บทที่ ๔ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ

บทที่ ๗

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

สมัย ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ

 

ความเป็นมาของ ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ

 

                                              

ภาพที่-๗๑ เทวรูปในภาพ สายตระกูลหยางจิ้งจง หรือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี(หยางจิ้งจง) สมัยกรุงธนบุรี เชื่อว่า คือเทวรูปจำลอง มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน รัชกาลที่ ๓๖ ผู้ทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ แล้วสละราชย์สมบัติออกผนวช ในบวรพระพุทธศาสนา หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

 

เนื่องจาก มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าจูเหลียน เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์ หยาง-โคตะมะ เนื่องจากสายราชวงศ์ หยาง(แซ่หยาง) เป็นสายราชวงศ์หนึ่งของชนชาติอ้ายไต มาตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อมา สายราชวงศ์หยาง ได้เข้ามาสมรสเกี่ยวดองกับ สายราชวงศ์โคตะมะ ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ ราชวงศ์นี้เกิดขึ้นในขณะที่ ราชวงศ์เป่ยเว่ย แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคเหนือ ได้เกิดความแตกแยก ออกเป็นหลายก๊กหลายเหล่า และมีการปราบปรามชนชาติอ้ายไต และ ปราบปรามผู้นับถือ พระพุทธศาสนา ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ จึงได้เข้ามาร่วมปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

หยางพุทธทอง เคยเป็นข้าหลวง ผู้ปกครอง แคว้นแมนจูเจ้า ทางภาคเหนือของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ มาก่อน จนกระทั่งสามารถทำสงครามยึดครอง เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) อันเป็นเมืองนครหลวง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เป็นผลสำเร็จ ต่อมา หยางพุทธทอง มีพระราชโอรส กับ ราชธิดาของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิคะ มีพระนามว่า หยางเจ้าจูเหลียน หรือ เจ้าจูเหลียน แซ่หยาง เป็นทั้งเชื้อสายราชวงศ์หยาง และ สายราชวงศ์โคตะมะ ด้วย เรียกว่า ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ

ในวัยทรงพระเยาว์ เจ้าชายหยางเจ้าจูเหลียน ได้รับราชการเป็นขุนนาง อยู่ในพระราชวังหลวง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ส่วน หยางพุทธทอง ได้เป็นข้าหลวง ปกครอง แคว้นแมนจูเจ้า ในดินแดนภาคเหนือ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

ต่อมา ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้เสี้ยวอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ มีการปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต และ ชนชาติจีน อย่างรุนแรง ทำให้ หยางพุทธทอง ต้องนำ เจ้าชายหยางเจ้าจูเหลียน ซึ่งเป็นพระราชโอรส อพยพไพร่พล ชนชาติอ้ายไต มาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ

ต่อมา เจ้าชายหยางเจ้าจูเหลียน ได้อภิเษกสมรส กับ พระนางสุมิตา ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ จึงกลายเป็น ราชบุตรเขย ของ เชื้อสายเจ้าอ้ายไต มีทั้ง สายราชวงศ์โคตะมะ และ สายราชวงศ์หยาง จึงเรียกกันว่า ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ จนกระทั่ง หยางเจ้าจูเหลียน กลายเป็นราชาผู้ปกครอง แคว้นพันพาน(พุนพิน) แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ส่วน หยางพุทธทอง เป็นราชา ปกครอง แคว้นพุทธทอง(สระทิ้งพระ) ของ อาณาจักรเทียนสน และต่อมา หยางเจ้าจูเหลียน ได้ไปเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรชวาทวีป ว่าราชการประจำ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ มีเพียง ๒ พระองค์ ดังตาราง ข้างล่าง

 

                   

 

      เรื่องราวของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์หยาง-โคตะมะ เป็นเรื่องราวของสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ โดยที่ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จะใช้ชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ ชนชาติกลิงค์ หรือ ชนชาติมอญ อาณาจักรอีสานปุระ มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกชั้นหนึ่ง

      ถ้าหากว่า ชนชาติทมิฬโจฬะ หรือ ชนชาติกลิงค์ ไม่สามารถทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้รับชัยชนะ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จะส่งกองทัพใหญ่ เข้าหนุนช่วย อีกครั้งหนึ่ง ดินแดนแห่งความขัดแย้งกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ คือ ดินแดนอาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี และ ตาเกี๋ย) เช่นที่เคยทำสงครามกันมาในอดีต

      สมรภูมิ ของ สงครามที่สำคัญในสมัย สงครามโรมรันพันตู เกิดขึ้นในดินแดน อาณาจักรไตจ้วง แล้วขยายมายัง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) , อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอ้ายลาว กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติมอญ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม เนื่องจาก มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน มีความสามารถในการสงครามมาก

      ข้อมูลรายละเอียด ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ หาอ่านได้จากหนังสือ สยามประเทศ มิได้เริ่มต้นที่สุโขทัย ตอน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์หยาง-โคตะมะ เรียบเรียงโดย นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ในที่นี้จะนำสาระที่สำคัญจากหนังสือดังกล่าว มาสรุปไว้โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

 

 (๓๖) สมัย มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน กรุงพันพาน(พุนพิน)

      ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน(พ.ศ.๑๐๗๐-๑๑๑๑) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น จักรพรรดิเจ้าจิวโต เป็นจักรพรรดิ ว่าราชการที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) แต่ต่อมา จักรพรรดิเจ้าจิวโต เสด็จสวรรคต ในสงคราม นายกหยางเจ้าหลีชน กรุงสระทิ้งพระ จึงได้ขึ้นมาเป็น จักรพรรดิ แทนที่ และมี เจ้าจิวใหญ่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ในรัชกาลนี้ มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ(ตุงเว่ยก๊ก)

      ความสัมพันธ์ทางการทูต ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน(พ.ศ.๑๐๗๐-๑๑๑๑) กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น เนื่องจาก ในปี พ.ศ.๑๐๗๐ ผู้ปกครอง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้แตกแยกออกเป็น ๒ ราชวงศ์ หรือ ๒ ก๊ก คือ ราชวงศ์เว่ยตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) และ ราชวงศ์เว่ยตะวันตก(ซีเว่ยก๊ก)

      เนื่องจาก นโยบาย ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) ส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และยังมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน อีกด้วย เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน สร้างความสัมพันธ์กับ ตุงเว่ยก๊ก เพื่อโค่นล้ม ซีเว่ยก๊ก(มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันตก) ซึ่งมีนโยบายปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา

      เมื่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แล้ว จึงหันไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) แทนที่ ดังนั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน จึงได้ทำการส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ต้าตุง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) เมื่อปี พ.ศ.๙๗๓ พร้อมกับนำพระทันตธาตุ ไปถวายให้กับ ฮ่องเต้ ซึ่งศรัทธาพระพุทธศาสนา ด้วย จดหมายเหตุจีน ได้บันทึกไว้อย่างสั้นๆ ว่า¨-

       “...ปีที่ ๑ ในรัชกาล ฮ่องเต้ต้าตุง(พ.ศ.๑๐๗๐) ราชวงศ์ตุงเว่ย(ตุงเว่ยก๊ก) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก มีมหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงพันพาน(พุนพิน) มีพระนามว่า หยางเจ้าจูเหลียน(หยาง-เจา-จู-เหลียน) ได้ส่งคณะราชทูต พร้อมนำพระทันต์ธาตุ ซึ่งบรรจุไว้ในพระสถูปสีต่างๆ พร้อมกับใบพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งทำด้วยทองคำ และของหอมอีก ๑๐ ชนิด ไปเป็นเครื่องราชบรรณาการ ถวายแด่ ฮ่องเต้ต้าตุง แห่ง ตุงเว่ยก๊ก(มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก) ด้วย...”

      มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก แห่ง ราชวงศ์เว่ยตะวันออก(ตุงเว่ย) หรือ ราชวงศ์ตุงเว่ย มี แม่ทัพเกาฮวน ได้ตั้งตนเป็น ฮ่องเต้ต้าตุง เป็นผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับฝั่งทะเล ตะวันออก มีเมือง เทียนจิ๋น เป็นราชธานี

ฮ่องเต้ต้าตุง จะต้องส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับรัฐต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรม ในการสถาปนาตนเองขึ้นมาเป็นฮ่องเต้ เพื่อปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก ส่วน ซีเว่ยก๊ก นั้น เป็นผู้ปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา ถึงขั้นได้เคยส่งกองทัพเรือ มาเผาพระราชวังหลวง กรุงคันธุลี ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาแล้ว จึงกลายเป็นศัตรูกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาโดยตลอด

ส่วน มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ นั้น เป็นผู้สนับสนุน ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติมอญ ก่อสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อแย่งชิงดินแดนสุวรรณภูมิ มาอย่างต่อเนื่อง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทำการส่งทหารเข้าหนุนช่วยข้าศึก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นประจำ อีกทั้ง ยังมีความขัดแย้งในเรื่องที่ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี) ไปครอบครองด้วย ความสัมพันธ์ทางการทูต จึงขาดสะบั้นลงด้วย

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ซึ่งเขียนบันทึกขึ้นโดย ม้าต้วนหลิน ซึ่งเป็นผู้ค้นคว้าพงศาวดารจีนในสมัยโบราณ โดยเขียนขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้กล่าวถึง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร(พุนพิน) แคว้นพันพาน ซึ่งมีคณะราชทูตของ ฮ่องเต้ต้าตุง แห่งราชวงศ์ตุงเว่ย ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก ได้ส่งราชทูต เดินทางมาเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน บันทึกได้กล่าวถึง ที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของราชธานี พันพาน(พุนพิน) ว่า มหาจักรพรรดิ เป็นผู้ปกครอง มีพระนามว่า หยางเจ้าจูเหลียน จดหมายเหตุจีนที่บันทึกไว้ สามารถแปลความได้ดังนี้

...ปีที่ ๒ ในรัชกาลต้าตุง(พ.ศ.๑๐๗๑) ราชวงศ์ตุงเว่ย(ตุงเว่ยก๊ก) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก ฮ่องเต้ ได้ส่งคณะราชทูต เพื่อเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ มหาอาณาจักรทะเลใต้ กรุงพันพาน(พุนพิน) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะใหญ่(เกาะเทียนสน) มีทะเลน้อย(ช่องแคบโพธิ์นารายณ์) คั่นอยู่ มีอ่าวใหญ่(อ่าวไทย) คั่นอยู่กับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ในหน้าลมมรสม เรือสำเภา สามารถแล่น มาถึง กรุงพันพาน(พุนพิน) ได้ภายในเวลา ๓๐-๔๐ วัน มหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ)  กรุงพันพาน(พันพานก๊ก) มีพระนามว่า หยางเจ้าจูเหลียน(หยางเจาจูเหลียน)

ก่อนหน้านี้(พ.ศ.๑๐๗๐) พันพานก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปพร้อมกับ คณะราชทูตของ ตุงเว่ยก๊ก ด้วย พร้อมกับได้นำ พระทันต์ธาตุ ซึ่งบรรจุไว้ในพระสถูปสีต่างๆ พร้อมกับใบพระศรีมหาโพธิ์ทำด้วยทองคำ และของหอมอีก ๑๐ ชนิด ไปถวายแด่ ฮ่องเต้ต้าตุง ด้วย...”

      ต่อมา มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งคณะราชทูต พร้อมเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ต้าตุง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๒ เพื่อเจรจาเรื่อง การจัดการเกี่ยวกับ แคว้นตาเกี๋ย(แคว้นชิหนาน) ด้วย มีบันทึกว่า...

       “...ปีที่ ๓ แห่งรัชกาลต้าตุง(พ.ศ.๑๐๗๒) แห่ง ราชวงศ์ตุงเว่ย(ตุงเว่ยก๊ก) มหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงพันพาน(พันพานก๊ก) ได้ส่งคณะราชทูต พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ต้าตุง และมีการเจรจาเรื่องแนวเขตแดนของ แคว้นชิหนาน(ตาเกี๋ย) ด้วย...”

หลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน กำลังสมคบกับ ฮ่องเต้ต้าตุง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) เพื่อทำสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จึงมีการนำเอาเรื่องเขตแดน ของ แคว้นตาเกี๋ย(ชิหนาน) ซึ่งเป็นของชนชาติอ้ายไต มาก่อน และ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ยึดครองไป มาหารือ ด้วย

เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ต้องเร่งรีบดำเนินการ ขัดขวางการยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย(ชิหนาน) กลับคืนไปสู่การปกครอง ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ ในปี พ.ศ.๑๐๗๒ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แห่ง ราชวงศ์เหลียง จึงเร่งรีบ สนับสนุนให้ มหาราชาหลีบอน(ลี-บอน)เป็นราชาผู้ปกครอง แคว้นตาเกี๋ย(ชิหนาน) โดยได้ประกาศ แยกตัว แคว้นตาเกี๋ย ออกจากการปกครอง ของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แห่ง ราชวงศ์เหลียง แล้วแสร้งนำแคว้นตาเกี๋ย มาขึ้นต่อ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อขัดขวางมิให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ใช้แคว้นตาเกี๋ย เป็นฐานที่มั่น ในการทำสงคราม ยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี ตาเกี๋ย) กลับคืน

แสดงให้เห็นว่า มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน กำลังเตรียมก่อสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง เป็นที่มาของ สงครามโรมรันพันตู ในเวลาต่อมาด้วย    

      หลักฐานจดหมายเหตุจีน บันทึกโดยม้าต้วนหลิน ซึ่งได้บันทึกถึงเรื่องราวในปี พ.ศ.๑๐๗๓ ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ต้าตุง ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ แห่ง ราชวงศ์ตุงเว่ย ได้บันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๓ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ต้าตุง พร้อมถวายเครื่องราชบรรณาการ อีก ฮ่องเต้ต้าตุง ทรงมีพระราชสาส์นมาขอ พระไตรปิฏก และ ช่วยส่งพระภิกษุ ไปช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ด้วย มีบันทึกสั้นๆ แปลได้ใจความ ว่า...

...ปีที่ ๔ แห่งรัชกาลต้าตุง(พ.ศ.๑๐๗๓) แห่ง ราชวงศ์ตุงเว่ย มหาจักรพรรดิ แห่งมหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงพันพาน(พุนพิน)ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการอีก ฮ่องเต้ จึงมีพระราชสาส์น ทรงขอให้ มหาจักรพรรดิ(มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน) กรุงพันพาน ช่วยรวบรวมพระคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อประทาน ให้กับ ฮ่องเต้ต้าตุง ด้วย อีกทั้ง ฮ่องเต้ ทรงขอให้ มหาจักรพรรดิ ช่วยส่งพระภิกษุสงฆ์ ไปช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดน ตุงเว่ยก๊ก อีกด้วย...

หลังจากคณะราชทูต ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพุนพิน ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๓ แล้ว อีก ๖ ปีถัดมา(ปี พ.ศ.๑๐๗๙) มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ และสิ่งที่ฮ่องเต้ เคยร้องขอ แก่ ฮ่องเต้ต้าตุง ด้วย บันทึกดังกล่าวมีข้อความสั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย ได้เนื้อหา ว่า...

...ปีที่ ๑๐ ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ต้าตุง(พ.ศ.๑๐๗๙) ราชวงศ์ต้าตุง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) ได้มี มหาจักรพรรดิ(หยางเจ้าจูเหลียน) แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายพระบรมธาตุหลายองค์ ซึ่งบรรจุไว้ในพระสถูปสีต่างๆ พร้อมถวายใบศรีมหาโพธิ์ ซึ่งทำด้วยทองคำ มีขนมหวาน และเครื่องหอมชนิดต่างๆ มาถวายแด่ ฮ่องเต้ต้าตุง ด้วย...”

หลักฐานประวัติศาสตร์ของจีน กล่าวถึงเหตุการณ์ ระหว่างปี พ.ศ.๑๐๗๘-๑๐๘๘ ว่า มีคณะราชทูตจีน แห่ง มหาอาณาจักรตุงเว่ยก๊ก ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก หลายคณะ ได้เดินทางมายังดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) อีกหลายครั้ง เพื่อร้องขอให้ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) ช่วยรวบรวมพระคัมภีร์ ทางพุทธศาสนา ประทาน และขอให้ช่วยส่งพระภิกษุสงฆ์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ยังดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก อีกด้วย

มีหลักฐานว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๐๘๙ หลักฐานจดหมายเหตุจีน ได้บันทึกว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีบันทึก ว่า...

"...ปีที่ ๒๐ แห่งรัชกาลต้าตุง(พ.ศ.๑๐๘๙) มหาจักรพรรดิ(หยางเจ้าจูเหลียน) แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งได้ส่งพระภิกษุชาวอินเดีย มีนามว่า ปรมารถ หรือ คุณรัตน์ แห่ง เมืองอุชเชนี ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่ ราชธานี กรุงพันพาน ให้เดินทางไปยัง ตุงเว่ยก๊ก(มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก) พร้อมกับ คณะราชทูต ท่านภิกษุปรามารถ ได้นำพระคำภี ๒๔๐ ผูก จากอินเดีย เข้าไปยังดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) เพื่อถวายแก่ ฮ่องเต้ต้าตุง ตามคำขอด้วย..."

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร)

เนื่องจากในปี พ.ศ.๑๐๗๐ พระเจ้าวิชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ร่วมมือกับ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ส่งกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) พร้อมกับทำการเผาเมือง กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ทำให้ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์ฆะทัตต์ กรุงหลังยะสิ่ว สวรรคต ในสงคราม 

พระเจ้าวิชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) มีบทบาทสำคัญ ในการทำสงครามกับ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ภายใต้การสนับสนุน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ทราบว่า มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มีส่วนร่วมในการส่งกองทัพเข้าสนับสนุน ชนชาติทมิฬ เข้าโจมตี กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) อันเป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วยนั้น ทำให้ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สิ้นสุดลง ทันที ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๗๐ เป็นต้นมา และเป็นที่มาให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ส่งกองทัพ มา หนุนช่วย พระเจ้าพันพิชัย มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) จนทำให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) แตกเป็น ๒ ก๊ก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๗๐ ตามที่กล่าวมาแล้ว

เนื่องจาก พระเจ้าคุณวรมัน ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้าชัยวรมัน อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งได้หลบหนีไปส้องสมกำลังยู่ที่ อาณาจักรเวียตน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๕๗ เป็นต้นมา ได้ร่วมมือกับ พระเจ้าพันพิชัย แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) มอบให้ พระเจ้ารุทรวรมัน พระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ของ พระเจ้าชัยวรมัน นำกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๒ กลับคืน

สงครามครั้งนั้น กองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ทำการสู้รบกับกองทัพของ มหาราชาเจ้าคำตัน อย่างดุเดือด มหาราชาเจ้าคำตัน ซึ่งเป็นมหาราชาแห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) สวรรคต ในสงคราม พระเจ้ารุทรวรมัน จึงพยายามส่งกองทัพ เข้าทำสงครามแย่งยึดแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เพิ่มขึ้น สงครามครั้งนั้น จึงยังไม่ยุติ เพราะ อาณาจักรคามลังกา โดย มหาราชาศรีทราทิตย์ ได้มอบให้ มหาอุปราชเจ้าศรีสุริยะ ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ร่วมนำกองทัพ ออกไปทำสงครามขับไล่ กองทัพของ พระเจ้าคุณวรมัน ด้วย จนกระทั่ง พระเจ้าคุณวรมัน ต้องเสด็จสวรรคต ในสงคราม อีกพระองค์หนึ่ง

เมื่อ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน กรุงพันพาน ทราบเหตุ จึงได้ส่งกองทัพประจำการ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เข้าหนุนช่วย โดยได้มอบหมายให้ จักรพรรดิจิวโต แห่ง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก นำกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามกับกองทัพ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เป็นเหตุให้ พระเจ้ารุทรวรมัน ต้องถอยร่น ไม่สามารถรักษา อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ไว้ได้ จึงต้องหลบหนีออกไปยัง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ในสงคราม ครั้งนั้น

สงครามปราบปรามชนชาติทมิฬโจฬะ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๒ นั้น มหาอุปราชเจ้าศรีสุริยะ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาหิรัญญะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง สามารถจับกุมเชลยศึกชนชาติทมิฬโจฬะ ไปเป็นข้าทาส ในการสร้าง ปราสาทหินเขาพระวิหาร จนสำเร็จ เมืองปราสาทเขาพระวิหาร จึงกลายเป็น เมืองมหาอุปราช ของ อาณาจักรคามลังกา เรื่อยมา และได้กลายเป็น เมืองราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา สลับกับ เมืองพนมรุ้ง ในเวลาต่อมาด้วย

ส่วนเชื้อราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ที่คงเหลืออยู่ในดินแดนเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) จะถูก จักรพรรดิเจ้าจิวโต นำไปประหารชีวิต เป็นส่วนใหญ่ แล้วแต่งตั้งให้ มหาราชาทันใจ แห่ง ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์เทียนเสน ซึ่งสืบทอดสายราชวงศ์มาจาก มหาราชาเจ้าทันมัน ซึ่งปกครองอาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เมื่อปี พ.ศ.๙๖๖ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เป็นรัชกาล ถัดมา ส่วน พระเจ้ารุทรวรมัน สามารถหลบหนีไปได้ และได้ร่วมมือกับ มหาราชา ของ อาณาจักรเวียดน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) ยกกองทัพหลบหนีไปยัง แคว้นจามปา ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าพันพิชัย อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าวิชัยวรมัน ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้เคยสมคบกับ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ส่งกองทัพเข้าโจมตี และเผาทำลาย เมืองโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) กลายเป็นเมืองร้าง ไปชั่วคราว สงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิเจ้าโพธิคะ สวรรคตในสงคราม ด้วย

หลังจากนั้น คือปี พ.ศ.๑๐๗๐ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงต้องส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ พระเจ้าวิชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ผลของสงครามปรากฏว่า พระเจ้าวิชัยวรมัน สวรรคตในสงคราม มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน จึงโปรดเกล้าแต่ตั้งให้ มหาราชาเจ้าตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาตังเกฉุน ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาราชา พระองค์ใหม่ เพื่อปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ต่อเนื่องจาก พระเจ้าวิชัยวรมัน โดยยุบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เรียกว่า อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) อีกครั้งหนึ่ง

  เมื่อ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทราบข่าว จึงได้ส่งกองทัพเข้าสนับสนุนกองทัพ ของ พระเจ้าพันพิชัย ซึ่งส้องสมกำลังอยู่ที่ อาณาจักรเวียตน้ำ(หมู่เกาะฟิลิปินส์) หมายถึงอาณาจักรของชนชาติทมิฬโจฬะ ผู้ทำสงครามรุกรานทางน้ำ ได้นำกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นจามปา ของ อาณาจักรหลินยี่ กลับคืน แล้วแต่งตั้ง มหาราชาพระองค์ใหม่ สายราชวงศ์เหงียน-ทมิฬ มีพระนามว่า พันพิชัย(ฟัน-พิ-ชะ-ยะ) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อีกครั้งหนึ่ง

มีหลักฐานว่า ปี พ.ศ.๑๐๗๐ นั้น จดหมายเหตุจีน แห่ง ราชวงศ์เหลียง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ บันทึกว่า ได้มีมหาราชาแห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) มีพระนามว่า พระเจ้าพันพิชัย(พิ-ชิ-ยะ-ปะ-โม) ได้ส่งคณะราชทูต จาก อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เดินทางไปสร้างสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อขอกำลังจาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มาสนับสนุนการทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน เป็นที่มาให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งกองทัพใหญ่ มาช่วยเหลือ พระเจ้าพันพิชัย ตามที่มีการร้องขอ สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ไปครอบครองด้วย¨-

ในปีเดียวกัน เมื่อ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ทราบข่าว จึงได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้ายึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) กลับคืน แต่สามารถยึดครองดินแดน ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) กลับคืน เท่านั้น เพราะกองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ยกกองทัพเข้าหนุนช่วย พระเจ้าพันพิชัย แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ทำให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไม่สามารถต้านทานกองทัพใหญ่ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ เป็นเหตุให้ อาณาจักรหลินยี่ ถูกแบ่งออกเป็น สองอาณาจักร ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๗๐-๑๐๗๗ เป็นต้นมา คือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อีกครั้งหนึ่ง

อาณาจักรหลินยี่ ทางภาคเหนือ เรียกว่า อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ปกครองโดยราชวงศ์เจ้าอ้ายไต คือ มหาราชาตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาตังเกฉุน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กับ พระนางแก้ว แห่ง แคว้นออกแก้ว อาณาจักรคามลังกา โดยมี เมืองเว้ เป็นเมืองนครหลวง

ส่วน อาณาจักรหลินยี่ ทางภาคใต้ เรียกว่า อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ปกครองโดย ราชวงศ์เหงียน-ทมิฬ  มีพระนามว่า พระเจ้าพันพิชัย(ฟัน-พิ-ชะ-ยะ) มี เมืองจามปา เป็นเมืองนครหลวง ต่อมา มหาราชาตังเกฟัน ได้ร่วมกับ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ต้องทำสงครามอย่างต่อเนื่องประมาณ ๗ ปี จึงสามารถรวบรวมดินแดน ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง

      เหตุการณ์ของสงครามได้ต่อเนื่องมาถึงปี พ.ศ.๑๐๗๒ เมื่อ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สนับสนุนให้ พระเจ้าพันพิชัย แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) กลับคืน เป็นเหตุให้ พระเจ้ารุทรวรมัน ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้าชัยวรมัน ได้นำกองทัพ เข้าโจมตี อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๒ แต่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ได้รับความเสียหาย อย่างหนัก สงครามครั้งนั้น พระเจ้ารุทรวรมัน หลบหนีไปได้ และได้ร่วมกับ อาณาจักรเวียดน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) เข้ายึดครอง แคว้นจามปา ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ พระเจ้าพันพิชัย แห่ง ราชวงศ์เหงียน-ทมิฬ สวรรคต ในสงคราม พระเจ้ารุทรวรมัน จึงขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ในรัชกาลถัดมา¨-

      ต่อมา ในขณะที่เกิดสงครามขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอีสานปุระ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๔ นั้น ราชาหลีบอน(ลี-บอน) แห่ง แคว้นตาเกี๋ย ได้มอบให้ แม่ทัพพันตู ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ทางภาคเหนือ ด้วย ส่วนกองทัพของ มหาราชาพระเจ้ารุทรวรมัน ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ทางภาคใต้ เป็นการร่วมกันทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ของ มหาราชาตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) ตามแผนการที่กำหนด จึงเกิดสงครามครั้งใหม่ เรียกชื่อว่า สงครามโรมรัน-พันตู ครั้งที่ ๑ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ทันที

 

สงครามโรมรันพันตู ครั้งที่ ๑ ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ)

      เนื่องจาก ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้สมคบกับ พระเจ้ารุทรวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ทำการผลักดันให้ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ทำการก่อกบฏ เพื่อดึงกำลังส่วนใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ให้ต้องส่งกองทัพเข้าป้องกัน อาณาจักรคามลังกา เพื่อเปิดโอกาสให้ กองทัพของ ราชาหลีบอน(ลี-บอน) แห่ง แคว้นตาเกี๋ย และ กองทัพของ พระเจ้ารุทรวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ร่วมกันทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ของ มหาราชาตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) ไปพร้อมกัน

      ดังนั้น สงครามโรมรันพันตู ครั้งที่ ๑ ที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอีสานปุระ จึงเชื่อมโยงกับสงครามที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย

      ในขณะที่เกิดสงครามขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอีสานปุระ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๔ นั้น ราชาหลีบอน(ลี-บอน) แห่ง แคว้นตาเกี๋ย ได้มอบให้ แม่ทัพพันตู ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ทางภาคเหนือ ด้วย ส่วนกองทัพของ พระเจ้ารุทรวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ทางภาคใต้ เป็นการร่วมกันทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ซึ่งปกครองโดย มหาราชาตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) ตามแผนการที่กำหนด จึงเกิด สงครามโรมรัน-พันตู ครั้งที่ ๑ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ทันที

     เมื่อเกิดสงครามโรมรันพันตู ครั้งที่ ๑ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งในดินแดนของ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๗๔ เป็นต้นมา นั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน กรุงพันพาน ได้รับสั่งให้ จักรพรรดิเจ้าจิวโต นำกองทัพใหญ่ จาก กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ไปทำการปราบปราม กบฏ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ และรับสั่งให้ แม่ทัพหยางเจ้าหลีชน แห่ง อาณาจักรเทียนสน กรุงสระทิ้งพระ นำกองทัพเข้าไปหนุนช่วย อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ด้วย โดยมี แม่ทัพใหญ่ ๒ ท่าน มีชื่อว่า ขุนโรม และ ขุนรัน ซึ่งจะต้องทำการรบกับ แม่ทัพพันตู ของ ราชาหลีบอน(ลี-บอน) แห่ง แคว้นตาเกี๋ย คือที่มาของชื่อ สงครามโรมรันพันตู นั่นเอง

      เนื่องจาก สงครามโรมรันพันตู ที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) นั้น เป็นสงครามยืดเยื้อประมาณ ๔ ปี มหาราชาตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) ได้นำกองทัพใหญ่ ทำสงครามกับ กองทัพของ พระเจ้ารุทรวรมัน ทางภาคใต้ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) สามารถยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เรื่อยมา จนกระทั่ง พระเจ้ารุทรวรมัน ต้องส่งคณะราชทูต ไปขอกำลังทหารจาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มาช่วยทำสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๗¨-

      ส่วนสงครามที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ภาคเหนือ ของ นั้น คือสงครามระหว่าง แม่ทัพ ๒ ท่าน ของ จักรพรรดิเจ้าจิวโต ซึ่งมีชื่อว่า ขุนโรม และ ขุนรัน ซึ่งต้องทำสงครามกับ แม่ทัพพันตู ของ ราชาหลีบอน(ลี-บอน) แห่ง แคว้นตาเกี๋ย เป็นสงครามยืดเยื้อประมาณ ๔ ปี เช่นกัน เกิดการรบกันในหลายสมรภูมิ อย่างดุเดือด เลือดพล่าน ตลอดสงคราม ๔ ปี

สงครามโรมรันพันตู ซึ่งรบยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๑๐๗๗ และเมื่อ พระเจ้ารุทรวรมัน ได้ขอความสนับสนุนไปยัง ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ นั้น เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าจูเหลียน แห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน สามารถทำสงคราม รวบรวมดินแดน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) รวมเข้ากับ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นปึกแผ่น อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกันนั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ได้โปรดเกล้าให้ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต มีพระนามว่า มหาราชาตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาตังเกฉุน ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรหลินยี่ โดยมีราชธานีอยู่ที่ กรุงเว้ อีกครั้งหนึ่ง

อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) จึงรวมเข้ากับ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลายเป็นอาณาจักรหนึ่งเดียว เรียกว่า อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ปกครองโดยราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต อีกครั้งหนึ่ง ส่วนกองทัพของ แม่ทัพพันตู แม่ทัพของ ราชาหลีบอน(ลี-บอน) ต้องถอยทัพกลับไปยัง แคว้นตาเกี๋ย หลังจากการพ่ายแพ้สงคราม

 

สงครามโรมรันพันตู ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอีสานปุระ

สงครามโรมรันพันตู ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ ชนชาติมอญ อาณาจักรอีสานปุระ(ภาคอีสาน) เกิดขึ้นเมื่อ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ซึ่งเป็นพี่น้องต่างมารดา กับ พระเจ้าชัยวรมัน ได้ประกาศก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ  อีกครั้งหนึ่ง แล้วส่งกองทัพเข้าโจมตี ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง อันเป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๓ สงครามยืดเยื้อไปจนถึงปี พ.ศ.๑๐๗๔ ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าศรีภววรมัน พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาอุปราชพระเจ้าพันจิตร แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นอินทปัต ซึ่งเป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรคามลังกา เป็นผลสำเร็จด้วย

สงครามครั้งนั้น ณ สมรภูมิ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง อันเป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา เกิดขึ้นเมื่อ มหาราชาศรีทราทิตย์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ ได้นำกองทัพออกมาสู้รบนอกเมือง ผลปรากฏว่า มหาราชาศรีทราทิตย์ สวรรคต ในสงคราม แต่ มหาอุปราชเจ้าศรีสุริยะ สามารถยกกองทัพเข้าโจมตีกองทัพของ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ จนต้องถอยทัพกลับไปยัง แคว้นกาละศีล(กาฬสินธุ์) อันเป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรอีสานปุระ ของ ชนชาติมอญ-ทมิฬ เป็นผลสำเร็จ

ภายหลังสงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ทราบข่าว จึงมอบให้ จักรพรรดิเจ้าจิวโต แห่ง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นำกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามปราบปราม พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ โดยสามารถยกกองทัพไปถึง เมืองกาละศีล หรือ เมืองอีสานปุระ(กาฬสินธุ์) อันเป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรอีสานปุระ เป็นเหตุให้  พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน สวรรคต ในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๔ มหาอุปราชพระเจ้าพันจิตร แห่ง แคว้นยโสธรปุระ จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาราชา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๗๔ เป็นต้นมา โดยได้ยอมอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน อีกครั้งหนึ่ง

ในสงครามปราบปราม อาณาจักรอีสานปุระ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๔ ครั้งนั้น ตำนานเรื่องราวของขุนหลวงใหญ่ไกลโศก กล่าวว่า ขุนจิวใหญ่ พระราชโอรส ของ จักรพรรดิเจ้าจิวโต ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นอินทปัต ของ อาณาจักรคามลังกา กลับคืน และได้ พระนางขอมอินทปัต ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ พระเจ้าศรีภววรมัน ผู้ปกครอง แคว้นอินทปัต มาเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ ในเวลาต่อมา คือ เจ้าชายชัยฤทธิ์ และ เจ้าชายมหาฤกษ์ ในเวลาต่อมา

 

 ภาพที่-๗๑ ภาพจำลอง ปราสาทหินเขาพระวิหาร ราชธานี อีกแห่งหนึ่ง ของ อาณาจักรคามลังกา ซึ่งสร้างขึ้นโดย มหาราชาศรีสุริยะ ซึ่งเป็น พระเจ้าหลานเธอ ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี

 

ภายหลังสงครามปราบปรามอาณาจักรอีสานปุระ ครั้งนั้น ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง กล่าวว่า มหาอุปราชเจ้าศรีสุริยะ ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี นั้น ได้ใช้เชลยศึก ทมิฬโจฬะ และ เชลยศึกมอญ-ทมิฬ ไปสร้างปราสาทหินเขาพระวิหาร จนสำเร็จ ประมาณปี พ.ศ.๑๐๗๔ หลังจากที่ มหาราชาศรีทราทิตย์ เสด็จสวรรคต ในสงคราม เป็นเหตุให้ มหาอุปราชเจ้าศรีสุริยะ ซึ่งเป็นพระราชโอรส จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรคามลังกา จึงใช้แคว้นปราสาทหินเขาพระวิหาร เป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ต่อมา

ส่วนแคว้นพนมรุ้ง กลายเป็น แคว้นมหาอุปราช ของ อาณาจักรคามลังกา ปกครองโดย มหาอุปราชท้าวสมเดชะ พระราชโอรส ของ มหาราชาเจ้าศรีสุริยะ เป็นผู้ปกครอง เป็นเหตุให้ เมืองนครหลวง และ เมืองมหาอุปราช ของ อาณาจักรคามลังกา สลับกันไปมา เช่นเดียวกันกับ เมืองมหาจักรพรรดิ , เมืองจักรพรรดิ และ เมือง นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เปลี่ยนแปลงไปมา เช่นกัน

 

สงครามโรมรันพันตู ครั้งที่ ๒ ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย และ อาณาจักรหลินยี่

        สงครามโรมรันพันตู เกิดขึ้น เนื่องจาก ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้สนับสนุนให้ มหาราชาหลีบอน(ลี-บอน)ชนชาติไตจ้วง ให้เป็นราชาผู้ปกครอง แคว้นตาเกี๋ย โดยได้ประกาศแยก แคว้นตาเกี๋ย ออกจากการปกครอง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๒ เพื่อแสร้งนำ แคว้นตาเกี๋ย ไปขึ้นต่อ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ โดยใช้ แคว้นตาเกี๋ย เป็นรัฐกันชน มิให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี และ ตาเกี๋ย) กลับคืน

  การที่ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน สามารถทำสงครามยึดครองดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ จนทำให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) กลายเป็นปึกแผ่น อีกครั้งหนึ่ง นั้น ย่อมกระทบต่อความมั่นคง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นอย่างยิ่ง

จะเห็นว่า หลังจากนั้นเพียงปีเดียว คือ ปี พ.ศ.๑๐๘๐ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงคราม สนับสนุนการทำสงครามกอบกู้เอกราช ของ อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี ตาเกี๋ย) ให้ทำสงครามยึดครองดินแดนของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืนทันที

คนไทยเรียกสงครามครั้งนั้นว่า สงครามโรมรันพันตู เป็นที่มาให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ใช้กุลอุบาย สนับสนุนให้ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง ดั้งเดิม ซึ่งถูก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ยึดครองดินแดน ไปครอบครอง ให้ตั้งตนเป็นเขตปกครองอิสระ ภายใต้การคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อผลักดันให้ ชนชาติอ้ายไต ต่อสู้กับ กองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต ด้วยกัน อีกครั้งหนึ่ง

สงครามโรมรันพันตู ครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นเมื่อ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม สนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง ให้ทำสงครามยึดครองดินแดนของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืน เมื่อปี พ.ศ.๑๐๘๐

ตำนาน สงครามโรมรัน-พันตู ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง นั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน มอบให้ จักรพรรดิเจ้าจิวโต ส่งกองทัพใหญ่ นำทัพโดย ขุนโรม และ ขุนรัน เช่นเดิม เพื่อเข้าไปสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง ให้สามารถทำสงครามขับไล่ ขุนนาง และ เจ้าที่ดิน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ให้ออกไปจากดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี และ ตาเกี๋ย) ด้วย

ฝ่าย ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เร่งรีบสนับสนุนให้ขุนนางเชื้อสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองอีก ๓ แว่นแคว้น ของ อาณาจักรไตจ้วง คือ แคว้นกวางตุ้ง แคว้นกวางสี และ แคว้นกวางเจา ขึ้นต่อการปกครอง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เช่นเดียวกับ แคว้นตาเกี๋ย เป็นการผลักดันให้ ชนชาติอ้ายไต ทำสงครามกับ ชนชาติอ้ายไต ด้วยกันเอง ทำให้การก่อตัว ของ กองทัพโพกผ้าเหลือง ตามที่ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน พยายามผลักดันสร้างขึ้น ไม่เป็นผลสำเร็จ ตามแผนการที่กำหนดไว้

ในที่สุด มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๘๑ โดยได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงคราม ยึดครองดินแดน แคว้นตาเกี๋ย กลับคืน โดยมอบให้ จักรพรรดิเจ้าจิวโต นำกองทัพใหญ่เข้าทำสงคราม โดยมีแม่ทัพใหญ่ ๒ ท่าน คือ แม่ทัพโรม และ แม่ทัพรัน ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นตาเกี๋ย ด้วย

สงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย ครั้งนั้น ราชาหลีบอน ได้มอบให้ แม่ทัพพันตู ออกทำสงครามต่อต้าน กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน จึงเกิดการสู้รบ ระหว่างกัน อย่างดุเดือด เลือดพล่าน โดยมีกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เข้าสนับสนุน กองทัพของ ราชาลีบอน ด้วย สงครามเป็นไปอย่างยืดเยื้อ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ยังไม่สามารถตีกักเอา แคว้นตาเกี๋ย สำเร็จ เพราะได้มีกองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เข้าหนุนช่วยกองทัพของ แม่ทัพพันตู ด้วย

 

สงครามโรมรันพันตู ณ สมรภูมิ อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรคามลังกา

เนื่องจาก สงครามโรมรันพันตู ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย เป็นไปอย่างยืดเยื้อ ซึ่งเป็นที่มาให้ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้พยายามติดต่อเชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรเวียดน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เกี่ยวพันกับ อาณาจักรอีสานปุระ ให้ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ให้ช่วยก่อสงครามกับ อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรคามลังกา อีกสมรภูมิหนึ่งด้วย

ขณะที่เกิดสงครามโรมรันพันตู ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย นั้น พระเจ้าภววรมัน มหาอุปราช ของ แคว้นยโสธร แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ทำการก่อกบฏ ตามการร้องขอ ของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรอ้ายลาว ทันที

พระเจ้าภววรมัน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) ซึ่งเมืองราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว เป็นผลสำเร็จ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๘๒ เป็นเหตุให้ อาณาจักรอ้ายลาว ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรอีสานปุระ ของ ชนชาติมอญ เป็นครั้งแรก

พระเจ้ายโสธร มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ยังได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นอินทปัต ของ อาณาจักรคามลังกา อีกด้วย โดยสามารถยึดครอง แคว้นอินทปัต ไว้ได้ และมอบให้ พระเจ้าศรีภววรมัน ซึ่งเป็นพระราชโอรส เป็นผู้ปกครอง แคว้นอินทปัต ของ อาณาจักรคามลังกา และประกาศให้ แคว้นอินทปัต เป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรคามลังกาภาคใต้ พร้อมกับทำสงครามยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ รอบๆ แคว้นอินทปัต ต่อไป ทำให้ อาณาจักรคามลังกา ถูกแบ่งออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรคามลังกาเหนือ และ อาณาจักรคามลังกาใต้ อีกครั้งหนึ่ง

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรคามลังกา ครั้งนั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ได้มอบให้ จักรพรรดิเจ้าจิวโต และ มหาราชาขุนหลวงจิวใหญ่ แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ซึ่งเป็นพระราชโอรส นำกองทัพ ไปทำสงครามปราบปราม การก่อกบฏ ของ อาณาจักรอีสานปุระ โดยส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นเวียงจันทร์ ของ อาณาจักรอ้ายลาว และ แคว้นอินทปัต ของ อาณาจักรคามลังกาใต้ กลับคืน เมื่อปี พ.ศ.๑๐๘๓ แต่ยังไม่สามารถทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นทั้งสอง กลับคืนได้สำเร็จ กลายเป็นสงครามโรมรันพันตู ที่ยืดเยื้อ เช่นกัน

ต่อมา ขุนหลวงจิวใหญ่ สามารถนำกองทัพ ไปทำสงครามปราบปราม การก่อกบฏ ของ อาณาจักรอีสานปุระ ด้วย โดยได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นอินทปัต ของ อาณาจักรคามลังกา ซึ่งถูกยึดครองโดย พระเจ้าศรีภววรมัน กลับคืน เป็นผลสำเร็จ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๘๔ พระเจ้าศรีภววรมัน ต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อ ขุนหลวงจิวใหญ่ และมอบ พระนางอินทปัต พระองค์หนึ่ง ให้เป็นพระชายา ของ ขุนหลวงจิวใหญ่ ด้วย

ขุนหลวงจิวใหญ่ ได้มอบให้ พระยาท่าข้าม พระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ของ ขุนหลวงจิวใหญ่ รักษาแคว้นอินทปัต ไว้ ส่วนกองทัพของ ขุนหลวงจิวใหญ่ ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) ของ อาณาจักรอ้ายลาว กลับคืน

สงครามยืดเยื้อมาถึงประมาณปี พ.ศ.๑๐๘๕ กองทัพ ของ ขุนหลวงจิวใหญ่ และ ขุนอุเทน ซึ่งเป็นพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ของ ขุนหลวงจิวใหญ่ สามารถทำศึกสงคราม ยึดครอง อาณาจักรอ้ายลาว กลับคืน เป็นผลสำเร็จ สงครามครั้งนั้น ขุนอุเทน ได้สร้างตำนานไว้ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง มีการสร้าง ท่าอุเทน ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งถูกเรียกเรียกชื่อว่า ท่าอุเทน สืบทอด มาจนถึงทุกวันนี้

 

สงครามโรมรันพันตู ณ สมรภูมิ ปราสาทเขาพระวิหาร

เนื่องจาก พระเจ้ายโสธร แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้พยายามก่อสงครามขึ้นมา หลายสมรภูมิ โดยมีสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง และที่ แคว้นปราสาทเขาพระวิหาร อีกสองแว่นแคว้นพร้อมกัน ด้วย

พระเจ้ายโสธร ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นปราสาทหินเขาพระวิหาร ซึ่งเป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๑๐๘๕ ผลของสงครามครั้งนั้น มหาราชาศรีสุริยะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา สวรรคต ในสงคราม มหาอุปราชท้าวสมเดชะ แห่ง กรุงพนมรุ้ง ได้ทำสงครามขับไล่ กองทัพมอญ ของ อาณาจักรอีสานปุระ ให้ต้องถอยทัพออกไป ในเวลาต่อมา

ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๘๕ เป็นต้นมา ท้าวสมเดชะ จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรคามลังกา โดยมีเมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง เป็น เมืองราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ อีกครั้งหนึ่ง

ในรัชสมัย ของ มหาราชาท้าวสมเดชะ นั้น หลังจากที่ มหาราชาศรีสุริยะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา สวรรคต ในสงคราม มหาอุปราชท้าวสมเดชะ สามารถทำสงครามขับไล่ กองทัพ ของ อาณาจักรอีสานปุระ ให้ต้องถอยทัพออกไปได้สำเร็จ ในเวลาต่อมา

 

สงครามโรมรันพันตู ครั้งที่ ๓ ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย และ อาณาจักรหลินยี่

ส่วนสงครามโรมรันพันตู ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย นั้น ในขณะที่ แม่ทัพโรม และ แม่ทัพรัน ทำสงครามยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย โดยต่อสู้กับ แม่ทัพพันตู ณ แคว้นตาเกี๋ย อยู่นั้น ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ได้ผลักดันให้ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ทำการส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เมื่อ ปี พ.ศ.๑๐๘๕ พร้อมกันไปด้วย แต่ถูกกองทัพของ มหาราชาตังเกฟัน ได้ทำสงครามต่อต้านอย่างหนัก ชนชาติทมิฬโจฬะ จึงไม่สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) สำเร็จ ต้องล่าถอย กลับไปยัง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา)

ต่อมา แม่ทัพพันตู แห่ง แคว้นตาเกี๋ย(ชิหนาน) ซึ่งปกครองโดย ราชาลีบอน ได้ขอกำลังสนับสนุนจาก ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ให้ช่วยส่งกองทัพมาสนับสนุน ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ด้วย เพื่อกดดันให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ถอนทัพออกจาก สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย

ในที่สุด มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการทำสงครามใหม่ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๘๖ โดยได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าเข้าไปเพิ่มเติมในแคว้นตาเกี๋ย หลังจากที่ ชนชาติทมิฬโจฬะ พ่ายแพ้สงครามในดินแดน สมรภูมิ ของ อาณาจักรหลินยี่ เพื่อทำสงคราม ยึดครองดินแดน แคว้นตาเกี๋ย กลับคืน อย่างเด็ดขาด

มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ได้มอบให้ มหาราชาตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ยกกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี แคว้นตาเกี๋ย ด้วย เนื่องจากสงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย ครั้งนั้น แม่ทัพพันตู ได้ออกทำสงครามต่อต้านกองทัพของ แม่ทัพโรม และ แม่ทัพรัน แม่ทัพใหญ่แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย ได้สำเร็จ

 

สงครามโรมรันพันตูครั้งที่ ๔ ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม)

ในขณะที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย สำเร็จนั้น กองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ร่วมสมคบกับ ราชาลีบอน ของแคว้นตาเกี๋ย นำกองทัพที่เหลือ ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่ ด้วย เป็นเหตุให้ มหาราชาตังเกฟัน แห่ง อาณาจักรหลินยี่ ต้องถอยทัพกลับไปยัง อาณาจักหลินยี่(เวียตนาม) อีก เพราะทราบข่าวว่า มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ด้วย

ส่วนกองทัพของ แม่ทัพโรม และ แม่ทัพรัน ต้องรีบถอนทัพออกจาก แคว้นตาเกี๋ย เช่นกัน เพื่อหนุนช่วยกองทัพของ อาณาจักรหลินยี่ ทำสงครามขับไล่กองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ และกองทัพของ แม่ทัพพันตู ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่ ด้วย

สงครามโรมรันพันตู เมื่อปี พ.ศ.๑๐๘๖ นั้น กองทัพใหญ่ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ และ กองทัพของ แม่ทัพพันตู สามารถบุกเข้ามาถึงเมืองเว้ ราชธานี ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เป็นผลสำเร็จ สามารถทำการเผาพระราชวังหลวง วอดวาย พร้อมกับได้ทำการสังหาร มหาราชาตังเกฟัน(ฟันตังเกฉุน) สวรรคต ในสงครามครั้งนั้น ด้วย

สงครามครั้งนั้น กองทัพของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ถูกแม่ทัพโรม และ แม่ทัพรัน ทำการต่อต้านอย่างหนัก ต้องตัดสินใจถอยทัพกลับไป

แม่ทัพโรม และ แม่ทัพรัน ส่งกองทัพติดตามกองทัพของ แม่ทัพพันตู ซึ่งกำลังถอยทัพกลับไปยังแคว้นตาเกี๋ย ผลของสงครามครั้งนั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ยังคงรักษา อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ไว้ได้ มหาราชาพระองค์ใหม่ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) คือ มหาราชาพันฟันจิ(พันพันจิ) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาตังเกฟัน จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เป็นรัชกาลถัดมา สงครามโรมรันพันตู เพื่อยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย จึงต้องยุติลง ชั่วคราว

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว)

ภายหลังเสร็จสิ้น สงครามโรมรันพันตู ในหลายสมรภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๘๗ แล้ว มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ได้มอบให้ นายกจิวโต ส่งกองทัพเรือ จากกรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ของ พระยาเทพนิมิตร พระราชโอรสของ ขุนหลวงจิวใหญ่ เข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรเวียดน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) เพราะสร้างปัญหาให้กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาโดยตลอด

พระยาเทพนิมิตร ได้นำกองทัพจาก อาณาจักรเทียนสน กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) เข้าทำสงครามปราบปรามกองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ ทั้ง ๒ อาณาจักร เป็นผลสำเร็จ พร้อมกันนั้น พระยาเทพนิมิตร ได้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรโจฬะน้ำ เป็นชื่อใหม่ว่า อาณาจักรศรีโพธิ์ใน(บรูไน) อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับส่งกษัตริย์เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์จิว เข้าปกครอง อาณาจักรศรีโพธิ์ใน(บอร์เนียว) อีกครั้งหนึ่ง ส่วน อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรชบาเหนือ อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา มีการอพยพชนชาติอ้ายไต จากอาณาจักรไตจ้วง เข้าไปตั้งรกรากในดินแดนของ อาณาจักรศรีโพธิ์ใน(บอร์เนียว) และ อาณาจักรชบาเหนือ(ฟิลิปินส์) ส่วนชนชาติทมิฬโจฬะ ได้หลบหนีไปตั้งรกราก ในดินแดนฝั่งภูเขาตะวันออก ของเกาะบอร์เนียว และหมู่เกาะต่างๆ ชนชาติทมิฬ เชลยศึกชนชาติทมิฬโจฬะ อีกส่วนหนึ่ง ถูกอพยพให้ไปตั้งรกรากในดินแดนของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) หรือ หมู่เกาะกาละ(สุมาตรา) เป็นเหตุให้ ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเริ่มเกิดความสงบสุข ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืนสำเร็จ ปี พ.ศ.๑๐๙๐-๑๐๙๒

ในขณะที่ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ได้พยายามสร้างความมั่นคงให้กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ผู้ครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิ มาอย่างยาวนาน นั้น ได้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นมาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ที่ยังคงแตกแยกออกเป็น ๓ ก๊ก เนื่องจากเหตุการณ์ในปี พ.ศ.๑๐๙๐ นั้น แม่ทัพโฮ่จิ่ง ซึ่งเป็นแม่ทัพสำคัญของ ฮ่องเต้ต้าตุง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก หรือ มหาอาณาจักรตุงเว่ย(เว่ยตะวันออก) ซึ่งเป็นผู้ปกครองควบคุมดินแดนเขตแม่น้ำเหลือง นั้น ฮ่องเต้ต้าตุง ได้เกิดความขัดแย้งกับบุตรชายของ แม่ทัพเกาฮวน ซึ่งเป็นแม่ทัพสำคัญ อีกคนหนึ่ง ของ ฮ่องเต้ต้าตุง ได้ทรยศ โดยได้นำกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ย) ไปสวามิภักดิ์ต่อ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทำให้ดุลอำนาจทางทหาร ของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ดีขึ้นทันที

ผลจากการเปลี่ยนดุลอำนาจทางการทหารครั้งนั้น จึงเป็นที่มาให้ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มอบให้ แม่ทัพเกาเฉิง ร่วมกับ แม่ทัพโฮ่จิ่ง ยกกองทัพใหญ่เข้าโจมตี มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ย) สงครามครั้งนั้น กองทัพของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ต้องพ่ายแพ้สงคราม ทำให้ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน ซึ่งมหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เคยทำสงครามเข้ายึดครองไว้ ได้ลุกขึ้นทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี และ ตาเกี๋ย) กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง ทันที มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน จึงส่งกองทัพเข้าหนุนช่วย ทันที 

ดังนั้นเมื่อ แม่ทัพเกาเฉิง และ แม่ทัพโฮ่จิ่ง พ่ายแพ้สงคราม กองทัพ ของ ฮ่องเต้ต้าตุง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ(ตุงเว่ยก๊ก) ฮ่องเต้ต้าตุง จึงยกกองทัพเข้าโจมตี เมืองนานกิง อันเป็นเมืองนครหลวงของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ โดยการปิดล้อมพระราชวังเมืองนานกิง เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ต้องอดอาหาร จนกระทั่งสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๐๙๒ ในที่สุดกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ(ตุงเว่ยก๊ก) ได้เข้าปล้นสดมภ์ ยึดทรัพย์สิน กลับคืนดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ(ตุงเว่ยก๊ก) เป็นจำนวนมาก¨-5

ในช่วงเวลาดังกล่าว มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ได้ผลักดันให้ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี  และตาเกี๋ย) สร้างกองทัพของตนเองขึ้นอย่างลับๆ พร้อมด้วยการสนับสนุนจากกองทัพของ อาณาจักรหูหลาม(เกาะไหหลำ) อาณาจักรหนานเจ้า(หนานก๊ก) อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) และ อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี) ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองดินแดน แว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อย่างต่อเนื่องด้วย

การที่ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พ่ายแพ้สงคราม ถึงขั้น ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ต้องอดอาหาร จนสวรรคต เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ(เป่ยเว่ยก๊ก) เช่นกัน เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ แม่ทัพเกาหยาง บุตรชายของ แม่ทัพเกาฮวน ได้ถือโอกาส ตั้งตนเป็น ฮ่องเต้ มีพระนามว่า  ฮ่องเต้เกาหยาง แห่งราชวงศ์เป่ยเว่ย เมื่อปี พ.ศ.๑๐๙๓ แล้วเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ เป็น ราชวงศ์เป่ยฉี ทำการปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ(เป่ยเว่ยก๊ก) ด้านทิศตะวันตก ต่อไป

ท่ามกลางความขัดแย้งในช่วงเวลาดังกล่าว มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ได้ส่งกองทัพเข้าสนับสนุน การทำสงครามยึดครองดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี และตาเกี๋ย) กลับคืน โดยการทำสงครามร่วมกับ กองทัพของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง โดยได้ถือโอกาส ทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง ของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืน เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๑๐๙๒ เป็นต้นมา

 

(๓๗)สมัยมหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน กรุงสระทิ้งพระ(สงขลา)

      ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน(พ.ศ.๑๑๑๑-๑๑๒๙) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ(สทิงพระ-สงขลา) นั้น ท้าวจิวใหญ่(ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก) กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นจักรพรรดิ และมี พระยาท่าข้าม กรุงพันพาน ดำรงตำแหน่ง นายก ในรัชกาลนี้ มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

                                            

ภาพที่-๗๓ เทวรูป มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน กล่าวกันว่า เทวรูปนี้ เดิมอยู่ที่ เมืองสระทิ้งพระ สงขลา แต่ต่อมาในสมัยราชวงศ์จักรี ตนกูลามิเด็น ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ได้ทำการก่อกบฏ เรียกว่า กบฏตนกูลามิเด็น ได้ส่งกองทัพจากปัตตานี เข้าทำสงครามรุกรานยึดครอง เมืองสงขลา เข้าทำลายเผาวัดวาอาราม และทำลายเทวรูปต่างๆ ไปทั่ว สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ พระราชโอรสของ พระพุทธเลิศหล้าฯ ได้นำกองทัพไปปราบกบฏ จึงสั่งให้ทหารนำเทวรูปนี้ ไปรักษาไว้ที่ เมืองเวียงสระ แต่ต้องวางพิงต้นไม้ ไว้กลางทาง ป้องกันข้าศึกรุกราน แล้วลืมนำกลับคืน

 

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

      ด้านความสัมพันธ์ทางการทูต ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน(พ.ศ.๑๑๑๑-๑๑๒๙) กรุงสระทิ้ง(สงขลา) นั้น ในปี พ.ศ.๑๑๑๑ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) มีบันทึกว่า...

"...ปีที่ ๔๓ ในรัชสมัย ฮ่องเต้ต้าตุง(พ.ศ.๑๑๑๑) ราชวงศ์ตุงเว่ย แห่ง ตุงเว่ยก๊ก(มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก) มีมหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงเซี๊ยโท้(สระทิ้งพระ) พระนามว่า หยางเจ้าหลีชุน(หยางเจาหลีชุน) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางจาก กรุงสระทิ้งพระ(เซี๊ยโท้) มาถวายเครื่องราชบรรณาการ

กรุงเซี๊ยโท้(สระทิ้งพระ) ตั้งอยู่ที่ทางทิศใต้ ของ คาบสมุทรจามปา(เวียตนาม) มีอ่าวใหญ่(อ่าวไทย) คั่นอยู่ระหว่างคาบสมุทรจามปา กับ กรุงเซี๊ยโท้(สระทิ้งพระ) เรือสำเภา สามารถแล่นจากเมืองเกียวเจา มาถึงกรุงเซี๊ยโท้(สระทิ้งพระ) ภายใน ๔๐ วัน พระราชบิดาของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน มีพระนามว่า หยางเจ้าจูเหลียน(หยางเจาจูเหลียน) ได้สละราชย์สมบัติ ออกผนวช เมื่อมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา…”

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชุน นั้น เหตุการณ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีความสงบเรียบร้อย แต่เหตุการณ์ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เต็มไปด้วยสงคราม การแก่งแย่งอำนาจระหว่างกัน มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าจูเหลียน เป็นผู้สนับสนุน แม่ทัพหยางเจียน ซึ่งเป็นสายราชวงศ์หยาง ด้วยกัน ให้ยึดอำนาจเป็นผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ อย่างลับๆ จนกระทั่ง กองทัพของ แม่ทัพหยางเจียน เข้มแข็ง ขึ้นเรื่อยมา

กระทั่ง ปี พ.ศ.๑๑๑๖ ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์เฉิน ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ มหาอาณาจักรเป่ยโจว์ เพื่อทำสงครามกับ มหาอาณาจักรเป่ยฉี เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์เป่ยโจว์ สามารถพิชิต มหาอาณาจักรเป่ยฉี ได้สำเร็จในปี พ.ศ.๑๑๒๐ และ สวรรคต ในสงคราม จนกระทั่งในปี พ.ศ.๑๑๒๑ ฮ่องเต้ชวนตี้ แห่ง ราชวงศ์เป่ยโจว์ จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ และสิ้นพระชนม์ในปีนั้นเอง ฮ่องเต้จิ้งตี้ แห่ง ราชวงศ์เป่ยโจว์ จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๒๓ ในขณะที่มีพระชนมายุ ๘ พรรษา เท่านั้น เป็นไปตามแผนการ ที่ แม่ทัพหยางเจียน กำหนด

มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน ได้สนับสนุน แม่ทัพหยางเจียน อย่างลับๆ มาโดยตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๑๒๔ แม่ทัพหยางเจียน ได้เข้ายึดอำนาจจาก ฮ่องเต้จิ้งตี้ พร้อมทั้งกำจัดราชวงศ์เป่ยเว่ย ไปเป็นจำนวนมาก และตั้งตนเป็นฮ่องเต้ มีพระนามว่า ฮ่องเต้หยางตี้ ในนาม ราชวงศ์สุย ซึ่งเป็นสายตระกูลแซ่หยาง เช่นเดียวกัน หลังจากนั้น ฮ่องเต้หยางตี้ ได้ทำการปราบปรามพี่น้องของ ฮ่องเต้ชวนตี้ ๕ พระองค์ ต่อมา ราชวงศ์เป่ยโจว์ ถูกสังหารไปทั้ง ๑๖ ตระกูล พร้อมกับได้สังหารผู้ใกล้ชิดของ ฮ่องเต้จิงตี้ ทั้งหมด

ฮ่องเต้หยางตี้(แม่ทัพหยางเจียน) ต้องการรวบรวมดินแดนจีนเป็นปึกแผ่น จึงต้องสามัคคี กับเชื้อสาย ราชวงศ์หยาง ด้วยกัน ดังนั้น เมื่อ ฮ่องเต้หยางตี้ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ พระองค์จึงต้องการให้ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งเป็นสายราชวงศ์หยาง ด้วยกัน ส่งราชทูต ไปรับรองความชอบธรรม ในการขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้ แห่ง ราชวงศ์สุย พร้อมกับต้องการขอความร่วมมือในการทำสงครามปราบปราม มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกด้วย

ฮ่องเต้หยางตี้ จึงจำเป็นต้องส่งราชทูต มาเจริญสัมพันธไมตรีกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ ซึ่งเป็นมหาอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในขณะนั้น เพื่อให้รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ อย่างชอบธรรม ยิ่งขึ้น

มีหลักฐานว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๒๗ หลักฐานจดหมายเหตุจีน ซึ่งเขียนบันทึกขึ้นโดย ม้าต้วนหลิน ซึ่งเป็นผู้ค้นคว้าพงศาวดารจีนในสมัยโบราณ โดยเขียนขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้กล่าวถึง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ(ซี่ทู่ หรือ เซี๊ยโท้) ซึ่งราชทูตของ ฮ่องเต้เหวินตี้ หรือ ฮ่องเต้หยางตี้(แม่ทัพหยางเจียน) แห่งราชวงศ์สุย ซึ่งเป็นเครือญาติกับ มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชุน ได้เคยส่งคณะราชทูตเดินทางมาเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชุน ยังกรุงสระทิ้งพระ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๒๗ พร้อมกับได้กล่าวถึงที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ที่แคว้นสระทิ้งพระ ว่า ที่กรุงสระทิ้งพระ มี มหาจักรพรรดิ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองศูนย์กลางอำนาจรัฐ มีพระนามว่า หยางหลีชน ราชทูตได้บันทึกเกี่ยวกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ มีข้อความต่างๆ แปลได้ดังนี้

...ปีที่ ๔ ในรัชกาลฮ่องเต้หยางตี้(พ.ศ.๑๑๒๗) ราชวงศ์สุย แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ฮ่องเต้  ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ ซึ่งแคว้นสระทิ้งพระ(เซี๊ยโท้ก๊ก)เป็นแคว้นหนึ่งของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีเมืองสระทิ้งพระ (เซี๊ยโท้) เป็นราชธานี

ที่แคว้นสระทิ้งพระ(เซี๊ยโท้) คณะราชทูตสามารถเดินทางไปถึงเมืองราชธานี ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยทางเรือ ใช้เวลาในการเดินทางกว่า ๑๐๐ วัน ดินแดนอาณาเขตของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กว้างขวางหลายพันลี้ เฉพาะที่แคว้นสระทิ้งพระ ทิศตะวันออกติดต่อกับ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ทิศตะวันตกติดต่อกับ แคว้นโพธิ์กลิงค์ตัน(กันตัง) ทิศเหนือติดต่อกับ ทะเล(อ่าวไทย) ทิศใต้ ติดต่อกับแคว้นโพธิ์นารายณ์(ยะลา)

 มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ มีพระนามว่า หยางเจ้าหลีชุน พระองค์สืบทอดมาจากราชวงศ์ โคตะมะ ของพระพุทธเจ้า เราไม่สามารถสืบทราบว่าบรรพบุรุษของพระองค์สืบทอดมาจากพระพุทธองค์อย่างไร? พระองค์ไม่ค่อยทราบเรื่องราวของ อาณาจักรข้างเคียง รวมทั้งแคว้นต่างๆ ที่ตั้งอยู่ห่างไกลออกไป มากนัก ตามบันทึกพงศาวดารของราชวงศ์ พระองค์ทราบแต่เพียงว่า พระราชบิดาของพระองค์ ได้ทรงสละราชสมบัติเพื่อทรงออกผนวช เพื่อออกไปเผยแพร่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ครองราชสมบัติ(พ.ศ.๑๑๑๑)เป็น มหาจักรพรรดิ แห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาเป็นเวลา ๑๖ พรรษา แล้ว(ณ ปี พ.ศ.๑๑๒๗) มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชุน ทรงมีพระชายา ๓ พระองค์ แต่ละพระองค์ ล้วนเป็นพระราชธิดา ของ อาณาจักรข้างเคียง ทั้งสิ้น

...มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชุน ประทับอยู่ใน กรุงพุทธทอง(เซงฉิ) อันเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองล้อมรอบ ๓ ชั้น บรรดาประตูเมือง ตั้งอยู่ห่างกัน ประตูละประมาณ ๑๐๐ ก้าว ประตูแต่ละแห่งมีกระดิ่งทองคำสลักรูปต่างๆ แขวนดอกไม้ทำด้วยทองคำ ไว้เป็นพวง มีรูปพระโพธิสัตย์ และเทวดากำลังเหาะวาดประกอบไว้ด้วย มีสัตรีหลายสิบคน เป็นพนักงานประโคมดนตรี และถือดอกไม้ที่ทำด้วยทองคำ และเครื่องประดับประดาอื่นๆ มีทหาร ๔ คน คอยยืนเฝ้าประตูพระราชวัง ทหารที่อยู่นอกประตูพระราชวัง จะถืออาวุธชนิดต่างๆ ส่วนพวกที่เข้าเฝ้าอยู่ภายในประตูพระราชวัง จะถือผ้าขาว อยู่ตามทางเดิน และถือดอกไม้อยู่ในถุงสีขาว ด้วย

ตำหนักในพระราชวัง เป็นอาคารชั้นเดียว มีหลายอาคารติดต่อกัน บรรดาประตูอยู่ในแนวเดียวกัน และหันหน้าไปทางทิศเหนือ พระราชบัลลังก์ ตั้งอยู่บนฐานรองรับมี ๔ ชั้น หันหน้าไปทางทิศเหนือเช่นเดียวกัน เมื่อ มหาจักรพรรดิ ทรงขึ้นประทับบนพระราชบัลลังก์ พระองค์ทรงฉลองพระองค์ชุดสีชมพูอ่อน พระมาลาประดับด้วยดอกไม้ทองคำ และพู่ทำด้วยเพชรพลอย มีสร้อยพระศอประดับด้วยเพชร มี สตรี ๔ คนยืนอยู่เคียงข้างพระองค์ ทั้งทางซ้ายและทางขวา ทหารรักษาพระองค์ มีจำนวนมากกว่า ๑๐๐ คน หลังพระราชบัลลังก์ มีคูหาใหญ่สร้างเป็นแท่นบูชา ทำด้วยไม้หอม ๕ ชนิด ประดับด้วยทองคำ และบุด้วยเงิน ในบริเวณคูหาหลังพระราชบัลลังก์ที่เป็นแท่นบูชานั้น ยังแขวนจักร มีรัศมีเป็นรูปแปลวไฟ มีโคมไฟทำด้วยทองคำ แต่ละฐานของพระราชบัลลังก์ มีคันฉ่อง(กระจกเงา)ทำกรอบด้วยโลหะแผ่นใหญ่ ตั้งอยู่ ๒ บานใหญ่ ที่หน้าคันฉ่องแต่ละแผ่น มีขันใส่น้ำโลหะ มีแจกันทอง(สำหรับใส่ดอกไม้) และหน้าแจกันทองก็มีที่เผาเครื่องหอม ซึ่งทำด้วยทองคำ(กระถางธูป-เทียน) เช่นเดียวกัน ใต้ฐานพระราชบัลลังก์ มีเทวรูปวัวทองคำ หมอบอยู่ ตรงหน้าเทวรูปวัวทองคำ มีการขึงผ้าเพดานขึงกั้นประดับด้วยเพชรพลอย ทั้งสองข้างของพระราชบัลลังก์ และยังมีพัดโบกอย่างสวยงามประดับอยู่ด้วย มีพราหมณ์ จำนวนนับร้อยคน นั่งหันหน้าเข้าหากันเป็น ๒ แถว อยู่ทางด้านขวา และด้านซ้าย ของฐานพระราชบัลลังก์นั้น พวกพราหมณ์เหล่านี้ เป็นผู้เข้าเฝ้า เมื่อมหาจักรพรรดิ ทรงนั่งบัลลังก์ เสด็จออกว่าราชการ

ขุนนางชั้นสูง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการบริหารราชการภายในสหราชอาณาจักร ประกอบด้วย อัครมหาเสนาบดี ๑ ท่าน มีตำแหน่งสาโถเจียโล(สังฆราช) ตำแหน่งโถนาตายู(สมุหนายก และ สมุหกลาโหม) ๒ ท่าน และยังมีผู้ช่วยอีก ๓ ท่าน มีตำแหน่ง เจียลิมิเจีย(ตำรวจ) ทำหน้าที่ปราบปรามอาชญากรรม มีตำแหน่งผู้ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาใหญ่ เรียกว่า จิวโลโมติ(ศาลฎีกา) เมืองแต่ละเมือง อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของผู้ใหญ่ ๒ ท่าน ตำแหน่งแรก เรียกตำแหน่งว่า นายะเกีย(นายก) ทำหน้าที่บริหารทั่วทั้งสหราชอาณาจักร อีกตำแหน่งหนึ่งเรียกว่า ขุโลโปติ(ขุนหลวงโพธิ)ทำหน้าที่ตัดสินคดีความ มีถึง ๑๐ ท่าน

เป็นธรรมเนียมของหญิงชายในเมืองนี้ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะต้องเจาะรูหูที่แผ่นหู ทุกคนต้องตัดผม และชอบทาตัวด้วยน้ำมันหอม คนทั่วไปนับถือพระพุทธศาสนา บูชาเทวรูป ของ พระพุทธเจ้า พวกเขาให้ความเคารพต่อนักบวช(พระภิกษุ) เป็นอย่างสูง ผู้หญิงของเมืองนี้เกล้าผมไว้เพียงต้นคอ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชอบสวมเสื้อผ้าด้วยสีแดง หรือสีเรียบๆ ครอบครัวพวกขุนนาง และพวกราชวงศ์ มักจะมีสิ่งของประดับมากมาย พวกเขาจะมี ล๊อคเก็ตทองคำ จะใช้ก็ต่อเมื่อ ได้รับพระบรมราชานุญาติ ก่อนเท่านั้น(ใช้ได้เฉพาะ เชื้อสายราชวงศ์ เท่านั้น)...

...สำหรับพิธีสมรส เขาเลือกวันฤกษ์ดี ห้าวันก่อนที่เป็นวันฤกษ์ดี คือวันที่มีการแสดงความรื่นเริง และเลี้ยงดูปูเสื่อแขกเหรื่อที่จะมาร่วมงาน วันที่หก บิดาเจ้าสาว จับมือของเจ้าสาว วางลงในมือของเจ้าบ่าว และวันที่เจ็ด จึงจะเป็นวันส่งตัว เมื่อพิธีสมรสเสร็จสิ้นแล้วตามประเพณี ถือว่าทั้งสองคนเป็นสามีภรรยาแก่กัน จึงมีการลาจากกัน และคู่บ่าวสาวก็แยกไปอยู่ต่างหาก มีการแบ่งทรัพย์สมบัติให้กับครอบครัวใหม่ มีการสร้างบ้านใหม่ แต่ถ้าผู้ชายเป็นบุตรคนสุดท้อง และบิดาของเจ้าบ่าวยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรส จะต้องยังคงอยู่ที่บ้านเจ้าบ่าว ตามประเพณี

สำหรับการทำศพ เมื่อมีผู้เสียชีวิต ที่เป็นบิดา มารดา หรือ พี่ชาย จะต้องมีลูกหลานเป็นผู้โกนศีรษะ และนุ่งห่มชุดขาว(บวชหน้าศพ) เพื่อไว้ทุกข์ ในการเผาศพ พวกเขาจะสร้างกระท่อมที่ทำด้วยไม้ไผ่ไว้เหนือน้ำ ในที่เผาศพนั้น จะมีไม้ฟืน และมีศพ อยู่ด้วย เมื่อจะมีการเผาศพ พวกเขาจะชักธง ทำการเผาเครื่องหอม เป่าแตรสังข์ และตีกลอง ในขณะเดียวกันก็จุดไฟเผาไม้ฟืน เพื่อการเผาซากศพ หลังจากเผาเสร็จ ทุกสิ่งทุกอย่างก็จมหายไปในน้ำ พิธีปลงศพที่กรุงสระทิ้งพระ ย่อมเป็นเช่นนี้เสมอ ไม่มีอะไรแตกต่างระหว่างขุนนาง กับ ประชาชนทั่วไป ส่วนการปลงศพของพระมหากษัตริย์ แว่นแคว้นต่างๆ พวกเขาจะต้องปลงศพอย่างระมัดระวัง เพื่อรักษาพระอัฐิ ซึ่งจะต้องนำไปใส่รักษาไว้ในโกฐทองคำ และนำไปตั้งเก็บรักษาไว้ในวัดทางพระพุทธศาสนา เพื่อการบวงสรวง เคารพบูชา ดวงวิญญาณ ต่อไป...

 

ยังมีหลักฐานจดหมายเหตุจีน บันทึกไว้อีกว่า ในสมัยของ ฮ่องเต้หยางตี้(หยางเจียน) แห่งราชวงศ์สุย มีบันทึกอย่างสั้นๆ ว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๒๘ มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชุน แห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ(สงขลา) ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงสระทิ้งพระ เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ หยางตี้ ในดินแดน อาณาจักรจีนภาคเหนือ อีกด้วย มีบันทึกอย่างสั้นๆ ว่า...

...ปีที่ ๕ ในรัชกาลของ ฮ่องเต้หยางตี้(พ.ศ.๑๑๒๘) ราชวงศ์สุย  ได้มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ(เซี๊ยโท้) ซึ่งมีพระนามว่า หยางเจ้าหลีชน ส่งคณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยางตี้ พร้อมกับได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ ด้วย...

หลักฐานความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ นั้น แสดงให้เห็นว่า การที่ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน แห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ ได้ส่งคณะราชทูตไปยังดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ นั้น ย่อมถือว่า เป็นการรับรองความชอบธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติ ของ ฮ่องเต้หยางตี้ จากดินแดนของ มหาอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุด ในดินแดนตอนใต้ของ มหาอาณาจักรจีน ในขณะนั้น และยังเป็นการร่วมมือระหว่างกัน เพื่อร่วมกันทำสงครามปราบปราม มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ซึ่งเป็นศัตรูร่วมกัน อีกด้วย

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

เหตุการณ์สงคราม ในดินแดนของ อาณาจักรหลินยี่ เกิดขึ้น ในขณะที่ มหาราชาพันฟันจิ เป็นมหาราชา ปกครองดินแดน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ขณะนั้น มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ซึ่งปกครองโดย ฮ่องเต้เฉินอู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์เฉิน ได้สนับสนุนกองทัพให้ พระเจ้าศัมภุวรมัน ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ซึ่งได้หลบหนีไปส้องสมกำลัง อยู่ที่ อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) ได้ร่วมกับกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ยกกองทัพ เข้ายึดครอง แคว้นจามปา เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๑๑๑ แล้วทำการขยายสงครามเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรหลินยี่ ทางภาคใต้ ทำให้ อาณาจักรหลินยี่ ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ก๊ก อีกครั้งหนึ่ง คือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ปกครองดินแดนภาคเหนือ และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ปกครอง ดินแดนภาคใต้ อีกครั้งหนึ่ง

การที่ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น ๒ ก๊ก อีกครั้งหนึ่ง นั้น ทำให้เกิดสงครามระหว่าง มหาราชาพันฟันจิ ผู้ปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) กับ พระเจ้าศัมภุวรมัน ผู้ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๑๑ เป็นต้นมา จนกระทั่งสงครามได้ลุกลามขยายตัวออกไปยัง อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอ้ายลาว อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ พระเจ้าพันจิตรวรมัน ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ซึ่งเป็นมหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ก่อสงครามกับ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอ้ายลาว ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขัดขวางมิให้ กองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้สำเร็จ

มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ ได้มอบให้ นายก พระยาท่าข้าม กรุงพันพาน พระราชโอรส ของ จักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ ได้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ มหาราชาพันฟันจิ แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เพื่อทำสงครามขับไล่กองทัพ ของ พระเจ้าศัมภุวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

ส่วน มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ได้นำกองทัพไปรักษา อาณาจักรไตจ้วง มิให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทำสงครามยึดครองอีก ในช่วงเวลาดังกล่าว มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ใช้ชนชาติมอญ คือ พระเจ้าพันจิตร แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ก่อสงครามเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอ้ายลาว อีกครั้งหนึ่งด้วย

      สงครามในดินแดน ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้เริ่มสงบลงตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๑๖ เป็นต้นมา เนื่องจาก ฮ่องเต้เฉินอู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์เฉิน ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรเป่ยโจว์ เพื่อทำสงคราม กับ มหาอาณาจักรเป่ยฉี เป็นผลสำเร็จ ในเวลาต่อมา แต่ อาณาจักรหลินยี่ ยังคงแตกแยกออกเป็น ๒ ก๊ก ไปจนถึงปี พ.ศ.๑๑๗๔ จึงมีการรวมเป็น อาณาจักรเดียวกัน อีกครั้งหนึ่ง

      ในช่วงเวลาดังกล่าว พระเจ้าศัมภุวรมัน ได้พยายามสร้าง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ-กลิงค์-มอญ อีกครั้งหนึ่ง โดยมีราชธานี อยู่ที่ กรุงจามปา อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ทำให้เกิดสงครามขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ หลายสมรภูมิ

 

สงครามกับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ อาณาจักรอีสานปุระ

ในขณะที่ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พยายามทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนนั้น สงครามได้ลุกลามขยายตัวออกไปยัง อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอ้ายลาว อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ พระเจ้าพันจิตรวรมัน ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ก่อสงครามกับ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอ้ายลาว ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขัดขวางมิให้ กองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ รักษา อาณาจักรไตจ้วง ได้สำเร็จ

      ในขณะที่ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ได้นำกองทัพไปร่วมมือกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ-ตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) และใช้ อาณาจักรไตจ้วง เป็นฐานที่มั่นสำคัญในการทำสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ นั้น พระเจ้าพันจิตร แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ส่งกองทัพจาก แคว้นกาละศีล(กาฬสินธุ์) เข้าปิดล้อม ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ราชธานีของ มหาราชาสมเดชะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา อีกครั้งหนึ่ง ส่วนกองทัพของ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน พระราชโอรสของ พระเจ้าพันจิตร ได้ส่งกองทัพจาก แคว้นยโสธรปุระ เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นเวียงจันทร์ ราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว ด้วย  

      สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพมอญ ของ พระเจ้าพันจิตร แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้เข้าทำสงครามยึดครอง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เมืองนางรอง ราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา กองทัพมอญ ของ พระเจ้าพันจิตร ได้ปะทะกับกองทัพของ มหาราชาท้าวสมเดชะ ณ สมรภูมิ เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง ผลของสงครามครั้งนั้น มหาราชาท้าวสมเดชะ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาศรีสุริยะ เสด็จสวรรคต ในสงคราม พระเจ้าพันจิตร จึงสามารถทำสงคราม ยึดครอง แคว้นพนมรุ้ง อันเป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา เป็นผลสำเร็จ แล้วกวาดต้อนทรัพย์สินกลับคืน กรุงกาละศีล(กาฬสินธุ์) พร้อมกับแต่งตั้ง ขุนนางมอญ เข้าปกครอง แคว้นพนมรุ้ง ต่อไป

 

                         

ภาพที่-๗๔ เทวรูปจำลอง พระยาอุเทน พระราชโอรสองค์ที่ ๒ ของ จักรพรรดิขุนหลวงจิงใหญ่(ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก) พบที่ เมืองศรีมหาโพธิ์ สันนิษฐานว่า ต้องการแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยในสมัยโบราณ ให้คนไทยในปัจจุบันทราบว่า พระยาอุเทน เคยใช้เมืองศรีมหาโพธิ์ เป็นฐานที่มั่นทางการทหารในการทำสงครามปราบปราม อาณาจักรอีสานปุระ ของ ชนชาติมอญ เพื่อรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ จนสำเร็จมาแล้ว

 

       การแต่งกายที่สวมหมวก แสดงว่า ท้าวอุเทน จบการศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย มาแล้ว พระหัตด้านหลัง แสดงความหมายถึงอดีตชาติ ของ พระยาอุเทน ในภพชาติที่แล้ว ส่วนพระหัตหน้า สื่อความหมายถึงเหตุการณ์ในขณะที่ปกครอง แคว้นศรีมหาโพธิ์ พระหัตขวา สื่อความหมายถึงการร้องขอ บางสิ่งบางอย่าง ก่อนการทำสงคราม

 

      ส่วนกองทัพมอญ ของ พระเจ้าจิตรเสน มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงยโสธรปุระ(จ.ยโสธร) ได้ยกกองทัพจาก แคว้นยโสธรปุระ เข้าทำสงครามยึดครอง กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) ราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว สามารถทำสงครามยึดครอง กรุงเวียงจันทร์ เป็นผลสำเร็จ เช่นกัน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว สวรรคต ในสงคราม พระเจ้าจิตรเสน ได้ทำการกวาดต้อนทรัพย์สินต่างๆ กลับคืน แคว้นยโสธรปุระ แล้วแต่งตั้งขุนนางมอญ เข้าปกครอง อาณาจักรอ้ายลาว อีกด้วย 

      ต่อมา พระยาอุเทน พระราชโอรสองค์ที่สองของ จักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ กับ พระนางมาลัย และ ขุนฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส อีกพระองค์หนึ่ง จาก พระนางขอมอินทปัต มเหสีฝ่ายซ้าย ของ จักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ ได้ใช้ เมืองศรีมหาโพธิ์ เป็นฐานที่มั่น ในการทำสงครามยึดครอง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เมืองนางรอง ราชธานีของ อาณาจักรคามลังกา กลับคืน โดยสามารถทำสงครามยึดครอง กรุงพนมรุ้ง กลับคืน เป็นผลสำเร็จเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๑๔

      ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้ ขุนชัยฤทธิ์ ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงมุสิกะ ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ มหาราชาท้าวสมเดชะ ไปเป็นอัครมเหสี ภายหลังสงครามครั้งนั้น พระยาอุเทน จึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง(เมืองนางรอง) ด้วย

      ส่วน จักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ ได้นำกองทัพ ออกไปทำสงครามยึดครองราชธานี กรุงกาละศีล(กาฬสินธุ์) ของ อาณาจักรอีสานปุระ ผลของสงครามครั้งนั้น พระเจ้าพันจิตร สวรรคต ในสงคราม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๑๔ มหาอุปราชพระเจ้าจิตรเสน จึงยอมสวามิภักดิ์ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ อีกครั้งหนึ่ง จักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้าจิตรเสน เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงกาละศีล(กาฬสินธุ์) และ พระเจ้านันทเสน เป็นมหาอุปราช ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๑๔ เป็นต้นมา 

      ส่วนสงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กองทัพของ พระยาอุเทน ได้ปะทะกับกองทัพมอญ ณ ท่าอุเทน ขณะส่งกองทัพข้ามแม่น้ำโขง กองทัพมอญ พ่ายแพ้กองทัพของ พระยาอุเทน ณ ท่าเรือข้ามแม่น้ำโขง นั่นเอง ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า ท่าอุเทน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้น พระยาอุเทน ได้เคลื่อนกองทัพมุ่งเข้าสู่ กรุงเวียงจันทร์ สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นเวียงจันทร์ ของ อาณาจักรอ้ายลาว กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ต่อมา จักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ จึงโปรดเกล้าให้ ขุนชัยฤทธิ์ เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรอ้ายลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๑๔ เป็นต้นมา ด้วย

 

สงครามกับ ชนชาติกลิงค์ ณ สมรภูมิ อาณาจักรกลิงค์รัฐ เกาะชบาตะวันออก

เนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้สร้างความสัมพันธ์กับ อาณาจักรกลิงค์รัฐแห่ง เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ให้ช่วยส่งกองทัพเข้าโจมตี กรุงสระทิ้งพระ ด้วย เป็นเหตุให้ พระยาท่าข้าม พระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ของ จักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ ต้องยกกองทัพมาขับไล่ กองทัพของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ให้ต้องถอนทัพกลับไป เป็นที่มาให้ พระยาท่าข้าม ต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรกลิงค์รัฐ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ด้วย

สงครามครั้งนี้ คือเหตุการณ์ เรื่องราวตำนาน พระนางเลือดขาว หรือ พระนางอุษา เป็นเหตุการณ์จริงที่ พระนางสา แม่ธรณี(อัครมเหสี) ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ประสูติ พระนางอุษา เมื่อปี พ.ศ.๑๑๑๔ ในขณะที่ กรุงสระทิ้งพระ มีสงครามกับ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(ชวา) นั่นเอง

      เนื่องจากมีการเชื่อถือกันในสมัยโบราณ ว่า แม่ธรณีบีบมวยผม คือ ภพชาติหนึ่ง ในอดีตของ พระนางอุษา พระราชธิดาองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน มีเรื่องราวตำนานกล่าวถึง อดีตชาติ หลายภพชาติ ของ พระนางอุษา โดยสังเขปว่า

      ภพชาติแรก ในสมัยของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น ตำนานต่างๆ เชื่อว่า พระนางอุษา ได้ประสูติมาเป็น แม่ธรณี หรือ อัครมเหสี(ราชินี) ของ พระราชา แว่นแคว้นแห่งหนึ่งใน อินเดีย เนื่องจากในขณะที่ เจ้าชายสิทธัตถะ กำลังบำเพ็ญเพียร ในวันที่จะตรัสรู้ เป็น สมเด็จพระอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น คือคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนนั้น มีวิญญาณชั่วร้าย ของ นางอรดี , นางตัณหา , นางราคะ ซึ่งเป็นธิดา ของ วัสวตีพระยามาราธิราช ได้มายั่วยวน ทำลายสมาธิ ของ มหาโพธิสัตว์เจ้า ในขณะนั้น แต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ

 

                               

 ภาพที่-๗๕ แสดงภาพวาดลายเส้น ตามวัดวาอารามต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ แสดงเรื่องราวในขณะที่ แม่ธรณีบีบมวยผม ภพชาติหนึ่ง ของ พระนางอุษา ได้บีบน้ำจากมวยผม เพื่อสื่อถึงดวงวิญญาณ ของ เทพเทวดาต่างๆ ให้มาช่วยปราบปรามพระยามาร ที่มารบกวนพระพุทธเจ้า ในขณะที่ทรงเพียรพยายาม ตรัสรู้

 

      ต่อมา วิญญาณร้ายของธิดาทั้ง ๓ ของ พระเจ้าวัสวตี จึงไปกราบทูลให้ พระเจ้าวัสวตี พระยามาราธิราช ทราบ และทรงกริ้ว เจ้าชายสิทธัตถะ พระยามาร จึงได้ยกทัพกองพลวิญญาณเสนามาร เข้ามาประจัญ องค์มหาโพธิสัตว์เจ้า ที่กำลังบำเพ็ญเพียร ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในขณะนั้น แต่เนื่องจาก แม่ธรณี เสด็จผ่านมาพอดี พระนางจึงได้นำมวยผมทำให้เปียกน้ำ เพื่อบีบน้ำในมวยผม ให้น้ำจากมวยผมไหลสู่พื้นดิน เพื่อสื่อไปถึงดวงวิญญาณ ของ แม่ธรณีต่างๆ ให้ช่วยสื่อไปถึงดวงวิญญาณของเทพเทวดาต่างๆ ให้มาช่วยเหลือ เจ้าชายสิทธัตถะ มิให้พระยามาราธิราช ขัดขวางการตรัสรู้ ทำให้น้ำออกมาท่วมกองทัพของ พระยามาราธิราช ต้องพ่ายแพ้กลับไป เป็นเหตุให้ มหาโพธิสัตว์เจ้า ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในใกล้รุ่ง ตรัสรู้เป็น พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่มาของการกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนกุศล เพื่อสื่อถึงวิญญาณของ เทพเทวดาต่างๆ ในเวลาต่อมา นั่นเอง

      ด้วยอานิสงค์แห่งการได้ช่วยเหลือพระพุทธเจ้า ต่อมาเมื่อ แม่ธรณี สิ้นพระชนม์ ทำให้ดวงวิญญาณ ของ แม่ธรณีบีบมวยผม ได้มาประสูติในภพชาติต่อมา อยู่ในสายราชวงศ์โคตะมะ นับถือพระพุทธศาสนา ทุกภพชาติ และในภพชาติต่อมา ดวงวิญญาณของแม่ธรณีบีบมวยผม ได้มาประสูติเป็น พระนางมัสสุหรี เป็นพระราชธิดาพระองค์หนึ่งของ พระเจ้านกหยก เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต อยู่ในสายราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) แห่ง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) อาณาจักรเทียน นับถือ พระพุทธศาสนา ด้วย

      ในชาติภพชาตินี้ พระนางมัสสุหรี ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าชายวีระ พระราชโอรส ของ พระเจ้าข้าวเปล่า ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าสุมิตร กับ พระนางเชียงเม่งกุ้ย ดังนั้น เจ้าชายวีระ และ พระนางมัสสุหรี จึงเป็นญาติลูกพี่ลูกน้อง สายราชวงศ์โคตะมะ ด้วยกัน ซึ่งมีการหมั้นหมายกันมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จนกระทั่ง เจ้าชายวีระ ได้เป็นราชา ปกครองแว่นแคว้นแห่งหนึ่ง ของ อาณาจักรศรีลังกา จึงได้อภิเษกสมรส ด้วยกัน

      เนื่องจากต่อมา แว่นแคว้น ดังกล่าว ถูกข้าศึกตีเมืองแตก ทำให้ เจ้าชายวีระ ต้องอพยพหนีภัยสงคราม มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สหราชอาณาจักรเทียน โดยได้มาสร้างเมืองอยู่ที่ เกาะลังกาวี เรียกครั้งแรกว่า แคว้นลังกาวีระ คือ เกาะลังกาวี ในปัจจุบัน นั่นเอง

      ต่อมา เจ้าชายวีระ และ พระญาติวงศ์ ต้องการให้ เจ้าชายวีระ มีมเหสีพระองค์ใหม่ จึงวางแผนให้ พระนางมัสสุหรี เสด็จไปจาริกแสวงบุญ สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ณ อาณาจักรศรีลังกา เพื่อวางแผนใส่ความ พระนางมัสสุหรี ว่าเป็นชู้กับชายอื่น ในระหว่างที่เสด็จไปจาริกแสวงบุญ ณ เกาะศรีลังกา

      เมื่อ พระนางมัสสุหรี เสด็จกลับมา จึงถูกสอบสวน จากเรื่องราวการใส่ความ ผลของการสอบสวนโดย กระบวนการยุติธรรม ของ ฝ่ายกบฏ เป็นเหตุให้ พระนางมัสสุหรี ถูกศาลตัดสินให้นำไปประหารชีวิต อย่างไม่ยุติธรรม

      ก่อนที่ พระนางมัสสุหรี จะถูกนำไปประหารชีวิต นั้น พระนางมัสสุหรี ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า ถ้าพระนางไม่ได้ทำผิด ตามที่ถูกกล่าวหาจริง ขอให้เลือดของพระนางที่ไหลออกมาจากร่างกาย เป็นเลือดสีขาว ที่ถือว่าเป็นเลือดแห่งความบริสุทธิ์ และสาปแช่งให้ ดินแดนแห่ง เกาะลังกาวี ต้องเป็นดินแดนแห่ง ความขัดแย้ง เพราะไม่ปฏิบัติตามคำสอน ของ พระพุทธองค์ จนกว่าประชาชนในดินแดนดังกล่าว จะยุติการโกหก การใส่ความ ให้ร้ายป้ายสี ระหว่างกัน

      หลังจากมีการประหารชีวิต พระนางมัสสุหรี เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่า เลือดของพระนางมัสสุหรี เป็นสีขาวจริง ประชาชนจึงเรียกพระนางว่า พระนางเลือดขาว สืบทอดต่อ ๆ กันมา เกาะลังกาวี จึงถูกคำสาปแช่ง พบแต่ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์ และ ขุนนางผู้ปกครอง มาหลายชั่วคน มีการทำพิธีกรรมต่างๆ ให้หลุดพ้นจากคำสาป ของ พระนางมัสสุหรี เรื่อยมา สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

      ในภพชาติต่อมา พระนางมัสสุหรี ได้ประสูติมาเป็น พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน กับ พระนางสา มีพระนามว่า เจ้าหญิงอุษา และพบว่ามีเลือดสีขาว เช่นเดียวกัน เนื่องจากในปี พ.ศ.๑๑๑๔ นั้น อาณาจักรกลิงค์รัฐ แห่ง เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี กรุงสระทิ้งพระ ในขณะที่ เจ้าหญิงอุษา เพิ่งประสูติมาประมาณ ๓ เดือน เท่านั้น สงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน เสด็จไปว่าราชการสงครามอยู่ที่ อาณาจักรไตจ้วง ดังนั้นในขณะที่สงครามกำลังรุนแรงอยู่นั้น พระนางสา(พระนางคันธุลี) ต้องนำ ราชธิดา เจ้าหญิงอุษา หลบหนีข้าศึก นำราชธิดา ไปซ่อนไว้ในกอไผ่

      ต่อมา นายก พระยาท่าข้าม ได้ยกกองทัพมาจาก แคว้นพันพาน(พุนพิน) ได้ทำสงครามกับข้าศึกชนชาติกลิงค์ จนกระทั่ง ข้าศึก อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ต้องถอยทัพกลับไป จึงได้มีตายาย ชื่อ ตาสามโม กับ ยายเพชร ไปยินเสียงร้องของทารก จึงได้พบทารกดังกล่าวใน กอไผ่ เกิดความแปลกใจ เพราะเลือด ของ ทารก เจ้าหญิงอุษา ที่ถูกหนามไผ่ ขีดข่วน นั้น ไหลออกมาเป็น สีขาว จึงนำไปส่งมอบกลับคืนพระราชวังหลวง กรุงพุทธทอง คือ ท้องที่ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ในปัจจุบัน นั่นเอง

      พื้นที่ บริเวณที่พบ เจ้าหญิงอุษา ในกอไผ่ บริเวณนั้น ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นวัด มีชื่อว่า วัดพระเกิด ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ในปัจจุบัน พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีอาณาเขตติดต่อกับ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ในปัจจุบัน คือเส้นทางหลบหนีภัยสงครามของ พระนางสา(พระนางคันธุลี) และ เจ้าหญิงอุษา นั่นเอง

      ส่วน นายก พระยาท่าข้าม เมื่อมาพบเห็น ประชาชนชาวเมืองสระทิ้งพระ พร้อมลูกเล็กเด็กแดง ถูกกองทัพชนชาติกลิงค์ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ถูกฆ่าตาย จำนวนมาก นายก พระยาท่าข้าม จึงยกกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครอง ราชธานี ของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ ณ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) เพื่อทำสงครามล้างแค้นให้กับชนชาติอ้ายไต เข้าฆ่าฟัน พวกราชวงศ์กลิงค์ และ ประชาชน ตายไปจำนวนมาก เช่นกัน อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) จึงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

      ผลของสงครามในครั้งนั้น ทำให้เกิดสงครามล้างแค้นระหว่าง ชนชาติอ้ายไต กับ ชนชาติกลิงค์ อีกหลายสมรภูมิ ของ สงคราม แต่ต่อมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๑๕ เป็นต้นมา สงครามในดินแดนสุวรรณภูมิ เริ่มยุติลง เพราะการพ่ายแพ้ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ , ชนชาติมอญ และ ชนชาติกลิงค์ คงเหลือแต่สงครามในดินแดน ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เท่านั้น จนกระทั่ง ปลายรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน จึงเกิดสงครามใหญ่ ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

  

สงครามกับ ชนชาติทมิฬ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ณ แคว้นสุธรรม

ตำนานเรื่องราวจากคำกลอนลายแทงที่ว่า เมืองโมกข์คลาน สร้างก่อน เมืองนครสร้างภายหลัง คือเรื่องราวของ เมืองโมกข์คลาน เมืองหนึ่ง ของ แคว้นสุธรรม(สิชล) ถูกข้าศึกชนชาติกลิงค์ ทำสงครามเข้าโจมตี จนร้าง และได้ก่อเกิดเมืองนคร มาแทนที่ ในเวลาต่อมา มีเรื่องราวโดยสรุปดังนี้

ก่อนที่ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก จะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ นั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ได้มอบให้ จักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ นำกองทัพส่วนหนึ่ง ไปหนุนช่วยทำสงครามให้กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่งราชวงศ์เฉิน ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์อย่างลับๆ กับมหาราชา ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดน อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) เพื่อร้องขอให้ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) , อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) ช่วยส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) แคว้นสระทิ้งพระ(สงขลา) และ แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) เมื่อประมาณปี ๑๑๒๙ เพื่อขัดขวางมิให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพเข้าหนุนช่วย มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ตามที่ ฮ่องเต้หยางเจียน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ทำการร้องขอ

      สงครามครั้งนั้น ราชา(ไม่ทราบพระนาม) แห่ง แคว้นสุธรรม(สิชล) เป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ไม่สามารถรักษาเมืองสุธรรม และ เมืองโมกข์คลาน ไว้ได้ ผลของสงครามครั้งนั้น ราชาแห่งแคว้นสุธรรม สวรรคต ในสงคราม ประชาชนบางส่วนต้องหลบหนีข้าศึกทมิฬโจฬะ ไปอยู่ในเขตป่าเขา เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่ง แคว้นสุธรรม(สิชล) และไพร่พล ต้องอพยพหลบหนีไปยังฝั่งทะเลตะวันตก

      กองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) เข้าโจมตีซ้ำ ทำให้ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่งแคว้นสุธรรม(สิชล) และประชาชน ต้องอพยพหลบหนีภัยสงครามต่อไป และได้อพยพไปไกลถึงปากแม่น้ำสาละวิน และได้สร้างแคว้นสุธรรม ขึ้นใหม่ ณ ปากแม่น้ำสาละวิน ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย

  

                                             

 ภาพที่-๗๖ ร่องรอยโบราณวัตถุ ของ แคว้นสุธรรม บริเวณภูเขาคา ท้องที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน ซึ่งได้กลายเป็นเมืองร้าง หลังจากที่ กองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๑๒๙ จนกระทั่ง แคว้นสุธรรม ร้างไป และต่อมา จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท พระเชษฐา ของ จตุคามรามเทพ(ขุนราม) ได้มาสร้าง แคว้นศรีธรรมราช(ตาม้ากลิงค์) ขึ้นมา ณ เมืองโมกข์คลาน แทนที่ อีกครั้งหนึ่งในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

 

      เนื่องจาก แคว้นสุธรรม ที่ปากแม่น้ำสาละวิน ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต นั้น ต่อมา พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน แห่ง ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ได้ส่งกองทัพมอญ-ทมิฬ มาทำสงครามยึดครองไปอีก และเรียกชื่อแคว้นสุธรรม เพี้ยนเป็น แคว้นเสทิม สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

 ภาพที่-๗๗ ร่องรอยเมืองโบราณ ของ แคว้นสระทิ้งพระ บริเวณ วัดศรีหยัง อ.สระทิ้งพระ จ.สงขลา พบว่าเป็นอิฐโบราณ ไม่สอปูน เช่นเดียวกับที่พบทั่วไปในเมืองโบราณ ภาคใต้

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงสระทิ้งพระ

ตำนานเรื่องราวของ เจ้าหญิงอุษา พบรักกับ พระยาเทพนิมิตร คือเรื่องราวของ สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงสระทิ้งพระ มรเรื่องราวโดยสรุปว่า ในปลายรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ นั้น มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ได้ทำการส่งกองทัพเข้าหนุนช่วยกองทัพของ ฮ่องเต้หยางตี้(แม่ทัพ หยางเจียน) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เพื่อเข้าโจมตีกองทัพของ ฮ่องเต้อู่ตี้ ราชวงศ์เฉิน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อการรวบรวมดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ให้เป็นปึกแผ่น และจัดการเรื่องแนวเขตแดนระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ให้ชัดเจน

ต่อมา ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทราบข่าว จึงผลักดันให้เชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ทำการก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ทำการก่อสงครามขึ้นทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ

นอกจากนั้น ฮ่องเต้อู่ตี้ ราชวงศ์เฉิน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ยังสนับสนุนให้ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน ราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ทำการก่อสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอ้ายลาว อีกด้วย นอกจากนั้น มีการผลักดันให้ กองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ก่อสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) อีกด้วย

 ในช่วงเวลาดังกล่าว(ปี พ.ศ.๑๑๒๙) กองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ทางฝั่งทะเลตะวันตก ของ อาณาจักรเทียนสน และ อาณาจักรชวาทวีป พร้อมๆ กับที่ กองทัพของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นสุธรรม(สิชล) และ แคว้นสระทิ้งพระ ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย ทำให้ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน เสด็จสวรรคต ในสงคราม ครั้งนั้น

สงครามครั้งนั้น กองทัพทมิฬโจฬะ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครองกรุงสระทิ้งพระ สำเร็จ สามารถเผาพระราชวังกรุงสระทิ้งพระ(กรุงทอง) จนร้างไป ข้าศึกทมิฬโจฬะ สามารถปล้นทรัพย์สินต่างๆ ในพระราชวังหลวง ไปเป็นจำนวนมาก พระราชธิดาทั้งห้า ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ซึ่งเริ่มแตกเนื้อสาวทั้ง ๕ พระนาง จับดาบคนละเล่ม สามารถหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ในเขตป่าเขา กลายเป็นตำนานเรื่อง นางทั้งห้า ในเวลาต่อมา

 

การสืบค้นหา พระราชธิดาทั้งห้า ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน

 

                

ภาพที่-๗๘ ภาพสลักบนแผนหิน พบที่ เมืองคูบัว จ.ราชบุรี ในภาพ แสดงเรื่องราวเหตุการณ์ตอนหนึ่ง ของ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ขณะที่ ข้าศึกทมิฬโจฬะ ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี ราชธานี กรุงสระทิ้งพระ เป็นเหตุให้ พระนางทั้งห้า ซึ่งเป็น พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ ต้องหลบหนีข้าศึกทมิฬโจฬะ ไปซ่อนตัวในเขตป่าเขา ภาพสลักบนแผ่นหินดังกล่าว ยังพบที่ บริเวณโคนต้นโพธิ์ทอง ของ วัดศรีราชัน ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วย

 

ในปลายรัชกาลของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน นั้น สงครามที่เกิดขึ้น ระหว่าง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) , อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ฯลฯ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชน เสด็จสวรรคต ในสงคราม ทำให้ จักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก และ นายกพระยาท่าข้าม ต้องทำสงครามขับไล่ข้าศึกทมิฬโจฬะ ให้ต้องถอยทัพออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ

เนื่องจาก พระราชธิดาทั้งห้า ของ มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชุน หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นางทั้งห้า มี เจ้าหญิงอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ เจ้าหญิงศรีโพธิ์(หม่อมแพรไหม) เป็นราชธิดาพระองค์ที่สอง ทั้งสองพระนาง ต้องนำพระขนิษฐา อีก ๓ พระองค์ หลบหนีข้าศึก พร้อมกับนำ ผอบทองคำ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า หลบหนีดั้นด้นไปหลบซ่อนตัวอยู่ในเขตป่าใหญ่

ต่อมา พระยาเทพนิมิตร มหาราชาแห่ง อาณาจักรเทียนสน(นาคน้ำ) ต้องนำทหารติดตามค้นหา ไปพบ นางทั้งห้า อยู่กลางป่าใหญ่ ในท้องที่ ของ แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) จึงได้นำ พระนางทั้งห้า ไปประทับ ณ แคว้นกลิงค์ตัน(กันตัง) ตั้งแต่นั้นมา

ส่วน พระบรมสารีริกธาตุ ในผอบทองคำ ซึ่ง เจ้าหญิงอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) นำหลบหนีข้าศึกไปได้นั้น จะเป็นที่มาของการสร้าง พระบรมธาตุเจดีย์หงสาวดี(พะโค) และ พระบรมธาตุปฐมเจดีย์(นครปฐม) ในเวลาต่อมา การค้นหานางทั้งห้า ของ พระยาเทพนิมิตร ครั้งนั้น ทำให้ เจ้าหญิงอุษา พบรักกับ พระยาเทพนิมิตร เป็นที่มาของการจัดงานอภิเษกสมรส ระหว่างกัน ในเวลาต่อมา ด้วย

 

 

 

                                              เชิงอรรถ

 



¨- ทองแถม นารถจำนง แปลจาก หนังสือหมานซือ เอกสารภาษาจีนโบราณ และ ผู้เรียบเรียง ได้นำมาปรับปรุงสำนวน และเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างความเข้าใจ

 

¨- จดหมายเหตุจีน ราชวงศ์เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ บันทึกว่า มีมหาราชาแห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)  มีพระนามว่า พระเจ้าพันพิชัย(พิ-ชิ-ยะ-ปะ-โม) ได้ส่งคณะราชทูต จาก กรุงจามปา เดินทางไปสร้างสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ มีบันทึกว่า...

       ...ปีที่ ๒๕ ในรัชกาล ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง(พ.ศ.๑๐๗๐) ได้มี มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงจามปา มีพระนามว่า พันพิชัย(พิ-ชิ-ยะ-ปะ-โม) ได้ส่งคณะราชทูต พร้อมกับ ได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชทูตได้กราบทูลต่อฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ว่า มีประเทศข้างเคียง กำลังรุกราน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) จึงต้องการความคุ้มครอง จาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ด้วย...

 

¨-ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ แห่ง ประเทศไทยฯ จัดพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๖

       หลักฐานจดหมายเหตุจีน บันทึกโดยม้าต้วนหลิน ได้บันทึกถึงเรื่องราวในสมัยของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง  แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๓ พระเจ้ารุทรวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ผู้สืบเชื้อสายเป็นพระญาติ กับ พระเจ้าพันพิชัย(พัน-พิ-ชิ-ยะ-ปะ-โม) ซึ่งได้สวรรคต ในสงคราม ทำให้ พระเจ้ารุทรวรมัน ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้ามโนวรมัน เป็นผู้ยึดอำนาจสืบทอดราชย์สมบัติ กรุงจามปา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงจามปา เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ พร้อมเครื่องราชบรรณาการ ด้วย พร้อมกับขอให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ เพื่อมิให้อาณาจักรข้างเคียง รุกราน มีบันทึกว่า...

       ...ปีที่ ๒๘ ในรัชกาล ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์เหลียง(พ.ศ.๑๐๗๓) มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงจามปา มีพระนามว่า พระเจ้ารุทรวรมัน(รุ-ทะ-ระ-ปะ-โม) ได้ส่งคณะราชทูต พร้อมกับ ได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชทูต แจ้งว่า พระเจ้ารุทรวรมัน เป็นบุตรของ พราหมณ์ เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้ามโนรถ และเป็นพระญาติห่างๆ กับ พระเจ้าวิชัยวรมัน พร้อมกับได้ร้องเรียนต่อฮ่องเต้ เรื่องประเทศข้างเคียง(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน) รุกราน จึงขอความคุ้มครอง ด้วย...

 

¨- ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ แห่ง ประเทศไทยฯ จัดพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๖

       หลักฐานจดหมายเหตุจีน บันทึกโดย ม้าต้วนหลิน ซึ่งได้บันทึกถึงเรื่องราวในสมัยของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๐๗๗ พระเจ้ารุทรวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ภาคใต้ ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงจามปา เพื่อเดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมกับขอความช่วยเหลือ  ด้วย มีบันทึกว่า...

       ...ปีที่ ๓๒ ในรัชกาล ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง(พ.ศ.๑๐๗๗) มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงจามปา มีพระนามว่า พระเจ้ารุทรวรมัน(รุ-ทะ-ระ-ปะ-โม) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ และขอให้ ฮ่องเต้ ส่งทหาร ไปให้ความคุ้มครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ที่กำลังถูกประเทศข้างเคียง(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน) รุกราน อีกด้วย...

 

¨-๕ ทวีป วรดิลก ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ หน้าที่ ๒๓๘-๒๓๙

 

Visitors: 54,450