช้เวลาทำสงคราม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๙๓ ประมาณ ๒ ปี ขณะนั้น พระเจ้าลำพงราชา(พ.ศ.๑๘๙๔-๑๘๙๕) ซึ่งเป็นพระราชบุตร ของ พระเจ้านิรวาณบท(พ.ศ.๑๘๘๙-๑๘๙๔) กำลังครองราชย์สมบัติอยู่ ผลของสงคราม พระราชพงศาวดารไทย บันทึกว่า เมืองพระนคร ถูกยึดครองได้สำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๖ แล้วส่งพระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง คือ สมเด็จพระรามเมศวร(พ.ศ.๑๘๙๕-๑๘๙๖) ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรกัมพูชา ส่วน พระลำพงราชา(พ.ศ.๑๘๙๔-๑๘๙๕) สามารถหลบหนีไปยังดินแดนของ อาณาจักรอ้ายลาว พงศาวดารไทย บันทึกว่า...

...มีข่าวมาถึงพระนคร มีพระบรมราชโองการให้ขุนตำรวจ ออกไปอัญเชิญ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า(พระอินทราชา) ผู้เป็นพระเชษฐา อยู่ ณ เมืองสุพรรณบุรี ครั้นเสด็จเข้ามาถึง พระนคร แล้ว พระเจ้าอยู่หัว ตรัสว่า ให้อัญเชิญท่าน ออกไปช่วยหลานท่าน สมเด็จพระเจ้าบรมราชาธิราช จึงยกกองทัพเรือออกไป ถึง กรุงกัมพูชาธิบดี รบเอาชนะได้ ให้กวาดข้าว ถ่ายครัว ชาวกรุงกัมพูชาธิบดี เข้าพระนคร เป็นอันมาก...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๒)

ปี พ.ศ.๑๘๙๕ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) และ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) เป็นผลสำเร็จแล้วส่ง สมเด็จพระรามเมศวร(พ.ศ.๑๘๙๕-๑๘๙๖) พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงพระนครหลวง ส่วน พระลำพงราชา(พ.ศ.๑๘๙๔-๑๘๙๕) สามารถหลบหนีไปยังดินแดนของ อาณาจักรโจฬะ(เขมร)

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

ปี พ.ศ.๑๘๙๕ พระอินทราชา ซึ่งเป็นพระเชษฐา ของ พระเจ้าอู่ทอง ซึ่งเสร็จสงครามจาก อาณาจักรคามลังกา ได้ไปปกครอง เมืองเพชรบุรี ส่วน เมืองสุพรรณบุรี เป็นที่ว่าราชการ ของ จักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พระบรมราชาธิราชที่ ๑)

ปี พ.ศ.๑๘๙๖ พระลำพงราชา(พ.ศ.๑๘๙๔-๑๘๙๕) อดีตมหาราชา แห่ง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม และสามารถหลบหนีไปยังดินแดนของ อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ได้ไปขอความร่วมมือกับ พระเจ้าแสงคาเลียต แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เกาะสุมาตรา และ เจ้าฟ้างุ้ม แห่ง อาณาจักรลาว ให้ช่วยยกกองทัพเข้าทำสงครามกับ ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) พร้อมๆ กับที่ พระลำพงราชา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรกัมพูชา ซึ่งปกครองโดย สมเด็จพระรามเมศวร พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง

ปี พ.ศ.๑๘๙๖ พระเจ้าแสงคาเลียต แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เกาะสุมาตรา ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เพื่อหนุนช่วย ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดน ของ อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) มิให้ถูกยึดครอง แต่ถูกกองทัพ ของ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ พระอนุชา ของ สมเด็จพระรามเมศวร สามารถตีโต้ ทำให้ กองทัพของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ต้องถอยทัพกลับคืน เกาะสุมาตรา เป็นที่มาให้ สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ มีพระนามว่า ตาม้าชนะอาแจ๊ะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๙๖ เป็นต้นมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๘๙๖ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ สมเด็จพระรามเมศวร(พ.ศ.๑๘๙๕-๑๙๘๕) มหาราชาแห่ง อาณาจักรกัมพูชา กรุงพระนครหลวง มารับราชการในตำแหน่ง นายก ณ กรุงศรีอยุธยา โดยมี ขุนหลวงพะงั่ว ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงละโว้ ส่วน ตาม้าชนะอาแจ๊ะ หรือ สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๐๐) ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรกัมพูชา กรุงพระนครหลวง แทนที่ สมเด็จพระรามเมศวร

ปี พ.ศ.๑๘๙๖ เกิดสงครามระหว่าง จักรพรรดิตราฮัวโบแด อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กับ จักรพรรดิแจโม แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงฮานอย ซึ่งสู้สบกันมาอย่างยืดเยื้อ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๘๕ จนกระทั่ง จักรพรรดิแจโม พยายามทำสงครามยึดครอง เมืองเว้ กลับคืน ผลของสงคราม ไม่เป็นผลสำเร็จ จักรพรรดิแจโม แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ต้องทำสงครามกองโจร ยึดครอง เมืองเว้ กลับคืน อย่างยืดเยื้อ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๘๙๖ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา สั่งให้สถาปนาพระวิหาร และ พระมหาธาตุ ใน กรุงศรีอยุธยา ให้เป็นพระอาราม และ พระราชทานชื่อว่า วัดพุทไธสวรรค์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ เพลา ๒ นาฬิกา ๕ บาท ปี พ.ศ.๑๘๙๖

 (กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๒)

ปี พ.ศ.๑๘๙๖ มหาราชา เจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเชียงทอง(ลานช้าง) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา มีพระนามว่า พระยาฟ้าหล้าธรณี และแต่งตั้งให้ พระนางแก้วเก็งยา เป็น อัครมเหสี

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๕)

ปี พ.ศ.๑๘๙๗ มหาราชา เจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) หรือ พระยาฟ้าหล้าธรณี แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเชียงทอง(ลานช้าง) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน ซึ่งมี ท้าวอูลอง เป็นผู้ปกครอง ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ นางแก้วมหาฮี เป็นราชวงศ์เดียวกัน กับ เจ้าฟ้างุ้ม เป็นเหตุให้ มหาราชาเจ้าฟ้างุ้ม แต่งตั้งให้ ท้าวอูลอง เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน ต่อไป

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๖)

ปี พ.ศ.๑๘๙๗ มหาราชาเจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) หรือ พระยาฟ้าหล้าธรณี แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเชียงทอง(ลานช้าง) ทำบัญชีสำรวจชายฉกรรจ์ ที่มีอยู่ในดินแดน อาณาจักรอ้ายลาว ภายใต้การยึดครอง พบว่า เป็นเชื้อสายลาว จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ คน เป็น ชนชาติเย้า และ ชนชาติแกว(ญวน) จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ คน

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๖)

ปี พ.ศ.๑๘๙๘ พระเจ้าสามพระยา หรือ ท้าวผายู(พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ มอบให้ พระยาแสนเมือง นำกองทัพ ๔๐๐,๐๐๐ คน เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน เกิดการชนช้างระหว่าง พระยาแสนเมือง กับ พระยาบากิ่ม ซึ่งเป็น เจ้าเมืองขวา ชนช้างกัน ผลของสงคราม พระยาแสนเมือง ตายบนคอช้าง กองทัพ ของ อาณาจักรอ้ายลาว กรุงลานช้าง จึงส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองแพว เมืองเล็ม เมืองไร่ เมืองยู เมืองยวง เมืองหัวพวง เมืองหัวฝาย จนถึงเมืองเชียงแข็ง เป็นที่มาให้ มหาราชาเจ้าสามพระยา หรือ ท้าวผายู(พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘) แห่ง อาณาจักรลานนา สั่งให้ หมื่นพุกาม ไปยอมอ่อนน้อม ต่อ มหาราชาเจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) โดยดี โดยที่ อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ยอมส่งส่วยข้าว ให้กับ อาณาจักรอ้ายลาว ปีละ ๑,๐๐๐ หาบ

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๖-๔๗)

ปี พ.ศ.๑๘๙๘ พระยาผายู(พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ สวรรคต พระยากือนา(พ.ศ.๑๘๙๘-๒๐๖๘) พระราชโอรส ของ พระยาผายู(พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ พระอนุชา ของ พระยากือนา คือ พระยามหาพรหม ปกครอง เมืองเชียงราย ในสมัยของ พระยากือนา ได้เริ่มนำพระพุทธศาสนา นิกายลังกาวงศ์ จาก กรุงสุโขทัย และ จากกรุงหงสาวดี และ กรุงอังวะ มาใช้กับ อาณาจักรลานนา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๕)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๔๖)

ปี พ.ศ.๑๘๙๘ มหาราชา เจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) หรือ พระยาฟ้าหล้าธรณี แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเชียงทอง(ลานช้าง) ยกกองทัพเข้ายึดครอง เมืองเวียงจันทร์ ของ อาณาจักรโพธิ์หลวง (อพยพมาจาก อาณาจักรโจฬะบก) เป็นผลสำเร็จ

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๘-๔๙)

ปี พ.ศ.๑๘๙๘ มหาราชาเสือข่านฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ส่งคณะราชทูต มี รัชทายาท เป็นผู้ควบคุมคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ซุ่นตี้(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๙๑๑) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...เมื่อปีที่ ๑๕ ศักราช จื้อเจิ้น (พ.ศ.๑๘๙๘) มหาราชาเจ้าเสือข่านฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ได้ส่งรัชทายาท เป็นหัวหน้าขุนนาง ควบคุม คณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ซุ่นตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง พร้อมกับ ถวายเครื่องราชบรรณาการ อันเป็นสิ่งของพื้นเมืองต่างๆ ฮ่องเต้ ทรงมอบตำแหน่ง แสนหวี ผิงเหมี่ยน (เจ้าผู้ครองนครแสนหวี) แด่ มหาราชาเจ้าเสือข่านฟ้า อีกด้วย... 

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๘๙๙ ขุนพล จูหยวนจาง(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๙) นำกองทัพเข้ายึดครอง เมืองนานกิง จาก ฮ่องเต้ซุ่นตี้(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๙๑๑) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) เป็นผลสำเร็จ และใช้เป็นฐานที่มั่น ในการทำสงครามขับไล่ ชาวมองโกล ออกจากดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๒)

ปี พ.ศ.๑๘๙๙ มหาราชาเจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) หรือ พระยาฟ้าหล้าธรณี แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเชียงทอง (ลานช้าง) ยกกองทัพเข้ายึดครอง เมืองแอม หรือ เมืองแก่นท้าว(ขอนแก่น) และ เมืองนครไทย(พิษณุโลก) ของ อาณาจักรสุโขทัย กรุงสุโขทัย เป็นผลสำเร็จ แล้วแต่งตั้ง หมื่นแก เข้าปกครอง เมืองชายแดน ของ อาณาจักรสุโขทัย

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๘-๔๙)

ปี พ.ศ.๑๘๙๙ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มอบให้ กองทัพของ ขุนหลวงพะงั่ว แห่ง อาณาจักรละโว้ พระยากือนา แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ มหาราชาพระยาเสือ แห่ง อาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ พระยาพ่อตาม้าอาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรกัมพูชา กรุงพระนครหลวง ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม พระเจ้าพินยาอู แห่ง อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ ผลของสงคราม สามารถยึดครอง ราชธานี เมืองเมาะตะมะ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ส่วน พระเจ้าพินยาอู สามารถหลบหนี ไปยัง กรุงหงสาวดี(พะโค) เป็นผลสำเร็จ และพยายามก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ในเวลาต่อมา เรื่อยมา  

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๗๘)

ปี พ.ศ.๑๘๙๙ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๐๐) แห่ง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม) กรุงพระนคร ส่งกองทัพไปช่วยทำสงครามยึดครอง อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ และเมื่อยกกองทัพกลับ กรุงพระนครหลวง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ ก็ทราบว่า อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรกัมพูชา กลับคืนเรียบร้อยแล้ว และมีข่าวว่า อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กำลังส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) อยู่ด้วย  

ปี พ.ศ.๑๙๐๐ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ผลของสงคราม มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเสียม สวรรคต ในสงคราม พระยาตาม้าชนะอาแจ๊ะ(พระยาสุรินทรารักษ์) ต้องรีบถอนทัพจาก อาณาจักรรามัญ และส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ กองทัพ ทมิฬอาแจ๊ะ ให้ถอยทัพกลับไปจาก กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๙๐๐ พระเจ้าสุริยวงศ์ราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๐๐-๑๙๑๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระลำพงราชา(พ.ศ.๑๘๙๔-๑๘๙๕) แห่ง อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองพระนคร ของ อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) เป็นผลสำเร็จ เนื่องจาก สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ ได้ส่งกองทัพไปยึดครอง อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ ผลของสงครามครั้งนั้น พระลำพงราชา สวรรคต ในสงคราม ส่วนเชื้อสายพวกราชวงศ์สุพรรณภูมิ จำนวนมาก ถูกสำเร็จโทษ ภายหลังสงคราม พระเจ้าสุริยวงศ์ราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๐๐-๑๙๑๓) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในรัชกาลถัดมา

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๙๐๐ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา รับสั่งให้ฟื้นฟู ราชอาณาจักรเสียม ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ หรือ พระยาตาม้าชนะอาแจ๊ะ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยมี พระพนมวัน(พ.ศ.๑๘๘๕-๑๙๑๒) หรือ พระภู เป็นมหาอุปราช ว่าราชการอยู่ที่ กรุงศรีธรรมราช

ปี พ.ศ.๑๙๐๐ พระเจ้าพินยาอู แห่ง อาณาจักรรามัญ กรุงหงสาวดี(พะโค) พยายามปลุกระดม ชนชาติมอญ ให้เกิดชาตินิยม ชิงชังต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา เพื่อร่วมกันต่อต้าน ชนชาติไทย ในดินแดน ของ อาณาจักรรามัน

ปี พ.ศ.๑๙๐๐ พระเจ้าพินยาอู แห่ง อาณาจักรรามัญ กรุงพะโค(หงสาวดี) ได้ทรงบูรณะ เจดีใหญ่ ของ ชนชาติมอญ คือ เจดีย์ชเวดากอง หรือ เจดีย์พระเกศธาตุ ณ เมืองย่างกุ้ง เพื่อสร้างความหยิ่งในเกียรติภูมิ ของ ชนชาติมอญ อีกครั้งหนึ่ง

 (หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๙๐๑ มหาราชาเจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ประทับอยู่ที่ กรุงเวียงจันทร์ ได้นำกองทัพ กำลังพล จำนวน ๔๘,๐๐๐ คน ช้าง ๕๐๐ เชือก ทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองร้อยเอ็ด ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ไว้ได้ แล้วส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองต่างๆ ในภาคอีสาน เพิ่มขึ้น พร้อมกับมีพระราชสาส์น ถึง พระรามาธิบดี(พระเจ้าอู่ทอง) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ว่า จะทำสงครามกันหรือไม่ หรือจะเอาอย่างไรกัน พระรามาธิบดี(พระเจ้าอู่ทอง) มีพระราชสาส์น ตอบกลับไป พงศาวดาร อาณาจักรอ้ายลาว บันทึกว่า...

...เราหากเป็นพี่น้องกันมาแต่สมัยขุน ปางก่อนโน้น เจ้าอยากได้บ้าน อยากได้เมือง ให้เอาแต่เขตแดนสามเส้า (ดงพระยาไฟ) ไปจนถึง ภูพระยาพ่อ และ แดนเมืองนครไทย(พิษณุโลก) นั้นเถิด อนึ่ง ข้อยจักส่งน้ำอ้อย น้ำตาลทุกปี อนึ่ง ลูกสาวข้า ชื่อ แก้วยอดฟ้า เมื่อเติบใหญ่แล้ว จักส่งไปให้ ปัดเสื่อปูหมอน แก่ เจ้าฟ้าแล พร้อมกันนั้น พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา(พระเจ้าอู่ทอง) จึงส่งคณะราชทูต แต่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย คือ ช้างพลาย ๕๑ เชือก ช้างพัง ๕๐ เชือก ทองคำ สองหมื่น เงิน สองหมื่น นอแรด แสนอัน กับเครื่องบรรณาการอื่น อีกอย่างละร้อย เจ้าฟ้างุ้ม จึงไม่เสด็จไปตี กรุงศรีอยุธยา...

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๕๑)

ปี พ.ศ.๑๙๐๒ พระยาลือไทย หรือ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ แห่ง อาณาจักรสุโขทัย ได้ประดิษฐาน พระศรีรัตนมหาธาตุ และได้ปลูกพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้มาจาก อาณาจักรศรีลังกา จารึกนครชุม(กำแพงเพชร) มีจารึกว่า...

...ศักราช ๑๒๗๙ (พ.ศ.๑๙๐๒) ปีระกา เดือน ๘ ออก ๕ ค่ำ วันศุกร์ หนไทย กัดแล้ว บูรพผลคุณี นักษัตร เมื่อยามอันสถาปนา นั้น เป็น ๖ ค่ำ แล พระยาลือไทยราช ผู้เป็นลูกของ พระยาเลอไทย เป็นหลาน ของ พระยารามราช เมื่อได้เสวยราชย์ ในเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ได้ราชาภิเษก อันฝูงท้าวพระยาทั้งหลาย อันเป็นมิตรสหาย อันมีใน ๔ ทิศ นี้ แต่งกระยาดงวาย ของฝากหมากปลา มาไหว้ อันยัดยัญอภิเษก เป็นท้าว เป็นพระยา จึงขึ้นชื่อ ศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช หากเอา พระศรีรัตนมหาธาตุ อันนี้ มาสถาปนาในเมืองนครชุม นี้ ปีนั้น พระมหาธาตุอันนี้ ใช่ธาตุอันสามานย์ คือพระธาตุแท้จริง แล เอาลูกแต่ลังกาทวีปพู้น มาดายเอาทั้งพืช พระศรีมหาโพธิ์ อันพระพุทธเจ้าเรา เสด็จอยู่ใต้ต้น และผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่ สัพพัญญุตญาณ เป็น พระพุทธ มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุ นี้ หากผู้ใดได้กราบไหว้ กระทำบูชา พระศรีรัตนมหาธาตุ และ พระศรีมหาโพธิ์ นี้ แล้วไซ้ มีผลอานิสงส์ พร่ำเสมอดังได้นบตน พระเป็นเจ้า บ้างแล ความดังนี้ เราบ่มิหากกล่าว คำพระพุทธเจ้า เราหารังบอกไว้เองไซ้ เมื่อพระเป็นเจ้า ได้เป็นพระพุทธ วันนั้น ประชาชนมาร่วมพิธี เราคนนี้ ยังใน ร้อยปี เลย แต่เมื่อนั้นแล มาถึง บัดนี้ว่าไซ้ ชนม์เราคนคลา จาก ๑๐๐ ปี แล บัดนี้ถอยปีหนึ่งไปแล้ว ยังแต่ ๙๙ ปี ผิมีคนถามว่านี้ แต่คลาร้อยปีนั้นแล้ ยังคงแต่ ๙๙ นั้น ได้กี่ปีแล้วสิ้น ให้แก้ว่า ดังนี้

เมื่อปีอัน พระยามหาธรรมราช ได้ก่อพระธาตุ นี้ขึ้น ชนม์คนถอยจาก ๑๐๐ ปีนั้นได้ ๑๓๙ ปี แล อันถอยนั้นว่าไซ้ ในปีเถาะ แต่ปีนั้นมาแล ฝูงเจ้าขุนพราหมณ์เศรษฐี ถอยจากเป็น มลาก เป็นดีเข้าแต่นั้นแล ยังฝูงรู้หลวก โหรทายยาหยูก ก็ถอยแต่นั้นแล...

ปี พ.ศ.๑๙๐๒ พระยาครานเมือง ราชวงศ์ด้ำพงศ์กาว ขึ้นปกครอง แคว้นกาวเทศ(น่าน) ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่ เวียงภูแช่แห้ง

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๐๔ พระยาศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช หรือ พระยางั่วนำถม แห่ง อาณาจักรสุโขทัย กรุงสุโขทัย ได้สร้าง ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ มีข้อความ ดังนี้...

...ภูเขานี้ชื่อ สุมนกูฏบรรพต เรียกชื่อเช่นนี้ เพราะได้ไปพิมพ์เอารอยพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ของ พวกเรา ซึ่งเคยไปเหยียบแผ่นดินเหนือจอมเขาสุมนกูฏบรรพต ในดินแดนของ อาณาจักรศรีลังกา (ลังกาทวีปพู้น) มาทำการประดิษฐานไว้เหนือภูเขา แห่งนี้ เพื่อให้ผู้คนทั้งหลายได้พบเห็นรอยพระบาท ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็น พระเจ้าของพวกเรา รอยพระบาท มีลายได้ ๑๐๘ สีส่อง เพื่อให้ เทพเทวดา และ ท่านทั้งหลาย ทำการเคารพบูชา ให้เป็นศรีแห่ง พระพุทธศาสนา ...(พระยาลือไทย หรือ พระธรรมราชาที่ ๑)... หากว่าเกิดเป็นคนในชาติใหม่ ย่อมได้เสวยราชสมบัติ เป็น จักรพรรดิ อีก

เมื่อปีที่แล้ว(พ.ศ.๑๙๐๓) หากผู้ใด ได้ขึ้นมาเคารพรอยพระบาท ของ พระพุทธเจ้า ณ ภูเขาสุมนกูฏ แห่งนี้ ด้วยจิตใจอันศรัทธา จักได้สืบทอดตลอดไป

ศักราช ๑๒๘๑(พ.ศ.๑๙๐๔) เดือน ๑๑ ได้ ไอศราธาตุ เคียงเจ้า ผู้ได้ทำพิธีราชาภิเษก ทรงพระนามว่า ศรีสุริยพงศ์ธรรมราชาธิราช (พระธรรมราชาที่ ๑) หารัง...หิน...

หนทาง ตั้งแต่เมืองสุโขทัย มาถึงภูเขานี้(ภูเขาสุมนกูฏบรรพต) มีความงามนักหนา แก่ผู้คนสองข้างทาง ได้ตั้งกัลปพฤกษ์ ประดับมวลดอกไม้ ตามใต้ ตามเทียนประทีป จุดธูปหอม มีกลิ่นธูปหอม ฟุ้งกระจายไปทุกแห่ง มีการปักธงปฎาก ทั้งสองข้างทาง มีขันหมาก ขันพลู ทำการบูชา มีพิมลระบำเต้น เล่นทุกฉัน ด้วยเสียงอันดัง สาธุการบูชา อีกทั้ง มีวงดุริยางพาทย์พิณ ตีฆ้อง กลองเสียง ดังกับพื้นดินจักถล่ม เมื่อศักราช ๑๒๘๑ (พ.ศ.๑๙๐๔) ปีกุน เมื่อได้นำพระพุทธบาทจำลอง ขึ้นประดิษฐานไว้ ณ ภูเขาสุมนกูฏ นั้นแล

เมืองศรีสัชชนาลัย เมืองสุโขทัย หา...คุณสังขยา หาตราไว้ไซ้ ๑๒ พระยา และ ๑๒ พระนาง และหารังฉลัก เพื่อทำการสลัก รอยพระพุทธบาทลักษณะ ของ พระพุทธเจ้า ให้ท่านทั้งหลาย ทำการอนุโมทนา ด้วย บ้าง

....พระยาศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช เอาพลไปปราบยัง แม่น้ำเพชรบุรี ได้สิ้น ทิศตะวันออก จดเขต...ยังพระสักรอด สิ้น จึงไปอยู่ยังเมืองสองแคว(พิษณุโลก) ทำการซ่อมแซมพระมหาธาตุ ทำการปลูก ต้นศรีมหาโพธิ์ศรีราชา ....ย่อมใช้หินแลง ล้อม(กำแพงเมือง) .... พนัง ตั้งแต่ เมืองสองแคว มายัง กรุงสุโขทัย มีการส่งเสริมการทำไร่นา ปลูกหมาก ปลูกพลู  ปลูกไพรยา(สมุนไพร) ปลูกหวาย เลี้ยงปลา หากิน เย็นเนื้อ ทุกหนแห่ง

เบื้องทิศเหนือ คือ แม่น้ำน่าน ดินแดนของ เจ้าพระยาผากอง เจ้าเมืองน่าน เมืองพลั่ว(เมืองปัว) เบื้องใต้ของ แม่น้ำน่าน ถึงเขตแดน ของ เจ้าพระยาบาทาส ผู้น้อง

เบื้องทิศตะวันออก ถึง ดินแดนของ พระยาท้าวฟ้างุ้ม ...เจ้าเป็นลูก...

เบื้องทิศใต้ ถึง เมืองนน(นนทบุรี) ย่อมนำคนทั้งหลาย มาทำบุญ สร้างธรรม ไม่ขาดหาย

อยู่ในเมืองสองแคว(พิษณุโลก) ได้เจ็ดข้าว จึงได้นำพลมา มีทั้ง ชาวสระหลวงสองแคว ปากแม่น้ำยม พระบางชากังราว สุพรรณภาว นครพระชุม เบื้องใน เมืองพาน(อ.พาน เชียงราย) เมือง... เมืองราด(โกราช) เมืองสะค้า เมืองลุมบาจาย เป็น บริพาร จึงขึ้นมานบ พระพุทธบาท ลักษณะอันตน หากประดิษฐาน แต่ก่อน เหนือ ภูเขาสุมนกูฏบรรพต นี้ จึงได้ทำจารึกนี้ไว้ เป็นหลักฐาน...  

ปี พ.ศ.๑๙๐๔ พระเจ้าลิไทย แห่ง อาณาจักรสุโขทัย กรุงสุโขทัย ออกผนวช

ปี พ.ศ.๑๙๐๔ ขุนพลแจบองอ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) มีชัยในสงคราม กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองท่าดาลี่ เป็นผลสำเร็จ

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๐๔ มหาราชา เจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) หรือ พระยาฟ้าหล้าธรณี แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเชียงทอง(ลานช้าง) ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองเมือง ของ ข่ากันฮาง สามารถยึดได้ เมืองผา และ เมืองเหลือก

(ศิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๖๐)

ปี พ.ศ.๑๙๐๕ จักรพรรดิตราฮัวโบแด ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิแจบองอ หรือ จักรพรรดิโงตาโงเจ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรจามปา ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๐๖ เกิดอหิวาตกโรค ระบาด ณ กรุงศรีอยุธยา เจ้าแก้ว และ เจ้าไทย ถึงแก่อนิจกรรม มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง โปรดเกล้าให้ ขุดศพ ขึ้นมาเผา และให้สร้างวัดขึ้น ณ สถานที่ปลงศพ เรียกชื่อว่า วัดป่าแก้ว

  (กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๒)

ปี พ.ศ.๑๙๐๗ มหาราชา เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า (พ.ศ.๑๘๕๔-๑๙๐๗) แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง เสด็จสวรรคต มหาราชา เจ้าใจเปี่ยมฟ้า (พ.ศ.๑๙๐๗-๑๙๐๙) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาล ถัดมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๘)

ปี พ.ศ.๑๙๐๗ พระเจ้าทาโดมินพญา(พ.ศ.๑๙๐๗-๑๙๑๑) ราชวงศ์ไทยใหญ่ แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี เมืองสะแคง แล้วส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองปินยา ราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู แล้วประกาศรวมอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปินยา รวมเข้าอยู่ในเครือ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปินยา ปกครองโดย พระเจ้าทาโดมินพญา(พ.ศ.๑๙๐๗-๑๙๑๑) ด้วย

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๗๖)

ปี พ.ศ.๑๙๐๘ ราชวงศ์ต่างๆ ในดินแดน ของ ราชอาณาจักรศรีชาติตาลู แตกออกเป็น ๔ ก๊ก คือ ราชวงศ์ไทยใหญ่ ปกครองเมืองพุกาม ราชวงศ์มิเชน(ทิเบต) ปกครอง เมืองอังวะ ราชวงศ์ผัวหมา(ทมิฬอาแจ๊ะ) ปกครอง เมืองยะไข่ และ ราชวงศ์มอญ ปกครอง เมืองหงสาวดี(พะโค)

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๙๐๘ บันทึกในหนังสือนครกฤตตาคม ของ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๘ ในสมัยของ สุลต่าน ฮายัม วูยุค ชาห์(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) หรือ พระเจ้าราชัชนคร หรือ พระเจ้าพัฒนา ได้กล่าวถึงดินแดนประเทศราช ของ อาณาจักรมัชฌปาหิต มีดังต่อไปนี้...

...ดินแดนประเทศราช ในแหลมมาลายู ประกอบด้วย แคว้นปาหัง แคว้นหุชง แคว้นตานะ(ยะโฮ-ยี่หุน) แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) แคว้นไทรบุรี แคว้นกลันตัน แคว้นตรังกานู แคว้นนคร(นครศรีธรรมราช) แคว้นปะกะ(ใต้ตาคุณ) แคว้นมุวา(ทางทิศใต้ ของ ยะโฮ) แคว้นตาคุณ(ตรังกานู) แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) แคว้นสังหยังหุชุน(แหลมราชาโด) แคว้นเกลัง(ตรัง) แคว้นเกดะ(เมืองเกดะ ไทรบุรี) แคว้นเชเร(เมืองหนึ่งในแคว้นไทรบุรี) แคว้นกันจาบ และ แคว้นนิราน

ส่วนดินแดนประเทศราช บนเกาะสุมาตรา ประกอบด้วย แคว้นจัมบี แคว้นปาเล็มบัง แคว้นการิตัง(ทางใต้ของเมืองอินคีรี) แคว้นเตบา(ต้นแม่น้ำจัมบิ) แคว้นธรรมาศรัย(ต้นน้ำบะตังหริ) แคว้นกัณฑิส(เหนือเมืองธรรมาศรัย) แคว้นกะวาส(ทางตะวันตก ของ กัณฑิส) แคว้นมะนังกะโบ แคว้นสิยัก แคว้นเรกัน(เมืองโรกัน) แคว้นกมปัน แคว้นปาไน แคว้นกัมเป แคว้นหรุ(ใต้เมืองกัมเป) แคว้นมันฑหิกลิงค์ แคว้นตุมิหัง แคว้นปรรลาก แคว้นบะรัต(ฝั่งตะวันตก ของ แหลมหะฉิน) และ แคว้นบารุส...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๗-๘๘)

ปี พ.ศ.๑๙๐๘ พระยากือนา(พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ได้ประกาศเอกราช ไม่ยอมเป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ ฮ่องเต้ซุ่นตี้(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๙๑๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ผ่าน จีนฮ่อ แคว้นยืนนาน อีกต่อไป โดยที่ พระยาฮ่อลุ่มฟ้า มาทวงถามส่วย ต่างๆ ซึ่ง พระยากือนา ไม่ยอมส่งมอบให้ คือ

...ส่วยข้าว ๙,๐๐๐ คาน งาช้าง ๒๐ หาบ ผ้าขาว ๔๐๐ รำ ถ้วยแช่สัก ๑,๐๐๐ ดวง ลาย ๕๐๐ เขียว ๒๐๐ ขาว ๓๐๐ เป็นส่วยแก่ เจ้าลุ่มฟ้า... 

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๘)

ปี พ.ศ.๑๙๐๙ มหาราชา เจ้าใจเปี่ยมฟ้า(พ.ศ.๑๙๐๗-๑๙๐๙) แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง เสด็จสวรรคต มหาราชา เจ้าเสือวากฟ้า (พ.ศ.๑๙๐๙-๑๙๑๐) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาล ถัดมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๘)

ปี พ.ศ.๑๙๑๐ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ซุ่นตี้(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๙๑๑) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๙๑๐ มหาราชา เจ้าเสือวากฟ้า (พ.ศ.๑๙๐๙-๑๙๑๐)แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง เสด็จสวรรคต มหาราชา เจ้าเสือชื่นฟ้า (พ.ศ.๑๙๑๐-๑๙๑๑) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาล ถัดมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๘)

ปี พ.ศ.๑๙๑๑ ขุนพล จูหยวนจาง(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๙) นำกองทัพเข้ายึดครองราชธานี กรุงปักกิ่ง จาก ราชวงศ์หงวน(มองโกล) เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้ติมุ หรือ ฮ่องเต้ซุ่นตี้(พ.ศ.๑๘๗๖-๑๙๑๑) แห่ง ราชวงศ์หงวน(มองโกล) สามารถหลบหนีไปยัง มหาอาณาจักรมองโกล เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ ขุนพล จูหยวนจาง ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็น ฮ่องเต้ มีพระนามว่า ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ปฐมราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง และสามารถทำสงครามขับไล่ ชาวมองโกล ออกจาก กรุงปักกิ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๓)

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๑ จักรพรรดิแจบองอ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ผลของสงคราม กองทัพอาณาจักรไตเวียต พ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ ถ้ำจาม แคว้นกวางนัม

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๑ มหาราชา เจ้าเสือชื่นฟ้า (พ.ศ.๑๙๑๐-๑๙๑๑) แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง เสด็จสวรรคต มหาราชา เจ้าเสือห่มฟ้า (พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๑๔) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาล ถัดมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๘)

ปี พ.ศ.๑๙๑๑ พระยาผากอง ราชวงศ์ด้ำพงศ์กาว แห่ง แคว้นกาวเทศ(น่าน) ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่ เวียงน่าน เกิดใช้คำว่า เมืองน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๑๑ เป็นต้นมา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๙๐)

ปี พ.ศ.๑๙๑๑ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ฟื้นฟูระบบบรรณาการ และการใช้ ตราพระราชลัญจกร ขึ้นมาใช้กับ อาณาจักร ต่างๆ เพื่อสร้างรัฐ ภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๑๑ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปทวงเครื่องราชบรรณาการ จาก พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา เพื่อฟื้นฟูระบบบรรณาการ อีกครั้งหนึ่ง คณะราชทูต แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้เดินทางไปทวงเครื่องราชบรรณาการจาก อาณาจักรมัชฌปาหิ และได้ทำการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ กรุงจากาต้า ว่า...

...เกาะชวา เป็นประเทศใหญ่ มีพลเมืองจำนวนมาก ประชาชนเป็นคนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวโกรธง่าย และดุร้าย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือผู้ดีไพร่ ล้วนต้องพกพาดาบ ติดตัวเสมอ แม้เพียงผิดใจกันเพียงเล็กน้อย พวกเขาจะเข้าต่อสู้ประหัตประหารกันเอง ด้วยเหตุนี้ ทหาร ของ เกาะชวา จึงเป็นทหารที่ดีที่สุด ในบรรดาประเทศป่าเถื่อน ทั้งหลาย

หนังสือที่ใช้ คล้ายกับของ ประเทศโชลี(อินเดีย) พวกเขาไม่ใช้กระดาษ และ ดินสอ แต่ใช้วิธีเขียนหนังสือ ในใบลาน อากาศร้อน เหมือนกับฤดูร้อน ของ มหาอาณาจักรจีน ประชาชนปลูกข้าวปีละ ๒ ครั้ง ประชาชนไม่มีโต๊ะ เก้าอี้ กินอาหารด้วยมือ ไม่มีตะเกียบ และ ช้อนใช้

ประชาชนในเกาะชวา แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นชาวจีน อพยพมาตั้งรกรากอาศัยเป็นครั้งคราว ประชาชนกลุ่มนี้ มีเสื้อผ้าที่สวยงามสวมใส่ มีอาหารที่สะอาดรับประทาน กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มพ่อค้า ซึ่งอพยพมาจากชาติที่เจริญแล้ว พวกนี้ มีความเจริญ ชอบความสะอาดเรียบร้อย และกลุ่มที่สาม เป็นชนพื้นเมือง พวกนี้ ผิวดำ สกปรกมาก ชอบกินงู มด แมลง และ หนอน พวกเขาชอบนอนกับหมา

ชนพื้นเมืองในเกาะชวา มีผิวดำ แขนขาเหมือนกับลิง เดินทางไปไหนมาไหนด้วยเท้าเปล่า นับถือผี เมื่อคนหนึ่งถูกฆ่าตาย คนฆ่าต้องออกไปซ่อนตัวเป็นเวลา ๓ วัน และถือว่าได้พ้นความผิดแล้ว เมื่อพ่อแม่ ของเขาตาย พวกเขาจะนำศพไปทิ้งไว้ในป่า ปล่อยให้หมากิน ถ้าหมากินไม่หมดจด พวกเขาจะเสียใจ ส่วนที่เหลือจะถูกนำขึ้นเผา ส่วนภรรยา และ เมียน้อย ของผู้ตาย มักจะถูกเผาตายตามไปด้วย...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาคที่ ๒ หน้าที่ ๘๒-๘๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๑ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ประชุมสภามนตรี เพื่อเตรียมรับมือกับการขยายอิทธิพล ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีมติแต่งตั้งผู้ปกครอง อาณาจักรหลอหู(ละโว้) คือ ให้ ขุนหลวงพะงั่ว เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรหลอหู ว่าราชการที่ กรุงละโว้ โดยมี เจ้านครอินทร์ เป็น มหาอุปราช ว่าราชการ ณ กรุงสุพรรณบุรี มีมติแต่งตั้งผู้ปกครอง ราชอาณาจักรเสียม คือ พระพนมวัน หรือ พระภู เป็น มหาราชา ว่าราชการ ณ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยมี พระยาศรีราชา เป็น มหาอุปราช ว่าราชการ ณ กรุงศรีธรรมราช และมีมติแต่งตั้งให้ สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ หรือ ตาม้าชนะอาแจ๊ะ เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการ ณ กรุงครหิต(คันธุลี) และมี พระราเมศวร ดำรงตำแหน่ง นายก ว่าราชการ ณ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับ ทั้งขุนหลวงพะงั่ว และ พระราเมศวร เป็นอย่างมาก

ปี พ.ศ.๑๙๑๒ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

 ปี พ.ศ.๑๙๑๒ มหาราชาแจบองอ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อขอความคุ้มครอง จาก มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๒ พระพนมวัง(พ.ศ.๑๘๘๕-๑๙๑๒) หรือ พระภู มหาอุปราช แห่ง ราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีธรรมราช มารับตำแหน่ง มหาราชาพระพนมวัน(พระภู)(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๑๖) แห่ง ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ เจ้าพระยาศรีราชา(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๓๘) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาอุปราช แห่ง ราชอาณาจักรเสียม ว่าราชการอยู่ที่ เมืองนครศรีธรรมราช ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๙๑๒ จักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้เสด็จไปสร้างพระราชวัง ณ เกาะกันไพรี บริเวณภูเขาคันธุลี เมืองครหิต(คันธุลี) และเริ่มสร้าง กองทัพประจำการ ขึ้นใหม่

ปี พ.ศ.๑๙๑๒ พระเจ้าพินยาอู แห่ง อาณาจักรมอญ กรุงเมาะตะมะ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าฟ้ารั่ว (พระเจ้าวาเรรุ) ได้ย้ายราชธานี ของ ราชอาณาจักรมอญ มาอยู่ที่ เมืองพะโค(หงสาวดี) 

(มหาวิทยาลัยศิลปากร ผาสุก อินทราวุธ สุวรรณภูมิ จากหลักฐานโบราณคดี หน้าที่ ๙๐)

ปี พ.ศ.๑๙๑๒ พระยากือนา(พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘) แห่ง ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ได้ขออาราธนา พระสุมนเถระ จาก กรุงสุโขทัย เดินทางไปยัง กรุงหิรัญภุญชัย(ลำพูน) พร้อมทั้งได้ทำการอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ มาด้วย พระสุมนเถระ ได้จำพรรษา ณ วัดพระยืน เมืองหิรัญภุญชัย พร้อมกับได้ทำการบวชใหม่ พระภิกษุเดิม จำนวน ๘,๔๐๐ รูป

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๙๑๒ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) หรือ พระเจ้ารามาธิบดีศรีสุริยปทุมสุริยวงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา เสด็จสวรรคต ครองราชย์สมบัติ ๒๐ ปี จักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ กรุงครหิต(คันธุลี) ต้องขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ แต่ มหาราชา ขุนหลวงพะงั่ว ได้ยกกองทัพมายึดครอง กรุงศรีอยุธยา ไปครอบครอง ทันที   

 

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๒)

Visitors: 54,442