รัชกาลที่ ๖๐ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๙๒๕-๑๙๓๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๖๐

มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร 

กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๙๒๕-๑๙๓๘

 

ปี พ.ศ.๑๙๒๕ เมื่อ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จสวรรคต สมเด็จพระรามเมศวร จึงทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา สภามนตรี มีมติแต่งตั้งให้ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ซึ่งเป็น พระอนุชา ต่างมารดา เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการ ณ กรุงครหิต(คันธุลี) และมี สมเด็จพระรามราชา พระราชโอรส ของ พระราเมศวร ดำรงตำแหน่งเป็น นายก ว่าราชการ ณ กรุงศรีอยุธยา

ปี พ.ศ.๑๙๒๖ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๙๒๖ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เริ่มใช้ หนังสือเดินทาง เพื่อให้สามารถตรวจสอบ คณะราชทูตจากต่างประเทศได้โดยสะดวก ยิ่งขึ้น โดยที่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ได้พระราชทานหนังสือเดินทาง มาให้กับ มหาจักรพรรดิมหาราชาพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา เป็น ประเทศแรก ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) โปรดเกล้าให้ทำหนังสือเดินทาง ๒๐๐ ฉบับ และหนังสือคู่มือการใช้หนังสือเดินทาง อีก ๔ ฉบับ สำหรับใช้ติดต่อกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา

    (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๓)

ปี พ.ศ.๑๙๒๖ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ส่งคณะราชทูต นำพระราชสาส์น ของ ฮ่องเต้ และ เครื่องเคลือบ ไปถวายแด่ มหาราชาแห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๑๙๒๖ จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

 (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๖ บันทึก ของ แคว้นยูนนาน ในหนังสือ หยุนหนาน จีหวู้ เชาหวง ของ จางต้าน ได้ทำการบันทึกถึงเรื่องราว ของ อาณาจักรโกสมพี ว่า...

...ปีที่ ๑๖ ในรัชกาล ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง ราชวงศ์หมิง(พ.ศ.๑๙๒๖) ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) มีพระราชดำรัส กับ ฝู้อิ่งเต๋อ , หลานหวี่ และ มู่อิง แม่ทัพจีน ผู้นำกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรยูนนาน ว่า ท้องที่ ๓๖ ลู่ ของ มหาราชาเสือข่านฟ้า แต่เดิมมา ตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน ก็ได้แต่งตั้งขุนนาง เข้าปกครอง แต่ต่อมาพวกหมาน ได้เข้าครอบครองดินแดนดังกล่าวทั้งหมด เป็นเวลา ๔๐ ปี แล้ว เนื่องจาก ระยะนี้ มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า กรุงต้าลี่ และ อาณาจักรยูนนาน ไม่ถูกกัน พวกหมาน(ไทยน่านเจ้า) จึงทำสงครามรุกราน เมืองติ้งเปียน และ เมืองเวยเหยียน ๒ หัวเมืองทางทิศตะวันตก ของ เมืองฉู่ฉง มหาราชาเหลียง ไม่มีกำลังที่จะทำสงครามเอาชนะได้ ทุกวันนี้ พวกหมาน(ไทยน่านเจ้า) จึงยังคงยึดครองอยู่ ดูตามสภาพเช่นนี้ ทางอาณาจักรหยุนหนาน จักต้องพิทักษ์ป้องกันชายแดน อย่างเข้มงวดจริงจัง เรื่องจะถอนกำลังกลับมานั้น จะเร็วหรือช้า ขอให้ไตร่ตรอง โดยละเอียด รอบคอบ ควรจะรอจนกว่าจะแน่ใจว่า ไม่ต้องระวังป้องกัน กองทัพ ของ มหาราชาเสือข่านฟ้า แล้วจึงจะถอนทัพกลับได้...

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๙๒๖ มหาราชาเสือห่มฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรโกสมพี กลับคืน ผลของสงคราม สามารถยึดครองเมืองต่าง ของ อาณาจักรโกสมพี กลับคืน จากการครอบครอง ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ จำนวนมาก คือ เมืองขอน เมืองหล้า เมืองตี เมืองเครือ เมืองต้าโหว เมืองแลม เมืองติ้งเปียน ถูกยึดครองกลับคืนจากการครอบครอง ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๔)

ปี พ.ศ.๑๙๒๖ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ส่งคณะราชทูต นำพระราชสาส์น ของ ฮ่องเต้ และ เครื่องเคลือบ ไปถวายแด่ มหาราชาแห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๑๙๒๖ จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

 (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๖ สมเด็จกัมพูชาธิบดี แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นการตอบแทน เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๑๙๒๖ จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๗ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ยกกองทัพเข้ายึดครอง เมืองเชียงใหม่ ราชธานี ของ อาณาจักรลานนา ครั้งแรกตั้งค่ายรายล้อมไว้ โดยได้นำ ปืนใหญ่ ของ พระยาปืนไฟ จาก ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ไปใช้เป็นครั้งแรกด้วย กองทัพของ กรุงศรีอยุธยา ได้ใช้ปืนใหญ่ ยิงทำลายกำแพงเมือง พังไปกว้าง ๑๐ เมตร พระเจ้าเชียงใหม่(พระยากือนา) ตกใจ ต้องแสร้งยอมแพ้ มีพระราชสาส์นส่งมาว่าอีก ๗ วัน จะนำเครื่องราชบรรณาการ มาถวาย ครั้นครบ ๗ วัน พระเจ้าเชียงใหม่(พระยากือนา)(พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘) มิได้ปฏิบัติตามสัญญา สมเด็จพระรามเมศวร จึงส่งกองทัพเข้าตีเมือง สามารถยึดครองเมืองเชียงใหม่ สำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๘ พระเจ้าเชียงใหม่(พระยากือนา) (พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๗) สามารถพาครอบครัวหลบหนีไปได้ ส่วน เจ้านักสร้าง(พระยาแสนเมืองมา) พระราชโอรส ของ พระเจ้าเชียงใหม่(พระยากือนา) ยอมสวามิภักดิ์ สมเด็จพระรามเมศวร จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาแสนเมืองมา(พ.ศ.๑๙๒๗-๑๙๔๔) เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ต่อไป

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๔)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๔๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๗ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ยกกองทัพกลับจาก เมืองเชียงใหม่ มายัง เมืองพิษณุโลก เพื่อทำการนมัสการ พระพุทธชินราช และ พระพุทธชินศรี อดีต มหาจักรพรรดิ สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน พร้อมกับได้ทำการสมโภช ๗ วัน แล้วเสด็จกลับ กรุงศรีอยุธยา

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๔)

ปี พ.ศ.๑๙๒๗ สมเด็จพระรามเมศวร แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มอบให้ จักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ อพยพประชาชนจาก เมืองเชียงใหม่ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน ให้ไปตั้งรกราก ณ เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช และ เมืองจันทบูร เมืองละ ๕,๐๐๐ คน

 (กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๔)

ปี พ.ศ.๑๙๒๗ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ออกประกาศิต ให้ติดแผ่นโลหะ ไว้ที่หน้าพระราชวังหลวง โดยมีตัวอักษรจารึกไว้อย่างเด่นชัดว่า

..ห้ามขันที เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง อย่างเด็ดขาด ผู้ที่ละเมิด จะต้องได้รับการลงโทษ อย่างหนัก...

และ ก่อนที่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) จะสวรรคต ได้มีคำสั่งห้าม

...มิให้ขันที สวมเครื่องแต่งกายแบบขุนนาง ไม่ให้ขันที มียศขุนนางเกินกว่าชั้นสี่ และ ห้ามข้าราชการทุกกระทรวง ติดต่อกับขันที ด้วยหนังสือราชการ อย่างเด็ดขาด...

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๓๙)

ปี พ.ศ.๑๙๒๗ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๒๗ สมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงพระราชทานหนังสือเดินทาง ๒๐๐ ฉบับ พร้อมคู่มือการใช้ ๔ ฉบับ เพื่อใช้ในการติดต่อทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน อีกทั้งยังได้พระราชทาน ผ้าไหมมีรูป เครื่องเคลือบ และทรงรับสั่งให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งเครื่องราชบรรณาการเพียง ๓ ปี ต่อครั้ง ด้วย... 

    (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๓)

ปี พ.ศ.๑๙๒๘ มหาราชาเสือห่มฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง สามารถทำสงครามยึดครองเมืองต่าง ของ อาณาจักรโกสมพี กลับคืน เป็นผลสำเร็จ โดยเฉพาะ เมืองเชียงรุ้ง สามารถยึดครองกลับคืน เป็นผลสำเร็จ ด้วย

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๔)

ปี พ.ศ.๑๙๒๘ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา มอบให้ เจ้านครอินทร์ เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี และถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๒๘ สมเด็จพระรามเมศวร แห่ง อาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา มอบให้ เจ้านครอินทร์ เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงพระราชทาน พระราชสาส์น มาให้กับ สมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ด้วย...

    (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๒๘ สมเด็จพระรามเมศวร แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ เจ้าหลวงนัยคุณ ไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

    (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๒๘ พระเจ้าฟ้ารั่ว(มะกะโท) ราชวงศ์รามัญ แห่ง อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ สวรรคต พระเจ้าราชาธิราช (พ.ศ.๑๙๒๘-๑๙๖๖) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรรามัญ กรุงเมาะตะมะ ในรัชกาลถัดมา 

(มหาวิทยาลัยศิลปากร ผาสุก อินทราวุธ สุวรรณภูมิ จากหลักฐานโบราณคดี หน้าที่ ๙๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๘ พระเจ้าพินยาอู ราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรมอญ กรุงพะโค เสด็จสวรรคต

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๘)

ปี พ.ศ.๑๙๒๘ พระเจ้าแสนเมืองมา(พระราชโอรส ของ พระยากือนา) แห่ง ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงราย ปกครองโดย พระยาพรหมทัต ซึ่งเป็น พระเจ้าอา เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแสนเมืองมา สามารถยึดครอง พระพุทธสิหิงส์ ไปยัง กรุงเชียงใหม่ สำเร็จ ส่วน พระแก้วมรกต มีผู้นำไปซ่อนไว้ ผลของสงครามครั้งนั้น พระยาพรหมทัต เจ้าเมืองเชียงราย ต้องเดินทางไปร้องเรียนต่อ สมเด็จพระราเมศวร แห่ง กรุงศรีอยุธยา ตำนานพระแก้วมรกต บันทึกถึงเรื่องนี้ว่า...

...ครั้นอยู่มาแต่นั้นไปข้างหน้า เจ้าเมืองเชียงใหม่(พระยาแสนเมืองมา) ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ เจ้าเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นพระเจ้าอา นั้น ก็เกิดอริวิวาทกัน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอ ก็ลอบเอาไพร่พลโยธา ทะแกล้วทหารเป็นอันมาก ท่านก็ยกกองทัพขึ้นไปรบพุ่ง กับ พระยาพรหมทัต ณ สมรภูมิ เมืองเชียงราย กองทัพเมืองเชียงราย ก็แตกกระจาย ท่านก็ให้คนทั้งปวงไปเชิญ พระแก้วมรกต แล้วทำการกวาดครอบครัวผู้คนลงมาไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ท่านก็ได้สร้างปราสาทหลังหนึ่ง ไว้ในพระราชวังของท่าน แล้วก็ให้ประดับประดาไปด้วยแก้ว และ เงินคำ เป็นอันมาก...

 (นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต หน้าที่ ๙๖ และ ๑๔๑-๑๔๒)

ปี พ.ศ.๑๙๒๘ พระยามหาพรหม หรือ พระยาพรหมทัต เจ้าเมือง เมืองเชียงราย พระอนุชา ของ พระยากือนา อดีตมหาราชา แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา และสามารถหลบหนีไปได้ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๗ และเป็น พระเจ้าอา ของ พระยาแสนเมืองมา(พ.ศ.๑๙๒๗-๑๙๔๔) ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามแย่งชิง เมืองเชียงใหม่ กลับคืน แต่พ่ายแพ้สงคราม กลับไป ต่อมา พระยามหาพรหม เจ้าเมืองเชียงรายจึงร้องเรียน ขอความเป็นธรรม ไปยัง มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๔๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๙ พระยามหาพรหม หรือ พระยาพรหมทัต เจ้าเมืองเชียงราย ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ เมืองเชียงใหม่ ได้ร่วมกับ กองทัพของ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร กรุงศรีอยุธยา ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองลำปาง ผลของสงคราม พระยามหาพรหม ขัดแย้งกับ พระยาใต้(สมเด็จพระรามเมศวร) กองทัพกรุงศรีอยุธยา ต้องถอนทัพกลับไป ส่วน พระยามหาพรหม ได้ติดต่อหนีกลับไปหา พระยาแสนเมืองมา(พ.ศ.๑๙๒๗-๑๙๔๔) มหาราชา แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ต่อมา พระยาแสนเมืองมา จึงแต่งตั้งให้ พระยามหาพรหม ซึ่งเป็นพระเจ้าอา ให้เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงราย เช่นเดิม 

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๔๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๙ มหาราชาเสือห่มฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองเชียงทอง ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทราบข่าว จึงส่ง แม่ทัพ หยางต้าย่ง ไปทำสงครามปราบปราม กองทัพอาณาจักรโกสมพี ให้ต้องถอยทัพกลับไป มหาอาณาจักรจีน จึงสามารถยึดครอง เมืองเชียงทอง กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง จดหมายเหตุจีน ของ ไป๋อีจ้วน บันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๒๙ มหาราชาเสือห่มฟ้า ส่งกองทัพเข้าโจมตียึดครอง เมืองเชียงทอง เป็นผลสำเร็จ ในปีต่อมา ขุนนาง ชื่อ ท้าวเสือด่าง ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองติ้งเปียน ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) มีบัญชาให้ แม่ทัพหมู่ยิง แม่ทัพปราบปรามตะวันตก นำกองทัพไปทำลาย ท้าวเสือด่าง ถูกจับกุม และชาวเย่ ต่างยอมแพ้ ด้วยความกลัว ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงพิจารณาเห็นว่า ชาวเมืองที่อยู่ห่างไกล ไม่ควรที่จะอยู่ภายใต้กฎหมาย ของ มหาอาณาจักรจีน ตำแหน่งขุนนาง และ ระบบต่างๆ ควรให้เป็นไปตามขนบประเพณี ของ ท้องถิ่น ของ พวกเขาเอง...

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๔ และ ๑๕๕)

ปี พ.ศ.๑๙๒๙ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ ... ไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

    (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๒๙ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ส่งคณะราชทูต นำพระราชสาส์น ของ ฮ่องเต้ และ เครื่องเคลือบ ไปถวายแด่ มหาราชาแห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) และ เมืองต่างๆ จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

...วันกุ่ยเว่ย เดือน ๙ ปีที่ ๑๙ รัชศกฮุงหวู(วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๑๙๒๙) ราชสำนักจีน ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ หลิวหมิ่น และ หางจิ้ง กับข้าราชการในราชสำนัก นำเครื่องเคลือบไปยัง ราชอาณาจักรเจนละ และ เมืองอื่นๆ...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๙ พระเจ้าสวาสอแก(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๔) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงอังวะ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม พระเจ้าราชาธิราช แห่ง อาณาจักรมอญ กรุงพะโค ตามคำเชิญ ของ เจ้ามองมยา พระเชษฐา ของ พระเจ้าพินยาอู ซึ่งเสด็จสวรรคต และมีการแย่งชิงราชสมบัติขึ้น ณ อาณาจักรมอญ กรุงพะโค ผลของสงครามครั้งนั้น เกิดเป็นสงครามยืดเยื้อ เป็นเวลา ๒๐ ปี

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๘)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ ขุนศิลา(ขุน-ซู่-หลี-จิ-ลา-ฉือ-ฉือ-ตี่) ไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

   ...วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๑๙๓๐ สมเด็จพระรามเมศวร แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่งราชทูตชื่อ ขุนศิลา(ขุน-ซู่-หลี-จิ-ลา-ฉือ-ฉือ-ตี่) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ คือ พริกไทยดำ ๑๐,๐๐๐ ชั่ง ไม้ฝาง ๑๐๐,๐๐๐ ชั่ง แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงพอพระทัยอย่างมาก จึงส่ง ราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน เดินทางไปขอบพระทัย แด่ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ด้วย...

 (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๓๐ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งคณะราชทูต มายัง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา เพื่อนำพระราชสาส์น ขอบพระทัย ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู มาถวายแด่ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ พระเจ้าธรรมโศกราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๒๓-๑๙๓๐) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง ได้เสด็จสวรรคต และมี สมเด็จเจ้าพันหัวกัมพูชา(พ.ศ.๑๙๓๐-๑๙๓๗) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง ในรัชการถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ สมเด็จเจ้าพันหัวกัมพูชา(พ.ศ.๑๙๓๐-๑๙๓๗) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นช้าง ๕๙ เชือก เครื่องหอม ๖๐,๐๐๐ ชั่ง เป็นเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง และเพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๑๙๓๐ มีบันทึกว่า...

...วันยี่สื้อ เดือน ๗ ฤดูสารท ปีที่ ๒๐ รัชศก ฮุงหวู(วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๑๙๓๐) คณะราชทูต ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ที่ได้อัญเชิญพระราชสาส์น ของ ฮ่องเต้ ไปยัง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) และ คณะ ได้เดินทางกลับจาก ราชอาณาจักรเจนละ มาพร้อมกับคณะราชทูต ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ(เขมร) ซึ่งได้ส่งคณะราชทูต นำช้าง ๕๙ เชือก และ เครื่องหอม ๖๐,๐๐๐ ชั่ง มาถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) เพื่อถวายตราพระราชลัญจกร เนื้อเงินเคลือบ แสดงการแต่งตั้ง มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ให้เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๑๙๓๐ มีบันทึกว่า...

...วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๑๙๓๐ ปีที่ ๒๐ ในรัชกาล ฮ่องเต้ฮุงหวู ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ราชทูต ของ ราชสำนักจีน ออกเดินทางจากกรุงนานกิง เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๑๙๓๐ ไปยังราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) เพื่อนำตราพระราชลัญจกร เนื้อเงิน เคลือบทอง จำนวน ๑ ดวง แพรต่วนกรองทอง ๒๘ พับ แพรต่วนสีลายปัก ๑๒ พับ ไปถวายแด่ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) และได้นำแพรลายเฉียง ๑๔ พับ ไปถวายแด่ อัครมเหสี ด้วย...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ สมเด็จเจ้าพันหัวกัมพูชา(พ.ศ.๑๙๓๐-๑๙๓๗) หรือ สมเด็จพ่อพระยากัมพูชา ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นช้าง และสิ่งของพื้นเมือง เป็นเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้เดินทางถึง กรุงนานกิง เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๑๙๓๐ โดยเดินทางสวนทางกับ คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...วันยี่เว่ย เดือน ๙ ปีที่ ๒๐ รัชศก ฮุงหวู(วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๑๙๓๐) คณะราชทูต ของ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ ที่ได้อัญเชิญพระราชสาส์น ของ สมเด็จพ่อพระยากัมพูชา(ซาน-เดี่ย-ป๋า-พัน-เหย-การ-พู-เจ๋อ) เนื่องจากเป็นวันเฉลิมพระชนพรรษาได้ส่งคณะราชทูต นำช้าง ๕๙ และ สิ่งของพื้นเมือง มาถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ ทาง ฮ่องเต้ฮุงหวู โปรดเกล้าพระราชทาน แพรลายเฉียง ไหมกรองทอง เสื้อผ้า เงินทอง แด่คณะราชทูต ของ เจนละ และ เมืองอื่นๆ ตามยศถาบรรดาศักดิ์...

 (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ พระมหาธรรมราชาที่ ๒ แห่ง อาณาจักรสุโขทัย กรุงสุโขทัย ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงเชียงใหม่ กองทัพอาณาจักรลานนา พ่ายแพ้ เสียหายยับเยิน พระยาแสนเมืองมา(พ.ศ.๑๙๒๗-๑๙๔๔) มหาราชา แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ต้องถอยทัพเข้าเมืองเมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ และไม่กล้าออกมาสู้รบอีก

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๔๐)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้สถาปนา วัดภูเขาทอง ขึ้น ณ กรุงศรีอยุธยา เพื่อนำ พระบรมอัฐิธาตุ ของ อดีต มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู มาประดิษฐาน ณ วัดภูเขาทอง เนื่องจาก พระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ณ ภูเขาสุวรรณคีรี ได้ร้างไป และมิได้มีการรื้อฟื้น ขึ้นมาอีก

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๐ มีการประชุม สภามนตรี เพื่อฟื้นฟูการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง มีการเสนอให้ฟื้นฟู สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เจ้านครอินทร์ จึงพยายามเคลื่อนไหวให้เห็นว่า การขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร นั้น ไม่ชอบด้วยกฎมณเฑียรบาล จึงเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร สั่งยกเลิก สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ อีกครั้งหนึ่ง จึงเกิดความขัดแย้งในการสืบทอดราชสมบัติขึ้นมา ณ กรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย 

ปี พ.ศ.๑๙๓๑ เจ้านครอินทร์ แห่ง กรุงสุพรรณบุรี ได้ลักลอบส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง พร้อมกับมีพระราชสาส์นลับ ร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ว่า การขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระราเมศวร นั้น ไม่ชอบธรรม เจ้านครอินทร์ ขอให้ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ทรงแต่งตั้ง พระองค์ ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา และ รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่ มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๓๑ เจ้านครอินทร์ แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงละโว้ ส่ง นายเหมยโล่ เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมกับมีพระราชสาส์น ร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ว่า การขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ สมเด็จพระราเมศวร ไม่ชอบธรรม เจ้านครอินทร์ ขอให้ ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงแต่งตั้ง พระองค์ ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู และ รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่ สมเด็จพระราเมศวร ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๑ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน สิ่งของบรรณาการมี ช้าง ๓๐ เชือก และ ควาญช้าง ๖๐ คน เพื่อให้ มหาอาณาจักรจีน รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๑ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระราเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ทราบข่าวว่า เจ้านครอินทร์ ได้ส่งคณะราชทูตไปขอให้ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระราเมศวร ต้องเร่งส่งคณะราชทูต ไปชี้แจงต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ทันที มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จพระราเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ และมีพระราชสาส์น เพื่อชี้แจงแก่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ถึงเรื่องราวความขัดแย้งในการสืบทอดราชสมบัติ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ทรงพอพระทัยคำชี้แจง จึงทรงรับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ สมเด็จพระรามเมศวร ราชทูตได้ส่งเครื่องราชบรรณาการ เป็น พริกไทยดำ ๑๗,๐๐๐ ชั่ง ไม้ฝาง และ ไม้หอม จำนวนมาก ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ได้ทรงพระราชทาน เครื่องชั่งตวงวัด ตามมาตรฐาน ของ มหาอาณาจักรจีน ตามที่ สมเด็จพระราเมศวร ทูลขอพระราชทานไว้ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๑ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งคณะราชทูต นำพระบรมราชโองการไปยัง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) มีบันทึกว่า...

...วันเหรินจื่อ เดือน ๔ คิมหันตฤดู ปีที่ ๒๑ รัชศก ฮุงหวู(วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๑๙๓๑) ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง ราชสำนักจีน ได้ส่ง ต่งเซ่า เป็นราชทูต นำพระบรมราชโองการไปยัง ฮาตาฮาเจอ เจ้าเมืองจ้านเฉิง มีใจความว่า

เมื่อเดือน ๔ ปีนี้ ได้นับหนังสือกราบบังคมทูลจาก เจ้าเมืองอานหนาน ว่า เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระราชสาส์น หลิวหมิน เดินทางผ่านดินแดนจ้านเฉิง เจ้าเมืองจ้านเฉิง ให้คนปลอมตนเป็นผู้ร้าย เข้าปล้นเครื่องราชบรรณาการที่ ราชอาณาจักรเจนละ ส่งไปถวายนั้น มีช้างทั้งหมด ๕๒ เชือก ผู้ร้ายยึดปล้นไปได้ ๑ ใน ๔ และจับตัวควาญช้างไป ๑๕ คน เจ้าจงคิดให้รอบคอบ กลับใจเสียใหม่ จะได้ไม่ต้องเสียใจในภายหลัง...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๒)

ปี พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จเจ้าพันหัวกัมพูชา(พ.ศ.๑๙๓๐-๑๙๓๗) หรือ สมเด็จพ่อพระยากัมพูชา ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นช้าง เป็นเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้เดินทางถึง กรุงนานกิง เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๑๙๓๑ โดยได้มีพระราชสาส์น ขอบพระทัย ต่อ ฮ่องเต้ ด้วย มีบันทึกว่า...

...วันปิ่งซุ เดือน ๙ ปีที่ ๒๑ รัชศก ฮุงหวู(วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๑๙๓๑) มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ พระนาม สมเด็จพ่อพระยากัมพูชา(ซาน-เดี่ย-ป๋า-พัน-เหย-การ-พู-เจ๋อ) ได้ส่งคณะราชทูต ชื่อ นายหมาวหลี่ และ คณะ นำช้าง ๒๘ เชือก ควาญช้าง ๓๔ คน ตะพุ่น ๔๕ คน มาถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ และกราบบังคมทูล ขอบพระทัย ที่ได้โปรดเกล้าพระราชทานตราตั้ง ทาง ฮ่องเต้ฮุงหวู โปรดเกล้าพระราชทาน เสื้อผ้า เงินทอง แด่คณะราชทูต ของ เจนละ ตามยศถาบรรดาศักดิ์...

 (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๒)

ปี พ.ศ.๑๙๓๑ เกิดสงครามระหว่าง มหาราชาเจ้าเสือห่มฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง กับ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ เมืองติ้งเปียน กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ได้นำ อาวุธปืน มาใช้ในการทำสงครามกับ กองทัพไทยใหญ่ แห่งอาณาจักรโกสมพี ซึ่งใช้เพียงศรธนู และ หอกดาบ ผลของสงคราม กองทัพไทยใหญ่ พ่ายแพ้สงคราม อย่างยับเยิน ข้าหลวง ของ มณฑลยูนนาน ได้บันทึกเรื่องราวของสงครามครั้งนี้ ว่า...

...ศก ฮุงหวู เดือน ๓ ปีที่ ๒๑ (พ.ศ.๑๙๓๑) ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้คัดเลือกทหารเก่งกล้า จำนวน ๓๐,๐๐๐ คน ไปรับศึก กองทัพของ มหาราชาเจ้าเสือห่มฟ้า ณ สมรภูมิ เมืองติ้งเปียน ทหารราชวงศ์หมิง ประจำ มณฑลยูนนาน ใช้ธนูยิงใส่กัน ต่างก็ตะโกนทำลายขวัญใส่กัน ช้างศึกส่วนมากบาดเจ็บ ทหารไทย ส่วนมากถูกธนู ทำให้กำลังสู้รบ อ่อนแอลง วันต่อมา แม่ทัพหมู่อิง แม่ทัพราชวงศ์หมิง แห่ง มณฑลยูนนาน ได้นำกองทัพ ออกศึกด้วยตนเอง เขาอยู่ในสนามรบ จัดวางปืนไฟ หลายแห่ง และยิงธนูสลับกัน ทำให้ช้าศึกบาดเจ็บวิ่งหนีไป กองทัพ ของ มหาราชาเจ้าเสือห่มฟ้า เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ค่ายถูกทำลาย ทหารถูกตัดศีรษะ ๓๐,๐๐๐ คน ตกเป็นเชลยศึก ๖๐,๐๐๐ คน ยึดช้าศึกได้ ๔๗ เชือก มหาราชาเสือห่มฟ้า สามารถหลบหนีไปได้ แม่ทัพนายกอง ถูกจับกุม ๑๓๗ คน ข่าวชัยชนะครั้งนั้น แพร่สะพัดไปทั่ว... 

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๓๒ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ  กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา พระเจ้าหลานเธอ และ ราชบุตรเขย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๙๓๒ เจ้าชายปรเมศวร ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ พระราชบุตรเขย ของ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ  กรุงจากาต้า เกาะชวา จากมเหสี เชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ซึ่งได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิง แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ได้ทำการก่อกบฏ เข้ายึดอำนาจจาก พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา สมารถลอบปลงพระชนม์ สวรรคต แต่ถูกต่อต้านจาก เจ้าชายยังวิสยา ได้นำทหารมาขัดขวาง การยึดอำนาจจึงไม่สำเร็จ เจ้าชายปรเมศวร จึงต้องได้หลบหนีไปยัง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) อาณาจักรมาลัยรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ซึ่งปกครองโดย พระยาสิงห์โพธิ์ ราชบุตรเขยของ เจ้าพระยาศรีราชา(พ่อพระยาปืนไฟ) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๓๒ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๙๓๒ จักรพรรดิแจบองอ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย และ กรุงฮานอย อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม กองทัพของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) พ่ายแพ้สงครามที่ ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย กองทัพของ จักรพรรดิแจบองอ ถูกล้อม และถูกฆ่าในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๙๓๒ กองทัพ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ต้องถอยทัพกลับ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๓๒ เมื่อ จักรพรรดิแจบองอ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สวรรคต ในสงคราม ขุนพลลาไข ได้แย่งชิงราชย์สมบัติจาก พระราชโอรส ของ จักรพรรดิแจบองอ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรจามปา มีพระนามใหม่ว่า ชัยสิงหวรมันที่ ๕ ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๓๔ พระยาแสนเมืองมา(พ.ศ.๑๙๒๗-๑๙๔๔) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ได้สร้างพระธาตุเจดีหลวง ณ วัดพระธาตุหิรัญภุญชัย โดยใช้แผ่นทองคำหนัก ๒๕๒ กิโลกรัม มาใช้หุ้ม พระธาตุเจดีย์

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๓๔ ฮ่องเต้ฮุงหวู(หงอู่) (พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มอบให้ แม่ทัพสุยโต๊ะ เข้าทำการกวาดล้างกองทัพมองโกล ผลของสงคราม กองทัพของ ฮ่องเต้ฮุงหวู สามารถทำสงครามเข้ายึดครอง กรุงฮามี ราชธานี ของ อาณาจักรมองโกล ในดินแดนเอชียกลาง เป็นผลสำเร็จ

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๒๖-๔๒๗)

ปี พ.ศ.๑๙๓๕ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง สามารถสร้างกองทหารประจำการ จำนวนมากถึง ๑,๒๐๐,๐๐๐ คน มีความสามารถในการสู้รบเหนือชาติต่างๆ ส่วนราชการ กระทรวงต่างๆ ประกอบด้วย ๕ กระทรวง คือ กระทรวงข้าราชการพลเรือน กระทรวงสรรพากร กระทรวงพิธีการ กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงยุติธรรม  ในส่วนของ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยกองบัญชาการ ๕ กองบัญชาการ คือ กองบัญชาการซ้าย กองบัญชาการขวา กองบัญชาการกลาง กองบัญชาการหน้า และ กองบัญชาการหลัง ไม่นับทหารรักษาพระองค์ กองทหารต้องจัดกำพลส่วนหนึ่ง เพื่อทำการผลิต เลี้ยงตนเอง ด้วย

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๒๗ และ ๔๓๑)

ปี พ.ศ.๑๙๓๕ ราชวงศ์ด้ำพงศ์กาว แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ได้ขึ้นปกครองราชย์สมบัติ เป็นผู้ปกครอง แคว้นกาวเทศ(น่าน)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๙๓๕ เกิดพิธีสาบาน ระหว่าง ปู่ คือ พระยาน่าน ราชวงศ์ด้ำพงศ์กาว แห่ง แคว้นกาวเทศ(น่าน) กับ หลาน คือ พระมหาธรรมราชาที่ ๒(พ.ศ.๑๙๑๗-๑๙๔๒) หรือ พระยาสุโขทัย แห่ง ราชอาณาจักรสุโขทัย กรุงสุโขทัย ว่าจะร่วมทำสงครามกับข้าศึก

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๙๑)

ปี พ.ศ.๑๙๓๖ พระเจ้าสวาสอแก(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๔) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ มอบให้ เจ้าเมืองยะเมติน ส่งกองทัพเข้าทำสงครามกับ อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง ผลของสงคราม อาณาจักรโกสมพี เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๘)

ปี พ.ศ.๑๙๓๖ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่ง นายหลีซานชิ เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๖ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระราเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่ง นายเมาเกา เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๖ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระราเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตอีก ๑ คณะ ไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๙๓๖ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

 ...ปี พ.ศ.๑๙๓๖ มีคณะราชทูตจาก อาณาจักรชวาตะวันตก(อาณาจักรมัชปาหิ) กรุงจากาต้า ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) เป็นไข่มุก และพริกไทย เป็นเครื่องราชบรรณาการ...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๙๓๖ จักรพรรดิศรีสุรินทรารักษ์ กรุงครหิต(คันธุลี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา นำกองทัพร่วมกับกองทัพของ อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามโจมตียึดครอง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง กลับคืน ผลของสงคราม กองทัพ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีอยุธยา ได้ทำการปิดล้อมราชธานี เมืองพระนครหลวง อยู่ ๑ ปี ก็สามารถยึดครอง อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง กลับคืน เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๗ สมเด็จเจ้าพันหัว(พ.ศ.๑๙๓๐-๑๙๓๗) มหาราชา แห่ง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง สามารถหลบหนีไปได้

ปี พ.ศ.๑๙๓๗ จักรพรรดิศรีสุรินทรารักษ์ กรุงครหิต(คันธุลี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระอินทราชา(พ.ศ.๑๙๓๖-๑๙๔๗ ซึ่งเป็นพระราชโอรส เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง  ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

ปี พ.ศ.๑๙๓๗ จักรพรรดิพระยาปืนไฟ กรุงครหิต(คันธุลี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองพระนครหลวง ของ ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงพระนครหลวง กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าพันหัวกัมพูชา(พ.ศ.๑๙๓๐-๑๙๓๗) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ สามารถหลบหนีไปยังดินแดน ของ อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ดั้งเดิม หลังจากนั้น พระอินทราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๓๗-๑๙๔๗) พระราชโอรส ของ จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ จึงขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรกัมพูชา กรุงพระนครหลวง ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑-๒๒๒)

ปี พ.ศ.๑๙๓๗ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา แห่ง ราชอาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

 ...ปี พ.ศ.๑๙๓๗ มีคณะราชทูตจาก ราชอาณาจักรชวาตะวันตก(อาณาจักรมัชปาหิ) กรุงจากาต้า ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) เป็นไข่มุก และพริกไทย เป็นเครื่องราชบรรณาการ...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๙๓๘ มหาจักรพรรดิสมเด็จพระรามเมศวร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา เสด็จสวรรคต พระราชโอรส คือ มหาอุปราช สมเด็จพระรามราชา ได้ยกกองทัพมาจาก เมืองลพบุรี เพื่ออ้างสิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์สมบัติ มิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ

 

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๕)

 

 

 

 

Visitors: 54,282