รัชกาลที่ ๕๒ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๘๔๒-๑๘๕๖

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๒ 

มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม 

กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๘๔๒-๑๘๕๖

 

ปี พ.ศ.๑๘๔๓ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อขุนรามราช สวรรคต จักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม โดยมี นายกพระยาเลอไทย เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาเลอไทย ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสุโขทัย และมี พระยาไสสงครามณรงค์ เป็น นายกพระยาไสสงครามณรงค์ เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงครหิต(คันธุลี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๕๒

ปี พ.ศ.๑๘๔๓ มหาจักรพรรดิพระยาเสือสงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ออกจาก กรุงมะละกา แคว้นมาลายู เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๘๔๔ ฮ่องเต้เฉินจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง สั่งให้ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงรุ้ง กลับคืน พระเจ้ามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ได้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ กรุงเชียงรุ้ง เพื่อทำสงคราม กับ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ณ สมภูมิ เมืองเชียงรุ้ง เป็นผลสำเร็จ และได้ร่วมกับ เมืองเชียงรุ้ง ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นยืนนาน ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามยึดครองไป อีกด้วย สงครามยืดเยื้อไปถึงปี พ.ศ.๑๘๕๔

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๘๔๔ ทหารกองโจรพื้นเมือง ของ อาณาจักรโกสมพี ทำสงครามลอบโจมตีกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ เมืองเมียนชาย กองทัพจีน เสียหายอย่างหนัก

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๓)

ปี พ.ศ.๑๘๔๖ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา ใช้เมืองมะละกา เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เข้าสู่ดินแดน อาณาจักรมาลายู และ ในปีเดียวกัน ศาสนาอิสลาม เริ่มเข้าสู่ แคว้นตรังกานู อาณาจักรมาลัยรัฐ อย่างรวดเร็ว

ปี พ.ศ.๑๘๔๖ ฮ่องเต้เฉิงจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ประกาศยุบ มณฑลเชียงเมียง และถอนกำลังออกจาก อาณาจักรศรีชาติตาลู และ อาณาจักรโกสมพี ทั้งหมด

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๔๖ พระเจ้าสอนิต(พ.ศ.๑๘๔๐-๑๘๔๖) ราชวงศ์ไทยใหญ่ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต และ พระเจ้ากัสปะ(พ.ศ.๑๘๔๖-๑๘๕๒) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงพุกาม แทนที่ ส่วน เจ้าสายสีหสุ ได้ไปปกครอง เมืองปินยา

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๔๙ พระเจ้าชัยสิงหวรมันที่ ๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ยอมเสียดินแดน ของ อาณาจักรจามปา ๒ แว่นแคว้น เหนือช่องเขาเมฆ เพื่อสมรส กับ เจ้าหญิง แห่ง จักรพรรดิยวนตรานอันตอง แห่ง อาณาจักรไตเวียต

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๔)

ปี พ.ศ.๑๘๕๐ ฮ่องเต้เฉิงจง(พ.ศ.๑๘๓๗-๑๘๕๐) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า อู่จง ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๘๕๐-๑๘๕๔) แห่ง ราชวงศ์หงวน (มองโกล) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๓

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๒)

ปี พ.ศ.๑๘๕๐ พระเจ้าชัยสิงหวรมันที่ ๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้เสด็จสวรรคต โดยมี เจ้าชายแจจี ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า พระเจ้าชัยสิงหวรมันที่ ๔ เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๔)

ปี พ.ศ.๑๘๕๐ พระเจ้าศรีนทรวรมัน แห่ง มหาอาณาจักรโจฬะ(ขอม) เมืองพระนครหลวง ได้สละราชย์สมบัติออกผนวช ให้ สมเด็จพระยุพราช ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า พระเจ้าศรีนทรชัยวรมัน จารึก กล่าวว่า...

...พระองค์(พระเจ้าศรีนทรวรมัน) ทรงสละราชสมบัติเพื่อพระยุพราช และได้เสด็จ ไปประทับในป่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๑๙)

ปี พ.ศ.๑๘๕๒ ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๘๕๐-๑๘๕๔) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ถอนทหารจีนออกจากดินแดน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู แล้วแต่งตั้งให้ พระเจ้ากะยอชวา(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๕๕) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม อีกครั้งหนึ่ง ในฐานะ ประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๕๒ พระเจ้าวิชัย(พ.ศ.๑๘๓๕-๑๘๕๒) หรือ พระเจ้ากฤตราชสะ แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา สวรรคต พระเจ้าชัยนคร(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๗๑) หรือ พระเจ้าชวา นาการา หรือ สุลต่าน กาล คาเมต ชาห์ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เป็นรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๘๕๒ พระเจ้าวิชัย(พ.ศ.๑๘๓๕-๑๘๕๒) รับสั่งให้ มุขมนตรี กาจา มาดา ซึ่งเป็นมุขมนตรี ที่สร้างความมั่นคงให้กับ อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้พยายาม ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) ของ อาณาจักรมาลายู เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มอบให้ แคว้นนครศรีธรรมราช ยกกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ออกไปถึง ๒ ครั้ง จดหมายเหตุของ หวังตายวน ซึ่งได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ เตาอีจิเหลียว ได้บันทึกตอนหนึ่งว่า...

...ชาติเสียม(สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์) ชอบประพฤติตัวเป็นโจรสลัด...เมื่อไม่นานมานี้ ชาติเสียม(สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์)  ได้ยกกองทัพเรือมาราว ๗๐ ลำ เพื่อเข้ามาโจมตี เมืองตาม้าซิก(สิงค์โป) ได้เข้าโจมตี เมืองตาม้าซิก ได้ตั้งกองทัพอยู่ที่คูเมือง ได้มีการต่อสู้กันเป็นเวลา ๑ เดือน เมืองตาม้าซิก ได้ปิดประตูเมือง เพื่อป้องกันตนเอง ชาติเสียม(สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์) ก็ไม่กล้าเข้าโจมตี...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๖)

ปี พ.ศ.๑๘๕๒ พระเจ้ากัสปะ(พ.ศ.๑๘๔๖-๑๘๕๒) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต พระเจ้าสีหสุ แห่ง กรุงปินยา ซึ่งได้รับเอา พระนางกะยอชวา(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๕๕) อัครมเหสี ของ พระเจ้ากะยอชวา มาเป็นพระชายา และ ประทับอยู่ที่ กรุงพุกาม นั้น พระเจ้าสีหสุ ได้เสนอแต่งตั้งให้ พระนางกะยอชวา(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๕๕) ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา ส่วน พระเจ้าสีหสุ นั้น พยายามสร้าง กรุงปินยา ให้เป็นราชธานี แห่งใหม่ ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู ที่แท้จริง

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๕๔ ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๘๕๐-๑๘๕๔) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า เหรินจง ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๓) ราชวงศ์หงวน (มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เป็นรัชกาลที่ ๔

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๑๒)

ปี พ.ศ.๑๘๕๔ มหาราชา พระยามังราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ เสด็จสวรรคต พระยาชัยสงคราม(พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๘) หรือ ขุนคาม หรือ ขุนคราม ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระยามังราย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ และอีก ๔ เดือนต่อมา พระยาชัยสงคราม ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่ กรุงเชียงราย ส่วน เมืองเชียงใหม่ พระยาชัยสงคราม ได้มอบให้ ท้าวแสนพู ซึ่งเป็นพระราชโอรส เป็น มหาอุปราช ผู้ปกครอง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๔๕)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๘๕๔ มหาราชาพระยาชัยสงคราม แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงราย ทำสงครามกับ พระเจ้ายี่บา แห่ง แคว้นหิรัญภุญชัย(ลำพูน) ผลของสงคราม พระยาชัยสงคราม ต้องกลับไปปกครอง แคว้นเชียราย และมอบให้ เจ้าแสนภู ปกครอง แคว้นลานนา(เชียงใหม่) ส่วนพระราชโอรสอีก ๒ พระองค์ ไปปกครอง แคว้นพิง(ฝาง) และ แคว้นเชียงของ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๔๕)

ปี พ.ศ.๑๘๕๔ มหาราชา เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า (พ.ศ.๑๘๕๔-๑๙๐๗) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๘)

ปี พ.ศ.๑๘๕๕ ขุนเครือ พระราชโอรส ของ พระยามังราย ยกกองทัพจาก เมืองนาย มาทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงใหม่ จาก พระยาแสนพู เป็นผลสำเร็จ แต่ต่อมา พระยาน้ำท่วม พระราชโอรส ของ พระยาไชยสงคราม ได้ส่งกองทัพมาช่วยเหลือ จนกระทั่ง ขุนเครือ พ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไป

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๘๕๕ พระยาไชยสงคราม(พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๘) แต่งตั้งให้ พระยาน้ำท่วม ซึ่งเป็นพระราชโอรส ไปปกครอง แคว้นเชียงตุง ส่วน แคว้นลานา เมืองเชียงใหม่ ได้แต่งตั้งให้ พระยาแสนพู เป็น มหาอุปราช เป็นผู้ปกครอง

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๘๕๕ มหาราชา พระยาไชยสงคราม(พ.ศ.๑๘๕๕-๑๘๖๘) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงราย และ แคว้นเชียงรุ้ง ซึ่งยอมยุติสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ อาณาจักรยืนนาน ได้ตกลงยอมเป็นรัฐภายใต้อารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน โดยยอมส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๘๕๕

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

(ฮันส์ เพนธ์ ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของ ลานนาไทย หน้าที่ ๒๑)

ปี พ.ศ.๑๘๕๕ พระยาอู่ทอง อภิเษกสมรสกับ พระราชธิดา ของ พระเจ้าชัยศิริ แห่ง ราชวงศ์พระร่วง-ครหิต ผู้ปกครองแคว้นจักรนารายณ์ กรุงนครชัยศรี แล้วถูกส่งไปปกครอง เมืองเพชรบุรี 

ปี พ.ศ.๑๘๕๕ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๓)แห่ง มหาอาณาจักรจีน สั่งให้ถอนทหารจีน ออกจากดินแดน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู ทั้งหมด อาณาจักรศรีชาติตาลู จึงแตกออกเป็น ๓ กลุ่มผู้มีอำนาจ คือ อาณาจักรอังวะ อาณาจักรยะไข่ และ อาณาจักรมอญ

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๕๕ พระนางกะยอชวา(พ.ศ.๑๘๕๒-๑๘๕๕) อัครมเหสี ของ พระเจ้ากะยอชวา(พ.ศ.๑๘๓๐-๑๘๔๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม และเป็น พระชายา ของ พระเจ้าสีหสุ ได้เสด็จจาก กรุงพุกาม ไปทำพิธีบรมราชาภิเษก ให้กับ พระเจ้าสีหสุ(พ.ศ.๑๘๕๕-?) ราชวงศ์ไทยใหญ่ ให้เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปินยา ราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู จึงย้ายจาก กรุงพุกาม ไปยัง กรุงปินยา เมื่อปี พ.ศ.๑๘๕๕ ด้วย

  (หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๕-๗๖)

ปี พ.ศ.๑๘๕๖ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ยกกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) แต่ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ได้ยกกองทัพมามาช่วยป้องกัน มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม ต้องถอยทัพกลับมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๔)

 

ปี พ.ศ.๑๘๕๖ มหาราชา แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา และ อาณาจักรกำพูชา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนครหลวง และ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ร่วมกัน ส่งกองทัพเข้าโจมตี กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ กรุงครหิต(คันธุลี) ผลของสงคราม เกิดการสู้รบที่ เมืองครหิต(คันธุลี) อย่างรุนแรง ชนชาติทมิฬ สามารถเผาเมืองครหิต(คันธุลี) เป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเสือสงคราม สวรรคต ในสงคราม เนื่องจากถูกเสือกัด จักรพรรดิพระยาเลอไทย จึงขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที

Visitors: 54,377