พระพุทธศาสนา เข้าสู่ ดินแดนสุวรรณภูมิ ณ ภูเขาภิกษุ

จากการรวบรวมเอกสารโบราณเกี่ยวกับความเป็นมาทางพระพุทธศาสนา ของ พระปัญญาสามีเถระ ซึ่งเขียนขึ้นเป็นภาษาบาลี เสร็จเมื่อวันเพ็ญ เดือนอ้าย พ.ศ.๒๔๐๕ ชื่อ หนังสือศาสนาวงศ์ หรือ ประวัติพระพุทธศาสนา แปลโดย ศาสตราจารย์แสง มนวิทูล กรมศิลปากร หน้าที่ ๕๒-๕๖ กล่าวว่า ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพาน ๓๕ ปี ได้มี พระภิกษุ ๒ องค์ เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ คือเหตุการณ์เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ประมาณ ๗ สัปดาห์ กล่าวถึงพระภิกษุ ๒ องค์ คือ พระตปุสสะ และ พระภัลลิกะ เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ

การศึกษาของ พระราชกวี(อ่ำ) ซึ่งเป็นผู้ค้นคว้าการเข้ามาของพระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกผู้หนึ่ง กล่าวว่า ชนชาวไตคนแรก ที่บวชเป็นพระภิกษุองค์แรกมีนามว่า พระปุณณเถระ ได้บวชเรียนอยู่ ๓ พรรษา ต่อมาได้นิมนต์พระพุทธองค์ให้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ พระพุทธเจ้า จึงได้เสด็จมาประทับ ณ กรุงราชคฤห์(ครหิต คันธุลี) เนื่องจากมีความเชื่อว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย แล้ว ได้มีพระภิกษุ ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต ซึ่งได้เดินทางไปบวชเรียน ณ ประเทศอินเดีย ได้มาตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) แคว้นคลองหิต(คันธุลี) โดยมิได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ผู้ปกครองของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ แต่อย่างใดนั้น ในเรื่องนี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดารไทยอาหม ใกล้เคียงกับ ตำนานความเป็นมาของภูเขาชวาลา(ภูเขาภิกษุ) ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วย

       ภูเขาชวาลา เคยมีชื่อว่า ภูเขาภิกษุª-มีตำนานเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จมายัง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนั้น ปกครองโดย มหาราชาเงาคำ และเมื่อ พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย แล้ว มีชายคนหนึ่งที่แคว้นคลองหิต ชื่อ "หารคำงาม" เป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ได้เดินทางตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยัง อินเดีย ด้วย และได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ ต่อมา ภิกษุหารคำงาม ได้เดินทางกลับมายังแคว้นครหิต(คลองหิต) และได้มาสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) เพื่อทำการเผยแพร่พุทธศาสนา เป็นเหตุให้ ภูเขาชวาลา จึงถูกเรียกชื่อว่า ภูเขาภิกษุ ตั้งแต่นั้นมา

       เนื่องจาก ในสมัยนั้น พระพุทธศาสนา ยังมิได้รับการยอมรับจากประชาชนชนชาติอ้ายไต มากนัก เพระมิได้รับการสนับสนุนจาก มหาราชาเงาคำ กษัตริย์ผู้ปกครอง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมื่อภิกษุหารคำ ถึงแก่มรณภาพ ก็ยังมี พระภิกษุสงฆ์ ใช้ภูเขาภิกษุ เป็นสำนักสงฆ์เผยแพร่พระพุทธศาสนา สืบทอดเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดสงครามขึ้นที่ ทุ่งพระยาชนช้าง ภูเขาภิกษุ จึงถูกเปลี่ยนชื่อ โดย ขุนเทียน เป็นชื่อ ภูเขาชวาลา อีกครั้งหนึ่ง

       บุญกุศลที่ ภิกษุหารคำงาม ได้สร้างไว้ ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ทำให้ในภพชาติต่อมา หาญคำงาม ได้ไปประสูติ เป็นพระราชโอรส ของ พระนางสังฆมิตร และเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ในประเทศอินเดีย มีพระนามว่า เจ้าชายสุมิตร ต่อมาพระองค์ได้กลับมาเป็นกษัตริย์ ของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ใกล้กับ แคว้นครหิต(คลองหิต) และได้เปลี่ยนพระนามใหม่เป็นภาษาไทย ว่า "หารคำ" ในเวลาต่อมา เป็นต้นราชวงศ์คำ และ ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) และเป็นผู้ที่นำวิชาการต่างๆ มาใช้เพื่อการปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ให้เกิดแบบแผน และเป็นผู้ที่ นำพระพุทธศาสนา มาทำการเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างได้ผล ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน ในเวลาต่อมาด้วย

ยังมีหลักฐานในวรรณกรรมในพุทธศาสนา ชื่อ มหากรรมวิภังª- ได้บันทึกกล่าวถึงพ่อค้าผู้มีความเชี่ยวชาญในการเดินเรือ มักจะนิยมเดินทางไปค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ และในบันทึกดังกล่าว ยังกล่าวว่า พระควัมปติเถระ(ความปิติเถระ) เป็นผู้ร่วมนำพระพุทธศาสนา จากอินเดีย มาประดิษฐาน ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๘ ด้วย

       จากหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนา ได้เข้ามาเผยแพร่ยังดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยได้มาตั้งสำนักสงฆ์อยู่ที่ ภูเขาภิกษุ หรือ ภูเขาชวาลา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ เมืองครหิต(คลองหิต) ซึ่งเป็นเมืองราชธานี ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ปัจจุบันคือท้องที่ บ้านชวาลา ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี นั่นเอง อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนา ยังมิได้แพร่หลาย เพราะมิได้รับการสนับสนุนจาก มหาราชา ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ

       ต่อมา พระพุทธศาสนา ได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน ซึ่ง มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ได้นำพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ พระพุทธศาสนา จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๐๔ เป็นต้นมา



ª- พงศาวดารไทยอาหม จัดพิมพ์โดย กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ เรียก ภูเขาภิกษุ ว่า ภูภิกษุ กล่าวว่า หาญคำงาม เคยเกิดมาในเมืองที่เต็มไปด้วยเมฆหมอก(แคว้นยืนนาน) เมื่อตายไป มีบริวารอยู่ในสรวงสวรรค์ ๙,๐๐๐ องค์ ต่อมา เทวดา ได้มองเห็น เงาคำ ไปนั่งสมาธิ อยู่ที่ ภูเขาภิกษุ จึงถูกภูเขาภิกษุ ยึดเอาไว้ และได้สถาปนา เงาคำ ให้เป็น มหาราชา แห่ง เมืองกลิงครุ(แคว้นกลิงค์รัฐ หรือ แคว้นคลองหิต) ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ มีพระนามใหม่ว่า รุ่งช้างดำ

       ส่วน ตำนานภูเขาภิกษุ กล่าวว่า หารคำงาม เป็นเชื้อสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต หนีภัยสงครามมาจาก มหาอาณาจักรหนานเจ้า มาบวชเป็นพระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ และได้สร้างสำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ ขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นแห่งแรก และหารคำงาม ได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ จนกระทั่ง ถึงแก่อนิจกรรม บุญกุศลที่ หารคำงาม สร้างไว้ จึงได้เกิดมาในภพชาติใหม่ เป็น พระเจ้าสุมิตร เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งได้มาอภิเษกสมรส กับ เชื้อสายราชวงศ์แมนสม คือ พระนางเชียงเม่งกุ้ย ทำให้ พระเจ้าสุมิตร เปลี่ยนพระนามใหม่ว่า หารคำ กลายเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ต่อจาก มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ซึ่งได้สละราชย์สมบัติ ออกผนวช เป็นต้นราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ในดินแดนสุวรรณภูมิ

 

ª-  มหากัมมวิภังคสูตร สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์สูตรที่ ๓๖

 

Visitors: 54,286