รัชกาลที่ ๔๔ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๗๕๖-๑๗๗๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๔ 

มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ 

กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๗๕๖-๑๗๗๘

 

 

      ปี พ.ศ.๑๗๕๖ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรนารายณ์ เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อมาฆะ ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) โดยมี พ่อปรัมพัฒนา เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อพระยาร่วง เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๔๔ 

ปี พ.ศ.๑๗๕๖ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา กรุงสานโพธิ์(ไชยา) พระชนมายุ ๓๔ พรรษา ได้ยกกองทัพจาก สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เข้าสมทบกับกองทัพ ของ แคว้นปาณฑัย แห่ง อินเดียใต้ เข้าโจมตีขับไล่ กองทัพมุสลิม ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ในดินแดน ของ อาณาจักรศรีลังกา จึงเริ่มเกิดสงครามครั้งใหม่ ระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา กรุงสานโพธิ์(ไชยา) กับ สหราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู(โจฬะ) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ครั้งใหม่

ปี พ.ศ.๑๗๕๖ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ได้ส่งกองทัพทมิฬโจฬะ ร่วมกับ กองทัพพันธมิตร คือ กองทัพของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(โอริสา) , อาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้ และ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ได้ร่วมกันยกกองทัพ เข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เกาะสุมาตรา , ราชอาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี และ ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เกิดการต่อสู้ยืดเยื้อ เป็นเวลา ๒ ปี

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๗๕๖ กองทัพ ของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) , ราชอาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) , ราชอาณาจักรกำพูชา(ขอม-เขมร) , ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) , ราชอาณาจักรปอซื่อหลาน(โพธิ์หลวง) , ราชอาณาจักรศรีโพธิ์ชา(บอร์เนียว) , ราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ(อินเดียใต้) , ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , ราชอาณาจักรม้าตาราม(เกาะชวา) ฉวยโอกาส ยกกองทัพพร้อมกัน เข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา กรุงสานโพธิ์(ไชยา) พร้อมๆ กันอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำลังทหารส่วนใหญ่ ถูกระดมไปช่วยเหลือ อาณาจักรศรีลังกา เกิดการต่อสู้ยืดเยื้อ เป็นเวลา ๒ ปี

ปี พ.ศ.๑๗๕๗ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) ส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครอง เมืองละโว้ ราชธานี ของ อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๗๕๗ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) กรุงนครวัด ทรงแต่งตั้งให้ ขุนหลวงนรนัย ขุนนางเชื้อพระวงศ์ขอม จาก อาณาจักรคามลังกา ให้เป็น อุปราช ผู้ปกครอง ราชอาณาจักรละโว้ แล้วนำ อาณาจักรละโว้ ไปขึ้นตรงต่อ สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) โดยตรง บังคับให้ส่งส่วยน้ำ เพื่อใช้ในการทำพิธี บรมราชาภิเษก และในพิธีการถวายสัตย์ปฏิญาณ

ปี พ.ศ.๑๗๕๗ พระเจ้าศรีภูวนาทิตย์(พ.ศ.๑๗๑๒-๑๗๕๘) แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ผู้พ่ายแพ้สงคราม ได้นำเชื้อสายพวกราชวงศ์ และ ไพร่พล อพยพหนีภัยสงคราม ข้าศึกทมิฬโจฬะ ไปตั้ง ราชธานี ใหม่ ของ อาณาจักรละโว้ ณ เมืองสุพรรณบุรี

ปี พ.ศ.๑๗๕๗ พระยาโรจน์ฤทธิ์(พระร่วง) พระชนมายุ ๒๐ พรรษา พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ ออกผนวชเป็นพระภิกษุ แต่เมื่อเกิดสงคราม ระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา กับ สหราชอาณาจักรโจฬะ แว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ถูกยึดครอง ประชาชน ปั่นป่วน พระยาโรจน์ฤทธิ์(พระร่วง) จึงขอลาสิขา ออกมารวบรวมไพร่พล ออกทำสงคราม ขับไล่ข้าศึก ได้โรยตัวลงมาจับช้างศึก ประชาชนเรียกชื่อว่า พระยาร่วง

ปี พ.ศ.๑๗๕๗ พระยาร่วง สามารถนำกองทัพของ ชนชาติไทย ออกทำสงคราม ขับไล่ข้าศึก ออกจากดินแดน ราชอาณาจักรเสียม(ชวาภูมิ) ต่อมาเมื่อ  พระยาร่วง สามารถทำสงครามกอบกู้เอกราช เป็นผลสำเร็จ และเริ่มฟื้นฟูบ้านเมือง จึงกำเนิด ตำนาน ต่างๆ เช่น การเรียกชื่อ ต้นสับปะรด ว่า ยานัด เกิดการเรียก ต้นมะม่วงหิมพาน ว่า ต้นยาพระร่วง หรือ ต้นยาร่วง เกิดตำนาน ถ้วยพระยาร่วง เกิดตำนาน ไหพระยาร่วง เรียกกันโดยทั่วไปในดินแดนทางภาคใต้

ปี พ.ศ.๑๗๕๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ กรุงนครธม สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา เป็นผลสำเร็จ ปล้นทรัพย์สินต่างๆ จำนวนมาก ได้เผาพระราชวังหลวง กวาดต้อนเชลยศึก กลับสู่ เมืองเสียมเรียบ และ เสียมราช เป็นจำนวนมาก ขณะนั้น มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) ติดราชการสงครามอยู่ที่ เกาะศรีลังกา ขุนนาง กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ต้องอพยพไพร่พล พร้อมกับนำเทวรูป พระพุทธสิหิงส์ ข้ามไปยัง แคว้นพังงา แล้วลงเรือ มุ่งหน้าไปยัง ภาคใต้ ของ อาณาจักรศรีลังกา

ปี พ.ศ.๑๗๕๘ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) ต้องลี้ภัยสงคราม ณ เกาะศรีลังกา(ปี พ.ศ.๑๗๕๘-๑๗๗๙) โดยได้ไปปกครอง แคว้นราชารัฐ ทางภาคใต้ ของ เกาะศรีลังกา พร้อมกับนำ พระพุทธสิหิงส์ ไปรักษาไว้ที่ เกาะศรีลังกา ด้วย แต่เนื่องจาก ประชาชนชาวศรีลังกา ไม่ยอมต้อนรับว่าเป็นกษัตริย์ของตน กลับยอมรับ พระเจ้านิสสังกะมัลละ(พ.ศ.๑๗๓๐-๑๘๗๙) โดยมี เมืองโปโลนนุวะปุระ เป็น ราชธานี ของ อาณาจักรศรีลังกา

ปี พ.ศ.๑๗๕๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง ราชอาณาจักรละโว้ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นผลสำเร็จ เนื่องจาก ถูก ขุนหลวงนรนัย ทำการก่อกบฏ ส่งข่าวให้ข้าศึก ยึดครอง เมืองละโว้ ราชย์ธานี ของ สหราชอาณาจักรละโว้ ไปขึ้นกับ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ของ ราชอาณาจักรกำพูชา(เขมร) โดยนำกองทัพ ของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) เข้ามาทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรละโว้ เป็นเหตุให้ เชื้อสายพวกราชวงศ์ ของ ราชอาณาจักรละโว้ ต้องหลบหนีไปตั้งราชธานีใหม่ อยู่ที่ เมืองสุพรรณภูมิ

ปี พ.ศ.๑๗๕๘ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ตกเป็นเมืองขึ้น ของ สหราชอาณาจักรเจนละ กรุงยโสธรปุระ(นครธม) จดหมายเหตุจีน บันทึกไว้ใน หนังสือ จูฟานจี โดย จาวจูกัว ภาคต้น ว่าด้วยนาๆ ประเทศ หัวข้อ ประเทศเจนละ ได้บันทึกว่า...

...ประเทศเมืองขึ้น ของ เจนละ(สหราชอาณาจักรโจฬะ กรุงนครธม) ประกอบด้วย เติงหลิวเหมย(ราชอาณาจักรมอญ กรุงเสทิม) หลอหู(ราชอาณาจักรกัมพุช กรุงละโว้) จูหลัน(ราชอาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงจูหลัน) เจนลี่ฟู(ราชอาณาจักรโจลี้ กรุงสุโขทัย) มาโลเวน(มินดาเนา) ลู่หยาง(ลานช้าง) ทุนลี่ฟู่(ไทยอาหม) พุกาม(ราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม) วาหลี(ราชอาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี) ซีผิง(ราชอาณาจักรศรีพิง กรุงศรีพิง) ตู้หวยซุน(ราชอาณาจักรเชียงแสน กรุงเชียงแสน) และ สินฟาน(ศรีโพธิ์)...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๒)

ปี พ.ศ.๑๗๕๘ ชาวจีนชื่อ จาวจูกัว ได้ทำการประมวลข้อมูล เกี่ยวกับ สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) โดยสรุปว่า...

...ได้เกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) กับ อาณาจักรไตเวียต(จามปาเหนือ) ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๒๕-๑๗๕๐ และกล่าวด้วยว่า สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) ได้เข้าครอบครอง อาณาจักรไตเวียต(จามปาเหนือ) เป็นผลสำเร็จ

สหราชอาณาจักรเจนละ(กรุงยโสธรปุระ) มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ มหาอาณาจักรจีน ทางทิศใต้ จด ราชอาณาจักรเกียโลหิต(ครหิต-คันธุลี) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

สำหรับประเทศราช ของ สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) ประกอบด้วย อาณาจักรดังต่อไปนี้ คือ ราชอาณาจักรเติงหลิวเม(อาณาจักรมอญ) ราชอาณาจักรโพธิ์จูหลัน(ทมิฬอาแจ๊ะ สุมาตรา) ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) ราชอาณาจักรจันโล(จันทร์หลวง-เวียงจันทร์) ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู(โจลี้โพธิ์-สุโขทัย) ราชอาณาจักรมาโลเวน(เกาะมินดาเนา) ราชอาณาจักรลูยัง(ลานช้าง) ราชอาณาจักรถุนลิฟู(ไทยอาหม) ราชอาณาจักรพุกาม(ศรีชาติตาลู กรุงพุกาม) ราชอาณาจักรวาลี(โกสมพี-แสนหวี) ราชอาณาจักรซีพิง(อาณาจักรศรีพิง) ราชอาณาจักรตูฮวยชุน(เชียงแสน)... 

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๒๑๐-๒๑๑)

ปี พ.ศ.๑๗๕๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) แต่งตั้งให้ ขุนหลวงนรนัย หรือ ขอมสบาดโขลญลำพง เป็นผู้สำเร็จราชการ ปกครอง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ส่วนกองทัพทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) ได้ส่งกองทัพเข้าควบคุมแว่นแคว้นต่างๆ ของ ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ รวมไปถึง ราชอาณาจักรโจรลี้โพธิ์(เจนลี้ฟู) กรุงสุโขทัย ของ พ่อศรีนาวนำถม ด้วย

ปี พ.ศ.๑๗๕๙ นายกพ่อพระยาร่วง อพยพไพร่พล จาก บางยาง(ดอนเกาะยาง) กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ไปสร้าง กรุงสุโขทัย อย่างลับๆ เพื่อเตรียมทำสงครามกู้ชาติ นำเอา ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ กลับคืน ส่วน จักรพรรดิพ่อมาฆะชวากะ(พ่อปรัมพัฒนา) ทำหน้าที่ควบคุมกองทัพเพื่อทำสงครามขับไล่ข้าศึก และ รักษาดินแดน สหราชอาณาจักรสียม ณ กรุงครหิต(คันธุลี) คือ ดินแดน อาณาจักรเสียม และ อาณาจักรมาลัยรัฐ กลับคืน กำเนิด ตำนานพระร่วง ทั้งใน ภาคใต้ ภาคกลาง และ ตำนานพระร่วง ในภาคเหนือ

ปี พ.ศ.๑๗๕๙ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนลี่ฟู(อาณาจักรโจลี้โพธิ์-สุโขทัย) พระนาม กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย(หมอ-หลัว-ปากาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย) หรือ พระยาพนมศิริชัย ได้ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเจนละ ด้วยการส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หนิงจง(พ.ศ.๑๗๓๗-๑๗๖๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๑๗๕๙ ได้มีคณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน เดินทางมายังราชธานี ของ ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู ด้วย และได้ทำการบันทึกถึง สภาพต่างๆ ของ ราชธานี ของ ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู ไว้ด้วย ในเรื่องนี้ จดหมายเหตุจีน บันทึกไว้ในหนังสือ ซุ่งหุ้ยเอี้ยว บรรพ ๘๑๑๘ มีบันทึกว่า...

...วันที่ ๒๐ เดือน ๗ ปีที่ ๙ รัชศก เจียติ้ง(วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๑๗๕๙) ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู ไม่ปรากฏว่า ได้ตั้งมานานตั้งแต่เมื่อใด ราชอาณาจักรนี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทางทิศตะวันออกติดต่อกับ ปอซื่อหลาน(โพธิ์ศรีหลวง) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับ ติงหลิวเหมย(มอญ) ปกครองเมืองต่างๆ ๖๐ กว่าแห่ง สิ่งของพื้นเมืองได้แก่ งาช้าง นอระมาด ขี้ผึ้ง กรักขี น้ำมันเทศ ชูเชียง(เครื่องหอมชนิดหนึ่ง) กระวาน และ แก่นไม้มะเกลือลาย

พระราชวัง ที่ประทับ ของ ราชอาณาจักรแห่งนี้ เลียนแบบ โบสถ์วิหาร ทางพุทธศาสนา กกุธภัณฑ์ ล้วนเป็นทองคำ ม่านใช้แพรสีแดง แบบราชวงศ์ถัง เครื่องทรง ของ กษัตริย์ใช้สีขาว ซึ่งถือว่าสูงศักดิ์ ร่ม ใช้สีเลือดหมู อย่างรองใช้สีแดง และอย่างรองถัดไปใช้สีแดงลายจุด อย่างต่ำสุด ใช้สีเขียว หรือ สีคราม หนังสือราชการ ปกสีดำ เขียนด้วยฝุ่นสีขาว แต่ละตำบลหมู่บ้าน ล้วนมีหัวหน้าปกครอง เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไป จะเป็นเครื่องเงิน ม่านใช้แพรลายดอก

คนทั่วไป นับถือศาสนาพุทธ หากมีกรณีพิพาทกัน คู่กรณีจะพากันไปดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ สาบานต่อหน้ากันที่ วัดหลิงเอี้ยน ฝ่ายที่ดื่มแล้ว มีสวัสดิภาพ ถือว่าพูดความจริง ส่วนฝ่ายที่เกิดเจ็บป่วย ถือว่าพูดความเท็จ ชาวบ้านชาวเมือง นิยมผ้าแพรโล่สีแดง และภาชนะดินเผา การซื้อขายแลกเปลี่ยน อาหาร เครื่องนุ่งห่ม จะใช้เงินตะกั่ว ทั้งสิ้น ส่วนแพรโล่สีแดง และภาชนะดินเผาที่ชาวบ้านชาวเมืองใช้กัน เป็นสิ่งของที่เรือพาณิชย์ ของ กษัตริย์ นำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน เมื่อเริ่มเดินทางออกสู่ท้องทะเล จาก ประเทศนี้ ต้องเดินทางอีก ๕ วัน ก็จะถึง ราชอาณาจักรปอซื่อหลาน ถัดไปก็คือ ทะเลคุณหลุน(อ่าวไทย) แล้วผ่าน ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) อีก ๓-๔ วัน ก็จะถึง ราชอาณาจักรปีนต๋าเยี๋ย(ราชอาณาจักรเวียตน้ำ กรุงปาณฑุรัง) ๓-๔ วันต่อมา ก็จะถึงเขตแดนจ้านเฉิง(ราชอาณาจักรไตเวียต กรุงจ้านเฉิง) ใช้เวลาอีก ๑๐ วัน ข้ามทะเลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีซื่อทะเล ชื่อว่า หว่านหลี่สือถัง ทะเลแห่งนี้ น้ำลึกบ้างตื้นบ้าง น้ำไหลเชี่ยวกราก และมีหินโสโครกมาก เรือทั้งหลายที่ผ่านมา มักจะจมน้ำเสีย ๗ ใน ๑๐ ลำ เป็นทะเลที่เวิ้งว้าง ปราศจากฝั่งและภูเขา จากนั้นก็จะถึงเขตแดน เจียวจือ อีก ๕ วัน ก็จะถึง ชินโจว และ เหลียนโจว ทั้งนี้ได้คำนวณระยะเดินทาง ตามสภาวะของลมฟ้าสงบ และลมพัดต้องตามฤดูกาล หมายถึงลมทิศใต้ ในฤดูร้อน มีตลอดฤดู ก็จะสามารถเดินทางถึงจุดหมาย ครั้นถึงตอนขากลับ คณะราชทูต ของ ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู ต้องรอคอยลมเหนือ ของ ฤดูหนาว มิฉะนั้นแล้ว ก็อาจจะไม่บรรลุความประสงค์ในการเดินทาง...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๐)

ปี พ.ศ.๑๗๕๙ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) ของ ทมิฬโจฬะ แต่งตั้งให้ ขุนผาเมือง พระราชโอรสของ พ่อศรีนาวนำถม ซึ่งปกครอง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงโกราช และได้สมรสกับ พระนางสุขรมหาเทวี พระราชธิดาของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง ราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) ขุนศรีนาวนำถม ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น มหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรสุโขทัย กรุงสุโขทัย มีพระนามว่า ศรีอินทรบดินทราทิตย์ พร้อมกับได้มอบ พระแสงขรรค์ชัยศรี ให้เป็นเกียรติยศ ตามตำแหน่ง ด้วย

ปี พ.ศ.๑๗๕๙ มหาจักรพรรดิ พ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) รับสั่งให้ นายกพ่อพระยาร่วง พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิ พ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) และ ราชธิดาของ เจ้าเมืองพังงา ปลอมตัว ออกผนวชเป็นพระภิกษุ ที่เมืองสุโขทัย เพื่อวางแผนทำสงคราม ยึดครองดินแดน ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ กลับคืนจาก สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร)

ปี พ.ศ.๑๗๖๑ เกิด สงครามครูเสด ครั้งที่ ๕ ระหว่าง ชาวคริสต์ กับ ชาวมุสลิม ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๖๑-๑๗๖๙ สืบเนื่องมาจาก ชาวคริสเตียนอีกส่วนหนึ่ง ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็มกลับคืน เป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ.๑๗๔๗ และยังส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงคอนสแตนติโนเปิล ได้รับความเสียหายอย่างหนัก สงครามระหว่างศาสนา จึงเกิดขึ้น อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๑๗๖๑ พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๓ ได้ชักชวนชาวคริสเตียน ให้ทำสงครามครูเสด ด้วยการมอบให้กษัตริย์ฮังการี่ ชื่อแอนดรู ยกกองทัพเข้าทำสงครามกับพวกมุสลิม ในประเทศอียิปต์ สามารถยึดครอง เมืองดาเมียตา ได้ แต่ต่อมาก็ถูกกองทัพมุสลิม ยึดครองกลับคืน

(ร.ศ.นันทนา กปิลกาญจน์ ประวัติศาสตร์ และ อารยธรรมโลก หน้าที่ ๒๗๐)

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) กรุงนครวัด เสด็จสวรรคต ด้วยโรคเรื้อน พระราชโอรส ของ พระองค์ มี ๔ พระองค์ คือ เจ้าชายสุริยกุมาร ผู้ทรงแต่งศิลาจารึกปราสาทตาพรหม เจ้าชายวีรกุมาร แห่ง พระนางราเชนทรเทวี ผู้ทรงแต่งศิลาจารึก ปราสาทพระขรรค์ เจ้าชายศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรสจาก พระนางชัยราชเทวี ผู้ครอง อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้(หลอหู) และ เจ้าชายศรีนทรกุมาร ผู้ซึ่งพระรูปได้ทรงประดิษฐาน อยู่ในปราสาทองค์กลาง ที่ ปราสาทบันทายฉมาร์ พร้อมกับรูปทหารคู่พระทัยอีก ๔ คน คือ เจ้าชายศรีนทรกุมาร(พระเจ้าขี้เรื้อน) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) เมืองพระนคร(นครวัด) มีพระนามว่า พระเจ้าศรีนทร หรือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๗๖๒-๑๗๘๖) หรือมีพระนามที่ประชาชนเรียกพระนามว่า พระเจ้าขี้เรื้อน ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๐)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๑๐๓-๑๐๔)

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ มหาราชาขุนผาเมือง หรือ ขุนศรีอินทรบดินทราทิตย์(ขุนผาเมือง) แห่ง แคว้นสุโขทัย ทราบข่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(เขมร) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เสด็จสวรรคต จึงถือโอกาสก่อกบฏ ไม่ยอมขึ้นต่อ พระเจ้าขี้เรื้อน หรือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๗๖๒-๑๗๘๖) กษัตริย์พระองค์ใหม่ ทำให้ พระเจ้าขี้เรื้อน แห่ง ราชอาณาจักรกำพูชา(ขอม-เขมร) ไม่พอพระทัย จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ ขอมสบาดโขลญลำพง(ขุนหลวงนรนัย) เป็นราชา ผู้ปกครอง แคว้นสุโขทัย และ เมืองศรีสัชนาลัย แทนที่ ส่วน มหาราชาขุนผาเมือง มีรับสั่งให้กลับไปปกครอง อาณาจักรอีสานปุระ เมืองโกราช(นครราชสีมา) ดังเดิม

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ มหาราชาพ่อขุนผาเมือง แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงโกราช ยกกองทัพจาก แคว้นโกราช(นครราชสีมา) เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นสุโขทัย กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แล้วกราบทูลเชิญ นายกพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช หรือ พ่อขุนบางกลางหาว ขึ้นปกครอง กรุงสุโขทัย แทนที่

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ นายกพระยาร่วงโรจน์ราช หรือ พ่อขุนบางกลางหาว แห่ง ราชอาณาจักรสุโขทัย สามารถนำกองทัพเข้าทำสงคราม ยึดครอง ราชธานี กรุงละโว้ แห่ง อาณาจักรละโว้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ นายกพระยาร่วงโรจน์ราช จึงขึ้นปกครอง เป็น มหาราชาพระยาร่วงโรจน์ราช ปกครอง อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ นายกพระยาร่วงโรจน์ราช หรือ พ่อขุนบางกลางหาว แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ในนามของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรละโว้ ประกาศใช้ กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี ของ ของ อาณาจักรละโว้ มีพระนามว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ หรือ พ่อขุนบางกลางหาว ส่วน ขุนผาเมือง(พระยาเลอไทย) เป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรละโว้ ว่าราชการอยู่ที่ เมืองศรีสัชนาลัย

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ นายก พระยาร่วงโรจน์ราช โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระศรีศัทธา ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ของ ขุนผาเมือง(พระยาเลอไทย) เดินทางไปประสานงานกับ จักรพรรดิพ่อมาฆะชวากะ(พ่อปรัมพัฒนา) กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เพื่อเตรียมทำสงคราม ยึดครองแว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ซึ่งถูกยึดครองไป กลับคืนมา จึงโปรดเกล้าให้ พ่อขุนผาเมือง(พระยาเลอไทย) กลับไปปกครอง แคว้นโกราช(นครราชสีมา) ดังเดิม

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ นายกพระยาร่วง แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ นายกพ่อพระยาร่วง พยายามก่อตั้ง ราชธานี ของ อาณาจักรละโว้ ณ กรุงสุโขทัย มีศิลาจารึกที่วัดศรีชุม มีข้อความว่า...

...ปู่ชื่อ พระยาศรีนาวนำถม เป็นขุน เป็นพ่อ…..เสวยราชในนครสองอัน อันหนึ่งชื่อนครสุโขทัย อันหนึ่งชื่อ นครศรีเลชนาลัย….ประดิษฐาน พระศรีรัตนมหาธาตุใกล้ฝั่งน้ำ….ในนครสุโขทัย นั้น

ชื่อ ศรีอินทรบดินทราทิตย์ นามเดิม กมรเตง อัญผาเมือง เมื่อก่อนผีฟ้า เจ้าเมืองศรีโสธรปุระ ให้ลูกสาวชื่อ นางสุขรมหาเทวี กับ ขรรค์ไชยศรี  ให้นามเกียติแก่ขุนผาเมือง เหียม...

ปี พ.ศ.๑๗๖๒ จักรพรรดิแจงกิสข่าน แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล รับสั่งให้ สร้างถนน จากดินแดน มหาอาณาจักรจีน ไปยังดินแดน เอเชียตะวันตก พร้อมกับได้วางทหาร และวางยาม ตามระยะต่างๆ พร้อมคลังเสบียงอาหาร ด้วย เพื่อเตรียมทำสงคราม กับ อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนเอเชียกลาง และ ทวีปยุโรป

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๐)

ปี พ.ศ.๑๗๖๓ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร-โจฬะ) สามารถกู้เมืองกลับคืน เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๗๖๓ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๗๖๔ พระเจ้าราชสะ(พ.ศ.๑๗๖๔-๑๗๗๐) แห่ง อาณาจักรตาม้าเปล เกาะชวา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามกับ พระเจ้ากฤตชัย ซึ่งได้วิวาท กับ นักบวช ประกาศตั้ง อาณาจักรตาม้าเปล เกาะชวา ขึ้นมา ผลของสงคราม พระเจ้ากฤตชัย พ่ายแพ้สงคราม และหายสาบสูญไป อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา จึงตกมาอยู่ในอำนาจ ของ พระเจ้าราชสะ แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๗)

ปี พ.ศ.๑๗๖๔ พระเจ้ากฤตชัย แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ภาคตะวันออก สวรรคต พระเจ้าราชสะ(พ.ศ.๑๗๖๔-๑๗๗๐) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เป็นรัชกาล ต่อมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๗)

ปี พ.ศ.๑๗๖๖ จักรพรรดิแจงกิสข่าน(เตมูจิน) แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล ได้ส่งกองทัพมุสลิม ของ แม่ทัพแซยิด อาแจ๊ะ(พ.ศ.๑๗๕๓-๑๘๒๒) เข้าทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม สามารถยึดครอง ราชธานี กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ สามารถหลบหนีไปได้ ประชาชนต้องทำสงครามกองโจร ขับไล่ กองทัพของ แจงกิสข่าน ออกไป ในเวลาต่อมา

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๙)

ปี พ.ศ.๑๗๖๗ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เสด็จจากเกาะศรีลังกา มายัง กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และได้ใช้ แคว้นพังงา เป็นฐานที่มั่นในการทำสงครามกองโจร ขับไล่ ทมิฬอาแจ๊ะ ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ

ปี พ.ศ.๑๗๖๗ เต๋าสือ ผู้สอนลัทธิเต๋า ชื่อ ซิวชูจี ซึ่งเคยจำศีลอยู่ที่ แม่น้ำออกซัส ต่อมา จักรพรรดิแจงกิสข่าน(เตมูจิน) แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล ได้เชิญกลับไปยัง มหาอาณาจักรจีน เต๋าสือ ซิวชูจี ผู้นี้ ได้ทำการเผยแพร่ลัทธิเต๋า ชนิดที่เป็นภัย ต่อ พระพุทธศาสนา  นอกจากนี้ มีการอนุญาตจากทางราชการจีน ให้ผู้นับถือลัทธิเต๋า เข้าครอบครองวัดทางพระพุทธศาสนา ด้วย ซ้ำ ได้ออกหนังสือ ๒ เล่ม ทำการโจมตีศาสนาพุทธ ด้วย เป็นที่มาให้ พระภิกษุทางพระพุทธศาสนา ต้องหันไปสามัคคี กับ ชาวมองโกล เพื่อรักษาพระพุทธศาสนา 

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๘)

ปี พ.ศ.๑๗๖๗ ฮ่องเต้หนิงจง(พ.ศ.๑๗๓๗-๑๗๖๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ถูกกดดันให้สละราชสมบัติ พระราชโอรส มีพระนามว่า ลี่จง แห่ง ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ กรุงนานกิง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีพระนามว่า ฮ่องเต้ลี่จง(พ.ศ.๑๗๖๗-๑๘๐๗) เป็นรัชกาลที่ ๕ ของ ราชวงศ์ซ้อง-ใต้

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๐๒)

ปี พ.ศ.๑๗๖๘ จาวจูกัว ได้ตีพิมพ์ หนังสือจูฟานจี ขึ้นมาเผยแพร่ ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๗๖๘ จักรพรรดิตรานไถตอง ราชวงศ์ตราน แห่ง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จึงเริ่มกระทบกระทั่งกับ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ในการแย่งดินแดน ๓ แว่นแคว้นทางภาคเหนือ ของ อาณาจักรจามปา ซึ่งเป็น ของ อาณาจักรไตเวียต อีกครั้งหนึ่ง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๒)

ปี พ.ศ.๑๗๖๙ พระเจ้าชัยปรเมศวรวรมันที่ ๒ แห่ง ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) นำกองทัพจาก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนจาก ราชวงศ์โจฬะ ผลปรากฏว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต มีชัยในสงคราม สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนจาก สหราชอาณาจักรโจฬะ(ขอม-เขมร) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เป็นผลสำเร็จ และ พระเจ้าชัยปรเมศวร ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๗๖๙ พระเจ้าราชสะ(พ.ศ.๑๗๖๔-๑๗๗๐) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ภาคตะวันตก มีชัยในสงคราม ต่อ อาณาจักรจังกาละ เกาะชวา ภาคตะวันออก ทำให้ พระเจ้าราชสะ(พ.ศ.๑๗๖๔-๑๗๗๐) แห่ง  อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เป็นผู้ปกครองดินแดน เกาะชวา ทั้งหมด 

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๗)

ปี พ.ศ.๑๗๖๙ ชนชาติกลิงค์ โดย พระเจ้าราชสระ(พ.ศ.๑๗๖๔-๑๗๗๐) ทำการรวม อาณาจักรจังกาละ เกาะชวา ภาคตะวันออก และ อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา ภาคตะวันตก ทั้งสองอาณาจักร เข้าด้วยกัน เรียกว่า อาณาจักรเกเดรี มีราชธานี อยู่ที่ เมืองสิงห่าส่าหรี โดยไม่ยอมขึ้นต่อการปกครองของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) อีกต่อไป

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๗)

ปี พ.ศ.๑๗๗๐ พระเจ้าราชสะ(พ.ศ.๑๗๖๔-๑๗๗๐) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงหะส่าหรี เกาะชวา ถูกลอบปลงพระชนม์ สวรรคต ในขณะที่มีการชนไก่ชน พระเจ้าอนุชนาถ(พ.ศ.๑๗๗๐-๑๗๙๑) ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๗)

ปี พ.ศ.๑๗๗๐ จารึก พบที่วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช จารึกระบุว่า จักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงตาม้าพรกลิงค์ มีพระนามว่า จันภาณุ ศรีธรรมราช

ปี พ.ศ.๑๗๗๐ จักรพรรดิแจงกิสข่าน(เตมูจิน) แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรตุนกุส ผลของสงคราม จักรพรรดิแจงกิสข่าน สวรรคต ในสงคราม โอโกได ซึ่งเป็นพระราชโอรส ได้สืบทอดราชย์สมบัติ เป็น จักรพรรดิโอโกได แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล ในรัชกาลต่อมา 

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๙)

ปี พ.ศ.๑๗๗๒ ฮ่องเต้ลี่จง(พ.ศ.๑๗๖๗-๑๘๐๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งคณะราชทูตมาแต่งตั้งให้ พระเจ้าอนุชนาถ(พ.ศ.๑๗๗๐-๑๗๙๑) เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๗)

ปี พ.ศ.๑๗๗๒ อาณาจักรไทยอาหม ได้อพยพไปอยู่ที่ เมืองมณีปุระ มณฑลอัสสัม ของ อินเดีย

(พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๗๗๓ จักรพรรดิโอโกได แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล แต่งตั้งให้ เย่ลือ เป็น ผู้ว่าราชการ(ข้าหลวง) ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๐)

ปี พ.ศ.๑๗๗๔ จักรพรรดิโอโกได แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ของ มหาอาณาจักรจีน ไปจนถึง แม่น้ำเหลือง กองทัพมองโกล ของ พระอนุชา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเสฉวน ผลของสงคราม สามารถยึดครอง ราชธานี เมืองไคฟง ราชธานีใหม่ ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๑๗๗๖

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๙)

ปี พ..๑๗๕๓ พระเจ้าถิโลมินโล(พ.ศ.๑๗๕๓-๑๗๗๔) หรือ พระเจ้าตรีภพนาทิตย์ บวรธรรมราช(พ.ศ.๑๗๕๓-๑๗๗๔) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต และ พระเจ้ายโกชวา(พ.ศ.๑๗๗๔-๑๗๙๓) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

      (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๑๑)

ปี พ.ศ.๑๗๗๗ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน และ กองทัพมองโกล ของ จักรพรรดิโอไกได แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล สามารถทำสงครามเอาชนะ ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้ลี่จง(พ.ศ.๑๗๖๗-๑๘๐๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ต้องเสด็จหนีไปทางตะวันออก

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๐)

 

ปี พ.ศ.๑๗๗๘ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มอบให้ พ่อจันทร์ภานุ ยกกองทัพเรือจาก นครศรีธรรมราช เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรศรีลังกา กลับคืน ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) หรือ มหาจักรพรรดิพระเจ้ากลิงค์วิชัยพาหุ(๑๗๕๖-๑๗๗๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ สวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรศรีลังกา กองทัพพ่อจันทร์ภาณุ จึงต้องถอยทัพ กลับมา พร้อมกับได้ทำการอัญเชิญ พระพุทธสิหิงส์ กลับคืนมาที่ นครศรีธรรมราช ด้วย

Visitors: 54,462