พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เล่มที่ ๓ (นอกตำราเรียน)

       เนื้อหายังไม่สมบูรณ์แบบนะครับ แต่เพื่อให้ท่านที่สนใจได้อ่านอย่างต่อเนื่องจนจบ จึงคัดลอกเนื้อหามาจากประวัติศาสตร์เมืองไชยาฯซึ่งเนื้อหาอาจจะกระโดดไปบ้าง แต่ก็ยังให้อรรถรสในการได้พอสมควรครับ.

         เล่มที่ ๓ นี้ เป็นเรื่องราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถูกยึดอำนาจจนกระทั่งสวรรคต ในพระชนมายุ ๙๔ พระชันษา และการทำลายฐานอำนาจเก่าที่เป็นกำลังที่เข้มแข็งที่สุดในภาคใต้ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตลอดจนผลพวงของการทำลายอำนาจเก่าส่งผลให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนให้กับอังกฤษในเวลาต่อมา เนื้อหา มีจำนวน ๔ บท ดังนี้.

 

บทที่-๑ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ก่อการรัฐประหาร

บทที่-๒ ราชวงศ์จักรี ทำลายอำนาจรัฐเก่า

บทที่-๓ การก่อกบฏ ของ ปัตตานี และ ไทรบุรี

บทที่-๔ การเสียดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ ให้กับ อังกฤษ

...................................................................................................

 

 

                                                           บทที่-๑

                                 สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ก่อการรัฐประหาร

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกลอบวางยาพิษ พ.ศ.๒๓๒๔

ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม หรือตรงกับ เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ จ.ศ.๑๑๔๓(พ.ศ.๒๓๒๔) จดหมายเหตุโหรฉบับรามัญ บันทึกว่า “...จ.ศ.๑๑๔๓ พระเจ้าแผ่นดินเมืองบางกอก ทรงทำบุญตั้งแต่เข้าพรรษาครึ่งเดือน เย็บจีวร ๔๓๓ ไตรสบง ๗,๐๐๐ สงฆ์ทั้งหลายเย็บทำบุญด้วยพระเจ้าแผ่นดิน แล้วพระราชทานแก่เจ้านาย และขุนนางทั้งหลายทอดพระกฐินทั่วทั้งราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี มิได้ว่างเว้นสักสถานหนึ่งเลย เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ พระเจ้าแผ่นดิน ได้พระราชทานเงินแก่คนยากคนจน และข้าราชการน้อยใหญ่ เป็นอันมาก.” แสดงว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีพระสติดีอยู่ มิได้มีสติวิปลาส แต่อย่างใด

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ สังฆราชปาลเลกัว ได้เก็บความจากคำบอกเล่า ของชนชั้นสูงในกรุงธนบุรี ได้บันทึกว่า “...พวกข้าราชการกลุ่มหนึ่งได้ถวายโอสถขนานหนึ่ง ทำให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีพระสติวิปลาสไป...”

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เกิดอาการเจ็บป่วย ปลายประสาทสมอง ถูกทำลาย เกิดอาการหูแว่ว เป็นไปตามแผนการที่ พระวิชิตณรงค์(หน) ได้วางแผนไว้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา พยายามจัดหาลูกสมอทะเล รางจืด ต้นสับพิษ และ งับทั้งห้า ฯลฯ ส่งไปรักษาสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่เกิดอาการหูแว่ว และ ปวดหัวอย่างรุนแรง

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนอนุรักษ์วงศา ส่งสารลับถึง กรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม ซึ่งกำลังก่อสร้างเสาเข็มพระราชวังศรีเวียงชัย ที่ เมืองไชยา ให้ช่วยจัดหาลูกสมอทะเล มีมากที่ชายทะเลท่าชนะ มาแก้อาการวิกลจริต ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โดยด่วน

       พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม ส่งสมุนไพร ลูกสมอทะเล รางจืด ต้นสับพิษ และ งับทั้งห้า ฯลฯ ให้ม้าเร็ว เดินทางไปส่งที่กรุงธนบุรี ทำให้อาการหูแว่ว ของพระเจ้าตากสินฯ หายไป แต่ยังคงปวดหัว บางช่วงเวลา และต่อมาเมื่อได้รับยาสมุนไพร น้ำมันกัญชา ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ภายนอกพระราชวังหลวง มีข่าวลือมากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระสติวิปลาส ไปแล้ว มีการปล่อยข่าวออกไปทุกเมือง แม้กระทั่งฝรั่ง ก็ทราบข่าวลือ

 

พระยาวิชิตณรงค์(หน) และ นายบุนนาค วางแผนก่อจลาจล ที่กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๒๕

       เหตุสืบเนื่องมาจากสมัยที่กรุงศรีอยุธยา เสียแก่กองทัพพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ นั้น ชาวกรุงศรีอยุธยา นำทรัพย์สินฝังดินไว้แทบทุกบ้าน เมื่อสงครามสงบก็กลับไปขุดทรัพย์สินกลับคืน บางบ้านเจ้าของเสียชีวิตไป หรือถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกไปพม่า ก็ยังมีทรัพย์สินฝังอยู่ โดยเฉพาะบ้านขุนนางเก่า จะมีทรัพย์สินฝังอยู่จำนวนมาก นายบุนนาค เคยไปขุดทรัพย์สินที่กรุงศรีอยุธยา ในพื้นที่บ้านเจ้าพระยาจักรีมุกดา และ บ้านนางบุญศรี มารดานายบุนนาค ได้ทรัพย์สินที่ฝังดินไว้จำนวนมาก ต่อมาทั้งเจ้าของทรัพย์จริง และ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินจริง ถูกลักลอบขุดขึ้นมาจำนวนมาก พระยาวิชิตณรงค์(หน) เป็นทั้งพระอาจารย์ และเป็น พ่อตา สอนเรื่องสามก๊ก ให้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก ได้เสนอแผนการก่อการรัฐประหาร ต่อ สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก ตามกุลยุทธ์ในตำราสามก๊ก ครั้งแรก สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก ไม่เห็นด้วย เพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงมอบราชสมบัติให้อยู่แล้ว แต่ต่อมาเมื่อมีความขัดแย้งเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในท้องพระคลังหลวง และเรื่องถูกจำขัง สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก จึงเห็นชอบด้วย

 

ภาพบ้านพักนายต้า แซ่ลิ้ม ที่เปลี่ยนชื่อเป็น นายหยุง แซ่ลิ้ม ต่อมาได้ไปเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย จึงได้ไปสร้างบ้านเรือนที่กรุงศรีอยุธยา เป็นจุดหนึ่งที่มีการลักลอบขุดทรัพย์สินในพื้นที่ดังกล่าวมาก

 

       พระยาวิชิตณรงค์(หน) เสนอแผนให้ นายบุนนาค และ นายสุระ(น้องชายนายบุนนาค) ซึ่งมีประสบการณ์ในการขุดหาสมบัติมาก่อน ร่วมกับ พระยาสรรค์ และ นายแก้ว(น้องชายพระยาสรรค์) นำไพร่พลไปลักลอบขุดสมบัติที่ฝังไว้ที่กรุงศรีอยุธยา แล้วแสร้งนำสมบัติที่มีค่า ไปแสดงแก่ประชาชนในกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี เมืองนนทบุรี เมืองปทุมธานี เมืองอ่างทอง เมืองสิงห์บุรี ให้เกิดการตื่นทอง และยุยงให้ประชาชา แห่กันมา ขุดของที่กรุงศรีอยุธยา จำนวนมาก ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่กำหนด มีประชาชน แห่กันมาลักลอบขุดสมบัติ ที่กรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของสมบัติจริง กับผู้ลักลอบขุดไปทั่วเมือง จนกระทั่ง เจ้าพระยาอินทรอภัย เจ้าเมืองอยุธยา ไม่สามารถควบคุม สถานการณ์ได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงรับสั่งให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา สมุหนายก นำกำลังทหาร ๕๐๐ คน ไปรักษาสถานการณ์ที่กรุงศรีอยุธยา สั่งห้ามขุดทรัพย์สมบัติที่ถูกฝังไว้โดยเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง เหตุความไม่สงบจึงยุติลง

       พระยาวิชิตณรงค์(หน) ผลักดันให้ เจ้าพระยาอินทรอภัย เจ้าเมืองอยุธยา เสนอต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้เปิดประมูล ขุดทรัพย์สินที่ไม่มีเจ้าของ ผลการประมูล พระยาวิชิตณรงค์(หน) เป็นผู้ประมูลได้ จะต้องส่งเงินให้คลังหลวงปีละ ๕๐๐ ชั่ง ส่วนทรัพย์สินใดที่ขุดได้ แต่มีผู้อ้างสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ที่จวนว่าราชการ ของ เจ้าพระยาอินทรอภัย เจ้าเมืองกรุงศรีอยุธยา และให้ส่งพันศรี และ พันลา ไปเป็นตุลาการ ตัดสินคดีความ

       ในเวลาปฏิบัติจริง พระยาวิชิตณรงค์(หน) มิได้ปฏิบัติตามสัญญาที่มีการประมูล กลับเอาการที่เป็นผู้ประมูลขุดทรัพย์สิน เป็นเงื่อนไขในการก่อการรัฐประหาร มอบให้ นายบุนนาค และ นายสุระ นำไพร่พลไปขุดทรัพย์สิน ในพื้นที่ ซึ่งมีเจ้าของ อีกทั้งปล้นเอาทรัพย์สินมีค่าของประชาชนที่เก็บรักษาไว้บนครัวเรือน เช่น สร้อยทอง เงินตรา อ้างว่า เป็นพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงมีเจ้าของทรัพย์สินจริงไม่พอใจจำนวนมาก ได้เข้าร้องเรียนต่อ เจ้าพระยาอินทรอภัย จึงต้องนำทรัพย์สินจำนวนมาก ไปเก็บรักษาไว้ที่จวนว่าราชการ เมืองอยุธยา รอตุลาการ พันศรี และ พันลา มาสอบสวนตัดสินคดีความ ส่วนกลุ่มก่อการจลาจล เพื่อก่อการรัฐประหาร กลับสร้างข่าวให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า ทรัพย์สินที่ขุดได้จะถูกนำเข้าท้องพระคลังหลวง ทั้งหมด เพราะท้องพระคลังหลวง ไม่มีเงินเพียงพอในการบริหารประเทศ ทำให้ประชาชนไม่พอใจ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กล่าวหาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นกษัตริย์ ไม่ทรงธรรม เพราะกำลังมีสติวิปลาส ตามที่มีการปล่อยข่าวลือ

       พระยาวิชิตณรงค์(หน) วางแผนให้ พระยาสรรค์ และ นายแก้ว(พี่น้องต่างบิดา และร่วมมารดาเดียวกัน กับ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก) นำกำลังเข้าไปปล้นสะดม ทรัพย์สินที่เก็บรักษาไว้ที่จวนว่าราชการ ของ เจ้าพระยาอินทรอภัย ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ตุลาการ พันศรี พันลา ยังมิได้ตัดสินคดีความ แล้วปล่อยข่าวว่า กองทหารของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มานำทรัพย์สินของประชาชน เข้าสู่ท้องพระคลังหลวง ทำให้ประชาชนเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริง ไม่พึงพอใจ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พระยาวิชิตณรงค์(หน) เสนอต่อ เจ้าพระยาอินทรอภัย ให้นำกำลังของ พระยาสรรค์ มาคุ้มครองทรัพย์สินที่จวนว่าราชการ ทำให้พระยาสรรค์ รับสมัครกำลังทหารเพิ่มขึ้น อ้างว่ามารักษาทรัพย์สิน เพิ่มมากขึ้นทั้งหมดประมาณ ๓๐๐ คน ตามแผนการก่อรัฐประหารที่กำหนด กำลังส่วนใหญ่มาจาก พระยาสุริยอภัย ที่นำมาซ่อนไว้ที่กรุงธนบุรี และ กรุงศรีอยุธยา

       พระยาวิชิตณรงค์(หน) ทำจดหมายปลอมอ้างว่า เป็นของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เจ้าเมืองนครสวรรค์ ส่งถึง สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา สมุหนายก ซึ่งเป็นบุตรเขย อ้างว่ากำลังเจ็บป่วยหนัก ต้องการพบหน้าลูกหลานก่อนตาย ผนวกกับ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา ฝันไม่ดีว่า ไฟไหม้บ้าน ไฟคลอกเอาลูกหลานเสียชีวิตทั้งครัว จึงนำบุตรหลาน ของ พระเจ้าหลานเธอกรมหมื่นอนุรักษ์สงคราม และ กรมขุนรามภูเบศร์ ขออนุญาต สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไปเยี่ยมเยียนพ่อตา ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีอาการดีขึ้นมากจากการถูกลอบวางยาพิษ จึงอนุญาตให้ลาราชการไปนครสวรรค์ เป็นไปตามแผนที่ พระยาวิชิต(หน) กำหนด

       เมื่อสมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา สมุหนายก เดินทางไปถึงเมืองนครสวรรค์ ก็ทราบความจริงว่า เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร มิได้เจ็บป่วยจริง และทราบว่าเกิดการจลาจลที่กรุงศรีอยุธยา อีก จึงฝากลูกหลาน อยู่ที่นครสวรรค์ แล้วรีบล่องเรือกลับมาดูเหตุการณ์ที่กรุงศรีอยุธยา และทราบว่า การจลาจล ลุกลามไปถึง กรุงธนบุรี พันศรี และ พันลา ตุลาการตัดสินคดีความเรื่องทรัพย์สิน ไม่สามารถตัดสินคดีความให้เป็นที่พอใจของเจ้าของทรัพย์สินได้ ประชาชนได้ไปร้องเรียนต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถึงพระราชวังหลวง สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา งุนงงกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ได้เดินทางกลับมาถึงกรงธนบุรี ในวันที่ พระยาสรรค์ กำลังล้อมพระราชวังหลวง กรุงธนบุรี จึงติดตามสถานการณ์อยู่ที่ชานเมืองกรุงธนบุรี อย่างลับๆ

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้เข้าปราบจลาจล ในเขมร พ.ศ.๒๓๒๔

เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๒๔ หลังวันสงกรานต์ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งให้จัดกองทัพเข้าทำการปราบจลาจลในประเทศเขมร ขณะนั้นราชธานีของเขมร อยู่ที่ เมืองบันทายเพชร โดยจัดกำลังพล ๒๐,๐๐๐ คน ดังนี้

       สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เป็น แม่ทัพใหญ่ ให้นายแสง ส่งจดหมายลับ คอยรายงานข่าว เจ้าพระยาสุรสีห์ เป็น ทัพหน้า หรือ กองระวังหน้า เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์(จุ้ย) เป็น กองหนุน พระยากำแหงสงคราม เป็น เกียกกาย พระยานครราชสีมา(คนเก่า) เป็น เกียกกาย พระยานครสวรรค์(บุตรชาย ของ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร) เป็น ยกกระบัตร กรมขุนรามภูเบศร์(โอรส ของ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนอนุรักษ์วงศา) เป็น กองหลัง พระยาธรรม เป็น กองลำเลียง

เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๔ กองทัพของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี เคลื่อนทัพเข้าสู่ประเทศเขมรอย่างช้าๆ เพื่อรอจดหมายลับจาก นายแสง และเข้ายึดครองเมืองต่างๆ ดังนี้

       กองทัพของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองเสียมราฐ กองทัพของ เจ้าพระยาสุรสีห์ เคลื่อนทัพไปทางริมทะเลสาบเขมร ทางฝั่งตะวันตก เพื่อเข้ายึดครอง เมืองบันทายเพชร ราชธานี ของ ราชอาณาจักรกำพูชา(เขมร) กองทัพของ กรมขุนอินทรพิทักษ์ และ พระยากำแหงสงคราม นำกำลังไปอีกด้านหนึ่ง ของ เมืองบันทายเพชร กองทัพของ กรมขุนรามภูเบศร์ และ พระยาธรรมา เคลื่อนที่ไปทางฝั่งทะเลสาบฟากตะวันออก ไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองกำพงสวาย

เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๒๔ ฝ่ายเจ้าฟ้าทะละหะ ทราบข่าวว่า กองทัพไทยเคลื่อนที่เข้ามา พิจารณาเห็นว่า เหลือกำลังจะต่อสู้ จึงทิ้งเมืองบันทายเพชร อพยพประชาชน ไปอยู่ที่ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) กรุงพนมเปญ พร้อมกับมีพระราชสาสน์ ขอกองทัพราชอาณาจักรเวียตนาม กรุงไซ่ง่อน ให้มาช่วยเหลือ

เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๔ กองทัพของ ราชอาณาจักรเวียตนาม เคลื่อนทัพจากกรุงไซ่ง่อน มายัง กรุงพนมเปญ เพื่อคุ้มครอง เจ้าฟ้าทะละหะ ส่วนกองทัพของ เจ้าพระยาสุรสีห์ เคลื่อนที่ติดตาม เจ้าฟ้าทะละหะ ไปเผชิญหน้ากับ กองทัพราชอาณาจักรเวียตนาม ที่กรุงพนมเปญ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เคลื่อนทัพมาเผชิญหน้ากับ กองทัพของ ราชอาณาจักรเวียตนาม ณ กรุงพนมเปญ

 

พระยาวิชิตณรงค์(หน) เริ่มก่อการจลาจลที่ กรุงศรีอยุธยา และ กรุงธนบุรี

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ พระวิชิตณรงค์(หน) ทราบข่าวจาก นายแสง ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มเสียพระสติจากการถูกลอบวางยาพิษ จึงวางแผนให้ นายบุนนาค และ ขุนสุระ นำประชาชน ๓๐๐ คน ไปรีบขุดทรัพย์สินที่กรุงศรีอยุธยา และอ้างสิทธิ์ว่าเป็นทรัพย์สิน ของ ตนเอง เพื่อร่วมกับ นายสุระ พระวิชิตณรงค์(หน) และ นายแก้ว เตรียมก่อการจลาจล ตามแผนการที่กำหนด

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ พระวิชิตณรงค์(หน) ผู้ประมูลผูกอากรในการเก็บภาคหลวงจากผู้ที่ไปขุดทรัพย์ที่กรุงเก่า ซึ่งจะต้องส่งเงินค่าภาคหลวงปีละ ๕๐๐ ชั่ง ได้ไปสมคบกับ นายบุนนาค ขุนสุระ และ ขุนแก้ว เพื่อวางแผนก่อการจลาจล ที่กรุงศรีอยุธยา และ กรุงธนบุรี ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกยาพิษ เสียพระสติ

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ เกิดความขัดแย้งเรื่องการอ้างสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ก่อนเกิดการรัฐประหาร สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงแต่งตั้งตุลาการตัดสินคดีความ มอบให้ พันสี ให้เป็น ขุนจิตรจูน และแต่งตั้งพันลา ให้เป็น ขุนประมูลราชทรัพย์ เพื่อตัดสินกรณีพิพาทระหว่าง เจ้าของทรัพย์ และ ผู้ขุดทรัพย์ได้ รับสั่งให้ทำการลงโทษขุนนางชั้นสูงในกรุงธนบุรี จำนวนมาก ที่ปฏิบัติตนไม่ดี ทำให้ขุนนางอำมาตย์ชั้นสูง เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริง ไม่พอใจจำนวนมาก

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ พระวิชิตณรงค์(หน) และ นายบุนนาค ปล่อยข่าวว่า เจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) เจ้าเมืองกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แบ่งทรัพย์อย่างไม่เป็นธรรม จึงแสร้งส่ง ขุนสุระ(น้องชายนายบุนนาค) กับ ขุนแก้ว(น้องชายพระยาสรรค์) ร่วมกับผู้ขุดทรัพย์ ๓๐๐ คน ออกปล้นสะดม จวนว่าราชการ ของ เจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) นำทรัพย์สินไปหมด เป็นเหตุให้ เจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ต้องหลบหนีไปยังกรุงธนบุรี และกราบทูลให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงทราบ

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีอาการดีขึ้น และอยู่ระหว่างการเสวยอาหาร บำรุงปลายประสาท สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงเสด็จลงมาตัดสินคดีความเรื่องความขัดแย้งในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขุดได้ด้วยพระองค์เอง และทำการลงโทษอย่างรุนแรงแก่ผู้ที่ทำการโกหก ตอแหล

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ เมื่อ เจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) หลบหนีมาที่กรุงธนบุรี นายบุนนาค สมคบกับ พระวิชิตณรงค์(หน) นำประชาชน ๓๐๐ คน ที่ไม่พอใจเจ้าพระยาอินทร์อภัย(บุญมี) และการตัดสินคดี ของ พันสี พันลา ในการแบ่งสมบัติที่ขุดได้ ทำการก่อการจลาจล ที่กรุงศรีอยุธยา แล้วขยายตัวมาที่ กรุงธนบุรี ทำการถวายฎีกา ต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้มาตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง

เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ พระยาสรรค์ สมคบกับ นายบุญนาค และ พระยาวิชิตณรงค์(หน) ผู้ทำการโกหก ตอแหล ไม่พอใจ จึงก่อกระแส และนำไพร่พล ๓๐๐ คน มายังกรุงธนบุรี ทำการจับเชื้อสายราชวงศ์ ขุนนางอำมาตย์ ที่อ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขุดได้ ไปเป็นตัวประกัน แล้วขยายตัวเข้าจับกุม เชื้อสายราชวงศ์ ขุนนางอำมาตย์ อื่นๆ เพื่อเตรียมการเข้ายึดอำนาจรัฐประหาร ตามแผนการที่กำหนด ผู้คนเริ่มอพยพออกจาก กรุงธนบุรี

ปลายตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก(ทองด้วง) ทราบข่าวจากจดหมายลับ ของ พระยาทิพย์โกษา(แสง) กล่าวว่า นายบุญนาค และ พระวิชิตณรงค์(หน) กรุงธนบุรี ว่าการก่อการรัฐประหารเป็นไปตามแผนการที่กำหนด พร้อมกับทำการปล่อยข่าวโกหก ตอแหล ในหมู่ทหารว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสียพระสติ ทำให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชนทั่วไป

 

การเคลื่อนทัพอย่างช้าๆ ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เข้าสู่ กรุงพนมเปญ พ.ศ.๒๓๒๔

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๒๔ ตำนานหนานฉือลู่ หรือ ประวัติศาสตร์เวียตนาม ราชวงศ์ยาลอง ได้บันทึกไว้ โดยกล่าวถึงการเจรจาระหว่างแม่ทัพไทย(สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และ เจ้าพระยาสุรสีห์) กับ แม่ทัพญวน ซึ่งตั้งกองทัพเผชิญหน้ากันอยู่ในประเทศกัมพูชา ว่า “...สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก(ทองด้วง) ได้แจ้งแก่แม่ทัพราชอาณาจักรเวียตนาม ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นโรคจิตวิปลาส ได้เอาครอบครัวของสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และ เจ้าพระยาสุรสีห์ ไปกักขังไว้...”

ข้อสังเกต อันที่จริง การจับเอาครอบครัว ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา) เกิดขึ้นจริงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๕ จากข้อมูลของเวียตนาม แสดงให้เห็นว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก รับรู้แผนการก่อการรัฐประหาร เป็นอย่างดี

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ทราบข่าวจากจดหมายลับ ของ พระยาทิพย์โกษา(แสง) ว่า การทำรัฐประหารในกรุงธนบุรี โดยพระยาสรรค์ ยังไม่ประสบความสำเร็จ เกิดการต่อสู้กันทั้งเมือง สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก จึงเจรจากับกองทัพญวน ว่าจะไม่รุกรานต่อกัน

 

การก่อจลาจล ขยายลุกลามไปถึง กรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๕

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาวิชิตณรงค์(หน) มอบให้ นายบุนนาค และ ขุนสุระ ออกป่าวประกาศว่า ขุนนางอำมาตย์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ไปยึดทรัพย์สินของประชาชนที่กรุงศรีอยุธยา ไปครอบครอง ให้ พระยาสรรค์ และ ขุนแก้ว ซึ่งเป็น พี่น้องต่างบิดากับ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ร่วมกับประชาชนที่ถูกยึดทรัพย์สิน นำกำลังทหาร ๓๐๐ คน ออกปล้นสะดม ยึดทรัพย์สิน ของ ขุนนางอำมาตย์กรุงธนบุรี อ้างว่านำมาจากกรุงศรีอยุธยา และจับลูกเมียทหารที่ดูแลพระราชวังหลวง และตั้งบ้านเรือนในกรุงธนบุรี ไปเป็นตัวประกัน

การก่อจลาจล ตามแผนการเข้ายึดอำนาจของ พระยาวิชิตณรงค์(หน) จากสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตามแผนการที่กำหนด ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด จึงมีการเร่งปลุกระดมประชาชนประมาณ ๑,๐๐๐ คน จาก กรุงศรีอยุธยา มาร้องเรียนขอความเป็นธรรมจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จนกระทั่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ออกมาตัดสินคดีความ ด้วยพระองค์เอง แต่การจลาจล ยังไม่ยุติ พระยาวิชิตณรงค์(หน) มอบให้กองกำลังพระยาสรรค์ ๓๐๐ คน ไม่ติดอาวุธ พร้อมประชาชนประมาณ ๑,๐๐๐ คน มาล้อมรอบพระราชวังหลวง ส่งเสียงร้องให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ คืนทรัพย์สินที่ยึดไปจากกรุงศรีอยุธยา ไปเก็บรักษาไว้ในท้องพระคลังหลวง คืนให้กับประชาชน

วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ นำเอาความขัดแย้งเรื่องการเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขุดได้ มาใช้เป็นเงื่อนไขในการก่อการจลาจล โดยมอบให้ นายบุนนาค ขุนสุระ และ ขุนแก้ว ส่งกำลังทหารเข้าจับกุมขุนนางอำมาตย์ ทหาร และครอบครัวขุนนางอำมาตย์ เชื้อสายราชวงศ์ต่างๆ เข้าคุมขังไว้อย่างลับๆ อ้างว่าเป็นผู้เก็บทรัพย์ที่ขุดได้จากกรุงศรีอยุธยา ไปครอบครอง เพื่อนำมาต่อรอง กับ ทหาร ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มิให้เกิดการสู้รบ

กองกำลังพระยาสรรค์ ๓๐๐ คน ไม่ติดอาวุธ พร้อมประชาชนประมาณ ๑,๐๐๐ คน มาล้อมรอบพระราชวังหลวง มาออกันอยู่ที่ประตูเมือง เรียกร้องให้เปิดประตูเมือง ให้ประชาชนไปตรวจทรัพย์สินของตนเองที่ท้องพระคลังหลวง จึงเกิดการยิงต่อสู้กันขึ้น กองกำลังพระยาสรรค์ นำลูกเมียของทหารที่ป้อม มาเป็นโล่รับกระสุนปืน ทำให้ทหารรักษาพระราชวัง ไม่กล้ายิง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่มาสังเกตการณ์อยู่ที่ประตูพระราชวังหลวง รับสั่งให้เปิดประตูพระราชวังหลวง ให้ประชาชนที่สงใสเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเอง ให้ไปตรวจทรัพย์สินในท้องพระคลังหลวง ปรากฏว่า ประชาชนไม่พบทรัพย์สินของตนเอง เมื่อประชาชนออกมาจากพระราชวังหลวง พระยาสรรค์ กลับปลุกระดมประชาชนว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำทรัพย์สินไปซ่อนไว้ การก่อการจลาจล จึงรุนแรงขึ้น

เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่งจดหมายลับถึง พระยายมราช(หวัง) ซึ่งกำลังเผาอิฐ ที่เมืองไชยามีเนื้อความว่า ให้กินข้าวไชยา ล้างมือที่ธนบุรี มีเจตนาให้ส่งกองทัพเข้ามารักษาความสงบที่กรุงธนบุรี แต่ พระยายมราช (หวัง) เดินทางไปแต่ตัว มิได้นำกองทัพมาด้วย

       วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ จับลูกเมียของทหาร ขุนนางอำมาตย์ต่างๆ รวมทั้ง ครอบครัวของสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และ ครอบครัวของ เจ้าพระยาสุรสีห์ และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เป็นตัวประกัน เพื่อนำมาต่อรองกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ

วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งให้ปล่อยนักโทษ และ เปิดท้องพระคลังหลวง ให้ขุนนางต่างๆ เข้าไปขนเอาสมบัติจนเกือบหมดท้องพระคลัง และปล่อยตัวนักโทษออกจากคุก ที่คุมขัง ทั้งหมด

 

พระยาสรรค์เข้ายึดพระราชวังหลวง กรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๕

วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ และพวก ลักลอบเคลื่อนกำลังเข้ามาใน กรุงธนบุรี ในเวลาพลบค่ำ พอมาถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. ก็เข้าปล้นพระราชวังหลวง ทำการรบกับพวกที่ทำการรักษาป้อมอยู่จนถึงรุ่งเช้า พระยาสรรค์ จับลูกเมียครอบครัวทหาร มาเป็นโล่ป้องกันกระสุนปืน มาต่อรอง จนกระทั่งทหารที่ป้อม ไม่ต้องการต่อสู้ด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงส่ง พระสังฆราช(ศรี) พระพิมลธรรม และ พระรัตนมุนี ไปเจรจาด้วย

วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ ผลการเจรจา พระยาสรรค์ เสนอผ่านสมเด็จพระสังฆราช(ศรี) ให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงออกผนวช แล้วจะปล่อยลูกเมีย ของ ขุนนางอำมาตย์ต่างๆ เพื่อทำการสเดาะเคราะห์เป็นเวลา ๓ เดือน ณ วัดแจ้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยอมรับข้อเสนอ จึงทรงออกผนวช ณ วัดแจ้ง และถูกพระยาสรรค์ส่งทหารคุมตัวไว้ในพระอุโบสถวัดแจ้ง พร้อมราชโอรส และ ราชธิดา ที่ยังเป็นเด็กเล็กอยู่

วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ และพวก เข้าจับกุม กรมขุนอนุรักษ์สงคราม และพวก ซึ่งเพิ่งเดินทางมาจากเมืองไชยา นำยาสมุนไพร มาถวาย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกพระยาสรรค์ จับเข้าคุมขังไว้ในคุก

วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ เป็นผู้สำเร็จราชการ ณ ท้องพระโรง พระราชวังหลวง สั่งปล่อยนักโทษที่ถูกกล่าวหาว่า ขโมยขุดทรัพย์ที่กรุงศรีอยุธยา ออกจากคุกจำนวนมาก และเข้าจับกุมขุนนางอำมาตย์ฝ่ายตรงข้าม เข้าคุก พระยาจักรี(จุ้ย) ถูกจับกุมและพยายามต่อสู้ จึงถูกพระยาสรรค์ สั่งประหารชีวิต ประชาชนเริ่มอพยพออกจาก กรุงธนบุรี

วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ นายบุญนาค และ พระวิชิตณรงค์(หน) กรุงธนบุรี ผู้สมคบการก่อการรัฐประหารเป็นไปตามแผนการที่กำหนดอย่างล่าช้า ได้เข้าจับกุม พันสี และ พันลา ตุลาการผู้ตัดสินคดีความ และเข้าปล้นทรัพย์สิน ของพวกเชื้อสายราชวงศ์ ขุนนางอำมาตย์ ต่างๆ ทั่วเมืองธนบุรี เกิดการจลาจลขึ้นทั่วกรุงธนบุรี ขุนนางอำมาตย์ต่างๆ เกรงความไม่ปลอดภัย จึงตัดสินใจอพยพออกจากกรุงธนบุรี พวกขุนนางแซ่แต้ ญาติพระเจ้าตากสินฯ ที่บ้านท่าดินแดง กรุงธนบุรี ได้อพยพครอบครัวไปอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ ก่อนการอพยพไปอยู่ที่ เมืองเชียงใหม่ ในเวลาต่อมา

วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ ประชาชนหลบหนีออกจากกรุงธนบุรี เพราะเกรงถูกยึดทรัพย์จากกองกำลังพระยาสรรค์ และพวก ที่ทำการก่อการรัฐประหาร

วันที่ ๑๑-๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ กรุงธนบุรี อยู่ในสภาพเมืองร้าง ที่ถูกยึดครองด้วยกองโจร ๓๐๐ คนของ พระยาสรรค์ ได้ออกปล้นสะดมทรัพย์สิน ของ ประชาชน กรุงธนบุรี ไปทั่ว

 

พระยาสรรค์ ว่าราชการ กรุงธนบุรี เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕

       วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ ได้ออกว่าราชการในท้องพระโรง เรียกขุนนางอำมาตย์มาประชุมพร้อมกัน ชี้แจงว่า เกิดความไม่สงบขึ้นมาในกรุงธนบุรี และ กรุงศรีอยุธยา เพราะ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สติวิปลาส ตนเองจึงเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ และเหตุการณ์ได้สงบเรียบร้อยดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯได้ทรงออกผนวช ตนเองได้รับมอบหมายจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการ รอจนกว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก ราชบุตรเขย และเป็น มหาอุปราช เสด็จกลับจากราชการสงคราม จะเชิญขึ้นมาเป็นกษัตริย์ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ตามความประสงค์ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่มีพระราชประสงค์ไว้

       พระยาสรรค์ ได้สั่งปล่อยนักโทษ ที่ตุลาการ พันศรี และ พันลา ได้ตัดสินให้จำคุก เมื่อนักโทษถูกปล่อยออกมา ก็มีความแค้นเคือง ทั้งพันศรี พันลา รวมไปถึงโจทก์ และ พยานโจทก์ จึงออกติดตามไล่ฆ่าด้วยความเคียดแค้น จึงเริ่มเกิดความไม่สงบขึ้นที่กรุงธนบุรี อีกครั้งหนึ่ง

       ตามแผนการก่อการรัฐประหาร เดิม เมื่อพระยาสรรค์ ควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว และเป็นผู้สำเร็จราชการ ก็ให้พระยาวิชิตณรงค์(หน) ทำการควบคุมดูแลท้องพระคลังหลวง ขุนแก้ว ดูแลพระราชวัง นายบุนนาค และ ขุนสุระ ทำหน้าที่ดูแลความสงบทั่วไปในกรุงธนบุรี จนกว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ราชบุตรเขย และ มหาอุปราช เสด็จกลับจากราชการสงคราม จะถูกเชิญขึ้นมาเป็นกษัตริย์ ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี แต่เหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อ พระยาสุริยอภัย นำกองทัพ ๓,๐๐๐ คน มาปิดล้อม พระราชวังหลวง กรุงธนบุรี

พระยาสรรค์ และ นายแก้ว เป็นพี่น้องต่างบิดา กับ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก สับสนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ พระยาสุริยอภัย นำกองทัพ ๓,๐๐๐ คน มาปิดล้อมพระราชวังหลวง เพราะมิได้มีในแผนการก่อการรัฐประหาร ตามที่กำหนดมาก่อน จึงเป็นที่มาให้ พระยาสรรค์ ปล่อยกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ออกจากคุก พระยาสรรค์ขอให้กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ร่วมกับ เจ้าพระยามหาเสนา พระยารามัญวงศ์ พระยากลางเมือง นายกองมอญ ทำการรวบรวมไพร่พลออกต่อสู้กับกองทัพของ พระยาสุริยอภัย และพวก ที่มาปิดล้อมพระราชวังหลวง

 

การเคลื่อนทัพของพระยาสุริยอภัย เข้าสู่ กรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๕

กลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๒๔ พระยาสุริยอภัย เคลื่อนกองทัพตามคำสั่ง ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก มาตั้งทัพอยู่ที่เมืองนครราชสีมา คอยรับฟังข่าวลับ จาก พระยาทิพย์โกษา(แสง)

ปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก สั่งให้ พระยาสุริยอภัย เคลื่อนทัพจากเมืองบันทายมาศ(ฮาเตียน) มายังเมืองนครราชสีมา เพื่อเฝ้าติดตามสถานการณ์จากจดหมายลับ ของ พระยาทิพย์โกษา(แสง)

เดือนกุมภาพัน พระยาสุริยอภัย เจ้าเมืองนครราชสีมา เคลื่อนทัพมาอยู่ที่นครราชสีมา ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ที่กรุงธนบุรี และรอคำสั่งจาก สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก

เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก สั่งให้ พระยาสุริยอภัย เคลื่อนทัพ ๓,๐๐๐ คน จากเมืองนครราชสีมา เข้ามาปิดล้อมพระราชวังหลวงที่กรุงธนบุรี 

วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสุริยอภัย นำกองทัพจากเมืองนครราชสีมา จำนวน ๓,๐๐๐ คน เดินทัพเข้ามาถึง กรุงธนบุรี ตั้งกองทัพอยู่ที่บ้านสวนมังคุด สวนลิ้นจี่(โรงพยาบาลศิริราช ในปัจจุบัน)

วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสุริยอภัย นำกำลังทหาร ๓,๐๐๐ คน เข้าปิดล้อมพระราชวังหลวง

วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ถูกพระยาสรรค์ ปล่อยออกจากคุก พระยาสรรค์ขอให้กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ร่วมกับ เจ้าพระยามหาเสนา พระยารามัญวงศ์ พระยากลางเมือง นายกองมอญ ทำการรวบรวมไพร่พลออกต่อสู้กับกองทัพของ พระยาสุริยอภัย และพวก ที่มาปิดล้อมพระราชวังหลวง

วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ กราบทูลขอให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงลาสิกขา และนำกำลังทัพต่อสู้กับ กองทัพของ พระยาสุริยอภัย แต่ ภิกษุสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ปฏิเสธคำร้องขอ

วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ เข้าเฝ้า ภิกษุสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ครั้งที่-๒ เพื่อขอให้ลาสิขา และได้รับคำแนะนำจากสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้ พระยาสรรค์ ปล่อยตัวขุนนางต่างๆ ที่นำไปขังคุกไว้ เพื่อให้เข้าร่วมต่อสู้กับ กองทัพของ พระยาสุริยอภัย

วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ ยอมปล่อยตัวขุนนาง ทหารและครอบครัว ที่จับเป็นตัวประกันตามคำร้องขอ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ

วันที่ ๒๖ มีนาคม ถึง ๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระราชวังหลวง ยังถูกปิดล้อม

วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ ได้ปล่อย กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ออกจากคุก

คืนวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม นำกำลังที่รวบรวมได้ ออกไปโจมตี บ้านพระยาสุริยอภัยที่ตำบลสวนมังคุด สวนลิ้นจี่ ในเวลาเที่ยงคืน นำกองกำลังเข้าล้อมบ้าน ของ พระยาสุริยอภัย โดยมีกำลังของพวกมอญในกอง พระยารามัญวงศ์ และ พระยากลางเมืองเข้าร่วมในกองทัพ เมื่อเคลื่อนกองทัพไปที่บ้านปูน ทางทิศใต้ ของ บ้านสวนมังคุด เป็นเวลาที่ลมสำเภาพัดกล้า กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ได้จุดไฟเผาบ้านเรือนราษฎร ที่บ้านปูน เพื่อให้ไฟลุกลามไปยังบ้านของ พระยาสุริยอภัย แล้วให้ทหารโอบขึ้นไปทางทิศตะวันตก จนถึงวัดบางหว้าน้อย เอาปืนยิงเข้าไปในบ้านของ พระยาสุริยอภัย

ขณะที่มีการยิงต่อสู้อยู่นั้น เจ้าศิริรจนา น้องสาวเจ้ากาวิละ ภรรยาเอก ของ เจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ป้อมพระอาทิตย์ ปากคลองบางลำพู ได้ติดต่อกับ พระยาเจ่ง พระยาราม นายกองมอญอีกพวกหนึ่ง จัดเรือให้ทหารมอญ ข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไปช่วยพระยาสุริยอภัย  จนกระทั่งกองทัพของ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ถูกตีแตกพ่ายไป หลบหนีไปอยู่ที่วัดยาง กองทัพของ พระยาสุริยอภัย ตามจับกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ได้ในคืนนั้น แล้วนำตัวไปขังคุกไว้ และเกิดสงครามกลางเมืองต่อเนื่องอีก ๔ วัน จนถึงวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕

 

พระเจ้าตากสิน มีจดหมายลับถึง พระยายมราช(หวัง) ให้กินข้าวไชยา ล้างมือ กรุงธนบุรี

ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยายมราช(หวัง) กำลังก่อสร้างกำแพงเมืองพระราชวังศรีเวียงชัย ที่เมืองไชยา ได้รับจดหมายลับของ พระเจ้าตากสิน มีใจความว่า ให้กินข้าวไชยา ล้างมือที่กรุงธนบุรี จึงรีบเดินทางจากไชยามายัง กรุงธนบุรี เมื่อมาถึง ก็ถูกจับกุมโดย พระยาสุริยอภัย และถูกนำไปขังคุกเพื่อรอการสอบสวน

ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ทำการสอบสวน พบจดหมายลับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ใจความว่า กินข้าวไชยา ล้างมือธนบุรีสอบสวนแล้วจึงถูกปล่อยตัว เพราะมิได้นำกองทัพ ไปด้วย และสำนึกถึงบุญคุณของ พระยายมราช(หวัง) ที่เคยอุปถัมภ์ สมัยที่เคยพักอาศัยอยู่ที่ บ้านทุ่งนาเล จึงชักชวนให้รับราชการอยู่ที่ กรุงธนบุรี ในตำแหน่งเดิม การก่อสร้างกำแพงเมืองพระราชวังศรีเวียงชัย เมืองไชยา จึงยุติลง ตั้งแต่นั้นมา

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกจับสึก นำไปขังที่วัดบางยี่เรือ สามารถหลบหนีได้ พ.ศ.๒๓๒๕

วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ผนวชอยู่ที่วัดแจ้ง ถูก พระยาสุริยอภัย จับสึก และถูกจับเข้าขังไว้ในคุกไว้ที่ วัดบางยี่เรือ พร้อมกับมัดตราสังข์ไว้ด้วยเชือกพดมะพร้าว

วันที่ ๓-๕ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา สมุหนายก พระอนุชา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำไพร่พล ลักลอบขุดอุโมงค์ ในเวลากลางคืน สามารถลักลอบเข้าไปทางอุโมงค์ สามารถนำ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ หลบหนีออกจากคุกวัดบางยี่เรือ ไปได้ พร้อมกับการเผาคุกเสียเรียบร้อย ด้วยบุหรี่ยาเส้น ซึ่งทำจากสายบัวแห้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับสั่งกับ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา มิให้ระดมทหารมาต่อสู้

วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ปลอมตัวเป็นตาผ้าขาว ได้หลบหนี เดินทางไปกรุงศรีอยุธยา พร้อมกับนายอินทร์ คนรับใช้ แล้วเดินทางไปพักอย่างลับๆ อยู่ที่เมืองโบราณศรีเทพ เมืองเพชรบูรณ์ ฯลฯ เป็นหมอรักษาประชาชน ส่วน สมเด็จเจ้าพระยาอนุรักษ์วงศา ได้นำบุตรภรรยา ของ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม และ กรมขุนรามภูเบศร์ และเครือญาติ ที่อยู่ที่เมืองนครสวรรค์ หลบหนีไปยัง เมืองราชบุรี ต่อไปยัง เมืองเพชรบุรี และไปอาศัยอยู่ที่บ้านหน้าสวน แขวงคันธุลี และ บ้านบ่อโว้ แขวงท่าชนะ เมืองไชยา มีสายสกุลสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

       ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในชุดตาผ้าขาว พร้อมนายอินทร์ เดินทางรับรักษาคนป่วย ไปถึงเมืองลานช้าง แล้วกลับมาพักอาศัยที่ราชบุรี กับเจ้าชายบัว แล้วไปประทับที่เขาวัง และ หาดเจ้าสำราญ เมืองเพชรบุรี

 

ผู้ลี้ภัยการเมือง ที่นาคุณพระ คันธุลี พ.ศ.๒๓๒๕

วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งปล่อยนักโทษ และ เปิดท้องพระคลังหลวง ให้ขุนนางต่างๆ เข้าไปขนเอาสมบัติจนเกือบหมดท้องพระคลัง และปล่อยตัวนักโทษออกจากคุก ที่คุมขัง ทั้งหมด และในวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ เข้าเฝ้า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ครั้งที่-๒ เพื่อขอให้ลาสิขา และได้รับคำแนะนำจากสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้ พระยาสรรค์ ปล่อยตัวขุนนางต่างๆ ที่นำไปขังคุกไว้ เพื่อให้เข้าร่วมต่อสู้กับ กองทัพของ พระยาสุริยอภัย

ในวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๕ พระยาสรรค์ ยอมปล่อยตัวขุนนาง ทหารและครอบครัว ที่จับเป็นตัวประกันตามคำร้องขอ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขณะที่เกิดการรัฐประหาร ขุนนาง และทหารส่วนหนึ่ง ซึ่งถูกปล่อยออกจากคุก ได้อพยพ มายัง เมืองคันธุลี เกิดตำนาน นาคุณพระ ในท้องที่บ้านดอนธูป คันธุลี อ.ท่าชนะ ด้วย

       ตำนานนาคุณพระ ที่บ้านดอนธูป เมืองคันธุลี มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ขุนนางอำมาตย์ที่ถูกขังคุกที่กรุงธนบุรี จะถูกโกนหัว ใส่เสื้อผ้าย้อมสีหมาก เหมือนสีผ้าพระภิกษุ ประมาณ ๒๐๐ คน ส่วนใหญ่มีถิ่นฐานดั้งเดิมที่เมืองไชยา และ เมืองท่าชนะ มาก่อน เมื่อถูกปล่อยตัว ก็อาศัยเรือสำเภาพ่อค้า นัดหมายมาขึ้นฝั่งที่ปากคลองคันธุลี นัดพบกันที่ ต้นหว้าใหญ่ ที่เคยใช้เป็นที่เลื่อยไม้ สร้างเรือสำเภา มาก่อน ประชาชนชาวเมืองคันธุลี มาพบ ก็เข้าใจว่า เป็นพระภิกษุ ที่หนีกองทัพพม่า มานั่งพักอยู่ จึงคิดจะนำอาหารไปถวาย จึงเข้าไปสอบถามว่าจะฉันอาหารอะไร มีเสียงตอบมาเหมือนกันว่า จะฉันแกงส้มยอดมะขาม ปลาช่อนแห้ง ชาวเมืองคันธุลี จึงช่วยกันแกงส้มปลาช่อนแห้งไปถวาย มาทราบความจริงต่อมาว่า แท้จริงเป็น เป็นขุนนาง อำมาตย์เก่า และทหารเก่า เวลาออกทำสงครามกับพม่า จะชอบกินแกงส้มปลาช่อนแห้งกับยอดมะขามอ่อน และถูกจับเป็นนักโทษที่กรุงธนบุรี ถูกปล่อยตัวออกมา เป็นที่มาให้ท้องที่ดังกล่าวถูกเรียกชื่อว่า นาคุณพระ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

       ต่อมากลุ่มขุนนางนักโทษดังกล่าว ได้กระจายไปตั้งรกรากในสองพื้นที่ใหญ่ และร่วมกันสร้างวัดขึ้นรอบๆ ที่อยู่อาศัย คือพื้นที่ วัดพระใหญ่ ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ ในปัจจุบัน และ วัดตะเคียน ต.ทุ่ง อ.ไชยา ในปัจจุบัน

 

ทำไม สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา สมุหนายก ไม่ยอมต่อสู้

       ลูกหลานสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา มักจะสอบถามต่อมาว่า ทำไมไม่ยอมต่อสู้กับกองทัพของพระยาสรรค์ และ กองทัพ พระยาสุริยอภัย ที่มีอยู่ไม่มาก ขณะที่เกิดการรัฐประหาร นั้น สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา สังเกตการณ์อยู่ที่ชานเมืองกรุงธนบุรี ทำไมไม่เรียกกองทัพของ พระยาราชบังสัน ที่เมืองชลบุรี กองทัพ พระยาจันทร์บูรณ์(เฉินหลุง) กองทัพพระยานนทบุรี กองทัพเจ้าพระยาอินทรอภัย กองทัพเจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร เมืองนครสวรรค์ กองทัพพระยาบัว เมืองราชบุรี กองทัพพระยาชุมพร(มั่น) กองทัพของ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ ฯลฯ กองทัพเหล่านี้หลายหมื่นคน สามารถปราบปรามการรัฐประหาร ได้อยู่แล้ว ได้รับเหตุผลหลายประการ ดังนี้

(๑) หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้นั่งวิปัสสนากรรมฐาน จนสามารถระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดมาเป็น หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เคยเป็นพระยาร่วง เคยเป็นตาผ้าขาวรอด ฯลฯ ก็มีความปรารถนามาโดยตลอดที่จะสละราชสมบัติ ออกผนวช เหมือนกับกษัตริย์สมัยโบราณ และจะตั้งสภาโพธิ เพื่อเป็นดุลถ่วงระหว่าง อาณาจักร และ ศาสนาจักร โดยได้เร่งรัดสมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ตำแหน่งมหาอุปราช มาโดยตลอด ให้เร่งรัดสืบทอดราชสมบัติ แต่ถูกหน่วงเหนี่ยวเรื่อยมา เพราะการแบ่งทรัพย์สินในท้องพระคลังหลวง ระหว่าง สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก กับ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ ยังไม่ลงตัว 

(๒) สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับรู้แล้วว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ได้ก่อการรัฐประหาร เพราะพระยาสรรค์ และ นายแก้ว เป็นพี่น้องต่างบิดา กับ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และเมื่อสอบถามพระยาสรรค์ ก็ทราบว่า พระยาวิชิตณรงค์(หน) เป็นผู้วางแผนก่อจลาจล เพื่อก่อการรัฐประหาร จึงปล่อยเลยตามเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ก็ต้องการสละราชสมบัติ ออกผนวช อยู่แล้ว

(๓) พระยาสรรค์ และพวก นำภรรยา บุตรธิดา ของขุนนางอำมาตย์ กรุงธนบุรี มาเป็นโล่กระสุน ต่อรองกับทหารรักษาพระราชวังหลวง ถ้าไม่ยอมประนีประนอม กับ พระยาสรรค์ จะทำให้มีผู้เสียชีวิต จำนวนมาก

(๔) ถ้ามีการนำกำลังทหารมาทำการต่อสู้ ปราบปรามการรัฐประหาร เมื่อดำเนินการสำเร็จ จะต้องสำเร็จโทษ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก และจะหาผู้ที่มีความสามารถ มาเป็นกษัตริย์ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ยากมาก จึงปล่อยให้การรัฐประหารเป็นไปตามที่ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ปรารถนา

(๕) ถ้ามีการปราบปรามการรัฐประหาร อาจจะเกิดสงครามยืดเยื้อ และจะทำให้ พม่าถือโอกาส ส่งกองทัพเข้ายึดครอง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี อย่างง่ายดาย มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี จะตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ที่ต้องใช้เวลาในการทำสงครามกอบกู้เอกราชกลับคืน อีกหลายปี และจะเกิดการบาดเจ็บล้มตายในสงครามอีกมากมาย

เมื่อเปรียบเทียบผลดี ผลเสีย ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา จึงไม่นำกำลังทหารออกปราบปรามการก่อกบฏ

 

สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพถึง กรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๕

       วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เล่าเรื่องราวถ่ายทอดให้ลูกหลานรับทราบต่อมาสรุปว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เดินทางไปตรวจสภาพภายในพระราชวังหลวง พบว่าทรัพย์สินในท้องพระคลังหลวง สูญหายไม่มีเหลือแล้ว จึงโกรธมาก ได้เรียก พระยาวิชิตณรงค์(หน) มาเข้าพบ สอบถามว่า ทำไมไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดได้ พระยาวิชิตณรงค์(หน) โยนความผิดไปให้ พระยาสรรค์ และ ขุนแก้ว พี่น้องต่างบิดา ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เล่าว่าทั้งสองคนเป็นคนปากโป้ง เล่าแผนการ การรัฐประหารให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทราบหมดแล้ว พระเจ้าตากสินฯ จึงเปิดท้องพระคลังหลวง ให้ประชาชนมานำทรัพย์สินดังกล่าวให้ประชาชน ไปครอบครอง เป็นที่มาให้ พระยาสรรค์ และ ขุนแก้ว ถูกสั่งให้นำไปประหารชีวิต

สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เดินทางไปตรวจสถานที่คุมขัง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่วัดบางยี่เรือ เพราะมีข่าวลือว่า ไฟไหม้คุกที่คุมขัง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกไฟคลอก สวรรคต ในคุกวัดบางยี่เรือ เมื่อ สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก เดินทางไปถึง ก็พบ อุโมงค์ลับ ที่ขุดเข้ามาในคุก ก็เชื่อทันทีว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถหลบหนีไปได้ เรียกพระยาวิชิตณรงค์(หน) มาหารือ เสนอแผนนำ พระเจ้าตากสินปลอม มาสำเร็จโทษ และปล่อยข่าวไปยังเมืองต่างๆ ที่จงรักภักดี ต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกสำเร็จโทษแล้ว เพื่อป้องกันเมืองต่างๆ ทำการกระด้างกระเดื่องต่อ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก

ข่าวปล่อยที่ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกสำเร็จโทษ และข่าวตามล่าเชื้อสายราชวงศ์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับรู้ไปทั่วภาคใต้ และรับรู้ไปถึง สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เตรียมให้เป็นมหาราชาปกครอง อาณาจักรสยาม กรุงไชยา และกำลังไปเร่งรัดจัดหารายได้จากแร่ดีบุก เพื่อสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง และกำลังติดภารกิจ สร้างที่ว่าราชการปกครองเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตก ให้กับ พระยาจินดาพล ที่ปากพระ เมืองพังงา เล่ากันว่า พระนางประยงค์ พระขนิษฐา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เสียพระทัยมาก ตัดสินใจแขวนคอตาย ก่อน ทำให้ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ เสียใจมาก จึงได้ตัดสินใจสำเร็จโทษตัวเอง ถึงแก่อนิจกรรม ตามกันไป

ส่วน พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ที่นำยาสมุนไพรไปส่งให้พระเจ้าตากสินฯ ที่กรุงธนบุรี และจะให้เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ในอนาคต แต่ถูกจับกุม และถูกประหารชีวิต อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ วางแผนฟื้นฟูขึ้น เพื่อนำดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ กลับคืน จึงล้มเลิกไป เพราะการรัฐประหาร 

สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก หวั่นเกรงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ หลบหนีไปได้ เกรงว่าจะกลับมายึดอำนาจกลับคืน จึงสั่งประหารชีวิต ขุนนางอำมาตย์ เจ้าเมืองต่างๆ ที่จงรักษ์ภักดี ต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประมาณ ๑๕๐ คน แล้วทำพิธีปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ในเวลาต่อมา

 

สายราชวงศ์ ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก

       สายราชวงศ์สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก แสดงดัง FLOW CHART ที่แสดง สายมารดา คือ นางดาวเรือง สืบสายสกุลมาจาก ๒ พี่น้อง คือ เจ้าหญิงกุ่ย และ เจ้าชายเฮ่ง แซ่แต้ มาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา เจ้าหญิงกุ่ย แซ่แต้ ได้สมรสกับ สมุหนายก ของกรุงศรีอยุธยา จะสืบทอดสายราชวงศ์มาถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่วนสายเจ้าชายเฮ่ง ได้มาเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี(บ้านประตูจีน) และสืบทอดสายตระกูลไปถึง นางดาวเรือง 

 

..................................................................................................

 

 

                                        บทที่-๒

                    ราชวงศ์จักรี ทำลายอำนาจรัฐเก่า

 

ปรากฏการณ์ หัวเมืองปักษ์ใต้ กระด้างกระเดื่องต่อ ราชวงศ์จักรี พ.ศ.๒๓๒๕

เมื่อ สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก(ทองด้วง) ทำการยึดอำนาจจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และเปลี่ยนราชวงศ์ เป็นราชวงศ์จักรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๕ หัวเมืองต่างๆ ในดินแดนอาณาจักรเสียม และ อาณาจักรมาลัยรัฐ ดั้งเดิม กระด้างกระเดื่อง เพราะรับทราบข่าวความจริงภายหลังว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถหลบหนีไปได้ และได้พบกับเจ้าเมืองหัวเมืองต่างๆ เป็นที่เลื่องลือทั่วหัวเมืองดินแดนภาคใต้ เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองท่าทอง เมืองถลาง เมืองตะกั่วป่า เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา หัวเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก และเมืองปัตตานี ล้วนเสนอให้นำกองทัพเข้ายึด กรุงธนบุรี กลับคืน พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน เป็นบุตร ของ เจ้าพระยารามเดโช อดีต เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นหลานของ เจ้าพระยาศรีหราชเดโช(ยะหิป) ที่สืบทอดสายราชวงศ์มาจาก หะซัน บุตรชายของ โมกุล กับ พระนางน้ำเงิน พี่น้องต่างมารดา กับ สมเด็จพระนเรศวรฯ ไม่พอใจมากที่มีการประหารชีวิตขุนนาง จำนวนมาก ที่ร่วมทำสงครามกอบกู้เอกราชร่วมกันมา โดยเฉพาะการสั่งประหารชีวิต พระยาจักรี(จุ้ย) ซึ่งเป็นญาติสนิท ของ พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน

พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน ผู้ปกครอง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ไม่ยอมรับการขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ ราชวงศ์จักรี ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ เช่นกัน ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๒๖ พระพุทธยอดฟ้าฯ มีรับสั่งให้ เจ้าพระยานคร-หนู เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เข้ามาคิดราชการเพื่อแก้ไขปัญหาการกระด้างกระเดื่อง ณ กรุงเทพฯ ถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา ก็ทำการบิดพลิ้ว ไม่ยอมเข้ามาหารือด้วย

ต่อมาทราบข่าวว่า พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ประกาศ ไม่ยอมรับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ พระพุทธยอดฟ้าฯ (ทองด้วง) ซึ่งขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ โดยมิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงประกาศตั้ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ยอมขึ้นต่อกรุงธนบุรี และทราบข่าวว่า หัวเมืองต่างๆ ได้รวบรวมกองทัพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน กำลังยุยงส่งเสริมให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำสงครามยึดอำนาจกลับคืน เป็นที่มาให้พระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดเกล้าให้ อุปราชจันทร์ อุปราช ของ เมืองนครศรีธรรมราช ให้เดินทางขึ้นกรุงเทพฯ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์) ให้ทำหน้าที่สืบข่าว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อย่างลับๆ

ทางเมืองจันทบุรี โดยพระยาจันทร์บูรณ์(เฉินหลุง) เมืองนครสวรรค์ เมืองกำแพงเพชร เมืองสุโขทัย เมืองตาก เมืองอยุธยา รวมไปถึง เมืองลานช้าง ติดต่อมาที่ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นอนุรักษ์วงศา ให้นำกองทัพเข้าต่อสู้กับ กองทัพของ พระพุทธยอดฟ้าฯ เพื่อส่งคืนอำนาจกลับคืนให้กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ด้วยเช่นกัน

 

พระพุทธยอดฟ้าฯ สืบข่าวเรื่อง พระเจ้าตากสินฯ วางแผนยึดอำนาจกลับคืน พ.ศ.๒๓๒๖

ปี พ.ศ.๒๓๒๖ พระพุทธยอดฟ้าฯ ทราบข่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถือศีลกินเจ เป็นชีพราหมณ์ตาผ้าขาว เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า  นายดำ ประชาชนเรียกชื่อว่า ตาผ้าขาวดำ ขณะนั้นประทับอยู่ที่ เมืองเพชรบุรี ส่งเสริมประชาชนชาวเพชรบุรี ให้ทำน้ำตาลเมืองเพชร จากต้นตาล และจากต้นจาก เพื่อนำไปทำขนมหม้อแกง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ชอบไปประทับที่ชายทะเล ทำให้ชายทะเลดังกล่าว ถูกประชาชนเรียกชื่อว่า หาดเจ้าสำราญ เพราะประชาพบว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงสำราญเบิกบานพระทัยที่ชายหาดแห่งนั้น จึงถูกประชาชนเรียกชื่อหาดชายทะเลแห่งนั้นว่า หาดเจ้าสำราญ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

พระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเกรงกลัวว่า ตาผ้าขาวดำ(พระเจ้าตากสิน) จะมีการรวบรวมกำลังเข้ายึดอำนาจกลับคืน จึงต้องการเดินทางไปสืบข่าว และ ขอเจรจา กับ ตาผ้าขาวดำ ด้วยตนเอง ปี พ.ศ.๒๓๒๖ พระพุทธยอดฟ้าฯ เดินทางไปติดต่อเจรจา กับ ตาผ้าขาวดำ ที่ เมืองเพชรบุรี อย่างลับๆ ทราบว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อาศัยอยู่ที่เมืองเพชรบุรี จริงๆ จึงพยายามติดต่อขอเข้าเฝ้า แต่ ตาผ้าขาวดำ (พระเจ้าตากสิน) ปฏิเสธคำขอ ไม่ยอมให้เข้าเฝ้า

       ชาวเมืองเพชร เล่าลือกันว่า ตาผ้าขาวดำ นั้นศักดิ์สิทธิ์นักหนา สามารถรักษาผู้ป่วย หายขาดทุกราย ตาผ้าขาวดำ สามารถรับรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าของผู้ป่วยว่าผู้ใดจะมาหา รู้ถึงการแต่งกายว่าแต่งกายอย่างไร โดยไม่ทราบข้อมูลมาก่อน รู้ถึงไฝ ปาน แผลเป็น ของผู้ป่วย ที่ซ่อนในที่ลับ สามารถยกดาบด้วยพลังจิต ให้ลอยขึ้นสู่อากาศได้ สามารถสื่อกับดวงวิญญาณ ผู้ตายได้ ฯลฯ จึงเป็นที่นับถือ ของ ชาวเพชรบุรี จำนวนมาก ประชาชนที่ผลิตจำหน่าย น้ำตาลเมืองเพชร และ ขนมหม้อแกง ที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของตาผ้าขาวดำ จะขายดิบขายดี เหมือนเทน้ำเทท่า

 

พระพุทธยอดฟ้าฯ พบ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่หาดเจ้าสำราญ เมืองเพชรบุรี พ.ศ.๒๓๒๖

       สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้เล่าเรื่องต่างๆ ที่พระพุทธยอดฟ้าฯ พยายามเข้าพบที่เมืองเพชรบุรี ให้ลูกหลานเล่าสืบทอดต่อกันมา โดยสรุปว่า ขณะที่ตาผ้าขาวดำ สร้างตำหนักรักษาผู้ป่วยอยู่ที่หาดเจ้าสำราญ ชายทะเลเมืองเพชรบุรี นั้น พระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ปลอมตัวเป็นสามัญชน เดินหลงทาง วนเวียนอยู่รอบๆ ตำหนักหลายรอบ แล้วไปนั่งปะปนอยู่ในหมู่ประชาชน ที่ตำหนักรักษาโรคตาผ้าขาวดำ ที่หาดเจ้าสำราญ ได้พบกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในชื่อใหม่ คือ ตาผ้าขาวดำ พระพุทธยอดฟ้าฯ จำเสียง และรูปร่าง หน้าตา ว่าเหมือนกับพระเจ้าตากสิน อย่างแน่นอน แตกต่างกันเพียง ผิวพรรณ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่มีผิวดำไปมาก เนื่องจากตากแดด และอาบน้ำทะเลเป็นประจำ

       เล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า พระพุทธยอดฟ้าฯ ขอพูดคุยกับ ตาผ้าขาวดำ ด้วย แต่ถูกตาผ้าขาวดำ กล่าวว่า ท่านไม่ได้ป่วย มาทำไม? ที่ตำหนักต้อนรับเฉพาะผู้ป่วย แล้วถูกสะกดจิต หลับไปในตำหนัก เมื่อตื่นขึ้นมา ไม่พบตาผ้าขาวดำ อีก ทราบจากประชาชนว่า ตาผ้าขาวดำ เดินทางไปรักษาประชาชนที่เมืองชุมพร และ เมืองไชยา พระพุทธยอดฟ้าฯ จึงต้องผิดหวัง ต้องเสด็จกลับไปกรุงเทพฯ

       ขุนนางอำมาตย์ทั้งที่กรุงเทพฯ และ กรุงธนบุรี ที่เคยเคารพนับถือ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่เคยเดินทางไปพบสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่เมืองเพชรบุรี ต่างนำมาบอกเล่าผู้ใกล้ชิด ทำให้ข่าวลือเรื่องของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยังไม่สวรรคต เป็นข่าวลือแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พระพุทธยอดฟ้าฯ ผู้ทราบเรื่องดีว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยังไม่สวรรคต เกรงว่า ขุนนางอำมาตย์ และทหาร จะกระด้างกระเดื่องต่อการปกครอง เพราะทหารส่วนใหญ่ ยังเคารพนับถือสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงพยายามติดต่อขอเข้าเฝ้า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อย่างลับๆ เรื่อยมา

 

พระพุทธยอดฟ้าฯ ปฏิบัติการ ยุติข่าวลือ เรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พ.ศ.๒๓๒๖

พระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงกลัวว่าขุนนาง และทหาร จะกระด้างกระเดื่อง หันไปสวามิภักดิ์ กับ ตาผ้าขาวดำ (พระเจ้าตากสิน) จึงต้องทำตอแหล แสร้งขุดศพลวง มาแสร้งจัดงานศพ นำพระภิกษุมาสวด สมเด็จพระเจ้าตากสินปลอม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๖ แล้วนำศพไปเผา ตามพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เพื่อสยบข่าวลือและเพื่อสร้างข่าวลวงว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกสำเร็จโทษ และ สวรรคต เรียบร้อยแล้วจริงๆ

       การขุดศพผู้อื่น มาทำการเผาตามพิธีทางพระพุทธศาสนา แล้วนำอัฐิธาตุไปเก็บรักษาไว้ที่วัดบางยี่เรือ เพื่อลวงว่าเป็นพระบรมศพของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นั้น มิได้ทำเยี่ยงพระบรมศพ ของ กษัตริย์ มีการจัดขุนนางอำมาตย์มาแสร้งร้องให้ แสดงความเสียใจ เหมือนกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สวรรคต จริงๆ แต่ยังเป็นที่คลางแคลงใจ ของ ขุนนางอำมาตย์ และทหารจำนวนมาก เพราะพิธีกรรมมิได้กระทำเยี่ยงพระบรมศพของกษัตริย์ ข่าวลือเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยังไม่สวรรคต ยังคงดำรงอยู่ เป็นที่มาให้ พระพุทธยอดฟ้าฯ ต้องมีพระราชสาสน์ถึง อดีตเจ้าพระยาโกษาธิบดี หยางจิ้งจง ที่เมืองคันธุลี เพื่อให้เข้าเฝ้าอย่างลับๆ และให้เป็นราชทูตติดต่อกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เพื่อทำพิธีขอขมาลาโทษ อีกครั้งหนึ่ง 

 

พระพุทธยอดฟ้า ทำพิธีขอขมาลาโทษ พระเจ้าตากสิน ที่หาดเจ้าสำเร็จ ท่าชนะ พ.ศ.๒๓๒๖

ตาผ้าขาวดำ (ตากสิน) เดินทางไปจำศีล และพักอาศัยอยู่ที่ วัดดอนชาย เมืองคันธุลี คือ ท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๖ พระพุทธยอดฟ้าฯ ทราบข่าวว่า ตาผ้าขาวดำ (พระเจ้าตากสิน) พักอาศัยอยู่ในท้องที่ อ.ท่าชนะ จึงเกรงว่า จะรวบรวมกำลังทหารเมืองต่างๆ ส่งกองทัพเข้ายึดอำนาจกลับคืนอีกครั้งหนึ่ง จึงพยายามติดต่อ ขอขมาลาโทษ อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๒๓๒๖ พระพุทธยอดฟ้าฯ มีพระราชสาสน์ ลับ เรียก อดีตเจ้าพระยาโกษาธิบดี (หยางจิ้งจง) ที่เมืองคันธุลี เข้ามาเฝ้าที่พระราชวังหลวง กรุงเทพฯ เพื่อขอให้ช่วยเป็นราชทูตติดต่อเจรจา กับ ตาผ้าขาวดำ (ตากสิน) เพราะพระองค์ต้องการขอขมาลาโทษ ในการทำการก่อกบฏ ที่ผ่านมาแล้ว เพราะได้สำนึกผิดแล้ว อดีตเจ้าพระยาโกษาธิบดี หยางจิ้งจง ได้ติดต่อตาผ้าขาวดำ นัดหมายพบพะกันเรียบร้อยที่ชายหาดทะเลใกล้วัดดอนชาย แขวงเมืองท่าชนะ ต่อมาชายหาดดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า หาดเจ้าสำเร็จ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

       ในวันดังกล่าว มีลูกหลาน และเชื้อสายราชวงศ์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่หลบภัยการรัฐประหาร มาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านวังพวกราชวงศ์ แขวงเมืองท่าชนะ มาร่วมอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นจำนวนมากด้วย มีเรื่องเล่าสืบทอดต่อกันมาว่า เมื่อพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จมาถึง หาดเจ้าสำเร็จ ตาผ้าขาวดำ ได้สอบถาม พระพุทธยอดฟ้าฯ สรุปว่า ทำไมจึงตัดสินใจก่อการรัฐประหารยึดอำนาจ ทั้งๆ ที่ได้มอบสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ไปเป็นภรรยา แล้วโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น สมเด็จเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ศึก เป็นมหาอุปราช และได้มอบราชสมบัติให้เป็นกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงเทพฯ แล้ว และ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จะมาช่วยสร้าง อาณาจักรเสียม กรุงไชยา เพื่อทำสงครามยึดครองอาณาจักรมาลัยรัฐ กลับคืน แล้วทำไมต้องทำการรัฐประหาร ทำให้ขุนนางอำมาตย์ และ ทหาร เสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้พม่า ฉวยโอกาสทำสงครามยึดครองประเทศสยาม อีก ทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ไพร่ฟ้าประชาชน ต่อไป

       พระพุทธยอดฟ้าฯ กราบทำพิธีขอขมาลาโทษ และชี้แจงว่า ตนเองไม่ได้ตั้งใจทำรัฐประหาร แต่ถูกยุยงจาก พระยาวิชิตณรงค์(หน) หรือ พระยาคลัง(หน) อย่างต่อเนื่อง จึงหลงผิดพลาดพลั้งไป กลับมาคิดได้ในภายหลังเมื่อมีขุนนางอำมาตย์ไพร่ฟ้าประชาชน จำนวนมากทำการต่อต้าน และพม่ากำลังเตรียมการทำสงครามยึดครองประเทศสยาม อีกครั้งหนึ่ง จึงขอคืนราชสมบัติให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กลับไปขึ้นครองราชย์สมบัติใหม่

       ตาผ้าขาวดำ(ตากสิน) ยอมรับการขอขมาลาโทษ ยินดีให้อภัยโทษ และปฏิเสธการกลับไปสืบทอดอำนาจใหม่ หลายอย่างที่พระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นห่วงในเรื่องการกระด้างกระเดื่อง ตาผ้าขาวดำ จะช่วยแก้ปัญหาให้ ส่วนการที่กองทัพพม่า วางแผนยึดกรุงเทพฯ นั้น ไม่น่าเป็นห่วง เพราะได้สะสมอาวุธทันสมัยไว้ให้เป็นจำนวนมากแล้ว ตาผ้าขาวดำ สั่งเสียไว้ว่า อย่าปล่อยให้ข้าศึกเข้ามาปิดล้อม กรุงเทพฯ ต้องส่งกองทัพเข้าต่อสู้กับพม่า ทุกเส้นทางที่ยกกองทัพเข้ามา และต้องตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารของข้าศึก ให้ต้องอดยาก ข้าศึกจะต้องล่าถอยเอง ที่สำคัญต้องพยายามรักษาดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ มิให้มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ยึดครองดินแดนไปครอบครองทั้งหมด 

       ตาผ้าขาวดำ ฝากฝังสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา อัครมเหสี ของ พระพุทธยอดฟ้าฯ ให้ดูแลด้วย และถ้าตาผ้าขาวสิ้นชีพไป และเกิดมาในภพชาติใหม่ จะเกิดมาสืบทอดราชวงศ์จักรี กล่าวกันว่า ทุกอย่างสำเร็จที่หาดเจ้าสำเร็จ ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า หาดเจ้าสำเร็จ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตาผ้าขาวดำ ได้ถอดเสื้อเกราะ พร้อมสร้อยลูกประคำ ที่เคยแขวนไว้เป็นประจำ มอบให้กับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเครือวัลย์(เจ้าหญิงสุดชาตรี) เก็บรักษาไว้ 

 

เมืองสงขลา กระด้างกระเดื่อง ต่อราชวงศ์จักรี พ.ศ.๒๓๒๕-พ.ศ.๒๓๒๗

ความเดิมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๒ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองสงขลา เป็นผลสำเร็จ หลวงวิเถียร เจ้าเมืองสงขลา(พ.ศ.๒๓๑๐-พ.ศ.๒๓๑๒) ผู้สนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ สามารถหลบหนีไปอยู่ที่ ประเทศเขมร กับ พระเจ้าโสร์ทศ(เจ้าจุ้ย) สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงเสด็จโดยทางเรือ ไปยังเมืองสงขลา และเสด็จขึ้นไปประทับอยู่ในเมืองสงขลา พระยาราชบังสัน(จุ้ย) ได้ส่งธิดาเจ้าเมืองสงขลา (หลวงวิเถียร) มาเป็นสนม ของ พระเจ้าตากสิน ได้พระราชโอรสลับ ๑ พระองค์ ชื่อ หาญ” (ต้นตระกูลศรียาภัย) ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ นายโยม เป็น พระยาสงขลา (โยม) เจ้าเมืองสงขลา ต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ นายเฮาเยี่ยง(วู่ยัง แซ่บู๊) เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน ให้ดำรงตำแหน่ง เป็น หลวงอินคีรีสมบัติ (จอมแหลมสน) ปกครองเมืองสงขลา ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๒-พ.ศ.๒๓๑๘

สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในปี พ.ศ.๒๓๑๘ หลวงอินคีรีสมบัติ(เยี่ยง) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาสุวรรณคีรี(เยี่ยง) ปกครองเมืองสงขลา มาถึงสมัยราชวงศ์จักรี ปี พ.ศ.๒๓๒๗ พระพุทธยอดฟ้าฯ ทราบว่าเมืองสงขลา กระด้างกระเดื่อง จึงโปรดเกล้าให้ พระสุวรรณคีรีสมบัติ(เยี่ยง) ดำรงตำแหน่งเป็น พระยาสงขลา(เยี่ยง)ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๗-พ.ศ.๒๓๒๙ ดังเดิม แต่พระพุทธยอดฟ้าฯ ได้มีรับสั่งให้ เมืองสงขลา ขึ้นต่อ เมืองนครศรีธรรมราช แทนที่การขึ้นต่อ กรุงเทพฯ ต่อมา พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ(เยี่ยง) เจ้าเมืองสงขลา ถูก พระพุทธยอดฟ้าฯ เรียกกลับ กรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗ แต่ พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ(เยี่ยง) ไม่ยอมเดินทางขึ้นมาเข้าเฝ้า เพราะไม่พอใจการยึดอำนาจสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ

ต่อมา พระพุทธยอดฟ้า โปรดเกล้าให้นายบุญหุ้ย บุตรชาย ของ พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (เยี่ยง) ดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย) เป็นผู้ปกครอง เมืองสงขลา แทนที่ ส่วน พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (เยี่ยง) ถูกเรียกกลับ กรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗-พ.ศ.๒๓๒๙ อีกครั้งหนึ่ง แต่ พระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (เยี่ยง) ไม่ยอมเดินทางขึ้นไปเข้าเฝ้า ดังเดิม และไม่ยอมปฏิบัติตามรับสั่ง ของ กรุงเทพฯ เหตุเพราะไม่พอใจที่ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ยินยอมให้แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ เป็นเมืองขึ้น ของ ประเทศสยาม

ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ ทางกรุงเทพฯ วางแผนให้ หลวงรองราชมนตรี(ฉิม) นำทหาร ๒,๐๐๐ คน เข้ายึดเมืองสงขลา จากพระยาสุวรรณคีรีสมบัติ(เยี่ยง)เป็นผลสำเร็จ เจ้าเมืองสงขลา ต้องหนีไปเกาะหนู ตำบลบ่อยาง คือตัวเมืองสงขลา ในปัจจุบัน หลวงราชมนตรี(ฉิม) จึงเป็นผู้ปกครองเมืองสงขลา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๙ เรื่อยมา กรุงเทพฯ จึงสามารถทำลายอำนาจเก่า ที่เมืองสงขลา สำเร็จ

 

พระพุทธยอดฟ้าฯ ปรับปรุงการปกครอง หัวเมืองปักษ์ใต้ เพื่อทำลายอำนาจเก่า พ.ศ.๒๓๒๗

เนื่องจากเกิดความไม่สงบขึ้นทั่วดินแดนภาคใต้ ที่กระด้างกระเดื่องต่อการปกครองของกรุงเทพฯ เพราะผู้ปกครองหัวเมืองต่างๆ ได้พบกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ หลังการรัฐประหาร จำนวนมาก จึงทราบถึงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการรัฐประหาร จึงมีการเรียกร้องให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำกำลังทหารเมืองต่างๆ ที่ยังจงรักภักดี ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน เข้ายึดอำนาจกลับคืน แต่ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๗ หลังจากที่พระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทำพีขอขมาลาโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่หาดเจ้าสำเร็จ เรียบร้อยแล้ว จึงมีรับสั่งให้ถอด เจ้าพระยานครหนู ออกจากตำแหน่ง เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และโปรดเกล้าตั้งตั้งให้ เจ้าพระยานครพัฒน์(บิดาบุญธรรม ของ เจ้านครน้อย) มาดำรงตำแหน่ง เจ้าพระยานคร ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช แทนที่

ได้เกิดความไม่สงบขึ้นทั่วดินแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๕ จนถึงปี พ.ศ.๒๓๒๗ ปรากฏหลักฐานในสำเนาตั้ง เจ้าพระยานครพัฒน์ ให้ไปปกครองเมืองนครศรีธรรมราช มีบันทึกว่า

....แลลักษณะทุกวันนี้ เมื่อข้าขอบขัณฑสีมาปักใต้ ฝ่ายตะวันออก โดยปริมณฑลรอบคอบไม่สงบราบคาบ กอบไปด้วยจลาจล ทำการรณรงค์สงคราม เกิดการรบพุ่งกันทุกแห่งทุกตำบลอยู่...

หลังจากที่พระพุทธยอดฟ้าฯ ขอขมาลาโทษ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ หาดเจ้าสำเร็จ ท่าชนะ เรียบร้อยแล้ว ตาผ้าขาวดำ(พระเจ้าตากสินฯ) ได้เดินทางไปร้องขอเจ้าเมืองต่างๆ ให้ยอมขึ้นต่อ ราชวงศ์จักรี เป็นเหตุให้ ต่อมา พระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีพัฒน์ เป็น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) เป็นผลสำเร็จ

 

พม่า เตรียมทำสงคราม ยึดครอง ประเทศสยาม กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๓๒๗

การตัดสินใจทำสงครามของพม่า เกิดจาก ข้อเสนอของนายรุก เชลยศึกของพม่า (อดีตเจ้าเมืองไชยา) ทราบข่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ยังไม่สวรรคต และเชื่อว่า ประเทศสยาม กำลังแตกแยกระหว่าง ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กับ ฝ่ายพระพุทธยอดฟ้าฯ อย่างรุนแรง ทั้งสองฝ่ายกำลังจะทำสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างกัน นายรุกจึงเสนอให้ พระเจ้าปดุง กษัตริย์ ของ พม่า ถือโอกาสความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศสยาม รีบยกกองทัพ เข้าทำสงครามยึดครองประเทศสยาม อีกครั้งหนึ่ง เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๓๒๗ เป็นที่มาให้ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.๒๓๒๗ พระเจ้าปดุง แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอมรปุระ เตรียมกองทัพจำนวน ๙ ทัพ กำลังพลทั้งหมด ๑๔๔,๐๐๐ คน เพื่อทำสงคราม ยึดครอง ประเทศสยาม อีกครั้งหนึ่ง เป็นการเตรียมการอย่างเร่งรีบ ประกอบด้วย กองทัพดังต่อไปนี้

(๑) กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แมงยี แมงข่องกะยอ จัดกำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน เรือกำปั่นรบ ๑๕ ลำ รวมพลกันที่ เมืองมะริด ภารกิจ ทำการรวบรวมเสบียงอาหาร ให้กับ กองทัพหลวง ของ พระเจ้าปดุง ให้เพียงพอ

เมื่อ กองทัพหลวง ของ พระเจ้าปดุง กำลังพล จำนวน ๕๐,๐๐๐ คน เสด็จมาถึง เมืองเมาะตะมะ เมื่อเดือน พฤศจิกายน เสบียงอาหารที่ต้องเร่งรัดรวบรวมอย่างเร่งรีบ ไม่เพียงพอ พระเจ้าปดุง ทรงพิโรธ เพราะไม่มีเสบียงอาหารเพียงพอตามที่ต้องการ จึงรับสั่งให้ประหารชีวิต แม่ทัพ แมงยี แมงข่องกะยอ เสีย

พระเจ้าปดุง โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ แกง-หวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ กองทัพที่ ๑ แทนที่ เป้าหมายของ กองทัพที่ ๑ ให้นำกำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน ร่วมกันทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสียม (ภาคใต้ตอนบน)

(๒) กองทัพที่ ๒ บัญชาการโดย อะนอกแฝก คิด-หวุ่น กำลังพล จำนวน ๑๐,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองทวาย เตรียมทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสียม กองทัพนี้ มี อดีต พระยาไชยา นายรุก ร่วมอยู่ในกองทัพ ด้วย   

(๓) กองทัพที่ ๓ บัญชาการโดย เจ้าเมืองตองอู คือ หวุ่นคะยี สะโต๊ะ ศิริมหาอุจนา กำลังพล จำนวน ๓๐,๐๐๐ นัดรวมพลกันที่ เมืองเชียงแสน เป้าหมาย ทำสงครามยึดครอง เมืองเหนือ แล้วมาบรรจบกันที่ ราชธานี กรุงเทพฯ โดยรวมพลกับ กองทัพที่ ๙ 

(๔) กองทัพที่ ๔ บัญชาการโดย เมียนหวุ่น แมงยี มหาทิมข่อง กำลังพล ๕,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองเมาะตะมะ เป้าหมาย เพื่อเดินทัพไปรวมกับ กองทัพที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ และที่ ๘ เพื่อรวมพลเป็น ๘๙,๐๐๐ คน เข้ายึดราชธานี กรุงเทพฯ

(๕) กองทัพที่ ๕ บัญชาการโดย เมียน เมหวุ่น กำลังพล ๕,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองเมาะตะมะ เป้าหมาย เพื่อเดินทัพไปรวมกับ กองทัพที่ ๔ ที่ ๖ ที่ ๗ และที่ ๘ เพื่อรวมพลเป็น ๘๙,๐๐๐ คน เข้ายึดราชธานี กรุงเทพฯ

(๖) กองทัพที่ ๖ บัญชาการโดย ราชบุตรองค์ที่ ๒ ของ พระเจ้าปดุง มีพระนามว่า ตะแคง กามะ กำลังพล จำนวน ๑๒,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองเมาะตะมะ เป้าหมาย เพื่อเดินทัพไปรวมกับ กองทัพที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๗ และที่ ๘ เพื่อรวมพลเป็น ๘๙,๐๐๐ คน เข้ายึดราชธานี กรุงเทพฯ

(๗) กองทัพที่ ๗ บัญชาการโดย ราชบุตรองค์ที่ ๓ ของ พระเจ้าปดุง มีพระนามว่า ตะแคง จักกุ กำลังพล จำนวน ๑๑,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองเมาะตะมะ เป้าหมาย เพื่อเดินทัพไปรวมกับ กองทัพที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๘ เพื่อรวมพลเป็น ๘๙,๐๐๐ คน เข้ายึดราชธานี กรุงเทพฯ

(๘) กองทัพที่ ๘ บัญชาการโดย พระเจ้าปดุง(พ.ศ.๒๓๑๙-๒๓๖๒) เป็นกองทัพหลวง กำลังพล จำนวน ๕๐,๐๐๐ คน ได้เสด็จไปรวมพลกันที่ เมืองเมาะตะมะ เมื่อเดือน พฤศจิกายน เป้าหมาย เพื่อเดินทัพไปรวมกับ กองทัพที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๗ เพื่อรวมพลเป็น ๘๙,๐๐๐ คน เข้ายึดราชธานี กรุงเทพฯ

(๙) กองทัพที่ ๙ บัญชาการโดย จอข่อง นรทา กำลังพล ๕,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองเมาะตะมะ เป้าหมาย เพื่อเดินทัพไปรวมกับ กองทัพที่ ๓ เพื่อรวมพลเป็น ๓๕,๐๐๐ คน ซึ่งทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองเหนือ นำกองทัพมารวมกัน เพื่อเข้ายึด กรุงเทพฯ

 

ประเทศสยาม จัดทัพสู้กับกองทัพ ประเทศพม่า พ.ศ.๒๓๒๗

วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๒๗ พระพุทธยอดฟ้าฯ ซึ่งทราบข่าวว่า พระเจ้าปดุง แห่ง ประเทศพม่า กรุงมณีปุระ เตรียมกองทัพทำสงครามยึดครอง ประเทศสยาม กรุงเทพฯ จึงเรียก พวกราชวงศ์ และ เสนาบดี ตลอดไปจนถึง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พร้อมกันหน้าพระที่นั่ง เพื่อหารือ วางแผนทำสงครามต่อสู้กับ กองทัพ ของ พระเจ้าปดุง แห่ง ประเทศพม่า โดยฝ่ายประเทศสยาม จัดให้มีกองทัพ ๔ กองทัพ เพื่อทำสงครามต่อสู้กับข้าศึกพม่า ดังนี้

  (๑) กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ หรือ กรมพระราชวังหลัง กำลังพล ๑๕,๐๐๐ คน ภารกิจ วางกำลังขัดตาทัพ กองทัพพม่า ที่เมืองนครสวรรค์ เพื่อขัดขวาง กองทัพพม่า มิให้เคลื่อนกองทัพจากภาคเหนือ เข้ามายัง กรุงเทพฯ

(๒) กองทัพที่ ๒ บัญชาการโดย กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) กำลังพล ๓๐,๐๐๐ คน ภารกิจ ตั้งรับที่ เมืองกาญจนบุรี เพื่อทำการต่อสู้กับ กองทัพ ของ พระเจ้าปดุง ที่ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์ ๓ องค์

(๓) กองทัพที่ ๓ บัญชาการโดย เจ้าพระยายมราช (หวัง) และ เจ้าพระยาธรรมา (บุญรอด) ภารกิจ วางกำลังพลที่ เมืองราชบุรี เพื่อรักษาเส้นทางลำเลียง ของ กองทัพที่ ๒ และคอยทำสงครามต่อสู้กับ กองทัพพม่า ที่อาจจะยกกองทัพเข้ามาทาง เมืองทวาย หรือ ทางใต้ เข้ากรุงเทพฯ

(๔) กองทัพที่ ๔ กองทัพหลวง บัญชาการโดย พระพุทธยอดฟ้าฯ (ทองด้วง) กำลังพล ๒๐,๐๐๐ คน ภารกิจ ตั้งทัพอยู่ที่ กรุงเทพฯ เพื่อสนับสนุน ด้านที่หนักได้ทันที

       จะสังเกตเห็นว่า กองทัพพม่า มุ่งเน้นที่จะจัดกองทัพเข้าทำลายอำนาจของ อาณาจักรเสียม(ภาคใต้ตอนบน) ซึ่งถือว่ามีการต่อสู้ที่เข้มแข็งกับกองทัพข้าศึกมาโดยตลอด แต่ทางกรุงเทพฯ มิได้จัดกองทัพออกไปต่อสู้กับกองทัพพม่า ในดินแดนภาคใต้ตอนบนแต่อย่างได เจ้าพระยายมราช(หวัง) ได้เสนอต่อที่ประชุมหน้าพระที่นั่ง ขออาสานำกองทัพไปต่อสู้กับกองทัพพม่า ที่เมืองไชยา เพื่อจัดกองทัพต่อสู้กับกองทัพพม่า ทั้งฝั่งทะเลตะวันออก และ ฝั่งทะเลตะวันตก พระพุทธยอดฟ้าฯ เห็นชอบด้วย แต่กรมพระราชวังบวร(เจ้าพระยาสุรสี) คัดค้าน และถูกที่ประชุมหัวเราะ เพราะทางเจ้าพระยาสุรสีห์ ต้องการยืมมือกองทัพพม่า ทำลายอำนาจรัฐเก่า ของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงไม่มีการรับข้อเสนอ เจ้าพระยายมราช(หวัง) เล่าเรื่องราวดังกล่าว สืบทอดต่อมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน 

 

เจ้าพระยายมราช(หวัง) ถูกปลดออกจากราชการ ตามแผนทำลายอำนาจเก่า พ.ศ.๒๓๒๘

เดือนธันวาคม ปี พ.ศ.๒๓๒๗ การรบของ กองทัพที่ ๒ ของพม่า บัญชาการโดย อนอกแฝก คิดหวุ่น กำลังพล จำนวน ๑๐,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองทวาย เตรียมทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสียม (ภาคใต้ตอนบน) กองทัพนี้ เคลื่อนทัพจากเมืองทวาย มาทาง ด่านบ้องตี้ มุ่งหน้าเข้าสู่ เมืองราชบุรี เพื่อส่งกองทัพเข้าทำลายอาณาจักรเสียม(ภาคใต้ตอนบน) โดยได้จัดกำลังพล ดังนี้

(๑) กองทัพหน้า บัญชาการโดย พระยาทวาย กำลังพล จำนวน ๓,๐๐๐ คน เป็น กองทัพหน้า ยกกองทัพมาตั้งที่ รางหนองบัว นอกเขางู 

(๒) กองทัพหลวง บัญชาการโดย อนอกแฝก คิดหวุ่น กำลังพล จำนวน ๔,๐๐๐ คน มาตั้งทัพที่ ห้องชาตรี 

(๓) กองทัพหลัง บัญชาการโดย จิก สิบโบ่ กำลังพล จำนวน ๓,๐๐๐ คน มาตั้งทัพที่ ด่านเจ้าขว้าว ริมลำน้ำพาชี

เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๓๒๗  ได้เริ่มเกิดสงคราม ระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศพม่า ณ สมรภูมิ ใกล้กับ ภูเขางู เมืองราชบุรี โดยที่ กองทัพของ พระยาบัว(พระราชโอรสของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) เจ้าเมืองราชบุรี และ เจ้าพระยายมราช (หวัง) ได้นำกำลังเข้าตีค่ายพม่า การรบดำเนินการไปถึงขั้นตะลมบอน ฝ่ายกองทัพพม่า ไม่สามารถต้านทานกำลังได้ จึงแตกทัพหนีไป ฝ่ายไทย ส่งกำลังไล่ติดตาม ปะทะกับ กองระวังหลังของพม่า พลอยแตกพ่ายไปด้วย ฝ่ายไทย สามารถจับเชลยศึก และ เครื่องศัตราวุธ ช้างม้า พาหนะ พม่าได้เป็นอันมาก ทหารพม่าที่เหลือ ต้องถอยทัพกลับไปยัง เมืองทวาย ไม่สามารถบุกต่อไปยัง เมืองชุมพร ตามแผนการที่กำหนด ได้ 

สงครามที่ราชบุรี ครั้งนั้น พระยาจ่าแสนยากร(บุนนาค) สมคบกับ พระยากลาโหมราชเสนา สร้างสถานการณ์ ทำลายอำนาจ ของ พระยาบัว ผู้ปกครอง เมืองราชบุรี และ ทำลายอำนาจ ของ เจ้าพระยายมราช (หวัง)ด้วยการทำโกหกตอแหล สร้างสถานการณ์ โค่นอำนาจ ทำลายอำนาจเก่า ของ พระยาบัว พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และ เจ้าพระยายมราช(หวัง) โดย พระยาจ่าแสนยากร(บุนนาค) สมคบกับ เจ้าพระยาธรรมา (บุญรอด) ด้วยการสร้างสถานการณ์ว่า เจ้าพระยายมราช (หวัง) ไม่สนใจทำสงคราม กับ กองทัพพม่า ณ สมรภูมิ ใกล้เขางู เมืองราชบุรี โดยอ้างว่า ผลงานการทำสงคราม กับ กองทัพที่ ๒ ของพม่า ซึ่งยกกองทัพมาจาก เมืองทวาย นั้น เจ้าพระยายมราช(หวัง) ไม่นำกองทัพไปสกัดกองทัพพม่า ที่ราชบุรี บริเวณเขางู การขับไล่กองทัพพม่า เป็นผลงาน ของ พระยาจ่าแสนยากร(บุนนาค) และ เจ้าพระยาธรรมา ทั้งสิ้น

ข้อเท็จจริง พระยาบัว พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เจ้าเมืองราชบุรี ถูกแผนลวง ของ พระยาจ่าแสนยากร (บุนนาค) ส่งกำลังเข้ายึดเรือนหลวงของ พระยาบัว ซึ่งเป็น พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พร้อมกับทำการยึดลูกเมียของพระยาบัว เป็นตัวประกัน เพื่อนำมาต่อรอง แล้วปล่อยข่าวลวงว่า กองทัพพม่าได้เข้ายึดเรือนหลวง ที่ว่าราชการ เมืองราชบุรี เรียบร้อยแล้ว เป็นเหตุให้  เจ้าพระยายมราช (หวัง) และ พระยาบัว ต้องนำกองทัพ ที่กำลังทำสงครามขับไล่ทหารพม่าขณะที่ถอยทัพไปยัง เมืองทวาย นั้น ต้องรีบเดินทางกลับเข้าสู่ เมืองราชบุรี ตามข่าวลวง และพบว่า ทหารของ พระยาจ่าแสนยากร (บุนนาค) และ เจ้าพระยาธรรมา (บุญรอด) ได้นำลูกเมีย ของ พระยาบัว มาต่อรอง ให้สละตำแหน่ง เจ้าเมืองราชบุรี และให้นำลูกเมีย ลงเรือสำเภา เดินทางไปที่อื่น ท่ามกลางฝนตกหนัก เป็นผลให้ พระยาบัว ต้องเสียชีวิตทั้งครอบครัว เนื่องจาก เรือสำเภาล่มกลางทะเล เพราะ ถูกคลื่นลมพายุแรง

เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.๒๓๒๘ พระยากลาโหมราชเสนา และ พระยาจ่าแสนยากร (บุนนาค) ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ตามแผนที่กำหนดว่า เจ้าพระยายมราช (หวัง) ละทิ้งหน้าที่ไม่นำกองทัพเข้าต่อสู้กับพม่า จึงถูก กรมพระราชวังบวรเจ้าพระยาสุรสีห์ รับสั่งให้ปลด เจ้าพระยายมราช (หวัง) ออกจากทุกตำแหน่ง ให้เป็นเพียงสามัญชน เท่านั้น และโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาจ่าแสนยากร (บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเป็น พระยายมราช(บุนนาค) แทนที่ อดีต เจ้าพระยายมราช (หวัง) จึงนำทหารคนสนิท เดินทางโดยทางเรือมุ่งสู่ ภาคใต้ เมืองไชยา เพื่อไปพบกับ ตาผ้าขาวดำ (ตากสิน) อย่างลับๆ เพื่อรวบรวมไพร่พล ต่อสู้กับกองทัพพม่า ร่วมกับ พระยาวิชิตภักดี (สา) เจ้าเมืองไชยา ที่เมืองไชยา

 

สงครามทำลายอำนาจเก่า ที่ดินแดน อาณาจักรเสียม(ภาคใต้ตอนบน) พ.ศ.๒๓๒๘

เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๓๒๗ กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ กำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน เรือกำปั่นรบ ๑๕ ลำ เคลื่อนทัพออกจาก เมืองมะริด ภารกิจ ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสียม (ภาคใต้) โดยแบ่งกำลัง ๒ ทาง ทางที่-๑ กองทัพบก กำลังพล ๗,๐๐๐ คน ยกกองทัพผ่านทาง ด่านสิงขร ทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองชุมพร และ รอพบกับกองทัพที่ ๒ ที่เมืองชุมพร เพื่อวางแผนเคลื่อนทัพสู่ ทางใต้ ต่อไป ส่วนทางที่-๒ กองทัพเรือ ๑๕ ลำ กำลังพล ๓,๐๐๐ คน บัญชาการโดย แม่ทัพ ยี่หวุ่น เป้าหมาย ทำสงครามเข้าตีเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่ เมืองถลาง (ภูเก็ต) ถึง เมืองตะกั่วป่า (พังงา) และทำการรวบรวมเสบียงอาหารไว้สนับสนุน กองทัพส่วนใหญ่ ด้วย

เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๓๒๗ การรบของ กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ ในส่วนของกองทัพบก มีกำลังพลทั้งหมด ๗,๐๐๐ คน มี อดีต พระยาไชยา นายรุก ร่วมอยู่ในกองทัพ ด้วย แบ่งกองทัพ ดังนี้

(๑)  กองทัพหน้า กำลังพล ๒,๕๐๐ คน บัญชาการโดย แม่ทัพ เนมโย คงนะรัด

(๒)กองทัพของ แกงหวุ่น แมงยี ควบคุมกำลังพล ๔,๕๐๐ คน

ผลของการปฏิบัติการ กองทัพทั้งสอง ยกกองทัพทางบก จากเมืองมะริด เข้ายึดครอง เมืองกระบุรี เมืองระนอง เมื่อยึดครองได้แล้ว ก็เคลื่อนทัพจาก ฝั่งทะเลอันดามัน ผ่าน ปากจั่น ไปยัง เมืองชุมพร ฝั่งอ่าวไทย สามารถทำสงครามยึดครองเมืองชุมพร เป็นผลสำเร็จ พระยาชุมพร(มั่น) สามารถหลบหนี ไปได้ กองทัพ ของ แกงหวุ่น แมงยี และ เนมโย คงนะรัด ตั้งทัพที่ เมืองชุมพร เพื่อ รอกองทัพที่ ๒ ของ แม่ทัพ อนอกแฝก คิดหวุ่น ซึ่งยกกองทัพมาจาก เมืองทวาย แต่ กองทัพจาก เมืองทวาย ที่พ่ายแพ้สงครามที่เมืองราชบุรี จึงไม่ได้เดินทางมาตามนัดหมาย พม่า จึงทำการเผาเมืองชุมพร สามารถยึดเรือสำเภา ได้เป็นจำนวนมาก จึงเดินทัพ ๗,๐๐๐ คน โดยทางเรือสำเภา มุ่งหน้าเข้าตีเมืองไชยา เป็นเมืองต่อไป

 

กองทัพพม่า โจมตี เมืองชายฝั่งทะเลตะวันตก กองทัพพม่าต้องถอยทัพ พ.ศ.๒๓๒๗

เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๓๒๗ การรบของ กองทัพที่ ๑ ของกองทัพเรือ ๑๕ ลำ กำลังพล ๓,๐๐๐ คน บัญชาการโดย แม่ทัพ ยี่หวุ่น เป้าหมาย ทำสงครามเข้าตีเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่ เมืองถลาง (ภูเก็ต) ถึง เมืองตะกั่วป่า (พังงา) และทำการรวบรวมเสบียงอาหารไว้ให้ กองทัพส่วนใหญ่ เพียงพอต่อการใช้ในกองทัพ ผลของการปฏิบัติการ กองทัพเรือ ของ แม่ทัพ ยี่หวุ่น สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองตะกั่วป่า เป็นผลสำเร็จ เพราะ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์ อดีตผู้ปกครองเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ได้ฆ่าตัวตาย หลังจากมีการปล่อยข่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกยึดอำนาจ ส่วนพระยาจินดาพล ผู้ปกครองแทนที่ ตัดสินใจยอมสละเมือง เพื่อนำกำลังทหารไปทำสงครามกองโจร ขับไล่กองทัพพม่า ที่เมืองตะกั่วป่า และ เมืองตะกั่วทุ่ง

ความเป็นมาของเมืองถลาง นั้น พระยาถลาง สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา สมรสกับ ธิดาของ พระยาไทรบุรี มีบุตร-ธิดา ๕ คน คือ คุณหญิงจัน คุณหญิงมุก นายหมา นายอาจ และ นายเรือง ฝ่ายคุณหญิงมุก นั้น สมรสครั้งแรก กับ หม่อมศรีภักดี(ญาติเจ้าเมืองนครพัด) ไม่มีบุตร-ธิดา คุณหญิงมุก จึงได้สมรสครั้งที่สอง กับ พระยาพิมล อดีตเจ้าเมืองกระ ชุมพร แล้วถูกย้ายไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง และเมืองเบตุง ยะลา มีบุตร-ธิดา ๕ คน คือ ปราง(ญ) ทอง เทียม จุ้ย และ เนียม

ฝ่ายคุณหญิงจัน สมรสกับ สมเด็จเจ้าพระยากรมขุนเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามวงศา(เจ้าชายไข่แดง โอรสคนโต พระเจ้าตากสิน) เป็นเจ้าเมืองถลาง เมื่อพระยาถลาง(บิดาคุณหญิงมุก) เสียชีวิต พระเจ้าตากสิน จึงโปรดเกล้าให้ เจ้าชายไข่แดง ปลัดเมืองตะกั่วป่า ซึ่งสมรสกับ คุณหญิงจัน มาเป็นพระยาถลาง เมื่อ พระยาถลาง(เจ้าชายไข่แดง) เสียชีวิตในสงครามกับพม่า ณ สมรภูมิ เมืองมะริด เป็นที่มาให้ สมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงโปรดเกล้าให้ พระยาพิมล(เจ้าเมืองพัทลุง) สามีของ คุณหญิงมุก มาปกครองเมืองถลาง คุณหญิงมุก มีบุตร-ธิดา ๕ คน ช่วยราชการด้วย

เมื่อพม่าส่งกองทัพเข้าปิดล้อม เมืองถลาง ณ เกาะภูเก็ต ไว้ ขณะนั้น พระยาถลาง(พระยาพิมล) หรือ เจ้าพระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามภักดี(พิมล) ผู้ปกครองเมืองถลาง ถึงแก่อนิจกรรมไปก่อนเกิดสงครามกับพม่า คุณหญิงจัน ภรรยาเจ้าชายไข่แดง อดีตพระยาถลาง ซึ่งเป็น ลูกสะใภ้ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ร่วมกับ คุณหญิงมุก ซึ่งเป็น พี่สาว ร่วมกับ กรรมการเมือง และ ประชาชน ทำการต่อสู้กับ กองทัพพม่า ด้วยอาวุธปืนที่ทันสมัยกว่า กองทัพพม่า มาก เพราะคุณหญิงจัน และ คุณหญิงมุก เป็นเพื่อนสนิท กับ ฟรานซิสไลท์(พระยากะปิตัน) ชาวอังกฤษ เจ้าเมืองปีนัง เคยสั่งซื้ออาวุธปืนทันสมัยให้กับกรุงธนบุรี มาก่อน กองทัพพม่า ได้ทำการปิดล้อมเมืองถลางไว้ ๑ เดือน เสบียงอาหารพม่าหมด เพราะถูกกองโจรของพระยาจินดาพล ลอบโจมตีกองทัพพม่า ตัดเส้นทางการลำเลียงเสบียงอาหารอย่างต่อเนื่อง เกิดการบาดเจ็บล้มตายของกองทัพพม่า จำนวนมาก ทหารพม่า อดหยาก จนกระทั่งแม่ทัพพม่าต้องตัดสินใจถอยทัพกลับ เมืองมะริด 

เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ คุณหญิงมุก เป็น ท้าวเทพสัตรี และโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ คุณหญิงจัน น้องสาว คุณหญิงมุก เป็น ท้าวศรีสุนทร แล้วโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาสุรินทราชา(ไม่ทราบชื่อ) มาปกครองเมืองถลาง เพื่อทำลายอำนาจเก่า

ประชาชนเมืองถลาง ไม่พอใจกรมพระราชวังบวรฯ เป็นอย่างมาก คุณหญิงมุก จึงต้องเดินทางเข้าเฝ้าพระพุทธยอดฟ้าฯ ที่กรุงเทพฯ จึงเป็นที่มาให้มีการโปรดเกล้าให้ บุตรชาย คุณหญิงมุก คือ พระยาทุกข์ราษฎร์(ทอง) เป็น พระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามภักดี ปกครองเมืองถลาง ให้นายเทียม เป็น พระยาสุรินทราชา(เทียม) ตำแหน่งปลัดเมือง และตั้งให้ นายจุ้ย เป็นยกบัตร(อัยการ) ส่วนนายเนียม ได้เป็นมหาดเล็ก ที่กรุงเทพฯ 

 

สงครามทำลายอำนาจเก่า ณ สมรภูมิ เมืองไชยา ครั้งที่-๑ พม่าต้องถอยทัพ พ.ศ.๒๓๒๘

เจ้าพระยายมราช(หวัง) อดีตเจ้าเมืองไชยา หลังจากถูกปลดออกจากราชการ ที่เมืองราชบุรี ก็ได้นำไพร่พล เดินทางโดยทางเรือ มุ่งหน้าสู่เมืองไชยา ขณะนั้น พระยาวิชิตภักดี(สา) เป็นน้องเมีย(ท่านนาค) ของ เจ้าพระยายมราช(หวัง) เป็นเจ้าเมืองไชยา ว่าราชการอยู่ที่ ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง เจ้าพระยายมราช(หวัง) ได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระเจ้าตากสิน(ตาผ้าขาวดำ) ซึ่งประทับอยู่ที่วัดดอนชาย เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทราบว่า มีความพยายามทำลายอำนาจเก่า โดยการยืมมือกองทัพพม่า มาร่วมทำลายด้วย

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ(ตาผ้าขาวดำ) เสนอให้ เจ้าพระยายมราช(หวัง) ตระเตรียมกองทัพ นำทัพเพื่อต่อสู้กับข้าศึกพม่า ด้วยอาวุธทันสมัยที่เมืองไชยา มีมากมาย เพราะเคยมีการลำเลียงอาวุธจากกรุงธนบุรี และจากเมืองถลาง ที่ซื้อจากพ่อค้าอังกฤษ เตรียมตั้งกองทัพใหญ่ เพื่อฟื้นฟูอาณาจักรสยาม กรุงไชยา ขึ้นมาใหม่ ตามดำหริของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ก่อนถูกยึดอำนาจด้วยการรัฐประหาร กองทัพเมืองไชยา จึงมีทั้งปืนใหญ่ ลูกระเบิด เครื่องยิงลูกระเบิด ปืนไรเฟิลที่ซื้อจากพ่อค้าอังกฤษ ปืนลูกซองจำนวนมาก เหนือกว่ากองทัพพม่า ที่ยังคงใช้ปืนนกสับ มาก

เดือนมกราคมปี พ.ศ.๒๓๒๘ สงครามกับพม่า ณ สมรภูมิทุ่งลานช้าง เมืองไชยา บริเวณเชิงภูเขาแม่นางส่ง โดย กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ กำลังพล ๗,๐๐๐ คน ลงเรือสำเภาซึ่งยึดได้จาก เมืองชุมพร เคลื่อนทัพทางเรือออกจาก เมืองชุมพร ภารกิจ ทำสงครามยึดครอง เมืองไชยา กองทัพเรือพม่า เดินทางเข้ามาทางปากน้ำท่ากระจาย ปากคลองท่าม่วง ปากคลองวัง และ ปากแม่น้ำปากกิ่ว

 

าพพื้นที่บริเวณ ทุ่งลานช้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของ ภูเขาแม่นางส่ง อดีตที่ตั้งที่ว่าราชการเมืองไชยา และที่ตั้งบ้านวังพวกราชวงศ์ ที่อพยพมาจาก กรุงธนบุรี พื้นที่สมรภูมิการรบกับ กองทัพพม่า สมัยสงคราม ๙ ทัพ

 

ตาผ้าขาวดำ (พระเจ้าตากสิน) เป็นผู้ร่วมวางแผนทำสงครามต่อต้าน กองทัพพม่า ร่วมกับ เจ้าพระยายมราช(หวัง) และ พระยาวิชิตภักดี(สา) อยู่ที่ถ้ำพระ ภูเขาแม่นางส่ง ได้สร้างป้อมค่ายทุกปากแม่น้ำ ลำคลอง มีการวางปืนใหญ่ บนภูเขาแม่นางส่ง ส่วนกองทัพพม่า มีอดีตเจ้าเมืองไชยา(นายรุก) เป็นผู้ให้ข้อมูล นายรุก ได้ร้องป่าวประกาศว่า กรุงเทพฯ ถูกยึดเรียบร้อยแล้ว ให้ยอมแพ้โดยดี ส่วนเจ้าพระยายมราช ร้องตะโกน ให้นายรุก ยอมแพ้โดยดีเช่นกัน

เมื่อกองทัพพม่า เคลื่อนทัพทางเรือ เข้าสู่ปากแม่น้ำต่างๆ กองทัพเมืองไชยา มีการปล่อยแพเพลิง เข้าเผาเรือสำเภาข้าศึกพม่า ที่ยึดมาจากเมืองชุมพร เสียหายจำนวนมาก จนมีเรือสำเภาหลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง เมื่อทหารพม่า บุกเข้ามาถึงทุ่งลานช้าง ทั้งสองฝ่ายต่อสู้ด้วยปืน ต้องขุดสนามเพลาะ ยิงต่อสู้กันอย่างหนัก ปืนใหญ่ที่ตั้งบนภูเขาแม่นางส่ง ยิงใส่ทหารพม่า จึงต้องหลบกระสุนปืนใหญ่อยู่แต่ในสนามเพลาะ ตาผ้าขาวดำ (ตากสิน) ได้ทำการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่ถ้ำพระ ภูเขาแม่นางส่ง ทำให้ฝนตกหนัก ปืนพม่า ไม่สามารถยิงได้ แต่ปืนของกองทัพไชยา สามารถยิงได้ ผลของสงคราม พม่า ไม่สามารถตีเมืองไชยา ที่ทุ่งลานช้าง แตก ต้องตัดสินใจถอยทัพ ต้องเดินทัพทางเรือที่เหลือ มุ่งหน้าเข้าตี เมืองท่าทอง เป็นเมืองต่อไป นายรุก ออกป่าวประกาศว่า จะกลับมายึดเมืองไชยา ให้ได้

 

  พม่า ยึดเมืองท่าทอง ขับไล่ พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี(บุญยัง) พ.ศ.๒๓๒๘

เดือนมกราคมปี พ.ศ.๒๓๒๘ สงครามกับพม่า ณ สมรภูมิ เมืองท่าทอง โดย กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ นำกำลังพลที่เหลือ เคลื่อนทัพเรือออกจาก เมืองไชยา ภารกิจ ทำสงครามยึดครอง เมืองท่าทอง ซึ่งปกครองโดย พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี (บุญยัง) พี่ชายของ เจ้าพระยายมราช(หวัง) ซึ่งแจ้งข่าวให้นายบุญยัง นำทรัพย์สิน และไพร่พล หลบหนีไปยังเมืองตรัง ผลของสงคราม พม่า สามารถยึดเมืองท่าทอง ในสภาพเมืองร้าง ประชาชนได้หลบหนีเข้าป่าเขา พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี (บุญยัง) หลบหนีไปอยู่ที่ เมืองตรัง และไม่กลับเข้ารับราชการอีก เพราะถือเป็นอำนาจเก่า ที่ทางกรุงเทพฯ ต้องการทำลาย

เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ โปรดเกล้าให้ นายสม ซึ่งเป็นบุตรชายเจ้าเมืองเพชรบูรณ์(ปลี) เชื้อสายโมกุล สายธิดาเจ้าเมืองละโว้ เป็น พระวิสูตรสงครามรามภักดี (สม) เป็นเจ้าเมือง ปกครอง เมืองท่าทอง และมี นายโสม น้องชาย เป็น ปลัดเมือง ต่อมานายสม ได้ไปสมรสกับ แม่แถม ธิดาของ เจ้าพระยาวิสูตรสงครามรามภักดี สืบทอดสายตระกูลวิชัยดิษฐ์ มาถึงปัจจุบัน กรุงเทพฯ สามารถสร้างอำนาจใหม่ที่เมืองท่าทอง เป็นผลสำเร็จ

 

พม่า ยึดเมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ.๒๓๒๘

เมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๐-พ.ศ.๒๓๑๒ ปกครองโดย พระยานครหนู มีอุปราชจันทร์ เป็นอุปราช เป็นผู้สนับสนุน พระเจ้าโสร์ทศ และเตรียมนำกองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน สนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ เข้าตีกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงต้องยกกองทัพเข้าปราบปรามเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๒ แล้วโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้านราสุริยะวงศ์(บุตรชายของน้องสาวพระเจ้าตากสินฯ กับ สมเด็จเจ้าพระยากรมหมื่นสุริยะวงศ์) เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๒-พ.ศ.๒๓๑๙ แล้วถูกวางยาพิษ สิ้นพระชนม์

ต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าพระยานครหนู กลับมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช อีกครั้งหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๙-พ.ศ.๒๓๒๗ ก็สิ้นพระชนม์ เจ้าพระยานครพัฒน์ เป็นเจ้าเมืองนครฯ ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๗-พ.ศ.๒๓๕๔ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พม่ายกกองทัพเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช พอดี

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๘  กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ กำลังพลที่เหลือจากเมืองไชยา เคลื่อนทัพเรือ และ กองทัพบก ออกจาก เมืองท่าทอง ภารกิจ ทำสงครามยึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปกครองโดย เจ้าพระยานคร(พัฒน์) มีพระยาวิเศษสุนทร(นาค นกเล็ก) เป็นอุปราช

ผลของสงคราม เมื่อกองทัพพม่า ตีเมืองท่าทอง แตกพ่าย ประชาชน ได้หนีเข้าป่าเขาเป็นส่วนใหญ่ เจ้าพระยานคร(พัฒน์) ทราบข่าวปล่อยจากเมืองท่าทอง ว่า กรุงเทพฯ แตกแล้ว เจ้าพระยานครพัฒน์ จึงไม่กล้าต่อสู้ เพราะ อดีตพระยาไชยานอกราชการ (นายรุก) ได้แสร้งปล่อยข่าวเพิ่มเติมอีกว่า กรุงเทพฯ แตกแล้ว จึงตัดสินใจนำประชาชนหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ที่เขตป่าเขา กองทัพพม่า จึงสามารถเข้ายึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ได้อย่างง่ายดาย พม่าเก็บริบสมบัติ และจับประชาชนที่หลบหนีไม่ทัน แต่ ทรัพย์สมบัติที่ พม่า ยึดได้จาก เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งนั้น ได้นำลำเลียงลงเรือสำเภา เดินทางกลับไปยัง เมืองชุมพร แต่ เรือสำเภา มีน้ำหนักมากเกินไป จึงล่มกลางทะเล ทรัพย์สิน เสียหายทั้งหมด ทหารพม่า เสียชีวิตไปส่วนหนึ่ง

เมื่อพม่าถอยทัพกลับไป เจ้าพระยานคร(พัฒน์) ก็นำประชาชนกลับคืนเมือง ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ดังเดิม เพราะมาทราบข่าวในภายหลังว่า พม่าพ่ายแพ้สงครามที่เมืองไชยา และกรุงเทพฯ ยังไม่แตก เจ้าพระยานครพัฒน์ ยังคงปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อไป แม้ว่าจะกระด้างกระเดื่องต่อ กรุงเทพฯ หลายครั้ง แต่ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ไม่กล้าปลดออก เพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยสั่งเสียพระพุทธยอดฟ้าฯ ไว้ที่หาดเจ้าสำเร็จ แขวงเมืองท่าชนะ

 

พม่า ยึดเมืองพัทลุง พ.ศ.๒๓๒๘

เดือนมีนาคมพ.ศ.๒๓๒๘ เกิดสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองพัทลุง โดย กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ กำลังพลที่เหลือจากเมืองไชยา เคลื่อนทัพเรือออกจาก เมืองนครศรีธรรมราช ภารกิจ ทำสงครามยึดครอง เมืองพัทลุง ซึ่งปกครองโดย พระยาแก้วโกรพ(ขุนคางเหล็ก) ผู้ปกครองเมืองพัทลุง อดีตทหารในกองพันทหารม้า พระเจ้าตากสิน เมื่ออดีต พระยาไชยา (นายรุก) ปล่อยข่าวว่า กรุงเทพ แตกแล้ว และ นายรุก ประกาศว่า กองทัพพม่า สามารถยึดครองเมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองท่าทอง และ เมืองนครศรีธรรมราช ได้เรียบร้อยแล้ว พระยาพัทลุงแก้วโกรพ(ขุนคางเหล็ก) รับทราบข่าวลวงจากนายรุก จึงไม่ยอมต่อสู้ ได้ตัดสินใจนำประชาชนหลบหนีเข้าไปซ่อนตัวในเขตป่าเขา เพื่อรักษากำลังไว้

ต่อมามีพระภิกษุ องค์หนึ่ง ที่วัดเขาอ้อ เมืองพัทลุง ชื่อ พระมหาช่วย ซึ่งชาวเมืองพัทลุง นับถือว่า เป็นผู้มีวิชาอาคม พระมหาช่วย ได้นั่งกรรมฐาน แล้วแจ้งกับประชาชนว่า นายรุก ทำโกหกตอแหล จึงชักชวนชาวเมืองพัทลุง ให้ร่วมกันทำสงคราม ต่อสู้กับข้าศึกพม่า โดยการทำตะกรุด และ ผ้าประเจียดมงคล แจกจ่ายประชาชน เป็นอันมาก กรรมการเมืองพัทลุง จึงชักชวนประชาชน ตั้งกองทัพได้กำลังคนประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ หาเครื่องศัตราวุธได้ครบมือ เตรียมทำการต่อสู้กับ ข้าศึกพม่า แต่ พม่า ทราบข่าวว่า มีกองทัพจาก กรุงเทพฯ กำลังยกกองทัพมาตั้งอยู่ที่ เมืองชุมพร จึงยุติการเข้าโจมตี ยึดเมืองพัทลุง

หลังจากพม่า ถอยทัพกลับไป เหตุการณ์ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) เดินทางมาที่พัทลุง จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระมหาช่วย ซึ่งนำชาวพัทลุง ออกต่อสู้กับกองทัพพม่า นั้น ให้เป็น พระยาทุกข์ราษฎร์ ตำแหน่ง กรมการเมืองพัทลุง ส่วน พระยาแก้วโกรพ(ขุนคางเหล็ก) ปกครองเมืองพัทลุง ต่อไป

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๒ พระยาแก้วโกรพ (ขุน คางเหล็ก) อดีตนายทหารกองพันทหารม้า พระเจ้าตากสิน เจ้าเมืองพัทลุง ถึงแก่อนิจกรรม เพราะถูกลอบวางยาพิษ (สายตระกูลนี้ต่อมาคือสายตระกูล ณ พัทลุง) พระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระศรีไกรลาศ เป็นบุตร พระยาพิมล กับ ท้าวเทพกษัตรี(คุณหญิงมุก) และเป็นญาติฝ่ายภรรยา ของ พระยานครพัฒน์ เป็นเจ้าเมืองพัทลุง กรุงเทพฯ จึงสร้างอำนาจใหม่ ขึ้นมาที่เมืองพัทลุง เป็นผลสำเร็จ

 

กองทัพพม่า เข้าตีเมืองไชยา ครั้งที่-๒ กองทัพพม่า พ่ายแพ้ยับเยิน พ.ศ.๒๓๒๘

เดือนมีนาคมพ.ศ.๒๓๒๘ เกิดสงครามกับพม่า ณ สมรภูมิ เมืองไชยา โดย กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ กองทัพที่ ๑ ของ พม่า คือ แกงหวุ่น แมงยี เมื่อเดินทางทางเรือมาถึงท่าข้าม ได้สั่งให้ กองทัพหน้า กำลังพล ๒,๕๐๐ คน บัญชาการโดย แม่ทัพ เนมโย คงนะรัด นำกองทัพเรือที่เหลือ เข้าตี เมืองไชยา อีกครั้งหนึ่ง ส่วนกองทัพของ แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ นำกำลังพล ๔,๕๐๐ คน เคลื่อนทัพทางบก มายึดครอง เมืองท่าข้าม นัดหมายบรรจบกันที่ เมืองไชยา กองทัพของ แกงหวุ่น แมงยี นำกำลังพล ๒,๕๐๐ คน เดินทางโดยทางเรือ เข้าทำสงคราม ตีเมืองไชยา อีกครั้งหนึ่ง

 

ภาพเทวรูป หยกขาว ตาผ้าขาวรอด ที่วัดศรีราชัน ถูกกองทัพพม่า นำกลับไปพม่า แต่ต้องทิ้งไว้กลางป่า เพราะวิญญาณตาผ้าขาวรอด แสดงอภินิหาร หลายอย่าง จึงต้องทิ้งไว้กลางป่า นายทรัพย์ คนเลี้ยงช้าง ไปพบกลางป่า จึงนำกลับคืนมาที่วัดศรีราชัน ดังเดิม

 

  กองทัพ ๒,๕๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นชนชาติทมิฬโจฬะยะไข่ นับถือศาสนาอิสลาม ถูกเกณฑ์มาจากอาณาจักรทมิฬโจฬะยะไข่ มีแนวคิดที่ต้องการทำลายวัดวาอาราม ทำลายพระพุทธศาสนา ที่เคยทำมาในดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ สำเร็จมาแล้ว เมื่อกองทัพพม่า เคลื่อนกองทัพมาถึงเมืองไชยา ไม่สามารถเคลื่อนทัพขึ้นฝั่งที่ปากบางน้อย ได้ เรือรบถูกกองทัพไชยา ทำลายไปจำนวนมาก จึงมีการแบ่งกองทัพเรือออกเป็น ๒ กองเรือ ทหารพม่าที่นับถือพุทธศาสนา เคลื่อนกองทัพเรือ ไปขึ้นฝั่งที่ปากน้ำคันธุลี ทหารมุสลิมพม่า บุกขึ้นฝั่งที่ปากคลองท่าปูน นัดพบกันที่ปากคลองพุมเรียง ทหารทมิฬโจฬะยะไข่มุสลิมพม่า ทำการเผาวัดธารน้ำใจพระหมื่นปี ที่ดอนขวาง เผาวัดใหม่ใน และกำลังจะเผาวัดประสบ แต่ถูกต่อต้าน จึงหนีไปขึ้นเรือที่ปากคลองพุมเรียง ไปขึ้นฝั่งที่ปากคลองคันธุลี ทำการเผาเรือทิ้ง แล้วไปรวมตัวกันที่ วัดศรีราชัน ตามที่นัดหมาย

เมื่อทราบข่าวว่า กองทัพพม่า พ่ายแพ้สงครามที่เมืองท่าข้าม ทหารมุสลิม จึงได้ทำการเผาวัดศรีราชัน และถอยทัพกลับไปทางด่าน ภูเขาเพลา เรียบร้อยแล้ว ส่วนทหารพม่านับถือพุทธศาสนา เมื่อทราบข่าวว่า มีกองทัพของ เจ้าพระยายมราช(หวัง) และ พระยาวิชิตภักดี (สา) และกองทัพของขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) ยกกองทัพมาทำสงครามขับไล่ จึงต้องเร่งถอยทัพ ทำการกวาดทรัพย์สิน แล้วถอยทัพกลับไป ทหารพม่าที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้นำเทวรูปตาผ้าขาว ไปด้วย กองทัพพม่า เดินทางผ่านทาง ด่านเขาเพลา ออกสู่ เมืองระนองกลับคืน เมืองมะริด พม่า

       เล่ากันว่า เทวรูป หยกขาว ตาผ้าขาวรอด แสดงอภินิหาร ระหว่างที่กองทัพพม่า ถอยทัพกลับ และพักทัพอยู่กลางป่า มีช้างฝูงหนึ่ง ที่หากินอยู่ที่ทุ่งพระยาชนช้าง ได้ออกไล่ติดตามกองทัพพม่า ไปถึงกลางป่า บุกทำลายฆ่าทหารพม่า ไปเป็นจำนวนมาก กองทหารพม่า ต้องทิ้ง เทวรูป หยกขาว ไว้กลางป่า วิญญาณตาผ้าขาวรอด ไปเข้าฝันชาวบ้านว่าตาผ้าขาวรอด จำศีลอยู่กลางป่าระนอง จึงช่วยกันออกค้นหาเทวรูปตาผ้าขาวรอด สามารถนำเทวรูปตาผ้าขาวรอดกลับคืนมาที่เมืองคันธุลี ดังเดิม วัดศรีราชัน จึงกลายเป็นวัดร้าง เรื่อยมา

 

กองทัพพม่า พระยาไชยารุก ถูกฆ่า ๔,๕๐๐ คน ที่สมรภูมิ ท่าข้าม แม่น้ำตาปี พ.ศ.๒๓๒๘

เดือนมีนาคมพ.ศ.๒๓๒๘ เกิดสงครามกับพม่า ณ สมรภูมิ เมืองไชยา และ เมืองท่าข้าม โดย กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ กองทัพที่ ๑ ของ พม่า คือ แกงหวุ่น แมงยี ขณะนั้น กองทัพหน้า กำลังพล ๒,๕๐๐ คน บัญชาการโดย แม่ทัพ เนมโย คงนะรัด เดินทางโดยเรือสำเภา มุ่งหน้าสู่เมืองไชยา เกิดการรบที่เมืองไชยา อย่างดุเดือด แล้วต้องถอยทัพไปทางช่องเขาเพลา ตามที่กล่าวมาแล้ว 

ส่วนกองทัพของ แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี เป็นแม่ทัพ นำกำลังพล ๔,๕๐๐ คน เคลื่อนทัพทางบก มายึดครอง เมืองท่าข้าม ตามที่นัดหมายจะเข้าตีเมืองท่าฉาง เมืองไชยา เมืองคลองวัง และจะไปบรรจบกันที่ วัดศรีราชัน เมืองคันธุลี กองทัพของ แกงหวุ่น แมงยี มหาสีหะสุระ อัครมหาเสนาบดี นำกำลังพล ๔,๕๐๐ คน เดินทางโดยทางบก มาปะทะกับ กองทัพของ อดีต เจ้าพระยายมราช (หวัง) ซึ่งถูกถอดยศ และ เดินทางมาจาก เมืองราชบุรี ได้มารวบรวมไพร่พล เพื่อทำสงครามกับ กองทัพของ แกงหวุ่น แมงยี ณ สมรภูมิ เมืองท่าข้าม ซึ่งมี อดีตพระยาไชยา (นายรุก) ร่วมกองทัพมาด้วย

กองทัพ ของ อดีตเจ้าพระยายมราช (หวัง) ร่วมกับกองทัพของ พระยาวิชิตภักดี (สา) ได้ไป ปะทะกับกองทัพ ของ แกงหวุ่น แมงยี บริเวณ สะพานพระจุลจอมเกล้าฯ เมืองท่าข้าม (พุนพิน) จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน สงครามครั้งนั้น ตาผ้าขาวดำ (พระเจ้าตากสิน) ร่วมวางแผนทำสงคราม ด้วย ผลของสงครามครั้งนี้ กองทัพของ แกงหวุ่น แมงยี ซึ่งกำลังจะข้ามแม่น้ำตาปี แต่ ถูกปิดล้อม กองทัพพม่า ถูกทำลายทั้งหมด ณ บริเวณสมรภูมิ บริเวณ สะพานพระจุลจอมเกล้าฯ เมืองท่าข้าม (พุนพิน) อดีตพระยาไชยา (นายรุก) เสียชีวิต ณ สมรภูมิ ครั้งนั้น ด้วย ซากศพ ของ ทหารพม่า กลายเป็น อาหาร ของ จระเข้ ในแม่น้ำตาปี ส่วน แม่ทัพแกงหยุ่น แมงยี สามารถหลบหนีผ่านไปทางเมืองกระบี่ แล้วเดินทางกลับประเทศพม่า เป็นผลสำเร็จ

 

หมื่นหาร โอรสลับพระเจ้าตากสิน ต้นตระกูลศรียาภัย ปกครองเมืองชุมพร พ.ศ.๒๓๒๘

ขณะที่กองทัพของ กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) และ พระยายมราช(บุนนาค) เพิ่งเดินทางมาถึง เมืองชุมพร นั้น กรมพระราชวังบวร(บุญมา) สั่งปลดเจ้าเมืองชุมพร คือ พระยาชุมพร(มั่น) ถูกปลดออก เนื่องจากถือว่า เป็นพรรคพวก ของ ฝ่ายอำนาจเก่า เนื่องจาก พระยาชุมพร(มั่น) เป็นบิดา ของ หม่อมสอน มเหสี ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงถือว่าเป็นพรรคพวก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กลุ่มอำนาจเก่าที่จำเป็นต้องกวาดล้าง

เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) เดินทางมาถึงเมืองไชยา ก็ทราบข่าวว่ากองทัพพม่า พ่ายแพ้สงคราม กองทัพพม่า ถอยทัพกลับไปหมดแล้ว จึงโปรดเกล้าให้ หมื่นหาญ อายุ ๑๖ ปี ซึ่งเป็น พระราชโอรส ลับ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งเป็น ปลัดเมืองไชยา ไปเป็น เจ้าเมือง ปกครอง เมืองชุมพร แทนที่ พระยาชุมพร(มั่น) พรรคพวกสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ หลวงอินทร์รองเมือง (หัวสั่น) ให้เป็นปลัดเมืองไชยา แทนที่ หมื่นหาญ ให้ตั้งสำนักปลัดเมืองอยู่ที่ เมืองพุมเรียง ส่วนเมืองไชยา ยังคงปกครองโดย พระยาวิชิตภักดี(สา) ว่าราชการอยู่ที่ ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง แขวงเมืองท่าชนะ ดังเดิม

 

กรุงเทพฯ ยืมมือทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ทำลายอำนาจเก่า เมืองปัตตานี พ.ศ.๒๓๒๘

ปัตตานี เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ในส่วนที่เป็นเกาะใหญ่ ตั้งแต่ช่องแคบม้าละกา มาถึง ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ดินแดนแห่งนี้เป็นที่อาศัยของ ชนชาติไทย ผู้นับถือพุทธศาสนา มาอย่างยาวนาน แต่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกเมื่อมหาอาณาจักรจีน ต้องการมีอิทธิพลเหนือน่านน้ำช่องแคบม้าละกา ในสมัยเจ้านครอินทร์ ที่สมคบกับ นายพลจีนมุสลิมเจิ้งหัว นำชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ มาครอบครองเมืองม้าละกา แล้วค่อยๆ อพยพชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากเกาะสุมาตรา เข้ามาครอบครองดินแดนเมืองม้าละกา พร้อมๆกับการทำลายวัดไทย ทำลายพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในอินเดีย โดยการขับไล่ชนชาติไทย ออกจากดินแดนพร้อมๆ กับการนำเข้าชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ที่นับถือศาสนาอิสลาม จากเกาะสุมาตรา เข้ามาแทนที่ชนชาติไทย ต่อมา อาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) หรือ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ร่วมกับ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ทำสงครามขับไล่ชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ หลายสิบครั้งให้ออกจากดินแดนยึดครอง ต้องทำสงครามกับกองทัพมหาอาณาจักรจีน มาอย่างต่อเนื่อง สามารถขับไล่มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ออกไปเป็นผลสำเร็จ อย่างต่อเนื่อง

ได้เกิดความผิดพลาดครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่งที่ทำให้เสียดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ เพราะดินแดนแว่นแคว้นต่างๆถูกครอบครองโดยมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ครั้งใหญ่ ในสมัยพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ โดยได้ยอมรับให้ แคว้นมาลายู กรุงม้าละกา เป็นเมืองขึ้น ของ กรุงศรีอยุธยา ทำให้มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ได้ขยายอำนาจไปยังแว่นแคว้นอื่นๆ ของอาณาจักรมาลัยรัฐ ด้วยการทำลายพระพุทธศาสนา เผาวัดวาอาราม ขับไล่ชนชาติไทยออกจากดินแดน แล้วนำชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากเกาะสุมาตรา เข้าไปครอบครองดินแดนมาลัยรัฐ พร้อมกับทำลายพระพุทธศาสนา เผาวัดวาอาราม ตัดหัวพระภิกษุ ขับไล่คนไทย ออกจากดินแดน การรุกรานของมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ได้ขยายตัวไปทุกแว่นแคว้น ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ยกเว้น ปัตตานี แล้วเกิด รัฐมาลายู แทน อาณาจักรมาลัยรัฐ

พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน เป็น ญาติสนิท กับ พระยาจักรีมุกดา สืบสายตระกูลมาจากโมกุล ซึ่งสมรสกับพระนางน้ำเงิน พี่น้องต่างมารดา กับ สมเด็จพระนเรศวร มีสายตระกูลสืบทอดมาถึง พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน เป็นบุตรของ เจ้าพระยารามเดโช(ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช) ซึ่งเป็นบุตรของ เจ้าพระยาสีหราชเดโช(ยะหิป) ซึ่งเป็นบุตรคนหนึ่ง ของ พระยาราชบังสัน(หะซัน) ที่เป็นผู้ทำสงครามขับไล่ทมิฬโจฬะ ออกจากปัตตานี ทำให้ชาวไทยพุทธ อยู่ร่วมกับชาวไทยมุสลิม ได้อย่างสันติ และ รักใคร่กลมเกลียวต่อกัน มาอย่างต่อเนื่อง 

พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน ได้เป็นผู้ปกครองเมืองปัตตานี เป็นผู้สนับสนุนการปกครองของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไม่ยอมส่งกองทัพเข้าสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ ตามที่มีการร้องขอ ความเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระนเรศวร พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน สนับสนุนชนชาติไทย ให้กลับเข้าไปตั้งรกรากยังแว่นแคว้นต่างๆ ที่ถูกมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ยึดครอง วัดทางพุทธศาสนา ของชนชาติไทย ที่ถูกเผาทำลาย ก็ถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน รอการฟื้นฟู อาณาจักรสยาม กรุงไชยา ขึ้นมาใหม่ตามแผนงานโครงการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยตรัสไว้ เพื่อทำสงครามยึดครองดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ที่ ชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ยึดครองไปกลับคืน

พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน สนับสนุนแนวคิดของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในการยึดครองดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี กลับคืน แต่ไม่สนับสนุนการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าโสร์ทศ และการรัฐประหารของ พระพุทธยอดฟ้าฯ ทางกรุงเทพฯ จึงไม่พอใจพระยาปัตตานีศรีสุลต่าน จึงต้องส่งกองทัพเข้าปราบปราม ยกให้เป็นเมืองขึ้น ซึ่งเป็นที่มาให้เกิดกบฏแยกดินแดน ขึ้นมาในดินแดนปัตตานี สืบทอดต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพราะมุ่งเน้นแต่การวางยุทธศาสตร์ทำลายอำนาจเก่า โดยไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ปี พ.ศ.๒๓๒๘ เดือน เมษายน หลังสงคราม ๙ ทัพ กรมพระราชวังบวรฯ มอบให้ พระยากลาโหม และ พระยายมราช(บุนนาค) ส่งกองทัพเรือเข้าปราบปราม พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน ผู้ปกครองเมืองปัตตานี ล้อมเมืองอยู่ ๔ เดือน พระยาปัตตานี ศรีสุลต่าน ถึงแก่อนิจกรรม ในสงคราม กองทัพพระยากลาโหม และ พระยายมราช(บุนนาค)สามารถยึด เมืองปัตตานี สำเร็จ เมื่อประมาณ เดือน กันยายน พ.ศ.๒๓๒๘ สามารถยึดปืน พระยาตานี และ กวาดต้อนเชลยศึก และ ทรัพย์สิน กลับมายัง กรุงเทพฯ จำนวนมาก

 

กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ให้ ปัตตานี เป็นเมืองขึ้น ของ ประเทศสยาม พ.ศ.๒๓๒๘

ปัตตานี เป็นราชธานี ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ทำหน้าที่ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วนที่เป็นเกาะใหญ่ เป็นอาณาจักรหนึ่งในหลายอาณาจักร ของ ประเทศ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ที่อยู่ร่วมกันอย่างฉันพี่น้อง มิได้เป็นแบบเมืองขึ้น ดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ ถูกมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ยึดครองไปมากในอดีต ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ประกอบด้วยแคว้นกลันตัน แคว้นตรังกานู แคว้นไทรบุรี แคว้นเกาะลังกาวี แคว้นเกาะปีนัง ประชาชนส่วนใหญ่ยังเป็นชนชาติไทย ที่อพยพมาจากจีน ดินแดนที่ถูกจีนรุกรานยึดครอง

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มีการบูรณะวัดต่างๆ ที่ถูกมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เผาไป กลับคืนดังเดิม จำนวนมาก ตนกูลามิเด็น เป็นเจ้าชายคนหนึ่ง ของ อาณาจักรทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เกาะสุมาตรา ได้มาสมรสกับ เจ้าหญิงแคว้นกะลันตัน ได้เป็นอุปราช ปกครองแคว้นกะลันตัน ในช่วงเวลาที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกรัฐประหาร

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) แต่งตั้งให้ ตนกูลามิเด็น เชื้อสายราชวงศ์มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากแคว้นกะลันตัน มาเป็น พระยาพิชิตภักดี ศรีสุรวังษา (ตนกูลามิเด็น) เชื้อสายทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เป็น เจ้าเมืองปัตตานี ยกเมืองปัตตานี ให้เป็นประเทศเมืองขึ้น เช่นเดียวกันกับที่พระบรมไตรโลกนาถ เคยทำผิดพลาด กับ แคว้นมาลายู กรุงม้าละกา มาก่อน ทำให้ ตนกูลามิเด็น ถือโอกาสทำการอพยพชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากเกาะสุมาตรา เข้ามาตั้งรกราก ที่ปัตตานี จำนวนมาก อีกครั้งหนึ่ง

พระพุทธยอดฟ้า ได้รับพระราชสาสน์ตักเตือนจากตาผ้าขาวดำ(พระเจ้าตากสิน) เรื่องให้ปัตตานี เป็นเมืองขึ้น พระพุทธยอดฟ้า ได้จัดการแก้ไข ยกเลิกการเป็นเมืองขึ้นในเวลาต่อมา เหตุการณ์เริ่มดีขึ้น แต่เมื่อพระพุทธยอดฟ้าฯ สวรรคต หัวเมืองมาลายู เช่น แคว้นปัตตานี ก่อกบฏโดยตนกูลามิเด็น และเต็งกูเด็น ได้พยายามรวบรวมแว่นแคว้นชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมเป็นประเทศปัตตานี ประกาศเอกราช แยกตัวเป็นอิสระ เป็นประเทศปัตตานี จึงเกิดกบฏตนกูลามิเด็น และ กบฏเต็งกูเด็น มาอย่างต่อเนื่อง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ให้ กะลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี เป็นเมืองขึ้น พ.ศ.๒๓๒๘

ปี พ.ศ.๒๓๒๘ หลังจากที่ อาณาจักรเสียม-หลอ ชนะสงครามกับ กองทัพพม่า และทำสงครามปราบปราม เมืองปัตตานี เรียบร้อยแล้ว ชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ได้ถือโอกาส รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ ชายฝั่งทะเลตะวันตก ประกาศอิสรภาพ แยกตัวเป็น ประเทศเกดะ(ไทรบุรี) โดยไม่ยอมขึ้นต่อ ประเทศสยาม หลังจากชาติสยาม ส่งกองทัพเข้าปราบปรามแคว้นปัตตานี เรียบร้อยแล้ว แคว้นไทรบุรี จึงยอมสวามิภักดิ์เป็นเมืองขึ้น ต่อ ประเทศสยาม โดยยอมส่งเครื่องราชบรรณาการ มายอมอ่อนน้อม โดยดี

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) มีพระราชสาสน์ ถึง แคว้นกลันตัน ตรังกานู และ ไทรบุรี ให้เป็นประเทศเมืองขึ้น ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงเทพฯ และให้ส่ง เครื่องราชบรรณาการ มายอมอ่อนน้อม โดยดี การปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการทำลายอำนาจเก่า เป็นผลสำเร็จ และถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ เป็นพื้นฐานให้ประเทศสยาม ต้องเสียดินแดนเหล่านี้ให้ชาติอังกฤษ ในเวลาต่อมา

 

เจ้าพระยายมราช(หวัง) นอกราชการ ถวายฎีกา ขอกลับเข้ารับราชการ พ.ศ.๒๓๒๘

อดีต เจ้าพระยายมราช (หวัง) ได้ทำหนังสือร้องทุกข์ต่อ พระพุทธยอดฟ้าฯ พร้อมพระราชสาสน์ ของ ตาผ้าขาวดำ (พระเจ้าตากสิน) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๘ ถึงเรื่องราวความเป็นจริง และสาเหตุที่ถูกลงโทษ และขอความเป็นธรรม เรื่องการเข้าไปช่วยเหลือ พระยาบัว ที่ถูกยึดครองเรือนหลวง และ เป็นเหตุให้ ครอบครัว ของ พระยาบัว ต้องหลบหนีลงเรือสำเภา เสียชีวิตทั้งครอบครัว และได้กลับมาที่เมืองไชยา นำกองทัพต่อสู้กับพม่า จนชนะสงคราม

ต่อมา พระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทำการสอบสวน อดีต เจ้าพระยายมราช (หวัง) เมื่อรับทราบความจริงแล้ว จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้นำมารับราชการที่กรุงเทพฯใหม่ แต่ถูกลดตำแหน่งเป็น พระยามหาธิราช (หวัง) ให้ดูแลงานพระนคร ต่อมาหลานสาวคนหนึ่งของ พระยามหาธิราช (หวัง) มีนามว่า เรียม เป็นธิดาของท่านเพ็ง และพระยานนทบุรี ได้ไปเป็นมเหสี ของ พระพุทธเลิศหล้า ซึ่งเป็นพระราชมารดาของ พระนั่งเกล้า ร-๓ ในเวลาต่อมา

 

พม่า ยกกองทัพเข้ายึดครอง กรุงเทพฯ ครั้งที่-๒ พ.ศ.๒๓๒๘-พ.ศ.๒๓๒๙

เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๓๒๘ พระเจ้าปดุง แห่ง อาณาจักรพม่า กรุงอมรปุระ เตรียมส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ประเทศสยาม กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง โดยมอบให้ พระมหาอุปราช ส่งกองทัพ จำนวน ๕๐,๐๐๐ คน มาเตรียมการที่ชายแดนไทย ดังนี้

(๑) ตั้งกองเรือรบ ที่ปลายน้ำไทรโยค

(๒) ให้พระมหาอุปราช เคลื่อนกองทัพ ๕๐,๐๐๐ ตน มาเตรียมการในชายแดนไทย

(๓) ใช้ กองทัพที่ ๔ ซึ่งบัญชาการโดย เมียนหวุ่น แมงยี มหาทิมข่อง กำลังพล ๕,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองเมาะตะมะ เป็นกองหน้า เป้าหมาย เพื่อเดินทัพมาตั้งค่ายใหญ่น้อย ไว้ล่วงหน้า ณ ชายแดนไทย ที่ท่าดินแดง

(๔) ใช้ กองทัพที่ ๕ บัญชาการโดย เมียน เมหวุ่น กำลังพล ๕,๐๐๐ คน รวมพลกันที่ เมืองเมาะตะมะ เป้าหมาย เพื่อเดินทัพมาตั้งค่ายใหญ่น้อย ไว้ล่วงหน้า ณ ชายแดนไทย ที่ท่าสามสบ

 

การเตรียมทัพ ของ กรุงเทพฯ เพื่อต่อสู้กับข้าศึกพม่า พ.ศ.๒๓๒๙

เดือน มกราคม พ.ศ.๒๓๒๙ ทางกรุงเทพฯ ทราบข่าวว่า พระเจ้าปดุง ยกกองทัพมาตั้งที่ชายแดน อีก จึงเคลื่อนทัพออกจาก กรุงเทพ เมื่อ เดือน มกราคม และ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๙ ประกอบด้วย ๒ กองทัพ ดังนี้

(๑) กองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) กำลังพล ๓๐,๐๐๐ คน มอบให้ พระยารัตนพิพิธ เคลื่อนทัพออกไปล่วงหน้า ก่อน ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.๒๓๒๙

(๒) กองทัพที่ ๒ เป็น กองทัพหลวง บัญชาการโดย พระพุทธยอดฟ้าฯ (ทองด้วง) กำลังพล ๓๐,๐๐๐ คน กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) ร่วมเสด็จไปด้วย โดยเคลื่อนทัพออกจากกรุงเทพ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๙

 

การรบกับพม่า ที่สมรภูมิ ท่าสามสบ พ.ศ.๒๓๒๙

ปี พ.ศ.๒๓๒๙ เดือน กุมภาพันธ์ สงคราม ณ สมรภูมิ ท่าสามสบ กาญจนบุรี โดยกองทัพที่ ๑ บัญชาการโดย กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) กำลังพล ๓๐,๐๐๐ คน มี มอบให้ พระยารัตนพิพิธ เคลื่อนทัพออกไปล่วงหน้า ก่อน ตั้งแต่เดือน มกราคม ได้แบ่งกองทัพออกเป็น ๔ กองทัพ บัญชาการโดย เจ้าพระยารัตนพิพิธ พระยากลาโหมราชเสนา และ พระยายมราช(บุนนาค) มีกำลังพล ๒๐,๐๐๐ คน และมี กำลังหนุนอีก ๑๐,๐๐๐ คน มุ่งเข้าทำสงครามโจมตีกองทัพพม่าที่ค่ายสามสบ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๙

เกิดการรบอยู่ ๓ วัน กองทัพที่ ๑ ของไทย สามารถยึดค่ายพม่า ได้สำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๙ เวลาบ่าย พม่าต้องทิ้งค่าย แตกหนี ทุกค่าย ฝ่ายกองทัพไทย สามารถส่งกองทัพไล่ติดตามไปถึง ค่าย ของ พระมหาอุปราช กองทัพพม่าเสียหาย จำนวนมาก พม่าสูญเสียกำลังพลมาก ถูกจับเป็นเชลยศึก รวมทั้งช้างม้า พาหนะ เสบียงอาหาร และ เครื่องศัตราวุธ รวมทั้งปืนใหญ่ที่พม่านำมาด้วย กองทัพพม่าต้องถอยทัพกลับไป

 

การรบกับพม่า ที่สมรภูมิ ท่าดินแดง พ.ศ.๒๓๒๙

เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๙ การรบของ กองทัพที่ ๒ ณ สมรภูมิ ท่าดินแดง กาญจนบุรี โดย กองทัพหลวง บัญชาการโดย พระพุทธยอดฟ้าฯ (ทองด้วง) กำลังพล ๓๐,๐๐๐ คน กองทัพนี้ มุ่งเข้าทำสงครามโจมตีกองทัพพม่าที่ ค่ายท่าดินแดง เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๙ เกิดการรบอยู่ ๓ วัน กองทัพที่ ๑ ของไทย สามารถยึดค่ายพม่า ได้สำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๒๙ เช่นเดียวกัน พม่าต้องทิ้งค่าย แตกหนี ทุกค่าย ฝ่ายกองทัพไทย สามารถส่งกองทัพไล่ติดตามไปถึง ค่าย ของ พระมหาอุปราช

กองทัพพม่าเสียหาย จำนวนมาก พม่าสูญเสียกำลังพลมาก ถูกจับเป็นเชลยศึก รวมทั้งช้างม้า พาหนะ เสบียงอาหาร และ เครื่องศัตราวุธ รวมทั้งปืนใหญ่ที่พม่านำมาด้วย กองทัพพม่าต้องถอยทัพกลับไป

 

ประเทศสยาม กรุงเทพฯ พ่ายแพ้สงครามที่ เมืองทวาย พ.ศ.๒๓๓๐

เดือน มกราคม พ.ศ.๒๓๓๐ พระพุทธยอดฟ้าฯ (ทองด้วง) นำกองทัพ กำลังพล ๒๐,๐๐๐ คน เคลื่อนทัพออกจาก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๓๓๐ เพื่อเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองทวาย ซึ่ง ขณะนั้น อะแซ หวุ่นกี้ ซึ่งปกครอง เมืองเมาะตะมะ ซึ่งมีอายุประมาณ ๕๔ ปี มาบัญชาการอยู่ที่ เมืองทวาย พระพุทธยอดฟ้าฯ (ทองด้วง) มีการจัดกำลังทัพ ดังนี้

(๑) กองทัพหน้า บัญชาการโดย สมุหนายก เจ้าพระยารัตนาพิพิธ กำลังพล ๕,๐๐๐ คน เป็น ทัพหน้า

(๒) กองระวังหน้า ของ ทัพหลวง บัญชาการโดย เจ้าพระยามหาเสนา และ พระยายมราช (บุนนาค) 

(๓) กองทัพหลวง บัญชาการโดย พระพุทธยอดฟ้าฯ (ทองด้วง)

(๔) กองเกียกกาย หรือ กองส่งกำลังบำรุง บัญชาการโดย พระยาพระคลัง (หน)

(๕) กองยกกระบัตร บัญชาการโดย เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระพุทธเลิศหล้าฯ)

(๖) กองระวังหลัง บัญชาการโดย เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหิรัญรักษ์

เดือน กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม พ.ศ.๒๓๓๐ เกิดสงคราม ระหว่าง ประเทศสยาม กรุงเทพฯ กับ พระเจ้าปดุง แห่ง ประเทศพม่า กรุงอมรปุระ ณ สมรภูมิ เมืองทวาย ผลของสงคราม พระยาสุรเสนา และ พระยาสมบัติบาล ตายในที่รบ ฝ่ายไทย ไม่สามารถทำสงครามยึดครอง หลายเมืองๆ รอบๆ เมืองทวาย ได้ เดือนเมษายน ต้องตัดสินใจถอยทัพกลับ กรุงเทพฯ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๖ พม่าส่งกองทัพเข้ายึด เมืองทวาย , มะริด และ เมาะตะมะ เป็นของพม่า สำเร็จ

ปี พ.ศ.๒๓๓๖ เกิดสงครามระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศพม่า ณ สมรภูมิ เมืองทวาย อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม ฝ่ายไทย พ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๓๗ เกิดกบฏใน แคว้นยะไข่ พระเจ้าปดุง แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอมรปุระ ส่งกองทัพไปปราบปรามกบฏ เป็นผลสำเร็จ

 

ขุนหลวงประเทศ ปกครอง แขวงเมืองคันธุลี พ.ศ.๒๓๓๙

ที่เมืองคันธุลี เมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์ ขุนหลวงประเทศ(หยางยิค) เป็นผู้ปกครอง แขวงเมืองคันธุลี ขึ้นต่อเมืองไชยา มี หยางฮุ่งเชี่ยน เป็น ขุนหลวงรองเมือง ตำแหน่ง ปลัดเมืองแขวงเมืองคันธุลี จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๓๙ หยางฮุ่งเชี่ยน (อายุ ๒๐ ปี) ได้ออกบวชที่วัดดอนชาย ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น ขุนหลวงประเทศเป็นผู้ปกครองหัวเมืองไชยา คือ แขวงเมืองคันธุลี

       หยางซา หรือ ขุนหลวงสร้างสาม เป็นบุตรคนเล็ก ของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี หยางจิ้งจง เป็นขุนหลวงรองเมือง ตำแหน่งปลัดแขวงเมืองคันธุลี มีที่ว่าราชการอยู่ที่ พระราชวังเจ้าตาก ดั้งเดิม ส่วนบุตรชายคนโต ชื่อ หยางยิค ได้รับโปรดเกล้าให้ไปปกครองเมืองกำเนิดนพคุณ(บางสะพานใหญ่) หยางฮุ่งเชี่ยน จึงเป็น ขุนหลวงประเทศ ปกครองเมืองคันธุลี ขึ้นต่อเมืองไชยา

 

เกิดความขัดแย้งในพระราชวังหลวง กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๓๔๔

       เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท(หญิงใหญ่) มีพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา เริ่มโตเป็นสาว คือเหตุการณ์ประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๔ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ได้สู่ขอสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท จากสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ขอไปอภิเษกสมรส ด้วย เพื่ออ้างสิทธิ์ในการสืบทอดราชย์สมบัติ แต่ พระพุทธยอดฟ้าฯ พร้อมขุนนางอำมาตย์ ไม่ทรงเห็นชอบด้วย เพราะต้องการให้ กรมหลวงอิศรสุนทร(พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ต่อมา พระพุทธยอดฟ้าฯ พิจารณาเห็นว่า ทั้งสามแม่ลูก อาจจะไม่ปลอดภัย จึงให้ทหารนำสามแม่ลูก เดินทางไปอาศัยอยู่ที่ บ้านทุ่งนาเล แขวงเมืองท่าชนะ เจ้าหญิงสองพี่น้อง จึงได้พบกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อีกครั้งหนึ่งในภาพของ หลวงตาผ้าขาวดำ(สิน) ณ เชิงภูเขาพนมเบญจา จ.กระบี่ ในปัจจุบัน

       ที่เมืองท่าชนะ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า นอบ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เครือ และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เฟือ ต่อมาไม่นาน สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ได้ส่งสองราชธิดา ไปศึกษาเล่าเรียนประวัติศาสตร์ชาติไทย เพิ่มเติม กับ หลวงตาผ้าขาว(สิน) ซึ่งประทับอยู่ที่เชิงภูเขาพนมเบญจา เมืองกระบี่ เป็นเวลา ๕ ปี ทำให้สองเจ้าหญิง ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นอย่างดี ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ประทับที่พระราชวังบ้านทุ่งนาเล แขวงเมืองท่าชนะ

เมื่อสองเจ้าหญิงเสด็จกลับมายังเมืองท่าชนะ ประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลวงตาผ้าขาวดำ(สิน) และ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้จัดให้สองเจ้าหญิงอภิเษกสมรส พระพุทธยอดฟ้าฯ ส่งน้ำสังข์จากพระราชวังหลวง มาให้ด้วย ขณะนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท มีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับ ขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) มีอายุประมาณ ๓๐ ปี เป็นบุตรชายคนกลาง ของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี(หยางจิ้งจุง) ผู้ปกครองแขวงเมืองคันธุลี แล้วโปรดเกล้าให้ขุนหลวงประเทศ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร มีที่ประทับอยู่ที่ บ้านใหญ่ แขวงเมืองคันธุลี

ในช่วงเวลาเดียวกัน สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก มีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับ พระองค์เจ้าหนูดำ พระราชโอรส ของ กรมหลวงอิศรสุนทร(พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) และเป็นพระอนุชา ของ พระองค์เจ้าทับ(สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ขณะนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ เป็นปลัดเมืองไชยา มีที่ว่าราชการอยู่ที่ท่าดอนร้อยเอ็ด ส่วนที่ประทับอยู่ที่บ้านใหญ่ แขวงเมืองคันธุลี ใกล้ๆ กับที่ประทับของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท เล่ากันว่า สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ขี่ม้าทุกวัน จากบ้านใหญ่ แขวงเมืองคันธุลี ไปปฏิบัติหน้าที่ปลัดเมืองไชยา ที่ท่าดอนร้อยเอ็ด เมืองไชยา ทุกๆ วัน สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ชอบการรบด้วยปืน บนหลังม้า ได้ไปสร้างกองทัพม้า ที่ทุ่งพระยาชนช้าง จนสามารถสร้างกองพันทหารม้า ฝึกทหารรบด้วยอาวุธปืน เป็นผลสำเร็จ

   หลังจากงานอภิเษกสมรส สองเจ้าฟ้าหญิง เรียบร้อยแล้ว ตาผ้าขาวดำ(พระเจ้าตากสิน) ได้เสด็จออกผนวชที่วัดถ้ำคูหา จ.ยะลาในปัจจุบัน แล้วไปฟื้นฟูวัดช้างให้ ที่ถูกมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เผาร้างไป ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่ กลายเป็นเจ้าอาวาด วัดช้างให้ มีพระอาจารย์ทิม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาด ประชาชนเรียก ภิกษุตาผ้าขาวดำ ว่า หลวงพ่อศรีลังกา หรือ หลวงพ่อทวด หรือ หลวงปู่ทวด สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

ประวัติพระยาคอปล้อง ผู้มีบทบาทสำคัญ ที่เมืองไชยา

       พระยาคอปล้อง สืบสายตระกูลมาจากบุตรสาวคนโต ของ พระยามหาธิราช(หวัง) กับ ท่านชู คือ แม่เพ็ง ได้ไปสมรสกับ พระยานนทบุรี(บุญจันทร์) มีธิดาคนหนึ่งชื่อ แม่เรียม ได้สมรสกับ กรมหลวงอิศรสุนทร(พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) มีบุตรธิดา ๓ คนคือ พระองค์เจ้าทับ(พระนั่งเกล้าฯ) พระองค์เจ้าป้อม(ญ) และพระองค์เจ้าหนูดำ(พระยาคอปล้อง) ต่อมาพระองค์เจ้าหนูดำ ซึ่งประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๕ เมื่อเริ่มเดินได้และพูดได้ แต่เมื่อมีอายุประมาณ ๑ ขวบ สามารถระลึกชาติได้ว่า เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู อวตาลมาเกิดในภพชาติใหม่

       เรื่องราวที่พระองค์เจ้าหนูดำ เมื่อมีพระชนมายุ ๑ ขวบ สามารถระลึกชาติได้นั้น ต้องส่งมาเป็นบุตรบุญธรรม ของ แม่นาค(ภรรยาคนแรก ของ พระยามหาธิราช) ตั้งแต่อายุ ๑ ขวบ(พ.ศ.๒๓๓๖) แล้วปล่อยข่าวว่า เสียชีวิตแล้ว เพื่อแก้ปัญหาการระลึกชาติว่าเคยเกิดมาเป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู เมื่อมีการทดสอบพระองค์เจ้าหนูดำ พบว่าสามารถจำสิ่งของ และเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ของเจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ ได้เป็นอย่างดี จึงถูกนำมาแก้เคล็ด โดยมอบให้เป็นบุตรบุญธรรม ของ ท่านนาค ภรรยาคนแรก ของ พระยามหาธิราช ที่เมืองไชยา จนหายจากการระลึกชาติได้ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าให้เป็น ปลัดเมืองไชยา และเป็น พระยาวิชิตภักดี(พระยาคอปล้อง) ผู้ปกครองเมืองไชยา ในเวลาต่อมานั่นเอง

       เมื่อพระองค์เจ้าฟ้าหนูดำ มีอายุได้ ๑๔ ปี(พ.ศ.๒๓๔๙) ได้เป็นปลัดเมืองไชยา ได้สมรสกับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก เมื่อมีอายุได้ ๑๓ ปี(พ.ศ.๒๓๔๙) ก็ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองไชยา คือ พระยาวิชิตภักดี(หนูดำ) ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๒-๒๓๖๙ มีที่ว่าราชการอยู่ที่ ทุ่งลานช้าง หน้าวัดถ้ำใหญ่ เมืองท่าชนะ ในปัจจุบัน ประชาชนนิยมเรียกชื่อใหม่ว่า พระยาคอปล้อง เพราะมีเอว ๗ จับ คอ ๗ ปล้อง การที่พระยาคอปล้อง ได้เป็นเจ้าเมืองไชยา ในวัยเยาว์ เพราะทางกรุงเทพฯ ต้องการทำลายอำนาจเก่า และสร้างอำนาจใหม่ ขึ้นมาแทนที่

 

สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ปกครองเมืองไชยา พ.ศ.๒๓๕๒

มีเรื่องเล่าว่า ก่อนที่พระพุทธยอดฟ้าฯ จะสวรรคต ๓ ปี(พ.ศ.๒๓๔๙) ได้โปรดให้ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก อภิเษกสมรสกับ พระองค์เจ้าหนูดำ แล้วตั้งให้ พระองค์เจ้าหนูดำ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ปลัดเมืองไชยา แทนที่ หลวงอินทร์วารี(บุตรชายของ พระยายมราชจุ้ย) เนื่องจากหลวงอินทร์(วารี) สะสมกำลัง ร่วมมือกับปัตตานี และเวียตนาม จะยึดอำนาจคืนให้กับพระเจ้าตากสินฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๓๑ จึงถูกปลดออก และนำพระยาทิพโกษา มาปกครองเมืองไชยา แทนที่ ให้ขุนหลวงอินทร์(มี) เป็นปลัดเมือง จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๔๙ ได้โปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ เป็นปลัดเมืองไชยา แทนที่

       หลวงมณีวัฒน์(มี) บุตรชายของ พระยายมราช(จุ้ย) เคยเป็นปลัดเมืองไชยามาก่อน แต่ต่อมาถูกย้ายไปรับราชการที่กรุงเทพฯ เป็น หลวงเกษตรสาลี(มี) และเป็น พระยาศรีราชสงคราม(มี) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาวิชิตภักดี(มี) ตำแหน่งเจ้าเมืองไชยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๙ ว่าราชการอยู่ที่ทุ่งลานช้าง และมี สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ เป็นปลัดเมือง ว่าราชการอยู่ที่ ท่าดอนร้อยเอ็ด

       จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๕๒ พระพุทธยอดฟ้าฯ สวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาวิชิตภักดี(หนูดำ) หรือ พระยาคอปล้อง ปกครองเมืองไชยา ขุนหลวงอินทร์(มูล) บุตรชายพระยายมราช(จุ้ย) เป็นปลัดเมืองไชยา ส่วนพระยาศรีราชสงคราม(มี) ไปรับราชการที่ กรุงเทพฯ และเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่พม่าถือโอกาสทำสงครามล้างแค้นที่เคยพ่ายแพ้สงคราม ที่สมรภูมิ เมืองถลาง และ สมรภูมิเมืองไชยา ในสมัยสงครามเก้าทัพ ได้ถือโอกาสส่งกองทัพเข้ามาตีเมืองทั้งสอง อีกครั้งหนึ่ง ทันที

 

กองทัพพม่า เข้าตีเมืองถลาง พ.ศ.๒๓๕๒

หลักฐานประวัติศาสตร์ของประเทศพม่า บันทึกว่า ในปี พ.ศ.๒๓๕๑ พระเจ้าปดุง แห่ง ประเทศพม่า เตรียมกองทัพต่างๆ ที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครอง ประเทศสยาม กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องยุติลง เพราะถูกคัดค้านจาก ขุนนางต่างๆ อ้างเหตุผลว่า ประเทศสยาม เข้มแข็งขึ้นมาก และมีอาวุธที่ทันสมัย แต่มีขุนนางส่วนหนึ่ง แค้นใจที่เคยพ่ายแพ้สงครามที่เมืองถลาง และ เมืองไชยา กลุ่มขุนนางดังกล่าว เสนอนำกองทัพเรือ เข้าทดสอบตีเมืองถลาง ถ้าสำเร็จจะวางแผนเข้าตีเมืองไชยา ต่อไป พระเจ้าปดุง จึงอนุญาตให้ขุนนางกลุ่มที่เสนอ ทดลองนำกองทัพเข้าตีเมืองถลาง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๑ พม่าจึงได้ส่งกองทัพมาทำลาย เมืองถลาง เกาะภูเก็ต เสียหายยับเยิน พระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามภักดี(ทอง) เสียชีวิตในสงคราม พม่ายึดอาวุธได้จำนวนมาก แล้วถอยทัพกลับไป กลุ่มขุนนางพม่าดังกล่าว จึงเสนอให้นำกองทัพเข้าตีเมืองถลาง และ เมืองไชยา อีกครั้งหนึ่ง

       ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๕๒ พม่าทราบว่า พระพุทธยอดฟ้าฯ สวรรคต จึงส่งกองทัพจากเมืองเมาะตะมะ มาพักทัพที่เมืองมะริด พม่าส่งกองทัพเข้ามา ๒ ทาง ทางเรือเตรียมเข้าตีเมืองถลาง ทางบก จะเข้าตีเมืองชุมพร และ เมืองไชยา พม่าทำสงครามล้างแค้นที่เคยพ่ายแพ้สงคราม ที่สมรภูมิ เมืองถลาง และ สมรภูมิเมืองไชยา ในสมัยสงครามเก้าทัพ

       กองทัพเรือพม่า ยกกองทัพทางเรือจากเมืองมะริด เข้าตีเมืองถลาง เมื่อเดือน ๑๑ ขึ้น ๙ ค่ำ พ.ศ.๒๓๕๒ ขณะนั้นเมืองถลางปกครองโดย คณะกรมการเมืองถลาง ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่า ไม่สามารถสู้กับกองทัพพม่า ได้จึงตัดสินใจหลบหนีไปหลบภัยที่ภูเขางา เมืองพังงา ต่อมาพระยาจินดาพล เจ้าเมืองพังงา ได้นำกองทัพเข้าทำสงครามกองโจร ลอบโจมตีทหารพม่า ที่เมืองถลาง จนพม่าต้องถอนทัพออกจากเมืองถลาง กรมการเมืองถลาง ก็นำประชาชนอพยพกลับคืนเมืองถลาง

       กองทัพพม่า ส่งกองทัพกลับเข้ายึดเมืองถลาง กลับคืนใหม่อีกครั้งหนึ่ง คณะกรมการเมืองถลาง จึงตัดสินใจนำประชาชนหลบหนีไปหลบภัยที่ภูเขางา เมืองพังงา อีกครั้งหนึ่ง พระยาจินดาพล จึงส่งข่าวไปขอกำลังทหารจากเมืองไชยา และ เมืองนครศรีธรรมราช ให้ส่งกองทัพมาขับไล่กองทัพพม่า ที่เมืองถลาง ขณะนั้น เมืองไชยา และเมืองคันธุลี ต้องนำกำลังทหารไปขับไล่กองทัพพม่า ออกจากเมืองชุมพร ไม่สามารถส่งกองทัพไปช่วยเมืองถลางได้ จึงส่งข่าวให้ทางกรุงเทพ นำกองทัพมาช่วยเหลือ

       เมื่อทางกรุงเทพฯ ทราบข่าว ได้สั่งให้ พระยาทศโยธา พระยาราชประสิทธิ์ นำกองทัพเรือ จากกรุงเทพฯ มาพักที่เมืองไชยา ขณะนั้นกองทัพเมืองไชยา และเมืองคันธุลี สามารถทำสงครามขับไล่กองทัพพม่า ที่เมืองชุมพร เป็นผลสำเร็จแล้ว ทางกรุงเทพฯ ได้คุมกองทัพจากเมืองไชยา มีพระยาคอปล้อง(หนูดำ) นำทัพจากเมืองไชยา ยกกองทัพผ่านปากพนม กองทัพของขุนหลวงประเทศ(สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร) คันธุลี เดินทัพเข้าทางช่องเขาเพลา เข้าไปโจมตีพม่าที่เมืองถลาง พร้อมๆ กับกองทัพของ พระบริรักษ์ภูเบศร์(น้อย) ปลัดเมืองนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกันทำสงครามขับไล่กองทัพพม่า ออกจากเมืองถลาง เป็นผลสำเร็จ

       ภายหลังสงครามครั้งนั้น พระองค์เจ้าหนูดำ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาวงศาเจริญภักดี(หนูดำ) ปกครองเมืองไชยา ประชาชนยังคงนิยมเรียกชื่อว่า พระยาคอปล้อง เพราะมีเอว ๗ จับ คอ ๗ ปล้อง ส่วนปลัดเมือง ขุนหลวงอินทร์รองเมือง(มูล) เป็นบุตรชายคนหนึ่ง ของ พระยายมราช(จุ้ย) เป็นปลัดเมืองไชยา ส่วนพระบริรักษ์ภูเบศร์(น้อย) ซึ่งได้ยกกองทัพไปช่วยทำสงครามขับไล่กองทัพพม่า ออกจาก เมืองถลาง จึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยานคร(น้อย) ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช

 

กองทัพพม่า เข้าตี เมืองชุมพร และ เมืองไชยา พ.ศ.๒๓๕๒

       กองทัพพม่าที่เคลื่อนทัพทางบก มุ่งเข้าตีเมืองชุมพร และ เมืองไชยา เพื่อทำสงครามล้างแค้นที่เคยพ่ายแพ้สงครามที่เมืองไชยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒ พม่า ส่งกองทัพเข้าตีเมืองชุมพร แตก พระยาชุมพร(หมื่นหาร) นำครอบครัวหนีทัพพม่า มาพักอาศัยอยู่ที่บ้านสมอทอง แขวงเมืองท่าชนะ กองทัพพม่ายึดเรือสำเภาที่เมืองชุมพร ได้ส่วนหนึ่ง จึงแบ่งกองทัพออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเคลื่อนทัพทางเรือ วางแผนมาขึ้นฝั่งที่ปากน้ำท่ากระจาย ปากน้ำคลองท่าม่วง ปากน้ำคลองวัง และปากน้ำปากกิ่ว เพื่อเข้าปิดล้อมที่ว่าราชการเมืองไชยา ที่ทุ่งลานช้าง เพื่อรอกองทัพที่เคลื่อนทางบก มาสมทบ เพื่อเข้าตีเมือง พร้อมๆกัน

       พระยาวิชิตภักดี(พระยาคอปล้อง) เจ้าเมืองไชยา สั่งให้ขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) นำกองเรือสำเภาค้าขาย ติดตั้งปืนใหญ่ ปืนลูกซองกล ปืนไรเฟิล พร้อมระเบิด เดินทางไปสกัดกองทัพพม่า ที่จะเคลื่อนกองทัพมาทางเรือ ส่วนพระยาคอปล้อง นำกองทัพม้า เคลื่อนที่ทางบก พร้อมอาวุธปืนทันสมัย ไปสกัดกองทัพพม่า ที่จะยกทัพทางบก เข้าสู่เมืองไชยา ส่วนผู้ปกครองแขวงเมืองต่างๆ ให้เร่งสร้างป้อมค่าย ขุดหลุมเพลาะ พร้อมป้องกันเมือง

       ผลการรบทางเรือ กองเรือของ ขุนหลวงประเทศ เคลื่อนกองทัพเรือไปพบกับกองเรือพม่า ที่ปากน้ำชุมพร กองเรือพม่า เกิดการปะทะกับ กองเรือของขุนหลวงประเทศ ได้ใช้ปืนใหญ่ ยิงเรือพม่า จมไปทั้งหมด ทหารพม่าไม่มีชีวิตรอดกลับไป ส่วนการรบทางบก กองทัพม้าของพระยาคอปล้อง ได้ปะทะกับทหารพม่า ที่ชานเมืองชุมพร สามารถทำลายกองทัพพม่า ได้ทั้งหมด กองทัพพม่าพ่ายแพ้อย่างยับเยิน หลังการปราบปรามกองทัพพม่าเรียบร้อยแล้ว กองทัพม้าของ พระยาคอปล้อง และ กองทัพเรือ ของขุนหลวงประเทศ ก็เดินทางกลับเมืองไชยา เชิญพระยาชุมพร(หมื่นหาร) กลับไปปกครอง เมืองชุมพร ดังเดิม

       ส่วนทางกรุงเทพฯ ทราบข่าวว่า เมืองชุมพร ถูกพม่า ยึดครอง จึงส่งพระยายมราช(บุนนาค) ไปขับไล่กองทัพพม่า แต่ทราบว่า กองทัพพม่า พ่ายแพ้สงคราม จึงรักษาราชการปกครองเมืองชุมพร หลังจากเมืองแตก กรมการเมืองชุมพร หลบหนีมาที่บ้านสมอทอง และบ้านวังพวกราชวงศ์ แขวงเมืองท่าชนะ เดินทางกลับคืนเมืองชุมพร ส่วนพระยาคอปล้อง และ ขุนหลวงประเทศ ได้นำกองทัพม้า ไปขับไล่กองทัพพม่า ที่เมืองถลาง ต่อไป

 

กรมหลวงอิสระเสนา(พระนั่งเกล้า) ร่วมกับกองเรือสำเภาขุนหลวงประเทศ ค้าขายกับจีน

       เจ้าพระยาโกษาธิบดี หยางจิ้งจง มีความสามารถในการเดินเรือสำเภา และการค้าขายระหว่างประเทศสยาม กับ ประเทศจีน มาตั้งแต่ตอนปลายกรุงศรีอยุธยา มาถึงสมัยกรุงธนบุรี ได้ถ่ายทอดความรู้ การสร้างเรือ การเดินเรือ และการค้าขาย สืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงรุ่นลูก ขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) บุตรชายคนกลาง จึงมีความสามารถในการสร้างเรือ เดินเรือ และค้าขาย สืบต่อจากบิดา มีกองเรือสำเภาค้าขายระหว่างประเทศจีน กับประเทศสยาม นำสินค้าจาก ประเทศสยามไปขายในประเทศจีน และ นำเครื่องถ้วยชาม ผ้าไหม จากจีน มาขายในประเทศสยาม บ้านพักของขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) ที่กรุงเทพ อยู่บริเวณวัดอนงคาราม

       พระองค์เจ้าหนูดำ เป็นน้องชายของ พระองค์เจ้าทับ(พระนั่งเกล้าฯ) ได้นำพระองค์เจ้าทับ ให้รู้จักสนิทสนมกับ ขุนหลวงประเทศ ทำให้ พระองค์เจ้าทับ นำสินค้าประเทศสยาม ไปค้าขายกับ ประเทศจีน และนำสินค้าจากจีน มาค้าขายที่กรุงเทพฯ ทำให้ฐานะของพระองค์เจ้าทับ ร่ำรวยมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็สามารถสร้างเงินให้กับท้องพระคลังหลวงจำนวนมาก มีเงินทองไปบูรณะพระธาตุนครปฐม และ สร้างภูเขาทอง ที่กรุงเทพฯ

 

เรื่องราวของ พระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) กับ การย้ายที่ตั้งเมืองไชยา

       เหตุการณ์ปี พ.ศ.๒๓๖๗ ขณะที่พระยาคอปล้อง ปกครองเมืองไชยา มีที่ว่าราชการเมืองอยู่ที่ทุ่งลานช้าง ท่าชนะ สมัยรัชกาล สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์สมบัติใหม่ๆ ได้มีพระบรมราชโองการรับสั่งให้ พระยาวิชิตภักดี(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) หรือ พระยาคอปล้อง ซึ่งเป็นพระอนุชา พร้อมสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท(ทวดเครือ) สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก(ทวดเฟือ) สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร(หยางฮุ่งเชี่ยน) พร้อมครอบครัว ให้เดินทางกลับไปรับราชการ ที่พระราชวังหลวง กรุงเทพฯ

       สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสองพี่น้อง พร้อมครอบครัว ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเสียของ หลวงปู่ทวด(พระเจ้าตากสิน) ที่รับสั่งไม่ให้เดินทางกลับคืนพระราชวังหลวง จึงตัดสินใจโยกย้ายถิ่นฐานไปตั้งบ้านเรือนใหม่ บริเวณแหลมซุย ต.ตะกรบ ท้องที่ อ.ไชยา ในปัจจุบัน และได้ฝากแม่หีด ธิดาคนสุดท้อง ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ให้ไปเป็นบุตรบุญธรรมของแม่ซ้อน (ภรรยาอีกคนหนึ่ง ของ หยางฮุ่งเชี่ยน) เพราะยังมิได้อย่านม

       ขุนหลวงประเทศ หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร(หยางฮุ่งเชี่ยน) และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท กลัวว่าบุตรชาย ๓ คน จะถูกฆ่าทิ้ง เพราะมีทั้งเชื้อสายราชวงศ์จักรี และ ราชวงศ์พระเจ้าตากสิน จึงตัดสินใจนำบุตรชายทั้งสาม ให้เดินทางไปหลบภัยที่เกาะไหหลำ และ เมืองกวางตุ้ง ประเทศจีน และใช้สกุลของสายสกุลญาติพี่น้อง ที่เป็นสกุล แซ่ด่าน แซ่เชียง และ แซ่ซุน เพื่อปกปิดอำพราง ป้องกันการสืบค้นหา

       เหตุการณ์ปี พ.ศ.๒๓๖๗ พระยาคอปล้อง หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ พระอนุชา ของ พระนั่งเกล้าฯ ไม่ยอมเดินทางกลับไปรับราชการที่ วังหลวง กรุงเทพฯ มีการเรียกกลับหลายครั้ง ในที่สุดได้ตัดสินใจลาออกจาก เจ้าเมืองไชยา ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ ไปปกครองเมืองท่าขนอน พระยาวิชิตภักดี(หัวสั่น) หรือ ขุนหลวงมณีวัฒน์ หรือ ขุนหลวงราชานนท์ หรือ ขุนหลวงเกษตรสาลี บุตรชายคนหนึ่งของ พระยายมราช(จุ้ย) จึงขึ้นปกครองเมืองไชยา ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ ทำให้ที่ว่าราชการเมืองไชยา ที่ทุ่งลานช้าง เขาประสงค์ เกิดร้างรา พระยาวิชิตภักดี(มี หรือ หัวสั่น) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองไชยา จึงย้ายเมืองไชยา ไปตั้งใหม่ที่ พุมเรียง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๖๙ เป็นต้นมา มีขุนหลวงอินทร์(มูล) เป็นปลัดเมือง

ต่อมา พระยาวิชิตภักดี(หัวสั่น) หรือ ขุนหลวงมณีวัฒน์(มี) บุตรชายคนหนึ่งของ พระยายมราช(จุ้ย) เจ้าเมืองไชยา ถูกร้องเรียน และถูกไต่สวน พบความเป็นจริง จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ เป็นเหตุให้ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ พระศรีเสาวภาค(มี) และ พระยาอภัยสงคราม(ท้วม) มาสักเลขที่เมืองไชยา และโปรดเกล้าให้ พระศรีเสาวภาค(มี) เป็นพระยาวิชิตภักดี(มี) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ ส่วนพระยาอภัยสงคราม(ท้วม) เป็นปลัดเมือง ปกครองเมืองไชยา ที่พุมเรียง ในปีเดียวกัน พระยาวิชิตภักดี(มี) เสียชีวิต พระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาอภัยสงคราม(ท้วม) เป็น พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) ปกครองเมืองไชยา โดยปลัดปลอด เป็นปลัดเมือง

 

พระเจ้าตากสิน สวรรคต พ.ศ.๒๓๗๑

ปี พ.ศ.๒๓๗๑ หลวงปู่ทวด(พระเจ้าตากสิน) มรณภาพ เมื่อพระชนมายุ ๙๔ พรรษา เมื่อวันออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ที่เมืองไทรบุรี ได้ใช้ชีวิตเป็นพระภิกษุอยู่ ๒๒ พรรษา สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ได้รับข่าวว่า หลวงปู่ทวด(สิน) เสด็จสวรรคต(พระชนมายุ ๙๔ พรรษา) และมีรับสั่งให้ลูกหลาน รับพระบรมศพ ไปถวายพระเพลิง ณ วัดช้างให้ปัตตานี และให้นำอัฐิธาตุแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน เพื่อนำไปเก็บรักษา ณ สถานที่ต่างๆ ตามที่เคยรับสั่ง

ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๗๑ เจ้าพระยานคร(น้อย) นำอัฐิธาตุของพระเจ้าตากสิน ไปบรรจุไว้ที่ฐานยอดเจดีย์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ บรรจุไว้ ร่วมกับอัฐิธาตุของ พระราชมารดาพระองค์เจ้านกเอี้ยง ที่ถ้ำขุนเขาพนม นครศรีธรรมราช ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ได้นำอัฐิธาตุของพระเจ้าตากสิน เดินทางไปยังดินแดนลาว เพื่อบรรจุอัฐิธาตุไว้ ตามที่รับสั่ง ที่ยอดภูเขาแห่งหนึ่งในดินแดนลาวปัจจุบัน ซึ่งติดต่อกับดินแดนไทย เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท(อายุ ๔๑ ปี) ส่งบุตรชายทั้ง ๓ คน ลงเรือสำเภาไปประเทศจีนเรียบร้อยแล้ว ก็สิ้นพระชนที่ บ้านแหลมซุย เนื่องจากป่วยเป็นไข้ป่าเรื้อรัง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๓

หลังจากที่หลวงปู่ทวด(พระเจ้าตากสิน) มรณภาพ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๗๒ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการรับสั่งให้ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร(หยางฮุ่งเชี่ยน) และ พระยาวิชิตภักดี(หนูดำ) หรือ พระยาคอปล้อง พร้อมครอบครัว เดินทางกลับคืนสู่พระราชวังหลวง กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง แต่เชื้อพระวงศ์ ดังกล่าว ไม่ยอมเดินทางกลับตามรับสั่ง ทำให้พระนั่งเกล้า ทรงกริ้ว มาก

ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๗๓ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท(ทวดเครือ) สิ้นพระชนม์ เพราะไข้ป่า แล้ว พระยาอภัยสงคราม(ปลอด) บุตรชายคนหนึ่งของ พระยายมราช(จุ้ย) ได้นำเอาพระบรมราชโองการ ของ พระนั่งเกล้าฯ ให้มายึดทรัพย์สินของพระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) เช่น นาสามพัน , นาป่านก , นาสำหรับเมือง , นากรัง , นาโคกหม้อ , นาดิน , นาม่วงงาม , นาขาม , นาริ้ว , สวนบ้านกระทือ , สวนลิเล็ด , สวนบ้านห้วยตีนเป็ด ให้เป็นที่ดินของรัฐ เป็นที่มาให้พรรคพวกบริวารและเครือญาติ ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ได้อพยพไปตั้งรกรากใหม่ที่บ้านหนอน บ้านศาล เมืองไชยา ส่วนพระยาคอปล้อง ได้ไปปกครองเมืองท่าขนอน

สมเด็จพระศรีสุลาลัย (เรียม) พระราชชนนี ของ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๐ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ และ เจ้าพระยานครน้อย เดินทางไปถวายพระเพลิง สมเด็จพระศรีสุลาลัย(เรียม) ที่ กรุงเทพมหานครฯ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ได้พบกับ พระนั่งเกล้าฯ ได้ขอขมาลาโทษ และให้เหตุผลที่ไม่สามารถปฏิบัติตามรับสั่ง สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ถือโทษโกรธเคือง

ต่อมาพระยาอภัยสงคราม(ปลอด) บุตรชายคนหนึ่งของ พระยายมราช(จุ้ย) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาวิชิตภักดี(ปลอด) ปกครองไชยา ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๘๒-๒๓๘๓ และถูกเรียกเข้ากรุงเทพฯ เป็น พระยาท้ายน้ำ เพราะมีความขัดแย้ง กับ พระยานครน้อย เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เหตุเพราะไม่ยอมขายข้าวให้กับเมืองนครศรีธรรมราชและเป็นผู้สร้างข่าวว่า พระยานครน้อย เป็นโอรสลับ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

เมืองไชยา ย้ายจาก ทุ่งลานช้าง ไปอยู่ที่ พุมเรียง พ.ศ.๒๓๖๙

       เมื่อเมืองไชยา ย้ายไปยังพุมเรียง พระนั่งเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ หลวงอินทร์รองเมือง(หัวสั่น) หรือ หลวงมณีวัฒน์ (มี) หรือ หลวงเกษตรสาลี ต้นตระกูลสาลี ซึ่งเป็นบุตรชายของ เจ้าพระยายมราช(จุ้ย) ซึ่งเคยได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาจักรี(จุ้ย) แต่ถูกจับประหารชีวิต สมัยรัฐประหาร เป็นเจ้าเมืองไชยา ตำแหน่งพระยาวิชิตภักดี (มณีวัฒน์ หรือ สาลี) และโปรดเกล้าให้ หลวงอินทร์รองเมือง(มูล) เป็นปลัดเมืองไชยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๙

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๖๙ พระยาวิชิตภักดี(มณีวัฒน์ หรือ สาลี) เจ้าเมืองไชยา ถูกร้องเรียน และถูกไต่สวน พบความเป็นจริง จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ พระศรีเสาวภาค(มี) และ พระยาอภัยสงคราม(ท้วม) มาสักเลขที่เมืองไชยา และโปรดเกล้าให้ พระศรีเสาวภาค(มี) เป็นพระยาวิชิตภักดี(มี) ส่วนพระยาอภัยสงคราม(ท้วม) เป็นปลัดเมือง และในปี พ.ศ.๒๓๗๐ พระยาวิชิตภักดี(มี) ถึงแก่อนิจกรรม สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ พระยาอภัยสงคราม(ท้วม) เป็น พระยาวิชิตภักดี ปกครอง เมืองไชยา ที่ว่าราชการเมืองอยู่ที่ พุมเรียง

       เล่ากันว่า ขณะที่พยายามย้ายที่ว่าราชการเมืองไชยา จากทุ่งลานช้าง ไปยังพุมเรียง นั้น ต้องย้ายปืนใหญ่ ไปด้วย แต่ปืนใหญ่ไม่ยอมเคลื่อนย้าย แม้ว่าจะนำช้างมาช่วยยก ขึ้นเลื่อน ปืนใหญ่ไม่ยอมขยับ ต้องทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณพ่อพระยาปืนไฟ ผู้สร้างปืนใหญ่ขึ้นมาใช้ครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงสามารถยกปืนใหญ่ ใส่เลื่อน ใช้ช้างลากไปยังเมืองพุมเรียง เป็นผลสำเร็จ

 

เมืองนครศรีธรรมราช สมัย เจ้าพระยานครน้อย พ.ศ.๒๓๕๓

เจ้าน้อย เป็น พระราชโอรสลับ ของ พระเจ้าตากสินฯ มาเป็นบุตรบุญธรรม ของ พระยานครพัฒน์ เมื่อโตขึ้นได้ไปรับราชการเป็นมหาดเล็กที่ กรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๕ เรียกชื่อว่า มหาดเล็กหุ้มแพร นายศัลย์วิไชย จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๔๙ มหาดเล็กหุ้มแพร (น้อย) หรือ นายศัลย์วิชัย มีอายุ ๓๐ ปี ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

พระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดเกล้า แต่งตั้งให้ พระบริรักษ์ภูเบศร์(น้อย) ผู้ช่วยเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาล ปี พ.ศ.๒๓๔๙ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๕๐ กรมหมื่นศักดิพลเสพ (พระองค์เจ้าอรุโณทัย) เสนาบดีกลาโหม ได้รับมอบหมายให้ดูแลหัวเมืองภาคใต้ ทั้งหมด เสนาบดีกลาโหม จึงมอบหมายให้ พระบิรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) มารับราชการเป็น ปลัดเมืองนครศรีธรรมราช

       พระบริรักษ์ภูเบศร์(น้อย) ได้ยกกองทัพไปช่วยทำสงครามขับไล่กองทัพพม่า ออกจาก เมืองถลาง ร่วมกับกองทัพของเมืองไชยา และกองทัพของพระยาจินดาพล เจ้าเมืองพังงา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒ เป็นผลสำเร็จ จึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็น "พระยานคร (น้อย) ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๓"

ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ พระยานครน้อย ได้รับคำแนะนำจาก ภิกษุหลวงพ่อทวด (พระเจ้าตากสิน) วัดช้างให้ ว่าจะเกิดสงครามกับชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ที่จะพยายามแยกดินแดนปัตตานี ออกจากประเทศสยาม จึงเสนอให้จ้างชาวจีนที่บ้านห้วยยอด เมืองตรัง ที่เคยสร้างเรือสำเภาให้กับพ่อค้าจีน ให้มาสร้างอู่ต่อเรือสำเภา ขนาดใหญ่ขึ้นที่ บ้านห้วยยอด เมืองตรัง เพราะจะต้องใช้ทำสงครามในอนาคตอย่างแน่นอน พระยาน้อย ใช้เวลา ๓ ปี สามารถสร้างเรือสำเภาได้ถึง ๓๐๐ ลำ

พระยานครน้อย และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา (ทวดนอบ) จัดให้ลูกหลานพระเจ้าตากสินฯ ไปเข้าเฝ้า หลวงปู่ทวด ที่ขุนเขาพนม นครศรีธรรมราช ปีละหนึ่งครั้ง เพื่อสะดวกในการเดินทาง จึงมีการจัดเตรียมเครื่องใช้ สิ่งของต่างๆ ไว้ที่ขุนเขาพนม เพื่อรองรับการเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก โดยนิมนต์ หลวงพ่อทวด(ภิกษุพระเจ้าตากสิน) จากวัดช้างให้ ปัตตานี ตั้งแต่ปี พ..๒๓๕๓ เป็นต้นมา จนเป็นประเพณี ประจำทุกปี ลูกหลานจึงเรียกนามว่า หลวงพ่อทวด หลวงปู่ทวด หรือ หลวงตาทวด ต่อเนื่องสืบทอดกันมา

ภิกษุหลวงพ่อทวด(พระเจ้าตากสิน) กล่าวให้ลูกหลานรับทราบ ณ ขุนเขาพนม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๓ ว่า พระพุทธยอดฟ้าฯ คือ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทองผู้สร้างอาณาจักรเสียม กลับชาติมาเกิดในภพชาติใหม่ ส่วน พระพุทธเลิศหล้าฯ เป็น เจ้าพระยาศรีธรรมโศก มาประสูติในภพชาติใหม่ จึงไม่ควรต่อต้านราชวงศ์จักรี ต่อมาการต่อต้านราชวงศ์จักรี จึงค่อยๆ ลดลง และกลายเป็นความเชื่อในหมู่ผู้สูงอายุในภาคใต้ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

ภาพเทวรูป พ่ออู่ทอง หรือ มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิต ที่หลวงปู่ทวด(พระเจ้าตากสินฯ) บอกกล่าวกับลูกหลานที่เขาขุนพนม เมืองนครศรีธรรมราช ที่ไปเข้าเฝ้า สรุปว่า เป็นอดีตชาติ ของ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ผู้ให้กำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มาก่อน ทำให้การต่อต้านราชวงศ์จักรี จึงค่อยๆ ลดลง และกลายเป็นความเชื่อในหมู่ผู้สูงอายุในภาคใต้ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

 เมืองพัทลุง หลังการทำลาย อำนาจรัฐเก่า พ.ศ.๒๓๒๘-พ.ศ.๒๓๘๒

เรื่องเดิม ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๐- พ.ศ.๒๓๑๒ พระยาพัทลุง ท่าสะเม็ด หลานเจ้าพระยานครหนู เป็นเจ้าเมืองพัทลุง ได้ก่อกบฏต่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ หันไปสนับสนุนพระเจ้าโสร์ทศ เคยเตรียมกองทัพ ๑๐,๐๐๐ คน ไปตีกรุงธนบุรี เป็นที่มาให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต้องส่งกองทัพเข้าปราบปราม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๒ แล้วแต่งตั้งให้ พระยาพัทลุง(จัน) เป็นผู้ปกครองเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๒ –พ.ศ.๒๓๑๕ ต่อมาพระยาแก้วโกรพ (ขุน คางเหล็ก) อดีตนายทหารกองพันทหารม้า พระเจ้าตากสิน ไปปกครองเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๕-พ.ศ.๒๓๓๒ ในระหว่างที่เกิดสงคราม ๙ ทัพ พระยาแก้วโกรพ (ขุนคางเหล็ก) ตัดสินใจอพยพประชาชน ไปซ่อนตัวในเขตป่าเขา เพราะทราบข่าวลวงว่า กรุงเทพฯ และ เมืองต่างๆ ถูกพม่ายึดครองแล้ว พระยาขุนคางเหล็ก ต้องการสงวนกำลังไว้ จึงไม่ต่อสู้กับกองทัพพม่า และวางแผนจะกลับมาปกครองเมืองใหม่ เมื่อพม่าถอยทัพ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ถือว่า นายขุน คางเหล็ก เป็นอำนาจเก่า ต้องการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ

จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๓๒ พระยาแก้วโกรพ (ขุน คางเหล็ก) อดีตนายทหารกองพันทหารม้า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เจ้าเมืองพัทลุง ถึงแก่อนิจกรรม เพราะถูกลอบวางยาพิษ พระพุทธยอดฟ้าฯ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระศรีไกรลาศ (เป็นญาติฝ่ายภรรยา ของ พระยานครพัฒน์) เป็นเจ้าเมืองพัทลุง กรุงเทพฯ ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๓๒-พ.ศ.๒๓๖๐ จึงสร้างอำนาจใหม่ ขึ้นมาที่เมืองพัทลุง เป็นผลสำเร็จ

พระศรีไกรลาศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๐ พระพุทธเลิศหล้าฯ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ นายพลพ่าย(เผือก) บุตรชายคนที่-3 ของ พระยาแก้วโกรพ(ตะตา) เป็น พระยาแก้วโกรพ(เผือกปกครองเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๖๐-พ.ศ.๒๓๖๙

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ พระยาแก้วโกรพ(เผือก) (ขณะนั้นอายุได้ ๗๐ ปี) เจ้าเมืองพัทลุง เดินทางมารับราชการที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๙ และได้พระราชทานที่ดิน วังวรดิช บริเวณสนามควาย ปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวและพรรคพวก และในปี พ.ศ.๒๓๖๙ พระนั่งเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ พระยาอุทัยธรรม เป็นพระยาพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๖๙-พ.ศ.๒๓๘๒ เพราะในปี พ.ศ.๒๓๘๒ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ พระยาอุทัยธรรม เจ้าเมืองพัทลุง เดินทางไปรับราชการที่ กรุงเทพมหานครฯ

 

...................................................................................................

 

 

 

                                                                 บทที่-๓

                    การก่อกบฏ ของ ปัตตานี และ ไทรบุรี

 

เมืองไชยา ส่งกองทัพปราบ กบฏ ตนกูลามิเด็น ที่ปัตตานี พ.ศ.๒๓๒๘-พ.ศ.๒๓๓๔

ตนกูลามิเด็น เป็นเจ้าชายคนหนึ่ง ของ อาณาจักรทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เกาะสุมาตรา ได้มาสมรสกับ เจ้าหญิงแคว้นกะลันตัน ได้เป็นอุปราช ปกครองแคว้นกะลันตัน ในช่วงเวลาที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกรัฐประหาร หลังการปราบปรามพระยาปัตตานีศรีสุลต่าน สายราชวงศ์โมกุล ที่สมรสกับ ราชธิดาของ สมเด็จพระนเรศวรฯ(พระนางน้ำเงิน) เป็นผลสำเร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ (บุญมา) ได้แต่งตั้งให้ ตนกูลามิเด็น เชื้อสายราชวงศ์มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากแคว้นกะลันตัน มาเป็น พระยาพิชิตภักดี ศรีสุรวังษา (ตนกูลามิเด็น)  เป็นเจ้าเมืองปัตตานี แล้วยกเมืองปัตตานี ให้เป็นประเทศเมืองขึ้น เช่นเดียวกันกับที่พระบรมไตรโลกนาถ เคยทำผิดพลาด กับ แคว้นมาลายู กรุงม้าละกา มาก่อน ทำให้ ตนกูลามิเด็น ถือโอกาสทำการอพยพชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากเกาะสุมาตรา เข้ามาตั้งรกราก ที่ปัตตานี จำนวนมาก อีกครั้งหนึ่ง

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๘-พ.ศ.๒๓๓๑ ที่เมืองไชยา มีพระยาวิชิตภักดี(หัวสั่น) เป็น เจ้าเมืองไชยา ขุนหลวงอินทร์(จันทร์) หรือ ประสาน เป็นปลัดเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๑ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) พิจารณาเห็นว่า เจ้าเมืองไชยา และ ปลัดเมือง ฝักใฝ่ อำนาจเก่า จึงส่ง พระยาทิพย์โกษา ไปปกครองเมือง และให้ หลวงเกษตรสาลี หรือ ขุนหลวงอินทร์(สาลี หรือ มี) เป็นปลัดเมือง ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๓๑-พ.ศ.๒๓๓๕

       ที่เมืองไชยา มีเรื่องราวเล่าสืบทอดต่อเนื่องกันมา จากสมัยที่ พระยาสรรค์ ก่อการรัฐประหาร แล้วจับขุนนางอำมาตย์ ไปขังคุกที่กรุงธนบุรี ต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ปล่อยตัวขุนนางอำมาตย์ที่ถูกพระยาสรรค์ จับขังคุก ออกจากคุก ได้หลบหนีนัดมาพบกันที่ นาคุณพระ เมืองคันธุลี แล้วแยกย้ายกันไปตั้งตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ขณะนั้น มีขุนนางอำมาตย์ ๒ กลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่งรวมกลุ่มกันไปตั้งรกรากพร้อมสร้างวัดขึ้นบริเวณ วัดพระใหญ่ แขวงเมืองท่าชนะ อีกกลุ่มหนึ่ง ไปตั้งรกรากและสร้างวัดตะเคียน ที่เมืองไชยา

       ขุนนางอำมาตย์เหล่านี้มีประสบการณ์ในการทำสงครามกับพม่า มาก่อน ได้รวมตัวกันอย่างลับๆ เพื่อรวบรวมไพร่พล ทำสงครามยึดอำนาจกลับคืนให้กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีขุนหลวงอินทร์(จันทร์) บุตรชายคนหนึ่งของ พระยายมราช(จุ้ย) เคยรับราชการที่กรุงธนบุรี และเคยเป็นปลัดเมืองไชยา เกิดความคับแค้นใจที่พระยาสรรค์ พี่ชายพระพุทธยอดฟ้าฯ สั่งประหารชีวิต บิดาของตนเอง คือ พระยาจักรี(จุ้ย) จึงเก็บความคับแค้นไว้ในใจเรื่อยมา ต่อมาได้ขออาสาเป็นแกนนำในการดำเนินการสร้างกองทัพเรื่อยมา ได้ขี่ม้า วิ่งประสานงานระหว่าง วัดตะเคียน กับ วัดพระใหญ่ จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ขุนอินทร์(ประสาน) โดยไม่ทราบว่า ทุกๆ เรื่องจบไปแล้วที่หาดเจ้าสำเร็จ แขวงเมืองท่าชนะ

หลังสงครามเก้าทัพ พระพุทธยอดฟ้า ได้รับพระราชสาสน์ตักเตือนจากตาผ้าขาวดำ(พระเจ้าตากสินฯ) เรื่องให้ปัตตานี เป็นเมืองขึ้น เสนอให้พระพุทธยอดฟ้า เร่งจัดการแก้ไข ควรยกเลิกการเป็นเมืองขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๔ ตนกู ลามิเด็น แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ทำการก่อกบฏ คบคิดร่วมมือกับชาติอังกฤษ เวียตนาม และร่วมมือกับ หลวงอินทร์(ประสาน) ประกาศแยกดินแดน ปัตตานี เป็นรัฐอิสระ เป็น ประเทศปัตตานี

ส่วนที่เมืองไชยา ขุนหลวงอินทร์(ประสาน) สะสมกำลังอาวุธ ซ่อนไว้ที่วัดพระใหญ่ และ วัดตะเคียน ได้ติดต่อร่วมมือกับ ตนกูลามิเด็น เจ้าเมืองปัตตานี ติดขอซื้ออาวุธ จากพ่อค้าอังกฤษ และติดต่อขอกำลังทหารจากเวียตนาม และลาว รวมทั้งเมืองต่างๆ เพื่อเตรียมทำสงครามกับ กรุงเทพฯ เพื่อยึดอำนาจกลับคืนให้กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อข่าวการเคลื่อนไหวของ หลวงอินทร์(ประสาน) ทราบถึง ตาผ้าขาวดำ(พระเจ้าตากสินฯ) จึงได้เดินทางมาพบกับ หลวงอินทร์(ประสาน) และพวก ที่วัดตะเคียน เมืองไชยา เป็นที่มาให้ หลวงอินทร์(ประสาน) เปลี่ยนใจ อาสานำกองทัพไปปราบกบฏ ตนกูลามิเด็น หลวงอินทร์(ประสาน) จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น หลวงอินทร์(เปลี่ยนใจ)

       เมื่อตนกูลามิเด็น ก่อกบฏ ประกาศตั้งประเทศปัตตานี ข่าวดังกล่าวรับรู้ไปถึง กรุงเทพฯ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) จึงส่ง พระยาทิพโกษา และ หลวงเกษตรสาลี(มี) มาเป็นเจ้าเมืองไชยา และ ปลัดเมืองไชยา เพื่อดำเนินการรวบรวมไพร่พลที่เมืองไชยา เข้าปราบปราม กบฏตนกูลามิเด็น ที่ปัตตานี หลวงอินทร์(เปลี่ยนใจ) จึงขออาสาร่วมกองทัพไปทำสงครามปราบปราม กบฏตนกูลามิเด็น ด้วย

       พระยาทิพโกษา(ฤกษ์) เป็นญาติสนิทกับ เจ้าพระยาโกษาธิบดี หยางจิ้งจง เคยมีชื่อว่า ขุนท่องสื่อ และ ขุนฤกษ์ ได้เคยไปรับราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช เคยเป็น หลวงพรหมเสนา และ หลวงพรหมโกษา แล้วไปรับราชการที่กรุงศรีอยุธยา เป็น พระยาพิพัฒน์โกษา ในสมัยกรุงธนบุรี เป็น พระยาไกรโกษา และในสมัยกรุงเทพฯ เป็นพระยาทิพโกษา ว่าราชการกับ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ก่อนมาเป็น เจ้าเมืองไชยา  

       เมื่อตนกูลามิเด็น ก่อกบฏ ประกาศตั้งประเทศปัตตานี กรมพระราชวังบวร(บุญมา) จึงส่งพระยาทิพโกษา มาเป็นเจ้าเมืองไชยา เพื่อทำการรวบรวมไพร่พลทำสงครามปราบปราม กบฏตนกูลามิเด็น โดยได้มารวบรวมกองทัพที่เมืองไชยา เมื่อมาถึงเมืองไชยา ก็ทราบว่า ขุนหลวงอินทร์(ประสาน) ร่วมมือกับตนกูลามิเด็น ด้วย จึงปลด พระยาวิชิตภักดี(หัวสั่น) ออกจากเจ้าเมืองไชยา และปลด ขุนหลวงอินทร์(จันทร์ หรือ ประสาน) ออกจากปลัดเมืองไชยา แล้วแต่งตั้ง ขุนหลวงอินทร์(สาลี) บุตรชายพระยายมราช(จุ้ย) เป็นปลัดเมืองไชยา สั่งเตรียมกองทัพ ๑๐,๐๐๐ คน เข้าปราบปราม กบฏตนกูลามิเด็น ที่เมืองปัตตานี

        พระยาทิพย์โกษา(ตระกูล แซ่เอียน หรือ แซ่หยาง) สั่งให้ ขุนหลวงประเทศ(ตระกูลแซ่หยาง เป็นหลานของ พระยาทิพย์โกษา) ขุนหลวงอินทร์(สาลี) และขุนนางอำมาตย์ต่างๆ ของเมืองไชยา เตรียมกองทัพเรือที่ติดตั้ง ปืนใหญ่ ปืนลูกซองกล ปืนไรเฟิล ลูกระเบิด เครื่องยิงลูกระเบิด-น้ำมันชัน และอาวุธต่างๆ ที่จำเป็น ประจำทุกลำเรือ เคลื่อนกองทัพเรือเข้าตีเมืองปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๔

       กองทัพเรือเมืองไชยา ได้ปะทะกับ กองทัพปัตตานี ของ ตนกูลามิเด็น ที่อ่าวปัตตานี กองทัพเรือเมืองไชยา สามารถจมเรือกองทัพตนกูลามิเด็น ได้ทั้งหมด ตนกูลามิเด็น ต้องว่ายน้ำหนีไปขึ้นฝั่งที่เมืองสงขลา หลบหนีไปซ่อนตัวที่เขาลูกช้าง เมืองสงขลา เล่ากันว่า กองทัพของ หลวงอินทร์(เปลี่ยนใจ) ติดตามไปจับตัวตนกูลามิเด็น ได้ที่ เขาลูกช้าง นำมาประหารชีวิต แล้วตั้ง หลวงลักษมาณา ดายัน เจ้าเมืองจะนะ เข้าปกครองเมืองปัตตานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๓๔ เป็นต้นมา

       เมื่อพระยาทิพโกษา ยกกองทัพกลับมาที่เมืองไชยา ก็แต่งตั้งให้ ขุนหลวงอินทร์(สาลี) เป็นพระยาวิชิตภักดี(สาลี) เป็นเจ้าเมืองไชยา ให้ ขุนหลวงอินทร์(พระองค์เจ้าหนูดำ) เป็นปลัดเมือง ส่วนพระยาทิพโกษา กลับไปรับราชการที่กรุงเทพฯ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี(ฤกษ์) ในกรมพระราชวังบวร(บุญมา) เมื่อ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) สวรรคต ได้อพยพครอบครัวมาตั้งรกรากที่บ้านวังพวกราชวงศ์ ที่ทุ่งลานช้าง มีลูกหลานสืบสายตระกูลต่อมาที่เมืองท่าชนะ คือ ตระกูล พรหมหิตาทร ไชยฤกษ์ และ สำเภา เป็นต้น ส่วน ขุนอินทร์(จันทร์) หรือ ขุนอินทร์(ประสาน) หรือ ขุนอินทร์(เปลี่ยนใจ) ต่อมาได้เสียชีวิตในสงครามในการปราบกบฏ เต็งกูเด็น ที่เมืองสงขลา ลูกหลานได้ตั้งถิ่นฐาน บริเวณภูเขาศรีวิชัย คือสายตระกูล อินทร์จันทร์ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  

 

กองโจรหลวงคีรี และ หลวงโครพ ขัดขวาง อังกฤษ ยึดเกาะปีนัง พ.ศ.๒๓๒๙-พ.ศ.๒๓๔๘

ชาติอังกฤษ ผู้สามารถผลิตปืนไรเฟิล ผลิตปืนใหญ่ที่สามารถยิงลูกระเบิด และสามารถเดินเรือด้วย เรือกุลไฟ จึงกลายเป็นเจ้าทะเล ในทวีปเอเชีย ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๐๑-๒๓๐๔ ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๑๖ ชาติอังกฤษ สามารถทำสงครามยึดครอง ประเทศอินเดีย เป็นเมืองขึ้น เป็นผลสำเร็จ ในปี พ.ศ.๒๓๑๗ ชาติอังกฤษ แต่งตั้งให้ วอร์เรนท์ เฮสติ้งส์ เป็นข้าหลวงใหญ่ ปกครอง ประเทศอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๗-๒๓๒๗ และในปี พ.ศ.๒๓๒๙ ชาติอังกฤษ ได้แต่งตั้ง ลอร์ด คอร์น วอลลิส เข้าปกครอง ประเทศอินเดีย และเริ่มขยายอิทธิพลเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

เนื่องจากชาติสยาม โดยกรมพระราชวังบวรฯ ได้เปลี่ยนแปลงให้แคว้นไทรบุรี เป็นเมืองขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๘ เพราะพึงพอใจแค่เครื่องราชบรรณาการ และต้องการทำลายอำนาจรัฐเก่า ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระยาไทรบุรี (สุลต่าน โมกุ รัมซะ) แห่ง แคว้นไทรบุรี สามารถบริหารงานอิสระ ได้ทำสัญญากับชาติอังกฤษ ให้เช่าเกาะหมาก เป็นเหตุให้อังกฤษ เปลี่ยนชื่อ เกาะหมาก(เกาะปีนัง) ในชื่อใหม่ว่า เกาะปรินซ์ออฟเวลล์ เพื่อถวายพระเกียรติ แก่ มกุฎราชกุมาร ของ ประเทศอังกฤษ และตั้งชื่อเมืองหลวง ของ เกาะหมาก ว่า เมืองยอร์ชทาวน์ เพื่อให้เกียรติ แด่ พระเจ้ายอร์ชที่ ๓

แคว้นไทรบุรี เริ่มก่อกบฏ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๙ เมื่อตาผ้าขาวดำ(พระเจ้าตากสินฯ) ทราบข่าว ได้ส่ง หลวงคีรี และ หลวงโครพ บุตรชายของ เจ้าพระยายมราช (จุ้ย) เมืองไชยา ไปสืบข่าวที่เมืองไทรบุรี เมื่อทราบว่าเสียดินแดนเกาะหมาก ให้อังกฤษ จึงได้ไปตั้งขบวนการอั้งยี่ สร้างกองโจรสลัด ต่อต้านชาติอังกฤษ ยึดครองเกาะหมาก ที่ เมืองไทรบุรี อย่างลับๆ เหตุการณ์ในขณะนั้น หลวงรองราชมนตรี ปลัดเมืองสงขลา ก็ไม่พอใจบิดา ซึ่งเป็น พระยาสงขลา(โยม) ที่วางเฉยต่อปฏิบัติการของชาติอังกฤษ ในการให้อังกฤษ เช่าเกาะเกาะหมาก ของ แคว้นไทรบุรี จึงร่วมกับหลวงคีรี และ หลวงโครพ ส่งกองทัพเข้ายึดอำนาจ เมืองสงขลา ซึ่งเดิมปกครองโดยบิดาตนเองคือ พระยาสงขลา(โยม) ไว้ได้ และตั้งตัวเป็นเจ้าเมือง ปกครอง เมืองสงขลา แทนที่ เพื่อต่อต้านอังกฤษ เข้ายึดครองเกาะปีนัง ของ แคว้นไทรบุรี

ต่อมา พระยาไทรบุรี(โมกุล รัมซะ) ได้รับฟังเสียงคัดค้านจาก พระยาสงขลา หลวงคีรี และ หลวงโครพ ก็รู้สึกเสียดายเกาะหมาก(เกาะปีนัง) จึงพยายามทวงเกาะหมาก คืนจากชาติอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๔ แต่ชาติอังกฤษ ไม่ยอมคืนให้ จึงเกิดสงคราม ระหว่างกัน เนื่องจากอังกฤษ มีอาวุธที่ทันสมัยกว่ามาก กองทัพพระยาไทรบุรี จึงพ่ายแพ้สงคราม พระยาไทรบุรี ต้องจำยอมทำสัญญาให้ชาติอังกฤษ เช่าเกาะหมาก ปีละ ๖,๐๐๐ เหรียญ โดยมีเงื่อนไขว่า ทางไทรบุรี จะไม่ยอมให้ชาวยุโรป ชาติอื่นๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ทำการค้าภายในเมือง และจะยอมให้ชาวอังกฤษสามารถซื้อเสบียงอาหารได้ โดยไม่ต้องเสียภาษี จึงเป็นที่มาให้เกิดกองโจร ต่อต้านอังกฤษ ที่เมืองไทรบุรี

เนื่องจากต่อมา มีโจรสลัดที่ควบคุมโดย หลวงคีรี และ หลวงโครพ ข้ามไปตีเกาะหมาก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๒ ทางอังกฤษ สงใสว่า ทางพระยาไทรบุรี(โมกุล รัมซะ) จะรู้เห็นเป็นใจด้วย ผู้ปกครองเกาะหมากของอังกฤษ คนใหม่ชื่อ เซอร์ ยอร์ช ลิด จึงได้ส่งคนไปเจรจา ขอเช่า เมืองสมารังไพร ดินแดนตรงข้ามเกาะหมาก อ้างว่า เป็นที่อาศัย ของ พวกโจรสลัด ของ หลวงคีรี และ หลวงโครพ ที่คอยส่งเรือออกรังควานเรือสินค้า ของ ชาติอังกฤษ พระยาไทรบุรี ต้องยอมทำสัญญากับอังกฤษ ยอมยกดินแดน เมืองสมารังไพร ให้อังกฤษ อีก โดยเพิ่มค่าเช่า เป็นปีละ ๑๐,๐๐๐ เหรียญ และเรียกชื่อ เมืองสมารังไพร ในชื่อใหม่ ว่า จังหวัดเวลสลีย์ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ นายมาร์ควิส แห่ง เวลสลีย์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการ อินเดีย ของ ประเทศอังกฤษ ในเวลานั้น 

เนื่องจากมีโจรสลัด จากเมืองไทรบุรี ของหลวงคีรี และ หลวงโครพ เข้าปล้นเกาะหมาก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕ อีกครั้งหนึ่ง อังกฤษ กล่าวหาว่า พระยาไทรบุรี อยู่เบื้องหลัง ในที่สุด พระยาไทรบุรี(โมกุล รัมซะ) ต้องยินยอมให้ชาติอังกฤษ เช่าแผ่นดินบก ตรงข้ามเกาะหมาก เพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ปีละ ๔,๐๐๐ เหรียญ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๘ พระยาไทรบุรี(โมกุล รัมซะ) ถึงแก่กรรม ทางกรุงเทพฯ จึงแต่งตั้งให้ พระยารัตนสงครามรามภักดี(ตนกูปะแงรัน บุตรคนที่-) เป็น เจ้าเมืองไทรบุรี และแต่งตั้งให้ พระยาอภัยนุราช(ตนกูปัศนู-บุตรคนที่-3) เป็น ราชามุกดา หรือ ผู้ช่วยเจ้าเมืองไทรบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๔๘ เป็นต้นมา

 

       แผนที่อาณาจักรมาลัยรัฐ

 

สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกผนวช พ.ศ.๒๓๔๙ มีพระนามใหม่ว่า หลวงพ่อศรีลังกา

       หลังจาก ตาผ้าขาวดำ(พระเจ้าตากสินฯ) ได้ดำเนินการจัดการอภิเษกสมรส ระหว่าง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท(ทวดเครือ) กับ ขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) และระหว่าง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก(ทวดเฟือ) กับ พระองค์เจ้าหนูดำ ที่เมืองคันธุลี สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ตาผ้าขาวดำ ได้ตัดสินใจออกผนวช ณ วัดถ้ำคูหา ยะลา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๙ เพราะทราบข่าวว่า วัดต่างๆ ในเมืองปัตตานี ถูก มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เผาทำลายร้างไปจำนวนมาก หลังจากออกผนวช ได้ออกธุดงค์ ไปยังอินเดีย และศรีลังกา ประชาชนเรียกพระนามใหม่ว่า หลวงพ่อศรีลังกา

       หลวงพ่อศรีลังกา(พระเจ้าตากสิน) ได้ออกธุดงค์ในดินแดนเมืองปัตตานี เมืองยะลา เมืองนราธิวาส และ เมืองไทรบุรี พบว่า วัดวาอารามจำนวนมาก ถูก ชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เผาทำลายไปจำนวนมาก มีแต่วัดร้าง พระไม่กล้าออกบินทบาท วัดช้างให้ ก็ถูก มุสลิมทมิฬโจฬะ เผาร้างไป หลวงพ่อศรีลังกา จึงตัดสินใจมาจำพรรษา และรื้อฟื้น วัดช้างให้ ที่ถูกมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะเผาร้างไป ขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒

       เมื่อมีข่าวว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒ ระตูปะกาลัน ก็ถือโอกาสก่อกบฏ มีการการขับไล่ คนไทยพุทธ ออกจากปัตตานี เผาวัดวาอาราม รวมทั้ง ฆ่าพระภิกษุ และอพยพชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ มาตั้งรกรากในดินแดนปัตตานี จำนวนมาก ราชวงศ์จักรี จะต้องทำการปราบปรามให้สำเร็จ จึงจะสามารถอพยพชาวไทยพุทธ กลับคืนถิ่นเดิมได้ หลวงพ่อศรีลังกา(พระเจ้าตากสินฯ) ทำการรื้อฟื้นวัดช้างให้ ขึ้นมาใหม่ จนสำเร็จ ท่ามกลาง กบฏมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง

 

พระยาคอปล้อง เมืองไชยา ทำสงครามปราบกบฏ ระตู ปังกาลัน ปัตตานี พ.ศ.๒๓๕๒

       เนื่องจากผู้ปกครองเมืองปัตตานี มีความผูกพันธุ์กับเมืองสงขลา ในสมัยราชวงศ์จักรี ทางกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้ง พระยาสงขลา(บุญหุ้ย) เป็นเจ้าเมืองสงขลา ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๗-พ.ศ.๒๓๒๙ และให้เมืองสงขลา ขึ้นต่อ เมืองนครศรีธรรมราช แทนที่ขึ้นต่อกรุงเทพฯ ต่อมาหลวงรองราชมนตรี(ฉิม) นำทหาร ๒,๐๐๐ คน เข้ายึดเมืองสงขลา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ เข้าปกครองเมืองสงขลา จนถึงปี พ.ศ.๒๓๔๐ พระยาสงขลา(เถียรจ๋อง) เป็นผู้ปกครองเมืองสงขลา สืบเนื่องมาจากการที่ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ทำลายอำนาจของ พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน แล้วนำ ตนกูลามิเด็น ราชวงศ์ทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ มาปกครองปัตตานี และให้เป็นเมืองขึ้นของ ชาติสยาม ก็เริ่มเกิดการกบฏ เรื่อยมา ครั้งแรกเกิดกบฏตนกูลามิเด็น ถูกปราบปรามเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๔ แล้วตั้ง หลวงลักษมาณา ดายัน เจ้าเมืองจะนะ เข้ามาเป็น พระยาพิชิตภักดี(ดายัน) ปกครองเมืองปัตตานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๓๔-พ.ศ.๒๓๔๐ เป็นต้นมา

       กรุงเทพฯ ได้ส่งพระยาสงขลา(เถียรจ๋อง) รักษาการเป็น พระยาพิชิตภักดี(เถียรจ๋อง) ปกครองปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๐ เพียง ๑ ปี ก็เกิดความไม่สงบที่เมืองปัตตานี อย่างต่อเนื่อง กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าให้ พระจะนะ-ขวัญซ้าย(นายใส แซ่กัง) ไปเป็นพระยาพิชิตภักดี(กังใส) ปกครองเมืองปัตตานี แทนที่ พระยาพิชิตภักดี(เถียรจ๋อง) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๑ ก็เกิดความไม่สงบที่ปัตตานี ขึ้นมาอีก

       เมื่อกรุงเทพฯ ส่งพระยาพิชิตภักดี(กังใส) ปกครองปัตตานี ระตูปังกาลัน เป็นชนชาติกลิงค์ อพยพมาจากเกาะชวา เนื่องมาจากการรุกรานของ โปรตุเกส และ ฮอลันดา ได้มาสมรสกับราชธิดา ของ ตนกู ลามิเด็น และได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ปกครองปัตตานี อย่างลับๆ ได้วางแผนลวงพระยาพิชิตภักดี(กังใส) ขออาสา เป็นผู้ปกครอง ประชาชนชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ให้ขึ้นต่อชาติสยาม แต่ลับหลังกลับร่วมมือกับอังกฤษ นำเรืออังกฤษ อพยพชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เข้ามาตั้งรกรากที่ปัตตานี อย่างลับๆ เป็นจำนวนมาก จนสามารถ นำชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ มาทำการขับไล่ ชาวไทยพุทธ สังหารพระภิกษุ เผาวัดวาอาราม เพื่อต้องการแยกรัฐปัตตานี ออกเป็นอิสระ ภายใต้การสนับสนุนของอังกฤษ

       เหตุการณ์ขณะนั้นคือปี พ.ศ.๒๓๔๑ พระยาพิชิตภักดี(กังใส) เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ต้องหลบหนีจากเมืองปัตตานี ไปเมืองสงขลา ทำให้ระตูปังกาลัน ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ฯ ของประเทศปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๑ โดยได้รับการสนับสนุนจากชาติอังกฤษ ซึ่งแต่งตั้งให้ ลอร์ด เวลส์ลี่ มาเป็นข้าหลวงใหญ่ ปกครองอาณานิคม ยอมรับให้ปัตตานี เป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ อย่างลับๆ ด้วย

       ระตู ปังกาลัน วางแผนทำการก่อกบฏ นำปัตตานี เป็นประเทศเอกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๙ พร้อมกับทำการขับไล่ คนไทยพุทธ ออกจากปัตตานี เผาวัดวาอาราม รวมทั้ง ฆ่าพระภิกษุ และอพยพชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ มาตั้งรกรากในดินแดนปัตตานี จำนวนมาก ทางกรุงเทพฯ ส่งกองทัพของ พระยานครน้อย จากเมืองนครศรีธรรมราช และ กองทัพพระยาคอปล้อง กองทัพขุนหลวงประเทศ จากเมืองไชยา เข้าทำสงครามปราบปราม ระตู ปังกาลัน สำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒ แล้วอพยพไทยพุทธ เข้ามาตั้งรกรากที่เมืองปัตตานี ใหม่ กรุงเทพฯได้ส่ง พระยาสงขลา(เถียรจ๋อง) เป็น พระยาพิชิตภักดี(เถียรจ๋อง) ปกครองปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๒-พ.ศ.๒๓๕๓ มีพระยาจะนะ(ขวัญซ้าย) เป็นปลัดเมือง ได้ทำการอพยพชาวไทยที่ถูกขับไล่ กลับคืนปัตตานี ทำการฟื้นฟูวัดวาอารามที่ถูกเผาไป ขึ้นใหม่ โดยมีหลวงพ่อศรีลังกา เป็นแกนนำในการรื้อฟืนวัดร้าง ที่ถูกเผาทำลายไป ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังเดิม

       เมืองไชยา ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๒-พ.ศ.๒๓๖๙ ปกครองโดย พระยาวิชิตภักดี(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) หรือ พระยาคอปล้อง ส่วนปลัดเมืองคือ ขุนหลวงอินทร์(มูล) บุตรชายของ พระยายมราช(จุ้ย) หลังจากการปราบกบฏ ระตู ปังกาลัน ที่เมืองปัตตานี เรียบร้อยแล้ว พระยาคอปล้อง เจ้าเมืองไชยา ได้ไปสร้างอู่ต่อเรือสำเภา เพิ่มเติมที่ ท่าโรงช้าง เมืองท่าขนอน ส่วน ขุนหลวงประเทศ(สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร) ผู้ปกครองแขวงเมืองคันธุลี ได้ไปสร้างเรือสำเภาเพิ่มเติม ที่อู่ต่อเรือ คลองหลิงหนุ่ม และ คลองหลิงเฒ่า เพื่อเตรียมใช้ในการทำสงคราม ต่อไป เรือสำเภาที่สร้างขึ้นใหม่ ติดตั้งปืนใหญ่ ปืนลูกซองตับ เครื่องยิงลูกระเบิด เครื่องยิงน้ำมันชัน พร้อมทำสงครามกับข้าศึก

 

 พระยานครน้อย ปราบกบฏ พระยาไทรบุรี(สุลต่าน ปะแงรัน) พ.ศ.๒๓๖๓-พ.ศ.๒๓๖๔

เรื่องเดิม พระยาไทรบุรี คือ เจ้าพระยารัตนะสงครามรามภักดี(ปะแงรัน) ขัดแย้งกับน้องชาย พระยาอภัยนุราช(ตนกูปัศนู) ปลัดเมืองไทรบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๖ พระพุทธเลิศหล้าฯ จึงโปรดเกล้าให้ พระยาพัทลุง ซึ่งเป็นญาติ ออกไปไกล่เกลี่ย แต่ไม่เป็นผล จึงต้องแต่งตั้ง ตนกู อิบราฮิม น้องชายคนที่ ๓ เป็น รายามุดา(ปลัดเมืองไทรบุรี) แทนที่ แล้วให้ พระยาอภัยนุราช(ตนกูปัศนู) ไปปกครองเมืองสตูล เป็นที่มาให้ พระยาอภัยนุราช(ตนกูปัศนู) ไปขออ่อนน้อมต่อ เจ้าพระยานครน้อย ทำให้ เจ้าพระยารัตนะสงครามรามภักดี(ปะแงรัน) เจ้าเมืองไทรบุรี ไม่พอใจ จึงหันไปฝักใฝ่ มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เกาะสุมาตรา และ มุสลิมทมิฬโจฬะยะไข่ พม่า โดยยอมส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ให้กับ อาณาจักรทมิฬโจฬะยะไข่ พม่า อย่างลับๆ ด้วย

       ต่อมา ชาติอังกฤษ โดย นายพล แสตนฟอร์ด แรฟเฟิล ได้ส่งกองทัพเข้ายึดเกาะสิงคโปร์ เพื่อมีอิทธิพลเหนือน่านน้ำช่องแคบม้าละกา และพยายามลดอิทธิพลของชาติสยาม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๒ ทำให้ขบวนการกบฏที่ปัตตานี และ เมืองไทรบุรี วิ่งซบชาติอังกฤษ ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๖๓ แคว้นไทรบุรี จึงรวบรวมหัวเมืองชายฝั่งตะวันตก ประกาศเอกราช แยกตัวเป็นอิสระ เรียกว่า ประเทศเกดะ เป็นเหตุให้ กรุงเทพฯ ต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม ประเทศเกดะ(ไทรบุรี)

       เนื่องจากชาติสยาม ต้องทำสัญญาฉบับแรก กับ ชาติอังกฤษ เรียกว่า สัญญาเฮนรี่ เบอร์นี่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๓ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองไทรบุรี จำนวน ๑๔ ข้อ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๖๔ เมืองไทรบุรี จึงก่อกบฏ เป็นเหตุให้ ชาติสยาม มอบให้ พระยานครน้อย เมืองนครศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้าปราบปราม เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๖๔ พระยานครน้อย ยกกองทัพ ๗,๐๐๐ คน เข้าตีเมืองไทรบุรี ได้เมื่อ เดือน ๓ แรม ๘ ค่ำ ปีมะเส็ง พระยาไทรบุรี(ปะแงรัน) ต้องหนีไปยังเกาะหมาก(ปีนัง) พระยานครน้อย สามารถยึดครองเมืองไทรบุรี กลับคืน เป็นผลสำเร็จ กรุงเทพฯ จึงได้แต่งตั้งให้พระยานครน้อย เป็น เจ้าพระยานครน้อย ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๔

หลังสงครามยึดครองเมืองไทรบุรี กรุงเทพฯ ได้ประกาศแบ่งแยกแคว้นไทรบุรี เป็น ๔ เขตปกครองเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๔ ทำให้ พระยาปัตตานี(เต็งกูเด็น) หลานชายของสุลต่าน อาหมัด ตาลดะดิน ก่อกบฏ ได้รวบรวมชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ลุกขึ้นต่อสู้ ทำการขับไล่ชาวไทยพุทธ ออกจากเมืองปัตตานี และ ไทรบุรี ทำการเผาวัดวาอาราม ฆ่าพระภิกษุ จนกระทั่ง พระยาภักดีบริรักษ์(แสง) ต้องหลบหนีไปที่สงขลา และแจ้งให้กรุงเทพฯ รับทราบ เพื่อขอกองทัพมาหนุนช่วย เกิดการสู้รบกันอย่างยืดเยื้อ กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าให้ พระภักดีบริรักษ์(แสง) เป็น พระยาอภัยธิเบศ(แสง) ปกครองแคว้นไทรบุรี

กองทัพสยาม จากกรุงเทพฯ เมืองไชยา และ เมืองนครศรีธรรมราช ร่วมกันยกกองทัพเข้าตีเมืองไทรบุรี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๔ และสามารถยึดเมืองไทรบุรี ไว้ได้ เจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) หนีไปอยู่กับอังกฤษ ที่เกาะปีนังหลังจากนั้น พระพุทธเลิศหล้าฯ โปรดเกล้าให้ พระภักดีบริรักษ์(แสง) บุตรชายของพระยานครน้อย ไปเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี มีตำแหน่งเป็น พระยาอภัยธิเบศร์(แสง) และปี พ.ศ.๒๓๖๔ เจ้าพระยานคร(น้อย) ตั้งอู่ต่อเรือสำเภาใหญ่ ที่ เมืองตรัง อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา ๓ ปี ได้เรือสำเภาขนาดใหญ่ เป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมทำสงครามกับ มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ในอนาคต

       หลังสงครามปราบกบฏ เมืองไทรบุรี ทางกรุงเทพฯ ได้แบ่งแยกแคว้นไทรบุรี ออกเป็น ๔ เขตเมือง คือ ไทรบุรี กูปังปาซู ปลิส และ สตูล เมืองไทรบุรี เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๖๔ มอบให้ สุลต่าน อะหมัด ตาลดะดิน เป็นผู้ปกครองเมืองไทรบุรี ภายใต้การควบคุมของ พระยาภักดีบริรักษ์(แสง) บุตรเจ้าพระยานครน้อย และ พระเสนานุชิต(นุด) บุตร เจ้าพระยานครน้อย เป็นผู้ปกครองแคว้นปัตตานี

ปี พ.ศ.๒๓๖๕ เจ้าพระยานครน้อย ได้ทำการต่อเรือสำเภารบ เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๖๕ เจ้าพระยานครน้อย ได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดเกาะลังกาวี ไว้ได้ แล้วส่งหลวงต่างใจราษฎร ต้นตระกูลใจสมุทร ไปปกครองเกาะลังกาวี เรื่อยมา

 

แบ่งปัตตานี เป็น ๗ หัวเมือง และการยึดทรัพย์ พระยาคอปล้อง พ.ศ.๒๓๕๓-พ.ศ.๒๓๗๒

       เรื่องเดิม พระยาจะนะ(กังใส) คือ นายขวัญซ้าย เดิมเป็นคหบดีจีน ซื่อ นายใส แซ่กัง(กังใส) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นปลัดเมืองจะนะ สงขลา ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระยาพิชิตภักดี(กังใส) ปกครองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๔๑-พ.ศ.๒๓๔๙ ก็เกิดกบฏ ระตู ปังกาลัน ที่ปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๔๙-พ.ศ.๒๓๕๓ เมื่อสามารถปราบกบฏ ระตู ปังกาลัน เป็นผลสำเร็จ ก็ตั้ง พระยาพิชิตภักดี(เถียรจ๋อง) ปกครองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๒-พ.ศ.๒๓๕๓ ก็เกิดกบฏปัตตานี ขึ้นอีก

       ต่อมา พระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) เจ้าเมืองไชยา ผู้ส่งกองทัพจากเมืองไชยา ร่วมกับพระยานครน้อยปราบกบฏปัตตานี มาโดยตลอด ได้เดินทางเข้าเฝ้า พระพุทธเลิศหล้าฯ พระราชบิดา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๙ เสนอให้แบ่งหัวเมืองปัตตานี เป็น ๗ หัวเมือง ตามข้อเสนอของ พระยาพิชิตภักดี(กังใส) จึงได้รับโปรดเกล้าให้ แยกเมืองต่างๆ เป็น ๗ เขตหัวเมือง คือ ปัตตานี หนองจิก รามัน ยะลา สายบุรี ยะหริ่ง และ ระแงะ ตามข้อเสนอใหม่ของ พระยาปัตตานี-ไผ่(พ่าย) และ พระยาอภัยสงคราม-เถียรจ๋อง(พระยาสงขลา) ให้มีอำนาจในการตั้งปลัดเมือง ขึ้นมาเอง โดยแต่งตั้งให้ พระยาปัตตานี(ไผ่) เป็นผู้ปกครองรวม แคว้นปัตตานี มี หลวงสวัสดิ์ภักดี-ยิ้มซ้าย(เหมใส) เป็นผู้ช่วยราชการ ในการปกครองทั้ง ๗ เขตหัวเมือง ส่วนหัวเมืองเขตปัตตานี มอบให้ ต่วนสุหลง หลานชายของ ระตู ปังกาลัน เป็นผู้ปกครองแขวง ต่วน มันโซ เป็นผู้ปกครองเขตรามัน ต่อมาไม่นาน ต่วนสุหลง จึงวางแผนก่อกบฏ อย่างลับๆ

       การแบ่งแยกหัวเมืองปัตตานี เป็น ๗ หัวเมือง ทำให้ พระยาปัตตานี(กังใส) ถูกลอบวางยาพิษ ถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ.๒๓๕๘ พระยาพิชิตภักดี(ไผ่) จึงเป็นผู้ปกครองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๘-พ.ศ.๒๓๕๙ มีหลวงสวัสดิ์ภักดี เป็นปลัดเมืองปัตตานี การก่อตัวของ กบฏ ตนกู สุหลง จึงเริ่มเกิดขึ้นที่ปัตตานี อย่างลับๆ เรื่อยมา

       การเกิดกบฏ ตนกู สุหลง เริ่มก่อตัวจริงจังเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๙ มีผลมาจากชาติสยามได้แบ่งแคว้นปัตตานีเป็น ๗ หัวเมือง ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมืองปัตตานี และเป็นหลานของ ระตู ปังกาลัน จึงส่งญาติพี่น้อง ที่สมรสเกี่ยวดอง เข้าไปมีอิทธิพลปกครอง ๗ เมืองทั้งหมด จึงเกิดความขัดแย้งกับ พระยาสงขลา(เถียรจ๋อง) ผู้ควบคุม ๗ เมืองของแคว้นปัตตานี อีกครั้งหนึ่ง เพราะต่วนสุหลง หรือ ตนกูสุหลง สมคบกับชาติอังกฤษ อย่างลับๆ วางแผนก่อกบฏ แยกรัฐปัตตานี เป็นเอกราชอย่างลับๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๕๙ เป็นต้นมา

       การก่อกบฏ รุนแรงขึ้น สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๒ นายพล แสตนฟอร์ด แรฟเฟิล ได้เข้ายึดเกาะสิงคโปร์ เพื่อมีอิทธิพลเหนือน่านน้ำช่องแคบม้าละกา และพยายามลดอิทธิพลของชาติสยาม ลงมา ขบวนการกบฏ แบ่งแยกรัฐปัตตานี จึงสมคบกับ สุลต่าน อาหมัด ตาลละดิน เจ้าเมืองไทรบุรี วิ่งซบชาติอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๔ ชาติสยาม จึงต้องส่งกองทัพเข้าปราบแคว้นไทรบุรี และแบ่งแยกแคว้นไทรบุรี ออกเป็น ๔ หัวเมือง เป็นการแยกสลายแล้วปกครอง เช่นเดียวการดำเนินการ กับ แคว้นปัตตานี

       เมื่อเกิดกบฏ ตนกูสุหลง ที่ปัตตานี การกบฏขยายตัวไปยัง สุลต่าน อาหมัด ตาลละดิน เจ้าเมืองไทรบุรี ทำให้เชื้อสายกษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ แตกแยกออกเป็นสองฝัก สองฝ่าย แคว้นกลันตัน แตกแยกกันเองรุนแรง เหตุการณ์ขณะนั้น กรุงเทพฯ ต้องเสียเกาะหมาก(ปีนัง) ต้องทำสัญญาเบอร์นี่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ เมื่อพระพุทธเลิศหล้าฯ สวรรคต เมืองปัตตานี โดย ตนกู สุหลง และเมืองไทรบุรี โดย สุลต่าน อาหมัด ตาลละดิน จึงถือโอกาสประกาศแยกปัตตานี และไทรบุรี ออกจากสยาม เพราะขุนนางอำมาตย์ หัวเมืองปักษ์ใต้ ต้องไปเคารพพระบรมศพ ที่กรุงเทพฯ

       ปี พ.ศ.๒๓๖๙ พระพุทธเลิศหล้าฯ สวรรคต ชาติอังกฤษ ถือโอกาสขยายอิทธิพล ทั่วแหลมมลายู และเสนอเอกราชให้กับแว่นแคว้นต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ในอดีต แว่นแคว้นต่างๆ ที่กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ดำเนินการให้เป็นเมืองขึ้น คือ ปัตตานี ไทรบุรี กะลันตัน ตรังกานู ล้วนถูกอังกฤษ เสนอให้เป็นรัฐเมืองขึ้นของอังกฤษ ทั้งสิ้น เล่ากันว่า สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ หรือ สมเด็จเจ้าพระยาวงศาเจริญภักดี หรือ พระยาคอปล้อง ได้พบกับ พระนั่งเกล้าฯ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้หารือกันเรื่อง การรักษาดินแดนปัตตานี และ ไทรบุรี พระนั่งเกล้าฯ ตำหนิ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ซึ่งเป็นพระอนุชา ที่ได้เสนอแบ่งแยกเมืองปัตตานีเป็น ๗ หัวเมือง และแบ่งแยกไทรบุรี เป็น ๔ หัวเมือง จึงขอให้ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ(พระยาคอปล้อง) รับผิดชอบในความผิดพลาด ให้กลับไปรับราชการที่กรุงเทพฯ แต่สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ อ้างว่าไม่ผิดพลาด และยังมีภารกิจ ปราบกบฏ ที่ปัตตานี และ ไทรบุรี ยังไม่สำเร็จ จึงไม่ขอกลับกรุงเทพฯ

       เล่ากันว่า พระนั่งเกล้าฯ มีพระบรมราชโองการ มา ๔ ครั้ง ครั้งที่-๑ และ ครั้งที่-๒ พระยาคอปล้อง วางเฉย ไม่ยอมกลับกรุงเทพฯ ครั้งที่-๓ พระยาคอปล้อง ยังไม่ยอมกลับไปรับราชการที่กรุงเทพฯ พระนั่งเกล้าฯ จึงสั่งให้ เจ้าพระยาคลัง(ดิศ บุนนาค) มายึดกองเรือสำเภา ของ พระยาคอปล้อง นำกลับไปกรุงเทพฯ พระบรมราชโองการครั้งที่-๔ มอบให้พระยาอภัยสงคราม(ปลอด) บุตรชายคนหนึ่งของ พระยายมราช(จุ้ย) ได้นำเอาพระบรมราชโองการ ของ พระนั่งเกล้าฯ ให้มายึดทรัพย์สินที่ดิน ของ พระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ เช่น นาสามพัน , นาป่านก , นาสำหรับเมือง , นากรัง , นาโคกหม้อ , นาดิน , นาม่วงงาม , นาขาม , นาริ้ว , สวนบ้านกระทือ , สวนลิเล็ด , สวนบ้านห้วยตีนเป็ด ให้เป็นที่ดินของรัฐ แต่ไม่เป็นผลเพราะ พระยาคอปล้อง ก็ไม่ยอมกลับกรุงเทพฯ กลับไปสร้างเรือสำเภาขึ้นใหม่ที่ท่าโรงช้าง แล้วสร้างกองทัพใหม่ที่ เมืองท่าขนอน มีชื่อใหม่ว่า พระยาคีรีรัฐ(หนูดำ) ปกครองเมืองคีรีรัฐ(ท่าขนอน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๗๒ เรื่อยมา พระยาวิชิตภักดี(ปลอด) เป็นเจ้าเมืองไชยา แทนที่

       การปราบกบฏเมืองปัตตานี โดย ตนกู สุหลง และเมืองไทรบุรี โดย สุลต่าน อาหมัด ตาลละดิน จึงมีปัญหา เจ้าพระยานคร มีกำลังทหารน้อยเกินไป เพราะขาดกำลังของ พระยาคอปล้อง เมืองไชยา ทำให้การปราบกบฏเมืองปัตตานี และ เมืองไทรบุรี ทั้งสองเมือง จึงต้องรอการสร้างกองทัพเรือ ของ พระยาคอปล้อง ให้สำเร็จ เพื่อทดแทนกองเรือที่ถูกยึดไป การปราบกบฏทั้งสองเมือง จึงเป็นไปอย่างยืดเยื้อ กองทัพฝ่ายกบฏ กลับเข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็ว

       ขุนหลวงประเทศ(สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร หรือ หยางฮุ่งเชี่ยน) ผู้ปกครองแขวงเมืองคันธุลี พิจารณาเห็นว่า พระยาคอปล้อง กำลังก่อสร้างกองเรือสำเภา ขึ้นใหม่ที่ท่าโรงช้าง จึงเรียกบุตรชายทั้ง ๓ คน คือ หยางยี่ผ่าง หยางยี่หยุ่น และ หยางยี่เคี่ยน ที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน ให้กลับมาช่วยสร้างเรือสำเภาให้กับ พระยาคอปล้อง จนสำเร็จ เล่ากันว่า เพื่อป้องกันการทำลายอำนาจเก่า จึงเปลี่ยนชื่อแซ่ บุตรทั้งสาม ให้ หยางยี่ผ่าง เป็น ด่านยี่ผ่าง หยางยี่หยุ่น เป็น เชียงสุ่น และ หยางยี่เคียน เป็น ซุนยี่เคี่ยน เมื่อเสร็จภารกิจสร้างเรือสำเภา หยางยี่ผ่าง มาอยู่ที่ไชยา หยางยี่หยุ่น อยู่ที่บ้านดอน ส่วน หยางยี่เคี่ยน ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ท่าโรงช้าง ความสัมพันธ์เหล่านี้มีผลต่อมาในสมัย พระจุลจอมเกล้าฯ

 

หลวงพ่อทวด(พระเจ้าตากสินฯ) มรณภาพ พ.ศ.๒๓๗๑

หลวงพ่อศรีลังกา หรือ หลวงปู่ทวด(พระเจ้าตากสิน) ได้พบกับ เจ้าพระยานครน้อย พระราชโอรสลับ ที่วัดช้างให้ เล่ากันว่า หลวงปู่ทวด ตำหนิ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ที่มุ่งเน้นทำลายอำนาจเก่า โดยไม่คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สั่งเสียเจ้าพระยานครน้อย มิให้นำชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ มาเป็นผู้ปกครองเมือง ควรใช้ไทยพุทธ หรือ ไทยมุสลิม เป็นผู้ปกครองเมือง มิฉะนั้นจะเกิดกบฏ อย่างต่อเนื่อง เพราะมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ไม่เคยสำนึกถึงบุญคุณ ที่ต้องหนีร้อนจากกองทัพโปรตุเกส กองทัพฮอลันดา มาพึ่งเย็นในดินแดนสยาม กลับทำการก่อกบฏ ขับไล่ไทยพุทธ ออกจากดินแดน ฆ่าพระ และ เผาวัดวาอาราม เพื่อนำดินแดนสยาม ไปครอบครอง เรื่อยมา

หลวงพ่อศรีลังกา หรือ หลวงปู่ทวด(พระเจ้าตากสิน) อาสาไปเจรจากับ สุลต่าน อาหมัด ตาลละดิน เจ้าเมืองไทรบุรี ที่เมืองไทรบุรี ให้มาโดยดี อย่ามาโดยร้าย ให้ยุติการก่อกบฏ เล่ากันว่า สุลต่าน อาหมัด ตาลละดิน เจ้าเมืองไทรบุรี รับปากอย่างมีเงื่อนไข หลวงปู่ทวด เดินทางกลับมาจำศีลอยู่ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง สั่งเสียลูกศิษย์ว่า สยามจะต้องเสียดินแดนไทรบุรี เขตแดนจะอยู่ในจุดที่พักเดินทาง ให้ทำเจดีย์เล็กๆ ไว้เป็นสัญลักษณ์ หลังจากการสั่งเสีย หลวงพ่อทวด ได้มรณภาพ ภายในถ้ำที่เมืองไทรบุรี เมื่อพระชนมายุ ๙๔ พรรษา เมื่อวันออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี พ.ศ.๒๓๗๑ ที่เมืองไทรบุรี

หลวงพ่อทวด ได้ใช้ชีวิตเป็นพระภิกษุอยู่ ๒๒ ปี เจ้าพระยานครน้อย สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก ได้รับข่าวว่า หลวงปู่ทวด(สิน) เสด็จสวรรคต และเคยมีรับสั่งให้ลูกหลาน รับพระบรมศพ ไปถวายพระเพลิง ณ วัดช้างให้ ปัตตานี และให้นำอัฐิธาตุแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน เพื่อนำไปเก็บรักษา ณ สถานที่ต่างๆ ตามที่เคยรับสั่ง

ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๗๑ เจ้าพระยานครน้อย ได้นำอัฐิธาตุของพระเจ้าตากสิน ไปบรรจุไว้ที่ฐานยอดเจดีย์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ บรรจุไว้ ร่วมกับอัฐิธาตุของ พระราชมารดาพระองค์เจ้านกเอี้ยง ที่ถ้ำเขาขุนพนม นครศรีธรรมราช ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ได้นำอัฐิธาตุของพระเจ้าตากสิน เดินทางไปยังดินแดนลาว เพื่อบรรจุอัฐิธาตุไว้ ตามที่รับสั่ง ที่ยอดภูเขาแห่งหนึ่งในดินแดนลาวปัจจุบัน ซึ่งติดต่อกับดินแดนไทย หลังจากนั้น พรรคพวกบริวารและเครือญาติ ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ได้อพยพไปตั้งรกรากใหม่ที่บ้านหนอน บ้านศาล เมืองไชยา สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท สิ้นพระชนม์ เพราะไข้ป่า ส่วนพระยาคอปล้อง ได้ไปปกครองเมืองคีรีรัฐ(ท่าขนอน)

      

กองทัพเมืองไชยา นครศรีธรรมราช เสียชีวิตมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ที่สงขลา พ.ศ.๒๓๗๒

       สาเหตุการเสียชีวิต มีผลมาจาก กรุงเทพฯ ได้ประกาศแบ่งแยกแคว้นไทรบุรี เป็น ๔ เขตปกครองเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๔ สมัยพระพุทธเลิศหล้าฯ และต่อมาพระนั่งเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าให้พระภักดีบริรักษ์(แสง) เป็นผู้ควบคุมการปกครองแคว้นไทรบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๙ ทำให้เจ้าเมืองเดิม(สุลต่าน ตาลดะดิน) และ ขุนนางอำมาตย์ เมืองไทรบุรี ไม่พอใจ จึงประกาศแยกตัวออกจากสยาม ประกาศตั้งเป็นประเทศเกดะ(ไทรบุรี) ด้วยการสนับสนุนของอังกฤษ พร้อมๆ กับการเกิดกบฏ เต็งกูเด็น ที่ปัตตานี อย่างลับๆ มีการทำลายวัดวาอาราม ลอบฆ่าพระภิกษุ ทำลายโบราณสถาน และขับไล่ชนชาติไต ออกจากไทรบุรี และ ปัตตานี

ปี พ.ศ.๒๓๖๙ ที่เมืองปัตตานี มี พระยาพิชิตภักดี(พ่าย) เป็นผู้ควบคุมเมือง มีตนกูสุหลง เป็นเจ้าเมืองปัตตานี มี แม่ทัพเต็งกูเด็น เป็นแม่ทัพของเมืองปัตตานี แม่ทัพเต็งกูเด็น เป็นหลาน ของ สุลต่าน อาหมัด ตาลดะดิน เจ้าเมืองไทรบุรี(เป็นบุตรชาย ของ เจ้าเมืองไทรบุรี) ได้ทำการก่อกบฏ การก่อกบฏ ของ แม่ทัพเต็งกูเด็น ทำให้พระยาภักดีบริรักษ์(แสง) ต้องหลบหนีไปสงขลา ทำให้ เจ้าพระยานครน้อย ต้องส่งกองทัพจาก เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา เข้าโจมตี แม่ทัพเต็งกูเด็น ที่ปัตตานี อีกครั้งหนึ่ง แต่พ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไปสงขลา แม่ทัพเต็งกูเด็น ถือโอกาสช่วงเวลาดังกล่าว ขับไล่ไทยพุทธ ออกจากปัตตานี และ ไทรบุรี อย่างต่อเนื่อง คนไทยพุทธ ต้องอพยพไปอาศัยอยู่ที่ เมืองสงขลา และ พัทลุง

       ชาติสยาม ต้องทำการส่งกองทัพเข้าปราบ กบฏเต็งกูเด็น เจ้าเมืองปัตตานี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ โดยได้ขอกำลังจากเมืองสงขลา แต่เมืองสงขลา ไม่ยอมส่งกองทัพเข้าร่วม อ้างว่า เจ้าพระยานครน้อย จัดการปกครองเมืองไทรบุรี ผิดพลาดเอง เพราะในปี พ.ศ.๒๓๗๑ เจ้าพระยานครน้อย ขัดแย้งกับ พระยาสงขลา(เถียรเส้ง) เพราะเหตุที่ พระยาภักดีบริรักษ์(แสง) บุตรพระยานคร-น้อย และ พระเสนานุชิต(นุด) บุตร พระยานคร-น้อย เป็นผู้ปกครองแคว้นไทรบุรี ได้เข้ายึดทรัพย์ ประชาชนในแคว้นไทรบุรี มาเป็นทรัพย์สินส่วนตัว กลายเป็นสาเหตุของสงคราม ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๗๑ เมื่อเจ้าพระยานครน้อย มอบให้พระสุรินทร์ ไปติดต่อขอกำลังจาก ๗ หัวเมืองปัตตานี ให้ส่งกองทัพเข้าช่วยปราบเมืองไทรบุรี ด้วย แต่เมืองรามัน และเมืองสายบุรี ไม่ยอมส่งกองทัพเข้าร่วมด้วย เช่นกัน ยกเว้น เต็งกูเด็น เจ้าเมืองปัตตานี แสร้งส่งกองทัพเข้าร่วมสงคราม เพื่อวางแผนทำลายกองทัพ เจ้าพระยาน้อย

มีเรื่องเล่าสืบทอดต่อกันมาว่า สมุหกลาโหม(ดิศ บุนนาค) ทราบว่า เจ้าพระยานครน้อย เป็นพระราชโอรสลับ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และ พระยาคอปล้อง มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ราชสกุลพระเจ้าตากสิน ทั้งสองคนถือว่า เป็นกลุ่มอำนาจเก่าที่มีกองทัพที่เข้มแข็ง ที่ทางนายดิศ บุนนาค ต้องการทำลายอำนาจเก่า จึงได้ติดต่อกับ เต็งกูเด็น อย่างลับๆ ให้วางแผนทำลายกองทัพทั้งสองที่เมืองสงขลา พร้อมกับการติดต่อเมืองอื่นๆ ให้ร่วมกันทำลาย อำนาจเก่า ขณะนั้น นายแท่น เป็นบุตรหลวงเพ่ง กรมการเมืองตรัง เข้ารีดนับถือศาสนาอิสลาม มีชื่อใหม่ว่า ตนกูงาม ได้รับการติดต่อจากนายดิศ บุนนาค ให้ไปเข้าข้าง กบฏเต็งกูเด็น เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ ด้วย โดยได้ลักลอบนำเหล็ก มาอุดรูชนวนปืนใหญ่ ที่เมืองตรัง ทุกกระบอก เพื่อขัดขวางการทำสงครามปราบปรามของ เจ้าพระยานครน้อย และ พระยาคีรีรัฐ(เจ้าฟ้าหนูดำ หรือ พระยาคอปล้อง) ที่จะนำปืนใหญ่ไปใช้งาน

 


ภาพเทวรูป มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน ที่เคยประดิษฐานอยู่ที่ เมืองสระทิ้งพระ ต่อมามีกองทัพของ มุสลิมเต็งกูเด็น พยายามเข้าไปทำลายโบราณวัตถุ ที่เมืองสระทิ้งพระ ทำให้ พระยาคีรีรัฐ หรือ พระยาคอปล้อง ต้องใช้ช้างลากเลื่อนมาที่เมืองคีรีรัฐ แต่เมื่อมาถึงกลางทาง ที่เมืองเวียงสระ ช้างเกิดเจ็บป่วย ไม่สามารถลากเลื่อนต่อไปได้ จึงนำไปตั้งพิงไว้ ที่โคนต้นไม้ ข้างทาง กลางป่า และมีผู้พบเห็น ในเวลาต่อมา

 

เจ้าพระยานครน้อย ร่วมกับ พระยาคีรีรัฐ(หนูดำ) พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) วางแผนส่งกองทัพเข้าปราบ กบฏปัตตานี และ ไทรบุรี อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ โดยให้ ๗ หัวเมืองปัตตานี ส่งกองทัพเข้าช่วยด้วย แต่เมืองรามัน และเมืองสายบุรี ไม่ยอมส่งกองทัพเข้าร่วม ปราบกบฏ เมืองปัตตานี และ เมืองไทรบุรี ด้วย การก่อกบฏดังกล่าว มีแผนซ้อนแผน โดยเต็งกูเด็น แม่ทัพปัตตานี ถือโอกาส เอาการยกกองทัพดังกล่าว ซ้อนแผน ยกกองทัพเข้าตีกองทัพของ เจ้าพระยานครน้อย และ กองทัพของ พระยาคีรีรัฐ(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) ที่เขาแดง เมืองสงขลา โดยมีกองทัพจาก แคว้นกลันตัน และ ตรังกานู มาร่วมกับกองทัพของ แม่ทัพเต็งกูเด็น ด้วย

สงครามครั้งนี้ กองทัพทั้งหมดนัดพบกันที่เขาแดง เพื่อวางแผนเข้าตีเมืองไทรบุรี กองทัพของเจ้าพระยานครน้อย ของ พระยาคีรีรัฐ(หนูดำ) และของ พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน ถูก สมุหกลาโหม(ดิศ บุนนาค) ยืมมือกองทัพของ เต็งกูเด็น ทำลายไปประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ขณะที่นอนพักทัพที่เขาแดง สงขลา ต้องถอยทัพกลับเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ กองทัพมุสลิมเต็งกูเด็น ได้ถือโอกาส เข้าทำลายวัดทางพระพุทธศาสนา โบราณสถาน ที่เมืองสงขลา และขยายไปยังเมืองสระทิ้งพระ ด้วย มีเรื่องที่ พระยาคีรีรัฐ หรือ พระยาคอปล้อง เล่าเรืองให้ลูกหลานรับทราบและเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า สงครามครั้งนั้น ต้องเร่งลำเลียงผู้บาดเจ็บ ลงเรือสำเภา ไปรักษา กองทัพอีกส่วนหนึ่ง ต้องออกไปป้องกันเมืองสระทิ้งพระ ที่กองทัพเต็งกูเด็น ที่กำลังทำลายโบราณวัตถุ มีเทวรูป มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ต้องนำใส่เลื่อน ให้ช้างลากมายังเมืองคีรีรัฐ แต่ช้างลากเลื่อนมาถึงเมืองเวียงสระ ช้างเกิดเจ็บป่วย ไม่สามารถนำเทวรูป มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน เดินทางต่อไปได้ จึงนำไปวางพิงไว้ที่โคนต้นไม้ กลางป่า ข้างทางเมืองเวียงสระ

       ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๗๒ เต็งกูเด็น บุตรของ ตนกูรายา ซึ่งเป็นพี่ชายของ พระยาไทรบุรี(ปะแงรัน) ชนะสงครามที่เขาแดง เมืองสงขลา จึงตัดสินใจยกกองทัพเข้ายึดเมืองไทรบุรี ไปครอบครองสำเร็จ เมื่อวันศุกร์เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ พ.ศ.๒๓๗๓ ประกาศตั้งประเทศเกดะ โดยการสนับสนุน ของ อังกฤษ คนไทยที่เมืองไทรบุรี จึงถูกขับไล่ออกจากเมืองไทรบุรี จึงต้องหลบหนีไปยังเมืองพัทลุง อีกครั้งหนึ่ง ทำให้พระยาภักดีบริรักษ์(แสง) และ พระเสนานุชิต(นุด) ต้องหนีไปเมืองนคร ถูกเจ้าพระยานครน้อย สอบสวน สั่งให้เฆี่ยนหลัง ๓๐ ที

       เต็งกูเด็น บุตรของ ตนกูรายา ซึ่งเป็นพี่ชายของ พระยาไทรบุรี-ปะแงรัน ใช้โอกาสที่กองทัพพระยานครน้อย กองทัพพระยาวิชิตภักดี(ท้วม) และ กองทัพพระยาคีรีรัฐ(พระยาคอปล้อง) ถูกฆ่าตายจำนวนมาก หลังจากยกกองทัพจากสงขลา เข้ายึดเมืองไทรบุรี กลับคืนสำเร็จแล้ว ก็ทำการไล่ฆ่าคนไทย คนไทยถูกขับไล่ออกจากเมืองไทรบุรี วัดถูกเผา พระถูกฆ่า คนไทยจำนวนมากในเมืองไทรบุรี จึงต้องอพยพหลบหนีไปยังเมืองตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต และ พัทลุง จำนวนมาก 

      

เมืองไชยา เมืองคีรีรัฐ ส่งกองทัพเรือ ปิดล้อม เมืองกลันตัน พ.ศ.๒๓๗๕

       สืบเนื่องมาจากการเสียชีวิต ของ ทหารกองทัพเจ้าพระยานครน้อย พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) และกองทัพพระยาคีรีรัฐ(พระยาคอปล้อง) รวมกันมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๗๒ กองทัพทั้งสาม ต้องมานั่งเลียแผล จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๓๗๕ พระยาปัตตานี(ต่วนสุหลุง) ได้นำเอาเมืองปัตตานี เมืองหนองจิก รวม ๗ หัวเมืองปัตตานี ทำการก่อกบฏ ประกาศตั้งประเทศปัตตานี และ สุลต่าน อาหมัด ตาลละดิน เจ้าเมืองไทรบุรี ประกาศตั้งประเทศเกดะ(ไทรบุรี) ไม่ยอมขึ้นต่อ ประเทศสยาม อีกครั้งหนึ่ง เจ้าพระยานครน้อย ต้องส่งกองทัพไปปราบเมืองปัตตานี และ เมืองไทรบุรี อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่มีกำลังทหาร ของ พระยาคอปล้อง พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) และ ขุนหลวงประเทศ เข้าร่วมด้วยเพราะมีเหตุขัดแย้งกับ พระนั่งเกล้าฯ เจ้าพระยานครน้อย จึงต้องถอยทัพกลับมาที่เมืองสงขลา และขอกำลังจากกรุงเทพฯ ให้มาสนับสนุน

       พระนั่งเกล้าฯ จึงสั่งให้ ว่าที่ สมุหกลาโหม(ดิศ บุญนาค) นำกองทัพจากกรุงเทพฯ ๓๐,๐๐๐ คน ร่วมกับกองทัพเจ้าพระยานครน้อย เข้าปราบ ๔ หัวเมืองไทรบุรี และ ๗ หัวเมืองปัตตานี มีการรบที่สงขลา ชาติสยาม สามารถส่งกองทัพเข้าปราบปราม เมืองไทรบุรี สำเร็จ ทำให้ ต่วนสุหลง ต่วนกูโน และต่วนกือจิ ๓ พี่น้อง ซึ่งเป็นกบฏ ต้องหลบหนี 

       วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๗๕ แม่ทัพกบฏมุสลิมเต็งกูเด็น เสียชีวิต ในสมรภูมิ สงขลา กองทัพกบฏ ถูกฆ่าตาย เป็นจำนวนมาก สุลต่าน อาหมัด ตาลดะดิน หลบหนี ไปยังเมืองม้าละกา และไปส้องสมกำลังที่เมืองดีลี่ ในเกาะสุมาตรา รวบรวมพวกมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ พยายามสร้างกองทัพขึ้นใหม่ เพื่อมาทำสงครามกับ ชาติสยาม ในเวลาต่อมา ส่วน ตนกูมะหะหมัดสะอัด(นายสุก) และตนกูอับดุลเลอะ(นายแตน) หลานเจ้าพระยาไทรบุรี(ปะแงรัน) หลบหนีไปอยู่กับ หวันหมาดหลี ซึ่งเป็นหัวหน้าโจรสลัด ที่เกาะยาว พังงา ส่วน ต่วนสุหลง ต่วนกูโน และต่วนกือจิ กบฏสามพี่น้อง ซึ่งเป็นกบฏด้วย สืบทราบต่อมาว่า ได้หลบหนี ไปยัง เมืองกะลันตัน

       การหลบหนีของ ต่วนสุหลง ต่วนกูโน และต่วนกือจิ ๓ พี่น้อง ไปยัง กลันตัน ครั้งแรกทางกรุงเทพฯ พยายามส่งเครือญาติเมืองกลันตัน ไปเจรจาหลายครั้ง แต่ไม่เป็นผล จึงต้องทำสงครามกดดัน กระทั่งวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๘๒ กรุงเทพฯ มอบให้ พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) และ พระยาคีรีรัฐ(พระยาคอปล้อง) ส่งกองทัพเรือจากเมืองไชยา และ ท่าโรงช้าง เข้าปิดอ่าว กลันตัน เพื่อกดดันให้ ราชวงศ์ กลันตัน ยุติสงคราม ระหว่างกัน เพื่อมิให้ชาติอังกฤษ ฉวยโอกาส เข้าแทรกแซงกบฏตนกูสุหลง ต่อมา พระยากลันตัน ต้องส่งตัว ต่วนสุหลุง ต่วนกูโน และ ต่วนกือจิ มาให้ชาติสยาม นำไปประหารชีวิต ในฐานะกบฏ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๓๗๕ พร้อมกับให้แคว้นกะลันตัน ชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม ๓๐,๐๐๐ เหรียญ และ ๒๐,๐๐๐ เหรียญ สเปน ให้แก่ชาติสยาม

 

เมืองไทรบุรี ก่อกบฏ ปี พ.ศ.๒๓๘๑

       ปี พ.ศ.๒๓๘๐ สมเด็จพระศรีสุลาลัย(เรียม) พระราชมารดาของ พระนั่งเกล้า และ พระยาคีรีรัฐ(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) สวรรคต ขุนนางเมืองใต้ จึงต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อร่วมงานพระเมรุ เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่มีงานการพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระศรีสุลาลัย(เรียม) นั้น ตนกูมะหะหมัดสอัด และตนกูอับดุลเลอะ หลานเจ้าพระยาไทรบุรี-ปะแงรัน ถือโอกาสนำกองทัพเข้ายึดเมืองไทรบุรี กลับคืน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑ เป็นผลสำเร็จ และยังนำกองทัพเข้ายึดเมืองสตูล ตรัง และเมืองสงขลา ทำลายวัดทางพุทธศาสนา ฆ่าพระภิกษุ พระยาไทรบุรี-แสง(พระยาภักดีบริรักษ์-แสง) ต้องหนีข้าศึกติดตาม ต้องเดินเท้าหลบหนี ๘ วัน ๘ คืน จึงเดินทางมาถึงเมืองพัทลุง

       พระยาวิชิตณรงค์ กับ พระราชวรินทร์ ต้องยกกองทัพเรือจากกรุงเทพฯ มาหนุนช่วยเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑  กองทัพของ ตนกูมะหะหมัดสอัด(นายสุก) และตนกูอับดุลเลอะ(นายแตน) และพวก ต้องรีบถอนทัพออกจากเมืองสงขลา พระยาไทรบุรี-แสง สามารถนำกองทัพเข้ายึดเมืองไทรบุรี กลับคืนสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑ ตนกูมะหะหมัดสอัด(นายสุก) และตนกูอับดุลเลอะ(นายแตน) หลานเจ้าพระยาไทรบุรี-ปะแงรัน หลบหนีไปขอความคุ้มครองจากชาติอังกฤษ ที่เกาะหมาก พระยาภักดีบริรักษ์(แสง) และ พระเสนานุชิต(นุด) บุตรเจ้าพระยานครน้อย ต้องไปรับราชการที่กรุงเทพฯ ต่อมา มีการโปรดเกล้าให้ พระยาภักดีบริรักษ์(แสง) ไปปกครองเมืองพังงา ส่วนพระเสนานุชิต(นุด) ไปปกครองเมืองตะกั่วป่า

 

ผู้ปกครอง เมืองไชยา สมัยกบฏเมืองปัตตานี และ ไทรบุรี

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๗-พ.ศ.๒๓๒๘ พระยาวิชิตภักดี(สา) ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดี พุทธโธ เพราะชอบใช้คำอุทานว่า พุทธโธ เป็นน้องเมีย(แม่นาค) ของ เจ้าพระยายมราช(หวัง) เป็นผู้ปกครองเมืองไชยา มีขุนหลวงอินทร์(หัวสั่น) หรือ หลวงอินทร์ราชานนท์ เป็น ปลัดเมือง ถูกปลดออก สมัยเปลี่ยนราชวงศ์ เพราะถือว่าเป็นกลุ่มอำนาจเก่า 

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๘-พ.ศ.๒๓๓๑ พระยาวิชิตภักดี(ราชานนท์) ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดี หัวสั่น มีขุนหลวงอินทร์(จันทร์) เป็นปลัดเมือง เนื่องจากมีการสงใสว่า พระยาวิชิตภักดี(หัวสั่น) หรือ หลวงอินทร์ราชานนท์ และ ขุนหลวงอินทร์(จันทร์) หรือ ขุนอินทร์(ประสาน) สะสมกำลัง ร่วมมือกับปัตตานี และเวียตนาม ยึดอำนาจคืนให้พระเจ้าตากฯ จึงถูกถอด และนำพระยาทิพโกษา มาปกครอง เมืองไชยา ส่วน ขุนหลวงอินทร์ราชานนท์ ไปปกครองเมืองเคียนซา

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๓๑-พ.ศ.๒๓๓๕ พระยาวิชิตภักดี(ฤกษ์) หรือ พระยาทิพโกษา ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า ขุนฤกษ์ มีขุนหลวงอินทร์(มี) เดิมเป็น หลวงเกษตรสาลี เป็นปลัดเมือง ชาวไชยา จึงชอบเรียกชื่อว่า ขุนหลวงอินทร์สาลี เข้ามาปกครองเมืองไชยา เพื่อทำลายอำนาจเก่า ในปี พ.ศ.๒๓๓๕ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) เรียกพระยาทิพโกษา ไปรับราชการที่กรุงเทพ เป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี ในกรมพระราชวังบวร(บุญมา)  

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๓๕-พ.ศ.๒๓๕๒ พระยาวิชิตภักดี(มี) เป็นบุตรชายคนหนึ่ง ของ พระยายมราช(จุ้ย) ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดี-สาลี เพราะเคยเป็น หลวงเกษตรสาลี ที่กรุงเทพฯ มาก่อน มีขุนหลวงอินทร์(หนูดำ) เป็นปลัดเมือง หลวงเกษตรสาลี มีบุตรคนหนึ่งชื่อ หมื่นอารีราษฎร์ มีลูกหลานสืบสายตระกูลต่อๆ มาคือตระกูลสาลี และ ไพเมือง เป็นต้น

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๒-พ.ศ.๒๓๗๓ พระยาวิชิตภักดี(หนูดำ) มีชื่อเดิมว่า พระองค์เจ้าหนูดำ หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ เป็นพระราชโอรส ของ พระพุทธเลิศหล้าฯ ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาคอปล้อง เพราะมีรูปร่างใหญ่ มีเอว ๗ จับ คอ ๗ ปล้อง มีขุนหลวงอินทร์(มูล) เป็นปลัดเมือง เมื่อเปลี่ยนรัชกาล พระยาคอปล้อง ถูกเรียกกลับกรุงเทพฯ แต่ไม่ยอมกลับ จึงถูกยึดทรัพย์ ไปเป็น พระยาคีรีรัฐ ปกครองเมืองท่าขนอน

สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ สมรสกับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก มีสายสกุลสืบทอดต่อมาคือ สกุล ถาวรเศรษฐ และ สมเศรษฐ ต่อมามีภรรยาคนที่-๒ ชื่อ แม่ศีล เป็นบุตรของ หม่อมนาค ซึ่งเป็นบุตรของ พระยาทิพวารี(บุตรมหาหุมตะตา) กับ พระองค์เจ้าหญิง(ไม่ทราบชื่อ) มีธิดา ๒ คน คือ อุ่นเรือน(ตระกูลเผือกคง) และ อุ่นใจ(ตระกูลอินทร์จักร) และมีภรรยาคนที่-๓ ชื่อ แม่หงส์ เป็นธิดา ของ พระยาวิชิตภักดีมณีวัฒน์(หัวสั่น) หรือ พระยาวิชิตภักดีราชานนท์ คือสายสกุล วิชิตเชื้อ มีขนอน และ ทุ่งขนอน(พุ่มขนอน) เป็นต้น

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๗๓-พ.ศ.๒๓๗๕ พระยาวิชิตภักดี(ราชานนท์) ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดี หัวสั่น ถูกย้ายมาจากเมืองเคียนซา มาปกครองเมืองไชยา มีขุนหลวงอินทร์(ท้วม) เป็นปลัดเมือง เป็นผู้ย้ายที่ว่าราชการเมืองไชยา จากทุ่งลานช้าง มาที่พุมเรียง

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๗๕-พ.ศ.๒๓๘๓ พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดี-กลิงค์ตัน เพราะเคยนำกองทัพเรือเมืองไชยา ไปปิดล้อมเมือง กลันตัน จนชนชาติกลิงค์ ถึงทางตัน ต้องยอมแพ้ พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) ได้ทำการต่อต้าน เจ้าพระยานคร(น้อย) เพราะทราบว่า เป็นโอรสลับ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงต้องการทำลายอำนาจเก่า ได้บังคับมิให้ ชาวไชยา ขายข้าวสารให้กับ เจ้าพระยานครน้อย เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑ จึงถูกร้องเรียน สอบสวนแล้วเป็นความจริง พระนั่งเกล้าฯ รับสั่งให้ พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) พ้นจากตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๓ พระยาวิชิตภักดี(ท้วม) จึงต้องเดินทางขึ้นกรุงเทพฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระยาท้ายน้ำ(ท้วม) ส่วนปลัดเมืองไชยา มีขุนหลวงอินทร์(กลิ่น) เป็นปลัดเมือง

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๘๓-พ.ศ.๒๔๐๙ พระยาวิชิตภักดี(กลิ่น) ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดีกลิ่น  มีขุนหลวงอินทร์(สง) เป็นปลัดเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๐๙ พระยาวิชิตภักดี(กลิ่น) ถึงแก่ อนิจกรรม

ในสมัยพระยาวิชิตภักดี(กลิ่น) ปกครองเมืองไชยา ในปี พ.ศ.๒๓๙๑ พระนั่งเกล้าฯ รับสั่งให้ สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็น เจ้าพระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ว่าที่ สมุหพระกลาโหม และ กรมเจ้าท่า มาสักเลขเมืองไชยา และได้สร้าง วัดสมุหนิมิต ขึ้นที่ เมืองพุมเรียง เสร็จภายใน ๓ เดือน

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๐๙-พ.ศ.๒๔๑๑ พระยาวิชิตภักดี(สง) ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดี-นุ่น เคยรับราชการเป็น พระศรีราชสงครามรามภักดี(สง) ตำแหน่งปลัดเมืองท่าทอง ได้รับโปรดเกล้าให้มาเป็น พระยาวิชิตภักดี (สง) ปกครองเมืองไชยา มีขุนหลวงอินทร์รองเมือง(เถื่อน) เป็นปลัดเมืองไชยา พระยาวิชิตภักดี (สง) เจ้าเมืองไชยา ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๑ อันที่จริง พระยาวิชิตภักดี(นุ่น) มีชื่อจริงว่า สง  แต่ชอบส่งเสริมให้ประชาชน ปลูกต้นนุ่น ทุกหลังคาเรือน เพื่อนำไปทำที่นอน และทำหมอนนอน จึงถูกชาวไชยา เรียกชื่อใหม่ จาก สง เป็น นุ่น เรื่อยมา

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๑-พ.ศ.๒๔๑๒ พระยาวิชิตภักดี(เถื่อน) เคยเป็นอดีตปลัดเมืองท่าทอง และ ปลัดเมืองไชยา มาเป็น พระยาวิชิตภักดี(เถื่อน) ปกครองเมืองไชยา ไม่มีหลักฐานว่าผู้ใดเป็นปลัดเมือง ในปี พ.ศ.๒๔๑๒ พระยาวิชิตภักดี(เถื่อน) เจ้าเมืองไชยา ถึงแก่อนิจกรรม

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๒-พ.ศ.๒๔๑๙ พระยาวิชิตภักดี(กลับ) ชาวไชยาชอบเรียกชื่อว่า พระยาวิชิตภักดี-พังงา เพราะพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้ารับสั่งให้ พระยาพังงา(กลับ) ซึ่งถูกพักราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ไปเป็น พระยาวิชิตภักดี(กลับ) ปกครองเมืองไชยา (หลักฐานจดหมายเหตุระบุว่า เป็นปีมะโรงอัฐศก จ..๑๒๐๘ คือ พ..๒๓๙๙ ตรงกับ ร..๗๔) และได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองไชยา จากพุมเรียง ไปตั้งอยู่ที่ บ้านดอนโด โดยมีขุนหลวงอินทร์รองเมือง(เถื่อน) เป็นปลัดเมือง เนื่องจากมีการสร้างเสาโทรเลข วางสายโทรเลข และ ทางรถไฟสายใต้

พระยาวิชิตภักดี(กลับ) ได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองไชยา จากพุมเรียง ไปตั้งอยู่ที่บ้านดอนโด ตรงข้ามบ้านหนอน บ้านศาล เพื่อสะดวกในการสร้างเสาโทรเลข และทางรถไฟ สายภาคใต้จากคลองคันธุลี ไปยังแม่น้ำตาปี จนสำเร็จ ต่อมา ขุนหลวงอินทร์(เถื่อน) สมคบกับ หลวงคลัง-แสง วางแผนใส่ความพระยาวิชิตภักดี(กลับ) เพื่อขึ้นเป็นเจ้าเมืองไชยาเอง หลวงอินทร์(เถื่อน) จึงถูกปลด แต่งตั้ง ขุนหลวงอินทร์(เกิด) ขึ้นแทนที่ แต่ขัดแย้งกันอีก ทางกรุงเทพฯ จึงได้ส่งพระประสาสน์ เจ้าเมืองกำเนิดนพคุณ(บางสะพานใหญ่) มาสอบฯ ขุนหลวงอินทร์(เกิด)

ขุนหลวงอินทร์รองเมือง(เกิด) ปลัดเมืองไชยา พร้อมราษฎร ๖๓ คน ทำหนังสือร้องเรียนไปยัง พระจุลจอมเกล้าฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๙ กล่าวหาว่า พระยาวิชิตภักดี (กลับ) ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง พระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ พระยาสุรเสนา มาสอบสวนเพิ่มเติมอีก พบว่ามีมูลความจริง จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (หัด) มาดำเนินการลงราชอาญา พร้อมถูกปลดออกจากเจ้าเมืองไชยา พร้อมถอดยศ ให้เป็นเพียงสามัญชน เท่านั้น

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๙-พ.ศ.๒๔๒๗ พระยากำเนิดนพคุณ(จุ้ย) เจ้าเมือง กำเนิดนพคุณ(บางสะพานใหญ่) มาเป็น พระยาวิชิตภักดี (จุ้ย) ปกครองเมืองไชยา ขุนหลวงอินทร์(เกิด) เป็นปลัดเมือง พระยาวิชิตภักดี (จุ้ย) เจ้าเมืองไชยา เสียชีวิตในราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗

       ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๒๗-พ.ศ.๒๔๓๑ พระยาวิชิตภักดี(น้อย) ปกครองเมืองไชยา มี ขุนหลวงอินทร์(ปิ๋ว) เป็นปลัดเมือง พระยาวิชิตภักดี(น้อย) เคยเป็นพระยาอภัยสงคราม(น้อย) รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ถูกส่งมาเป็นเจ้าเมืองไชยา ต่อมาถูกร้องเรียน จึงถูกเรียกกลับกรุงเทพฯ...

 

.........................................................................................................................

 

 

                                                บทที่-๔

                    เสียดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ ให้กับ อังกฤษ

 

ประวัติการล่าอาณานิคม ดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร

 

แผนที่แสดงดินแดนของชนชาติอ้ายไต ที่ถูประเทศจีน ทำสงครามรุกราน ยึดครองไป(ส่วนที่ระบายสีเทา) ในระยะแรก ต่อมาระยะที่-๒ จีนได้เข้ายึดครอง ยูนนาน หนานเจ้า และ สิบสองพันนา ไปครอบครอง

 

       ประเทศจีน เป็นชาติแรกที่เป็นนักล่าอาณานิคม ดินแดนจีนจริงๆ คือดินแดนที่อยู่ในกำแพงเมืองจีน เท่านั้น ส่วนชนชาติไทย มีดินแดนปกครองสองดินแดนใหญ่ คือดินแดนในประเทศจีนปัจจุบัน มีราชธานีอยู่ที่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน และ ดินแดนสุวรรณภูมิ ราชธานี อยู่ที่ เมืองสุวรรณภูมิ(คันธุลี) ในสมัยฉินซีฮ่องเต้ ประเทศจีน ได้ล่าอาณานิคม ยึดครองดินแดนของชนชาติไทยไปมาก แต่ไม่สามารถปกครองได้นาน ก็ถูกชนชาติไทยลุกขึ้นมากอบกู้เอกราช กลับคืน จนกระทั่งสมัยสงครามอั๊ว-ลื้อ คือสงครามระหว่างฝ่ายจีน คือ ฮ่องเต้อั๊วมั้ง กับ ฝ่ายไทย คือ มหาราชาไทยลื้อ เกิดการรบกันอย่างดุเดือด เป็นที่มาของสรรพนามคำว่า อั๊ว และ ลื้อ กองทัพจีน สามารถตีราชธานี เมืองเฉินตู แตก ชนชาติไทย ต้องอพยพลงมาสร้างอาณาจักรหนานเจ้า ทางทิศใต้ ชนชาติไทย ต้องเสียดินแดนเซี่ยงไฮ้ นานกิง กวางสี กวางตุ้ง กวางเจา ต้องถอยร่นมาอยู่ที่ เกาะไหหลำ หนานเจ้า แคว้นตาเกี๋ย และ ดินแดนสุวรรณภูมิ 

       ดินแดนสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย ๒ ดินแดนใหญ่ คือดินแดนที่เป็นเกาะใหญ่ คือดินแดนตั้งแต่ช่องแคบม้าละกา มาถึง ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ และดินแดนแผ่นดินใหญ่ ตั้งแต่ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ไปจนถึง ดินแดนประเทศพม่า ลาว และ เวียตนามในปัจจุบัน ดินแดนสุวรรณภูมิที่เป็นเกาะใหญ่ สมัยโบราณเรียกชื่อว่า อาณาจักรนาคน้ำ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรเทียน และ อาณาจักรเทียนสน ตามลำดับ ต่อมาถูกชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ทำสงครามเข้ายึดครอง ทำให้พระนางมาลัย อัครมเหสี ของ ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ได้นำลูกหลานออกต่อสู้ขับไล่ข้าศึกออกไปสำเร็จ จึงถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียติแก่พระนางมาลัย เป็น อาณาจักรมาลัยรัฐ เรื่อยมา

       ส่วนดินแดนสุวรรณภูมิแผ่นดินใหญ่ ตั้งแต่ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ไปจนถึง ดินแดนประเทศพม่า ลาว และ เวียตนามในปัจจุบัน สมัยโบราณมีเพียง ๓ อาณาจักร คือ อาณาจักรนาคฟ้า และ อาณาจักรนาคดิน และ อาณาจักรเงียนก็ก ต่อมาอาณาจักรนาคฟ้า ได้ขยายตัวออกเป็นหลายอาณาจักร คือ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) อาณาจักรนาคฟ้า อาณาจักรคามลังกา อาณาจักรจามปา อาณาจักรเก้าเจ้า อาณาจักรศรีชาติตาลู อาณาจักรศรีชาติตาลอ อาณาจักรพิง อาณาจักรไทยอาหม อาณาจักรหงสาวดี อาณาจักรละโว้ และ อาณาจักรโจรลี้โพธิ์ เป็นต้น ส่วนอาณาจักรนาคดิน ได้เปลี่ยนแปลง ขยายตัวเป็น อาณาจักรสุวรรณโคมคำ อาณาจักรยวนโยนกเชียงแสน อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ อาณาจักรอีสานปุระ อาณาจักรลาว อาณาจักรโพธิ์หลวง(จามปาศักดิ์) เป็นต้น

       สมัยพระพุทธสิหิงส์(มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช) ชนชาติไทยสามารถปกครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร จึงได้ตั้งศกศักราช ขึ้นใช้เมื่อ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย ปี พ.ศ.๖๒๓ เรียกว่า ศกศักราชที่-๑ ตั้งประเทศขึ้นมาปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร เรียกว่า ประเทศ สหราชอาณาจักรเทียนสน ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเริ่มพบกับการล่าอาณานิคม ของ ประเทศจีน เรื่อยมา ดินแดน อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) เคยใช้เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร หลายสมัย จึงถูกเปลี่ยนชื่อบ่อยครั้งจากชื่อ อาณาจักรชวาทวีป เคยถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรครหิต อาณาจักรกลิงค์รัฐ อาณาจักรช้างให้ อาณาจักรคันธุลี อาณาจักรศรีพุทธิ อาณาจักรศรีโพธิ์ อาณาจักรสานโพธิ์ อาณาจักรสามโพธิ์ อาณาจักรชวาภูมิ และ อาณาจักรเสียม(สยาม) ตามลำดับ 

       การล่าอาณานิคมของจีน มีเหตุสืบเนื่องจากประเทศจีน ขัดแย้งกันเอง แตกแยกออกเป็นจีนเหนือ และ จีนใต้ บ่อยครั้ง ทางจีนตอนใต้ ต้องทำสงครามครอบครองดินแดนที่ชนชาติไทย เคยครอบครองมาก่อน จึงเกิดสงครามระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง รัฐไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ก็ส่งกองทัพไปหนุนช่วยชนชาติไทยบ่อยครั้ง จึงเกิดสงครามโพกผ้าเหลือง เป็นที่มาให้จีนทางใต้ ต้องนำชนชาติอื่นๆ มาทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง เป็นไปตามตำราพิชัยสงครามของ ซุนหวู่

       ดินแดนจีนใต้ เคยปกครองโดย ฮ่องเต้ซุนกวน ได้นำชนชาติทมิฬโจฬะ ที่เกาะบอร์เนียว เรียกว่าชนชาติ ทมิฬโจฬะน้ำ เข้ายึดครองดินแดนส่วนหนึ่ง ของ อาณาจักรคามลังกา ไปปกครอง เรียกชื่อใหม่ว่า อาณาจักรทมิฬโจฬะบก(เขมร) จีนเรียกชื่อว่า เจนละบก นี่คือการล่าอาณานิคมดินแดนสุวรรณภูมิของประเทศจีน ต่อดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นครั้งแรก แล้วนำชนชาติทมิฬโจฬะ เข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นเมืองขึ้น มหาจักรพรรดิ ผู้ปกครองชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทำการปราบปรามครั้งแล้วครั้งเล่า โดยมุ่งเน้นให้ชนชาติทมิฬโจฬะ เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา เท่านั้น มิได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างชั้นบน และรากฐานทางเศรษฐกิจ ให้หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับชนชาติไทย เหมือนกับที่ประเทศจีน กระทำ ทำให้เกิดการกบฏของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างต่อเนื่อง เรื่อยมา 

       เดิมที่ในปี พ.ศ.๘๒๘ ประเทศจีน นักล่าอาณานิคมยุคโบราณ ได้ส่งกองทัพเข้าตีอาณาจักรฉาน ของชนชาติไทย ทำให้ชนชาติไทยในดินแดนอาณาจักรฉาน ต้องอพยพเข้ามาตั้งรกรากใหม่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้เกิดสรรพนามคำว่า ฉาน หรือ ฉัน ขึ้นมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ ชนชาติไทยรัฐฉาน ได้ตั้งอาณาจักรของชนชาติไทย ขึ้นมา ๔ อาณาจักร คือ อาณาจักรศรีชาติตาลู อาณาจักรศรีชาติตาลอ อาณาจักรพิง และ อาณาจักรไทยอาหม เมื่อประเทศจีน ทำสงครามกับ อาณาจักรหนานเจ้า ประเทศจีน ก็นำ อาณาจักรมิเชน ของชนชาติทิเบต ร่วมมือกับ อาณาจักรทมิฬโจฬะยะไข่ เข้ามายึดครอง ๔ อาณาจักรที่กล่าวมา กลายเป็นประเทศพม่า ในปัจจุบัน

       ประเทศจีน ได้ยืมมือชนชาติอื่นมาทำสงครามกับชนชาติไทย เรื่อยมา ในขณะที่เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรหนานเจ้า กับ ประเทศจีน นั้น ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ส่งกองทัพไปช่วยอาณาจักรหนานเจ้า เรื่อยมา เป็นที่มาให้ประเทศจีน ได้ยืมมือ อาณาจักรมิเชน ของ ชนชาติทิเบต มาทำสงครามกับ อาณาจักรหนานเจ้า เมื่อชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ส่งกองทัพไปช่วย อาณาจักรหนานเจ้า ประเทศจีน ก็สนับสนุนให้ อาณาจักรมิเชน เข้ายึดครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู ทันที เมื่อชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทำสงครามขับไล่ ชนชาติทิเบต อาณาจักรมิเชน ให้ออกไป ประเทศจีน ก็สนับสนุน ชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากเกาะสุมาตรา เข้าไปยึดครองแคว้นยะไข่ ตั้งเป็นอาณาจักรทมิฬโจฬะยะไข่ เพื่อขัดขวางกองทัพไทยเข้าทำสงครามขับไล่ กองทัพอาณาจักรมิเชน ที่เข้ายึดครองดินแดนประเทศพม่า ปัจจุบัน กลับคืน

       สมัยที่แจงกิสข่าน ยึดครองประเทศจีน และพยายามปกครองโลก และจัดระเบียบโลก เมื่อแจงกิสข่าน สามารถยึดครองเตอรกี และ อาหรับ สำเร็จ ก็สามารถนำกองทัพเข้ายึดครองอินเดีย ศรีลังกา ตลอดไปจนถึงดินแดนเกษียรสมุทร ในส่วนที่เป็นเกาะสุมาตรา กองทัพของแจงกิสข่าน ใช้ปืนนกสับ ปืนใหญ่ และ ระเบิด เป็นอาวุธที่สำคัญในการทำสงคราม ในขณะที่ชาติอื่นๆ ยังคงรบด้วยดาบ และ ธนู จึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม และนำศาสนาอิสลามไปใช้ในดินแดนที่ยึดครอง แม่ทัพคนหนึ่ง ของ แจงกิสข่าน ชื่อแซยิด อาเจ๊ะ นำกองทัพเข้าตีเมืองไชยา และ เมืองคันธุลี คนไทย ตกใจระเบิด หนีเข้าป่าหมด ประเทศจีน สมัยราชวงศ์แจงกิสข่าน สนับสนุนให้ พระเจ้าชัยวรมันที่-๗ ทำสงครามยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้เกือบทั้งหมด เป็นที่มาให้ พระยาร่วง ต้องย้ายราชธานี จากบางยาง เมืองไชยา ไปตั้งราชธานีใหม่ ที่ อาณาจักรโจรลี้โพธิ์(เจนลี่ฟู) กรุงสุโขทัย

       สมัยที่ฮ่องเต้หยุงโล้ ปกครองประเทศจีน ได้สนับสนุนให้ นายพลมุสลิมเจิ้งหัว นำกองทัพเรือ พร้อมอาวุธทันสมัย เข้ายึดครองดินแดนแว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนเกษียรสมุทร และ สุวรรณภูมิ ไปเป็นเมืองขึ้น เริ่มต้นจากการสนับสนุน พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์ทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เข้ายึดครองเมืองม้าละกา แคว้นมาลายู ไปครอบครอง แล้วร่วมกับ เจ้านครอินทร์ ทำลายอิทธิพลของ ประเทศ สหราชอาณาจักรเสียม ให้ราชวงศ์พระเจ้าปรเมศวร เข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ได้จำนวนมาก อาณาจักรเสียม ได้ทำสงครามขับไล่ ชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะ ออกจากดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงสมัย พระบรมไตรโลกนาถ ได้ยกเมืองม้าละกา แคว้นมาลายู เป็นเมืองขึ้น เป็นที่มาให้เกิดอาณาจักรมาลายู ขึ้นมาในดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ และทำการอพยพ ชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะ เข้ามาในดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ ครั้งใหญ่

        หลังจาก พระบรมไตรโลกนาถ ยอมรับอาณาจักรมาลายู เป็นเมืองขึ้น ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ถูกทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ยึดเป็นเมืองขึ้น ยกเว้น ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และ ปลิส เมื่อชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เข้ายึดครองแว่นแคว้นใดๆ ของชนชาติไทยไปเป็นเมืองขึ้น ก็จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชั้นบน และ รากฐานทางเศรษฐกิจ ของชนชาติไทย ขับไล่คนไทยออกจากดินแดนยึดครอง ทำลายพระพุทธศาสนา เผาวัดวาอาราม ฆ่าพระภิกษุ เปลี่ยนภาษาพูด และภาษาเขียน จากภาษาไทย ไปเป็นภาษาทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ภาษาไทย เป็นภาษาต้องห้าม ดินแดนปลายแหลมมาลายู จึงถูกยึดครองโดยมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ อย่างถาวร

       ต่อมาในสมัยพระนเรศวรฯ พระองค์ได้เปลี่ยนนโยบายการปกครองดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐใหม่ โดยนำพระราชธิดาของขุนพิเรน(พระมหาธรรมราชา) คือ พระนางเขียว และ พระนางน้ำเงิน พี่น้องต่างมารดา ของ สมเด็จพระนเรศวร ไปสมรสกับ มุสลิมราชวงศ์อาหรับโมกุล แล้วนำไปปกครองปัตตานี ทำให้ไทยพุทธ กับ มุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ สามารถอยู่ร่วมกันบนแผ่นดินเดียวกันได้ มีผู้ปกครองสืบทอดมาถึง พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน และได้เกิดความผิดพลาดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ทำลายอำนาจพระยาปัตตานีศรีสุลต่าน เพราะถือว่าเป็นอำนาจเก่า ทำให้แว่นแคว้นต่างๆ ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ กลายเป็นเมืองขึ้น ของ ชาติสยาม เป็นที่มาให้ทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ อพยพชนชาติมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากเกาะสุมาตรา เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนที่ตกเป็นเมืองขึ้น ของ ชาติสยาม เป็นจำนวนมาก จนกระทั่ง อังกฤษ ได้ถือโอกาสยุยงมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ให้ช่วยกันยึดครองแว่นแคว้นดังกล่าวให้ตกเป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ แทนที่ชาติสยาม ในเวลาต่อมา

 

การเริ่มต้นล่าอาณานิคม ดินแดนสุวรรณภูมิ ของ อังกฤษ พ.ศ.๒๒๓๐

       ชาติอังกฤษ เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งแรกด้วยการสนับสนุนให้มุสตาฟา ตั้งประเทศสงขลา ขึ้นเป็นอิสระ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททอง ต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่หลายปี จึงสำเร็จ

ต่อมา กองทัพเรือของ ประเทศอังกฤษ สมัยพระนารายณ์ฯ ได้เข้ายึด เมืองมะริด ของ ชาติสยาม เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๐ เกิดการสู้รบ ระหว่างกองทัพของ อังกฤษ กับ กองทัพสยาม อย่างรุนแรง ผลของสงคราม ประเทศอังกฤษ เรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาล ของ ชาติสยาม เป็นจำนวนเงิน ๖,๕๐๐ ปอนด์ แต่ พระนารายณ์ฯ ไม่ยอมรับข้อเสนอของ ประเทศอังกฤษ และ ประกาศทำสงคราม กับบริษัทอินเดียตะวันออก ของ ประเทศอังกฤษ สยามได้ส่งกองทัพเข้ายึดเมืองมะริด กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

บทบาทการล่าอาณานิคมของอังกฤษ ลดลงเพราะเกิดสงครามวอเตอร์ลู กับ ฝรั่งเศส หลังจากอังกฤษ ชนะสงคราม สามารถผลิตอาวุธที่ทันสมัยเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เช่น ปืนกล ปืนใหญ่ยิงลูกระเบิด และเรือกลไฟ เป็นผลสำเร็จ อังกฤษ จึงเริ่มล่าอาณานิคม อีกครั้งหนึ่ง

 

อังกฤษ ล่าอาณานิคม ในทวีปเอเชีย พ.ศ.๒๓๒๙-พ.ศ.๒๔๒๗

ชาติอังกฤษ ส่งกองทัพเข้ายึดครองอินเดีย เป็นเมืองขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๖ และพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงพยายามใช้ พระยาปัตตานีศรีสุลต่าน เป็นด่านหน้าในการขัดขวางการขยายอำนาจของ ชาติอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๗ ชาติอังกฤษ แต่งตั้งให้ วอร์เรนท์ เฮสติ้งส์ เป็นข้าหลวงใหญ่ ปกครองอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๗-พ.ศ.๒๓๒๗ และในปี พ.ศ.๒๓๒๗ ชาติอังกฤษ ออก พ.ร.บ. ปกครองประเทศอินเดีย เป็นเมืองขึ้น แล้วแต่งตั้งให้ วอร์เรนท์ เฮสติ้งส์ เป็นข้าหลวงใหญ่ ปกครอง ประเทศอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๒๗-๒๓๒๙ ต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ ชาติอังกฤษ ได้เปลี่ยนแปลงแต่งตั้งให้ ลอร์ด คอร์น วอลลิส เข้าปกครอง อินเดีย เป็นเมืองขึ้น จึงเริ่มล่าอาณานิคม ดินแดนเกษียรสมุทร และ ดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไป

อังกฤษ เริ่มต้นล่าอาณานิคมที่เมืองไทรบุรี ขณะนั้น พระยาไทรบุรี (สุลต่าน โมกุ รัมซะ) แห่ง แคว้นไทรบุรี ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสยาม ตามที่กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ได้ทำไว้ พระยาไทรบุรี จึงได้ทำสัญญากับชาติอังกฤษ ให้เช่าเกาะหมาก(เกาะปีนัง) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ เป็นเหตุให้อังกฤษ เปลี่ยนชื่อ เกาะหมาก หรือ เกาะปีนัง ในชื่อใหม่ว่า เกาะปรินซ์ ออฟเวลล์ เพื่อถวายพระเกียรติ แก่ มกุฎราชกุมาร ของ ประเทศอังกฤษ และตั้งชื่อเมืองหลวง ของ เกาะหมากว่า เมืองยอร์ชทาวน์ เพื่อให้เกียรติ แด่ พระเจ้ายอร์ชที่ ๓ เป็นที่มาให้เกิดสงครามกองโจร ต่อต้านชาติอังกฤษ ในดินแดนแคว้นไทรบุรี และอังกฤษ พยายามผลักดันให้ชาติสยาม ยุติการการใช้แคว้นไทรบุรี เป็นเมืองขึ้น 

เมื่อพระยาไทรบุรีถูกท้วงติงจากขุนนางอำมาตย์ มากขึ้น พระยาไทรบุรี ก็เริ่มเสียดายเกาะหมาก จึงพยายามทวงเกาะหมาก คืนจากชาติอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๔ แต่ชาติอังกฤษ ไม่ยอมคืนให้ จึงเกิดสงคราม ระหว่างกัน ผลของสงคราม พระยาไทรบุรี พ่ายแพ้สงคราม พระยาไทรบุรี ต้องยอมทำสัญญาให้ชาติอังกฤษ เช่าเกาะหมาก ปีละ ๖,๐๐๐ เหรียญ โดยมีเงื่อนไขว่า ทางไทรบุรี จะไม่ยอมให้ชาวยุโรป ชาติอื่นๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ทำการค้าภายในเมือง และจะยอมให้ชาวอังกฤษสามารถซื้อเสบียงอาหารได้ โดยไม่ต้องเสียภาษี

ชาติอังกฤษ แต่งตั้งให้ ลอร์ด คอร์น เวลส์ลี่ ผู้ปกครองอินเดีย มาเป็นข้าหลวงใหญ่ ปกครองดินแดนอาณานิคม ทวีปเอเชีย ทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๑ จึงมีอิทธิพลปกครองเกาะสิงค์โปร์ เกาะปีนัง แต่ต่อมามีโจรสลัดข้ามไปตีเกาะหมาก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๒ อังกฤษ สงใสว่า ทางพระยาไทรบุรี จะรู้เห็นเป็นใจด้วย ผู้ปกครองเกาะหมากคนใหม่ชื่อ เซอร์ ยอร์ช ลิด จึงได้ส่งคนไปเจรจา ขอเช่า เมืองสมารังไพร ดินแดนตรงข้ามเกาะหมาก อ้างว่า เป็นที่อาศัย ของ พวกโจรสลัด ที่คอยส่งเรือออกรังควานเรือสินค้า ของ ชาติอังกฤษ พระยาไทรบุรี ต้องยอมทำสัญญากับอังกฤษ ยอมยกดินแดน เมืองสมารังไพร ให้อังกฤษ เช่าอีก โดยเพิ่มค่าเช่า เป็นปีละ ๑๐,๐๐๐ เหรียญ และเรียกชื่อ เมืองสมารังไพร ในชื่อใหม่ ว่า พรอวินซ์ เวลสลีย์ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ นายมาร์ควิส แห่ง เวลสลีย์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการปกครองเมืองขึ้น อินเดีย ของ ประเทศอังกฤษ ในเวลานั้น 

เมื่อประเทศอังกฤษ มีชัยในสงคราม ณ สมรภูมิ วอเตอร์ลู ในทวีปยุโรป เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๘ ทำให้ชาติอังกฤษ มีลักษณะก้าวร้าว มากขึ้น และเริ่มคุกคามต่อ ราชอาณาจักรพม่า กรุงอมรปุระ ในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๕๙ ประเทศอังกฤษ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรไทยอาหม แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นอัสสัม พระเจ้าจันทร์กานต์สิงห์ ต้องนำเชื้อสายราชวงศ์หลบหนีไปอยู่ที่ ราชอาณาจักรภูฐาน 

ปี พ.ศ.๒๓๖๑ พระเจ้าปดุง(พ.ศ.๒๓๑๙-๒๓๖๒) ราชวงศ์คองบอง แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอมรปุระ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรไทยอาหม กลับคืนจากอังกฤษ แล้วโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้าจันทร์กานต์สิงห์ ไปปกครอง ดังเดิม ซึ่งเป็นที่มาให้ ประเทศอังกฤษ ไม่พอใจ ราชอาณาจักรพม่า เป็นอันมาก ในปี พ.ศ.๒๓๖๑ ประเทศอังกฤษ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรไทยอาหม กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นอัสสัม ดังเดิม ส่วน พระเจ้าจันทร์กานต์สิงห์ ต้องนำเชื้อสายราชวงศ์หลบหนีไปอยู่ที่ ราชอาณาจักรภูฐาน ดังเดิม ต่อมา อังกฤษ สามารถจับกุม พระเจ้าจันทร์กานต์สิงห์ เป็นผลสำเร็จ

ต่อมากองทัพเรือ ของ บริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ของ อังกฤษ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นสิงค์โป ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๒ โดยนายพล แสตนฟอร์ด แรฟเฟิล ได้เข้ายึดเกาะสิงคโปร์ เพื่อมีอิทธิพลเหนือช่องแคบม้าละกา และพยายามลดอิทธิพลของชาติสยาม ทำให้ในปี พ.ศ.๒๓๖๗ อังกฤษ กับ ฮอลันดา ต้องทำสัญญาแอลโกล-ดัชช์ โดยมีการแบ่งเส้นตรง ขนานเส้นศูนย์สูตร ใต้เกาะสิงค์โป ให้เป็น ของ ฮอลันดา และตั้งแต่เส้นศูนย์สูตร ขึ้นมา ให้เป็นดินแดนเมืองขึ้น ของ อังกฤษ ปี พ.ศ.๒๓๖๘ เดือน ๑๑ ลอร์ด แอมเฮิสต์ ผู้สำเร็จราชการอินเดีย ของ อังกฤษ ส่ง ร..เฮนรี่ เบอร์นี่ มาเจรจากับเจ้าพระยาน้อย ที่เมืองตรัง ปี พ.ศ.๒๓๖๘ เดือน ๑๒ เจ้าพระยาน้อย นำ ร..เฮนรี่ เบอร์นี่ เดินทางไปยัง กรุงเทพมหานครฯ มีกรรมการ ๓ คน เข้าร่วมเจรจา คือ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์(พระองค์เจ้าชายฉัตร) , เจ้าพระยาคลัง(ดิศ-บุนนาค) และ เจ้าพระยานคร(น้อย)

ความผิดพลาดที่ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ยกเอาแว่นแคว้นต่างๆ ของอาณาจักรมาลัยรัฐ เป็นเมืองขึ้นของสยาม เป็นที่มาให้ชาติอังกฤษ พยายามขยายอิทธิพล ทั่วดินแดนแหลมมลายู และเสนอเอกราชให้แว่นแคว้นต่างๆ ที่เคยปกครองโดย อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๖๙ เป็นที่มาให้ ชาติสยาม ต้องทำสัญญา เบอร์นี่ กับชาติอังกฤษ ที่เกาะปีนัง มิให้ชาติอังกฤษ หนุนช่วย กบฏ เต็งกูเด็น และ สุลต่าน อาหมัด ตาลดะดิน ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๓๖๙ ไทยต้องลงนามในสัญญาฉบับแรก กับ อังกฤษ เรียกว่า สัญญาเฮนรี่ เบอร์นี่ เมื่อ เดือน ๗ แรม ๑ ค่ำ ปีจอ อัฐศก จ..๑๑๘๑ มีข้อสัญญาทั้งหมด ๑๔ ข้อ ซึ่งจะมีเรื่องราวของเมืองไทรบุรี และ เมืองเปรัก เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และในปี พ.ศ.๒๓๖๙ ประเทศสยาม ได้ทำสัญญา แองโกล-สยาม ไว้กับเบอร์นี่ มีเรื่องราวเกี่ยวกับ แคว้นกลันตัน และ ตรังกานู ว่า...

...สยามจะต้องไม่ไปเกี่ยวข้องขัดขวางเกี่ยวกับการค้าในแคว้นกลันตัน และ ตรังกานู ของชาวอังกฤษ พ่อค้าอังกฤษ หรือ คนในบังคับ สามารถเข้าไปค้าขาย และไปมาหาสู่กันได้เหมือนแต่ก่อน...และ ฝ่ายอังกฤษ จะไม่ไปรบกวน หรือ โจมตีแว่นแคว้นทั้งสอง ไม่ว่าด้วยเหตุใด...

ปี พ.ศ.๒๓๘๔ ต่วนยาคง เจ้าเมืองรามัน เป็นน้องชายต่างมารดา ของ ต่วนตีมง ต่อมาได้รับการโปรดเกล้า แต่งตั้งเป็น พระยารัตนภักดี ศรีราชบดินทร์ สุรินทรวิวังศา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๒๗ ชาติอังกฤษ โดย โฮลท์ ฮัลเลทท์ เข้าชักชวน พระยารัตนภักดี(ยาคง) ให้ไปดูแลงานการปกครองของอังกฤษ ในเกาะสิงค์โปร์ และเรียกร้องให้ ขุนนางมุสลิม ที่เคยกระด้างกระเดื่องต่อสยาม และขอขึ้นต่อการปกครองของชาติอังกฤษ อ้างว่าการปกครองของชาติสยาม ล้าหลัง พระยารัตนภักดี(ยาคง) จึงมาชักชวนขุนนางมุสลิม เมืองต่างๆ ให้เป็นเมืองขึ้นของชาติอังกฤษ แต่ขุนนางมุสลิม เมืองต่างๆ มีความเห็นพ้องกันว่า ต้องการแยกดินแดนปัตตานี ออกเป็น รัฐอิสระ ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ จึงขัดแย้งกับชาติอังกฤษ เป็นที่มาให้ชาติอังกฤษ วางแผนขยายดินแดนอาณานิคม ด้วยวิธีการอื่นๆ ในเลาต่อมา

  

การล่าอาณานิคมดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ ของ อังกฤษ พ.ศ.๒๔๑๗-พ.ศ.๒๔๓๕

อังกฤษ ผู้มีอาวุธทันสมัย เริ่มล่าอาณานิคมดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ เริ่มต้นที่กองทัพเรือ ของ บริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ของ อังกฤษ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเปรัก แคว้นสลังงอ และ แคว้นมีนังกะเบา ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๗ เป็นเมืองขึ้น เป็นผลสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๒๔ กองทัพเรือ ของ บริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ของ อังกฤษ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นบรูไน และ ซาบาร์ ของ อาณาจักรบรูไน เกาะบอร์เนียว ดินแดนเกษียรสมุทร เป็นผลสำเร็จเช่นเดียวกัน

ชาติอังกฤษ โดยกระทรวงอาณานิคมมาลายู พยายามเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนตอนเหนือ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๕ โดยทำการยุยงให้ ผู้ปกครองแว่นแคว้น และ เมืองต่างๆ กระด้างกระเดื่องต่อชาติสยาม โดยนำเอาเรื่องราวที่ขุนนางสยาม ฉ้อราษฎร์บังหลวง มาขยายความ จนเกิดการต่อต้านขุนนางสยาม ไปทั่ว อังกฤษพยายามเข้าไปมีอิทธิพลเหนือสยาม ในดินแดนตอนเหนือของมาลายู ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการศึกษา ของ สยาม โดยการตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ จึงมีการผลักดันให้ ชาวมลายู พูดและศึกษาภาษาไทย แทนที่ภาษาทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ แต่พระยาพิชิตภักดี-ตนกูตีมง ก่อกระแสต่อต้าน เพื่อสร้างความแตกต่าง และการก่อกบฏ แยกรัฐปัตตานี ออกเป็นอิสระ ชาติอังกฤษ ได้พยายามใช้โอกาส ดังกล่าว เปิดทางให้ผู้ปกครองเมืองต่างๆ ภายใต้การปกครองของชาติสยาม เดินทางไปพบเห็นการปกครองในเกาะสิงค์โปร์ และเกาะปีนัง เพื่อปรึกษาหารือ ขัดขวาง สยาม จนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๑ ชาติสยามต้องยอมเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ชาติสยามต้องยอมเสียดินแดน รัฐฉาน(ไทยใหญ่) ให้กับชาติอังกฤษ ชาวมลายู ทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จึงเร่งก่อกบฏต่อชาติสยาม อีกครั้งหนึ่ง

ชาติสยาม พยายามผลักดันให้ ชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ พูดและศึกษาภาษาไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๐ แต่พระยาพิชิตภักดี(ตนกูตีมง) ก่อกระแสต่อต้าน เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่าง ชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ กับ ชนชาติไทย ขุนนางอำมาตย์ชาติสยามบางส่วน เสนอให้อพยพทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ไปอยู่ในเกาะร้าง หรือทำการฆ่าทิ้ง แล้วนำชนชาติไทย ที่ทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ขับไล่ออกไป กลับคืน พระจุลจอมเกล้าฯ ไม่เห็นชอบด้วย จึงเกิดการก่อกบฏ พยายามแยกรัฐปัตตานี ออกเป็นอิสระ ชาติอังกฤษ ได้ใช้โอกาส ดังกล่าว เปิดทางให้ผู้ปกครองเมืองต่างๆ ภายใต้การปกครองของชาติสยาม เดินทางไปพบเห็นการปกครองในเกาะสิงค์โปร์ และเกาะปีนัง อย่างต่อเนื่อง และเริ่มแข็งกร้าวต่อชาติสยาม มากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๔๓๑ กองทัพเรือ ของ บริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ของ อังกฤษ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เกาะบอร์เนียว ได้ทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เกาะบอร์เนียว อังกฤษ แสดงอำนาจท้าทายชาติสยาม ขณะนั้นชาติสยาม อยู่ในสภาพปั่นป่วน เพราะในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ชาติสยาม ต้องยอมเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศส และในปี พ.ศ.๒๔๓๑ กองทัพเรือ ของ บริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ของ อังกฤษ สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นปาหัง ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เป็นผลสำเร็จ อีกทั้งในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ชาติสยามต้องยอมเสียดินแดน รัฐฉาน(ไทยใหญ่) ให้กับชาติอังกฤษ ชาวทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ในดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ จึงเร่งก่อกบฏ มากขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศส ขยายอิทธิพลเข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และแสดงความแข็งกร้าวต่อชาติสยาม อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ส่วนอังกฤษ ก็พยายามขยายอิทธิพลเข้ายึดครองพม่า และดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันตก ของดินแดนสุวรรณภูมิ เรื่อยมา

 

สัญญาลับ ระหว่าง อังกฤษ และ ฝรั่งเศส เพื่อยึดครองดินแดนสยาม พ.ศ.๒๔๓๙

       สืบเนื่องจากดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ ต่อเชื่อมเขตแดนกันที่ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ กับ อาณาจักรชวาทวีป ที่มีอาณาเขตไปถึง แม่น้ำเพชรบุรี มาอย่างยาวนาน แม้ว่า อาณาจักรชวาทวีป มีกระบวนการพัฒนา เปลี่ยนชื่อมาหลายครั้งจนกระทั่งเรียกชื่อว่า อาณาจักรเสียม ก็ยังมีอาณาเขตต่อเชื่อมกับ แม่น้ำเพชรบุรี ดังเดิม อังกฤษ ทราบเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติสยาม เป็นอย่างดี จึงขยายอิทธิพล จากดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ เข้าสู่ดินแดนอาณาจักรเสียม ที่มีเขตแดนถึงแม่น้ำเพชรบุรี ส่วนชาติฝรั่งเศส ก็นำเอาประวัติศาสตร์ ที่พระเจ้าชัยวรมันที่-๗ เคยขยายอิทธิพลครอบครองมาถึง ฝั่งขวา ของ แม่น้ำเจ้าพระยา มาทำสัญญาลับ ระหว่าง อังกฤษ และ ฝรั่งเศส

       สองชาติ อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ได้ทำสัญญาลับลงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๙ เพื่อแบ่งดินแดนชาติสยาม สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยชาติอังกฤษ ได้พยายามขยายดินแดนแหลมมาลายู ไปถึงแม่น้ำเพชรบุรี และเชื่อมต่อกับ ทะเลตะวันตก และดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ผลของสัญญาลับ ดังกล่าว จะทำให้ชาติสยาม ไม่มีดินแดนครอบครองหลงเหลือต่อไป ฝรั่งเศส พยายามผลักดันสัญญาลับ ดังกล่าวให้เกิดขึ้นจริง กล่าวอ้างในเอกสารหลายส่วนว่า ชาติสยาม คือลูกไก่ในกำมือ ถ้าอังกฤษ ปฏิบัติตามสัญญา ชาติสยาม จะหายไปจากแผนที่โลก

       ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ พระจุลจอมเกล้าฯ ทราบเรื่อสัญญาลับที่กล่าวมา จึงต้องเสด็จยุโรป เพื่อสร้างดุลถ่วงอำนาจ ขัดขวางการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส และ อังกฤษ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๔๑ ชาติสยาม ต้องออก พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ และส่ง พระยาสุขม นัยวิฉัย ไปปกครองปัตตานี หลังการประกาศ พ.ร.บ. ดังกล่าว เพื่อลดอิทธิพลของอังกฤษ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ สุลต่าน สุไลมาน ผู้ปกครองปัตตานี ถึงแก่อนิจกรรม พอดี

 

กบฏ ตนกู อับดุล กาเด กามารุดดิน พ.ศ.๒๔๔๕

       เมื่อสุลต่าน สุไลมาน ถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ บุตรชาย คือ ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน พยายามตั้งตัวเป็นผู้ปกครองปัตตานี โดยมิได้มีการโปรดเกล้า จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเข้าเฝ้า พระจุลจอมเกล้าฯ ให้โปรดเกล้า แต่พระจุลจอมเกล้าฯ ไม่ยอมโปรดเกล้า เพราะทราบว่า ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน สมคบกับชาติอังกฤษ อย่างลับๆ ในการแบ่งแยกดินแดนปัตตานี ออกเป็นรัฐอิสระ เมื่อไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน จึงเดินทางไปพบ เซอร์ แฟรงค์ เอ สวิทเท่นแฮม ตัวแทนชาติอังกฤษ ที่สิงค์โปร์ เพื่อขอสนับสนุน การแยกรัฐปัตตานี แต่ถูกปฏิเสธการช่วยเหลือ ต่อมาพระจุลจอมเกล้าฯ ทราบข่าว จึงหาทางประนีประนอม ยอมโปรดเกล้าแต่งตั้ง ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน เป็นผู้ปกครองมณฑลปัตตานี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๓

       หลังจากการตั้งกฎข้อบังคับ ๗ หัวเมือง ร.ศ.๑๒๐ ทำให้ชาติอังกฤษ ใช้สื่อหนังสือพิมพ์ โจมตีชาติสยาม อย่างหนัก พร้อมกับยุยงผู้อพยพที่มาตั้งรกรากในแหลมมลายู ลุกขึ้นก่อกบฏ ต่อชาติสยาม เมื่อชาติสยาม แต่งตั้ง ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน เป็น พระยาพิพิธภักดี-ศรีสุวังษา รัตนาณาเขตประเทศราช เป็นผู้ปกครองปัตตานี ทำให้ ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน ไม่ยอมส่งมอบภาษี ให้กับรัฐบาลกลางของชาติสยาม เพราะมีเจตนานำไปซื้ออาวุธ เพื่อสร้างกองทัพแยกปัตตานี เป็นรัฐอิสระ ภายใต้การสนับสนุนของชาติอังกฤษ ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน จึงทำการขัดขวางไม่ยอมให้มีการใช้ภาษาไทย และกฎหมายไทย เกิดการต่อต้านการปกครองของชาติสยาม อย่างต่อเนื่อง

       โรเบิร์ต วิลเลี่ยม ดัฟฟ์ เล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆ ที่เกาะสิงค์โปร์ ว่า พระยาพิพิธภักดี-ศรีสุวังษา (ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน) ทราบจุดอ่อนของข้าราชการสยาม ที่มีสันดานฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงติดสินบนข้าราชการ เพื่อให้ชาวต่างชาติมาทำเหมืองแร่ และได้ส่วนแบ่ง ซึ่งนำไปใช้ซื้ออาวุธ จากเยอรมัน เป็นที่มาให้ โรเบิร์ต วิลเลี่ยม ดัฟฟ์ ได้มาทำเหมืองแร่เถื่อนที่แคว้นปัตตานี แห่งหนึ่ง ต่อมาทางกรุงเทพฯ ทราบเรื่อง ต้องเรียกพระยาสุขุม กลับกรุงเทพฯ และวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๔ ได้โปรดเกล้าให้ พระยาศักดิ์เสนีย์ เป็นผู้ว่าราชการมณฑลปัตตานี เป็นคนต่อมา พร้อมกับนำกำลังทหาร เข้าไปด้วย ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน จึงเป็นแกนกลางในการก่อกบฏ ประกาศแยกรัฐปัตตานี ออกจากชาติสยาม มีการสะสมอาวุธ ที่สั่งซื้อจากเยอรมัน ผ่านเกาะสิงค์โปร์ มาสะสมที่ปัตตานี อย่างลับๆ เพื่อก่อการลุกฮือ ประกาศเอกราช โรเบิร์ต วิลเลี่ยม ดัฟฟ์ พยายามชักจูง พระยาพิพิธภักดี-ศรีสุวังษา ให้เข้าเฝ้า พระจุลจอมเกล้าฯ เพื่อให้แก้ไขความขัดแย้ง แต่ พระยาพิพิธภักดี-ศรีสุวังษา ปฏิเสธข้อเสนอ ยืนกรานที่จะก่อกบฏ ประกาศแยกรัฐปัตตานี ออกจากชาติสยาม ตามแผนการที่กำหนด

       ปี พ.ศ.๒๔๔๕ มีการตั้งกฎข้อบังคับ ๗ หัวเมือง ร.ศ.๑๒๐ ชาติสยามจึงส่ง พระยาศักดิ์เสนีย์ มาปกครองปัตตานี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อขัดขวางการล่าอาณานิคมของชาติอังกฤษ ทำให้ชาติอังกฤษ ใช้สื่อหนังสือพิมพ์ โจมตีชาติสยาม อย่างหนัก พร้อมกับยุยงผู้อพยพมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งรกรากในแหลมมลายู ลุกขึ้นก่อกบฏ ต่อชาติสยาม ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุด พยายามติดต่อกับตัวแทนชาติอังกฤษ หลายครั้ง เพื่อแยกรัฐปัตตานี เป็นอิสระ แต่ชาติอังกฤษ วางแผนอย่างลับๆ เพื่อนำดินแดนปัตตานี เป็นเมืองขึ้น ทำให้ ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน หันไปติดต่อกับชาติฝรั่งเศส ให้เข้าโจมตีสยามด้านตะวันออก เพื่อให้กองทัพพวกทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ปัตตานี ทำสงครามโจมตีชาติสยามทางทิศใต้ แต่ฝรั่งเศส ไม่ยอมร่วมมือด้วย เพราะกลัวปะทะกับ อังกฤษ

       ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุด ผู้ปกครองปัตตานี มีการติดต่อขอซื้ออาวุธจากพ่อค้าอาวุธชาติเยอรมัน จากเกาะสิงค์โปร์ มาสะสมทั่วแหลมมลายู อย่างลับๆ เจตนาเพื่อแยกปัตตานี และรัฐอื่นๆ ในแหลมมาลายู ให้เป็นรัฐอิสระ และผลักดันให้ชาติเยอรมัน ให้มีอิทธิพล ในแหลมมลายู แทนที่ชาติอังกฤษ ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุดดิน ซึ่งตั้งตัวเป็นกษัตริย์ทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ปกครองปัตตานี อย่างลับๆ จึงได้ปลุกระดม ผู้อพยพชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ให้ยอมรับการขึ้นเป็นกษัตริย์ ของตนเอง และยังต้องการสร้างฐานะความเป็นกษัตริย์เทียบเท่า พระจุลจอมเกล้าฯ อีกด้วย จึงไม่ยอมติดต่อใดๆ กับ พระจุลจอมเกล้าฯ ต่อมา กรมพระยาดำรงฯ ได้ส่ง พระยาสีหเทพ ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย ไปสืบข้อเท็จจริง พบว่าเป็นจริง จึงให้ทหารเข้าจับกุม พระยาพิพิธภักดี-ศรีสุวังษา ศาลตัดสินให้ จำคุก ๑๐ ปี ถูกนำไปกักขังที่พิษณุโลก ๑๐ ปี

       ปี พ.ศ.๒๔๔๕ มีการปฏิรูปการศึกษา เป็นแบบตะวันตก วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ พระจุลจอมเกล้าฯ มีการแต่งตั้ง พระพิทักษ์-กาเดร์ เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ภายใต้การควบของ พระยาศักดิ์เสนีย์ ผู้แทนพระองค์ ผู้อพยพชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เข้ามาในดินแดนปัตตานี ไม่ยอมใช้ภาษไทย เกิดการกบฏ ขึ้นทั่วไป เรียกว่า กบฏ ตนกูอับดุลกาเดร์ จึงมีการจับกุมผู้ก่อกบฏ เป็นจำนวนมาก ชาติอังกฤษ จึงถือโอกาส ยุยงดินแดน ต่างๆ ให้ยอมสวามิภักดิ์ เป็นดินแดนเมืองขึ้น ของชาติอังกฤษ เพราะผู้ปกครองแต่ละรัฐฯ เห็นว่าผลประโยชน์ของทรัพยากร ที่ได้รับจากชาติอังกฤษ มากกว่าชาติสยาม เป็นที่มาให้ชาติสยาม ไม่ยอมแต่งตั้งเชื้อสายมุสลิมทมิฬโจฬะอาจ๊ะ มาปกครองปัตตานี อีกต่อไป

ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำสัญญาแองโก-สยาม เกี่ยวกับความขัดแย้งในแคว้นกลันตัน เนื่องจาก สุลต่าน โมฮัมหมัดที่ ๔ ได้ให้สัมปทานที่ดินในแคว้นกลันตัน ให้กับชาวอังกฤษ ชื่อ อาร์ ดับบลิว ดั๊ฟฟ์ ไปถึง ๓,๐๐๐ ตารางไมล์ หรือ ๑ ใน ๓ ของ แคว้นกลันตันทั้งหมด โดยมิได้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล สยามจึงทำการประท้วง การสัมปทาน ครั้งนี้ พร้อมกับได้ส่งกองทหารไปไว้ประจำที่ เมืองโกตาบารู ราชธานี ของ แคว้นกลันตัน ด้วย ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ สุลต่านอับดุล กาเดียร์ แห่ง แคว้นปัตตานี ถูก กองทหารสยาม จับกุม สุลต่าน โมฮัมหมัด ที่ ๔ แห่ง แคว้น กลันตัน จึงเดินทางไปยังสิงค์โป เพื่อขอความคุ้มครอง จาก อังกฤษ

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๖ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำสัญญายอมยกดินแดน ราชอาณาจักรจามปาศักดิ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวา ของ แม่น้ำโขง เป็นเมืองขึ้น ของ ฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศส จึงแต่งตั้งให้ เจ้านัยหยุย เป็นข้าหลวง ปกครอง นครจามปาศักดิ์ ในเวลาต่อมา

 

การเสียดินแดนมาลัยรัฐ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิส ให้กับ ชาติอังกฤษ พ.ศ.๒๔๔๙

       ความพยายามของชาติอังกฤษ ที่พยายามยึดครองดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ เป็นเมืองขึ้น เป็นเหตุให้ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ พระจุลจอมเกล้าฯ ต้องเสด็จ ประพาสยุโรป ครั้งที่-๒ เพื่อสร้างดุลถ่วงกับชาติอังกฤษ และฝรั่งเศส แต่การก่อตัวของชาวมุสลิมทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ที่อพยพมาจากเกาะชวา และสมาตรา มาตั้งรกรากในดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ ไม่ประสบความสำเร็จ ที่จะประกาศตั้งประเทศเป็นรัฐอิสระ เพราะอังกฤษ ต้องการให้เป็นเมืองขึ้น

กองทัพเรือ ของ บริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ของ อังกฤษ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเกดะ(ไทรบุรี) แคว้นกลันตัน และ แคว้นตรังกานู ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ และในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ชาติอังกฤษ ทำสัญญา กับ สุลต่าน โมฮัมหมัดที่ ๔ แห่ง แคว้นกลันตัน ให้แคว้นกลันตัน เป็นรัฐภายใต้การคุ้มครอง ของ อังกฤษ แคว้นกลันตัน จึงตกอยู่ภายใต้การคุ้มครอง ของ อังกฤษ ทันที

       ในที่สุด ปี พ.ศ.๒๔๕๒ ชาติสยาม ต้องยอมเสีย ๔ หัวเมืองมาลายู คือ ไทรบุรี ปลิส กลันตัน และตรังกานู ให้กับชาติอังกฤษ เพื่อแลกกับ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการกู้เงิน ๔ ล้านปอนด์ มาสร้างทางรถไฟสายใต้ ให้เสร็จสิ้น จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๒๔๕๓ พระจุลจอมเกล้าฯ สวรรคต พระมุงกฎเกล้าฯ ขึ้นครองราชย์ เกิดสงครามโลกครั้งที่-๑ พระมุงกฎเกล้าฯ ใช้หลักรัฐประสาสนโยบาย ต่อมณฑลปัตตานี การกบฏจึงยุติลงชั่วคราว

ปี พ.ศ.๒๔๕๗ กองทัพเรือ ของ บริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ของ อังกฤษ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นยะโฮ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เป็นผลสำเร็จ ในปี พ.ศ.๒๔๕๘ เกิดขบวนการต่อต้านอังกฤษ ขึ้นใน แคว้นกลันตัน และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน จึงได้ก่อตัว เกิดขึ้นใหม่ อีกครั้งหนึ่ง

       ปี พ.ศ.๒๔๗๖ ตนกู มูไฮยิดิน บุตรชายของ พระยาพิพิธภักดี-ศรีสุวังษา (ตนกู อับดุล กาเดร์ กามารุด) ได้ตั้งองค์กร BNPP ขึ้นมา มี หะหยีสุหลง เป็นกรรมการ ของขบวนการปลดปล่อยปัตตานี ด้วย ได้เสนอข้อเรียกร้อง ๗ ข้อ ภายใต้การหนุนหลังของ ขุนนางอำมาตย์ สยาม กลุ่มหนึ่ง หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เจตนาเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการขจัดอิทธิพล ของ นายปรีดี พนมยงค์ เนื้อหาของข้อเสนอ ๗ ข้อ คือการแยกปัตตานี เป็นรัฐอิสระ นั่นเอง หะหยีสุหลง จึงตกเป็นเครื่องมือของขุนนางอำมาตย์ สยาม และถูกนำไปฆ่าปิดปาก อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๘-พ.ศ.๒๕๐๐ สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ชาติไทย ยึดถือนโยบาย ช่วยเหลือและคุ้มครอง และอุปถัมภ์ กิจการศาสนาอิสลาม และกำเนิดพรรคคอมมิวนิส แห่ง ประเทศไทย ขึ้นมา บทบาทของขบวนการแบ่งแยกดินแดน จึงลดบทบาทลง

 

เจ้าเมืองไชยา สมัยการล่าอาณานิคม พ.ศ.๒๔๑๑-พ.ศ.๒๔๕๘

ปี พ.ศ.๒๔๑๑ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ พระยาอภัยสงคราม (น้อย) ขุนนางจากกรุงเทพฯ ไปเป็น พระยาวิชิตภักดี(น้อย) ปกครอง เมืองไชยา ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๑-พ.ศ.๒๔๓๑ มีหลวงอินทร์รองเมือง (ขำ ศรียาภัย) เป็นปลัดเมือง ต่อมา นายขำ ศรียาภัย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น หลวงสารานุชิต ปกครองเมืองชุมพร และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระยาศรีสงคราม (ขำ) และ พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ) ตำแหน่งปลัด เมืองไชยา จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๒๒ พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ ศรียาภัย) ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ) เป็นปลัดเมืองไชยา อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๓๑ พระยาวิชิตภักดี(น้อย) กระทำความผิดทางราชการ จึงถูกสอบสวน และถูกเรียกกลับ กรุงเทพฯ พระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าแต่งตั้ง พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ ศรียาภัย) ปลัดเมืองไชยา ให้เป็น พระยาวิชิตภักดี(ขำ ศรียาภัย) ตำแหน่ง เจ้าเมืองไชยา

       ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑-พ.ศ.๒๔๓๗ พระยาวิชิตภักดี(ขำ ศรียาภัย) ปกครองเมืองไชยา มี ขุนหลวงอินทร์(ปิ๋ว) เป็นปลัดเมืองนายขำ ศรียาภัย เป็นบุตรของ พระยาชุมพร(หมื่นหาร) โอรสลับ พระเจ้าตากสินฯ เป็นหลานพระยานคร-น้อย เคยเป็นหลวงสารานุชิต และเป็น พระยาวจีสัตยารักษ์ เจ้าเมืองชุมพร ต่อมาถูกย้ายมาเป็นพระยาวิชิตภักดี(ขำ ศรียาภัย) ปกครองเมืองไชยา ต่อมาถูกย้ายให้ไปทำการสอบสวน พระกาญจนดิษฐ์ เจ้าเมืองกาญจนดิษฐ์(ท่าทอง) จึงต้องลาออกจากเจ้าเมืองไชยา ชั่วคราว

ปี พ.ศ.๒๔๓๗ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ พระยาวิชิตภักดี (ขำ ศรียาภัย) ไปสอบสวนความผิดของ พระยากาญจนดิษฐ์ เจ้าเมืองท่าทอง พบว่ามีความผิดจริง ถูกปลดออก พระยาวิชิตภักดี (ขำ) จึงต้องรั้งตำแหน่ง เจ้าเมืองท่าทอง ด้วย สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาวิชิตภักดี(ขำ ศรียาภัย) เป็น เจ้าเมืองท่าทอง

ปี พ.ศ.๒๔๓๙ อังกฤษ ทำสัญญาลับกับ ฝรั่งเศส ให้อังกฤษ ครอบครองดินแดนฝั่งซ้าย ของ แม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงชายฝั่งทะเลตะวันตก ต่อเชื่อมมาถึง แม่น้ำเพชรบุรี ต่อไปตลอดแหลมมาลายู ส่วนฝรั่งเศส จะครอบครองดินแดนฝั่งขวา ของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมเมืองไชยา เมืองหลังสวน เมืองชุมพร และ เมืองกาญจนดิษฐ์ เป็น มณฑลชุมพร โปรดเกล้าให้ นายพินิจ(ปิ๋ว) เป็น ข้าหลวง ปกครอง เมืองไชยา ปี พ.ศ.๒๔๔๐ สยาม ได้ทำปฏิญญาลับ กับ อังกฤษ เพื่อมิให้ ชาติอังกฤษ เข้ายึดครองดินแดนภาคใต้ และฝั่งซ้าย ของ แม่น้ำเจ้าพระยา ไปเป็นเมืองขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๒ โปรดเกล้าให้ หลวงวิเศษภักดี(อาบ) มาว่าราชการเมืองไชยา และให้ยุบเมืองท่าทอง เป็น อำเภอที่ขึ้นต่อ เมืองไชยา มี พระศรีราชสงคราม เป็นปลัดเมือง

       ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๗-พ.ศ.๒๔๔๒ พระยาวิชิตภักดี(ปิ๋ว) ปกครองเมืองไชยา ไม่มีปลัดเมือง พระยาวิชิตภักดี(ปิ๋ว) เคยเป็น พระศรีสงครามฯ(ปิ๋ว) รักษาการเจ้าเมืองไชยา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๙ พระจุลจอมเกล้าฯ ยุบเมืองไชยา กาญจนดิษฐ์ หลังสวน ชุมพร และไชยา รวมกันเป็น มณฑลชุมพร พระยาวิชิตภักดี(ปิ๋ว) จึงได้รับโปรดเกล้าให้ปกครองเมืองไชยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ ต่อมา ขัดแย้งกับหลวงคลัง-แสง รักษาการปลัดเมือง ทั้งสองฝ่าย ต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน เรื่องการลักลอบขุดโบราณวัตถุไปขาย และเกิดไข้น้ำ ระบาด และยังเกิดอั้งยี่ ทั่วภาคใต้ พระยาวิชิตภักดี(ปิ๋ว) จึงถูกย้ายไปเป็นปลัด เมืองภูเก็ต

       ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๒-พ.ศ.๒๔๔๖ พระยาวิชิตภักดี(ขำ ศรียาภัย) ปกครองเมืองไชยา เกิดเหตุการณ์ เมืองไชยา ถูกยุบ เป็น อ.พุมเรียง หลวงวิเศษภักดี(อวบ) เคยปกครองเมืองกาญจนดิษฐ์ ถูกย้ายมาเป็น นายอำเภอพุมเรียง คนแรก พระยาวิชิตภักดี(ขำ) จึงถูกย้ายมาปกครอง เมืองไชยา เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลชุมพร ตั้งที่ว่าราชการเมืองที่ควนสราญรมย์ พุนพิน เป็นว่าที่ ข้าหลวงมณฑลชุมพร ต่อมา พระยาวิชิตภักดี(ขำ) ถูกกล่าวหาว่า สมคบกับ จีนเชียงสุ่น และพรรคพวกของพระยานครน้อย พวกอำนาจเก่า หนุนช่วยขบวนการอั้งยี่ ขัดขวางการปกครองของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงย้ายไปเป็น พระกาญจนดิษฐ์บดี(ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองท่าทอง

พระกาญจนดิษฐ์บดี(ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองท่าทอง ถูกโยกย้ายไปเป็นปลัด มณฑลพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ แล้วแต่งตั้ง พระสุรฤทธิ์ภักดี(คออยู่ตี่ ณ ระนอง บุตรพระยารัตนเศรษฐี) ไปปกครอง เมืองไชยา แทนที่ โดยย้ายที่ว่าราชการเมือง ไปตั้งอยู่ที่ ควนสราญรมย์ แทนที่

       ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๖-พ.ศ.๒๔๕๘ พระยาวิชิตภักดี(คออยู่ตี่) ปกครองเมืองไชยา ปี พ.ศ.๒๔๕๘ ตั้งมณฑลสุราษฎร์ธานี เปลี่ยน อ.พุมเรียง เป็นชื่อ อ.ไชยา จวนเมือง ย้ายไปบ้านดอน ตัวอำเภอพุมเรียง ย้ายมาใกล้สถานีรถไฟปัจจุบัน เรียกว่า อ.ไชยา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๘ เป็นต้นมา ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ มีการประกาศ โอน อ.ลำพูน อ.พระแสง อ.พนม ให้ขึ้นกับเมืองไชยา ที่ว่าราชการเมือง ยังคงอยู่ที่ ควนสราญรม พุนพิน

 

การสืบค้นประวัติศาสตร์ เมืองไชยา พ.ศ.๒๔๔๕

ปี พ.ศ.๒๔๔๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์(พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์) เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้เสด็จไปตรวจราชการที่ เมืองไชยา ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้มาก เพราะได้พบโบราณวัตถุ ที่เมืองไชยา จำนวนมาก จึงได้นำ หลวงนรพัทพิจารณ์ มาเป็นปลัดเมืองคนใหม่ เพื่อสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองไชยา กรมขุนนริศฯ ได้สอบถามปลัดเก่า ให้ช่วยสืบเรื่องราวของ ประวัติศาสตร์ เมืองไชยา ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ พระครูกาแก้ว เป็นเจ้าคณะอำเภอไชยา จำพรรษาอยู่ที่ วัดโพธาราม พุมเรียง ได้รับมอบหมายจาก หลวงนรพัทพิจารณ์ ให้ช่วยสืบค้นประวัติ เมืองไชยา

       การสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองไชยา ของ พระครูกาแก้ว ต่อมา ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้นำมาจัดพิมพ์ในหนังสือ ทักษิณคดีศึกษา ส่วนใหญ่เป็นชื่อผู้ปกครองเมืองไชยา ตั้งแต่สมัย มหาหุมปะแก ลงมา ถึงสมัยราชวงศ์จักรี ส่วนใหญ่เป็นเรื่องบอกเล่า หรือ สันนิษฐาน กันไปเอง ช่วงเวลาของเหตุการณ์ผิดพลาดมาก ได้นำมาแก้ไขในภายหลัง เจ้าเมืองไชยา หลายคนตกหลุ่นไปหลายคน

 

โรงเรียนสาระพีอุทิศ โรงเรียนแห่งแรก ของ เมืองไชยา และ จ.สุราษฎร์ธานี

       ที่ตั้งโรงเรียนสารพีอุทิศ ที่ อ.ไชยา ในปัจจุบัน เคยเป็นที่ตั้งบ้านพักของ หม่อมดาว ภรรยาหลวง ของ พระยาไชยา(มุกดา) ต่อมาได้เป็น เจ้าพระยาจักรี(มุกดา) หม่อมดาว จึงได้ย้ายไปไปตั้งรกรากที่กรุงศรีอยุธยา ทรัพย์สินบ้านพักดังกล่าว จึงตกมาเป็นของ พระยาไชยา(บุญชู) หม่อมดาว เป็นมารดาของ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู ซึ่งเคยเป็น พระยาไชยา ได้ใช้พื้นที่โรงเรียนสารพีอุทิศ เป็นที่ว่าราชการ ปกครองเมืองไชยา มาก่อน เมื่อเจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู ถึงแก่อนิจกรรม พื้นที่ดังกล่าวก็ตกมาเป็นมรดก ของ แม่สารพี(ชื่น) ซึ่งเป็นธิดา เพียงคนเดียวของ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู ต่อมา แม่สารพี(ชื่น) ได้เป็นชายา ของ พระพุทธยอดฟ้าฯ คนหนึ่ง มาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีราชธิดาองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าหญิงพนอศรี  

       ต่อมาเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในพระราชวังหลวง ที่กรุงเทพฯ แม่สารพี(ชื่น) จึงขออนุญาต นำราชธิดา เจ้าฟ้าหญิงพนอศรี เดินทางมาพักอาศัยที่เมืองไชยา ได้มาพักในพื้นที่บ้านดั้งเดิม ของ บิดา ก่อนการเดินทางมาที่เมืองไชยา พระพุทธยอดฟ้าฯ มอบทรัพย์สินส่วนหนึ่ง สั่งเสียให้นำไปฟื้นฟู วัดธารน้ำใจพระหมื่นปี บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี ที่ถูกมุสลิมทมิฬโจฬะยะไข่ เผาทำลายไป สมัยสงครามเก้าทัพ แต่ต่อมาได้เกิดไข้น้ำระบาดที่เมืองไชยา ผู้ป่วยถูกนำไปรักษาบริเวณภูเขาสุวรรณคีรี และฝังศพที่วัดธารฯ แม่สารพี ไม่สามารถ ดำเนินการตามรับสั่งได้ จนถึงแก่อนิจกรรม ทรัพย์สินต่างๆ จึงตกมาอยู่ในความครอบครอง ของ เจ้าฟ้าหญิงพะนอศรี ซึ่งมิได้สมรส กับผู้ใด

       เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ มีการปฏิรูปการศึกษา เป็นแบบตะวันตก เจ้าฟ้าหญิงพนอศรี จึงนำทรัพย์สินที่พระพุทธยอดฟ้าฯ มอบให้ และไม่สามารถรื้อฟื้นวัดธารฯ ขึ้นมาตามรับสั่งได้ นำมาสร้างโรงเรียนแห่งแรกที่เมืองไชยา ในพื้นที่บ้านพักของ หม่อมดาว ก่อนกำเนิด จ.สุราษฎร์ธานี คือ โรงเรียนสารพีอุทิศ ในปัจจุบัน นั่นเอง

 

จีนเชียงสุ่น สร้างกองทัพลับ ต่อสู้กับ อังกฤษ ที่เมืองไชยา พ.ศ.๒๔๔๕-พ.ศ.๒๔๕๒

จีนเชียงสุ่น(นายสุ่น แซ่เชียง) มีชื่อจริงว่า หยางยี่หยุ่น(นายยี่หยุ่น แซ่หยาง) เกิดที่ท่าชนะ เป็นบุตรคนที่สอง ของ สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร(ขุนหลวงประเทศ หรือ หยางฮุ่งเชี่ยน) กับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท(ทวดเครือ) เมื่อประสูติมาใหม่ๆ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระองค์เจ้าทอง หลังจากหลวงปู่ทวด(พระเจ้าตากสินฯ) มรณภาพ เกรงว่าจะถูกนำไปฆ่าทิ้ง เหมือนกับลูกหลานของ เจ้าฟ้าเหม็น จึงถูกส่งไปอยู่อาศัยที่ เมืองกวางตุ้ง ประเทศจีน ไปฝึกหัดเป็นช่างทอง ที่เมืองกวางตุ้ง ต่อมาเมื่อ พระยาคอปล้อง ถูกสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยึดกองเรือสำเภา ขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) บิดา จึงเรียกกลับมาช่วยต่อเรือสำเภาให้กับพระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) ที่อู่ต่อเรือสำเภา ที่ท่าโรงช้าง ใช้ชื่อใหม่ว่า เชียงสุ่น(นายสุ่น แซ่เชียง) หรือ นายทอง หลังจากสำเร็จภารกิจสร้างกองเรือสำเภา ก็มาเป็นช่างทอง และ เจ้าของร้านทอง ที่บ้านดอน และเป็นเจ้าของเรือสำเภาเดินทางระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศจีน จึงมีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น ขุนทอง

ชาวบ้านดอน เรียกชื่อ ขุนทอง ว่า จีนเชียงสุ่น มีกองเรือสำเภา ค้าขายระหว่างจีน กับ สยาม มีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ มีบ้านพักที่กรุงเทพฯ บริเวณวัดอนงคาราม ต่อมาเป็นผู้ได้รับสัมปทานการเดินเรือสำเภาระหว่าง สยาม กับ ประเทศจีน และระหว่าง กรุงเทพฯ กับ ภาคใต้ จีนเชียงสุ่น ได้รับสัมปทานเหมืองแร่ รังนก ป่าไม้ ตลอดชายฝั่งทะเลตะวันออก และ ฝั่งทะเลตะวันตก มีภรรยาหลายคน ภรรยาที่บ้านดอน ตั้งบ้านเรือนที่ บางใบไม้ มีร้านทอง ตั้งอยู่ตรงข้ามห้างสหไทย บ้านดอน ในปัจจุบัน มีลูกลานสืบสกุลต่อมาคือ สกุลสุทธิสุวรรณ ขณะที่ไปทำเหมืองแร่ที่เมืองถลาง เกาะภูเก็ต ได้ธิดา ของ เจ้าเมืองถลาง เป็นภรรยา มีธิดาคนหนึ่ง ต่อมาได้สมรส กับ เจ้าเมืองเกาะลังกาวี คือ พระนางมัสสุหรี ต่อมา จีนเชียงสุ่น ได้ภรรยาอีกคนหนึ่งที่เมืองไชยา ชื่อผา เป็นหลานของ เจ้าสิริบุญสาน กษัตริย์ลาว และ เป็นหลานของ พระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ไปตั้งบ้านเรือนที่ ปากน้ำท่ากระจาย แขวงเมืองท่าชนะ มีบุตรชายคนหนึ่ง คือ พระยาอนุวัฒน์ เป็นอธิบดีกรมป่าไม้ คนแรก คือสายตระกูล วนรักษ์ ในปัจจุบัน และมีธิดา อีกคนหนึ่งชื่อ สังวาล เป็น ภรรยา ของ เจ้าฟ้ามหิดล ในเวลาต่อมา

เมื่อจีนเชียงสุ่น มีฐานะดีมากขึ้น ได้ซื้อที่ดินบริเวณเมืองบ้านดอน เกือบทั้งหมด มีลูกน้องที่สำคัญ ๕ คน เป็นผู้มีบทบาทในการสร้างเมืองบ้านดอนให้เป็นเมืองที่เจริญขึ้นต่อมา ถูกเรียกว่า กลุ่ม ๕ เสือบ้านดอน ต่อมาเมื่อ พระจุลจอมเกล้าฯ สั่งให้มีการออก พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดินตามแบบอย่างตะวันตก โดยเจ้าของที่ดิน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เมื่อ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๔๕ ปี พ.ศ.๒๔๔๕ จีนเชียงสุ่น และ กลุ่ม ๕ เสือบ้านดอน ได้ร่วมกันซื้อที่ดินเพิ่มเติม และขอออกโฉนดที่ดิน ครอบครองที่ดินทั้งเมืองบ้านดอน ได้ร่วมกันสร้างเมืองบ้านดอน ให้เจริญรุ่งเรือง ขึ้นอย่างรวดเร็ว

 จีนเชียงสุ่น และ หลวงอุดุมภักดี ได้ขยายบทบาทจากการเคยสัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ เดินเรือสำเภา และรังนก มารับสัมปทานให้เป็น เจ้าภาษีฝิ่นของมณฑลชุมพร และ นครศรีธรรมราช (ในงวด ปี พ..๒๔๔๕-๒๔๔๗) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๘ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ทรงอนุญาตให้ บริษัท อีสเอเชียติก ของ ประเทศเดนมาร์ก ให้เข้ามาดำเนินกิจการป่าไม้ที่ ลุ่มแม่น้ำหลวง ไปซ้ำซ้อนกับการสัมปทาน ของ จีนเชียงสุ่น เป็นที่มาให้จีนเชียงสุ่น ผู้สูญเสียผลประโยชน์ ฟ้องร้องชาติสยาม ต่อศาลเดนมาร์ก ในที่สุดศาลได้ตัดสินให้ชาติสยาม ชดใช้ค่าเสียหายประมาณ ๕ ล้านเงินเดนมาร์ก ให้กับจีนเชียงสุ่น

เนื่องจากจีนเชียงสุ่น ทราบข่าวจากชาวเดนมาร์ก ว่า อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ได้ทำสัญญาลับลงวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๙ เพื่อแบ่งดินแดนชาติสยาม สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยชาติอังกฤษ ได้พยายามขยายดินแดนแหลมมาลายู ไปถึงแม่น้ำเพชรบุรี และเชื่อมต่อกับ ทะเลตะวันตก และดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ผลของสัญญาลับ ดังกล่าว จะทำให้ชาติสยาม ไม่มีดินแดนครอบครองหลงเหลือต่อไป ฝรั่งเศส พยายามผลักดันสัญญาลับ ดังกล่าวให้เกิดขึ้นจริง ชาวเดนมาร์ก นำเอกสารที่ฝรั่งเศส ดูถูกชาติสยาม ว่าสยามคือลูกไก่ในกำมือ ถ้าอังกฤษ ปฏิบัติตามสัญญา ชาติสยาม จะหายไปจากแผนที่โลก จีนเชียงสุ่น มีความคับแค้นใจต่อชาติอังกฤษ และ ฝรั่งเศส มาก จึงนำเงินที่ได้รับจากการชนะคดี มาซื้ออาวุธต่างๆ จากเดนมาร์ก สร้างกองทัพขึ้นอย่างลับๆ เพื่อขับไล่ อังกฤษ ออกจากดินแดนสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๘ เป็นต้นมา

จีนเชียงสุ่น ได้สร้างกองทัพเพื่อฝึกอาวุธสมัยใหม่หลายกองทัพ ขึ้นที่ บ้านดอน พุมเรียง ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง ท่ากระจาย คันธุลี หลังสวน ท่าโรงช้าง คีรีรัฐ พัทลุง พังงา ภูเก็ต แล้วส่งกองทัพไปทำสงครามกองโจร ขับไล่อังกฤษ ที่แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ จีนเชียงสุ่น ได้เสนอต่อ พระยาวรสิทธิ์เสวีวัฒน์ และ รัฐบาลกลาง ของ พระจุลจอมเกล้าเจ้าฯ ให้ร่วมสนับสนุนกองทัพของ จีนเชียงสุ่น เพื่อเตรียมทำสงครามขับไล่อังกฤษ ที่จะยึดครองดินแดนภาคใต้ของชาติสยาม แต่ถูกปฏิเสธ จีนเชียงสุ่น จึงต้องต่อต้าน พระยาวรสิทธิ์เสวีวัฒน์ และ รัฐบาลกลางสยาม ที่ไม่ยอมต่อสู้กับ อังกฤษ เพราะจะต้องเสียดินแดนภาคใต้ให้กับ ชาติอังกฤษ ในอนาคต

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๘ กองทหารของจีนเชียงสุ่น ทำการปลุกระดมเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชน เมืองไชยา บริเวณพุมเรียง ท้องที่ไชยา ท้องที่ ภูเขาแม่นางส่ง และท้องที่หลังสวน ให้ร่วมกันต่อต้านชาติอังกฤษ มีการนำประชาชนต่อต้าน พระยาวรสิทธิ์เสวีวัฒน์ และ รัฐบาลกลาง ที่ไม่ยอมต่อสู้กับ อังกฤษ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๔๖-พ.ศ.๒๔๔๘ โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ของรัฐบาลกลาง ไม่สามารถระงับเหตุการณ์ได้

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียก พระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร กลับกรุงเทพฯ เพื่อลดความรุนแรงจากกองทัพของจีนเชียงสุ่น เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระยาสุรฤทธิ์ภักดี เป็นผู้วางแผนปราบปราม กองทัพจีนเชียงสุ่น ในท้องที่พุมเรียง ไชยา ภูเขาแม่นางส่ง รวมไปถึง หลังสวน สำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ โดยให้ พระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) ไปเจรจากับจีนเชียงสุ่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน เป็นผลสำเร็จ

สาเหตุที่จีนเชียงสุ่น ยุติการสร้างกองทัพต่อสู้กับอังกฤษ เพราะพระยาคอปล้อง ให้เหตุผลว่า พระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทำสัญญาลับ กับ อังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๐ มิให้อังกฤษ ยึดครองดินแดนใต้ และให้ไว้วางใจพระจุลจอมเกล้าฯ เพราะ หลวงปู่ทวด(พระเจ้าตากสินฯ) ได้ประสูติมาในภพชาติใหม่ เป็น พระจุลจอมเกล้าฯ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของ จีนเชียงสุ่น มีความสามารถเพียงพอที่จะรักษาดินแดนสยามไว้ได้ จีนเชียงสุ่น จึงยอมส่งมอบอาวุธ ให้กับ พระยาสุรฤทธิ์ภักดี ทหารส่วนที่มิได้ส่งมอบปืนคืน จึงกลายเป็น ขบวนการอั่งยี่ ในเวลาต่อมา 

เนื่องจากจีนเชียงสุ่น มุ่งเน้นแต่การสร้างกองทัพต่อสู้กับอังกฤษ จึงใช้เงินจำนวนมาก จึงมิได้ดำเนินการจ่ายค่าสัมปทาน ตามที่ชาติสยาม กำหนด คงค้างจ่ายค่าสัมปทานไว้จำนวนมาก จึงถูกฟ้องร้อง ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ พระจุลจอมเกล้าฯ ได้ฟ้องร้อง จีนเชียงสุ่น ให้จ่ายค่าสัมปทานต่างๆ ที่คงค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการปราบปรามกองทัพจีนเชียงสุ่น ผลของคดี จีนเชียงสุ่น แพ้คดี พระจุลจอมเกล้าฯ เหตุการณ์ขณะนั้น จีนเชียงสุ่น ไม่มีเงินเพียงพอในการจ่าย จึงมีพระบรมราชโองการ สั่งยึดที่ดินของจีนเชียงสุ่น ในเมืองบ้านดอน ขายทอดตลาด ทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ จีนเชียงสุ่น จึงมีที่ดินเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อให้ลูกหลานใช้ดำรงชีพที่เมืองบ้านดอน ต่อมา

พระยาสุรฤทธิ์ภักดี เสนอต่อ พระจุลจอมเกล้าฯ ให้ลดอำนาจของ จีนเชียงสุ่น ลงมาอีก โดยมอบให้กลุ่มผู้บริหารบริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ร่วมกับ พระคลังข้างที่ ได้ตั้ง บริษัทเรือไฟไทย ทุนจำกัดเพื่อเดินเรือกลไฟจากภาคใต้ มายัง กรุงเทพฯ เพื่อตัดอำนาจของ จีนเชียงสุ่นในการเดินเรือกุลไฟ ทำให้จีนเชียงสุ่น ยากจนลงไปอีก ต้องตัดสินใจขายเรือกลไฟที่ใช้เดินทางจากบ้านดอน ไป กรุงเทพฯ และจากบ้านดอน ไปประเทศจีน เพื่อเป็นทุนรอนที่เหลือมามอบให้กับ ภรรยา ที่บ้านดอน เพื่อการเลี้ยงลูกเมีย หลังจากนั้น จีนเชียงสุ่น กลับมาตั้งรกรากที่เมืองคันธุลี

พระยาคอปล้อง เป็นผู้เสนอให้จีนเชียงสุ่น หลบหนีพรรคพวกบริวาร จากเมืองบ้านดอน ไปอยู่ที่เมืองคันธุลี แต่ยังมีพรรคพวกบริวาร ติดตามมาให้สร้างกองทัพต่อสู้กับอังกฤษ เรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๕๒ บริษัท อีสเอเชียติก จำกัด ของ อังกฤษ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเกดะ(ไทรบุรี) แคว้นกลันตัน และ แคว้นตรังกานู ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เป็นผลสำเร็จ พระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) มีศักดิ์เป็นน้า ของ จีนเชียงสุ่น ตัดสินใจให้จีนเชียงสุ่น ไปตั้งรกรากใหม่ที่เมืองนนทบุรี เพื่อหลีกหนีพรรคพวกบริวารที่จะสร้างกองทัพต่อสู้กับอังกฤษ จึงนำจีนเชียงสุ่น ไปฝากฝังไว้กับเครือญาติสายตระกูลท่านเพ็ง กับ พระยานนทบุรี ที่เมืองนนทบุรี ได้ไปสร้างร้านทองที่เมืองนนทบุรี มีอาชีพเป็นเจ้าของร้านทอง และเป็น ช่างทอง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ชู ได้นำเอาภรรยาชื่อ ผา พร้อมบุตรชายชื่อ อนุวัฒน์ และ ธิดาที่ชื่อ สังวาล ซึ่งยังเล็กอยู่ ไปเลี้ยงดูที่เมืองนนทบุรี ด้วย

       จีนเชียงสุ่น ประกอบอาชีพอยู่ที่เมืองนนทบุรี ไม่นาน ก็ได้ไปสืบทราบว่า ที่ดินดั้งเดิมของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี หยางจิ้งจง บริเวณวัดอนงคาราม ที่สืบทอดมาถึง ขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) และ จีนเชียงสุ่น ที่ยังมิได้ออกโฉนดที่ดิน ยังมิได้ถูกยึดขายทอดตลาด และยังไม่มีผู้ใดครอบครอง จีนเชียงสุ่น จึงอพยพครอบครัว จากนนทบุรี ไปตั้งรกรากใหม่ที่บริเวณ วัดอนงคาราม นายอนุวัฒน์ บุตรชายคนหนึ่ง ของ จีนเชียงสุ่น กับ ท่านผา ได้ไปเรียนที่โรงเรียน กรุงเทพคริสเตียน และได้ไปเรียนวิชาป่าไม้ กับอังกฤษ ที่พม่า เมื่อกลับมาได้เป็นอธิบดีป่าไม้คนแรก ของ สยาม ส่วน เด็กหญิงสังวาล ได้ไปศึกษาที่โรงเรียนสัตรีวิทยา ไปศึกษาวิชาพยาบาล ที่โรงพยาบาลศิริราช และได้รับทุนหลวงไปศึกษาต่อที่ สหรัฐอเมริกา ได้พบรักกับ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จนกระทั่งมีการสมรสกัน ในเวลาต่อมา.......

 

 

Visitors: 54,380