รัชกาลที่ ๔๖ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช กรุงสามโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๗๗๙-๑๗๙๙

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๖ 

มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช

 กรุงสามโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๗๗๙-๑๗๙๙


      ปี พ.ศ.๑๗๗๙ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อปรัมพัฒนา สวรรคต จักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์

ราช ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ณ ภูเขาสุวรรณคีรี เพื่อสืบทอดราชย์สมบัติ เป็น มหาจักร

พรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยมี พ่อศรีธรรมราช(สุรนารายณ์ ที่ ๖)

 เป็นจักรพรรดิ ว่าราชการอยู่ที่ เมืองนครศรีธรรมราช และมี พ่อกลิงค์ชวากะรัฐ(พ่อมหาสงคราม)

 เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงคันธุลี เป็นรัชกาลที่ ๔๖  

ปี พ.ศ.๑๗๘๖ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๗๖๒-๑๗๘๖) หรือ เจ้าชายศรีนทรกุมาร แห่ง ราชอาณาจักรกมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนคร(นครวัด) เสด็จสวรรคต พระเจ้าชัยวรมันที่ ๘(พ.ศ.๑๗๘๖-๑๘๓๘) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงนครวัด ในรัชกาลถัดไป

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๑๑)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๑๐๓-๑๐๔)

ปี พ.ศ.๑๗๘๗ เกิด สงครามครูเสด ครั้งที่ ๖ ระหว่าง ชาวคริสต์ กับ ชาวมุสลิม ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๖๙-๑๗๘๗ สืบเนื่องมาจาก พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๓ ได้ชักชวนชาวคริสเตียน ให้ทำสงครามครูเสด ด้วยการมอบให้กษัตริย์ฮังการี่ ชื่อแอนดรู ยกกองทัพเข้าทำสงครามกับพวกมุสลิม ในประเทศอียิปต์ สามารถยึดครอง เมืองดาเมียตา ได้ แต่ต่อมาก็ถูกกองทัพมุสลิม ยึดครองกลับคืน จนกระทั่งในปี พ.ศ.๑๗๘๗ กองทัพมุสลิม จากประเทศอียิปต์ ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็ม กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง

(ร.ศ.นันทนา กปิลกาญจน์ ประวัติศาสตร์ และ อารยธรรมโลก หน้าที่ ๒๗๐)

ปี พ.ศ.๑๗๙๐ พ่อจันทร์ภานุ ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง อาณาจักรศรีลังกา เพื่อขอพระสารีริกธาตุ แต่คณะราชทูต ต้องรบพุ่งกับ ชาวศรีลังกา สุดท้ายถูกจับกุม เป็นเชลยสงคราม ต้องตั้งหลักแหล่งในดินแดนของ อาณาจักรศรีลังกา

ปี พ.ศ.๑๗๙๑ พระเจ้าอนุชนาถ(พ.ศ.๑๗๗๐-๑๗๙๑) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงหะส่าหรี เกาะชวา สวรรคต ในขณะที่กำลังชนไก่ เป็นเหตุให้ พระเจ้าโตชัย(พ.ศ.๑๗๙๑) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๗)

ปี พ.ศ.๑๗๙๑ พระเจ้าโตชัย(พ.ศ.๑๗๙๑) ราชวงศ์กลิงค์ แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ครองราชย์สมบัติ ได้ประมาณ ๓ เดือน ก็เกิดกบฏภายในพระราชวังหลวง จนกระทั่ง สวรรคต พระเจ้าวิษณุวรรธนะ(พ.ศ.๑๗๙๑-๑๘๑๑) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๗-๖๘)

ปี พ.ศ.๑๗๙๑ พระยามหาสงคราม-ลือ พระอนุชาต่างมารดา ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช อพยพไพร่พลจากเมืองนครสวรรค์ มาตั้งรกราก ณ เมืองคันธุลี เรียกชื่อเมืองใหม่ว่า แคว้นสวรรค์บุรี พระยามหาสงคราม-ลือ ไปซ่อมแซมพระราชวัง ณ บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นมาใหม่

ปี พ.ศ.๑๗๙๒ พระเจ้าชัยปรเมศวรวรมันที่ ๒ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สวรรคต ในสงคราม กับ อาณาจักรไตเวียต เป็นเหตุให้ เจ้าชายหริเทพ จึงขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา มีพระนามว่า พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๖ เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๒)

ปี พ..๑๗๙๓ พระเจ้ายโกชวา(พ.ศ.๑๗๗๔-๑๗๙๓) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต และ พระเจ้าอุษานา(พ.ศ.๑๗๙๓-๑๗๙๙) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

      (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๑๑)

ปี พ.ศ.๑๗๙๔ จักรพรรดิพ่อศรีธรรมราช(พ่อสุรนารายณ์ที่ ๖) และ พ่อจันทร์ภาณุ ยกกองทัพเรือ ไปทำสงครามปราบปราม อาณาจักรศรีลังกา อีกครั้งหนึ่ง และพยายามเกลี้ยกล่อมให้ อาณาจักรศรีลังกา ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ เพราะนับถือพระพุทธศาสนา ด้วยกัน แต่ต่อมาประชาชนศรีลังกา ทำการต่อต้าน จักรพรรดิพ่อศรีธรรมราช(สุรนารายณ์ ที่ ๖)  และ นายกพ่อกลิงค์ชวากะ(พ่อศรีสงคราม) สวรรคต ในสงคราม พ่อจันทร์ภาณุ จึงต้องยกกองทัพกลับคืน นครศรีธรรมราช ด้วยแพ้สงคราม เป็นเหตุให้ พระยาจันทร์ภาณุ ต้องขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ว่าราชการอยู่ที่ กรุงศรีธรรมราชปุระ และมี พระยาเสือ พระราชโอรส ของ จักรพรรดิพ่อกลิงค์ชวากะรัฐ จึงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ว่าราชการอยู่ที่ กรุงกลิงค์ชวากะรัฐ(คันธุลี)  

ปี พ.ศ.๑๗๙๔ เกิด สงครามครูเสด ครั้งที่ ๗ ระหว่าง ชาวคริสต์ กับ ชาวมุสลิม ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๘๗-๑๗๙๔ สืบเนื่องมาจาก ในปี พ.ศ.๑๗๘๗ กองทัพมุสลิม จากประเทศอียิปต์ ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็ม กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง ชาวคริสเตียน พยายามส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็ม กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แล้วยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงไคโร ราชธานี ของ ประเทศอียิปต์ เมื่อปี พ.ศ.๑๗๙๔ กองทัพ ชาวคริสเตียน พ่ายแพ้สงคราม เสียชีวิตจำนวนมาก

(ร.ศ.นันทนา กปิลกาญจน์ ประวัติศาสตร์ และ อารยธรรมโลก หน้าที่ ๒๗๐)

ปี พ.ศ.๑๗๙๕ จักรพรรดิตรานไถตอง ราชวงศ์ตราน แห่ง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน ผลของสงคราม สามารถยึดครอง อาณาจักรจามปา เป็นผลสำเร็จ สามารถจับเชื้อสายพวกราชวงศ์ ของ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๖ เป็นเชลยศึก เดินทางมายัง ราชอาณาจักรไตเวียต แล้วประกาศนำ อาณาจักรจามปา มารวมกับ อาณาจักรไตเวียต เรียกว่า ราชอาณาจักรไตเวียต ส่วน พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๖ ได้พยายามรวบรวมไพร่พล ทำสงครามกู้ชาติกลับคืน

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๒)

ปี พ.ศ.๑๗๙๕ มหาอาณาจักรจีน โดย ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) ราชวงศ์มองโกล แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มอบให้ นายพลอุเรียงกะไต เข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรไทยน่านเจ้า ราชธานีตาลี่ ผลของสงคราม สามารถยึดครอง แคว้นยูนนาน เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๑๗๙๕

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๔)

ปี พ.ศ.๑๗๙๖ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง สามารถทำสงครามยึดครอง มหาอาณาจักรน่านเจ้า เป็นผลสำเร็จ

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๒)

(พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๗๙๖ จักรพรรดิโอโกได แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักร ต่างๆ ทางทิศตะวันตก ไปจนถึง กรุงแบกแดด อิหร่าน กองทัพของ แม่ทัพ หุละกุ ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ จักรพรรดิแจงกิสข่าน ได้ระดมวิศวกรชาวจีน ๑๐๐๐ คน มาช่วยสร้างเกาทัณฑ์ยักษ์ เพื่อส่งระเบิดไปได้ไกลๆ ผลของสงคราม กองทัพของ แม่ทัพ หุละกุ สามารถตี กรุงแบกแดด ราชธานี ของ อาณาจักรเปอร์เชีย เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๑๘๐๑

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๐)

ปี พ.ศ.๑๗๙๗ เกิดกบฏ ขึ้นที่ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เรียกว่า กบฏกลิงค์ปติ ต่อมา พระเจ้าวิษณุวรรธนะ(พ.ศ.๑๗๙๑-๑๘๑๑) มอบให้ เจ้าชายกฤตนคร ทำการปราบปรามกบฏ และ บริหารราชการแผ่นดิน

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๘)

ปี พ.ศ.๑๗๙๘ จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง จัดให้มีการโต้วาที ระหว่าง เต้าสือ ซิวชูจี ตัวแทน ลัทธิเต๋า กับ พระภิกษุ ตัวแทน ของ พระพุทธศาสนา ผลปรากฏว่า ฝ่ายพระพุทธศาสนา เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๘)

ปี พ.ศ.๑๗๙๙ จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง จัดให้มีการโต้วาที ระหว่าง ตัวแทน ของ เต้าสือ ซิวชูจี ตัวแทน ลัทธิเต๋า กับ พระภิกษุ ตัวแทน ของ พระพุทธศาสนา ผลปรากฏว่า ฝ่ายพระพุทธศาสนา เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ อีกครั้งหนึ่ง

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๘)

ปี พ.ศ.๑๗๙๙ จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง สั่งให้ เต้าสือ ซิวชูจี ตัวแทนลัทธิเต๋า คืนทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึดครองจาก วัดทาง พระพุทธศาสนา กลับคืน และในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๑๗๘๐ กุบไลข่าน สั่งให้ ยึดคัมภีร์ ต่างๆ ของ ลัทธิเต๋า ไปเผาทำลาย จนหมดสิ้น ยกเว้นตำรายา และ ตำราอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ เท่านั้น

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๘-๑๖๙)

 

ปี พ.ศ.๑๗๙๙ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช(พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงสุโขทัย เสด็จมายัง เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้อัญเชิญ พระพุทธสิหิงส์ กลับคืน กรุงสุโขทัย เพื่อใช้ กรุงสุโขทัย เป็น ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ 

Visitors: 54,463