พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เล่มที่ ๑ (นอกตำราเรียน)
คำนำ
พระราชประวัติสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา
บทที่-๑ สายราชสกุลของหม่อมนกเอี้ยง
บทที่-๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติที่ จ.สุราษฎรธานี
บทที่-๓ ชีวิตวัยเยาว์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
บทที่-๔ชีวิตการรับราชการ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
บทที่-๕ พระยาตากสิน อาสา ทำสงครามกับกองทัพพม่า
บทที่-๖ สามสหายถูกปลดออกจากราชการ
บทที่-๗ พระยาราชบังสันสิน ทำสงครามกับกองทัพพม่า
บทที่-๘ พระยาจักรีสิน สร้างกองทัพกู้ชาติ ที่เมืองท่าชนะ
บทที่-๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สมัย ราชอาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี
บทที่-๑๐ สมเด็จพระเจ้าศรีสรรเพชร(สิน) ปราบปราม เจ้าฟ้าจุ้ย
บทที่-๑๑ สมเด็จพระเจ้าศรีสรรเพชร(สิน) เข้ายึดครอง ราชอาณาจักรละโว้
บรรณานุกรม
คำนำของผู้เขียน
เนื่องจากผู้เขียนเป็นคนหนึ่งในสายตระกูล ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ราชธิดาพระองค์ที่สอง ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับ ท่านหญิงวาโลม มเหสีพระองค์แรก ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่มีสายสกุลไม่ห่างไกลมากนัก ทั้งนี้เพราะ มารดาของคุณย่าของผู้เขียน ก็คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก และ บิดาของคุณปู่ของผู้เขียน ก็คือหลานชายของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ส่วนสายสกุลของคุณตาของผู้เขียนนั้นก็เป็นหลาน ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท
ทั้งสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก ก็คือ พระราชธิดา ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา กับ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เป็นที่มาให้ผู้เขียนได้รับรู้เกี่ยวกับ พระราชประวัติ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่แท้จริงมาตั้งแต่วัยเด็ก แต่ข้อมูลที่รับทราบมาจากสายสกุล นั้น ล้วนขัดแย้งกับพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่เขียนปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังทั้งสิ้น ผู้เขียนจึงได้พกพาเอาความสงสัยติดตัวมาโดยตลอด ไม่ทราบว่าข้างไหนเป็นจริง และข้างไหนเป็นเท็จ
ความสงสัยดังกล่าวจึงเป็นที่มาให้ผู้เขียนได้พยามสืบค้นตรวจหาหลักฐานต่างๆ เมื่อประมาณ ๒๐ ปีมาแล้ว แต่เนื่องจากผู้เขียนเป็นวิศวกร มิใช่นักประวัติศาสตร์ จึงต้องใช้เวลาค้นคว้าศึกษาเป็นเวลานานกว่าปรกติ เพราะเหตุที่ผู้เขียนเชื่อว่า ประวัติศาสตร์ คือเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ชาติที่เกิดขึ้นจริงในอดีต ไม่ใช่เรื่องราวที่ปรุงแต่งขึ้น หรือเรื่องราวที่จงใจสร้างขึ้นใหม่ เพื่อรักษาอำนาจตนเอง และทำลายอำนาจฝ่ายตรงข้าม ผู้เขียนจึงเชื่อว่า ถ้าคนเราทราบเรื่องราวความเป็นจริงในอดีต ก็จะสามารถทำความเข้าใจความเป็นจริงในปัจจุบัน และสามารถวางแผนการทำงานในอนาคต ให้ดีขึ้น มิให้เกิดความผิดพลาดอย่างซ้ำซาก ขึ้นอีก ผู้เขียนจึงได้ใช้เวลายาวนานประมาณ ๕ ปี ทำการรวบรวมพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่แท้จริงขึ้นมาเป็นรูปเล่มจนสำเร็จ เมื่อประมาณ ๑๕ ปี มาแล้ว แต่ได้เก็บต้นฉบับไว้เฉยๆ ยังมิได้นำไปจัดพิมพ์เผยแพร่ แต่ประการใด
การสืบค้นพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่เป็นจริงนั้น ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิด้วย เพราะเกี่ยวโยงกับความคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีในการทำสงครามกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ด้วยทั้งสิ้น อีกทั้งยังต้องสืบค้นสายสกุลบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น สายสกุลของหม่อมนกเอี้ยง สายสกุลของหม่อมอั๋น สายสกุลของเจ้าพระยาจักรีมุกดา สายสกุล เจ้าพระยาโกษาธิบดี(หยางจิ้งจุง) เป็นต้น เพราะสายสกุลดังกล่าว ล้วนเกี่ยวโยงกับพระราชประวัติ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในการสร้างกองทัพกู้ชาติ ซึ่งเป็นกองทัพของขุนนางอำมาตย์ต่างๆ ที่มาร่วมกันสร้างกองทัพขึ้น เพื่อการทำสงครามกอบกู้เอกราช จนสำเร็จ
ผู้เขียนมีเหตุผลสำคัญ ๒ ประการ ที่ต้องนำต้นฉบับที่เก็บรักษาไว้ในคอมพิวเตอร์ มาจัดพิมพ์ขึ้นมาในปัจจุบัน เหตุผลประการแรก เพราะผู้เขียนอยู่ในวัยชรา อายุ ๖๓ ปีแล้ว เกรงว่าหากผู้เขียนเสียชีวิตไป สิ่งที่ผู้เขียนได้ค้นคว้ารวบรวมไว้จะสูญหายไป เพราะลูกหลานคนรุ่นใหม่ ไม่ค่อยสนใจ
เหตุผลประการที่สอง ผู้เขียนพิจารณาเห็นว่า ความขัดแย้งระหว่างคนไทยด้วยกันเอง ที่เคยเกิดขึ้นก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่สอง นั้นคล้ายคลึงกับความขัดแย้งของคนไทยด้วยกันเองในปัจจุบัน ที่แต่ละฝ่ายต่างเรียกร้องความสามัคคี แต่ความสามัคคี มิได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้นการเหลียวหลังกลับไปมองประวัติศาสตร์ในอดีต ที่เคยมีลักษณะเนื้อหา คล้ายคลึงกันนั้น น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนสร้างความสามัคคีของคนในชาติไทย ในปัจจุบันได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ก่อนที่ชาติไทยจะเสียหายไปมากกว่านี้
หนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีเรื่องราวที่มีเนื้อหาจำนวนมาก ผู้เขียนจึงได้จัดแบ่งแยกเนื้อหาต่างๆ ออกเป็น ๓ เล่มๆ แรกเป็นพระราชประวัติพระเจ้าตากสินฯ ในวัยทรงพระเยาว์จนกระทั่งขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น สมเด็จพระเจ้าศรีสรรเพชร(สิน) เล่มที่-๒ เป็นเรื่องราวสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี มีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่-๔ และเล่มที่-๓ เป็นพระราชประวัติ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อถูกยึดอำนาจ จนกระทั่งสวรรคต เมื่อพระชนมายุ ๘๙ พรรษา
เนื่องจาก ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในอดีต การตรวจสอบหลักฐานความเป็นจริงต่างๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ของ เรื่องราวในอดีต คือเรื่องราวก่อนเกิดนั้น มิใช่เรื่องง่ายนัก ถ้ามีการปรุงแต่งหลักฐานใหม่ๆ ในภายหลังเพื่อทำลายอำนาจของฝ่ายตรงข้าม และรักษาอำนาจของตนเอง ก็เปรียบเสมือนคนที่ดวงตาเคยดี จะกลายเป็นตาต้อกระจก ตาจะพร่ามัว จนกระทั่งกลายเป็นตาต้อหิน และตาบอดในที่สุด
หนังสือเล่มนี้อาจจะมีข้อบกพร่องผิดพลาดบ้างไม่มากก็น้อย ผู้เขียนหวังว่า นักศึกษารุ่นใหม่ๆ จะได้ช่วยกันค้นคว้า ต่อยอดการค้นคว้าหาความจริงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้คนไทยมีสายตาที่แจ่มใส สามารถทราบพระราชประวัติที่แท้จริงของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เกิดขึ้นจริงในอนาคต
สำหรับท่านผู้อ่านที่คิดว่า เรื่องราวที่ผู้เขียน ได้เขียนขึ้นนั้น ไม่น่าเป็นจริง หรือเชื่อว่าเรื่องราวที่ปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังนั้น น่าเชื่อถือมากกว่า ก็ให้ถือว่า เป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ที่ต้องช่วยกันตรวจสอบหลักฐานเพิ่มขึ้น เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น ในอนาคต
นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ
๕/๕/๒๕๕๕
พระราชประวัติ ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา โดยสังเขป
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เป็นพระราชธิดาพระองค์หนึ่งในพี่น้อง ๖ พระองค์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับ ท่านหญิงวาโลม มเหสีพระองค์แรก ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เรียงลำดับดังนี้ คือ เจ้าฟ้าชายไข่แดง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เจ้าฟ้าชายเมฆิน สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสุมาลี และ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสิงหรา สำหรับท่านหญิงวาโลม นั้น เป็นลูกครึ่งระหว่างเจ้าชายอาหรับ กับ เจ้าหญิงจีน เป็นชาวจีนมณฑลกวางตุ้ง นับถือศาสนาอิสลาม พระยาจักรี(มุกดา) เป็นผู้สู่ขอให้มาอภิเษกสมรส กับ พระยาตากสิน ตั้งแต่สมัยที่เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองตาก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๙๘ ขณะนั้นพระยาตากสิน มีพระชนมายุได้ประมาณ ๒๑-๒๒ พรรษา ท่านหญิงวาโลม ได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ในภายหลัง
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ประสูติที่เมืองตาก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ เป็นช่วงเวลาที่พระเจ้าอุทมพร ขึ้นครองราชย์สมบัติในระยะเวลาสั้นๆ แล้วถูกยึดอำนาจโดยพระเจ้าเอกทัศน์ ในขณะที่พระยาตากสิน เดินทางมาร่วมในพิธีบรมราชาภิเษก ณ กรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อเกิดสงครามกับกองทัพพม่า และพระเจ้าอุทมพร ขึ้นครองราชย์สมบัติอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๓๐๑ พระยาตากสินฯ ต้องออกทำสงครามต่อต้านข้าศึกพม่า พระยาตากสิน จึงต้องส่งท่านหญิงวาโลม พร้อมบุตรธิดา ไปอาศัยอยู่กับหม่อมนกเอี้ยง ณ พระราชวังเจ้าตาก เมืองคันธุลี ส่วนหม่อมนกเอี้ยง ประทับอยู่ที่ พระราชวังดอนชาย เมืองท่าชนะ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา จึงถูกเลี้ยงดู โดยหม่อมนกเอี้ยง มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เป็นที่รักใคร่ ของ หม่อมนกเอี้ยง มาก หลังจากนั้นไม่นาน หลวงพิชัย หรือ หยางจิ้งจุง(จิ้งจุง แซ่หยาง) ได้ไปสร้างอู่ต่อเรืออย่างลับๆ อยู่ที่เมืองคันธุลี ใกล้ๆ พระราชวังเจ้าตาก ห่างจากพระราชวังดอนชาย ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
ก่อนที่กรุงศรีอยุธยา จะเสียแก่กองทัพพม่า นั้น ประมาณปี พ.ศ.๒๓๐๙ พระยาตากสิน มีตำแหน่งเป็น พระยาจักรีสิน นอกราชการ ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี เป็นกษัตริย์ปกครอง ราชอาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าศรีสรรเพชร(สิน) มีราชธานีอยู่ที่เมืองคันธุลี หม่อมนกเอี้ยง ซึ่งได้เคยถวายที่ดินพระราชวังดอนชาย ให้สร้างเป็นวัดดอนชาย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๐๓ หม่อมนกเอี้ยง จึงได้นำสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา โยกย้ายไปประทับอยู่ที่พระราชวังเทพนิมิต หรือ วังเจ้าตาก ติดต่อแดนกับ ดอนเจ้าตาก ทางทิศใต้ ของ วัดศรีราชัน(วัดสั่งประดิษฐ์) เมืองคันธุลี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าศรีสรรเพชร(สิน) แห่ง ราชอาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี นำกองทัพเข้าทำสงครามกอบกู้ดินแดนราชอาณาจักรละโว้ กลับคืนสำเร็จ และได้ใช้กรุงธนบุรี เป็นราชธานี ของ ราชอาณาจักรเสียม-ละโว้(เสียม-หลอ) ก็ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๓๑๐ มีพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่-๔ เป็นที่มาให้ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา พร้อมหม่อมนกเอี้ยง ฯลฯ ได้เสด็จไปประทับที่พระราชวังหลวง กรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เป็นผู้ดูแลหม่อมนกเอี้ยง ในวัยชรา จนกระทั่งหม่อมนกเอี้ยง สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา จึงได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวของ พระราชประวัติต่างๆ ของหม่อมนกเอี้ยง และ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาโดยตลอด และได้รับการถ่ายทอดสืบทอดต่อๆ กันมาถึงผู้เขียน
ในระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำสงครามขับไล่กองทัพพม่า ให้ออกจากดินแดนราชอาณาจักรละโว้ และ ราชอาณาจักรข้างเคียง นั้น พระเชษฐา คือ เจ้าชายไข่แดง ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองถลาง ได้ควบคุมกองทัพไปทำสงครามกับพม่า เพื่อยึดเมืองมะริด และ ตะนาวสี กลับคืน ได้ถูกกองทัพพม่าซุ่มโจมตี หายสาบสูญไปในสงคราม ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าเมืองลพบุรี ต่อมาได้ออกไปทำศึกกับกองทัพพม่า ได้เสียชีวิตในสงครามทั้งคู่ คงเหลือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา เจ้าชายเมฆิน เจ้าหญิงสุมาลี และ เจ้าฟ้าชายสิงหรา สี่พี่น้องท้องเดียวกัน ที่ยังมีชีวิตอยู่
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา มีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้จัดให้อภิเษกสมรสกับ พระยาจักรีทองด้วง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๙ เป็นเหตุให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาจักรี (ทองด้วง) เป็นเชื้อสายราชวงศ์ เป็นราชบุตรเขย มีพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก เพื่อเตรียมให้เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ในอนาคต สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้มอบให้ พระยาสรวิชิต(หน) หรือ พระยาคลัง(หน) ไปถ่ายทอดตำนานวรรณคดีจีน สามก๊ก และมอบให้ เจ้าพระยาสรประสิทธิ์ เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย ณ เมืองท่าชนะ แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก สนใจแต่การศึกษาวรรณคดีจีนเรื่องสามก๊ก ไม่ค่อยสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ชนชาติไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงเรียกสมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา กลับคืนพระราชวังหลวง กรุงธนบุรี
ในปี พ.ศ.๒๓๒๔ สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก ราชบุตรเขย ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ร่วมกับพวก ได้ทำการก่อการรัฐประหาร สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ญาติพี่น้อง รวมไปถึง ลูกเมียของขุนนางอำมาตย์ ถูกจับเป็นตัวประกัน เป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต่อรองให้จับพระองค์ไปเป็นตัวประกัน แทนที่ จึงถูกนำไปขังคุกที่วัดบางยี่เรือ ต่อมา พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พร้อมบริวาร ได้ลักลอบขุดอุโมงค์ นำสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ หลบหนีออกจากคุกที่คุมขังที่วัดบางยี่เรือ เป็นผลสำเร็จ
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก ขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้มีพระราชธิดากับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ๒ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท(หญิงใหญ่) กับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก(หญิงเล็ก) ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุต่างกัน ๔ พรรษา แต่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ไม่มีพระราชโอรส กับ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท(หญิงใหญ่) มีพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา เริ่มโตเป็นสาว คือเหตุการณ์ประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๔ กรมพระราชวังบวร(บุญมา) ได้สู่ขอสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ไปอภิเษกสมรส ด้วย เพื่ออ้างสิทธิ์ในการสืบทอดราชย์สมบัติ แต่ พระพุทธยอดฟ้าฯ พร้อมขุนนางอำมาตย์ ไม่ทรงเห็นชอบด้วย เพราะต้องการให้ กรมหลวงอิศรสุนทร(พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ต่อมา พระพุทธยอดฟ้าฯ พิจารณาเห็นว่า ทั้งสามแม่ลูก อาจจะไม่ปลอดภัย จึงให้ทหารนำสามแม่ลูก เดินทางไปอาศัยอยู่ที่ บ้านทุ่งนาเล เมืองท่าชนะ เจ้าหญิงสองพี่น้อง จึงได้พบกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อีกครั้งหนึ่งในภาพของ หลวงตาผ้าขาว(สิน) ณ เชิงภูเขาพนมเบญจา อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน
ที่เมืองท่าชนะ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า นอบ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เครือ และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เฟือ ต่อมาไม่นาน สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ได้ส่งสองราชธิดา ไปศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติม กับ หลวงตาผ้าขาว(สิน) ซึ่งประทับอยู่ที่เชิงภูเขาพนมเบญจา เมืองกระบี่ เป็นเวลา ๕ ปี ทำให้สองเจ้าหญิง ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นอย่างดี
เมื่อสองเจ้าหญิงเสด็จกลับมายังเมืองท่าชนะ หลวงตาผ้าขาว(สิน) และ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้จัดให้สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท อภิเษกสมรสกับ ขุนหลวงประเทศ(หยางฮุ่งเชี่ยน) บุตรชายคนกลาง ของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี(หยางจิ้งจุง) มีสายสกุลฝ่ายบุตรชายที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ๔ สายตระกูล คือ ตระกูลถาวรเศรษฐ ตระกูลสุทธิสุวรรณ ตระกูลวนรักษ์ และ ตระกูลพิทักษ์ธรรม ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก ได้อภิเษกสมรสกับ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ พระราชโอรส ของ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระอนุชา ของ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสายสกุลฝ่ายบุตรชายที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือ ตระกูล ถาวรเศรษฐ สมเศรษฐ และ ตระกูล แย้มเนตร เป็นต้น ทั้งสองพระองค์ได้โยกย้ายมาอยู่ที่ บ้านใหญ่ เมืองคันธุลี
ถ้าสืบสายสกุลสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ให้สาวลึกลงไป ก็จะพบความเป็นจริงว่า สมเด็จย่าศรีสังวาล นั้นมิใช่มาจากสายสกุลสามัญชน แท้ที่จริงแล้ว เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท ทั้งนี้เพราะ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท มีบุตรธิดา กับ หยางฮุ่งเชี่ยน(บุตรคนกลางของ หยางจิ้งจง) จำนวน ๔ คน คือ หยางยี่ผ่าง(ช) หยางยี่หยุ่น(ช) หยางยี่เคี่ยน(ช) และ หีต(ญ)
เนื่องจาก หยางยี่หยุ่น นั้นมีภรรยาหลายคน มีภรรยาคนหนึ่งสืบสายสกุลมาจาก กษัตริย์ แห่ง ราชอาณาจักรลาว หยางยี่หยุ่น ซึ่งเปลี่ยนชื่อหลายครั้งนั้น ก็คือ บิดา ของสมเด็จย่าฯ นั่นเอง ส่วนเรื่องราวการสิ้นพระชนม์ ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา นั้น เกิดขึ้นภายหลังการจัดงานอภิเษกสมรส ระหว่าง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก กับ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ(พระยาคอปล้อง) ได้ไม่นาน สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุบผา ก็เจ็บป่วย และสิ้นพระชนม์ ณ เมืองท่าชนะ นั่นเอง
เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ
บทที่ ๑
สายราชสกุล ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นสามัญชน หรือ เชื้อสายราชวงศ์
ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระราชประวัติของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มักจะถูกเขียนปรุงแต่งขึ้นมาภายหลัง ส่วนใหญ่จะนำข้อมูลมาจากหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ*"๑ หนังสือเล่มนี้นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า ถูกเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ หรือ ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๔-๒๓๙๘ เนื้อหาบางส่วน ได้ถูกนำไปจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๑ โดย ก.ศ.ร. กุหลาบ ในวารสารสยามประเภทของท่าน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ได้จดพิมพ์ฉบับสมบูรณ์ขึ้นในงานพระศพของ ม.จ. ปิยะภักดีนารถ สุประดิษฐ์ และถูกนำมาอ้างอิงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่แสร้งยกย่อง บิดเบือนปกปิดข้อมูลจริง และโจมตี กล่าวหา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โดยกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นสามัญชน เป็นลูกเจ๊ก มีมารดาเป็นไทยชื่อ นกเอี้ยง มิได้มีเชื้อสายราชวงศ์แต่อย่างใด
หนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ถูกเขียนปรุงแต่งขึ้นโดย เอี๊ยะมิ้ง และ ป.พิศนาคะ กล่าวว่า พระราชมารดาของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นเชื้อพระวงศ์กรุงเก่า เป็นธิดาผู้ดี ต่อมาถูกส่งไปอยู่ในวัง จึงไปได้เสียกับเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ทำให้ต้องออกจากวัง มาแต่งงานใหม่กับพ่อค้าจีนคนหนึ่ง เมื่อตรวจสอบหลักฐานต่างๆ แล้ว ข้อเขียนนี้ไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือ
หนังสือเกล็ดประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เขียนโดยแม่สงฆ์วรมัย กบิลสิงห์ ซึ่งวางจำหน่ายทั่วไป ในปัจจุบัน เขียนปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังบันทึกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นสามัญชน ประสูติที่เมือง สามโคก ปทุมธานี บิดาเป็นชาวจีน แซ่ลิ้ม มารดาชื่อนกเอี้ยง เป็นบุตรนายผลึก นางทองจีบ บิดามารดาเป็น พ่อค้าข้าวสาร เจ้าของโรงสีข้าว
หลักฐานบันทึกของต่างชาติเกี่ยวกับชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เช่น จดหมายของ บาทหลวงฝรั่งเศส ชื่อ ปาลเลกัวซ์ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๑ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีเชื้อสายชาติจีน ครึ่งหนึ่ง และเชื้อสายชาติไทย อีกครึ่งหนึ่ง ส่วนบันทึกชาวฝรั่งเศส อีกคนหนึ่งชื่อ ดูแปง บันทึกว่า แม่นกเอี้ยง พระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีเชื้อสายจีนด้วย พงศาวดารประเทศเวียตนาม บันทึกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีเชื้อสายจีน ใช้แซ่เจิ้ง หรือ แช่แต้
ส่วนการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ชาวจีน ชื่อ ต้วนหลีชิง ได้ทำการค้นคว้าเรื่องราวในภายหลัง สรุปว่า พระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ชื่อนายต้า แซ่ลิ้ม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า นายหยูง แซ่ลิ้ม หลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมา มิได้ระบุให์ชัดเจนว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นสามัญชน หรือ มีเชื้อสาย ราชวงศ์และทำไมเมื่อสายสกุลของพระราชบิดา มีสายสกุล แซ่รม แต่ทำไมสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ใช้สกุลแซ่แต้หรือ แซ่เจิ้ง ที่ปรากฎตามเอกสารต่างๆ ข้อสงสัยเหล่านี้ยังไม่มีผู้ใดให้คำตอบที่ชัดเจนได้ หนังสือเล่ม นี้ผู้เขียนจะเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับความสับสนเกี่ยวกับสองแซ่ ดังกล่าว
จากบันทึกต่างๆ ที่นำมากล่าวโดยสังเขป ไม่สามารถสรุปได้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นสามัญชน หรือ เชื้อสายราชวงศ์ ผู้เขียนในฐานะผู้สืบเชื้อสายราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ และรับทราบเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาตั้งแต่วัยเยาว์ ได้รับการถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ สรุปว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นเชื้อสายราชวงศ์เทียบเท่ากับ หม่อมเจ้า ในปัจจุบัน เนื่องจากพระราช มารดาแม่นกเอี้ยง มีฐานะเป็น พระองค์เจ้า เป็นพระราชธิดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของ สมเด็จพระเพทราชา สืบเชื้อสายราชวงศ์มาจาก สมเด็จพระนเรศวรฯ ซึ่งสืบสายราชวงศ์มาจาก สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ซึ่งเป็นสายราชวงศ์หนึ่ง ของ สายราชวงศ์พระร่วง
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สืบสายราชวงศ์มาจาก
สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์
มีการเล่าสืบต่อกันมาจากสายราชสกุล สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ว่า พระองค์เจ้านกเอี้ยง หรือ หม่อมนกเอี้ยง เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเพทราชา ซึ่งเป็นเชื้อสายราชกุลสืบทอดมาจาก มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรนทรารักษ์ ซึ่งเป็นมหาจักรพรรดิพระองค์สุดท้าย ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ (เสียม-ละโว้) พระองค์ได้ต่อสู้กับกองทัพมุสลิม ของ นายพลเจิ่งหัว แห่ง มหาอาณาจักรจีน ซึ่งสมคบกับเจ้านครอินทร์ นำกองทัพมุสลิมของนายพลเจิ่งหัว โค่นล้มอำนาจของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เพื่อให้มหาอาณาจักรจีน มีอิทธิพลเหนือดินแดนช่องแคบมะละกา ผลของสงคราม กองทัพมุสลิม ของ นายพลเจิ้งหัว สามารถทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นผลสำเร็จ และสามารถจับกุมมหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ไปสำเร็จโทษ ณ กรุงนานกิง* ๒ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕ เป็นการจบสิ้นการปกครองแบบสหราชอาณาจักร ที่เคยปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ที่สืบทอด อย่างยาวนานมาในอดีต
มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์เป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้าอู่ทอง มีพระนามเดิม ว่า เจ้าชายม้า เนื่องจากชอบทรงม้า เป็นพี่น้องต่างมารดากับ พระราเมศวร ซึ่งสืบสายราชวงศ์มาจาก พระยาศรีไสณรงค์ พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ พระยาร่วง เนื่องจากเจ้าชายม้า มีความสามารถในการทำสงครามชนะข้าศึกหลายครั้ง รวมทั้งชนะกองทัพทมิฬอาแจ๊ะ ด้วย จึงถูกประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า ตาม้าชนะอาแจ๊ะ และต่อมา สภาโพธิ มีมติให้ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ มี พระนามว่า สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระนามว่า เจ้าจักรพรรดิ ตั้ง พระราชวังอยู่ที่เกาะกันไพรี เมืองคันธุลี โดยกฎมณเฑียรบาลแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ จะต้องสืบ ทอดตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เมื่อพระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคต หากสภาโพธิเห็นชอบ
เจ้าชายตาม้าชนะอาแจ๊ะ หรือ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์รพระราชโอรสที่สำคัญ ๒ พระองศ์ คือ พระยามานะชวาลา ว่าราชการอยู่ที่บริเวณภูเขาชวาลา เมืองคันธุลี และ พระยาชวาแผลด มีที่ว่าราชการ อยู่ที่พระราชวังของขุนศรีธรรมโศก บริเวณวัดเวียง เมืองศรีโพธ(ไชยา) พระราชโอรสที่สำคัญของพระยาแผลด คือ พระยาชวาแผลง ซึ่งเป็นพระราชบิดาของขุนพิเรนเทพ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สายราชวงศ์นี้มีสายราชวงศ์เชื่อมต่อมาถึง เจ้าศรีศิลป์ ต่อเชื่อมมาถึง พระเพทราชา และ มาถึงพระองค์เจ้านกเอี้ยง ซึ่งเป็นพระราชมารดาของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
ก่อนที่พระเจ้าอู่ทอง จะเสด็จสวรรคต นั้น พระองค์ไม่ไว้วางพระทัย ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งสมคบกับเจ้านครอินทร์ไปสร้างความสัมพันธ์อย่างลับๆ กับ มหาอาณาจักรจีน เพื่อสร้างความอ่อนแอให้กัน สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เพื่อให้มหาอาณาจักรจีน เข้าไปมีอิทธิพลเหนือดินแดนช่องแคบมะละกา จึงได้โปรดเกล้าให้พระราเมศวร ขึ้นเป็นกษัตริย์ ราชอาณาจักรละโว้ แทนที่ ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นมหาอุปราช ว่า ราชการอยู่ที่กรุงละโว้ ดังนั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทอง เสด็จสวรรคต พระราเมศวรจึงขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นมหาราชาแห่ง ราชอาณาจักรละโว้ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่งของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอเป็นเหตุให้ขุนหลวง พะงั่วนำกองทัพจากเมืองลพบุรีเข้ายึดอำนาจกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักรละโว้แล้ว เกลี้ยกล่อมให้พระราเมศวร ไปดำรงตำแหน่งมหาอุปราชแห่ง ราชอาณาจักรละโว้ ว่าราชการอยู่ที่เมืองละโว้ แทนที่ หลังจากนั้น ขุนหลวงพะงั่ว ก็ประกาศแยกราชอาณาจักรละโว้ ออกจากการปกครองของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นที่มาให้เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่าง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงคันธุลี เรื่อยมา
เมื่อขุนหลวงพะงั่ว สวรรคต สมเด็จพระราเมศวร ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ ราชอาณาจักรละโว้และพยายามนำ ราชอาณาจักรละโว้กรุงศรีอยุธยาให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงคันธุลี อีกครังหนึ่ง แต่ต่อมาเจ้านครอินทร์ เข้าขัดขวาง และยังยกกองทัพเข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยา อีกด้วย เป็นเหตุให้สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ต้องยกกองทัพจากกรุงคันธุลี เข้า คุ้มครองราชอาณาจักรละโว้ แต่ต่อมาไม่นานพระราเมศวร ก็ก่อกบฏ ประกาศแยกราชอาณาจักรละโว้ออก จากการปกครองของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ อีกครั้งหนึ่ง โดยสืบทอดราชการมาถึง พระรามราชา พระราชโอรสของ สมเด็จพระราเมศวร ขึ้นครองราชย์สมบัติก็แย่งชิงอำนาจกับ เจ้านครอินทร์ ซึ่งประกาศเป็น กษัตริย์ปกครอง ราชอาณาจักรละโว้ มีราชธานีอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี โดยการสนับสนุนจากกองทัพนายพล เจิ้งหัว แห่ง มหาอาณาจักรจีน เป็นที่มาให้ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ต้องยกกองทัพมาทำสงคราม ปราบปรามพระรามราชา และ เจ้านครอินทร์ ที่กรุงศรีอยุธยา เป็นที่มาให้นายพลเจิ้งหัว นำกองทัพเรือเข้ายึด ครองกรุงคันธุลี*"๓ ผลของสงครามครั้งนั้น พระยามานะชวาลา สวรรคต ในสงคราม
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ทราบข่าว จึงยกกองทัพจากกรุงคันธุลี ไปขับไล่กองทัพของนาย พลเจิ้งหัว และเป็นที่มาให้สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ต้องย้ายราชธานี จาก เมืองคันธุลี ไปตั้งพระราชวังหลวง อยู่ที่พระราชวังเดิมของขุนศรีธรรมโศก บริเวณวัดเวียง เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งเป็นที่ว่าราชการ ของ พระยาแผลด ซึ่งประชาชนให้สมยานามใหม่ว่า พ่อพระยาปีนไฟ
ต่อมา เจ้านครอินทร์ ได้สมคบกับฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยได้นำกองทัพเรือใหญ่ เข้า โจมตีกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) และสามารถยึดครองกรุงศรีโพธิ ได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ถูกจับคุม และถูกนำไปสำเร็จโทษ ที่กรุงนานกิง ผลของสงครามครั้งนั้น ทหารไทยบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมาก จึงเกิดแม่ม่าย จำนวนมากเช่นกัน ทหารจีนมุสลิม เข้าข่มขืนหญิงไทย ตามใจชอบ*'๔ เจ้านครอินทร์ ได้สั่งให้รื้อทำลายกำแพงเมืองกรุงศรีโพธิ์ นำไปใช้ที่กรุงศรีอยุธยา พร้อมกับกวาดต้อนประชาชน ไปตั้งรกรากที่ บางพลัด เมืองธนบุรี คำว่า บางพลัด จึงหมายถึง ชาวเสียม จากกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ที่พลัดพรากถิ่นที่อยู่เดิมเนื่องจากพายแพ้สงคราม ส่วนพระยาแผลด หรือ พ่อพระยาปืนไฟ สามารถหลบหนีไปได้ และพยายามเข้ามารื้อฟื้นกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ขึ้นใหม่โดยได้ตั้งที่ว่าราชการอยู่ที่บริเวณ ดอนบ่อกร้อ ใกล้วัดไชยาราม และสืบทอดมาถึงบุตรชาย คือ พระยาแผลง เป็นผู้ปกครอง กรุงศรีโพธิ์ ต่อมา และได้ตั้งตัว เป็นมหาจักรพรรดิ ของ สทราชอาณาจักรเสียม-หลอ อีกครั้งหนึ่ง
ขุนพิเรนเทพ และ ขุนอินทรเทพ เป็นพระราชโอรส ของ พระยาชวาแผลง ที่พยายามฟื้นฟู สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ขึ้นมาอีกครั้งหนื่ง โดยได้ไปตั้งราชธานีที่ กรุงคันธุลี ต่อมา ในปี พ.ศ.๒๐๙๐ สุลต่านอลาดิน เรียยัต ชาห์ อัลกาแฮ แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา สมคบกับทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรพม่า ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ ราชอาณาจักรมาลัยรัฐ และ ราชอาณาจักรเสียม กรุงชวา(คันธุลี) เป็นเหตุให้ พระยาชวา-แผลง ซึ่งประกาศตัวเป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงชวา(คันธุลี) ต้องทำสงครามต่อต้าน ผลของสงคราม พระยาชวาแผลง พ่ายแพ้สงคราม ต้องสวรรคต ในสงคราม พระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ ขุนพิเรนเทพ และ ขุนอินทรเทพ ต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ที่ ดอนบ่อกร้อ ดอนไชยา เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) จนกระทั่งสงครามสงบ จึงเข้าจับช้างเผือก และนำไปถวายแก่ พระเทียนราชา กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ในเวลาต่อมา จนกระทั่งพระเทียนราชา ได้รับพระนามใหม่ว่า พระเจ้าช้างเผือก ในเวลาต่อมา จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า สายราชวงศ์ของ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์จึงได้สืบทอดสายราชวงศ์มาถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สืบทอดมาถึง สมเด็จพระเพทราชา และสืบทอดมาถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
สมเด็จพระนเรศวร ฯ สืบสายราชสกุลมาจาก
สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์
มีเรื่องเล่าสืบทอดต่อๆ กันมา เรื่องช้างเผือกที่ขุนพิเรนเทพ และ ขุนอินทรเทพ นำไปถวายแก่ พระเทียนราชา นั้น สายตระกูลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวดังกล่าว สรุปว่า ขุนพิเรนเทพ และ ขุนอินเทพ ต้องการรื้อฟื้นอำนาจของสายราชวงศ์สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ซึ่งถูกแย่งชิงอำนาจโดยเจ้านครอินทร์ จึงใช้ช้างเผือก เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ นำช้างเผือกไปถวายพระเทียนราชา เรื่องราวเกี่ยวกับช้างเผือกนั้น มีเรื่องราวสืบทอดมาตั้งแต่สมัยมหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ ปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) คือเหตุการณ์ตอนปลายของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งปกครอง โดย มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ พระราชบิดาของ พระยาโรจนฤทธิ์(พระยาร่วง)
เหตุการณ์สมัยนั้น พระเจ้าชัยวรมันที่-๗ แห่ง ราชอาณาจักรโจฬะ(เขมร) ได้ร่วมกับกองทัพ อาณาจักรชนชาติทมิฬโจฬะ หลายๆ ราชอาณาจักร ทำสงครามเข้ายึดครองราชอาณาจักรต่างๆ ภายใต้การ ปกครองของสหราชอาณาจักรเสียม-หลอแม้กระทั่งราชอาณาจักรละโว้ ก็ตกไปอยู่ภายใต้การปกครอง ของ พระเจ้าชัยวรมันที่-๗ จนกระทั่งเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์ราชอาณาจักรละโว้ ได้อพยพไพร่พลไปตั้งฐานที่มั่นที่ปากแม่น้ำโพธิ์ เพื่อต่อสู้กับกองทัพโจฬะ และสามารถขับไล่กองทัพโจฬะ ให้ต้องพ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไป เป็นที่มาให้เกิด อาณาจักรโจรลี้โพธิ์(จดหมายเหตุจีน เรียกชื่อว่า เจนลี่ฟู) ณ ปากแม่นํ้าโพธิ์ ขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าว
ต่อมา ราชอาณาจักรโจรลี้โพธิ์ ดังกล่าวยังถูกกองทัพโจฬะ(เขมร) ยกกองทัพเข้ารุกรานอีกหลายครั้ง จึงต้องยายราชธานี ของ ราชอาณาจักรโจรลี้โพธิ์ ไปตั้งอยู่ที่ เมืองกำแพงเพชร และย้ายไปยัง กรุงสุโขทัย อีกครั้งหนึ่งในเวลาต่อมา เนื่องจากราชธิดา ของ กษัตริย์ราชอาณาจักรโจรลี้โพธิ์ พระองค์หนึ่ง คือ พระนางจันทร์นาค เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ของ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ โดยมีพระราชโอรสองค์หนึ่ง คือ พระยาโรจน์ฤทธิ์(พระร่วง) เมื่อโตขึ้นได้ไปอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงสร้อยสุวรรณ ราชธิดาของ พระยาพนมศิริชัย มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรโจรลี้โพธิ์ กรุงซากังราว(กำแพงเพชร) ได้รับโปรดเกล้าให้ไปเป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองพังงา ในเวลาต่อมา
เหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๑๗๕๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ(เขมร) สามารถส่ง กองทัพเข้ายึดครอง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นผลสำเร็จ*-๕ สามารถปล้นทรัพย์สินต่างๆ ออกไปเป็นจำนวนมาก ได้เผาพระราชวังหลวง เผาวัดธารน้ำใจฯ(วัดเฉิงเทียน วันชู) ทำการกวาดต้อนเชลยศึก ไปอาศัยอยู่ที่ เมืองเสียมเรียบ และ เสียมราษฎร์ เป็นจำนวนมาก ขณะนั้น มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ ติดราชการสงครามอยู่ที่ เกาะศรีลังกา กลุ่มขุนนางอำมาตย์ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ที่พ่ายแพ้สงครามต้องอพยพไพร่พล พร้อมกับนำเทวรูป พระพุทธสิหิงส์ข้ามไปยัง แคว้นพังงา แล้วนำลงเรือมุ่งหน้าไปยัง ภาคใต้ ของ ราชอาณาจักรศรีลังกามหาจักรพรรดิพ่อมาฆะจึงต้องลี้ภัยสงคราม ณ เกาะศรีลังกา โดยได้ไปปกครองแคว้นราชารัฐ ทางภาคใต้ ของเกาะศรีลังกาพร้อมกับนำ พระพุทธสิหิงส์ ไปรักษาไว้ที่ เกาะศรีลังกาด้วย แต่เนื่องจาก ประชาชนชาวศรีลังกา ไม่ยอมต้อนรับว่าเป็นกษัตริย์ของตน กลับยอมรับ พระเจ้านิสสังกะมัลละ โดยมี เมืองโปโลนนุวะปุระ เป็นราชธานี ของ ราชอาณาจักรศรีลังกา ในขณะนั้น
ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้พระราชวังหลวงของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณ เกาะดอนขวาง บริเวณรอบๆ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) จึงร้างไป ช้างเผือก ที่เป็นช้างศึก ได้หลบหนีเข้าป่า ต่อมาได้มารวมตัวอยู่ในพื้นที่บางยาง ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดธารน้ำใจฯ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขานํ้าร้อน)ช้างเผือกเหล่านั้นไม่ยอมให้ผู้ใดควบคุม
ต่อมาพระยาโรจน์ฤทธิ์ เจ้าเมืองพังงา ทราบเรื่อง จึงนำกองทัพเข้ามาขับไล่ทหารโจฬะ(เขมร) ให้ ออกไปจากกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้มาพบช้างเผือกจำนวนมากรวมตัวอยู่ที่บางยาง จึงได้พยายามเข้าจับช้าง ดังกล่าวเข้าไปควบคุม ด้วยการใช้เชือกโรยตัวจากต้นยาง แล้วร่วงลงมาขึ่คอช้าง เพื่อควบคุมช้างศึกดังกล่าว จนสำเร็จ เป็นที่มาให้พระยาโรจน์ฤทธิ์ มีพระนามใหม่ที่ประชาชนเรียกว่า พระยาร่วง ช้างศึกเหล่านั้นถูกควบคุมไปเลี้ยงไว้ที่ทุ่งพระยาชนช้าง เมืองคันธุลี ต่อมาช้างบางเชือกถูกส่งไปใช้ทำศึกที่ กรุงสุโขทัย ช้างอีกบางส่วนได้ขยายพันธุ์ที่ทุ่งพระยาชนช้าง เป็นจำนวนมาก คงมีช้างเผือกบางเชือกที่หลบหนีไปอยู่ในป่า ได้ขยายพันธุ์ให้ขุนพิเรนเทพ นำไปถวายพระเทียนราชา ในเวลาต่อมา
หลังจาก พระราชวังหลวง ซึ่งตั้งอยู่ที่ บริเวณดอนนพไชย ทางทิศเหนือของฎเขาสุวรรณคีรี(ภูเขานํ้าร้อน)ถูกกองทัพข้าศึกของพระเจ้าชัยวรมันที่-๗ เผาร้างไป ก็ได้มีพระธุดงค์ องค์หนึ่ง เดินธุดงค์มาพบกองอิฐพระราชวังหลวงที่คงเหลือจากการถูกเผาไหม้จึงได้ใช้สถานที่ดังกล่าวสร้างเป็นวัดขึ้น เรียกชื่อว่า วัดนพ ต่อมาในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ มาใช้พระราชวังขุนศรีธรรมโศก บริเวณวัดเวียง ซึ่งมีกำแพงเมืองล้อมรอบ เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง เมื่อถูกกองทัพจีนแขกมุสลิมของนายพลเจิ้งหัว เข้าล้อมเมืองศรีโพธิ์(ไชยา) อยู่นั้น กองทัพแขกมุสลิม ของ นายพลเจิ้งหัว สามารถยึดครองเมืองศรีโพธิ์ จนสำเร็จ ทหารจีนแขกมุสลิม พยายามเข้าเผาวัดนพ หลายครั้งแต่มีช้างเผือก ออกมาขับไล่ช้าศึก วัดนี้ จึงไม่ถูกเผา จนกระทั่งวัดนพมีเจ้าอาวาดต่อเนื่องมาถึง ๔ องค์
ต่อมาสมัยพระยาชวาแผลง พ่ายแพ้สงครามต่อกองทัพทมิฬอาแจะ และสวรรคตในสงคราม ได้มีฝูงช้างเผือกตกมัน ได้ออกไปรื้อถอนทำลายวัดนพจนร้างไป ขุนพเรนเทพ และ ขุนอินทรเทพ พระราชโอรส ของ พระยาชวาแผลง เป็นผู้จับฝูงช้างเผือกเหล่านั้น นำไปเลี้ยงดูอยู่ที่ทุ่งพระยาชนช้าง เมืองคันธุลี และต่อมา ได้นำไปถวายพระเทียนราชา เป็นที่มาให้พระเทียนราชา มีพระนามใหม่ว่า พระเจ้าช้างเผือก
เมื่อขุนพิเรนเทพ นำช้างเผือกหลายเชือกไปถวาย จึงได้ไปรับราชการกับพระเทียนราชา ณ กรุงศรีอยุธยา ก็ได้อภิเษกสมรสกับ พระนางวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดาของพระเทียนราชา ได้ไปปกครองเมือง พิษณุโลก มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับ สมเด็จพระเอกาทศรถ ส่วนขุน อินทรเทพ ได้รับโปรดเกล้าให้กลับมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
ขุนอินเทพ เคยมีมเหสี ที่เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) มาก่อน มีพระราชโอรส และราชธิดา ที่สำคัญคือ พระนางเขียว พระยาไชยาเทพบุตร และ พระยาไชยาธิเบศต่อมา พระนางเขียว ได้ไปเป็นมเหสีของ สุลต่านมูดู ส่วน พระยาไชยาเทพบุตร หรือ พระยาไชยาธิเบศ มีราชธิดาองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระนางไชยาเทวี ได้เป็น อัครมเหสี ของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในเวลาต่อมา มีโอรสที่สำคัญ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ มีพระราชธิดา องค์หนึ่งที่สำคัญคือ พระนางน้ำเงิน ซึ่งได้ไปสมรสกับ โมกุล ซึ่งสายตระกูลดังกล่าว มีบทบาท สำคัญในการปกครองเมืองไชยา และเป็นขุนนางสำคัญของ กรุงศรีอยุธยา ในเวลาต่อมา และเป็นที่มาให้สาย ตระกูลโมกุล มีสายสัมพันธ์ที่ดี กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในเวลาต่อมา สายสกุลโมกุล กับ พระนางน้ำเงิน ได้มีสายสกุลสืบทอดมาถึง พระยาจักรีมุกดาผู้รับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไปเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สืบสายราชสกุล มาจาก
สมเด็จพระนเรศวรฯ
ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา นั้น สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ พระราชโอรส ของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับ พระนางไชยาแทวี ได้เป็นมหาอุปราช และได้นำพระยาโมกุลซึ่งถือเป็นพี่เขยเป็นแม่ทัพเรือปกครองเมืองธนบุรีมาควบคุมทัพหลวงของ มหาอุปราชสมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ มีกำลังพลในกองทัพถึง ๒๐,๐๐๐ คน ส่วนราชาหะซัน หรือที่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า บังสัน หรือ พระยาราชบังสัน ซึ่งเป็นบุตรชาย ของ โมกุล กับ พระนางนํ้าเงิน ได้มา เป็นแม่ทัพเรือ และเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองธนบุรี
เมื่อพระเจ้าทรงธรรม เสด็จสวรรคต แทนที่สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ จะได้ขึ้นครองราชย์สมบัติตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนดให้ต้องปฏิบัติ แต่พระยากลาโหม(พระเจ้าปราสาททอง) ได้ก่อการรัฐประหาร โดยที่ พระยากลาโหม(พระเจ้าปราสาททอง) ได้สมคบกับ พระยาเสนาภิมุข-ยามาดะ ทหารญี่ป่น นำทหารเข้ายึด พระราชวังหลวง แล้วเชิด พระเชษฐาธิราช(พระราชโอรสของพระเจ้าทรงธรรม) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อีกทั้ง ได้ส่งทหารเข้าจับกุม สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ ไปกักขังไว้ และ พยายามปลงพระชนม์ แต่ไม่สำเร็จ เพราะพระยาโมกุล แม่ทัพหลวง ของ สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ และ พระยาราชบังสัน(หะซัน) สามารถนำกองทัพเข้าช่วยเหลือ สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ ให้สามารถหลบหนีออกไปได้สำเร็จ โดยการสับเปลี่ยนบุคคลทดแทน สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์แทนที่ แล้วนำหลบหนีไปยัง เมืองเพชรบุรีพร้อมพระราชโอรส ๒พระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยเจิด และ สมเด็จเจ้าฟ้าอำภัยช้าง
สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นกษัตริย์ ปกครองราชอาณาจักร เสียม-หลอ กรุงเพชรบุรี ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนด โดยได้ตั้งราชธานีที่ เมืองเพชรบุรี โดยการสนับสนุนจาก กองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน ของ พระยาโมกุล ซึ่งเป็นราชบุตรเขย ของ สมเด็จพระนเรศวรฯ และ พระยาราชบังสัน(หะซัน) ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของสมเด็จพระนเรศวรฯ ซึ่งปกครองเมืองธนบุรี และยังได้รับการสนับสนุน จาก ราชอาณาจักรต่างๆ คือ ราชอาณาจักรเสียม และ ราชอาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ทางภาคใต้ และ ราชอาณาจักรอื่นๆ อีกด้วย
พระยากลาโหม(พระเจ้าปราสาททอง) วางแผนให้ พระยากำแพง นำกองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน เข้าทำ สงครามปราบปราม สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ โดยมอบให้ พระยาเสนาภิมุข-ยามาดะ ไปแสร้งสวามิภักดิ์ กับ สมเด็จพระเจ้าศรีศลป์ ณ กรุงเพชรบุรี โดยวางแผนให้ทำการก่อกบฏ ในภายหลัง ต่อมาได้เกิดกบฏ ณ กรุงเพชรบุรี โดย พระยาเสนาภิมุข(ยามาดะ) และสมเด็จพระเจ้าศรีศิลป์ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม พระยาโมกุล ต้องนำ สมเด็จพระเจ้าศรีศิลป์ หลบหนี ไปยัง ราชอาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี แต่ถูกกองทหารรับจ้าง ญี่ปุ่น คือ พระยาเสนาภิมุข(ยามาดะ) จับกุมได้ระหว่างทาง จึงถูกนำไปประหารชีวิต ที่กรุงศรีอยุธยา ส่วน พระยาโมกุล ได้นำกองทัพจำนวน ๒๐,๐๐๐ คน ทำสงครามกับกองทัพของ พระยากำแพง และ พระยาเสนาภิมุข(ยามาดะ) ณ สมรภูมิ กลางทะเล อ่าวเพชรบุรี ผลของสงคราม พระยาโมกุล พ่ายแพ้สงคราม เรือล่ม เสียชีวิตกลางทะเล อีกข้อมูลหนึ่งกล่าวว่า โมกุลได้หลบหนีไปยัง เมืองธนบุรี ต่อมาถูก พระยากำแพง และ พระยาเสนาภิมุข(ยามาดะ) จับกุม พระยาโมกุล ได้ที่กรุงธนบุรี พร้อมกับนำไปประหารชีวิต ณ เมืองธนบุรี พรรคพวกบริวาร ของ พระยาโมกุล ได้นำศพไปฝังไว้ณ มัสยิดต้นสน เมืองธนบุรี
ส่วนพระราชโอรส ๒ พระองค์ ของ สมเด็จเจ้าฟ้าศรีศิลป์ คือ เจ้าฟ้าอำภัย-ช้าง และ เจ้าฟ้าอภัย-เจิด นั่น พระยาราชบังสัน(หะซัน) ได้นำหลบหนีไปยังเมืองไชยา ต่อมาพระยาไชยาธิเบศ ได้นำหลบหนี และนำไปเลี้ยงดูอาศัยอยู่ที่ บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี พร้อมกับมอบเมืองไชยา ให้พระยาราชบังสัน (หะซัน) เป็นผู้ปกครอง โดยได้ไปสร้างที่ว่าราชการปกครองเมืองอยู่ที่ ทุ่งไชยา(บ้านสงขลา) ชาวไชยา เรียกชื่อว่า มหาหุมปะแก ต่อมาเจ้าฟ้าอำภัย-ช้าง มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง คือ พระเพทราชา เป็นสายราชวงศ์สมเด็จพระนเรศวร ที่หลงเหลืออยู่ เป็นที่มาให้สายตระกูล พระยาราชบังสัน(หะซัน) ได้ส้องสุม กำลังเพื่อยึดอำนาจกลับคืนให้กับพระเพทราชา จนสำเร็จ ในเวลาต่อมา
ในปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สายตระกูลของ พระยาราชบังสัน(หะซัน) ได้สืบทอด มาถึง พระยาไชยา(ครุฑ) ซึ่งชาวไชยา เรียกชื่อว่า มหาหุมตาไฟ บุคคลผู้นี้สามารถนำกองทัพจากเมืองไชยา เข้าทำสงครามปราบปรามพระเจ้าสงขลา ซึ่งเป็นสายตระกูลโมกุล*"๖ สายพระนางสาแล๊ะ เป็นผลสำเร็จ ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ไว้วางพระทัย นำไปรับราชการที่กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งดำรงตำแหน่งเป็น พระยาจักรี(ครุฑ) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้พระเพทราชา ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในเวลาต่อมา พระเพทราชา มีพระราชโอรสที่สำคัญ ๒ พระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว และ สมเด็จเจ้าฟ้าขวัญ เนื่องจาก สมเด็จเจ้าฟ้าขวัญ ถูกลอบวางยาพิษ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่วัยเยาว์คงเหลือแต่สมเด็จเจ้าฟ้าแก้วหรือ พระแก้ว ซึ่งมีสายราชสกุลสืบทอดมาถึง หม่อมนกเอี้ยง และ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในเวลาต่อมา
พระองค์เจ้านกเอี้ยง เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ
สมเด็จพระเพทราชา
ในรัชสมัย ของ พระเจ้าท้ายสระ สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว หรือพระนามที่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระนามว่า พระแก้ว พระราชโอรสของ สมเด็จพระเพทราชา ได้เกิดรักใคร่ชอบพอกับหญิงสาวสวย สาย ราชวงศ์ของพระเจ้ากรุงจีน ที่มาเป็นตัวแทนค้าขายอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา โดยได้ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านท่าดินแดง กรุงศรีอยุธยา หญิงสาวสวย ดังกล่าว มีนามเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "น.ส.ติ่ง แซ่แต้" หรือภาษาจีนกลางเรียกว่า "เจิงติ่ง" จนกระทั่งได้อภิเษกสมรส มีพระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้านกเอี้ยง กับ พระองค์เจ้าอั๋น หรือที่ประชาชนนิยมเรียกชื่อว่า "หม่อมนกเอี้ยง" และ "หม่อมอั๋น" ข้อเท็จจริงเหล่านี้คือที่มาให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ใช้สกุลแซ่เจิ้ง หรือ แซ่แต้ ในเวลาต่อมานั่นเอง
ต่อมามีหญิงชาววัง เชื้อสายราชวงศ์นางหนึ่ง มาตกหลุมรักสมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว ต้องการแย่งชิงสมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว จากพระนางเจิ่งติ่ง ไปครอบครอง จึงวางแผนลอบวางยาพิษ พระนางเจิ้งติ่ง จนกระทั่งได้เสียชีวิต จึงได้ทิ้งสมบัติให้ไว้กับ หม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น ไว้เป็นจำนวนมาก สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว จึงได้พระชายา พระองค์ใหม่อีกพระองค์หนึ่ง มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง คือพระราชมารดาของ “พระองค์พลับ” หรือ "กรมหลวงพิจิตรมนตรี" อัครมเหสี ของ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในเวลาต่อมา จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นญาติลูกพี่ลูกน้องกับ สมเด็จพระเจ้าอุทมพร และ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์อีกด้วย
เมื่อพระนางเจิ้งติ่ง สิ้นพระชนม์ สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว ได้จัดให้หม่อมอั๋น พระขนิษฐา ของ หม่อมนกเอี้ยง ได้อภิเษกสมรส กับ พระยาเพชรบุรี(ตาล) ส่วนหม่อมนกเอี้ยง ยังมิได้อภิเษกสมรส กับ ผู้ใด เพราะแอบชอบพออยู่อย่างลับๆ กับชาวจีนอพยพ ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างทอง ในกรุงศรีอยุธยา ชื่อ นายต้า แซ่ลิ้ม จนกระทั่ง พระเจ้าท้ายสระ เสด็จสวรรคต พระเจ้าบรมโกศ เกรงว่า สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว จะแย่งชิงอำนาจขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงสร้างเรื่องตอแหลใส่ความสมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว กล่าวหาว่าเป็นผู้ขโมยพระธรรมรงค์ แล้วนำไปสำเร็จโทษ ชน สิ้นพระชนม์* ๗
เมื่อพระเจ้าบรมโกศ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ก็ได้แต่งตั้งน้องสาวต่างมารดา ของ หม่อมนกเอี้ยง ขึ้น เป็นอัครมเหสี ส่วนแม่เลี้ยง ของ หม่อมนกเอี้ยง ก็ลอบวางยาพิษ หม่อมนกเอี้ยง เพื่อแย่งสมบัติ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแมวที่เลี้ยงช่วยไว้ เป็นที่มาให้หม่อมนกเอี้ยง รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย จึงขนสมบัติของมารดา ลักลอบหนีออกจากบ้าน ไปหานายต้า แซ่ลิ้ม ให้ช่วยนำไปส่งที่เมืองเพชรบุรี เพื่อไปอาศัยอยู่กับ หม่อมอั๋น ซึ่งเป็นพระขนิษฐา เป็นที่มาให้ หม่อมนกเอี้ยง ได้เสีย กับ นายต้า แซ่ลิ้ม และให้กำเนิด สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในเวลาต่อมา
นายต้า แซ่ลิ้ม เคยเป็นลูกจ้าง เป็นช่างทองอยู่ในร้านทอง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีชื่อเติมว่า นายต้า แซ่ลิ้ม ได้รู้จักกับสายตระถูลแซ่เจิ้ง หรือ แซ่แต้ ที่เดินเรือสำเภา ค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา จึงถูกชักชวน ให้มาเป็นช่างทองที่บ้านท่าดินแดง กรุงศรีอยุธยา โดยที่ตระกูลแซ่เจิ้ง เป็นผู้อุปถัมภ์ ต่อมาพระนางเจิ้งติ่ง และ หม่อมนกเอี้ยง ไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องที่บ้านท่าดินแดง จึงได้นำเครื่องทองรูปภัณฑ์ต่างๆ ไปให้ช่างต้า แซ่ลิ้ม ซ่อมแซม เป็นประจำ จนกระทั่งหม่อมนกเอี้ยง กลายเป็นลูกค้าประจำของ ช่างต้า แซ่ลิ้ม และเกิดความรักระหว่างกัน
เชิงอรรถ
♦ -๑
หนังสืออภินิหารบรรพบุรุษเป็นสมุดไทยขาวตัวหมึกจีนรวม๒เล่มมีชื่อหลังปกว่าหนังสือบรรพบุรุศ๑๒๔๙ถ้าหากว่าหมายเลฃ๑๒๔๙หมายถึงหมายเลขจุลศักราชที่เขียนขึ้นแสดงว่าหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๓๐
♦-๒
สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๑๐๑ บันทึกของ นักประวัตสาสตรชาวจีน ชื่อ ฉีหยวน.(พ.ศ.๒๑๐๘-๒๑๗๑) ได้ทำการบันทึกเรื่องนี้ว่า.. "...นายทหาร นายธง พลทหาร ข้าราชการ เจ้าพนักงานซื้อของ และ เสมียน รวมทั้งสิ้น ๒๗,๘๗๐ คน เรือทั้งสิ้น ๖๓ ลำ ลำใหญ่ที่สุดยาว ๔๔๔ ศอก กว้าง ๑๘๐ ศอก เรือลำขนาดกลางยาว ๓๗๐ ศอก กว้าง ๑๕๐ ศอก...ภารกิจ ครั้งที่ สามนี้ นายพลเจิ้งหัว สามารถจัมคุม มหาจักรพรรดสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรโพธ(ไชขา) นำมายัง กรุงนานกิง เป็นผลสำเร็จ เมื่อในปี พ.ศ.๑๙๕๕ และนำเดินทางไปยัง กรุงนานกิง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕..."
♦ -๓
ม้าหวน เป็นทหารคนหนึ่งในกองทัพของนายพลเจิ้งหัว ได้ทำการบันทึกเกี่ยวกับ เมืองคันธุลี หรือ เมืองเกียโลหิต หรือ เมืองครหิต ก่อนที่กองทัพของนายพลเจิ้งหัว จะเข้าตีแตก มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า "...อาณาจักรเสียม(ภาคใต้ตอนบน) มีความยาวประมาณ ๑,๐๐๐ ลี้ ราชธานี เป็นภูเขาสูงชันทั้งหมด และขรุขระ(ภูเขาคันธุลี ภูเขาจอสี และ ภูเขาประสงค์) พื้นดินแฉะ ดินไม่ดี แทบจะทำการเพาะปลูกไม่ได้ อากาศไม่แน่นอน ถ้าไม่มีหมอก ฝนไม่ตก อากาศก็ร้อนจัด
การเดินทาง แล่นเรือจาก อาณาจักรจามปา มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๗ วัน ๗ คืน จะมาถึงท่าเรือ ของ เมืองเสียมใหม่(กรุงครหิต) แล้วท่านจะเข้าปากแม่น้ำปากแม่น้ำครหิต หรือ คลองกลิงค์) ซึ่งเป็นทางไปสู่ ราชธานีใหม่ของ อาณาจักรเสียม(กรุงครหิต-คันธุลี)
พระราชวัง ของ กษัตริย์(บริเวณวัดศรีราชัน) หรูหรามาก พลเมืองอาศัยอยู่ในบ้านยกพื้นสูง ทำด้วยกระดาน หรือ ไม้ต้นหมาก วางปู เรียงติดกัน และผูกด้วยหวาย เพื่อให้แข็งแรงยิ่งขึ้น บนพื้นไม้ต้นหมากนี้ พวกเขาปูฟากหวาย และเตียงไม้ไผ่ และนอนบนเตียงฟากไม้ไผ่นี้
กษัตริย์ของ อาณาจักรเสียม มีเชื้อสายราชวงศ์สืบทอดมาจากอินเดียใต้(ราชวงศ์มหาจักรพรรดิศรีจุฬามณี) พระองค์ทรงคาด ผ้าขาวม้าสีขาว ที่ทำด้วยผ้าฝ้าย บนพระเศียร และท่อนบน ไม่ฉลองพระองค์ใดเลย รอบพระนาภี พระองค์ทรงลาดผ้าขาวม้าปัก ที่ทำด้วยผ้าไหม ยกดอกทอง เป็นผ้าคาดเอว
กษัตริย์เสด็จพระราชดำเนิน โดยการทรงช้าง หรือ ประทับบนเกี้ยว และกั้นด้วยกลดสีทอง ซึ่งทำด้วยในไม้ชนดหนึ่ง กษัตริย์ทรง เชื่อถือในคำสอนของ พระพุทธศาสนา มาก
ประชาชนใน ราชธานี(กรุงครหิต) จะออกบวชเป็นพระสงฆ์ และ แม่ชีเป็นจำนวนมากเครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์และแม่ชีนั้น เป็นแบเดียวกันที่ใช้สวมกันอยู่ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีนบรรดาพระสงฆ์และแม่ชีนั้น จะอาศัยอยู่ในวัดและ สำนักแม่ชีจะถือศีล กินอาหารเพียง ๒ มือ และทำพิธีปลงอาบัติ ด้วยเป็นธรรมเนียมของประชาชนในราชธานี(กรุงครหิต)ของ อาณาจักรเสียมที่ปล่อยให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วมีอำนาจที่จะตัดสินใจ ด้วยตนเอง สามีจะเชื่อฟังคำแนะนำ ของ ภรรยาตน แต่ถ้าผู้หญิงเป็นหม้าย ก็จะสามารถคบเป็นชู้สาวกับ ชาวจีน เป็นสามีใหม่ เป็นเรื่องธรรมดา โดยไม่มีข้อห้าม
พวกผู้ชาย โพกศีรษะ ด้วย ผ้าขาวม้าผ้าฝ้าย สลับสีขาว และสวมเสื้อผ้ายาวๆ(โสร่ง) คล้ายของผู้หญิง(ผ้าถุง) ผู้หญิงจะขมวดผมไว้เป็นมวย ส่วนผู้ชายมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องเริ่มสวมเครื่องประดับ ด้วยการแขวนสร้อยลูกปัด หรือหินมีค่า สำหรับคนรํ่ารวย จะสวม เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำ ที่ประดับด้วยลูกปัดเพื่อทำให้มีเสียงดัง คล้ายกระดิ่ง(ตุ้มหู) เวลาเดินไปไหน จะได้รับความชื่นชม อย่างมาก แต่ถ้า หากเป็นคนยากจน ก็จะไม่มีเครื่องประดับเหล่านี้
ในเรื่องพิธีการแต่งงาน จะมีพระสงฆ์และฝูงชนเข้าร่วมขบวนไปเป็นเพื่อน ของ เจ้าบ่าว ในเวลาเดินทางไปยังบ้านของ เจ้าสาว จะจูง เจ้าสาวมาเป็นพยานเพื่อให้ พระสงฆ์ ทำการเจิมเครื่องหมายสีแดง บนหน้าผากของผู้ชาย เครื่องหมายนี้เรียกว่า หลีฉือ(สละใสด) ซึ่งไม่สมควรที่ จะกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ อก ๓ วันต่อมา พระสงฆ์และบรรดาญาติ ตลอดจนเพื่อนฝูง จะร่วมเดินทางไปกับขบวนของเจ้าบ่าว เรียกว่า ขบวนเจ้าบ่าว ซึ่งจะนำเจ้าสาวเดินทางกลับไปยังบ้านของเจ้าบ่าว จะเป็นขบวนเรือที่ตกแต่งสวยงามมาก เมื่อเดินทางลงบ้านเจ้าบ่าว เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะมีงานเสียงฉลอง ณ บ้านเจ้าบ่าว ทั้งเจ้าสาวและเจ้าบ่าว จะเลี้ยงสนุกสนาน กันอย่างเต็มที่
ในเรื่องของพิธีศพ ในหมู่คนมั่งคั่งรํ่ารวย จะมีการกรอกปรอทลงในปากศพ และทำการฝังศพ นั้น สำหรับในหมู่สามัญชน พวกเขาจะแบกศพลงเรือเดินทางไปยงเกาะเล็กๆ ในทะเล(เกาะเสร็จ) ณ ที่นั้น นกสีทอง จะบนมากินศพ จากนั้นศพที่เหลือ จะถูกโยนทิ้งลงในทะเล วิธีการนี้เรียกว่า การฝังศพโดยนก พวกเขาจะทำพิธีถือศีลกินเพล ตามความเชื่อ ของ ศาสนาพุทธ และมีผู้สวดมนต์เช่นเดียวกับการปฏิบัติกันใน เมือง กวางตุ้ง ของ มหาอาณาจักรจีน
ประชาชนในดินแดน ของ อาณาจักรเสียม ไว้วางใจได้ยาก พวกเขามีความสามารถในการทำสงครามทางเรือ มาก พวกเสียม มักจะส่งกองทัพเข้าโจมตี ประเทศเพื่อนบ้าน อยู่บ่อยครั้ง
ในด้านการค้าขาย พวกเขาใช้หอยเบี้ย แทนสตางค์แดง ผลผลิตในท้องถิ่น คือ หินพลอยสีแดง ซึ่งมีค่าน้อยกว่า ทับทัมสีแดง และมีประกายสว่างสุกใสเท่าๆ กับ สีเม็ดทับทิม มีมากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของราชธานี ห่างออกไปประมาณ ๒๐๐ ลี้(ระนอง) ยังมีตลาดอีก ตลาดหนึ่ง เรียกกันว่า ชาง-ฉุย(ไชยา) ซึ่งมีเส้นทางทิศต่อกับ เมืองต่างๆ ทางทิศใต้ได้ตลาดแห่งนี้มีพลมืองประมาณ ๖๐๐ ครอบครัว
ผลผลิตต่างๆ จากต่างประเทศ ทุกๆชนิด สามารถที่จะหาซื้อได้ในตลาดราชธานีของอาณาจักรเสียมได้ เช่น ฮวงเหลียนเซี่ยงซึ่งเป็น รากไม้ชนิดหนึ่ง โล้โหเหลียนเซี่ยง ซึ่งเป็นไม้หอมชนิดหนึ่ง มีไม้กฤษณา ไม้กระวานหอม เม็ดลูกกระเบา เลือดมังกร หวาย ไม้ฝาง ดีบุก งาช้าง ขนนกกระเต็น ไม้ฝางนั้น มีราคาถูกมากเท่าๆ กับไม้ฟืน สีของไม้ฝางงดงามมากที่สุด สำหรับสัตว์สำคํญ ที่มีในราชธานี ของ อาณาจักรเสียม นั้นมีช้างเผือก สิงโต แมว และ กระรอกเผือกส่วนผักและผลไม้มีเช่นเดียวกันกับในดินแดนของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ยังมีโรงต้ม เหล้า(เหล้าขาว) โรงทำนำตาลเมา(กระแช่) ทั้งสองประเภทล้วนดื่มแล้ว มึนเมา..."
♦ -๔
หลังจากนายพลเจิ้งหัว ร่วมกับ เจ้านครอินทร์สามารถส่งกองทัพทำลายกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เรียบร้อยเแล้ว ต่อมาได้มีทหารจีน ชื่อ เฟ่ยสิน ซึ่งเคยเดินทางมาทำสงครามยึดครองดินแดนต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม พร้อมกับกองทัพของ นายพลเจิ้งหัว ตามสำสั่งของ ฮ่องเต้หยุงโล้ และได้เดินทางผ่านมาที่ อาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ล่มสลาย และอาณาจักรเสียมตกอยู่ภายใต้การปกกรอง ของ เจ้านครอินทร์แห่ง อาณาจักรละโว้กรุงศรีอยุธยาและลูกนำไปรวมเข้าด้วยกันเรียกว่าราชอาณาจักรเสียม-หลอ หรือ ประเทศเสียม-หลอ เรียบร้อยแล้ว
ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๕๕-๑๙๕๗ และอีกช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ.๑๙๕๘-๑๙๖๑ ทหารจีนชื่อ เฟ่ยสิน ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) อดีตราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ หลังจากถูกยึดครองราชย์ธานี ไว้ด้วย ระหว่างการเดินทางของ เฟ่ยสิน ออกเดินทางสำรวจอาณาจักรต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) คือดินแดนระหว่างดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน กับดินแดนอาณาจักรเบงกอล เรียกกันว่า จดหมายเหตุ ของ เฟ่ยสิน ปีบันทึกเกี่ยวกับกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ว่า.-.
"...จาก จามปา(เวียดนามใต้) ถ้ามีลมดี จะสามารถเดินทางถึง อาณาจักรเสียม ภายใน ๑๐ วัน ฎมิประเทศ ของ อาณาจักรเสียม(ภาคใต้ตอนบน) จะพบเห็นเทือกเขาสูง บริเวณชายฝั่งทะเล มีหน้าผาหินสีขาว ขรุขระ ตลอดแนวชายฝั่งทะเลของ อาณาจักรเสียม ซึ่งยาวประมาณ๑,๐๐๐ ลี้ จากเนินเขาด้านในแผ่นดิน ที่อยู่ห่างไกลออกไป จะเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์พืชผลงอกงาม อากาศมักจะร้อน ตลอดทั้งปี
ก่อนหน้านี้ ประชาชนใน อาณาจักรเสียม จะยกย่องผู้มีอำนาจ และยกย่องความกล้าหาญส่วนบุคคล อาณาจักรเสียม ชอบทำสงครามเข้าโจมตี อาณาจักรข้างเคียงที่กระด้างกระเดื่อง อาวุธศรธนู ทำด้วยไม้ไผ่แหลมอาบยาพิษ ใช้หนังควาย มาทำโล่ และยังมีอาวุธอื่นๆ อีกมากมาย ประชาชนชอบ และมีความเชี่ยวชาญในการทำสงครามทางทะเล โดยเฉพาะ
ประชาชน ทั้งผู้ชาย และ ผู้หญิง เกล้าผมไว้เป็นมวย และคาดด้วยผ้าฝ้ายโพกศีรษะ สีขาว ชอบสวมเสื้อยาว และคาดพุงด้วย ผ้าขาวม้าสลับสีขาว
ก่อนที่ผู้ชายจะตกลงทำการใดๆ โดยไม่เกิดปัญหายุ่งยากขึ้นภายหลังนั้น จะต้องปรึกษากับภรรยา โดยเฉพาะในเรื่องกิจการทางธุรกิจ แทบทุกเรื่อง ทหารจีน ชอบหญงสาวชาวเสียม มาก(หลังจาก กรุงศรีโพธิ์ ถูกยึดครอง) เมื่อพวกหล่อนมีงานรื่นเริง ทหารจีน จะมาร่วมงาน สนุกสนานกับพวกหล่อนด้วย จนถึงดึกดื่น และหากหล่อนที่เป็นหญิงหม้าย จะขอหลับนอน ขอร่วมเพศด้วยกับ พวกหล่อนชอบทหารจีน มาก
มีผู้หญิงเสียมอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแม่ม่าย เนื่องจากสงคราม ที่บวชเป็นแม่ชีในพระพุทธศาสนา แม่ชีจะทำการสวดมนด์ และทำพิธีปลงอาบัติด้วย สีเครื่องนุ่งห่ม ของ แม่ชี คล้ายคลึงกับของแม่ชีในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน แม่ชีจะทำการก่อสร้างสิ่งสำคัญทาง พระพุทธศาศนา หลายอย่างด้วย
ประชาชนที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) อดีตเมืองราชธานี ของ อาณาจักรเสียม มีพิธีไว้ทุกข์ที่เข้มงวดมากที่สุด ถ้าหากว่า มีผู้ใดผู้หนึ่งใน ครอบครัวสิ้นใจตายไป พวกเขาจะกรอกปรอทลงในร่างศพ เพื่อที่จะรักษาศพไว้มิให้เน่าเปื่อย และทำพิธีทางศาสนา ต่อมาพวกเขาจะหาที่ดินบน เนินสูง เพื่อใช้เป็นที่ฝังศพไว้
ประชาชนกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ของ อาณาจักรเสียม จะหมักข้าวเหยียวไว้ทำเหล้า และต้มน้ำทะเล เพื่อทำเกลือ สินค้าสำคัญ ของ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) แห่ง อาณาจักรเสียม คือ ไม้ต่างๆ ที่มีกลิ่นหอม น้ำมันที่ทำจากเมล็ดถูกกระเบา ไม้ฝาง นอแรด งาช้าง ขนนกกระเต็น ขี้ผึ้ง พวกเขา ใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตรา อัตราแลกเปลี่ยน ๑๐,๐๐๐ เบี้ย เท่ากับ ๒๐ ตำลึงจีน ของ เงินกระดาษจีนสินค้าต่างชาติ ที่มีขายในอดีตราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ของ อาณาจักรเสียม มี ถ้วยชามจีน สีฟ้า และ สีขาว ผ้าดอกสีต่างๆ สำหรับการใช้หุ้มเก้าอี้ผ้าไหมสีอ่อน ผ้าต่วนสีทองคำ เงิน ทองแดง เหล็ก ปรอท ลูกปัด และ เหรียญทองคำ
ผู้ปกครอง(ใหม่) ของ อาณาจักรเสียม-หลอ(เจ้านครอินทร์) ชื่นชมในพระกรุณาธิคุณของฮ่องเต้ อันหาที่เปรียบมิได้ จากราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน จึงทรงส่งคณะราชทูต มายังราชสำนักจีน พร้อมกับถ้อยคำที่จารึกบนแผ่นทองคำ พร้อมกับเครื่องราชบรรณาการ อย่างสมํ่าเสมอ..."
♦-๕
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศดิศกุลความยอกย้อนของประวัติศาสตร์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีหน้าที่๒๔๒
♦-๖
โมกุล เป็นเจ้าชายอิหร่าน นับถือศาสนาอิสลามสายชีอะ ได้ถูกส่งมาค้าขายกับเกาะชวา จนกระทั่งได้เจ้าหญิงเกาะชวา นับถือ ศาสนาอิสลาม สายสุหนี่ มาเป็นชายา คนแรก เรียกชื่อว่า พระนางสาแล๊ะ และได้ไปปกครองเมืองสาแล๊ะ ในเกาะชวา ต่อมาถูกกองทัพ โปรตุเกส เข้ายึดครองเมืองสาแล๊ะ โมกุล จึงนำครอบครัวหลบหนีทองทัพโปรตุเกส มาอยู่ที่เมืองสงขลา ต่อมา พระนเรศวรฯ ทราบข่าวและไม่ไว้วางพระทัย จึงเรียกไปเข้าเฝ้าที่ ภูเขาโมกุล ดงพระยาใหญ่ จ.ลพบุรีในปัจจุบัน เพื่อทำการทดสอบความจงรักถักดี เมื่อได้รับความไว้วางพระทัย โมกุล ได้ภรรยา อีก ๒ คน กลายเป็น ๓ สายตระกูลโมกุล สายตระกูลแรก คือ สายตระกูลพระนางสาและ หรือที่เรียกกันใน ปัจจุบันว่าสายสุไลมาน สายที่สองภรรยาโมกุลเป็นธิดาเจ้าเมืองละโว้บุตรหลานได้ไปปกครองเมืองเพชรบูรณ์สายสกุลนี้ ต่อมาเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ทั้งหมด สายที่สาม ภรรยาโมกุล เป็นราชธิดา ของ สมเด็จพระนเรศวร เรียกกันโดยทั่วไปว่า สายราชบังสัน สายสกุลนี้ ได้เข้ามาเกี่ยวโยงกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมา
♦-๗
กรมศิลปากร พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐
บทที่-๒
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติที่ จ.สุราษฎร์ธานี
ความสับสนเกี่ยวกับสถานที่ประสูติ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
หนังสือฉบับหนึ่ง เขียนปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลัง มักจะเขียนขึ้นเพื่อโจมตีสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีชื่อว่า จีนแจ้ง ประสูติที่กรุงศรีอยุธยา เป็นบุตรของชาวจีน คลองสวนพลู กรุงศรีอยุธยา©-๑ ต่อมาได้เป็นบุตรบุญธรรม ของ พระยาจักรี จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า สิน หนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติที่กรุงศรีอยุธยา ที่คลองสวนพลู แขวงกรุงเก่า บิดาเป็นชาวจีนชื่อ นายหยุง แซ่แต้ ต่อมาได้เป็นขุนพัฒน์ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มารดาชื่อ นกเอี้ยง
หนังสือต้าหนานฉือลู่ ของประเทศเวียตนาม กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติที่เมืองตาก เป็นบุตรเจ้าเมืองตาก ครั้นบิดาสิ้นชีวิต ก็ได้เป็นเจ้าเมืองตาก แทนที่บิดา ตรงกับข้อสันนิษฐาน ของ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติ ที่บ้านตาก จ.ตาก ในปัจจุบัน ส่วนแม่สงฆ์วรมัย กบิลสิงห์ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติที่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ก.ศ.ร.กุหลาบ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติที่ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เนื่องจากแม่นกเอี้ยง เป็นชาวบ้านแหลม©-๒ มาแต่เดิม และเป็นญาติกับ พระยาเพชรบุรี(ตาล) อีกด้วย หนังสือจดหมายเหตุปฐมวงศ์สกุลบุนนาค กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติที่กรุงศรีอยุธยา นายบุนนาค เคยกลั่นแกล้งสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ โดยกลั่นแกล้งด้วยการผูกหางเปีย ของพระองค์ในขณะนอนหลับ แล้วแกล้งให้ตกใจเพื่อจะได้รีบลุกตื่น จนกระทั่งพระเศียรกระแทกถูกของแข็งเจ็บปวด ทำให้นายบุนนาค ขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาโดยตลอด ทำให้นายบุนนาค ไม่ได้รับราชการในสมัยธนบุรี ในเรื่องนี้ไม่น่าเชื่อถือ เชื่อได้ว่าเป็นการเขียนปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังเพื่อโจมตีสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เท่านั้น
อันที่จริง นายบุนนาค เป็นลูกเมียน้อย ของ พระยาจักรีมุกดา กับ นางบุญศรี มาตั้งแต่สมัยที่ พระยาจักรีมุกดา เป็นพระยาไชยา ปกครองเมืองไชยา นายบุนนาค มีอายุมากกว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถึง ๗ ปี นายบุนนาค เคยมารับราชการเป็นมหาดเล็กที่กรุงศรีอยุธยา เป็นเพียง นายฉลองไนยนารถ เมื่อพระยาจักรีมุกดา เสียชีวิตในสมรภูมิสงครามที่ราชบุรี ก่อนกรุงแตก เป็นเหตุให้ นางบุญศรี มารดาของนายบุนนาค ก็ไปเป็นเมียน้อยของ พระยาจ่าแสนยากร(เชน) สายตระกูลเชคอะหมัด แท้จริงแล้ว นายบุนนาค เป็นพี่น้องต่างมารดากับ พระยาไชยารุก เชลยศึกพม่า และนายบุนนาค เป็นผู้สนับสนุนให้ เจ้าฟ้าจุ้ย ขึ้นเป็นกษัตริย์ แข่งขันกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาโดยตลอด เมื่อเจ้าฟ้าจุ้ย ถูกปราบปราม นายบุนนาค จึงมาแอบอิงอำนาจของ สมเด็จเจ้าฟ้ากษัตริย์ศึก(ทองด้วง) ดังนั้นข้อมูลที่นายบุนนาค ปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังจึงเชื่อถือไม่ได้
หม่อมนกเอี้ยง ต้องหลบหนี เพราะถูกแม่เลี้ยงสั่งฆ่า
เหตุการณ์ในปี พ.ศ.๒๒๗๕ เมื่อพระเจ้าบรมโกศ ขึ้นครองราชย์สมบัติ สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว พระราชบิดา ของ หม่อมนกเอี้ยง ก็ถูกใส่ความ จนกระทั่งถูกนำไปสำเร็จโทษ สิ้นพระชนม์ หม่อมนกเอี้ยง ขาดที่พึ่งต้องอาศัยอยู่กับแม่เลี้ยง หลังจากสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ก็โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ กรมหลวงพิจิตรมนตรี หรือ พระองค์พลับ พี่น้องต่างมารดา ของ หม่อมนกเอี้ยง เป็นอัครมเหสี หม่อมนกเอี้ยง จึงถูกวางแผนกำจัดจากพระราชมารดาของพระองค์พลับ ทิ้งหม่อมนกเอี้ยงให้อยู่แต่ลำพังกับแม่เลี้ยง ที่ต้องการแย่งชิงสมบัติที่ตกทอดมาจาก แม่นางติ่ง แซ่แต้ มารดาของ หม่อมนกเอี้ยง
แม่เลี้ยง ของ หม่อมนกเอี้ยง วางแผนลอบสังหาร ด้วยการลอบวางยาพิษ หม่อมนกเอี้ยง หลายครั้ง เพื่อแย่งสมบัติ แต่รอดชีวิตมาได้ทุกครั้ง เป็นที่มาให้หม่อมนกเอี้ยง ต้องตัดสินใจนำสมบัติของมารดา หลบหนีออกจากพระราชวังหลวงไปอาศัยอยู่กับญาติมารดา ที่บ้านท่าดินแดง แต่ถูกติดตาม จึงตั้งใจจะไปอยู่อาศัยกับพระขนิษฐา คือ หม่อมอั๋น ที่เมืองเพชรบุรี เนื่องจากก่อนหน้านั้น หม่อมอั๋น พระขนิษฐา ของ หม่อมนกเอี้ยง ได้ไปอภิเษกสมรสกับ พระยาเพชรบุรี(ตาล) จึงร้องขอให้ นายต้า แซ่ลิ้ม ช่างทอง คนรักของหม่อมนกเอี้ยง ให้เป็นเพื่อนช่วยนำเดินทางหลบหนีไปพบ หม่อมอั๋น ที่เมืองเพชรบุรี
เมื่อหม่อมนกเอี้ยง พร้อม นายต้า แซ่ลิ้ม เดินทางมาถึง เมืองเพชรบุรี ก็ทราบข่าวจากหม่อมอั๋น สรุปว่า หม่อมนกเอี้ยง ถูกใส่ร้ายว่า เป็นผู้ขโมยทรัพย์สิน ของ แม่เลี้ยง จึงถูกออกหมายจับ ให้ยึดทรัพย์สิน และให้ส่งตัวไปให้พระเจ้าบรมโกศ ทำการลงโทษ เป็นเหตุให้ หม่อมอั๋น แนะนำให้ หม่อมนกเอี้ยง และ นายต้า แซ่ลิ้ม ต้องตัดสินใจหลบหนีต่อไป
หม่อมนกเอี้ยง หลบหนีการจับกุม ไปอาศัยอยู่ที่
เมืองกำเนิดนพคุณ
หม่อมนกเอี้ยง กับ นายต้า แซ่ลิ้ม ต้องหลบหนีการถูกติดตามจับกุมต่อไปยังเมืองกำเนิดนพคุณ(อ.บางสะพานใหญ่ จ.ประจวบคีรีขัน) ที่เมืองกำเนิดนพคุณ หม่อมนกเอี้ยง ไปได้เสียกับชาวจีนช่างทอง ตระกูลแซ่ลิ้มคือ นายต้า แซ่ลิ้ม ได้ตั้งร้านทอง มีอาชีพเป็นพ่อค้ารับซื้อทองคำ มาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ส่งไปขายที่กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งหม่อมนกเอี้ยง ทรงพระครรภ์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
หม่อมนกเอี้ยง และ สามี นายต้า แซ่ลิ้ม ตั้งร้านทอง อยู่ที่เมืองกำเนิดนพคุณ ได้ประมาณ ๘ เดือน เหตุการณ์ที่มิได้คาดคิดของหม่อมนกเอี้ยง ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าบรมโกศ มีพระบรมราชโองการสั่งประชาชนที่ร่อนทองคำได้ ห้ามขายทองคำที่ขุดร่อนได้จากท้องที่เมืองกำเนิดนพคุณให้กับผู้ใด รับสั่งให้เจ้าเมืองกำเนิดนพคุณ รับซื้อส่งทองคำที่ประชาชนขุดร่อนได้ เข้าสู่ท้องพระคลังหลวงทั้งหมด เป็นเหตุให้หม่อมนกเอี้ยง และ นายต้า แซ่ลิ้ม ต้องตัดสินใจส่งข่าวให้หม่อมอั๋น ทราบข่าว ได้ร่วมปรึกษาหารือระหว่างกันแล้ว สรุปว่า ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน จากเมืองกำเนิดนพคุณ ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองท่าชนะ ซึ่งเป็นแหล่งทองคำเก่าแก่ตั้งแต่สมัยโบราณ
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
ภาพที่-๑ ภาพถ่ายพื้นที่บริเวณทุ่งลานช้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของ ภูเขาแม่นางส่ง(ภูเขาประสงค์) ในท้องที่ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี บริเวณภูเขา จะมีถ้ำใหญ่ ตั้งสูงจากพื้นดินประมาณ ๑๐๐ เมตร เป็นสถานที่ประสูติของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ปัจจุบัน บริเวณเชิงภูเขา เป็นที่ตั้งวัดถ้ำใหญ่
หลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับสถานที่ประสูติ และวันเวลา ในการประสูติ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มักจะไม่ตรงกัน ที่ตรงกันคือปีประสูติ คือปี พ.ศ.๒๒๗๗ จดหมายเหตุโหร ระบุว่าประสูติเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๒๗๗ หนังสือหลักฐานไทย กล่าวว่า ประสูติเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๒๗๗ ส่วนหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ กล่าวว่า ประสูติในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ จ.ศ.๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ หนังสือบางเล่มกล่าวว่า ประสูติในวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ บางเล่มก็อ้างว่าประสูติในวันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ ล้วนขัดแย้งกันทั้งสิ้น©-๓
ส่วนข้อเท็จจริงนั้นกล่าวกันว่า หม่อมอั๋น ได้นำพระพี่นาง คือหม่อมนกเอี้ยง ที่ต้องอุ้มท้องแก่ พร้อม นายต้า แซ่ลิ้ม เดินทางลงเรือสำเภา จากเมืองกำเนิดนพคุณ มุ่งหน้าสู่เมืองไชยา หวังที่จะไปขอความช่วยเหลือจาก หม่อมดาว ญาติสนิท ซึ่งเป็นภรรยาหลวง ของ พระยาไชยามุกดา ขณะนั้นหม่อมดาว ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สี่แยกท่าโพธิ์ คือบริเวณที่ตั้งโรงเรียนสารภีอุทิศ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน
หม่อมดาว เสนอให้หม่อมนกเอี้ยง และ นายต้า แซ่ลิ้ม มีอาชีพใหม่เป็นพ่อค้ารับซื้อสินค้าพื้นเมืองเพื่อส่งขายให้กับพ่อค้าเรือสำเภาจีน โดยได้ติดต่อซื้อที่ดินใกล้ท่าเรือปากน้ำท่ากระจาย บริเวณวัดดอนชาย อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งบ้านเรือนให้กับ หม่อมนกเอี้ยง เป็นที่มาให้ นายต้า แซ่ลิ้ม ได้ติดต่อว่าจ้างคนงานไปสร้างบ้านเรือนขึ้นในที่ดินที่จัดซื้อไว้ ส่วนหม่อมอั๋น นั้น เป็นห่วงพระพี่นาง หม่อมนกเอี้ยง ที่กำลังท้องแก่ จึงยังพักอาศัยอยู่ที่บ้านหม่อมดาว ยังมิได้เดินทางกลับเมืองเพชรบุรี แต่อย่างใด
ในขณะที่นายต้า แซ่ลิ้ม กำลังสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บ้านดอนชาย อยู่นั้น เป็นช่วงเวลาที่มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ประจำปี เพื่อรดน้ำดำหัว เทวรูปนอน พ่อหงสาวดี หรือ พระยาศรีจง ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระยาศรีธรรมโศก ในถ้ำใหญ่ เป็นงาน ๗ วัน ๗ คืน บริเวณทุ่งลานช้าง©-๔ ภูเขาแม่นางส่ง นายต้า แซ่ลิ้ม ได้ถือโอกาสมาออกร้านรับซื้อภาชนะทองคำเก่า ในงานดังกล่าวด้วย เป็นเหตุให้ หม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น เดินทางไปท่องเที่ยวในงานดังกล่าวในวันสุดท้านของงาน แม้ว่า หม่อมดาว จะทัดทานไว้ เพราะเห็นว่าท้องแก่มาก แต่ก็ไม่สามารถทัดทานได้ เพราะหม่อมนกเอี้ยง อ้างว่า ต้องการไปทำบุญ เพื่อให้พ้นทุกข์โศก
หม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น ได้เดินทางไปรดน้ำดำหัวเทวรูปพระนอนพ่อหงสาวดี ในตอนเย็นของงานวันสุดท้าย ของคืนที่ ๗ ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ ซึ่งมีการจัดงานจนสว่างถึงตอนเช้าของวันใหม่ และสิ้นสุดงานประเพณีในปีนั้น หลังจากหม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น เดินขึ้นถ้ำใหญ่ ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ และทำการรดน้ำดำหัวจนเสร็จสิ้น เมื่อจะเดินทางออกจากถ้ำ ก็เกิดการปวดท้องกะทันหัน ไม่สามารถเดินทางลงจากถ้ำได้ หม่อมนกเอี้ยง ขอนอนพักผ่อนชั่วครู่ แล้วค่อยเดินทางกลับไปยังบ้านหม่อมดาว เป็นเหตุให้หม่อมอั๋น ต้องออกไปซื้อเสื่อไปปูเพื่อหลับนอนอยู่ในถ้ำใหญ่ ของภูเขาแม่นางส่ง หม่อมนกเอี้ยง ก็นอนหลับไปในถ้ำใหญ่ หม่อมอั๋น เห็นว่า พระพี่นางกำลังพักผ่อน จึงไม่ยอมปลุก กลับนอนด้วยกันอยู่ข้างๆ จนกระทั่งหลับไป มาตกใจตื่นเมื่อรุ่งสาง เนื่องจากหม่อมนกเอี้ยงเริ่มปวดท้องเจ็บพระครรภ์
หม่อมนกเอี้ยง เจ็บปวดพระครรภ์อย่างหนัก และได้ประสูติสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในถ้ำใหญ่ทุ่งลานช้าง เมืองท่าชนะ โดยหม่อมอั๋น เป็นผู้ทำคลอด เมื่อเช้าตรู่ของวันศุกร์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ ท่ามกลางเสียงปี่ เสียงกลอง เสียงสังข์ที่บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ จากเทวดาทั้งหลายว่าผู้มีบุญได้มาจุติ ประสูติ เรียบร้อยแล้ว จนชาวบ้านในท้องที่ดังกล่าว นึกว่างานประเพณีสงกรานต์รดน้ำดำหัวเทวรูปนอนพ่อหงสาวดี ยังไม่เลิก ได้เดินทางมาดูเหตุการณ์ กลับพบว่า หม่อมนกเอี้ยง ได้ประสูติบุตรชาย ออกมาลืมตาดูโลก ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นเด็กมีบุญมาเกิด จึงได้ร่วมกันช่วยเหลือ จนกระทั่งหม่อมนกเอี้ยง ปลอดภัย
ภาพที่-๒ บริเวณถ้ำใหญ่ ของ ภูเขาแม่นางส่ง สถานที่ประสูติของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อเข้าไปในถ้ำ สถานที่ประสูติ จะตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของถ้ำ
ส่วนนายต้า แซ่ลิ้ม สามีของ หม่อมนกเอี้ยง นอนหลับอยู่ที่หน้าโรงหนังตะลุง คิดไปเองว่า หม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น กลับไปพักผ่อนอยู่ที่บ้านหม่อมดาว เมืองไชยา เรียบร้อยแล้ว แต่ต้องตกใจตื่นขึ้นมาเมื่อหม่อมอั๋น มาปลุก และแจ้งข่าวว่า หม่อมนกเอี้ยง คลอดบุตรชาย ภายในถ้ำใหญ่ เรียบร้อยแล้ว ให้ช่วยหาหม้อต้มน้ำ และไม้ฟืน ไปช่วยต้มน้ำร้อน นายต้า แซ่ลิ้ม จึงเดินทางขึ้นถ้ำใหญ่ พบว่ามีงูเหลือมตัวใหญ่ นอนขดรอบเด็กทารก ในขณะที่หม่อมนกเอี้ยง นอนหลับอยู่ นายต้า แซ่ลิ้ม จึงเดินทางออกมาจากถ้ำ ร้องขอให้ประชาชนไปช่วยเหลือ
งูเหลือมใหญ่ มาขดรอบๆ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พร้อมคาย
ลูกแก้ววิเศษ ให้ไว้
หนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ที่เขียนปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลัง มักจะให้ความจริงส่วนหนึ่ง และความเท็จอีกส่วนหนึ่งเพื่อลวงให้ประชาชนเชื่อถือ เรียกกันว่า ทำตอแหล หนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ กล่าวว่า ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติออกมานั้น มีงูเหลือม มาขดรอบๆ ทารก ทำให้บิดาซึ่งเป็นชาวจีน เห็นว่าไม่เป็นมงคล จึงเอาบุตรไปทิ้งไว้ที่บ้านพระยาจักรี เป็นเหตุให้เจ้าพระยาจักรี ได้พบ จึงเก็บทารกนั้นไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม และให้นามว่า สิน©-๕
ภาพที่-๓ แสดงสถานที่ตั้งของสถานที่ประสูติ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ บริเวณถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง ท้องที่ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน
เรื่องงูเหลือม และ ลูกแก้ววิเศษ คือเรื่องราวที่งูเหลือมขนาดใหญ่ คาบมาให้ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติ ณ ถ้ำใหญ่ ภูเขาแม่นางส่ง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี นั้น มีเรื่องราวสรุปว่า ในขณะที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูตินั้น มีเรื่องเล่าว่า หลังจากที่ หม่อมนกเอี้ยงได้ประสูติ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ลืมตาออกมาดูโลกแล้ว หม่อมนกเอี้ยงก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แล้วก็ม่อยหลับไป ด้วยความอ่อนเพลีย หม่อมนกเอี้ยง ฝันไปว่า “…หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ผู้เหยียบน้ำทะเลจืด ได้นำลูกแก้ววิเศษ มามอบให้กับหม่อมนกเอี้ยง และสั่งเสียว่า ให้นำลูกแก้วนี้ มอบให้กับบุตรชาย เมื่อออกผนวชเป็นพระภิกษุ เพราะบุตรชายที่ประสูติออกมานี้ เป็นเทวดามาเกิด จะเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ของ ประเทศเสียม-หลอ ในอนาคต…”
เมื่อหม่อมนกเอี้ยง ตื่นขึ้นมา ก็พบ งูเหลือมขนาดใหญ่ กำลังล้อมขดให้ความอบอุ่นแก่ทารกชายของตนเองอยู่ พบเห็นหม่อมอั๋น กำลังนำน้ำมนต์ มาประพรมให้ถูกงูเหลือมใหญ่ ได้ยินเสียงสวดมนต์พึมพำ ของหม่อมอั๋น หลังจากนั้นงูเหลือมใหญ่ก็คายลูกแก้วออกจากปาก ลงสู่ฝ่าพระหัตของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขณะเพิ่งประสูติ แล้วงูเหลือมตัวใหญ่ดังกล่าว ก็เลื้อยหายจากไป
หม่อมนกเอี้ยง ได้เก็บรักษาลูกแก้ววิเศษ ดังกล่าวไว้จนกระทั่งบุตรชายคือ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงออกผนวชที่เมืองตาก หม่อมนกเอี้ยง จึงมอบลูกแก้ววิเศษดังกล่าว ให้กับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ บุตรชาย ตามความฝันในเวลาต่อมา
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีพระนามครั้งแรกว่า พ่วง
เมื่อหม่อมดาว ทราบข่าวว่า หม่อมนกเอี้ยง ประสูติบุตรชาย ในถ้ำใหญ่ ณ ภูเขาแม่นางส่ง ทุ่งลานช้าง แขวงเมืองท่าชนะ จึงรีบส่งเรือไปรับกลับ ขณะที่เดินทางกลับ เมื่อเรือเดินทางเลียบชายทะเลมาที่แหลมทราย คือบริเวณชายทะเล ใกล้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตไชยา ในท้องที่ ต.ตะกรบ อ.ไชยา ในปัจจุบัน หม่อมนกเอี้ยง ได้ขอให้เรือทอดสมอ เพื่อนำรกของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไปฝังไว้ที่โคนต้นไม้หนาด ต้นเล็กๆ ต้นหนึ่ง ใกล้ชายฝั่งทะเล ต้นไม้หนาดต้นนี้ ยังเป็นที่เคารพของสายราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่อาศัยอยู่ในท้องที่ จ.สุราษฎร์ธานี สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อหม่อมนกเอี้ยง หม่อมอั๋น นายต้า แซ่ลิ้ม เดินทางมาถึงบ้านหม่อมดาว ที่สี่แยกท่าโพธิ์ เมืองไชยา พระยาไชยามุกดา ทราบข่าวก็ได้ขี่ม้า เดินทางจากบ้านสงขลา มาเยี่ยมเยียนด้วย ในที่สุดทั้ง ๕ ท่าน ได้ร่วมกันตั้งพระนามให้กับบุตรชายของหม่อมนกเอี้ยง มีพระนามครั้งแรกว่า พ่วง
หลังจาก หม่อมนกเอี้ยง ได้ไปอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ อยู่ที่บ้าน หม่อมดาว ภรรยาของพระยาไชยามุกดา บริเวณสี่แยกท่าโพธิ์ เมืองไชยา จนร่างกายแข็งแรงแล้ว นายต้า แซ่ลิ้ม ก็สร้างบ้านดอนชาย เสร็จสิ้น หม่อมนกเอี้ยง จึงโยกย้ายไปอาศัยบ้านเรือนตนเองอยู่ในพื้นที่ บ้านดอนชาย เมืองท่าชนะ ในปัจจุบัน ส่วนหม่อมอั๋น ก็เดินทางกลับเมืองเพชรบุรี
ชีวิตหม่อมนกเอี้ยง ที่พระราชวังบ้านดอนชาย ขณะนั้นนายต้า แซ่ลิ้ม มีอาชีพเป็นช่างทอง ได้รับซื้อภาชนะทองคำเก่า เพื่อนำมาทำเป็นเครื่องประดับทองคำ แล้วส่งไปขายที่กรุงศรีอยุธยา ส่วนหม่อมนกเอี้ยง มีอาชีพรับซื้อ ไม้นูด ข้าวสาร ฯลฯ เพื่อขายให้กับพ่อค้าเรือสำเภาจีน ณ ท่าเรือ ปากน้ำท่ากระจาย ต่อมาเมื่อการรับซื้อภาชนะทองคำเก่า หาซื้อยากขึ้น นายต้า แซ่ลิ้ม ได้ค่อยๆ เปลี่ยนอาชีพจากช่างทอง ไปช่วยงานหม่อมนกเอี้ยง แทนที่ และกลายเป็นผู้รับซื้อสินค้าพื้นเมืองต่างๆ เพื่อส่งขายให้กับพ่อค้าจีนเรือสำเภาจีน แทนที่การเป็นช่างทอง ในเวลาต่อมา
เชิงอรรถ
©-๑ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ การเมืองไทยสมัยธนบุรี สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๓๘ หน้าที่ ๖๖-๖๗
ในหนังสือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดย พลตรี จรรยา ประชิตโรมรัน สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประสูติเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล จ.ศ.๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ ต่อมาได้นำไปฝากเป็นบุตรบุญธรรม ของ พระยาจักรี ซึ่งมีบุตรตนเองชื่อ นายศักดิ์(หลวงศักดิ์นายเวร) อันที่จริงเป็นชื่อตำแหน่งมหาดเล็ก ชื่อจริงคือ นายบุญชู ชาวไชยา เรียกพระยาจักรี ท่านนี้ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองไชยาว่า มหาหุมมุกดา เป็นบุตรชายของ มหาหุมตาไฟ
©-๒ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ การเมืองไทยสมัยธนบุรี สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๓๘ หน้าที่ ๗๒
©-๓ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ การเมืองไทยสมัยธนบุรี สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๓๘ หน้าที่ ๖๔-๖๕
©-๔ ทุ่งลานช้าง บริเวณภูเขาแม่นางส่ง ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดถ้ำใหญ่ ก่อนหน้านี้ ในสมัยราชอาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี ทุ่งลานช้าง เป็นสถานที่ตั้งค่ายทหาร และที่ฝึกทหาร ของ หลวงพิชัยอาสา(พระยาพิชัยดาบหัก) ต่อมาในสมัยปลายสมัยกรุงธนบุรี และต้นราชวงศ์จักรี ทุ่งลานช้าง เป็นสถานที่ตั้งเมืองไชยา มีเชื้อสายราชวงศ์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และราชวงศ์จักรี มาตั้งรกรากในพื้นที่ทุ่งลานช้าง สถานที่แห่งนี้จึงถูกเรียกชื่อว่า บ้านวังพวกราชวงศ์ เป็นที่ตั้งของจวนว่าราชการของ เมืองไชยา มีเจ้าเมืองไชยา ต่อเนื่องมาหลายคน จนกระทั่งมาถึง สมัยพระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ) เป็นเจ้าเมืองไชยา คนสุดท้ายที่ใช้ทุ่งลานช้าง เป็นที่ว่าราชการเมืองไชยา เมื่อพระยาคอปล้อง ถูกพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกกลับพระราชวังหลวง ๔ ครั้ง แต่ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ หรือ พระยาคอปล้อง ขัดขืนคำสั่ง จึงถูกคำสั่งยึดทรัพย์ ทำให้ที่ว่าราชการเมืองไชยา ที่ทุ่งลานช้าง จึ่งร้างไป ที่ว่าราชการเมืองไชยา จึงย้ายมาอยู่ที่พุมเรียง ส่วนพวกเชื้อสายราชวงศ์ก็อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน กระจัดกระจายไปตั้งรกรากในท้องที่อื่นๆ
ตามหลักฐาน หนังสือราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี ของ นายบรรเจิด อินทุจันทร์ยง จัดพิมพ์โดยองค์การค้าของครุสภา กล่าวว่า สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ประสูติเมื่อเดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๕๔(พ.ศ.๒๓๓๕) เป็นพระราชโอรสของ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ สมเด็จพระศรีสุลาลัย(ท่านเรียม ธิดาของ ท่านเพ็ง กับ เจ้าเมืองนนทบุรี) กล่าวว่า สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อพระชันษา ๑ ปี
ส่วนข้อมูลที่ผู้เขียนสรุปเรื่องราวขึ้นมา กล่าวว่า สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ เป็นเชื้อสายของ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู เพราะ ท่านเพ็ง ซึ่งเป็นมารดา ของ ท่านเรียม(สมเด็จพระศรีสุลาลัย) เป็นธิดาคนหนึ่ง ของ เจ้าพระยายมราช(หวัง) ซึ่งเป็นบุตรคนที่สาม ของ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ประสูติมาได้ประมาณ ๑-๒ ปี นั้นเกิดการระลึกชาติได้ว่าอดีตชาติ เคยเกิดมาเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู มาทวงคืนราชย์สมบัติ เป็นที่มาให้สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ต้องส่งพระองค์เจ้าหนูดำ ไปเป็นบุตรบุญธรรม ของ ภรรยาคนหนึ่ง ของ เจ้าพระยายมราช(หวัง) ที่เมืองไชยา ต่อมาในปลายรัชกาลที่-๑ ได้อภิเษกสมรส กับ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก และต่อมาในรัชกาลที่-๒ ได้รับโปรดเกล้าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ และ เป็น พระยาวิชิตภักดี เจ้าเมืองไชยา
สถานที่แห่งนี้มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ มากมาย เคยเป็นสถานที่ชนช้างระหว่าง พระยากง(ท้าวปรารพ) กับ พระยาพาน(ท้าวอู่ทอง) มีเรื่องกล่าวว่า ท้าวอุเทน เป็นผู้ฆ่า พระยากง ณ ทุ่งลานช้าง แต่มีการทำตอแหลว่า พระยาพาน ฆ่า พระยากง ผู้เป็นบิดา
ต่อมาเมื่อเกิดสงครามท่าชนะ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ผู้พ่ายแพ้สงคราม ได้มาจำศีลภายในถ้ำใหญ่ ของ ทุ่งลานช้าง ต่อมา พ่อหงสาวดี(ขุนศรีจง) สามี ของ พระนางอุษา ก็ได้มาสวรรคต ณ สถานที่แห่งนี้ จึงได้มีการสร้างเทวรูปพระนอน ไว้ในถ้ำใหญ่
เมื่อกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งเรียกชื่อผิดว่า อาณาจักรศรีวิชัย ในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๔ ขึ้นมาแทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สถานที่ดังกล่าวจึงถูกใช้งานเพื่อจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติของชนชาติไทย ณ ทุ่งลานช้าง หลังจากสามารถทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืนมาให้ชนชาติไทยเป็นผลสำเร็จ ก็เกิดการจัดงานเป็นประเพณี เรื่อยมา ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่า วันสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นคนละวันกับวันปีใหม่ เพราะถือกันว่าวันปีใหม่ของชาติไทยโบราณนั้น คือวันแรกของเดือนอ้าย ของปี ศกศักราช
©-๕ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ การเมืองไทยสมัยธนบุรี สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๓๘ หน้าที่ ๗๔-๗๖
บทที่-๓
ชีวิตวัยเยาว์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
ชีวิตวัยเยาว์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นเด็กเลี้ยงควายฝูง
เมื่อ ด.ช. พ่วง มีพระชนมายุได้ ๓ พรรษา หม่อมนกเอี้ยง ต้องเป็นพระอาจารย์ให้ ด.ช.พ่วง ได้รับการศึกษา อ่านออกเขียนได้ และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ตามราชประเพณี อย่างเชื้อเจ้าซึ่งต้องศึกษาการเขียนอ่าน และ ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นที่มาให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย และเกิดความรักชาติมาตั้งแต่วัยเด็ก พื้นฐานเหล่านี้ คือพื้นฐานที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีความตั้งใจมั่น มีสติที่มั่นคงในการทำสงครามกอบกู้เอกราช โดยไม่กลัวความเหน็ดเหนื่อย และความยากลำบากใดๆ ในเวลาต่อมา
การเติบโตตั้งแต่วัยเด็กในท้องที่ภาคใต้ ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถตรัสได้ ๓ ภาษา กล่าวกันว่า ด.ช.พ่วง ต้องตรัสภาษาไทยภาคกลางกับ พระราชมารดาหม่อมนกเอี้ยง ต้องตรัสภาษาจีนแต้จิ๋ว กับ พระราชบิดา และต้องตรัสภาษาไทยภาคใต้ กับเพื่อนๆ และเพื่อนบ้าน อย่างคล่องแคล่ว
เมื่อ ด.ช.พ่วง มีพระชนมายุได้ประมาณ ๕ พรรษา ก็สามารถช่วยเลี้ยงควายฝูงใหญ่ให้กับหม่อมนกเอี้ยง ได้เป็นอย่างดี ด.ช.พ่วง มีความสามารถในการขี่ม้า สามารถขี่ม้า ควบคุมควายฝูงใหญ่อยู่ในท้องที่ระหว่าง ทุ่งลานช้าง กับ ท่ากระจาย แขวงเมืองท่าชนะ กล่าวกันว่า ด.ช.พ่วง มีความสามารถในการประดิษฐ์อุปกรณ์แขวนคอควาย เรียกว่า ลูกเคาะ หรือ ลูกเกราะ ใช้สำหรับแขวนคอควาย เพื่อใช้ติดตามควบคุมควายฝูงใหญ่มิให้หลงฝูง ด้วย
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ชอบเสวยอาหารภาคใต้ ตั้งแต่วัยเยาว์
ที่บ้านดอนชายนั้น หม่อมนกเอี้ยง พูดภาษากลาง แต่พูดภาษาท้องถิ่นภาคใต้ ไม่ได้ เมื่อไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านดอนชาย เพื่อนบ้าน เห็นว่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมกับ หม่อมดาว ภรรยาหลวง ของ พระยาไชยามุกดา เจ้าเมืองไชยา เพื่อนบ้านจึงเชื่อกันว่า หม่อมนกเอี้ยง เป็นผู้ดีกรุงศรีอยุธยา ส่วน ด.ช.พ่วง นั้น พูดได้ทั้งภาษากลาง และภาษาถิ่นภาคใต้ และภาษาจีนแต้จิ๋ว จึงได้รับความเกรงอกเกรงใจจากเพื่อนบ้านมาก ด.ช.พ่วง มีเพื่อนๆ มากมายในหมู่บ้าน พร้อมกับตั้งตัวเป็นผู้นำเด็กๆ ในวัยเดียวกัน ชอบเล่น หมากขุม หมากเก็บ และชอบเล่นไม้อี่ กับเพื่อนๆ ผู้ชายด้วยกัน ต่อมา ด.ช.พ่วง ชอบเลี้ยงไก่ชน ชอบการชนไก่ และชอบการต่อยมวย เป็นชีวิตจิตใจ
หม่อมนกเอี้ยง ต้องการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตให้กับบุตรชาย ให้สามารถสู้ชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมั่นคง จึงฝึกหัดให้บุตรชายฝึกหัดทำอาหารเสวยเองตั้งแต่วัยเด็ก ต้องซักเสื้อผ้าเอง ต้องเย็บปักชุน เสื้อผ้าที่สวมใส่เอง ด.ช.พ่วง ชอบทำอาหารอยู่ ๖ อย่างคือ ข้าวเหนียวแดงห่อใบตองแห้ง ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม แกงเหลืองยอดมะขามอ่อนปลาช่อนแห้ง ต้มกะทิยอดมะขามอ่อนกุ้งแห้ง และ เนื้อหมูคลุกกะปิทอดกระเทียมพริกไทย อาหารเหล่านี้เชื้อสายสกุลครอบครัวทหารที่ใกล้ชิดสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า เป็นอาหารที่ทหารมักจะมีติดตัว หรือจัดปรุงรับประทานกันในการทำสงครามขับไล่กองทัพพม่า เป็นประจำ
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในวัยเยาว์ ชอบตั้งตัวเป็นผู้นำ เล่ากันว่า เมื่อ ด.ช.พ่วง ขี่ม้า ต้อนควายฝูง ออกจากคอก ไปกินหญ้า ก็จะนำอาหารที่ปรุงไว้ติดตัวไปด้วย เพื่อนฝูงในวัยเดียวกันจะติดตามกันไปจำนวนมาก เมื่อถึงเวลาเที่ยง ก็จะร่วมกันทำอาหารกินกันเองใต้ร่มไม้ใหญ่ ด.ช.พ่วง จะทำการแบ่งงานให้เพื่อนๆ ช่วยกันหาวัตถุดิบมาปรุงอาหาร อาหารชนิดใดที่เพื่อนๆ ทำไม่เป็น ด.ช.พ่วง จะฝึกสอนให้ เล่ากันว่า มีอยู่วันหนึ่งควายฝูง ตกใจวิ่งเหยียบภาชนะหม้อดิน ที่ใช้ทำอาหาร แตกเสียสิ้น ด.ช.พ่วง ตัดสินใจไปตัดไม้ไผ่ที่บ้านโหนดเสี้ยน มาใช้หุงข้าวและปรุงอาหารแทนภาชนะหม้อดิน เพื่อมิให้เพื่อนๆ ท้องหิว ทดแทนหม้อดิน
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เติบโตขึ้น อาหารภาคใต้ที่ชอบเสวย คือ แกงเผ็ดปูดำใบธรรมมัง กับฟักทอง และขนมจีนน้ำยาภาคใต้ ส่วนเครื่องดื่มที่ ด.ช.พ่วง ชอบทำดื่มเองเป็นประจำคือ น้ำใบบัวบกผสมน้ำใบแม่ย่านาง ที่ปรุงรสด้วยน้ำผึ้ง และเกลือ ด.ช.พ่วง จะปรุงขึ้นเองแล้วนำใส่กระบอกไม้ไผ่ นำติดตัวที่ออกไปเลี้ยงควายฝูงเป็นประจำทุกวัน ต่อมาหม่อมนกเอี้ยง ทราบข่าวว่า ด.ช.พ่วง และสหาย ชอบทิ้งควายฝูงออกไปท่องเที่ยวเป็นประจำ จึงตัดสินใจขายควายฝูงทิ้ง แล้วให้ ด.ช.พ่วง มาช่วยงานค้าขายของบิดา
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ชอบแล่นเรือใบ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
กล่าวกันว่า ด.ช.พ่วง ในวัยเด็กนั้นซุกซุนมาก มีความสามารถในการว่ายน้ำ สามารถพายเรือแจวได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่วัยเด็ก จึงสามารถใช้ความสามารถดังกล่าวช่วยงานของหม่อมนกเอี้ยง ในเวลาที่เรือสำเภาจีน เข้าเทียบท่าเรือที่ปากน้ำท่ากระจาย อีกด้วย โดยจะรีบขี่ม้ากลับมาบ้าน เพื่อช่วยพายเรือให้กับมารดา เพื่อลำเลียงสินค้าต่างๆ เช่น ไม้นูด หมากแห้ง ข้าวสาร ฯลฯ ลงสู่เรือสำเภาจีน เป็นประจำอีกด้วย
เมื่อ ด.ช.พ่วง มีอายุได้ประมาณ ๖ พรรษา ก็ได้ร่วมกับสหายวัยเดียวกัน นำเรือแจว มาดัดแปลงติดใบเป็นเรือใบ นำเรือใบออกแล่นในทะเล แข่งขันกับสหายที่ทะเลปากน้ำท่ากระจาย เป็นประจำ ด.ช.พ่วง มีความสามารถในการแล่นเรือใบโดยอาศัย ลมบก ลมทะเล และลมมรสม ได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ออกไปแล่นเรือใบ นั้น ด.ช.พ่วง และสหาย จะร่วมกันออกไปหาปูม้า มาต้มรับประทานกันที่ชายทะเล หากวันใดสามารถจัดหาปูม้าได้มาก ด.ช.พ่วง จะจัดแบ่งปันให้สหาย นำไปฝากครอบครัวแต่ละบุคคล ด้วย
ด.ช.พ่วง ได้คิดประดิษฐ์เรือบรรทุกสินค้า โดยการนำเรือแจวหลายลำมารัดติดกันด้วยไม้ไผ่ แล้วใช้กระสอบสินค้าวางบนเรือแจวที่รัดติดกัน ทำให้สามารถบรรทุกสินค้ามากขึ้น เมื่อลำเลียงสินค้านำไปส่งยังเรือสำเภาพ่อค้าจีนที่ทอดสมออยู่ที่ปากน้ำท่ากระจาย พ่อค้าเรือสำเภาจีน ชอบใจกันมาก ต่อมา ด.ช.พ่วง นำเรือแจวสองลำ มาต่อเชื่อมกัน ผูกรัดให้เชื่อมกันด้วยไม้ไผ่ ประดิษฐ์ใบ และหางเสือ ใส่ไว้ด้วย ทำให้ ด.ช.พ่วง นำเรือใบดังกล่าวออกแล่นใบ ทั่วอ่าวบ้านดอน เวลาเรือสำเภาค้าขายของพ่อค้าจีน เดินทางเข้าสู่อ่าวบ้านดอน ด.ช.พ่วง ก็จะนำเรือใบของตนเอง ออกแล่นเทียบ แข่งขันความเร็ว แล่นขนานมาด้วยกันจนถึงท่าเรือปากน้ำท่ากระจาย เป็นประจำ จนกระทั่งกัปตันเรือสำเภาจีน เห็นว่า ด.ช.พ่วง มีความสามารถในการเดินเรือ จึงชักชวน ด.ช.พ่วง ให้ไปทำงานเป็นลูกจ้างในเรือสำเภาจีน ในเวลาต่อมา
ชีวิตลูกจ้าง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ๔ ปี
ในเรือสำเภาค้าขายจีน
หลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับพระราชประวัติของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กล่าวตรงกันว่า พระองค์สามารถตรัสภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา พระราชพงศาวดาร แทบทุกฉบับกล่าวว่า พระองค์ตรัสกับพระภิกษุญวน เป็นภาษาญวน ตรัสกับเชลยศึกพม่า เป็นภาษาพม่า โดยไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุที่พระองค์มีความสามารถในการตรัสได้หลายภาษา หนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่เขียนขึ้นโดย ก.ศ.ร.กุหลาบ กล่าวว่า ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง ก็ได้ละงานราชการไปเที่ยวศึกษาภาษาจีน ญวน แขก พม่า มอญ มะโขด และฝรั่ง จนรู้ดีทุกภาษา§-๑ บันทึกต่างๆ ที่กล่าวมา ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ เป็นการปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังที่ขัดแย้งกันเอง มีข้อเท็จริงอยู่น้อยมาก
ข้อเท็จจริง เมื่อ ด.ช.พ่วง มีพระชนมายุได้ ๖ พรรษา สามารถแล่นเรือใบทั่วอ่าวบ้านดอน เมื่อถูกชักชวนจากพ่อค้าเรือสำเภาจีนให้ไปเป็นลูกจ้างในเรือสำเภาจีน จึงได้รบเร้ามารดา เพราะอยากเรียนรู้โลกกว้าง จึงขอสมัครเข้าทำงานกับเรือสำเภาจีน เพื่อเดินทางไปเรียนรู้เมืองต่างๆ ที่เคยได้รับการศึกษาเรียนรู้มาในประวัติศาสตร์ หม่อมนกเอี้ยง ทนการรบเร้าของบุตรชายไม่ได้ จึงได้นำเด็กชายพ่วง ฝากเข้าทำงานกับ หยางจิ้งจุง รองกัปตันเรือสำเภาจีน ซึ่งเป็นญาติกับมารดา นางติ่ง แซ่แต้ ส่วนผู้ควบคุมเรือสำเภาจีน ในขณะนั้น คือกัปตันเรือชื่อ เฉินเหลียง หรือ นายเหลียง แซ่เฉิน
นายเหลียง แซ่เฉิน เป็นชื่อในภาษาจีนแต้จิ๋ว หรือ เฉินเหลียง§-๒ ในภาษาจีนกลาง เป็นกัปตันเรือสำเภาค้าขายของประเทศจีน มีนายจิ้งจุง แซ่หยาง หรือ หยางจิ้งจุง§-๓ เป็นรองกัปตันเรือ บุคคลทั้งสองเป็นญาติกับ พระนางติ่ง แซ่แต้ พระราชมารดา ของ หม่อมนกเอี้ยง ได้ให้ความรักเอ็นดู ด.ช.พ่วง เสมือนกับลูกหลานตนเอง บุคคลทั้งสองได้กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ เป็นแม่ทัพใหญ่ ในการทำสงครามกอบกู้เอกราชชาติไทยในเวลาต่อมา
ด.ช.พ่วง เป็นลูกจ้างทำงานในเรือสำเภาจีน ตั้งแต่พระชนมายุ ๖ พรรษา จนถึงพระชนมายุได้ ๑๐ พรรษา สภาพแวดล้อม ๔ ปี ที่ทำงานในเรือสำเภาจีน จึงเป็นที่มาให้ ด.ช.พ่วง ต้องเดินทางไปตามเมืองท่าเรือ ของประเทศต่างๆ จึงมีความสามารถตรัสได้หลายภาษา ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ภาษาต่างประเทศที่มีการเรียนรู้มากขึ้นคือ ภาษาจีนกลาง ภาษายาวี(มาลายู) ภาษาญวน ภาษาพม่า ภาษามอญ และภาษาฝรั่ง คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฮอลันดา ภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น
ในขณะนั้น ด.ช.พ่วง ยังไม่สามารถตรัสภาษาลาว และสามารถอ่านภาษาขอมไทย และภาษาบาลี ได้เท่านั้น ความสามารถดังกล่าวเกิดขึ้นมาในภายหลัง ดังนั้นข้อมูลที่กล่าวโดย ก.ศ.ร.กุหลาบ ที่กล่าวว่า ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง ก็ได้ละงานราชการไปเที่ยวศึกษาภาษาจีน ญวน แขก พม่า มอญ มะโขด และฝรั่ง จนรู้ดีทุกภาษา นั้นเป็นเพียงข้อมูลที่ปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังเท่านั้น ขัดแย้งกับชีวิตที่เป็นจริงโดยสิ้นเชิง
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดินทางไปประเทศจีน
เนื่องจากเรื่องราวพระราชประวัติในวัยทรงพระเยาว์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีบุคคลต่างๆ เกี่ยวโยงกับพระองค์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ล้วนมีความผูกพันธุ์กับชีวิตของพระองค์ ทั้งก่อน และหลังการขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นจำนวนมาก ที่ได้กล่าวมาแล้วอย่างน้อย ๕ คน คือ หม่อมอั๋น หม่อมดาว พระยาไชยามุกดา เฉินเหลียง และ หยางจิ้งจุง เป็นต้น
นายเหลียง แซ่เฉิน หรือ เฉินเหลียง กัปตันเรือสำเภาจีนผู้นี้ ต่อมาในสมัยธนบุรี มีตำแหน่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และพงศาวดารสมัยกรุงธนบุรีซึ่งกล่าวว่า เคยเป็น หลวงพิพิธ เคยเป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี และเคยเป็น เจ้าพระยาราชาเศรษฐี ปกครองเมืองพุทธไทยมาศ และ เมืองบันทายมาศ
ภาพที่-๔ เป็นภาพวาดของ หยางจิ้งจุง ซึ่งฮ่องเต้เฉียนหลุง ให้จิตกรจีนวาดขึ้น ขณะที่รับราชการเป็นราชทูตสยาม เดินทางไปติดต่อให้ฮ่องเต้เฉียนหลุง รับรองทางการทูตให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นกษัตริย์ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี
ส่วน นายจิ้งจุง แซ่หยาง หรือ หยางจิ้งจุง เป็นรองกัปตันเรือ ต่อมาได้มีตำแหน่งเป็น หลวงพิชัย เคยเป็น เจ้าพระยาพิชัยไอยสวรรค์ เป็นราชทูต และเคยเป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี บุคคลทั้งสองเคยนำกองทัพเข้าตีเมืองจันทร์บูรณ์ ตีค่ายโพธิ์สามต้น มีบทบาทสำคัญมากในสมัยกรุงธนบุรี และยังเป็นผู้ที่มีบทบาทในการนำเอา ด.ช.พ่วง ไปใช้ชีวิตในประเทศจีนถึง ๓ ปี อีกด้วย
กล่าวกันว่า เมื่อ ด.ช.พ่วง มีอายุใกล้ครบ ๑๑ พรรษา หม่อมนกเอี้ยง อยากให้บุตรชาย ออกบวชเป็นสามเณรที่วัดศรีราชัน เมืองคันธุลี ตามราชประเพณี แต่ ด.ช.พ่วง หลบหนีไปท่องเที่ยวประเทศจีน เสียก่อน จึงยังมิได้ออกบวชเป็นสามเณร ขณะนั้น นายเฉิน แซ่เหลียง ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สี่แยกท่าโพธิ์ เมืองไชยา บริเวณที่ดินเยื้องป่าช้าวัดประสบ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เพื่อติดต่อการค้ากับ หม่อมดาว ซึ่งเป็นภรรยาหลวง ของ พระยาไชยามุกดา
ส่วนนายจิ้งจุง แซ่หยาง หรือ หยางจิ้งจุง ต่อมาได้กลายเป็นกัปตันเรืออีกลำหนึ่ง ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บริเวณปากน้ำท่ากระจาย แขวงเมืองท่าชนะ เพื่อติดต่อการค้ากับหม่อมนกเอี้ยง รับซื้อ ไม้นูด หมากแห้ง ข้าวสาร ฯลฯ เพื่อส่งไปขายในประเทศจีน เรือสำเภาจีน มักจะมาแวะมาทอดสมอเพื่อรับสินค้าที่ท่าเรือปากน้ำท่ากระจาย เมืองท่าชนะ หรือ ปากบางน้อย เมืองไชยา เป็นท่าเรือสุดท้าย เพื่อรอลมมรสม ก่อนที่จะเดินทางมุ่งหน้ากลับสู่ประเทศจีน
เมื่อ ด.ช.พ่วง มีพระชนมายุได้ใกล้ ๑๑ พรรษา พระองค์ขัดแย้งกับบิดาอย่างรุนแรง อีกทั้งพระองค์อยากเรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น เพราะไม่เคยเดินทางไปยังประเทศจีน ด้วยเป็นกฎข้อห้ามของฮ่องเต้เฉียนหลุง ประเทศจีน ซึ่งห้ามเรือสำเภาจีนรับชาวต่างชาติโดยสารไปกับเรือสำเภา เข้าสู่ประเทศจีน แต่ ด.ช.พ่วง วางแผนเดินทางไปประเทศจีน อย่างลับๆ
หม่อมนกเอี้ยง พบเห็นปรากฏการณ์ผิดปกติของลูกชาย ที่ตั้งใจทำข้าวต้มมัด และข้าวเหนียวแดงห่อใบตองแห้ง เพื่อใช้เป็นเสบียงอาหารระหว่างเดินทาง ก็สงใสอยู่ในใจ เพราะทราบว่าเรือสำเภาของ จิ้งจุง แซ่หยาง จะต้องออกเดินทางมุ่งหน้าไปสู่ประเทศจีน และ ด.ช.พ่วง ต้องกลับมาพักอาศัยอยู่กับมารดา เพื่อเตรียมบวชเป็นสามเณร หม่อมนกเอี้ยง ได้มาทราบว่าลูกชาย วางแผนหลบหนีเดินทางไปประเทศจีน เมื่อได้พบเห็น ข้าวต้มมัด และข้าวเหนียวแดงห่อใบตองแห้ง และ เสื้อผ้าของลูกชายได้หายไป ก็ทราบว่าสายไปเสียแล้ว เพราะมองเห็นเพียงใบเรือสำเภาของจิ้งจุง แซ่หยาง ในท้องทะเลลึก ค่อยๆ จางลับหายลับไปกับตา
ชีวิตวัยเยาว์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกจับมัดไว้กับบันใดใต้ท้องระวางเรือ
หนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกบวชสามเณรที่วัดโกษาวาสน์ กับ พระอาจารย์ทองดี ในขณะที่บวชสามเณร ได้เกิดอภินิหาร เนื่องจากถูกมัดแช่น้ำที่หัวบันใดวัด แต่ก็ไม่ตายด้วยน้ำขึ้น กลับดึงเอาบันใดท่าน้ำหลุดไปได้*๔ ในเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงเรื่องถูกมัดไว้กับบันใด แต่ไม่ตายเมื่อน้ำท่วมนั้น เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นใต้ท้องระวางเรือ ในเรือสำเภาจีน ขณะที่เดินทางไปประเทศจีน
ด.ช.พ่วง ซ่อนตัวอยู่ในใต้ท้องระวางเรือสำเภาของ หยางจิ้งจุง ในขณะที่เรือสำเภามาจอดทอดสมอมารับซื้อสินค้าต่างๆ ที่ท่าเรือปากน้ำท่ากระจาย เพื่อเดินทางไปประเทศจีน ขณะที่เรือสำเภาเดินทางไปถึงแหลมญวน ก็มีฝนตกหนัก น้ำฝนจึงสาดเข้าไปขังที่ใต้ท้องระวางเรือเป็นจำนวนมาก ด.ช.พ่วง จึงเปลี่ยนมาซ่อนตัวที่กระสอบมะพร้าวแห้ง เมื่อลูกเรือมาตรวจสอบระดับน้ำที่ใต้ท้องระวางเรือ ก็ได้พบกับ ด.ช.พ่วง จึงจับมัดไว้ที่บันใดทางขึ้นลงใต้ท้องระวางเรือสำเภา และกลับไปรายงานให้ หยางจิ้งจง ทราบ
เมื่อ หยางจิ้งจุง ได้รับรายงานจากลูกเรือ ทราบว่า ด.ช.พ่วง หลบหนีมากับเรือสำเภา และถูกจับมัดไว้กับบันใดใต้ท้องระวางเรือสำเภา ก็เป็นห่วงว่า ด.ช.พ่วง จะถูกน้ำใต้ท้องระวางเรือท่วมขัง จนเสียชีวิต จึงรีบเดินทางมาดูเหตุการณ์ พบว่าน้ำได้ท่วมขังใต้ท้องระวางเรือเรียบร้อยแล้ว แต่บันใดขึ้นลงใต้ท้องระวางเรือ กลับลอยขึ้นเองเพราะมีกระสอบบรรจุลูกมะพร้าวแห้ง วางอยู่ใต้บันใด เป็นเหตุให้ ด.ช.พ่วง ไม่เสียชีวิต หยางจิ้งจุง ได้ช่วยเหลือนำ ด.ช.พ่วง ขึ้นมาจากใต้ท้องระวางเรือ อย่างปลอดภัย
ชีวิตวัยเยาว์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ๓ ปีในประเทศจีน
หยางจิ้งจุง ได้นำ ด.ช.พ่วง มาสอบสวนถึงเหตุผลที่ต้องหลบหนีเดินทางมาประเทศจีน ก็ทราบว่า ด.ช.พ่วง ขัดแย้งกับบิดา ถูกเฆี่ยนตี เพราะไปชกต่อยกับบุตรชายของผู้นำชมชนแขวงเมืองท่าชนะ และด.ช.พ่วง อ้างว่า ต้องการเรียนรู้วรรณคดีจีนเรื่อง ๓ ก๊ก อยากเรียนรู้ประวัติศาสตร์จีน และอยากเดินทางไปเห็นเมืองนานกิง เมืองที่สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ถูกจับไปสำเร็จโทษ ที่เมืองดังกล่าวด้วย หยางจิ้งจุง มองเห็นความตั้งใจของ ด.ช.พ่วง จึงตอบสนองความปรารถนา ช่วยปลอมตัว ด.ช.พ่วง ให้เป็นชาวจีน ด้วยการตัดผมเปียตนเอง นำมาต่อกับผมผูกจุก ของ ด.ช.พ่วง กลายเป็นเด็กไว้ผมเปีย เช่นเดียวกับชาวจีน ทั่วไป
ด.ช.พ่วง ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ๓ ปี โดยการอุปถัมภ์ ของครอบครัว หยางจิ้งจุง และครอบครัว นายเฉินเหลียง เป็นที่มาให้ ด.ช.พ่วง ประทับใจการเดินทางด้วยม้าในประเทศจีนมาก พระองค์ได้ศึกษาวรรณคดีจีน เรื่องสามก๊ก ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของจีน ได้เดินทางท่องเที่ยวเมืองต่างๆ ในหลายมณฑล ตามที่ต้องการ สิ่งที่ ด.ช.พ่วง ประทับใจมากคือ กองทหารม้าของประเทศจีน ที่ใช้อาวุธปืนลูกซองยาว การเรียนรู้วรรณคดีจีนเรื่องสามก๊ก ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ความรู้ดังกล่าว พระองค์ได้นำมาใช้ในการวางแผนทำสงคราม เพื่อการกอบกู้เอกราชชาติไทย ในเวลาต่อมา
ขณะที่ ด.ช.พ่วง พักอยู่ในประเทศจีน เป็นปีที่สาม พระองค์ทราบดีถึงความรู้สึกของมารดาที่กำลังห่วงใย จึงเขียนจดหมายฝากกลับมาว่า ขอศึกษาเรียนรู้วิชาการต่างๆ ในประเทศจีนครบ ๓ ปี แล้วจะเดินทางกลับไปบวชเป็นสามเณร ตามที่เคยให้สัญญาไว้กับมารดาหม่อมนกเอี้ยง
หม่อมนกเอี้ยง ถูกติดตามไล่ล่าจากแม่เลี้ยง
เพื่อยึดทรัพย์สมบัติ
พระราชประวัติของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในวัยทรงพระเยาว์ เต็มไปด้วยการเรียนรู้ พระองค์ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย จึงเกิดความรักชาติ และหวงแหนผืนแผ่นดินที่บูรพกษัตริย์ และบรรพชนของชาติไทย ได้ร่วมกันยอมเสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อรักษาดินแดนไว้ให้ชนชาติไทยมีผืนแผ่นดินอยู่อาศัย พระองค์ได้เรียนรู้ถึงสังคมโลกกว้างของดินแดนไทย และประเทศข้างเคียง พระองค์ยังได้เรียนรู้กุลยุทธ์ในการทำสงครามจากวรรณคดีจีนเรื่องของสามก๊ก ในประเทศจีน แต่พระองค์ยังมิได้เรียนรู้ถึงพระธรรมคำสั่งสอนของ พระพุทธองค์ ที่ทำให้สังคมไทย อยู่ร่วมกันอย่างมีคุณธรรม อย่างสงบสุข พระราชมารดาของพระองค์ คือหม่อมนกเอี้ยง ต้องการให้ ด.ช.พ่วง ได้เรียนรู้สิ่งที่ยังขาดหายไป
ขณะที่ ด.ช.พ่วง ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศจีน นั้น หม่อมนกเอี้ยงมีบุตรชายอีกคนหนึ่งชื่อ ประหยัด หรือ หยัด ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๒๘๘ หม่อมนกเอี้ยง ถูกทำหนังสือร้องเรียนในเรื่องที่ ด.ช.พ่วง ชกต่อยกับบุตรชาย ผู้นำชมชนแขวงเมืองท่าชนะ*๕ ก่อนที่จะเดินทางไปประเทศจีน เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้รับฎีการ้องทุกข์ ก็ส่งทหารมาติดตามเรียกตัวหม่อมนกเอี้ยง กลับคืนสู่พระราชวังหลวง หวังที่จะยึดสมบัติให้กับ พระองค์เจ้าพลับ อัครมเหสี ของ พระเจ้าบรมโกศ และเป็นพี่น้องต่างมารดา ของ หม่อมนกเอี้ยง เป็นเหตุให้หม่อมนกเอี้ยง ต้องหลบหนีอีกครั้งหนึ่ง และเป็นเหตุให้สามี ของ หม่อมนกเอี้ยง คือ นายต้า แซ่ลิ้ม ไม่ปลอดภัยด้วย ต้องหลบหนีพร้อมกันด้วย และต้องใช้ชีวิตแยกทางกับ หม่อมนกเอี้ยง ในเวลาต่อมา
หม่อมนกเอี้ยง เชื่อว่าถ้าตัดสินใจเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา จะต้องถูกแม่เลี้ยง ยึดทรัพย์สิน และจะต้องถูกฆ่าตาย อย่างแน่นอน ส่วนสามี นายต้า แซ่ลิ้ม นั้น ถ้ายังคงประกอบอาชีพเป็นช่างทอง และส่งสินค้า ขายให้กับพ่อค้าเรือสำเภาจีน ที่บ้านดอนชาย ปากน้ำท่ากระจาย จะต้องถูกจับกุม และถูกฆ่าตาย เช่นกัน หม่อมนกเอี้ยง และสามี จึงเก็บทรัพย์สมบัติ นำบุตรธิดา เดินทางไปสืบข่าวจาก หม่อมอั๋น ที่เมืองเพชรบุรี โดยฝากบ้านดอนชาย ไว้กับเพื่อนบ้าน
เมื่อหม่อมนกเอี้ยง พร้อมสามี นำบุตร-ธิดา ด.ญ.ประยงค์ และ ด.ช.ประหยัด เดินทางไปพบกับหม่อมอั๋น ผู้เป็นน้องสาว ที่เมืองเพชรบุรี นั้น ก็ทราบว่า ทางสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มีคำสั่งให้ พระยาเพชรบุรี(ตาล) จับกุมหม่อมนกเอี้ยง และ สามี นายต้า แซ่ลิ้ม ส่งกลับคืนเข้าสู่พระราชวังหลวง หากพบเห็นหม่อมนกเอี้ยง เดินทางมาพบ
หม่อมนกเอี้ยง พร้อมสามี และ หม่อมอั๋น ได้หารือร่วมกัน พิจารณาเห็นว่า ถ้าหม่อมนกเอี้ยง กับ สามี นายต้า แซ่ลิ้ม ต้องหลบหนีไปด้วยกัน จะต้องใช้ทรัพย์สินเดิมจนหมดสิ้น ชีวิตภายหน้าจะยากลำบาก จึงเสนอให้ นายต้า แซ่ลิ้ม เดินทางไปขอความช่วยเหลือจากเครือญาติของ นางเจิ้งติ่ง ที่บ้านท่าดินแดง กรุงศรีอยุธยา เพื่อสร้างอาชีพขึ้นใหม่ เพื่อนำเงินส่งไปช่วยเหลือหม่อมนกเอี้ยง และ ลูกๆ ที่กำลังหลบหนี
ส่วนหม่อมนกเอี้ยง ทางหม่อมอั๋น เสนอให้หม่อมนกเอี้ยง หลบหนีไปอยู่อาศัยอยู่กับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช(ราชสุภาวดี) ซึ่งเป็นญาติสนิท ที่เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อรอคอยวันคืนกลับมาของลูกชาย ด.ช.พ่วง จากประเทศจีน จนกว่าเหตุการณ์การติดตามไล่ล่า ของ แม่เลี้ยง สงบลง จึงเป็นที่มาให้ หม่อมนกเอี้ยง กับ นายต้า แซ่ลิ้ม ผู้เป็นสามี ต้องแยกทางกัน
หม่อมอั๋น ได้เดินทางโดยเรือสำเภา ไปส่งหม่อมนกเอี้ยง พร้อมบุตรธิดา ที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้นำเรื่องราวความเป็นจริงเล่าให้ เจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นญาติสนิท กับ หม่อมนกเอี้ยง รับทราบ เจ้าพระยาราชสุภาวดี ไม่กล้าจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับหม่อมนกเอี้ยง ให้พักในตัวเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้ตัดสินใจ ให้หม่อมนกเอี้ยง พร้อมบุตรธิดา ไปอาศัยอยู่ที่ถ้ำเขาขุนพนม โดยจัดส่งข้าวของเครื่องใช้ คนรับใช้ และคอยส่งเสบียงอาหารให้กับหม่อมนกเอี้ยง เป็นประจำ ส่วนนายต้า แซ่ลิ้ม สามีของหม่อมนกเอี้ยง ได้เดินทางไปพบเครือญาติของหม่อมนกเอี้ยง ที่บ้านท่าดินแดง กรุงศรีอยุธยา เพื่อขอความช่วยเหลือตามแผนการที่กำหนด
สามีหม่อมนกเอี้ยง เปลี่ยนชื่อเป็น นายหยุง แซ่ลิ้ม
เมื่อนายต้า แซ่ลิ้ม สามีของหม่อมนกเอี้ยง ได้เดินทางไปพบเครือญาติของ เจิ้งติ่ง ซึ่งเป็นมารดาของ หม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น ที่บ้านท่าดินแดง กรุงศรีอยุธยา เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องอาชีพการงานในอนาคต นายต้า แซ่ลิ้ม ต้องเลิกอาชีพช่างทอง และได้รับคำแนะนำให้ไปประกอบอาชีพรับซื้อข้าว ที่เมืองธนบุรี และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น นายหยุง แซ่ลิ้ม เครือญาติของหม่อมนกเอี้ยง ได้ให้นายหยุง แซ่ลิ้ม ไปใช้อาคารที่ดินบริเวณท่าน้ำราชวงศ์ กรุงเทพมหานครฯ ในปัจจุบัน เป็นสถานที่รับซื้อข้าวเปลือก และ ข้าวสาร เพื่อส่งไปขายให้กับ หยางจิ้งจุง ซึ่งตั้งโกดังสินค้าตั้งอยู่ที่ บริเวณวัดอนงคาราม เมืองธนบุรี เพื่อนำข้าวสารไปส่งขายยังประเทศจีน
กิจการค้าของนายหยุง แซ่ลิ้ม ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยได้นำผ้าไหม และ เครื่องถ้วยชาม จากประเทศจีน มาจำหน่ายที่เมืองธนบุรี ด้วย นายหยุง แซ่ลิ้ม ได้ส่งเงินทองโดยฝากผ่าน หยางจิ้งจุง ไปยังหม่อมอั๋น เพื่อส่งต่อให้กับหม่อมนกเอี้ยง ที่เมืองนครศรีธรรมราช เป็นประจำ เนื่องจากหม่อมอั๋น เป็นผู้กีดกันไม่ให้นายหยุง แซ่ลิ้ม สามีของหม่อมนกเอี้ยง ติดต่อกับหม่อมนกเอี้ยง โดยตรง เพราะเกรงความปลอดภัย ของ หม่อมนกเอี้ยง ทำให้ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา ระหว่าง นายหยุง แซ่ลิ้ม กับ หม่อมนกเอี้ยง ขาดหายไป ในที่สุด นายหยุง แซ่ลิ้ม ก็ได้ภรรยา สาวเชื้อจีน คนใหม่
นายหยุง แซ่ลิ้ม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ขุนจักร
กิจการค้าของ นายหยุง แซ่ลิ้ม กับ ภรรยาคนใหม่ ที่เมืองธนบุรี เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภรรยาใหม่ ทำหน้าที่ค้าขาย ผ้าไหมจีน และ ถ้วยชามจีน อยู่ที่ท่าน้ำราชวงศ์ ส่วนนายหยุงแซ่ลิ้ม ไม่สามารถจัดหาข้าวสารเพียงพอต่อความต้องการซื้อ ของ พ่อค้าเรือสำเภาจีน ปัญหาที่สำคัญคือการแปรรูปข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสาร เนื่องจากชาวไทยสมัยนั้น เมื่อทำการเกี่ยวข้าว และนวดข้าวเสร็จแล้ว การแยกข้าวเปลือกกับข้าวลีบออกจากกันนั้น ต้องอาศัยแรงลม โดยการโรยข้าวเปลือกที่นวดแล้วให้แรงลมพัดข้าวลีบและเศษฟางแห้ง ให้แยกออกไป จึงจะนำไปตำ หรือโม่ เพื่อให้ได้ข้าวสารตามที่ต้องการ ทำให้ผลผลิตข้าวสาร ล่าช้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ
นายหยุง แซ่ลิ้ม เคยพบเห็นเครื่องฝัดข้าว เพื่อแยกแกลบ แยกข้าวเปลือกออกจากกัน โดยใช้แรงลมจากจักรกลที่มนุษย์คิดขึ้น โดยไม่ต้องรอแรงลมตามธรรมชาติในประเทศจีนมาก่อน เป็นที่มาให้ นายหยุง แซ่ลิ้ม ทำการหลอมเหล็ก สร้างเฟืองจักรกล ทดรอบ เพื่อทำการสร้างเครื่องฝัดข้าว ขึ้นมาสำเร็จ และนำไปรับจ้างฝัดข้าว จากชาวนาทั่วเมืองธนบุรี แล้วรับซื้อข้าวเปลือกมาทำการแปรรูปเป็นข้าวสารที่ท่าน้ำราชวงศ์ ปริมาณข้าวสารที่ได้รับจึงมีมากขึ้นหลายเท่าตัว แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพ่อค้าสำเภาจีน
นายหยุง แซ่ลิ้ม ได้สร้างเครื่องฝัดข้าวออกจำหน่ายให้กับชาวนาทั่วเมืองธนบุรี และต่อมาขยายไปยังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศ ได้พบเห็นเครื่องฝัดข้าวดังกล่าว พอพระทัยมาก จึงได้เรียกนายหยุง แซ่ลิ้ม เข้าเฝ้าแล้วโปรดเกล้าให้นายหยุง แซ่ลิ้ม เป็นขุนนางศักดินา ของ กรุงศรีอยุธยา เรียกตำแหน่งว่า ขุนจักร พร้อมกับได้มอบที่ดินหลายร้อยไร่ บริเวณทุ่งสีลม กรุงเทพมหานครฯ ในปัจจุบัน ไปครอบครอง
เมื่อนายหยุง แซ่ลิ้ม ได้รับที่ดินตามตำแหน่งศักดินา ที่ทุ่งสีลม ไปครอบครอง นั้น จึงเป็นที่มาให้นายหยุง แซ่ลิ้ม คิดเครื่องสีข้าว ด้วยพลังงานลม ขึ้นมาที่ทุ่งสีลม ตั้งแต่นั้นมา ต่อมา นายหยุง แซ่ลิ้ม ได้คิดค้นเครื่องจักรกล สร้างกังหันลมแบบนาเกลือ จนสามาถนำพลังงานลมไปใช้สีข้าว ได้สำเร็จ จึงได้ตั้งโรงสีลม ขึ้นมาหลายโรง เพื่อผลิตข้าวสาร ให้ทันกับความต้องการของพ่อค้าเรือสำเภาจีน เป็นที่มาให้ท้องที่ดังกล่าวถูกเรียกชื่อว่า ทุ่งโรงสีลม และถูกเรียกสั้นๆ ในเวลาต่อมาว่า ทุ่งสีลม หรือ โรงสีลม ตั้งแต่นั้นมา
ขุนจักร(นายหยุง แซ่ลิ้ม) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ขุนพัฒน์
เมื่อขุนจักร(นายหยุง แซ่ลิ้ม) สามารถสร้างโรงสีลมขึ้นมาในท้องที่ทุ่งสีลม เมืองธนบุรี ได้สำเร็จ กิจการค้าขายข้าวสารกับพ่อค้าเรือสำเภาจีน ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ สามารถเพิ่มยอดขายจนกระทั่ง ขุนจักร(นายหยุง แซ่ลิ้ม) ร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงสีลมที่สร้างขึ้นที่ทุ่งสีลม นั้น ยังให้ผลผลิตรำข้าว ปลายข้าว เป็นจำนวนมาก ขุนจักร จึงได้ตั้งฟาร์มเลี้ยงหมู กลายเป็นพ่อค้าขายหมู ที่ทุ่งสีลม ส่งขายเนื้อหมูที่เมืองธนบุรี อีกด้วย
ขุนจักร เป็นผู้จ่ายภาษีอากรผ่านเจ้าเมืองธนบุรี เพื่อจ่ายให้กับราชสำนักอยุธยา อย่างไม่บกพร่อง ต่อมาขุนจักร จึงได้รับโปรดเกล้าจากพระเจ้าบรมโกศ ให้เป็นผู้เก็บภาษีอากร กับผู้ที่ค้าขายกับประเทศจีน และ เป็นผู้เก็บค่าต๋อง จากบ่อนการพนันต่างๆ ที่เมืองธนบุรี เพื่อส่งให้กับราชสำนัก กรุงศรีอยุธยา จนได้รับการแต่งตั้ง ให้มีตำแหน่งศักดินาเป็น ขุนพัฒน์ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีที่ดินที่ทุ่งสีลม เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ขุนพัฒน์ ซึ่งได้ภรรยาใหม่ มีบุตรธิดา เพิ่มขึ้นอีกหลายคน และร่ำรวยขึ้นมาก ต่อมาได้ทอดทิ้งหม่อมนกเอี้ยง มิได้ส่งเงินทองให้กับ หม่อมนกเอี้ยง อีกต่อไป หม่อมนกเอี้ยง จึงต้องอาศัยอยู่ที่ถ้ำขุนเขาพนม อยู่กับบุตรธิดา ๒ คน อย่างเดียวดาย บุตรคนโตคือ ด.ช.พ่วง ยังคงอาศัยอยู่ในประเทศจีน สภาพดังกล่าวจึงเป็นที่มาให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไม่พอพระทัย ต่อ พระราชบิดามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และไม่ยอมใช้สกุล "แซ่ลิ้ม" ของบิดา กลับใช้สกุล แซ่เจิ้ง (ภาษาจีนกลาง) หรือ แซ่แต้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ของ พระนางเจิ้งติ่ง แทนที่
หม่อมนกเอี้ยง รอการกลับมาของ ด.ช.พ่วง จากประเทศจีน
เมื่อครบกำหนด ๓ ปี หม่อมนกเอี้ยง ซึ่งซ่อนตัวอยู่ที่ ถ้ำเขาขุนพนม เมืองนครศรีธรรมราช ได้พยายามติดต่อกับ หยางจิ้งจุง นัดหมายให้นำบุตรชายที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน ซ่อนตัวมากับเรือสำเภา ให้คนรับใช้ ไปรับตัว ด.ช.พ่วง ที่ปากแม่น้ำหลวง ปากอ่าวบ้านดอน เพื่อนำลงเรือเดินทางต่อไปยังถ้ำพรรณรายณ์ เนื่องจากสมัยนั้น เรือเล็กสามารถเดินทางระหว่างทะเลออก (อ่าวไทย) กับ ทะเลตก(ทะเลอันดามัน) ได้เป็นอย่างดี เพราะแม่น้ำตาปี ต่อเชื่อมกับแม่น้ำกระบี่ แม่น้ำกันตัง ซึ่งเคยเรียกชื่อว่า ช่องแคบโพธิ์นารายณ์
เมื่อมีการนัดหมายให้ส่งตัว ด.ช.พ่วง ให้คนรับใช้ที่ปากแม่น้ำหลวง เพื่อนำ ด.ช.พ่วง ไปส่งให้กับหม่อมนกเอี้ยง ที่ถ้ำพรรณรายณ์ เมืองนครศรีธรรมราช แต่เนื่องจากระหว่างการเดินทางก่อนถึงเกาะชวา ลูกเรือจีน คนหนึ่งพบเห็น ด.ช.พ่วง ซ่อนตัวมาในลำเรือสำเภา ด้วย หยางจิ้งจุง เกรงว่า ลูกเรือสำเภาจีน จะร้องเรียนต่อพระเจ้ากรุงจีน เพราะผิดกฎหมายจีน ที่ห้ามมิให้รับบุคคลภายนอก เดินทางมากับเรือสำเภาค้าขายของประเทศจีน มีกฎเกณฑ์กำหนดว่า ถ้าพบว่ามีคนซ่อนตัวเดินทางมาด้วย ให้นำลงที่ท่าเรือข้างหน้า
เมื่อลูกเรือสำเภาจีน โวยวายขึ้น หยางจิ้งจุง จึงต้องตัดสินใจส่ง ด.ช.พ่วง ลงเรือที่ท่าเรือเกาะชวา และได้ติดต่อขอฝากฝังให้ ด.ช.พ่วง เดินทางไปกับเรือสำเภาค้าขาย ของ นายบุญชู บุตรชายคนโต ของ พระยาไชยามุกดา เพื่อให้เดินทางกลับสู่ เมืองไชยา หม่อมนกเอี้ยง จึงไม่ได้พบลูกชายตามนัดหมาย กล่าวกันว่า หม่อมนกเอี้ยง มือหนึ่งจูงลูกสาว อีกมือหนึ่งอุ้มลูกชาย ต้องร้องร่ำให้อยู่ที่หน้าถ้ำพรรณรายณ์ รอคอยการคืนกลับมาของบุตรชาย ถ้ำดังกล่าวจึงถูกพระเจ้าตากสินฯ พระราชทานชื่อในภายหลังว่า ถ้ำพรรณรายณ์
ด.ช.พ่วง รู้จักสนิทสนม กับ นายบุญชู บุตรชาย ของ
พระยาไชยามุกดา
ด.ช.พ่วง ในวัย ๑๓ พรรษา เมื่อต้องอาศัยเรือสำเภาค้าขาย ของ นายบุญชู บุตรชายคนโตของ พระยาไชยามุกดา เพื่อเดินทางจากเกาะชวา กลับคืนสู่ดินแดน เมืองไชยา ราชอาณาจักรเสียม-หลอ จึงได้รู้จักสนิทสนมกับ นายบุญชู ซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๑๖ ปี จะต้องถูกส่งตัวไปเป็นมหาดเล็ก ที่กรุงศรีอยุธยา
ตำนานเรื่อง มากัน..ซิ..โว้ย คือเรื่องราวของความสนิทสนมระหว่าง ด.ช.พ่วง กับ นายบุญชู เพราะต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี นายบุญชู มีตำแหน่งเป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง ในการทำสงครามขับไล่ข้าศึกพม่า ให้ออกไปจากดินแดน ราชอาณาจักรเสียม-หลอ
มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อ หยางจิ้งจุง นำตัว ด.ช.พ่วง ไปฝากฝังให้นายบุญชู ช่วยนำกลับนั้น นายบุญชู ได้เรียกให้ลูกเรือมารวมตัวกันเพื่อกินข้าวพร้อมๆ กัน โดยใช้ภาษาแสลงว่า มา-กัน-ซิ-โว้ย มีความหมายถึงให้มากินข้าวพร้อมๆ กัน เพราะคำว่า มา-กัน-นา-ซิ เป็นภาษายาวี แปลว่า กินข้าว แต่ ด.ช.พ่วง เข้าใจผิด แปลความหมายเป็นว่า ให้เตรียมพร้อมเพื่อการออกเดินเรือสำเภา ออกจากท่าเรือ จึงวิ่งออกไปช่วยกางใบเรือสำเภา เป็นที่มาให้ ด.ช.พ่วง และ นายบุญชู มีความสนิทสนมระหว่างกัน ตั้งแต่นั้นมา
นายบุญชู ผู้นี้เป็นบุตรชายคนหนึ่งของ พระยาไชยามุกดา กับ หม่อมดาว ในปีต่อมาได้ไปรับราชการเป็นมหาดเล็กเป็น หลวงศักดิ์นายเวร ที่กรุงศรีอยุธยา เคยมีตำแหน่งสูงถึง พระยาจักรี(บุญชู) แต่ต่อมาถูกพระเจ้าเอกทัศน์ ปลดออกจากราชการ ในสมัยกรุงธนบุรี บุคคลผู้นี้ก็คือ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (บุญชู) เป็นอีกบุคคลหนึ่งของสหายร่วมรบ ที่ได้ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในการทำสงครามกอบกู้เอกราช
ด.ช.พ่วง ได้อาศัยเรือสำเภาของนายบุญชู ซึ่งต้องเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา เดินทางกลับคืนสู่ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ เนื่องจากนอนหลับเพลินไป จึงต้องไปลงเรือสำเภาที่ปากน้ำท่าตะโก เมืองชุมพร และต้องขอโดยสารเรือสำเภา ลำอื่นๆ เดินทางกลับมาที่ท่าเรือปากน้ำท่ากระจาย เมืองท่าชนะ อีกครั้งหนึ่ง
ส่วนหม่อมนกเอี้ยง เมื่อได้รับจดหมายจาก หยางจิ้งจุง ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าได้ฝาก ด.ช.พ่วง มากับเรือสำเภาค้าขาย ของ นายบุญชู หม่อมนกเอี้ยง จึงตัดสินใจเดินทางไปพบลูกชายที่ บ้านดอนชาย เมืองท่าชนะ ฝากข่าวเพื่อนบ้านให้ช่วยแจ้งข่าวว่า หม่อมนกเอี้ยง รออยู่ที่วัดศรีราชัน เมืองคันธุลี
เมื่อเด็กชายพ่วง เดินทางกลับมาที่ บ้านดอนชาย ก็พบว่า หม่อมนกเอี้ยง ทิ้งบ้านให้ร้างไปแล้ว สอบถามเพื่อนบ้านข้างเคียงทราบว่าบิดาได้ทอดทิ้งมารดา ไปเรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางไปที่ วัดศรีราชัน ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านดอนธูป ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ ในปัจจุบัน หม่อมนกเอี้ยง ได้พบกับ ด.ช.พ่วง ในวัย ๑๓ พรรษา ณ วัดศรีราชัน อีกครั้งหนึ่ง พบว่าลูกชายตนเองเติบใหญ่เป็นหนุ่มจนเกือบจำไม่ได้แล้ว จึงเสนอให้ออกบวชสาเณร ที่วัดศรีราชัน*๖ตามที่เคยสัญญากับ หม่อมนกเอี้ยง ไว้แต่เดิม
ชีวิตสามเณรพ่วง ๓ ปี ใต้ร่มโพธิ์ทอง ณ วัดศรีราชัน
เมืองคันธุลี
หนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ซึ่งเขียนปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลัง กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกบวชสามเณรที่กรุงศรีอยุธยา ที่วัดโกษาวาสน์ กับ พระอาจารย์ทองดี ผู้แต่งหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ อ้างว่า ได้รับเรื่องราวจาก จดหมายเหตุของพระอาจารย์ทองดีวัดโกษาวาสน์ ทั้งสิ้น เรื่องนี้นับเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่พระอาจารย์ทองดี จะจดเรื่องราวของเด็กคนหนึ่งซึ่งไม่มีทางรู้ได้เลยว่า จะกลายเป็นพระเจ้าแผ่นดินในอนาคต หนังสือบางเล่มก็อ้างว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ บวชเป็นสามเณร ที่เมืองตาก ล้วนเป็นข้อมูลที่เขียนปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังทั้งสิ้น
ภาพที่-๕ ภาพถ่ายบริเวณต้นโพธิ์ทอง กลางวัดศรีราชัน(วัดสั่งประดิษฐ์) ที่ตั้งกุฏิ ของ สามเณรพ่วง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ ต้นโพธิ์ทอง ปัจจุบันวัดนี้ อยู่ในสภาพเกือบเป็นวัดร้าง
ข้อเท็จจริง เมื่อ ด.ช. พ่วง เดินทางกลับจากประเทศจีน จึงได้พบกับมารดาหม่อมนกเอี้ยง ที่วัดศรีราชัน หรือ วัดสั่งประดิษฐ์ จึงตัดสินใจออกบวชเป็นสามเณรตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับมารดา ได้ออกบวชสามเณรที่ วัดศรีราชัน ประชาชนเรียกชื่อว่า “เณรพ่วง” ตั้งกุฏิ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นโพธิ์ทอง ของ วัดศรีราชัน ในปัจจุบัน
เมื่อ ด.ช.พ่วง ออกบวชเป็นสามเณร ทำให้หม่อมนกเอี้ยง ตัดสินใจกลับมาอาศัยอยู่ที่ เมืองท่าชนะ อีกครั้งหนึ่ง โดยต่อมาได้ตัดสินใจซื้อที่ดินบริเวณที่ตั้งพระราชวังร้าง เรียกชื่อว่า วังท้าวเทพนิมิต*๗ หม่อมนกเอี้ยง ได้มาสร้างบ้านใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลังหนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดศรีราชัน เดิมเคยเรียกชื่อว่า วังเจ้าตาก ปัจจุบันเรียกกันว่า บ้านตาส้วง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ “ดอนเจ้าตาก” เป็นการสมความประสงค์ ของ หม่อมนกเอี้ยง ที่ต้องการให้บุตรชายได้บวชเป็นสาเณร เพื่อให้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของ พระพุทธองค์ และประวัติศาสตร์ชาติไทย
ในปีดังกล่าว สามเณรพ่วง ได้ศึกษาพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ในเวลาไม่นาน สามเณรพ่วง ก็มีความสามารถในการอ่านภาษาบาลี และภาษาขอมไทย ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารขุนหลวงใหญ่ไกลโศก เพิ่มขึ้น ณ วัดศรีราชัน อีกด้วย
สามเณรพ่วง ยังได้ศึกษาการปรุงยาสมุนไพร เพื่อรักษาโรคต่างๆ โดยได้คอยรับใช้จัดหาพืชสมุนไพรให้กับพระอาจารย์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาด อีกด้วย สามเณรพ่วง ได้พบกับนายบุญชู บุตรชาย ของ พระยาไชยามุกดา ซึ่งเดินทางมาหายาสมุนไพรที่วัดศรีราชัน เป็นประจำ จึงทราบว่านายบุญชู มีอายุครบ ๑๖ ปี ต้องเดินทางไปรับราชการเป็นมหาดเล็กที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมา นายบุญชู ได้รับโปรดเกล้าให้มีตำแหน่งเป็นมหาดเล็ก มีชื่อว่า หลวงศักดิ์นายเวร
ภาพที่-๖แผนที่ ที่ตั้งของวัดศรีราชัน และเส้นทางโบราณ ของ เมืองคันธุลี หรือเมืองครหิต
อีกในปีถัดมา(พ.ศ.๒๒๙๑) พระเจ้าบรมโกศ โปรดเกล้าให้ พระยาราชบังสัน(ตะตา) ผู้ปกครองเมืองธนบุรี และมีศักดิ์เป็นคุณอา ของ พระยาไชยามุกดา ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง มีตำแหน่งศักดินาว่า “พระยาแก้วโกรพพิชัยภักดีบดินทรเดชัยอภัยพิริยพาหะ” ทำให้ พระยาไชยามุกดา ได้รับการโปรดเกล้า ให้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นพระยาราชบังสันมุกดา ต้องไปปกครองเมืองธนบุรี ตำแหน่งเจ้าเมืองไชยา จึงว่างลง
พระเจ้าบรมโกศ โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ มหาดเล็กหลวงศักดิ์นายเวร(บุญชู) ในขณะที่มีอายุเพียง ๑๗ ปี เป็น พระยาไชยา ตำแหน่ง เจ้าเมืองไชยา มีหลวงอินทร์รักษา(บุญรอด) น้องชายต่างมารดาของ นายบุญชู เป็นปลัดเมือง ตั้งที่ว่าราชการเมืองอยู่ที่บ้านสงขลา ทำให้นายบุญชู ได้มาพบปะกับ สามเณรพ่วง ครั้งหนึ่ง เนื่องจากนายบุญชู ต้องมาหาพืชสมุนไพรให้กับหม่อมดาว เพื่อนำไปใช้ปรุงยาแผนโบราณ จากสามเณรพ่วงเป็นประจำ ทั้งสองคนจึงสนิทสนมกันเรื่อยมา เพราะหม่อมนกเอี้ยง เป็นญาติกับ หม่อมดาว ซึ่งเป็นมารดาของ พระยาไชยาบุญชู อีกด้วย
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถตรัสได้หลายภาษา
และอ่านภาษาขอม ได้
ก.ศ.ร.กุหลาบ ได้กล่าวไว้ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีความสามารถในการตรัสภาษาต่างๆ ได้หลายภาษา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า พระองค์สามารถพระราชนิพนธ์กลอน บทละคร เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง และยังสามารถอ่านตัวหนังสือขอม ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชั้นต้น ชี้ชัดว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถตรัสภาษาจีนญวนและลาวได้ หลักฐานจดหมายรายวันทัพในคราวยกทัพไปตีเมืองพุทไธมาส ปี พ.ศ.๒๓๑๓ ระบุว่า “…สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ตรัสประภาสให้โอวาทพระสงฆ์ญวน โดยภาษาญวน พระสงฆ์จีน โดยภาษาจีน…”
ความสามารถในการตรัสภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา นั้น เพราะสภาพแวดล้อมตลอดจนกระบวนการเติบโตในวัยเด็ก ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ประสูติและเติบโตในภาคใต้ จึงสามารถตรัสภาษาท้องถิ่นภาคใต้ได้เป็นอย่างดี การใช้ชีวิตลูกจ้างในเรือสำเภาจีน ซึ่งต้องแวะทอดสมอตามท่าเรือต่างๆ ในประเทศข้างเคียง ระหว่างที่พระองค์มีพระชนมายุ ๖ พรรษา ถึง ๑๐ พรรษา ทำให้พระองค์สามารถตรัสภาษาจีน ญวน เขมร ยาวี มาลายู พม่า มอญ และ ภาษาฝรั่ง ได้เป็นอย่างดี และการใช้ชีวิตในประเทศจีนถึง ๓ พรรษา ก็เป็นสาเหตุให้พระองค์สามารถ อ่านเขียน ตรัสภาษาจีนกลาง จีนแต้จิ๋ว และ ภาษาจีนกวางตุ้ง ได้เป็นอย่างดี อีกด้วย
ส่วนความสามารถพิเศษที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถอ่านเขียนภาษาขอม ได้เป็นอย่างดีนั้น เป็นผลมาจากการใช้ชีวิตออกบวชเป็นสามเณรที่วัดศรีราชัน ถึง ๓ ปี ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีความรับรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา อย่างลึกซึ่ง ผู้สูงอายุที่เป็นเชื้อสายราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในท้องที่ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกบวชเป็นสามเณร นั้น พระองค์ถือศีลเท่ากับพระภิกษุ สามารถสวดมนต์บทต่างๆ ได้เท่ากับพระภิกษุ กล่าวกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในขณะออกบวชเป็นสามเณร นั้น ได้ไปนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ในป่าช้าที่วัดศรีราชัน และที่ถ้ำตาจิต ภูเขาคันธุลี เป็นประจำ ในขณะที่สามเณร และพระภิกษุ ทั่วไป ไม่กล้าปฏิบัติ เพราะกลัวผี
ส่วนความสามารถในการอ่านเขียน และความสามารถในการตรัสภาษาจีนได้เป็นอย่างดีนั้น มิได้มีผลมาจาก พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ตามที่นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันมาแต่เดิมแต่อย่างใด ส่วนความสามารถในการตรัสภาษาลาวได้ดีนั้น เป็นเหตุการณ์ภายหลังที่ลาสิขาออกจากสามเณร เป็นเหตุการณ์ในวัย ๑๘ พรรษาของพระองค์ ซึ่งได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช ซึ่งได้เดินทางไปทั่วภาคอีสาน และดินแดนลาว เป็นที่มาให้พระองค์สามารถตรัสภาษาลาวได้อย่างแคล่วคล่อง อีกภาษาหนึ่ง ในเวลาต่อมา อีกด้วย
พระเจ้ากรุงจีน สั่งปลด เฉินเหลียง และ หยางจิ้งจุง
ออกจากราชการ
ในปีที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกบวชเป็นสามเณรที่วัดศรีราชัน เมืองคันธุลี นั้น หยางจิ้งจุง และ เฉินเหลียง ถูกร้องเรียน ถูกสอบสวน พระเจ้ากรุงจีน ตั้งกรรมการสอบสวน เรื่องการนำ ด.ช.พ่วง อาศัยมากับกองเรือสำเภาค้าขายของจีน จึงถูกทำทัณฑ์บุญ เป็นเหตุให้ เฉินเหลียง และ หยางจิ้งจุง ได้ตัดสินใจขอลาออกจากราชการ และ ได้ติดต่อกับ หม่อมนกเอี้ยง และ พระยาราชบังสันมุกดา เพื่อขอรับราชการเป็นขุนนาง ในดินแดนของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา
ในปีถัดมา เจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แต่งตั้งให้ หยางจิ้งจุง และ เฉินเหลียง ได้ไปเป็นขุนนางที่กรุงศรีอยุธยา เฉินเหลียง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “หลวงพิพิธ” ช่วยราชการ กรมท่า และได้สมรสใหม่กับเชื้อสายราชวงศ์ของกรุงศรีอยุธยา คือธิดาของ หม่อมอั๋น เป็นภรรยาคนไทยอีกคนหนึ่ง ส่วน หยางจิ้งจุง ได้รับการแต่งตั้งจาก เจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ให้มีตำแหน่งเป็น หลวงพิชัย เป็นเจ้าเมือง เบตุง ทำการปกครองดินแดนภาคใต้ตอนล่าง ครอบคลุมถึง เมืองปัตตานี
หยางจิ้งจุง ออกบวชที่วัดศรีราชัน สามเณรพ่วง ผู้ตัดหางเปีย
นอกเหนือจากการที่ หยางจิ้งจุง(หลวงพิชัย) มีความสัมพันธ์ที่ดี กับ พระยาไชยาบุญชู แล้ว หลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ สามเณรพ่วง อีกด้วย หยางจิ้งจุง ได้เดินทางมาเยี่ยม สามเณรพ่วง เมื่อสามเณรพ่วงมีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา ณ วัดศรีราชัน ขณะนั้นสามเณรพ่วง ได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน และปฏิบัติพระธรรมวินัย เท่ากับผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุ
หยางจิ้งจุง ได้ถือโอกาสดังกล่าวขอออกบวช ๗ วัน ณ วัดศรีราชัน สามเณรพ่วง ขออาสาตัดผมเปียของหลวงพิชัย (หยางจิ้งจุง) อ้างว่า เป็นสามเณร แต่ถือศีลเท่าพระ จึงสามารถตัดผมเปีย ผู้อื่นได้ และเจ้าอาวาด ยอมอนุญาตให้สามเณรพ่วง ตัดผมเปียของ หยางจิ้งจุง ได้ ต่อมาสามเณรพ่วง ได้เก็บผมเปีย ของ หยางจิ้งจุง พร้อมกับได้โบกปูนไว้ที่เจดีย์ข้างอุโบสถ วัดศรีราชัน เหล่านี้คือความสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นระหว่าง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กับ หยางจิ้งจุง ซึ่งมีผลโยงใยมาถึงการร่วมทำสงคราม กอบกู้เอกราช ในเวลาต่อมา
ในขณะที่ สามเณรพ่วง มีพระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา ก็ได้รู้จักกับ ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ คนหนึ่ง มีชื่อว่า ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช ซึ่งได้เดินทางมาที่วัดศรีราชัน พราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้ที่มีพลังจิตแก่กล้ามาก สามารถใช้พลังจิต พลิกมีดดาบ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ สามเณรพ่วง รู้สึกศรัทธามาก ตาผ้าขาวพราหมณ์ไชยเวท ได้เดินทางมาฝึกสอนวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวให้กับลูกศิษย์ ณ วัดศรีราชัน ทำให้สามเณรพ่วง ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช ด้วย ตาผ้าขาวพราหมณ์ไชยเวท ผู้นี้ ต่อมาก็คือ “เจ้าพระยาสรประสิทธิ์” ผู้มีบทบาทในการทำพิธีกรรมต่างๆ ในสมัยกรุงธนบุรี นั่นเอง
เมื่อสามเณรพ่วง มีพระชนมายุย่างเข้า ๑๘ พรรษา ก็ลาสิขาจากการเป็นสามเณร ณ วัดศรีราชัน หลังจากได้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ตามเป้าหมายแล้ว เพื่อต้องการเรียนรู้วิชาการใหม่ๆ เกี่ยวกับวิชาการรบป้องกันตนเอง กับชีพราหมณ์ไชยเวช ต่อไป
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ กับ
ตาผ้าขาวพราหมณ์ไชยเวช
พระราชประวัติของพระเจ้าตากสินฯ ในขณะที่ได้ลาสิกขาจากสามเณรพ่วง ประชาชนเรียกพระนามใหม่ว่า เณรพ่วง หรือ นายพ่วง ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา หลังจากได้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ตามเป้าหมายแล้ว เณรพ่วง ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวยังดินแดนต่างๆ ของราชอาณาจักรเสียม-หลอ ที่ยังไม่เคยเดินทางไปถึง เช่นดินแดนราชอาณาจักรลานนา ราชอาณาจักรลาว ราชอาณาจักรคามลังกา ดินแดนราชอาณาจักรละโว้ และ ดินแดนอีสาน เณรพ่วง ยังต้องการเรียนรู้วิชาการใหม่ๆ เกี่ยวกับวิชาการทหาร วิชาการป้องกันตนเอง เณรพ่วง จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ของ ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชเวช แต่หม่อมนกเอี้ยง คัดค้าน ต้องการให้ลูกชายไปรับราชการเป็นมหาดเล็ก ที่กรุงศรีอยุธยา
หม่อมนกเอี้ยงต้องการจัดหาพระอาจารย์มาจัดสอนให้กับลูกชาย แต่ นายพ่วง ไม่ยินยอม เนื่องจาก นายพ่วง ได้เคยรู้จักกับ “ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช” จึงต้องการฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ในที่สุดพระอาจารย์เจ้าอาวาดวัดศรีราชัน เป็นคนกลางมาไกล่เกลี่ย อนุญาตให้นายพ่วง เดินทางสำรวจดินแดนราชอาณาจักรเสียม-หลอ และเรียนรู้วิชาตาผ้าขาว เป็นเวลา ๑ ปี หม่อมนกเอี้ยง จึงไม่สามารถทัดทานความตั้งใจของบุตรชายได้ พระอาจารย์เจ้าอาวาดวัดศรีราชัน จึงได้ให้ยืม ดาบพ่อขุนฤทธิ์ ให้ นายพ่วง ใช้เป็นอาวุธประจำกาย เพื่อนำไปใช้ฝึกวิชาการทหาร ต่อไป
เมื่อนายพ่วง ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เดินทางไปที่ วัดร้างวัดแก้ว เมืองจันทร์บูรณ์ ได้ไปเรียนวิชาตาผ้าขาว ณ สำนักตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช ตั้งอยู่ที่ วัดร้างแห่งหนึ่ง ของเมืองจันทร์บูรณ์ นายพ่วง ได้พบกับนายจันทร์ หนวดเขี้ยว สหายชาวบ้านบางระจัน และปลัดชู ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ ของ ตาผ้าขาวพราหมณ์ไชยเวช ด้วยเช่นกัน
ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช ได้นำนายพ่วง เดินทางออกไปสำรวจดินแดนต่างๆ ได้ไปฝึกอาวุธ และฝึกสมาธิ ตามเมืองโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ดินแดนตอนเหนือ ดินแดนอีสาน ตลอดไปจนถึงดินแดนลาว มีลูกศิษย์ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช ร่วมเดินทางไปด้วยหลายคน เช่น ขุนสรรค์ , นายแท่น , นายทองเหม็น , นายพันเรือง ปลัดชู และ นายจันทร์ หนอดเขี้ยว ซึ่งเป็นสหาย เป็นศิษย์พระอาจารย์คนเดียวกัน ที่ฝึกวิชาทหารด้วยกัน และ สนิทสนมกันตั้งแต่นั้นมา บุคคลเหล่านี้ คือวีรบุรุษศึกบ้านบางระจัน และผู้กล้าของกองทหารอาทมาต ในเวลาต่อมา นั่นเอง
§-๑ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พิมพ์ครั้งที่-๔ สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๗
§-๒ เฉินเหลียง เกิดที่มณฑลกวางตุ้ง มารดา ของ เฉินเหลียง เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับ มารดา ของ หยางจิ้งจุง บิดาของเฉินเหลียง เป็นขุนนางจีน ที่ มณฑลเซี่ยงไฮ้ และ มณฑลกว้างตุ้ง เคยเป็นกัปตันเรือสำเภาจีน ค้าขายกับต่างประเทศ ทำให้เฉินเหลียง มีอาชีพตามรอยบิดา ได้มาเป็นขุนนางจีน มีตำแหน่งเป็นกัปตันเรือสำเภาค้าขาย ของ พระเจ้ากรุงจีน กับต่างประเทศ โดยมี หยางจิ้งจุง ญาติลูกพี่ลูกน้อง เป็นรองกัปตันเรือ ต่อมาทั้งเฉินเหลียง และ หยางจิ้งจุง ถูกพระเจ้ากรุงจีน ตั้งกรรมการสอบสวน จึงขอลี้ภัยการเมือง มารับราชการอยู่ที่ประเทศสยาม
เฉินเหลียง ได้มารับราชการครั้งแรกที่กรมท่าซ้าย กรุงศรีอยุธยา มีตำแหน่งเป็น หลวงพิพิธวาที มีตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำสงครามกอบกู้เอกราช เฉินเหลียง จึงเป็นแม่ทัพใหญ่ที่สำคัญคนหนึ่ง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สมัยกรุงธนบุรี เคยดำรงตำแหน่ง เจ้าพระยาโกษาธิบดี และเป็น เจ้าพระยาราชาเศรษฐี ปกครองเมืองบันทายมาศ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกยึดอำนาจ ได้มาใช้ชีวิตบั้นปลายที่ปากน้ำท่ากระจาย เมืองท่าชนะ จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม
§-๓ หนังสือสายตระกูล เจ้าพระยาพิชัยไอยสวรรค์ หยางจิ้งจุง เขียนรวบรวมโดย นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ กล่าวว่า หยางจิ้งจุง เกิดที่มณฑลยูนนาน บิดารับราชการเป็นขุนนางจีนที่มณฑลยูนนาน ส่วนมารดา เป็นพี่น้องท้องเดียวกันกับมารดา ของ เฉินเหลียง ในวัยเด็ก ได้ไปเป็นลูกจ้างในเรือสำเภาค้าขายของจีน กับ บิดาของเฉินเหลียง เคยไปทำงานในอู่ต่อเรือสำเภาจีน ที่เกาะไหหลำ เคยไปรับราชการที่กรุงปักกิ่ง แล้วย้ายมารับราชการอยู่ที่ มณฑลเซี่ยงไฮ้ และ มณฑลกวางตุ้ง ต่อมาได้ไปรับราชการทำงานในเรือสำเภาค้าขาย ของ พระเจ้ากรุงจีน จนกระทั่งมีตำแหน่งเป็น รองกัปตันเรือสำเภาค้าขาย มี เฉินเหลียง เป็นกัปตันเรือ ต่อมาถูกร้องเรียน ถูกพระเจ้ากรุงจีน ตั้งกรรมการสอบสวน จึงขอลี้ภัยการเมือง มารับราชการอยู่ที่ประเทศสยาม เป็นผู้ปกครอง เมืองเบตุง แทนที่เจ้าเมืองปัตตานี
เมื่อ หยางจิ้งจุง มารับราชการอยู่ในประเทศสยาม เจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แต่งตั้งให้เป็น หลวงพิชัย เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองเบตุง เมื่อเกิดสงครามกับพม่า ได้เข้าร่วมทำสงครามกอบกู้เอกราชชาติไทย หยางจิ้งจุง เป็นแม่ทัพใหญ่คนหนึ่ง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าพระยาพิชัยไอยสวรรค์ และ เจ้าพระยาโกษาธิบดี ในปลายสมัยธนบุรี หยางจิ้งจุง ถูกหนังสือสนเท่ห์ ส่งไปยังพระเจ้ากรุงจีน ถูกใส่ความว่า เป็นผู้นำกองทัพเรือออกไปปล้นเรือสำเภาการค้าของประเทศจีน เพื่อนำไปทำสงครามกับพม่า พระเจ้ากรุงจีน จึงเรียกร้องให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ส่งตัวไปให้พระเจ้ากรุงจีน ลงโทษที่ประเทศจีน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงแสร้งทำพิธีเผาศพปลอม เพื่อสร้างข่าวว่า หยางจิ้งจุง เสียชีวิตแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ ไม่ยอมส่งตัวไปให้ประเทศจีนลงโทษ ต่อมาได้ไปใช้ชีวิตในบั้นปลายชีวิต ที่บ้าเกาะไผ่ เมืองคันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน จนกระทั่งได้ไปเสียชีวิตที่เกาะไหหลำ ในต้นรัชกาลที่-๓
§-๔ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พิมพ์ครั้งที่-๔ สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๖
§-๕ เรื่องราวที่หม่อมนกเอี้ยง ถูกหนังสือฎีการ้องทุกข์ ถึง สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เป็นเรื่องราวมาจาก บุตรชายของผู้นำชุมชนแขวงเมืองท่าชนะ ไปรังแกสหายของ ด.ช.พ่วง ในขณะที่ ด.ช.พ่วง ไปเป็นลูกจ้างในเรือสำเภาจีน ดังนั้นเมื่อ ด.ช.พ่วง กลับมาที่เมืองท่าชนะ และทราบเรื่องจึงขี่ม้าเดินทางไปสอบถาม จึงมีการท้าต่อยกันขึ้นที่ทุ่งลานช้าง ครั้งแรก ด.ช.พ่วง ถูกรุมชกต่อย บาดเจ็บ กลับมาให้หม่อมนกเอี้ยง รักษาแผล ครั้งที่สอง ด.ช.พ่วง พร้อมสหาย นัดชกต่อย ตัวต่อตัวกับ บุตรชายผู้นำชุมชนแขวงเมืองท่าชนะ ที่ทุ่งลานช้าง ผลปรากฏว่า บุตรชายผู้นำแขวงเมืองท่าชนะ พ่ายแพ้ และบาดเจ็บ จึงมาฟ้องร้องต่อ นายต้า แซ่ลิ้ม บิดาของ ด.ช.พ่วง เป็นที่มาให้ ด.ช.พ่วง ถูกบิดาเฆี่ยนตี และต่อมาเรื่องความขัดแย้งดังกล่าว ยังไม่ยุติ เพราะมีการทำฎีการ้องทุกข์ไปยังสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในเวลาต่อมา เป็นที่มาให้ หม่อมนกเอี้ยง ต้องหลบหนีไปอยู่ที่ เมืองนครศรีธรรมราช
§-๖ วัดศรีราชัน ตั้งอยู่ที่บ้านดอนธูป หมู่ที่ ๓ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี จากการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เชื่อได้ว่า วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๐ เป็นวัดแรกที่เกิดขึ้นในท้องที่ จ.สุราษฎร์ธานี เพราะก่อนหน้าในสมัยนั้น มีเพียงสำนักสงฆ์เท่านั้น วัดศรีราชัน เกิดขึ้นในปลายสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์เชิงภูเขา หรือ ราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ในช่วงเวลาดังกล่าว
วัดศรีราชัน เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างชนชาติไทย ด้วยกันเอง มีสาเหตุมาจาก ท้าวปรารพ(พระยากง) สมกับกับรัฐของชนชาติมอญ ร่วมกันแบ่งปันดินแดนสุวรรณภูมิไปปกครอง เรียกชื่อรัฐใหม่ว่า สหราชอาณาจักรทวาราวดี ขึ้นมาปกครองแทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งเป็นรัฐของชนชาติไทยมาเก่าก่อน โดยการทำตอแหล พูดความจริงส่วนหนึ่ง ความเท็จอีกส่วนหนึ่ง ทำให้ชนชาติไทยแตกแยกกันเองอย่างรุนแรง ในที่สุดรัฐของชนชาติมอญได้ทำการหักหลังท้าวปรารพ(พระยากง) ด้วยการทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครองแทนที่ชนชาติไทย ทำให้ชนชาติไทยต้องสูญเสียดินแดนสุวรรณภูมิไปให้ชนชาติมอญ ไปครอบครองจำนวนมาก
ที่อาณาจักรหงสาวดี เป็นรัฐที่กษัตริย์ชนชาติไทยสร้างขึ้นมาก่อน ขึ้นต่อการปกครองของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ต่อมารัฐนี้ปกครองโดย ขุนศรีธรนนท์ พระราชโอรส ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) กับ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ได้ถูกกองทัพมอญ เข้ายึดครองด้วยเช่นกัน ขุนศรีธรนนท์ ต้องอพยพไพร่พลชนชาติไทย จำนวน ๓๐,๐๐๐ คน เดินทางรอนแรม ๓ เดือน มาที่ภูเขาชวาปราบ(ภูเขาคันธุลี) เมืองคันธุลี แล้วตั้งตนปกครองอาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรทวาราวดี เป็นที่มาให้ ท้าวเทพนิมิต ซึ่งเป็นมหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ต้องยกกองทัพเข้าปราบปรามกองทัพ ของ ขุนศรีธรนนท์ ที่เมืองคันธุลี กองทัพทั้งสองปะทะกันที่ปากคลองวัง เมืองหนองหวาย กองทัพของพระนางอุษา(แม่นางส่ง) และกองทัพของ ขุนศรีธรนนท์ พ่ายแพ้สงครามแก่กองทัพ ของ ท้าวเทพนิมิต ณ สมรภูมิท่าน้ำปากคลองวัง ท่าน้ำดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ท่าชนะ เมืองหนองหวาย ก็ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เมืองท่าชนะ ตั้งแต่นั้นมา ขุนศรีธรนนท์ จึงยอมขึ้นต่ออำนาจของ ท้าวเทพนิมิต ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อท้าวเทพนิมิต ชนะสงคราม ก็ได้ใช้เมืองคันธุลี เป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่เมืองปัตตานี แล้วสั่งให้ กษัตริย์รัฐต่างๆ ร่วมกันสร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองคันธุลี เพื่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างกัน เมื่อสร้างวัดเสร็จก็พระราชทานนามว่า วัดศรีราชัน ส่วนประชาชนทั่วไปเห็นว่า ท้าวเทพนิมิต เป็นผู้สั่งให้กษัตริย์รัฐต่างๆ ร่วมกันสร้างขึ้น จึงเรียกชื่อว่า วัดสั่งประดิษฐ์ หลังจากสร้างวัดเสร็จ ท้าวเทพนิมิต ก็เปลี่ยนชื่อเมืองคันธุลี เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองศรีพุทธิ พร้อมกับได้ส่งราชทูตไปแจ้งให้พระเจ้ากรุงจีน ให้รับทราบเมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๑ ศาสตราจารย์ ดร.หวัง กูหวู่ นักประวัติศาสตร์จีน ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ และพบหลักฐานว่า เมืองศรีพุทธิ ตั้งอยู่ที่เดียวกันกับ เมืองเกียโลหิต หรือ เมือง ครหิต หรือ เมืองคลองหิต คือเมืองเดียวกันกับ เมืองคันธุลี ในปัจจุบัน นั่นเอง
ผู้สูงอายุเชื่อกันว่า ถ้าวัดศรีราชัน เสื่อมโทรม ประชาชนในประเทศ จะแตกแยกกันมาก จะทำตอแหลกันมาก ประชาชนในสยามประเทศ จะหาความจริงยาก ความยุติธรรม จะไม่เกิด และถ้าวัดนี้ร้างเมื่อใด ประเทศไทย จะเสียดินแดนสุวรรณภูมิ ทุกครั้ง
§-๗ วังท้าวเทพนิมิต เกิดขึ้นหลังสงครามท่าชนะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ วัดศรีราชัน เกิดขึ้นเมื่อท้าวเทพนิมิต ใช้เมืองคันธุลี(ศรีพุทธิ) เป็นราชธานี แทนที่ เมืองปัตตานี เมื่อท้าวเทพนิมิต สวรรคต ณ เขากง นราธิวาส ด้วยถูกท้าวปรารพ(พระยากง) ฆ่าทิ้ง พระราชวังเทพนิมิต ได้ร้างไป และมีการรื้อฟื้นขึ้นใช้หลายครั้ง สมัยต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไปใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นพระราชวังที่ประทับ จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า วังเจ้าตาก มีการจัดงานวันชาติสยาม ฉลองการทำสงครามกอบกู้เอกราชในพื้นที่ดังกล่าวในช่วง วันสงกรานต์ เป็นประจำทุกๆ ปี ได้มายกเลิกเมื่อประมาณ ๕๐ ปี มานี้ ต่อมา นายส้วง ได้ไปตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ดังกล่าว จึงมีการเรียกชื่อใหม่ว่า ดอนตาส้วง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
บทที่-๔
ชีวิตการรับราชการของ สมเด็จพระเจ้า
ตากสินฯ
หม่อมนกเอี้ยง มอบนายพ่วง ให้เป็นบุตรบุญธรรม ของ
พระยาราชบังสันมุกดา
เมื่อครบ ๑ ปี ตามสัญญาที่นายพ่วง ต้องการเรียนรู้วิชาตาผ้าขาว เป็นพื้นฐานที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สามารถตรัสภาษาลาวได้อย่างคล่องแคล่ว ดังนั้นเมื่อครบเวลาตามที่กำหนด ตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับ หม่อมนกเอี้ยง ไว้ นายพ่วงก็เดินทางกลับมาพบมารดา ณ บ้านวังเทพนิมิต ข้างวัดศรีราชัน ก็ทราบว่า น้องสาว(ประยงค์) มีอายุ ๑๗ ปี (พ.ศ.๒๒๙๖) กำลังจะแต่งงานกับ ขุนหลวงอินรองเมือง (บุญรอด) ปลัดเมืองไชยา ซึ่งเป็นบุตรชายคนหนึ่ง ของ พระยาราชบังสัน (มุกดา) จากภรรยา ๔ คน และขุนหลวงอินรองเมือง เป็นน้องชายต่างมารดากับ นายรุก นายบุนนาค นายบุญเมือง และ พระยาไชยาบุญชู อีกด้วย
ในงานแต่งงานของน้องสาว นายพ่วง นั้น หม่อมนกเอี้ยง ได้ติดต่อกับ หม่อมดาว และ พระยาราชบังสัน(มุกดา) เจ้าเมืองธนบุรี เพื่อให้นำนายพ่วงไปฝากฝังเป็นมหาดเล็ก ที่กรุงศรีอยุธยา โดยมอบให้ นายพ่วง เป็นบุตรบุญธรรม ของ พระยาราชบังสันมุกดา ¨-๑ เจ้าเมืองธนบุรี โดยนัดหมายส่งตัว นายพ่วง ให้กับ พระยาราชบังสัน (มุกดา) ที่บ้านหม่อมดาว สี่แยกท่าโพธิ์ เมืองไชยา โดยมีตาผ้าขาวพราหมณ์ไชยเวช เดินทางไปกับเรือสำเภาเพื่อส่งตัวนายพ่วง ด้วย ในวันเดินทาง พระอาจารย์เจ้าอาวาดวัดศรีราชัน ได้มอบดาบขุนฤทธิ์ ซึ่งเคยให้ยืม และเชื่อว่ามีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ สิงห์อยู่ในดาบดังกล่าว ให้ใช้เป็นอาวุธประจำกาย แก่ นายพ่วง ซึ่งได้ใช้เป็นดาบคู่กายในการใช้ต่อสู้กับ ข้าศึกพม่า เพื่อการกอบกู้เอกราช ในเวลาต่อมา
หม่อมนกเอี้ยง สั่งเสียให้นายพ่วง ให้ไปช่วยสืบหาที่อยู่ของบิดา ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น นายหยุง แซ่ลิ้ม ที่เมืองธนบุรี ด้วย หากขาดเงินทองให้ไปหาญาติตระกูลเจิ้ง ที่บ้านท่าดินแดง กรุงศรีอยุธยา หรือให้ขอเงินจากบิดา ที่ไปได้ภรรยาใหม่¨-๒ เนื่องจาก นายพ่วง ไม่พอใจบิดา ที่ทอดทิ้งหม่อมนกเอี้ยง นายพ่วง จึงปฏิเสธที่จะไปพบกับบิดา แต่หม่อมนกเอี้ยง พยายามสร้างความเข้าใจไม่ให้นายพ่วง ชิงชังบิดา ในที่สุดนายพ่วง ก็รับปากหม่อมนกเอี้ยง จะช่วยสืบหาที่อยู่ของบิดา ตามที่หม่อมนกเอี้ยง ร้องขอ
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รู้จักกับ นายทองด้วง ครั้งแรก ณ
ปากแม่น้ำแม่กลอง
หนังสือเล่าเรียนทางประวัติศาสตร์ที่เล่าเรียนกันมา กล่าวตรงกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในขณะที่ได้มาเป็นมหาดเล็กที่กรุงศรีอยุธยานั้น ได้มาเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาจักรี และเป็นพระสหายรุ่นพี่ ของ พระพุทธยอดฟ้าฯ(ทองด้วง) รู้จักกันในขณะที่มารับราชการเป็นมหาดเล็ก ที่กรุงศรีอยุธยา
การเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นั้น เกิดขึ้นหลังจากงานแต่งงานของน้องสาวของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งมีชื่อว่า ประยงค์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์จริงเมื่อปี พ.ศ.๒๒๙๖ โดยหม่อมนกเอี้ยง ได้นัดหมายกับ พระยาราชบังสัน(มุกดา) เพื่อให้ส่งตัวบุตรชาย นายพ่วง ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ณ ท่าเรือปากบางน้อย เมืองไชยา หลังจากนั้นเรือสำเภาของพระยาราชบังสันมุกดา จะแวะจอดทอดสมอที่ปากแม่น้ำแม่กลอง เพื่อรับ นายทองด้วง ซึ่งถูก แม่ดาวเรือง ฝากฝังให้เป็นบุตรบุญธรรม ของ พระยาราชบังสันมุกดา เช่นกัน ทั้งสองท่าน ได้เดินทางไปสมัครเป็นมหาดเล็ก ที่กรุงศรีอยุธยา ด้วยกัน
เมื่อเรือสำเภา ของ พระยาราชบังสันมุกดา เดินทางมาจอดทอดสมอที่ปากแม่น้ำแม่กลอง เมืองสมุทรสงคราม เพื่อรับ นายทองด้วง เดินทางไปเป็นมหาดเล็ก ด้วยนั้น นายพ่วง ได้พบครั้งแรกกับ นายทองด้วง ซึ่งแม่ดาวเรือง มารดาของนายทองด้วง นำคณะกลองยาวร้องรำทำเพลง นำหน้าขบวนเพื่อมาส่ง นายทองด้วง ที่ท่าเรือปากแม่น้ำแม่กลอง ด้วย นายพ่วง จึงทราบว่า มารดาของนายทองด้วง คือ แม่ดาวเรือง ได้ฝากฝังนายทองด้วง ไปเป็นมหาดเล็กที่กรุงศรีอยุธยา ด้วย
แม่ดาวเรือง นั้นเคยสมรสมาก่อนแล้ว มีลูกติดมา ๒ คนๆ หนึ่งคือ พระยาสรรค์ คนหนึ่ง ต่อมาสามีของแม่ดาวเรือง เสียชีวิต แม่ดาวเรืองจึงได้มาสมรสใหม่ กับ นายทองดี คือบิดาของ นายทองด้วง มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๕ ท่าน คือ นางสา ขุนรามณรงค์ นางแก้ว นายทองด้วง และ นายบุญมา
เมื่อพระยาราชบังสันมุกดา ได้รับ นายทองด้วง ขึ้นเรือสำเภา พระยาราชบังสันมุกดา ซึ่งมีตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวท เดินทางมาที่กรุงธนบุรี ด้วย ทำให้ นายพ่วงซึ่งได้รู้จักกับ นายทองด้วง ครั้งแรก ณ ที่ปากแม่น้ำแม่กลอง ในขณะเดินทางนั่งพักบนเรือสำเภา ตาผ้าขาวชีพราหมณ์ไชยเวช ได้เป็นโหร ได้ตรวจดวงชะตา และดูลายมือ ของ นายพ่วง และ นายทองด้วย ได้ทำนายว่า นายพ่วง และ นายทองด้วง จะได้เป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรเสียม-หลอ ในอนาคต ทั้ง ๒ ท่าน
เมื่อเรือสำเภาเดินทางมาถึงเมืองธนบุรี พระยาราชบังสันมุกดา ซึ่งได้รับนายพ่วง และนายทองด้วง เป็นบุตรบุญธรรม ได้ถูกนำไปฝึกวิชาทหารที่เมืองธนบุรี ก่อนที่จะนำไปฝากตัวเป็นมหาดเล็ก ที่กรุงศรีอยุธยา ส่วนตาผ้าขาวไชยเวช นั้น ต่อมาก็ถูกฝากฝังให้ทำงานในกรมวัง เพื่อช่วยงานพิธีกรรมทางพราหมณ์ ณ พระราชวังหลวงของ กรุงศรีอยุธยา ด้วย
นายพ่วง และ นายทองด้วง ฝึกวิชาทหารที่ เมืองธนบุรี
พระยาราชบังสันมุกดา แม่ทัพเรือ และ เจ้าเมืองธนบุรี ได้นำ นายพ่วง และ นายทองด้วง ไปฝึกวิชาการทหารที่เมืองธนบุรี เพื่อเตรียมตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก มีเรื่องเล่าว่า อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และ กรมขุนพรพินิจ(เจ้าฟ้าอุทุมพร) เสด็จมาทอดพระเนตรโรงสีลม ของ ขุนพัฒน์ ที่ทุ่งสีลม และได้มาทอดพระเนตรการฝึกทหารมหาดเล็ก ที่เมืองธนบุรี ด้วย พระยาราชบังสันมุกดา จึงได้มอบให้ นายพ่วง และ นายทองด้วง สาธิตการนำทหารเข้ายึดป้อมค่ายทหารจำลอง ที่เมืองธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และ เจ้าฟ้าอุทมพร พบเห็น นายพ่วง ชอบวางแผนนำทหารเข้าตีป้อมค่ายทหาร จึงโปรดเกล้าให้ พระยาราชบังสันมุกดา นำนายพ่วง และ นายทองด้วง ให้ทดลองวางแผนนำกองทัพเข้าตีป้อมวิชัยประสิทธิ์ ที่เมืองธนบุรี ทดลองให้ นายพ่วง เป็นแม่ทัพ และ นายทองด้วง เป็นรองแม่ทัพ ผลปรากฏว่า นายพ่วง สามารถนำกำลังทหารเข้ายึดป้อมวิชัยประสิทธิ์ เป็นผลสำเร็จ เป็นที่พอพระทัยของ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และ กรมขุนพรพินิจ(เจ้าฟ้าอุทมพร) มาก ทำให้ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงโปรดปราน นายพ่วง และ นายทองด้วง ทั้งสองคนมาก ตั้งแต่นั้นมา
ภาพที่-๗ ภาพถ่ายป้อมวิชัยประสิทธิ์ เมืองธนบุรี ก่อนบูรณะ
ขณะที่ นายพ่วง ฝึกวิชาทหารอยู่ที่เมืองธนบุรี นั้น ได้สืบทราบหาที่อยู่ของบิดา นายต้า แซ่ลิ้ม ก็ทราบข่าวว่า บิดาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น นายหยุง แซ่ลิ้ม และเป็นเจ้าของโรงสีลม อยู่ที่ทุ่งสีลม มีฐานะร่ำรวยมาก บิดา ได้ภรรยาใหม่ ทำการค้าขายและเลี้ยงดูบุตรธิดาอยู่ที่ท่าน้ำราชวงศ์ นายพ่วง จึงมีพี่น้องต่างมารดา เพิ่มขึ้นอีกหลายคน นายพ่วง จึงเขียนจดหมายฝากผ่าน ขุนท่องสื่อ(ขุนฤกษ์) แจ้งเรื่องให้หม่อมนกเอี้ยง รับทราบ เป็นที่มาให้หม่อมนกเอี้ยง ต้องตัดความสัมพันธุ์ กับ สามีนายหยุง แซ่ลิ้ม ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อนายพ่วง และ นายทองด้วง ผ่านการวิชาฝึกวิชาทหาร มาจากเมืองธนบุรีแล้ว ก็ได้ไปอบรมวิชากฎหมาย และเรียนรู้ราชประเพณีต่างๆ ที่กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ เพื่อขึ้นไปชำระความตามหัวเมืองเหนือ ขึ้นกับกรมขุนพรพินิจ(เจ้าฟ้าอุทมพร) ที่กรุงศรีอยุธยา มหาดเล็กสิน เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ทางด้านกฎหมาย ทรงว่าความด้วยความเด็ดขาด ซื่อตรง ยุติธรรม ไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพลใดๆ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สั่งสอนลูกหลาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เสมอมาว่า กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ ถ้าใช้กฎหมายเพื่อรักษาอำนาจตนเอง หรือทำลายอำนาจผู้อื่น สังคมจะไม่สงบสุข ประเทศชาติจะขาดความสามัคคี
พระยาจักรี(มุกดา) เปลี่ยนชื่อ นายพ่วง เป็น นายสิน
ในปี พ.ศ.๒๒๙๖ พระยาราชบังสันมุกดา ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงขึ้นเป็น พระยายมราชมุกดา ต้องไปว่าราชการที่กรุงศรีอยุธยา ส่วนพระยาไชยาบุญชู ซึ่งมีอายุได้ ๒๒ ปี ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงขึ้นเป็น พระยาราชบังสันบุญชู เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองธนบุรี ด้วย ส่วนขุนหลวงอินทร์รองเมือง(บุญรอด) น้องเขยนายพ่วง ได้เป็นพระยาไชยา และนายรุก พี่น้องต่างมารดาของ นายบุญชู ก็ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น ปลัดเมืองไชยา
ขณะนั้น นายบุญรอด ตั้งที่ว่าราชการเมืองอยู่ที่ บ้านสงขลา ส่วนหลวงอินทร์รองเมือง(บุญรอด) สามีของ นางประยงค์ น้องสาวของ นายพ่วง นั้น เป็นเจ้าเมืองไชยา ไม่นาน ก็ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงขึ้นเป็น พระยาอินทร์รักษา หรือ พระยาตะกั่วป่า นายรุก ก็ได้ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมืองไชยา แทนที่ สำหรับนายบุญรอด เจ้าเมืองตะกั่วป่า นั้น เป็นบิดาของ พระเจ้าหลานเธอ เจ้านราสุริยะวงศ์ ผู้เป็นราชาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยกรุงธนบุรี นั่นเอง
ในปีเดียวกัน(พ.ศ.๒๒๙๖) พระยาจักรีครุฑ หรือ มหาหุมตาไฟ ซึ่งเป็นบิดาของ พระยายมราชมุกดา ถึงแก่กรรม เป็นเหตุให้ พระยายมราชมุกดา ได้รับโปรดเกล้า แต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงขึ้นเป็น พระยาจักรีมุกดา ในช่วงเวลาดังกล่าว พระยาจักรีมุกดา พิจารณาเห็นว่า นายพ่วง เป็นผู้นำลาภมาให้ตนเองมีตำแหน่งและทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้เปลี่ยนชื่อ นายพ่วง เป็น นายสิน รับราชการอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยา
พระยาราชบังสัน(บุญชู) เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลาม
มาเป็นศาสนาพุทธ
นายบุญชู เป็นพระสหายรุ่นพี่ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญผู้หนึ่งในการทำสงครามกอบกู้เอกราช นายบุญชู เป็นบุตรของ นายมุกดา กับ หม่อมดาว ทางนายมุกดา นั้น นับถือศาสนาอิสลามสายชีอะ สืบทอดสายสกุลมาจากโมกุล กับ พระนางน้ำเงิน ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ของ พระนเรศวรฯ เมื่อนายมุกดา สมรสกับหม่อมดาว นั้น หม่อมดาว ไม่ยอมเข้ารีต นับถือศาสนาอิสลาม จึงแยกออกมาตั้งบ้านเรือนที่พักอยู่ที่ บริเวณโรงเรียนสารภีอุทิศ สี่แยกท่าโพธิ์ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน
หม่อมดาว มีบุตรธิดา กับ นายมุกดา ๓ คน คือ นางบุญนอบ นายบุญชู และ นายบุญเมือง ทั้งสามคน นับถือศาสนาแตกต่างกันตั้งแต่วัยเด็ก นางบุญนอบ นับถือศาสนาพุทธ มาตั้งแต่วัยเด็ก จึงอาศัยอยู่กับหม่อมดาว ที่สี่แยกท่าโพธิ์ เมืองไชยา เมื่อโตเป็นสาวได้สมรสกับเจ้าเมืองจันทร์บูรณ์(บุญหลาน) นางบุญนอบ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสายราชวงศ์เจ้าฟ้ากุ้ง และ เจ้าฟ้าแขก เป็นอย่างมาก เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา นางบุญนอบ ได้สนับสนุน เจ้าฟ้าแขก และ เจ้าฟ้าจุ้ย โอรสของเจ้าฟ้ากุ้ง ให้เป็นกษัตริย์ ของ ราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ กรุงศรีอยุธยา จึงเป็นที่มาให้สมเด็จพระเจ้าศรีสรรเพชร(สิน) ต้องนำกองทัพของราชอาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี เข้ายึดครองเมืองจันทร์บูรณ์ ในเวลาต่อมา
นายบุญชู และ นายบุญเมือง นับถือศาสนาอิสลาม สายชีอะ มาตั้งแต่วัยเด็ก จึงพักอยู่ที่จวนว่าราชการเมืองไชยา ที่บ้านสงขลา เนื่องจาก นายบุญชู ขัดแย้งรุนแรงกับ นายรุก พี่น้องต่างมารดา มาตั้งแต่วัยเด็ก ส่วนนายบุญเมือง น้องชายนายบุญชู นั้น มีความสนิทสนมกับนายรุก มาก เมื่อกรุงศรีอยุธยา ราชธานี ของ ราชอาณาจักรละโว้ เสียแก่พม่า นั้น นายบุญเมืองเป็น พระยาระยอง ขณะนั้นนายรุก ถูกจับเป็นเชลยศึก ยอมสวามิภักดิ์ต่อพม่า ทำให้นายบุญเมือง ซึ่งสนิทสนมกับนายรุก ได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อพม่า
สำหรับนายบุญชู นั้น เมื่อเป็นมหาดเล็ก มีตำแหน่งเป็นหลวงศักดิ์นายเวร ต่อมามีตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้มาเป็นปลัดเมืองไชยา เป็นเจ้าเมืองไชยา และได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระยาราชบังสัน(บุญชู) ซึ่งต้องมาปกครองเมืองธนบุรี ด้วย ขณะที่นายบุญชู มาปกครองเมืองธนบุรี นั้น ได้เกิดรักใคร่ชอบพออยู่กับ หม่อมสุณี หญิงสาวผู้ดีเชื้อสายราชวงศ์กรุงศรีอยุธยา จึงถูก หม่อมสุณี ยื่นเงื่อนไขให้เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลาม มานับถือศาสนาพุทธ จึงจะยอมแต่งงานด้วย เป็นเหตุให้ให้พระยาราชบังสัน(บุญชู) ต้องตัดสินใจออกบวชในบวรพระพุทธศาสนา ๗ วัน ณ เมืองธนบุรี เพื่อเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา โดยการสนับสนุนของหม่อมดาว ผู้เป็นมารดา ต่อมานายบุญชู ได้สมรสกับหม่อมสุณี ตามคำมั่นสัญญา มีบุตรชาย ๓ คน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในสมัยธนบุรี คือ พระยายมราช(จุ้ย) , พระยาวิสูตรสงครามรามภักดี(บุญยัง) และ พระยาราชบังสัน(หวัง) และมีธิดาอีก ๑ คน คือ หม่อมสารภี(ชื่น) นั่นเอง
มหาดเล็กสิน ได้รับโปรดเกล้า ให้ดำรงตำแหน่ง
พระยาตากสิน ปกครองเมืองตาก
มหาดเล็กสิน และ มหาดเล็กทองด้วง รับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่กับ กรมขุนพรพินิจ(เจ้าฟ้าอุทมพร) ไม่นาน ตำแหน่งผู้ปกครองเมืองตาก ว่างลง เนื่องจาก พระเจ้าบรมโกศ และกรมขุนพรพินิจ เคยประทับใจที่ มหาดเล็กนายสิน และ มหาดเล็กนายทองด้วง เคยแสดงความสามารถนำกำลังทหารเข้ายึดป้อมวิชัยประสิทธิ์ เป็นผลสำเร็จ เป็นที่พอพระทัยของ พระเจ้าบรมโกษ และ กรมขุนพรพินิจ(เจ้าฟ้าอุทมพร) มาก ทำให้ทั้งสองพระองค์ ทรงโปรดปรานมหาดเล็กทั้งสองพระองค์ เมื่อเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กที่กรุงศรีอยุธยา มาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อตำแหน่งเจ้าเมืองตาก ว่างลง กรมขุนพรพินิจ จึงเสนอให้ มหาดเล็กสิน และ มหาดเล็กทองด้วง ไปปกครองเมืองตาก โดยการสนับสนุนจาก พระยาจักรีมุกดา
พระเจ้าบรมโกศ ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ มหาดเล็กสิน เป็นพระยาตากสิน เป็นเจ้าเมืองตาก ส่วนนายทองด้วง ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นปลัดเมืองตาก ทั้งสองพระองค์ จึงมีชีวิตที่ผูกพันธุ์กันเรื่อยมา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลัง มักจะตัดตอนโดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า มหาดเล็กทองด้วง ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองราชบุรี แท้ที่จริงแล้ว มหาดเล็กทองด้วง เคยเป็นปลัดเมืองตาก มาก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้า แต่งตั้งให้เป็นยกบัตร เจ้าเมืองราชบุรี อีกครั้งหนึ่ง สภาพที่ มหาดเล็กทองด้วง เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ของ มหาดเล็กสิน มาก่อน จึงเป็นที่มาให้ นายทองด้วง ให้ความเคารพนับถือ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาโดยตลอด
พระยาตากสิน ปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน
อาสาปราบขุนนางชั่ว ฉ้อราษฎร์บังหลวง
พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ ได้กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดิมชื่อ จีนแจ้ง เป็นพ่อค้าเกวียน มีความชอบในแผ่นดิน ได้ไปเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ ณ เมืองตาก พงศาวดารฉบับนี้ยังกล่าวถึงคำทำนายของมหาโสภิต ซึ่งอ้างถึงความวิบัติในอนาคตของบ้านเมือง อันจะเกิดจากที่พม่า ยกทัพใหญ่มาตีพระนคร ในคำทำนายนั้น จะอ้างถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กล่าวว่า เป็นชายพ่อค้าเกวียน¨-๓จดหมายเหตุความทรงจำ ของ กรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งเรียกสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ว่า แผ่นดินต้น ก็กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ก็เคยเป็นพ่อค้าเกวียน เช่นเดียวกัน หลักฐานเกี่ยวกับพระราชประวัติของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ อีกหลายฉบับ ล้วนกล่าวตรงกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยเป็นพ่อค้าเกวียน ทั้งสิ้น
การที่สมเด็จพระยาตากสินฯ ต้องไปเป็นพ่อค้าเกวียน เนื่องมาจากสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(สมเด็จเจ้าฟ้าเอกทัศน์) ได้ทำการส้องสมกำลัง ทำการชุบเลี้ยงขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ชอบประจบสอพลอ และ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อส่งส่วยให้กับพระองค์ จึงเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวง และมีการปล้นสะดมพ่อค้าระหว่างเมือง เกิดความไม่สงบสุขขึ้นโดยทั่วไปในดินแดนราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา
เมื่อย้อนเหตุการณ์กลับไปในขณะที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นมหาดเล็กที่กรุงศรีอยุธยา นั้น ที่ราชอาณาจักรพม่า มีชาวพม่าคนหนึ่งชื่อ “มังอองใจยะ” เป็นกำนันอยู่ที่บ้านนายพราน(มุตโซโบ) รวบรวมไพร่พลจากจุดเริ่มต้นเพียง ๔๐ คน คอยปล้นขุนนางมอญที่คอยเก็บส่วย ส่งให้กับพระเจ้าอังวะ จนมีทรัพย์สินและไพร่พลมากมาย และได้ประกาศตั้งตัวเป็นกษัตริย์อยู่ที่ “เมืองรัตนะสิงห์” ต่อมาได้นำกองทัพเข้ายึดครองเมืองอังวะ ได้สำเร็จ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๒๙๖ และได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ของประเทศพม่า มีพระนามว่า “พระเจ้าอลองพญา” และเตรียมสะสมกำลังทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองหงสาวดี ของพวกมอญ ในเวลาต่อมา
เนื่องจากเมืองมะริด และ เมืองตะนาวสี เป็นเมืองท่าที่ค้าขายชายฝั่งทะเลตะวันตก เมืองหนึ่ง ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา หรือ ประเทศสยาม กับต่างประเทศ จึงสามารถเก็บภาษีต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) จึงได้ส่งขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่เป็นพรรคพวกของพระองค์ที่ชอบประจบสอพลอ และมุ่งเน้นแต่การฉ้อราษฎร์บังหลวง เข้าไปปกครองเมืองทั้งสอง
ขุนนางอำมาตย์ชั่ว เมืองมะริด ได้ร่วมมือกับ ขุนนางอำมาตย์มอญ เมืองทวาย เข้าไปปล้นสะดมเมืองต่างๆ ในการปกครองของพระเจ้าอลองพญา และนำทรัพย์สินที่ได้รับมาแบ่งปันกัน ทรัพย์สินดังกล่าวได้ถูกแปลงเป็นส่วยเพื่อส่งให้กับ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) ที่กรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด นอกจากนั้น เมืองต่างๆ อีกจำนวนมากซึ่งมีขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้ปกครองอยู่นั้น ล้วนเลี้ยงโจรปล้นสะดมพ่อค้า ซึ่งเดินทางค้าขายระหว่างเมือง เพื่อส่งส่วยมาให้กับกรมขุนอนุรักษ์มนตรี ที่กรุงศรีอยุธยา ด้วย
ภาพที่-๘ ภาพถ้วยชามจีนที่พระยาตากสิน สั่งนำเข้ามาจากประเทศจีน เพื่อเป็นสินค้าขาย เมื่อต้องมาปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน เพื่อปราบโจรของขุนนางอำมาตย์ชั่ว
ในปีถัดมา(พ.ศ.๒๒๙๗) สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้เรียกขุนนางอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ มาเข้าเฝ้า เพื่อให้จัดหาขุนนางอาสาปราบโจรที่มีการปล้นพ่อค้าเกวียน ที่ค้าขายระหว่างเมือง แต่ไม่มีขุนนางผู้ใดกล้ายื่นอาสาสมัคร เพราะกลัวกระทบกับอำนาจ ของ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เอกทัศ) เป็นที่มาให้ พระยาจักรีมุกดา และ พระยาเพชรบุรีตาล ซึ่งเป็นสามีของ หม่อมอั๋น น้องสาวของหม่อมนกเอี้ยง ได้เรียก พระยาตากสิน ให้เดินทางมาพบที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเสนอให้ พระยาตากสิน อาสาปราบโจร โดยการปลอมตัวเป็น “พ่อค้าเกวียน” เหล่านี้คือที่มาของชีวิตสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ผันแปรมาเป็น พ่อค้าเกวียน ครั้งหนึ่งในชีวิต
ขณะนั้น พระยาตากสิน มีพระชนมายุเพียง ๒๐ พรรษา ถึงวัยที่จะต้องออกผนวช เป็นพระภิกษุ ตามราชประเพณี และเมื่อลาสิขาก็จะต้องแต่งงาน แต่เนื่องจาก พระยาตากสิน ทรงมองเห็นผลประโยชน์ของบ้านเมือง สำคัญกว่าผลประโยชน์ส่วนตน จึงอาสาปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน ค้าขายระหว่างเมือง และมอบให้นายทองด้วงปลัดเมืองตาก รักษาการ ว่าที่พระยาตาก ผู้ปกครองเมืองตาก แทนที่
เมื่อพระยาตากสิน มาเป็นพ่อค้าเกวียน ก็ต้องเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา แล้วปล่อยข่าวว่า พระองค์ถูกปลดออกจากราชการเรียบร้อยแล้ว จึงฝากให้ บิดา(ขุนพัฒน์) หลวงพิพิธ(เฉินเหลียง) และหลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) ให้ช่วยติดต่อซื้อผ้าไหม และเครื่องถ้วยชามจีน มาค้าขาย และบอกกล่าวความเป็นจริงว่า พระองค์อาสาปราบโจรของ ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงต้องปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน ค้าขายสินค้าระหว่างเมือง นำเสื้อผ้า และเครื่องถ้วยชามจีน จากกรุงศรีอยุธยา เดินทางไปขายตามเมืองต่างๆ และซื้อสินค้าเกษตร จากเมืองต่างๆ มาขายที่ กรุงศรีอยุธยา และ เมืองใกล้เคียง อีกด้วย
พระยาตากสิน ปราบขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฉ้อราษฎร์บังหลวง
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีทุกฉบับ ซึ่งถูกเขียนปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลัง ไม่เคยกล่าวถึงพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ก่อนการเสวยราชย์สมบัติอย่างแท้จริง สร้างความกำกวมมาจนถึงปัจจุบัน แต่มีการทิ้งร่องรอยบางอย่างเกี่ยวกับอาชีพการเป็นพ่อค้าเกวียนของพระองค์ไว้อย่างอำพรางด้วย พงศาวดารฉบับพันจันนุมาศ ได้กล่าวถึงคำทำนายของมหาโสภิต ก่อนการเสียกรุงครั้งที่สองว่า “..จะมีชายลูกจีน คลองสวนพลู พ่อค้าเกวียนจะมาเป็นกษัตริย์ กอบกู้แผ่นดินกลับคืน…” ตามที่กล่าวมาแล้ว
หลักฐานต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาภายหลัง มีลักษณะเชิงโจมตีใส่ร้ายป้ายสี ในขณะที่พระยาตากสิน เคยเป็นพ่อค้าเกวียน ซ้ำร้ายเอกสารบางชิ้น เรียก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในเชิงดูถูกเหยียดหยามว่า “อีตาตาก” อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หลักฐานต่างๆ ล้วนยอมรับว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เคยใช้ชีวิตเป็นพ่อค้าเกวียน จริง แต่มิได้กล่าวถึงเบื้องหลังการเป็นพ่อค้าเกวียน
๑ ปี ที่พระยาตากสินฯ เคยใช้ชีวิตเป็นพ่อค้าเกวียน เพื่อสืบข่าวพวกโจร ซึ่งขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เลี้ยงไว้ ตามที่ได้รับมอบหมาย เหล่านี้คือข้อเท็จจริง ในขณะนั้นพระองค์เป็นพระยาตากสิน เจ้าเมืองตาก นั้น พระองค์ได้สร้าง หน่วยทหารม้า ใช้อาวุธปืนลูกซองยาว ทำการคุ้มครอง ควบคุมกองคาราวานเกวียนขายสินค้าไปค้าขายสินค้าตามเมืองต่างๆ ผลปรากฏว่า กองเกวียนค้าขาย ของ พระยาตากสิน ถูกขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่าย กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) ส่งโจรมาปล้นสะดมครั้งแล้วครั้งเล่า
พระยาตากสิน สามารถจับโจรได้หลายครั้งหลายคราว เมื่อนำมาสืบสวน ก็ทราบความจริงว่า เป็นพวกขุนนางอำมาตย์ชั่ว ในคณะกรรมการกรมการเมือง ของเมืองต่างๆ เป็นผู้เลี้ยงโจรให้มาปล้นสะดมพ่อค้าเกวียนที่ค้าขายระหว่างเมือง เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน ไปส่งส่วยให้กับ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) เพื่อหวังที่จะได้เป็นขุนนางอำมาตย์ ที่ได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เร็วขึ้น ราชอาณาจักรเสียม-หลอ หรือ ประเทศสยาม ในขณะนั้น จึงเต็มไปด้วยขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ประจบสอพลอ และฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งนี้เพราะขุนนางอำมาตย์ ต่างๆ ทราบดีว่า กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เป็นผู้ดูแลพระราชวังหน้า จะต้องขึ้นมาเป็นกษัตริย์ครองราชย์สมบัติ ต่อจาก พระเจ้าบรมโกศ อย่างแน่นอน
เมื่อพระยาตากสิน สามารถปราบโจรของขุนนางอำมาตย์ชั่ว สำเร็จ และสามารถจับโจรของขุนนางอำมาตย์ชั่ว ต่างๆ ส่งไปให้ เจ้าพระยาจักรี(มุกดา) , เจ้าพระยาอภัยราชา(เป็นบิดาของพระยาเพชรบุรีตาล) , พระยาเพชรบุรีตาล(สามีของหม่อมอั๋น ซึ่งเป็นน้องสาวของแม่นกเอี้ยง) และ พระยายมราช(บุญชู) สอบสวน ก็ทราบว่า ล้วนเป็นโจรของกลุ่มขุนนางอำมาตย์ชั่ว ของ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) เป็นผู้เลี้ยงโจรเสียเองทั้งสิ้น และมีข้อมูลต่อมาว่า พวกโจรต่างๆ ล้วนเป็นทหารของ เจ้าพระยาราชภักดี ซึ่งมีตำแหน่งสูงเป็นถึง สมุหนายก ผู้ใกล้ชิดกับ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) ในขณะนั้น นั่นเอง
เมื่อเจ้าพระยาจักรี(มุกดา) , เจ้าพระยาอภัยราชา , พระยาเพชรบุรี(ตาล) และ พระยายมราช(บุญชู) ได้ขอเข้าเฝ้าพระเจ้าบรมโกศ เพื่อรายงานเรื่องกลุ่มขุนนางอำมาตย์ชั่ว ซึ่งฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการส่งทหารเข้าไปเป็นโจรปล้นสะดมพ่อค้าระหว่างเมือง เพื่อส่งส่วยให้กับกรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) เป็นที่มาให้พระเจ้าบรมโกศ ทำการปลดขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ออกไปเป็นจำนวนมาก และทรงไม่พอพระทัย กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศน์) เป็นอย่างมากด้วย พระเจ้าบรมโกศ จึงรับสั่งให้ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) ออกผนวช และโปรดเกล้าให้ “กรมขุนพรพินิจ”(สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร) เป็น ว่าที่กรมพระราชวังบวร ดูแลวังหน้า แทนที่ เพื่อให้เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ในอนาคต
เหตุการณ์กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น พระเจ้าบรมโกศ มีรับสั่งให้ปลด “เจ้าพระยาราชภักดี สมุหนายก” ออกจากตำแหน่ง¨-๔ เพราะการเลี้ยงขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฉ้อราษฎรบังหลวง แล้วโปรดเกล้าแต่งตั้ง พระยาราชสุภาวดี (บ้านประตูจีน) เป็นว่าที่ สมุหนายก แทนที่ ส่วนพวกขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในครั้งนั้นอีกเป็นจำนวนมาก ได้นำพวกโจรที่เหลืออยู่ ได้หลบหนีไปตั้งรกรากที่เมือง มะริด และ เมืองตะนาวสี
ในขณะที่ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) ออกผนวช อยู่นั้น พระองค์ยังคงลักลอบสะสมกำลังอย่างลับๆ โดยร่วมมือกับ กรมหมื่นจิตรสุนทร(เจ้าชายโกมิตร) , กรมหมื่นสุนทรเทพ(เจ้าชายรถ) และ กรมหมื่นเสพภักดี ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสนมอื่นๆ เพื่อวางแผนยึดอำนาจจาก พระเจ้าบรมโกศ แต่ความลับรั่วไหลเสียก่อน เพราะพระยาราชสุภาวดี(บ้านประตูจีน) สมุหนายก เป็นผู้กราบทูล พระเจ้าบรมโกศ ว่า ภิกษุกรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เอกทัศ) วางแผนยึดอำนาจ โดยการเลี้ยงดูขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง พระเจ้าบรมโกศ จึงโปรดเกล้า แต่งตั้งให้ เจ้าฟ้าอุทมพร เป็นวังหน้า เพื่อเตรียมสืบทอดราชสมบัติ โดยมิได้ลงโทษขุนนางใดๆ จนกระทั่ง พระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคต
พระยาตากสิน ออกผนวช หม่อมนกเอี้ยง
ส่งมอบลูกแก้วศักดิ์สิทธิ์ ให้ครอบครอง
เรื่องลูกแก้วศักดิ์สิทธิ์ ที่งูเหลือมใหญ่ คาบมาใส่ฝ่ามือ ด.ช.พ่วง เมื่อประสูติใหม่ๆ นั้น พงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา กล่าวถึงเรื่องลูกแก้ว คือเหตุการณ์ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดินทัพกลับจากการตีเมืองเชียงใหม่สำเร็จ ณ ปี พ.ศ.๒๓๑๗ กล่าวว่า
“…พระเจ้าตากสิน ได้เสด็จไปนมัสการ พระพุทธปฏิมากร ณ วัดกลาง วัดดอยเขาแก้ว แล้วตรัสถามพระสงฆ์ว่า ผู้เป็นเจ้าจำได้หรือไม่ เมื่อโยมยังอยู่บ้านระแหงนี้ โยมได้ยกระฆังแก้วขึ้นชูไว้ กระทำสัตยาธิษฐาน เสี่ยงบารมีว่า ถ้าจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสมโพธิญาณในอนาคตกาลเป็นแท้แล้ว ข้าพเจ้าจะตีระฆังด้วยลูกแก้ว เข้าบัดนี้ ขอจงให้แตกเฉพาะที่จุก จะได้ทำเป็นพระเจดีย์ฐานบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ครั้นอธิษฐานแล้วตีเข้า ระฆังแก้วก็แตกที่จุกดุจอธิษฐานนั้น เป็นอัศจรรย์ เห็นประจักษ์ พระสงฆ์ถวายพระพรว่า จริงดั่งกระแสพระราชดำรัสนั้น…”¨-๕
เหตุการณ์เรื่องนี้คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ พระยาตากสิน เสร็จสิ้นภารกิจจากการปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน เพื่อปราบปรามขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง และเมื่อพระองค์เดินทางกลับเมืองตาก โดยมีฐานะที่ร่ำรวยขึ้นมาก และประสงค์ที่จะออกผนวชเป็นพระภิกษุ ตามราชประเพณี ณ วัดดอยเขาแก้ว ของ เมืองตาก เป็นเวลา ๑ พรรษา ขณะนั้น นายทองด้วง จึงยังคงต้องรักษาการ ว่าที่เจ้าเมืองตาก เหตุการณ์เกี่ยวกับระฆังแก้ว นั้น คือเหตุการณ์ ขณะที่พระยาตากสิน ออกผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ และเกี่ยวข้องกับลูกแก้ววิเศษ ซึ่งงูเหลือมขนาดใหญ่ คาบมาให้ ขณะที่พระองค์ประสูติ ณ ถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
เมื่อย้อนเรื่องราวของเหตุการณ์กลับไปประมาณ ๒๑ ปี หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินประสูติ หม่อมนกเอี้ยง ได้เก็บรักษาลูกแก้ววิเศษ ไว้จนกระทั่งบุตรชายออกผนวช ดังนั้นเมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกผนวช ณ วัดดอยเขาแก้ว เมืองตาก นั้น หม่อมนกเอี้ยง จึงมอบลูกแก้ววิเศษดังกล่าว ให้กับบุตรชาย ตามความฝัน และเล่าความเป็นจริงให้พระยาตากสิน รับทราบ เป็นที่มาให้ พระยาตากสิน นำลูกแก้ว ขว้างไปที่จุกระฆัง โดยการกระทำสัตยาธิษฐาน เพื่อพิสูจน์คำบอกเล่า ของ หม่อมนกเอี้ยง นั่นเอง
หลังจากพระยาตากสิน ได้ออกผนวช เป็นพระภิกษุ เป็นเวลา ๑ พรรษา เรียบร้อยแล้ว พระยาตากสิน ก็ได้ลาสิขาออกมาเป็น เจ้าเมืองตาก ดังเดิม ความดีความชอบจากการปราบโจรขุนนางอำมาตย์ชั่ว ทำให้พระยาตากสิน ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็น พระยากำแพงเพชร เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองกำแพงเพชร ส่วนปลัดเมืองตาก คือ ปลัดทองด้วง ก็ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น พระยาตาก ปกครองเมืองตาก แทนที่ แต่เนื่องจาก นายทองด้วง ต้องการกลับไปรับราชการใกล้บ้านเกิด จึงออกวิ่งเต้นไม่รับตำแหน่ง พระยาตาก ในที่สุดทางกรุงศรีอยุธยา ก็ได้เปลี่ยนแปลงโปรดเกล้าให้ นายทองด้วง เป็น หลวงยกบัตร เจ้าเมืองราชบุรี จึงได้เดินทางไปรับราชการ ปกครองเมืองราชบุรี ส่วนพระยาตากสิน แม้ว่าได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยากำแพงเพชร แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว ยังหาผู้ที่จะมาปกครองเมืองตาก ไม่ได้ พระยาตากสิน จึงต้องปกครองทั้งสองเมือง คือ เมืองตาก และ เมืองกำแพงเพชร ในช่วงเวลาดังกล่าว
พระยาตากสิน อภิเษกสมรสกับ ท่านหญิงวาโลม
มเหสีพระองค์แรก
ภาพที่-๙ ภาพวาดผู้หญิงคนหนึ่งในคณะราชทูตสยาม มีผ้าฮีหยาบ คลุมศีรษะ เดินทางไปกับราชทูต หยางจิ้งจุง ทางฮ่องเต้เฉียนหลุง แห่งประเทศจีน ให้จิตกรจีน วาดไว้ สันนิษฐานว่า เป็นภาพวาดของท่านหญิงวาโลม มเหสี พระองค์แรก ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๙๙ พระยาตากสิน ได้ลาสิกขา ขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ทางเจ้าพระยาจักรีมุกดา และ หม่อมดาว ได้ปรึกษาหารือกับหม่อมนกเอี้ยง เพื่อสู่ขอผู้หญิงให้เป็นภรรยาของพระยาตาก ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า “น.ส.วาโลม” เป็นธิดาของ เจ้าชายอาหรับ และเจ้าหญิงจีน ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองกวางตุ้ง ได้เดินทางติดตามบิดามารดา มาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะสู่ขอให้เป็นภรรยาของพระยาตากสิน
บิดา-มารดา ของ “น.ส.วาโลม” เคยตั้งรกรากที่เมืองกวางตุ้ง นับถือศาสนาอิสลาม เป็นญาติสนิทกับผู้ว่าราชการเมืองกวางตุ้ง และ เจ้าพระยาราชาเศรษฐี(ม่อเทียนซื่อ) ผู้ปกครองเมืองบันทายมาศ บิดา-มารดา เป็นเจ้าของเรือสำเภาค้าขายระหว่าง ประเทศจีน กับประเทศอาหรับ , เกาะชวา , กรุงศรีอยุธยา และประเทศข้างเคียง อื่นๆ ต่อมาได้มาตั้งบ้านเรือนเป็นที่พักพิง ณ กรุงศรีอยุธยาด้วย จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับ หลวงพิพิธ(เฉินเหลียง) หลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) และ เจ้าพระยาจักรี(มุกดา) จึงเป็นที่มาให้ เจ้าพระยาจักรี(มุกดา) สู่ขอ “น.ส.วาโลม” ให้แต่งงานกับพระยาตากสิน โดยหม่อมนกเอี้ยง ไม่ขัดข้อง ท่านหญิงวาโลม นั้น มีชื่อแซ่จริง อย่างใดนั้น ไม่มีผู้ใดทราบ มีเพียงข้อมูลเบื้องต้นว่า เป็นญาติกับ พระนางเจิ้งติ่ง และ หยางจิ้งจุง เท่านั้น
ต่อมา ท่านหญิงวาโลม ได้มีพระราชโอรส และ พระราชธิดา กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ๖ พระองค์ คือ “เจ้าฟ้าชายไข่แดง” , “สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล” , “สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา” , เจ้าชายเมฆิน , เจ้าหญิงสุมาลี , และ “เจ้าฟ้าชายสิงหรา” เป็นพระองค์สุดท้อง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ก็คือพระราชชนนี ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก ซึ่งเคยใช้ชีวิตอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ภายหลังการสละราชสมบัติ ถึง ๕ ปี ณ เชิงเขาพนมเบญจา จ.กระบี่ ในปัจจุบัน และเป็นที่มาให้มีผู้สืบสายสกุล นำเรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มาถ่ายทอดให้ได้รับทราบข้อเท็จจริง เรื่อยมา
ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ครองเมือง พระยาตากสิน เศร้าใจ
เหตุการณ์บ้านเมืองของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา หรือ ประเทศสยาม ณ ปี พ.ศ.๒๓๐๐ หลังจากที่พระเจ้าบรมโกศ สวรรคต “พระเจ้าอลองพญา” สามารถนำกองทัพจากกรุงอังวะ เข้ายึดครองเมืองหงสาวดี เป็นผลสำเร็จ พระยาหงสาวดี ซึ่งเป็นขุนนางมอญ ได้หนีออกจากเมืองหงสาวดี ไปพึ่งพิงพ่อค้าชาวฝรั่งเศส แล้วไปหลบซ่อนที่เมืองมะริด ของราชอาณาจักรเสียม-หลอ หรือ สยามประเทศ
ขณะนั้นขุนนางอำมาตย์ชั่ว ของไทยที่ถูกปลดออกจากราชการ เพราะผลของการฉ้อราษฎร์บังหลวง จากผลงานที่พระยาตากสิน ปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน ทำการปราบปราม ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ดังกล่าว ได้หลบหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองมะริด และเมืองตะนาวสี ได้ไปสนับสนุนขุนนางอำมาตย์มอญ ที่เสียเมืองหงสาวดี เข้าปล้นสะดม เมืองต่างๆ ของพม่า และส่งทรัพย์สินมาถวายแก่ ภิกษุกรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เจ้าฟ้าเอกทัศ) เพื่อเตรียมเข้ายึดอำนาจกลับคืนจาก กรมขุนพรพินิจ (เจ้าฟ้าอุทุมพร) ผู้เป็นพระอนุชา จนกระทั่งมีข่าวทราบไปถึง พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า จึงได้มอบให้ เจ้าชายมังระ ทำการสืบข่าวเรื่องขุนนางมอญ เรื่อยมา
กรมขุนพรพินิจ(เจ้าฟ้าอุทุมพร) ทราบแผนการดังกล่าวมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น “พระเจ้าอุทมพร” พระองค์จึงรับสั่งให้ประหารชีวิต กรมหมื่นจิตรสุนทร(เจ้าชายโกมิตร) , กรมหมื่นสุนทรเทพ(เจ้าชายรถ) และ กรมหมื่นเสพภักดี ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสนมอื่นๆ ของ พระเจ้าบรมโกศ ฯลฯ เพราะทราบว่า เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนกองโจรของเมืองมะริด เพื่อสะสมทุนทรัพย์ และสร้างกองกำลังหวังเข้ายึดอำนาจให้กับ ภิกษุกรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เจ้าฟ้าเอกทัศ) ช่วงเวลาดังกล่าว เจ้าเมืองมะริด และเมืองตะนาวสี ก็ถูกปลดออกจากราชการ ด้วย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับ ภิกษุกรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เจ้าฟ้าเอกทัศ) และ ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นอันมาก
เหตุการณ์ในขณะนั้น กรมหลวงพิจิตรมนตรี(พระองค์พลับ ธิดาเจ้าฟ้าแก้ว พี่น้องต่างมารดากับหม่อมนกเอี้ยง) ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชชนนีพระพันปีหลวง ของ พระเจ้าอุทมพร ต้องการให้ ภิกษุกรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศน์) ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงยุยงให้ภิกษุกรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) ลาสิขาจากสมณะเพศ เพื่อออกมาดำเนินการยึดอำนาจ มีการร่วมมือกับ พระยาราชมนตรี (ปิ่น) จมื่นศรีสรรักษ์ (ฉิม เป็นพี่สนมของพระเจ้าเอกทัศ) และขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ได้ร่วมกันรัฐประหาร นำกำลังทหาร เข้ายึดอำนาจ จากพระเจ้าอุทุมพร โดยการเข้ายึดพระราชวังหลวง อย่างลับๆ เป็นผลสำเร็จ
ขณะนั้น พระยาราชสุภาวดี(บ้านประตูจีน) ซึ่งเป็น สมุหนายก และเป็นคุณอา ของ พระยาเพชรบุรีตาล ผู้เป็นสามีของหม่อมอั๋น(น้องสาวหม่อมนกเอี้ยง) ถูกจับกุม เป็นเหตุให้ เจ้าพระยาอภัยราชา(พ่อตาหม่อมอั๋น) , พระยายมราชบุญชู และ พระยาเพชรบุรีตาล(สามีหม่อมอั๋น) ฯลฯ นำกองทัพเข้ามาช่วยเหลือ พระเจ้าอุทุมพร เหตุการณ์ในขณะนั้น กองทหารทั้งสองฝ่าย เตรียมสู้รบกันอย่างเต็มที่ แต่ทหารฝ่ายขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง สามารถจับกุม พระเจ้าอุทุมพร เป็นตัวประกัน นำมาใช้ต่อรอง ทำให้ขุนนางอำมาตย์ฝ่ายรักชาติ ได้แก่ “เจ้าพระยาอภัยราชา” , พระยาเพชรบุรีตาล และ พระยายมราชบุญชู เป็นต้น ต้องยอมให้ถูกจับกุม เพื่อรักษาชีวิตของ พระเจ้าอุทุมพร เป็นที่มาให้ พระเจ้าเอกทัศ ขึ้นเป็นกษัตริย์ สำเร็จ ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายคอรัปชั่น จึงครองเมือง คนดีจึงต้องเดินในตรอก คนขี้ครอกได้เดินถนน บ้านเมืองจึงเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติ
ฝ่าย กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(เจ้าฟ้าเอกทัศ) เมื่อสามารถเข้ามาจับกุมขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติได้สำเร็จ ก็จะนำพระเจ้าอุทุมพร ไปประหารชีวิต แต่ กรมหลวงพิจิตรมนตรี (พระองค์พลับ) ได้เข้ามาขัดขวาง โดยเสนอให้ พระเจ้าอุทุมพร สละราชย์สมบัติ และให้ออกผนวช เพื่อให้กรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศน์) ขึ้นครองราชย์สมบัติ มิให้เกิดการเสียเลือดเนื้อ ระหว่างคนไทยด้วยกันเอง
เมื่อ พระเจ้าเอกทัศน์ ขึ้นครองราชย์สมบัติกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง พวกพูดจาตอแหลและประจบสอพลอ ที่เคยถูกปลดออกจากราชการ ได้ขึ้นมามีอำนาจครองเมือง อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ไปปกครองเมืองมะริด และ เมืองตะนาวสี ด้วย เหตุการณ์ครั้งนั้น ชาวฝรั่งเศส บันทึกว่า พระยาพระคลัง ยังต้องให้สินบนแก่ พระเจ้าเอกทัศ เพื่อซื้อตำแหน่งตนเองไว้ด้วย จึงไม่ถูกปลดออก ส่วนเจ้าพระยาจักรีมุกดา ขณะที่เกิดการรัฐประหาร นั้น อยู่ที่เกาะชวา เพราะได้รับมอบหมายจากเจ้าฟ้าอุทมพร ให้ไปติดต่อซื้อปืนจากฝรั่ง ที่เกาะชวา เมื่อกลับมาถึงเมืองธนบุรี ก็ทราบเหตุ ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์สงบ เจ้าพระยาจักรีมุกดา ได้นำปืนที่ซื้อมา และทรัพย์สินอื่นๆ ไปถวายให้กับ พระเจ้าเอกทัศน์ เจ้าพระยาจักรีมุกดา จึงไม่ถูกปลดออกจากราชการ
ต่อมา พระเจ้าเอกทัศ ได้เร่งรัดเก็บภาษีจากพ่อค้า มาสู่ท้องพระคลังหลวง แสร้งอ้างว่า เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศล มีการบริจาคทรัพย์ เครื่องประดับอาภรทั้งปวง ที่ได้มาจากการเก็บภาษี หรือปล้นสะดมมาได้ ไปพระราชทานแก่ยาจกวณิพก เป็นอันมาก เพื่อสร้างความชอบธรรมในการขึ้นครองราชย์สมบัติ เหตุการณ์ครั้งนั้น “หม่อมอั๋น” ต้องนำบุตรธิดา หลบหนีไปพักอยู่อาศัยกับ หม่อมนกเอี้ยง ผู้เป็นพี่สาว ที่ บ้านวังดอนชาย ที่เมืองท่าชนะ ส่วนหม่อมนกเอี้ยง ประทับอยู่ที่ บ้านวังเทพนิมิต ข้างวัดศรีราชัน เมืองคันธุลี เมื่อ พระยาตากสิน ทราบเหตุการณ์ต่างๆ เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ มีแต่ความเศร้าใจ ที่ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายคอรัปชั่น ขึ้นมาเป็นใหญ่ ในราชอาณาจักรเสียม-หลอ
¨-๑ พระยาราชบังสันมุกดา เป็นบุตรชายคนหนึ่ง ของ เจ้าพระยาจักรีครุฑ หรือที่ชาวไชยา เรียกชื่อว่า มหาหุมตาไฟ เพราะชอบทำสงครามด้วยอาวุธระเบิดดินดำ สืบเชื้อสายมาจาก เจ้าชายอาหรับโมกุล กับ พระนางน้ำเงิน ราชธิดาพระองค์หนึ่ง ของ สมเด็จพระนเรศวรฯ ซึ่งสืบเชื้อสายมาถึง พระยาราชบังสันมุกดา ซึ่งมีภรรยา ๔ ท่าน บุตรชาย ของ พระยาราชบังสันมุกดา จากภรรยา ท่านหนึ่ง มีบุตรชายชื่อ นายบุญรอด ขณะนั้นเป็นปลัดเมืองไชยา ได้มาสมรส กับ นางประยงค์ จนกระทั่งต่อมามีบุตรธิดากับ นายบุญรอด ที่สำคัญ ๒ คน คือ เจ้านราสุริวงศ์ และ ขุนสุรินทร์สงคราม
¨-๒ นายหยุง แซ่ลิ้ม มีบุตรกับภรรยาใหม่ที่สำคัญ ๒ ท่าน คือ เจ้าพระยาอนุวงษ์ราชา กับ พระยาพิชัยราชา ปกครองเมืองสวรรค์โลก ต่อมาถูกประหารชีวิต เพราะขอเป็นเขย
ส่วนนายหยุง แซ่ลิ้ม พระราชบิดา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ถูกพระเจ้าเอกทัศน์ สั่งให้จับตัวไปประหารชีวิต ในขณะที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้เผาบ้านเผาเมือง และเป็นกบฏ เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๓๐๙ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งขณะนั้นเป็น พระยาจักรีสิน นำทหาร ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่า เพื่อเดินทางไปยังเมืองบางละมุง เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองท่าชนะ พระเจ้าเอกทัศน์ จึงสั่งให้นำพระราชบิดา ของ พระยาจักรีสิน คือนายหยุง แซ่ลิ้ม พร้อมภรรยา ไปประหารชีวิต แทนที่
¨-๓ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ การเมืองไทยสมัยธนบุรี สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ 89-90
¨-๔ พงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา ของ กรมศิลปากร หน้าที่ ๑๒๓ กล่าวว่า เจ้าพระยาราชภักดี ว่าที่สมุหนายก ป่วยเป็นวัณโรค ถึงแก่กรรม หลังจากนั้นจึงมีการแต่งตั้งให้ พระยาราชสุภาวดี บ้านประตูจีน เป็น เจ้าพระยาอภัยราชา ว่าที่สมุหนายก เนื่องจาก เจ้าพระยาราชสุภาวดี บ้านประตูจีน เป็นญาติสนิท กับ พระยาเพชรบุรีตาล ซึ่งเป็นสามีของหม่อมอั๋น ได้ถ่ายทอดเรื่องราวการรับตำแหน่ง สมุหนายก ของ เจ้าพระยาราชสุภาวดี บ้านประตูจีน นั้นเกิดขึ้นเนื่องจาก สมุหนายก คนเดิมถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากพัวพันกับโจรปล้นพ่อค้าเกวียน ต่อมา เจ้าพระยาราชภักดี ก็ป่วยตาย เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการโปรดเกล้าให้ กรมขุนพรพินิจ(พระเจ้าอุทมพร) เป็น มหาอุปราช แทนที่กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(พระเจ้าเอกทัศน์) ซึ่งถูกบังคับให้ออกผนวช
¨-๕ กรมศิลปากร พงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๙๒ จากหลักฐานดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกผนวชที่ วัดดอยเขาแก้ว เมืองตาก ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวที่มีการบอกเล่า ถ่ายทอดต่อๆ กันมา
บทที่-๕
พระยาตากสิน อาสาทำสงคราม
กับกองทัพพม่า
พระยาตากสิน เศร้าใจ ต้องเสียเมืองมะริด และเมืองตะนาวสี
ให้กับพม่า
เหตุการณ์ในปี พ.ศ.๒๓๐๒ พงศาวดารคองบองของพม่า และพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตรงกันโดยสรุปว่า ขุนนางมอญ ซึ่งเป็นขุนนางฝ่ายพระยาหงสาวดี ได้พยายามที่จะยึดเมืองหงสาวดี กลับคืน จึงได้นำกองทัพเข้าปล้น “เมืองสิเรียม” ไว้ได้ แล้วนำทรัพย์สินไปหลบซ่อนอยู่ที่เมืองมะริด พม่าสืบทราบว่า ขุนนางอำมาตย์ชั่ว แห่ง กรุงศรีอยุธยา มาอยู่ที่ เมืองมะริด และ เมืองตะนาวสี จำนวนมาก ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ชอบฉ้อราษฎร์บังหลวง ชอบเลี้ยงโจรไว้เป็นอำนาจรัฐแฝง มักจะมีส่วนร่วมในการเข้าไปสนับสนุนทหารมอญ ให้เข้าปล้นสะดมเมืองต่างๆ ในประเทศพม่า ทำให้ประชาชนในแขวงเมืองต่างๆ ของพม่า ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสจากขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ด้วย
กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรพม่า จึงวางแผนยกทัพเข้าตีเมืองมะริด ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา โดยอ้างว่า ขุนนางมอญ ซึ่งเคยเป็นแม่ทัพ ของ พระยาหงสาวดี ได้รับการช่วยเหลือจากขุนนางอำมาตย์ชั่ว ของ กรุงศรีอยุธยา ให้หลบหนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองตะนาวสี พม่าจึงมีหนังสือถึง พระยาตะนาวสี ให้ส่งตัวแม่ทัพมอญให้กับพม่า แต่พระยาตะนาวสี ปฏิเสธ เพราะกลัวความลับรั่วไหล พระเจ้าอลองพญา ทราบความก็ขัดเคืองราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มาก จึงรอคอยจังหวะหวังจะยกกองทัพเข้ายึดเมืองมะริด และ ตะนาวสี ของราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา เป็นการแก้แค้น เรื่อยมา
ในขณะที่ พระเจ้าอลองพญา เสด็จมาฉลองพระเกศธาตุ ที่เมืองย่างกุ้ง นั้น พระองค์จึงมีรับสั่งให้พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒ คือ “เจ้าชายมังระ” กับแม่ทัพ “มังฆ้องนรธา” นำกองทัพ ๘,๐๐๐ คน ยกทัพมาตีเมืองทวาย ของมอญ ซึ่งยังแข็งเมืองอยู่ และเชื่อว่าเป็นที่สะสมกำลังของพวกขุนนางมอญ จนกระทั่งเมืองทวาย แตกพ่าย ผลของสงครามครั้งนั้นทำให้พวกขุนนางมอญ หลบหนีไปซ่อนตัวอยู่กับขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวงของ พระเจ้าเอกทัศน์ ที่เมืองมะริด และเมืองตะนาวสี ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ
เจ้าชายมังระ ทำการสอบสวนเชลยศึกมอญ เมืองทวาย จึงได้รับทราบข้อมูลว่า พวกขุนนางมอญที่เข้าปล้นเมืองสิเรียม และเมืองต่างๆ ในประเทศพม่า ล้วนสมคบกับขุนนางอำมาตย์ชั่ว ของ กรุงศรีอยุธยา เข้าปล้นเมืองต่างๆของพม่า แล้วหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ที่เมืองมะริด และเมืองตะนาวสี พระเจ้าอลองพญา พิจารณาเห็นว่า เมืองมะริด และ เมืองตะนาวสี เต็มไปด้วยขุนนางอำมาตย์ชั่ว ชอบฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่มีความรักชาติ เพราะล้วนมุ่งเน้นที่จะแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน มากกว่าผลประโยชน์ของชาติ จึงมอบให้ เจ้าชายมังระ และ แม่ทัพมังฆ้องนรธา ทดลองยกทัพเข้าตีเมืองทั้งสอง เพื่อทดสอบความเข้มแข็งของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ทันที
เมื่อ พระเจ้าเอกทัศ ทราบว่า เมืองท่าสำคัญทั้งสองเมืองกำลังถูกกองทัพพม่าเข้าโจมตี พระองค์จึงได้จัดส่งกำลังกองทัพ หวังเข้าคุ้มครองขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ของพระองค์ที่กำลังปกครองเมืองมะริด และ เมืองตะนาวะสี โดยรับสั่งให้จัดกำลังกองทัพ ประกอบด้วย พระราชรองเมือง ว่าที่ พระยายมราช เป็นแม่ทัพนำกองทัพ ๓,๐๐๐ คน โดยมีพระยาเพชรบุรีโจร(ขุนนางของพระเจ้าเอกทัศ) เป็นกองหน้า , พระยาราชบุรี(ทองด้วง) เป็นยกกระบัตร(ธุรการและจัดหา) , พระสมุทรสงคราม เป็น เกียกกาย(กองเสบียง) , พระธนบุรี และ พระนนทบุรี เป็นกองหลัง(เข้ารักษาเมือง หลังจากยึดได้) , พระยารัตนาธิเบศร์ ว่าที่จตุสดมภ์ กรมวัง นำกำลัง ๒,๐๐๐ คน เป็นกองหนุน นอกจากนั้น ยังมีขุนรองปลัดชู(กรมเมืองวิเศษไชชาญ) สหายของ พระยาตากสิน ลูกศิษย์ตาผ้าขาวพราหมณ์ไชยเวท ได้ขออาสาเป็น “กองอาทมาต”(กองวิชาอาคมทางไสยศาสตร์) ควบคุมกำลังพลพล ๔๐๐ คน เข้าต่อสู้กับกองทัพพม่า ในศึกครั้งนั้นด้วยª-๑
เมื่อ เจ้าชายมังระ พร้อมกับแม่ทัพ มังฆ้องนรธา นำกองทัพพม่า เข้าตีเมืองตะนาวสี และเมืองมะริด จนแตกพ่าย สามารถยึดครองเมืองทั้งสองไว้ได้อย่างง่ายดาย พวกเจ้าเมือง และขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ยอมต่อสู้ มุ่งหนีตายเอาตัวรอด ไปอาศัยอยู่ในเขตป่าเขา เมืองมะริด และ เมืองตะนาวสี จึงต้องเสียไปให้กับพม่า เพราะพระเจ้าเอกทัศ เลี้ยงขุนนางอำมาตย์ชั่ว ที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไปคอยเก็บส่วยให้กับพระองค์ มากกว่าการสร้างความเข้มแข็งทางการทหาร เพื่อรักษาบ้านเมือง
ขณะนั้น แม่ทัพผู้รักชาติ เช่น พระยาอภัยราชา พระยาราชสุภาวดี พระยายมราชบุญชู พระยาเพชรบุรีตาล ล้วนถูกจับกุมขังคุก เมื่อกองทัพว่าที่พระยายมราช คนใหม่ ของ พระเจ้าเอกทัศ เคลื่อนทัพไปทางด่านสิงขร ก็ทราบว่า เมืองมะริด และเมืองตะนาวสี ถูกกองทัพพม่าตีแตกแล้ว จึงวางกำลังอยู่ที่ปลายน้ำแม่น้ำตะนาวสี ไม่กล้ายกกองทัพเข้าตีพม่า ต่อมาพม่าสืบทราบที่ตั้งทัพ จึงถูกกองทัพของพม่า เข้าโจมตี จนกองทัพ ว่าที่พระยายมราช แตกพ่าย กองทัพพม่า จึงวางแผนนำทัพเดินทัพเข้าสู่ดินแดนราชอาณาจักรเสียม-หลอ ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก เตรียมเข้ายึดครอง ราชธานีกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระยาตากสินทราบข่าว ก็มีแต่ความเศร้าใจ ที่ต้องเสียเมืองมะริด และตะนาวสี ให้กับกองทัพพม่า
กองพันทหารม้าพระยาตาก ขออาสาสู้กองทัพพม่า
เดินทัพสู่กรุงศรีอยุธยา
พระยาตากสิน ทราบข้อมูลดีถึงสาเหตุความอ่อนแอของกองทัพราชอาณาจักรเสียม-หลอ จากเจ้าพระยาจักรีมุกดา เพราะกองทัพต่างๆล้วนถูกควบคุมด้วยขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงมุ่งเน้นแต่การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว มากกว่าการรักษาผลประโยชน์ของชาติ เหตุการณ์ในขณะนั้น ขุนนางอำมาตย์ผู้รักชาติ ล้วนถูกพระเจ้าเอกทัศ ใส่ความเท็จแล้วจับกุมคุมขังไว้ในคุก
เนื่องจากพระยาตากสิน มีฐานะดีขึ้นหลังจากได้ปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน สมัยปราบขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายคอรัปชั่น หลังจากนั้น พระยาตากสิน ได้สั่งซื้อม้าพันธุ์ดีมาจากประเทศจีน และจากราชอาณาจักรลาว มาผสมพันธุ์ จนสามารถสร้างกองพันทหารม้า ใช้ปืนลูกซองยาว ขึ้นสำเร็จ จึงเดินทางไปพบกับ เจ้าพระยาจักรีมุกดา แสร้งขออาสานำกองพันทหารม้าพระยาตาก ๕๐๐ คน เดินทางสู่กรุงศรีอยุธยา อ้างเพื่อออกต่อสู้กับ กองทัพพม่า แต่เบื้องหลังที่แท้จริง ต้องการเข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าเอกทัศน์ กลับคืนให้กับพระเจ้าอุทุมพร โดยการร่วมมือกับขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติ อย่างลับๆ
เหตุการณ์ในปี พ.ศ.๒๓๐๒ เมื่อกองทัพเจ้าชายมังระ สามารถโจมตีกองทัพราชอาณาจักรเสียม-หลอ แตกพ่าย พระเจ้าอลองพญาได้เสด็จมาทอดพระเนตรเมืองทวาย เมืองมะริด และเมืองตะนาวสี จึงวางแผนยกกองทัพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ราชธานีของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ ๒ ช่องทาง
ภาพที่-๑๐ แสดงแผนที่สถานที่รบ วีรกรรมของกองทหารอาทมาต ณ อ่าวหว้าขาว
กองทัพแรกพม่า มอบให้ เจ้าชายมังระนำกองทัพเข้ามาทางด่านสิงขร มีพระเจ้าอลองพญาควบคุมกองทัพหลวงเดินทางมาด้วยผ่านด่านเจดีย์สามองค์ อีกกองทัพหนึ่งเป็นทหารมอญ ยกกองทัพเป็นกองหน้าเข้ามายังดินแดนราชอาณาจักรเสียม-หลอ ทางด่านเจดีย์สามองค์
เมื่อกองทัพพม่า ของ เจ้าชายมังระ ที่เดินทัพมาทางด่านสิงขร มุ่งหน้าเข้าสู่ดินแดนราชอาณาจักรเสียม-หลอ ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ก็ได้ปะทะกับ กองทหารอาทมาต ซึ่งเป็นกองรบอยุธยา ที่ใช้วิชาอาคมทางไสยศาสตร์ ของ ปลัดชู ซึ่งมีทหารเพียง ๔๐๐ คน ที่ “อ่าวหว้าขาว” กุยบุรี เมื่อกองทัพพม่าเคลื่อนที่มาถึงในเวลาเช้าตรู่ ขุนรองปลัดชูก็นำทหาร ๔๐๐ คน ออกโจมตีกองทัพพม่าด้วยความกล้าหาญ ทั้งๆ ที่กองทัพพม่ามีกำลังมากกว่าหลายเท่า
พงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา บันทึกว่า มีการรบด้วยอาวุธสั้น ถึงขั้นตะลุมบอน ทหารกรุงศรีอยุธยา ฟันแทงทหารพม่าล้มตายกลาดเกลื่อน เมื่อกองทัพพม่าทราบว่า พม่ากำลังพ่ายแพ้ก็ส่งกำลังกองหนุนเข้ารุมล้อม มากขึ้น มีการรบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง โดยมิได้พัก ในที่สุดขุนรองปลัดชูก็สิ้นเรี่ยวแรง พม่าสามารถเข้าล้อมปลัดชู และสามารถจับตัวไปได้ พม่าจึงส่งกองทัพช้างเข้าเหยียบไล่กองทหารอยุธยา จนต้องออกไปสู้รบกันในทะเล กองทหารอาทมาต ของ อยุธยา รบแบบยอมสละชีพทั้งหมดª-๒ กองทัพพม่าจึงเดินทัพเข้าสู่ เมืองเพชรบุรี โดยส่งกองทัพมาเพิ่มทางด่านสิงขร และ ด่านเจดีย์สามองค์ หวังทำสงครามใหญ่ เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา
กองทัพของ เจ้าชายมังระ สามารถยึดเมืองเพชรบุรี ได้สำเร็จอย่างง่ายดาย เพราะ พระยาเพชรบุรี(โจร) คนใหม่ ของพระเจ้าเอกทัศ ไม่ยอมออกต่อสู้ พระเจ้าเอกทัศ รับสั่งให้ จัดกองทัพไปขัดตาทัพ โดยโปรดเกล้าให้ พระยาอภัยมนตรี นำกำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน ไปขัดตาทัพที่กาญจนบุรี พระยาคลัง (ผู้ให้สินบนเพื่อรักษาตำแหน่ง) นำกำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน ไปเป็นกองหนุน ที่ราชบุรี และ พระยาอภัยราชา (บ้านประตูจีน) นำกองทัพไปขัดตาทัพที่ ด่านแม่ละเมา
เหตุการณ์ในขณะนั้น กองทัพเจ้าชายมังระ สามารถตีเมืองราชบุรีซึ่งปกครองโดย พระยาราชบุรีทองด้วง ซึ่งมีกองทัพถึง ๒๐,๐๐๐ คน แตกพ่าย กองทัพพม่าจึงเตรียมยกกองทัพเข้าสู่ กรุงศรีอยุธยา ทำให้ พระเจ้าเอกทัศ ขุนนาง และประชาชน ในกรุงศรีอยุธยา ขวัญเสีย ขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติ ก่อกระแสเรียกร้องให้ พระเจ้าอุทมพร ขึ้นครองราชย์สมบัติ ส่วนหม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น เกรงว่ากองทัพพม่า จะบุกลงไปทางใต้ จึงอพยพครอบครัวเดินทางไปอาศัยอยู่ที่ ถ้ำเขาขุนพนม เมืองนครศรีธรราช
ส่วนพระยาตากสิน เมื่อนำกองพันทหารม้า ๕๐๐ คน เดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา ได้เข้าร่วมวางแผนการรบ กับ เจ้าพระยาจักรีมุกดา และขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติ เตรียมก่อการกบฏ เพื่อเข้ายึดพระราชวังหลวง เข้าจับกุมพระเจ้าเอกทัศ เพื่อถวายอำนาจกลับคืนให้กับ พระเจ้าอุทมพร แต่ กรมหลวงพิจิตรมนตรี(พระองค์พลับ) พระราชชนนี พระพันปีหลวง ทราบเหตุ จึงได้ร้องขอให้ พระเจ้าเอกทัศ สละราชย์สมบัติ ออกผนวช และทูลเชิญพระเจ้าอุทมพร ลาสิกขา ขึ้นมาครองราชย์สมบัติ เข้าวางแผนทำสงครามกับพม่า ร่วมกับขุนนางรักชาติ
เมื่อ พระเจ้าอุทุมพร ขึ้นครองราชย์สมบัติ อีกครั้งหนึ่ง จึงได้รับสั่งให้จับกุม พระราชมนตรี(ปิ่น) กับ จมื่นศรีสรรักษ์ (ฉิม เป็นพี่พระสนมเอกของ พระเจ้าเอกทัศ) ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยข่าวทำลายฝ่ายต่างๆ ให้เกิดความแตกแยกในหมู่ขุนนาง ไปคุมขังไว้ในคุก และโปรดเกล้าให้ปล่อยตัวขุนนางอำมาตย์ฝ่ายรักชาติ คือ พระยายมราชบุญชู เจ้าพระยาอภัยราชา (พ่อตาของหม่อมอั๋น) , และพระยาเพชรบุรีตาล(สามีของหม่อมอั๋น) ออกจากที่คุมขังให้พ้นโทษ มารับราชการ ตามตำแหน่งเดิม และปลดขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ออกจากราชการไปเป็นจำนวนมากª-๓
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกสู้รบกับพม่า ณ ทุ่งตาลาน สุพรรณบุรี
เมื่อพระเจ้าอุทุมพรขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ.๒๓๐๒ เนื่องจากกองทัพเรือของราชอาณาจักรเสียม-หลอ ถูกกองทัพพม่าเข้าทำลายและยึดครองไปเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอุทุมพร จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาตากสิน เป็น พระยาราชบังสันสิน ทำหน้าที่ควบคุมกองทัพเรือ และเป็นผู้ปกครองเมืองธนบุรี เป็นที่มาให้ พระยาตากสิน มีภรรยาคนที่สอง ซึ่งมีชื่อว่า “หม่อมสอน” เป็นธิดา ของ พระยาชุมพร(มั่น) ส่วนบุตรธิดา กับภรรยาคนแรก คือ ท่านหญิงวาโลม ได้ไปหลบภัยสงครามอยู่กับ หม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น ณ ขุนเขาพนม เมืองนครศรีธรรมราช
พระเจ้าอุทุมพร ยังโปรดเกล้าให้ พระยาเพชรบุรีตาล ซึ่งเป็นสามีของหม่อมอั๋น(น้องสาวหม่อมนกเอี้ยง) ให้กลับไปปกครองเมืองเพชรบุรี อีกครั้งหนึ่ง ส่วนพระยาเพชรบุรีโจร ที่ถูกปลดออก เป็นผู้ที่เลี้ยงโจร และฉ้อราษฎร์บังหลวงมาโดยตลอด เคยถูกลงโทษมาตั้งแต่ในสมัยที่ พระยาตากสิน เป็นพ่อค้าเกวียน ได้เคยสืบทราบว่า ขุนนางผู้นี้ เป็นผู้เลี้ยงโจรคนหนึ่งเพื่อปล้นสะดมพ่อค้าที่เดินทางค้าขายระหว่างเมือง จึงถูกปลดออก ก่อนหน้านี้ เมื่อพระเจ้าเอกทัศขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้จับพระยาเพชรบุรีตาล(สามีหม่อมอั๋น) ไปขังคุก ทำให้พระยาเพชรบุรี(โจร) ได้รับโปรดเกล้าจากพระเจ้าเอกทัศ ให้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี เสียเอง
ดังนั้นเมื่อพระเจ้าอุทุมพร ขึ้นครองราชย์สมบัติอีกครั้งหนึ่ง พระยาเพชรบุรี(โจร) ขุนนางของพระเจ้าเอกทัศ จึงนำไพร่พล ๕๐๐ คน จากเมืองเพชรบุรี หนีไปอยู่กับภิกษุกรมหมื่นเทพพิพิธ(เจ้าฟ้าแขก) ที่เมืองมะริด ซึ่งเพิ่งเดินทางมาจากเกาะลังกา เพราะถูกกษัตริย์ลังกา เนรเทศ กลายเป็นกำลังพลให้กับ กรมหมื่นเทพพิพิธ อีกครั้งหนึ่ง
เมื่อพระเจ้าอลองพญาเตรียมยกกองทัพเข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอุทมพร รับสั่งให้เตรียมต่อสู้กับกองทัพพม่า โดยให้กวาดต้อนราษฎร และขนเสบียงอาหาร เข้ามาไว้ในพระนคร มีการสร้างป้อมปราการ และสร้างกำแพงเมืองอีกชั้นหนึ่ง โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาอภัยราชา(พ่อตาหม่อมอั๋น) นำกองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน ไปสกัดกองทัพพม่า ที่ภาคเหนือ รับสั่งให้เจ้าพระยามหาเสนา เป็นแม่ทัพ มีพระยายมราชบุญชู พระยารัตนาธิเบศร์ และ พระยาราชบังสันสิน นำกองทัพไปขัดขวางกองทัพพม่า ทางทิศตะวันตก
เมื่อกองทัพพระเจ้าอลองพญา สามารถยึดครองเมืองสุพรรณบุรี ได้แล้ว ก็หยุดพักเพื่อรอกำลังพลให้เดินทางมาพร้อมกัน เพราะเล็งเห็นว่า กำลังพลที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ เมื่อพระเจ้าอลองพญา ทำการรวบรวมกำลังพลได้เพียงพอแล้ว ก็ยกกองทัพมุ่งตรงเข้าสู่เมืองราชบุรี เพื่อมุ่งหน้าสู่กรุงศรีอยุธยา กองทัพราชอาณาจักรเสียม-หลอ ได้ไปตั้งค่ายยึดฝั่งแม่น้ำจักราช เป็นเครื่องกีดขวางเพื่อขัดขวางการเคลื่อนทัพของพม่า เข้าสู่กรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้เล่าเรื่องราวการรบสองริมฝั่งแม่น้ำจักรราช ให้ลูกหลานรับฟังในเวลาต่อมา และถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาว่า กองทัพของพม่ามีกำลังพลมากกว่ากองทัพของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นอันมาก แม้ว่าพระยาราชบังสันสิน เพิ่งได้รับโปรดเกล้าให้รับผิดชอบกองทัพเรือ แต่พระองค์ได้นำกองพันทหารม้าพระยาตาก ของพระองค์ไปร่วมรบด้วย โดยการแปรรูปกองพันทหารม้าให้เป็นหน่วยปฏิบัติการกองโจร คอยดักซุ่มยิงโจมตีทหารพม่าที่ข้ามฝั่งแม่น้ำจักราช ด้วยปืนลูกซองยาว และปืนกลลูกซองตับ ที่ซื้อมาจากพ่อค้าฝรั่ง จนกำลังพลของพม่าล้มตายและเสียขวัญ ไม่สามารถข้ามฝั่งลำแม่น้ำได้
หลักฐานพงศาวดารคองบอง และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา กล่าวตรงกันว่า กองทัพของเจ้าชายมังระ ได้นำกองทหารพม่าเข้าตีค่ายทหารของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ มีการรบกันอย่างดุเดือด เกิดการบาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่าย กองทัพพม่าก็ไม่สามารถเข้าตีค่ายทหารกรุงศรีอยุธยา ให้แตกพ่ายได้ เพราะต้องส่งกำลังทหารข้ามแม่น้ำมาด้วยความยากลำบาก ครั้นทัพหลวงของ พระเจ้าอลองพญา เดินทัพมาถึง พระเจ้าอลองพญา จึงรับสั่งให้แปรขบวนทัพเข้าตีโอบล้อมกองทัพอยุธยา เกิดการสู้รบกันอย่างดุเดือด
กองทัพพม่าได้ปะทะกับกองทัพของ เจ้าพระยามหาเสนา ณ สมรภูมิบริเวณทุ่งนาตาลาน ส่วนกองทัพเจ้าชายมังระ ส่งทหารพม่าเข้าตีค่ายทหารอยุธยา เกิดการรบกันระหว่างสองฝั่งแม่น้ำจักราช ทหารพม่าบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก กองทัพหลวงของพม่า พระเจ้าอลองพญา จึงเข้าหนุนช่วย ในการรบครั้งนั้น เจ้าพระยามหาเสนา ถูกอาวุธปืน ข้าศึกพม่า ถึงแก่ชีวิต ส่วนพระยายมราชบุญชู ส่งกองทัพเข้าหนุนช่วย แต่ต้องอาวุธปืนพม่า บาดเจ็บ (พงศาวดารกล่าวว่าเสียชีวิต)ª-๔ ทหารต้องนำพระยายมราชบุญชู มารักษาตัวที่กรุงศรีอยุธยา ส่วนพระยารัตนาธิเบศ และ พระยาราชบังสันสิน มีชีวิตรอดกลับมาที่กรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นแม่ทัพเรือ สร้างกองทัพเรือลับ
ที่เมืองท่าชนะ
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯได้เคยถ่ายทอดเรื่องราวให้ลูกหลานรับฟัง และมีการถ่ายทอดต่อๆ กันมาว่า ภายหลังจากการเข้าร่วมทำสงครามที่สมรภูมิทุ่งตาลาน แล้ว เกียรติภูมิ ชื่อเสียง ของ พระยาราชบังสันสิน สูงขึ้นมาก จากแผนการรบ ความกล้าหาร และการเสียกำลังในกองทหารม้าพระยาตากสิน เกิดขึ้นน้อยมาก ขณะนั้นกองทัพพม่ายังมิได้ทำการปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอุทุมพร ได้เรียกพระยาราชบังสันสิน ไปเข้าเฝ้า พร้อมกับรับสั่งให้ทำงานลับสามชิ้นใหญ่ในฐานะแม่ทัพเรือ ดังนี้
งานชิ้นแรกคือ ให้หลวงพิพิธ(เฉินเหลียง) นำกองทัพเรือมาขัดขวางการยกทัพของพม่าทางเรือ ณ เมืองธนบุรี และให้ต่อเรือรบ ทดแทนเรือรบที่เสียหาย ด้วย
งานชิ้นที่สองคือการนำทรัพย์สินที่สำคัญ และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรเสียม-หลอ ไปเก็บซ่อนไว้ในดินแดนภาคใต้
และงานชิ้นที่สาม คือการมอบให้พระยาราชบังสันสิน เดินทางไปสร้างกองทัพเรืออย่างลับๆ ที่เมืองท่าชนะ เพื่อนำกองทัพเรือจากภาคใต้ เข้ามาตีโอบล้อมกองทัพพม่าที่มุ่งส่งกองทัพเข้ามาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา ในภายหลัง
งานที่ได้รับมอบหมายยังไม่ทันสำเร็จทั้งหมด พระเจ้าอลองพญา ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา และสวรรคต ระหว่างยกกองทัพกลับ เมื่อพยายามตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ถึงเหตุการณ์ในขณะนั้น พบหลักฐานว่า หลังจากการรบที่ทุ่งตาลาน แขวงเมืองสุพรรณบุรี พระเจ้าอลองพญา ได้นำกองทัพหลวง เดินทางจากทุ่งตาลาน มาถึง เขตต่อเมืองสุพรรณบุรี จึงรอความพร้อมของกองทัพต่างๆ ซึ่งเจ้าชายมังระ กำลังเดินทัพจากราชบุรี ให้มาสมทบพร้อมกัน แล้วเดินทัพทางบก มุ่งหน้าสู่กรุงศรีอยุธยา ไม่พบหลักฐานใดๆ ว่า กองทัพพม่าได้เดินทัพทางลำแม่น้ำ แสดงว่า กองทัพเรือของราชอาณาจักรเสียม-หลอ ได้ออกต่อต้านทำศึกกับกองทัพพม่าอย่างเข้มแข็งหลักฐาทางประวัติศาสตร์ระบุว่า เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๐๓ กองทัพหลวงของพระเจ้าอลองพญา ได้เดินทัพมาถึงกรุงศรีอยุธยา โดยตั้งทัพอยู่ที่ “บ้านกุ่ม” เหนือกรุงศรีอยุธยา ส่วนกองทัพ เจ้าชายมังระ ตั้งค่ายอยู่ที่ โพธิ์สามต้น กองทัพพม่ามิได้ยกกองทัพไปทางเรือ แสดงว่า กองทัพราชอาณาจักรเสียม-หลอ ของขุนหลวงพิพิธ(เฉินเหลียง) สามารถสกัดการรุก ทางแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างได้ผล
ภาพที่-๑๑ รูปแผนที่แสดงที่ตั้งของอู่ต่อเรือสำเภาลับ ของ พระยาราชบังสันสิน ณ ริมชายฝั่งทะเล คลองหลิงหนุ่ม และ คลองหลิงเฒ่า ในท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน
ส่วนพระยาราชบังสันสิน น่าจะได้ลำเลียงทรัพย์สินที่สำคัญ ไปซ่อนไว้ในดินแดนภาคใต้แล้ว ไม่พบหลักฐานการรบของ พระยาราชบังสันสิน ในระยะนั้นแต่อย่างใด แสดงว่า พระยาราชบังสันสิน คงจะสาละวนอยู่กับ การสร้างอู่ต่อเรือสำเภา อยู่ที่บริเวณ “คลองหลิงหนุ่ม”ª-๕ และ “คลองหลิงเฒ่า”ª-๖ ที่แขวงเมืองท่าชนะ ของเมืองไชยา ในขณะนั้นอย่างแน่นอน เพราะท้องที่ดังกล่าวยังปรากฏหลักฐาน ร่องรอยทางโบราณคดี ของอู่ต่อเรือสำเภา เป็นจำนวนมาก มาจนถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ และการขุดพบซากเรือสำเภาโบราณ บริเวณท้องที่ดังกล่าวหลายลำ ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว อีกด้วย
เมื่อกองทัพพม่ายกกองทัพเข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า หลวงอภัยพิพัฒน์(ขุนนางจีน) จากบ้านนายก่าย ได้อาสานำกองทัพ ๒,๐๐๐ คน เข้าตีค่ายพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น พระเจ้าอุทมพร รับสั่งให้ เจ้าหมื่นทิพเสนา (ปลัดกรมตำรวจ) เป็นกองหนุน เข้าตีค่ายพม่า แต่ผลของสงครามครั้งนั้น กลับพ่ายแพ้ต่อกองทัพพม่า อย่างยับเยินยับเยิน กองทัพเจ้าชายมังระ จึงเคลื่อนทัพไปตั้งที่เพนียด ส่วนกองทัพ แม่ทัพมังฆ้องนรธา เคลื่อนทัพไปตั้งทัพที่ วัดสามวิหาร
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ยังระบุอีกว่า วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๓๐๓ กองทัพพม่า ได้เผาเรือพระที่นั่ง เรือกระบวน และเรือของกองทัพเรือกรุงศรีอยุธยา หมดสิ้นª-๗ เป็นการเผาด้วยความเคียดแค้น ต่อมาในวันที่ ๒๙ เมษายน กองทัพพม่า ได้นำปืนใหญ่มาตั้งที่ “วัดกษัตรา” และ “วัดราชพลี” สามารถยิงปืนใหญ่เข้าไปในพระนคร พระเจ้าอุทมพร ทรงช้างพระที่นั่ง ไปบัญชาการรบด้วยตนเอง พม่าจึงต้องถอยทัพกลับไป
วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๓๐๓ กองทัพพม่าได้นำปืนใหญ่ มาตั้งที่ “วัดหัสดาวาส” และ “วัดหน้าพระเมรุ” ระดมยิงทั้งวันทั้งคืน กระสุนปืนใหญ่ ถูกยอดพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หักทลายลง พระเจ้าอลองพญา มาจุดชนวนปืนใหญ่ด้วยตนเอง ปืนใหญ่แตกระเบิด พระเจ้าอลองพญาบาดเจ็บสาหัส ดังนั้น ในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๐๓ พระเจ้าอลองพญา จึงรับสั่งให้ กองทัพพม่า ถอยทัพกลับไปอย่างลับๆ ทางด่านแม่ละเมา และพระองค์ สวรรคต ระหว่างทางª-๘ ขณะนั้น พระยาราชบังสันสิน จึงยังไม่พร้อมที่จะนำกองทัพเรือจากภาคใต้ เข้ามาตีโอบขนาบกองทัพพม่า ที่กำลังปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา แต่อย่างใด
เหตุการณ์หลังจากกองทัพพม่าถอยทัพกลับไป “เจ้าชายมังลอง” พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ พระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า “พระเจ้ามังลอง” ส่วนที่กรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอุทมพร รับสั่งให้เร่งรัด ปรับปรุงป้อมค่าย ซ่อมแซมพระนคร เพื่อสร้างความพร้อมในการต่อสู้กับกองทัพพม่าต่อไปในอนาคต
พระยาราชบังสันสิน กับ หยางจิ้งจุง สร้างอู่ต่อเรือลับ
ที่เมืองท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
เรื่องราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขณะที่ดำรงตำแหน่ง พระยาราชบังสันสิน หรือ เป็นแม่ทัพเรือ เป็นเรื่องราวที่ผู้สูงอายุเล่าสืบขานต่อๆ กันมา แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลังปรากฏเรื่องราวดังกล่าวน้อยมาก มีหลักฐานอยู่เพียงเล็กน้อยที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา ตอนหนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในปี พ.ศ.๒๓๐๘ มีเนื้อหาสั้นๆ ว่า “…ครั้นถึง ณ เดือน ๑๒ หน้าน้ำ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาตาก เลื่อนที่เป็นพระยากำแพงเพชร แล้วแต่งตั้งให้เป็นนายกองทัพเรือ…”ª-๙
เรื่องราวความเป็นมาในการเป็นแม่ทัพเรือของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ไม่มีที่มาที่ไป และเมื่อนำข้อมูลที่ระบุเหตุการณ์ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา ซึ่งปรุงแต่งขึ้นมาในรัชกาลที่-๓ ไปเปรียบเทียบกับพงศาวดารคองบอง ของประเทศพม่า และหลักฐานอื่นๆ จะพบเห็นว่า ข้อมูลของเหตุการณ์เกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดเหตุการณ์จริง ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา ขัดแย้งกันเองหลายตอน และยังขัดแย้งกับหลักฐานพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น จดหมายเหตุรายวันทัพ เป็นต้น สามารถประมวลนำเรื่องราวการเป็นแม่ทัพเรือของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มากล่าวไว้โดยสังเขป ดังนี้
เมื่อพระเจ้าอุทุมพร โปรดเกล้า แต่งตั้งให้ พระยาตากสิน เป็น พระยาราชบังสัน(สิน) ปกครองเมืองธนบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๐๒ เป็นผลให้ พระยาราชบังสันสิน ได้ “หม่อมสอน” ธิดาของ พระยาชุมพร(มั่น) เป็นภรรยา คนที่สอง ในขณะที่ปกครองเมืองธนบุรี ส่วนบุตรภรรยาเดิมคือ ท่านหญิงวาโลม นั้น ยังคงหลบภัยสงครามอยู่กับหม่อมนกเอี้ยง และ หม่อมอั๋น ณ เขาขุนพนม เมืองนครศรีธรรมราช
หลังจากเสร็จศึกที่ทุ่งตาลาน แขวงเมืองสุพรรณบุรีแล้ว พระเจ้าอุทุมพร รับสั่งให้ พระยาราชบังสันสิน ไปสร้างกองทัพเรือลับ ณ เมืองท่าชนะ เป็นที่มาให้พระยาราชบังสันสิน มอบหมายให้ หลวงพิพิธ(เฉินเหลียง หรือ นายเหลียง แซ่เฉิน) มาเร่งสร้างอู่ต่อเรือที่เมืองธนบุรี และนำกองทัพเข้าขัดขวางกองทัพพม่าที่จะยกกองทัพเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนพระยาราชบังสันสิน ได้เดินทางไปยังเมืองเบตุง โดยได้นำพระบรมราชโองการลับ ของพระเจ้าอุทุมพร ให้หลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) มาร่วมสร้างกองทัพเรือ ที่เมืองท่าชนะ ขากลับ พระยาราชบังสันสิน ได้ถือโอกาสนำ หม่อมนกเอี้ยง หม่อมอั๋น พร้อมบุตรธิดา จาก ถ้ำเขาขุนพนม เมืองนครศรีธรรมราช เดินทางมาพร้อมกับเรือสำเภาของ หลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) มุ่งหน้ามาสู่เมืองท่าชนะ เพื่อเตรียมสร้างกองทัพเรือ เตรียมขับไล่กองทัพพม่า ที่กำลังปิดล้อม กรุงศรีอยุธยา
ภาพที่-๑๒ ภาพจำลองเรือสำเภาของไทยที่ถูกสร้างขึ้นโดยแม่ทัพเรือพระยาราชบังสันสิน เพื่อทำสงครามกับกองทัพพม่า
เจ้าเมืองต่างๆ ในดินแดนภาคใต้ ได้นำไพร่พลมาร่วมกันสร้างอู่ต่อเรือสำเภา มีการขุด คลองหลิงหนุ่ม เลียบริมฝั่งทะเล จากคลองหลิง ต่อเชื่อมมายังคลองคันธุลี โดยชายหนุ่ม และมีการขุด “คลองหลิงเฒ่า” เลียบริมฝั่งทะเลเช่นเดียวกัน จากคลองหลิง ไปเชื่อมต่อกับคลองท่าชนะ ที่ปากน้ำท่ากระจาย โดยคนเฒ่าคนแก่ เกิดการสร้างอู่ต่อเรือสำเภาอย่างรวดเร็ว มีการตัดเส้นทางเพื่อให้ช้างลากไม้ จากเขตป่าเขา ไปยังอู่ต่อเรือทุกระยะทาง ๕๐๐ เมตร ปัจจุบันยังปรากฏร่องรอยอยู่ ผู้สูงอายุจากสายตระกูล หลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) ล้วนกล่าวตรงกันว่า ริมชายฝั่งทะเล ตั้งแต่คลองคันธุลี ไปจนถึงปากคลองท่าชนะ หรือคลองท่ากระจาย ตามแนวคลองหลิงหนุ่ม และ คลองหลิงเฒ่า คืออู่ต่อเรือสำเภาลับ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เพื่อสร้างกองทัพเรือ เตรียมทำสงครามขับไล่กองทัพพม่า ในอดีตทั้งสิ้น
การสร้างกองทัพเรือของ พระยาราชบังสันสิน ณ เมืองท่าชนะ ในปี พ.ศ.๒๓๐๓ นั้น หม่อมนกเอี้ยงได้มอบที่ดินพระราชวัง “บ้านดอนชาย” มาใช้สร้าง “วัดดอนชาย” เพื่อใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พล สร้างเสบียงอาหารให้กับนักรบ ของกองทัพเรือ และยังใช้เป็นสถานที่ ฝึกทหารเพื่อเตรียมต่อสู้ขับไล่กองทัพพม่า ที่กำลังปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา อีกด้วย หม่อมนกเอี้ยง หม่อมอั๋น ท่านหญิงวาโลม และบุตรธิดาได้มาช่วยกิจการงานต่างๆ ณ วัดดอนชาย เมืองท่าชนะ ในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย
เหตุการณ์การสร้างกองทัพเรือในครั้งนั้น พระยาราชบังสันสิน ได้นำท่านหญิงวาโลม พร้อมบุตร-ธิดา ไปสร้างบ้านเรือนอยู่ที่ วังเทพนิมิต(วังเจ้าตาก) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ “วัดศรีราชัน” และฝึกทหารอยู่ที่ “ดอนเจ้าตาก” ทางทิศใต้ของ “วัดศรีราชัน” ต่อมา พระยาอนุรักษ์ภูธร(หยัด หรือ ครู) ซึ่งเป็นน้องชายของ พระยาราชบังสันสิน ได้มาช่วยเป็นครูฝึกสอนวิชาทหาร ที่ดอนเจ้าตาก ด้วย
ส่วนหลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) เจ้าเมืองเบตุง ซึ่งมาควบคุมการสร้างอู่ต่อเรือสำเภา ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โกมุด ได้สร้างบ้านเรือนอยู่ที่ “บ้านดอนญวน” โดยฝึกทหารอยู่ที่ “ดอนโกมุด” ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของวัดศรีราชัน
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ส่งมอบเรือสำเภา ๑๐๘ ลำ
ถวายให้แก่ พระเจ้าอุทุมพร
เมื่อพระเจ้าอลองพญา ถูกปืนใหญ่ระเบิดใส่ จนบาดเจ็บสาหัส เมื่อคืนวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๓๐๓ พม่าได้ปกปิดเป็นความลับ ดังนั้นในวันถัดมา พระเจ้าอลองพญา จึงรับสั่งให้ถอยทัพกลับไปทางด่านแม่ละเมา และ สวรรคตระหว่างทาง โดยพระเจ้าอุทุมพร ไม่ทราบเหตุ และไม่กล้าส่งกองทัพเข้าไล่โจมตี เพราะยังคิดว่าเป็นแผนลวงของกองทัพพม่า พระองค์ได้มาทราบข่าวก็เมื่อกองทัพพม่าถอยทัพกลับไปไกล ถึงชายแดนแล้ว
เมื่อพระเจ้าอลองพญา สวรรคต “เจ้าชายมังลอง” พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติมีพระนามว่า “พระเจ้ามังลอง” แต่ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในของพวกราชวงศ์พม่า ประเทศพม่าจึงมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาภายในประเทศ มากกว่าการวางแผนยกกองทัพเข้ามาหวังยึดครองราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา
ส่วนเหตุการณ์ในราชอาณาจักรเสียม-หลอ นั้น พระเจ้าอุทมพร ได้รับสั่งให้ปรับปรุงป้อมค่าย ซ่อมแซมพระนคร สร้างกองทัพบก และกองทัพเรือ ให้เข้มแข็งเพื่อสร้างความพร้อมในการต่อสู้กับกองทัพพม่า เพราะยังไม่แน่ใจว่า กองทัพพม่าจะยกทัพกลับมาโจมตีราชอาณาจักรเสียม-หลอ อีกเมื่อใด
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุว่า เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๓๐๓ กองทัพพม่า ได้เข้าเผาเรือรบ เผาเรือพระที่นั่ง เผาเรือกระบวน รวมไปถึงเรือรบต่างๆ ซึ่งจอดทอดสมออยู่ที่อู่เรือกรุงศรีอยุธยา จนเสียหายหมดสิ้น เมื่อตรวจสอบเส้นทางเดินทัพของกองทัพพม่าแล้ว แสดงว่า กองทัพเรือของพระยาราชบังสันสิน สามารถทำลายกองทัพพม่าที่เดินทัพทางเรือให้เสียหายไปเป็นอันมาก กองทัพพม่าจึงเกิดความเคียดแค้น เข้าเผากองเรือต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นเมื่อกองทัพพม่าถอนทัพกลับ จึงเป็นที่มาให้พระเจ้าอุทุมพร เร่งรัดให้ พระยาราชบังสันสิน เร่งรัดสร้างกองทัพเรือสำเภามาทดแทนเรือสำเภาเดิม และสร้างกองทัพเรือขึ้นใหม่ให้เข้มแข็งยิ่งกว่าเดิม
มีเรื่องราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นแม่ทัพเรือ ให้ลูกหลานรับฟัง และนำมาเล่าต่อๆ กันมา สรุปเนื้อความได้ว่า เมื่อกองทัพพม่าถอยทัพกลับไปแล้ว พระเจ้าอุทุมพร รับสั่งให้ พระยาราชบังสันสิน สร้างอู่ต่อเรือสำเภา ขึ้นที่เมืองธนบุรี เพื่ออำพรางอู่ต่อเรือสำเภาใหญ่ ที่เป็นอู่ต่อเรือลับ ณ เมืองท่าชนะ หลวงพิพิธ (เฉินเหลียง) จึงเป็นผู้รับผิดชอบ อู่ต่อเรือสำเภา ณ เมืองธนบุรี ในขณะนั้นมีการตัดไม้จากภาคเหนือ ล่องน้ำมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนำมาเลื่อยไม้ เพื่อนำไปสร้างเรือสำเภาที่เมืองธนบุรี กันอย่างคึกคัก ส่วนเรือสำเภาที่สร้างไว้ที่เมืองท่าชนะอย่างเป็นความลับ ก็ถูกล่องมารวบรวมกันไว้ที่เมืองธนบุรีอย่างลับๆ ด้วย ดังนั้นหลังจากกองทัพพม่าถอยทัพกลับไปเพียง ๒ เดือน พระยาราชบังสันสิน ก็สามารถสร้างกองเรือสำเภา ไปถวายให้กับพระเจ้าอุทุมพร ถึง ๑๐๘ ลำ เพื่อทดแทนความเสียหายของกองเรือพระที่นั่งเดิมที่ถูกกองทัพพม่าได้เผาทำลายไป และยังมีเรืออื่นๆ ถูกสร้างขึ้นอีกจำนวนมาก
ส่วนพระยายมราชบุญชู สหายรุ่นพี่ของพระยาราชบังสันสิน ซึ่งบาดเจ็บจากการสู้รบกับกองทัพพม่า ณ ทุ่งตาลาน แขวงเมืองสุพรรณบุรี เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๓๐๓ นั้น พระยาราชบังสันสิน ได้นำกลับไปรักษาตัวที่เมืองไชยา ตั้งแต่ครั้งเดินทางไปสร้างกองทัพเรือที่เมืองท่าชนะ เมื่อพระยายมราชบุญชู เริ่มหายจากการบาดเจ็บ ก็ได้นำไพร่พลไปสร้าง วัดดอนมะพร้าว หรือ วัดดอนพร้าว ที่เมืองท่าชนะ เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกทหารเตรียมทำสงครามกับกองทัพพม่า เช่นเดียวกัน
กล่าวกันว่า บุตรชายคนที่สอง ของ พระยายมราชบุญชู ซึ่งมีชื่อว่า “บุญยัง” และได้เคยรับราชการเป็นมหาดเล็ก ซึ่งมีชื่อว่า “หลวงลักษมาณา” ได้ไปสร้างเสาหงส์ ไว้ ณ “วัดดอนพร้าว” ด้วย เป็นที่มาให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สมบัติ ว่า “หงส์ราชคฤห์” บุคคลผู้นี้ต่อมาก็คือ เจ้าพระยาวิสูตรสงครามรามภักดี(บุญยัง) ผู้ปกครองเมืองท่าทอง ต้นสายตระกูล “วิชัยดิษฐ์” ในปัจจุบัน นั่นเอง
การสร้างกองทัพเรือ ของ พระยาราชบังสันสิน กระทำกันอย่างเป็นความลับ พระยาอนุรักษ์ภูธรหยัด ซึ่งเป็นบุตรชายคนหนึ่งของหม่อมนกเอี้ยง ได้มารับราชการกับพี่ชายด้วย โดยเป็นครูฝึกทหารอยู่ที่ “ดอนเจ้าตาก” ทหารจึงมักจะเรียกว่า “ครู” ซึ่งเป็นว่าที่พระยาจักรี(ครู) ในสมัยธนบุรี อยู่ระยะหนึ่ง บุคคลผู้นี้ก็คือบิดาของ “พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม(บุญมี)” และ “พระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศร์(บุญจันทร์)” ในสมัยกรุงธนบุรี นั่นเอง
การร่วมมือร่วมใจกันครั้งนั้น ในเวลาไม่นาน พระยาราชบังสันสิน ก็สามารถสร้างกองทัพเรือขนาดใหญ่ ที่เมืองท่าชนะ และ เมืองธนบุรี จนสำเร็จ กล่าวกันว่า เรือสำเภาบางลำ สามารถบรรทุกช้าง , บรรทุกม้า เพื่อความพร้อมในการเคลื่อนกองทัพ เพื่อการทำสงครามกับพม่า ได้อย่างทันท่วงที
เชิงอรรถ
ª-๑ พลตรี จรรยา ประชิตโรมรัน การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๓๑๐ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่-๒ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๐
ª-๒ กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๓๒
ª-๓ กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๓๒
ª-๔ กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๓๓ กล่าวว่า พระยายมราชก็ต้องหอกถึงหลายแห่ง หนีมาได้ถึงพระนคร อยู่ประมาณ ๙๐ วัน ก็ถึงแก่กรรม ข้อเท็จจริงนั้น พระยาราชบังสันสิน นำนายบุญชู ซึ่งบาดเจ็บจากการถูกกระสุนปืน บาดเจ็บ ลงเรือสำเภาไปรักษาตัวที่เมืองไชยา แล้วปล่อยข่าวว่า พระยายมราชบุญชู เสียชีวิตแล้ว
ª-๕ คลองหลิงหนุ่ม เป็นคลองที่ขุดขึ้นเลียบชายทะเล ขนานกับชายทะเล ห่างจากชายทะเลระหว่าง ๑๐๐-๕๐๐ เมตร จากคลองหลิง(คลองตลิ่ง) ตรงไปยังคลองคันธุลี มีความยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ขุดโดยกองทหารหนุ่ม ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓ เพื่อสร้างอู่ต่อเรือ ประมาณ ๒๐ อู่ต่อเรือ มีเส้นทางที่ใช้ช้างลากไม้เพื่อเดินทางเข้าสู่อู่ต่อเรือที่คลองหลิงหนุ่ม ประมาณ ๒๐ เส้นทาง ปัจจุบัน คลองหลิงหนุ่ม ตื้นเขิน ขาดเป็นบางช่วง แต่ยังคงมีร่องรอยของอู่ต่อเรือ และ ซากเรือโบราณที่ขุดพบ เป็นประจำ
ª-๖ คลองหลิงเฒ่า เป็นคลองที่ขุดขึ้นเลียบชายทะเล ขนานกับชายทะเล ห่างจากชายทะเลระหว่าง ๒๐๐-๓๐๐ เมตร จากคลองหลิง(คลองตลิ่ง) ตรงไปยังคลองท่าชนะ ที่ปากน้ำท่ากระจาย มีความยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร ขุดโดยกองทหารเฒ่า ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓ เพื่อสร้างอู่ต่อเรือ ประมาณ ๑๐ อู่ต่อเรือ มีเส้นทางที่ใช้ช้างลากไม้เพื่อเดินทางเข้าสู่อู่ต่อเรือที่คลองหลิงหนุ่ม ประมาณ ๑๐ เส้นทาง ปัจจุบัน คลองหลิงเฒ่า คงเหลือแคบและตื้นเขิน แต่ยังคงมีร่องรอยของอู่ต่อเรือ และ ซากเรือโบราณที่ขุดพบ เป็นประจำ กล่าวกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้ทหารหนุ่ม และทหารเฒ่า ขุดคลองแข่งขันกัน ผลปรากฏว่า ทหารเฒ่า เป็นฝ่ายชนะ
ª-๗ พลตรี จรรยา ประชิตโรมรัน การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๓๑๐ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่-๒ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๓๑
ª-๘ พลตรี จรรยา ประชิตโรมรัน การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๓๑๐ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่-๒ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๓๒-๓๓
ª-๙ กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๔๘
บทที่-๖
สามสหาย ถูกปลดออกจากราชการ
ขุนนางอำมาตย์ชั่ว เข้ายึดอำนาจกลับคืนให้กับ พระเจ้าเอกทัศน์
การที่ขุนนางอำมาตย์ฝ่ายรักชาติ สามารถสนับสนุนพระเจ้าอุทุมพร ขึ้นมาครองราชย์สมบัตินั้น ทำให้ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง สายพระเจ้าเอกทัศ อดหยากปากแห้ง ต้องเสียผลประโยชน์เป็นอย่างมาก และต้องยากจนลงเรื่อยๆ บางคนต้องนำไพร่พลหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ตามเมืองต่างๆ อย่างลับๆ และมีการส่งตัวแทนมาติดต่อกับ ภิกษุพระเจ้าเอกทัศ เป็นประจำ เพื่อวางแผนยึดอำนาจกลับคืน
ส่วนเหตุการณ์ในพม่า นั้น เมื่อพระเจ้าอลองพญาสวรรคต และพระเจ้ามังลอง ขึ้นครองราชย์สมบัติ เหตุการณ์ในพม่าเองก็เกิดความขัดแย้งภายในราชวงศ์ ของกษัตริย์พม่า พวกมอญก็ฉวยโอกาสกระด้างกระเดื่อง ไม่ยอมขึ้นต่อพระเจ้ามังลอง ขณะนั้น ภิกษุกรมหมื่นเทพพิพิธ(เจ้าฟ้าแขก) ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในเขตป่าเขา กับไพร่พลประมาณ ๕๐๐ คน ของ พระยาเพชรบุรี(โจร) นอกราชการ ได้ร่วมมือกับ คณะกรมการเมืองมะริด และเมืองตะนาวสี เข้ายึดเมืองกลับคืน พร้อมกับทำการกวาดต้อนประชาชนที่หนีภัยสงครามไปอยู่ในเขตป่าเขา ให้กลับคืนสู่บ้านเมือง เข้าฟื้นฟูเมืองขึ้นใหม่ ในเวลาไม่นาน เมืองมะริด และเมืองตะนาวสี ก็กลับคืนเป็นเมืองท่าของขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ดังเดิม ผลประโยชน์จากการฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงถูกขุนนางอำมาตย์ชั่ว ส่งไปเพื่อใช้เป็นกองทุนในการก่อการรัฐประหาร ของ ภิกษุพระเจ้าเอกทัศ อย่างลับๆ อีกครั้งหนึ่ง
ปลายปี พ.ศ.๒๓๐๓ ภิกษุพระเจ้าเอกทัศ สามารถสะสมทุนเพื่อเตรียมใช้ยึดอำนาจกลับคืนได้เป็นจำนวนมาก จึงร่วมมือกับขุนนางอำมาตย์ชั่ว ผู้ชอบทำตอแหล ประจบสอพลอ และฉ้อราษฎร์บังหลวง รอคอยจังหวะและโอกาส เข้ายึดอำนาจกลับคืน วันนั้น พระเจ้าอุทุมพร เสด็จไปตรวจราชการกองทัพเรือ ของ พระยาราชบังสันสิน ที่เมืองธนบุรี ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวงก็ได้โอกาส ส่งทหารเข้าจับลูกเมียของขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติ ที่กรุงศรีอยุธยา เป็นตัวประกัน เพื่อมิให้เกิดการต่อสู้
เมื่อพระเจ้าอุทุมพร เสด็จกลับมาจากเมืองธนบุรีในเวลาดึกดื่น ด้วยความอ่อนเพลีย และเข้าไปบรรทมในพระราชวังหลวง แล้วก็หลับไปด้วยความอ่อนเพลีย โดยมิได้สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น พระองค์ถูกปลุกขึ้นมาตอนเช้า เมื่อทหารเข้ามาควบคุมตัวให้ไปเข้าเฝ้า พระเจ้าเอกทัศ โดยพระเจ้าเอกทัศน์ได้ถือกระบี่อาญาสิทธิ์ หวังที่จะสังหาร พระเจ้าอุทุมพร มิให้เป็นเสี้ยนหนามการครองราชย์สมบัติอีกต่อไป
ในเวลาเดียวกัน พระราชชนนี(กรมหลวงพิจิตรมนตรี) ทราบเหตุ จึงรีบเสด็จมาร้องขอชีวิต พระเจ้าอุทุมพร ไว้ โดยเสนอให้ออกผนวช แต่พระเจ้าเอกทัศ มีเงื่อนไข ไม่ยอมให้ออกผนวชที่กรุงศรีอยุธยา จึงนำกำลังทหารทำการควบคุมตัว พระเจ้าอุทมพร ให้ออกไปผนวช ที่วัดโพธิ์ทอง แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ (ตั้งอยู่ที่บ้านคำหยาด จ.อ่างทอง ในปัจจุบัน) ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวงส่วนใหญ่ จึงเข้าครองเมืองต่างๆ ของราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง
หลักฐานจดหมายเหตุของบาทหลวงฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในขณะนั้นว่า เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๐๓ เมื่อบาทหลวงคนดังกล่าวอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ได้เขียนบันทึกว่า
“…ในวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๐๓ พระเจ้าเอกทัศ ได้สั่งปลดขุนนางอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ออกไปเกือบทั้งหมด คงเหลือแต่ เจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งได้ถวายสิ่งของ และเงินทอง เป็นสินบนจำนวนมาก จึงสามารถอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ และยังได้รับโปรดเกล้าจาก พระเจ้าเอกทัศ ให้เลื่อนตำแหน่ง เป็น สมุหนายก อีกด้วย...”
สายตระกูล เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู ได้นำเหตุการณ์ดังกล่าว เล่าต่อๆ กันมาในสายตระกูล มีเนื้อหาโดยสรุปว่า เหตุการณ์ในขณะนั้น เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู เคยดำรงตำแหน่งเป็น พระยายมราชบุญชู ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืน ณ สมรภูมิสงครามทุ่งตาลาน แขวงเมืองสุพรรณบุรี และได้ไปกลับไปรักษาตัวที่เมืองไชยา จนกระทั่งหายจากการบาดเจ็บเป็นที่เรียบร้อย พระเจ้าอุทมพร จึงโปรดเกล้าให้เดินทางพร้อมบุตรภรรยา กลับไปรับราชการ ที่กรุงศรีอยุธยา ในตำแหน่งเดิม
เหตุการณ์เมื่อเกิดการรัฐประหารที่กรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้น หม่อมสุณี พร้อมบุตรธิดา ถูกทหารฝ่ายขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง จับตัวไว้เป็นประกันด้วย ลูกเมียของขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติส่วนใหญ่ที่รับราชการอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ถูกจับตัวไปเป็นประกัน ขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติ จึงไม่กล้านำกองทหารออกไปต่อสู้ กับ ทหารของขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเหตุให้ขุนนางอำมาตย์ชั่ว สามารถยึดครองพระราชวังหลวง ในตอนดึกของคืนวันนั้นได้สำเร็จ อย่างง่ายดาย
ส่วนเจ้าพระยาจักรีมุกดา มิได้ถูกจับกุม เพราะก่อนหน้านั้น พระเจ้าอุทุมพรได้มอบหมายให้เดินทางไปติดต่อซื้ออาวุธปืน กับ ฝรั่งฮอลันดา ที่เกาะชวา จึงไม่ถูกปลดออก ต่อมาเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าเอกทัศขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นครั้งที่สอง และทราบว่า เจ้าพระยาคลัง ได้ให้สินบนแก่พระเจ้าเอกทัศ จึงไม่ถูกปลดออก ซ้ำมีตำแหน่งสูงขึ้น จึงได้ฝากสิ่งของจากเกาะชวา พร้อมอาวุธปืน ไปถวายแด่พระเจ้าเอกทัศ เมื่อเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา จึงไม่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง
พระยาราชบังสันสิน และ สองสหาย ถูกปลดออกจากราชการ
เมื่อพระเจ้าเอกทัศ เข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าอุทุมพร และขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นครั้งที่สองนั้น คือเหตุการณ์เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๓๐๓ ถึงต้นปี พ.ศ.๒๓๐๔ พระยาสามสหายร่วมรบ คือ พระยาราชบังสันสิน พระยายมราชบุญชู และ พระยาราชบุรีทองด้วง ถูกพระเจ้าเอกทัศ ปลดออกจากราชการทั้ง ๓ ท่าน
ทั้งสามสหายได้นัดพบกันที่เมืองธนบุรี และมีความเห็นร่วมกันว่า ราชอาณาจักรเสียม-หลอ ที่ถูกปกครองโดยขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น คงจะต้องเสียทีแก่พม่าในอนาคตอย่างแน่นอน ถ้าหากว่ากองทัพพม่ายกทัพเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง จึงนัดหมายไปพบกัน ณ ถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง เมืองท่าชนะ เนื่องจากจะมีงานวันชาติไทย คืองานสงกรานต์ รดน้ำพระนอน พ่อหงสาวดี ระหว่างวันที่ ๑๐ ถึง ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๐๔ เพื่อร่วมกันหารือ วางแผนแก้ไขปัญหา ของชาติไทย ร่วมกัน อย่างลับๆ
ภาพที่-๑๓ ภาพปากถ้ำใหญ่ เรียกกันว่าถ้ำแม่นางส่ง ตั้งอยู่ที่ภูเขาแม่นางส่ง(ภูเขาประสงค์) ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ตัวถ้ำสูงจากพื้นดินประมาณ ๑๐๐ เมตร ภายในถ้ำมีเทวรูปนอนพ่อหงสาวดี และเทวรูปอื่นๆ อีกมาก เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่สามสหาย ร่วมกันดื่มน้ำสาบานร่วมกันว่าจะร่วมกันรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ ของชนชาติไทย มิให้ข้าศึกพม่าเข้ายึดครอง
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในขณะนั้น กลายเป็น แม่ทัพเรือนอกราชการ ต้องแสร้งใช้ชีวิตอย่างสามัญชน อยู่กับ “หม่อมสอน” มเหสีพระองค์ที่สอง ที่เมืองธนบุรี แต่เบื้องหลังที่แท้จริงได้แอบหลบไปสร้างกองทัพเรือ และสะสมกำลังกองทัพเรือ และฝึกทหารอยู่อย่างลับๆ ที่เมืองท่าชนะ มีเจตนาเพียงเพื่อยึดอำนาจกลับคืนให้กับ พระเจ้าอุทุมพร เท่านั้น ส่วนพระยายมราชบุญชู ก็กลับไปพักอาศัยอยู่ที่ “วัดดอนมะพร้าว” เพื่อสะสมกำลัง โดยเจตนาเดียวกัน ส่วนพระยาราชบุรีทองด้วง ได้เดินทางกลับไปพักอาศัยอยู่กับ บิดา-มารดา ที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง มีเจตนาที่จะบวชเป็นพระภิกษุ และต้องแต่งงาน แต่ยังไม่ถึงฤดูกาล เข้าพรรษา
เมื่อถึงวันนัดหมาย พระยาสามสหายได้มาพบกันตามนัดหมาย ณ “ทุ่งลานช้าง” ในงานสงกรานต์ รดน้ำพระนอน “พ่อหงสาวดี” พระยาสามสหายได้พิจารณาสถานการณ์ร่วมกันแล้ว มีความเห็นร่วมกันว่า กองทัพพม่า จะต้องยกกองทัพเข้ามาครอบครองดินแดน ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน และในเวลาอีกไม่นาน เมือง และแว่นแคว้นต่างๆ ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรเสียม-หลอ จะต้องเสียดินแดนเพิ่มให้กับกองทัพพม่าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกองทัพพม่าเข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยา อันเป็นราชธานี ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ อย่างแน่นอน และในที่สุด กองทัพของขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้ชอบสร้างแต่ข่าวตอแหล มีแต่ความอ่อนแอ มุ่งเน้นแต่การแสวงหาผลประโยชน์เข้าสู่ตนเองและพรรคพวก ย่อมไม่สามารถทำการสู้รบกับกองทัพที่เข้มแข็ง ของพม่าได้อย่างแน่นอน
พระยาสามสหายจึงได้ร่วมกันกรีดเลือด ร่วมกันทำสัตย์ปฏิญาณดื่มน้ำสาบานร่วมกัน ต่อหน้าเทวรูปพระนอน “พ่อหงสาวดี” ในถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง เมืองท่าชนะ โดยได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณร่วมสาบานกันว่า จะร่วมกันต่อสู้รักษาผืนแผ่นดินราชอาณาจักรเสียม-หลอ มิให้ตกไปเป็นเมืองขึ้นของชนชาติพม่า ซึ่งเป็นเหตุที่มาให้ นายทองด้วง ต้องยอมเข้าสวามิภักดิ์ ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในเวลาต่อมา
การร่วมสาบานของสามสหายผู้รักชาติ เป็นที่มาให้ แม่ทัพเรือนอกราชการ(สิน) และ พระยายมราชนอกราชการ(บุญชู) ได้นำไพร่พลไปสร้างบ้านเรือนที่พักอาศัยให้กับ พระยาราชบุรีนอกราชการ(ทองด้วง) ณ “บ้านทุ่งนาเล” เมืองท่าชนะ และตระเตรียมวางแผนให้ พระยาราชบุรีนอกราชการ(ทองด้วง) สร้าง “วัดกลาง” เพื่อใช้เป็นที่ฝึกทหาร ขึ้นมาเหมือนกับ “วัดดอนชาย” และ “วัดดอนมะพร้าว” แต่การสร้าง “วัดกลาง” แต่ยังไม่ทันบรรลุ ครอบครัวของ นายทองด้วง ได้มาตามตัวให้ นายทองด้วง ไปออกผนวช และจัดให้สมรสกับ “น.ส.นาค” ณ ดินแดนปากน้ำ แม่น้ำแม่กลอง
พม่า ส่งกองทัพเข้ายึดครอง ราชอาณาจักรลานนา
ส่วนเหตุการณ์ในประเทศพม่า เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๓๐๔ นั้น เจ้าเมืองต่างๆ ของชนชาติมอญได้ลุกขึ้นก่อกบฏ ขึ้นโดยทั่วไป โดยได้รับการสนับสนุนจากราชาแห่งราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ด้วย เมื่อพระเจ้ามังลอง สามารถปราบปรามการแข็งเมืองของชนชาติมอญ จนสงบราบคาบ คงเหลือแต่เมืองทวาย ซึ่งขุนนางมอญนาม “หุยตองจา” ยังเป็นผู้ครอบครองเมืองอยู่ โดยยอมส่งเครื่องบรรณาการให้กับพระเจ้าเอกทัศ เป็นเหตุให้ พระเจ้ามังลอง ไม่พอใจ กษัตริย์ แห่ง ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ และ พระเจ้าเอกทัศ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา เป็นอย่างมาก เพราะขณะนั้น กษัตริย์ แห่ง ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ยอมขึ้นต่อการปกครองของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา โดยได้ยอมส่งเครื่องบรรณาการให้กับพระเจ้าเอกทัศ เพื่อให้กองทหารกรุงศรีอยุธยา ของ พระเจ้าเอกทัศ คุ้มครอง จากการรุกรานของกองทัพราชอาณาจักรพม่า
พระเจ้ามังลอง ได้รับสั่งให้ พระยาอภัยคามี(โปมะยุหง่วน) เป็นแม่ทัพ และ “มังคละศิริ” เป็นปลัดทัพ นำทหาร ๗,๕๐๐ คน ยกทัพมาหวังเข้ายึดครอง ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ เป็นเหตุให้ กษัตริย์ แห่ง ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ขอกำลังจากกรุงศรีอยุธยา ให้ไปร่วมช่วยเหลือเพื่อการสู้รบกับกองทัพพม่า แต่กองทัพของขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง มุ่งเน้นแต่การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงแสร้งเคลื่อนทัพอย่างช้าๆ เพราะไม่ต้องการเข้าไปช่วยเหลือ ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ เป็นเหตุให้กองทัพพม่าสามารถ เข้ายึดครอง ราชอาณาจักรลานนา เป็นผลสำเร็จ เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๓๐๔¨-๑
หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้ามังลอง ก็เสด็จสวรรคต เจ้าชายมังระ ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระองค์ที่สอง ของพระเจ้าอลองพญา และเคยนำกองทัพมาตี ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น พระเจ้ามังระ แทนที่ โดยที่ พระเจ้ามังระ ได้มีการเตรียมการทำสงครามเข้ายึดครอง กรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่งทันที พระเจ้าเอกทัศ ทราบเหตุการณ์ดังกล่าวดี จึงเร่งส่งราชทูตไปยังประเทศจีน เพื่อขอให้ประเทศจีน รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ และขอความคุ้มครองจาก พระเจ้ากรุงจีน ให้คุ้มครองราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา จากการรุกรานของ ราชอาณาจักรพม่า ด้วย
พระยาราชบังสันสิน สร้างกองทัพลับ เตรียมยึดอำนาจ คืนให้กับ พระเจ้าอุทุมพร
แม้ว่า พระยาราชบุรีนอกราชการ(ทองด้วง) มีภารกิจ ไม่สามารถร่วมกันสร้างกองทัพ ร่วมกับ แม่ทัพเรือนอกราชการสิน และ พระยายมราชบุญชูนอกราชการ ที่เมืองท่าชนะได้ แต่ทั้งสองสหายก็ได้ร่วมมือกัน สร้างกองทัพใหญ่ หวังเพื่อใช้เป็นกองทัพเข้ายึดอำนาจกลับคืนให้กับ พระเจ้าอุทุมพร ให้สำเร็จ เพื่อปราบขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ให้หมดสิ้นไปจากราชอาณาจักรเสียม-หลอ
แม่ทัพเรือนอกราชการ พระยาราชบังสันสิน สามารถสร้างเรือสำเภาขนาดใหญ่ เพื่อใช้ลำเลียงกองทัพช้าง ลำเลียงกองพันทหารม้า เพื่อการเคลื่อนทัพทางเรือ สู่การรบทางบก ปกป้องเมืองท่าริมฝั่งชายทะเลได้อย่างรวดเร็ว สายราชวงศ์เครือญาติ ของ แม่ทัพเรือนอกราชการ พระยาราชบังสันสิน ล้วนมาร่วมสร้างกองทัพในครั้งนั้นด้วย
ตำแหน่งขุนนางอำมาตย์ ชั้นผู้ใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ล้วนเป็นผลจากการร่วมมือกันในการสร้างกองทัพลับ ณ เมืองท่าชนะ แทบทั้งสิ้น สามีของน้องสาวสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งเป็นบุตรชายคนหนึ่งของ เจ้าพระยาจักรี(มุกดา) ที่มีชื่อว่า ขุนหลวงอินทร์รองเมือง(บุญรอด) และต่อมาได้รับโปรดเกล้าให้ไปเป็นพระยาตะกั่วป่า ก็คือ “เจ้าพระยาอินทร์รักษา(บุญรอด)” ผู้ปกครองเมืองตามชายฝั่งทะเลตะวันตก และเป็น บิดาของ “พระเจ้าหลานเธอ เจ้านราสุริวงศ์” และ “พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนสุรินทร์สงคราม” ในสมัยกรุงธนบุรี นั่นเอง ครอบครัวดังกล่าว ได้มาร่วมสร้างกองทัพลับ ให้กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในขณะนั้นด้วย
น้องชายคนเดียว ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งมีชื่อว่า หลวงอนุรักษ์ภูธร(หยัด หรือ ครู) ได้มาร่วมสร้างกองทัพลับ กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ เมืองท่าชนะด้วย บุคคลผู้นี้ในสมัยกรุงธนบุรี ก็คือ ว่าที่พระยาจักรี (ครู) หรือ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร (หยัด) ผู้ปกครองเมืองนครสวรรค์ และเป็นผู้ช่วยขุดอุโมงค์ เข้าไปช่วยเหลือนำสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ให้สามารถหลบหนีออกมาได้ เมื่อมีการรัฐประหาร เปลี่ยนราชวงศ์ ส่วนพระยายมราชนอกราชการ (บุญชู) นั้น พี่น้องต่างมารดา กับนายบุญรอด ก็ได้ไปสมรสเกี่ยวดองกับ ญาติของสามีหม่อมอั๋น น้องสาวของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในสมัยกรุงธนบุรี นายบุญชู ก็คือ “เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (บุญชู) ในสมัยกรุงธนบุรี นั่นเอง
ส่วนสายตระกูลหม่อมอั๋น ซึ่งเป็นน้องสาว ของ หม่อมนกเอี้ยงนั้น ซึ่งมีบุตรและธิดา ๙ คน ล้วนได้มาร่วมสร้างกองทัพลับ ร่วมกับ แม่ทัพเรือนอกราชการ (สิน) ด้วย หลวงพิพิธ (เฉินเหลียง) ได้สมรสกับ “แอ๋ว” ซึ่งบุตรสาวคนหนึ่ง ของ หม่อมอั๋น ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี หลวงพิพิธ จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็น “พระยาโกษาธิบดี และ เจ้าพระยาราชาเศรษฐี (เฉินเหลียง) ผู้ปกครองเมืองบันทายมาศ (เมืองออกแก้ว)
ส่วนขุนหลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) ครั้งแรกได้มาสมรสกับ “เอียง” ซึ่งเป็นบุตรสาวคนหนึ่ง ของ หม่อมอั๋น แต่ต่อมา “เอียง” ได้เสียชีวิตที่เมืองเบตุง หม่อมอั๋น จึงมอบบุตรสาวอีกคนหนึ่งชื่อ “อิ้ง” ให้มาสมรสด้วย และได้มาช่วยสร้างกองทัพเรือ และฝึกทหารอยู่ที่ ดอนโกมุด ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี หลวงพิชัย เป็นผู้นำทัพหน้าเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้น ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าพระยาพิไชยไอยสวรรค์(หยางจิ้งจุง) เป็นพระยาราชทูต และเป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี(หยางจิ้งจุง) ในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ ยังทราบข้อมูลอีกว่า มีบุตรชายของหม่อมอั๋น อย่างน้อยสามคน ซึ่งได้มาร่วมสร้างกองทัพ กับ แม่ทัพเรือนอกราชการ (สิน) ณ เมืองท่าชนะด้วย บุคคลดังกล่าว ในสมัยกรุงธนบุรี ก็คือ พระยาเพชรบุรี (บุญมา) ซึ่งเสียชีวิตระหว่างยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.๒๓๑๒ บุตรชายอีก ๒ คนของหม่อมอั๋น ที่เป็นขุนนางสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี ก็คือ เจ้าพระยาสุรบดินสุรินทร์ฤาไชย (บุญมี) และ พระยาพิชัยราชา (บุญชัย) นั่นเอง
เมื่อแม่ทัพเรือนอกราชการ พระยาราชบังสันสิน ได้สร้างกองทัพใหญ่ขึ้นมาสำเร็จ ก็ได้วางแผนนัดหมายให้ เจ้าพระยาจักรี (มุกดา) เจ้าพระยาอภัยราชา (บุญรอด) ซึ่งเป็นพ่อตาหม่อมอั๋น พระยาเพชรบุรี (ตาล) ซึ่งเป็นสามีหม่อมอั๋น และพระยายมราชนอกราชการ (บุญชู) ไปพบกับ ภิกษุพระเจ้าอุทมพร แขวงเมืองวิเศษไชชาญ อย่างลับๆ เพื่อวางแผนยึดอำนาจ จาก พระเจ้าเอกทัศ คืนให้แก่ พระเจ้าอุทุมพร
พระเจ้าอุทุมพร มีความเห็นต่อขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติ ที่ลักลอบไปเข้าเฝ้าว่า ขอให้ขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติ หาหนทางให้สามสหายกลับเข้าไปรับราชการ ในตำแหน่งเดิมก่อน แล้วจึงค่อยทำการ เพราะมีโอกาสเสียเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกัน มากกว่าที่ควรจะเป็น กองทัพลับของ พระยาราชบังสันสิน จึงต้องตั้งมั่นอยู่กับที่อย่างลับๆ ณ เมืองท่าชนะ เพื่อรอคอยโอกาส
พระยาราชบังสันสิน สร้างโรงงานผลิตปืนลูกซอง ใช้ในกองทัพ
ในท้องที่แห่งหนึ่งบริเวณบ้านร้อยเรือน ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มีศาลาเล็กๆ มีพระพุทธรูปตั้งอยู่กลางศาลา ๑ องค์ ทุกๆ ปี ในวันรับส่งดวงวิญญาณปู่ย่าตายายในเดือนสิบ จะต้องมีการทำบุญรับดวงวิญญาณ และ ส่งดวงวิญญาณ ปู่ย่าตายาย ในพื้นที่ดังกล่าวเป็นประจำทุกๆ ปี สืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทุกๆ ครั้งที่มีการทำบุญประจำปี มักจะมีดวงวิญญาณบรรพชน เช่น ดวงวิญญาณพ่อตาขุนฤทธิ์เดช มาจับร่างผู้หนึ่งผู้ใด และมักจะกล่าวถึงโรงงานผลิตปืนลูกซอง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว เสมอ
เมื่อสืบสาวราวเรื่องดังกล่าว ก็สามารถนำมากล่าวไว้โดยสังเขป มีเรื่องเล่ากันว่า ก่อนหน้านั้น แม่ทัพเรือ พระยาราชบังสันสิน ได้เคยติดต่อซื้อปืนลูกซองจากพ่อค้าฝรั่ง มาใช้ในกองพันทหารม้าพระยาตากสิน มาก่อนแล้ว และประทับใจในการใช้ปืนลูกซองมาก เมื่อได้รับตำแหน่ง รับราชการเป็นแม่ทัพเรือ พระยาราชบังสันสิน เจ้าเมืองธนบุรี นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้เคยพบเห็น โรงตีเหล็ก และโรงหลอมเหล็ก ซึ่งใช้ผลิตเฟืองจักร ของ เครื่องฝัดข้าว และเครื่องสีลม ของ ขุนพัฒน์ ซึ่งเป็นบิดา ที่ทุ่งสีลม เป็นที่มาให้พระยาราชบังสันสิน ร้องขอให้บิดา ทดลองผลิตปืนลูกซอง ขึ้นใช้เอง และสามารถผลิตขึ้นใช้สำเร็จ คงเหลือแต่ลูกปืนลูกซอง ซึ่งยังผลิตใช้เองไม่ได้ เหตุการณ์ครั้งนั้น ขุนพัฒน์ ได้ผลิตปืนลูกซอง ต้นแบบ ให้กับกองทัพพระยาราชบังสันสิน จำนวนหนึ่ง
เมื่อพระยาราชบังสันสิน ถูกปลดออกจากราชการ และได้ไปส้องสมกำลังที่เมืองท่าชนะ เพื่อยึดอำนาจคืนให้กับ พระเจ้าอุทมพร ก็ได้ให้บิดา ส่งน้องชายต่างมารดา ชื่อ ขุนฤทธิ์เดช ไปช่วยสร้างโรงตีเหล็ก โรงหลอมเหล็ก เพื่อผลิตปืนลูกซองขึ้นใช้เองขึ้นบริเวณ หนองน้ำผุด บ้านร้อยเรือน เมืองคันธุลี พื้นที่ดังกล่าวจะมีน้ำจืดใสสะอาด ผุดออกมาจากพื้นดิน มีปริมาณมาก กล่าวกันว่า แร่เหล็กที่นำมาหลอมนั้น พระยาราชบังสันสิน ได้จากแหล่งแร่เหล็กบริเวณภูเขาหัวแมว ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ต่อมาโรงงานผลิตปืนลูกซองของพระยาราชบังสันสิน ได้ขยายออกไปหลายแห่ง รวมไปถึงได้ขยายไปตั้งที่ภูเขาถ่าน ท้องที่ ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน อีกด้วย พระยาราชบังสันสิน สามารถผลิตปืนลูกซองขึ้นใช้ในกองทัพเป็นจำนวนมาก และต่อมาสามารถผลิตปืนกลลูกซองตับ ขึ้นมาสำเร็จ อีกด้วย
ส่วนการผลิตลูกปืน ของ ปืนลูกซองนั้น พระยาราชบังสันสิน ได้พยายามทดลองผลิตขึ้นใช้เองด้วย โดย หยางจิ้งจุง เป็นผู้ติดต่อซื้อแผ่นทองแดง จาก ประเทศจีน มาใช้ทำแก๊ป ของ ลูกกระสุนปืนลูกซอง จนสามารถผลิตลูกกระสุนปืนลูกซองขึ้นใช้เองสำเร็จ¨-๒ กองทัพของพระยาราชบังสันสิน และพรรคพวกนั้น จึงมีอาวุธที่ทันสมัยกว่าข้าศึก ภาพกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาภายหลัง มักจะสร้างภาพว่า กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ รบกับข้าศึกพม่า ด้วยหอกดาบ ซึ่งมิได้เป็นจริงตามที่มีการปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลัง แท้ที่จริงแล้ว กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีอาวุธที่ทันสมัยกว่ากองทัพพม่า มาก จึงเป็นฝ่ายชนะสงครามมาโดยตลอด
ในช่วงเวลาที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกพระเจ้าเอกทัศ ปลดออกจากราชการนั้น เป็นช่วงเวลาที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีโอกาสค้นคว้าอาวุธใหม่ๆ เพื่อผลิตขึ้นใช้เอง เช่นการผลิตปืนกลลูกซองตับ และการผลิต ลูกกระสุนปืนลูกซอง ขึ้นใช้เอง น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว มีข้อสังเกตว่า ในงานวันไหว้ครู สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่จัดทำขึ้นโดยเชื้อสายราชสกุล พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ที่บ้านหน้าสวน ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ที่สืบทอดเป็นประเพณี ทุกๆ ปีนั้น จะต้องนำปืนลูกซอง ลูกกระสุนปืนลูกซอง มาร่วมในพิธีดังกล่าว และต้องยิงปืนลูกซอง ทุกครั้ง เพื่อถวายแด่ดวงวิญญาณ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และดวงวิญญาณผู้ตายที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยทุกๆ ครั้ง
พระยาราชบังสันสิน กลับเข้ารับราชการใหม่
เมื่อภิกษุพระเจ้าอุทุมพร รับสั่งให้ เจ้าพระยาจักรีมุกดา หาหนทางให้สามสหาย และ ขุนนางฝ่ายรักชาติ กลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง ขุนนางที่ได้เคยเข้าเฝ้า ภิกษุพระเจ้าอุทุมพร อย่างลับๆ ก็พยายามส่งมอบเงินทอง และทรัพย์สินต่างๆ ให้กับพระเจ้าเอกทัศ และผู้ใกล้ชิด เป็นประจำ และรอคอยโอกาสที่จะกราบทูลให้แม่ทัพเรือ พระยาราชบังสันสิน นอกราชการกลับเข้ารับราชการ แต่ก็ยังไม่มีโอกาส และ จังหวะที่อำนวย
ปี พ.ศ.๒๓๐๖ โอกาสที่รอคอยก็มาถึง เมื่อกองทัพพม่าวางแผนเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากพระเจ้ามังระ สืบทราบว่า ราชอาณาจักรเสียม-หลอ เต็มไปด้วยขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฉ้อราษฎร์บังหลวง ขุนนางชอบทำตอแหล หาความจริงไม่ได้ในดินแดนราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่แบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ประชาชนตามเมืองต่างๆ ขาดการดูแลจากรัฐ กฎหมายต่างๆ ที่ถูกบังคับใช้ จะถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอำนาจของขุนนางอำมาตย์ชั่ว และทำลายอำนาจของขุนนางอำมาตย์ฝ่ายรักชาติ ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรม จึงได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสกันไปทั่ว มีการเก็บภาษีแม้กระทั่ง มะพร้าวแห้งที่หลุ่นมาจากต้น และผักบุ้งที่ขึ้นเองในท้องคู ขณะนั้นพระยาแก้วโกรพ (ตะตา) เจ้าเมืองพัทลุง ซึ่งเป็นคุณอา ของ เจ้าพระยาจักรีมุกดา ป่วยหนัก และขุนนางอำมาตย์ชั่ว ทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนัก หัวเมืองทางภาคเหนือ ของราชอาณาจักรลานนา เชียงใหม่ รวมทั้งแคว้นลานช้าง ของ ราชอาณาจักรลาว ก็ถูกกองทัพพระเจ้ามังระ เข้ายึดครองไปเรียบร้อยแล้ว
เจ้าพระยาจักรีมุกดา ได้อ้างเหตุที่จะต้องไปเยี่ยมเยียน มหาหุมตะตา ผู้เป็นคุณอาที่เมืองพัทลุง และติดต่อซื้ออาวุธปืน มาเพิ่ม จึงได้นำสิ่งของต่างๆไปถวายให้กับพระเจ้าเอกทัศ เพื่อขอลาราชการไปเยี่ยมอาการป่วย ของ มหาหุมตะตา ที่เมืองพัทลุง เจ้าพระยาจักรีมุกดา จึงถือโอกาสกราบบังคุมทูลต่อพระเจ้าเอกทัศ อ้างเหตุเป็นห่วงกองทัพพม่า เตรียมกำลังเข้าทำสงครามยึดครองกรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง จึงกราบทูลเสนอให้รับพระยาสามสหาย กลับเข้ารับราชการดังเดิม พระเจ้าเอกทัศ ทรงเห็นชอบจึงโปรดเกล้าให้ พระยาสามสหาย กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม อีกครั้งหนึ่ง พร้อมๆ กับขุนนางฝ่ายรักชาติ อีกจำนวนหนึ่ง
เมื่อสามสหายได้กลับเข้ารับราชการดังเดิม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๖ แม่ทัพเรือพระยาราชบังสันสิน ได้กลับไปปกครองเมืองธนบุรี ดังเดิมอีกครั้งหนึ่ง พระยายมราชบุญชู ได้กลับไปรับราชการที่ กรุงศรีอยุธยา ส่วนพระยาราชบุรีทองด้วง ก็ได้กลับไปปกครองเมืองราชบุรี ดังเดิม ส่วน พระยาเพชรบุรีตาล ก็ได้กลับไปรับราชการเป็น พระยาเพชรบุรี อีกครั้งหนึ่ง
ขุนหลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) ได้กลับไปรับราชการเป็นเจ้าเมืองเบตุง ได้ไปสร้างกองทัพเรืออย่างลับๆ อยู่ที่ เมืองโกลี-โกลก(สุไหงโกลก) ส่วนขุนหลวงพิพิธวาที(เฉินเหลียง) ได้กลับไปรับราชการเป็นเจ้าเมืองพุทไธมาศ(เมืองตาแก้ว ดั้งเดิม) ได้ไปสร้างกองทัพเรืออย่างลับๆ อยู่ที่เมืองพุทไธมาศ เช่นกัน ส่วนขุนหลวงพรหมเสนา¨-๓ น้องชาย ของ หยางจิ้งจุง ซึ่งไม่ถูกปลดออกจากราชการเพราะช่วยส่งส่วยให้กับขุนนางอำมาตย์ชั่ว เพื่อถวายให้กับพระเจ้าเอกทัศ นั้น มีตำแหน่งสูงขึ้น กลายเป็น พระยาพิพัฒน์โกษา กรมพระคลัง ที่กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้จัดหาทรัพย์สินเงินทอง ส่งให้กับพระยาราชบังสันสิน สร้างกองทัพลับ โดยตลอด
เชิงอรรถ
¨-๑ พลตรีจรรยา ประชิตโรมรัน การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๓๑๐ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่-๓ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๔๓-๔๔
¨-๒ ต้วนหลีชิง นักประวัติศาสตร์ชาวจีน ผู้ศึกษาพระราชประวัติ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้ศึกษาพระราชสาสน์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่มีไปยัง พระเจ้ากรุงจีน จะมีเนื้อหาอยู่ส่วนหนึ่งที่กล่าวถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขอซื้อแผ่นทองแดง ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามของประเทศจีน มาใช้ยังราชอาณาจักรเสียม-หลอ ด้วย เข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ต้องการใช้แผ่นทองแดง ดังกล่าวมาใช้เป็นวัตถุดิบส่วนหนึ่งในการสร้างลูกกระสุนปืนลูกซอง เพราะก่อนหน้านี้ เป็นการลักลอบซื้อแผ่นทองแดง อย่างลับๆ มาโดยตลอด แผ่นทองแดง นั้น เป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการใช้สร้างลูกกระสุนปืนลูกซอง
¨-๓ ขุนหลวงพรหมเสนา นั้น ในหลักฐานประวัติศาสตร์ต่างๆ ของไทย มักจะกล่าวตรงกันว่า เป็นทหารจีน คนหนึ่ง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แต่เป็นใครมาจากไหนนั้น ไม่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อทำการสืบสาวราวเรื่องจากสายตระกูลหยางจิ้งจุง ที่อาศัยอยู่ในท้องที่ จ.สุราษฎร์ธานี นั้น ทำให้ทราบข้อมูลโดยสรุปว่า ขุนหลวงพรหมเสนา เป็นน้องชายของ หยางจิ้งจุง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เคยรับราชการมีตำแหน่งสูงถึง พระยาพิพัฒน์โกษา รับราชการในกรมพระคลัง เคยส่งกองทัพไปปกป้องเมืองเพชรบุรี กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และ พระยายมราชบุญชู จนสามารถรักษาเมืองเพชรบุรี มิให้พม่ายึดครองสำเร็จ
พระยาพิพัฒน์โกษา มีบุตรชายที่สำคัญคนหนึ่ง ชื่อ ขุนท่องสื่อ หรือ ขุนฤกษ์ ต่อมาสมัยกรุงธนบุรี พระยาพิพัฒน์โกษา เสียชีวิตในสงคราม ในสมัยราชวงศ์จักรี ขุนฤกษ์ ดำรงตำแหน่ง เจ้าพระยาไกรโกษา ในกรมพระราชวังบวร(บุญมา)
เมื่อกรมพระราชวังบวร(บุญมา) สวรรคต เจ้าพระยาไกรโกษา ได้นำบุตรธิดา มาตั้งรกรากอยู่ที่ บ้านวังพวกราชวงศ์ ท้องที่ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มีสายตระกูลที่สำคัญที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือ สายตระกูล ชัยฤกษ์ และ พรหมหิตาธร ฯลฯ
บทที่-๗
สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทำสงครามกับกองทัพพม่า
พม่า ส่งกองทัพเข้ายึดครอง กรุงศรีอยุธยา ราชธานีของราชอาณาจักรเสียม-หลอ
เมื่อสามสหายได้เข้ารับราชใหม่ๆ ไม่นาน พระเจ้ามังระ ก็เตรียมยกกองทัพ เข้ายึดครอง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง เพราะไม่พอใจที่ขุนนางอำมาตย์ชั่ว เมืองมะริด และ เมืองตะนาวสี ซึ่งเป็นขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ได้ร่วมมือกับขุนนางมอญ เมืองทวาย เข้าปล้นสะดมเมืองต่างๆ ของพม่า และ สนับสนุนขุนนางมอญ เมืองต่างๆ ให้กระด้างกระเดื่องต่อ พระเจ้ามังระ มาโดยตลอด เมื่อกองทัพพม่าเข้าปรามปราม ขุนนางมอญก็จะหลบหนีไปอาศัยที่ เมืองทวาย , เมืองมะริด และ เมืองตะนาวสี โดยพระเจ้าเอกทัศ ก็รู้เห็นเป็นใจด้วย
หลักฐานพงศาวดารคองบอง ของ ประเทศพม่า ระบุว่า พระเจ้ามังระ ได้เตรียมกองทัพไว้ถึง ๒๗ กองทัพ เพื่อเตรียมเข้าโจมตี ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๐๗ เนื่องจากพระเจ้ามังระ เคยนำกองทัพเข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๒-๒๓๐๓ และได้จับขุนนางไทยไปเป็นเชลยศึกจำนวนหนึ่ง ทำให้พระเจ้ามังระทราบว่า นักรบที่สามารถทำลายกองทัพพม่า เป็นจำนวนมากนั้น เป็นกองทหารของขุนนางอำมาตย์ สยามเมืองใต้ พระเจ้ามังระ จึงวางแผนเข้าโจมตีสยามเมืองปักษ์ใต้ เพื่อตัดการสนับสนุนการช่วยเหลือกรุงศรีอยุธยา
ขุนนางอำมาตย์ เชลยศึกสยาม ที่พม่าเคยจับกุมไปเป็นเชลย และบางส่วนได้หลบหนีกลับมายังราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ได้ถูกพระยาราชบังสันสิน นำไปสอบสวน จึงคาดสถานการณ์ว่า ศึกที่จะเกิดขึ้นใหม่นี้ กองทัพพม่า จะต้องส่งกองทัพบุกเมืองสยามปักษ์ใต้ อย่างแน่นอน จึงมอบให้ พระยาอินทร์รักษาบุญรอด ซึ่งเป็นน้องเขย ร่วมกับพระยาราชสุภาวดี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ให้เร่งรีบออกไปสร้างกองทัพเรือที่เมืองตะกั่วป่า เมืองห้วยยอด และ เมืองถลาง เพื่อเตรียมขัดขวางกองทัพใหญ่ ของพม่า ที่เตรียมบุกยึดเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ส่วนเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ตกลงกันว่าให้ พระยาราชบังสันสิน พระยายมราชบุญชู ขุนหลวงพิชัย(หยางจิ้งจุง) และ พระยาพิพัฒน์โกษา เป็นผู้นำกองทหารทำสงครามต่อต้านข้าศึกพม่า
เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ มอบหมายให้ แม่ทัพมังมหานรธา เตรียมยกทัพเข้าตีเมืองสยามปักษ์ใต้ โดยกำหนดแผนให้ยกกองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน ช้าง ๑๐๐ เชือก ม้า ๑,๐๐๐ ตัว เข้าตีเมืองทวาย และจัดทัพใหม่ อีก ๒๐,๐๐๐ คน รวมเป็น ๔๐,๐๐๐ คน ให้แบ่งกองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน รออยู่ที่เมืองทวาย เพื่อรอการเคลื่อนทัพไปทางด่านเจดีย์สามองค์ และให้นำกำลัง ๒๐,๐๐๐ คน เข้าตีเมืองมะริด และ ตะนาวสี มุ่งหน้าสู่เมืองมะลิวัน , เมืองกระ , เมืองระนอง , เมืองชุมพร , เมืองคลองวัง และเมืองไชยา โดยให้พักทัพที่เมืองไชยา เพื่อนำกองทัพล่องลงไปตีเมืองใต้ เมืองท่าทอง เมืองนคร เมืองพัทลุง เพื่อนำไพร่พลมารวมกันที่เมืองไชยา เพื่อรวมไพร่พลอีก ๒๐,๐๐๐ คน กลายเป็น ๔๐,๐๐๐ คน และให้นำกองทัพมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองปะทิว , เมืองกำเนิดนพคุณ เพื่อเข้าตีเมืองเพชรบุรี และพักทัพที่เมืองเพชรบุรี เพื่อรวบรวมไพร่พลอีก ๒๐,๐๐๐ คน เป็น ๖๐,๐๐๐ คน มุ่งหน้าสู่เมืองราชบุรี และพักทัพที่เมืองราชบุรี เพื่อรวมไพร่พล อีก ๒๐,๐๐๐ คน รวมเป็น ๘๐,๐๐๐ คน เพื่อรอทัพจากเมืองทวาย ๒๐,๐๐๐ คน มาสมทบ รวมกำลังไพร่พลเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน เพื่อเดินทัพมุ่งเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา เพื่อสมทบกับกองทัพของแม่ทัพเนเมียวสีหบดี ที่จะยกกองทัพมาจากเมืองเชียงใหม่ ตามแผนการที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
กองทัพพระยาราชบังสันสิน ทำสงครามบดขยี้กองทัพพม่า ที่สยามเมืองปักษ์ใต้
หลักฐานพระราชพงศาวดารที่ปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลัง ไม่ยอมกล่าวถึงวีรกรรมการสู้รบของ พระเจ้าตากสินฯ กับกองทัพพม่า ณ เมืองไชยา และเมืองเพชรบุรี เพียงแต่กล่าวอย่างสั้นๆ ถึงเหตุการณ์ เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๓๐๗ เพียงว่า
“…ฝ่าย มังมหานรทา แม่ทัพยกลงมาถึงเมืองทวาย จึงให้กองหน้ายกไปตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี แตกทั้งสองเมือง หุยตองจา เจ้าเมืองทวาย หนีลงไปทางเมืองกระ เข้าเมืองชุมพร ทัพพม่าตามลงไปเผาเมืองชุมพรเสีย แล้วยกลงมาตีเมืองปะทิว เมืองกุย เมืองปราณ แตกทั้งสามเมือง แล้วกลับไปเมืองทวาย…”©-๑
ส่วนพงศาวดารคองบอง ของพม่า ได้กล่าวไว้อย่างสั้นๆ ว่า พม่าตีได้เมืองมะลิวัน เมืองกระ เมืองระนอง ตลอดไปจนถึงเมืองชุมพร เมืองคลองวัง(ท่าชนะ) เมืองไชยา แล้วย้อนกลับเข้าไปตีเมืองปะทิว เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองคลองวาฬ เมืองกุย เมืองปราณ ตลอดมาจนถึงเมืองเพชรบุรี แต่ที่เมืองเพชรบุรีนั้น มีกองทัพของพระยาพิพัฒน์โกษา(น้องชายของ หยางจิ้งจุง) กับกองทัพของพระยาราชบังสันสิน เคลื่อนกองมาจากกรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ได้
ส่วนตำนานท้องที่เมืองไชยา กล่าวว่า เมื่อพม่ายกทัพถึงเมืองไชยา พม่าต้องถอยทัพกลับไป เพราะพ่ายแพ้กองทัพไทยอย่างยับเยิน และต้องพ่ายแพ้กองทัพพระยาตากสิน ณ สมรภูมิเมืองเพชรบุรี อีกครั้งหนึ่ง ทำให้แม่ทัพมังมหานรธา ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนการที่พระเจ้ามังระกำหนดไว้ได้ จึงต้องถอยทัพกลับไปที่ เมืองทวาย คงเหลือแต่หน่วยปฏิบัติการกองโจรทหารม้าพม่า เท่านั้น
วีรกรรม ของ พระยาราชบังสันสิน พระยายมราชบุญชู และ พระยาพิพัฒน์โกษา ณ ดินแดนสยามปักษ์ใต้ ในขณะนั้น จากการสอบถามสายสกุล สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนก ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และเคยไปพักอาศัยอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ภายหลังจากการถูกยึดอำนาจ ที่เชิงเขาพนมเบญจา เมืองกระบี่ ถึง ๕ ปี และเมื่อได้สอบถามไปยัง คุณหมอชาญณรงค์ เครือข่ายศึกษาสังคมไทย กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำหลวง ซึ่งได้เคยไปสำรวจพื้นที่ และเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และ พระยายมราชบุญชู ในการต่อสู้กับกองทัพพม่า ในครั้งนั้น กับได้สอบถามผู้สูงอายุสายตระกูลพระยาจักรีศรีองค์รักษ์บุญชู ในท้องที่ อ.ไชยา และ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี สามารถสรุปวีรกรรมต่างๆ ของกองทัพ พระยาราชบังสันสิน ได้ดังนี้
เรื่องราวโดยสังเขป เกี่ยวกับวีรกรรม ของ พระยาราชบังสันสิน สรุปได้ว่า แผนการที่พระเจ้ามังระ มอบหมายให้แม่ทัพมังมหานรธา เตรียมยกทัพเข้าตีเมืองสยามปักษ์ใต้ โดยกำหนดแผนการให้ยกกองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน ช้าง ๑๐๐ เชือก ม้า ๑,๐๐๐ ตัว เข้าตีเมืองทวาย และจัดทัพใหม่ อีก ๒๐,๐๐๐ คน รวมเป็น ๔๐,๐๐๐ คน โดยมีแผนการให้แบ่งกองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน รออยู่ที่เมืองทวาย เพื่อรอการเคลื่อนทัพไปทางด่านเจดีย์สามองค์ ส่วนกำลังพล ๒๐,๐๐๐ คน ที่ยกกองทัพเข้าตีเมืองมะริด และเมือง ตะนาวสี นั้น ประสบความสำเร็จตามแผนการที่กำหนด สามารถระดมพลได้เพิ่มขึ้นอีก ๑๐,๐๐๐ คนที่เมืองมะริด และสามารถจัดกองทัพใหม่ โดยการนำกองทัพ ๒๐,๐๐๐ คน บุกต่อไปทางเมืองต่างๆ ของ สยามปักษ์ใต้ ส่วนกำลังพล ๑๐,๐๐๐ คน ที่ตั้งทัพอยู่ที่เมืองมะริด นั้น เป็นการเตรียมความพร้อมในการยกทัพเข้าทางด่านสิงขร ท้องที่ จ.ประจวบคีรีขัน ในปัจจุบัน เพื่อนัดพบกับกองทัพทางภาคใต้ เพื่อเตรียมเข้ายึดเมืองเพชรบุรี ต่อไป
เหตุการณ์ครั้งนั้น พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขากล่าวอย่างสั้นๆ ว่า
“…ภิกษุกรมหมื่นเทพิพิธ(เจ้าฟ้าแขก) กับ พระยาทวาย(หุยตองจา) ต้องหนีจากเมืองมะริด ไปที่เมืองเพชรบุรี ทรงทราบว่าเสียหัวเมืองให้กับข้าศึกหลายเมือง จึงโปรดให้ หุยตาจอง(มอญ-เจ้าเมืองทวาย) ไปอยู่ ณ เมืองชลบุรี ให้ส่งกรมหมื่นเทพพิพิธ ไปอยู่ ณ เมืองจันทร์บูรณ์…”©-๒
แผนการที่พระเจ้ามังระ วางแผนไว้เดิมนั้น พม่าไม่มีแผนการที่จะส่งกองทัพเข้ายึดเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตก เพราะสืบทราบว่า พระยาอินทร์รักษาบุญรอด ได้มาสร้างกองทัพเรือที่ เมืองตะกั่วป่า เมืองห้วยยอด และ เมืองถลาง มีการสร้างกองกำลังทหารต่อต้านกองทัพพม่าอย่างคึกคัก โดยพระเจ้ามังระไม่ทราบว่ามีกองทัพลับ ของ พระยาราชบังสันสิน ซ่อนอยู่ที่เมืองท่าชนะ พงศาวดารคองบอง ของพม่ากล่าวว่า กองทัพพม่า เดินทัพมุ่งหน้าสู่ เมืองมะลิวัน เมืองกระ เมืองระนอง เมืองชุมพร เมืองคลองวัง(ท่าชนะ) และเมืองไชยา แต่ต้องถอยทัพกลับมาที่เมืองเพชรบุรี โดยไม่กล่าวว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
เหตุการณ์ครั้งนั้น กองทัพพม่าประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน ถูกกองทัพพระยาราชบังสันสิน วางแผนลวงให้เดินทัพผ่านเมืองท่าชนะ เข้ายึดเมืองไชยา ได้ตามแผนการที่พม่ากำหนด กองทัพพม่าสามารถจับพระยาไชยา (นายรุก) ไปเป็นเชลยศึก แล้วพักทัพอยู่ที่วัดเวียง เพื่อกวาดต้อนเชลยศึกที่เมืองไชยาให้ได้ ๑๐,๐๐๐ คน และเตรียมนำกองทัพล่องลงไปตีเมืองใต้ตามแผนเดิม คือ เมืองท่าทองเมืองนครเมืองพัทลุง เพื่อนำไพร่พลมารวมกันที่เมืองไชยา เพื่อรวมไพร่พลเชลยศึกให้ได้อีก ๒๐,๐๐๐ คน รวมเป็น ๔๐,๐๐๐ คน เพื่อเดินทัพกลับไปตีเมืองเพชรบุรี ตามแผนการเดิม กองทัพพม่าไม่ทราบว่า กองทัพของ พระยายมราชบุญชู ได้มาขุดหลุมฟาก หลุมพราง ตลอดเส้นทางเดินทัพจากเมืองไชยา ไปยังเมืองท่าทอง และเตรียมกองทัพลอบซุ่มโจมตี กองทัพพม่า ตลอดเส้นทาง
ดังนั้นเมื่อกองทัพพม่า ยกกองทัพมุ่งหน้าไปตีเมืองท่าทอง จึงถูกกองทัพของ พระยายมราชบุญชู ซุ่มโจมตี กองทัพพม่าต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ในที่สุดกองทัพพม่าต้องตัดสินใจล่าถอยกลับไปยังเมืองท่าชนะ จึงถูกกองทัพของ พระยาราชบังสันสิน ตีขนาบ กองทัพพม่า ล้มตายเป็นใบไม้ร่วง เหลือกำลังอยู่เพียงพันคนเศษ จึงต้องถอยทัพมุ่งหน้าไปยังเมืองเพชรบุรี เพื่อสมทบกับกองทัพ ๑๐,๐๐๐ คน ที่จะเดินทัพจากเมืองมะริด ผ่านมาทางด่าสิงขร ตามแผนการที่กำหนดไว้เดิม เพื่อเตรียมเข้าตีเมืองเพชรบุรี
แผนการรบของ พระยาราชบังสันสิน ระฆังจีนวัดธารฯ แตกร้าว ที่เมืองไชยา
แผนการรบ ของ พระยาราชบังสันสิน ซึ่งวางแผนร่วมกับ พระยายมราช(บุญชู) เพื่อบดขยี้กองทัพพม่าที่เมืองไชยา ไม่มีบันทึกไว้ในพงศาวดาร แต่มีเรื่องราวที่ผู้เขียน ได้ไปรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ “ตำนาน ผีกล๊อก” ซึ่งเป็นเรื่องราวของวีรกรรมนักรบผู้รักชาติชาวไชยา สู้รบกับกองทัพพม่า ณ บริเวณวัดธารน้ำใจพระหมื่นปี หรือ วัดธารฯ พื้นที่บางยาง เกาะดอนขวาง และต่อมาเกิดมี “ผีกล๊อก” ออกหลอกหลอนผู้คนที่เดินทางผ่าน บริเวณวัดร้างวัดธารฯ ซึ่งเล่าสืบทอดต่อเนื่องกันมา เนื้อหาโดยสรุปแล้ว เป็นเรื่องราวของ วีรกรรมนักรบรักชาติผู้กล้าหาญชาวไชยา ที่ไม่มีผู้ใดรวบรวมเขียนขึ้นเป็นเอกสารมาก่อน
ภาพที่-๑๔ ภาพระฆังจีน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นำไปเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังหลวง กรุงธนบุรี สันนิษฐานว่า น่าจะนำไปจาก วัดธารฯ เมืองไชยา หลังจากที่พม่าได้ยึดระฆังใบนี้จะนำกลับไปพม่า แต่เมื่อพม่าพ่ายแพ้สงคราม พระยายมราชบุญชู ชนะศึกพม่า ก็ยึดระฆังกลับคืน แล้วถวายให้กับสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่เมืองไชยา ในเวลาต่อมา
จากการตรวจสอบหลักฐานความเป็นมาของ “วัดธารน้ำใจพระหมื่นปี”จากผู้เชี่ยวชาญการแปลจดหมายเหตุที่เป็นภาษาจีนโบราณ มีหลักฐานจดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) กับ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๕๔๖ ได้บันทึกไว้ถึงเหตุการณ์ที่ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งมีพระนามว่า “ศรีจุลนีพรหมทัต” ได้ส่งคณะราชทูต จากกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงจีน เพื่อขอให้พระเจ้ากรุงจีนถวายนามชื่อวัด จากภาษาไทย ให้เป็นชื่อภาษาจีน พร้อมกับขอระฆังจีนมาหนึ่งใบ ด้วย
ทางประเทศจีนได้บันทึกไว้ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “…เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ.๑๕๔๖ มีมหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์ มีพระนามว่า “ศรีจุลนีพรหมทัต” ได้ส่งราชทูตมีนามว่า “หลี่-เจีย-ผาย” ส่วนอุปทูตมีนามว่า “อู๋-ถัว-หลี่-หนาน-เปย” มาถวายเครื่องราชบรรณาการและแจ้งว่า ทางกษัตริย์ กรุงศรีโพธิ์ ได้สร้างวัดทางพุทธศาสนา ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาขึ้นมาวัดหนึ่ง จึงขอพระราชทานชื่อวัดดังกล่าวเป็นภาษาจีน และขอระฆังจีนหนึ่งใบ ฮ่องเต้ทรงโปรด จึงพระราชทานชื่อวัดว่า “เฉิง-เทียน-ว่าน-โส้ว” (วัดธารน้ำใจพระหมื่นปี) แล้วหล่อระฆังพระราชทานให้หนึ่งใบ ตามคำขอ แล้วทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ราชทูตมียศเป็น ขุนพลผู้มีคุณธรรม ส่วนอุปทูต โปรดเกล้าให้มียศเป็น ขุนพลผู้ใฝ่สันติภาพ…”. ต่อมาเมื่อระฆังจีนวัดธารฯ ชำรุด จีนก็ส่งระฆังจีนใบใหม่มาให้ ทดแทนใบเดิมเรื่อยมา เพื่อแสดงความสัมพันธ์อันดี ระหว่างสองประเทศ เรื่อยมา
แสดงว่าวัดนี้เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของไทย ดังนั้นเหตุการณ์จากปี พ.ศ.๑๕๔๖ ได้ล่วงเลยมาจนถึงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา คือปี พ.ศ.๒๓๐๗ ขณะที่กองทัพพม่า บุกเข้ามาโจมตีเมืองไชยานั้น วัดนี้ยังไม่เป็นวัดร้าง และได้เกิดวีรกรรมการรบของนักรบชาวไชยาผู้รักชาติ ซึ่งได้บุกเข้าโจมตีกองทัพพม่าขึ้นที่วัดนี้ โดยไม่มีผู้ใดเขียนบันทึกไว้ มีแต่คำบอกเล่าขานของผู้สูงอายุ ถึงวีรกรรมนักรบชาวไชยาผู้กล้าหาญและรักชาติ ให้ชนชาวไทยได้รับรู้ ถึงวีรกรรมต่อไปในอนาคต
เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อกองทัพพม่า ได้พยายามยกกองทัพต่อไป เพื่อมุ่งหน้าเข้าตีเมืองท่าทอง แต่ต้องพ่ายแพ้ กองทัพของ พระยายมราชบุญชู ตามเส้นทางสาย “มังลา” กลายเป็นเส้นทางที่กองทหารพม่าต้องพลีชีพไปจำนวนมาก ส่วนทหารไทยก็ต้องพลีชีพไปไม่น้อย เส้นทางดังกล่าวจึงถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เส้นทางสายพลี” หรือบางท้องที่ซึ่งมีการรบอย่างดุเดือด จะถูกเรียกชื่อว่า ช่องพลี เมื่อเสร็จสิ้นสงคราม
ภาพที่-๑๕ ภาพถ่ายระฆังจีนโบราณ ที่มีรอยแตกร้าว สันนิษฐานว่าเคยใช้งานอยู่ที่ วัดธารฯ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา
เมื่อกองทัพพม่าไม่สามารถเดินทัพมุ่งหน้าไปตีเมืองท่าทองได้ จึงต้องถอยทัพกลับมาตั้งทัพที่เมืองไชยา แม่ทัพกองทัพพม่านั้น ตั้งกองทัพอยู่ที่วัดเวียง ส่วนกองทัพหนุนอื่นๆ นั้น กระจายไปตั้งทัพอยู่ตามวัดต่างๆในเมืองไชยา รวมทั้ง วัดธารน้ำใจพระหมื่นปี ด้วย พระยาราชบังสันสิน ได้คาดเหตุการณ์ล่วงหน้ามาแล้ว จึงเสนอแผนการรบให้ พระยายมราชบุญชู เข้าโจมตีกองทัพของพม่าซึ่งตั้งทัพอยู่ที่วัดธารน้ำใจพระหมื่นปี และเข้าโจมตีก่อกวนที่ตั้งกองทัพพม่า ณ วัดอื่นๆ พร้อมๆ กัน เพื่อกดดันกองทัพพม่าให้ต้องถอยทัพไปยังเมืองท่าชนะ เพื่อให้กำลังทหารของกองทัพเรือลับ และกองพันทหารม้าพระยาตาก ที่เมืองท่าชนะ เข้าตีโอบบดขยี้กองทัพพม่าอีกครั้งหนึ่ง
การเข้าโจมตีกองทัพพม่าเกิดขึ้น เมื่อเสียงระฆังจีนที่หอระฆังวัดธารฯได้ดังขึ้นได้ยินไปทั่วทั้งเมืองไชยาเมื่อเวลาประมาณ ตีสาม ก็เกิดการรบพร้อมๆกันหลายจุด นักรบของพระยายมราชบุญชู ที่ทำหน้าที่เข้าตีกองทัพพม่าที่วัดธาร ใช้สัญญาณ “กล๊อก” ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากการกระดกลิ้น คล้ายเสียงนก เพื่อให้รู้ว่าเป็นพรรคพวกเดียวกัน ก็ยกทัพเข้าตีกองทัพพม่าที่วัดธารฯ สามารถฆ่าฟันทหารพม่าได้เป็นจำนวนมาก ระฆังจีนที่หอระฆังวัดธารฯ ถูกทหารไทย ตีจนระฆังแตกร้าว พร้อมๆกับการพ่ายแพ้ของกองทัพพม่า นักรบ “ผีกล๊อก” ส่วนหนึ่งต้องเสียชีวิต และกลายเป็นเรื่องราว“ผีกล๊อก” หลอกหลอนชาวไชยา ในพื้นที่ดังกล่าวมายาวนาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๕๐ ปีมานี้เรื่องราวของตำนาน ผีกล๊อก ก็ค่อยๆ หายไป เพราะ ท่านเจ้าคุณพุทธทาสภิกขุ แห่งวัดสวนโมกข์ผลาราม ได้ส่งพระภิกษุมาสวดมนต์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณนักรบชาวไชยาผู้รักชาติที่เสียชีวิตในพื้นที่วัดร้างดังกล่าว เป็นประจำ จนกระทั่งดวงวิญญาณ ผีกล๊อก ได้ค่อยๆหายไปจาก วัดร้างวัดธารฯ เมืองไชยา ในปัจจุบัน
พระยาราชบังสันสิน ทำสงครามบดขยี้ กองทัพพม่า ที่วัดศรีราชัน
พระยาราชบังสันสิน ร่วมกับพระยายมราชบุญชู วางแผนทำสงครามก่อกวน เพื่อบดขยี้กองทัพพม่า ผลักดันให้กองทัพพม่าต้องล่าถอยกลับไปทางเมืองท่าชนะ การรบที่เมืองไชยาเกิดขึ้นตั้งแต่ตีสาม จนกระทั่งฟ้าสาง กองทัพพม่า สามารถรวบรวมไพร่พล ถอยทัพกลับ พวกเชลยศึกพระยาไชยา(นายรุก) และพวก ถูกนำไปเป็นโล่กำบังให้กับกองทัพของพม่า ให้กองทัพหน้าพม่า สามารถถอยทัพมุ่งหน้าไปพักทัพที่วัดศรีราชัน บ้านดอนธูป ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เมื่อกองทัพพม่า ทราบว่าไม่มีการปะทะใดๆ เกิดขึ้น ก็จัดทัพหลังเดินทัพมุ่งสู่วัดศรีราชัน พวกเชลยศึกและผู้บาดเจ็บ ทหารพม่าได้จัดให้เดินทางผ่านด่านช่อง ภูเขาเพลา เข้าสู่เมืองระนอง เพื่อเดินทางมุ่งหน้า ไปสู่เมืองตะนาวสี และเมืองมะริด ต่อไป
ผลของสงครามที่เมืองไชยา กองทัพพม่าจากจำนวน ๒๐,๐๐๐ คน ขณะนั้นคงเหลืออยู่เพียงประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และเชลยศึกชาวไชยา อีกส่วนหนึ่งประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน จึงถูกแบ่งกองทัพออกเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นเชลยศึก ๑๐,๐๐ คน ถอยทัพผ่านด่านภูเขาเพลา ส่วนที่สอง ทหารพม่าประมาณ ๕,๐๐๐ คน ถอยทัพมุ่งหน้าไปทางเส้นทางสายมังลา ผ่านหนองนิล , คลองพา เพื่อมุ่งหน้าสู่ วัดศรีราชัน กองทัพพม่าส่วนที่สาม ๕,๐๐๐ คน ถอยทัพไปตามเส้นทางสายแม่นางส่ง ผ่าน คลองวัง , ทุ่งลานช้าง , บ่อโว้ , หนองหวาย , คลองพา , ภูเขากอง , ภูเขาจอศรี และมุ่งหน้าไปพักกองทัพที่ วัดศรีราชัน ทำให้แผนการบดขยี้กองทัพพม่า ของ พระยาราชบังสันสิน จึงเกิดขึ้น
พระยาราชบังสันสิน ซึ่งมีกำลังน้อยกว่ามาก ได้วางแผนแบ่งกองพันทหารม้าพระยาตาก ออกเป็นหน่วยย่อย เพื่อแสร้งลวงให้ปะทะกับกองทหารพม่า และแสร้งรบแพ้ เพื่อให้กองทัพพม่า ติดตามมาที่คลองวัง และ คลองพา โดยได้เตรียมหญ้าแห้ง กิ่งไม้แห้ง เพื่อวางแผนเผาล้อมกองทหารพม่าที่กำลังข้ามคลองวัง และคลองพา ให้ทหารพม่าต้องหนีกองไฟ ต้องโดดหนีลงคลอง และกองทหารไทยเข้าซุ่มยิงด้วยปืนลูกซองยาว เพื่อบดขยี้กองทัพพม่าให้แหลกตายเป็นผง
การรบบริเวณเส้นทางแม่นางส่ง คือถนนสายทางหลวงจังหวัดในปัจจุบัน กองพันทหารม้าพระยาตาก ได้แสร้งปะทะกับกองทหารพม่าที่สระคงคาชัย แล้วแสร้งล่าถอยเพื่อลวงให้กองทัพพม่าติดตามมาจนถึงคลองวัง เกิดการรบกันระหว่างสองฝั่งคลอง จนกระทั่งกองทหารพม่าทั้งหมดเดินทัพมาถึง ทหารม้าพระยาตากสิน ได้ยิง “ใต้เท” ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอวนปลาผสมน้ำมันชัน ใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อจุดไฟแล้วยิงด้วยธนู หรือ ปางไม้ใหญ่ เข้าไปสู่เป้าหมายเพื่อจุดไฟ เข้าเผากองหญ้าแห้งที่เตรียมไว้ ไฟได้ลุกทั้งสองฝั่งคลอง ล้อมกรอบกองทหารพม่า ทหารพม่าต้องหนีความร้อนจากกองไฟ กระโจนลงสู่คลองวัง กลายเป็นอาหารของจระเข้บ้าง ถูกหน่วยซุ่มยิงของพระยาตาก ได้ฆ่าทหารพม่าที่คลองวังเป็นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือ ก็ต้องล่าถอยหนีไป กองทหารพม่าเสียหายอย่างยับเยิน และได้นำทหารที่เหลือ เดินทัพอย่างระมัดระวัง มุ่งหน้าสู่วัดศรีราชัน
ส่วนการรบบริเวณเส้นทางสายมังลา กองทหารม้าพระยาตากสิน ก็ใช้วิธีการเดียวกัน ได้แสร้งเข้าปะทะกับกองทหารพม่า แล้วแสร้งล่าถอยไปจนถึง คลองพา แล้วใช้อาวุธใต้เท ยิงใต้เทเข้าจุดไฟเผาล้อมกรอบทหารพม่า กองทัพพม่าต้องบาดเจ็บล้มตาย บริเวณคลองพา เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น ทหารพม่าก็เคียดแค้นคนไทยมาก เมื่อพบเจอลูกเล็กเด็กแดง ก็จับโยนขึ้นสู่ท้องฟ้า ใช้ปลายหอกดาบ เข้ารับเสียบเด็กไทย ตายไปมาก กองทัพพม่าคงเหลืออยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นทหารบาดเจ็บ ได้ไปพักกองทัพอยู่ที่ วัดศรีราชัน เมืองคันธุลี
พระยาราชบังสันสิน วางแผนบดขยี้กองทัพพม่า ที่ วัดศรีราชัน โดยนำเอาช้างที่ต้อนไปซ่อนกองทัพพม่าไว้ในถ้ำยาว ภูเขาแม่นางส่ง มาจัดเป็นกองร้อยทหารช้าง ส่วนกองพันทหารม้าพระยาตากสิน ถูกแบ่งกำลังไปเตรียมงานที่คลองหิต ทางทิศตะวันตกของ ภูเขาคันธุลี กองพันทหารม้าพระยาตากสิน ได้ใช้อาวุธ “ใบลังทังช้าง” เป็นอาวุธต่อสู้กับกองทหารพม่าที่คลองหิต เมื่อกองทหารพม่าต้องล่าถอย มาข้ามคลองหิต “ใบลังทังช้าง” มีคุณสมบัติที่ผู้ใดไปสัมผัส ก็จะเกิดอาคารคัน และปวดเจ็บร้อนอย่างรุนแรง และต้องกระโจนลงน้ำ ซึ่งจะทำให้สารเคมีในใบลังทังช้าง ทำปฏิกิริยากับน้ำ กลายเป็นสารพิษ ต้องเสียชีวิตทันที ดังนั้นกองพันทหารม้าพระยาตาก ได้ตัดใบลังทังช้างมาดักกองทหารพม่า ตลอดแนวเส้นทางเดินทัพ และ สองฟากฝั่งคลองหิต ส่วนกองร้อยทหารช้าง ก็เตรียมนำกองทัพเข้าบดขยี้กองทหารพม่าที่พักทัพอยู่ที่ วัดศรีราชันในเวลาสามทุ่ม
เมื่อถึงเวลาที่กำหนด เสียงกลองรบที่หอกลอง วัดศรีราชัน ก็ดังขึ้น เป็นสัญญาณให้กองพันทหารม้าพระยาตากสิน กองร้อยทหารช้างพระยาตากสิน ที่ทุ่งพระยาชนช้าง และ หน่วยทหารต่างๆ ร่วมกันเข้าโจมที่กองทหารพม่า ณ วัดศรีราชัน พร้อมๆ กัน กองทัพพม่าบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ต้องล่าถอยไปทางคลองหิต ก็พบกับอาวุธลับ ใบลังทังช้าง ของกองพันทหารม้าพระยาตากสิน เสียชีวิตดั่งใบไม้ร่วงในคลองหิต กองทหารที่เหลือ ประมาณ ๑,๐๐๐ คน ต้องกระจายออกเป็นหน่วยย่อยๆ หนีออกไปทางชุมพร นับเป็นความพ่ายแพ้ของกองทัพพม่าอย่างยับเยิน ซึ่งไม่มีผู้ใดได้ทำการบันทึกไว้
กองทัพพระยาราชบังสันสิน บดขยี้กองทัพพม่า ที่เมืองเพชรบุรี
บันทึกพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา ซึ่งปรุงแต่งขึ้นมาในภายหลัง พยายามตัดวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ออกไป โดยกล่าวว่า “…ครั้นถึงเดือน ๗ จุลศักราช ๑๑๒๖ ปีวอก(เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๐๗) มังมหานรทา ให้กองทัพหน้าสามนายพลห้าพัน ยกกองทัพเข้ามาเมืองกาญจนบุรี เข้าตีทัพพระพิเรนทรเทพ แตกพ่ายมา ทัพพม่ายกตามเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบ้านลูกแก ขณะนั้นเรือลูกค้ามาจอดคั่งอยู่ที่นั้นเป็นอันมาก พม่าลงไล่ฆ่าฟันตายในน้ำและบนบก และจับไปเป็นเชลยได้มาก แล้วพม่ายกไปตั้งค่ายอยู่ ณ ตอกระออม และดงรักหนองขาว ให้ต่อเรือรบ เรือไล่อยู่ที่นั้น แล้วจัดทัพให้ยกแยกกันไป ตีเมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี มิได้มีผู้ใดต่อรบ ยกครอบครัวหนีเข้าป่าไปสิ้น พม่าเที่ยวไล่ค้นจับผู้คนครอบครัวได้บ้างแล้ว ยกกลับไปยังค่ายซึ่งตั้งอยู่นั้น และรอทัพต่อเรือรอข่าวฟังทัพทางเหนือจนถึงปีระกา สัปตศก©-๓…”
ส่วนพงศาวดารฉบับขุนหลวงหาวัด และพงศาวดารคองบอง กล่าวไว้มีเนื้อหาใกล้เคียงกันว่า กองทัพพม่าที่ต้องล่าถอยมาจากเมืองสยามปักษ์ใต้ นั้น ได้บุกย้อนกลับมาเข้าตีเมืองปะทิว เมืองกำเนิดนพคุณ(บางสะพาน) เมืองคลองวาฬ เมืองกุย และเมืองปราณบุรี ได้กำลังเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ ๒,๐๐๐ คน แล้วยกทัพเข้าล้อมเมืองเพชรบุรีไว้ ทางกรุงศรีอยุธยา ได้ส่งกองทัพของพระยาพิพัฒน์โกษา กับ กองทัพพระยาราชบังสันสิน ไปช่วยเหลือ จึงสามารถรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ได้ กองทัพพม่าจึงต้องถอยทัพกลับไป คงเหลือแต่หน่วยกองโจรทหารม้า เข้าปล้นสะดมบ้านเรือนทั่วไป
หลักฐานสองส่วนนี้ขัดแย้งกันเอง และเมื่อพยายามตรวจสอบ การเคลื่อนกองทัพของพม่าออกจากเมืองทวาย จากพงศาวดารคองบอง ครั้งแรกเพื่อมุ่งเข้ายึดเมืองมะริด และเมืองสยามปักษ์ใต้นั้น คือเหตุการณ์เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.๒๓๐๗ ส่วนการเคลื่อนทัพครั้งที่สองจากเมืองทวาย มุ่งหน้าสู่ด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อเข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองนั้น คือเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๓๐๘ เป็นช่วงเวลาห่างกันถึง ปีครึ่ง แสดงว่าพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขานั้น กล่าวสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๓๐๗ โดยสรุปรวบยอดไปถึงเหตุการณ์ปลายปี พ.ศ.๒๓๐๘ โดยตัดวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระยายมราชบุญชู และพระยาพิพัฒน์โกษา ที่เมืองไชยา เมืองท่าชนะ และเมืองเพชรบุรี ออกไปเสีย
พงศาวดารฉบับขุนหลวงหาวัด และ พงศาวดารคองบอง ของพม่า กล่าวถึงเหตุการณ์ปี พ.ศ.๒๓๐๗ เท่านั้น โดยการยอมรับความพ่ายแพ้ ของ กองทัพพม่า อย่างย่อๆ โดยไม่ยอมให้รายละเอียดใดๆ ผู้เขียนจึงขอนำเอาวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระยายมราชบุญชู และ พระยาพิพัฒน์โกษา (ขุนหลวงพรหมเสนา น้องชายของ หยางจิ้งจุง) ณ สมรภูมิ เมืองเพชรบุรี มากล่าวไว้โดยสังเขป ดังนี้
เมื่อกองทัพพม่า พ่ายแพ้ต่อกองทัพพระยาราชบังสันสิน และ พระยายมราชบุญชู ณ เมืองไชยา และ เมืองท่าชนะ นั้น คือเหตุการณ์เมื่อประมาณ เดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๐๗ ขณะที่กองทัพพม่าตัดสินใจถอยทัพนั้น กำลังพลของกองทัพพม่า ขณะนั้นมีกำลังพลเหลืออยู่ประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน กองทหารพม่าได้ทำการควบคุมกลุ่มเชลยศึกชาวไชยา ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน รวมทั้งพระยาไชยา(รุก) เจ้าเมืองไชยา เป็นโล่กำบัง เดินทางผ่านเส้นทาง ด่านช่องเขาเพลา มุ่งหน้าสู่เมืองมะริด ขณะนั้น พระยาอินทร์รักษา(บุญรอด) ผู้เป็นน้องเขย พระยาราชบังสันสิน ได้นำกองทัพมาดักซุ่มตี แต่เกรงว่าเชลยศึกคนไทยจะเสียชีวิตกันมาก จึงยอมให้พม่า เดินทัพกลับไปถึงเมืองมะริด ทางกองทัพพม่าจึงได้สะสมกำลังเพิ่มขึ้นเป็น ๒๐,๐๐๐ คน ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมะริด ก็เคลื่อนทัพ ๒๐,๐๐๐ คน เดินทัพผ่านทางด่านสิงขร ท้องที่ จ.ประจวบคีรีขัน ในปัจจุบัน เข้าปิดล้อมเมืองเพชรบุรีไว้ เพื่อรอทัพพม่า ๔๐,๐๐๐ คน ที่จะนำทัพมาจากเมืองไชยา ไปสมทบ
กองทัพพม่าที่ต้องล่าถอยมาจากเมืองสยามปักษ์ใต้ นั้นมีกำลังไม่ถึง ๔๐,๐๐๐ คน คงเหลือจริงประมาณ ๑,๐๐๐ คน เท่านั้น ได้บุกย้อนกลับมาเข้าตีเมืองปะทิว เมืองกำเนิดนพคุณ(บางสะพาน) เมืองคลองวาฬ เมืองกุย และเมืองปราณบุรี ได้กำลังเพิ่มขึ้นอีกเป็นประมาณ ๒,๐๐๐ คน แล้วยกทัพเข้าล้อมเมืองเพชรบุรีไว้ ทั้งๆ ที่แผนการเดิมนั้น แม่ทัพพม่า ที่ยกกองทัพมาตีเมืองสยามปักษ์ใต้ นั้น ต้องนำกำลังกลับไป ๔๐,๐๐๐ คน เพื่อนำไปสมทบกับกองทัพพม่าที่ยกกองทัพจากเมืองมะริด มาทางด่านสิงขร อีก ๒๐,๐๐๐ คน เป็นกำลัง ๖๐,๐๐๐ คน เพื่อเข้าตีเมืองเพชรบุรี แต่เมื่อการปิดล้อมเมืองเพชรบุรี จริงๆ กลับมีกำลังเพียง ๒๒,๐๐๐ คนเท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นเชลยศึกชาวไทย ที่ไม่ต้องการทำสงครามกับ ชาวไทยด้วยกันเอง
ที่เมืองเพชรบุรี ซึ่งกำลังถูกกองทัพพม่า ๒๒,๐๐๐ คน ล้อมอยู่นั้น พระยาเพชรบุรีตาล ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น คือสามีของหม่อมอั๋น น้องสาวของหม่อมนกเอี้ยง ซึ่งเป็นมารดาของพระยาราชบังสันสิน เป็นผู้กลับเข้ามาปกครองเมืองใหม่ ตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอุทุมพร ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นครั้งที่สอง จึงมีการปรับปรุงกำแพงเมือง และสร้างป้อมค่ายอย่างแข็งแรง และได้วางแผนการรบร่วมกับพระยาราชบังสันสิน ไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า เมื่อกองทัพพม่า ๒๐,๐๐๐ คน จากเมืองมะริด เข้าล้อมเมืองเพชรบุรีนั้น พระยาราชบังสันสินฯ วางแผนให้กองทัพของพระยาสามสหาย คือพระยาราชบังสันสิน และ พระยายมราชบุญชู และ พระยาราชบุรี(ทองด้วง) ให้ร่วมกันนำกองทัพมาตีขนาบหลัง กองทัพพม่า คือเหตุการณ์เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๐๗ แต่พระยายมราชทองด้วง ไม่ยอมส่งกองทัพเข้ามาช่วย เพราะเมืองราชบุรี ถูกพม่า ยึดครอง พระยาพิพัฒน์โกษา น้องชายของ หยางจิ้งจุง จึงส่งกองทัพมาแทนที่ กลายเป็นสามสหายใหม่
เมื่อพระยาราชบังสันสิน ได้นำกองร้อยทหารช้าง และกองพันทหารม้าพระยาตาก เดินทางมาทางเรือสำเภา มาสมทบกับกองทัพอีกสองสหาย กลายเป็นกองทัพพระยาสามสหายใหม่ ได้เข้าตีโอบขนาบหลัง กองทัพพม่า ณ เมืองเพชรบุรี กองทัพพม่า ๒๒,๐๐๐ คน เสียหายอย่างหนัก ต้องถอยทัพหนีกลับไปทางเมืองมะริด และต้องไปรวมทัพกันใหม่ที่เมืองทวาย ทิ้งไว้เพียงหน่วยปฏิบัติการกองโจรทหารม้า เข้าปล้นสะดม บ้านเรือนต่างๆ ของคนไทย ส่วนกองทัพพม่าที่ต้องถอยทัพกลับไปรวมตัวกันอยู่ที่เมืองทวายนั้น พระเจ้ามังระ ต้องปรับแผนการรบใหม่ ต้องสะสมกำลังใหม่อีกประมาณ ๑ ปี จึงจะสามารถยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนกองทัพพม่าทางเมืองเหนือนั้น ต้องพักกองทัพรอท่าอยู่ อย่างไม่มีกำหนด
พระยาราชบังสันสิน วางแผนทวงคืนอำนาจให้กับ พระเจ้าอุทุมพร
เมื่อย้อนเหตุการณ์กลับไปเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.๒๓๐๗ นั้น พระเจ้ามังระได้วางแผนยกกองทัพจำนวน ๒๗ กองทัพ แยกออกเป็นสองทาง คือทางภาคเหนือ และ ทางภาคใต้ เพื่อเข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ แม่ทัพมังมหานรธา ซึ่งได้รับมอบหมายให้ยกกองทัพไปตีเมืองต่างๆ ของสยามปักษ์ใต้ แต่ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด เพราะพ่ายแพ้แก่กองทัพไทย สยามปักษ์ใต้ อย่างยับเยิน ต้องกลับมาเลียแผลที่เมืองทวาย เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๐๗
ส่วนกองทัพที่พม่ายกไปทางราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ โดยมีแม่ทัพเนเมียวสีหบดี จัดทัพ ๒๐,๐๐๐ คน ช้าง ๑๐๐ เชือก ม้า ๑,๐๐๐ ตัว ได้เดินทัพออกสู่กรุงอังวะ เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.๒๓๐๗ เช่นเดียวกัน โดยมีแผนการมุ่งหน้าเดินทัพเข้าไปปราบกบฏที่ ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ และพักทัพที่ เมืองเชียงใหม่ เพื่อนำกองทัพมุ่งหน้าเข้าตีแคว้นลานช้าง กรุงหลวงพระบาง ของ ราชอาณาจักรลาว และวางแผนนำไพร่พลมาจัดทัพใหม่ ณ เมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางอำนาจรัฐของราชอาณาจักรลานนา จะทำให้ได้กำลังทหารเพิ่มขึ้นอีก ๒๐,๐๐๐ คน รวมเป็น ๔๐,๐๐๐ คน เพื่อนำกองทัพมุ่งหน้าเข้าตีเมืองพิษณุโลก และจัดทัพใหม่ รวมทหารอีก ๑๐,๐๐๐ คน รวมเป็น ๕๐,๐๐๐ คน เพื่อเดินทัพมุ่งหน้าสู่กรุงศรีอยุธยา ไปพบกับทัพของแม่ทัพมังมหานรธา อีก ๑๐๐,๐๐๐ คน ที่เดินทัพไปตีดินแดนเมืองสยามเมืองปักษ์ใต้ เหล่านี้คือแผนการเดิม แต่ผิดแผน เพราะพ่ายแพ้สงครามที่ สยามปักษ์ใต้ จึงไม่เป็นไปตามแผนการที่กำหนด
เนื่องจากเหตุการณ์ประมาณ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๓๐๗ ได้เกิดศึกวีรกรรมของพระยาสามสหาย ณ เมืองไชยา และเมืองเพชรบุรี กองทัพพม่า ต้องพ่ายแพ้กองทัพสยามปักษ์ใต้ อย่างยับเยิน ต้องถอยทัพกลับไปยังเมืองมะริด และไปรวมพลอยู่ที่เมืองทวาย เป็นเหตุให้ แม่ทัพมังมหานรธา ต้องทิ้งทหารม้าหน่วยปฏิบัติการกองโจร เข้าปล้นสะดม ก่อกวน บ้านเรือนต่างๆ ของไทย เพื่อถอยทัพกลับไปทางด่านสิงขร
เมื่อแผนการรบของ แม่ทัพมังมหานรธา ไม่เป็นไปตามแผนการที่กำหนด กองทัพของแม่ทัพ มังมหานรธา พ่ายแพ้ต่อกองทัพของ สยามปักษ์ใต้ ที่เมืองไชยา เมืองท่าชนะ และเมืองเพชรบุรี กองทัพพม่า จึงเสียหายไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก คงเหลือกองทัพกลับมาไม่กี่ร้อยคน พระยาอินทร์รักษาบุญรอด ก็สามารถยึดเมืองมะริด และตะนาวสีกลับคืนมาอีก พม่าจึงต้องกลับมาเลียแผลอยู่ที่เมืองทวาย พระเจ้ามังระ จึงต้องปรับแผนการรบใหม่ ให้กองทัพของแม่ทัพเนเมียวสีหบดี ตั้งทัพรออยู่ที่เมืองเชียงใหม่ โดยยังไม่ต้องยกกองทัพเข้าตีเมืองพิษณุโลก
เหตุการณ์หลังจากนั้น พระเจ้ามังระ ได้รับสั่งให้ส่งเชลยศึก คือ พระยาไชยารุก นอกราชการ พี่น้องต่างมารดา ของ พระยายมราชบุญชู เดินทางไปยังกรุงอังวะ เชลยศึกพระยาไชยารุก จึงได้เปิดเผยข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นที่มาให้ พระเจ้ามังระ ทำการเลี้ยงดูเชลยศึกพระยาไชยารุก เป็นอย่างดี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนใหม่เข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยา ในอนาคต
ขณะที่กองทัพของ แม่ทัพมังมหานรธา กำลังเสียขวัญอยู่นั้น พระยาอินทร์รักษาบุญรอด ซึ่งเป็นบุตรชายของ เจ้าพระยาจักรีมุกดา และเป็นน้องเขยของ พระยาราชบังสันสิน ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพเข้ายึดเมือง ตะนาวสี และ เมืองมะริด กลับคืนไปจากพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๗ กองทหารพม่าต้องถอยไปรวมตัวกันที่เมืองทวาย พระยาอินทร์รักษาบุญรอด จึงได้ตั้งผู้รักษาการเมืองชั่วคราวของทั้งสองเมือง เข้าปกครอง ต่อมาไม่นาน เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (ราชสุภาวดี) ก็ส่งขุนนางจากเมืองนครศรีธรรมราช เข้าปกครองเมืองทั้งสอง แต่เจ้าเมืองเดิม ซึ่งพระเจ้าเอกทัศ แต่งตั้งขึ้น และเป็นขุนนางฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในเขตป่าเขา ได้เดินทางกลับมาอ้างสิทธิ์เข้าปกครองเมืองมะริด และตะนาวสี แต่ขุนนาง ของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (ราชสุภาวดี) ไม่ยินยอมคืนเมืองให้กับขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง
ประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ ได้วางแผนทดสอบกำลังทหารของราชอาณาจักรเสียม-หลอ อีกครั้งหนึ่ง โดยรับสั่งให้แม่ทัพมังมหานรธา แสร้งทดลองส่งทหาร ๓๐,๐๐๐ คน เดินทัพไปยังด่านเจดีย์สามองค์ แล้วแสร้งถอยทัพกลับมาที่เมืองทวาย อีกครั้งหนึ่ง คงทิ้งไว้แต่ กองทหารม้า หน่วยปฏิบัติการกองโจร เข้าปล้นสะดม บ้านเรือนต่างๆ ของชาวไทยตามเมืองต่างๆ ที่ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวงปกครองเมือง แล้วปล่อยข่าวว่า กองทัพใหญ่พม่า จากเมืองเหนือ และ จากเมืองทวาย กำลังยกกองทัพใหญ่ เคลื่อนเข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง ทำให้คนไทยต่างก็เสียขวัญกันมาก
เหตุการณ์หลังจากนั้น ได้เกิดกระแสข่าวลือเรื่องพม่า กำลังยกทัพเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง จึงเกิดกระแสเรียกร้องของขุนนางอำมาตย์ ฝ่ายรักชาติ และประชาชนในกรุงศรีอยุธยา ให้ภิกษุพระเจ้าอุทุมพร ขึ้นครองราชย์สมบัติ อีกครั้งหนึ่ง พระยาราชบังสันสิน จึงถือโอกาสดังกล่าวขอลักลอบเข้าเฝ้า ภิกษุพระเจ้าอุทุมพร อย่างลับๆ แต่พระเจ้าเอกทัศ ได้ส่งทหาร เข้าควบคุมภิกษุพระเจ้าอุทุมพร ที่ วัดโพธิ์ทอง แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อมิให้ผู้ใดติดต่อกับ ภิกษุพระเจ้าอุทุมพร ไว้เสียก่อน แผนการเข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าเอกทัศ กลับคืนให้กับ พระเจ้าอุทุมพร จึงล้มเหลว ไม่สามารถดำเนินการได้
พระยาราชบังสันสิน รับหม่อมนกเอี้ยง จากเขาขุนพนม กลับมาที่เมืองท่าชนะ
เรื่องราวของหม่อมนกเอี้ยง พระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ มีเรื่องโยงใยกับ เจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นขุนนางอำมาตย์ผู้รักชาติมากคนหนึ่ง และเป็นญาติสนิทกับหม่อมนกเอี้ยง แต่ต่อมาถูกปลดออกจากตำแหน่ง มีหลักฐานเบื้องต้นบันทึกไว้อย่างสั้นๆ ว่า “...เจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้องคดี จึงถูกเรียกมารับราชการอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา…” แต่ต้องคดีเรื่องอะไรนั้น ไม่มีใครบัน