พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เล่มที่ ๒ (นอกตำราเรียน)

   พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เล่มที่ ๒ (นอกตำราเรียน)

          เนื้อหาหลักๆ เป็นการปราบปราม ก๊กพระเจ้าโสร์ทศ(เจ้าฟ้าจุ้ย พระโอรสของเจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งมหาอาณาจักรจีนรับรองและพม่าให้การสนับสนุน จึงเป็นก๊กที่มีกองกำลังและแนวร่วมที่ความเข้มแข็งมากๆ ทำให้สมเด็จพระสมเด็จพระเจ้าตากสินฯต้องสูญเสียเวลาปราบปราม จนไม่สามารถยกทัพไปป้องกัน กรุงศรีอยุธยาได้ทันเวลา

         ทางท่านอาจารย์เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ยังไม่ได้ พิมพ์เป็นเล่ม แต่เพื่อให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านได้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องตัดขอตอนมาจาก บทความ ประวัติศาสตร์เมืองไชยา คันธุลีและนครศรีธรรมราช จำนวน ๒ บทประมาณ ๑๕๕ หน้า แต่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์มากนัก เพราะยังไม่มีคำนำและเชิงอรรถ ทำให้ขาดอรรถรสในการอ่านไปบ้างจึงต้องขอกราบอภัยด้วยครับ.

 

บทที่ ๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมัย กรุงธนบุรี

 

บทที่ ๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ฟื้นฟู อาณาจักรสยาม กรุงไชยา

 

 

                                                                       บทที่-๑

 สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สมัย กรุงธนบุรี

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สร้างราชธานี อาณาจักรเสียม-หลอ ที่กรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๑๐

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าศรีสรรเพชรสิน แห่ง ราชอาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี เสด็จสู่กรุงธนบุรี ทำพิธีบวงสรวง จักรพรรดิพ่อศรีชัยนาท หรือ พระนรบดีสวัสดีศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพระเชษฐา ของ จตุคามรามเทพ แทนที่ เพื่อขอใช้ เมืองธนบุรี เป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรเสียม-หลอ เป็นการชั่วคราว

 

แผนที่ พระราชวังหลวง กรุงธนบุรี ที่ชาวต่างประเทศวาดขึ้น ลูกศร คือ เส้นทางเดินเรือ จากปากน้ำเจ้าพระยา

 

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าศรีสรรเพชรสิน ได้สร้างพระราชวังกรุงธนบุรี มีเมืองต่างๆ ของ อาณาจักรละโว้ กรุงธนบุรี ที่ยอมขึ้นต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ จด กรุงเก่า ลพบุรี อ่างทอง ทิศตะวันออก จดเมือง บันทายมาศ ทิศตะวันตก จดเมืองกาญจนบุรี และ สุพรรณบุรี ทิศใต้ จด เมืองราชบุรี ส่วนดินแดนตั้งแต่เมืองเพชรบุรี ลงไปทางใต้ ถือเป็นดินแดน ของ อาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี ปกครองโดย สมเด็จเจ้าพระยาอินทร์วงศา แสดงให้เห็นว่า อาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี สามารถทำสงคราม ยึดครองอาณาจักรละโว้ กลับคืนเป็นผลสำเร็จ จึงกลายเป็น อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ที่รอการทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์ อาณาจักรเสียม-หลอ อีกครั้งหนึ่ง

เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าศรีสรรเพชรสิน ซึ่งมีพระชนอายุ ๔๓ พรรษา ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.. ๒๓๑๐ มีพระนามใหม่ ว่า สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๔ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี แต่ประชาชนยังคงนิยมเรียกชื่อว่า พระเจ้าตากสิน ดังเดิม

 

 

ภาพวาด พระเจ้าตากสิน เหมือนจริง ที่ชาวต่างชาติ วาดไว้ สมัยที่ขึ้นครองราชย์กรุงธนบุรี อ้างว่า พบภาพนี้ที่พิพิธพันสถานแห่ชาติ ประเทศอิตาลี

      

       มีข้อสังเกตว่า สมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๓ และ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๔ แสดงว่า สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว พระราชบิดา ของ พระองค์เจ้านกเอี้ยง มีสายราชวงศ์ที่ต่อเชื่อมกันกับ สมเด็จพระนารายณ์ฯ มาถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๔ ยังมีพระนามอีกหลายพระนามที่ไม่อยากนำมากล่าวในที่นี้ เพื่อป้องกันความสับสน 

 

เมืองไชยา สมัย พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) เป็นเจ้าเมืองไชยา พ.ศ.๒๓๑๑

       สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ปกครอง อาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี ได้โปรดเกล้าให้นายบุญชู เป็น พระยาวิชิตภักดีศรีองค์รักษ์บุญชู ปกครองเมืองไชยา ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๐๙-พ.ศ.๒๓๑๐ โดยมี นายจุ้ย บุตรชายคนโตของนายบุญชู เป็น ขุนหลวงอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง(จุ้ย) ต่อมา นายบุญชู ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยายมราช(บุญชู) นายจุ้ย ปลัดเมือง จึงขึ้นมาเป็น พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม(จุ้ย) ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๐-พ.ศ.๒๓๑๑ โดยมีนายบุญยัง บุตรชาย คนที่สอง เป็น ขุนหลวงอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง(บุญยัง) ปลัดเมืองไชยา เมื่อนายบุญยัง ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี(บุญยัง) ปกครองเมืองท่าทอง นายหวัง บุตรคนที่สาม ของ นายบุญชู ก็เป็น ขุนหลวงอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง(หวัง) ปลัดเมืองไชยา

       ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๑ พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม(จุ้ย) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาราชบังสัน(จุ้ย) เป็นแม่ทัพเรือ ปกครองเมืองชลบุรี ส่วนเมืองไชยา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าให้ นายหวัง เป็น พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) ขึ้นปกครองเมืองไชยา แทนที่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๑ โดยตั้งที่ว่าราชการเมืองไชยา ที่ทุ่งลานช้าง แขวงเมืองท่าชนะ โดยมี นายสา น้องเมีย(ท่านนาค) ของ นายหวัง เป็นปลัดเมือง

       สมัยที่พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม(จุ้ย) ปกครองเมืองไชยา นั้น ได้สร้างโรงตีเหล็ก ที่เขาถ่าน และที่บ้านเนินสูง เป็นสถานที่ตีเหล็กเพื่อผลิตปืนลูกซอง มีคำขวัญเมืองไชยา ในขณะนั้นว่า “เมื่อพ้นหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก” สืบทอดโรงตีเหล็ก มาถึง พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) ปกครองเมืองไชยา และ ขุนอินทร์จักร บุตรชาย ของ พระยาราชบังสัน(จุ้ย) รับผิดชอบ งานหลอมเหล็ก และ ตีเหล็ก ในเวลาต่อมา

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ วางแผนทำสงครามกับ พระเจ้าโสร์ทศ พ.ศ.๒๓๑๐

 

ภาพวาดฮ่องเต้เฉียนหลุง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ที่สนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ(เจ้าจุ้ย) ขึ้นปกครอง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ ต่อเนื่องจาก พระเจ้าเอกทัศน์

 

       หลังจาก ฮ่องเต้เฉียนหลุง ประเทศจีน ได้พระราชทานตราตั้ง เป็นพระราชลัญจกร(ตราหยก) รับรองการขึ้นเป็นกษัตริย์ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ ให้กับพระเจ้าโสร์ทศ บารมีของ พระเจ้าโสร์ทศ ก็เพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าโสร์ทศ ได้วางแผนใช้กองทัพพม่า เข้าทำสงครามปราบปรามสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นแผนขั้นแรก และวางแผนใช้กองทัพ ๒๐๐,๐๐๐ คน เข้าทำสงครามปราบปรามสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โดยเตรียมส่งกองทัพเข้ายึดกรุงธนบุรี ถ้ากองทัพพม่า ทำสงครามปราบปราม สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไม่สำเร็จ ก็มีแผนขั้นที่สอง

       พงศาวดารพม่า บันทึกว่า ปลายปี พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าโสร์ทศ มีพระราชสาสน์ ไปขอความช่วยเหลือให้ช่วยส่งกองทัพเข้าปราบปรามสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต่อมา เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทร์) ราชอาณาจักรลาว ได้มีพระราชสาสน์รายงานไปยังพระเจ้ากรุงอังวะ ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่ กรุงธนบุรี แทนที่พระเจ้าโสร์ทศ จึงเสนอให้พม่านำกองทัพเข้าทำสงครามสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ โดยให้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ด้วย

ปลายปี พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าอังวะ รับสั่งให้ พระยาทวาย นำกำลัง ๓,๐๐๐ คน เดินทัพเข้ามาทำสงครามปราบปราม สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เพื่อสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ เกิดการรบที่ บางกุ้ง เมืองราชบุรี ผลของสงครามครั้งนั้น กองทัพพม่า พ่ายแพ้ยับเยิน กองทัพของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถยึดได้เรือรบ และเครื่องศาสตราอาวุธ ของ พม่า ได้เป็นจำนวนมาก พระเจ้าโสร์ทศ ทราบข่าวการพ่ายแพ้ของกองทัพพม่า จึงปรับแผนการรบในการทำสงครามปราบปราม สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อีกครั้งหนึ่ง

 

พระเจ้าตากสิน ทำลายอำนาจพระเจ้าโสร์ทศ ที่เมือง พุทธไทมาศ พ.ศ.๒๓๑๑

 

าพท้องพระโรงกลาง ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ว่าราชการ ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน

 

สมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี รับสั่งให้เตรียมกำลังทหารเข้าตี เมืองพุทธไทมาศ ราชธานีของ พระเจ้าโสร์ทศ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๑ โดยจัดกำลังให้ พระยาโกษาธิบดี (เฉินเหลียง) ใช้กำลังพล ๑,๔๘๑ คน เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาพิชัยไอย์สวรรค์ (หยางจิ้งจง) กำลังพลจำนวน ๑,๖๘๖ คน เป็นกองหนุน พระยายมราช (บุญชู) มีกำลังพล ๖๘๙ คน เป็นทัพหลัง

พระยาโกษาธิบดี(เฉินเหลียง) ส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองพุทธไทมาศ และเมืองพันทายมาศ ครั้งแรก ไม่สามารถตีเมืองพุทธไทมาศ แตก เพราะกองทัพญวน และ เขมร เข้าช่วยเหลือ ต้องถอยทัพกลับ มาที่เมืองจันทร์บูรณ์ ต่อมา เมื่อกองทัพญวน และ กองทัพเขมร ถอยทัพกลับไป กองทัพพระยาโกษาธิบดี(เฉินเหลียง) จึงสามารถส่งกองทัพเข้ายึดเมืองพันทายมาศ และเมืองพุทธไทมาศ อีกครั้งหนึ่งสำเร็จ พระเจ้าโสร์ทศ หนีไปที่เขมร จึงไปขอความช่วยเหลือจาก เจ้าพระยาราชาเศรษฐี(ม่อเทียนซื่อ) ให้ขอความช่วยเหลือจากกองทัพญวน ให้ส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองพุทธไทมาศ และ พันทายมาศ กลับคืน

       หลักฐานประวัติศาสตร์ ของญวน กล่าวว่า หลังจากกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถยึดครองเมืองพุทธไทมาศ สำเร็จ และขุนนางไทย เข้าปกครองเมืองไม่นาน แล้วถอยทัพกลับไป พระเจ้าโสร์ทศ ซึ่งหนีไปที่เขมร จึงไปขอความช่วยเหลือจาก เจ้าพระยาราชาเศรษฐี(ม่อซื่อเทียน) ให้ขอความช่วยเหลือจากกองทัพญวน เข้ายึดเมืองพุทธไทมาศ และ พันทายมาศ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ในเวลาต่อมาไม่นาน พระเจ้าโสร์ทศ จึงกลับไปใช้เมืองพุทธไทมาศ เป็นราชธานี ดังเดิม และวางแผนใหม่ จะใช้กองทัพใหญ่ ๒๐๐,๐๐๐ คน เข้าทำสงครามปราบปรามสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โดยใช้กองทัพเรือ ๑๐๐,๐๐๐ คน เป็นกองทัพจาก ญวน เขมร เมืองพุทธไทมาศ เมืองบันทายมาศ เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง และเมืองปัตตานี และเป็นกองทัพบกอีก ๑๐๐,๐๐๐ คน เป็นกองทัพจาก ประเทศลาว เมืองนครราชสีมา เมืองพิมาย เมืองพิษณุโลก เมืองเชียงใหม่ และ ประเทศพม่า เพื่อเข้ายึดครองกรุงธนบุรี

 

สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทำลายอำนาจพระเจ้าโสร์ทศ ที่เมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๓๑๑

ต้นปี พ.ศ.๒๓๑๑ พระเจ้าโสร์ทศ ได้มีพระราชสาสน์ ถึง เจ้าเมืองพิษณุโลก ให้ร่วมส่งกองทัพเข้ายึดกรุงธนบุรี แต่พระราชสาสน์ ถูกพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ จับได้ จึงรายงานให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงทราบ นอกจากนั้น พระเจ้าโสร์ทศ ยังมีพระราชสาสน์ ถึง กษัตริย์พม่า ขอให้ส่งกองทัพเข้าตีกรุงธนบุรี โดยจะยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า แต่ขณะนั้น กษัตริย์พม่า ไม่สามารถช่วยเหลือได้เพราะกำลังเกิดศึกสงครามชายแดนกับประเทศจีน กษัตริย์พม่า จึงส่งโปยุหง่วน ไปปกครองเชียงใหม่ เพื่อให้ทำการรวบรวมไพร่พลมาร่วมส่งกองทัพเข้ายึดครองกรุงธนบุรี ตามคำร้องขอของพระเจ้าโสร์ทศ ต่อไป

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่งกองทัพเข้าตีเมืองพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๑ เป็นช่วงฤดูฝน ขณะนั้นเจ้าเมืองพิษณุโลก ชื่อเรือง ได้ส่งกองทัพของ หลวงโกษา(ยัง) ซึ่งเป็น เจ้าเมืองพิจิตร มาตั้งรับอยู่ที่ตำบลเกยชัย คือท้องที่ อ.ชุมแสง นครสวรรค์ เกิดการรบกันขึ้นกับสงครามกองโจร ของ หลวงโกษา(ยัง) ทำให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกกระสุนปืน ของกองโจร ยิงมาถูกที่พระชงฆ์  จึงต้องถอยทัพกลับ กรุงธนบุรี โดยรับสั่งให้ พระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ จัดกองทัพเพื่อขัดขวางมิให้ พระยาพิษณุโลก(เรือง) ส่งกองทัพเข้าสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ เข้ายึดกรุงธนบุรี

ฤดูฝน พ.ศ.๒๓๑๑ พระยาพิษณุโลก (เรือง) ประกาศตั้งตัวเป็นกษัตริย์ ปกครองเมืองพิษณุโลก ครองราชย์สมบัติ ได้ ๗ วัน เกิดฝีขึ้นที่ลำคอ ถึงแก่พิราลัย พระอิน(อากร) น้องชาย ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่ แต่อ่อนแอมาก ไม่มีความสามารถที่จะส่งกองทัพเข้าสนับสนุน พระเจ้าโสร์ทศ ได้ตามที่ร้องขอ อีกต่อไป

 

พระเจ้าตากสิน ทำลายอำนาจพระเจ้าโสร์ทศ ที่เมืองพิมาย และ นครราชสีมา พ.ศ.๒๓๑๑

       หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศลาว กล่าวว่า พระเจ้าโสร์ทศ มีพระราชสาสน์ ถึง พระเจ้าศิริบุญสาร แห่ง ราชอาณาจักรลาว กรุงเวียงจันทร์ เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๓๑๑ อ้างถึงการร่วมมือกับกองทัพพม่า เพื่อขอให้ร่วมส่งกองทัพทางบก ๑๐๐,๐๐๐ คน เข้ายึดกรุงธนบุรี พร้อมๆ กับกองทัพเรือของพระเจ้าโสร์ทศ

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศลาว กล่าวอีกว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบข่าว พระองค์จึงส่งพระราชสาสน์ ถึง พระเจ้าศิริบุญสาร แห่ง ราชอาณาจักรอ้ายลาว มิให้ส่งทหารเข้าสนับสนุนกองทัพของพม่า และ กองทัพของพระเจ้าโสร์ทศ เป็นผลให้เกิดความขัดแย้งภายในนครหลวงของราชอาณาจักรลาว โดยที่ พระวรปิตา ได้เกิดความขัดแย้งกับ พระเจ้าศิริบุญสาร แห่ง ราชอาณาจักรลาว กรุงเวียงจันทร์ เรื่องไม่เห็นด้วยที่จะส่งกองทัพเข้าร่วมกับกองทัพพม่า เพื่อช่วยเหลือพระเจ้าโสร์ทศ จึงได้ตัดสินใจอพยพมาปกครอง เมืองอุบลราชธานี และได้มี พระราชสาสน์ มาถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แจ้งเรื่องให้ทรงทราบ และขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สืบไป

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ตัดสินพระทัยส่งกองทัพปราบ เจ้าพิมาย เพื่อมิให้เข้าสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๑ โดยใช้กองทัพ ๒ กองทัพ คือ

(๑) กองทัพแรก ควบคุมโดยพระมหามนตรี(บุญมา) และ พระราชวรินทร์(ทองด้วง) เดินทัพไปทางนครนายก ไปขึ้นเขาที่ช่องเรือแตก นำกองทัพเข้าทางทิศใต้ของ เมืองนครราชสีมา

(๒) กองทัพที่สอง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพหลวง เดินทางไปทาง เมืองสระบุรี ขึ้นเขาทางช่องพระยาไฟ นำทัพเข้าสู่ทิศตะวันตกของ เมืองนครราชสีมา

การรบกับเจ้าพิมาย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๑ กองทัพของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถทำสงครามปราบปราม เจ้าพิมาย สำเร็จ เจ้าฟ้าแขก หนีไปยัง ราชอาณาจักรอ้ายลาว หลังสงครามปราบเมืองพิมาย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้า แต่งตั้งให้ พระราชวรินทร์(ทองด้วง) เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์(ทองด้วง) จางวางพระตำรวจ และโปรดเกล้าให้ พระมหามนตรี(บุญมา) เป็น พระยาอนุชิตราชา(บุญมา) จางวางพระตำรวจ

หลังจากการทำสงครามยึดครองเมืองพิมาย และ เมืองนครราชสีมา เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๓๑๑ เรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยกทัพกลับกรุงธนบุรี ก็ทราบข่าวว่า พระเจ้าโสร์ทศ(เจ้าจุ้ย) เตรียมกองทัพใหญ่ กำลังพล ๒๐๐,๐๐๐ คน เข้าตีกรุงธนบุรี ทุกทิศทาง

 

พระเจ้าตากสิน สกัดกองทัพพม่าจากเชียงใหม่ ที่จะส่งมาช่วยพระเจ้าโสร์ทศ พ.ศ.๒๓๑๑

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบข่าวว่า เจ้าเมืองเชียงใหม่(โปยุหง่วน) กำลังทำการรวบรวมไพร่พลเมืองเชียงใหม่ เพื่อส่งกองทัพสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ เข้าตีกรุงธนบุรี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๑ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาพิชัยราชา พี่น้องต่างมารดา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้ไปปกครองเมืองสวรรค์โลก เพื่อรวบรวมไพร่พล ทำการสกัดกองทัพเชียงใหม่ ที่จะยกกองทัพเข้ามาตีกรุงธนบุรี เพื่อสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ

  สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มอบให้พระยาพิชัยราชา(พี่น้องต่างมารดากับพระเจ้าตากสิน) นำพระราชสาสน์ สั่งการให้ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ พ่อตาของ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนอนุรักษ์วงศา สมุหนายก(อนุชาของพระเจ้าตากสิน) ตระเตรียมกำลังพลเพื่อสกัดกั้นกองทัพของพระยาพิษณุโลก(อินอากร) มิให้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือพระเจ้าโสร์ทศ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๑ เพื่อร่วมทำสงครามยึดครองกรุงธนบุรี

 

พระเจ้าโสร์ทศ ส่งราชทูต เจรจาเมืองนครศรีธรรมราช ให้ร่วมสนับสนุน พ.ศ.๒๓๑๑

เมื่อพระเจ้าโสร์ทศ ไม่ประสบความสำเร็จในการยืมมือกองทัพพม่าเข้าทำสงครามปราบปราม สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เพราะ เมืองนครราชสีมา เมืองพิมาย ก็ถูกสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยึดครอง ส่วนเมืองพิษณุโลก ผู้ปกครองก็อ่อนแอ พระเจ้าโสร์ทศ จึงวางแผนมิให้เมืองต่างๆ ในดินแดนภาคใต้ สนับสนุนสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงได้มอบให้ เจ้าขรัวเงิน สามี ของ นางแก้ว ซึ่งเป็นพี่สาวของ พระราชวรินทร์(ทองด้วง) เป็นราชทูต เดินทางไปเกลี้ยกล่อม เจ้าพระยานคร(หนู) พระยาสงขลา(หลวงวิเถียร) พระยาพัทลุง(ท่าเสม็ด) และ พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน(มูหะหมัด) ให้แยกตัวจากการสนับสนุน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้หันกลับมาร่วมสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ ด้วย

ผลการเจรจาครั้งนั้น เจ้าพระยานคร(หนู) พระยาสงขลา(วิเถียร) พระยาพัทลุง(ท่าเสม็ด) และ พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน(มูหะหมัด) ประกาศเข้าร่วมสงครามกับพระเจ้าโสร์ทศ ทั้งสี่เมือง เตรียมส่งกองทัพเรือ กำลังพลรวม ๕๐,๐๐๐ คน เข้าช่วยพระเจ้าโสร์ทศ ประกอบด้วยกองทัพเมืองนครศรีธรรมราช ๒๐,๐๐๐ คน กองทัพพระยาพัทลุง(ท่าเสม็ด) เจ้าเมืองพัทลุง หลานชายเจ้าพระยานครหนู กำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน กำลังพลเมืองสงขลา ซึ่งปกครองโดย พระยาสงขลา(วิเถียร) เป็นหลานชายอีกคนหนึ่ง ของ เจ้าพระยานครหนู กำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน กองทัพพระยาปัตตานีศรีสุลต่าน กำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน เตรียมเคลื่อนกองทัพเรือไปยึดกรุงธนบุรี นัดพบกับกองทัพเรือ พระเจ้าโสร์ทศ ที่ปากแม่น้ำแม่กลอง พร้อมๆ กันด้วย

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ วางแผนขัดขวางกองทัพเรือ ๕๐,๐๐๐ คน จากภาคใต้ มิให้สนับสนุน กองทัพพระเจ้าโสร์ทศ จึงรับสั่งให้ พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) ทำการรวบรวมไพร่พลที่เมืองไชยา เตรียมเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อขัดขวางป้องกันมิให้กองทัพเรือเมืองใต้ ๕๐,๐๐๐ คน เข้าสนับสนุนกองทัพพระเจ้าโสร์ทศ เพราะต้องการให้กำลังทหาร ต้องสาละวนอยู่กับการรักษาเมือง ไม่สามารถยกกองทัพไปช่วย พระเจ้าโสร์ทศ ได้

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยังรับสั่งให้ พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) มอบให้ พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) เจ้าเมืองไชยา  บุตรชาย เดินทางไปเกลี้ยกล่อมพระยาปัตตานีศรีสุลต่าน ซึ่งเป็นญาติสนิท มิให้ร่วมมือส่งกองทัพเข้าสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ พร้อมพระราชสาสน์ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ผลของการเกลี้ยกล่อม พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน ได้ตัดสินใจยุติการส่งกองทัพเรือเข้าสนับสนุน พระเจ้าโสร์ทศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หลังจากการทำสงครามยึดครองเมืองพิมาย และ เมืองนครราชสีมา เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๓๑๑ เรียบร้อยแล้ว เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยกทัพกลับกรุงธนบุรี ก็ทราบข่าวว่า พระเจ้าโสร์ทศ เตรียมกองทัพเรือ ๑๐๐,๐๐๐ คน เข้าตีกรุงธนบุรี และเมื่อพบกับ พระยาพิชัยไอยสวรรค์(หยางจิ้งจุง) ราชทูตกรุงธนบุรี ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน ได้แวะที่เมืองนครศรีธรรมราช ต้องหนีตายกลับมาจากเมืองนครศรีธรรมราช มารายงาน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ก็ทราบข่าวอีกว่า เมืองนครศรีธรรมราช และพวก เตรียมส่งกองทัพเรือกำลังทหาร ๕๐,๐๐๐ คน เข้าร่วมกองทัพเรือพระเจ้าโสร์ทศ เข้าตีกรุงธนบุรี ด้วย

เดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๑๒ พระเจ้าโสร์ทศ กรุงพุทธไทมาศ เตรียมส่งกองทัพเรือ ๑๑๐,๐๐๐ คน เข้าตีกรุงธนบุรี โดยมีกองทัพของ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช(หนู) และพวก เตรียมส่งกองทัพ ๔๐,๐๐๐ คน เข้าร่วมด้วย ส่วนกองทัพของพระเจ้าโสร์ทศ รวบรวมไพร่พลได้ ๗๐,๐๐๐ คน จากเมืองพระตะบอง ๑๐,๐๐๐ คน เมืองเสียมราฐ ๑๐,๐๐๐ คน จะส่งเข้าร่วมกับกองทัพหลวง ๕๐,๐๐๐ คน ของ พระเจ้าโสร์ทศ ด้วย

เดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ วางแผนทำสงครามกับ พระเจ้าโสร์ทศ และพวก โดยมอบหมายให้พระอนุชา คือ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนอนุรักษ์วงศา สมุหนายก ทำการรักษา กรุงธนบุรี เมืองราชธานี มอบให้ สมเด็จเจ้าพระยาอินทร์วงศา(น้องเขย ของ พระเจ้าตากสิน) ตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการ อาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี ทำหน้าที่ดูแลดินแดน อาณาจักรเสียม และดินแดนฝั่งทะเลตะวันตก ร่วมกับ พระยาจินดาพล และ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(เจ้าฟ้าชายไข่แดง) ทำหน้าที่รักษาดินแดนฝั่งตะวันตก ที่เมืองถลาง ส่วน พระยาพิชัยไอยสวรรค์(หยางจิ้งจุง) พระยาราชบังสัน(จุ้ย) พระยาระยอง(บุญเมือง) พระยาจันทร์บูรณ์(เฉินหลง) พระยาเพชรบุรี(คง) เตรียมกองทัพ สร้างป้อมค่ายเพื่อสู้รบกับ กองทัพ ๑๑๐,๐๐๐ คน ของ พระเจ้าโสร์ทศ

เดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มอบให้พระยาพิชัยไอยสวรรค์(หยางจิ้งจุง) ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากการเป็นอุปทูตจากประเทศจีน เป็นแม่ทัพใหญ่ เตรียมกองทัพต่อสู้กับกองทัพของ พระเจ้าโสร์ทศ พงศาวดารไทยบันทึกว่า มีการสร้างป้อมค่ายริมชายฝั่งทะเล ๔ แห่ง เพื่อเตรียมต่อสู้กับกองทัพ พระเจ้าโสร์ทศ ที่ปากแม่น้ำพระประแดง ปากน้ำสมุทรปราการ ปากแม่น้ำท่าจีน และ ปากแม่น้ำแม่กลอง

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงมอบให้ พระยาราชบังสัน(จุ้ย) เจ้าเมืองชลบุรี สร้างป้อมค่าย ณ ปากแม่น้ำบางปะกง และ ปากแม่น้ำโยธิกา ทรงมอบให้ พระยาระยอง(บุญเมือง) สร้างป้อมค่าย ณ ปากแม่น้ำระยอง พระยาจันทร์บูรณ์(เฉินหลง) สร้างป้อมค่ายที่ปากแม่น้ำจันทร์บูรณ์ และ ปากแม่น้ำตราด เพื่อเตรียมต่อสู้กับกองทัพของ พระเจ้าโสร์ทศ

เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าให้ พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) เป็นแม่ทัพใหญ่ นำกองทัพเข้าปราบเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อตัดกำลังการหนุนช่วย พระเจ้าโสร์ทศ ของ เจ้าพระยานคร (หนู) และพวก และยังมอบให้ พระยาโกษาธิบดี (เฉินเหลียง) เป็นแม่ทัพใหญ่ นำกองทัพทางบก เข้ายึดครองเมืองต่างๆ ในดินแดนอาณาจักรคามลังกา เพื่อเข้ายึดครองเมืองพุทธไทมาศ ในที่สุดอีกด้วย

 

 

พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) นำกองทัพเมืองไชยา เข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ.๒๓๑๒

พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) เป็นแม่ทัพใหญ่ เดินทางจากกรุงธนบุรี มุ่งสู่ราชอาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี เพื่อขัดขวางการเคลื่อนกองทัพเรือ ๔๐,๐๐๐ คน ของพระยานครหนู และพวก ที่วางแผนจะเคลื่อนทัพเข้าสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ นัดพบกันที่ ปากน้ำแม่กลอง ประกอบด้วยกองทัพต่างๆ ดังนี้

       แม่ทัพใหญ่ คือ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) นำทัพ ๑๒,๐๐๐ คน ประกอบด้วยกองทัพหน้า และกองหนุน โดยที่กองหน้ามี พระยายมราช(รุ่ง) เป็นแม่ทัพ ให้ไปรวมตัวที่เมืองท่าทอง ประกอบด้วย กองทัพของ พระยายมราช(รุ่ง) กำลัง ๒,๐๐๐ คน กองทัพของ พระยาศรีพิพัฒน์ กำลัง ๒,๐๐๐ คน กองทัพของ พระยาเพชรบุรี กำลัง ๒,๐๐๐ คน กองทัพของ พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี(บุญยัง) ทหาร ๑,๕๐๐ คน

กองหนุน ให้ไปรวมตัวที่เมืองไชยา ประกอบด้วย กองทัพพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) มีกำลังทหาร ๒,๐๐๐ คน กองทัพของ พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) กำลังทหาร ๑,๕๐๐ คน กองทัพของ พระยาชุมพร(มั่น) กำลังทหาร ๑,๕๐๐ คน

ผลการเคลื่อนทัพของ พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) ตามแผนทำศึกที่กำหนดครั้งนั้น ทำให้กองทัพของ พระยานครศรีธรรมราช พระยาพัทลุง และ พระยาสงขลา ต้องมุ่งเน้นนำกำลังทหาร รักษาเมือง จึงไม่สามารถส่งกองทัพเรือ ๔๐,๐๐๐ คน เข้าสนับสนุน พระเจ้าโสร์ทศ ตามแผนการที่กำหนดได้ 

ตามแผนการที่กำหนด เดือนเมษายน กองทัพของ พระยานครฯ และพวก ๔๐,๐๐๐ คน จะต้องเคลื่อนกองทัพเรือไปพบกับกองทัพเรือของพระเจ้าโสร์ทศ ที่ปากแม่น้ำแม่กลอง เรียบร้อยแล้ว แต่แผนการศึกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นผลให้กองทัพ พระเจ้าโสร์ทศ และพวก ไม่สามารถเคลื่อนทัพตามแผนการที่กำหนดได้

การทำสงครามขัดขวางการเคลื่อนทัพเรือ ของ เจ้าพระยานคร(หนู) และพวก ได้เกิดขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๒ โดยพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) แม่ทัพใหญ่ สั่งให้กองทัพหน้า โดย พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี (บุญยัง) เจ้าเมืองท่าทอง เคลื่อนกองทัพเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช ผลปรากฏว่า พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี (บุญยัง หรือ ขุนหลวงลักษมาณา) เจ้าเมืองท่าทอง ถูกข้าศึกจับไปได้ กองทัพหน้าจึงต้องถอยทัพกลับมาที่เมืองท่าทอง ต่อมา พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี(บุญยัง หรือ ขุนหลวงลักษมาณา) สามารถหลบหนีไปได้กับเรือสำเภาของชวา และได้หนีกลับมาหาบิดา คือ พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) อีกครั้งหนึ่งในเวลาต่อมา

ส่วนกองทัพหน้า ของ พระยายมราช(รุ่ง) ได้ปะทะกับกองทัพของ เจ้าพระยานคร(หนู) ที่ท่าแขวก แขวงลำพูน (ตั้งอยู่ระหว่างเขตต่ออำเภอฉวาง อ.ทุ่งใหญ่ บริเวณภูเขาลำพูน) พระยาศรีพิพัฒน์(บุตรชายของ เจ้าพระยาราชสุภาวดี อดีตเจ้าเมืองนครฯ) และ พระยาเพชรบุรี(บุญมา บุตรชายพระองค์เจ้าอั๋น) ตายในที่รบ ทำให้กองทัพ พระยายมราช(รุ่ง บุตรชายพระองค์เจ้าอั๋น) ต้องถอยทัพไปตั้งหลัก ที่เมืองคันธุลี ส่วนกองทัพหนุนของ พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) เมื่อทราบว่ากองทัพหน้าพ่ายแพ้ ก็ถอยทัพมาตั้งอยู่ที่ เมืองไชยา ผลของสงครามครั้งนั้นส่งผลดีทำให้ เจ้าพระยานครหนู ไม่กล้าเคลื่อนทัพ ๔๐,๐๐๐ คน เข้าร่วมสงครามกับ พระเจ้าโสร์ทศ

เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๒ พระยายมราช(รุ่ง) ทำหนังสือแจ้งเรื่องแก่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แจ้งสาเหตุถึงการพ่ายแพ้ เพราะ กองทัพพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) เคลื่อนทัพล่าช้า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบข่าว เกรงว่า เจ้าพระยานครหนู และพวก จะยกกองทัพเข้าหนุนช่วย พระเจ้าโสร์ทศ จึงสั่งให้กองทัพหลวง ๑๐,๐๐๐ คน เตรียมพร้อมเคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองคันธุลี เพื่อเตรียมเข้าโจมตีเมืองนครศรีธรรมราช อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ยกกองทัพเรือ กำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน มุ่งหน้าสู่เมืองคันธุลี เพื่อเตรียมเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช เป็นการกันท่ามิให้ เจ้าพระยานครหนู ส่งกองทัพเข้าหนุนช่วยพระเจ้าโสร์ทศ

 

พระยาอนุรักษ์ภูธร และ พระยาพิชัยราชา สกัดกองทัพพม่า ที่มาจากเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๒

ส่วนการเคลื่อนทัพทางบกเพื่อหนุนช่วยพระเจ้าโสร์ทศ ก็ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นจริงได้ เพราะ พระยาพิชัยราชา พระอนุชาต่างมารดา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ปกครองเมืองสวรรค์โลก ทำหน้าที่สกัดกองทัพพม่าจากเมืองเชียงใหม่ อยู่ที่เมืองสวรรค์โลก ถูกพระยาอนุรักษ์ภูธร ทำหน้าที่ขัดขวางการเคลื่อนทัพของเมืองพิษณุโลก อยู่ที่เมืองนครสวรรค์ ด้วย

พระเจ้าศิริบุญสาร แห่ง ราชอาณาจักรลาว ก็ไม่สามารถส่งกองทัพบกเข้าสนับสนุนได้ เพราะจะถูกกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขัดขวางที่เมืองนครราชสีมา และ เมืองพิมาย อีกทั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มอบให้ พระยาโกษาธิบดี(เฉินเหลียง) เป็นแม่ทัพ ส่งกองทัพบก และกองทัพเรือ เข้าตีเมืองต่างๆ ในดินแดนอาณาจักรคามลังกา ที่พระเจ้าโสร์ทศ ทำการปกครอง การเคลื่อนทัพของ พระเจ้าโสร์ทศ เข้ายึดครองกรุงธนบุรี จึงเต็มไปด้วยอุปสรรค   

 

พระยาราชบังสัน(จุ้ย) มีชัยต่อกองทัพ ๕๐,๐๐๐ คน ของ พระเจ้าโสร์ทศ พ.ศ.๒๓๑๒

บันทึกของเขมร กล่าวว่า เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๒ พระเจ้าโสร์ทศ ได้นำกองทัพ ๕๐,๐๐๐ คน ประกอบด้วย ๓ กองทัพใหญ่ คือ กองทัพของ พระยาราชาเศรษฐี(ม่อเทียนซื่อ) ทหารจำนวน ๒๐,๐๐๐ คน เป็นทัพหน้า กองทัพที่สองเป็นกองทัพหลวง ๒๐,๐๐๐ คน ของพระเจ้าโสร์ทศ ส่วนกองทัพที่สาม เป็นกองหลัง เป็นกองทัพของ เจ้าสังข์ มีกำลังทหาร ๑๐,๐๐๐ คน เคลื่อนทัพเข้าตีกรุงธนบุรี

       กองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน ของพระยาราชาเศรษฐี(ม่อเทียนซื่อ) คือทหารจากเมืองบันทายมาศ และทหารที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศญวน กองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน ของ พระเจ้าโสร์ทศ ได้จากเมืองพุทธไทมาศ และทหารที่ได้รับการสนับสนุนจากเขมร ส่วนกองทัพ ๑๐,๐๐๐ คน ของ เจ้าสังข์ ได้รับจาก เมืองบันทายมาศ และ เมืองตรัง

       กองทัพทั้งสาม เดินทัพโดยทางเรือ มุ่งหน้าเข้ายึดครองเมืองตราด เมืองจันทร์บูรณ์ เมืองระยอง เมืองชลบุรี มุ่งหน้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเข้าสมทบกับกองทัพของ เจ้าพระยานครหนู และพวก ๔๐,๐๐๐ คน โดยนัดพบกันที่ปากแม่น้ำแม่กลอง เพื่อเคลื่อนทัพพร้อมกันเพื่อเข้ายึดกรุงธนบุรี

เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๒ กองทัพ ๕๐,๐๐๐ คน ของ พระเจ้าโสร์ทศ เคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองตราด เจ้าเมืองตราด ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ พระเจ้าโสร์ทศ โดยดี กองทัพ ๕๐,๐๐๐ คน ของ พระเจ้าโสร์ทศ เคลื่อนทัพต่อไปเข้าสู่เมืองจันทร์บูรณ์ เจ้าเมืองจันทร์บูรณ์ ชื่อ เฉินหลง หรือที่จีนเรียกชื่อว่า ขุนนางเฉิน(หลิวเต็งเฉิน) ตั้งป้อมค่ายที่ปากแม่น้ำจันทร์บูรณ์ ได้ปะทะกับกองทัพพระเจ้าโสร์ทศ ที่ปากแม่น้ำจันทร์บูรณ์ กองทัพพระยาจันทร์บูรณ์(เฉินหลง) ถูกปิดล้อม ส่วนกองทัพอีกส่วนหนึ่งของพระเจ้าโสร์ทศ สามารถเข้ายึดเมืองจันทร์บูรณ์ ได้สำเร็จ ส่วนกองทัพ เฉินหลง ที่ค่ายปากแม่น้ำจันทร์บูรณ์ ที่กำลังถูกปิดล้อม เมื่อทราบข่าวว่า เมืองจันทร์บูรณ์ ถูกยึดครองแล้ว จึงขอยอมแพ้

       เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๒ เมื่อกองทัพพระเจ้าโสร์ทศ จำนวน ๕๐,๐๐๐ คน เข้ายึดครองเมืองจันทร์บูรณ์ ได้เรียบร้อยแล้วก็จับ พระยาจันทร์บูรณ์(เฉินหลง) น้องชายของ พระยาโกษาธิบดี(เฉินเหลียง) เข้าขังไว้ในคุกที่เมืองจันทร์บูรณ์ หลังจากนั้น พระยาจันทร์บูรณ์(บุญหลาน) ก็เข้าปกครองเมืองแทนที่ จากนั้นกองทัพใหญ่ ๕๐,๐๐๐ คน ของ พระเจ้าโสร์ทศ ก็เคลื่อนทัพเข้ายึดเมืองต่างๆ ต่อไป แต่เริ่มถูกกองทัพของ พระยาราชบังสัน(จุ้ย) และกองทัพของ พระยาพิชัยไอยสวรรค์(หยางจิ้งจุง) เข้าโจมตี เสียหายยับเยิน

 

 ภาพวาดเจ้าพระยาโกษาธิบดีหยางจิ้งจง หรือ เจ้าพระยาพิชัยไอยสวรรค์ ที่มหาอาณาจักรจีนได้วาดภาพไว้ ขณะที่เดินทางไปเป็นราชทูต ที่มหาอาณาจักรจีน เป็นแม่ทัพสำคัญที่วางแผนทำลายกองทัพ ๕๐,๐๐๐ คน ของพระเจ้าโสร์ทศ จนกระทั่ง กองทัพพระเจ้าโสร์ทศ พ่ายแพ้อย่างยับเยิน

 

บันทึกของเขมร กล่าวว่า เดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ กองทัพ ๕๐,๐๐๐ คน ของ พระเจ้าโสร์ทศ พระยาราชาเศรษฐี(ม่อเทียนซื่อ) และ เจ้าสังข์ เคลื่อนทัพเข้าตี เมืองระยอง เมืองชลบุรี เมืองสมุทรปราการ และ กรุงธนบุรี พร้อมกันไปด้วย แต่กองทัพเรือของ พระยาระยอง(บุญเมือง) พระยาราชบังสัน(จุ้ย) ผู้ปกครองเมืองชลบุรี และกองทัพเรือ พระยาพิชัยไอยสวรรค์(หยางจิ้งจุง) นำกองทัพเรือออกสู้รบกลางทะเล สามารถโจมตีกองทัพของ พระเจ้าโสร์ทศ พ่ายแพ้กลับไป คงเหลือทหารที่เจ็บป่วย และบาดเจ็บ อยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ คนเศษ ต้องถอยทัพกลับไปทางเมืองเปี่ยม สงครามครั้งนั้น กองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถยึดอาวุธ และ เรือรบ ได้เป็นจำนวนมาก

ข้อมูลของไทยกล่าวว่า เดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ กองทัพเรือของ พระยาระยอง(บุญเมือง) พระยาราชบังสัน(จุ้ย) ผู้ปกครองเมืองชลบุรี และกองทัพเรือ พระยาพิชัยไอยสวรรค์(หยางจิ้งจุง) นำกองทัพเรือออกสู้รบกับกองทัพเรือของ พระเจ้าโสร์ทศ พระยาราชาเศรษฐี(ม่อซื่อเทียน) และ เจ้าสังข์ ณ สมรภูมิกลางทะเล สามารถโจมตีกองทัพเรือของ พระเจ้าโสร์ทศ และพวก พ่ายแพ้อย่างยับเยิน คงเหลือกองทัพของ พระเจ้าโสร์ทศ และ พระยาราชาเศรษฐี(ม่อเทียนซื่อ) รวม ๒,๐๐๐ คนเศษ ไปรอกองทัพเจ้าพระยานครหนู ๒๐,๐๐๐ คน กองทัพเมืองพัทลุง ๑๐,๐๐๐ คน กองทัพเมืองสงขลา ๑๐,๐๐๐ คน ที่จะเคลื่อนทัพมาสมทบอยู่ที่ปากแม่น้ำแม่กลอง จึงถูกกองทัพของ พระยาราชบุรี(คง) เข้าโจมตี จึงต้องถอยทัพกลับ คงเหลือผู้บาดเจ็บ และเจ็บป่วย เดินทางกลับไปถึงเมืองเปี่ยมประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ

เดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ พระยาโกษาธิบดี(เฉินเหลียง) ส่งหนังสือ จากเมืองปราจีนบุรี ถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่กรุงคันธุลี กล่าวโทษว่า พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และ พระยาอนุชิตราชา (บุญมา) ว่าพระยาทั้งสอง รู้เห็นเป็นใจกับข้าศึก หลังจากนั้น พระยาโกษาธิบดี (เฉินเหลียง) และ พระยาระยอง (บุญเมือง) ได้ส่งกองทัพจากเมืองระยอง เข้ายึดครองเมืองจันทร์บูรณ์ กลับคืนสำเร็จ สามารถปล่อยตัว พระยาจันทร์บูรณ์ (เฉินหลง) ออกมาจากคุกได้สำเร็จ แล้วส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองตราด เมืองพุทธไทมาศ กลับคืน สำเร็จ จึงมีหนังสือ ส่งไปถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ กรุงคันธุลี ให้ทรงทราบ

ช่วงเวลาเดียวกัน พระยาพิชัยไอสวรรค์(หยางจิ้งจุง) ได้ส่งหนังสือ ถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ กรุงคันธุลี ให้ทราบว่าสามารถทำสงครามปราบปราม กองทัพของ พระเจ้าโสร์ทศ พ่ายแพ้อย่างยับเยิน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีพระราชสาสน์ จากกรุงคันธุลี ถึง พระยาพิชัยไอยสวรรค์ (หยางจิ้งจุง) ให้กองทัพเรือของ พระยาราชบังสัน (จุ้ย) จากเมืองชลบุรี เคลื่อนทัพกำลัง ๒,๐๐๐ คน มาตั้งที่แหลมโพธิ์ เมืองไชยา เพื่อเข้าร่วมทำสงครามปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และพวก ด้วย 

 

พระยาราชบังสัน(จุ้ย) มาตั้งทัพที่แหลมโพธิ์ เมืองไชยา พ.ศ.๒๓๑๒

       ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประทับอยู่ที่ กรุงคันธุลี ได้มีพระราชสาสน์ สั่งให้ พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) เจ้าเมืองไชยา ทำการปรับปรุงพื้นที่แหลมโพธิ์ เพื่อใช้เป็นที่พักทหาร ของ กองทัพเรือพระยาราชบังสัน(จุ้ย) และใช้เป็นจุดรวมพลกองทัพเรือทัพต่างๆ ก่อนเคลื่อนทัพพร้อมกันเข้ายึดครองเมืองนครศรีธรรมราช จึงให้สร้างเสาธง ขึ้นที่แหลมโพธิ์ เช่นเดียวกันกับเสาธงบนยอดภูเขาคันธุลี รับสั่งให้ เจ้าพระยาสรประสิทธิ์ ไปตรวจสถานที่ขุดบ่อน้ำให้ได้น้ำจืด และให้ทำการขุดบ่อน้ำจืด เพื่อให้กองทหารของ พระยาราชบังสัน(จุ้ย) ได้ใช้เมื่อมาพักกองทัพ

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีพระราชสาสน์สั่งให้ พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) เจ้าเมืองไชยา สร้างพลับพลาที่ว่าราชการ บริเวณร้านพลับพลาซีฟูด และ ร้านราตรีซีฟูด เมืองไชยา ในปัจจุบัน เพื่อใช้ให้แม่ทัพนายกองมาเข้าเฝ้า ใช้เป็นที่ประชุมสั่งการ ให้ แม่ทัพนายกอง วางแผนยกกองทัพทั้งทางบก ทางเรือ เข้ายึดครองเมืองพัทลุง สงขลา และ นครศรีธรรมราช ต่อไป 

เดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ เมื่อพระยาราชบังสัน(จุ้ย) เสร็จศึกเอาชนะข้าศึกกองทัพ พระเจ้าโสร์ทศ เรียบร้อยแล้ว ก็นำกองทัพเรือ เคลื่อนทัพจาก เมืองชลบุรี มุ่งหน้าเข้าสู่ เมืองไชยา นำพระราชสาสน์มาถวายต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มาตั้งกองทัพเรืออยู่ที่แหลมโพธิ์ เพื่อเตรียมการเข้าร่วมสงครามยึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง และ เมืองสงขลา กลับคืนต่อไป

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับพระราชสาสน์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ จากพระยาพิชัยไอสวรรค์(หยางจิ้งจุง) ซึ่งได้ส่งหนังสือเพื่อแจ้งให้ทราบว่าสามารถทำสงครามปราบปราม กองทัพของ พระเจ้าโสร์ทศ พ่ายแพ้อย่างยับเยิน ส่วนพระยานคร(หนู) พระยาสงขลา(หลวงเถียร) และ พระยาพัทลุง(ท่าเสม็ด) ทราบข่าวแล้วว่า กองทัพพระเจ้าโสร์ทศ พ่ายแพ้ย่อยยับ จึงอยู่ในสภาพขวัญเสีย เพราะมีกองทัพของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตั้งทัพจ่อคอหอยอยู่ที่เมืองคันธุลี สภาพดังกล่าวเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เร่งส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองนครศรีธรรมราช ทันที จึงนัดหมายให้แม่ทัพของกองทัพเรือต่างๆ นำกองทัพเรือมารวมพลที่แหลมโพธิ์ เพื่อรับฟังแผนการรบ และเคลื่อนพลกองทัพเรือ และกองทัพบก จากแหลมโพธิ์พร้อมๆ กัน

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ปลูกต้นโพธิ์ ให้กำเนิดชื่อ แหลมโพธิ์ เมืองไชยา พ.ศ.๒๓๑๒

กลางเดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นัดหมายกองทัพเรือต่างๆ มารวมพลพร้อมๆ กันที่แหลมโพธิ์ เพื่อเคลื่อนทัพเรือเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรียกประชุมแม่ทัพนายกองที่พลับพลาแหลมโพธิ์ เพื่อวางแผนการเคลื่อนทัพ และแผนการรบเข้ายึดเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนการเคลื่อนทัพ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ปลูกต้นโพธิ์ทอง ไว้ที่แหลมโพธิ์ เพื่อเป็นมงคลชัย แล้วพระราชทานชื่อแหลมดังกล่าวว่า แหลมโพธิ์ ถูกเรียกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แล้วเคลื่อนกองทัพมุ่งหน้าสู่เมืองนครศรีธรรมราช

เดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ยกทัพเรือจากแหลมโพธิ์ ถึง ปากพานคูหา (.ท่าฉาง) อ่าวบ้านดอน พบดาวหางขึ้นทางทิศใต้ เห็นว่าเป็นนิมิตดี ในการเตรียมทำสงครามยึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ขั้นแตกหัก

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่งกองทัพยึดเมืองนครศรีธรรมราช สำเร็จ พ.ศ.๒๓๑๒

วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยกกองทัพเรือ ถึงปากน้ำปากพนัง วันที่ ๒๑ กันยายน (วันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมง) .ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยกทัพขึ้นบก โดยยกกองทัพเข้าตีค่ายท่าแพแตก สามารถจับกุม อุปราชจันทร์ ซึ่งตั้งรับที่ ท่าโพธิ์ได้ ส่วน เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช นำครอบครัวหนีไปทางเมืองพัทลุง ไปขอความช่วยเหลือจาก พระยาพัทลุง (ท่าเสม็ด) หลานชายของเจ้าพระยานคร(หนู)

เดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพเรือ เข้าทำสงครามยึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ไว้ได้ ครั้งนั้น นายคงไพรเสนาภิมุขนำช้างพลายเพชร ของเจ้านคร มาถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ทรงช้างพระที่นั่งพลายเพชร เสด็จเข้าสู่ พระราชวังหลวง ของ เมืองนครศรีธรรมราช

เดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ กองทัพบก ของ พระยาจักรีฯ (บุญชู) ปะทะกับกองทัพพระยานคร(หนู) ที่ค่ายท่าหมาก สามารถตีค่ายท่าหมากแตก และบุกไปยังเขาหัวช้าง กองทัพข้าศึกทราบข่าวว่า เมืองนครศรีธรรมราช ถูกตีแตกแล้ว จึงถอยหนี กันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ พระยาพัทลุง(ท่าเสม็ด) เจ้าเมืองพัทลุง หลานชายเจ้าพระยานครหนู ทราบข่าวว่าค่ายท่าหมาก และเมืองนครศรีธรรมราช ถูกตีแตก จึงตัดสินใจนำ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) หนีไปทาง เมืองสงขลา ไปพึ่งพิง พระยาสงขลา(วิเถียร) เป็นหลานชาย ของ เจ้าพระยานครหนู อีกคนหนึ่ง

 

พระยาราชบังสัน(จุ้ย) เข้าตี เมืองพัทลุง และ เมืองสงขลา สำเร็จ พ.ศ.๒๓๑๒

ปลายเดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๒ พระยาพัทลุง(ท่าเสม็ด) เจ้าเมืองพัทลุง หลานชายเจ้าพระยานครหนู ทราบข่าวว่าค่ายท่าหมาก และเมืองนครศรีธรรมราช ถูกตีแตก จึงตัดสินใจนำ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) หนีไปทาง เมืองสงขลา ไปพึ่งพิง พระยาสงขลา (วิเถียร) ซึ่งเป็นหลานชาย ของ เจ้าพระยานครหนู เช่นเดียวกัน พระยาจักรีฯ (บุญชู) จึงเข้ายึดเมืองพัทลุง โดยไม่มีการต่อสู้ ส่วนพระยาพัทลุง (ท่าเสม็ด) ได้นำเรือสำเภา หนีมุ่งหน้าไปเข้าเฝ้าพระเจ้าโสร์ทศ ที่ประเทศเขมร 

ในช่วงเวลาดังกล่าว พระยาจักรีฯ(บุญชู) ได้นำกองทัพบกเข้าตีเมืองสงขลา ซึ่งปกครองโดย พระยาสงขลา (วิเถียร) เป็นหลานชายอีกคนหนึ่ง ของ เจ้าพระยานครหนู สามารถเข้ายึดครอง เมืองสงขลา เป็นผลสำเร็จ พระยาสงขลา(หลวงวิเถียร) เจ้าเมืองสงขลา ลงเรือสำเภา หลบหนีมุ่งหน้าไป ประเทศเขมร แต่ถูกตรวจจับได้กลางทะเล จึงหลบหนีไปเมืองปัตตานี ส่วนเจ้าพระยานครหนู นำเรือสำเภา หนีไปที่เมืองปัตตานี เช่นเดียวกัน พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) จึงมีใบบอก กราบทูลให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงทราบ

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกจาก พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) เรียบร้อยแล้ว ก็ตัดสินพระทัยเสด็จไปยังเมืองสงขลา เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ นายโยม เป็น พระยาสงขลา(โยม) เจ้าเมืองสงขลา แทนที่ พระยาสงขลา(หลวงวิเถียร) และโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ นายเฮาเยี่ยง(วู่ยัง แซ่บู๊) เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน ให้ดำรงตำแหน่ง เป็น หลวงอินคีรีสมบัติ (จอมแหลมสน) เป็นปลัดเมืองสงขลา ส่วนเมืองพัทลุง โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาแก้วโกรพ บุตรชายคนหนึ่ง ของ มหาหุมตะตา เป็นเจ้าเมืองพัทลุง มี ขุนคางเหล็ก บุตรชายของ พระยาแก้วโกรพ เป็นปลัดเมือง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ พระยาแก้วโกรพ ได้เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลาม มานับถือศาสนาพุทธ เป็นต้นตระกูล ณ พัทลุง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

พระยาราชบังสัน (จุ้ย) ได้ส่งธิดาเจ้าเมืองสงขลา (หลวงวิเถียร) ๒ ท่าน มาเป็นพระสนม ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต่อมาได้พระราชโอรสลับ ๑ พระองค์ ชื่อ หาญเป็นต้นตระกูลศรียาภัย และอีก ๑ ท่าน เป็นต้นสายตระกูล ณ นครราชสีมา ส่วน เจ้าพระยานครฯ (หนู) และพวก ได้หลบหนีต่อไปยังเมืองปัตตานี ไปพึ่งพิง พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน(สุลต่านโมฮัมหมัด) ในสงครามครั้งนั้น

 

พระเจ้าตากสิน ทำการบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ก่อนยกกองทัพกลับ กรุงธนบุรี

 

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยกกองทัพจาก เมืองนครศรีธรรมราช กลับมาที่ กรุงคันธุลี เพื่อพระราชทานเพลิงศพ ของ สมเด็จพระสังฆราช(ชื่น) รับครอบครัว และแล่นเรือต่อไปยังราชธานี กรุงธนบุรี นำพระไตรปิฎก จากเมืองนครศรีธรรมราช และสังฆราชศีล ไปด้วย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จกลับถึง กรุงธนบุรี ก็ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งขุนนางต่างๆ ที่ร่วมกันทำสงครามชนะกองทัพ พระเจ้าโสร์ทศ

พระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) พระยาราชบังสัน(จุ้ย) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยายมราช(จุ้ย) รับราชการที่กรุงธนบุรี พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) เป็น พระยาราชบังสัน(หวัง) ปกครอง เมืองชลบุรี ส่วนเมืองไชยา โปรดเกล้าให้ ขุนหลวงอินทร์รองเมือง(สา) เป็นเจ้าเมืองไชยา พระยาวิชิตภักดี (สา) เป็นน้องชายของภรรยาพระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์ (หวัง) ที่มีชื่อว่า นาค ต่อมา ประชาชนเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดี พุทธโธ เพราะชอบอุทานคำว่า พุทธโธ

 

ถวายพระราชธิดา เมืองนครศรีธรรมราช เป็นชายา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พ.ศ.๒๓๑๒

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับการถวายพระธิดา ของ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เป็นพระชายา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๒ มีดังนี้

() เจ้าหญิงสั้น ต่อมาไปเป็นภรรยาพระยาวิเศษสุนทร (นาค นกเล็ก) ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า เป็นต้นตระกูล บูรณะศิริ” “สุจริตกุลและ ภูมิรัตน์

() เจ้าหญิงนวล ต่อมาไปเป็นชายามหาอุปราช (พัฒน์) ต่อมามีธิดา ๒ องค์ คือ เจ้าหญิงนุ้ยใหญ่ (เป็นพระราชมารดาของ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ ร-) และ เจ้าหญิงนุ้ยเล็ก (เป็นพระราชมารดาของ พระองค์เจ้าหญิงปัทมราช)

() เจ้าหญิงฉิม เป็นพระสนมของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัสพงศ์(ต้นตระกูล พงศ์สิน) , สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัสไพ(ต้นตระกูล นพวงศ์ ณ อยุธยา) , สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร(สกุลธรรมโรจน์ และ พัฒนะศิริ)

() เจ้าหญิงปราง หรือ เจ้าหญิงเล็ก คือพระราชมารดาของ เจ้าพระยานครน้อย ในเวลาต่อมา

() เจ้าหญิงญวน หรือ เจ้าหญิงจวน ได้พระราชทานแก่ เจ้าพระยานครราชสีมา มีโอรสลับชื่อ ทองอิน” (ต้นสกุล อินทรกำแหง อินทรโสพัส และ มหาณรงค์)

 

พระเจ้าตากสิน มอบธิดาหลวงวิเถียร ให้เป็นภรรยา ของ พระยาราชบังสัน(จุ้ย) พ.ศ.๒๓๑๔

       หลังจากพระยาราชบังสัน (จุ้ย) ได้ส่งธิดาเจ้าเมืองสงขลา (หลวงวิเถียร) ๒ ท่าน มาเป็นพระสนม ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต่อมาได้พระราชโอรสลับ ๑ พระองค์ ชื่อ หมื่นหาญ เป็นต้นตระกูลศรียาภัย และอีก ๑ ท่าน เป็นต้นสายตระกูล ณ นครราชสีมา จนกระทั่ง พระยาราชบังสัน(จุ้ย) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยายมราช(จุ้ย) สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มอบธิดาเมืองสงขลา มารดาของ หมื่นหาร เป็นภรรยาของพระยายมราช(จุ้ย) ต่อมาได้บุตรชายคนหนึ่งชื่อ แม้น(ช) เป็นต้นสกุล มานะจิต 

       บุตรชายของนายแม้น คนหนึ่งชื่อ ฉิม ได้รับราชการในราชวงศ์จักรี เป็น พระยาราชบังสัน(ฉิม) มีลูกหลานเป็น พระยาราชบังสัน ต่อๆ มาอีกหลายคน คือพระยาราชบังสัน(บัว) และ พระยาราชบังสัน(นก) คือสายตระกูล มานะจิต บัวหลวง ปรียากร ศิริสม บัวเลิศ ฯลฯ ในปัจจุบัน ส่วนบุตรชายอีกคนหนึ่งของ นายแม้น คือ พระยาณรงค์เดชพิชิตสงคราม เป็นสายสกุล ศรเดช ในปัจจุบัน นั่นเอง 

 

พระยาแก้วโกรพ(ขุน คางเหล็ก) ปกครองเมืองพัทลุง พ.ศ.๒๓๑๕

เดิมทีผู้ปกครองเมืองพัทลุง คือ พระยาพัทลุง(มหาหุมตะตา) แต่ถูกพระยานคร(หนู) ยกกองทัพเข้ายึดครองเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ มหาหุมตะตา ต้องหนีไปอยู่ที่เมืองไชยา เจ้าพระยานคร(หนู) จึงแต่งตั้งให้ พระยาพัทลุง(ท่าเสม็ด) เจ้าเมืองพัทลุง หลานชายเจ้าพระยานครหนู ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ ปกครองเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๐-พ.ศ.๒๓๑๒ และได้ถูกกองทัพ พระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู ปราบปราม พระยาพัทลุงท่าเสม็ด พ่ายแพ้สงคราม ได้หลบหนีทางเรือ ไปเฝ้าพระเจ้าโสร์ทศ ที่เขมร แต่ถูกกองทัพเรือของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกล่าติดตาม จับพระยาพัทลุงท่าเสม็ด ได้กลางทะเล ถูกนำไปประหารชีวิต

หลังสงครามปราบปรามเมืองพัทลุง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาแก้วโกรพ บุตรชายคนหนึ่ง ของ มหาหุมตะตา เป็นเจ้าเมืองพัทลุง มี ขุนคางเหล็ก บุตรชายของ พระยาแก้วโกรพ เป็นปลัดเมือง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ พระยาแก้วโกรพ ได้เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลาม มานับถือศาสนาพุทธ เป็นต้นตระกูล ณ พัทลุง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมา พระยาพัทลุง ที่หนีมาอยู่ที่เมืองไชยา และไปปกครองเมืองพัทลุง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๕ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดเกล้าให้ พระยาแก้วโกรพ (ขุน คางเหล็ก) บุตรชายของ พระยาแก้วโกรพ (บุตรชายของมหาหุมตะตา) เป็นเจ้าเมืองพัทลุง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๕ ตั้งที่ว่าราชการเมืองอยู่ที่ ตำบลลำปำ ใกล้ทะเลสาบสงขลา และ พระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก ได้เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลาม มาเป็น พุทธศาสนา

       เมื่อพระยาพัทลุง ขุนคางเหล็ก ถึงแก่อนิจกรรม พระยาพิมล หลานพระยานครพัด และเป็นสามี ของ คุณหญิงมุข ได้มาปกครองเมืองพัทลุง ต่อมาพระยาพิมล ถูกย้ายไปปกครองเมืองเบตุง และไปปกครองเมืองถลาง(ภูเก็ต) เมื่อ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(เจ้าชายไข่แดง) สามีของคุณหญิงจันทร์ สิ้นพระชนม์ในสงครามกับพม่า ที่เมืองเมาะตะมะ

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เข้าตีเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๖-พ.ศ.๒๓๑๗

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยยกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่ มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๓ แต่ไม่สำเร็จ จึงต้องถอยทัพกลับมา จึงรับสั่งให้ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) ติดต่อ นายบุญเมือง น้องชาย เจ้าเมืองระยอง ให้แสร้งสวามิภักดิ์ต่อพม่า เพื่อขอรับราชการที่ เมืองเชียงใหม่ โดยติดต่อกับ นายรุก อดีตพระยาไชยานอกราชการ ที่เป็นเชลยศึกของพม่า เป็นที่มาให้ นายบุญเมืองไปรับราชการที่เชียงใหม่ คอยส่งข่าวสภาพเมืองเชียงใหม่ ให้กับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรื่อยมา เมื่อได้โอกาส สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงวางแผนเข้าตีเมืองเชียงใหม่ อีกครั้งหนึ่ง

เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๖ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มอบให้ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (บุญชู) นำกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงใหม่ กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเมืองเชียงใหม่ เป็นฐานที่มั่น ในการส้องสมกำลังคน ส่งเสบียงอาหาร เพื่อทำสงครามกับ อาณาจักรเสียม-หลอ เรื่อยมา โดยพระองค์ จะนำกองทัพหลวงไปด้วย โดยมีการจัดกำลังกองทัพ ดังนี้

(๑) หัวเมืองเหนือ จัดกำลัง ๒๐,๐๐๐ คน นัดพบกันที่บ้านระแหง แขวงเมืองตาก

(๒) กองทัพหลวง จัดกำลัง ๑๕,๐๐๐ คน เดินทางโดยกองทัพเรือ

เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๖ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ เจ้าพระยาจักรีฯ (บุญชู) ไปเจรจากับ น้องชาย นายบุญเมือง(พระยาจ่าแสนยากร อดีตเจ้าเมืองระยอง) ซึ่งขึ้นต่อนายรุก ให้นายบุญเมือง นำประชาชนชาวเชียงใหม่ ลุกฮือขึ้นต่อสู้ กับ พม่า เรื่อยมา ดังนั้นในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๖ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ยกกองทัพออกจากกรุงธนบุรี

 

ภาพวาด ขบวนกองทัพเรือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ขณะเคลื่อนทัพออกตีเมืองเชียงใหม่

 

เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๖ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (บุญชู) ส่งกองทัพเข้ายึดเมืองลำปางสำเร็จ และ ตีเมืองลำพูน สำเร็จ แล้วส่งกองทัพเข้าลอมเมืองเชียงใหม่ไว้ และ เจ้าพระยาจักรีฯ (บุญชู) นัดหมาย น้องชาย นายบุญเมือง ให้มาเจรจา ที่หน้าประตูเมือง ให้ติดต่อแม่ทัพพม่า ให้ยอมแพ้แต่โดยดี

วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยกกองทัพหลวง ถึง เมืองลำพูน เพื่อทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงใหม่ กลับคืน เดือน มกราคม พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระเจ้าหลานเธอ เจ้ารามลักษณ์ นำกองทัพ ๑,๘๐๐ คนไปขัดขวางกองทัพพม่า ที่กำลังเคลื่อนทัพมาทางด่านบ้านนา เกาะดอนเหล็ก เมืองตาก วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จจากลำพูนไปประทับที่ ค่ายหลวงริมน้ำใกล้กับ เมืองเชียงใหม่

นายรุก เชลยศึกพม่า วางกลลวง นำเอา นายบุญเมือง น้องชายของ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) สองพี่น้อง ให้มาต่อสู้กัน เกิดการรบกันระหว่างสองพี่น้อง ระหว่างยกทัพมาเจรจากัน ที่ประตูเมืองเชียงใหม่ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (บุญชู) นำช้างพระที่นั่งของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขี่เข้าพังประตูเมืองเชียงใหม่ นายบุญเมือง น้องชาย ขัดขวาง จึงฟันด้วยดาบบาดเจ็บสาหัส กลายเป็นคนพิการ ในเวลาต่อมา ศัตรูของ เจ้าพระยาจักรีฯ (บุญชู) ก็ใช้โอกาสดังกล่าว ปล่อยข่าวโจมตี เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (บุญชู) ว่ากระทำผิดกฎมณเฑียรบาล

วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๗ กองทัพพม่า ของ แม่ทัพ โปสุพลาง และ แม่ทัพ โปมะยุหง่วน พ่ายแพ้สงคราม ต้องทิ้งเมืองเชียงใหม่ หนีออกไปทางประตูท่าแพ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงช้างพระที่นั่ง ยกกองทัพเข้ายึดครอง เมืองเชียงใหม่ สำเร็จ

 

เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์(บุญชู) ถึงแก่ อสัญกรรม พ.ศ.๒๓๑๗

เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (บุญชู) ถูกโจมตีและใส่ความอย่างหนักเรื่อง นำช้างพระที่นั่งของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขี่เข้าพังประตูเมืองเชียงใหม่ และพยายามฆ่าน้องชายตนเอง จนบาดเจ็บสาหัส เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ จึงเดินทางไปหามารดา (หม่อมดาว) ที่กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ตนเองกระทำผิดกฎมณเฑียรบาล เพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่าง จึงตัดสินใจยอมสละชีพตนเอง ด้วยดาบไขว้คู่กาย ถึงแก่อสัญกรรม หม่อมดาว เสียใจมาก และเริ่มเจ็บป่วย เป็นที่มาให้ พระองค์เจ้านกเอี้ยง เดินทางจากกรุงธนบุรี ไปเยี่ยมหม่อมดาว ที่กรุงศรีอยุธยา พระองค์เจ้านกเอี้ยง ทราบความเป็นจริง ก็นำเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปเล่าให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงทราบ ทรงกริ้วมาก และเป็นที่มาให้ พระองค์เจ้านกเอี้ยง เจ็บป่วย และ สวรรคต ในเวลาต่อมา

พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) ได้ให้ขุนนางที่ใกล้ชิด ก่อกระแสให้ขุนนางอำมาตย์ต่างๆ กล่าวถึงผลงานการตีเมืองเชียงใหม่ เป็นผลสำเร็จ เป็นผลงานของ พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) จึงเป็นที่มาให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) เป็น พระยาจักรีฯ (ทองด้วง) แทนที่ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗

 

พระยายมราช(จุ้ย) ทำสงครามกับกองทัพพม่า ที่ บางแก้ว พ.ศ.๒๓๑๗

       หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำสงครามยึดครองเมืองเชียงใหม่ สำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ เมื่อเดินทัพกลับมาถึงเมืองระแหง ก็ทราบข่าวว่า กองทัพพม่ายกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จกลับกรุงธนบุรี ก็ได้รับใบบอกจากเจ้าชายไข่แดง เจ้าเมืองถลาง ทำให้ทราบข่าวว่า แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ ทำการบัญชาการรบอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ ได้สั่งให้แม่ทัพยุวอคงหวุ่น ยกกองทัพเข้ามาด่านเจดีย์ ๓ องค์ มุ่งหน้าเข้าสู่เมืองราชบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงรับสั่งให้ พระยายมราช(จุ้ย) นำกองทัพไปสกัดกองทัพพม่า ที่ท่าดินแดง

       แม่ทัพยุวอคงหวุ่น ได้นำกองทัพ ๕,๐๐๐ คน เดินทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ได้ปะทะกับกองทัพของ พระยายมราช(จุ้ย) ที่ท่าดินแดง พระยายมราช(จุ้ย) ซึ่งมีกำลังทหารเพียง ๑,๕๐๐ คน ต้องล่าถอยมาที่ปากแพรก เมืองกาญจนบุรี ในปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงรับสั่งให้รีบเกณฑ์กองทัพในกรุงธนบุรี เพื่อออกต่อสู้กับกองทัพพม่า ดังนี้

       พระองค์เจ้าจุ้ย(กรมขุนอินทรพิทักษ์) พระเจ้าลูกเธอ กับ หม่อมสอน กับ พระยาธิเบศร์บดี จางวางมหาดเล็ก นำกำลัง ๓,๐๐๐ คน ไปร่วมกับ พระยาราชบุรี(คง) เพื่อช่วยรักษาเมืองราชบุรี

       เจ้ารามลักษณ์ โอรส ของ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา กับ ธิดาเจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ และเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกำลัง ๑,๐๐๐ คน ไปหนุนช่วย พระยายมราช(จุ้ย) ที่ปากแพรก กาญจนบุรี

       มอบให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา พระอนุชา สมุหนายก ดูแลกรุงธนบุรี และมีตราให้เรือเร็วขึ้นไปเร่งรัดกองทัพหลวงกรุงธนบุรี ซึ่งกำลังเคลื่อนทัพลงมากลางทาง ให้เร่งรีบเคลื่อนทัพลงมายังกรุงธนบุรี ด่วน

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกจาก พระยายมราช(จุ้ย) แจ้งให้ทราบว่า กองทัพพม่า มีประมาณ ๕,๐๐๐ คน ได้เข้าตีค่ายที่ปากแพรก ต้องตัดสินใจถอยทัพมาตั้งทัพสกัดกองทัพพม่า อยู่ที่ ดงรังหนองขาว กองทัพพม่า แบ่งออกเป็น ๒ กองทัพ ที่ปากแพรก บัญชาการโดยแม่ทัพมองจายิด กำลังออกไปปล้นสะดม อยู่ที่ เมืองกาญจนบุรี และ เมืองสุพรรณบุรี ส่วนอีกกองทัพหนึ่งมีกำลังประมาณ ๓,๐๐๐ คน บัญชาการโดยแม่ทัพ งุยอคงหวุ่น กำลังเคลื่อนทัพมาทางเมืองราชบุรี เมืองสมุทรสงคราม กำลังตั้งค่าย ๓ ค่าย อยู่ที่บางแก้ว แล้วให้ทหารกระจายออกปล้นสะดม ไปถึงเมืองเพชรบุรี

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกจาก พระยานครชัยศรี สรุปว่า กองทัพพม่า กำลังออกปล้นสะดมทรัพย์สินของประชาชน ที่เมืองสุพรรณบุรี ต่อเนื่องมาถึง เมืองนครชัยศรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงรับสั่งให้ เจ้าพระยาโกษาธิบดี(หยางจิ้งจุง) นำกำลัง ๑,๐๐๐ คน ออกไปช่วยรักษา เมืองนครชัยศรี

วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกจาก พระยายมราช(จุ้ย) แจ้งข่าวว่า พม่าส่งกองทัพมาเสริมกำลังที่ ปากแพรก(กาญจนบุรี) อีกประมาณ ๑,๐๐๐ คน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งให้ทัพหลวง ๙,๐๐๐ คน ที่เดินทางไปตั้งทัพหลวงอยู่ที่ เมืองราชบุรี

       วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้พระยาสีหราชเดโชชัย กับ พระวิเศษชัยชาญ นำกำลัง ๒,๐๐๐ คน ไปช่วยพระยายมราช(จุ้ย) ที่หนองขาว แล้วนำกองทัพหลวง เดินทัพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ของ เมืองราชบุรี ไปสร้างค่ายหลวงอยู่ที่ ตำบลเขาพระ เหนือค่ายโคกกระต่าย ขึ้นไปประมาณ ๑.๖ กิโลเมตร

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระยารามัญ คุมกองทัพมอญที่เข้าใหม่ ไปรักษาหนองน้ำที่เขาชะงุ้ม ซึ่งอยู่ในเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหาร ของ ข้าศึกพม่า ที่อยู่ทางทิศเหนือ ขึ้นไปประมาณ ๔.๘ กิโลเมตร อีกแห่งหนึ่งด้วย เพื่อตัดเสบียงอาหาร ของ ข้าศึก ให้พม่าสิ้นเสบียงอาหาร สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ คาดว่าเมื่อข้าศึกพม่า ทนความ อดยากไม่ได้ จะต้องยอมถูกจับเป็นเชลย ทั้งหมด ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพงุยอคงหวุ่น ที่ค่ายบางแก้ว ของพม่า เริ่มขาดแคลนเสบียงอาหาร จึงส่งทหารพม่าเข้าตีค่ายพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) ครั้งที่-๑ ที่หนองน้ำเขาช่องพราน สงครามครั้งนั้นฝ่ายทหารกรุงธนบุรี สามารถตีทหารพม่า แตกพ่ายกลับไป ไม่สามารถส่งเสบียงกรังได้

ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๑๗ ทหารพม่า ตลอดไปจนถึง ช้างม้า จึงขาดแคลนเสบียงอาหาร เป็นเหตุให้ แม่ทัพงุยอคงหวุ่น ส่งทหารพม่าเพิ่มขึ้น เข้าตีค่าย พระยาอินทร์อภัย(บุญมี) ครั้งที่-๒ ที่หนองน้ำเขาช่องพราน ฝ่ายทหารสยาม สามารถตีทหารพม่า แตกพ่ายกลับไปอีก เป็นเหตุให้ทหารพม่า ตลอดไปจนถึง ช้างม้า ขาดแคลนเสบียงอาหาร เป็นเหตุให้ แม่ทัพงุยอคงหวุ่น มอบให้ รองแม่ทัพ เนมิโยแมงละนรทา ส่งทหารพม่า ๑,๐๐๐ คน เข้าตีค่ายพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) ครั้งที่-๓ ในคืนเดียวกัน ที่หนองน้ำเขาช่องพราน ฝ่ายทหารสยาม สามารถตีทหารพม่า แตกพ่ายกลับไปอีก และสามารถจับทหารพม่า ได้จำนวนหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำการสอบสวนเชลยศึกพม่า ด้วยการตรัสภาษาพม่า ด้วยพระองค์เอง ทราบว่า ทหารพม่า ในค่ายทหารบางแก้ว กำลังอดยาก จึงให้จัดหน่วยทหารจรยุทธ์ จำนวน ๗๔๕ คน ไปช่วยเจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) ทำหน้าที่ซุ่มตี ตัดเส้นทางลำเลียงของพม่า ที่เขาช่องพราน อีกกองทัพหนึ่ง

เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพใหญ่ ของ พม่า รอคอยฟังข่าวทหารพม่า ๕,๐๐๐ คน ที่ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ หายเงียบไป ไม่มีการส่งข่าวรายงานกลับไป จึงมอบให้ แม่ทัพตะแคงมรหน่อง เชื้อพระวงศ์ของ พระเจ้ามังระ นำกองทัพ ๓,๐๐๐ คน เดินทัพผ่านด่านเจดีย์สามองค์ มุ่งหน้าเข้าสู่ค่ายทหารพม่า ที่ปากแพรก(กาญจนบุรี) จึงทราบว่า ทหารพม่า ๓,๐๐๐ คน ที่ค่ายบางแก้ว กำลังถูกปิดล้อม แม่ทัพตะแคงมรหน่อง จึงสั่งให้ แม่ทัพมองจายิด นำกองทัพ ๒,๐๐๐ คน จากค่ายบางแพรก เดินทางไปช่วยเหลือแม่ทัพงุยอคงหวุ่น ที่ค่ายบางแก้ว

แม่ทัพตะแคงมรหน่อง นำทหาร ๓,๐๐๐ คน ส่วนที่เหลือเข้าตีค่ายทหาร ของ พระยายมราช(จุ้ย) ที่ค่ายหนองขาว เกิดการรบกันอย่างดุเดือด กองทัพพม่า ไม่สามารถตีค่ายทหารกรุงธนบุรี ของ พระยายมราช(จุ้ย) ให้แตกได้ จึงต้องถอยทัพกลับไปที่ค่ายปากแพรก

 

แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ นำกองทัพพม่า เข้าตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.๒๓๑๗

หลังจากสงคราม ณ สมรภูมิบางแก้ว กลางเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ ได้นำกองทัพพม่ามาตั้งทัพที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อเตรียมทำสงครามใหญ่กับ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ดังนั้นปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพใหญ่พม่า อะแซหวุ่นกี้ ได้มอบให้ แม่ทัพโปสุพลา และ โปมะยุง่วน ยกกองทัพจากเมืองเชียงแสน เข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ และเมืองเหนือ อื่นๆ

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับข่าวว่า พม่า โดยแม่ทัพโปสุพลา และ แม่ทัพโปมะยุง่วน เคลื่อนทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่ จึงมีรับสั่งให้ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) นำทัพหัวเมืองเหนือ ขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่ และให้ พระยาจักรี(ทองด้วง) นำกองทัพจาก กรุงธนบุรี หนุนขึ้นไปอีกกองทัพหนึ่ง ขณะนั้นแม่ทัพโปสุพลา และ โปมะยุง่วน ได้ยกกองทัพจากเมืองเชียงแสน เข้าประชิดหวังเข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ แต่เมื่อทราบข่าวว่า สยามกำลังเคลื่อนทัพขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่ จึงตัดสินใจถอยทัพ กลับคืนเมืองเชียงแสน ดังเดิม

 

พม่าส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองเหนือ กลับคืน พ.ศ.๒๓๑๗

ปลายเดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ จัดกำลังและเคลื่อนทัพเข้าตีสยาม โดยจัดกองทัพดังนี้ กองทัพหน้า หรือ กองระวังหน้า มอบให้แม่ทัพกะละโบ กับ แม่ทัพมังแยยางู(น้องชาย) นำกำลังจำนวน ๒๐,๐๐๐ คน กองหนุน มอบให้ แม่ทัพตะแคงแมรหน่อง และ เจ้าเมืองตองอู คุมกำลัง ๑๕,๐๐๐ คน กองทัพทั้งสอง รวม ๓๕,๐๐๐ คน ได้เคลื่อนทัพจากเมืองเมาะตะมะ ผ่านด่านแม่ละเมา มุ่งเข้าสู่เมืองตาก

ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๗ กองทัพพม่า ทั้งกองหน้าและกองหนุน จำนวน ๓๕,๐๐๐ คน เข้ายึดครองเมืองตาก ทางคณะกรมการเมือง มีกำลังไม่พอที่จะทำการสู้รบกับกองทัพใหญ่ ของ พม่าได้ จึงได้อพยพไพร่พล หนีกองทัพพม่า มาทางด่านลานหอย มุ่งหน้าเดินทางมายังเมืองสุโขทัย แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ ได้จัดไพร่พลทำนาที่เมืองระแหง(ตาก) เพื่อเตรียมเสบียงอาหารให้กับกองทัพ เตรียมทำสงครามยืดเยื้อ

ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองกำแพงเพชร แล้วจัดไพร่พลทำนา เพื่อเตรียมเสบียงอาหารเพื่อทำสงครามยืดเยื้อ

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๗ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) และ พระยาจักรี(ทองด้วง) ทราบข่าวว่า แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ เคลื่อนทัพใหญ่ เข้ามาทางด่านแม่ละเมา พระยาจักรี(ทองด้วง) จึงรีบเคลื่อนทัพจากเมืองเชียงใหม่ กลับมาทางเมืองสวรรค์โลก เมืองพิชัย เข้าสู่เมืองพิษณุโลก และวางแผนต่อสู้กับกองทัพพม่า พร้อมกับทำใบบอก ส่งไปรายงานต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขอกำลังหนุนมาช่วย

 

สงครามกับพม่า ณ สมรภูมิ บ้านกงธานี พ.ศ.๒๓๑๘

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพกะละโบ กับ แม่ทัพมังแยยางู(น้องชาย) นำกำลังจำนวน ๒๐,๐๐๐ คน เคลื่อนทัพไปตั้งอยู่ที่บ้านกงธานี(ที่ตั้งเมืองสุโขทัย ปัจจุบัน) ริมฝั่งแม่น้ำยม ส่วนแม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ และ แม่ทัพตะแคงแมรหน่อง และ เจ้าเมืองตองอู คุมกำลัง ๑๕,๐๐๐ คน ไปตั้งอยู่ในเมืองสุโขทัย

ปลายเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๗ เจ้าพระยาพิชัยราชา(บุญชัย) เจ้าเมืองสวรรค์โลก เจ้าพระยาเชียงเงินท้ายน้ำ เจ้าเมืองสุโขทัย เจ้าพระยาพิชัยดาบหัก(จ้อย) และ พระยาอักษรวงศา(ขุนนางเมืองสวรรค์โลก เป็นพี่น้องต่างมารดา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) นำกองทัพเข้าโจมตีค่ายพม่า ของ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ที่บ้านกงธานี(ที่ตั้งเมืองสุโขทัยปัจจุบัน)

ปลายเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๑๗ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) ติดตามไปตั้งค่ายทหารที่บ้านไกรป่าแฝก ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๗ กองทัพพม่า เข้าตีกองทัพ ของ พระยาเชียงเงินท้ายน้ำ เจ้าเมืองสุโขทัย จนแตกพ่าย ต้องถอยทัพมายังค่ายทหาร ของ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) ที่ค่ายบ้านไกรป่าแฝก

ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๗ เกิดการสู้รบระหว่าง กองทัพสยาม กับ กองทัพพม่า ณ สมรภูมิบ้านไกรป่าแฝก เป็นเวลา ๓ วัน เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) สู้กองทัพพม่า ไม่ได้จึงถอยทัพเข้าสู่เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ จัดกำลัง ๕,๐๐๐ คน รักษาเมืองสุโขทัย และเคลื่อนทัพ ๓๐,๐๐๐ คน ติดตามกองทัพไทยที่เกิดการสู้รบ ณ สมรภูมิบ้านไกรป่าแฝก ติดตามเข้ามายังเมืองพิษณุโลก

 

พม่า ปิดล้อมเมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๓๑๗

กลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ จัดกำลัง ๕,๐๐๐ คน รักษาเมืองสุโขทัย และเคลื่อนทัพ ๓๐,๐๐๐ คน ติดตามกองทัพไทยที่เกิดการสู้รบ ณ สมรภูมิบ้านไกรป่าแฝก ติดตามเข้ามายังเมืองพิษณุโลก แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ นำกองทัพ ๓๐,๐๐๐ คน เข้าตั้งค่ายปิดล้อมเมืองพิษณุโลก ไว้ทั้งสองฟาก แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ส่งทหารออกเลียบค่ายไปตรวจหาชัยภูมิทุกวัน

เมื่อพม่าเข้าปิดล้อมเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) และ พระยาจักรี(ทองด้วง) ได้วางแนวป้องกันตัวเมืองไว้ ๒ ฟาก ให้แม่น้ำอยู่ตรงกลาง และได้ทำสะพานเชือกเอาไว้สองสะพาน สำหรับการเคลื่อนย้ายกำลังไปช่วยเหลือกันได้ และได้นำกำลังออกซุ่มโจมตีกองทหารพม่า เป็นประจำแล้วถอยทัพกลับมา

 

สงครามกับพม่า ณ สมรภูมิ เมืองมะริด และ เมืองตะนาวสี พ.ศ.๒๓๑๗

หลังจากสงคราม ณ สมรภูมิบางแก้ว กลางเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ ได้นำกองทัพพม่ามาตั้งทัพที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อเตรียมทำสงครามใหญ่กับ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรีดังนั้นปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๗ แม่ทัพใหญ่พม่า อะแซหวุ่นกี้ ได้มอบให้ แม่ทัพโปสุพลา และ โปมะยุง่วน ยกกองทัพจากเมืองเชียงแสน เข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ และเมืองเหนือ อื่นๆ ขณะเดียวกันก็ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครองเมืองมะริด และเมืองตะนาวสี กลับคืนด้วย

ปลายปี พ.ศ.๒๓๑๗ ขณะที่กองทัพพม่ากำลังปิดล้อมเมืองพิษณุโลก นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สาละวนอยู่กับสงครามที่พม่าบุกภาคใต้ คือ เมืองมะริด เมืองตะนาวสี ด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีพระราชสาสน์สั่งให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา หรือ พระยาถลาง(สมเด็จเจ้าฟ้าไข่แดง) นำกองทัพไปขัดขวางพม่า ที่เมืองมะริด และ ตะนาวสี รวมไปถึง เมืองเมาะตะมะ

 

พระยาถลาง(สมเด็จเจ้าฟ้าไข่แดง) สิ้นพระชนม์ ในการต่อสู้กับกองทัพพม่า พ.ศ.๒๓๑๗

       สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(สมเด็จเจ้าฟ้าชายไข่แดง) ผู้ปกครองเมืองถลาง(ภูเก็ต) นำกองทัพไปขัดขวางพม่า ที่เมืองมะริด และ ตะนาวสี เพื่อทำลายฐานที่มั่นของแม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ ที่เมืองเมาะตะมะ ผลของสงคราม สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา หรือ พระยาถลาง สามีของ คุณหญิงจันทร์ ถูกกองทัพพม่าปิดล้อม สิ้นพระชนม์ ทำให้ คุณหญิงจันทร์ กลายเป็นแม่ม่าย กองทัพพม่า จึงบุกเข้าตีเมืองกุย และ เมืองปราณบุรี เพื่อบุกเข้ายึดเมืองเพชรบุรี และ เมืองราชบุรี ต่อไป พระเจ้าตากสิน ทราบข่าว เสียพระทัยมาก เพราะพระราชโอรส และพระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายไข่แดง และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล สิ้นพระชนม์ ในสงครามกับพม่า จึงมีพระราชสาสน์ สั่งให้ พระยาพิมล สามีของ คุณหญิงมุข พี่สาวของ คุณหญิงจันทร์ ซึ่งขณะนั้นปกครองเมืองพัทลุง ให้มาปกครองเมืองถลาง แทนที่

       อันที่จริง พระเจ้าตากสินฯ ตั้งพระทัยว่า จะโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(สมเด็จเจ้าฟ้าชายไข่แดง) มีประสบการณ์ในการบริหาร และการทำสงคราม ในเวลาพอสมควร และกำลังจะย้ายให้ไปรับตำแหน่ง มหาอุปราช ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี และวางแผนจะให้มาเป็น มหาราชา อาณาจักรสยาม กรุงไชยา เมื่อการรื้อฟื้นกำแพงเมืองพระราชวังศรีเวียงไชย ที่เมืองไชยา สำเร็จ

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกว่า กองทัพพม่า เข้าตีเมืองกุย และ เมืองปราณบุรี แตก และเคลื่อนกองทัพมุ่งเข้ายึดครอง เมืองเพชรบุรี ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม จึงสั่งให้ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม นำกองทัพจากเมืองนครสวรรค์ กลับไปรักษาเมืองเพชรบุรี และรับสั่งให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ (บุญรอด) นำกองทัพจากเมืองคันธุลี เมืองไชยา(พระยาวิชิตภักดีสา) และ เมืองชุมพร(พระยาชุมพรมั่น) และกองทัพของ พระยาราชบังสัน(หวัง) เจ้าเมืองชลบุรี เข้าสกัดกองทัพพม่าที่เมืองเพชรบุรี

       แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ ทราบข่าวว่า พระเจ้าตากสิน มีฐานที่มั่นที่สำคัญอยู่ที่ เมืองคันธุลี ด้วย จึงให้กองทัพพม่า ส่วนหนึ่ง เคลื่อนทัพมาทางชุมพร เพื่อเข้าตีเมืองคันธุลี และ เมืองไชยาด้วย แต่กองทัพของ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์(น้องเขยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) นำกองทัพไปขัดขวาง เป็นผลสำเร็จ กองทัพพม่า จึงเปลี่ยนทิศทาง มุ่งเคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองเพชรบุรี แทนที่

 

กองทัพเมืองไชยา รบพม่า ที่สมรภูมิเมืองเพชรบุรี พม่าเสียชีวิตจำนวนมาก พ.ศ.๒๓๑๗

       เมื่อ กองทัพพม่า เคลื่อนทัพจากเมืองมะริด เข้าตีเมืองกุย และ เมืองปราณบุรี แตก และเคลื่อนกองทัพมุ่งเข้ายึดครอง เมืองเพชรบุรี และ เมืองราชบุรี ตามลำดับนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม นำกองทัพจากเมืองนครสวรรค์ กลับไปรักษาเมืองเพชรบุรี มิให้พม่าเข้ายึดครอง และเคลื่อนทัพเข้ายึดครองเมืองราชบุรี เพื่อให้กองทัพพม่า เข้าปิดล้อม กรุงธนบุรี ตามแผนการที่พม่า กำหนด

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ (บุญรอด) นำกองทัพจากเมืองคันธุลี เมืองไชยา(พระยาวิชิตภักดีสา) และ เมืองชุมพร(พระยาชุมพรมั่น) และกองทัพของ พระยาราชบังสัน(หวัง) เจ้าเมืองชลบุรี เข้าไปหนุนช่วย พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม เจ้าเมืองเพชรบุรี

       กองทัพเรือของพระยาราชบังสัน (หวัง) เจ้าเมืองชลบุรี ได้ไปปะทะกับกองทัพพม่า รบกันอย่างดุเดือด ต่อมากองทัพของสมเด็จเจ้าพระยาอินทร์วงศา (บุญรอด) และกองทัพของเจ้าเมืองไชยา พระยาวิชิตภักดี (สา) และ เจ้าเมืองชุมพร พระยาชุมพร (มั่น) ยกกองทัพไปถึง ได้ทำการปิดล้อมกองทัพพม่า ไว้ก่อน กองทัพพม่าถูกทำลาย เสียชีวิต เกือบทั้งหมด ไม่สามารถส่งกองทัพไปยึดเมืองราชบุรี ตามแผนที่กำหนดได้ ทหารพม่าที่เหลือ ได้หลบหนีกลับไปยังเมืองมะริด ส่วนกองทัพพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม เจ้าเมืองเพชรบุรี ได้นำกองทัพไปขับไล่พม่าที่เมืองราชบุรี เมื่อชนะสงครามพม่า ก็นำกองทัพกลับไปต่อสู้กับพม่า ที่สมรภูมิ เมืองนครสวรรค์ ต่อไป ส่วนกองทัพของสมเด็จเจ้าพระยาอินทร์วงศา (บุญรอด) เป็นแม่ทัพใหญ่ รักษาดินแดนสยาม ทางใต้ ต่อไป

 

พม่า ทำสงครามยึดเมืองราชบุรี พระยาราชบุรี(คง) เสียชีวิตในสงคราม พ.ศ.๒๓๑๗

กองทัพพม่า จากเมืองทวาย เคลื่อนทัพผ่านด่านเจดีย์ ๓ องค์ นัดพบกับกองทัพพม่าที่เคลื่อนทัพมาจากเมืองเพชรบุรี ที่เมืองราชบุรี เนื่องจากกองทัพพม่า พ่ายแพ้กองทัพสยาม ที่มาจากเมืองไชยา สามารถทำลายกองทัพพม่า เสียหายอย่างหนัก ต้องถอยทัพกลับไป ทางเมืองมะริด คงเหลือกองทัพพม่า ที่เมืองทวาย และเคลื่อนทัพผ่านด่านเจดีย์ ๓ องค์ มุ่งสู่เมืองราชบุรี เพื่อวางแผนตีเมืองราชบุรีให้แตก แล้วเคลื่อนทัพเข้าปิดล้อมกรุงธนบุรี ต่อไป

เมื่อกองทัพพม่า เคลื่อนทัพมาถึงเมืองราชบุรี พระยาราชบุรี(คง) นำกองทัพออกต่อสู้กับกองทัพพม่า เสียชีวิตในสงคราม ก่อนที่กองทัพของ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ (บุญรอด) นำกองทัพจากเมืองคันธุลี เมืองไชยา พระยาวิชิตภักดี(สา) และ เมืองชุมพร พระยาชุมพร(มั่น) และกองทัพของ พระยาราชบังสัน(หวัง) เจ้าเมืองชลบุรี ที่เสร็จศึกจากเมืองเพชรบุรี เพิ่งเคลื่อนทัพมาถึง

       ผลของสงคราม กองทัพพม่า ถูกบดขยี้ที่เมืองราชบุรี เสียชีวิต เกือบทั้งหมด มีทีเหลือเล็กน้อย ก็หนีทัพกลับไปทางเมืองทวาย กองทัพพม่า ไม่สามารถส่งกองทัพเข้าปิดล้อม กรุงธนบุรี ตามแผนการที่กำหนดได้ เมื่อพระเจ้าตากสินทราบข่าว ก็ส่ง สมเด็จเจ้าฟ้าชายบัว(สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนปทุมวงศ์) เป็นเจ้าเมืองราชบุรี

 

กองทัพเมืองไชยา รบพม่า ที่สมรภูมิเมืองราชบุรี พม่าเสียชีวิตจำนวนมาก พ.ศ.๒๓๑๗

       สมเด็จเจ้าพระยาอินทร์วงศา(บุญรอด) นำกองทัพจากเมืองคันธุลี เมืองไชยา(พระยาวิชิตภักดีสา) และ เมืองชุมพร(พระยาชุมพรมั่น) และกองทัพของ พระยาราชบังสัน(หวัง) เจ้าเมืองชลบุรี เข้าทำสงครามกับพม่า ที่เมืองเพชรบุรี เป็นผลสำเร็จ กองทัพพม่าที่เหลือรอดชีวิต ต้องถอยทัพกลับไปยังเมืองมะริด และ ตะนาวสี

กองทัพของ สมเด็จเจ้าพระยาอินทร์วงศา(บุญรอด) นำกองทัพจากเมืองคันธุลี เมืองไชยา(พระยาวิชิตภักดีสา) และ เมืองชุมพร(พระยาชุมพรมั่น) และกองทัพของ พระยาราชบังสัน(หวัง) เจ้าเมืองชลบุรี ผู้มีประสบการณ์ในการทำสงครามมาก ได้วางแผนเคลื่อนกองทัพเรือ จากเมืองเพชรบุรี เข้าสู่เมืองราชบุรี ซึ่งกำลังถูกกองทัพพม่าเข้ายึดครอง จึงนำกองทัพเข้าปิดล้อม และเข้าตีกองทัพพม่า ที่เมืองราชบุรี กองทัพพม่า เสียชีวิต เกือบทั้งหมด ยึดอาวุธได้เป็นจำนวนมาก ที่เหลือเล็กน้อย ต้องถอยทัพกลับไปยังเมืองทวาย แผนการปิดล้อมกรุงธนบุรี จึงล้มเหลว ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ สมเด็จเจ้าฟ้าชายบัว หรือ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนปทุมวงศา พระราชโอรส ไปปกครอง เมืองราชบุรี แทนที่ นายคง ชาวราชบุรี เรียกชื่อว่า พระเจ้าบัว

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งตั้งค่ายทหาร สองฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ พ.ศ.๒๓๑๘

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประทับอยู่ที่กรุงธนบุรี เพื่อวางแผนทำสงครามกับพม่า ที่จะส่งกองทัพเข้ามาทางเมืองเพชรบุรี และ ราชบุรี มาทำการปิดล้อม กรุงธนบุรี ทางทิศใต้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสียพระทัยที่ สมเด็จเจ้าฟ้าไข่แดง หรือ สมเด็จเจ้าพระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา เสียชีวิตในสงครามที่เมืองมะริด ได้พยายามให้ทหารไปสืบค้น เพื่อนำศพ มาบำเพ็ญกุศล แต่ไม่สำเร็จ และยังทราบข่าวว่า สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล ราชธิดาคนแรก ภรรยา เจ้าเมืองละโว้ ได้เสียชีวิตในสงครามในการรบกับพม่า ทั้ง ๒ คน สมเด็จพระเจ้าตากสิน เสียพระทัยมาก ขณะนั้นกองทัพพม่า ที่เคลื่อนทัพมาทางทิศเหนือ ยังคงพยายามที่จะเคลื่อนทัพมายึดกรุงธนบุรี ต่อไป

วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงนำกองทัพหลวงจำนวน ๑๒,๐๐๐ คน เคลื่อนทัพไปภาคเหนือ ตั้งกองทัพหลวงอยู่ที่ เมืองนครสวรรค์ เพื่อวางแผนทำสงครามกับ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีกระแสรับสั่งเมื่อเสด็จถึงเมืองนครสวรรค์ ว่า “...ให้แจกกฎหมายสำหรับทัพทุกกอง ถ้าไพร่ตามนายมิทัน ให้ฆ่าเสีย...”

ปลายเดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มอบให้ พระยาราชาเศรษฐี(เฉินเหลียง) นำกองทัพ ๓,๐๐๐ คน ทำหน้าที่รักษาเส้นทางลำเลียง และทำลายกองทัพพม่า ทางเส้นทางแม่น้ำพิง ที่ไหลผ่านจากเมืองกำแพงเพชร สู่เมืองนครสวรรค์ ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้นำกองทัพหลวงเคลื่อนทัพไปถึง ปากพิง เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๘ พร้อมกับตั้งค่ายทัพหลวง ที่ปากพิง(ตั้งอยู่ที่จุดต่อระหว่างคลองลัด ซึ่งเป็นคลองเชื่อมระหว่าง แม่น้ำยม กับ แม่น้ำแควใหญ่) ที่เชื่อมกับ แม่น้ำแควใหญ่

ปลายเดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคลื่อนทัพหลวงเข้ารักษาเส้นทางแม่น้ำแควใหญ่ เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุง ให้กับเมืองพิษณุโลก และทำลายกองทัพพม่าตามเส้นทางระหว่าง เมืองนครสวรรค์ กับ เมืองพิษณุโลก และเส้นทางแม่น้ำยม ระหว่าง เมืองพิษณุโลก กับ เมืองสุโขทัย รับสั่งให้ตั้งค่ายทหาร ๕ ค่าย ตามแนวแม่น้ำแควใหญ่ ดังนี้

       (๑) ค่ายทหารบางทราย ภายใต้การบังคับบัญชาของ พระยาราชสุภาวดี (๒) ค่ายทหารบ้านท่าโรง ภายใต้การบังคับบัญชา ของ เจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) (๓) ค่ายทหารบ้านบางกระดาษ ภายใต้การบังคับบัญชา ของ พระยาราชภักดี (๔) ค่ายทหารวัดจุฬามณี ภายใต้การบังคับบัญชา ของ จมื่นเสมอใจราช (๕) ค่ายทหารวัดจันทร์ ภายใต้การบังคับบัญชา ของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์

ปลายเดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มอบภารกิจให้กับกองทหารต่างๆ ดังนี้

       (๑) ให้ทุกๆ กองทหาร จัดหน่วยทหารทำการลาดตระเวนเพื่อรักษาเส้นทางคมนาคม ทุกระยะ

       (๒) ให้จัดหน่วยทหารกองปืนใหญ่ ให้ทหารเกณฑ์หัด ที่ได้ฝึกหัดวิชาทหารสมัยใหม่ เป็นหน่วยทหารเคลื่อนที่เร็วเพื่อเข้าช่วยการรบทุกๆ สมรภูมิ

       (๓) มอบให้พระยาศรีไกรลาศ นำกำลังทหาร ๕๐๐ คน สร้างเส้นทางสองริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อให้กองทหารม้าสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปากพิง ไปถึงเมืองพิษณุโลก

วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๘ อะแซหวุ่นกี้ เริ่มปฏิบัติการใหญ่ ต่อ เมืองพิษณุโลก หนักขึ้นดังนี้

       (๑) แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ สั่งให้ทหารพม่า มาตั้งค่ายทหาร ๓ ค่าย บริเวณหน้าที่ตั้ง ของ ค่ายทหารวัดจุฬามณี ซึ่งบัญชาการโดย จมื่นเสมอใจราช

       (๒) แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ จัดกองทหารกองหนึ่ง แบ่งแยกออกเป็นหน่วยทหารจรยุทธ์ หลายหน่วย ทำการออกลาดตระเวน ตรวจกำลังทหารสยาม ออกซุ่มตีทหารสยาม เกิดการปะทะบ่อยครั้ง ระหว่างทหารสยาม กับ ทหารพม่า ตั้งแต่ค่ายทหารบ้านบางทราย ค่ายทหารบ้าท่าโรง ค่ายทหารบ้านบางกระดาษ ถึง ค่ายทหารวัดจันทร์

(๓) วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๘ อะแซหวุ่นกี้ เริ่มปฏิบัติการใหญ่ ต่อ เมืองพิษณุโลก หนักขึ้นโดยแม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ สั่งให้ทหารพม่า มาตั้งค่ายทหาร ๓ ค่าย บริเวณหน้าที่ตั้ง ของ ค่ายทหารวัดจุฬามณี ซึ่งบัญชาการโดย จมื่นเสมอใจราช

 

สงครามกับพม่า ณ สมรภูมิ สองฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ สั่งกองทัพพม่า เข้าตีค่ายทหารสยาม ที่ค่ายทหารบ้านบางทราย ซึ่งบัญชาการโดย พระยาราชสุภาวดี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงสั่งให้กองทหาร ของ พระธรรมไตรโลก พระยารัตนพล พระยาราชบังสัน(หวัง) ซึ่งควบคมพลทหารอยู่ที่ค่ายปากพิง ทำการรักษาค่ายปากพิง ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้นำทัพหลวง ออกไปช่วยพระยาราชสุภาวดี ที่ค่ายทหารบ้านบางทราย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จนำกองทัพหลวงขึ้นไปช่วย พระยาราชสุภาวดี ที่ค่ายทหารบ้านบางทราย นำปืนใหญ่รางเกวียน ๓๐ กระบอก ไปยิงหนุนช่วย ทำให้ทหารพม่า ที่ยกกองทัพออกโจมตีค่ายทหารสยาม ที่บ้านบางทราย ต้องถอยทัพกลับไป

กลางคืนวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ พม่าส่งทหารเข้าตีค่ายทหารบ้านท่าโรง ภายใต้การบังคับบัญชา ของ เจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งให้กองทหารเกณฑ์หัด ๒๐๐ คน นำปืนใหญ่ เข้าไปช่วย ทำให้ทหารพม่า ไม่สามารถตีค่ายทหารบ้านท่าโรงสำเร็จ ต้องถอยทัพกลับไป

วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ สั่งให้กองหนุน ๕,๐๐๐ คน ที่ตั้งอยู่ที่กรุงสุโขทัย เคลื่อนทัพเข้ามาที่เมืองพิษณุโลก และจัดกำลังดังนี้

       ใช้ทหาร ๓,๐๐๐ คน ทำหน้าที่ตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุง ของ กองทัพกรุงธนบุรี ที่ส่งเข้าสู่เมืองพิษณุโลก ให้ทหาร ๒,๐๐๐ คน ไปช่วยกองทหารพม่า เพื่อปิดล้อมเมืองพิษณุโลก

 

พระเจ้าตากสินฯ เข้าตีกองทัพพม่า ครั้งที่-๑ ที่เมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๓๑๘

การเข้าตีตอบโต้ครั้งที่-๑ กำหนดแผนเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ กองทัพสยาม เริ่มตอบโต้กองทัพของ อะแซหวุ่นกี้ ได้รับสั่งให้ดำเนินการต่อต้านกองทัพพม่า ดังนี้

       มอบให้พระยารามัญวงศ์ นำทหารกองมอญ เคลื่อนที่ผ่านทางเมืองพิษณุโลก เข้าไปตั้งค่ายประชิดค่ายพม่า ทางด้านทิศเหนือ มอบให้ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) และ พระยาจักรี(ทองด้วง) ส่งกำลังออกไปตั้งค่ายประชิดค่ายกองทหารพม่า ทางทิศตะวันออก มอบให้ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ ซึ่งตั้งค่ายทหารอยู่ที่วัดจันทร์ ท้ายเมืองพิษณุโลก ให้ตั้งค่ายทหาร วางกำลังชักปีกกา เข้าประชิดค่ายพม่า ทางทิศใต้ ออกไปหลายค่ายทหาร

วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ สั่งให้ทหารพม่า ตั้งค่ายทหารทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแควใหญ่ ใกล้กับ ค่ายทหารวัดจุฬามณี ของ จมื่นเสมอใจราช เพื่อทำการคุกคามมิให้กองทัพสยามสามารถส่งเสบียงอาหารให้กับ เมืองพิษณุโลก ได้

วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ กองทหารพม่า เข้าตีค่ายพระยารามัญ ที่ตั้งขึ้นใหม่ทางทิศเหนือ ทางทหารของ พระยารามัญวงศ์ ยิงต่อสู้ด้วยปืนลูกซองตับ ถูกทหารพม่าล้มตายบาดเจ็บ จำนวนมาก จนกองทัพพม่า ต้องล่าถอยหนีกลับเข้าค่ายไป

วันที่ ๔-๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ กองทัพพม่า สามารถส่งกองทัพเข้ายึดค่ายทางทิศตะวันออก ของ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) และ พระยาจักรี(ทองด้วง) เป็นผลสำเร็จ แต่เจ้าพระยาสุรสีห์ เข้าตีโต้ตอบ สามารถแย่งเอาค่ายกลับคืนมาได้ แล้วนำกำลังทหารเข้าประชิดค่ายพม่า ตลอดทุกด้าน พม่าส่งกำลังเข้าตีอีก แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ไป ทหารพม่า ได้ขุดหลุมเพลาะ เข้ามาหลายสาย หลบลูกกระสุนปืนอยู่ในหลุมเพลาะ พยายามขุดหลุมเพลาะ พยายามเข้ามาตีค่ายทหารสยาม แต่ฝ่ายทหารสยาม ก็ทำการขุดหลุมเพลาะ ทะลุเข้าไปถึงคูรบ ของ ทหารพม่า มีการรบกันในคูรบ ทุกๆ ค่าย ทำการรบกันอยู่หลายวัน ฝ่ายสยาม ไม่สามารถตีค่ายทหารพม่าให้แตกได้ 

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เข้าตีกองทัพพม่า ครั้งที่-๒ ที่เมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๓๑๘

การเข้าตีตอบโต้ครั้งที่-๒ กำหนดแผนเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จไปที่ท้ายวัดจันทร์ ท้ายเมืองพิษณุโลก เพื่อวางแผนสั่งการตีโต้ตอบ กองทัพพม่า ของ อะแซหวุ่นกี้ จนกระทั่งเวลา ๒๒.๐๐ น. สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งเคลื่อนทัพเข้าตีตอบโต้กองทัพพม่า ดังนี้

       รับสั่งให้กองทัพของ พระยายมราช(จุ้ย) พระยานครราชสีมา และ พระยาพิชัยสงคราม ส่งกองทัพเข้าไปหนุนช่วยกองทัพของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ ทางด้านทิศใต้

       รับสั่งให้ทหารสยาม ที่ตั้งประชิดค่ายทหารพม่า เตรียมออกตีโต้กองทัพพม่า พร้อมๆ กัน กำหนดเวลาออกโจมตี คือเวลา ๐๕.๐๐ น.

วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ กองทัพต่างๆ ของ ทหารสยาม ปฏิบัติตามแผนโต้ตอบกองทัพพม่า เริ่มเข้าตีพร้อมๆ กัน เมื่อเวลา ๐๕.๐๐ น. ผลของสงครามครั้งนี้ กองทัพสยาม ไม่สามารถตีค่ายพม่าให้แตกได้ เพราะแม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ส่งกองทหารเข้ามาเสริมค่ายทหารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

 

พระเจ้าตากสินฯ เข้าตีกองทัพพม่า ครั้งที่-๓ ที่เมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๓๑๘

การเข้าตีตอบโต้ครั้งที่-๓ กำหนดแผนเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรียกประชุมแม่ทัพต่างๆ ที่ค่ายวัดจันทร์ เพื่อปรับปรุงแผนการต่อสู้กับข้าศึกพม่า ครั้งใหม่ มีแผนการปฏิบัติการดังนี้

       กองทัพของ เจ้าพระยาสุรสีห์ และ พระยาจักรี(ทองด้วง) ให้รวมกำลังในเมือง ออกตีตอบโต้ ค่ายทหารพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง

       ให้กองทัพหลวง ส่งกองแยก เข้าตีกระหนาบพม่าทางด้านหลัง ในทิศทางตรงกันข้าม ให้พม่าแตก โดยการตีโอบหลังเป็นลำดับไป เมื่อกำหนดแผนเสร็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จกลับไปที่บ้านท่าโรง เพื่อติดตามข่าวการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด

วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบข่าวการเคลื่อนทัพของพม่าจากกรุงสุโขทัย มุ่งเข้าสู่นครสวรรค์ จึงรับสั่งให้ปรับแผนใหม่ ดังนี้

       ให้กองทหารของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ค่ายวัดจันทร์ ให้ถอยลงมารวมกับกองทัพหลวง เพื่อเตรียมต่อต้านพม่า เข้าตีเมืองนครสวรรค์

       ให้กองกำลังของ พระโหราธิบดี และกองมอญ ของ พระยากลางเมือง ขึ้นมาจากบางทราย แล้วรวมกำลังจัดเป็นหน่วยเดียวรวมพลเป็น ๕,๐๐๐ คน มีผู้รับผิดชอบดังนี้

       ให้พระยานครสวรรค์(เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร) เป็นผู้บังคับการ กองระวังหน้า

       ให้พระมหามณเฑียร เป็นผู้บัญชาการกองกำลังส่วนใหญ่

       ให้หลวงดำเกิงรณภพ หลวงรักษ์โยธา เป็นกองหนุน

       กำหนดภารกิจ ให้กองกำลัง ๕,๐๐๐ คน เคลื่อนที่ไปอยู่ทางด้านหลังค่ายทหารพม่าทางทิศตะวันตก เมื่อเห็นทหารพม่าทำการรบติดพันกับกองทัพพระยาจักรี(ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) เมื่อใด ก็ให้ตีกระหนาบเข้าไป มอบให้พระราชสงคราม ลงมาเอาปืนใหญ่จากกรุงธนบุรี ขึ้นไปเพิ่มเติมกำลังยิงอีกด้วย

วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ พระยาเชียงเงินท้ายน้ำ พระยาสุโขทัย มีใบบอก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงทราบการปฏิบัติการ ของ กองแยกทั้งสอง ของ กองทัพพม่า จำนวน ๕,๐๐๐ คน ที่เดินทัพมาจาก กรุงสุโขทัย กำลัง ๓,๐๐๐ คน กำลังเคลื่อนกำลังไปทางเมืองกำแพงเพชร เพื่อตัดเส้นทางส่งกำลังของสยาม ส่วนกำลังอีก ๒,๐๐๐ คน กำลังเคลื่อนทัพมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองพิษณุโลก

วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ พระยาจักรี(ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์ ส่งกำลังเข้าตีค่ายทหารกองทัพพม่า ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ เมืองพิษณุโลก ตามรับสั่งของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีการรบตั้งแต่หัวค่ำ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) ให้นำไม้มาทำคบปลายผูกผ้าชุบน้ำมันยาง แล้วยิงด้วยกระบอกปืนใหญ่ เข้าไปเผาค่ายพม่า เป็นผลสำเร็จ ๑ ค่าย หอรบไหม้ทลายลงหลายหอ ทหารพม่าที่ออกมาดับไฟ ก็ถูกยิงบาดเจ็บล้มตาย ต้องถอยกลับไป แต่ยังไม่สามารถตีค่ายพม่าให้แตกได้ เพราะ กองทัพของพระยามหามณเฑียร และกองทัพของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร มิได้เข้าร่วมเข้าตี ตามที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากกองทัพของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร ได้ปะทะกับกองทัพพม่า จำนวน ๒,๐๐๐ คนที่เคลื่อนทัพมาจากเมืองสุโขทัย ณ สมรภูมิบ้านส้มป่อย เกิดการรบติดพัน จึงไม่สามารถส่งกองทัพเข้าร่วมตีค่ายทหารพม่า ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามที่นัดหมายได้ และต่อมา กองทัพของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ ได้ถอยทัพมาตั้งอยู่ที่บ้านแขก

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ปรับปรุง แผนการรบใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาที่กองทัพพม่า ตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงเสบียงอาหาร จึงมีรับสั่งดังนี้

       ให้ถอนกำลังทหาร ของ พระยาราชภักดี กับ พระยาพิพัฒโกษา(เสนา หยาง หรือ ขุนฤกษ์) ซึ่งตั้งอยู่ที่ค่ายบ้านกระดาน ลงไปช่วยกองทัพเจ้าพระยาราชาเศรษฐี(เฉินเหลียง) เพื่อป้องกันเมืองนครสวรรค์

       ให้กองทหารมอญ ของ พระยาเจ่ง เข้าสมทบกับกองทหารของ หลวงภักดีสงคราม ให้จัดกำลังพลแบ่งเป็นหน่วยละ ๕๐๐ คน ทำการลาดตระเวนในพื้นที่ลานดอกไม้ แขวงเมืองกำแพงเพชร เพื่อสืบทราบการเคลื่อนไหว ของ ข้าศึก โดยให้จัดหน่วยทหารจรยุทธ์ เข้าโจมตีกองทหารพม่า เมื่อมีโอกาส และให้ล่าถอยออกมา เมื่อจำเป็น

       ให้กองทหาร ของ พระยามหามณเฑียร ที่คอยไปซุ่มตีกระหนาบกองทัพพม่า นั้น ให้เป็นไปตามคำสั่งเดิม และให้กองทหารของ พระยาธรรม เคลื่อนไปหนุนช่วยอีกกองหนึ่ง

กลางเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ถอนกำลังที่รักษาเส้นทางส่งกำลังเพื่อนำไปใช้ในภารกิจอื่นๆ ทำให้กำลังที่รักษาเส้นทางที่คงเหลือ อ่อนแอลง แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ มอบให้แม่ทัพกะละโบ นำกำลังมาตั้งตีสกัดเสบียงอาหารที่ส่งเข้าไปในเมืองพิษณุโลก ซึ่งสามารถตีแย่งเสบียงกรังที่ส่งให้กับเมืองพิษณุโลก ไปได้หลายครั้ง ครั้งสุดท้าย พระยานครราชสีมา เป็นผู้ควบคุมกำลังป้องกันที่เดินทางไปส่ง และเจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) เป็นผู้ควบคุมกองกำลังมาคอยรับเสบียงอาหาร แม่ทัพกะละโบ ได้ส่งทหารเข้าขัดขวาง กองทหารทั้งสองข้างของสยาม จึงเข้าไปไม่ถึงกัน

 

การบุกเข้ามา ของ พม่า ทางด่านสิงขร เข้าตีเมืองเพชรบุรี ครั้งใหม่ พ.ศ.๒๓๑๘

กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกว่า กองทัพพม่า เข้าตีเมืองกุย และ เมืองปราณบุรี แตก และเคลื่อนกองทัพมุ่งเข้ายึดครอง เมืองเพชรบุรี กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอก แจ้งข่าวว่า พม่ากำลังยกกองทัพเข้าตีกรุงธนบุรี ถึง ๓ ทาง ทางหนึ่งกองทัพพม่า ได้กระจายลงมาถึงเมืองอุทัยธานี แล้ว

       กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ส่งกำลังทหารไปขัดตาทัพที่ ด่านช่องแคบ แขวงเมืองเพชรบุรี

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกว่า พม่ากำลังเคลื่อนทัพเข้ามาทางด่านสิงขร มุ่งเข้าตีเมืองเพชรบุรี ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าหลานเธอกรมหมื่นอนุรักษ์สงคราม และเมืองอื่นๆ ทางภาคใต้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ คาดการว่า พม่าอาจจะส่งกองทัพเข้ายึดกรุงธนบุรี ด้วย จึงวางแผนป้องกัน

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ คาดว่า พม่า อาจจะนำกองทัพเข้าปิดล้อมกรุงธนบุรี ด้วย จึงรับสั่งให้ เจ้าประทุมไพจิตร นำกำลังมาช่วยสมเด็จเจ้าพระยากรมขุนอนุรักษ์วงศา สมุหนายก เพื่อช่วยรักษากรุงธนบุรี ทำให้กำลังทัพหลวงที่จะต่อสู้กับกองทัพอะแซหวุ่นกี้ มีกำลังลดลงอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงสั่งให้กองทัพของ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ นำกองทัพของ พระยาวิชิตภักดี(สา) จากเมืองไชยา พระยาชุมพร(มั่น) และ พระยาราชบังสัน(หวัง) เจ้าเมืองชลบุรี นำกองทัพมาขัดขวางกองทัพพม่า ที่จะเข้ายึดครองเมืองเพชรบุรี

       สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์(บุญรอด) นำกองทัพจากเมืองคันธุลี เมืองไชยา(พระยาวิชิตภักดีสา) และ เมืองชุมพร(พระยาชุมพรมั่น) และกองทัพของ พระยาราชบังสัน(หวัง) เจ้าเมืองชลบุรี เข้าสกัดกองทัพพม่าที่เมืองเพชรบุรี เป็นครั้งที่-๒ กองทัพพม่า เสียหายจำนวนมาก ต้องถอยทัพกลับไป ไม่สามารถรุกต่อเข้าสู่เมืองราชบุรี ได้ตามแผนที่กำหนด

       พม่าได้ส่งกองทัพจากเมืองทวาย เข้ามาหวังยึดครองเมืองราชบุรี เป็นครั้งที่-๒ หวังที่จะรวมพลกับกองทัพพม่า ที่เข้าตีเมืองเพชรบุรี เคลื่อนทัพเข้าปิดล้อม กรุงธนบุรี ตามแผนที่กำหนด สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนปทุมวงศ์(สมเด็จเจ้าฟ้าบัว) เจ้าเมืองราชบุรี ได้นำกองทัพออกไปสกัดกองทัพพม่า เกิดการรบในหลายสมรภูมิ กองทัพพม่า เสียชีวิต จำนวนมาก ไม่สามารถเคลื่อนทัพมาถึงเมืองราชบุรี ที่กองทัพ ของ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์(บุญรอด) เข้ามาหนุนช่วยด้วย กองทัพพม่า ที่เหลือเล็กน้อย และบาดเจ็บ จึงต้องถอยทัพกลับไปเมืองทวาย เป็นครั้งที่-๒

 

พม่า เตรียมกองทัพเข้าตี กรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๑๘

กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอก แจ้งข่าวว่า พม่ากำลังยกกองทัพเข้าตีกรุงธนบุรี ถึง ๓ ทาง ทางหนึ่งกองทัพพม่า ได้กระจายลงมาถึงเมืองอุทัยธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ คาดว่า พม่า อาจจะนำกองทัพเข้าปิดล้อมกรุงธนบุรี ด้วย เพราะมีการเคลื่อนทัพเข้ามาทางด่านสิงห์ขร และ ด่านเจดีย์ ๓ องค์ ด้วย

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกว่า กองทัพพม่า จากเมืองกำแพงเพชร ไม่กล้าเข้าตีเมืองนครสวรรค์ ได้กระจายกำลังเป็นกองโจร ออกเดินลัดป่าทางฝั่งทิศตะวันตก อ้อมหลังเมืองนครสวรรค์ มุ่งหน้าสู่เมืองอุทัยธานี มีการวางกำลังของพม่า ที่บ้านโนนศาลา บ้านถลกบาตร บ้านหลวง แล้วแยกไปเผาเมืองอุทัยธานี และจะเคลื่อนทัพไปทางไหนยังไม่ทราบ

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกแจ้งข่าวถึงการเคลื่อนกำลังทหาร ของ กองทัพพม่า ที่เมืองกำแพงเพชร จึงรับสั่งให้ พระยาเจ่ง กองทหารมอญ ที่รักษากรุงสุโขทัย นำกำลังไปดักซุ่มตีเพื่อพร่ากำลัง กองทัพพม่า เมื่อกองทัพพม่าเคลื่อนกองทัพมาถึง พระยาเจ่ง ก็ออกโจมตี ทหารพม่าบาดเจ็บล้มตาย จำนวนมาก สามารถยึดเครื่องศัตราวุธ ส่งมาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จำนวนมาก แต่เมื่อกองทัพพม่า ส่งกำลังส่วนใหญ่มาหนุนช่วย พระยาเจ่ง ก็ต้องล่าถอย

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เกรงว่า กองทัพพม่า ที่เดินทางไปเผาเมืองอุทัยธานี จะเคลื่อนกองทัพมาทางทิศใต้ ของ เมืองนครสวรรค์ เพื่อตัดเส้นทางการส่งกำลังบำรุง จึงจัดแบ่งทัพหลวง ๑,๐๐๐ คน ออกเป็นหลายกองออกรักษาเส้นทาง ดังนี้

       ให้เจ้าอนุรุธเทวา เป็นผู้บัญชาการทั่วไป โดยแบ่งกำลังให้ ขุนอินทรเดช ควบคุมกองแยกที่-๑ มอบให้หลวงสรวิชิต(หน) นายด่านเมืองอุทัยธานี ดูแลกองแยกที่-๒ และให้เจ้าเชษฐากุมาร ดูแลกองแยกที่-๓ มีหน้าที่คอยป้องกันการลำเลียงเสบียงอาหาร และเครื่องยุทธภัณฑ์ ที่ขนส่งไปทางทิศใต้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยังรับสั่งให้จัดกำลังใหม่ ดังนี้

       ให้แบ่งกำลังคนจาก กองอาจารย์ ลงไปช่วยเมืองนครสวรรค์  ให้ส่งทหารไปตั้งที่บ้านคุ้งสำเภา แขวงเมืองชัยนาท อีกกองหนึ่ง ให้ถอนกองทหารจากค่ายพระโหราธิบดี ทางทิศใต้เมืองพิษณุโลก หลวงรักษ์มณเฑียร จากค่ายทหารบ้านท่าโรง ซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่ขั้นที่-๒ ทางทิศเหนือ ของ ปากพิง ลงมาตั้งค่ายใหม่ที่โคกสลุด แขวงเมืองพิจิตร

       ให้ถอนทหาร กองทัพพระยานครชัยศรี มาตั้งใหม่ที่โรงประทับช้าง เพื่อคอยป้องกันกองลำเลียงที่ขึ้นไปทางลำน้ำ แขวงเมืองพิจิตร เพราะเกรงว่า ทหารพม่า ที่เมืองกำแพงเพชร จะลอบเข้ามาโจมตีกองลำเลียง

 

พระเจ้าตากสินฯ วางแผนรักษาเมืองพิษณุโลก มิให้พม่าเคลื่อนทัพเข้ากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระยาจักรี(ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์ เข้าเฝ้าที่ท่าโรง พระยาจักรี(ทองด้วง) เจ็บป่วย มาเข้าเฝ้าแต่ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีความเห็นว่า ควรจะถอนกำลังทหาร ลงไปรักษาเมืองนครสวรรค์ เพื่อป้องกันแหล่งเสบียงกรัง ส่วนเมืองพิษณุโลก นั้นให้เจ้าพระยาทั้งสองรักษาไว้ เพราะมีเหตุผลสำคัญสองประการ ดังนี้

       ประการแรก กำลังพล ของ สยาม น้อยกว่าพม่ามาก จะเอาชนะโดยการรบด้วยกำลังอย่างเดียว เห็นจะไม่ได้

       ประการที่สอง คำให้การของเชลยศึกพม่าที่จับได้ แจ้งว่ากองทัพพม่า กำลังขัดสนเสบียงอาหารอย่างมาก พม่าเริ่มเกิดความอดหยาก จึงควรมุ่งเน้นรักษาชัยภูมิที่สำคัญไว้ แล้วทำการตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหาร ของ ข้าศึกพม่า เพื่อให้ข้าศึก อดหยาก จนอ่อนกำลังระส่ำระสาย แล้วค่อยเข้าตีซ้ำให้แตกพ่าย จึงให้รักษาเมืองพิษณุโลก เพื่อถ่วงเวลาไว้ มิให้เคลื่อนทัพเข้ากรุงธนบุรี

วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ พระยาเจ่ง กองทัพมอญ นำกองทัพมอญ แปรเป็นหน่วยจรยุทธ์ ตามคำแนะนำ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กระจายกันออกซุ่มตีกองทหารพม่า ที่กำลังเคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองกำแพงเพชร สามารถลอบซุ่มตีกองทหารพม่า บาดเจ็บล้มตาย และได้เครื่องศัตราวุธ จำนวนมาก ได้ส่งมาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต่อมาเมื่อพม่าเคลื่อนกองทัพใหญ่มาถึงเมืองกำแพงเพชร หน่วยจรยุทธ์ ของ พระยาเจ่ง ต้องหยุดซุ่มโจมตี คงแต่ซุ่มคอยตรวจความเคลื่อนไหวของพม่า ตามรับสั่ง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ

วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกจาก พระยารัตนพิมล ซึ่งรักษาค่ายปากพิง แจ้งข่าวว่า หน่วยลาดตระเวนพบเห็นทหารพม่า กำลังถางป่า คาดว่าทหารพม่าจะสร้างค่ายทหารในคลองพิง ห่างออกไป ๓ คุ้งน้ำ

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ หลวงวิสูตรโยธามาตย์ หลวงราชโยธาเทพ นำเอาปืนใหญ่รางเกวียน ๘ กระบอกไปเพิ่มกำลังเพื่อรักษาค่ายปากพิง ในวันนั้น กองทัพพม่านำกำลังเข้ามาประชิดค่ายพระยาธรรมา และค่ายทหารของ เจ้าพระยานครสวรรค์(เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร) ซึ่งตั้งค่ายทหารอยู่ที่บ้านแขก จึงเคลื่อนทัพกรุยทางเข้ามาตั้งค่ายวางกำลังโอบลงมา

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาท ตั้งแต่ค่ายบ้านท่าโรง ขึ้นไปจนถึงบ้านแขก ที่ทหารพม่า กำลังวางกำลังโอบเข้าตี มีรับสั่งให้ กองทหาร ของ พระยาสีหราชเดโชชัย(จ้อย) กับ จมื่นทิพเสนา นำกองทหารไปสมทบช่วยเจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ เพื่อรักษาที่มั่น แล้วเสด็จกลับมายังค่ายท่าโรง มีรับสั่งให้ พระยาจักรี(ทองด้วง) มาเข้าเฝ้าเพื่อปรึกษาราชการอีกครั้งหนึ่ง

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ เวลาพลบค่ำ พระยาจักรี(ทองด้วง) เดินทางมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ค่ายทหารท่าโรง ขณะที่กำลังปรึกษาราชการสงครามอยู่นั้น ทหารพม่าได้เข้าไปปล้นค่ายปากพิง ได้ยินเสียงปืนดังไปถึงค่ายหลวงท่าโรง จึงรับสั่งให้พระยาจักรี(ทองด้วง) อยู่รักษาค่ายท่าโรง เผื่อว่าทหารพม่า อาจจะเข้าตีค่ายหลวงท่าโรงด้วย ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จนำกองเรือ ตั้งแต่เวลา ๓ นาฬิกา ลงมาช่วยรักษาค่ายปากพิง แต่พม่ามิได้ยกกำลังมาตีค่ายหลวง คอยอยู่จนถึงเวลาเช้า เมื่อไม่เห็นพม่าเข้าตี จึงมอบหมายให้ พระยาเทพอรชุน กับ พระพิชิตณรงค์ เป็นเจ้าหน้าที่รักษาการ หลังจากนั้น พระยาจักรี(ทองด้วง) จึงกลับขึ้นไปเมืองพิษณุโลก

วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบข่าวว่า เวลา ๐๕.๐๐ น. มีกองทหารพม่า เข้าตีค่ายทหารสยามที่ค่ายคลองกระพวง(แม่น้ำยม) ซึ่งควบคุมโดย พระยาธรรมไตรโลก และ พระยารัตนพิมล เกิดการสู้รบระหว่างทหารสยาม และ ทหารพม่า จนสว่าง

วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จดำเนินข้ามสะพานเรือก ไปทางฝั่งตะวันตก ของ แม่น้ำแควใหญ่ ทรงรับสั่งให้ส่งกำลังทหารไปช่วยรักษาค่ายทหารคลองกระพวง ดังนี้

       -ให้พระยาเชียงเงินท้ายน้ำ(พระยาสุโขทัย) นำกองทัพไปวางกำลังชักปีกกา และให้ขุดสนามเพลาะ ให้ติดต่อกับค่ายทหารของพม่าที่เข้าตี

       -ให้กองทหารอาจารย์เก่า และ อาจารย์ใหม่ และให้หลวงดำเกิงรณภพ นำกองเกณฑ์หัด ไปสมทบกับกองทหาร ของ พระยาเชียงเงินท้ายน้ำ

       -ให้กองทหารของหลวงรักษ์โยธา หลวงภักดีสงคราม ไปวางกำลังตั้งค่ายประชิดพม่า ทางด้านปากคลองกระพวง

       -ให้กองทหาร ของ หลวงเสนาภักดี คุมพลกองแก้วจินดา เคลื่อนไปตีกระหนาบหลังพม่า อีกด้านหนึ่ง

วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ทหารสยาม ประกอบด้วย กองทหารของ เจ้าพระยาเชียงเงินท้ายน้ำ(พระยาสุโขทัย) กองทหารหลวงรักษ์โยธา และ กองหลวงเสนาภักดี เข้าตีค่ายทหารพม่า ที่ค่ายคลองกระพวง ตั้งแต่เวลาเช้ามืดพร้อมๆ กันทั้ง ๓ กอง เกิดการรบกันอย่างรุนแรง ถึงขั้นใช้อาวุธสั้น กองทัพสยามไม่สามารถตีค่ายทหารพม่า แตกได้ เพราะพม่า มีทหารมากกว่า มากนัก

 

พระยายมราช(จุ้ย) สกัดกองทัพพม่า เข้าตีกรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๑๘

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จออกไปทอดพระเนตร พื้นที่ทำการรบที่ค่ายคลองกระพวง รับสั่งให้ตั้งค่ายชักปีกกา ต่อออกไปจากค่ายใหญ่อีกเป็นระยะทาง ๘๘๐ เมตร เกิดการรบจนพลบค่ำ ณ สมรภูมิค่ายคลองกระพวง พม่าไม่สามารถเข้ายึดค่ายคลองกระพวง ไว้ได้ ทั้งสองฝ่ายจึงต่างถอยทัพ คุมเชิงกันอยู่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีรับสั่งให้ตาม พระยายมราช(จุ้ย) ลงมาจากค่ายวัดจันทร์ ท้ายเมืองพิษณุโลก ให้ถืออาญาสิทธิ์บังคับบัญชาทัพไทยที่เข้าปฏิบัติการ ณ สมรภูมิค่ายคลองกระพวง ทุกๆ กอง

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกว่า ทหารพม่า กำลังเคลื่อนทัพเข้าตีค่ายทหารปากพิง จึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาอินอภัย(บุญมี) ซึ่งอยู่ที่ค่ายท่าโรง และ กองทหารมอญ ของ พระยากลางเมือง มาช่วยเสริมกำลังรบ ที่ค่ายทหารปากพิง อีก ๒ กอง วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ อะแซหวุ่นกี้ มอบให้ แม่ทัพกะละโบ นำกำลังทหารมาวางประชิดค่ายทหารปากพิง ของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร(พระยานครสวรรค์) ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ฟากตะวันตก ที่บ้านแขก วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๘ แม่ทัพกะละโบ ส่งทหารข้ามลำน้ำเข้าตีค่าย กรมในแสง ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดพริกฟากตะวันออก พวกกรมในแสง มีกำลังรักษาค่ายอยู่ ๒๔๐ คน ต้านทานพม่า ไม่ไหว กองทัพพม่า สามารถตีค่ายข้างฝั่งด้านทิศตะวันออกได้หมดทั้ง ๕ ค่าย

วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร(เจ้าเมืองนครสวรรค์) มีใบบอกมาถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สรุปว่า ทหารพม่าเข้าโอบล้อมค่ายทหารปากพิง ลงมาถึงริมน้ำ และข้ามไปตีค่ายวัดพริก แตกทั้ง ๔ ค่าย และกองทหารพม่า กำลังจะเข้าตีตลบหลัง จึงขอถอยทัพเข้ามาทางฝั่งตะวันออก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงมีรับสั่ง ดังนี้

       (๑) ให้กองทหาร ของ หลวงรักษามณเฑียร กับ พระโหราธิบดี ซึ่งอยู่ที่โคกสะลุด และกองทหาร ของ หลวงนครชัยศรี ซึ่งตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์ประทับช้าง ข้างทิศใต้ ให้เคลื่อนกองทหารไปช่วยค่ายปากพิง

       (๒) ให้กองทหารมอญ ของ พระยากลางเมือง และ กองพระโหราธิบดี เคลื่อนกำลังทหารขึ้นไปสมทบ

       (๓) ให้กองทหาร ของ พระเทพอรชุน กองพระยาวิชิตณรงค์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ค่ายทหารท่าโรง จัดกำลังร่วมเข้าตีกองทัพพม่า โดยให้ พระยายมราช(จุ้ย) เป็นแม่ทัพ เคลื่อนที่เข้าตีกองทหารพม่า ที่ค่ายทหารวัดพริก

วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ กองทัพพม่า สามารถเข้ายึดค่ายวัดพริก ได้สำเร็จ แต่เมื่อกองทัพของ พระยายมราช(จุ้ย) เคลื่อนทัพไปถึง ก็สามารถเข้าตีชิงค่ายวัดพริก กลับคืนมาได้ หลังจากนั้น กองทัพพม่า ของ แม่ทัพกะละโบ ก็ตั้งเผชิญหน้ากับกองทัพของ พระยายมราช(จุ้ย)

วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ มอบหมายให้แม่ทัพมังแยยางู ซึ่งเป็นน้องชาย ทำการควบคุมกำลังอีกกองหนึ่ง ข้ามฟากมาโอบหลังกองทัพหลวงที่ปากพิง ทางด้านทิศตะวันออก วางกำลังรายประชิดทัพหลวงเป็นหลายค่าย ทำการต่อสู้กันอยู่หลายวัน กองทัพสยาม ไม่สามารถตีค่ายพม่าให้แตกได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีดำหริว่า ข้าศึกพม่าพม่า มีกำลังมากนัก ถ้าตั้งรับอยู่ที่ค่ายปากพิง ก็จะเสียทีข้าศึก เห็นควรให้ถอยทัพลงมาก่อน

 

พระยาจักรี และ เจ้าพระยาสุรสีห์ ทิ้งเมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ถอยกองทัพหลวงจากค่ายปากพิง ถอยทัพลงมาตั้งค่ายใหม่อยู่ที่บางข้าวตอก แขวงเมืองพิจิตร และรับสั่งให้กองกำลังของข้าราชการต่างๆ ที่วางกำลังอยู่ตามรายทาง ให้ถอยลงมาตามลำดับ ทุกกอง ทำให้เส้นทางส่งกำลังบำรุง อ่อนแอลงไป กองกำลังของเมืองพิษณุโลก กับกองกำลังกองทัพหลวง จึงไม่สามารถติดต่อกันได้ จนกระทั่งวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ กองทัพพม่า สามารถส่งกำลังเข้าตีตัดเส้นทางลำเลียงอาหาร ระหว่างค่ายปากพิง กับ เมืองพิษณุโลก ได้สำเร็จ

วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ แม่ทัพเจ้าพระยา ๒ พี่น้อง ทราบข่าวว่า ทัพหลวงล่าถอยไปป้องกัน กรุงธนบุรี แล้ว จึงตัดสินใจทิ้งเมืองพิษณุโลก เมื่อเวลา ๒๑.๐๐ น. ด้วยการแสร้งให้พลประจำปืนใหญ่น้อยทำการระดมยิงหนาแน่นกว่าทุกๆ วัน ตั้งแต่เวลาเช้าจนค่ำ และในเวลานั้นก็เอาปี่พาทย์ขึ้นไปเล่น ตามป้อมต่างๆ เพื่อให้พม่าได้ยินเสียงประโคม ลวงให้พม่าเข้าใจว่า ตระเตรียมจะต่อสู้อยู่ในเมืองนานวัน แล้วได้จัดการตามแผนทิ้งเมืองพิษณุโลก ดังนี้

       (๑) มอบให้กองระวังหน้า เลือกกำลังพลที่มีความเข้มแข็ง แข็งแรง สำหรับตีฝ่าข้าศึก เพื่อเปิดช่องทางให้กองทหารอื่นๆ เคลื่อนทัพตาม

       (๒) มอบให้กองกลาง ทำการควบคุมครัวราษฎร บรรดาราษฎรชายฉกรรจ์ แม้ผู้หญิงก็ให้มีเครื่องศัตราวุธ สำหรับป้องกันตัวทุกๆ คน

       (๓) มอบให้กองหลัง ทำหน้าที่ป้องกันท้ายขบวน

       พระยาสองพี่น้องตัดสินใจเปิดประตูเมืองด้านทิศตะวันออก เมื่อเวลา ๒๑.๐๐ น. นำกำลังเข้าตีฝ่าพม่า ทหารพม่าทำการออกต่อต้านกองระวังหน้าถึงขั้นตะลมบอน ฝ่ายทหารสยาม สามารถตีฝ่ายทหารพม่า สามารถเปิดทางไปได้ แล้วเดินทัพไปทางบ้านชุมพู มุ่งหน้าไปพบกันที่ เมืองเพชรบูรณ์ ดังนั้นในคืนวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ก็เคลื่อนทัพเข้ายึดเมืองพิษณุโลก เป็นผลสำเร็จ

วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบข่าวจากประชาชนเมืองพิษณุโลก ที่หลบหนีมายังค่ายกองทัพหลวง ว่า พระยาสองพี่น้องได้ทิ้งเมืองพิษณุโลก ให้พม่าเข้าครอบครองเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสียพระทัยมาก เพราะต้องการดึงกำลังส่วนใหญ่ ของ กองทัพพม่า ให้อยู่ที่เมืองพิษณุโลก เพื่อตัดความสามารถไม่ให้กองทัพพม่าเข้ายึดครองเมืองอื่นๆ จึงรับสั่งให้ ตัดเส้นทางลำเลียง ที่ไปสนับสนุนกองทัพ อะแซหวุ่นกี้ ที่เมืองพิษณุโลก อย่างเข้มงวดต่อไป เพื่อให้กองทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอาหาร

 

เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) สร้างความสัมพันธ์กับ พระยาเพชรบูรณ์(ปลี) พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) และ พระยาจักรี(ทองด้วง) ได้รับการต้อนรับจาก พระพลเมืองเหนือ(ปลี) หรือ พระยาเพชรบูรณ์(ปลี) ซึ่งได้ฝากฝังบุตรชาย ๓ คน คือ นายสม(หลวงวิเศษ) นายโสม และ นายสุข เข้ารับราชการ ต่อมาบุตรชายทั้ง ๒ คนได้ไปปกครองเมืองท่าทอง เป็นต้นตระกูลวิชัยดิษฐ์ ในเวลาต่อมา

กลางเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ นางแจ่ม(ท้าว วรจันทร์) น้องสาวต่างมารดา ของ พระยาเพชรบูรณ์(ปลี) ได้มอบธิดาคนหนึ่งให้เป็นภรรยา ของ พระยาจักรี(ทองด้วง) และได้ฝากฝังน้องชายของ นางแจ่ม ชื่อ นายคุ้ม ไปรับราชการกับเจ้าพิมาย เป็น หลวงศักดิ์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์จักรี ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น พระยาสุรเสนา ซึ่งรู้จักกันในนาม พระยาสุรเสนา แขนทิ้ง

 

แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ถอนทัพกลับ พม่า พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับรายงานว่า พม่าเคลื่อนกองทัพเพิ่มเติมเข้ามาทางด่านสิงขร หลังจากการเข้ายึดเมืองพิษณุโลก ของพม่าสำเร็จ ในวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ซึ่งกำลังขาดแคลนเสบียงอาหาร จึงได้สั่งให้กองทหารสองกอง ออกจัดหาเสบียงอาหาร ดังนี้

       (๑) มอบให้ แม่ทัพมังแยยางู นำกำลังไปยังเมืองเพชรบูรณ์ เพื่อรวบรวมเสบียงอาหารที่เมืองเพชรบูรณ์ และ เมืองหล่มศักดิ์ ส่งไปให้

       (๒) มอบให้ แม่ทัพกะละโบ นำกำลังอีกกองหนึ่ง เคลื่อนที่ไปยังเมืองกำแพงเพชร เพื่อจัดหาเสบียงอาหาร เช่นเดียวกัน

มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ พระเจ้ามังระ แห่ง พม่า กรุงอังวะ เสด็จสวรรคต พระเจ้าแก่จิงกูจา ซึ่งเป็น พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาล ถัดมา

ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๑๘ พระเจ้ามังระ สวรรคต แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ได้รับท้องตราว่า พระเจ้ามังระ สวรรคต เจ้าชายจิงจากู ราชบุตรเขย ของ อะแซหวุ่นกี้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีรับสั่งให้ อะแซหวุ่นกี้ นำกองทัพกลับกรุงอังวะ โดยด่วน จึงตัดสินใจเดินทางกลับ ถอยทัพกลับไปทางเมืองสุโขทัย และ เมืองตาก ออกไปทางด่านแม่ละเมา โดยทิ้งกองทัพ ของ แม่ทัพมังแยยางู ซึ่งมีกำลังตั้งอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ และ แม่ทัพกะละโบ ตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองกำแพงเพชร แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ จึงสั่งให้ทหารพม่า ที่เป็นมุสลิมทมิฬโจฬะยะไข่ เข้าเผาวัดวาอาราม ในเมืองพิษณุโลก ทั้งหมดเสียสิ้น คงเหลือแต่พระพุทธชินราช เท่านั้น

 

เจ้าชายเมฆิน สิ้นพระชนม์ ณ แคว้นลานช้าง ราชอาณาจักรลาว พ.ศ.๒๓๑๘

ผลจากการที่กองทัพของ พระยาพลเทพ และ พระยาราชภักดี ได้เคลื่อนไปทางเมืองเพชรบูรณ์ ได้ปะทะเข้ากับกองทัพของ แม่ทัพมังแยยางู ณ สมรภูมิบ้านนายม ทางทิศใต้ ของ เมืองเพชรบูรณ์ ทางกองทัพพม่าต้านทานไม่ไหว ได้หนีขึ้นไปทางทิศเหนือ ถอยเข้าไปยังแคว้นลานช้าง เพื่อเดินทัพกลับพม่าไปทางเมืองเชียงแสน

       ขณะที่กองทัพของ แม่ทัพแมงแยยางู เคลื่อนทัพไปยังเมืองหลวงพระบาง ได้ปะทะกับกองทหารลำเลียงม้า ของ เจ้าชายเมฆิน กลางเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกว่า เจ้าฟ้าชายเมฆิน ที่ไปจัดซื้อม้าจากแคว้นลานช้าง ประเทศลาว และ ประเทศจีน ได้ปะทะกับกองทัพพม่า ของ แม่ทัพมังแยยางู ที่แคว้นลานช้าง สิ้นพระชนม์ ม้าพันธุ์ดี ถูกพม่ายึดครองไป

       ทหารของเจ้าฟ้าชายเมฆิน นำศพเจ้าฟ้าชายเมฆิน กลับมาถึงกรุงธนบุรี มาพบกับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ซึ่งเป็นพระพี่นาง ได้มีพระราชสาสน์ให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงทราบ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสียพระทัยมาก มีพระราชสาสน์ ไปถึง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ให้เก็บพระบรมศพ เจ้าฟ้าชายเมฆิน เจ้าฟ้าหญิงโกมล พร้อม พระยาละโว้(พระภัสดา) และ รอพระบรมศพ ของ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(เจ้าชายไข่แดง) ที่กำลังสืบค้นหา มาพระราชทานเพลิงศพ พร้อมๆ กัน

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขับไล่พม่า ออกจาก เมืองกำแพงเพชร พ.ศ.๒๓๑๘

ต้นเดือน เมษายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงทราบว่า แม่ทัพใหญ่ อะแซหวุ่นกี้ ถอยทัพกลับไปแล้ว ส่วนค่ายทหารพม่า ที่บ้านกงธานี(เมืองพิษณุโลก) ก็ได้เลิกไปแล้ว จึงรับสั่งจัดกำลัง ๔ กองทัพ ออกไล่ติดตามพม่า ที่ถอยทัพกลับไปทางเมืองตาก ดังนี้

       (๑) กองทัพของ พระยาพิชัย และ พระยาพิชัยสงคราม (๒) กองทัพของพระเทพอรชุน พระยารัตนพิมล พระยานครชัยศรี (๓) พระยาทุกข์ราษฎรเมืองพิษณุโลก หลวงรักษาโยธา หลวงอัครเนศวร เป็นกองระวังหน้า พระยาสุรบดินทร์ เป็นกองหลวง หรือกำลังส่วนใหญ่ (๔) พระยาธิเบศร์บดี นำพลอาสาจาม

ต้นเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้กองทัพ ๒ กองทัพเคลื่อนที่ติดตามกำลังของกองทัพแม่ทัพมังแยยางู ไปทางเมืองเพชรบูรณ์ ดังนี้ (๑) กองทัพของ จมื่นเสมอใจราช และ หลวงเนาวโชติ (๒) กองทัพของ พระยาพลเทพ และ พระยาราชภักดี

กองทัพทั้งสอง ได้เคลื่อนไปทางเมืองเพชรบูรณ์ ได้ปะทะเข้ากับกองทัพของ แม่ทัพมังแยยางู ณ สมรภูมิบ้านนายม ทางทิศใต้ ของ เมืองเพชรบูรณ์ ทางกองทัพพม่าต้านทานไม่ไหว ได้หนีขึ้นไปทางทิศเหนือ ถอยเข้าไปยังแคว้นลานช้าง เดินทางกลับพม่า ไปทางเมืองเชียงแสน

ต้นเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระยานครสวรรค์ พระยาสวรรค์โลก และพระยาพิชัยราชา พี่น้องต่างมารดา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ติดตามกองกำลัง แม่ทัพกะละโบ ไปทางเมืองกำแพงเพชร ให้ทัพหลวง รอรับครอบครัวราษฎร ซึ่งแตกมาจากเมืองพิษณุโลก ๑๑ วัน และให้พระยายมราช(จุ้ย) มารักษาค่ายที่บางข้าวตอก ทำการรวบรวมครอบครัว ต่อไป

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขับไล่พม่า ออกจาก เมืองนครสวรรค์ พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๑๑-๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จัดให้มีการฉลองวันชาติสยาม(วันสงกราน) ๗ วัน ๗ คืน ณ เมืองนครสวรรค์ ปลุกความรักชาติให้กับทหารสยาม เล่าว่า ประชาชนเมืองนครสวรรค์ เป็นนักรบกล้าหาร เพราะถูกเจ้านครอินทร์ กวาดต้อนจากเมืองสยาม(ไชยา) มาอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ จึงมีเลือดนักรบสืบทอดกันมา จนกระทั่งวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำทัพหลวงเคลื่อนมาประทับอยู่ที่ ค่ายบางแขม แขวงเมืองนครสวรรค์ กลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบว่ายังมีกำลังทหารพม่า อยู่ที่เมืองกำแพงเพชร อีก ๒,๐๐๐ คนซึ่งเป็นกองทหาร ของ แม่ทัพกะละโบ จึงรับสั่งดังนี้

       (๑) ให้กองทัพของ พระยายมราช(จุ้ย) เคลื่อนที่โดยทางบก ไปตามชายฝั่งตะวันตก ของ แม่น้ำพิง (๒) ให้กองกำลังพระยาราชสุภาวดี เคลื่อนที่ทางบก ไปทางชายฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำพิง (๓) ให้กองทัพของ พระยานครสวรรค์(เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร) ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านโคน ใต้เมืองกำแพงเพชร เคลื่อนไปสมทบเพื่อเข้าร่วมตีกองทัพพม่า ที่เมืองกำแพงเพชร (๔) สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพหลวงหนุนขึ้นไปอยู่ที่ปากคลองขลุง

       ผลการไล่ล่าทหาร ๒,๐๐๐ คน ที่เมืองกำแพงเพชร ไม่สำเร็จ เพราะพม่า ถอยหนีขึ้นไปทางทิศเหนือ ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับใบบอกว่า มีทหารพม่า ประมาณ ๑,๐๐๐ คน เคลื่อนกองทัพออกไปทางทิศตะวันตก ของ เมืองกำแพงเพชร

 

พระยายมราช(จุ้ย) ขับไล่พม่า ออกจาก เมืองอุทัยธานี พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคลื่อนทัพหลวงจากปากคลองขลุง กลับมาอยู่ที่ค่ายหลวง เมืองนครสวรรค์ ได้ทราบข่าวว่า กองทัพพม่า ๑,๐๐๐ คน ที่เคลื่อนที่มาทางทิศตะวันตก ของ เมืองกำแพงเพชร ได้เดินทัพมาทางทิศตะวันตก ของ เมืองอุทัยธานี ได้ออกปล้นทรัพย์สิน เผาบ้านเรือน ใกล้เมืองอุทัยธานี พระองค์จึงรับสั่งให้ เจ้าอนุรุธเทวา หลวงเสนาภักดี นำกำลังกองแก้วจินดา ติดตามพม่าไปกองหนึ่ง และได้มีตราสั่งให้ กองทัพของ พระยายมราช(จุ้ย) พระยาราชสุภาวดี ซึ่งอยู่ที่บ้านโคน แขวงเมืองกำแพงเพชร ให้เคลื่อนที่กลับลงมาติดตามกองทหารพม่า ไปทางเมืองอุทัยธานี อีก ๒ กอง วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จกลับกรุงธนบุรี

ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ กองทัพของ พระยายมราช(จุ้ย) และ พระยาราชสุภาวดี ได้เคลื่อนทัพลงมาที่บ้านโคน เดินทางมาตามชายฝั่งแม่น้ำพิง ทางทิศตะวันตก ผ่านมาทางด่านเขาปูน ด่านสลักพระ หมายจะไปตามตีพม่าที่เมืองอุทัยธานี แต่ได้มาปะทะกับกองกำลัง ของ แม่ทัพกะละโบ ซึ่งได้มาตั้งค่ายรอกองทัพ ของ แม่ทัพมังแยยางู อยู่ที่เมืองนครสวรรค์ พระยาทั้งสองมีกำลังน้อยกว่า จึงตีค่ายพม่าไม่แตก จึงได้มีใบบอกแจ้งไปยังกรุงธนบุรี

 

กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ทำสงครามขับไล่พม่า ที่เมืองนครสวรรค์ พ.ศ.๒๓๑๘

ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระเจ้าหลานเธอกรมขนอนุรักษ์สงคราม กรมขุนรามภูเบศร์ กับ เจ้าพระยามหาเสนา นำกำลังขึ้นไปตีกองทัพพม่า ของ แม่ทัพกะละโบ ที่ เมืองนครสวรรค์ แล้วให้ กรมขุนอินทรพิทักษ์ พระเจ้าลูกเธอ นำกองทัพเรือ จำนวน ๑,๐๐๐ คน หนุนขึ้นไปอีกทางหนึ่ง วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยกกองทัพหลวง ขึ้นไปตั้งทัพที่เมืองชัยนาท แล้วรับสั่งให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ กลับกรุงธนบุรี แล้วรับสั่งนายทัพพวกหนึ่ง ยกกองทัพลงมาที่เมืองนครชัยศรี และ เมืองราชบุรี ด้วยเกรงว่าพม่าจะยกกองทัพเข้ามาอีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งมีพระบรมราชโองการแก่กองทัพว่า “...ถ้าพบพม่าให้ตี ถ้าไปพบปะครัวที่ซ่อนเร้นอยู่ในป่า ให้กวาดต้อนลงมา...”

กลางเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ กองทัพของ พระเจ้าหลานเธอกรมขนอนุรักษ์สงคราม กรมขุนรามภูเบศร์ กับ เจ้าพระยามหาเสนา นำกำลังขึ้นไปตีกองทัพพม่า ของ แม่ทัพกะละโบ จำนวน ๑,๐๐๐ คน ที่ เมืองนครสวรรค์ พม่าทำการต้านทานอยู่หลายวัน ยังไม่สามารถตีค่ายแตก จึงทำการปิดล้อมไว้ พม่า ถูกจับเป็นเชลยในเวลาต่อมา

วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพหลวง กลับสู่กรุงธนบุรี วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพหลวง ถึงกรุงธนบุรี

 

สงคราม ณ สมรภูมิทิศใต้ ของ กรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จกลับกรุงธนบุรี วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยกกองทัพหลวง ขึ้นไปตั้งทัพที่เมืองชัยนาท แล้วรับสั่งให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ ซึ่งทำความผิดหลายประการ จากการร้องเรียนของประชาชน ให้เดินทางกลับกรุงธนบุรี แล้วรับสั่งนายทัพพวกหนึ่ง ยกกองทัพลงมาที่เมืองนครชัยศรี และ เมืองราชบุรี ด้วยเกรงว่าพม่าจะยกกองทัพเข้ามาอีกทางหนึ่ง เพื่อปิดล้อมกรุงธนบุรี พร้อมทั้งมีพระบรมราชโองการแก่กองทัพว่า

“...ถ้าพบพม่าให้ตี ถ้าไปพบปะครัวที่ซ่อนเร้นอยู่ในป่า ให้กวาดต้อนลงมา...”

วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพหลวง กลับสู่กรุงธนบุรี วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพหลวง ถึงกรุงธนบุรี วางแผน สั่งการ ทำศึกกับพม่าทางทิศใต้ ที่พม่า กำลังยกกองทัพมายังกรุงธนบุรี

 

พระเจ้าตากสินฯ พระราชทานเพลิงศพ เจ้าฟ้าหญิงโกมล และ เจ้าชายเมฆิน พ.ศ.๒๓๑๘

       ในสมัยสงครามกับพม่า ที่แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ วางแผนส่งกองทัพเข้ายึดครองกรุงธนบุรี โดยส่งกองทัพมาหลายทิศทาง นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ได้เล่าเรื่องถึงเหตุการณ์สงครามครั้งนั้น และถ่ายทอดถึงลูกหลาน ต่อมาว่า สงครามครั้งนั้นต้องเสียชีวิตพี่น้องร่วมท้องเดียวกันถึง ๓ คน คือ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(สมเด็จเจ้าฟ้าชายไข่แดง) ผู้ปกครองเมืองถลาง(พระยาถลาง) สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล พร้อมพระภัสดา เจ้าเมืองละโว้ และ สมเด็จเจ้าฟ้าชายเมฆิน ทำให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสียพระทัยมาก

       สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล เป็นราชธิดาพระองค์ใหญ่ เป็นพระขนิษฐา ของ สมเด็จเจ้าฟ้าชายไข่แดง ได้สมรสกับ พระยาละโว้ ผู้ปกครองเมืองลพบุรี เมื่อเกิดสงครามกับพม่า ได้นำกองทัพออกไปต่อสู้กับพม่า ทั้งสองผัวเมีย ในขณะที่ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล ตั้งท้องอยู่ ได้ต่อสู้กับกองทัพพม่า ไม่ทราบว่าที่สมรภูมิใด เสียชีวิตทั้งสองคน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดเกล้าให้ กรมขุนอินทรพิทักษ์(จุ้ย) ไปปกครองเมืองลพบุรี แต่ถูกร้องเรียนจากประชาชน จำนวนมาก จึงเรียกตัวกลับไปรับราชการที่ กรุงธนบุรี

       สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา หรือ พระยาถลาง(เจ้าชายไข่แดง) ที่เสียชีวิตในการต่อสู้กับพม่า ที่เมืองมะริด นั้น ไม่พบศพ ส่วน เจ้าชายเมฆิน และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล พร้อมพระภัสดา สามารถนำศพกลับไปที่กรุงธนบุรี ได้ เข้าใจได้ว่า ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้เสด็จไปพระราชทานเพลิงพระศพ บุตรธิดา ทั้งสองพระองค์ที่กรุงธนบุรี

       ส่วนกรมขุนอินทรพิทักษ์(จุ้ย) ที่ไปปกครองเมืองลพบุรี นั้น ได้ไปแย่งยึดลูกเมียชาวลพบุรี ด้วยอำนาจบาตรใหญ่ เข้ายึดครอบครองที่ดินชาวลพบุรี แบบนักเลงใหญ่ ชาวลพบุรี เดือดร้อนกันมาก มีหนังสือร้องทุกข์มาถึง สมเด็จพระเจ้าตากสิน จำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงเรียกกรมขุนอินทร์พิทักษ์ ให้มาร่วมทำสงครามกับพม่า และ ส่งกลับกรุงธนบุรี ในเวลาต่อมา

 

พระยายมราช(จุ้ย) ทำการขับไล่พม่า ออกจาก เมืองอุทัยธานี พ.ศ.๒๓๑๘

วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๑๘ กองทัพพม่า ของ แม่ทัพกะละโบ จำนวน ๑,๐๐๐ คน ตัดสินใจทิ้งค่าย ตีแหกวงล้อมไปทางเมืองอุทัยธานี วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำทัพหลวงขึ้นมาเมืองชัยนาท ก็ทราบข่าวว่า ทหารพม่าทิ้งค่ายไปยังเมืองอุทัยธานี เรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงมีตราสั่งให้ กองทัพของ พระยายาราช(จุ้ย) พระยาราชสุภาวดี และกองทหารมอญ ของ พระยารามัญวงศ์ ยกกองทัพไปสมทบกับกองทัพของ เจ้าอนุรุธเทวา ซึ่งเคลื่อนที่ลงไปก่อน ช่วยกันติดตามตีพม่าให้แตกไป กองทัพไทยติดตามทันกองทัพพม่า ที่บ้านเดิมบางนางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรี ต่อกับเมืองสรรค์บุรี ได้ทำการสู้รบกันอย่างดุเดือด กองทหารพม่าสู้ไม่ได้ ก็แตกหนีออกไปทางด่านเจดีย์สามองค์

วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคลื่อนทัพหลวงจากเมืองชัยนาท ไปตั้งทัพหลวงอยู่ที่ เมืองนครสวรรค์ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ กรมขุนรามภูเบศร์ กับ เจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) อยู่รักษาค่ายที่เมืองนครสวรรค์ ส่วน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จนำทัพหลวง ไปยังเมืองตาก วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพหลวงไปตั้งที่เมืองตาก แล้วรับสั่งให้แม่ทัพนายกอง ออกเที่ยวติดตามพม่า สามารถจับทหารพม่าได้ ๓๐๐ คนเศษ ส่วนที่เหลือได้เดินทางผ่านชายแดนไปถึงพม่า เรียบร้อยแล้ว ปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๘ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกองทัพหลวงกลับคืนกรุงธนบุรี

 

นายบุนนาค ลักลอบขุดของ ที่กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๑๘

นายบุนนาค เป็นบุตรของ เจ้าพระยาจักรีมุกดา กับ นางบุญศรี ธิดาของ พระยาธรรมาธิการ(ขุนทอง) เกิดที่เมืองไชยา เป็นพี่น้องต่างมารดากับ พระยาไชยา(รุก) และ พระยาไชยา(บุญชู) เมื่อ เจ้าพระยาจักรีมุกดา เสียชีวิตในสงครามที่ สมรภูมิ เมืองราชบุรี นางบุญศรี จึงไปได้สามีใหม่ ชื่อ นายเสน บุตรพระยาเพชรพิชัย(ใจ) เป็นมุสลิมสายเชคอาหมัดกุมมี นายบุนนาค มีพี่น้องต่างบิดา อีกหนึ่งคนคือ นายสุระ

นายบุนนาค เคยเป็นมหาดเล็กที่กรุงศรีอยุธยา เคยมีความสนิทสนมกับ พระยาไชยา(รุก) นายทองด้วง นายบุญมา มาก่อน เมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยา แตก นายบุนนาค สนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระเจ้าโสร์ทศ ถูก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ปราบปราม และพ่ายแพ้ ได้ขอมารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และขอเป็นเจ้าเมือง ปกครองเมืองหนึ่งเมืองใด แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไม่รับเข้ารับราชการ เพราะไม่ไว้วางพระทัย กลัวเป็นสายสืบให้กับ นายรุก(อดีตพระยาไชยานอกราชการ เชลยศึกพม่า) และ พระเจ้าโสร์ทศ นายบุญนาค จึงเป็นคนตกงาน อาศัยอยู่ที่บ้านแม่ลา มีภรรยาชื่อ ลิ้ม ต่อมาได้มาอาศัยอยู่กับภรรยานางลิ้ม ที่กรุงธนบุรี พยายามมาขุดหาทรัพย์สินที่บ้านของ เจ้าพระยาจักรีมุกดา ผู้เป็นบิดา ที่กรุงศรีอยุธยา

หลักฐานของบาทหลวงฝรั่งเศส รายงานว่า ในภาวะสงคราม ค่าครองชีพใน กรุงธนบุรี สูงมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าให้ทำนาปรัง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้าว โดยได้กล่าวไว้ในพระราชพงศาวดาร ว่า

“...อนึ่ง เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ พระยาธรรมา ให้คุมไพร่พลทั้งปวงไปทำนาทางฟากฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำเจ้าพระยา อนึ่ง พระยายมราช(จุ้ย) พระยาราชสุภาวดี ให้ควบคุมไพร่พลตั้งทำนาที่ กระทุ่มแบน หนองบัว แขวงเมืองนครชัยศรี...”

นายบุนนาค และภรรยา ชื่อ ลิ้ม ได้ไปขุดทรัพย์สินที่ซ่อนไว้ ณ กรุงศรีอยุธยา ได้ทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ขณะที่ล่องเรือกลับมาที่ กรุงธนบุรี นั้น เมื่อถึงปากคลองบางใหญ่ ในเวลาดึก จึงถูกโจร ปล้นสะดม ได้ปล้นฆ่าภรรยา และทาส ตาย ส่วนนายบุนนาค หลบหนีไปได้ เป็นที่มาให้ นายบุนนาค ไปได้ คุณนวล พี่สาวของ พระยาจักรี(ทองด้วง) เป็นภรรยา คนที่สอง จึงมีความสนิทสนม กับ พระยาจักรี(ทองด้วง) และ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) เรื่อยมา

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เร่งจัดหาอาวุธทันสมัยจากต่างประเทศ พ.ศ.๒๓๑๙

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระยาคลัง สั่งให้ เมืองนครศรีธรรมราช สั่งซื้อปืนจาก ประเทศเดนมาร์ก จำนวน ๑๐,๐๐๐ กระบอก มาใช้ในกองทัพเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ โดยแลกกับ แร่ดีบุก ต่อมา ประเทศเดนมาร์ก ได้ส่งปืนใหญ่ จำนวน ๓,๐๐๐ กระบอก จาก กรุงโคเปนเฮเกน แต่ปรากฏว่า ปืนหลายกระบอก เกิดระเบิด ทำให้ พระเจ้ากรุงธนบุรี ปฏิเสธการซื้อปืนจาก ประเทศเดนมาร์ก ในเวลาต่อมา

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าให้ คุณหญิงมุก และ คุณหญิงจัน ภรรยา สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(เจ้าชายไข่แดง) ผู้ปกครอง เมืองถลาง ให้ทำจดหมายติดต่อกับ  ฟรานซิสไลท์ สหายชาวอังกฤษ ซึ่งเป็น เจ้าเมืองปีนัง คนแรก ให้ช่วยจัดซื้อปืนเพิ่มจากที่ขอซื้อจาก ฮอลันดา ที่เมืองปัตตาเวีย(จากาตา) อีก ๖,๐๐๐ กระบอก ราคากระบอกละ ๑๒ บาท โดยมีจดหมายของ คุณหญิงจัน และ ชาวเมืองถลาง เขียนด้วยอักษรไทย กว่า ๖๐ ฉบับ ขณะนี้เก็บรักษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

       คุณหญิงมุก และคุณหญิงจัน มีมารดา เป็นธิดา ของ เจ้าเมืองไทรบุรี จึงมีความผูกพันธุ์ กับ เมืองไทรบุรี มาก่อน จึงเป็นสหายสนิท ของ ฟรานซิสไลท์(พระยากะปิกะตัน) ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปีนัง มาก่อน เพื่อหวังเป็นช่องทางจัดซื้ออาวุธปืนทันสมัย จากอังกฤษ มาใช้ในราชการสงคราม

       เมื่อ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(เจ้าชายไข่แดง) สิ้นพระชนม์ในสงคราม กับ การต่อสู้กับกองทัพพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดเกล้าให้ พระยาพิมล หลานชายพระยานครพัด สามีของ คุณหญิงมุก ซึ่งขณะนั้น เป็นเจ้าเมืองพัทลุง มาเป็น เจ้าพระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามภักดี ปกครองเมืองถลาง โดยคุณหญิงจันทร์ ยังช่วยราชการอยู่ที่เมืองถลาง

 

ราชาเจ้านราสุริยะวงศ์ สวรรคต พ.ศ.๒๓๑๙

ราชาเจ้านราสุริยะวงศ์ พระเจ้าหลานเธอ บุตรชายของ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ ผู้ปกครอง แคว้นนครศรีธรรมราช สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ อย่างลึกลับ ข่าวว่า ถูกวางยาพิษ รวมเวลาครองราชย์สมบัติได้ ๖ พรรษา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) ไปปกครอง เมืองนครศรีธรรมราช และมี อุปราชพัฒน์ เป็น อุปราช

ต่อมา คุณหญิงนวล ภรรยา อุปราชพัฒน์ ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ เช่นกัน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงคิดถวาย เจ้าหญิงปราง ให้เป็น ภรรยา ของ อุปราชพัฒน์ แห่ง เมืองนครศรีธรรมราช

เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรค์โลก ซึ่งเป็นบุตรของ พระองค์เจ้าอั๋น มาขอ เจ้าหญิงปราง (มารดาพระยาน้อย) ไปเป็นภรรยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ จึงรับสั่งให้นำไปลงโทษ เหตุเพราะ เจ้าพระยาพิชัยราชา ชอบใส่ร้าย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ลับหลังบ่อยครั้ง และไม่เห็นชอบด้วยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ คิดจะมอบสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ให้อภิเษกสมรสกับ พระยาจักรี (ทองด้วง) และจะมอบราชสมบัติให้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก สืบทอดราชสมบัติ ทำให้เจ้าพระยาพิชัยราชา ใส่ร้าย สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก อย่างต่อเนื่อง

เดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มอบ เจ้าหญิงปราง ให้กับ อุปราช (พัฒน์) อุปราชเมืองนครศรีธรรมราช ในขณะที่ตั้งครรภ์แล้ว ๒ เดือน ต่อมาคือ พระยาน้อย หรือ เจ้าพระยานครน้อย ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช และเป็นต้นสกุล ณ นคร สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าพระยานคร (หนู) กลับไปเป็นราชา ครองเมืองนครศรีธรรมราช ใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ และส่ง พระยาพัฒน์ ไปเป็น อุปราช ปกครอง เมืองนครศรีธรรมราช โดยมีพระราชดำหริว่า “…ถ้าฝ่ายพระนคร ขัดข้องด้วยอาหาร จะได้พึ่งพาอาศัยบ้าง…” ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งระหว่าง เมืองนครศรีธรรมราช และ เมืองสงขลา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดเกล้าให้ เมืองสงขลา ขึ้นต่อ กรุงธนบุรี โดยตรง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เร่งรัดให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ ซึ่งเป็น สามีของหม่อมประยงค์ และ พระยาจินดาพล ไปตั้งจวนว่าราชการใหม่ที่ปากพระ เพื่อปกครองเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตก แทนที่เมืองตะกั่วป่า และให้ตั้งกองเร่งรัดส่วยดีบุก อยู่ที่ปากพระ ชายฝั่งทะเลตะวันตก ระหว่างเมืองถลาง และตะกั่วทุ่ง ทั้งนี้เพราะ พระยาถลาง(เจ้าชายไข่แดง) หรือ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา ได้สิ้นพระชนม์ไปในสงคราม ทำให้เมืองถลาง ไม่ปลอดภัยจากกองทัพพม่า พระยาพิมล สามีคุณหญิงมุก เพิ่งมารับตำแหน่ง เจ้าเมืองถลาง คนใหม่ ยังไม่สันทัดในการปกครอง และการเร่งรัดภาษีส่วยดีบุก

 

พม่า ยกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๙

       ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๑๙ พระเจ้าจิงกูจา ประเทศพม่า ทรงมีความเห็นว่า แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนราชอาณาจักรลานนา ได้เสียให้กับ ประเทศสยาม ไปเป็นจำนวนมาก จึงรับสั่งให้เตรียมกองทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่ กลับคืน โดยจัดกำลัง ดังนี้ (๑) ให้เกณฑ์กองทัพมอญ ๖,๐๐๐ คน ให้ อำมลอกหวุ่น เป็นแม่ทัพ ตอหวุ่น กับ พระยาอยู่มอญ เป็นปลัดทัพ ให้เดินทัพไปสมทบกับกองทัพของ แม่ทัพโปมะยุง่วน ที่จะเคลื่อนทัพจากเมืองเชียงแสน (๒) ให้แม่ทัพโปมะยุง่วน เคลื่อนทัพจากเมืองเชียงแสน เข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่

ต้นเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๙ พระยาวิเชียรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ พิจารณาเห็นว่า พม่ามีกำลังมาก ยากต่อการต่อสู้ จึงมีใบบอกแจ้งมายัง กรุงธนบุรี แล้วพระยาวิเชียรปราการ ก็อพยพไพร่พล ทิ้งเมืองเชียงใหม่ หนีมาอยู่ที่เมืองสวรรค์โลก เมื่อต้นเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีรับสั่งให้ พระยาวิเชียรปราการ เดินทางลงมาที่กรุงธนบุรี แล้วมีตราสั่งให้ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) นำกองทัพหัวเมืองเหนือ ขึ้นไปสมทบกับ พระยากาวิละ เจ้าเมืองลำปาง นำทัพไปตีเอาเมืองเชียงใหม่ กลับคืน

เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่ กวาดต้อนประชาชนมาอยู่ที่เมืองลำปาง เชียงใหม่จึงกลายเป็นเมืองร้างไป ๑๕ ปี

 

สมเด็จพระเจ้าตากสิน ส่งกองทัพเข้าปราบปรามกบฏ เมืองนางรอง พ.ศ.๒๓๑๙

ต้นเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๙ พระยานครราชสีมา มีใบบอกมาแจ้งแก่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ว่า พระยานางรอง ซึ่งต้องขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา เป็นกบฏ นำเอาเมืองนางรอง ไปขึ้นต่อเจ้าโอ เจ้านครจำปาศักดิ์ แห่ง ราชอาณาจักรลาว แทนที่การขึ้นต่อกรุงธนบุรี เนื่องจาก พระยานางรอง เกิดพิพาท กับ พระยานครราชสีมา

       สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา(ทวดนอบ) ได้เล่าเรื่องความเป็นมาที่ต้องอภิเษกสมรส กับ เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) ให้ลูกหลานฟังและเล่าสืบต่อมาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้เรียก เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) มาเข้าเฝ้า ต่อหน้าสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา และรับสั่งว่า จะให้ยกกองทัพไปตีเอาเมืองนางรอง อาณาจักรคามลังกา กลับมา เพราะเป็นดินแดนโบราณของชนชาติไทย มาอย่างยาวนาน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตรัสว่า ที่ปราสาทพนมรุ้ง มีศิลาจารึกภาษาสันสกฤตโบราณ จารึกโดย หิรัญญะ พระราชโอรสของ มหาจักรพรรดิศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ แห่ง กรุงคันธุลี ที่กล่าวถึงการรบกับข้าศึกที่ภูเขาเพลา และ ทุ่งพระยาชนช้าง คันธุลี จนชนะสงคราม สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยไปพบเห็น และอ่านแปลมาแล้ว

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตรัสว่า เมื่อเจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) ตีเมืองนางรอง ได้เรียบร้อยแล้ว ให้เดินทางไปที่ ปราสาทพนมรุ้ง เพื่ออ่านแปลศิลาจารึกหิรัญญะ กลับมาถวาย ถ้าสามารถแปลได้ถูกต้อง จะยกสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ให้อภิเษกสมรส ด้วย และจะให้สืบทอดราชสมบัติ ต่อจากพระองค์ จะโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น มหาอุปราช ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เพื่อสืบทอดราชย์สมบัติ เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) ต้องทำการศึกษาภาษาสันสกฤตโบราณ และตระเตรียมกองทัพเพื่อยึดครอง เมืองนางรอง อาณาจักรคามลังกา กลับคืน 

เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระยาจักรี(ทองด้วง) นำกองทัพไปปราบปรามเมืองนางรอง สามารถตีเมืองนางรอง แตก จับเอาพระยานางรอง ไปประหารชีวิตเสีย เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๑๙ เมื่อเจ้าโอ แห่ง แคว้นจำปาศักดิ์ ทราบว่า พระยานางรองถูกประหารชีวิต จึงเตรียมทหาร ๑๐,๐๐๐ คน เข้าตีเมืองนครราชสีมา และยึดเมืองนางรอง กลับคืน เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) จึงมีใบบอกมารายงานให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงทราบ

 

 

ภาพเงินพดด้วง สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สร้างขึ้นใช้ ให้มีเครื่องหมายจักรี เพื่อสื่อความหมายให้ทราบว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยมีตำแหน่งเป็น พระยาจักรี มาก่อนที่จะขึ้นดำรงตำแหน่ง กษัตริย์ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี

 

ปราสาทพนมรุ้ง อดีตราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ที่มหาราหิรัญญะ พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิศรีนเรนทราทิตย์ กรุงคันธุลี ได้สร้างขึ้น หันหน้ามาทางภูเขาคันธุลี และมีศิลาจารึกที่ มหาราชาหิรัญญะ จารึกไว้ เกี่ยวกับ การรบที่ทุ่งพระยาชนช้าง คันธุลี ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) ไปอ่านแปลมา รายงาน เพื่อผลักดันให้ เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) เข้าใจประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไต

 

เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) และ เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) นำกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นจำปาศักดิ์ ของ ราชอาณาจักรลาวกลับคืน เจ้าโอ กับ เจ้าอิน สู้ไม่ได้ ถูกจับได้ที่เมืองโขง หรือเมืองศรีทันดร และจับได้ที่เมืองอัตปือ อีกหนึ่งคน มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี จึงได้เมืองจำปาศักดิ์(อาณาจักรโพธิ์หลวง) เมืองโขง เมืองศรีทันดอน เมืองอัตปือ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขันธ์ มาอยู่ภายใต้อำนาจ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ด้วย

       เมื่อเจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) ตีแคว้นจัมปาศักดิ์ เรียบร้อย ก็นำกองทัพกลับมาที่เมืองนางรอง ได้เรียบร้อยแล้ว ได้เดินทางไปที่ ปราสาทพนมรุ้ง เพื่อนำศิลาจารึกหิรัญญะ ไปยังเมืองนครราชสีมา ไปหาพระอาจารย์ที่วัดแห่งหนึ่งให้ช่วยอ่านแปล ศิลาจารึกหิรัญญะ กลับมาถวาย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตามที่เคยตรัสไว้

 

 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา อภิเษกสมรสกับ พระยาจักรีทองด้วง พ.ศ.๒๓๑๙

       มีเรื่องเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า เมื่อเจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) นำกองทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พร้อมกับนำคำแปล ศิลาจารึกหิรัญญะ กลับมาถวาย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตามที่เคยตรัสไว้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ชื่นชมยินดีมากที่สามารถแปลได้ใจความถูกต้อง ตรัสว่า ผู้ที่สามารถแปลศิลาจารึกโบราณได้ ก็สามารถเป็นกษัตริย์ ได้ดี รับสั่งให้จัดงานอภิเษกสมรส ระหว่าง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา กับ เจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) ตามที่เคยตรัสไว้

เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จัดให้ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (ทองด้วง) ได้อภิเษกสมรสกับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุบผา พระราชธิดา พระองค์ที่-๒ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กับ ท่านหญิงวาโลม และได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ให้เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เป็นเหตุให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) เป็นเชื้อสายราชวงศ์ เป็นราชบุตรเขย มีพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เป็นตำแหน่ง มหาอุปราช เพราะสามารถอ่านศิลาจารึกหิรัญญะ ได้ดี รับสั่งให้เตรียมพร้อมเป็นผู้สืบทอดการครองราชย์สมบัติ ต่อจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในอนาคต

เดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรียก สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก พร้อม สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เข้าเฝ้า รับสั่งให้เดินทางไปพักอาศัยที่บ้านทุ่งนาเล แขวงท่าชนะ เมืองไชยา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ก่อนเป็นกษัตริย์ กรุงธนบุรี ดังนี้คือ  

(๑) ให้ไปสร้างวัดกลาง ขึ้นที่แขวงท่าชนะ ตามที่เคยให้คำมั่นสัญญากันไว้ โดยที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้สร้างวัดดอนชาย เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักบุญชู ได้สร้างวัดดอนมะพร้าว คงเหลือแต่ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ที่ยังมิได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ที่เคยมีต่อกันไว้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ได้สร้างวัดกลางจนสำเร็จ จึงเชื่อได้ว่า วัดกลางที่ แขวงท่าชนะ เมืองไชยา น่าจะสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๐

(๒) ให้ฝึกเดินเรือสำเภา ในอ่าวไชยา ทั้งนี้เพราะ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเดินเรือ และการทำสงครามทางทะเล ในเรื่องนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ทำสำเร็จ

(๓) ให้ทำการศึกษากุลยุทธการทำสงครามจากนิยายจีนเรื่อง ๓ ก๊ก กับหลวงสรวิชิต (หน) นายด่านเมืองอุทัยธานี ผู้เป็นพ่อตา ซึ่งได้มอบธิดาคนหนึ่งให้เป็นภรรยา ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ด้วยเช่นกัน เรื่องนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ทำสำเร็จ

(๔) ให้ศึกษาประวัติศาสตร์ชนชาติอ้ายไตโบราณ จาก พงศาวดารขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มอบให้ไปศึกษาร่วมกับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ที่บ้านทุ่งนาเล เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เคยศึกษามาแล้ว เรื่องนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ทำไม่สำเร็จ เพราะถูก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรียกกลับกรุงธนบุรี ก่อนกำหนด

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เร่งจัดหารายได้ให้กับ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา พ.ศ.๒๓๒๐

หลังจากสงครามกับพม่า ที่แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ พยายามทำสงครามยึดครอง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี อีกครั้งหนึ่ง และต้องถอยทัพกลับไป สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสียงบประมาณในการทำสงครามไปจำนวนมาก เงินในท้องพระคลัง ร่อยหรอไปมาก เป็นเหตุให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต้องเร่งรัดให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ และ คุณหญิงจัน ไปตั้งกองเร่งรัดส่วยดีบุก อยู่ที่ปากพระ ชายฝั่งทะเลตะวันตก ระหว่างเมืองถลาง และเมืองตะกั่วทุ่ง และที่เมืองถลาง เกาะภูเก็ต เพื่อนำไปซื้ออาวุธ ให้อาณาจักรสยาม

ในดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ก็เร่งรัดให้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง ตั้งกองเร่งรัดส่วยดีบุก และการให้สัมปทานป่าไม้ เพื่อหารายได้ช่วยสร้างอาณาจักรสยาม ขึ้นให้ได้

 

       ภาพวาดสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขณะขึ้นครองราชย์ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี

 

 

 

 บทที่-๒

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ฟื้นฟู อาณาจักรสยาม กรุงไชยา

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พยายามฟื้นฟู อาณาจักรสยาม กรุงไชยา พ.ศ.๒๓๒๐

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ที่ถูกพระองค์เจ้านกเอี้ยง ให้การศึกษาความรู้ทางประวัติศาสตร์ชาติไทยมาโดยตลอดว่า อาณาจักรเสียม-หลอ พัฒนาการมาจาก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ประกอบด้วยอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จำนวนมาก หลังจากสมัย พระยาร่วง มีความจำเป็นต้องย้ายราชธานีไปอยู่ที่ อาณาจักรโจรลี้โพธิ์ กรุงสุโขทัย ราชธานี ก็เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง คือ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงสุพรรณบุรี กรุงคันธุลี หรือ กรุงศรีโพธิ์ สหราชอาณาจักรเสียม ประกอบด้วย ๒ อาณาจักรใหญ่ คือ มหาอาณาจักรเสียม และ มหาอาณาจักรละโว้ ต่อมา มหาอาณาจักรเสียม ถูกลดอำนาจลง กลายเป็น อาณาจักรเสียม และถูกประชาชนนิยมเรียกชื่อใหม่ตามการเรียกของพ่อค้า ว่า อาณาจักรสยาม และถูกลดบทบาทลงมาให้เป็นเพียงเมือง พระยานคร ขึ้นต่ออยุธยา โดยตรง 

       ในอดีต มหาอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) หรือ กรุงคันธุลี จะทำหน้าที่ปกครองดูแล อาณาจักรต่างๆ ที่ติดต่อชายฝั่งทะเล ทั้งหมด ส่วนมหาอาณาจักรละโว้ จะทำหน้าที่ดูแลอาณาจักรต่างๆ ในตั้งอยู่ในผืนแผ่นดินใหญ่ ที่ไม่ติดต่อชายฝั่งทะเล จนกระทั่งสมัยเจ้านครอินทร์ ได้ยืมมือ นายพลมุสลิมเจิ้งหัว ของประเทศจีน มาโค่นล้ม สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จนล่มสลายลง แล้วค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นใหม่ในภายหลัง อาณาจักรเสียม จะมีราชธานี ตั้งอยู่ที่เมืองไชยา หรือ เมืองคันธุลี ตามแต่สถานการณ์ อาณาจักรเสียม ได้ถูกยุบเลิกไปในสมัย พระบรมไตรโลกนาถ และถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ สมัย สมเด็จพระนเรศวรฯ ต่อเนื่องมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และถูกยุบเลิกสมัยพระเพทราชา ต่อมา สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับสั่งให้รื้อฟื้น อาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจะเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่า โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ อาณาจักรเสียม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๙

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เล็งเห็นว่า หลังจากรัชกาล สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ ถูกรุกรานโดย ชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ อย่างต่อเนื่อง ชนชาติไทยถูกขับไล่ออกจากดินแดน วัดวาอารามถูกเผาทำลาย พระภิกษุ ถูกฆ่า แว่นแคว้นต่างๆ ถูกยึดครอง สมเด็จพระนเรศวรฯ ร่วมกับโมกุล ได้เคยแก้ไขปัญหาไปในระดับหนึ่ง จนกระทั่งสืบทอดต่อมาถึง พระเจ้าศรีสรรเพชรสิน ได้พยายามฟื้นฟู อาณาจักรเสียม ที่เปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๙ เจ้าพระยาปัตตานีศรีสุลต่าน ที่พระเจ้าศรีสรรเพชรสิน มอบให้รักษาดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ ที่คงเหลือ จนกระทั่งการกอบกู้อาณาจักรละโว้ กลับคืนสำเร็จ อาณาจักรสยาม ยังคงดำรงอยู่ โดยสมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา(อนุรักษ์) และ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์(บุญรอด) สลับกัน สำเร็จราชการแทนพระองค์ ว่าราชการอยู่ที่ พระราชวังพระเจ้าตาก ทางทิศใต้ของ วัดศรีราชัน เมืองคันธุลี

       จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ เป็นกษัตริย์ อาณาจักรสยาม กรุงคันธุลี และให้ เจ้านราสุริยะวงศ์ โอรสของ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ เป็นกษัตริย์ แคว้นนครศรีธรรมราช แต่ต่อมาเกิดสงครามกับพม่า ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๗-พ.ศ.๒๓๑๘ บทบาทของ อาณาจักรสยาม กรุงคันธุลี ได้ลดบทบาทลง เพราะ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา หรือ พระยาถลาง(เจ้าฟ้าชายไข่แดง) สิ้นพระชนม์ในสงคราม และ เจ้านราสุริยะวงศ์ กษัตริย์แคว้นนครศรีธรรมราช สวรรคต แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ ไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ ต้องไปรักษาดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันตก ร่วมกับ พระยาจินดาพล และต้องเร่งรัดจัดหารายได้จากดีบุก ส่งให้กรุงธนบุรี อาณาจักรสยาม ที่จะถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ จึงลดบทบาทลง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงต้องการฟื้นฟู อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อรักษาดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ กลับคืนมาเป็นของชนชาติไทย อีกครั้งหนึ่ง

 

 ภาพเงินพดด้วงรูปจักรี สมัยกรุงธนบุรี พบที่ ดอนเจ้าตาก วัดศรีราชันดอนธูป คันธุลี  

 

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เล็งเห็นว่า ชนชาติไทยสับสนกับคำว่า เสียม และสยาม ว่ามีที่มาจากที่ใด เมื่อราชธานี อยู่ที่กรุงสุโขทัย หรือ กรุงศรีอยุธยา หรือ กรุงธนบุรี ก็เรียกชื่อว่า ประเทศสยาม เหมือนกัน โดยไม่เข้าใจว่า คำว่าเสียม หรือ สยาม มีที่มาจากเมืองไชยา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงดำหริที่จะเปลี่ยนชื่อ เมืองไชยา โดยจะเปลี่ยนชื่อ เมืองไชยา เป็น เมืองสยาม ซึ่งมาจากคำว่า เสียม และ ศรีโพธิ์ เพื่อรักษาชื่อดั้งเดิมมิให้สูญหายไป และทำให้คนไทยเข้าใจประวัติศาสตร์ว่า สยาม มาจากที่ใด จึงดำหริที่จะเปลี่ยนชื่อ เมืองไชยา เป็น เมืองสยาม ดังเดิม แต่เกรงว่าประชาชนจะลืมเรื่องราวของ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ผู้ให้กำเนิดชื่อไชยา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรสยาม กรุงไชยา แทนที่

       หลังจากมีการโปรดเกล้าเจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง) ให้เป็น สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ตำแหน่ง มหาอุปราช ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก มาทดลองเป็นกษัตริย์อาณาจักรสยาม กรุงไชยา อีกครั้งหนึ่ง ทดลองบริหารดูแลเมืองชุมพร เมืองหลังสวน เมืองไชยา เมืองท่าขนอน และ เมืองท่าทอง มีพระราชวังอยู่ที่บ้านทุ่งนาเล แขวงท่าชนะ โดยมีขุนหลวงพิทักษ์(มาก) เป็นหัวหน้าทหาร ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัย ของ พระราชวังบ้านทุ่งนาเล

       สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก สามารถบริหารงาน อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ได้เป็นอย่างดี เป็นที่พอพระทัย ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จนกระทั่ง ปลายปี พ.ศ.๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรียกสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก กลับกรุงธนบุรี และเรียกพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม เจ้าเมืองเพชรบุรี เข้ามาทดลองเป็น ราชา อาณาจักรสยาม กรุงไชยา โปรดเกล้าแต่งตั้ง พระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศร์ เป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี แทนที่ขณะนั้น อาณาจักรสยาม มีที่ว่าราชการอยู่ที่ วังพระเจ้าตาก เมืองคันธุลี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม มาเตรียมการฟื้นฟู อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ให้เข้มแข็ง เหมือนในอดีต

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เร่งหารายได้ให้กับ อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๐

หลังจากสงครามกับพม่า ที่แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ พยายามทำสงครามยึดครอง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี อีกครั้งหนึ่ง และต้องถอยทัพกลับไป สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสียงบประมาณในการทำสงครามไปจำนวนมาก เงินในท้องพระคลัง ร่อยหรอไปมาก เป็นเหตุให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต้องเร่งรัดให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์(น้องเขย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) ซึ่งเป็น สามีของหม่อมประยงค์ ร่วมกับพระยาจินดาพล ให้ไปตั้งกองเร่งรัดส่วยดีบุก อยู่ที่ปากพระ ชายฝั่งทะเลตะวันตก ระหว่างเมืองถลาง และเมืองตะกั่วทุ่ง

       ในดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ก็เร่งรัดให้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง ตั้งกองเร่งรัดส่วยดีบุก และการให้สัมปทานป่าไม้ เพื่อหารายได้เข้าสู่ท้องพระคลังหลวง ให้มากขึ้น

 

พระเจ้าตากสิน ส่งเชลยศึกจีน ที่ดอนคุกจีน เมืองไชยา กลับคืน ประเทศจีน พ.ศ.๒๓๒๐

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยส่งราชทูต ไปขอให้ประเทศจีน เพื่อขอตราตั้ง รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี หลายครั้ง แต่ถูกจีนปฏิเสธทุกครั้ง ประเทศจีน กลับรับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ พระเจ้าโสร์ทศ ให้เป็นกษัตริย์ ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ มาก่อน จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๓๑๒ กองทัพพระเจ้าโสร์ทศ ๕๐,๐๐๐ คน พ่ายแพ้ต่อกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อย่างยับเยิน เหลือทหารเพียง ๑,๐๐๐ คน กลับราชธานีที่เขมร พระราชอำนาจสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถควบคุมดินแดนสุวรรณภูมิ ได้เป็นส่วนใหญ่ ประเทศจีน จึงเริ่มเปลี่ยนท่าที ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ วางเฉยที่จะส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีนอีก มีเพียงพ่อค้าสยาม และ พ่อค้าเรือสำเภาจีน ยังคงติดต่อค้าขายกันอยู่อย่างปกติ ที่เมืองกวางตุ้ง โดยฮ่องเต้เฉียนหลุง ของ ประเทศจีน ไม่ได้ขัดขวาง

 

ภาพถ้วยชาม จำนวนมาก ขุดพบที่ดอนคุกจีน ภูเขาน้อย คันธุลี มีผู้คาดว่า นักโทษจีน ผลิตขึ้นใช้ขณะถูกขังคุก ถ้วยชามส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่ วัดดอนดวด อ.ละแม จ.ชุมพร

 

สืบเนื่องมาจากเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ส่งกองทัพไปทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงรุ้ง กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับได้นำเชลยศึกทหารจีนที่ กองทัพพม่า จับตัวไปได้ มาควบคุมตัวไว้ที่ดอนคุกจีน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ภูเขาน้อย บ้านดอนดวด แขวงคันธุลี เมืองไชยา ต่อมาทางประเทศจีน ทราบว่า เชลยศึกจีน ดังกล่าว ถูกทหารสยาม นำมาควบคุมตัวไว้ จึงต้องการให้ส่งเชลยศึก กลับคืน ประเทศจีน

 

 

ภาพวาดของจีน ขณะที่คณะราชทูต ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดินทางไปส่งตัวเชลยศึกจีน และขอตราตั้ง จากฮ่องเต้เฉียนหลุง เพื่อรับรองการเป็นกษัตริย์ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙

 

พ่อค้าสำเภาสยาม และ พ่อค้าสำเภาจีน ที่แลกเปลี่ยนการค้ากันอยู่ที่เมืองกวางตุ้ง ได้รับการติดต่อจากขุนนางจีน ให้ช่วยกราบทูลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้ช่วยส่งเชลยศึกจีน ที่ชาติสยาม ควบคุมตัวไว้ กลับคืนให้กับประเทศจีน และให้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์กับ ประเทศจีน และรับตราตั้ง ต่อไป

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงตัดสินพระทัย ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ อีกครั้งหนึ่งหลังจากห่างหายไปนาน พร้อมทั้งส่งเชลยศึกทหารจีนที่พม่าจับตัวไป ซึ่งควบคุมตัวไว้ที่ ดอนคุกจีน กลับคืนให้กับ ฮ่องเต้เฉียนหลุง แห่ง ประเทศจีน ด้วย ทาง ฮ่องเต้เฉียนหลุง แห่ง ประเทศจีน จึงยอมรับรองทางการทูตแก่ อาณาจักรเสียม-หลอ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

(๑) ให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่งพระราชธิดา ไปถวายฮ่องเต้ เพื่อเป็นตัวประกัน

(๒) ให้อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ชดใช้ค่าเสียหาย จากการเสียหายของพ่อค้าเรือสำเภาจีน

(๓) ให้ส่งตัว หยางจิ้งจง และ เฉินเหลียง ผู้ยึดเรือสำเภาพ่อค้าจีน ไปลงโทษในประเทศจีน

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่งคณะราชทูตไปที่ประเทศจีน อีกครั้งหนึ่ง โดยทำพระราชสาสน์เป็นภาษาจีน ด้วยพระองค์เอง มีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้

(๑) สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จะส่งพระราชธิดาไปถวายฮ่องเต้เฉียนหลุง ประเทศจีน ถ้า ฮ่องเต้เฉียนหลง ถวายราชธิดา แลกเปลี่ยนกัน

(๒) พ่อค้าสำเภาจีน เสียหายในภาวะสงคราม ถูกกองทัพพม่ายึดครองไป กองเรือสำเภาอีกส่วนหนึ่งเสียหายเพราะนำกองเรือสำเภาไปสนับสนุน พระเจ้าโสร์ทศ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไม่เคยยึดเรือสำเภาจีนไปทำสงคราม เพราะมีอู่ต่อเรือสำเภาของตนเอง มีไม้ที่นำไปสร้างเรือสำเภา ได้เป็นจำนวนมาก

(๓) หยางจิ้งจง และ เฉินเหลียง ไม่เคยยึดเรือสำเภาจีน ทั้งสองท่านปัจจุบัน ได้เสียชีวิตแล้วในสงคราม

ราชทูต แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับประเทศจีน อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอตราตั้ง ฮ่องเต้เฉียนหลง ไม่มีคำตอบกลับมา ความสัมพันธ์ทางการทูต จึงยุติลงชั่วคราว อีกครั้ง

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำพิธีเผาศพปลอม เจ้าพระยาโกษาธิบดี (หยางจิ้งจุง) พ.ศ.๒๓๒๐

เรื่องเดิม ประเทศจีน ได้รับรองและมอบตราตั้ง ให้แก่ พระเจ้าโสร์ทศ ให้เป็นกษัตริย์ ของ อาณาจักรเสียม-หลอ แต่ต้องพ่ายแพ้กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อย่างยับเยิน พระเจ้าโสร์ทศ พยายามร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้เฉินหลุง ประเทศจีน และใส่ความตอแหล ว่า เจ้าพระยาโกษาธิบดีหยางจิ้งจุง และ เจ้าพระยาราชาเศรษฐีเฉินเหลียง แม่ทัพคนสำคัญของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นผู้ยึดครอง กองเรือสำเภาค้าขาย ของ จีน ไปครอบครอง จึงให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ชดใช้ค่าเสียหาย และส่งตัว เจ้าพระยาโกษาธิบดีหยางจิ้งจุง และ เจ้าพระยาราชาเศรษฐีเฉินเหลียง ไปลงโทษที่ประเทศจีน

คณะราชทูต แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี กราบทูลแก่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อกลับมาจากประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ ว่า พระเจ้ากรุงจีนทวงถามให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำการชดใช้ค่าเสียหาย จากการยึดกองเรือสำเภาจีน และให้ส่ง เจ้าพระยาโกษาธิบดี (หยางจิ้งจุง) ผู้นำกองทัพเข้ายึดทรัพย์สินของพ่อค้าสำเภาจีน ไปลงโทษในดินแดน ของ ประเทศจีน ด้วย

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงต้องทำพิธีเผาศพปลอม เจ้าพระยาโกษาธิบดี (หยางจิ้งจุง) อย่างศพเจ้า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ และรับสั่งให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (หยางจิ้งจุง) ไปช่วยสร้าง อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ได้ไปอาศัยอยู่ที่ บ้านเกาะไผ่ ท้องที่บ้านดอนธูป แขวงคันธุลี เมืองไชยา พร้อมกับบุตรชาย ๓ คน ส่วนบุตรสาวคนเล็กได้มอบให้เป็นบุตรบุญธรรม(พระราชมารดา ของ ร-๔) ของ พี่สาว ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ส่วน พระยาราชาเศรษฐี (เฉินเหลียง) หลบภัยไปอาศัยอยู่ที่เยื้องป่าช้าวัดประสบ อ.ไชยา และต่อมาได้ย้ายไปตั้งรกรากที่ปากน้ำท่ากระจาย แขวงท่าชนะ เมืองไชยา

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มอบให้ขุนนางอำมาตย์ต่างๆ ร่วมฟื้นฟู อาณาจักรสยาม พ.ศ.๒๓๒๐

ปี พ.ศ.๒๓๒๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี โปรดเกล้าให้ พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม เจ้าเมืองเพชรบุรี เป็นมหาอุปราช แห่ง อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ได้นำไพร่พลไปร่วมสร้าง บ้านวังพวกราชวงศ์ ร่วมกับ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (หยางจิ้งจุง) บริเวณทุ่งลานช้าง เมืองท่าชนะ เพื่อเตรียมรองรับการอพยพ ของพวกราชวงศ์ เมื่อมีการฟื้นฟู อาณาจักรสยาม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ขึ้นใหม่ และจะมีการก่อ สร้างกำแพงเมือง พระราชวังศรีเวียงไชย(บริเวณวัดเวียง ไชยา) ที่ถูกรื้อถอนไป โดย เจ้านครอินทร์ ในอดีต เพื่อเปลี่ยนแปลงคำสาปแช่ง ที่เคยเกิดขึ้น ในอดีตปี พ.ศ.๑๙๕๕

พวกราชวงศ์ส่วนหนึ่ง ที่ขัดแย้งกับกรมขุนอินทรพิทักษ์ ได้ตัดสินใจไปร่วมสร้างอาณาจักรสยาม กรุงไชยา จึงได้อพยพไปตั้งรกรากที่บ้านวังพวกราชวงศ์ เป็นการอพยพพระลอกแรก เข้าไปตั้งรกรากที่บ้านวังพวกราชวงศ์ เจ้าพระยาสรประสิทธิ์ ได้เดินทางอพยพ พร้อมครอบครัว ไปตั้งรกรากที่บ้านเชิงหาญ ป่าเว เมืองไชยา ร่วมมาสร้าง อาณาจักรสยาม กรุงไชยา และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช ดังเดิม

พระยาราชาเศรษฐี (เฉินเหลียง) อพยพไปอาศัยอยู่ที่ เยื้องป่าช้าวัดประสบ อ.ไชยา และต่อมาได้ย้ายไปตั้งรกรากที่ ปากน้ำท่ากระจาย แขวงท่าชนะ เมืองไชยา และได้มอบที่ดินดังกล่าวให้กับ บุตร ของ พระยาไกรโกษา (ฤกษ์) ในเวลาต่อมา

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง ราชอาณาจักรลาว พ.ศ.๒๓๒๑

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๑ กษัตริย์หลวงพระบาง แห่ง แคว้นลานช้าง(หลวงพระบาง) ส่งราชทูต มาถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองแด่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขอขึ้นต่อ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี และเสนอขอร่วมนำทหารเข้าร่วมทำสงครามปราบปราม ราชอาณาจักรลาว กรุงเวียงจันทร์ ที่ยังเป็นประเทศเมืองขึ้นของ พม่า ด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรียก สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก จาก แขวงท่าชนะ เมืองไชยา กลับกรุงธนบุรี เพื่อวางแผนทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรลาว กรุงเวียงจันทร์ กลับคืนจากการเป็นเมืองขึ้น ของ พม่า

ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงรับสั่งให้จัดกองทัพเข้ายึดครองราชอาณาจักรลาว กลับคืน โดยจัดกำลัง ดังนี้

       (๑) กองทัพบก ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก กำลังพล ๒๐,๐๐๐ คน ไปรวมพลที่ เมืองนครราชสีมา เคลื่อนที่ทางบก มุ่งหน้าสู่กรุงเวียงจันทร์

       (๒) กองทัพเรือ ของ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) กำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน รวมพลกันที่กรุงกัมพูชา นำกองทัพเรือเคลื่อนที่ไปตามลำแม่น้ำโขง มุ่งสู่กรุงเวียงจันทร์

       (๓) กองทัพของแคว้นลานช้าง กำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน มุ่งหน้าสู่กรุงเวียงจันทร์

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ปฏิบัติต่อเชื้อสายราชวงศ์ลาวตามราชประเพณีแต่ก่อนเก่า และ ให้ปฏิบัติต่อประชาชนลาวโดยดี เพราะมีความผูกพันธุ์ เป็นชนชาติอ้ายไต ด้วยกันมายาวนาน ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๓๒๑ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ได้เคลื่อนกองทัพทางบก ตีเมืองตามรายทางตามเส้นทางเดินทัพเข้าสู่ กรุงเวียงจันทร์ กษัตริย์ราชอาณาจักรลาว กรุงเวียงจันทร์ ทราบข่าวว่า กองทัพของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เคลื่อนที่ขึ้นมายังกรุงเวียงจันทร์ ก็ส่งกำลังทหารออกมาทำการขัดขวาง ตามหัวเมือง และตามด่านทางที่สำคัญหลายแห่ง ซึ่งล้วนแต่ถูกตีแตกพ่ายหนีไป จนกระทั่งกองทัพ ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เคลื่อนที่ไปถึง กรุงเวียงจันทร์ แล้ววางกำลังล้อมไว้ ทั้งสองฝ่ายทำการรบกันนานถึง ๔ เดือน หลักฐานประวัติศาสตร์ลาว บันทึกว่า พระเจ้าสิริบุญสาร มีพระราชสาสน์ ขอเป็นรัฐภายใต้การปกครองของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี แต่ไม่มีคำตอบ

เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๒๒ กองทัพ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี รบกับกองทัพราชอาณาจักรลาว กรุงเวียงจันทร์ เป็นเวลาต่อเนื่องมา ๔ เดือน กษัตริย์กรุงเวียงจันทร์ เห็นว่าเหลือกำลังที่จะรักษาเมืองเวียงจันทร์ไว้ได้ จึงพาเจ้าอินทร์ และ เจ้าพรหม ราชบุตร กับ คนสนิท หนีไปทางเมืองคำเกิด ต่อแดนเวียตนาม กองทัพ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี สามารถเข้ายึดกรุงเวียงจันทร์ไว้ได้ สามารถจับอุปราช เจ้านันทเสน และเครือญาติวงศ์ ของ กษัตริย์ลาว ได้ พร้อมทั้งผู้คน พาหนะ สิ่งของ เครื่องศัตราวุธ ทั้งปวงจำนวนมาก และนำ พระแก้วมรกฎ กลับมาที่กรุงธนบุรี

สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก กวาดต้อนเชลยศึกชาวไตเวียงจันทร์ ๒๐,๐๐๐ คน มาที่กรุงธนบุรี เชลยศึก เสียชีวิตระหว่างการเดินทางจำนวนมาก เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบข่าวถึงการบาดเจ็บล้มตาย ของ เชลยศึกชาวไต-ลาว จำนวนมาก ก็รู้สึกสะเทือนใจมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ไปขอขมาลาโทษต่อเจ้าสิริบุญสาร และเป็นที่มาให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งจำขัง สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ในเวลาต่อมา

ต้นปี พ.ศ.๒๓๒๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้าสุริยะวงศ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรลานช้าง กรุงหลวงพระบาง ให้เป็น มณฑลอุปราช ภายในเครือ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี และโปรดเกล้าให้ พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน เป็น มหาราชา ปกครอง ราชอาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เป็นราชอาณาจักรหนึ่งในเครือ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี

ต้นปี พ.ศ.๒๓๒๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้าศิริบุญสาร กลับไปครองราชย์สมบัติ เป็น มหาอุปราช แห่ง ราชอาณาจักรลาว กรุงเวียงจันทร์ อีกครั้งหนึ่ง ในฐานะ ราชอาณาจักรในเครือ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี

 

ภาพวาดเชลยศึกสัตรีชาวลาว โดยชาวต่างประเทศ ที่สัตรีชาวลาว ถูกกวาดต้อนจาก กรุงเวียงจันทร์ มาตั้งรกรากในดินแดน อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี

 

ในปี พ.ศ.๒๓๒๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าไชยกุมาร(พ.ศ.๒๓๒๓-๒๓๓๔) ครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรจามปาศักดิ์ กรุงจามปาศักดิ์ เป็น มณฑลอุปราช ภายในเครือ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี

ปี พ.ศ.๒๓๒๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าฟ้าทะละหะ เป็น มหาอุปราช ครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงพนมเปญ เป็น ราชอาณาจักร ภายในเครือ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี อีกอาณาจักรหนึ่ง

 

สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ เป็นกษัตริย์ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา พ.ศ.๒๓๒๒

ปี พ.ศ.๒๓๒๒ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรียกสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก กลับกรุงธนบุรี ก็โปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ เป็นมหาราชา อาณาจักรสยาม กรุงไชยา และโปรดเกล้าให้ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม ดำรงตำแหน่ง มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ว่าราชการอยู่ที่ พระราชวังเจ้าตาก ใกล้วัดศรีราชัน แขวงคันธุลี เมืองไชยา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสด็จมาที่ กรุงคันธุลี ในเวลาสั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง มีรับสั่ง ดังนี้

(๑) ให้ฟื้นฟูกำแพงเมืองพระราชวังศรีเวียงชัย ที่ขุนศรีธรรมโศก สร้างขึ้น และเจ้านครอินทร์ รื้อถอนออกไปสร้างกำแพงเมืองที่กรุงศรีอยุธยา ให้ตัดไม้มาเสริมเสาเข็มฐานรากกำแพงเมืองเดิม ให้รับน้ำหนักกำแพงได้ดี ก่อนการก่ออิฐโบกปูนกำแพงเมืองใหม่ และให้ใช้ พระราชวังศรีเวียงชัย ที่รื้อฟื้นขึ้นใหม่ เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา รับสั่งให้ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม นำไพร่พลไปดำเนินการ

(๒) ให้สร้างกองทัพที่เข้มแข็งให้กับ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครองดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ที่ถูกกองทัพมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ยึดครองไป กลับคืน จึงรับสั่งให้ ขุนอินทร์จักร บุตรชายของ พระยายมราช(จุ้ย) ซึ่งรับผิดชอบโรงตีเหล็ก ที่เมืองไชยา เร่งรัดจัดหาแร่เหล็ก จากเขาหัวแมว และ จากบริเวณวัดถ้ำคูหา เมืองท่าขนอน และจากที่อื่นๆ มาหลอมเหล็ก ตีเหล็ก เพื่อสร้างปืนใหญ่ ปืนลูกซองตับ และ ปืนลูกซอง ให้เพียงพอต่อกองทัพที่สร้างขึ้น

       (๓) ให้สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ จัดซื้ออาวุธปืนที่ทันสมัยจากฝรั่งชาติตะวันตก มาใช้ในกองทัพที่จะสร้างขึ้นใหม่ ให้ไปเร่งรัดขุดหาแร่ดีบุก ตามดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันตก ขายให้กับพ่อค้าจีน พ่อค้าฝรั่ง เพื่อนำมาเป็นทุน ซื้ออาวุธปืนทันสมัย โดยมอบให้ เจ้าพระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามภักดี(พิมล) คุณหญิงมุก และ คุณหญิงจัน เจ้าเมืองถลาง นำเงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุก สั่งซื้ออาวุธจาก พระยากะปิกะตัน ชาวอังกฤษ ที่เกาะปีนัง มามอบให้กับ เมืองไชยา เพื่อสร้างกองทัพที่มีอาวุธปืนทันสมัย

       (๔) ให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์(บุญรอด) และ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ร่วมกันบริหารงาน อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ในระยะแรกๆ ไม่ให้หนักเกินไป จึงให้รับผิดชอบ ดูแลเมืองเพชรบุรี ลงมาถึงเมืองท่าทอง และเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ส่วนเมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา และ เมืองปัตตานี ทางกรุงธนบุรี จะรับผิดชอบดูแลไปก่อน จนกว่าการรื้อฟื้น พระราชวังศรีเวียงชัย สำเร็จเรียบร้อย อาณาจักรสยาม กรุงไชยา จะต้องรับผิดชอบ ดูแลดินแดนทางใต้ ทั้งหมด

       (๕) เมื่อสร้างพระราชวังศรีเวียงชัย สำเร็จแล้ว เมื่อทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นกษัตริย์ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา แล้ว ให้เปลี่ยนชื่อ กรุงไชยา เป็น อาณาจักรสยาม กรุงไชยา เพื่อรักษาลักษณะประวัติศาสตร์ ก่อนที่ประชาชนจะหลงลืมไปหมด

       ผลจากการรับสั่งของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำให้ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ต้องนำไพร่พลไปจัดหาไม้ตะเคียนทอง มาตอกเสาเข็ม กำแพงเมืองพระราชวังศรีเวียงชัย และ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์(บุญรอด) ต้องเสด็จไปยังฝั่งทะเลตะวันตก เร่งรัดให้ พระยาจินดาพล และ เจ้าพระยาพิมล(พระยาถลาง) ดำเนินการตามรับสั่งของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้จัดซื้ออาวุธปืนไรเฟิล จากฝรั่งชาติตะวันตก เป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาสร้างกองทัพ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ต่อไป

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เปลื้องเครื่องทรง กรมขุนอินทรพิทักษ์ พ.ศ.๒๓๒๓

กรมขุนอินทร์พิทักษ์ เคยไปปกครองเมืองลพบุรี หลังจาก พระยาละโว้ พระภัสดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล ผู้ปกครองเมืองลพบุรี สิ้นพระชนม์ในสงครามที่ต่อสู้กับกองทัพพม่า ผลการปกครองเมืองลพบุรี ของ กรมขุนอินทร์พิทักษ์ ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวลพบุรี อย่างมาก จนกระทั่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต้องเรียก กรมขุนอินทร์พิทักษ์ กลับกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยหวังที่จะให้กรมขุนอินทร์พิทักษ์ สืบทอดราชสมบัติต่อจากพระองค์ แต่ต้องเปลี่ยนใจให้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ราชบุตรเขย เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติในอนาคต แทนที่ เพราะทั้งคุณธรรม และ ความสามารถ ไม่เหมาะสม จึงเตรียมจะให้ไปปกครอง อาณาจักรคามลังกา กรุงพระตะบอง ในอนาคต

ที่กรุงธนบุรี กรมขุนอินทร์พิทักษ์ ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพระราชวังหลวงเป็นอย่างมาก นำเอาสาวสนมกรมวัง มาเป็นภรรยา พร้อมกับเลี้ยงนักเลงไว้คุกคามขุนนาง และประชาชน ส่งบริวารเข้ายึดที่ดินของประชาชนกรุงธนบุรี มาเป็นของตนเอง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว ต่อมากรมขุนอินทรพิทักษ์ ถูก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สอบสวน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๓ พบเป็นความจริง จึงถูกถอดยศ และ เปลื้องเครื่องทรง เนื่องจากมีความประพฤติไม่เหมาะสม สร้างความเดือดร้อนให้กับขุนนางใน พระราชวังหลวงมาก และประชาชน ชาวกรุงธนบุรี มาก

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้จับกุม พระยายมราช(จุ้ย) เข้าจองจำ เพราะเป็นพรรคพวกของ กรมขุนอินทรพิทักษ์ คอยปกป้องความผิดให้กับ กรมขุนอินทร์พิทักษ์ อีกทั้ง พระยายมราช(จุ้ย) ไม่เห็นด้วย และทำการขัดขวางที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แต่งตั้งให้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) เป็น มหาอุปราช และจะมอบราชสมบัติให้ปกครอง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ในอนาคต

 สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนความผิดของ พระยายมราช(จุ้ย) พบความผิดของ พระยายมราช(จุ้ย) และ กรมขุนอินทร์พิทักษ์ อีกจำนวนมาก จึงรับสั่งให้ปลดออกราชการ โปรดเกล้าแต่งตั้ง พระยาราชบังสัน(หวัง) เป็นพระยายมราช(หวัง) แทนที่ ให้มารับราชการที่กรุงธนบุรี และโปรดเกล้าให้บุตรชาย ของ พระยายมราช(จุ้ย) เป็นพระยาราชบังสัน ปกครองเมืองชลบุรี แทนที่

 

สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก ถูกคุมขัง แค้นเคืองใจ สาเหตุการก่อการรัฐประหาร พ.ศ.๒๓๒๓

       หลังจากสงครามยึดครองราชอาณาจักรลาว กลับคืนจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศพม่า สำเร็จเรียบร้อยนั้น สงครามครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก กระทำการมิบังควร แก่ราชอาณาจักรลาว ที่เป็นชนชาติอ้ายไตด้วยกัน ที่ต้องให้เคารพต่อกันที่สืบทอดมาแต่สมัยโบราณ คือการที่ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก นำเอาเจ้าหญิงราชอาณาจักรลาว ๓ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าหญิงภิมสอน เจ้าฟ้าหญิงคุณเสือ และ เจ้าฟ้าหญิงคุณแว่น มาเป็นพระสนม โดยมิได้มีการถวายตัว เป็นการไม่เคารพต่อราชพระเพณี ที่เคยสืบทอดต่อกันมา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สอบสวนแล้ว ได้ขอขมาลาโทษต่อ เจ้าสิริบุญสาร กษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรลาว อีกทั้ง สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ได้ทำการกวาดต้อนเชลยศึกชาวไตลาว มาที่กรุงธนบุรี อย่างทารุณโหดร้าย ทำให้ชาวลาว เสียชีวิตไปสองในสาม คงรอดชีวิตกลับมาที่กรุงธนบุรี ประมาณ ๓,๐๐๐ คน เท่านั้น

หลังจากที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ขอขมาลาโทษต่อ เจ้าสิริบุญสาร เรียบร้อยแล้ว ก็ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้าศิริบุญสาร กลับไปครองราชย์สมบัติ เป็น มหาอุปราช แห่ง ราชอาณาจักรลาว กรุงเวียงจันทร์ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๓๒๓ ในฐานะ ราชอาณาจักรในเครือ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งให้สอบสวน สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ที่กระทำผิดต่อราชอาณาจักรลาว สอบสวนแล้วพบว่ามีความผิดจริง จึงต้องโทษ เหตุเพราะไปละเมิดธิดา ของ เจ้าสิริบุญสาร ๓ พระองค์ คือ เจ้าหญิงภิมสอน เจ้าคุณเสือ และ เจ้าจอมแว่น ซึ่งเป็นราชธิดา ของ เจ้าสิริบุญสาร และการทรมาน เชลยศึกลาว รับสั่งให้โบยตีให้หลาบจำ และนำไปจำคุกไว้

       สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เล่าให้ลูกหลานทราบ สืบทอดต่อๆ มาว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ถูกจำขังอยู่ประมาณ ๑ ปี พระนางได้ไปขอเยี่ยมเยียน สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และ พระยายมราช(จุ้ย) เป็นประจำ จึงได้กราบทูลต่อ พระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สรุปว่า ทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และ พระยายมราช(จุ้ย) ได้สำนึกผิดแล้ว ขอให้ปล่อยตัวจากที่คุมขังได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งว่า กำลังจะปล่อย สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ออกจากที่จำขัง แต่ พระยายมราช(จุ้ย) นั้น ต้องย้ายกรมขุนอินทร์พิทักษ์ ให้ไปรับราชการที่อื่น ก่อน จึงจะปล่อยตัวได้

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ปล่อย สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ออกจากที่คุมขัง นำมาเข้าเฝ้าพร้อมกับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา รับสั่งว่าต่อไปในการทำศึกสงคราม ต่ออาณาจักรต่างๆ ที่เป็นชนชาติอ้ายไตด้วยกัน ต้องปฏิบัติอย่างฉันพี่น้อง มิให้ปฏิบัติอย่างข้าศึก ต้องสู่ขอ เชื้อพระวงศ์ จากกษัตริย์ ให้มีการถวายตัวให้ก่อน จึงจะนำมาเป็นสนม ได้ และการปฏิบัติต่อประชาชน ชนชาติลาว นั้น มิใช่ใครอื่น เป็นชนชาติไต ด้วยกัน ต้องปฏิบัติฉันพี่น้อง

       หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลวงสรวิชิต (หน) นายด่านเมืองอุทัยธานี ผู้เป็นพ่อตา ซึ่งได้มอบธิดาคนหนึ่งให้เป็นภรรยา ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ได้เข้าพบบ่อยครั้ง ยุยุงให้เกลียดชัง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และเสนอแผนให้ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๓๒๓ เป็นต้นมา

ปลายปี พ.ศ.๒๓๒๓ พระยาวิชิตณรงค์ (หน) อดีตนายด่านเมืองอุทัยธานี ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาวิชิตณรงค์(หน) มารับราชการที่กรุงธนบุรี ได้ยุยงให้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ขอแบ่งทรัพย์สินในท้องพระคลังหลวงทั้งหมด เพื่อการสืบทอดราชสมบัติ จึงสร้างความขัดแย้งระหว่าง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กับ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก แต่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขอต่อรองให้นำทรัพย์สิน ครึ่งหนึ่งในท้องพระคลังหลวง ให้กับ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา และ แบ่งให้กับ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ครึ่งหนึ่ง และต้องนำไปแบ่งให้กับเมืองต่างๆ เพื่อนำไปสร้างความมั่นคงให้กับ เมืองต่างๆ ให้เข้มแข็ง ยิ่งขึ้นด้วย

 

พระเจ้าตากสิน มอบให้ พระยายมราช(หวัง) ไปร่วมก่อสร้างกำแพงเมืองไชยา พ.ศ.๒๓๒๔

       พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม มีหนังสือมาแจ้งให้ทราบว่า งานก่อสร้างฟื้นฟู พระราชวังศรีเวียงชัย ได้ดำเนินการเสริมเสาเข็ม เสร็จเรียบร้อยแล้ว คงเหลือการผลิตอิฐโบราณ เพื่อนำมาสร้างกำแพงเมือง แต่อิฐที่ผลิตขึ้นมาได้ ไม่เข็งแรงเหมือนกับอิฐดั้งเดิม สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้ พระยายมราช(หวัง) ซึ่งเคยเป็น พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยณรงค์(หวัง) เคยปกครองเมืองไชยามาก่อน มาสอบถามถึงวิธีการผลิตอิฐดินเผา ให้เข็งแรง มีวิธีการผลิต อย่างไร พระยายมราช(หวัง) กราบทูลว่า อิฐโบราณที่เมืองไชยา ต้องนำดินเหนียว มาผสมกับ ดินขาวที่เขาพนมแบก แล้วนำมาตำผสมกันในครกให้เข้ากัน จึงนำไปเผาที่ความร้อนสูง จึงจะได้อิฐที่เข็งแรง

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงรับสั่งให้ พระยายมราช(หวัง) เดินทางไปช่วยสร้างอิฐ เพื่อฟื้นฟู พระราชวังศรีเวียงชัย ที่เมืองไชยา เป็นที่มาให้ พระยายมราช(หวัง) ต้องเดินทางกลับไปที่เมืองไชยา ได้มาพบกับท่านาค ภรรยา คนแรก ที่เมืองไชยา อีกครั้งหนึ่ง

       พระยายมราช(หวัง) ไม่สามารถสร้างอิฐ ได้อย่างรวดเร็วเพราะ ขาดดินขาว มีแหล่งดินขาวอยู่สามแหล่งใหญ่ ที่เมืองไชยา คือที่ บ้านเขาพนมแบก บ้านร้อยเรือน และ บ้านละแม ล้วนอยู่ใต้ดินลึก การสร้างอิฐจึงเป็นไปอย่างล่าช้า ต่อมา ไพร่พล ของ ขุนอินทร์จักร ช่วยสร้างเตาเผาอิฐ สำเร็จไม่นาน ก็เกิดการรัฐประหารที่ กรุงธนบุรี

 

พระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าให้ พระยายมราช(จุ้ย) เป็น พระยาจักรี(จุ้ย) พ.ศ.๒๓๒๔

       สืบเนื่องจาก สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ถูกจำขังอยู่ประมาณ ๑ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ได้ไปขอเยี่ยมเยียน สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และ พระยายมราช(จุ้ย) เป็นประจำ จึงได้กราบทูลต่อ พระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ว่า ทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และ พระยายมราช(จุ้ย) ได้สำนึกผิดแล้ว ขอให้ปล่อยตัวจากที่คุมขังได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งว่า กำลังจะปล่อย สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ออกจากที่จำขัง แต่ พระยายมราช(จุ้ย) นั้น ต้องย้ายกรมขุนอินทร์พิทักษ์ ให้ไปรับราชการที่อื่น ก่อน จึงจะปล่อยตัวได้

       เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพไปราบกบฏ ที่เขมร นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้รับสั่งให้ นำกรมขุนอินทร์พิทักษ์ ไปเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา กรุงพระตะบอง จึงได้ปล่อยตัว พระยายมราช(จุ้ย) ออกจากเรือนจำ แล้วรับสั่งให้นำเข้าเฝ้า กล่าวถึงความดีความชอบที่เคยทำสงครามรักษาดินแดน ไว้มากมาย แต่ได้ทำความผิดที่ไปสนับสนุนกรมขุนอินทร์พิทักษ์ ให้เป็นกษัตริย์ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ แทนที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก โดยไม่สนใจ ความสามารถที่จะรักษาชาติสยามไว้ได้ และเป็นผู้ยุยงให้ กรมขุนอินทรพิทักษ์ เสียผู้เสียคน อีกด้วย

       ปลายปี พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดเกล้าให้ พระยายมราช(จุ้ย) เป็น พระยาจักรี(จุ้ย) และให้เตรียมไปรับราชการที่ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา เพื่อทำสงครามยึดครองดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ ที่ถูกชนชาติ มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ยึดครองไป กลับคืนมาดังเดิม และให้ไปพักผ่อน พบลูกเมีย ก่อนกลับเข้ามารับราชการใหม่ ดังเดิม 

 

ความขัดแย้งกับ ประเทศเวียตนาม พ.ศ.๒๓๒๔

เริ่มของเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๓ เจ้าฟ้าทะละหะ เป็นกบฏ ให้ขุนนางกบฏ จับพระรามราชา(นักองค์ราม) กษัตริย์เขมร ไปฆ่าเสีย หลังจากนั้น เจ้าฟ้าทะละหะ ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร และหันไปฝักใฝ่ญวน แทนที่ ในปีนั้น สำเภาหลวง ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เดินทางกลับจากกวางตุ้ง ผ่านมาทางเมืองห่าเตียน(ออกแก้ว) ถูกกองเรือของญวน ปล้นสะดม สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงสั่งจับตัวทูตญวน ไว้เป็นตัวประกัน แล้วโปรดให้ม่อเทียนซื่อ ส่งคนของตนไปฟังคำอธิบายชี้แจงจากญวน ทางราชวงศ์เหงียน ถ่วงเวลาถึง ๕ เดือน ยังไม่ชี้แจง ต่อมากบฏไตเซิน ของเวียตนาม ได้ปลอมพระราชสาสน์ ของ กษัตริย์ญวน เพื่อส่งมาให้กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เพื่อต้องการให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำสงครามกับ ราชวงศ์เหงียน ของญวน

ในปี พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เกรงว่ากองทัพเวียตนาม จะเข้าตีกรุงธนบุรี จึงรับสั่งให้สอบสวนขุนนางญวน และสายสกุล ของ ม่อเทียนซื่อ ทั้งหมด รับสั่งให้ฆ่าขุนนางญวน ทั้งหมด ๕๓ คน ส่วนม่อเทียนซื่อ สั่งให้ฆ่าตัวตาย แล้วโปรดให้อพยพชาวญวน ออกไปจาก มหาอาณาจักรเสียม-หลอ ให้ไปอยู่อาศัยที่ชายอาณาเขต

เจ้าฟ้าทะละหะ ในเขมร เริ่มเป็นกบฏ ต่อ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ให้ขุนนางกบฏ จับขุนนางฝ่ายพระรามราชา(นักองค์ราม) กษัตริย์เขมร ไปฆ่าเสียมากมาย หลังจากนั้น เจ้าฟ้าทะละหะ ที่หันไปฝักใฝ่ญวน ก็เริ่มแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มเกิดจลาจล ในเขมร

เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จัดให้ประชาชนฉลองวันชาติสยาม ในช่วงวันสงกรานต์ มีการจัดงานรื่นเริงตามวัดต่างๆ ทั่วกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เล่าเรื่องให้ลูกหลานเล่าสืบต่อกันมาว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เรียก พระยาวิชิตณรงค์(หน) ในฐานะพ่อตา มาร่ำสุรา ที่บ้านพัก การร่ำสุราครั้งนั้น พระยาวิชิตณรงค์(หน) เสนอแผนการยึดอำนาจตามนิยายเรื่องสามก๊ก ของจีน แต่สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก มิได้สนใจ ชักชวนให้ไปพูดกันเรื่องอื่นๆ ที่เป็นกุลยุทธ์ในการทำสงครามตามนิยายเรื่อง สามก๊ก แทนที่

ต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้เรียกสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์เข้าเฝ้า เพื่อหารือเรื่องจัดการกับประเทศเขมร รับสั่งให้จัดกองทัพเข้าทำสงครามปราบจลาจลในประเทศเขมร ขณะนั้นราชธานีของเขมร อยู่ที่ เมืองบันทายเพชร โดยให้วางแผนจัดกำลังพลมาเสนอ

       เมื่อพระยาวิชิตณรงค์(หน) ทราบข่าวว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก จะต้องยกกองทัพไปปราบเขมร ก็เดินทางมาพบสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก บ่อยครั้งขึ้น เป็นที่มาของแผนการทำรัฐประหาร ในเวลาต่อมา

 

                                          ..................................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Visitors: 54,275