รัชกาลที่ ๕๓ มหาจักรพรรดิ พระยาเลอไทย กรุงสุโขทัย ปี พ.ศ.๑๘๕๖-๑๘๗๓

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๓ 

มหาจักรพรรดิพระยาเลอไทย

กรุงสุโขทัย ปี พ.ศ.๑๘๕๖-๑๘๗๓

 

ปี พ.ศ.๑๘๕๖ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพระยาเลอไทย กรุงสุโขทัย จึงทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเลอไทย โดยมี นายกพระยาไสสงครามณรงค์ เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาไสสงครามณรงค์ ว่าราชการที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และมี พระยาโชดึก เป็น นายกพระยาบรมโชดึก ว่าราชการที่ กรุงละโว้ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เป็นรัชกาลที่ ๕๓

ปี พ.ศ.๑๘๕๗ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเลอไทย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๘๕๘ พระเจ้าสีหสุ(พ.ศ.๑๘๕๕-?) ราชวงศ์ไทยใหญ่ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปินยา แต่งตั้งให้ พระราชโอรส ของ พระเจ้ากะยอชวา มีพระชนมายุ ๑๘ พรรษา ซึ่งเป็นพระราชโอรส ติดพระครรภ์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๔๐ ให้เป็นรัชทายาท ปกครอง เมืองสะแคง เช่นเดียวกับที่ พระเจ้าครรชิต เคยกระทำในอดีต เพื่อสร้างพันธมิตร กับ ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) เป็นเหตุให้ อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ไม่พอใจการกระทำ ของ พระเจ้าสีหสุ เป็นอันมาก   

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๕๙ เจ้าฟ้างุ้ม พระราชโอรสองค์เล็ก ของ เจ้าฟ้าเงี้ยว(โอรส ของ พระยาสุวรรณคำผง) แห่ง ราชอาณาจักรลาว กรุงลานช้าง ประสูติ โดยมีฟัน ๓๓ ซี่ ทำให้ พวกสภามุขมนตรี แห่ง ราชอาณาจักรลาว เกรงว่าจะเป็นคนจัญไร จึงรับสั่งให้สร้างแพลอยน้ำ ไปตามแม่น้ำโขง ให้ไปอยู่ที่อื่น โดยมีข้ารับใช้ ติดตามไปด้วย ประมาณ ๔๐ คน ต่อมาเมื่อเดินทางถึงแก่งหลี่ผี ได้ตั้งรกรากอยู่ข้างวัดแห่งหนึ่ง

(สิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๓๙)

ปี พ.ศ.๑๘๖๐ หลักฐานพม่ากล่าวว่า มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช เสด็จสวรรคต

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๖๑ พระเจ้าชัยสิงหวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ยกกองทัพเข้ายึดครอง ๒ แคว้นทางเหนือ บริเวณช่องเขาเมฆ ของ อาณาจักรไตเวียต กลับคืน แต่พ่ายแพ้สงคราม ต้องหลบหนีไปยัง เกาะชวา เป็นเหตุให้ อาณาจักรไตเวียต ส่ง นายพลแจอานาน ไปปกครอง อาณาจักรจามปา

ปี พ.ศ.๑๘๖๑ มหาราชาพระยาศรีทูล แห่ง อาณาจักรเสียม นครศรีธรรมราช เสด็จสวรรคต

ปี พ.ศ.๑๘๖๒ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเลอไทย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๓) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๘๖๒ กาจามาดา มุขมนตรี แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้แสดงความสามารถในการปราบกบฏ จึงกลายเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจในการบริหารหาร อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า ให้ยิ่งใหญ่ ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๘๖๓ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๓) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า อิงจง ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้อิงจง(พ.ศ.๑๘๖๓-๑๘๖๖) แห่ง ราชวงศ์หงวน (มองโกล) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๕

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๓)

ปี พ.ศ.๑๘๖๓ ฮ่องเต้อิงจง(พ.ศ.๑๘๖๓-๑๘๖๖) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูตมายัง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) เพื่อขอซื้อช้างที่ฝึกแล้ว จาก พระเจ้าศรีอินทรชัยวรมัน มีบันทึกว่า...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๑๙)

ปี พ.ศ.๑๘๖๔ บาทหลวงโอโดริค แห่ง ปอร์เดนอน ได้เดินทางมาแวะพักที่ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ได้บันทึกถึง อาณาจักรมัชฌปาหิ ว่า...

...อาณาจักรมัชฌปาหิ มีความยาวถึง ๓๐๐๐ ไมล์ มหาราชา ผู้ปกครองอาณาจักร ทรงมี พระราชา ประเทศราช อีก ๗ พระองค์ หมู่เกาะนี้ มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างมากมาย และเป็นเกาะที่สอง ที่ดีที่สุดในบรรดาเกาะที่มีอยู่....พระราชาแห่งเกาะนี้ทรงมีพระราชวังที่งดงามอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าใหญ่โตมาก...ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ทรงต่อสู้หลายครั้ง กับ พระราชาองค์นี้ แต่ มหาราชาพระองค์นี้ ก็ทรงชนะได้เสมอ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๘๖๕ พระยาผานอง(พ.ศ.๑๘๖๕-๑๘๙๕) ราชวงศ์แมนกาว ขึ้นปกครอง เมืองปัว แคว้นกาวเทศ(น่าน)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๘๖๖ เจ้าฟ้างุ้ม โอรส ของ เจ้าฟ้าเงี้ยว แห่ง ราชอาณาจักรลาว กรุงลานช้าง มีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา ข้ารับใช้ ได้นำ เจ้าฟ้างุ้ม ไปฝากพระภิกษุชื่อ พระมหาปาสมันต์ เพื่อนำไปให้การศึกษา จนถึงพระชนมายุ ๑๖ พรรษา

(สิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๓๙)

ปี พ.ศ.๑๘๖๖ ฮ่องเต้อิงจง(พ.ศ.๑๘๖๓-๑๘๖๖) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า ไท่ติ้ง ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๖๖-๑๘๗๑) แห่ง ราชวงศ์หงวน (มองโกล) เรียกว่า รัชกาลไท่ติ้ง ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๖

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๓)

ปี พ.ศ.๑๘๖๖ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเลอไทย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๖๖-๑๘๗๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๘๖๗ สมเด็จพระบรมจักรพรรดิตราธิราช(พระบรมราชา) หรือ จักรพรรดิพ่อไสสงครามณรงค์ สร้างพระพุทธรัตนายก วัดพนัญเชิง ณ กรุงศรีอยุธยา แล้วออกผนวช ระยะหนึ่ง แล้วมอบให้ พระยาอู่ทอง เป็นผู้สำเร็จราชการ ดูแล กรุงศรีอยุธยา แทนที่

ปี พ.ศ.๑๘๖๘ มหาราชา พระยาไชยสงคราม(พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๘) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงราย สวรรคต มหาอุปราช พระยาแสนพู(พ.ศ.๑๘๖๘-๑๘๗๗) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรลานนา กรุงเชียงราย และมอบให้ พระยาคำฟู เป็น มหาอุปราช ปกครอง เมืองเชียงใหม่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๔๕)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๘๖๘ สุลต่าน กาล คาเมต ชาห์(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๗๑) หรือ พระเจ้าชัยนคร แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๖๖-๑๘๗๑) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ราชทูตมีชื่อว่า เชงเจียลิเย มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๖๙ นายพลแจอานาน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้สมคบกับ ฮ่องเต้เหรินจง ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ประกาศให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) แยกตัวเป็นอิสระจาก อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) บาทหลวงโอดอริค แห่ง ปอร์เดโนน ได้บันทึกว่า...

...ชื่อ จามปา เป็นประเทศที่ดี ในประเทศจามปา มีอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นสิ่งที่ดี ทั้งหมด พระราชา ของ ประเทศจามปา มีพระราชโอรสธิดา ถึง ๒๐๐ พระองค์ เหตุเพราะว่า พระองค์มีพระชายา และ สนม เป็นจำนวนมาก ตามชายฝั่งทะเล มีปลาชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อมาแสดงความเคารพต่อ จักรพรรดิ ของ เขา เมื่อบุรุษตายลง ในประเทศนี้ เขาจะฝังศพภรรยาลงไปด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๕)

ปี พ.ศ.๑๘๖๙ สุลต่าน กาล คาเมต ชาห์(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๗๑) หรือ พระเจ้าชัยนคร แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ กับ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๖๖-๑๘๗๑) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๐ สุลต่าน กาล คาเมต ชาห์(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๗๑) หรือ พระเจ้าชัยนคร แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๖๖-๑๘๗๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๐ พระยาแสนพู(พ.ศ.๑๘๖๘-๑๘๗๗) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงราย ได้ย้ายราชธานี ของ อาณาจักรลานนา ไปตั้งอยู่ที่ กรุงเชียงแสน กำแพงเมืองกว้าง ๑,๔๐๐ เมตร ยาว ๓,๐๐๐ เมตร มีป้อมปราการ ๘ แห่ง

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๘๗๐ พระเจ้าศรีนทรชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนครหลวง สวรรคต โดยมี พระเจ้าชัยวรรมาทิปรเมศวร ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ต่อมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๑ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๖๖-๑๘๗๑) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า เทียนซุ่น ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้เทียนซุ่น(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๗๒) แห่ง ราชวงศ์หงวน (มองโกล) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๗

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๓)

ปี พ.ศ.๑๘๗๑ สุลต่าน กาล คาเมต ชาห์(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๗๑) หรือ พระเจ้าชัยนคร แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เทียนซุ่น(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๗๒) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๒ พระเจ้าชัยนคร(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๗๑) หรือ พระเจ้าชวา นาการา หรือ สุลต่าน กาล คาเมต ชาห์ แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา สวรรคต พระนางตรีภูวนา(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๓) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะสุมาตรา ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๗๒ ฮ่องเต้เทียนซุ่น(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๗๒) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า หมิงจง ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้หมิงจง(พ.ศ.๑๘๗๒-๑๘๗๓) แห่ง ราชวงศ์หงวน (มองโกล) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๘

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๓)

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ พระนางตรีภูวนา(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๓) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า มอบให้ มุขมนตรี กาจา มาดา ซึ่งเป็นมุขมนตรี ที่สร้างความมั่นคงให้กับ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา พยายามส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นตาม้าศรีชัยนาท(สิงค์โป) แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ ทำให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ซึ่งมีความชำนาญทางด้านทะเล ได้ยกกองทัพเข้าปราบปราม ถึง ๒ ครั้ง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๐)

 

ปี พ.ศ.๑๘๗๓ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเลอไทย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เสด็จสวรรคต

Visitors: 54,293