รัชกาลที่ ๕๑ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช กรุงสุโขทัย ปี พ.ศ.๑๘๒๘-๑๘๔๒

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๑ 

มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช 

กรุงสุโขทัย ปี พ.ศ.๑๘๒๘-๑๘๔๒

 

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสมคราม-ลือ เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อขุนรามราช กรุงสุโขทัย ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช ว่าราชการที่ กรุงสุโขทัย โดยมี นายกพระยาเสือสงคราม เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม ว่าราชการที่ กรุงครหิต(คันธุลี) และมี พระยาเลอไทย เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสุโขทัย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงละโว้ เป็นรัชกาลที่ ๕๑

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ทำการก่อสร้างเจดีย์ กลางเมืองศรีสัชชนาลัย โดยใช้เวลา ๖ ปี จึงก่อสร้างแล้วเสร็จ

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๓๐)

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ กองทัพของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) สามารถทำสงครามขับไล่กองทัพของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ออกจากราชธานี กรุงฮานอย ของ อาณาจักรไตเวียต เป็นผลสำเร็จ พระราชโอรส ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ชื่อ เจ้าชายโตคน ถูกจับกุม และถูกตัดศีรษะ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน พ่ายแพ้สงคราม อย่างยับเยิน ทหารส่วนที่เหลือ ต้องถอนทัพกลับไป

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง พยายามที่จะกดดันให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรกำพูชา(เขมร) และ อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) ยินยอมให้ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน เดินทัพเข้าทำสงครามโจมตี สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ เป็นเหตุให้ มหาราชาพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕(พระเจ้าหริเทพ) แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย และ อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) ได้ส่งคณะราชทูต ไปพบกับ ฮ่องเต้กุบไลข่าน เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๑๘๒๘ มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ทำสงครามรุกราน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) หลังจากที่ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕(พระเจ้าหริเทพ) แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ไม่ยอมให้ กองทัพมองโกล ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งควบคุมกองทัพโดย ขุนพลโชตาตู เดินทัพผ่าน จากเมืองกวางตรี ไปยัง เมืองสุวรรณเขต เพื่อทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ผลของสงคราม พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕(พระเจ้าหริเทพ) ซึ่งทรงชรา มากแล้ว ได้เสด็จหลบหนีไปอยู่ในเขตภูเขา ส่วนประชาชนชาวจามปา ปฏิเสธไม่ยอมให้ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน เดินทัพผ่าน เกิดสงครามกองโจรต่อต้าน กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน อย่างยืดเยื้อ เป็นเหตุให้ กองทัพ ขุนพลโชตาตู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ไม่สามารถส่งกองทัพผ่านดินแดนของ อาณาจักรจาปา เพื่อทำสงครามเข้ายึดครอง ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓ และ ๒๐๒)

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕(พระเจ้าหริเทพ) แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต ด้วยโรคชรา พระราชโอรส มีพระนามว่า เจ้าชายหริชิต หรือ เจ้าชายแจมาน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า พระเจ้าชัยสิงหวรมันที่ ๓ เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่ง คณะราชทูตลับ มาติดต่อกับ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช เพื่อกดดันให้คืน อาณาจักรละโว้ กลับคืนให้กับ มหาราชาพระยาอาทิตย์ เพื่อทำการแยกสลาย สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ให้อ่อนแอลง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช ทำการประดิษฐ์อักษรไทย ขึ้นมาใช้ มีศิลาจารึก จารึกว่า...

...เมื่อก่อน ลายสือไทย นี้ บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม (พ.ศ.๑๘๒๘) พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจ ในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้น ใส่ไว้ พ่อขุนพระรามคำแหง นั้น หาเป็นท้าว เป็นพระยา แก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์ สั่งสอนไทยทั้งหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทย ด้วย รู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้ว ด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ อาจปราบฝูงข้าศึก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเมือง...

ปี พ.ศ.๑๘๓๐ พระเจ้ามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงราย ได้นัดพบกับ พ่อขุนงำเมือง แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงพะเยา และ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เพื่อนัดหมายพบประชุมร่วมกัน ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แห่งหนึ่ง ได้กระทำสัตย์สาบาน เป็นมิตรกัน แล้วต่างฝ่ายต่างแยกย้ายกลับบ้านเมือง ของ ตนเอง

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๗)

ปี พ.ศ.๑๘๓๐ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย โปรดให้ขุดพระบรมธาตุ ของ พระพุทธเจ้า มาทำการสักการะ บูชา มีจารึกว่า...

 ...ศกศักราช ๑๒๐๗(พ.ศ.๑๘๓๐) ปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุ ออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอ แก่ พระธาตุได้ เดือน ๖ วัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชชนาลัย ก่อพระเจดีย์ เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว...

(กรมศิลปากร จารึกสมัยสุโขทัย พ.ศ.๒๕๒๖ หน้าที่ ๔-๒๐)

ปี พ.ศ.๑๘๓๐ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งกองทัพเข้ารุกราน อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม(พม่า) ผลของสงคราม กองทัพของ พระเจ้านรสีหบดี(พ.ศ.๑๗๙๙-๑๘๓๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม(พม่า) ถูกกองทัพของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตีแตกยับเยิน กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน สามารถทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองพุกาม อันเป็นราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู(พม่า) กรุงพุกาม เป็นผลสำเร็จ มาโคโปโล ได้เขียนบันทึกเรื่องสงครามระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ อาณาจักรศรีชาติตาลู ในสงครามต้าผิง หรือ สงคราม ณ สมรภูมิงาซองจาน มีบันทึกตอนหนึ่งว่า...

...สมรภูมิการรบ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ระหว่างกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน กรุงพุกาม กับ อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) กรุงพุกาม คือการรบ ณ สมรภูมิงาซองจาน มหาอาณาจักรจีน เรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามต้าผิง โดยที่ กองทัพ ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) ได้ส่งกองทัพช้าง และ กองทัพม้า หลายพันตัว เข้าต่อสู้กับ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ทหารจีน ซึ่งไม่เคยชินกับการสู้รบ กับ กองทัพช้าง มาก่อน ต้องล่าถอยไปอยู่บนภูเขา และต่อมา ทหารจีน ได้ล่อข้าศึกเข้าไปในเขตป่า ใช้ธนู โจมตีช้างข้าศึก บาดเจ็บ ทำให้ช้างศึกอาละวาด จนไม่สามารถควบคุมได้ กองทัพพม่า จึงต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ต้องถอยทัพกลับไป...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๕)

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๕)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ..๑๘๓๐ พระเจ้านรสีหบดี(พ.ศ.๑๗๙๙-๑๘๓๐) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม พ่ายแพ้สงคราม จึงได้เสด็จหนีไปยังภาคใต้ ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู และมอบให้ พระเจ้ากะยอชวา(พ.ศ.๑๘๓๐-๑๘๓๒) พระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา และนำกองทัพพม่า ต่อสู้กับ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ต่อไป

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๑๑)

ปี พ.ศ.๑๘๓๐ มหาราชานรสีหบดี(พ.ศ.๑๗๙๗-๑๘๓๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) กรุงพุกาม ต้องหลบหนีไปทางภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๐ แม่ทัพของ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ทำการต่อสู้อยู่กับ กองทัพ ของ แม่ทัพนัสเซอร์ อุดดิน อยู่เป็นเวลา ๒ ปี

ปี พ.ศ.๑๘๓๐ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ทำสัญญากับ พระยามังราย แห่ง อาณาจักรพิง กรุงฝาง และ พระยางำเมือง แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงพะเยา ให้ร่วมกันป้องกันภัยจากการรุกราน ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) ราชวงศ์มองโกล แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๖๕)

ปี พ.ศ.๑๘๓๐-๑๘๓๑ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งราชทูตชาวเนสเตอร์ ชื่อ ราบบาน เลามา เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปยัง กรุงโรม อาณาจักรโรมัน ได้เข้าเฝ้า กษัตริย์อังกฤษ แห่ง ประเทศอังกฤษ ณ เมืองกาสโกนี และเข้าเฝ้า พระเจ้าฟิลิป แห่ง ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส ด้วย

    (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๔)

ปี พ.ศ.๑๘๓๐ แม่ทัพกองทัพช้าง ราชวงศ์มอญ ชื่อ มะกะโท ซึ่งได้อภิเษกสมรส กับ พระราชธิดา ของ พ่อขุนรามราช ได้ประกาศเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท) ประกาศตั้ง อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ เป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ

 (หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๗)

ปี พ.ศ.๑๘๓๑ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ส่งช้าง ๔ เชือก ไปถวายให้กับ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ต่อมา ช้าง ๔ เชือกนั้น ฮ่องเต้กุบไลข่าน นำไปขี่ ในคราวทำสงครามกับ พวกเนสเตอร์นายวน ในดินแดน ของ แมนจูเรียใต้ ช้างบางตัว ได้เสียชีวิต ลงด้วย

 (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๔)

ปี พ.ศ.๑๘๓๒ มหาราชาพระยาอาทิตย์ แห่ง อาณาจักรละโว้ (หลอหู่) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ขณะนั้น มหาอาณาจักรจีน เรียกชื่อ อาณาจักรละโว้ ว่า หลอหู่ก๊ก (ละโว้) โดยที่ คณะราชทูต ของ อาณาจักรละโว้ (หลอ-หู) ได้มีพระราชสาส์นแจ้งแก่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ว่า หลอ-หู ก๊ก ได้ถูก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน จึงขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน ด้วย มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๓๒ มี มหาราชา แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ (หลอหู่) ได้ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมกับได้มีพระราชสาส์นแจ้งแก่ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ว่า อาณาจักรละโว้(หลอ-หู) ได้ถูก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน จึงขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๒๖)

ปี พ.ศ.๑๘๓๒ กองทัพจากแปดหน้าฟ้าเมืองไทย ของ อาณาจักรโกสมพี ช่วยยกกองทัพเข้ายึดครอง กรุงพุกาม ด้วย กองทัพของ แม่ทัพนัสเซอร์ อุดดิน สามารถจับกุม ขุนจ่อจั่ว หรือ พระเจ้ากะยอชวา(พ.ศ.๑๘๓๐-๑๘๓๒) พระราชโอรส ของ พระเจ้านรสีหบดี ไปถวายแด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ด้วย อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม จึงตกเป็นเมืองขึ้น ของ มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๒ เป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ.๑๘๙๐ จึงลุกขึ้นต่อสู้ประกาศเอกราช อีกครั้งหนึ่ง

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๗)

ปี พ.ศ.๑๘๓๔ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ทำการก่อสร้างเจดีย์ กลางเมืองศรีสัชชนาลัย กรุงสุโขทัย สำเร็จเรียบร้อย

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๓๐)

ปี พ.ศ.๑๘๓๔ จักรพรรดิพ่อพระยาอาทิตย์ แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้ (หลอ-หู) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน และได้มีพระราชสาส์นแจ้งแก่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ว่า ถูก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน อีก มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๓๔ มี จักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ (หลอหู่) ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมกับได้มีพระราชสาส์นแจ้งแก่ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ว่า มหาอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ (หลอ-หู) ได้ถูก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน จึงขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๒๖)

ปี พ.ศ.๑๘๓๔ มหาราชาพระเจ้ากฤตนคร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากรธนากร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ทำการก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๘๓๔ จักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม กรุงครหิต(คันธุลี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา สามารถส่งกองทัพเข้าปิดล้อม ราชธานี กรุงสิงห่าสาหรี ของ อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา เป็นเวลา ๑ ปี

ปี พ.ศ.๑๘๓๔ จักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม แห่ง กรุงครหิต(คันธุลี) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ มหาอุปราช พระเจ้าเกอร์ตานาการ่า เป็น มหาราชา ปกรอง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ในรัชกาลถัดมา เป็น อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ดังเดิม  

ปี พ.ศ.๑๘๓๔ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย มีอิทธิพลเหนือ ช่องแคบมะละกา เริ่มเก็บภาษี เรือสำเภาพ่อค่าจีน ต่อไป เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ไม่พอใจ เตรียมส่งกองทัพเข้าทำสงครามรุกราน เพื่อเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมะละกา อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา พ่ายแพ้สงคราม พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) แห่ง อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา สามารถหลบหนีไปยัง ภาคตะวันออกของเกาะชวา ผลของสงครามครั้งนั้น อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ตกอยู่ในอำนาจของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เป็นต้นมา เชื้อสายราชวงศ์ส่วนหนึ่ง อพยพไปตั้งรกรากในดินแดนเกาะชวาตะวันออก ณ เมืองตาม้าเปล และตั้ง อาณาจักรตาม้าเปล ขึ้นปกครอง

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูต มีพระราชสาส์นให้ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย สั่งให้ถอนกองทัพ ออกจาก อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา ทันที เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม กรุงครหิต(คันธุลี) ต้องถอนกองทัพ ออกจาก เกาะชวา มารักษาดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับ กองทัพ ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต ชื่อ เม่งจิ มาติดต่อกับ พระเจ้าศรีลักษกิริณะ ซึ่งมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายสังลศิวบุตร และ เจ้าชายระเด่น วิชัย เพื่อให้ อาณาจักรตาม้าเปล เกาะชวา ตะวันออก เป็นเมืองขึ้น ของ มหาอาณาจักรจีน แต่ มหาราชา แห่ง อาณาจักรตาม้าเปล ไม่ยอมอ่อนน้อม ซ้ำยังสักหน้าราชทูตจีน ส่งกลับไปด้วย เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ทรงกริ้ว มาก

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๗-๒๘)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ พระเจ้ากฤตนคร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรตาม้าเปล จนกระทั่ง พระเจ้าศรีลักษกิริณะ และ พระราชโอรส คือ เจ้าชายสังลศิวบุตร สวรรคตในสงคราม ส่วน เจ้าชาย ระเด่นวิชัย นำไพร่พลหลบหนีไปอยู่ที่ เมืองมัชฌปาหิ ในขณะที่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามกับ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวาตะวันตก ซึ่งอยู่ในความครอบครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ โดยแต่งตั้งให้ พระเจ้ากะลังตี เป็นผู้ปกครอง อาณาจักรเกเดรี

 (อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๗-๒๘)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ พระเจ้าชัยสิงหวรมันที่ ๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ยืนหยัดอย่างมั่นคง ปฏิเสธข้อเสนอ ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน มิให้กองทัพเรือ ของ มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพเรือ ส่งกองทัพผ่านดินแดนของ อาณาจักรจามปา เพื่อส่งกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน เข้าโจมตี ราชธานีกรุงสุโขทัย ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตัดสินพระทัย ส่งกองทัพเรือ มุ่งหน้าเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ในความครอบครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เพื่อมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมะละกา แคว้นมาลายู ทันที เพราะทราบข่าวว่า อาณาจักรเกเดรี มีสงครามอยู่กับ อาณาจักรตาม้าเปล ด้วย

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ ระเด่น วิชัย พระราชโอรส ของ พระเจ้ากฤตนคร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) แห่ง อาณาจักรตาม้าเปล ที่หลบหนีมาซ่อนตัวอยู่ที่ เมืองมัชฌปาหิ ได้ส่งคณะราชทูต ๑๕ คน ไปคอยต้อนรับ กองทัพของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ขออ่อนน้อมต่อ มหาอาณาจักรจีน และ ขอความคุ้มครองจาก กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๘)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ยกกองทัพเรือใหญ่ ผ่านเกาะบอร์เนียว เข้ายึดครอง อาณาจักรเกดีรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ขุนนางเดิมจึงร่วมกันจับกุม พระเจ้ากฤตนคร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) มหาราชา แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี ถูกปลงพระชนม์ เมื่อกองทัพของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน เข้ายึดครอง กรุงสิงห่าส่าหรี ราชธานี ของ อาณาจักรเกดารี เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้กุบไลข่าน จึงได้ส่งข้าหลวงจีน เข้าปกครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ทันที พระเจ้ากะลังตี และ ราชวงศ์ประมาณ ๑๐๐ คน ถูกจับเป็นเชลยศึก นำกลับไปกรุงปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๖

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๘)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ กองทัพเรือ ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เกาะสุมาตรา ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ สวรรคต ในสงคราม หลังจากนั้น ฮ่องเต้กุบไลข่าน ได้ส่ง ข้าหลวงจีน และ ขุนนางจีน เข้าปกครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เกาะสุมาตรา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เป็นต้นมา หลังจากนั้น ฮ่องเต้กุบไลข่าน ได้ทำการอพยพ ชาวจีน เข้ามาร่วมปกครอง และตั้งรกรากในดินแดน ของ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง เกาะสุมาตรา เป็นจำนวนมาก อีกด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ กองทัพของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เกาะตาม้าซิก(สิงค์โป) และ แคว้นแมนจูเจ้ากัว(มะละกา-แคว้นมาลายู) ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย พร้อมกับส่ง ข้าหลวง เข้าปกครอง เพื่อเข้าไปมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมะละกา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เป็นต้นมา มาโคโปโล บันทึกว่า...

...ในระหว่างที่เกิดสงคราม ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา นั้น เจ้าหญิง ๒ พระองค์ จาก แคว้นมาลายู ได้ช่วยยกกองทัพไปช่วย อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา รับศึกกับ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย เนื่องจาก เจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง ของ แคว้นมาลายู เป็นพระชายา ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเกเดรี และเป็นพระราชมารดา ของ ราชา ตนกู จานากา แห่ง แคว้นมาลายู ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง สามารถทำการควบคุม ช่องแคบมะละกา และ ช่องแคบซุนดา ตามแผนการที่กำหนด

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เจ้าชายมานะอาแจ๊ะ(พ.ศ.๑๘๓๕-๑๘๘๐) พระราชโอรส ของ มหาราชา พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ ได้ทำการรวบรวมไพร่พลจาก อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง เกาะสุมาตรา ไปสร้าง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ขึ้นใหม่ในดินแดน เกาะสุมาตรา ตะวันตก ทำให้ แว่นแคว้นต่างๆ ของ ชาวทมิฬอาแจ๊ะ ในหมู่เกาะสุมาตรา ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ มีศูนย์กลางอำนาจรัฐ ณ แคว้นอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ในดินแดน เกาะสุมาตรา และ ชนชาติกลิงค์ ในเกาะชวา ได้อพยพหนีภัยสงคราม การรุกราน ของ มหาอาณาจักรจีน เข้ามาตั้งรกรากในดินแดน แคว้นมาลายู และ แคว้นยี่หน(ยะโฮ) ปลายแหลมมาลายู ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เป็นจำนวนมาก

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ จักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม กรุงครหิต(คันธุลี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ทำการส่งกองทัพจรยุทธ์ เข้าทำสงครามกองโจร เพื่อขัดขวางการครอบครองดินแดนช่องแคบมะละกา และ การปกครอง ดินแดนเกาะชวา และ เกาะสุมาตรา ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ในดินแดน อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา อย่างยืดเยื้อ ขุนนางจีน ถูกฆ่าตาย เป็นจำนวนมาก

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง พยายามแก้ไขปัญหาสงครามกองโจร ของ จักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม ด้วยการสนับสนุนให้ เจ้าชายวิชัย พระราชโอรส ของ พระเจ้ากฤตนคร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕)ซึ่งได้อภิเษกสมรส กับ พระราชธิดา ของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นสายราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ ทำการปราบกองโจรต่างๆ ด้วยการสนับสนุนให้ เจ้าชายวิชัย สร้าง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ให้เป็นรัฐผู้ปกครองดินแดน เกาะชวา และ เกาะสุมาตรา ให้อยู่ในความคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน โดยใช้ หมู่บ้านมัชฌปาหิ เป็นฐานที่มั่น ในการทำสงครามปราบปรามพวกกองโจร เป็นที่มาของ การ กำเนิด อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา แทนที่ อาณาจักรเกดีรี กรุงสิงห่าส่าหรี ในดินแดนเกาะชวา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เป็นต้นมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๐)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ มหาราชาพระเจ้าวิชัย(พ.ศ.๑๘๓๕-๑๘๕๒) ให้กำเนิด อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า ปกครองโดย มหาราชาพระเจ้าวิชัย เป็นปฐมกษัตริย์ โดยมีราชธานี ณ กรุงจากาต้า เกาะชวา ภายใต้การสนับสนุน ของ มหาอาณาจักรจีน

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๑)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ จักรพรรดิพ่อพระยาเสือ กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เกาะตาม้าซิก(สิงค์โป) และ แคว้นแมนจูเจ้า(มะละกา) ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าปรเมศวร สามารถหลบหนีไปได้

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน พร้อมด้วยพระราชสาส์น อักษรทองคำ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น มหาอาณาจักรจีน เรียก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ในขณะนั้นว่า เสียม-หลอหู่ (เสียม-ละโว้) มีบันทึกว่า...

...รัชสมัยฮ่องเต้กุบไลข่าน ปี พ.ศ.๑๘๓๕ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช (กำมะแตงอินทราทิตย์) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ และถวายพระราชสาส์น ชี้แจงสิทธิ์ในความชอบธรรม ในการปกครอง อาณาจักรละโว้ และมิให้ มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เกาะตาม้าซิก และแคว้นมะละกา โดยยินยอมให้ เรือสำเภาของพ่อค้าจีน ผ่านช่องแคบมะละกา โดยไม่ต้องเสียภาษี...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๓๗ และ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ มาโคโปโล ได้เดินทางมาแวะที่เมืองท่า เปอร์ลัก ทางตอนเหนือของ เกาะสุมาตรา ของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ได้บันทึกว่า ได้พบเห็น พ่อค้าชาวอาหรับ จัดสอนลัทธิศาสนาอิสลาม ขึ้นที่ เมืองเปอร์ลัก เกาะสุมาตรา ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่)

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาคที่ ๒ หน้าที่ ๑๓๙)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ มาโคโปโล ชาวเมืองเวนิส เดินทางโดยทางบกมายัง มหาอาณาจักรจีน และเดินทางกลับโดยทางทะเล ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ทางทิศตะวันออก โดยหาความรู้ที่ได้จากประเทศจีน ได้เรียกชื่อประเทศไทยจากคำว่า เสียม ว่า สยาม เรียกเป็นภาษากรีกว่า Siam ต่อมา ชาวยุโรป ได้นำมาเรียกชื่อด้วย

(พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย หน้าที่ ๑๒๒)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕ พระยามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นหิรัญภุญชัย ซึ่งปกครองโดย พระยายี่บา เป็นผลสำเร็จ โดยมีเจ้าอ้ายฟ้า เป็นสายสืบให้กับ พระยามังราย เป็นผลสำเร็จ แล้วผนวก แคว้นหิรัญภุญชัย เข้ากับ อาณาจักรยวนโยนก พระเจ้ามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) ประทับอยู่ที่ เมืองหิรัญภุญชัย ๒ ปี แล้วแต่งตั้งให้ อ้ายฟ้า เป็นเจ้าเมือง แล้วเรียกชื่อ อาณาจักรพิง เป็นชื่อใหม่ว่า อาณาจักรลานนา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๖๕)

ปี พ.ศ.๑๘๓๕-๑๘๓๖ ชนพื้นเมืองในดินแดนสุวรรณภูมิ ลุกขึ้นทำสงครามกองโจร ขับไล่กองทัพ ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ออกจากดินแดนสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นทุกท้องที่

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๘๓๖ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีนโยบายแยกดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม ออกเป็น รัฐย่อยๆ และให้เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๘๑)

ปี พ.ศ.๑๘๓๖ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูต มาที่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เป็นครั้งที่สอง พร้อมกับร้องขอมิให้ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้ (หลอ-หู่) อีกต่อไป มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๓๖ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ มายัง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสุโขทัย พร้อมกับได้มีพระราชสาส์นแจ้งแก่ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช ว่า อาณาจักรหลอ-หู(ละโว้) ได้ถูก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน จึงขอให้ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสุโขทัย ยุติการรุกราน อาณาจักรละโว้(หลอหูก๊ก) ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๓๗ และ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๓๖ พระเจ้าวิชัย(พ.ศ.๑๘๓๕-๑๘๕๒) แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ร่วมกับกองทัพของ ข้าหลวงจีน สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองกะทะราม เกาะชวา ของ เจ้าชายชัยกัตวัง ซึ่งยอมแพ้เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๑๘๓๖

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๑)

ปี พ.ศ.๑๘๓๖ พระเจ้าวิชัย(พ.ศ.๑๘๓๕-๑๘๕๒) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา เริ่มทำสงครามขับไล่กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ออกจาก เมืองกะทะราม เกาะชวา ทำให้กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ต้องถอยทัพลงเรือ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๑๘๓๖ และเดินทางถึง มหาอาณาจักรจีน เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๑๘๓๖ หลังจากนั้น มหาราชาพระเจ้าวิชัย แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ ได้พยายามเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนของ อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา เพื่อเข้าควบคุมช่องแคบมะละกา และพยายามทำสงครามยึดครองดินแดน ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี และ อาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) มาถึง เมืองเพชรบุรี อีกครั้งหนึ่ง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๑)

ปี พ.ศ.๑๘๓๖ แม่ทัพไทยใหญ่ อาณาจักรโกสมพี มีชัยต่อกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ ภาคกลาง กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ต้องถอนทัพออกจากภาคกลาง ของ อาณาจักรโกสมพี และ แคว้นพุกาม พร้อมกับได้ทำศิลาจารึกไว้เป็นหลักฐาน

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๑)

ปี พ.ศ.๑๘๓๖ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

...รัชสมัยฮ่องเต้กุบไลข่าน ปี พ.ศ.๑๘๓๕ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช (กำมะแตงอินทราทิตย์) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๖)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ ชาวเปอร์เชีย ได้นำวิชาการเทคโนโลยี ต่างๆ จากดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เช่น การใช้ดินระเบิด การพิมพ์ธนบัตร การทำผ้าพิมพ์ จาก แม่พิมพ์ การพิมพ์หนังสือ การเล่นไพ่ เครื่องปั้นดินเผา การพิมพ์หนังสือ การวาดภาพ การจับชีพจรแบบจีน เข้าสู่ประเทศต่างๆ ของทวีปยุโรป ในดินแดน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

 (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงลามุรี เกาะสุมาตรา-ภาคกลาง ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๘๑๔-๑๘๓๗) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เสด็จ สวรรคต เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๘๓๗ พระเจ้าหลานเธอ มีพระนามว่า เฉิงจง ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้เฉิงจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง ราชวงศ์หงวน (มองโกล) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๒

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๒)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จสวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า ติมุ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น ฮ่องเต้ติมุ แห่ง ราชวงศ์หงวน(มองโกล) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลถัดมา

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๔)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ คณะราชทูตของ ฮ่องเต้เฉิงจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เดินทางมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เป็นครั้งที่ ๓ พร้อมกับมีพระราชสาส์น ทูลเชิญ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช หรือ ตัวแทนของพระองค์ เสด็จไปยัง มหาอาณาจักรจีน ด้วย มีบันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๖)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ ฮ่องเต้ติมุ หรือ ฮ่องเต้เฉิงจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็น ฮ่องเต้ พระองค์ใหม่ ได้ส่งคณะราชทูต มายัง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เรียกร้องให้ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช ส่งพระราชโอรส หรือ พระอนุชา หรือ ขุนนาง ชันผู้ใหญ่ ไปเป็นตัวจำนำ ณ กรุงปักกิ่ง ด้วย มีบันทึกว่า...

...วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๑๘๓๗ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน พระองค์ใหม่ มีพระบรมราชโองการ ว่า ฮ่องเต้ มีพระบรมราชโองการให้ กันมูติง(มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย มาเข้าเฝ้า ถ้ามีเหตุขัดข้อง ให้ส่งพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือ อำมาตย์ผู้ใหญ่ มาเป็นตัวจำนำ ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๓๓)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ไม่ยอมปฏิบัติตาม พระบรมราชโองการ ของ ฮ่องเต้ติมุ(เฉิงจง) แห่ง มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช ได้สร้าง พระแท่นมนังคศิลาบาตร พร้อมกับได้สร้าง ศิลาจารึก ไว้ที่ ปราสาท กรุงสุโขทัย มีข้อความว่า...

...พ่อกูชื่อ ขุนศรีอินทราทิตย์(มหาจักรพรรดิ พ่อพระยาร่วง) แม่กูชื่อ นางเสือง พี่กูชื่อ บานเมือง ตู มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๕ คน ผู้ชาย ๓ ผู้หญิง ๒ พี่เผือ ผู้อ้าย ตายจาก เผือเตียม ตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อกูเติบใหญ่ขึ้น มีอายุได้ ๑๙ ปี ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด มาที่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชน หัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกู หนียะย้าย พ่ายจะแจ๋น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกู พุ่งช้าง ขุนสามชุน ชื่อ มาสเมือง แพ้ ขุนสามชน พ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกูว่า พระรามคำแหง เมื่อกู พุ่งช้าง กับ ขุนสามชุน เมื่อชั่ว(รัชกาล) พ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่ แม่กู เมื่อกูได้ตัวเนื้อ ตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อย กินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้าง ได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปที่บ้านท่าเมือง ได้ช้าง ได้งวง ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงิน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู เมื่อพี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม

เมื่อชั่ว พ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัย นี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบ ในไพร่ ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ให้ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ให้ค้า ใครจักใคร่ค้าเงิน ค้าทอง ให้ค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้า ลูกขุน ผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือน พ่อเชื้อ เสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมีย เยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูก มันสิ้น ไพร่ฟ้า ลูกเจ้า ลูกขุน ผิดแล ผิดแผก แสกว้างกัน สวนดูแท้ จึ่งแล่งความแก่ขา ด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลัก มักผู้ซ่อน เห็นข้าว ท่านบ่ใคร่พีน เห็นสิน ท่านบ่ใคร่เดือ คนใด ขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่วยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้าง บ่มีม้า บ่อมีปั่ว บ่มีนาง บ่มีเงิน บ่อมีทอง ให้แกมัน ช่วยมันตวงเป็นบ้าน เป็นเมือง ได้ข้าเสือก ข้าเสือ หัวพุ่ง หัวรบ ก็ดี บ่ฆ่า บ่ตี ในปากประตู มีกะดิ่ง อันซึ่งแขวนไว้นั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อย มีความ เจ็บท้อง ข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้า ถึงขุน บ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่ง อันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองได้

ได้ยินเรียก เมื่อถาม สวนความแก่มัน ด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัย นี้ จึ่งชม สร้างป่าหมาก ป่าพลู ทั่วเมือง นี้ ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลาย ในเมืองนี้ ป่าลาง ก็หลาย ในเมืองนี้ ใครสร้างไว้ ก็ได้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพยสี ใสกินดี ดั่งกินน้ำโขง เมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้ ๓,๔๐๐ วา

คนในเมืองสุโขทัย นี้ มักให้ทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัย นี้ ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วย มีศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ทรงศีล เมื่อพรรษา ทุกคน เมื่อออกพรรษา กรานกฐิน เดือน ๑ จึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอน โนนบริพาร กฐินโอยทานแล่ปี แล้ยิบล้าน ไปสูดญัติกฐิน ถึง อรัญญิก พู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกัน แต่ อรัญญิก พู้น ท้าวหัวลาน ดำบงคำกลอง ด้วยเสียงพาด เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน

เลื้อน เมืองสุโขทัย นี้ มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดั่งจักแตก กลางเมืองสุโขทัย นี้ มีพิหาร มี พระพุทธรูปทองคำ มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหาเถร

เบื้องตะวันตก ของ เมืองสุโขทัย นี้ มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหง กระทำโอยทาน แก่มหาเถร สังฆราช ปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตรหลวก กว่าปู่ครู ในเมืองนี้ ทุกคน ลูกแต่เมืองศรีธรรมราช มาในกลางอรัญญิก มีพิหารอันซึ่ง มนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศ อันซึ่ง ลุกยืน

เบื้องตะวันออก ของ เมืองสุโขทัย นี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่ บ้านเล็ก มีป่าม่วง มีป่าขาม ดูงามดัง

เบื้องตีนนอน เมืองสุโขทัย นี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมาก ลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่ บ้านเล็ก

เบื้องหัวนอน เมืองสุโขทัย นี้ มีกุฎี พิหาร ปู่ครู อยู่ มี สรีดภงส มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มี พระขพุง ผีเทวดา ในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผี ในเมืองนี้ ขุนผู้ใด ถือเมืองสุโขทัย นี้แล ไหว้ดีพลี ถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอั้น บ่คุ้ม บ่เกรง เมืองนี้หาย

เมื่อ ศก ๑๒๑๔(พ.ศ.๑๘๓๗) ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชชนาลัย สุโขทัย นี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขดานหิน ตั้งหว่างกลาง ไม้ตาลนี้ วันเดือนดับ เดือนออกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือ ขตาลหิน สุดธรรม แก่ อุบาสก ฝูงท่วยจำศีล มิใช่วันสุดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือ ขตานหิน ให้ฝูงท่วยลูก เจ้าลูกขุน ฝูงท่วย ถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับ เดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยาง เทียรย่อมทองงา ซ้ายขวา ชื่อ รูจาครี พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นขี่ไปนบพระ อรัญญิก แล้ว เข้ามาจารึก อันหนึ่ง มีใน เมืองชเลียง สถาบกไว้ ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันหนึ่ง มีในถ้ำ ชื่อถ้ำพระราม อยู่ฝั่งน้ำสำพาย จารึกอันหนึ่ง มีในถ้ำรัตนธาร ในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน อันหนึ่งชื่อ ศาลาพระมาส อันหนึ่งชื่อ พุทธศาลนา ขตานหินนี้ ชื่อ มนังศิลาบาตร สถาบกไว้นี่ จึงทั้งหลายเห็น พ่อขุนพระรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นขุนในเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ทั้งมากาวลาว แลไทยเมืองใต้ หล้าฟ้า ไทยชาวอู ชาวของ มาออก

ศกศักราช ๑๒๐๗(พ.ศ.๑๘๓๐) ปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุ ออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอ แก่ พระธาตุได้ เดือน ๖ วัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชชนาลัย ก่อพระเจดีย์ เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว

เมื่อก่อน ลายสือไทย นี้ บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม(พ.ศ.๑๘๒๘) พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจ ในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้น ใส่ไว้ พ่อขุนพระรามคำแหง นั้น หาเป็นท้าว เป็นพระยา แก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์ สั่งสอนไทยทั้งหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทย ด้วย รู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้ว ด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ อาจปราบฝูงข้าศึก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเมือง

เบื้องตะวันออก รอดสระหลวง(พิจิตร) สองแคว(พิษณุโลก) ลุ่มบาจาย สคา(เมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสัก) เท้าฝั่งของ ถึง เวียงจันทร์(กรุงเวียงจันทร์-อาณาจักรโพธิ์หลวง) เวียงคำ(เมืองเวียงคำ-อาณาจักรโพธิ์หลวง) เป็นที่แล้ว

เบื้องหัวนอน รอดคนที(กำแพงเพชร) พระบาง(นครสวรรค์) แพรก(ชัยนาท) สุพรรณภูมิ(สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทร เป็นที่แล้ว(จดช่องแคบมะละกา)

เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด(อ.แม่สอด จ.ตาก) เมือง...(มอ)(เสทิม) หงสาวดี(พะโค) สมุทร หาเป็นแดน(จดมหาสมุทรอินเดีย)

เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่(ยวนโยนก-แพร่) เมืองม่าน(อาณาจักรเงินยาง) เมือง (ลานนา)(อาณาจักรลานนา)... เมืองพลั่ว(อ.ปัว-น่าน) พ้นฝั่งของ เมืองชวา(หลวงพระบาง) เป็นที่แล้ว

ปลูกเลี้ยงฝูงลูกบ้าน ลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรม ทุกคน...  

(กรมศิลปากร จารึกสมัยสุโขทัย พ.ศ.๒๕๒๖ หน้าที่ ๔-๒๐)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักร เสียม-หลอ กรุงสุโขทัย มอบให้ จักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา และ อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ เพื่อท้าทายอำนาจ ของ ฮ่องเต้เฉิงจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ พระเจ้ามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน สร้าง เวียงกุมกาม เป็นราชธานี ของ อาณาจักรลานนา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๖๕)

ปี พ.ศ.๑๘๓๗ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งช้างเผือก ไปมอบให้กับ พระเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท)(พ.ศ.๑๘๒๓-๑๘๓๙) แห่ง อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ และให้ อาณาจักรรามัญ เป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย อีกครั้งหนึ่ง

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๗๗)

ปี พ.ศ.๑๘๓๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนคร(นครวัด) สละราชย์สมบัติ เนื่องจากมีความชราภาพ มาก มีพระชนมายุมากกว่า ๑๐๐ ปี และโปรดเกล้าให้ เจ้าชายศรีนทรวรมัน ซึ่งเป็นราชบุตรเขย และได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงศรีทรภูเปศวรจุฑา ราชธิดาพระองค์แรก ของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เพื่อปกครอง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ในรัชกาลถัดมา ท่ามกลางการก่อกบฏ ของ พระราชโอรส อีกหลายพระองค์ จารึก ของ พระเจ้าศรีนทรวรมัน จารึกว่า...

...แผ่นดินซึ่งเคยปกคลุมโดยทั่วไปในขณะเดียวกัน ด้วยกลุ่มแห่งเศวตฉัตร ของ พระราชา หลายพระองค์ ก็ได้รับการแผดเผาจากแสงพระอาทิตย์ แต่บัดนี้ เมื่อเงา ของ เศวตฉัตร(แห่งพระราชาองค์ใหม่) แต่เพียงคันเดียว ความแผดเผา ของ ดวงอาทิตย์ ก็สูญสิ้นไป...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๑๒)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๑๑๐)

ปี พ.ศ.๑๘๓๘ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีพระราชสาส์น ร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ว่า อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา ถูก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ รุกราน จึงขอให้ มหาอาณาจักรจีน ให้ความคุ้มครอง ด้วย มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๓๘ มี มหาราชา เป็นหัวหน้าคณะราชทูตจาก อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เฉินจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน และกราบทูลฮ่องเต้ ว่า อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา ถูก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน จึงขอให้ มหาอาณาจักรจีน ให้ความคุ้มครอง ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๗)

ปี พ.ศ.๑๘๓๘ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูต ไปยัง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย พร้อมกับนำ พระราชสาส์น ห้ามมิให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน กรุงมะละกา แคว้นมาลายู อาณาจักรมาลัยรัฐ อีก มีบันทึกว่า...

...ประชาชนของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย และ มาลายู ทะเลาะเบาะแว้งกัน และต่อสู้ระหว่างกัน เป็นเวลายาวนาน บัดนี้ ทั้ง ๒ ประเทศ ได้ยอมอ่อนน้อมต่อ มหาอาณาจักรจีน แล้ว ดังนั้น ฮ่องเต้ จึงมีพระบรมราชโองการต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ว่า จงอย่าทำร้าย ชาวมาลายู และ จงอย่าเหยียบย่ำ สัญญาของท่านเอง...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๓๗ และ ๗๗)

ปี พ.ศ.๑๘๓๘ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ส่งคณะราชทูตของ ให้เดินทางมาที่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย จดหมายเหตุจีน มีบันทึกว่า...

... ปี พ.ศ.๑๘๓๘ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูต มายัง มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย มีพระราชสาส์นแจ้งว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสุโขทัย มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาจาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง (อั๋ว-กวั่ว) ฮ่องเต้เฉินจง จึงร้องขอมิให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ทำสงครามรุกราน อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้ (หลอ-หู) ซึ่งเป็นคนละชาติ ด้วย...

ปี พ.ศ.๑๘๓๘ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ มหาอาณาจักรจีน ด้วย จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๓๘ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมกับมีพระราชสาส์น ถึง ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ขอให้ส่งคณะราชทูต มาเจรจาเรื่องความขัดแย้ง กันที่ กรุงสุโขทัย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๗)

ปี พ.ศ.๑๘๓๙ ฮ่องเต้เฉินจง(ติมุ) (พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางมาจาก เมืองเวนจิว แคว้นเจเจียง เพื่อมาทวงเครื่องราชบรรณาการ โดยมี จิวตากวน เดินทางมายัง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) เมืองพระนคร ด้วย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ พระเจ้าศรีนทรวรมัน ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) ราชทูตจิวตากวน ได้ทำการบันทึกเรื่องราวต่างๆ เป็นหนังสือเรื่อง บันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับ ที่ตั้ง ของ อาณาจักรคามลังกา(ขอม) การเดินทาง และ ประเพณีต่างๆ ของ อาณาจักรโจฬะ มีเรื่องราวตอนหนึ่งบันทึกว่า...

...คณะราชทูต ของ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้เดินทางจาก เมืองเวนจิว แคว้นเจเจียง เมื่อวันที่ ๒๐ เดือน ๒ ปี พ.ศ.๑๘๓๙ และได้เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๑๒ เดือน ๘ พ.ศ.๑๘๔๐ จิวตากวน ได้เดินทางมากับคณะราชทูต ด้วย โดยได้เดินทางมายังปากแม่น้ำโขง จากนั้นได้เดินทางไปตามลำน้ำ และ แควน้ำ ของ ทะเลสาบ โดยผ่าน เมืองฉนัน(กำแพงฉนัง) เมืองโฟชุน(เมืองโพธิ์สัตว์) เมืองกันพัง(เมืองกำแพงอัน) ไปขึ้น เพื่อเดินทางไปยัง ราชธานี ของ อาณาจักรโจฬะ(ขอม) เขาเรียกชื่อ ประเทศนี้ หลายชื่อ เช่น ประเทศเจนละ หรือ ประเทศโจฬะ หรือบางครั้งก็เรียกชื่อว่า ประเทศกำพูชา หรือ ประเทศกำพุช เป็นต้น

เมืองพระนครหลวง ซึ่ง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างขึ้นนั้น มีทั้งกำแพง และคูเมืองล้อมรอบ มีประตูเมือง ๕ ประตู ซึ่งจะมีสะพานนาค อยู่เบื้องหน้า มีปราสาททอง(ปราสาทบายน) เป็นจุดศูนย์กลาง มีปราสาททองแดง(ปราสาทปาปวน) อยู่เหนือขึ้นไปประมาณ ๑ ลี้ ส่วนพระราชวังหลวง ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปอีก ๑ ลี้ ทางด้านนอกเมือง มีปราสาทลุปัน(ปราสาทนครวัด) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ทางทิศตะวันออก มี ทะเลสาบตะวันออก(สระบารายตะวันออก) ทางด้นทิศเหนือ มีสระบารายแห่ง ปราสาทพระขรรค์ มีปราสาทนาคพัน ตั้งอยู่ตรงกลาง

พระราชวังหลวง ซึ่งมีปราสาททอง(ปราสาทพิมานอากาศ) อันเป็นสถานที่ซึ่ง มหาราชาทมิฬโจฬะ ของ อาณาจักรโจฬะ(ขอม) เสด็จขึ้นไปบรรทม ข้างบน ชาวเมืองทุกคนอ้างว่า มีวิญญาณ ของ นาคเก้าเศียร อาศัยอยู่ในปราสาท ด้วย นาคเก้าเศียร เป็นเจ้าแห่งพื้นดินทั่วราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม) ดวงวิญญาณนี้ จะปรากฏมาเป็นสัตรีทุกคืน และ มหาราชาทมิฬโจฬะ ก็จะร่วมบรรทม กับ พระนางด้วยทุกๆ คืน

ประชาชนในราชธานี เมืองพระนคร นิยมผ้าที่มาจากประเทศทางตะวันตก เฉพาะแต่ มหาราชา เท่านั้น ที่อาจทรงเสื้อผ้าที่มีลายดอกไม้ถี่ได้ พระองค์ทรงรัดเกล้าทอง คล้ายกับที่มีอยู่เหนือเศียร พระวัชรธร เมื่อพระองค์ไม่ทรงรัดเกล้า พระองค์ก็ทรงพวงมาลัยหอมคล้ายร้อยด้วยดอกมะลิ สอดอยู่ในมวยพระเกศา บนพระศอ ทรงสวมสายไข่มุกขนาดใหญ่ ที่ข้อพระหัตถ์ ข้อพระบาท และนิ้วพระหัตถ์ ทรงสวมกำไล และแหวนทองคำฝังด้วยเพชรตาแมว พระองค์ทรงดำเนินด้วยพระบาทเปล่า ฝ่าพระบาท และ ฝ่าพระหัตถ์ ย้อมสีแดง เวลาเสด็จออกว่าราชการ พระองค์ย่อมทรงถือพระขรรค์ทอง ด้วย

สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีอยู่ ๓ ส่วน คือ เสนาบดี ขุนพล และ โหราจารย์ โดยมีข้าราชการชั้นผู้น้อย คอยรับใช้ โดยทั่วไปแล้ว เจ้านายทรงทำราชการ ผู้ที่เป็นข้าราชการ นิยมถวายบุตรสาว ให้เป็นเจ้าจอม ของ มหาราชาทมิฬโจฬะ ด้วย คานหาม มีคานที่ประดับด้วยทองคำหรือเงิน ด้ามของกลด ทำด้วยทองคำ หรือ เงิน ข้าราชการที่กั้นกรดทองได้นั้น จะต้องมียศเป็น มรแตง หรือ อำแตง ส่วนผู้ที่กั้นกลดเงิน นั้น จะมียศเป็น เศรษฐิน

มีศาสนา ๓ ศาสนา ใน ประเทศนี้ ศาสนาแรก คือ ปันคี ได้แก่ บัณฑิต หรือ พวกพราหมณ์ ซึ่งจะแต่งตัวเหมือนกับ ประชาชนตามธรรมดา แต่มีด้ายขาวผูกอยู่ที่คอ เพื่อแสดงว่า เป็น นักปราชญ์ ศาสนาที่สอง คือ เจ้ากู(พระพุทธศาสนา) ได้แก่พระภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา จะเป็นผู้ที่โกนศีรษะ นุ่งห่มเหลือง ครองผ้าเปิดบ่าขวาและนุ่งผ้าสบง เดินเท้าเปล่า บูชาเทวรูป ปฏิมากรรม ซึ่งมีรูปร่างเหมือนกับ พระศรีศากยมุนี เขาเรียกชื่อว่า พระ หรือ พระภิกษุ นักบวชเหล่านี้ ฉันข้าวเพียงวันละมื้อเดียว และท่องบ่นตำราต่างๆ ซึ่งจารอยู่บนคัมภีร์ใบลาน ศาสนาที่สาม คือ ปัสวิน หรือ นักบวช คือผู้เคารพศิวลึงค์ ซึ่งทำด้วยศิลาก้อนหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับแท่นบูชาเทพยดา แห่งพื้นดิน ของ มหาอาณาจักรจีน

ประชาชนของประเทศนี้ มีผิวดำมาก และ หยาบคาย แต่ภรรยา ของ ขุนนาง มีผิวกายขาว ดังหยก มหาราชาทมิฬโจฬะ มีมเหสี ๕ พระองค์ องค์หนึ่งเป็นมเหสีเอก อีก ๔ องค์ประทับอยู่สี่ทิศ พวกเขาไม่ยอมให้คณะพวกเรา เข้าไปพบเห็นสิ่งเหล่านี้ ประเทศนี้ มีประเพณีทำลาย พรหมจารีย์ ของ หญิงสาวที่จะเข้าสู่พิธีสมรส ด้วย ชนชาติป่าเถื่อน จะถูกนำไปเป็นทาส ส่วนใหญ่ เป็นผู้ชายที่อยู่ตามป่าเขา พวกเขาสามารถเข้าใจภาษา ระหว่างกัน ดี ส่วนบุคคลที่ไม่ยอมรับวัฒนธรรม ของ มหาอาณาจักรจีน โจฬะ(ขอม) พวกเขา(พวกขอม) จะหลบหนีไปอยู่ในเขตป่าเขา

มีพิธีสวดมนต์ สลับกัน ระหว่าง เด็กชาย และ เด็กหญิง ในพิธีขึ้นปีใหม่ ซึ่งมีการสรงน้ำพระพุทธรูป พิธีตรวจพลสวนสนาม มีพิธีเผาข้าว ซึ่งเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตร เมื่อเสร็จฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว

ด้านการตัดสินคดีความนั้น หากว่าประชาชนทะเลาะวิวาทกันนั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็มักจะมีเรื่องไปถึง มหาราช เสมอ พวกเขาเล่าถึงการทรมาน และการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ด้วยวิธีการดำน้ำ ลุยไฟ ด้วย

ด้านโรคภัยไข้เจ็บ มีโรคเรื้อน ที่เป็นโรคที่เกิดจากผลของอากาศ ภายในประเทศ มีพระราชาขอม แว่นแคว้นหนึ่ง ที่เป็นโรคเรื้อนนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้ คนที่เป็นโรคเรื้อน จึงไม่ถูกรังเกียจ

สำหรับการปลงศพ มีการทิ้งซากศพให้สัตว์ร้ายกิน แต่ปัจจุบัน มักจะเผาศพของผู้ตายไปแล้ว ส่วนใหญ่ มักจะเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีน เมื่อพระราชาของ อาณาจักรขอม สิ้นพระชนม์ไปแล้ว จะนำพระบรมศพ ไปฝังไว้ในปราสาท แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถทราบได้ว่า พวกเขาฝังพระบรมศพ หรือฝังเพียงพระอัฐิ

ชาวพื้นเมือง ของ มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) ไม่ชอบเลี้ยงตัวไหม หรือปลูกต้นหม่อน ผู้หญิงไม่รู้จักการเย็บผ้า การตัดเสื้อ หรือการปะชน เขารู้จักการทอผ้าด้วยฝ้าย และไม่รู้จักการปั่นด้าย ด้วยล้อหมุน สำหรับด้ายนั้น เขาทำด้วยแกน ซึ่งหมุนด้วยมือ มาจากอีกด้านหนึ่ง สำหรับกระสวย เขาใช้ชิ้นไม้ไผ่ เมื่อเร็วๆ นี้ ชาวเสียม ที่เดินทางเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ในประเทศนี้ ได้ทำการเลี้ยงตัวไหม และปลูกต้นหม่อน ตัวไหม ล้วนถูกนำมาจาก อาณาจักรเสียม(สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ) ทั้งสิ้น ผ้าที่ทำด้วยพันธ์ไม้ ชาวพื้นเมืองใน มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) จะไม่รู้จัก แต่พวกเขามีผ้าที่เรียกว่า โลมะ ชาวเสียม ใช้ไหมทอเป็นผ้ายกดอก สีคล้ำ ซึ่งเขาใช้นุ่งห่ม หญิงชาวเสียม มีความสามารถในการเย็บ และปะชุนได้ และเมื่อผ้า ซึ่งชาวพื้นเมืองโจฬะ ใช้ เกิดการฉีกขาด พวกเขาจะมาว่าจ้างชาวเสียม(อาณาจักรเสียม กรุงครหิต) ให้ทำการซ่อมแซม

มหาอาณาจักรโจฬะ มีแว่นแคว้นต่างๆ ถึง ๙๐ แคว้น เช่น เจนพู ฉานัน(กำปงฉนัน) ซึ่งมีกุ้งน้ำจืด ตัวโตมาก , ปาเจียน , มูเหลียง(มัลยัง ทางใต้ ของ พระตะบอง) , ปาซี , พูมัย(พิมาย) , เจกุน , มูซินโป , ไลกันเคง และ ปาซูลิ เป็นต้น

ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรโจฬะ แต่ละหมู่บ้านย่อมมี ศาสนสถาน หรือ สถูป แม้ว่า หมู่บ้านจะเล็กเพียงใด แต่ก็ยังมีตำรวจ ประจำท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า ไมเซียะ จะประจำอยู่ตามเส้นทางเดินสายใหญ่ๆ ซึ่งจะมีที่พักผ่อน เช่นเดียวกับที่พักม้า ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน สถานที่เหล่านี้ เขาเรียกกันว่า สำนัก

ทหารในดินแดน ของ มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) ในมือขวาเขาจะถือหอก ในมือซ้ายถือโล่ ชาวโจฬะ(ขอม) ไม่มีทั้งคันศร ลูกศร เครื่องยิงกระสุน ลูกกระสุน เสื้อเกราะ หรือ หมวกหนัง

ข้าพเจ้าได้พักอาศัยอยู่ที่ ราชธานี ของ มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) เป็นเวลา ปีกว่า และได้เคยเห็น มหาราชา ของ มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) เสด็จออกว่าราชการ ๔-๕ ครั้ง เมื่อพระองค์เสด็จออก ก็มีขบวนทหารนำหน้า ต่อจากนั้น จึงจะมาถึงขบวนธงใหญ่น้อย และ นักดนตรี ต่อจากนั้น จึงจะถึงขบวนสตรี จำนวนตั้งแต่ ๓๐๐-๕๐๐๐ คน นุ่งห่มด้วยผ้าลายดอกไม้ มีดอกไม้สด ทัดอยู่ในผม มือถือเทียน เป็นอีกกองหนึ่งต่างหาก เทียนเหล่านี้ แม้เป็นเวลากลางวันก็จุดไฟ ต่อจากนั้น ก็จะมีขบวน ของ สตรีในราชสำนัก ผู้เชิญเครื่องราชูโภค ที่ทำด้วยทอง และเงิน รวมทั้งเครื่องประดับต่างๆ ทั้งหมดนี้ มีรูปร่างเป็นพิเศษโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ทราบว่าต้องใช้ทำอะไรบ้าง ถัดจากนั้น ก็มีขบวนสตรีในราชสำนัก ผู้ถือหอก และโล่ และเป็นทหารฝ่ายในรักษาพระองค์ มหาราชา โดยเฉพาะ สตรีเหล่านี้เป็นอีกกองหนึ่ง จากนั้น จึงถึงขบวนรถเล็กๆ เทียมด้วยแพะ และ รถเทียมม้า ทั้งหมดประดับด้วยทอง ส่วนเสนาบดี และบรรดาเจ้านายต่างๆ จะขี่ และทรงช้าง ก่อนหน้าท่านเหล่านี้ จะมีกลดสีแดง เป็นจำนวนมาก นำมาแต่ไกล หลังท่านเหล่านี้ จึงจะถึง ขบวนของ เหล่ามเหสี และ เจ้าจอม ของ มหาราชาทมิฬโจฬะ ซึ่งใช้พาหนะ ทั้งสีวิกา รถเล็กๆ เทียมม้า และเทียมช้าง ขบวนท่านเหล่านี้ มีกลดทองมากกว่า ๑๐๐ คัน เป็นเกียรติยศ หลังจากนั้น จึงจะถึงขบวนของ มหาราชาทมิฬโจฬะ แห่ง มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) ซึ่งประทับยืน มาเหนือหลังช้าง พระหัตถ์ทรงถือพระขรรค์ทองคำ อันศักดิ์สิทธิ์ งาทั้งคู่ ของ ช้างทรง สวมด้วยกำไลทองคำ มีเศวตฉัตรประดับทองคำ มากกว่า ๒๐ คัน ห้อมล้อม ด้ามเศวตฉัตรเหล่านี้ ล้วนทำด้วยทองคำ ทั้งสิ้น

มีขบวนช้าง จำนวนหลายเชือก แวดล้อมองค์มหาราชาทมิฬโจฬะ อยู่ด้วย และยังมีกองทหารรักษาพระองค์อีก ถ้าหากว่า มหาราชาทมิฬโจฬะ แห่ง มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) จะเสด็จไปในที่ใกล้ๆ พระองค์ก็ทรงสีวิกาทอง ซึ่งมีสตรีในราชสำนัก ๑๐ คน เป็นผู้หาม ในขณะที่ มหาราชาทมิฬโจฬะ เสด็จออกไปทอดพระเนตรปราสาททองเล็กๆ และหน้าปราสาทนั้น ก็มีพระพุทธรูปทองคำ ประดิษฐาน อยู่ด้วย ผู้ที่เข้าเฝ้า มหาราชาทมิฬโจฬะ ต้องหมอบลงกับพื้นดิน หน้าผากจรดพื้น วิธีการนี้ เรียกว่า การถวายบังคม มิฉะนั้น เขาจะถูกจับโดยนายทหารในขบวนเสด็จ เพื่อนำไปลงโทษ แต่ละวัน มหาราชาทมิฬโจฬะ จะเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน ๒ ครั้ง โดยไม่มีการกำหนดเวลาว่าราชการที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า ดังนั้น ขุนนาง และ ประชาชน ที่ต้องการเข้าเฝ้ามหาราชาทมิฬโจฬะ จะต้องนั่งคอยเฝ้าอยู่บนพื้นดิน เมื่อรอคอยอยู่ขณะหนึ่ง เมื่อพวกเขาได้ยินเสียงดนตรี ดังมาแต่ไกล ออกมาจากพระราชวัง ทางด้านนอกก็จะเป่าสังข์เป็นสัญญาณ ว่า มหาราชาทมิฬโจฬะ กำลังจะเสด็จออกมาว่าราชการแล้ว

ในกรณีที่ มหาราชาทมิฬโจฬะ เสด็จไม่ไกล พระองค์จะใช้เพียงสีวิกาทอง ในไม่ช้าก็จะเห็นสตรีในราชสำนัก ๒ คน เลิกม่านขึ้นด้วยนิ้วเล็กๆ ส่วน มหาราชาทมิฬโจฬะ พระหัตถ์ทรงพระขรรค์ ก็จะเสด็จออกที่ สีหบัญชร เสนาบดี และประชาชน จะพนมมือ และก้มศีรษะ เอาหน้าผากจรดพื้น เมื่อเสียงสังข์สงบลง ประชาชนผู้เข้าเฝ้า ก็สามารถเงยศีรษะ ขึ้นได้ หลังจากนั้น มหาราชาทมิฬโจฬะ ก็จะประทับลง ณ ที่ประทับ ซึ่งมีหนังราชสีห์ ซึ่งเป็นของหลวงที่ถูกใช้สืบทอดต่อกันมา หลายรัชกาล วางลาดอยู่ด้วย เมื่อมหาราชาทมิฬโจฬะ ทรงว่าราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว มหาราชาทมิฬโจฬะ ก็เสด็จขึ้น สตรีในราชสำนัก ๒ คน ก็จะปิดม่าน ผู้เข้าเฝ้าทุกคน ก็ลุกขึ้นได้ พวกเราเห็นว่า แม่ว่าจะเป็นมหาอาณาจักรของชนชาติป่าเถื่อน แต่พวกเขาก็แสดงให้เห็นได้ว่า มหาราชา นั้น คืออะไร? และ มีอำนาจเพียงใด

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) กับ ประเทศเกียโลหิต(สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต-คันธุลี) ประชาชนขอม-ทมิฬโจฬะ ทั้งหมด ต้องร่วมกันออกสู้รบ ทำให้ อาณาจักรคามลังกา ของ ชนชาติขอม-โจฬะ ถูกทำลายเสียหาย อย่างมากมาย

ต่อมา ท่านราชทูต ได้ประสบความสำเร็จ อย่างดียิ่ง และสามารถทวงเครื่องราชบรรณาการได้สำเร็จ จาก มหาราชาทมิฬโจฬะ พระองค์ใหม่(พระเจ้าศรีนทรวรมัน) ของ มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) กรุงพระนคร ซึ่งเป็นพระราชบุตรเขย ของ มหาราชาทมิฬโจฬะ พระองค์ก่อน พระองค์ทรงเป็นนักรบ ทำให้ มหาราชาทมิฬโจฬะ พระองค์ก่อน โปรดปรานพระราชธิดา(เจ้าหญิงศรีทรภูเปศวรจุฑา) ของ พระองค์มาก เจ้าหญิงจึงได้นำ พระแสงดาบทองคำ ไปมอบให้แด่ พระสวามี(พระเจ้าศรีนทรวรมัน) ของ พระนาง เป็นเหตุให้ พระราชโอรสพระองค์อื่นๆ จึงได้ก่อกบฏขึ้น แต่ มหาราชาพระองค์ใหม่(พระเจ้าศรีนทรวรมัน) ก็ทรงทราบ จึงตัดนิ้วพระบาท ออกเสีย พร้อมกับส่งไปขังไว้ในคุก...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๙)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๑๐๒-๑๑๓)

ปี พ.ศ.๑๘๓๙ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๘๓๙ มหาราชาพระอาทิตย์ แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้ (หลอ-หู) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน และได้เข้าเฝ้า ฮ่องเต้ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๑๘๔๐ เพื่อขอให้ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ให้ความคุ้มครอง อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้(หลอ-หู) ด้วย คณะราชทูตได้รับการต้อนรับจาก ฮ่องเต้เฉินจง ดีมาก มีบันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๓๙ พระเจ้ามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน สร้าง เวียงเชียงใหม่ แทนที่ เวียงกุมกาม เนื่องจากถูกน้ำท่วม ให้เป็นราชธานี ของ อาณาจักรลานนา กำเนิด อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๙ เป็นต้นมา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๖๖ และ ๑๐๑)

ปี พ.ศ.๑๘๓๙ พระเจ้ามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงรุ้ง กลับคืนจากการยึดครอง ของ มหาอาณาจักรจีน

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๘๓๙ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ เนื่องจาก พระเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท)(พ.ศ.๑๘๒๓-๑๘๓๙) แห่ง อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ ถูกลอบปลงพระชนม์ และมีราชวงศ์มอญ ราชวงศ์ตะละปั้น อีกกลุ่มหนึ่ง ก่อกบฏ

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ พระเจ้ามานะอาแจ๊ะ(พ.ศ.๑๘๓๕-๑๘๘๐) แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา-ตะวันตก ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงโพธิ์กลิงค์บัง (ปาเล็มบัง) ราชธานี ของ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง (สุมาตรา-ตะวันออก) จากผู้ปกครอง ขุนนางจีน เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับส่ง พระเจ้ามาหะนะ แห่ง ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ เข้าปกครอง

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ ขุนนางจีน ผู้ปกครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) พยายามทำสงครามกองโจร เพื่อยึดครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กลับคืน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ มหาราชาพ่ออาทิตย์ แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้(หลอ-หู) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๑๘๔๐ เพื่อขอให้ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ให้ความคุ้มครอง อาณาจักรละโว้(หลอ-หู) อีก มีบันทึกว่า...

...วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๑๘๔๐ มี คณะราชทูต ของ อาณาจักรละโว้(หลอหูก๊ก) ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ฮ่องเต้ ได้พระราชทานเสื้อยศ ฝากราชทูตไปให้กับ มหาราชา แห่ง อาณาจักรละโว้ ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๑๘๔๐ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่งคณะราชทูต ไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อร้องขอมิให้ มหาอาณาจักรจีน รับรองการทูต ต่อ อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้ เพราะว่า อาณาจักรละโว้ เป็นส่วนหนึ่งของ สหราชอาณาจักร เสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ราชทูต ได้รับพระราชทาน เสื้อยศ จาก ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ด้วย มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๔๐ มีคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เฉินจง ของ มหาอาณาจักรจีน เมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๑๘๔๐ ฮ่องเต้ ได้ถวายเสื้อยศปัก ให้แก่ คณะราชทูต เพื่อนำไปถวายให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช(กำมแตงศรีอินทราทิตย์) ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๕ และ ๗๘)

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ ชาวอาหรับชื่อ มาลิก อัลซาลีห์ ซึ่งเป็นสุลต่านมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม องค์แรก เป็นผู้ปกครองเมืองปาสัย ของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา เนื่องจากได้สมรสกับ ธิดา องค์หนึ่ง ของ ราชาแห่ง แคว้นเปอร์ลัก เกาะสุมาตรา ซึ่งได้ เสด็จสวรรคต

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ ราชา แห่ง แคว้นสมุทร อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ผู้ปกครอง เมืองสมุทร แคว้นสมุทร เกาะสุมาตรา ได้เข้ารีตนับถือ ศาสนาอิสลาม

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ มหาราชา แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา เริ่มนำ ศาสนาอิสลาม เข้าไปเผยแพร่ในดินแดน ของ แคว้นตรังกานู ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ปลายแหลมมาลายู อย่างลับๆ เพื่อวางแผนเข้ายึดครองดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ไปครอบครอง อย่างลับๆ

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ เจ้าชายไทยใหญ่ ๓ คน คือ เจ้าชายสอนิต(พ.ศ.๑๘๔๐-๑๘๔๖) เจ้าชายกัสปะ(พ.ศ.๑๘๔๖-๑๘๕๒) และ เจ้าชายสีหสุ(พ.ศ.๑๘๕๕-?) ร่วมกันทำสงครามกองโจร ขับไล่ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ให้ออกไปจาก อาณาจักรศรีชาติตาลู

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๓-๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๔๐ เจ้าชายไทยใหญ่ ๓ คน คือ เจ้าชายสอนิต(พ.ศ.๑๘๔๐-๑๘๔๖) เจ้าชายกัสปะ(พ.ศ.๑๘๔๖-๑๘๕๒) และ เจ้าชายสีหสุ(พ.ศ.๑๘๕๕-?) ร่วมกันทำสงครามยึดครอง กรุงพุกาม เป็นผลสำเร็จ พระเจ้ากะยอชวา ถูกสำเร็จโทษ เจ้าชายสีหสุ รับเอาพระนางกะยอชวา(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๕๕) อัครมเหสี ของ พระเจ้ากะยอชวา ซึ่งอยู่ระหว่างทรงพระครรภ์ เป็น พระชายาด้วย แล้วแต่งตั้งให้ เจ้าชายสอนิต ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม มีพระนามว่า พระเจ้าสอนิต(พ.ศ.๑๘๔๐-๑๘๔๖) ในรัชกาลถัดมา

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๔๒ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๘๔๒ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่ง รัชทายาท ของ กรุงสุโขทัย ทำการควบคุม คณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ถึง ราชธานี กรุงปักกิ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๘๔๒ มี รัชทายาท ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ควบคุมคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ฮ่องเต้ ได้พระราชทานตรารูปเสือ(หูฟู่) ให้แก่รัชทายาท ด้วย คณะราชทูตได้เชิญพระราชสาส์นทูลขอพระราชทาน ม้าขาวพร้อมอานบังเหียน และเสื้อด้ายกรองทอง เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ ของ ฮ่องเต้ ชื่อ หวัน-เซ-ดา-ลา-หัน ไม่เห็นด้วยกับคำร้องขอดังกล่าว โดยกราบบังคมทูลว่า สุโขทัย เป็นเพียงอาณาจักรเล็กๆ ไม่เหมาะสมที่จะได้รับพระราชทานม้าพันธุ์ขาว ดังนั้น ฮ่องเต้ จึงพระราชทานเฉพาะเสื้อด้ายกรองทอง ให้แก่ พระองค์ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ปีเดียวกัน...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๘-๗๙)

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๓๓)

ปี พ.ศ.๑๘๔๒ มหาราชาพ่ออาทิตย์ แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้(หลอ-หู) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อขอให้ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ให้ความคุ้มครอง อาณาจักรละโว้(หลอ-หู) อีก และเป็นคณะราชทูต คณะสุดท้าย ของ อาณาจักรหลอหู กรุงละโว้(หลอ-หู) มีบันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๔๒ พระเจ้ามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี เพื่อทำสงคราม กับ มหาราชาแห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ณ เมืองซอกเส ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก มหาอาณาจักรจีน

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๘๔๓ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่ง คณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ถึง ราชธานี กรุงปักกิ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๔๓ มี คณะราชทูต แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่งคณะราชทูต ไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ มหาจักรพรรดิ ได้รับพระบรมราชานุญาติจาก ฮ่องเต้ ให้นำชาวจีน พร้อมด้วยครอบครัว ให้เดินทางไปยัง กรุงสุโขทัย ถ้าหากว่า พวกเขามีความปรารถนา...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๘๓๔-๑๘๔๓ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ถึง ๕ ครั้ง และเสด็จไปยัง ราชสำนัก ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ด้วยพระองค์เอง ถึง ๒ ครั้ง เพื่อไปถวายสัตย์ปฏิญาณ ด้วยพระองค์เอง

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๐)

 

ปี พ.ศ.๑๘๔๓ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช (อายุ    ปี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนครหลวง แต่ต้องเสด็จสวรรคต ในสงคราม รวมเวลาครองราชย์สมบัติ เป็นเวลา ๒๐ พรรษา

Visitors: 54,425