บทที่ ๑ กำเนิดรัฐไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ

                     

                     บทที่ ๑

 รัฐไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ 

 ก่อนพุทธกาล

 

 

 

ความเข้าใจเกี่ยวกับ ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีต

        ดินแดนเอเชียตะวันออกฉียงใต้ ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเขมร ประเทศเวียตนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงค์โป ประเทศอินโดนีเชีย ประเทศบรูไน ประเทศติมอร์ และ ประเทศฟิลิปินส์ ในอดีต ถูกแบ่งออกเป็น ๒ พื้นที่ใหญ่ คือ ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร

      นักภูมิศาสตร์ ชาวกรีก ชื่อ ปอมโปนิอุส เมลา§-๑ ได้เขียนหนังสือภูมิศาสตร์ชื่อ เดอ โคโรกราเฟีย(De Chorographia) เมื่อปี พ.ศ.๕๘๘ ได้กล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิ เรียกชื่อว่า ไครเส(Chryse) กล่าวว่า เป็นดินแดนแห่งทองคำ(The land of gold) และเรียกดินแดนเกษียรสมุทรว่า อาแจ๊ะ(Arjyre) กล่าวว่า เป็นดินแดนแห่ง แร่เงิน(The land of silver) จะเห็นว่า คำว่า ไครเส เป็นคำที่ชาวตะวันตก นำมาเรียกดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วนคำว่า อาแจ๊ะ เป็นคำที่ชาวตะวันตก นำไปเรียกดินแดนเกษียรสมุทร เรื่อยมา

 

                                       

 ภาพที่-๑ แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งช่องแคบโพธิ์นารายณ์ เชื่อมต่อทะเลอันดามัน จาก ปากแม่น้ำกันตัง ผ่านช่องเขาขาด ทิศใต้ของ ทุ่งสง กับ อ่าวไทย บริเวณปากพนัง กับ ทะเลสาบสงขลา ทำให้ดินแดนสุวรรณภูมิ ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ เกาะทอง และ แผ่นดินทอง

 

        ดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยโบราณ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน เนื่องจากมี ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ซึ่งเป็นช่องแคบเชื่อมทะเลอันดามัน กับ อ่าวไทย จากปากแม่น้ำกันตัง มายังทุ่งสง ในปัจจุบัน ไปเชื่อมกับ ทะเลสาบสงขลา และไปเชื่อมกับ แม่น้ำปากพนัง ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ได้แบ่งดินแดนสุวรรณภูมิ ออกจากกันเป็น ๒ พื้นที่ใหญ่ คือ เกาะทอง(Chryse Chora or Khryse Khora) และ แผ่นดินทอง(Chryse Chersonesus or Khryse Khersonese) จดหมายเหตุของ ปลินิ และ ปโตเลมี§-๒ ได้บันทึกเรื่องดินแดน เกาะทอง ไว้ดังนี้

        ...เมื่อแล่นเรือออกจากปากแม่น้ำคงคา โดยแล่นเรือมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ก็จะถึง เมืองแอรดอย(Airrhadoi) ซึ่งมีเมืองท่าชื่อ บาราเการา(Barakoura)(โพธิ์กาละ) แล้วถึงประเทศอาแจ๊ะ(Argyre) ในประเทศนี้ มีเมืองท่าหลายแห่ง เช่น แซมบรา(Sambra) ซาดา(Sada) เบราบอนนา(Berbonna) และ เตมาลา(Temala) ถ้าแล่นเรือเลียบฝั่งทะเล แล้ว จากปากแม่น้ำคงคา ก็จะถึงแหลมๆหนึ่ง แล้วจะถึงดินแดนของชาวป่า เรียกว่า ดินแดนเบซิงงา(ดินแดนชาวป่า-ปากแม่น้ำสาละวิน-แม่น้ำอิราวดี) ในอ่าวซาราแบก(อ่าวพ่อตาม้า) ต่อจากนั้น มีแหลมอีกแหลมหนึ่ง(แหลมโพธิ์นารายณ์) แล้วถึงไครเส เคอร์โสเนส(Chryse Chersonesus)(เกาะทอง) ซึ่งมีเมืองท่าชื่อ ตาโกลา(Takola)(กันตัง-ตรัง)...

ปโตเลมี กล่าวถึง แผ่นดินทองหรือ ไคเส (Chryse or Khryse) ในภาษากรีก ไว้ว่า

...แผ่นดิน ไครเส(Chryse Chora)(แผ่นดินทอง) เป็นประเทศที่มีบ่อทองคำ มีพลเมืองเป็นคนผิวขาว ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของ ประเทศอาแจ๊ะ(เกษียรสมุทร) แผ่นดิน ไครเส(สุวรรณภูมิ) ตั้งอยู่ติดต่อกับดินแดน เบซิงงา(ดินแดนชาวป่า-ปากแม่น้ำสาละวิน-แม่น้ำอิราวดี) ด้วย...เรือที่จะไปถึง ไครเส(สุวรรณภูมิ) มักจะเดินทางไปจาก ไมโสเลีย(Maisolia) ซึ่งอยู่แถบ ภูเขามเหนทรคีรี ที่ปากแม่น้ำบาวา ทางแหลมอินเดีย ด้านตะวันออก...

        กล่าวให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ดินแดนสุวรรณภูมิ ในส่วนของพื้นที่ เกาะทอง หมายถึง ดินแดนตั้งแต่ช่องแคบมะละกา ขึ้นมาทางทิศเหนือ ถึง ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ในปัจจุบัน คือที่ตั้ง ของ ประเทศสิงค์โป ประเทศมาเลเซีย และ ดินแดน ๗ จังหวัดภาคใต้ในปัจจุบัน คือ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล จังหวัดตรัง จังหวัดสงขลา และ จังหวัดพัทลุง แหล่งทองคำขนาดใหญ่ อยู่ที่ จ.ปัตตานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

        ดินแดนสุวรรณภูมิ ในส่วนของพื้นที่ แผ่นดินทอง หมายถึง ดินแดนตั้งแต่ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ขึ้นไปทางทิศเหนือ ไปจนถึงดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน คือที่ตั้งของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดกระบี่ ขึ้นไป รวมไปถึง ประเทศพม่า ประเทศเขมร ประเทศลาว และ ประเทศเวียตนาม ในปัจจุบัน

 

                                     

  ภาพที่-๒ แผนที่ แสดงที่ตั้งดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ส่วนประกอบของดินแดนสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย เกาะทอง และ แผ่นดินทอง

        แหล่งทองคำ ขนาดใหญ่ ในดินแดนแผ่นดินทอง อยู่ที่ เมืองครหิต คือท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมีแหล่งทองคำ กระจัดกระจาย ทั่วไปในดินแดนแผ่นดินทอง เช่น ในท้องที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขัน บริเวณ ภูเขาพนมพา จ.พิจิตร และในดินแดน เมืองพุกาม ของ ประเทศพม่า ในปัจจุบัน เป็นต้น

        ส่วนดินแดนเกษียรสมุทร คือดินแดนหมู่เกาะต่างๆ ทางทิศใต้ และ ทางทิศตะวันออก ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ คือ หมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา หมู่เกาะบาหลี หมู่เกาะบอร์เนียว และ หมู่เกาะฟิลิปินส์ เป็นดินแดนสำคัญ ดินแดนเหล่านี้ ชนชาติไทย และ อินเดีย เรียกชื่อว่า ดินแดนเกษียรสมุทร ส่วน ชาวจีน เรียกชื่อว่า หมู่เกาะทะเลใต้ ส่วนชาวกรีก เรียกชื่อว่า หมู่เกาะอาแจ๊ะ เป็นแหล่งแร่เงิน พบมากในดินแดน เกาะสุมาตรา จำนวนมาก คำว่า อาแจ๊ะ เป็นภาษากรีกโบราณ แปลว่า แร่เงิน

 

รัฐต่างๆ ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยโบราณ

มีตำนานเรื่องราวความเป็นมาของรัฐไทย ซึ่งเชื้อสาย บ้านวังพวกราชวงศ์§-๓ บ้านทุ่งลานช้าง ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ได้เล่าเรื่องราวถ่ายทอดต่อเนื่องกันมาตลอดระยะเวลามากกว่า ๒๐๐ ปี ที่ผ่านมา มีเรื่องราวที่ถ่ายทอดมาจากบันทึกภาษาขอมไทยโบราณ มีเรื่องราวที่น่าสนใจมาก เรื่องราวโดยสังเขป ได้กล่าวถึงความเป็นมาของ รัฐของชนชาติไทย ก่อนสมัย ท้าวอินทปัต ปกครอง กรุงครหิต(คันธุลี) โดยแบ่งออกเป็น ๔ สมัยใหญ่ๆ คือ สมัยพระเจ้าไห , สมัยพระเจ้าเหา , สมัยท้าวโกศล และ สมัยท้าวหารคำงาม

ประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ก่อนสมัยท้าวหารคำงาม เป็นการบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นตำนาน นิทานพื้นบ้าน หรือ คำกลอนกล่อมลูก และการบวงสรวงเซ่นไหว้ เป็นเรื่องราวที่เกิดจากความเชื่อมั่นศรัทธาบรรพชนในอดีต เป็นส่วนใหญ่ จึงยากที่จะตรวจสอบหลักฐาน อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อดังกล่าว คือความศรัทธา ความเชื่อในอิทธิพลของ ดวงวิญญาณ เนื้อหาเรื่องราวต่างๆ บางส่วนคล้ายคลึงกับที่บันทึกไว้ในพงศาวดารไทยอาหม ผู้เรียบเรียงพยายามรวบรวมบันทึกไว้ เพื่อการตรวจสอบหลักฐาน อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ต่อไปในอนาคต เช่นเดียวกับตำนานต่างๆ ของต่างประเทศ ซึ่งในการค้นคว้าภายหลัง พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องจริง

ความเชื่อเกี่ยวกับ เรื่องราวของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ก่อนสมัย ท้าวหารคำงาม นั้น มีการถ่ายทอดกันมา แบ่งออกได้เป็น ๔ สมัย ดังนี้

สมัยแรก คือสมัย พระเจ้าไห เป็นสมัยที่มีอากาศหนาวเย็นจัดมาก กล่าวกันว่า ชนชาติอ้ายไต ดั้งเดิม เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน กับเชื้อสายเจ้าของจีน , ญี่ปุ่น และเกาหลี มีที่ตั้งถิ่นฐานดั้งเดิม อยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน เมื่อมีอากาศหนาวเย็นจัดมาก เกิดการขาดแคลนอาหาร พระราชบิดา คือ พระเจ้าไห จึงรับสั่งให้พระราชโอรส ๖ พระองค์ ทำการการอพยพมาตั้งรัฐใหม่กันอยู่ที่ เมืองลานเจ้า ต่อมา เจ้ายี่ และ เจ้าหก ได้อพยพต่อไป ทางทิศตะวันออก กลายเป็น ประเทศญี่ปุ่น ส่วน เจ้าหก กลายเป็น ชนเผ่าฮกเกี้ยน เป็นสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ที่ได้ไปผสมเผ่าพันธุ์กับ ชนเผ่าแมนจู แตกออกเป็น ๒ สายราชวงศ์ คือ ราชวงศ์แมนสม ตั้งรกรากอยู่ทางทิศตะวันออกฉียงเหนือ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน และ ราชวงศ์แมนสรวง ตั้งรัฐอยู่ในดินแดน เกาะไต้หวัน ในปัจจุบัน

ส่วนเจ้าอ้าย ได้อพยพจาก เมืองลานเจ้า ลงมาทางใต้ ได้มาสร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ที่ เมืองแตกกิ่ง(เฉินตู) เรียกว่า แคว้นเสฉวน และเกิดการตั้งรัฐ อาณาจักรหนานเจ้า ขึ้นปกครองอยู่ในดินแดน แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) คือ ดินแดนภาคกลาง ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน กลุ่มนี้เรียกว่า สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต

ส่วนสายราชวงศ์ เจ้าสาม เจ้าสี่ และ เจ้าห้า ได้ไปสมรสเกี่ยวดองระหว่างสายราชวงศ์ทั้งสาม เรียกว่า สายราชวงศ์จิว สายราชวงศ์นี้ ได้อพยพ เข้าครอบครองดินแดน ทางทิศตะวันออก และ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศจีน ในปัจจุบัน

ต่อมา ชนชาติอ้ายไต ได้ไปผสมเผ่าพันธุ์กับชนพื้นเมืองผิวเหลือง หลายชนเผ่า ต่างภาษา เรียกว่า "พวกแย่" ในดินแดนประเทศจีน ปัจจุบัน จนกระทั่งกำเนิดเป็นแว่นแคว้นหลายแว่นแคว้น รวมกันเป็น อาณาจักร ในระยะแรกๆ ถูกชนชาติเจ็ก เรียกว่า อาณาจักรอ้ายไต ต่อมาถูกเรียกชื่อว่า อาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งประเทศจีน เรียกว่า หนานเย่วก๊ก ส่วนชนชาติจีน คนไทยเรียกว่า อาณาจักรเจ็ก จะตั้งรกรากส่วนใหญ่ อยู่ในดินแดน ภาคเหนือ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน

สมัยที่สอง คือสมัย สมัยพระเจ้าเหา ซึ่งมีการส่ง เจ้าชายตา(ท้าวไชยทัศน์) ซึ่งเป็นพระราชโอรส เดินทางมาสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งได้ก่อกำเนิดรัฐของเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ มีการพบแหล่งทองคำในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งเกิดการตื่นทอง และเกิดการอพยพ ครั้งแรก ของ ชนชาติอ้ายไต จากดินแดน อาณาจักรหนานเย่ก๊ก(หนานเจ้า) เข้ามาสร้างบ้านแปลงเมือง จนกระทั่งได้กำเนิดแว่นแคว้นต่างๆ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง กลายเป็นแว่นแคว้น และกลายเป็น อาณาจักรคำ ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา

สมัยที่สาม คือสมัย สมัยท้าวโกศล หรือ สมัยโลศักราช ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ที่รัฐเจ้าอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ประกาศเอกราช ไม่ยอมขึ้นต่อ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งขณะนั้น ปกครอง โดย มหาราชาท้าวกาน จนกระทั่ง ถึงสมัยพุทธกาล ในสมัยนี้ อาณาจักรคำ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรสุวรรณภูมิ มีการสร้างแคว้นสุวรรณเขต เพื่อแบ่งแยกเขตแดนระหว่าง มหาอาณาจักรหนานเจ้า กับ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่ชัดเจนขึ้น

สมัยที่สี่ คือสมัย สมัยท้าวหารคำงาม จนถึง สมัยท้าวอินทปัต เรียกว่าสมัย มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมืองราชธานี ตั้งอยู่ที่ เมืองสุวรรณภูมิ(ครหิต) คือท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน กษัตริย์พระองค์สุดท้าย ในสมัยของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ คือท้าวอินทปัต ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ตรงกับสมัยที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ทำสงครามรวบรวมประเทศอินเดีย ให้เป็นปึกแผ่น ส่งผลให้ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ อพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร เป็นจำนวนมาก รัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ โดย ท้าวกู และ ท้าวกูเวร ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากรูปแบบ มหาอาณาจักร มาเป็นรูปแบบ สหราชอาณาจักร ด้วยการช่วยเหลือ ของ พระเจ้าสุมิตร ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

ส่วนเรื่องราวของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย หลังสมัยท้าวกูเวร ถึง สมัยสุโขทัย คือ สมัยที่ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน มาจนถึงรัชสมัยที่ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็น มหาจักรพรรดิ พระองค์สุดท้าย และถูก เจ้านครอินทร์ ก่อกบฏ โดยสมคบกับฮ่องเต้หยุงโล้ นำกองทัพเรือจีนมุสลิม ของ นายพลเจิ้งหัว ยกกองทัพเข้าทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ถูกกองทัพมุสลิมจีน จับกุมไปสำเร็จโทษ ณ นครนานกิง§-๔ รัฐของชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเสื่อมถอยลงอย่างมาก ตั้งแต่สมัย เจ้านครอินทร์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงศรีอยุธยา เป็นต้นมา

ในช่วงเวลาดังกล่าว มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพิ่มมากขึ้น จึงสามารถที่จะตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และมีความน่าเชื่อถือ มากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น ๕ สมัยใหญ่ แต่ละสมัยก็สามารถแบ่งออกเป็นหลายช่วงตอน คือ สมัยแรก เรียกว่า สมัยสหราชอาณาจักรเทียน สมัยที่สอง เรียกกันว่า รัฐไทย สมัยสหราชอาณาจักรเทียนสน สมัยที่สาม เรียกกันว่า สมัยสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยที่สี่ เรียกกันว่า สมัยสหราชอาณาจักรเสียม(ศรีโพธิ์) และ สมัยที่ห้า คือ สมัยสหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ทั้ง ๕ สมัย ล้วนเป็นเรื่องราวของรัฐไทย ก่อนสมัยสุโขทัย ทั้งสิ้น

 

กำเนิดรัฐของชนชาติอ้ายไต สมัย พระเจ้าไห

เรื่องราวความเป็นมาของชนชาติไทย สมัยพระเจ้าไห คือ เรื่องราวในตำนานนิทานพื้นบ้าน และคำกลอนกล่อมลูก ในท้องที่ภาคใต้ เรื่อง "ความเป็นมาในการนับเลขหนึ่งถึงสิบ" เรื่อง "เจ้าเก้าพี่น้อง" และเรื่อง "พระเจ้าอ้าย" รวมไปถึงเหตุที่ชนชาติไทยเรียกตนเองว่า "พวกอ้าย" หรือ "พวกเจ้าอ้าย" และเรียกชนชาติจีนว่า "พวกเจ็ค" นั่นเอง

เนื้อหาโดยสรุปกล่าวว่า ในสมัยพระเจ้าไห นั้น เชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์ เจ้าไทย กับเชื้อสายเจ้าของจีน เกาหลี และ ญี่ปุ่น ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นพี่น้องท้องเดียวกันมาก่อน เคยนับเลขเหมือนกัน คือ อ้าย(๑) , ยี่(๒) , ซา(๓) , สี่(๔) , เหงา(๕) , ลัก(๖) , เจ็ค(๗) , โป้ย(๘) , เก้า(๙) และ จั๊ป(๑๐) แต่การนับเลขดังกล่าวได้เกิดความแตกต่างขึ้นมาในภายหลัง เป็นผลให้เกิดรัฐของ ชนชาติอ้ายไต และ ชนชาติเจ็ค และ ชนชาติญี่ปุ่น ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นเหตุการณ์เรื่องราวก่อนสมัยพุทธกาลนานมามากแล้ว โดยไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่มีหลักฐานในภายหลังที่เชื่อกันว่า คือเหตุการณ์ที่ไม่ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ ก่อนพุทธกาล หรือเมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว

เริ่มต้นของเรื่องราวกำเนิดรัฐไทย มีเรื่องราวโดยสังเขปว่า ในสมัยที่ พระเจ้าไห ปกครองดินแดนตอนเหนือ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน นั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะมีอากาศหนาวจัดมาก ไม่สามารถเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ได้ตามปกติ จึงเกิดการขาดแคลนอาหาร  พระเจ้าไห ซึ่งเป็นต้นตระกูลของเจ้าไทย เป็นกษัตริย์ ซึ่งมีพระราชโอรสทั้งหมด ๙ พระองค์ เจ้าอ้ายไต เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ จากพระราชโอรสทั้งหมด ๙ พระองค์ มีพระนามว่า "เจ้าอ้าย" มีพระราชโอรส พระองค์รองลงมา มีพระนามว่า "เจ้ายี่" เรียงลำดับไปเรื่อยจนถึง "เจ้าเจ็ค" , "เจ้าแปด" และ "เจ้าเก้า" ตามลำดับ

ความหนาวเย็นของอากาศครั้งนั้น มีเหตุจำเป็นที่ทำให้พี่น้อง ทั้ง ๙ พระองค์ ต้องแยกจากกัน เพราะผลจากการขาดแคลนอาหาร พระเจ้าไห จึงได้เรียกพระราชโอรสทั้งหมด  มาเข้าเฝ้าพร้อมกัน  มีการมอบ ฆ้องสัมฤทธิ์ ให้เป็นสมบัติของพระราชโอรส ๖ พระองค์  พร้อมกับมีพระราชดำรัสสั่งสอนให้ พระราชโอรสซึ่งเติบโตเป็นหนุ่มแล้ว จำนวน ๖ พระองค์ ให้นำไพร่พล อพยพไปสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ ในท้องที่ทางใต้ และทางทิศตะวันออก ซึ่งอากาศไม่หนาวจัด โดยให้นำไพร่พลอพยพเดินทางลงทางใต้ มี เจ้าอ้าย(อ้ายไต) และ เจ้ายี่(ญี่ปุ่น) เป็นผู้นำพาการอพยพ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น 

ส่วน เจ้าชายเจ็ค(อาณาจักรเจ็ก/จีน) เจ้าชายแปด และ เจ้าชายเก้า(เกาหลี) ยังทรงพระเยาว์อยู่  จึงยังคงพระทับอยู่อาศัยอยู่กับ พระราชบิดา และ พระราชมารดา ต่อมา "เจ้าชายเจ็ค" ได้กลายเป็นกษัตริย์ ผู้สืบทอดราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรเจ็ค ต่อเนื่องจาก พระเจ้าไห พระราชบิดา สายเจ้าชายเจ็ค นี้ต่อมาได้เปลี่ยนการนับเลข ๑(อ้าย) และ ๒(ยี่) เป็น (๑) เจ็ค , (๒)หนอ เป็นที่มาให้ชนชาติอ้ายไต เรียกชนชาติจีนในสมัยโบราณ ว่า ชนชาติเจ็ค ในเวลาต่อๆ มา สืบทอดต่อเนื่อง เรื่อยๆ มา

พี่น้องของ กลุ่มเจ้าอ้าย และ กลุ่มเจ้ายี่ ซึ่งได้อพยพลงมาทางใต้ และทางทิศตะวันออก เกิดขึ้นในยุคสมัยที่เชื้อสาย กลุ่มราชวงศ์ทั้งสองสายราชวงศ์ และไพร่พล รู้จักใช้ไฟเป็นแสงสว่าง และรู้จักใช้ไฟ มาปรุงอาหารให้สุก รู้จักใช้เครื่องนุ่งห่ม ใช้ภาชนะดินเผา และรู้จักการหลอมโลหะสัมริด(โลหะผสมระหว่างทองคำ กับดีบุก) แล้ว

 

                                               

  ภาพที่-๓ แสดงตำแหน่งที่ตั้ง แคว้นหลานโจว(ลานเจ้า) ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะเป็น รัฐลานเจ้า ของ เชื้อเจ้า ๖ พี่น้อง ผู้อพยพหนีภัยหนาว ก่อนการอพยพ ต่อไป ในเวลาต่อมา

 

        การอพยพของเชื้อสาย เจ้าอ้าย(เจ้าอ้ายไต) และเชื้อสาย เจ้ายี่(เจ้าญี่ปุ่น) รวมพี่น้องทั้งหมด ๖ พระองค์ พร้อมไพร่พล ได้มาสร้างบ้านแปลงเมือง สร้างแว่นแคว้น และได้ตั้งรัฐขึ้นครั้งแรก ณ ท้องที่แห่งหนึ่งเรียกชื่อว่า เมืองลานเจ้า หมายถึงเชื้อเจ้าทั้ง ๖ พระองค์ ได้มาตั้งรกรากครั้งแรก พร้อมกับได้ร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาเป็นครั้งแรก เรียกว่า "รัฐลานเจ้า" มี เจ้าอ้าย(อ้ายไต) เป็นกษัตริย์  มี เจ้ายี่(ญี่ปุ่น) เป็นอุปราช ปกครอง รัฐลานเจ้า ก่อนที่จะแยกทางกัน อีกครั้งหนึ่ง ในเวลาต่อมา จนกระทั่งได้ก่อกำเนิดเป็น ๒ สายราชวงศ์ใหญ่ ของ ผู้อพยพ ในเวลาต่อมา

จาก รัฐลานเจ้า เชื้อสาย กลุ่มเจ้าอ้าย(เจ้าอ้ายไต) และ กลุ่มเจ้ายี่(ญี่ปุ่น) ได้เดินทางอพยพต่อไป ส่วนหนึ่ง อพยพไปสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่  ในท้องที่ทางใต้ และอีกส่วนหนึ่ง เดินทางอพยพไปทางทิศตะวันออก ซึ่งติดต่อชายฝั่งทะเล เพราะอากาศไม่หนาวจัด การอพยพของเชื้อสาย กลุ่มพระเจ้าอ้าย ในเวลาต่อมา จึงถูกเรียกว่า ชนชาติอ้ายไต ส่วนการอพยพของเชื้อสาย กลุ่มพระเจ้ายี่ ได้อพยพไพร่พล เดินทางโดยทางเรือ ไปตั้งรกาก ในดินแดนหมู่เกาะของประเทศญี่ปุ่น ในปัจจุบัน คือ ชนชาติญี่ปุ่น ในปัจจุบัน นั่นเอง ข้อมูลเหล่านี้ คือพื้นฐานความเชื่อที่ว่า เชื้อสายกษัตริย์ของไทย จีน เกาหลี และ ญี่ปุ่น ล้วนเคยเป็นพี่น้องท้องเดียวกันมาก่อน

จาก รัฐลานเจ้า เจ้ายี่ และ เจ้าหก ได้เดินทางอพยพต่อไป ทางทิศตะวันออก กลายเป็น ประเทศญี่ปุ่น ส่วน เจ้าหก กลายเป็น ชนเผ่าฮกเกี้ยน เป็นสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ที่ได้ไปผสมเผ่าพันธุ์กับ ชนเผ่าแมนจู แตกออกเป็น ๒ สายราชวงศ์ คือ ราชวงศ์แมนสม ตั้งรกรากอยู่ทางทิศตะวันออกฉียงเหนือ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน และ ราชวงศ์แมนสรวง ได้ไปตั้งรัฐอยู่ในดินแดน เกาะไต้หวัน ในปัจจุบัน กลุ่มนี้เรียกชื่อว่า สายราชวงศ์แมน

ส่วน เจ้าอ้าย ได้อพยพจาก เมืองลานเจ้า ลงมาทางใต้ ได้มาสร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ที่ เมืองแตกกิ่ง(เฉินตู) เรียกว่า แคว้นเสฉวน และเกิดการตั้งรัฐ อาณาจักรหนานเจ้า(หนานก๊ก) ขึ้นปกครองอยู่ในดินแดน รัฐเสฉวน(แคว้นฉู่) คือ ดินแดนภาคกลาง ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน สายราชวงศ์เจ้าอ้าย ได้ขยายดินแดนเข้ายึดครองดินแดนทางทิศตะวันตก เรียกว่า แคว้นสู่ อีกส่วนหนึ่งขยายตัวเข้าครอบครองดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า แคว้นฉาน และขยายตัวไปทางทิศใต้ เรียกว่า แคว้นหนานเจ้า และ แคว้นยูนนาน ในดินแดนของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน กลุ่มนี้เรียกว่า สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต

สายราชวงศ์ เจ้าสาม เจ้าสี่ และ เจ้าห้า ได้สมรสเกี่ยวดองระหว่างสายราชวงศ์ทั้งสาม เรียกว่า สายราชวงศ์จิว หรือ สายราชวงศ์ไตจ้วง สายราชวงศ์นี้ ได้อพยพ เข้าครอบครองดินแดน ทางทิศตะวันออก และ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศจีน ในปัจจุบัน สายราชวงศ์เจ้าสี่ ได้ไปสร้าง แคว้นเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) ส่วน สายราชวงศ์เจ้าสาม ได้อพยพไปสร้างรัฐ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี กวางเจา และ ตาเกี๋ย) ส่วน สายราชวงศ์เจ้าห้า ได้อพยพไพร่พลไปสร้าง แคว้นหูหลำ(เกาะไหหลำ)  

การอพยพลงมาทางใต้ และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นั้น กลุ่มชนชาติอ้ายไต ได้มาพบกับชนพื้นเมือง ผิวเหลือง ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในดินแดนทางใต้ และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศจีน ในปัจจุบัน อยู่ก่อนแล้ว เรียกว่า พวกแย่ หรือ พวกไป่เยว่(ชนป่าเถื่อนร้อยเผ่าพันธุ์) ตามชื่อเรียกของชนชาติจีน ในปัจจุบัน ชนพื้นเมืองผิวเหลือง พวกแย่(ไป่เยว่) มีวัฒนธรรมที่ล้าหลังมากกว่า ขณะเดียวกัน ชนพื้นเมือง พวกแย่(ไป่เยว่) มีอยู่หลายร้อยเผ่า(ชาติพันธุ์) ส่วนใหญ่ปกครองโดย กษัตริย์สตรีท้องที่ใดที่ กลุ่มชนชาติอ้ายไต อพยพลงไปตั้งรกราก และมีชนพื้นเมือง ผิวเหลือง พวกแย่(ไป่เยว่) เป็นจำนวนมาก นั้น การตั้งรกรากในท้องที่ดังกล่าวมักจะไม่สงบสุข เพราะชนชาติอ้ายไต ต้องทำสงครามแย่งชิงพื้นที่ ระหว่างกัน กับ ชนพื้นเมือง ผิวเหลืองพวกแย่(ไป่เย่ว) จึงเป็นที่มาของคำว่า "แย่" ซึ่งเป็นคำไทย ที่มีการใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน มีความหมายถึงความไม่สงบสุข ในการอพยพเข้าไปตั้งรกราก หรือในการดำเนินชีวิต เพราะต้องรบราฆ่าฟัน กับชนพื้นเมือง พวกแย่(ไป่เย่ว) เป็นที่มาของคำอุทานที่ว่า "แย่มาก" หมายถึง ความไม่สงบสุข จะเกิดขึ้นกับชนชาติอ้ายไต อีกครั้ง จากผลของการที่จะต้องทำสงคราม แย่งชิงดินแดน กับ ชนพื้นเมือง พวกแย่(ไป่เย่ว) ซึ่งตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว

    ในระยะแรกๆ ของการสร้างอาณาจักร ของ กลุ่มสายราชวงศ์ พระเจ้าอ้าย ซึ่งผสมเผ่าพันธุ์ กับ "พวกแย่" ทำให้สายราชวงศ์ ชนชาติเจ็ค เรียกชนชาติ กลุ่มเชื้อสายพระเจ้าอ้าย ซึ่งเป็นผู้อพยพว่า ชนชาติไต คำว่า "ไต" แปลตรงตัวในภาษาจีนโบราณ หมายถึง "คุ้ยเขี่ย" หรือ "ค้นหาที่ทำกิน" คำว่า "อ้ายไต" จึงมีความหมายถึง กลุ่มคนที่เป็นเชื้อสาย และไพร่พลของ พระเจ้าอ้าย ที่เดินทางอพยพลงทางทิศใต้ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และ ทางทิศตะวันออก ของ แคว้นลานเจ้า เพื่อแสวงหาที่ทำมาหากินใหม่ๆ

    การอพยพของกลุ่มชนชาติอ้ายไต ส่วนที่ได้ไปตั้งรกรากที่ แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) มี เมืองแตกกิ่ง หรือ เมืองเฉินตู เป็นเมืองราชธานี ต่อมา ของ ชนชาติอ้ายไต การตั้งราชธานีในสมัยนั้น ได้เกิดสงครามกับชนพื้นเมืองผิวเหลือง พวกแย่(ไป่เย่ว) เรื่อยมา ในที่สุด ชนชาติอ้ายไต ก็ได้ชนพื้นเมือง พวกแย่ มาเป็นไพร่พล และได้ผสมเผ่าพันธุ์ หลอมรวมกันเป็นชนชาติเดียวกัน แล้วแตกออกเป็นหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา หลายวัฒนธรรม ของ กลุ่มชนชาติอ้ายไต เป็นที่มาให้เกิดการสร้างบ้านแปลงเมือง และได้สร้างแว่นแคว้น ต่างๆ ขึ้นมา หลายแว่นแคว้น จนกระทั่งได้ขยายตัวเป็น อาณาจักรของกลุ่มชนชาติอ้ายไต ในดินแดนส่วนใหญ่ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน เชื้อสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ได้สมรสระหว่างสายราชวงศ์ แล้วขยายตัว แบ่งแยกออกเป็น หลายราชวงศ์ ชนชาติจีน จึงเรียกชื่อชนชาติอ้ายไต ในชื่อใหม่ว่า ไป่เยว่ แปลว่า ชนป่าเถื่อน หลายร้อยเผ่า

      กลุ่มเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ได้สืบทอดวัฒนธรรมการกิน ข้าวเจ้า เป็นอาหารประจำวัน และได้มาร่วมสร้างบ้านแปลงเมืองพร้อมกับทำสงครามปกครองชนพื้นเมือง พวกแย่ หลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมในการกิน ข้าวเหนียว เป็นอาหารประจำวัน เรื่อยมา จนกระทั่งต่อมา กลุ่มสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ที่สืบเชื้อสายต่อเนื่องกันมา ได้ร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมือง กับ ชนพื้นเมืองพวกแย่ หลายเผ่าพันธุ์ เกิดแว่นแคว้นต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ดินแดนภาคเหนือ ของ ประเทศจีนในปัจจุบัน จรดดินแดนภาคใต้ เช่น แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) , แคว้นสู่ , แคว้นแมนสม(แคว้นฉี) , แคว้นเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) , แคว้นแมนสรวง(เกาะไตหวัน) , แคว้นหูหลาม(เกาะไหหลำ) , แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี กวางเจา ตาเกี๋ย) , แคว้นตาลีฟู(หนองแส) และ แคว้นยืนนาน(ยูนนาน) เป็นต้น

      ต่อมา ได้เกิดการรวมตัวของแว่นแคว้นต่างๆ ของ กลุ่มเชื้อสายราชวงศ์พระเจ้าอ้ายไต หลายราชวงศ์ สร้างรูปแบบการปกครอง ขึ้นมาเอง จนกระทั่ง ได้มีกระบวนการพัฒนา ออกมาเป็น รูปแบบการปกครองแบบ อาณาจักร และได้ก่อกำเนิด อาณาจักร ที่แท้จริง ของ กลุ่มเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ขึ้นมา เรียกว่า อาณาจักรเจ้าอ้ายไต มีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองเฉินตู แห่ง แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) ในยุคสมัยแรกๆ

   ชนชาติเจ็ค ในสมัยโบราณ จึงเรียกอาณาจักรของชนชาติอ้ายไต ว่า "อาณาจักรหนาน(ใต้)เจ้า" ซึ่งมีความหมายถึง อาณาจักรเจ้าทางทิศใต้ ต่อมา ชนชาติอ้ายไต ที่ผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนพื้นเมือง พวกแย่ แล้วแตกออกหลายเผ่าพันธุ์ โดยมี แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นแคว้นนครหลวง ของ อาณาจักรเจ้าอ้ายไต และ ได้เกิดสงครามกับ อาณาจักรเจ็ค(ประเทศจีน) จนกระทั่ง แคว้นลานเจ้า และ แคว้นแมนสม(แคว้นฉี) ถูกยึดครองไปโดย อาณาจักรเจ็ค สายราชวงศ์แมนสม ได้หลบหนีสงคราม ไปทางทะเล มุ่งขึ้นสู่ทิศเหนือ ได้ไปผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนพื้นเมืองพวกแย่ ชนเผ่าจู(ตี)ร์ และได้สร้างแว่นแคว้นใหม่ขึ้นมา เรียกว่า แคว้นแมนจูเจ้า(แมนจูเรีย) เหตุการณ์สงครามครั้งนั้น ชนชาติอ้ายไต แตกออกเป็นสองพวก คือ พวกที่ต้องการรวมตัวกับ อาณาจักรเจ็ค กับ พวกที่ต้องการสร้างรัฐของชนชาติอ้ายไต แยกออกต่างหาก ความขัดแย้งครั้งนั้นทำให้ เกิดสงครามระหว่างกัน เมืองนครหลวง ของ อาณาจักรเจ้าอ้ายไต จึงต้องย้ายลงมาทางทิศใต้ และตั้งเมืองหลวงขึ้นใหม่ อยู่ที่ แคว้นยืนนาน(ยูนนาน) เป็นเวลายาวนานมากที่สุด และชนชาติอ้ายไต เป็นผู้ครอบครอง และ ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน นั่นเอง

     ในสมัยต่อมา ได้เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรเจ้าอ้ายไต กับ ชนพื้นเมืองพวกแย่(ไป่เย่ว) อีกหลายครั้งหลายคราว ทำให้ เมืองราชธานี ของ อาณาจักรเจ้าอ้ายไต ต้องย้ายมาอยู่ที่ แคว้นตาลีฟู(หนองแส) ในสมัย พระเจ้าเหา เป็นที่มาให้ พระเจ้าเหา ได้เปลี่ยนชื่อ แคว้นตาลีฟู เป็น แคว้นหนานเจ้า(หนองแส) และเรียกชื่อ อาณาจักรเจ้าอ้ายไต ในชื่อใหม่ ว่า อาณาจักรหนานเจ้า(หนองแส) ตั้งแต่นั้นมา ส่วน อาณาจักรเจ็ค จะเรียกชื่อ อาณาจักรของชนชาติอ้ายไต ว่า หนานเย่ก๊ก เรื่อยมา

      อย่างไรก็ตาม ต่อมา ชนพื้นเมือง พวกแย่ ถูกชนชาติอ้ายไต เป็นผู้ปกครอง เป็นส่วนใหญ่ แต่ ชนพื้นเมืองพวกแย่ บางชาติพันธุ์ ก็ยังคงทำสงครามแย่งชิงดินแดนกลับคืน เรื่อยมา เมื่อชนพื้นเมืองพวกแย่ พ่ายแพ้สงคราม ก็มาผสมชาติพันธุ์ กับ ชนชาติอ้ายไต อาณาจักรของชนชาติอ้ายไต จึงถูก ชนชาติเจ็ค เรียกชื่อใหม่ในเวลาต่อมา ว่า "หนานเย่ก๊ก"

    จนกระทั่งในสมัยต่อมา พระเจ้าเหา กษัตริย์แห่ง อาณาจักรหนานเจ้า ได้รับสั่งให้ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ออกเดินทางมาสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเป็นที่มา ของการกำเนิดรัฐไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง ของ ชนชาติอ้ายไต ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนสุวรรณภูมิ

 

กำเนิดรัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ สมัย พระเจ้าเหา

ตำนานเจ้ามรรคขุน§-๕ ซึ่งเป็นนิทานพื้นบ้าน และคำลอนกล่อมลูก เรื่อง "เจ้ามรรคขุน" ซึ่งนิยมเล่ากันมากในท้องที่ภาคใต้ ได้เล่าเรื่องราวการกำเนิดรัฐไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งแผ่นดินสุวรรณภูมิ และ เกาะสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเหตุการณ์สมัย "พระเจ้าเหา" คือสมัยที่ศูนย์กลางอำนาจรัฐของ อาณาจักรของชนชาติอ้ายไต ได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ที่ แคว้นหนานเจ้า(หนองแส) ซึ่งตั้งอยู่ทางดินแดนตอนใต้ของประเทศจีน ในปัจจุบัน ใกล้กับ แม่น้ำโขง , แม่น้ำสาละวิน , แม่น้ำแยงซีเกียง และ แม่น้ำแดง ขณะนั้น อาณาจักรของชนชาติอ้ายไต ได้ถูกเรียกชื่อว่า อาณาจักรหนานเจ้า เรียบร้อยแล้ว

ตำนานเจ้ามรรคขุน กล่าวว่า พระเจ้าเหา เป็นกษัตริย์พระองค์แรก ของ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ที่ได้รับสั่งมอบหมายให้พระราชโอรส คือ เจ้าชายตา(ท้าวไชยทัศน์) นำไพร่พล เดินทางมาสำรวจดินแดนทางทิศใต้ คือ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนั้น เจ้าชายตา มีมเหสี พระนามว่า พระนางจิว มีพระราชโอรสมาก่อนแล้ว ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายตาจ้วง ดังนั้น เจ้าชายตา จึงต้องจากลูกเมีย เพื่อออกสำรวจดินแดน ด้วย

การสำรวจดินแดน ของ เจ้าชายตา ครั้งนั้น มีเหตุมาจาก ในสมัย พระเจ้าเหา นั้น ได้เกิดสงครามกับ ชนพื้นเมือง ชาวผิวเหลือง "พวกแย่" และ สงครามกับ อาณาจักรเจ็ค บ่อยครั้ง บ้านเมืองไม่ค่อยสงบสุข พระเจ้าเหา จึงมอบให้ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) นำไพร่พล เดินทางออกไปสำรวจดินแดนทางใต้(ดินแดนสุวรรณภูมิ) โดยเดินทางมาตามเส้นทางแม่น้ำโขง และมาขึ้นบก ณ ท้องที่ เมืองเชียงคาน มุ่งสู่ท้องที่ จ.อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน

ก่อนที่คนไทยจะอพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น กล่าวกันว่า มีชนพื้นเมืองผิวดำ ตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว ชนชาติอ้ายไต จะเรียกชื่อชนพื้นเมืองผิวดำ เหล่านั้นว่า พวกแขกดำ ซึ่งเป็นคนละชาติพันธุ์กับ ชนพื้นเมือง "พวกแย่" ชนพื้นเมืองผิวดำ พวกแขกดำ จะเรียกชื่อตนเองว่า "นาคา" หรือ "นาค" ชนพื้นเมืองเหล่านี้ มีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา และหลายวัฒนธรรม อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ มานานแล้ว ชนพื้นเมืองแขกดำ เป็นชนเผ่าที่มีผิวดำ ผมหยิก ใช้ใบไม้ห่อหุ้มร่างกาย อาศัยอยู่ตามถ้ำ ใกล้แหล่งน้ำ  กินของดิบ ไม่รู้จักใช้ไฟในการหุงหาอาหาร รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มๆ ปกครองโดยกษัตริย์สตรี ชนพื้นเมืองแขกดำจะตั้งรกรากอยู่ในดินแดนทางตอนใต้ มากกว่าที่จะตั้งรกรากอยู่ในภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ ของดินแดนสุวรรณภูมิ ชนพื้นเมืองแขกดำ ยังตั้งรกรากอยู่ตามหมู่เกาะทะเลใต้ ซึ่งเรียกชื่อว่า ดินแดนเกษียรสมุทร ชนพื้นเมืองแขกดำ จึงเป็นเจ้าของดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร มาก่อนที่ชนชาติอ้ายไต จะอพยพเข้ามาครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมาอีกครั้งหนึ่ง

 

ท้าวพรหมทัศน์ ทรงครุฑ มาให้กำเนิดรัฐ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ  

ตามตำนานนิทานพื้นบ้านเรื่อง เจ้ามรรคขุน ได้เล่าเรื่องถึงเหตุการณ์ขณะที่ พระเจ้าเหา รับสั่งให้ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) เดินทางมาสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ในดินแดน เกาะสุวรรณภูมิบริเวณถ้ำคูหา ท้องที่ จ.ยะลา ในปัจจุบัน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ในดินแดนเกาะสุวรรณภูมิ มี "พระนางมะหยุง" เป็นกษัตริย์สตรีของชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่านาคน้ำ ปกครองบ้านเมืองอยู่บริเวณท้องที่ ถ้ำคูหา(ยะลา) อยู่ก่อนแล้ว ต่อมา พระนางมะหยุง ต้องการได้พระภัสดา(สามี) จึงได้ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ ร้องขอแด่เทวดา ให้พระนางได้พบเนื้อคู่

ร้อนถึง พระอินทร์ บนสรวงสวรรค์ จึงมอบให้ พระนารายณ์ ทำการแปลงกาย อวตาล มาเป็น ท้าวพรหมทัศน์ เสด็จโดย ทรงครุฑ(พระยาครุฑ) บินลอยไปยังดินแดน เกาะสุวรรณภูมิ และต่อมา ท้าวพรหมทัศน์ ได้เสีย กับ พระนางมะหยุงถ้ำคูหา(ยะลา) เกิดลูกหลานสืบทอดต่อมา เรียกชื่อว่า สายราชวงศ์นาคน้ำ หรือ ราชวงศ์ขุนหลวง นั่นเอง

เมื่อ พระนางมะหยุง กษัตริย์สตรี ชนพื้นเมืองแขกดำ บนดินแดนเกาะสุวรรณภูมิ ได้เสียกับเทวดา คือ พระนารายณ์ ซึ่งแปลงกายมาเป็น ท้าวพรหมทัศน์ ทรงพญาครุฑ ที่เดินทางเหาะมาจากสรวงสวรรค์ จนกระทั่งในเวลาต่อมา ได้พระราชธิดาที่ทรงสิริโฉม ๓ พระองค์ คือ เจ้าหญิงไม้หยูก , เจ้าหญิงเมาหลอ และ เจ้าหญิงหยุงทอง ตามลำดับ จึงยึดถือกันว่า ท้าวพรหมทัศน์ คือกษัตริย์เพศชาย พระองค์แรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ ผู้ปกครอง เมืองพรหมทัศน์(ยะลา) แห่ง "แคว้นพรหมทัศน์" ซึ่งเป็นรัฐแรก ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนเกาะสุวรรณภูมิ และถือว่า เป็นปฐมกษัตริย์ พระองค์แรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

 

ท้าวไชยทัศน์(เจ้าชายตา) ให้กำเนิดรัฐไทย ณ แผ่นดินสุวรรณภูมิ

      การสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ ของ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) นั้น ได้นำไพร่พลเดินทางสำรวจดินแดน มาถึงท้องที่แห่งหนึ่ง  ณ ท้องที่ เมืองลับแล.อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ก็ได้พบกับ พระนางนาคดิน กษัตริย์สตรี พระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองชนพื้นเมืองแขกดำ ณ ดินแดน เมืองลับแล ดังกล่าว

     เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ได้นำไพร่พลทำสงคราม ชนะ พระนางนาคดิน กษัตริย์สตรีเมืองลับแล และได้ พระนางนาคดิน กษัตริย์สตรี ชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่านาคดิน เป็นพระชายา จนกระทั่ง มีพระราชธิดา หลายพระองค์ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า "เจ้ามรรคขุน"   ซึ่งถือว่าเป็นเชื้อสายเจ้าอ้ายไต กับ ชนพื้นเมืองแขกดำ ซึ่งถือเป็นต้นวงศ์ สายราชวงศ์นาคดิน ของ พระมหากษัตริย์เชื้อสายเจ้าอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกสายหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในดินแดน แผ่นดินสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา

อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) พบความจริงว่า พระนางนาคดิน กษัตริย์สตรี ลอบฆ่า และกินเนื้อพระราชธิดา ของ พระนางเอง เป็นอาหาร เป็นที่มาให้ เจ้าชายตาไม่สามารถยอมรับสภาพดังกล่าวได้ จึงได้นำไพร่พล หลบหนี เดินทางอพยพ มุ่งหน้าเดินทางสำรวจดินแดนลงมาทางใต้ ต่อไป โดยมิได้บอกกล่าว พระนางนาคดิน พระชายา ผู้เป็นกษัตริย์สตรี การหลบหนีครั้งนั้น เจ้าชายตา และ พระนางนาคดิน จึงไม่เคยพบกันอีกเลย  พระนางนาคดิน กลายเป็นแม่หม้าย เมืองดังกล่าวจึงถูกตั้งชื่อว่า เมืองลับแล หมายถึง เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ได้หายลับไป จนแลไม่เห็นอีกต่อไป

 

ท้าวไชยทัศน์(เจ้าชายตา) ให้กำเนิด ท้าวไชยเทศ ณ เมืองถ้ำคูหา(ยะลา)

        เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ได้นำไพร่พล เดินทางสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไป จนกระทั่งได้มาพบทะเลที่ เมืองปากแพรก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ทะเล จึงได้ทราบข้อมูลจากชนพื้นเมืองแขกดำว่า มีทะเลอยู่ทางทิศตะวันตก ด้วย จึงได้เดินทางมุ่งหน้าออกสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ ไปทางทิศตะวันตก โดยได้เดินทางข้ามห้วยข้ามเขา ไปพบดินแดนชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันตก อีกด้วย

       เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ได้นำไพร่พล เดินทางมุ่งหน้าออกสำรวจพื้นที่เลียบชายฝั่งทะเลตะวันตก จนกระทั่งเดินทางไปพบกับ แม่น้ำสาละวิน และเมื่อเดินทางสำรวจดินแดน สองฟากฝั่งแม่น้ำสาละวิน เสร็จแล้ว เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ตั้งใจนำไพร่พล เดินทางกลับ แคว้นหนานเจ้า(หนองแส) แห่ง อาณาจักรหนานเจ้า ตามเส้นทางเดิม ถือเป็นการสำเร็จภารกิจ การเดินทางสำรวจดินแดน สุวรรณภูมิ ตามที่ พระเจ้าเหา มอบหมาย

อย่างไรก็ตาม ได้เกิดเหตุการณ์ที่มิได้คาดคิดมาก่อน เกิดขึ้น ขณะที่ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) พร้อมไพร่พล ล่องเรือแพ เพื่อเดินทางกลับ ได้เกิดลมพายุใหญ่ ฝนตกหนัก กระแสน้ำเชี่ยว ได้พัดพาเอาเรือแพ ของเจ้าชายตา ออกสู่กลางทะเลใหญ่ จนกระทั่ง เรือแพ ได้ถูกพายุใหญ่ พัดพาไปเกยชายฝั่งทะเล ณ สถานที่แห่งหนึ่ง  เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) จึงได้นำไพร่พลเดินเท้าไปพบดินแดนแห่งหนึ่ง ในท้องที่ จ.ยะลา ซึ่งเรียกกันว่า ถ้ำคูหา ก็ได้พบกับ "ท้าวพรหมทัศน์" และ "พระนางมะหยุง" ซึ่งเป็นกษัตริย์ สายราชวงศ์นาคน้ำ ปกครองชนพื้นเมืองแขกดำอีกพระองค์หนึ่ง ณ ถ้ำคูหา แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) อยู่ในขณะนั้น

เมื่อ ท้าวพรหมทัศน์ และ พระนางมะหยุง ต้นราชวงศ์ ของ ราชวงศ์นาคน้ำ ทราบว่า เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) เป็นเชื้อสายเจ้าอ้ายไต แห่ง อาณาจักรหนานเจ้า เดินทางพลัดตก หลงทางมายังดินแดนดังกล่าว ก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ในที่สุด ท้าวพรหมทัศน์ และ พระนางมะหยุง ก็จัดให้ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงไม้หยูก ต่อมาไพร่พลของ เจ้าชายตา ก็ได้สมรสเกี่ยวดองกับชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่านาคนำ เกิดชนชาติอ้ายไต ผสมเผ่าพันธุ์กับชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่านาคน้ำ ขึ้นมาในท้องที่ แคว้นพรหมทัต(ยะลา) ซึ่งยึดถือกันว่า แคว้นพรหมทัต(ยะลา) เป็น แคว้นนครหลวง แห่งแรก ของ อาณาจักรชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่ จ.ยะลา ปัจจุบัน นั่นเอง

ต่อมา เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง กับ พระนางไม้หยูก มีพระนามว่า เจ้าชายชัยเทศ พระราชโอรสพระองค์นี้ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงเมาหลอ ซึ่งเป็นพระเจ้าน้า ของพระองค์ ถือเป็นปฐมกษัตริย์ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์นาคนำ อีกพระองค์หนึ่ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา ได้สร้าง แคว้นชัยเทศ(กลันตัน) เป็นแคว้นถัดมา เพื่อขึ้นมาปกครอง มีพระนามว่า ท้าวชัยเทศ

 

เจ้ามรรคขุน อุ้มไก่ชน ออกติดตาม พระราชบิดา

ส่วนเหตุการณ์ที่เมืองลับแล เมื่อ เจ้ามรรคขุน ได้เติบโตเข้าสู่วัยหนุ่ม พระนางนาคดิน ซึ่งเป็นพระราชมารดาผู้เป็นกษัตริย์สตรี  เห็นว่า เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ผู้เป็นพระภัสดา(สามี) ไม่ยอมเดินทางกลับคืน เมืองลับแล จึงมอบให้ เจ้ามรรคขุน พร้อมไพร่พล ออกเดินทางติดตามหา เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์เอง เจ้ามรรคขุน จึงอุ้ม ไก่ชน ตัวโปรด ออกเดินทาง พร้อมไพร่พล มุ่งหน้าเดินทางลงมาทางทิศใต้ สืบหาพระราชบิดา และท้าชนไก่กับบ้านเมืองต่างๆ ของชนพื้นเมืองแขกดำ เรื่อยมา จนกระทั่ง เจ้ามรรคขุน เดินทางมาถึงดินแดนเกาะสุวรรณภูมิ

 

      

  ภาพที่-๔ เทวรูปเจ้ามรรคขุน อุ้มไก่ชน พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ ท้าวชัยทัศน์ ผู้สร้าง เมืองลับแล พบเทวรูปนี้ ที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ตำนานเจ้ามรรคขุน เล่าเรื่องราวเป็นคำกลอนเรื่อง กำเนิดรัฐไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ และได้บอกเล่า ตำนานเรื่องราวของ ท้าวพรหมทัศน์ , ท้าวไชยทัศน์ ผู้ให้กำเนิดรัฐของชนชาติไทย ขึ้นมาในดินแดน เกาะสุวรรณภูมิ ด้วย

 

         เจ้ามรรคขุน เดินทางมาตามชายฝั่งทะเลตะวันออก(อ่าวไทย) ได้เดินทางมาถึง แคว้นชัยเทศ(กลันตัน) จึงได้พบกับพี่น้องต่างมารดา คือ ท้าวชัยเทศ ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมือง จึงอุ้มไก่ชน มาขอท้าพนัน ชนไก่ กับ ท้าวชัยเทศ ตามประเพณี ของ ชนพื้นเมืองแขกดำ ตำนานเจ้ามรรคขุน เล่าเรื่อง การท้าชุนไก่ ว่า ครั้งที่ ๑ ซึ่งเป็นการท้าชนไก่ เพื่อพนันข้าวห่อ ให้กับไพร่พลของ เจ้ามรรคขุน ครั้งที่ ๒  เป็นการท้าชนไก่ เพื่อพนันนาง เป็นที่มาให้เจ้ามรรคขุน ได้มีมเหสี คือ เจ้าหญิงหยุงทอง ไปเป็นมเหสี

ส่วน การท้าชนไก่ ครั้งที่ ๓ เป็นการท้าชนไก่ เพื่อพนันเมือง เป็นที่มาให้ เจ้ามรรคขุน ได้ เมืองชัยเทศ(กลันตัน) ของท้าวชัยเทศ ไปครอง ทำให้ ท้าวชัยเทศ กับ พระนางเมาหลอ ต้องไปสร้างบ้านแปลงเมือง เพื่อสร้างเมืองหลวง ของ แคว้นชัยเทศ ขึ้นใหม่ ในท้องที่ เมืองนราธิวาส ในปัจจุบัน ส่วน เจ้ามรรคขุน เมื่อได้ครอง เมืองชัยเทศ(กลันตัน) จึงได้พบกับ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ซึ่งเป็น พระราชบิดา ณ เมืองพรหมทัศน์(ยะลา) เจ้ามรรคขุน จึงได้เรียกร้องให้ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) เดินทางกลับ เมืองลับแล เพื่อสร้าง แคว้นลับแล ให้สำเร็จ

ในขณะที่ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) มีพระราชโอรส และ พระราชธิดา กับ พระนางไม้หยูก หลายพระองค์ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ได้รับความรู้จาก ท้าวพรหมทัศน์ ในการปกครอง และสร้างบ้านแปลงเมือง รอบๆ แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) มีการจัดระบบการปกครอง รูปแบบใหม่ ไม่เหมือนกับ อาณาจักรหนานเจ้า จนกระทั่งต่อมา เชื้อสายราชวงศ์ท้าวชัยเทศ และ สายราชวงศ์เจ้ามรรคขุน ได้สมรสเกี่ยวดองกัน จนเติบใหญ่ เรียกว่า สายราชวงศ์นาคน้ำ สามารถปกครองบ้านเมือง ได้ดีแล้ว หลังจากนั้น เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ก็ตัดสินพระทัย เดินทางกลับดินแดน อาณาจักรหนานเจ้า ตามเส้นทางบก ตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก(อ่าวไทย) เมื่อมุ่งหน้า สู่แม่น้ำโขง

ส่วน ท้าวพรหมทัศน์ เมื่อเสร็จพาระกิจ ในการสร้าง รัฐนาคน้ำ สำเร็จแล้ว ก็ ทรงพญาครุฑ บินกลับไปยังสรวงสวรรค์ หายลับไปกับตา สายราชวงศ์แห่งรัฐนาคน้ำ จึงถูกเรียกชื่อ อีกชื่อหนึ่งว่า สายราชวงศ์พญาครุฑ ในเวลาต่อมา ด้วย

 

ท้าวไชยทัศน์(เจ้าชายตา) พบแหล่งทองคำขนาดใหญ่ ณ เมืองครหิต

ในระหว่างที่ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) พร้อม เจ้ามรรคขุน และไพร่พล ได้เดินทางกลับไปยังอาณาจักรหนานเจ้า โดยเดินทางไปตามริมชายฝั่งทะเลตะวันออก พร้อมกับการสำรวจดินแดนไปด้วย นั้น เมื่อเดินทางมาถึงท้องที่ ภูเขาคันธุลี คือท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) ได้พบทองคำ จำนวนมาก ซึ่งชนพื้นเมืองแขกดำ ยังไม่รู้จักใช้ทองคำ มาใช้เป็นประโยชน์ ส่วนชนชาติอ้ายไต รู้จักใช้ทองคำไปสร้างโลหะสัมริด มานานแล้ว เจ้าชายตา จึงนำไพร่พลขุดหาทองคำใน คลองคำ(คลองหิต) นำติดตัว เดินทางเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก เข้าสู่ เมืองลับแล

เมื่อ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) เดินทางมาถึง เมืองลับแล ก็มอบให้ เจ้ามรรคขุน กับ พระนางหยุงทอง ซึ่งถือว่า เป็น สายราชวงศ์นาคดิน พร้อม พระราชโอรส พระราชธิดา และไพร่พล ร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ ทำให้ เมืองลับแล กลายเป็นแว่นแคว้นทางทิศเหนือ แว่นแคว้นแรก ในดินแดน แผ่นดินสุวรรณภูมิ ของเชื้อสายเจ้าอ้ายไต เรียกว่า แคว้นลับแล(อุตรดิตถ์) หลังจากนั้น เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) พร้อมไพร่พล ก็เดินทางกลับตามเส้นทางเดิม โดยเดินทางไปตามเส้นทางแม่น้ำโขง และมุ่งหน้า เดินทางสู่ เมืองหนองแส อาณาจักรหนานเจ้า พบว่า โอรสของ พระองค์ คือ เจ้าตาจ้วง เติบโตเป็นหนุ่มใหญ่ มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าคำผา และ เจ้าเหงียนคำ นับเป็นการเดินทางสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ ของ เจ้าชายตา เสร็จสิ้น ซึ่งสันนิษฐานว่า ใช้เวลาในการเดินทางสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ และเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่กล่าวมา เป็นเวลาทั้งสิ้น ประมาณ ๓๐-๔๐ ปี

เมื่อ เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) พร้อมไพร่พล เดินทางกลับถึง เมืองหนองแส อันเป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรหนานเจ้า และมีทองคำจำนวนมาก ซึ่งได้นำไปถวาย แด่ พระเจ้าเหา พระราชบิดา อีกด้วย จึงเป็นที่มาให้ พระเจ้าเหา ทราบว่า มีดินแดนที่มีแหล่งทองคำอย่างมากมาย และ ยังเป็นดินแดนที่มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่มาให้ พระเจ้าเหา รับสั่งให้ เจ้าชายตา(ท้าวไชยทัศน์) พร้อม เจ้าตาจ้วง พระราชโอรส ทำการอพยพไพร่พล เดินทางมาสร้าง แคว้นคำ(แคว้นคลองหิต) เพื่อทำการขุดหาทองคำ และ เพื่อร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมือง ในดินแดนสุวรรณภูมิ ส่งผลให้เกิดการตื่นทอง ครั้งใหญ่ ในเวลาต่อมา

เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) เป็นกษัตริย์พระองค์แรก ของ ผู้ปกครอง แคว้นคำ(แคว้นคลองหิต) และต้องส่งส่วยทองคำปีละ หนึ่งแสนขัน ให้กับ อาณาจักรหนานเจ้า เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) และ พระนางไม้หยูก จึงเป็น ต้นราชวงศ์นาคฟ้า ของ กษัตริย์ผู้ปกครองดินแดน แคว้นคำ(แคว้นคลองหิต) สืบทอดราชวงศ์ เรื่อยมาจนถึง ท้าวตาจ้วง เรียกว่า แคว้นคำ เป็นรัฐเมืองขึ้น ของ อาณาจักรหนานเจ้า

ต่อมา ท้าวตาจ้วง ได้ไปปกครอง แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง) เมื่อท้าวไชยทัศน์ สวรรคต เจ้าคำผา เป็นผู้ปกครอง แคว้นคำ กรุงครหิต(คันธุลี) ในรัชกาลถัดมา ส่วนสายราชวงศ์เจ้ามรรคขุน หรือ ราชวงศ์นาคดิน กรุงลับแล มี เจ้าขุนเยอ พระราชโอรสของ เจ้ามรรคขุน ปกครอง แคว้นนาคดิน ในรัชกาลต่อมา ส่วนสายราชวงศ์ท้าวชัยเทศ หรือ ราชวงศ์นาคน้ำ มี เจ้าคำฟ้า พระราชโอรส เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติปกครอง แคว้นนาคน้ำ กรุงพรหมทัศน์(ยะลา) ในรัชกาลถัดมา พระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งของ ท้าวตาจ้วง คือ เจ้าเหงียนคำ เป็นผู้สร้าง แคว้นเหงียนก๊ก(เวียตนาม) ขึ้นมาด้วย อาณาจักรคำ ที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงประกอบด้วย แคว้นนาคน้ำ(ยะลา) แคว้นนาคฟ้า(ครหิต) แคว้นนาคดิน(ลับแล) และ แคว้นเหงียนก๊ก(เวียตนาม) เกิดกระบวนการพัฒนา สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เรื่อยมา

 จนกระทั่งประมาณ ๑,๒๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล กษัตริย์ปกครอง แคว้นนาคดิน ได้สืบทอดมาถึง ขุนฟ้าแสงดินขุนเยอ แคว้นนาคดิน ได้ขยายตัวเข้าสู่ดินแดนภาคอีสาน ราชธานี ได้ย้ายจาก เมืองลับแล ไปตั้งใหม่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ใกล้กับเมืองท่าอุเทน ในปัจจุบัน ส่วน แคว้นไตจ้วง ราชวงศ์เหงียนคำ ได้สืบทอดราชวงศ์มาถึง เจ้าภูรา แคว้นไตจ้วง ได้พัฒนาเป็น อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางเจา กวางสี และ ตาเกี๋ย) เป็นประเทศราช ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า

 ส่วน สายราชวงศ์นาคน้ำ ได้สืบทอดสายราชวงศ์มาถึง เจ้าเช็งจาฟ้าฟ้าคำ ได้ปกครองประชาชนในดินแดน แคว้นนาคน้ำ เกาะสุวรรณภูมิ ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ คน ส่วน สายราชวงศ์นาคฟ้า กรุงครหิต(คันธุลี) ได้สืบทอดสายราชวงศ์มาถึง เจ้าเชียงคำผา ซึ่งขณะนั้น ประชาชน ของ ดินแดนแคว้นนาคฟ้า คือ แผ่นดินสุวรรณภูมิ มีมากถึงประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ คน แคว้นนาคฟ้า ได้พัฒนากลายเป็น อาณาจักรนาคฟ้า เป็นประเทศราช ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เช่นเดียวกัน ได้สืบทอดสายราชวงศ์มาถึง สมัย ท้าวโกศล จึงได้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  

 

อาณาจักร ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ สมัย โลศักราช

เชื่อกันว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นเมื่อ ปีโลศักราชที่ ๑§-6 หรือเมื่อ ๑,๑๙๐ ปี ก่อนพุทธศักราช อาณาจักรสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นในสมัย ของ ท้าวโกศล ได้ประกาศเอกราช ณ เมืองทองแสนขัน จ.อุตรดิษถ์ ในปัจจุบัน เพื่อแยกตัวออกจาก มหาอาณาจักรหนานเจ้า ของ ชนชาติอ้ายไต เนื่องจาก ไม่พอใจที่ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ถูกบังคับให้ต้องส่งส่วย ทองคำ ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ ขัน ให้กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ในช่วงเวลาดังกล่าว ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ เมืองครหิต(คันธุลี) จนกระทั่งในสมัยของ ท้าวพญาฆา จึงมีเรื่องราวของ พระกฤษณะ คือ ภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ อาณาจักรสุวรรณภูมิ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง

        มีเรื่องราวโดยสังเขปว่า ในสมัยของ ท้าวโกศล นั้น ตำนานท้องที่คันธุลี ได้เล่าเรื่องราวการลำเลียงทองคำ หนึ่งแสนขัน ใกล้เคียงกับเรื่องราวตำนานท้องที่ของ เมืองลับแล จ.อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน สรุปเนื้อหาได้ว่า ในสมัยที่ "มหาราชาท้าวกาน" หรือ "ท้าวตากาน" เป็นมหาราชาปกครอง มหาอาณาจักรหนานเจ้า ของ ชนชาติอ้ายไต นั้น ขณะนั้น ราชา "ท้าวโกศล" ซึ่งสืบทอดเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์นาคฟ้า มาจาก เจ้าเชียงคำผา ซึ่งสืบทอดต่อเนื่องมาจาก สายราชวงศ์ ท้าวชัยทัศน์ กับ พระนางจิว เป็นผู้ปกครอง อาณาจักรคำ มีศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่ที่ กรุงคำ หรือ กรุงคลองหิต(ครหิต) ตามตำนานกล่าวว่า มีการขุดหาทองคำที่เมืองคลองหิต อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบเป็นส่วยให้กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ในรัชสมัย มหาราชาท้าวกาน เป็นประเพณี สืบทอด ต่อเนื่องกันมา

เนื่องจาก มหาราชาท้าวกาน แห่ง อาณาจักรหนานเจ้า ได้มอบให้ไพร่พลของพระองค์ ที่มาลำเลียงทองคำแสนขัน กวาดต้อนชนพื้นเมืองแขกดำ หลายชนเผ่า จากท้องที่ต่างๆ มาเป็นข้าทาส เพื่อให้ไปเป็นแรงงานลำเลียง ทองคำหนึ่งแสนขัน เป็นที่มาให้ชนพื้นเมืองแขกดำ หลายชนเผ่า ลุกขึ้นต่อสู้ ลอบทำร้ายชนชาติอ้ายไต บ้านเมืองของชนชาติอ้ายไต แห่ง อาณาจักรคำ กรุงคลองหิต(ครหิต) ในดินแดนสุวรรณภูมิ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างสงบสุข มหาราชาท้าวโกศล พยายามปราบปราม แต่ยิ่งปราบปราม ก็ยิ่งเกิดการต่อสู้ขยายตัว ออกไปเรื่อยๆ

การลุกขึ้นต่อสู้ของชนพื้นเมืองแขกดำ หลายเผ่าพันธุ์ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ระหว่าง"มหาราชาท้าวกาน" แห่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า กับ "มหาราชท้าวโกศล" แห่ง อาณาจักรคำ ทำให้อาณาจักรของชนชาติไทย ต้องแบ่งแยกออกเป็น ๒ อาณาจักร และมีมหาราชาปกครอง ๒ พระองค์ มีเมืองนครหลวงอยู่ ๒ เมือง และมีการแบ่งแยกเขตแดนกันปกครอง เป็นที่มาให้เกิดอาณาจักรไทย ที่มีเอกราช เกิดขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างจริงจัง เรียกว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ มีเมืองนครหลวงอยู่ที่ กรุงคลองหิต(ครหิต) ตั้งแต่ สมัย ท้าวโกศล เป็นต้นมา

หลังจากที่ ท้าวโกศล แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้ประกาศเอกราช แยกตัวออกมาปกครองอิสระ จาก มหาอาณาจักรหนานเจ้า แล้ว การสร้างบ้านแปลงเมือง และแว่นแคว้นต่างๆ ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ เมื่อมีชนชาติอ้ายไต อพยพหนีภัยสงคราม มาจาก มหาอาณาจักรหนานเจ้า ก็ยิ่งทำให้แว่นแคว้นต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยมา จนกระทั่ง มาถึงสมัยที่ พระกฤษณะ ได้นำศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ มาเผยแพร่ แว่นแคว้นต่างๆ จึงเกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ราชวงศ์ท้าวโกศล ได้สืบทอดสายราชวงศ์ มาถึงสมัย ท้าวพญาฆา จึงเกิดเรื่องราวของ พระกฤษณะ ภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ ดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

 

จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ

        เรื่องราว ของ จตุคามรามเทพ คือเรื่องราว ๔ ภพชาติ ของ พระราม โดยภพชาติที่ ๔ ของ พระราม คือ ขุนราม คำว่า จตุคามรามเทพ มีเรื่องราวสืบเนื่องมาจาก ขุนราม ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน)(พ.ศ.๑๑๖๘-๑๒๐๑) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ผู้ทำสงครามรักษาใจกลางดินแดนสุวรรณภูมิ คือ อาณาจักรละโว้ มิให้ข้าศึกมอญ ยึดครอง เนื่องจากเหตุการณ์ในขณะนั้น ได้เกิดสงครามถึง ๕ สงคราม ในสมัยที่ ขุนราม มีชีวิตอยู่ คือ สงครามแย่งนางอั่วคำ , สงครามทุ่งไหหิน , สงครามแย่งม้า , สงครามแย่งชิงพระบรมธาตุเจดีย์นครปฐม และ สงครามแย่งช้าง ต่อมาเมื่อ ขุนราม เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๒๐๑ ขุนราม จึงได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า เทพราม หรือ รามเทพ จนกระทั่งต่อมา เมื่อกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ขึ้นมาแทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๔ นั้น รามเทพ จึงได้รับพระราชทานพระนามใหม่อีกครั้งหนึ่ง ว่า จตุคามรามเทพ

        ตำนานเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ มาโด่งดังอีกครั้งหนึ่งในปลายรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เมื่อกองทัพของ พระเจ้าชัยวรมันที่-๗ แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู ได้ทำสงครามรุกราน สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ ต้องนำพระพุทธรูป พระพุทธสิหิงส์ จากกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) หลบหนีไปยังเกาะศรีลังกา

        ผลของสงครามครั้งนั้น พระยาร่วง ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ ต้องอพยพไพร่พลจาก บางยาง(ภูเขาสุวรรณคีรี ไชยา) ไปทำสงครามกอบกู้ดินแดน อาณาจักรละโว้(หลอหู) กลับคืน โดยใช้ อาณาจักรโจรลี้โพธิ์(เจนลี่ฟู) กรุงสุโขทัย เป็นฐานที่มั่น และใช้เป็นเมืองราชธานี แห่งใหม่ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู พร้อมๆ กับเหตุการณ์ที่มีการเชื่อว่า จตุคามรามเทพ ได้มาประสูติในภพชาติที่ ๕ อีกภพชาติหนึ่งเป็น ขุนรามราช(พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) เพื่อมาทำสงครามกู้ชาติ ในขณะที่ จักรพรรดิจันทร์ภาณุ กรุงศรีธรรมราช ได้ทำการอัญเชิญ พระพุทธสิหิงส์ จากเกาะศรีลังกา กลับคืน ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมีการกล่าวถึงเรื่องราวของ จตุคามเทพราม อีกครั้งหนึ่ง

        คำว่า จตุคามรามเทพ หมายถึง ๔ ภพชาติ ของ พระราม ที่ได้ประสูติมาช่วยทำสงครามกู้ชาติ รักษาดินแดนสุวรรณภูมิ มิให้ข้าศึกยึดครอง นั่นเอง เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ จตุคามรามเทพ ๔ ภพชาติ คือ ภพชาติ พระราม ภพชาติ พระกฤษณะ ภพชาติ พระพุทธเจ้า และภพชาติของ ขุนราม

        เรื่องราวภพชาติที่ ๔ ของ พระราม คือเรื่องราวของ เทวรูปพระสิขีปฏิมา เป็นเทวรูปจำลอง เทพราม ซึ่งปรากฏในตำนานเมืองเหนือ และอีกภพชาติหนึ่ง คือ ภพชาติที่ ๕ ของ จตุคามรามเทพ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังนั้นเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ จึงเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาสำคัญ ของ ชนชาติไทย ในการทำสงครามรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ นั่นเอง

        ในสมัยที่ จตุคามรามเทพ ประสูติมาเป็น ขุนราม พระราชโอรสองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) นั้น เชื่อกันว่า อดีตชาติ ของ ขุนราม นั้น เคยประสูติมาแล้ว ๓ ภพชาติ คือ พระราม , พระกฤษณะ และ พระพุทธเจ้า เนื่องจาก ราชวงศ์ของ พระพุทธเจ้า คือ ราชวงศ์โคตะมะ หรือ ราชวงศ์ขอม นั้น ได้สืบทอดสายราชวงศ์ และมีบทบาทสำคัญในการปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ มาก่อน เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ทั้ง ๔ ภพชาติ จึงมีความสำคัญต่อ ชนชาติไทย ไปด้วย

        จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระราม นั้น คือเรื่องราว ของ รามเกียรติ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในดินแดน ประเทศอินเดีย และ ประเทศศรีลังกา ส่วนเรื่องราว ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ นั้น เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน ประเทศอินเดีย ดินแดนเกษียรสมุทร และ ดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

 

                        

 ภาพที่-๕ ภาพพระราม เป็นภาพลายเส้นจากตัวแสดงในหนังตะลุง ที่ใช้แสดงในภาคใต้ คือเรื่องราวภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติ ของ พระราม มักจะใช้แสดงเล่าเรื่องราวของ พระราม ในรูปแบบการแสดงของ หนังตะลุง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ประชาชน นิยมศึกษา นำไปถ่ายทอดเล่าเรื่องราว ทั่วไป ทั้งในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

    

 ภาพที่-๖ ภาพสลักแสดงเรื่องราวของ พระราม ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ภาพนี้ สลักไว้บริเวณหน้าบันชั้นที่สาม ของ มุขด้านทิศใต้ ของ ปราสาทประธาน เพื่อแสดงเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระราม ในภาพ คือเรื่องราวของ พระราม ขณะที่เสด็จกลับ เมืองอโยธยา

 

 

        เรื่องราวเกี่ยวกับ จตุคามรามเทพ ในดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น คือเรื่องราวจากอิทธิพลความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์ ขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็น กายหยาบ และ กายละเอียด หรือ ส่วนที่เป็น วิญญาณ ดังนั้น เมื่อสิ้นชีวิตไป ส่วนที่เป็นกายหยาบ จะกลายเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ จะถูกแปรสภาพสูญสิ้นไป ส่วน กายละเอียด หรือ ส่วนที่เป็น วิญญาณ นั้น จะไม่สูญสิ้นไป ยังคงเวียนว่ายตายเกิด ไปเกิดใหม่ ในภพชาติต่อไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า เมื่อ พระราม สิ้นชีพไปแล้ว ได้ประสูติมาใหม่ในภพชาติใหม่ เป็น พระกฤษณะ อีกครั้งหนึ่ง

        เนื่องจาก มีความเชื่อกันว่า วิญญาณ ของ ผู้มีบุญ นั้น มีหลายภาค เช่น ภาคนักรบ และ ภาคคุณธรรม เป็นต้น ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า เมื่อพระกฤษณะ สิ้นชีวิตไปแล้ว วิญญาณภาคคุณธรรม ได้อวตาลมาประสูติในภพชาติใหม่มาเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ และได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า ในเวลาต่อมา ส่วนวิญญาณภาคนักรบ ของ พระกฤษณะ ได้ประสูติใหม่เป็น ขุนราม พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง คือ รามเทพ ตามที่กล่าวมา

เชื่อกันว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นเมื่อ ปีโลศักราชที่ ๑ หรือเมื่อ ๑,๑๙๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ถึงปี พ.ศ.๓๐๔ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นในรัชสมัย ของ ท้าวโกศล ได้ประกาศเอกราช ณ เมืองทองแสนขัน จ.อุตรดิษถ์ ในปัจจุบัน เพื่อแยกตัวออกจาก มหาอาณาจักรหนานเจ้า ของ ชนชาติอ้ายไต เนื่องจาก ไม่พอใจที่ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ถูกบังคับให้ต้องส่งส่วย ทองคำ ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ ขัน ให้กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ในช่วงเวลาดังกล่าว ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ เมืองครหิต(คันธุลี) มีเรื่องราวของ พระกฤษณะ คือ ภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ ด้วย

เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล ขณะนั้น พญาฆา เป็นมหาราชาปกครองอาณาจักรสุวรรณภูมิ มีราชธานีอยู่ที่ เมืองครหิต(คันธุลี) คือท้องที่ บ้านดอนธูป ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน จึงมีเรื่องราว ของ พระกฤษณะ ส่วนหนึ่ง ได้เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และเพราะความเชื่อดังกล่าวได้ส่งผลต่อการสร้าง อาณาจักรสุวรรณภูมิ และ การนับถือศาสนาพราหมณ์ ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา และยังส่งผลต่อมา ให้รัฐของเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สลักรูปเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระราม , พระกฤษณะ และ พระพุทธเจ้า ไว้ตามปราสาทต่างๆ ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ และเกิดการใช้พุทธศาสนา มาเป็นศาสนาประจำชาติ  ในสมัยต่อๆ มา อีกด้วย

        เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติ พระกฤษณะ คือเรื่องราวของ ตำนาน ถ้ำพระกฤษณะ หรือ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง บริเวณภูเขาแม่นางเอ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน คือเรื่องราวส่วนหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งนับถือพระเจ้า ๓ พระองค์ พระเจ้าองค์ที่หนึ่ง คือ พระพรหม ซึ่งยึดถือว่าเป็นผู้สร้าง พระเจ้าองค์ที่สอง คือ พระศิวะ หรือ พระอิศวร ซึ่งยึดถือว่าเป็นผู้ทำลาย และ พระเจ้าองค์ที่สาม คือ พระวิษณุกรรม หรือ พระนารายณ์(พระกฤษณะ) ซึ่งยึดถือว่าทำหน้าที่รักษาและคุ้มครองโลก ให้เกิดความสงบสุข

        ตามตำนาน ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขานางเอ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า พระนารายณ์ จะอุบัติขึ้นในโลกเมื่อโลกเกิดยุคเข็ญ โดยจะเกิดมาเป็นภพชาติต่างๆ ซึ่งเรียกว่า อวตาล มาเป็นสิ่งมีชีวิต หรือเป็นมนุษย์ เช่นเชื่อว่า ภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ เคยประสูติมาเป็น พระรามจันทร์ เรียกว่า รามาวตาล ซึ่งเป็นเรื่องราวของ รามเกียรติ เป็นภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ และต่อมา จตุคามรามเทพ ได้ประสูติมาอีกภพชาติหนึ่งเป็น พระกฤษณะ เรียกว่า กฤษณาวตาล เพื่อทำการปราบยุคเข็ญ อีกภพชาติหนึ่ง

        เนื่องจาก อาณาจักรสุวรรณภูมิ ในสมัยที่ จตุคามรามเทพ อวตาล มาเป็น พระกฤษณะ นั้น อาณาจักรสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย แคว้นนาคน้ำ(เกาะทอง) , แคว้นนาคฟ้า(ภาคใต้ตอนบน ภาคกลาง และ ภาคเหนือ) , แคว้นนาคดิน(ภาคอีสาน และ เขมร) และ แคว้นเหงียนก๊ก(เวียตนาม) เหตุการณ์ครั้งนั้น มีเมือง ๓ เมือง ของ แคว้นนาคฟ้า คือ เมืองสุธรรม(สิชล-นครศรีธรรมราช) , เมืองมิถิลา(ไชยา) และ เมืองครหิต(คันธุลี) ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พระกฤษณะ และไปเกี่ยวข้องกับ ดินแดนเกษียรสมุทร และ อินเดีย ด้วย

เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ คือเรื่องราวในวรรณกรรมพุทธศาสนา เรื่อง มหาชนกชาดก กล่าวโดยสรุปว่า มหาชนกกุมาร(พระกฤษณะ) เป็นพระราชโอรส ของ เจ้าชายวสุ(สังข์พราหมณ์) กับ พระนางเทวกี เนื่องจาก พระกฤษณะ มีพระเชษฐา ชื่อ เจ้าชายพลราม ขณะนั้น พระราชบิดา ของ เจ้าชายวสุ(สังข์พราหมณ์) ปกครองเมืองอยู่ในอินเดีย§-7

ก่อนที่ เจ้าชายกฤษณะ และ เจ้าชายพลราม จะประสูติมานั้น เจ้าชายวสุ เป็นพระราชโอรส องค์ใหญ่ มี เจ้าชายกงส์ เป็นพระราชโอรส องค์รอง ต้องการแย่งชิงราชย์สมบัติ จาก เจ้าชายวสุ ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าจากพระราชบิดา ให้เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ปกครองแคว้นหนึ่ง ในอินเดีย ขณะนั้น เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ ยังไม่ประสูติ

ต่อมา เมื่อพระราชบิดา ของ พญาวสุ เสด็จสวรรคต ทาง พญากงส์ ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พญาวสุ ได้แย่งชิงราชย์สมบัติ เป็นเหตุให้ พญาวสุ และ พระนางเทวกี ต้องนำไพร่พลหลบหนีภัย มาอาศัยอยู่ที่ ดินแดนเกษียรสมุทร ณ เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ซึ่งเป็นที่ตั้งรกราก ของ ชนพื้นเมืองชาวป่าเขา ที่มีแต่ความโหดร้าย และยังถูก พญากงส์ ส่งกองทัพสืบค้นติดตามไล่ฆ่า อย่างต่อเนื่องอีกด้วย เป็นที่มาให้ พญาวสุ และ พระนางเทวกี ต้องนำไพร่พล อพยพมาตั้งรกราก ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) หรือ เมืองแมนที่ลา หรือ เมืองมถุรา อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ขณะนั้น เมืองมิถิลา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ ราชธานี เมืองครหิต(คันธุลี) ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ห่างกันประมาณ ๓๐ กิโลเมตร พญาวสุ ได้นำไพร่พลเดินทางมาแสวงหาทองคำ ณ เมืองครหิต(คันธุลี) เพื่อใช้เป็นทุนรอน ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ณ ดินแดนเกษียรสมุทร เป็นประจำ

ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ เมืองมิถิลา(ไชยา) พญาวสุ และ พระนางเทวกี ได้มาสร้างที่พักอาศัยอยู่บริเวณ ภูเขาพุทธทอง เชิงภูเขาแม่นางเอ ของท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ต่อมา พระนางเทวกี ได้ประสูติ เจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ ในวัยเยาว์ คนเลี้ยงโค ได้เลี้ยงดู เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ อย่างหลบๆ ซ่อนๆ อยู่บริเวณเชิงภูเขาแม่นางเอ เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดตามไล่ฆ่า ของ พญากงส์ ส่วน พญาวสุ ได้แยกไปสร้างบ้านแปลงเมือง ณ เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร ปล่อยให้ พระนางเทวกี เลี้ยงดูพระราชโอรส ๒ พระองค์ อยู่กับคนเลี้ยงโค

 

 

ภาพที่-7 ภูเขานางเอ ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีถ้ำพระกฤษณะ และ เจดีย์พระกฤษณะ ตั้งอยู่ที่ภูเขาแห่งนี้ด้วย และบริเวณบ่อ ๗ แห่ง มีเรื่องราวตำนานต่างๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องราวพระราชประวัติ ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ ที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับ อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ด้วย

 

ในขณะที่ พระกฤษณะ ทรงพระเยาว์ ประทับอยู่ที่ เมืองมิถิลา(ไชยา) คือท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นั้น พระองค์เป็นเด็กซุกซุน น่าเอ็นดู โปรดการยั่วแหย่ และการเล่นสนุกสนาน ในช่วงเวลาเดียวกัน พระกฤษณะ ได้แสดงพละกำลังอำนาจ ให้ปรากฏพบเห็นตั้งแต่วันเด็ก อยู่เนืองๆ ขณะนั้น พญาฆิน เป็นราชา ผู้ปกครอง เมืองมิถิลา(ไชยา) 

เมื่อเจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ เติบโตเข้าสู่วัยหนุ่ม จึงเสด็จกลับไปยัง เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร เพื่อร่วมสร้างบ้านแปลงเมือง ต่อมา พญาวสุ มีความประสงค์จะแสวงหาโภคทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนรอนในการกอบกู้ราชย์สมบัติ กลับคืนมาจาก พญากงส์ เป็นเหตุให้ เจ้าชายกฤษณะ ขออาสาร่วมเดินทางไปกับคณะพ่อค้า เพื่อเดินทางไปเสี่ยงโชคยัง เมืองครหิต(คันธุลี) ดินแดนสุวรรณภูมิ

เจ้าชายกฤษณะ นำเรือแล่นออกจาก เมืองท่า เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร พร้อมไพร่พล ระหว่างเดินทาง เรือถูกพายุพัดอับปางลง กลางทะเลใหญ่ เจ้าชายกฤษณะ  ต้องว่ายน้ำด้วยความเพียรพยายาม มานอนสลบอยู่ ณ ชายหาดแห่งหนึ่ง ของดินแดน แคว้นสุธรรม(สิชล) บริเวณ เมืองโมกข์คลาน§-8 ณ สถานที่ก่อสร้าง พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน

ในช่วงเวลาเดียวกัน เจ้าหญิงเมฆขลา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงเชื้อสายเจ้าอ้ายไต แห่ง แคว้นสุธรรม(สิชล) ซึ่งเสด็จมายัง เมืองโมกข์คลาน คือบริเวณ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน ได้เสด็จผ่านมาพบ เจ้าชายกฤษณะ โดยบังเอิญ และได้ช่วยชีวิตไว้

ความสัมพันธ์ ดังกล่าว ทำให้ เจ้าชายกฤษณะ กับ เจ้าหญิงเมฆขลา เกิดมีความรัก ระหว่างกัน และได้เสียกันในที่สุด จนกระทั่ง เจ้าหญิงเมฆขลา ทรงมีพระครรภ์ และเกรงว่า พญากุวัลย์ปิยะ พระราชบิดา ของ พระนาง จะทรงทราบ และทรงพระพิโรธ เป็นเหตุให้ เจ้าหญิงเมฆขลา ได้ไปกราบทูลลา สมเด็จย่า ให้ทรงทราบ จึงได้แนะนำให้ พระนางเมขลา หลบหนี จึงเป็นที่มาให้ เจ้าชายกฤษณะ ต้องนำ เจ้าหญิงเมฆขลา หลบหนี เดินทางมุ่งหน้ามายัง เมืองมิถิลา(ไชยา) ซึ่งเคยใช้ชีวิตในวัยเยาว์ เพื่อเดินทางไปแสวงหาทองคำ ณ เมืองครหิต(คันธุลี) ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ตามเจตนารมณ์

เมื่อ พญากุวัลย์ปิยะ กษัตริย์ แคว้นสุธรรม(สิชล) ทรงทราบข่าว จึงแจ้งข่าวให้ พญากงส์ ซึ่งเป็นมิตรสหายรับทราบ เพื่อร่วมกันส่งกองทัพออกติดตามไล่ฆ่า เจ้าชายกฤษณะ ส่วนสมเด็จย่า เมื่อทราบข่าว จึงเสด็จติดตามมาด้วย เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือพระเจ้าหลานเธอ เป็นที่มาให้เกิดตำนานท้องที่ คำว่า ท่าทอง และ ท่าข้าม ในระหว่างการเดินทางหลบหนีของ เจ้าชายกฤษณะ และ เจ้าหญิงเมฆขลา เป็นตำนานเรื่องเล่า สืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน

 

ภาพที่-8 ภาพสลัก ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง บนหน้าบันชั้นที่ 2 ทางด้านทิศเหนือของมณฑป แสดงเรื่องราวการต่อสู้ ของ พระกฤษณะ กับ นาคกาลียะ ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) เพื่ออธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของ รัฐไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในอดีต

 

เรื่องราวความเป็นมาของชื่อ ภูเขาแม่นางเอ และ สระแม่นางเอ คือเรื่องราวการต่อสู้ของ พระกฤษณะ กับ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ ณ สระแม่นางเอ ก่อนที่ พระนางเมฆขลา จะประสูติพระราชโอรส มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ เจ้าชายกฤษณะ พร้อมด้วย เจ้าหญิงเมฆขลา เดินทางรอนแรม ๙ เดือน มาถึงเมืองมิถิลา(ไชยา) ณ สระแม่นางเอ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ สวนโมกข์ผลาราม ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เจ้าหญิงเมฆขลา ได้เกิดอาการเจ็บพระครรภ์ อย่างรุนแรง แต่ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ ได้มาขัดขวางมิให้พระนางเมขลา ประสูติพระราชโอรส ข้างสระน้ำ ดังกล่าว พระกฤษณะ จึงต้องต่อสู้กับ นาคกาลียะ ในขณะที่ พระนางเมขลา ต้องประสูติ พระราชโอรส เอ-อ้าน(เรี่ยราด) อยู่บริเวณริมสระน้ำแม่นางเอ ณ เชิงภูเขาแม่นางเอ ดังกล่าว เป็นที่มาให้ เจ้าหญิงเมฆขลา จึงถูกเรียกพระนามใหม่ ว่า แม่นางเอ และ เป็นที่มาให้ ภูเขาดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า ภูเขาแม่นางเอ สืบทอดเรื่อยมา จนถึงปัจจุบันส่วนสระน้ำ ซึ่งเป็นที่ประสูติพระราชโอรส ของ แม่นางเอ ถูกเรียกชื่อว่า สระแม่นางเอ โดยถูกเรียกสืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน เช่นกัน

 

ภาพที่-9 ถ้ำพระกฤษณะ หรือ ถ้ำบ่อเจ็ดแห่ง บริเวณภูเขาแม่นางเอ ในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ถ้ำแห่งนี้ เป็นตำหนักของ พระกฤษณะ ภาพนี้ ถ่ายบริเวณปากถ้ำ จะเห็นเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งประชาชนยังคงนิยมเดินทางไปบวงสรวงเซ่นไหว้ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ เป็นประจำ สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน ภายในถ้ำ สูงประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๘ เมตร จะมีเทวรูปจำลอง พระกฤษณะ และ พระนางเมฆขลา ตั้งอยู่ภายในถ้ำ ด้วย

 

ต่อมา พระกฤษณะ และ พระนางเมขลา หรือ แม่นางเอ ได้ไปพักพิงอยู่ที่บริเวณ ถ้ำแม่นางเอ เพื่อสร้างพระตำหนัก หลบภัย การติดตามของ พญากงส์ และ พญากุวัลย์ปิยะ ราชาแห่งแคว้นสุธรรม ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ พระนางเมขลา หรือ แม่นางเอ ขณะนั้น นางเอ ได้ทรงเลี้ยงดูพระราชโอรสที่เพิ่งประสูติ โดยที่ พระกฤษณะ ได้นำไพร่พล ต่อเรือสำเภาลำใหม่ เพื่อทดแทนเรือที่แตกไป แต่ พญากงส์ ซึ่งเป็นพระเจ้าอา ผู้แย่งชิงราชย์สมบัติ ทราบข่าว จึงส่งกองทัพมาร่วมทำสงครามปราบปราบ พระกฤษณะ ด้วย

หลังจากที่ พระกฤษณะ ต่อสู้กับ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ เรียบร้อยแล้ว กองทัพของ พญากุวัลย์ปิยะ ได้ส่งกองทัพมาถึง เมืองมิถิลา(ไชยา) พร้อมกับได้ส่งช้างกุวัลย์ปิยะ และ ปล่อยราชสีห์ ให้เข้าไปทำร้าย พระกฤษณะ ณ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ เป็นเหตุให้ พระกฤษณะ ต้องต่อสู้กับ ช้างกุวัลย์ปิยะ และ ราชสีห์ จนได้รับชัยชนะ สามารถฆ่าช้างกุวัลย์ปิยะ และ ราชสีห์ ณ ตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ เป็นผลสำเร็จ

 

ภาพที่-10 ภาพสลักแสดงเรื่องราว พระกฤษณะ ต่อสู้กับ ช้างกุวัลย์ปิยะ และ ราชสีห์ ณ หน้าพระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ แสดงอยู่ที่ทับหลังด้านทิศเหนือ ของ อันตราละ ปราสาทประธาน ของ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

 

ต่อมา กองทัพของ พญากงส์ มิตรสหายของ พญากุวัลย์ปิยะ ได้ส่งกองทัพเรือจากอินเดีย มาถึง เมืองมิถิลา(ไชยา) เพื่อช่วย พญากุวัลย์ปิยะ ทำสงครามปราบปราม พระกฤษณะ ให้สิ้นพระชนม์ เนื่องจาก พญากงส์ เกรงว่า พระกฤษณะ จะต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม พญากงส์ เพื่อแย่งราชสมบัติกลับคืนให้กับ พญาวสุ ในอนาคต พญากงส์ จึงปล่อยราชสีห์ อีกตัวหนึ่งให้ไปทำร้าย พระกฤษณะ ณ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พระกฤษณะ ก็สามารถฆ่าราชสีห์ ของ พญากงส์ เป็นผลสำเร็จ ปราสาทต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมักจะมีภาพสลัก พระกฤษณะ ต่อสู้กับราชสีห์ ของ พญากงส์ เพื่ออธิบายความเป็นมาของ ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ อยู่ด้วยเสมอ

ภาพที่-11 ภาพสลัก ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราวการต่อสู้ระหว่าง พระกฤษณะ กับ ราชสีห์ ของ พญากงส์ ณ ภูเขาแม่นางเอ เมืองมิถิลา(ไชยา) ปรากฏอยู่ที่หน้าบันชั้นลด ทิศตะวันตก ด้านทิศเหนือ ของ มณฑป ของ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในปัจจุบัน

 

 

 

 

       

        ภายหลังการต่อสู้ ของ พระกฤษณะ กับ ราชสีห์ ของ พญากงส์ ครั้งนั้น สมเด็จย่า ของ พระนางเมฆขลา ได้พยายามเกลี้ยกล่อม พญากุวัลย์ปิยะ ให้ถอนทัพกลับไป ปล่อยให้เป็นการต่อสู้ระหว่าง พระกฤษณะ กับ พญากงส์ แทนที่ ขณะเดียวกัน พญาฆิน ซึ่งเป็นราชาแห่ง เมืองมิถิลา(ไชยา) และ พญาฆา มหาราชา แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าว จึงส่งกองทัพมาขับไล่กองทัพ ของ พญากงส์ ให้ออกไปจาก เมืองมิถิลา(ไชยา) ผลของสงครามครั้งนั้น พญาฆิน สวรรคต ในสงคราม

เมื่อ มหาราชาพญาฆา(พะยาค่ะ) แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าวว่า พญาฆิน สวรรคตในสงคราม จึงได้ส่งกองทัพใหญ่มาทำสงครามขับไล่กองทัพของ พญากงส์ ให้ต้องถอยทัพกลับอินเดีย เป็นที่มาให้ สมเด็จย่า ของ พระนางเมฆขลา เข้ามาช่วยเหลือ พญาฆา ทำสงครามครั้งนั้นด้วย

        ตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ "ดอนดวด" คือท้องที่แห่งหนึ่งใน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และคำไทย คำว่า "ใบแม่ย่านาง" และคำไทย คำว่า "ดวด" มีเรื่องราวตำนานความเป็นมากล่าวว่า ในขณะที่เกิดสงครามระหว่าง พญาฆา กับ พญากงส์ นั้น กองทัพของ มหาราชาพญาฆา ตั้งกองทัพอยู่ที่ดอนดวด มี สมเด็จย่า ของ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) ซึ่งได้เดินทางมาช่วยเหลือ พระนางเมฆขลา ประทับอยู่ด้วย

        เมื่อ สมเด็จย่า ได้พบกับ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) และ พระกฤษณะ จึงได้ทราบที่หลบซ่อน ณ พระตำหนักถ้ำพระกฤษณะ หรือ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) เรียบร้อยแล้ว สมเด็จย่า จึงได้พยายามช่วยเหลือไพร่พล ของ มหาราชาพญาฆา ซึ่งมีกำลังไพร่พลส่วนหนึ่งตั้งกองทัพอยู่ที่ ดอนดวด ซึ่งคอยเฝ้าเวรยามอยู่บริเวณ ดอนดวด คือท้องที่บริเวณใกล้เคียงกับ สำนักงานที่ดิน จ.สุราษฎร์ธานี สาขา-ไชยา ในปัจจุบัน ให้เตรียมพร้อมอยู่เสมอ มิให้กองทัพของ พญากงส์ เข้าโจมตี

เนื่องจาก ไพร่พลของ มหาราชาพญาฆา มักจะหลับยาม กันเป็นประจำ สมเด็จย่า เกิดความห่วงใย เกรงว่า กองทัพของพญากงส์ จะส่งกองทัพไปยัง ตำหนักพระกฤษณะ เป็นผลสำเร็จ อาจทำให้ พระกฤษณะ และ พระนางเมฆขลา จะถูกนำไปสำเร็จโทษ โดยไม่สามารถหลบหนี ได้ทัน จึงเป็นที่มาให้สมเด็จย่า ของ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) ได้นำใบไม้ชนิดหนึ่ง มาต้มกับหน่อไม้ไผ่ และปรุงด้วยเครื่องปรุง หลายชนิด กลายเป็น ซุ๊ปหน่อไม้ และ น้ำซุ๊ปแม่ย่านาง เพื่อใช้เป็นอาหารแก้ง่วงนอน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ใบไม้ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า ใบแม่ย่านาง ซึ่งถูกเรียกกันสืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารแล้ว หรือ เมื่อนำไปดื่ม หรือรับประทานแล้ว จะไม่เกิดอาการง่วงนอน อาหารดังกล่าว เกิดขึ้นในท้องที่ บ้านดอนดวด ตามที่กล่าวมา คำว่า "ดวด" จึงเป็นคำไทย มีความหมาย เช่นเดียวกับคำว่า "ดื่ม" แต่เป็นการดื่ม เครื่องดื่ม ที่ปรุงขึ้นพิเศษ เพื่อภารกิจพิเศษ เท่านั้น บ้านดอนดวด คือ ที่ให้กำเนิดอาหาร ซุ๊ปหน่อไม้ นั่นเอง

ในที่สุด กองทัพของ มหาราชาพญาฆา สามารถทำสงครามขับไล่ กองทัพของ พญากงส์ ให้ต้องถอยทัพกลับไป และกองทัพพญากงส์ ได้ยกกองทัพเข้าโจมตีเมือง ของ พญาวสุ ณ เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ด้วย เป็นที่มาให้ พระพลราม ต้องต่อสู้กับ ปีศาจธนุกะ จนได้รับชัยชนะ กองทัพเรือของ พญากงส์ จึงต้องถอยทัพกลับ อินเดีย

หลังจาก พญากงส์ ถอนทัพกลับ มหาราชาพญาฆา แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ จึงได้นำพระกฤษณะ ไปขุดหาทองคำ ณ เมืองครหิต(คันธุลี) ตามเจตนาเดิม เมื่อได้ทองคำ ตามที่ต้องการ พระกฤษณะ จึงได้เสด็จกลับคืนดินแดน เกษียรสมุทร เพื่อทำสงครามกู้ชาติจากการยึดครองของ พญากงส์ กลับคืน ปล่อยให้พระนางเมฆขลา หรือ แม่นางเอ ประทับอยู่ที่ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) เพื่อเลี้ยงดูพระราชโอรส เพียงลำพัง

 

 ภาพที่-12 ภาพสลักแสดงบนทับหลังประตูชั้นที่สอง มุขด้านทิศตะวันตก ของปราสาทพระประธาน ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราวของ พระกฤษณะ ต่อสู้กับ พญากงส์ และสามารถฆ่าพญากงส์ เป็นผลสำเร็จ

 

        ต่อมา พญาวสุ ได้ทุนรอนจาก ทองคำ ที่พระกฤษณะ ส่งมอบให้ จึงจัดกองทัพใหญ่ เข้าต่อสู้กับ พญากงส์ เพื่อแย่งยึดอำนาจกลับคืนให้กับ พญาวสุ ผู้เป็นพระราชบิดา ผลของสงคราม พระกฤษณะ สามารถฆ่า พญากงส์ เป็นผลสำเร็จ สามารถกอบกู้คืนราชสมบัติให้กับ พญาวสุ ผู้เป็นพระราชบิดา เป็นผลสำเร็จ พระพลราม ซึ่งเป็นพระเชษฐา ของ พระกฤษณะ จึงต้องช่วยราชการ พระราชบิดา ปกครองอินเดีย เป็นเหตุให้ พระกฤษณะ ต้องกลับมาเป็นราชา ปกครอง ดินแดนเกษียรสมุทร จึงเป็นที่มาให้ เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) มีชื่อเรียกใหม่ว่า เกาะพระกฤษณะ หรือ เกาะพระกฤต ในสมัยนั้น ด้วย

ส่วนชีวิต แม่นางเอ(พระนางเมฆขลา) ในขณะที่ พระกฤษณะ ต้องออกไปทำสงครามกู้ชาติ กลับคืน นั้น แม่นางเอ ประทับอยู่ที่พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ ก็ใช้เวลาว่างสกัดหิน บริเวณหน้าถ้ำ เป็นบ่อขึ้นมาได้ ๗ แห่ง เพื่อใช้เป็นที่เก็บน้ำ  ที่ต้องเดินทางไปลำเลียงน้ำ จากสระแม่นางเอ  เพื่อนำมาใช้ในการปรุงอาหาร  และการใช้เพื่อการเลี้ยงดู พระราชโอรส ที่เพิ่งประสูติ มา  บ่อน้ำดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า บ่อ ๗ แห่ง ของ ถ้ำแม่นางเอ หรือ ถ้ำพระกฤษณะ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

        ขณะที่ พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) เลี้ยงดูพระราชโอรส รอการกลับมา ของ พระกฤษณะ นั้น พระนางเมฆขลา ผูกแปล ไกวเปล กล่อมโอรส อยู่ที่ใต้ต้นไม้ใกล้ถ้ำ บริเวณที่ตั้งเจดีย์พระกฤษณะ ในปัจจุบัน บังเอิญสายเปล ขาด พระราชโอรส หัวกระแทกพื้นก้อนหิน สิ้นพระชนม์ เป็นเหตุให้ พระนางเมฆขลา เสียพระทัยมาก ใช้สายเปล แขวนคอ ใต้กิ่งไม้ สิ้นพระชนม์ ตามไปด้วย

 

ภาพที่-13 ภาพเจดีย์พระกฤษณะ ตั้งอยู่ใกล้ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขานางเอ อ.ไชยา สถานที่ซึ่ง พระนางเมฆขลา และ พระราชโอรส สิ้นพระชนม์ และเป็นสถานที่ซึ่ง พระกฤษณะ บรรลุโพธิญาณ กล่าวกันว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เคยเสด็จจาริกแสวงบุญมาเคารพ พระกฤษณะ ณ เมืองมิถิลา เมื่อปี พ.ศ.๒๙๗ จึงได้ร่วมกับ ท้าวเชียงแมนสม ก่อสร้างเจดีย์พระกฤษณะ ไว้ในการเสด็จครั้งนั้นด้วย เจดีย์พระกฤษณะ ได้ถูกบูรณะหลายครั้ง และครั้งสุดท้าย คณะผู้พิพากษา จ.สุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันบูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑

เมื่อพระกฤษณะ เสด็จจากเกาะพระกฤต(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร มายัง เมืองมิถิลา(ไชยา) อาณาจักรสุวรรณภูมิ เพื่อรับ พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) กลับไปยังเกาะพระกฤต ก็พบเพียงกองกระดูก ของ พระนาง และ พระราชโอรส กองอยู่ ณ บริเวณที่ตั้ง เจดีย์พระกฤษณะ เท่านั้น เจ้าชายกฤษณะ จึงเสียพระทัยมาก กลายเป็นผู้ถือศีล อยู่ที่ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) และนั่งกรรมฐานอยู่ที่ เจดีย์พระกฤษณะ จนกระทั่งได้ ตรัสรู้ มีพลังจิตรที่เข้มแข็ง สามารถสร้าง รอยพระบาทฝ่ายซ้าย บนพื้นหิน ด้วยพลังจิต ของพระองค์เองได้สำเร็จ ปรากฏหลักฐาน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

ภาพที่-14 ภาพรอยพระบาทเบื้องซ้าย ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ บริเวณใกล้หน้าผาหิน ใกล้เจดีย์พระกฤษณะ บริเวณภูเขาแม่นางเอ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ภาพนี้ ใช้แป้งโรย ในร่องพระบาท เพื่อถ่ายภาพ เปรียบเทียบขนาดกับปากกาลูกลื่น ให้เห็นปรากฏ ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

 

 

        พระกฤษณะ ยังสามารถได้ใช้พลังจิตร ก่อให้เกิด แผ่นดินไหว แผ่นดินแยกตัว เกิด ภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นมา กลางทะเล ของ เมืองมิถิลา(ไชยา) และเกิด ภูเขาน้ำร้อนขึ้นอีก ๔ ลูก ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย คือ ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาลาวสูง , ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาทุ่งใหญ่ , ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาหาร และ ภูเขาน้ำร้อนเขาพลู จึงเรียกภูเขาน้ำร้อนทั้ง ๕ ลูกดังกล่าวว่า ภูเขาโควรรธนะ และได้มาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ภูเขาน้ำร้อนทั้ง ๕ ลูก ในเวลาต่อมา ตามชื่อที่กล่าวมา

ด้วยอิทธิฤทธิ์ ดังกล่าว ทำให้ พระกฤษณะ ได้รับการนับถือ กลายเป็นศาสดาของลัทธิหนึ่ง ของ ศาสนาพราหมณ์ เผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง มหาราชาพญาฆา และ พระนางเพฆา อัครมเหสี ของ พญาฆา มาขอสมัครเป็นศิษย์ เป็นที่มาของการใช้คำไทย คำว่า พญาฆา(พะยาคะ) และ เพฆา(เพค่ะ) มาใช้ในการลงท้าย ในการเข้าเฝ้ากษัตริย์ของชนชาติไทย ในเวลาต่อมา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  

 

ภาพที่-15 ภาพสลัก ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ กำลังแสดงอภินิหาร ให้กำเนิด ภูเขาโควรรธนะ ภาพสลักนี้ ปรากฏอยู่ที่หน้าบัน ด้านทิศตะวันออก ของ ปราสาทประธาน

ภาพที่-16 รูปถ่าย ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ของ ภูเขาโควรรธนะ จำนวน ๕ ลูก ซึ่งล้วนมีน้ำพุร้อน ผุดออกมา เชื่อกันว่า กำเนิดขึ้นพร้อมๆ กันในขณะที่ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ กำลังบำเพ็ญความเพียร ณ ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขาแม่นางเอ

ในขณะที่ พระกฤษณะ ทำการเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ อยู่ในดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิ นั้น พระกฤษณะ ได้ทำนายว่า ต่อไป จะเกิด เกาะดอนขวาง ขึ้นมารอบๆ ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์อำนาจรัฐ ของ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต พื้นที่ดังกล่าว จะเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ และเข้าสู่ดินแดน เกษียรสมุทร ในภพชาติต่อไป ของ พระกฤษณะ หรือ จตุคามรามเทพ ด้วย

เมื่อพระกฤษณะ สวรรคต ไป ดวงวิญญาณ ของ พระกฤษณะ มีอยู่ ๒ ภาค คือ ภาคคุณธรรม และ ภาคนักรบ ดังนั้น ในภพชาติต่อมา จึงเชื่อกันว่า วิญญาณภาคคุณธรรม ของ พระกฤษณะ ได้ อวตาลมาประสูติเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ ส่วน พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) ได้มาประสูติเป็น พระนางพิมพา ส่วนพระราชโอรสที่เสียชีวิตไป ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ เป็น เจ้าชายราหล เพราะความเชื่อเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อก่อกำเนิด พระพุทธศาสนา ขึ้นมาในสมัยต่อมา เพราะความเชื่อดังกล่าว ได้ส่งผลต่อมา ในการนำ พระพุทธศาสนา เข้ามาเผยแพร่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง รัฐของชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ใช้พระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ สืบทอดเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐของชนชาติไทย จึงค่อยๆ เพี้ยนไปในปัจจุบัน

        ส่วนวิญญาณภาคนักรบ ของ พระกฤษณะ ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ เป็น ขุนราม พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เป็นอีกภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ คือภพชาติที่ ๔ นั่นเอง

        ส่วน พระนางเมฆลา ได้ไปประสูติในภพใหม่เป็น พระนางพิมพา เมื่อสิ้นพระชนม์ไป วิญญาณได้มาประสูติในภพใหม่เป็น พระนางศรีจันทร์ อัครมเหสี ของ ขุนราม นั่นเอง ส่วน เจ้าชายราหุล ได้มาประสูติเป็น เจ้าชายภาณุ พระราชโอรส ของ ขุนราม ผู้นำพระพุทธศาสนา ไปเผยแพร่ในดินแดนเกษียรสมุทร ในสมัย สหราชอาณาจักรเสียม

ด้วยความเชื่อที่ว่า พระนารายณ์ ได้อวตารมาเป็น กฤษณาวตาล หมายถึงพระนารายณ์อวตาร มาเป็นพระกฤษณะ ซึ่งได้มาเกี่ยวข้องกับ ดินแดนสุวรรณภูมิ และการที่วิญญาณภาคคุณธรรม ของ พระกฤษณะ อวตารในภพชาติถัดมา คือ พุทธาวตาล หมายถึงการที่ พระนารายณ์ อวตารลงมาเป็น พระพุทธเจ้า และต่อมา วิญญาณภาคนักรบ ของ พระกฤษณะ ได้อวตาร ลงมาเป็น ขุนราม หรือ จตุคามรามเทพ อีกหลายครั้ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อดับทุกข์เข็ญหลายครั้งให้กับชนชาติไทย ด้วยความเชื่อเหล่านี้ ได้ส่งผลต่อโครงสร้างชั้นบน ของ สังคมไทย และ กระบวนการพัฒนา ของ สังคมไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ตลอดจน กระบวนการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ ของสังคมไทย ในอดีต มาจนถึงปัจจุบัน ด้วย

 

ชนชาติไทย ปะทะกับ โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี การหลอมเหล็ก

        นับตั้งแต่รัชสมัย ของ ท้าวพญาฆา นำศาสนาพราหมณ์ มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติในดินแดนสุวรรณภูมิ เนื่องจากความสัมพันธ์กับ พระกฤษณะ ตามที่กล่าวมา รัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ก็เข้มแข็งมากขึ้น มี แว่นแคว้น ต่างๆ เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ หลายแว่นแคว้น จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน มหาอาณาจักรหนานเจ้า พ่ายแพ้สงครามเหล็ก ต่อกองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ค เป็นเหตุให้ ชนชาติอ้ายไต ต้องอพยพครั้งใหญ่ เป็นครั้งที่ ๒ ลงมาตั้งรกรากยังดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ อาณาจักรสุวรรณภูมิ มีประชากร เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้พัฒนากลายเป็น มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ในช่วงเวลาต่อมา ด้วย

 

ภาพที่-17 ภาพคันฉ่อง โลหะสัมฤทธิ์ลายนาคขดโบราณ ของ ชนชาติอ้ายไต ขุดพบที่ ภูเขาเหลียงซาน มณฑลหูหนาน ประเทศจีน อดีตดินแดน ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ลักษณะลายไทยนาคขด เป็นแบบเดียวกับ ลายนาคขด ที่พบในดินแดนสุวรรณภูมิ แสดงให้เห็นว่า ชนชาติอ้ายไต รู้จักหลอมโลหะสัมฤทธิ์ มาใช้ นานแล้ว

 

        ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ที่ค้นพบในปัจจุบัน เชื่อกันว่า ก่อนหน้านี้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เคยมีเมืองราชธานี อยู่ที่ เมืองเฉิงตู ของ แคว้นเสฉวน ในประเทศจีน ปัจจุบัน ชนชาติอ้ายไต เคยมีความสามารถในการสร้างเครื่องมือโลหะสัมฤทธิ์ คือโลหะผสมระหว่างทองคำ และ ดีบุก สามารถนำไปใช้สร้างเป็นอาวุธ เพื่อการใช้ทำสงคราม ผู้ที่มีอาวุธโลหะสัมฤทธิ์ ใช้ มักจะเป็นกษัตริย์ หรือ พวกขุนนาง และทหาร ทำให้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ครอบครองดินแดนจีน ในปัจจุบัน เป็นส่วนใหญ่ ประชาชนใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบสุข มีสงครามเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว กับ ชนพื้นเมือง "พวกแย่" และชนเผ่า ฉวนหรุง เท่านั้น

        หลักฐานเครื่องใช้โลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งประเทศจีน ขุดพบที่ เมืองกวงหันเสี้ยน ห่างจาก เมืองเฉินตู ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นอดีตที่ตั้ง ราชธานี ของ แคว้นเสฉวน ได้ขุดพบโลหะสัมฤทธิ์ ประมาณ ๕,๐๐๐ ชิ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นหลักฐานสำคัญ แสดงถึงหลักฐานของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งมีการนำทองคำ จาก ดินแดนสุวรรณภูมิ ปีละ หนึ่งแสนขัน ไปใช้สร้างเครื่องใช้โลหะสัมฤทธิ์ ทั้งนี้เพราะ จากการสำรวจดินแดนทาง ภาคกลาง และ ภาคใต้ของประเทศจีน ไม่พบแหล่งทองคำ จำนวนมากแต่อย่างใด มีเพียงโลหะเงิน และ แร่เหล็ก เป็นจำนวนมาก เท่านั้น

        ในสมัยของ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค ซึ่งมีกษัตริย์ ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมา ๒๕ พระองค์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ครั้งใหญ่ เกี่ยวกับการผลิตอาวุธ ของ มหาอาณาจักรเจ็ค ทั้งนี้เพราะ มีการค้นพบแหล่งแร่เหล็ก ที่ แคว้นฉี เป็นจำนวนมาก จึงเกิดการหลอมเหล็ก เกิดขึ้นมาใช้แทนที่ โลหะสัมฤทธิ์ กษัตริย์ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค ได้ส่งเสริมการหลอมเหล็ก ที่ แคว้นฉี เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือการผลิต เช่น มีด ขวาน จอบ ไถ เป็นต้น และยังสามารถหลอมเหล็กมาสร้างเป็นอาวุธ เพื่อใช้ในการทำสงคราม เพราะอาวุธที่ทำจากโลหะเหล็ก มีความแข็ง มากกว่าอาวุธที่ทำจาก โลหะสัมฤทธิ์ มาก เป็นเหตุให้ กษัตริย์ แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ก จึงเริ่มก่อสงครามรุกรานชนชาติอ้ายไต ยึดครองดินแดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การหลอมโลหะเหล็ก เป็นต้นมา

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน กล่าวว่า มหาอาณาจักรเจ็ก ในสมัย ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก ได้พบแร่เล็ก ตามภูเขาต่างๆ ประมาณ ๓,๐๐๐ แห่ง ที่ แคว้นฉี จึงมีการถลุงเหล็ก กันที่ เมืองหลินจือ พื้นที่ มณฑลซานตุง ในปัจจุบัน โดยมีพื้นที่ซึ่งมีการถลุงเหล็ก โดยทั่วไป เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ถึง ๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ความสามารถในการหลอมเหล็ก และผลิตโลหะเหล็ก ดังกล่าว ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในดินแดนของ มหาอาณาจักรเจ็ค ทั้งด้าน การเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม และส่งผลให้ มหาอาณาจักรเจ็ค มีความเข้มแข็ง และเริ่มก่อสงครามกับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อทำสงครามแย่งชิงดินแดนส่วนใหญ่ และ ทองคำอันมหาศาล ในท้องพระคลังหลวง ของ ชนชาติอ้ายไต ไปครอบครอง ด้วย

เมื่อ มหาอาณาจักรเจ็ค มีความสามารถในการผลิตอาวุธ จาก แร่เหล็ก จึงเริ่มก่อสงคราม ยึดครองดินแดนของชนชาติอ้ายไต แห่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า ทันที แคว้นแมนสม(แคว้นเว่ย)ถูกอาณาจักรเจ็ค ส่งกองทัพยึดครองไปด้วย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า แคว้นเว่ย ทำให้สายราชวงศ์แมนสม ได้หลบหนีสงคราม ไปทางทะเล มุ่งขึ้นสู่ทิศเหนือ ได้ไปผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนพื้นเมือง พวกแย่ ชนเผ่าจู(ตี) และได้สร้างแว่นแคว้นใหม่ขึ้นมา เรียกว่า แคว้นแมนจูเจ้า(แมนจูเรีย) ขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน ชนชาติอ้ายไต สายราชวงศ์แมนสม อีกส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปตั้งรกราก ในเกาะใต้หวัน แล้วตั้งแว่นแคว้นขึ้น เรียกว่า แคว้นแมนสรวง(ไตหวัน) ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

ตำนานท้องที่เมืองไชยา กล่าวว่า ในสมัยที่เกิดสงครามเหล็ก ระหว่าง มหาอาณาจักรหนานเจ้า กับ มหาอาณาจักรเจ็ค นั้น เชื้อสายเจ้าไทย สายราชวงศ์แมนสม ส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปตั้งรกราก ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) อาณาจักรสุวรรณภูมิ และได้เรียกชื่อใหม่ของเมืองมิถิลา ว่า เมืองแมนที่ลา และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เมืองโกสมพี ต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

        ความสามารถในการหลอมเหล็ก ของ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครื่องมือการผลิต เช่น ขวาน มีดพร้า เลื่อย หัวขวานไถ คราด สิ่ว สว่าน เป็นต้น เครื่องมือการผลิตเหล่านี้ ทำให้เกิดการพัฒนาพลังการผลิต ขึ้นครั้งใหญ่ ทั่วทั้งดินแดนของ มหาอาณาจักรเจ็ค ซึ่งได้กวาดต้อน ชนชาติอ้ายไต ไปเป็นพลเมือง เป็นจำนวนมาก มีการถางป่า ขยายพื้นที่การปลูกข้าว และการเพาะปลูกพืชผลการเกษตร ต่างๆ ทำให้ประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข และเมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น ก็เกิดการขยายตัวของพลเมืองแต่ละแว่นแคว้น เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วย การค้าก็ขยายตัว เศรษฐกิจ ก็เฟื่องฟูขึ้นด้วย มีการใช้เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ก็ขยายตัวมากขึ้น กองเกวียนค้าขาย ระหว่างแว่นแคว้น มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ประชากรของ มหาอาณาจักรเจ็ค ในขณะนั้น เพิ่มขึ้นเป็น ประมาณ ๕๐-๖๐ ล้านคน กองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ก จึงกลายเป็นกองทัพใหญ่ เหนือกว่า มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งต้องย้ายราชธานีมาอยู่ที่ เมืองหนองแส

        สงครามเหล็ก ได้เกิดสงครามต่อเนื่องมาถึง สมัยฉินซีฮ่องเต้ นักประวัติศาสตร์ของจีน และนาๆ ชาติ ในปัจจุบัน ยอมรับว่า มีการอพยพ และการดูดกลืน ชนชาติอ้ายไต และชนพื้นเมือง พวกแย่ ไปรวมเป็นประชากรของ มหาอาณาจักรเจ็ค ในเวลาต่อมาด้วย

        จากการสำรวจประชากรจีนทั้งหมดในปัจจุบัน พบหลักฐานว่า ประชากรจีน หลายร้อยล้านคน ในดินแดนภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันตก ของดินแดนประเทศจีน ในปัจจุบัน มิได้เป็นบรรพชนเชื้อสายจีน มาก่อน โดยเฉพาะในดินแดนทางตอนใต้ ของ แม่น้ำหยางจื้อ ล้วนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์ หลายกลุ่มวัฒนธรรม ซึ่งทางจีนเคยเรียกว่า ไป่เย่ว หมายความว่า เป็นชนป่าเถื่อนร้อยเผ่า ชนพื้นเมืองดังกล่าว คนไทยเรียกกันมาอย่างยาวนานแล้วว่า พวกแย่ ซึ่งชนพื้นเมืองเหล่านี้ ได้มาผสมเผ่าพันธุ์ กับชนชาติอ้ายไต จนแยกออกเป็นหลายชนเผ่า§-9

        ผลของเทคโนโลยีการหลอมโลหะเหล็ก ทำให้ชนชาติอ้ายไต ได้ปะทะกับโลกาภิวัตน์ เป็นครั้งแรก เนื่องจากความล้าหลังทางเทคโนโลยี ของ ชนชาติอ้ายไต ส่งผลให้ดินแดนส่วนใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต ตั้งแต่เมืองเซี่ยงไฮ้ ลงมา ถึง นานกิง และ แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตังเกี๋ย) ต้องสูญเสียไปให้กับชนชาติเจ็ค เป็นส่วนใหญ่ ชนชาติอ้ายไต บาดเจ็บล้มตาย ในสงครามสมัยนั้นจำนวนมาก จนกระทั่งกำเนิดประเพณี ลอยประทีปโคมไฟ เพื่อส่งดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตขึ้นสู่สรวงสวรรค์ และ ประเพณีลอยกระทง เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย

 

กำเนิด ประเพณีลอยประทีปโคมไฟ และ ลอยกระทง ของ ชนชาติไทย

ตำนานอดีตชาติ ของ พระยาพาน ในภพชาติของ ขุนเหล็ก มีเรื่องราวกล่าวถึงการกำเนิดประเพณีลอยประทีปโคมไฟ และ ลอยกระทง โดยสรุปว่า ในสมัยสงครามเหล็ก ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า พ่ายแพ้สงคราม เสียชีวิตกันเป็นจำนวนมาก จึงเกิดการอพยพครั้งใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต จากลุ่ม แม่น้ำนที มายังดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับได้นำประเพณีลอยประทีปโคมไฟ และ ลอยกระทง มายังดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนสมัยพุทธกาล

 

 ภาพที่-18 ภาพผ้าลายจก ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า พบในหลุมฝังศพทั่วไปในดินแดนของประเทศจีน ในปัจจุบัน ซึ่ง ชนชาติอ้ายไต เคยตั้งรกรากอยู่ทั่วไป ผ้าลายจกดังกล่าว คล้ายคลึงกับผ้าลายจก ของ ชนชาติไทย ที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ แสดงให้เห็นถึง ลักษณะวัฒนธรรม อันเดียวกัน

 

เนื่องจาก ชนชาติอ้ายไต ส่วนหนึ่งเคยตั้งรกรากอยู่ที่ แม่น้ำนที ในดินแดนประเทศจีน ปัจจุบัน เมื่อเกิดการพ่ายแพ้สงครามเหล็ก ต่อกองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ค ท้าวนที พระราชบิดา ของ ขุนเหล็ก จึงต้องอพยพไพร่พลมาตั้งรกราก สร้าง แคว้นนที(อยุธยา) ขึ้นตามชื่อแม่นำนที ที่เคยตั้งรกรากเดิม

มีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ชีวิตของพระยาพาน ในภพชาติ ขุนเหล็ก ในเชิงการสอนใจเด็กๆ ว่า ในอดีตชาติของ พระยาพาน ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล นั้น พระยาพาน ได้ประสูติมาในดินแดน ลุ่มแม่น้ำนที ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนประเทศจีน ในปัจจุบัน มีพระนามว่า เจ้าชายเหล็ก และมาเติบใหญ่ ในดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ

ในยุคสมัยนั้น ชนชาติอ้ายไต ยังใช้อาวุธ ที่ผลิตขึ้นจากโลหะสัมฤทธิ์ ในการทำสงคราม แต่ชนชาติเจ็ค มีความสามารถในการหลอมเหล็ก ตีเหล็ก จึงมีความสามารถในการผลิตอาวุธประเภทต่างๆ ที่ทำด้วยเหล็ก ซึ่งมีความทนทานกว่า อาวุธที่ทำด้วยโลหะสัมฤทธิ์ เป็นที่มาให้ชนชาติอ้ายไต ผู้พ่ายแพ้สงคราม ถูกฆ่าตาย และถูกยึดครองดินแดน ไปเป็นจำนวนมาก จึงเกิด ประเพณีลอยประทีปโคมไฟ ขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อส่งดวงวิญญาณของ บรรพชน ผู้เสียชีวิตจากสงครามเหล็ก ครั้งนั้น และได้เกิด ประเพณีลอยกระทง เพื่อการ สะเดาะเคราะห์ ผู้ที่มีชีวิตอยู่ จนกระทั่งกลายเป็นประเพณี ของ ชนชาติอ้ายไต สืบทอดเรื่อยมา และถูกนำเข้ามาสู่ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ด้วย

 

ภาพที่-19 ภาพการสืบทอดประเพณีลอยประทีปโคมไฟ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามเหล็ก เพื่อส่งดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตในสงครามเหล็ก ขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ประเพณีลอยประทีปโคมไฟ ได้เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ สืบทอดต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

 

ในขณะที่ เจ้าชายเหล็ก ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น แคว้นนที ถูกกองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ค ทำสงครามรุกรานเช่นกัน ท้าวนที ราชาแห่ง แคว้นนที ซึ่งเป็นพระราชบิดาของ เจ้าชายเหล็ก พิจารณาเห็นว่า ไม่สามารถทำการสู้รบกับ กองทัพแห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค ซึ่งมีอาวุธที่ทันสมัยกว่าได้ จึงตัดสินพระทัย อพยพไพร่พล ลงมาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ มาตั้งเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเรียกว่า แม่น้ำนที มาก่อน และถูกเรียกสืบทอดเรื่อยมา เจ้าชายเหล็ก ได้อพยพมาหนีภัยสงคราม ครั้งนั้นด้วย ท้าวนที จึงนำเอาประเพณี ลอยประทีปโคมไฟ และ ลอยกระทง มาใช้สืบทอดต่อเนื่อง ในดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ด้วย

ต่อมาเมื่อเจ้าชายเหล็ก แตกเนื้อหนุ่ม ก็เริ่มจีบสาวสนมกรมวัง เพราะอยากมีคู่ชีวิต มาอภิเษกสมรสด้วย ซึ่งได้มีโอกาสในฤดูกาล วันที่มีประเพณี การลอยประทีปโคมไฟ และ ลอยกระทง ในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๑๒ นั้น มีสาวสนมกรมวัง ในพระราชวัง ออกมาร่วมงานสืบทอดประเพณี ลอยประทีปโคมไฟ และ ลอยกระทง ณ แม่น้ำนที(แม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นจำนวนมาก

เจ้าชายเหล็ก ได้ถือโอกาสกลั่นแกล้งสาวสนมกรมวัง โดยลงไปซ่อนตัวใน แม่น้ำนที เพื่อนำเอา กระทงประทีป ของสาวสนมกรมวัง ซึ่งได้ทำพิธี ปล่อยกระทงประทีป ให้ลอยไปตามกระแสนำ ของ แม่น้ำนที(แม่น้ำเจ้าพระยา) ไปซ่อนเอาไว้ ไม่ให้ลอยไปตามกระแสนำ เพื่อสร้างเงื่อนไข ถือโอกาส จีบสาวสนมกรมวัง ต่อมากลุ่ม สาวสนมกรมวัง ดังกล่าวทราบว่าถูกกลั่นแกล้ง จึงร่วมกันสาปแช่งว่า

"...ขอให้ผู้ที่ชอบมากลั่นแกล้ง ให้มีอันเป็นไป ถ้าเกิดชาติหน้า ขออย่าให้ได้อยู่อาศัย กับ พ่อแม่..."

 

ภาพที่-20 ภาพการลอยกระทงประทีป เป็นประเพณีของชนชาติไทย ในดินเดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เกิดขึ้นเมื่อ ชนชาติไทยพ่ายแพ้สงครามเหล็ก จึงมีการสร้างพิธีกรรมลอยกระทงประทีป เพื่อการส่งสิ่งชั่วร้ายไปตามกระแสน้ำ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ที่พ่ายแพ้สงครามมีขวัญกำลังใจ ต่อสู้ชีวิตต่อไป

 

ต่อมา เมื่อเจ้าชายเหล็ก มาช่วยราชการพระราชบิดา มีพระนามว่า ขุนเหล็ก เป็นผู้ค้นหา แร่เหล็ก จนสามารถหลอมเหล็ก และตีเหล็ก สร้างอาวุธ และเครื่องมือการผลิต มาใช้กับชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ ทำให้พระนามของ ขุนเหล็ก ถูกนำมาใช้เป็นคำไทย เพื่อเรียกชื่อ แร่เหล็ก สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา ขุนเหล็ก ได้ไปปกครองเมืองพิชัย แคว้นพิชัย(อุตรดิตถ์) เป็นแหล่งหลอมเหล็ก ในดินแดนสุวรรณภูมิ

เมื่อ ขุนเหล็ก สวรรคต คำสาปแช่งของ สาวสนมกรมวัง ได้ส่งผล กลายเป็นเรื่องจริง  ในภพชาติ ที่เจ้าชายเหล็ก ผู้ชอบกลั่นแกล้ง สาวสนมกรมวัง ได้ประสูติมาเป็น พระยาพาน ในภพชาติต่อมา จึงต้องชดใช้กรรม ในภพชาติต่อมา มิได้อยู่ร่วมกับ บิดามารดา ตามคำสาปแช่ง ที่สาวสนมกรมวัง เคยร่วมกันสาปแช่งไว้

ส่วนเชื้อสายราชวงศ์ เจ้าขุนเหล็ก ได้ถ่ายทอดวิชาการหลอมเหล็ก การตีเหล็ก สืบทอดมาถึง สายราชวงศ์เจ้าอ้ายลาว คือ ปู่เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ผู้ทำเลื่อยเล็ก ขึ้นมาใช้ ในสมัยต่อๆ มา ตำนานเรื่องนี้ สะท้อนเรื่องราวความเป็นมา ของ ประเพณีลอยประทีปโคมไฟ และประเพณีลอยกระทง ที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามเหล็ก และยังให้ข้อมูลความเป็นมาของชื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ว่าเคยมีชื่อว่า แม่น้ำนที มาก่อน อีกด้วย ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสะท้อนเรื่องราวความเป็นมาของคำไทย คำว่า "เหล็ก" และยังให้ข้อมูลว่า การหลอมเหล็กครั้งแรก ของ ชนชาติอ้ายไต ว่าเกิดขึ้น ณ แคว้นพิชัย คือท้องที่ จ.อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน อีกด้วย

 

การอพยพระลอกที่ ๓ ของ ชนชาติอ้ายไต สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

เหตุการณ์เมื่อประมาณปี ๒๓๓-๑๖๓ ก่อนพุทธกาล หลักฐานประวัติศาสตร์จีนกล่าวว่า ได้เกิดสงครามเหล็ก ขึ้นระหว่าง มหาอาณาจักรหนานเจ้า กับ มหาอาณาจักรเจ็ค ผลของสงคราม มหาอาณาจักรหนานเจ้า เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ราชาเจ้าผู้ครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ มหาอาณาจักรเจ็ค ต่างแย่งชิงกันเป็นใหญ่ มีการรบพุ่งกันเป็น อลหม่าน ทั่วดินแดนประเทศจีน ในปัจจุบัน แต่ต่อมา ชนชาติตาด ซึ่งได้มาผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนชาติอ้ายไต จากแคว้นลานเจ้า ดั้งเดิม เรียกว่า ราชวงศ์แมนสม แต่ถูกมหาอาณาจักรเจ็ค เรียกว่า ชนชาติแมนจู(ราชวงศ์แมนจูเจ้า หรือ ราชวงศ์แมนสม) เคยไปตั้งสร้าง แคว้นแมนสม(แคว้นเว่ย) อยู่ในพื้นที่ทะเลตะวันออก ในปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถในการรบด้วยม้า แต่ต่อมา ถูกราชวงศ์โจว์ ตีเมืองแตก จึงอพยพไปตั้งแว่นแคว้นใหม่ เรียกว่า แคว้นแมนจูเจ้า และ แคว้นแมนสรวง(ไตหวัน) ได้ฉวยโอกาส ทำสงคราม ยึดครองดินแดน ของ มหาอาณาจักรเจ็ค ทางภาคเหนือ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรเจ็ค กลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ต้องอพยพไพร่พล ลงทางใต้ เข้าทำสงครามเข้าแย่งยึดดินแดน ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ในสมัยราชวงศ์โจว์ตะวันออก อีกสมัยหนึ่ง

ในขณะนั้น สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ได้เติบใหญ่ ขยายตัว แบ่งออกเป็น ๗ ราชวงศ์ใหญ่ คือ ราชวงศ์หยาง(แคว้นเสฉวน) ราชวงศ์แมนสม(แคว้นแมนจูเจ้า) ราชวงศ์แมนสรวง(เกาะไตหวัน) ราชวงศ์อ้ายไต(แคว้นยืนนาน) ราชวงศ์หนานเจ้า(แคว้นหนองแส) ราชวงศ์ตาจิว(แคว้นไตจ้วง) ราชวงศ์ตาโก(แคว้นเกาะไหหลำ)ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์เหล่านี้ ล้วนได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการปกครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา โดยได้มาสมรสเกี่ยวดอง กับ สายราชวงศ์นาคน้ำ , สายราชวงศ์นาคฟ้า , สายราชวงศ์นาคดิน และ สายราชวงศ์เหงียนคำ กลายเป็นสายราชวงศ์ต่างๆ ในอาณาจักรสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา

 

ภาพที่-21 ภาพไหสัมฤทธิ์โบราณ ของ ชนชาติอ้ายไต ขุดพบที่มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน เมื่อตรวจสอบอายุด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พบหลักฐานว่า มีอายุไม่ต่ำกว่า ๔,๑๗๐ ปีล่วงมาแล้ว

 

        แนวคิดของ สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต บางราชวงศ์  ต้องการให้ชนชาติอ้ายไต แยก มหาอาณาจักรหนานเจ้า ออกจาก มหาอาณาจักรเจ็ค อย่างชัดเจน และทำสงครามแย่งชิงดินแดนกลับคืน ส่วน ราชวงศ์หยาง(แซ่หยาง) ซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่ ลุ่มแม่น้ำฮั่น แคว้นเสฉวน มาก่อน และ ราชวงศ์แมนสม(แซ่เชียง) พร้อมกับ ราชวงศ์แมนสรวง(แซ่จู) ต้องการรวมดินแดน มหาอาณาจักรหนานเจ้า รวมเข้ากับ มหาอาณาจักรเจ็ค และทำสงครามแย่งชิงอำนาจจากราชวงศ์โจว์ตะวันออก ขึ้นปกครองดินแดน มหาอาณาจักรเจ็ค ทั้งหมด กลุ่มราชวงศ์ดังกล่าว จึงยินยอมไปเป็นขุนนาง เป็นนักรบให้กับ ราชวงศ์โจว์ตะวันออก และเข้าไปเป็นราชาปกครองแว่นแคว้นต่างๆ เพื่อหาหนทางโค่นล้ม ราชวงศ์โจว์ตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรเจ็ค อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเช่นกัน

ผลของสงครามครั้งนั้น แคว้นเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) หรือ เซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นแว่นแคว้นหนึ่งของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก มาก่อน แคว้นนี้ เคยปกครองโดยสายราชวงศ์หยาง แต่ต่อมาได้ถูกกองทัพแคว้นฉี ซึ่งมีอาวุธสงครามที่ทำจากโลหะเหล็ก สามารถทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) แคว้นแมนสม(แคว้นเว่ย) และ แคว้นเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เป็นผลสำเร็จ และได้ตั้งชื่อแคว้นใหม่ เรียกว่า แคว้นฉู่ , แคว้นอู๋ และ แคว้นเว่ย ตามลำดับ

กองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ค ยังได้ทำสงครามยึดครอง แคว้นไตจ้วง(กวางสี กวางตุ้ง กวางเจา และ ตาเกี๋ย) แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นเย่ว อีกด้วย และต่อมา มหาอาณาจักรเจ็ค ยังได้ทำสงครามรุกราน แคว้นหูหลำ(เกาะไหหลำ) ต่อไปอีกด้วย จึงเป็นที่มาให้เชื้อสาย ราชวงศ์แมนสม(แซ่เชียง) สายราชวงศ์ตาจิว(แซ่จิว) และสายราชวงศ์ตาโก(แซ่จิว) ได้อพยพลงมาทางใต้ มารวมกันอยู่ที่แคว้นตาเกี๋ย ตรงข้ามเกาะไหหลำ ในปัจจุบัน และ บางส่วน อพยพลงมายังดินแดนสุวรรณภูมิ

ส่วน สายราชวงศ์หยาง มีที่มาจากขุนนางเจ้าอ้ายไต ชื่อ ซางหยาง ซึ่งเป็นต้นตระกูล แซ่หยาง เคยเป็นขุนนาง แคว้นเว่ย(แคว้นเสี่ยงให้) และ แคว้นอู๋(แคว้นแมนสม) มาก่อน โดยได้อพยพมาจาก แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) จากผลของสงครามเหล็ก โดยมีสายตระกูลดั้งเดิมเป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่ง แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) มาก่อน โดยมีแซ่ดั้งเดิม คือ แซ่กงซุน ต่อมา ซางหยาง พ่ายแพ้สงครามที่ แคว้นเว่ย(เทียนสิน) จึงต้องอพยพจาก แคว้นเว่ย(เทียนสิน) ไปตั้งรกรากที่ แคว้นฉิน และได้รับความไว้วางใจจาก ราชาเสี่ยวกง ราชาแห่ง แคว้นฉิน ให้ ซางหยาง มาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ใน แคว้นฉิน เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗ ให้เป็นผู้วางแผนปฏิรูป แคว้นฉิน ทั้งทางด้านการผลิต การทหาร และการปกครอง เป็นที่มาให้ ซางหยาง ได้ทำการปฏิรูปครั้งสำคัญขึ้นมาในดินแดน แคว้นฉิน จนกลายเป็นผู้ชนะสงคราม ในเวลาต่อมา และผู้สืบทอด สายราชวงศ์หยาง ได้เข้ามาเป็นกษัตริย์ อาณาจักรสุวรรณภูมิ หลายพระองค์ ในสมัย ต่อๆ มาด้วย เช่นกัน

สงครามเหล็ก ครั้งนั้น เมื่อ แคว้นฉี สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นเสี่ยงให้ เป็นผลสำเร็จ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นอู๋ หลังจากนั้น ก็ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นไตจ้วง(กวางสี กวางตุ้ง กวางเจา และ ตาเกี๋ย) กองทัพของแคว้นฉี ซึ่งมีอาวุธสงครามที่ทำจากโลหะเหล็ก สามารถเข้ายึดครองราชย์ธานี ของ แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง) ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เป็นผลสำเร็จ เช่นกัน พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อแคว้นใหม่ ว่า แคว้นเย่ ส่วนเชื้อสายราชวงศ์ตาจิว ซึ่งหลบหนีไปได้ ได้รวบรวมไพร่พล อพยพลงมาทางใต้ ตามริมฝั่งทะเลตะวันออก มารวมกันอยู่ในดินแดนเวียดนามตอนเหนือ ในปัจจุบัน และตั้งแว่นแคว้นขึ้นใหม่ เรียกว่า แคว้นเก้าเจ้า อีกส่วนหนึ่ง อพยพลงมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา

 

การกำเนิด วิชาการปกครอง ตามลัทธิขงจื้อ ของ มหาอาณาจักรเจ็ค

        ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของประเทศจีน กล่าวว่า ในขณะนั้น มหาอาณาจักรเจ็ค และ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เคยมีแว่นแคว้นต่างๆ กระจัดกระจาย ในดินแดนประเทศจีนปัจจุบัน รวมกัน มากถึง ๑,๗๖๓ แว่นแคว้น แต่ต่อมา ได้เกิดการสู้รบระหว่างกัน เกิดการยุบรวม แว่นแคว้นต่างๆ จากผลของสงคราม จนกระทั่งเมื่อราชวงศ์โจว์ ตะวันออก ย้ายเมืองนครหลวงจาก เมืองเฮ่าจิง มายัง เมืองลั่วอี้ ก็มีแว่นแคว้นต่างๆ ถูกยุบรวม คงเหลืออยู่ประมาณ ๒๐๐ แว่นแคว้น เท่านั้น

ใน ยุคสมัยชุนชิว แห่งราชวงศ์โจว์ ตะวันออก คือเหตุการณ์ก่อนสมัยพุทธกาล ๒๒๗ ปี จนถึง พ.ศ. ๓๒๒ ซึ่งได้เกิดสงครามระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ ของ มหาอาณาจักรเจ็ค กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า อย่างต่อเนื่อง แว่นแคว้นต่างๆ ประมาณ ๒๐๐ แว่นแคว้น ได้เกิดสงครามระหว่างกัน จนกระทั่ง เกิดการยุบรวมแว่นแคว้นต่างๆ คงเหลืออยู่เพียง ๙ แว่นแคว้น อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากแว่นแคว้นเล็กๆ ถูกกลืนเข้ากับแคว้นใหญ่ สงครามระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ ในครั้งนั้น ได้ส่งผลให้เกิดนักปรัชญาจีน ชื่อ ขงจื้อ ขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ซึ่งส่งผลต่อแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครอง ทำให้เกิดปัญญาชน ของ มหาอาณาจักรเจ็ค ขึ้นมามากมาย และเกิดการขยายตัวของปัญญาชนจีน ขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากการที่มหาอาณาจักรเจ็ค ประสบความสำเร็จในการหลอมโลหะเหล็ก แล้ว มหาอาณาจักรเจ็ค มีการสร้างปัญญาชน ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ด้วย โดย ขงจื้อ ได้เปิดสำนักสอนลูกศิษย์ ๖ วิชา คือ วิชารัฐศาสตร์ , วิชาดนตรี , วิชายิงธนู , วิชาขับรถศึก , วิชาเขียนลายมือ และ วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น โดยมีลูกศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ในจำนวนนั้น มีลูกศิษย์ผู้ปราดเปรื่องอยู่ประมาณ ๗๐ คน

 

ภาพที่-22 ภาพวาด ขงจื้อ(ข่งฟูจื่อ) ต้นกำเนิดลัทธิขงจื้อ ผู้สร้างบรรทัดฐานทางการปกครอง ด้วยจริยธรรม เพื่อให้ มหาอาณาจักรเจ็ค กลายเป็นมหาอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ คำสอนของขงจื้อ มีอิทธิพลต่อ ชนชั้นปกครองของประเทศจีน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่า ฮ่องเต้ฉินสื่อหวง เคยรับสั่งให้ทำการเผาคำสอน ของ ขงจื้อ ทั้งหมด และยังสั่งให้ฆ่าสาวก ของ ขงจื้อ เนื่องจากบังอาจวิพากษ์วิจารณ์ฮ่องเต้ฉินสื่อหวง เพราะฮ่องเต้ ต้องการหวนกลับไปหาอดีต สมัยที่ดินแดนของ มหาอาณาจักรเจ็ค ปกครองโดยรัฐทั้งเจ็ด ซึ่งต่างเป็นอิสระต่อกัน

 

เมื่อ ขงจื้อ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ ๑๘๖ ปี ก่อนพุทธกาล ลูกศิษย์ที่สำคัญ ๗๐ คน ของ ขงจื้อ ได้นำคำสอนของ ขงจื้อ ออกเผยแพร่ ทั่วไปในดินแดนของ มหาอาณาจักรเจ็ค ซึ่งส่งผลต่อมาให้เกิดปัญญาชน ทั่วดินแดน มหาอาณาจักรเจ็ค ส่งผลต่อแนวคิดของกษัตริย์ ของ แคว้นฉิน แห่ง ราชวงศ์ฉิน ของ มหาอาณาจักรเจ็ค ในเวลาต่อมาด้วย ทำให้ ราชวงศ์ฉิน สามารถรวบรวมดินแดน มหาอาณาจักรเจ็ค และ มหาอาณาจักรหนานเจ้า มาปกครองรวมกัน เป็นปึกแผ่น และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของ มหาอาณาจักรเจ็ค โดยส่งผลโดยตรงให้ ชนชาติอ้ายไต แห่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า ถูก มหาอาณาจักรเจ็ค ก่อสงครามรุกราน ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ จึงเกิดการอพยพครั้งใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง ด้วย

 

ความเป็นมา ของ แคว้นสุวรรณเขต และ แคว้นจุลนี

หลักฐานประวัติศาสตร์จีน กล่าวว่า การที่ มหาอาณาจักรเจ็ค ทำสงครามเข้าครอบครอง แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ครั้งนั้น ราชวงศ์โจว์ตะวันออก ได้เปลี่ยนชื่อ แคว้นเสฉวน เป็นชื่อ แคว้นฉู่ หลังจากนั้น มหาอาณาจักรเจ็ค ได้ส่งชนชาติเจ็ค กลุ่มละประมาณ ๑,๐๐๐ คน อพยพเข้าไปตั้งรกรากใน แคว้นเสฉวน(แคว้นฉู่) ทำให้ชนชาติเจ้าอ้ายไต แห่งราชวงศ์หยาง นำชนชาติอ้ายไต ลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องแผ่นดิน

เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต แห่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า ลงไปสู่ดินแดนทางใต้ เป็นระลอกที่ ๓ ทำให้เกิดการผสมเผ่าพันธุ์ ระหว่างชนชาติอ้ายไต กับชนพื้นเมือง พวกแย่ อีกครั้งหนึ่ง ยังทำให้เกิดชนเผ่าไต หลายชนเผ่าที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เช่น อ้ายไต อ้ายลาว ไตลาว ไตหวัน ไตหูหลำ ไตจ้วง ไตดำ ไตขาว ไตแดง ไตยวน ไตลี้ ไตลื้อ ไตฉาน และ ไตใหญ่ เป็นต้น ชนชาวไต อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งตั้งรกรากในลุ่มแม่น้ำฮั่น ได้ผสมกับชนชาติเจ็ค ได้อพยพขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปยังแคว้นฉิน ทำสงครามกับ แคว้นจิ๋น คือฐานที่มั่น ของ จิ๋นซีฮ่องเต้ ในเวลาต่อมา

        เหตุการณ์สงครามครั้งนั้น นักประวัติศาสตร์ของจีน และนาๆ ชาติ ในปัจจุบัน ยอมรับว่า มีการอพยพ และการดูดกลืน ชนพื้นเมือง พวกแย่ ไปรวมเป็นประชากรของ มหาอาณาจักรเจ็ค ในเวลาต่อมา จากการสำรวจประชากรจีนทั้งหมดในปัจจุบัน พบหลักฐานว่า ประชากรจีนหลายร้อยล้านคน ในดินแดนทางใต้ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก ของดินแดนจีนในปัจจุบัน มิได้เป็นบรรพชนเชื้อสายจีน มาก่อน โดยเฉพาะในดินแดนทางตอนใต้ ของ แม่น้ำหยางจื้อ ล้วนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบด้วยหลายชาติพันธ์ หลายกลุ่มวัฒนธรรม ซึ่งทางจีนเคยเรียกว่า ไป่เย่ว หมายความว่า เป็นชนป่าเถื่อนร้อยเผ่า ชนพื้นเมืองดังกล่าว คนไทยเรียกกันมาอย่างยาวนานแล้วว่า พวกแย่ ซึ่งชนพื้นเมืองเหล่านี้ ได้มาผสมเผ่าพันธุ์ กับชนชาติอ้ายไต จนแยกออกเป็นหลายชนเผ่า ตามที่กล่าวมาแล้ว เช่นกัน

ภาพที่-23 ภาพกระโถนท้องพระโรง ของ ชนชาติอ้ายไต สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ขุดพบที่ มณฑลเหอหนาน เป็นหลักฐานที่แสดงว่า ชนชาติอ้ายไต เคยตั้งรกราก ครอบครองดินแดนในประเทศจีน ส่วนใหญ่ มาก่อน แต่หลังจากที่ ชนชาติอ้ายไต พ่ายแพ้สงครามเหล็ก รัฐต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ ชนชาติอ้ายไต บางรัฐ ก็หลอมรวมเป็นชนชาติเดียวกันกับชนชาติจีน บางกลุ่ม ก็อพยพมาตั้งรกรากใหม่ในดินแดนสุวรรณภูมิ

 

การที่ มหาอาณาจักรเจ็ค สามารถทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองกวางตุ้ง ราชธานี ของ แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง) เป็นผลสำเร็จ แล้วส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองกวางสี กวางเจา และ ตาเกี๋ย เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อแคว้นใหม่ ว่า แคว้นเย่ว ส่วนเชื้อสายราชวงศ์ตาจิว คือเชื้อเจ้า ๙ พระองค์ สามารถหลบหนีไปได้

ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ๙ พระองค์ ได้รวบรวมไพร่พล อพยพลงมาทางใต้ ตามริมฝั่งทะเลตะวันออก มารวมกันอยู่ในดินแดนเวียดนามตอนเหนือ ในปัจจุบัน และตั้งแว่นแคว้นขึ้นใหม่ เรียกว่า แคว้นเก้าเจ้า สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ท้าวจุลนี ได้อพยพลงมาสร้าง แคว้นจุลนี ในดินแดนทางภาคใต้ ของ ประเทศเวียตนาม และ ลาว ในปัจจุบันด้วย

ผลของสงครามการรุกรานของ มหาอาณาจักรเจ็ค แห่ง ราชวงศ์โจว์ ครั้งนั้น ได้เกิดการอพยพของชนชาติอ้ายไต ครั้งใหญ่ เป็นครั้งที่สาม เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ขัดแย้งกับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพราะ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ขยายดินแดนเข้าสู่ ดินแดน แคว้นอ้ายลาว ส่งผลให้เกิดการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันขึ้น เป็นที่มาให้เกิด เมืองสุวรรณเขต และ แคว้นจุลนี ขึ้นมาเป็นแนวเขตแดน ระหว่าง อาณาจักรสุวรรณภูมิ กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ภายหลังสงครามเหล็ก ด้วย

ภาพที่-24 แผนที่ อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) หลังสมัยสงครามเหล็ก ประกอบด้วย ๔ แว่นแคว้น คือ แคว้นนาคน้ำ แคว้นนาคฟ้า แคว้นนาคดิน และ แคว้นจุลนี

 

มีข้อตกลงสมัยโบราณ ก่อนสมัยพุทธกาล เรื่องกำหนดเขตแดน ของ ทั้งสองอาณาจักร โดยมีการตั้ง เมืองสุวรรณเขต ขึ้นมาในดินแดน ของ แคว้นจุลนี ยึดถือว่า ดินแดน เมืองสุวรรณเขต ของ แคว้นจุลนี ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เป็นดินแดนของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นส่วนหนึ่งในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

 

ภาพที่-25 รูปภาพจากฝากลองมโหระทึก ของ ชนชาติไทย ขุดพบบริเวณทะเลสาบเทียน ภูเขาสือไจ้ซาน มณฑลยูนนาน ในภาพ แสดงภาพเครื่องดนตรี ท่าฟ้อนรำ การแต่งกาย ทรงผม เครื่องปั้นดินเผา และพิธีกรรมต่างๆ ของ ชนชาติไทย แห่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งเคยตั้งรกรากในดินแดนจีน ปัจจุบัน

 

ตำนานบ้านวังพวกราชวงศ์ กล่าวว่า หลังสงครามเหล็ก ดินแดนทางตอนเหนือ ของ เมืองสุวรรณเขต หลังสมัยสงครามเหล็ก คือ แคว้นอ้ายลาว และ แคว้นเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) ยังมิได้ถือว่าเป็นดินแดนในการปกครองของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ แต่ถือว่า เป็นดินแดนแว่นแคว้นหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า

ดินแดน คาบสมุทรเขมร และ คาบสมุทรจามปา ในอดีต คือดินแดนส่วนหนึ่ง ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ก่อนที่ชนชาติทมิฬโจฬะ จากอินเดียใต้ จะอพยพเข้ามาครอบครอง ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง ต่อมา ดินแดนแคว้นเก้าเจ้า และ แคว้นอ้ายลาว ได้เข้ามารวมกับ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ของ มหาอาณาจักรจีน ในสมัยต่อมา

 

 

 

เชิงอรรถ



§-1  P. Wheatley, The Golden Khersonese op.cit.,p.129

 

§-2  G. Coedes, Textes d auteurs grecs et latins relatifs al Extreme-Orien, depuis le. IV siecle av.J.C.jusqu au XIV siecle (Paris, 1910) p.14-15 และ  จาก Coades op. cit.

 

§-3  บ้านวังพวกราชวงศ์ คือ กลุ่มเชื้อสายราชวงศ์กรุงศรีอยุธยา กลุ่มเชื้อสายราชวงศ์จักรี และ เชื้อสายราชวงศ์พระเจ้าตากสิน ซึ่งได้สมรสเกี่ยวโยงกัน และได้อพยพไปตั้งรกรากอยู่ในท้องที่ ทุ่งลานช้าง ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเหตุการณ์หลังจากที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หมดอำนาจ

 

§-4  คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๖ และ สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๑

 

§-5  ผู้เรียบเรียง ถอดความเรื่องราวจากคำกลอนกล่อมลูก ซึ่ง นางน้อม พรหมทุ่งค้อ , นางช่วย สำเภา และ นางตา ใหม่ซ้อน ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ช่วยกันร้องเพลงกล่อมลูก เรื่อง เจ้ามรรคขุน มาสรุปเรื่องราว ขึ้นโดยสังเขป

 

§-6  ปีโลศักราช หมายถึง ปีที่ท้าวโกศล ประกาศเอกราชของชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือเมื่อ ๑๑๙๐ ปี ก่อนพุทธศักราช มีที่มาจาก หนังสือ วัสสานุกรม พระชนมายุ ๘๐ พระพุทธวัสสานุกรม ๔๕ พรรษา มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐของชนชาติไทย ในสมัยพุทธกาล พระพุทธโฆสเถรได้รจนาไว้ใน ญาโณทยปกรณ์ ต่อมา สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกส ได้ทรงจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ มีข้อความกล่าวถึงปีโลศักราชว่า ...สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธสมณโคดมพระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามเดิมว่า สิทธัตถ โคตมโคตร อริยกชาติ ขัตติยราช ศากยตระกูล ณ กบิลพัสดุ์นคร เนปาลประเทศ เสด็จอุบัติ ณ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ วิสาขมาส ก่อน พ.ศ. ๘๐ ปี ตรงกับปีโลไทย ๑๑๑๐... แสดงว่า ปีโลศักราชที่ ๑ คือเมื่อ ๑๑๙๐ ปี ก่อนปีพุทธศักราช นั่นเอง

 

§-7  ศาสตราจารย์.ดร. ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ปราสาทเขาพนมรุ้ง สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๓๔๘-๓๖๓

 

§-8 คำกลอนลายแทงเรื่องการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ในท้องที่ภาคใต้ กล่าวว่า เมืองโมกข์คลาน สร้างก่อน เมืองนคร สร้างภายหลัง มีเรื่องราวกล่าวว่า เมืองโมกข์คลาน เป็นเมืองหนึ่ง ของ แคว้นสุธรรม ต่อมา ในปลายสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คือ สมัยของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ซึ่งมีราชธานีอยู่ที่ กรุงสระทิ้งพระ ได้เกิดสงครามขึ้น ในปลายรัชกาลของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน แคว้นสุธรรม และ เมืองโมกข์คลาน ถูกชนชาติกลิงค์ จากดินแดนเกษียรสมุทร ส่งกองทัพเข้าตีเมืองแตก ดินแดนสุวรรณภูมิ เต็มไปด้วยสงคราม ทำให้ พระกฤษณะ ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ มีพระนามว่า ขุนราม เป็นภพชาติที่ ๓ ของ จตุคามรามเทพ ได้มาทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืน ต่อมา พระเชษฐา ของ ขุนราม มีพระนามว่า ศรีไชยนาท ได้ไปสร้างเมืองโมกข์คลาน ขึ้นใหม่ และเรียกชื่อว่า เมืองนาคร หรือ เมืองตาม้ากลิงค์ ขณะนั้น เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) กลายเป็นเมืองมหาจักรพรรดิ ส่วนเมืองนคร ได้กลายเป็นเมืองจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๒๔ เป็นต้นมา ต่อมา จักรพรรดิศรีไชยนาท เป็นผู้ทำสงครามปราบปรามชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ และ ชนชาติกลิงค์ ในดินแดนเกษียรสมุทร เป็นผลสำเร็จ ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงสงบสุข เรื่อยมา

 

§-9  ศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา สืบสานประวัติศาสตร์สังคม และวัฒนธรรม ไป่เย่ว การศึกษาเชิงมานุษยวิทยา โครงการวิจัยประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมชนชาติไท ได้รับทุนอุดหนุนทุนการวิจัย และการพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(ส.ก.ว.)

 

 

 
Visitors: 54,478