รัชกาลที่ ๖๗ สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๙๕๒-๑๙๕๕

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๖ 

สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) 

กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๙๕๒-๑๙๕๕

 

-ในรัชกาลที่ ๕๖ มีกษัตริย์ครองราชสมบัติ ๒ พระองค์พร้อมกัน คือ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์และสมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์)จึงใช้เนื้อหาสาระเดียวกัน



     ปี พ.ศ.๑๙๕๒ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ได้ย้ายราชธานี ไปยัง กรุงสานโพธิ์(ไชยา) อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๙๕๒ เดือน ๑๐ สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งราชทูตไทย ชื่อ เหวินคุณ เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...เดือน ๑๐ ปี พ.ศ.๑๙๕๒ เมื่อ สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ส่ง คุณเหวิน เป็นราชทูต เพื่อมีพระราชสาส์นถึง ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน แจ้งถึงชัยชนะ ของ พระองค์ ต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้  ทางฮ่องเต้ ได้มีพระบรมราชโองการถึง เจ้านครอินทร์ แต่งตั้งให้เป็น สมเด็จพระอินทราธิราช(เจ้านครอินทร์) แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ ฮ่องเต้หยุงโล้ มีพระราชสาส์น แจ้งว่า ได้ทรงแต่งตั้งขุนนางจีน ชื่อ เส็ง-ฉาว-เสียม ให้เป็นตัวแทน เดินทางไปยัง อาณาจักรหลอหู เพื่อนำตัว โฮ-บ๋า-กวน และพรรคพวก ซึ่งได้ก่ออาชญากรรม ต่อ มหาอาณาจักรจีน และได้หลบหนีมายัง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เพื่อนำกลับไปลงโทษ ณ ดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง...

  (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๕๓ พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ รับสั่งให้ แม่ทัพ มังกยอชวา พระราชโอรส ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรมอญ กรุงพะโค(หงสาวดี) ณ สมรภูมิ ปากแม่น้ำอิราวดี แต่ถูกต่อต้านจากกองทัพมอญ อย่างรุนแรง

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๓ แม่ทัพมังกยอชวา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ ยกกองทัพเรือ จาก ปากแม่น้ำอิราวดี เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นยะไข่ กลับคืนจากการเป็นรัฐภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรมอญ กรุงพะโค(หงสาวดี) เป็นเหตุให้ เจ้าเมืองยะไข่ ต้องหนีไปยังดินแดน แคว้นแบงกอล แม่ทัพมังกยอชวา จึงแบ่ง แคว้นยะไข่ ออกเป็นสองส่วน แล้วส่งข้าหลวง ไปปกครอง ขึ้นกับ ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ แทนที่

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๓ สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งคณะราชทูตชาวจีน ชื่อ เส็ง-ฉาว-เสียม(ชาวเสียม แซ่เส็ง) เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่(เจ้านครอินทร์) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ทรงปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู อย่างเคร่งครัด โดยได้แต่งตั้งชาวจีน ชื่อ เส็ง-ชาว-เสียม(ชาวเสียม แซ่เส็ง) เป็นราชทูต นำ โฮ บ๋ากวน และพรรคพวก เดินทางกลับไปยัง มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้หยุงโล้ ทรงพอพระทัยมาก ทรงรับสั่งให้จางหยวน ประทานรางวัลให้แก่ราชทูต และ ผู้ติดตาม ด้วย...

  (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๑)

ปี พ.ศ.๑๙๕๓ กองเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว เดินทางต่อมาเพื่อเข้ามาทำสงครามขับไล่ พระยามะละกาไทย กษัตริย์ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ผู้ปกครอง แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ พร้อมกับเชิญ พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์ทมิฬ ให้เข้าปกครอง แคว้นมะละกา(แมนจูเจ้ากัว) อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น กองทัพเรือใหญ่ ของ นายพลเจิ้งหัว ได้เดินทางไปกดดัน อาณาจักรศรีลังกา ต่อไป อีกครั้งหนึ่ง

  (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๑)

ปี พ.ศ.๑๙๕๓ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรโกสมพี ซึ่งปกครองโดย มหาราชา เจ้าเสือชี้ฟ้า (พ.ศ.๑๙๔๘-๑๙๖๑) อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง โดย มหาราชาเจ้าเสือชี้ฟ้า ได้ส่งกองทัพเข้าต่อสู้กับ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ทหาร ของ มหาอาณาจักรจีน บาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก แต่ต่อมา พระเจ้ามังฆ้อง แห่ง ประเทศพม่า กรุงตองอู ได้สมคบกับ มหาอาณาจักรจีน สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองมาวหลวง ราชธานี ของ อาณาจักรโกสมพี เป็นผลสำเร็จ เมืองมาวหลวง ถูกกองทัพจีน เผาทำลายเสียหายยับเยิน

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๕-๑๒๖)

ปี พ.ศ.๑๙๕๔ กองทัพเรือใหญ่ ของ นายพลเจิ้งหัว ได้เดินทางไปกดดัน อาณาจักรศรีลังกา โดยที่ มหาราชาอาเลียต กูไนระ ได้ลวงให้ นายพลเจิ้งหัว เดินเรือเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ เพื่อเข้าปล้นสะดม ยึดทองคำ และ ผ้าแพรไหม นายพลเจิ้งหัว จึงสั่งให้ทหารทำการต่อสู้ สามารถจับกุม มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีลังกา และ ราชวงศ์ไว้ได้ นำไปเป็นเชลยศึกกลับไปยัง มหาอาณาจักรจีน ต่อมา ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ได้ให้อภัยโทษ ต่อ มหาราชา ของ อาณาจักรศรีลังกา ให้เดินทางกลับไปปกครอง อาณาจักรศรีลังกา อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๙๕๔ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา ประเทศภายใต้การคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน โดยที่ พระเจ้าปรเมศวร เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เอง ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับ นำลูกเมีย เดินทางไปด้วย มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๕๔ สมเด็จพระอินทราธิราช(เจ้านครอินทร์) แห่ง อาณาหลอหู กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๕๔ สมเด็จพระอินทราธิราช(เจ้านครอินทร์) แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการให้กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน...

     (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๑)

ปี พ.ศ.๑๙๕๔ นายพลเจิ้งหัว ส่งกองทัพจาก อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา เข้ากดดัน พระยาตาหลวงเสนี(พาลา-มิ-โส-ลา-ตา-โล-สินี) แห่ง แคว้นปาหัง อาณาจักรมาลัยรัฐ ซึ่งช่วยส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา ให้เป็นรัฐภายใต้อารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นเหตุให้ พระยาตาหลวงเสนี ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตามที่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) มีบัญชามา มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๙๕๔ นายพลเจิ้งหัว ส่งกองทัพเรือ จาก อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา เข้าทำสงครามปราบปรามกองโจร อาณาจักรไตเวียต เพื่อยึดครองดินแดน ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ทางภาคเหนือ แล้วนำมาเป็น มณฑลเกียวฉี(เวียตนามเหนือ) ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น นายพลเจิ้งหัว ได้นำกองเรือ เดินทางกลับดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ พระเจ้าราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๒๘-๑๙๖๖) แห่ง อาณาจักรหงสาวดี กรุงพะโค ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองแปร ของ ราชอาณาจักรผัวหมา อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) แห่ง ราชอาณาจักรผัวหมา กรุงอังวะ ได้ยกกองทัพเรือ และมอบให้ มหาอุปราช มังรากยอชวา ยกกองทัพบก ไปทำสงครามขับไล่กองทัพมอญ ณ สมรภูมิ เมืองแปร ผลของสงคราม กองทัพมอญ พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิง พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) เกือบได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด แต่ต้องรีบถอยทัพกลับ เพราะทราบข่าวว่า พระเจ้าสอบอ แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี กรุงอังวะ และกำลังยกกองทัพมาใกล้ กรุงอังวะ ผลของสงคราม กองทัพ ของ อาณาจักรโกสมพี ถอยทัพกลับ เพราะทราบว่า พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) สั่งกองทัพต่างๆ มาต่อต้าน

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง รับสั่งให้ นายพลเจิ้งหัว ออกปฏิบัติการครั้งใหม่ คือ ปฏิบัติการครั้งที่ ๓(พ.ศ.๑๙๕๕-๑๙๕๘) โดยที่ นายพลเจิ้งหัว ได้รับคำสั่งให้ ส่งกองทัพเรือใหญ่ เข้ามาทำสงครามยึดครอง กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ นายพลเจิ้งหัว ส่งกองทัพเรือ เข้าทำสงครามสามารถทำสงครามปราบปราม มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เกิดการสู้รบตลอดแนวดินแดนชายฝั่งทะเลภาคใต้ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ จนกระทั่ง นายพลเจิ้งหัว สามารถนำกองทัพเข้าโจมตี ราชธานีกรุงสานโพธิ์ แตก สามารถจับกุม มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ เป็นเชลยศึก นำไปยังกรุงนานกิง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕ บันทึกของ นักประวัติศาสตร์ชาวจีน ชื่อ ฉีหยวน(พ.ศ.๒๑๐๘-๒๑๗๑) ได้ทำการบันทึกเรื่องนี้ว่า...

...นายทหาร นายธง พลทหาร ข้าราชการ เจ้าพนักงานซื้อของ และ เสมียน รวมทั้งสิ้น ๒๗,๘๗๐ คน เรือทั้งสิ้น ๖๓ ลำ ลำใหญ่ที่สุดยาว ๔๔๔ ศอก กว้าง ๑๘๐ ศอก เรือลำขนาดกลางยาว ๓๗๐ ศอก กว้าง ๑๕๐ ศอก...ภารกิจ ครั้งที่สามนี้ นายพลเจิ้งหัว สามารถจับกุม มหาจักรพรรดิ(มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) นำมายัง กรุงนานกิง เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕ และนำเดินทางไปยัง กรุงนานกิง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕... 

     (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๑)

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๖)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์(พระจักรพรรดิ) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ซึ่งมีพระชนมายุประมาณ ๘๙ พรรษา ถูกกองทัพของ นายพลเจิ้งหัว จับเป็นเชลยศึก ถูกนำไปยัง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่วนพระราชโอรส คือ พระยาตากร้อ และพระเจ้าหลานเธอ คือ พระยาแผลด สามารถหลบหนีไปได้ เป็นเหตุให้ อาณาจักรเสียม และ อาณาจักรมาลัยรัฐ ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ของ อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา เรียกว่า ราชอาณาจักรเสียม-หลอ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๕๕ เป็นต้นมา

     (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๑)

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๖)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ สมเด็จพระอินทราธิราช(เจ้านครอินทร์) ทำการกวาดต้อนเชลยศึก เมืองสานโพธิ์(ไชยา) ทำการรื้อถอน กำแพงเมือง พระราชวังศรีเวียงชัย และ พระราชวัง ภูเขาสุวรรณคีรี เพื่อนำอิฐดินเผาไปใช้ก่อสร้างกำแพงเมือง ราชธานี กรุงศรีอยุธยา ท่ามกลางความไม่พอใจ ของ ประชาชน ในราชธานี กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ ประชาชนชาวเมืองสานโพธิ์(ไชยา) และ เชื้อสายราชวงศ์อาณาจักรเสียม ร่วมกันทำพิธีสาปแช่ง อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ที่รื้อถอน กำแพงเมือง ด้วยการลงอักขระขอม ลงในอิฐดินเผา สาปแช่งให้ราชวงศ์ผู้นำอิฐไปใช้ ให้เต็มไปด้วยความแยก ตามคำสาปแช่ง จนกว่าจะไปรื้อฟื้น กำแพงเมือง พระราชวังศรีเวียงชัย และ พระราชวังอื่นๆ กลับคืน จึงจะพ้นคำสาป 

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ ทหารจีน ชื่อ เฟ่ยสิน ซึ่งเดินทางมาทำสงครามยึดครองดินแดนต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม พร้อมกับกองทัพของ นายพลเจิ้งหัว ตามคำสั่งของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) และได้เดินทางผ่านมาที่ อาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) หลังจากที่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรละโว้ และถูกนำไปรวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า ราชอาณาจักรเสียม-หลอ หรือ ประเทศเสียม-หลอ แล้ว ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๕๕-๑๙๕๗ และอีกช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ.๑๙๕๘-๑๙๖๑ เฟ่ยสิน ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) อดีตราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) หลังจากถูกยึดครองราชย์ธานี ไว้ด้วย ระหว่างการเดินทางสำรวจอาณาจักรต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรเสียม คือดินแดนระหว่างดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน กับดินแดน อาณาจักรเบงกอล เรียกกันว่า จดหมายเหตุ ของ เฟ่ยสิน มีบันทึกเกี่ยวกับ อาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ ว่า...

...จาก จามปา(เวียตนามใต้) ถ้ามีลมดี จะสามารถเดินทางถึง อาณาจักรเสียม ภายใน ๑๐ วัน ภูมิประเทศ ของ อาณาจักรเสียมพบเห็นเทือกเขาสูง บริเวณชายฝั่งทะเล มีหน้าผาหินสีขาว ขรุขระ ตลอดแนวชายฝั่งทะเลของ อาณาจักรเสียม ซึ่งยาวประมาณ ๑,๐๐๐ ลี้ จากเนินเขาด้านในแผ่นดิน ที่อยู่ห่างไกลออกไป จะเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์ พืชผลงอกงาม อากาศมักจะร้อน ตลอดทั้งปี

ก่อนหน้านี้ ประชาชนใน อาณาจักรเสียม จะยกย่องผู้มีอำนาจ และยกย่องความกล้าหาญส่วนบุคคล อาณาจักรเสียม ชอบทำสงครามเข้าโจมตี อาณาจักรข้างเคียงที่กระด้างกระเดื่อง อาวุธศรธนู ทำด้วยไม้ไผ่แหลมอาบยาพิษ ใช้หนังควาย มาทำโล่ และยังมีอาวุธอื่นๆ อีกมากมาย ประชาชนชอบ และมีความเชี่ยวชาญในการทำสงครามทางทะเล โดยเฉพาะ

ประชาชน ทั้งผู้ชาย และ ผู้หญิง เกล้าผมไว้เป็นมวย และคาดด้วยผ้าฝ้ายโพกศีรษะ สีขาว ชอบสวมเสื้อยาว และคาดพุงด้วย ผ้าขาวม้า สลับสีขาว

ก่อนที่ผู้ชายจะตกลงทำการใดๆ โดยไม่เกิดปัญหายุงยากขึ้นภายหลังนั้น จะต้องปรึกษากับภรรยา โดยเฉพาะในเรื่องกิจการทางธุรกิจ แทบทุกเรื่อง ทหารจีน ชอบหญิงสาวชาวเสียม มาก(หลังจาก กรุงสานโพธิ์ ถูกยึดครอง) เมื่อพวกหล่อนมีงานรื่นเริง ทหารจีน จะมาร่วมงาน สนุกสนานกับพวกหล่อน ด้วย จนถึงดึกดื่น และพวกหล่อนที่เป็นหญิงหม้าย จะขอหลับนอน ขอร่วมเพศด้วยกับ พวกหล่อนชอบทหารจีน มาก

มีผู้หญิงอีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นแม่ม่าย เนื่องจากสงคราม ที่บวชเป็นแม่ชีในพระพุทธศาสนา แม่ชีจะทำการสวดมนต์ และทำพิธีปลงอาบัติ ด้วย สีเครื่องนุ่งห่ม ของ แม่ชี คลายคลึงกับของแม่ชีในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน แม่ชีจะทำการก่อสร้างสิ่งสำคัญทางพระพุทธศาสนา หลายอย่าง ด้วย

  ประชาชนที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เมืองราชธานี ของ อาณาจักรเสียม มีพิธีไว้ทุกข์ที่เข้มงวดมากที่สุด ถ้าหากว่า มีผู้ใดผู้หนึ่งในครอบครัวสิ้นใจตายไป พวกเขาจะกรอกปรอทลงในร่างศพ เพื่อที่จะรักษาศพไว้มิให้เน่าเปื่อย และทำพิธีทางศาสนา ต่อมาพวกเขาจะหาที่ดินบนเนินสูง เพื่อใช้เป็นที่ฝังศพไว้

ประชาชนในกรุงสานโพธิ์(ไชยา) ของ อาณาจักรเสียม จะหมักเข้าเหนียวไว้ทำเหล้า และต้มน้ำทะเล เพื่อทำเกลือ สินค้าสำคัญ ของ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) แห่ง อาณาจักรเสียม คือ ไม้ต่างๆ ที่มีกลิ่นหอม น้ำมันที่ทำจากเมล็ดลูกกระเบา ไม้ฝาง นอแรด งาช้าง ขนนกกระเต็น ขี้ผึ้ง พวกเขาใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตรา อัตราแลกเปลี่ยน ๑๐,๐๐๐ เบี้ย เท่ากับ ๒๐ ตำลึงจีน ของ เงินกระดาษจีน

สินค้าต่างชาติ ที่มีขายในราชธานี กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ของ อาณาจักรเสียม มี ถ้วยชามจีน สีฟ้า และ สีขาว ผ้าดอกสีต่างๆ สำหรับการใช้หุ้มเก้าอี้ ผ้าไหมสีอ่อน ผ้าต่วนสี ทองคำ เงิน ทองแดง เหล็ก ปรอท ลูกปัด และ เหรียญทองคำ

ผู้ปกครอง(ใหม่) ของ อาณาจักรเสียม-หลอ(เจ้านครอินทร์) ชื่นชมในพระกรุณาธิคุณ อันหาที่เปรียบมิได้ จากราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน จึงทรงส่งคณะราชทูต มายังราชสำนักจีน พร้อมกับถ้อยคำที่จารึกบนแผ่นทองคำ พร้อมกับเครื่องราชบรรณาการ อย่างสม่ำเสมอ...

        (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๒๗ และ ๑๗๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา เพื่อนำตราตั้งมาแต่งตั้งเจ้านครอินทร์ ให้เป็นผู้ปกครอง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู มีบันทึกว่า...

     (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๑)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ นายพลเจิ้งหัว นำกองทัพเรือใหญ่ เข้าแวะที่ แคว้นปาหัง ซึ่งไม่ยอมขึ้นต่อ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี และ อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ สมเด็จพระอินทราธิราช(เจ้านครอินทร์) แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งรัชทายาท เดินทางไปพร้อมกับ คณะราชทูต เพื่อเดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๕๕ สมเด็จพระอินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูต พร้อมรัชทายาท เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทรงมีรับสั่งให้ ขันที ฮุงเบ๋า นำรัชทายาท ที่เป็นเชลยศึก กลับคืนไปยัง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ด้วย...

     (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๑)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ นายพลเจิ้งหัว นำกองทัพเรือใหญ่ เข้าแวะที่ แคว้นลี้ไทย เกาะสุมาตรา อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ หนังสือยิงไยเชงลาน ได้ทำการบันทึกเกี่ยวกับ แคว้นลี้ไทย เกาะสุมาตรา ว่า...

...แคว้นลี้ไทย(ลิไท) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ แคว้นนาคุระ ทิศใต้เป็นเทือกเขา ทิศเหนือติดต่อทะเล ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แคว้นแลมบริ มีประชากรประมาณ ๒,๐๐๐ ครอบครัว เจ้าเมืองไทยลี้ มาจากการเลือกตั้ง มีภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ต่างๆ คล้ายคลึงกับ เมืองสมุทร และเป็นแคว้นที่ขึ้นต่อ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร เกาะสุมาตรา

บนภูเขา ของ แคว้นลี้ไทย มีแรดมาก เจ้าเมืองจะสั่งให้ประชาชนร่มกันไปล่าแรด เพื่อเอานอแรด ไปใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับ มหาราชา อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร...   

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๙)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ นายพลเจิ้งหัว นำกองทัพเรือใหญ่ เข้าแวะที่ แคว้นนาคุระ(แคว้นคนหน้าลาย) เกาะสุมาตรา อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ หนังสือยิงไยเชงลาน ได้ทำการบันทึกเกี่ยวกับ แคว้นนาคุระ เกาะสุมาตรา ว่า...

...แคว้นนาคุระ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ เกาะสุมาตรา ประกอบด้วยหมู่บ้านตั้งอยู่กลางหุบเขา ประชาชนในแคว้นนี้ ชอบสักหน้าเป็นสีเขียว ๓ จุด จึงถูกเรียกว่า แคว้นหน้าลาย

แคว้นนาคุระ มีประชาชนประมาณ ๑,๐๐๐ ครัวเรือน อยู่กันกลางหุบเขาที่คับแคบ หากินด้วยการปลูกข้าวไร่ ให้ผลผลิต ไม่มาก มีการเลี้ยงหมู แพะ เป็ด ไก่ ที่นี่ คนเข้มแข็ง จะไม่รังแกคนที่อ่อนแอกว่า คนชั้นสูง ไม่เอาเปรียบคนชั้นต่ำ คนร่ำรวย ไม่ดูถูกคนยากจน และ คนจนก็ไม่นิยมลักขโมย ภาษาที่ใช้ และกริยามารยาท เหมือนกับประชาชนในแคว้นสมุทร

แม้ว่า จะเป็นแว่นแคว้นกลางหุบเขา พระราชา ของ แคว้นนาคุระ ก็ได้รับของพระราชทานจาก ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๘-๑๐๙)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ นายพลเจิ้งหัว นำกองทัพเรือใหญ่ เข้าแวะที่ แคว้นอะรู เกาะสุมาตรา อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ หนังสือยิงไยเชงลาน ได้ทำการบันทึกเกี่ยวกับ แคว้นอะรู เกาะสุมาตรา ว่า...

...แคว้นอะรู เกาะสุมาตรา ตั้งอยู่บนที่ราบ ทางทิศตะวันตก ของ เกาะสุมาตรา ดินเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวไร่ ข้าวมีเมล็ดเล็ก แต่ก็ปลูกได้พอกิน ประชาชนชาวแคว้นอะรู มีอาชีพทำกสิกรรม และ ทำการประมง มีสัตว์เลี้ยง คือ วัวควาย แพะ เป็ดไก่ จำนวนมาก ประชาชนนิยมดื่มนม กันมาก

พระราชา และ ประชาชน ในแคว้นอะรู นับถือศาสนาอิสลาม มีกริยามารยาท และ ขนบธรรมเนียมประเพณีบริสุทธิ์ พิธีการแต่งงาน และ พิธีศพ คล้ายคลึงกับ ประชาชนในเกาะชวา และ มะละกา ประชาชนยากจน ไม่นิยมสินค้า ของ ชาวต่างประเทศ  

เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๔ พระราชามีพระนามว่า ซูลู ตังฮุดชิน ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ตามพระราชบัญชา ของ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ต่อมาในปี พ.ศ.๑๙๕๕ นายพลเจิ้งหัว ได้เดินทางไปเยี่ยมแคว้นนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๙๖๒ ราชาแห่ง แคว้นอะรู สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า ตุนกู อะลาซา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ และได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้กับ มหาอาณาจักรจีน อีก ๓ ครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๔ , ๑๙๖๖ และ ๑๙๗๔...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๘)

ปี พ.ศ.๑๙๕๕ นายพลเจิ้งหัว นำกองทัพเรือใหญ่ เข้าแวะที่ เมืองสมุทร อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา หนังสือยิงไยเชงลาน ได้ทำการบันทึกเกี่ยวกับ แคว้นสุมาตรา ว่า...

...เมืองสมุทร เกาะสุมาตรา ไม่มีกำแพงเมือง ทิศใต้ จด เทือกเขาใหญ่ ทิศเหนือ จดทะเล ทางทิศตะวันออก ก็เป็นเทือกเขาที่ยาวต่อเนื่องถึงเขตแดน แคว้นอะรู ทางทิศตะวันตก บนฝั่งทะเล เป็นที่ตั้งของแคว้นนาคุระ(แคว้นหน้าลาย) ถัดออกไป เป็นที่ตั้งของ แคว้นลี้ไทย

ผู้หญิงในเมืองสมุทร ปล่อยร่างท่อนบน เปล่าเปลือย มีแต่ผ้านุ่ง ที่พันขมวดไว้รอบสะเอว

เมื่อกองเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว เดินทางไปถึง เมืองสมุทร ก็ทราบว่า แคว้นสมุทร มีสงครามกับ ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศหน้าลาย พระเจ้าสายนุลิ อภิติงกิ แห่ง กรุงสมุทร ถูกศรอาบยาพิษ ของ ข้าศึก สวรรคต ในสงคราม ในขณะที่ พระราชโอรส ยังทรงพระเยาว์ มเหสี ของ กษัตริย์(พระเจ้าสายนุลิ อภิติงกิ) ประกาศว่า ใครก็ตามที่สามารถแก้แค้นครั้งนี้ได้ พระนางจะรับเป็น พระสวามี และ ครองประเทศด้วยกัน

ชาวประมง คนหนึ่ง ทราบเรื่อง จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกเข้าโจมตีข้าศึก และสามารถฆ่ากษัตริย์ของข้าศึกได้ เมื่อกลับมา ชาวประมงคนดังกล่าว ก็ได้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระเจ้าแผ่นดินแก่

ครั้นเมื่อพระราชโอรส ของ พระเจ้าสานุลิ อภิติงกิ เจริญวัยขึ้น ก็สามารถคบคิดกำจัดพระเจ้าแผ่นดินแก่ได้สำเร็จ และตั้งตนขึ้นครองเมือง แต่ พระอนุชาคนสุดท้อง ของ พระเจ้าแผ่นดินแก่ มีชื่อว่า สุกันลา ได้หนีไปอยู่ในป่า ทำสงครามกองโจร คอยก่อกวนความสงบ ของ บ้านเมือง อยู่เป็นเวลานาน

ต่อมาเมื่อนายพลเจิ้งหัว เดินทางมาถึงเมืองสมุทร เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๗ อีกครั้งหนึ่ง สุกันลา ไม่พอใจที่ตนเองไม่ได้รับสิ่งของใดๆ จาก ราชสำนักจีน จึงรวมพลเข้าปล้นกองเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว แต่ทหารจีน ได้ทำการต่อต้าน ทำให้กองโจรแตกพ่าย พวกกองโจรสุกันลา ถูกฆ่าตาย เป็นจำนวนมาก

พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร ครองราชย์สมบัติจนถึงปี พ.ศ.๑๙๗๗ จึงสละราชสมบัติให้กับ พระราชโอรส มีพระนามว่า อะปูสาย โดยได้รับการเห็นชอบจาก ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาคที่ ๒ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๕)

 

 

Visitors: 54,241