รัชกาลที่ ๕๖ พระเชษฐาธิราช(พระอินทราชา) กรุงสุพรรณบุรี ปี พ.ศ.๑๘๙๐-๑๘๙๓

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๖ 

พระเชษฐาธิราช(พระอินทราชา) 

กรุงสุพรรณบุรี ปี พ.ศ.๑๘๙๐-๑๘๙๓

 

ปี พ.ศ.๑๘๙๐ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาโชดึก เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อพระยาเชษฐาธิราช กรุงสุพรรณบุรี จึงได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเชษฐาธิราช ว่าราชการที่ กรุงสุพรรณบุรี โดยมี นายกพระยาอู่ทอง เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาอู่ทอง ว่าราชการที่ กรุงละโว้ และมี พระยาราเมศวร เป็น นายกพระยาราเมศวร ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสุพรรณบุรี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุพรรณบุรี เป็นรัชกาลที่ ๕๖

ปี พ.ศ.๑๘๙๐ พระยาผายู(พ.ศ.๑๘๗๙-๑๘๙๘) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ มหาอาณาจักรจีน เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้น อาณาจักรลานนา ไม่ยอมเป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน อีกต่อไป

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๘๙๑ ชาวจีนชื่อ ไป๋อีจ้วน ได้บันทึกถึงเรื่องราวของ อาณาจักรโกสมพี ว่า...

...สมัย จื้อเจิ้ง (พ.ศ.๑๘๙๑) เสือข่านฟ้า ขุนนางท้องถิ่น แห่ง หลูชวน ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี และข่มขู่เส้นทางต่างๆ แม่ทัพ แห่ง ราชวงศ์หยวน ชื่อ ปาตุลู ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม แต่ไม่สามารถปราบปรามได้ เสือข่านฟ้า ยังคงเข้ายึดเส้นทางต่างๆ แต่ก็ได้ส่ง พระราชโอรส ชื่อ มังชา เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปยัง ราชสำนัก ของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อแจ้งเหตุผล และ ความจงรักภักดี ยอมรับการตัดสิน และ มีเครื่องราชบรรณาการ ไปถวาย ราชสำนักจีน ได้มอบ ชุดฉลองพระองค์ เครื่องใช้ต่างๆ ตามที่กษัตริย์ต่างๆ มีใช้กัน...   

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๕๓)

ปี พ.ศ.๑๘๙๒ พระนิรวาณบท แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุพรรณบุรี โดยยกกองทัพเข้าโจมตี ทั้ง อาณาจักรละโว้(ประเทศกัมพุช) กรุงละโว้ และ กรุงศรีอยุธยา เกิดสงครามยืดเยื้อ เป็นเวลา ๓ ปี

ปี พ.ศ.๑๘๙๒ เจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งเป็นพระราชบุตรเขย ของ พระนิรวาณบท เพราะได้อภิเษกสมรส กับ นางแก้วเก็งยา พระราชธิดา ของ พระนิรวาณบท แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-เขมร) ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองปากกบ เป็นผลสำเร็จ พระยาพรหมทัต เจ้าเมืองปากกบ ถูกฟันตายบนคอช้าง 

(สิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๒)

ปี พ.ศ.๑๘๙๒ ได้เกิดสงครามขึ้นภายในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน อย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ อิทธิพล ของ มหาอาณาจักรจีน บริเวณช่องแคบมะละกา จึงลดลง พระนางตรีภูวนา(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๓) แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า จึงมีอิทธิพล เพียงดินแดนเกาะชวา เท่านั้น สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ จึงมีอิทธิพล เหนือดินแดน ช่องแคบมะละกา อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๘๙๒ นักเดินเรือชาวจีน ชื่อ หวังตาหยวน ได้บันทึกเรื่องราวเมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๒ ว่า ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามเข้ายึดครอง เกาะตาม้าซิก อีกครั้งหนึ่ง หลังจากเคยทำสงครามยึดครองเมื่อปี พ.ศ.๑๘๗๓ และ พ.ศ.๑๘๘๓ มาแล้ว และได้กล่าวถึง อาณาจักรเสียม หรือ ประเทศเสียม ว่า...

...ประชาชน ของ สหราชอาณาจักรเสียม มีความเชี่ยวชาญในการเดินเรือทะเลมาก พลเมืองเป็นโจรสลัดกันมาก เมื่อใดก็ตาม ที่มีเหตุวุ่นวายขึ้นในชาติอื่นๆ อาณาจักรเสียม จะนำกองทัพหลายร้อยลำ พร้อมทหาร และ เสบียงอาหาร เพื่อเข้าทำสงครามอย่างกล้าหาญ จนได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ พระนางตรีภูวนา(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๓) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา สวรรคต พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ขึ้นครองอำนาจ ด้วยการบริหารงานของ กาจา มาดา มุขมนตรี ผู้ชี้นำการบริหารอาณาจักร สามารถทำให้ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองมะละกา เพื่อเข้าควบคุมเส้นทางการเดินเรือ ช่องแคบมะละกา และ ช่องแคบซุนดา ได้ทั้งหมด อีกครั้งหนึ่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า จึงกลายเป็นอาณาจักรที่มีอิทธิพล เพิ่มขึ้นเรื่อยมา

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ ชาวจีน ชื่อ หวังตาหยวน ได้บันทึกถึง เกาะชวา ว่า...

...อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา เป็นประเทศที่มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ประชาชนที่มีอยู่ เป็นจำนวนมาก รักสันติภาพ และ เป็นผู้ที่ก้าวหน้าที่สุด ในบรรดาชนชาติป่าเถื่อน ทางทะเลทิศตะวันออก...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ กองเรือญี่ปุ่น เริ่มทำสงครามกับ ชายฝั่งทะเล ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นเหตุให้ ชาวจีน ที่ตั้งรกรากตามชายฝั่งทะเล ต้องอพยพลึกออกไปจากชายฝั่ง เพื่อมิให้ กองเรือ ของ ชาวญี่ปุ่น ส่งกองทัพเข้าปล้นสะดม

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๗)

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ เจ้าฟ้างุ้ม พระราชบุตรเขย ของ พระนิรวาณบท แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-เขมร) ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองกะบอง(ศรีโคตรบูร) ราชธานี ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร(อีสานเหนือ) เป็นผลสำเร็จ พระยานันทเสน(พระยากะบอง) ขี่ช้างหนี เจ้าฟ้างุ้ม ติดตามฆ่าเสีย แล้วแต่งตั้งให้ พระอนุชา ของ พระยานันทเสน ขึ้นปกครอง บังคับให้เป็นเมืองขึ้น และให้ส่งส่วย ตามที่ต้องการ หลังจากนั้น เจ้าฟ้างุ้ม ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองเมืองต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น เมืองจามปาศักดิ์ เมืองชุมพร และ เมืองเสียม เป็นต้น  

(สิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๔๒)

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ ผลของสงคราม ณ กรุงละโว้ ระหว่าง พระนิรวาณบท แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ กับ จักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง กรุงละโว้ เกิดการรบกันอย่างดุเดือด กองทัพของ อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) พ่ายแพ้สงคราม แม่ทัพของ อาณาจักรคามลังกา ต้องถอนทัพกลับ สงครามครั้งนั้น มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ไข้ทรพิษ ระบาดซ้ำ จักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง ต้องอพยพไพร่พล ไปตั้งอยู่ที่ ดงพระยาใหญ่ เป็นการชั่วคราว 

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ พระนิรวาณบท ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงศรีอยุธยา ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ซึ่งยืดเยื้อมาแล้วเป็นเวลา ๓ ปี ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเชษฐาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงอยุธยา บาดเจ็บ เพราะสงครามต้องล่าถอยไปตั้งทัพอยู่ที่ เมืองสิงห์บุรี เนื่องจาก มหาจักรพรรดิพระอินทราชา ไม่มีพระราชโอรส จึงสละราชสมบัติให้กับ จักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง เป็นผู้สืบทอดราชสมบัติ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ในรัชกาลถัดมา หลังจาก พระอินราชา รักษาแผลจากการบาดเจ็บในสงครามเรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จไปครองเมืองสุพรรณบุรี ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ พระนิรวาณบท แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) บาดเจ็บ ทำให้กองทัพของ อาณาจักรคามลังกา ต้องถอนทัพกลับ แต่ถูกกองทัพของ จักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง ซุ่มตีที่ ดงพระยาใหญ่ ดงพระยากลาง และ ดงเทพสถิต ทหารทมิฬโจฬะ(เขมร) บาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ จักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง กรุงละโว้ สำเร็จภารกิจที่ดงพระยาใหญ่ จึงตัดสินพระทัย อพยพไพร่พล ไปใช้กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี พงศาวดารไทย บันทึกว่า...

...ประเทศกัมพุช(อาณาจักรละโว้) นั้น พระเจ้าแผ่นดินทิวงคต หาพระวงศ์มิได้ ชนทั้งปวงจึงยกเจ้าอู่ทอง อันเป็นบุตรโชดึกเศรษฐี มาราชาภิเษกผ่านถวัลราช ครั้งนั้นบังเกิดไข้ทรพิษหนัก ราษฎรทั้งปวงล้มตายเป็นอันมาก พระองค์จึงยังเสนา ได้อพยพราษฎรออกจากเมือง แต่เพลาราตรีกาล ไปโดยทักษิณทิศ เพื่อหนีห่า และพระเชษฐาท่านนั้น เข้าพักพลปกติอยู่ที่ ประเทศเมืองสุพรรณ แต่พระเจ้าอู่ทองนั้น ยาตราพลรอนแรมไปหลายราตรี จึงพบแม่น้ำใหญ่ แล้วเห็นเกาะหนึ่งเป็นปริมณฑลประดิษฐาน อยู่ท่ามกลางภูมิภาคนั้น...พระองค์จึงมีพุทธบัณฑูรตรัสทำนายว่า อรัญประเทศนี้ ไปเบื้องหน้าจะปรากฏราชธานีหนึ่ง ชื่อว่า พระนครทวาราวดีศรีอยุธยา แล้วพระดาบสก็เขียนรูปด้วยถ่านเพลิง แล้วทิ้งขึ้นไปบนอากาศ ตกลงมาเป็นผ้าสาฎก ประจักหนทางสามแพร่ง ให้เห็นว่า ชนในประเทศนี้ จะเจรจามุสาวาท ความจริงน้อย...

 

ปี พ.ศ.๑๘๙๓ มหาจักรพรรดิพระอินทราชา ซึ่งรักษาร่างการจากการบาดเจ็บ อยู่ที่เมืองสิงห์บุรี และไม่มีพระราชโอรส จึงสละราชสมบัติให้กับ จักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง เป็นผู้สืบทอดราชสมบัติ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ในรัชกาลถัดมา หลังจาก พระอินราชา รักษาแผลจากการบาดเจ็บในสงครามเรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จไปปกครอง เมืองสุพรรณบุรี ในเวลาต่อมา

Visitors: 54,261