รัชกาลที่ ๖๓ เจ้านครอินทร์ กรุงสุพรรณบุรี ปี พ.ศ.๑๙๓๘-๑๙๕๒

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๖๓ 

เจ้านครอินทร์ 

กรุงสุพรรณบุรี ปี พ.ศ.๑๙๓๘-๑๙๕๒

 

-ในรัชกาลที่ ๖๑-๖๒-๖๓ มีกษัตริย์ครองราชสมบัติ ๓ พระองค์พร้อมกัน คือ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ,สมเด็จพระรามราชา และเจ้านครอินทร์  จึงใช้เนื้อหาสาระเดียวกัน



ปี พ.ศ.๑๙๓๘ เมื่อ มหาจักรพรรดิพระรามเมศวร เสด็จสวรรคต จักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ จึงทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์(เจ้าจักรพรรดิ) ว่าราชการที่ กรุงครหิต(คันธุลี) โดยมี สมเด็จเจ้าพระยามานะชวาลา(พ่อพระยาปืนไฟ) หรือ พระยามานะชีวาลี เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ ว่าราชการที่ กรุงศรีธรรมราช และมี เจ้าพระยาศรีราชา หรือ พระยาพระยาตากร้อ เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๙๓๘ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) แต่งตั้งให้ สมเด็จพระรามราชา เป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา เป็น อาณาจักร หนึ่งในหลายอาณาจักร ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ

ปี พ.ศ.๑๙๓๘ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) แต่งตั้งให้ พระยาหูไว เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปยัง อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ สั่งให้ มิให้ส่งเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ มหาอาณาจักรจีน อีกต่อไป

ปี พ.ศ.๑๙๓๘ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีปัญหาในการติดต่อราชการกับ ต่างประเทศ ฮ่องเต้ ได้ออกมาตรการแก้ไข ตามบันทึกในหนังสือ ไท่จู่สือลู่ บรรพาที่ ๒๓๑ บันทึกว่า..

...วันเจี่ยเหยิน เดือนอ้าย ฤดูใบไม้ผลิ ปีที่ ๒๖ รัชศกฮุงหวู(มกราคม พ.ศ.๑๙๓๘) มีประกาศห้ามราษฎร ใช้เครื่องหอม และสินค้าต่างชาติ ในครั้งแรก ฮ่องเต้ทรงเห็นว่า พวกเย่ ต่างๆ ในดินแดนโพ้นทะเล มีอุบายมากมาย ได้ห้ามไปมาหาสู่กัน มีเมือง หลิวฉิว เจนละ และ เสียม-หลอหู เท่านั้น ที่ทรงอนุญาต ให้มาถวายเครื่องราชบรรณาการได้ แต่ราษฎร ริมฝั่งทะเล ก็มักจะลักลอบ เดินทางไปเมืองฮวนต่างๆ เพื่อค้าขายเครื่องหอม ชักชวนพวกเย่ ให้เป็นโจร ดังนั้น จึงมีรับสั่งให้กระทรวงพิธีกรรม ห้ามการติดต่ออย่างเด็ดขาด...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๘)

ปี พ.ศ.๑๙๓๘ เจ้านครอินทร์ แห่ง อาณาจักรละโว้ เมืองสุพรรณบุรี ก่อกบฏ ช่วงชิงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เพื่อขอให้ ราชสำนักจีน ช่วยรับรองรัฐบาล ของ เจ้านครอินทร์ ให้เป็น ผู้ปกครอง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงสุพรรณบุรี ด้วย แต่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ไม่ยอมรับรอง มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๓๘ เจ้านครอินทร์ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุพรรณบุรี ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง พร้อมกับมีพระราชสาส์นแจ้งว่า พระราชบิดา(ปกครองเมืองสุพรรณบุรี) ได้เสด็จสวรรคต แล้ว จึงขอให้ ราชสำนักจีน ช่วยรับรองรัฐบาล ของ เจ้านครอินทร์ ให้เป็น ผู้ปกครอง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงสุพรรณบุรี ด้วย... 

(จิตร ภูมิศักดิ์ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าที่ ๓๗๐)

ปี พ.ศ.๑๙๓๘ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทราบข่าวว่า พระราชบิดา ของ เจ้านครอินทร์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองสุพรรณบุรี เสด็จสวรรคต จึงทรงบัญชาให้ ขันทีเจ้าตา และ ขันทีซุงฟู่ เป็นคณะราชทูต อัญเชิญเครื่องคำนับศพ เดินทางมายัง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงสุพรรณบุรี เพื่อถวายเครื่องคำนับพระบรมศพ พร้อมกับได้ถวายตราตั้งให้ เจ้านครอินทร์ ขึ้นเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรหลอหู กรุงสุพรรณบุรี ในรัชกาลถัดมา มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๓๘ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ทรงบัญชาให้ ขันทีเจ้าตา และ ขันทีซุงฟู่ เป็นคณะราชทูต อัญเชิญเครื่องคำนับศพ เดินทางมายัง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงสุพรรณบุรี เพื่อถวายเครื่องคำนับพระบรมศพ พร้อมกับได้ถวายตราตั้งให้กับ เจ้านครอินทร์ ขึ้นเป็น มหาราชา ปกครอง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงสุพรรณบุรี ด้วย มีพระบรมราชโองการ ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู ใจความว่า

นับตั้งแต่เรา ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครองดินแดน มหาอาณาจักรจีน นั้น คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน เดินทางไปยังอาณาจักรต่างๆ ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งมีอาณาจักรต่างๆ ถึง ๓๖ อาณาจักร แต่มีคณะราชทูต มาถึงหูเรา เพียง ๓๑ อาณาจักร ในจำนวน ๓๖ อาณาจักร นั้น มีอาณาจักรใหญ่ๆ จำนวน ๑๘ อาณาจักร และมี แว่นแคว้นต่างๆ อีก ๑๔๙ แห่ง ซึ่งมีขนบธรรมเนียม ประเพณี และอุปนิสัย ของพลเมืองแตกต่างกัน และแปลกๆ แต่ ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู เป็นอาณาจักรที่เราคุ้นเคยมากที่สุด แห่งหนึ่ง เมื่อคณะราชทูตชุดที่แล้วเดินทางไปถึง เราทราบว่า มหาราชา พระองค์ก่อน ของพวกท่าน สวรรคตไปแล้ว มหาราชา พระองค์ใหม่ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ต่อจาก มหาราชา พระองค์ก่อน ได้ทรงปกครอง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู โดยธรรม ทำให้คณะขุนนาง และ อาณาประชาราษฎร์ มีความสุข ในโอกาสนี้ เราได้ส่งเจ้าหน้าที่ ของ ราชสำนักจีน นำพระบรมราชโองการ ของเรา มามอบแด่ท่าน ขอให้ มหาราชา อย่าทรงละเลยหลักกฎหมาย ขออย่าทรงปฏิบัติพระองค์ในทางอบายมุข และขอให้ มหาราชา จงเคารพเทิดทูนบูชาบรรพบุรุษ ผู้เป็นแบบอย่าง ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๕)

ปี พ.ศ.๑๙๓๘ มหาราชาเจ้าเสือห่มฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว ซึ่งยอมสวามิภักดิ์ ต่อ มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี ประเทศพม่า กรุงอังวะ เป็นเหตุให้ มหาราชา แห่ง ประเทศพม่า ต้องส่งคณะราชทูต ไปร้องเรียน แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ให้ทำการลงโทษ มหาราชาเสือห่มฟ้า ด้วย

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๓๙ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีพระราชสาส์นไปถึง มหาราชาเจ้าเสือห่มฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ให้ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ ๙ ประการ สำหรับ อาณาจักรต่างๆ ที่ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึก ดังนี้...

...ปราชญ์จีนโบราณ ได้ควบคุมผู้ที่ดื้อรั้น และ ส่งเสริมคนดี ด้วยการใช้ระเบียบ และ กฎหมาย ปราชญ์แต่โบราณก็ได้ใช้ และปฏิบัติตามระเบียบ มาเป็นเวลานาน ดังนั้น ผู้ที่อยู่เบื้องสูง และผู้ที่อยู่เบื้องต่ำ จึงอยู่ร่วมกันโดยสันติ และประชาชนทำมาหากิน อย่างมีความสุข สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้ปกครองบ้านเมืองหลายคน เกิดความหวาดกลัว ไม่กล้าทำความชั่วร้าย ด้วยเหตุนี้ ความรุ่งเรือง และชื่อเสียง ของ อาณาจักร ต่างๆ จึงยังสืบทอดต่อมายังไม่ขาดสาย นี่คือผลสำเร็จจากการใช้กองกำลังไปทำโทษ ผู้ปกครองทรราชย์ ตามบัญญัติ ๙ ประการ ดังนี้ คือ

(๑)   หากผู้ปกครองรัฐใด กดขี่ขูดรีดเอาประโยชน์จากความอ่อนแอ และโจมตี อาณาจักรที่โดดเดี่ยว โอรสแห่งสวรรค์ ก็จะส่งกองทัพมาตัดแบ่ง อาณาเขตให้ลดน้อยลง

(๒) หากผู้ปกครองทำให้คนดี ต้องได้รับการบาดเจ็บทุกข์ทรมาน และทำร้ายประชาชน โอรสแห่งสวรรค์ จะส่งกองทัพมาลงโทษ เช่นกัน

(๓) หากผู้ปกครองคนใด ทำการทารุณโหดร้าย กับ ประชาชนชาวเมือง และไปรุกราน อาณาจักรอื่นๆ โอรสแห่งสวรรค์  ก็จักส่งกองทัพไปโค่นล้มราชบัลลังก์ และ เปลี่ยนแปลงตัวผู้ปกครอง เสีย

(๔) หากผู้ปกครอง ปล่อยให้ผืนดิน ไร่นา ว่างเปล่า และประชาชนหนีแตกกระจายออกไป โอรสแห่งสวรรค์ ก็จักใช้กองทัพเข้ายึดครองแผ่นดินเสีย

(๕) หากผู้ปกครอง ยังใช้กองกำลังต่อต้าน ไม่ยอมสวามิภักดิ์ โอรสแห่งสวรรค์ จะเกณฑ์กองทัพเข้าโจมตี

(๖) หากผู้ปกครองบ้านเมือง ทำการประหารชีวิตเชื้อพระวงศ์ โดยไร้เหตุผล ก็จะถูกประชาร เพื่อเป็นการลงโทษ ตามอาชญากรรม ที่ก่อขึ้น

(๗) หากเสนาบดี ขับไล่ หรือ ลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ ของตน ก็จะต้องถูกประหารชีวิต เป็นการทดแทนอาชญากรรมที่ก่อขึ้น

(๘) หากผู้ปกครอง ละเมิดกฎหมาย และใช้อำนาจในทางที่ผิด ก็จะถูกถอดถอน ด้วยกฎหมายลงโทษ และไม่อนุญาตให้ไปติดต่อกับ อาณาจักรบ้านเมืองอื่นๆ

(๙) หากผู้ปกครองต่อต้าน ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ แห่ง ธรรมชาติ ทั้งภายใน และ ภายนอกบ้านเมือง และปฏิบัติตนเยี่ยงสัตว์ แล้ว ก็จะถูกทำลายให้สิ้นไป

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๐)

ปี พ.ศ.๑๙๓๙ พระมหาธรรมราชาที่-๒ แห่ง อาณาจักรสุโขทัย กรุงสุโขทัย ได้พยายามขยายอิทธิพล เข้าปกครอง เมืองน่าน ราชวงศ์ด้ำพงศ์กาว แห่ง แคว้นกาวเทศ(น่าน)

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๐ ฮ่องเต้ ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีพระราชสาส์น มายัง พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เกาะสุมาตรา ให้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องบรรณาการ แก่ มหาอาณาจักรจีน ในฐานะ ประเทศราช ด้วย ฮ่องเต้ฮุงหวู ตรัสว่า อาณาจักรหลอหู ไม่เหมือนกับ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา เพราะเชื่อฟัง มหาอาณาจักรจีน อยู่เสมอ และได้ส่งเครื่องราชบรรณาการ อย่างสม่ำเสมอ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) สั่งให้กรมพิธีการแจ้งแก่ อาณาจักรหลอหู ให้นำเครื่องราชบรรณาการ มาถวายในปีนั้น ด้วย

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๖)

ปี พ.ศ.๑๙๔๐ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ส่งราชทูตจีน ไปติดต่อกับ จักรพรรดิอาชิคากะ แห่ง ราชอาณาจักรญี่ปุ่น มีพระราชสาส์นให้ จักรพรรดิอาชิคากะ ส่งเครื่องราชบรรณาการมาแสดงความจงรักภักดี ต่อ มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีใจความว่า....

...ญี่ปุ่น อยู่ห่างไกลออกไปลิบลับโพ้นทะเล...ท่านบังอาจ และไม่ภักดี ต่อเราจริง ท่านปล่อยให้ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง ของท่าน กระทำการชั่วร้ายต่างๆ...

ทาง จักรพรรดิอาชิคากะ แห่ง มหาอาณาจักรญี่ปุ่น มีพระราชสาส์นตอบกลับไปว่า...

...ฟ้ากับดิน นั้น กว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีผู้ปกครองคนหนึ่งคนใด จะสามารถผูกขาดเป็นของตนแด่ผู้เดียวได้...  

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๒)

ปี พ.ศ.๑๙๔๐ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ตรัสต่อ ขุนนางจีน ฝ่ายต่างประเทศ และ คณะราชทูตที่จะเดินทางมายัง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา และ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา หลังจากได้รับฟังรายงานว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) ไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการ ยอมอ่อนน้อมต่อ มหาอาณาจักรจีน โดยดี จึงได้ทำพระราชสาส์นถึง อาณาจักรหลอหู และ อาณาจักรมัชฌปาหิ เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครอง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) โดยมีพระราชดำรัส บัญชาว่า...

...ตั้งแต่ต้นรัชกาลของเรา อาณาจักรคนเถื่อน ต่างๆ ล้วนได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ เพื่อแสดงการอ่อนน้อม ต่อ มหาอาณาจักรจีน อย่างสม่ำเสมอ ในจำนวนนั้น มี อาณาจักรอันหนำ(เวียตนามเหนือ) อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรกำพูชา(เขมร) อาณาจักรหลอหู(กรุงศรีอยุธยา) อาณาจักรชวา(มัชฌปาหิ) อาณาจักรลิวกิว(ใต้หวัน) อาณาจักรสานโพธิ์(ไชยา) อาณาจักรโพธิ์ใน(บอร์เนียว) อาณาจักรปาหัง(แคว้นปาหัง) อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) และ อาณาจักรต่างๆ อีกหลายอาณาจักร

แต่ในระยะนี้ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้แสดงตัวเป็นกบฏ โดย นายหูไว ได้แอบอ้าง เป็นผู้แทนของเรา ไปยุยงอาณาจักร และ แว่นแคว้นต่างๆ ให้ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ต่อมา อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ได้มีพระราชสาส์น แจ้งเรื่อง มายัง มหาอาณาจักรจีน ให้เราทราบ เรื่อยมา เราได้ส่งคนของเราไปเตือนเขาแล้วว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ทำสิ่งที่ไม่สมควร และเราได้ส่ง นายหูไว กลับไปให้เขาแล้ว โดยสุภาพ แต่หลังจากนั้น ความสัมพันธ์ทางการค้า ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ก็ได้ยุติลง

ประเทศต่างๆ ล้วนมีจิตใจที่แตกต่างกัน อันหนำ(เวียตนามเหนือ) จามปา(เวียตนามใต้) กัมพูชา(เขมร) หลอหู(ละโว้) และ ลิวกิว(ใต้หวัน) ได้ส่งคณะราชทูตมาปรากฏตัว ณ ราชสำนัก ของ มหาอาณาจักรจีน และส่งเครื่องราชบรรณาการ เหมือนก่อน ยิ่งกว่านั้น ลิวกิว(ใต้หวัน) ยังส่งคนหนุ่ม มาศึกษา ที่นี่ ด้วย ตราบไดที่ อาณาจักรป่าเถื่อนเหล่านั้น ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ตราบนั้น เขาจะได้รับการปฏิบัติด้วยความเมตตาปราณี และเราก็ไม่ควรทำตัวให้แตกต่างไปจากพวกเขา แต่เดี๋ยวนี้ เราไม่รู้ใจเขา

ถ้าเราส่งหนังสือนี้ไปให้กับ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ในเวลานี้ ก็เกรงว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) จะสกัดไว้ระหว่างทาง เราเข้าใจว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) แต่ก่อนนี้ พวกเขาเคยพ่ายแพ้สงครามแก่ อาณาจักรเกเดรี เกาะชวา มาก่อน

ดังนั้น ขอให้ท่านนำทัศนะของเรา ติดต่อไปยัง อาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา สั่งให้นำพระราชสาส์นนี้ ไปขอความร่วมมือจาก อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา เพื่อแจ้งให้ ชวา ทราบให้จงได้...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๖๙-๗๐)

ปี พ.ศ.๒๙๔๐ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ส่งพระราชสาส์น ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ไปส่งมอบให้กับ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา และร่วมวางแผนทำสงคราม ทำลายอำนาจ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ตามคำสั่ง ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๙๔๑ พระยาเถร และ พระยาอุ่นเมือง แห่ง เมืองแพร่ ยกกองทัพเข้ายึดครอง เมืองน่าน เป็นผลสำเร็จ

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๘๓ และ ๙๑)

ปี พ.ศ.๑๙๔๑ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงสุพรรณบุรี ถือโอกาส ส่งคณะราชทูตจาก กรุงสุพรรณบุรี ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ตามที่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ตักเตือนมา มีบันทึกว่า...

...เดือนอ้าย ปี พ.ศ.๑๙๔๑ เจ้านครอินทร์(โต-โล-ตี่-ล่า) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงสุพรรณบุรี ถือโอกาส ส่งคณะราชทูตจาก กรุงสุพรรณบุรี ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แต่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงประชวร มาก จนไม่สามารถออกมารับ คณะราชทูต ได้

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๖)

ปี พ.ศ.๑๙๔๑ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เสด็จสวรรคต เมื่อ เดือน ๒ ปี พ.ศ.๑๙๔๑ พระราชโอรส มีพระนามว่า จูหยุนเหวิน ซึ่งเป็นรัชทายาท มีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา ได้รับแต่งตั้งให้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ขึ้นเป็น ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๔๕) หรือ ฮ่องเต้หย่งเล่อ ขึ้นครองราชย์สมบัติ มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ราชวงศ์หมิง เป็นรัชกาลที่ ๒

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๒)

ปี พ.ศ.๑๙๔๑ สมเด็จพระรามราชา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

...เดือน ๔ ปี พ.ศ.๑๙๔๑ สมเด็จพระรามราชา แห่ง มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน แต่ทราบว่า ฮ่องเต้ฮุงหวู เสด็จสวรรคตไปแล้ว ๒ เดือนมาแล้ว...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๖)

ปี พ.ศ.๑๙๔๑ เตมูง่อย ราชวงศ์มองโกล ได้นำกองทัพอิสลาม เข้าโจมตี ประเทศอินเดีย ครั้งใหญ่

ปี พ.ศ.๑๙๔๒ เกิดความไม่สงบขึ้นในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เนื่องจากเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นระหว่าง ฮ่องเต้เจียนเหวิน กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) เป็นเวลา ๔ ปี ถึงปี พ.ศ.๑๙๔๕ ผลของสงคราม ฮ่องเต้เจียนเหวิน ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๕ และได้หลบหนีมายัง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) แล้วออกผนวชเป็น พระภิกษุ อย่างลับๆ

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๖)

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๓ เจ้าชายปรเมศวร พระโอรสของ พระเจ้าราชัชนคร หรือ พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงจัมบี เกาะสุมาตรา ซึ่งได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง(หนังสือบางเล่มอ้างว่า เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าภัทระ แห่งอาณาจักรตาม้าเปล) แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา คือ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ ซึ่ง เจ้าชายปรเมศวร ได้ก่อกบฏ แต่ไม่สำเร็จ และถูกปราบปราม จึงต้องหลบหนีมายัง กรุงจากาต้า อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา มาอาศัยพ่อตา(พระเจ้าวิกรมวรรธนะ) ทางอาณาจักรตาม้าเปล ต้องการให้ส่งตัว เจ้าชายปรเมศวร ไปลงโทษ ณ อาณาจักรตาม้าเปล แต่ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ ไม่ยอมส่งตัวให้ จึงเกิดความขัดแย้ง และขยายตัวเป็นสงคราม ระหว่าง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า กับ อาณาจักรตาม้าเปล ในเวลาต่อมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๓ เจ้าชายปรเมศวร พระโอรสของ พระเจ้าราชัชนคร หรือ พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงจัมบี เกาะสุมาตรา ซึ่งประทับอยู่ที่ กรุงจากาต้า อาณาจักรมัชฌปาหิ เมื่อถูก อาณาจักรตาม้าเปล ขอตัวกลับ ไปลงโทษ จึงได้พยายามติดต่อให้ ขันทีจีน วางแผนหลบหนีไปยัง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) ซึ่งปกครองโดย พระยาสิงห์โพธิ์ หรือ พระยาสังค์สิงห์ พระราชบุตรเขย ของ จักรพรรดิพระธรรมราชา(พ่อพระยาปืนไฟ) และ วางแผนเข้ายึดครอง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๓ เจ้าชายปรเมศวร ได้ปฏิบัติตามแผนการที่ ขันทีจีน กำหนด ได้แสร้งอ้างว่า ได้เกิดความขัดแย้งกับ พวกราชวงศ์ ของ อาณาจักรมัชปาหิ ของ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ กษัตริย์ เชื้อสายราชวงศ์กลิงค์ เพื่อให้ เจ้าชายปรเมศวร แสร้งหลบหนีมายัง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี รัฐในเครือของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๔๓ ซึ่งขณะนั้น แคว้นตาม้าซิก ปกครองโดย พระยาตาม้าซิก หรือ พระยาสังค์สิงห์ ซึ่งเป็น พระราชบุตรเขย ของ ราชา แห่ง แคว้นนครศรีธรรมราช เพื่อวางแผนยึดครอง แคว้นตาม้าซิก ไปครอบครอง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๓ พระเจ้าชัยสิงหวรมันที่ ๕ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต พระเจ้าอินทรวรมันที่ (เจ้าชายวีรภัทรวรมัน หรือ จามปาธิราช หรือ บาดิจไล) ขึ้นครองราชย์สมบัติ

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๗)

ปี พ.ศ.๑๙๔๔ พระเจ้าสวาสอแก(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๔) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ เสด็จสวรรคต พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) พระราชโอรส ซึ่งประสูติจาก หญิงในชนบท ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ แทนที่

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๔ พระยาแสนเมืองมา(พ.ศ.๑๙๔๔) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ สวรรคต พระยาสามฝั่งแกน(พ.ศ.๑๙๔๕-๑๙๘๔) พระราชโอรส ของ พระยาแสนเมืองมา ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๔ ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๑๓ พรรษา ด้วยการสนับสนุน ของ พระเจ้าอา ซึ่งต่อมาได้ปูนบำเหน็จให้เป็น เจ้าสี่หมื่น ปกครอง แคว้นพะเยา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๔๔ เกิดสงครามภายในดินแดน ของ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ระหว่าง เจ้าชายวีรภูมิ พระราชโอรส ของ พระเจ้าราชัชนคร ที่ประสูติจาก พระสนม กับ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ ผลของสงคราม เจ้าชายวีรภูมิ สิ้นพระชนม์ ในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๙ อาณาจักรมัชฌปาหิ จึงเสื่อมโทรม ลงมาก

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๔ สมเด็จพระรามราชา แห่ง กรุงศรีอยุธยา ทรงพระพิโรธ ต่อ เจ้ามหาเสนาบดี พรรคพวก ของ เจ้านครอินทร์ ในการปฏิบัติราชการ สั่งควบคุมตัวเอาไว้ แต่ต่อมา เจ้ามหาเสนาบดี สามารถหลบหนีไปได้ ไปอยู่ที่ เมืองปทาคูจาม แล้วหลบหนีไปกราบทูลเชิญ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) ณ เมืองสุพรรณบุรี ร่วมกันนำกองทัพเข้ามา ยึดครอง กรุงศรีอยุธยา เป็นผลสำเร็จ แล้วเชิญ สมเด็จพระอินทรราชา(เจ้านครอินทร์) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง กรุงศรีอยุธยา โดยมิได้เป็นไปตามที่ กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ แล้วทำการควบคุมตัว สมเด็จพระรามราชา ให้ไปปกครอง เมืองปทาคูจาม แล้วมอบรางวัลให้กับ เจ้ามหาเสนา(ลูกสนมองค์หนึ่ง)  

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๕)

ปี พ.ศ.๑๙๔๔ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ กรุงศรีอยุธยา ทรงพิโรธ อย่างรุนแรง รับสั่งให้เตรียมกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม เจ้านครอินทร์ แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา

ปี พ.ศ.๑๙๔๔ ท้าวยี่กุมกาม เจ้าเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นพระเชษฐา ของ พระยาสามฝั่งแกน ผู้ปกครอง เมืองเชียงใหม่ ได้ร่วมกับกองทัพ ของ กรุงสุโขทัย ยกกองทัพเข้ายึดครอง เมืองเชียงใหม่ ผลของสงคราม ท้าวยี่กุมกาม พ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพไปยัง กรุงสุโขทัย

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งพระราชสาส์น ถึง เจ้านครอินทร์ ให้ส่งคืน กรุงศรีอยุธยา กลับคืนให้กับ สมเด็จพระรามราชา โดยดี มิฉะนั้น จะยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม เป็นเหตุให้ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) ยอมส่งอำนาจ กรุงศรีอยุธยา กลับคืนให้กับ สมเด็จพระรามราชา ตามคำสั่ง แล้ว เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) ได้เสด็จกลับไปปกครอง เมืองสุพรรณบุรี ดังเดิม

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ เจ้าชายปรเมศวร พระโอรสของ พระเจ้าราชัชนคร หรือ พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงจัมบี เกาะสุมาตรา ซึ่งแสร้งหลบหนีไปยัง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๔๓ ได้ถือโอกาส ลอบวางยาพิษ พระยาสิงห์โพธิ์ หรือ พระยาสังค์สิงห์ แห่ง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) ในขณะที่เกิดเหตุความไม่สงบในกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่ง สวรรคต แล้วเข้ายึดอำนาจ ขึ้นปกครอง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) แทนที่ เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ(พระธรรมราชา) กรุงศรีธรรมราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าวว่า พระยาสิงห์โพธิ์ หรือ พระเจ้าสังค์สิงห์ แห่ง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) ซึ่งเป็นราชบุตรเขย ถูก พระเจ้าปรเมศวร ลอบปลงพระชนม์ ด้วยการลอบวางยาพิษ และได้เข้ายึดครอง แคว้นตาม้าซิก ไปครอบครอง จักรพรรดิพระธรรมราชา(พ่อปืนไฟ) กรุงศรีธรรมราช จึงมีพระบัญชาให้ มหาราชา แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ทำการส่งกองทัพจาก แคว้นโพธิ์หาร(ปาหัง) เข้าทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) กลับคืน ผลของสงคราม พระเจ้าปรเมศวร จึงต้องนำกองทัพหลบหนีจาก แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) ไปอยู่กับชาวประมง ที่ ห้าเกาะ แล้วย้ายไปอยู่กับเมืองแขกมัว เกาะสุมาตรา แล้วย้ายไปอยู่ที่ เมืองเบอร์ตัม เกาะสุมาตรา เพื่อวางแผน ยึดครอง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ เจ้าชายปรเมศวร ยกกองทัพจาก เมืองเบอร์ตัม เกาะสุมาตรา เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นมาลายู กรุงมะละกา ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ พระยามะละกา สวรรคต ในสงคราม ชาวไทย ถูกฆ่าตายจำนวนมาก ที่เหลือ ต้องหลบหนีไปยัง แคว้นเปรัก

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๖ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ต้องยก แคว้นอินทรปุระ(แคว้นกวางนัม) กรุงอมราวดี ให้กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เพื่อยุติสงคราม ระหว่างกัน

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๗)

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ สงครามกลางเมืองในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ที่เกิดขึ้นระหว่าง ฮ่องเต้เจียนเหวิน กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) เป็นเวลา ๔ ปี ถึงปี พ.ศ.๑๙๔๕ ได้ยุติลง ผลของสงคราม ฮ่องเต้เจียนเหวิน ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๕ และได้หลบหนีมายัง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) แล้วออกผนวชเป็น พระภิกษุ อย่างลับๆ ส่วน ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ได้เร่งรัดฟื้นฟูระบบบรรณาการ กับ อาณาจักรต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งราชทูตไปยัง แว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมายัง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ดังเดิม

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๖)

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ มหาราชาเลอฉีลี แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ถือโอกาสเดินทางไปร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ขอให้ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) รับรองสถานภาพ การเป็นมหาราชา ปกครอง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ให้กับ พระราชโอรส ของ มหาราชาเลอฉีลี หลังจาก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) สอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ในฤดูหนาว ของปี พ.ศ.๑๙๔๕ ฮ่องเต้หยงโล้ ได้รับรองการเป็นมหาราชา ของ พระราชโอรส ของ เลอฉีลี ตามที่ร้องเรียน ทันที

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๕ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๔๕ เดือนกรกฎาคม ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) มีชัยชนะในสงคราม จึงได้ส่งคณะราชทูตมายัง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา เพื่อประกาศถึงชัยชนะ ของ พระองค์ และเพื่อเตือนให้ประเทศต่างๆ ส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปยัง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ตามที่เคยปฏิบัติมาในรัชสมัย ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๖)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ซึ่งได้รับชัยชนะในสงครามแย่งชิงราชย์สมบัติ จาก พระราชนัดดา ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง อีกครั้งหนึ่ง

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งคณะราชทูต นำพระบรมราชโองการไปยัง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) เนื่องจากมีการผลัดแผ่นดิน มีบันทึกว่า...

...วันกุ๋ยเฉ่ว เดือน ๘ ปีที่ ๑ รัชศก หยุงโล้(วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๑๙๔๖) ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง ราชสำนักจีน ได้ส่ง คณะราชทูต ไปพระราชทาน ผ้าแพรกิม แพรซาโหล พร้อม นำพระบรมราชโองการไปยัง ราชอาณาจักรเจนละ และ ราชอาณาจักรต่างๆ ตามลำดับยศถาศักดิ์ ข้าหลวงเป็นอัญเชิญ พระราชสาส์น ชื่อ เจียงปีนชิง และ หวางซู เป็นราชทูตไปยัง ราชอาณาจักรเจนละ...แต่ละคน ได้รับพระราชทานเสื้อผ้า ผ้าป่าน ๑ ชุด เงินตรา ๒๕ แท่ง...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ พระมหาธรรมราชาธิราช กษัตริย์ เมืองพิษณุโลก เสด็จสวรรคต เมืองเหนือทั้งปวง ก่อกบฏ ไม่ยอมขึ้นต่อการปกครอง ของ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) เป็นเหตุให้ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา จึงนำกองทัพขึ้นปราบเมืองเหนือ ยกกองทัพไปถึง เมืองพระบาง(นครสวรรค์) ผลของสงคราม พระยาบาลเมือง และ พระยาราม ออกมายอมสวามิภักดิ์ ต่อ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ โดยดี

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๕)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) แห่ง อาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ไปครองเมืองต่างๆ คือ เจ้าอ้ายพระยา ไปปกครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยา ไปปกครองเมืองแพรกศรีราชา เจ้าสามพระยา ไปปกครองเมืองชัยนาท

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๕)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ กองทัพของ จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ(พระธรรมราชา) กรุงศรีธรรมราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ยกทัพจาก เมืองนครศรีธรรมราช เข้าทำสงครามปราบปราม พระเจ้าปรเมศวร ณ เมืองมะละกา แคว้นมาลายู ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี เป็นเหตุให้ พระเจ้าปรเมศวร จึงต้องหลบหนีไปยัง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา และหลบหนีไปอาศัยอยู่ที่หมู่เกาะ แห่งหนึ่ง ต่อมา พระเจ้าปรเมศวร ได้เดินทาง ไปขอเข้าเฝ้า ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เพื่อขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ทันที

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๔)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ เกิดความขัดแย้งในดินแดน เกาะชวา ทำให้ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรตาม้าเปล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ เกาะชวา ปกครองโดย พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา และอีกอาณาจักรหนึ่ง คือ อาณาจักร ดาหา หรือ อาณาจักรตาม้าเปล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของ เกาะชวา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๔)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงสุพรรณบุรี ส่งคณะราชทูตเดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...เดือนอ้าย ปี พ.ศ.๑๙๔๖ เจ้านครอินทร์(สมเด็จพระอินทรราชา) หรือ พระเจ้านครินทราธิราช(โต-โล-ตี่-ลา) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงสุพรรณบุรี ส่งคณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้หยุงโล้ ทรงดีพระทัยมาก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ได้พระราชทาน ตราเงินกะโล่ทองคำ รูปอูฐ ในโอกาสอันเดียวกันนั้น ฮ่องเต้หยุงโล้ ทรงย้ำ ถึงระเบียบข้อบังคับ ของ ระบบบรรณาการ และทรงเตือนให้ เจ้านครอินทร์ ส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปส่ง ณ เมืองกวางตุ้ง ทุกๆ ๓ ปี ต่อ ๑ ครั้ง...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๖-๙๗)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ เดือน ๖ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มอบให้ คณะราชทูต ของ ราชสำนักจีน ทำการอัญเชิญ พระบรมราชโองการ ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) มายัง ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา ซึ่ง ราชทูตจีน ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อเดือน ๖ มีบันทึกว่า...

 (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ เดือน ๘ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มอบให้ ขุนนางขันทีหลีเสียง เป็นคณะราชทูต ของ ราชสำนักจีน ทำการอัญเชิญ พระบรมราชโองการ และของที่ระลึก ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) มาทูลเกล้าแก่ สมเด็จพระรามราชา รวมทั้ง ขุนนาง และ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร ของ ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ด้วย

 (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ เดือน ๙ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มอบให้ ขุนนางหวางเจอะ และ เช็งหวู เป็นคณะราชทูต ของ ราชสำนักจีน ทำการอัญเชิญ ของที่ระลึก ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) คือ ผ้าไหมยกดอกเงิน มาทูลเกล้าแก่ สมเด็จพระรามราชา ของ อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ด้วย มีบันทึกว่า...

 (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ สมเด็จพระรามราชา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่ง นายอัยกา เป็นคณะราชทูตเดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...เดือน ๙ ปี พ.ศ.๑๙๔๖ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งราชทูตชื่อ นายอัยกา(ไอ-จิ-ลา) คณะราชทูต เดินทางไปส่งเครื่องราชบรรณาการ ตามที่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ร้องขอ...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ ร่วมกับ กองทัพเรือ ของ มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพ เข้ายึดครอง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นผลสำเร็จ ด้วยการสนับสนุน ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ พระยามะละกา สวรรคต ในสงคราม

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๖ พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-?) ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปรามแคว้นยะไข่ พร้อมกับได้ทำการฆ่า ราชบุตรเขย กษัตริย์ผู้ปกครอง แคว้นยะไข่ เสีย และตั้งรัชทายาท ของ พระเจ้ามังฆ้อง ปกครอง แคว้นยะไข่ แทนที่

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๑)

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ จักรพรรดิพระธรรมราชา(พ่อปืนไฟ) กรุงศรีธรรมราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง สมเด็จเจ้าพันหัว ต้องหลบหนีไปยัง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และร้องขอกำลังจาก มหาอาณาจักรจีน มาช่วยเหลือ

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ สมเด็จเจ้าพันหัว แห่ง อาณาจักรโจฬะ(เขมร-โจฬะ) ร่วมกับ กองทัพเรือ ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ยกกองทัพเข้าทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-ไทย) กรุงพระนครหลวง ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๒)

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ จักรพรรดิพระมหาธรรมราชา(พ่อปืนไฟ) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าวว่า เมืองมะละกา แคว้นมาลายู แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ถูกยึดครอง จึงส่งกองทัพเรือ เข้ายึดครอง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู และ แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนของ เกาะสุมาตรา กลับคืน เพื่อเข้าไปมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมะละกา เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง  

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง แคว้นมาลายู กรุงมะละกา ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม และได้หลบหนีไปยัง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ฟ้องร้องว่า ได้ถูกกองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ทำสงครามรุกราน ยึดครอง กรุงมะละกา แคว้นมาลายู ไปครอบครอง พร้อมกับมีพระราชสาส์นร้องขอให้ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ให้ความคุ้มครอง ให้ช่วยกดดันให้ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) ให้ช่วยยุติการรุกราน และให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) คืน แคว้นมาลายู กรุงมะละกา กลับคืนให้กับ พระเจ้าปรเมศวร ด้วย

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗-๙๘)

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพเรือ ติดตั้งปืนใหญ่ ส่งทหารเข้าจับกุม คณะราชทูต และ ยึดเครื่องราชบรรณาการ ของ อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เช่น อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรมัชฌปาหิ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ และ อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา เพื่อมิให้เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ จักรพรรดิพระธรรมราชา(พ่อปืนไฟ) กรุงศรีธรรมราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ไม่สนใจการกดดันของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ที่ให้คืน แคว้นมาลายู กรุงมะละกา กลับคืนให้กับ พระเจ้าปรเมศวร 

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ จักรพรรดิพระธรรมราชา(พ่อปืนไฟ) กรุงศรีธรรมราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีพระราชสาส์น มาตักเตือนมายัง พระรามราชา แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ว่า แคว้นมะละกา(แมนจูเจ้า-กัว) , อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ว่า กองทัพของ อาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ทำสงครามเข้ารุกราน แว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งเป็นประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง จึงขอให้ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ช่วยเหลือ ด้วย

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗-๙๘)

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๔๗ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาฯ ฮ่องเต้หยุงโล้ มีพระราชสาส์นมายัง มหาราชา แห่ง กรุงศรีอยุธยา ว่า อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร เกาะสุมาตรา และ อาณาจักรจามปา (เวียตนามใต้) ได้ร้องเรียนไปยัง มหาอาณาจักรจีน ว่า ได้ถูกกองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามรุกรานบ่อยครั้ง ฮ่องเต้หยุงโล้ จึงขอให้ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาฯ จงยุติการรุกราน อาณาจักรดังกล่าว ด้วย

พระบรมราชโองการ ของ ฮ่องเต้หยุงโล้ กล่าวว่า อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรสุมาตรา(อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ) อาณาจักรมะละกา(อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา) และ ราชอาณาจักรเสียม-หลอ ล้วนต้องรับพระบรมราชโองการจาก ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทั้งสิ้น ที่ผ่านมา ราชอาณาจักรเสียม-หลอ ถือสิทธิในอำนาจอย่างไร จึงเข้าจับคณะราชทูตบรรณาการ ของ อาณาจักรต่างๆ เหล่านั้น หรือทำการขโมย พระราชสาส์นแต่งตั้ง และตราตั้ง ไป

ฮ่องเต้หยุงโล้ มีพระบรมราชโองการ สั่งให้ ราชอาณาเสียม-หลอ ต้องปล่อยราชทูต ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และให้ส่งคืนตราตั้ง และ พระราชสาส์นแต่งตั้ง ให้กับ อาณาจักรสุมาตรา(อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ) และ อาณาจักรมะละกา(อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา) ทันที นับจากนี้ต่อไป ท่านจะต้องเคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามหลักการที่ถูกต้อง รักษาอาณาเขตของท่านไว้ให้ดี จงซื่อสัตย์ต่อเพื่อนบ้านของท่าน แล้วท่านจะได้รับพรแห่งสันติสุข อันยิ่งใหญ่ ชั่วนิจนิรันดร์...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗-๙๘)

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร เกาะสุมาตรา เพื่อติดต่อกับ มหาราชา สานุลิ อภิติงกิ มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๔๗ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร เกาะสุมาตรา มีผ้ากำมะหยี่ และ ผ้าบางลายทอง เป็นสิ่งของถวาย แด่ มหาราชาสายนุลิ อภิติงกิ พร้อมกับได้เชิญ มหาราชา แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เสด็จไปเข้าเฝ้า ฮ่องเต้หยุงโล้ ด้วย ต่อมา ฮ่องเต้หยุงโล้ ได้มีตราตั้ง แต่งตั้งให้ มหาราชาสานุลิ อภิติงกิ เป็น มหาราชาผู้ปกครอง เกาะสุมาตรา ด้วย...

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน แต่ เรือสำเภา ของ คณะราชทูต แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา แตกนอกชายฝั่ง แคว้นอันหนำ แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) สมาชิกในคณะราชทูตทั้งหมด ยกเว้น นายโพธิ ถูกโจรตระกูลหลี ฆ่าตายหมด ส่วน นายโพธิ ถูกทหาร ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จับไปขังไว้ในคุก

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๘)

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ สายราชวงศ์ตรัน แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ซึ่งถูกสายราชวงศ์เลอฉีลี ทำสงครามปราบปราม ได้หลบหนีไปยัง มหาอาณาจักรจีน และได้ไปฟ้องร้องต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ถึงเชื้อสายราชวงศ์ตรัน ที่แท้จริง จนกระทั่ง ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ทรงเรียก มหาราชาเลอฉีลี แห่ง อาณาจักรไตเวียต มาตำหนิ ในที่สุด มหาราชาเลอฉีลี ได้มีพระราชสาส์น ถึง ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ขอสารภาพผิด และจะคืนราชบัลลัง ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ให้กับ ราชวงศ์ตรัน

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ สมเด็จพ่อพระยา(ซาน-เดี่ย-ผอ-พี-หยา) แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ได้ส่งคณะราชทูต ๙ คน ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ถึงกรุงนานกิง เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๑๙๔๗ หนังสือหมิงสู่ลู่ บันทึกว่า...

...วันเหวินเหยิน เดือน ๙ ปีที่ ๒ รัชศก หยุงโล้(วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๑๙๔๗) มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ พระนาม สมเด็จพ่อพระยา(ซาน-เดี่ย-ผอ-พี-หยา) ได้ส่งราชทูต ชื่อ นายจือ และคณะรวม ๙ คน มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งเป็นสิ่งของพื้นเมือง ฮ่องเต้ โปรดพระราชทานเงินทอง เสื้อผ้า

เดิมที ราชสำนักจีน ได้ส่งขันที เป็นราชทูต ไปยัง เมืองเจนละ เมื่อใกล้เวลาเดินทางกลับ ทหารในคณะ ๓ นาย ได้หลบหนีไป หาไม่พบ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ จึงส่งคนในเมือง ๓ คน ไปแทนที่ ทหารที่ติดตามคณะราชทูต ที่เดินทางกลับ ครั้นกลับมาถึง ราชสำนักจีน กระทรวงพิธีกรรม ได้นำเข้าเฝ้า ฮ่องเต้หยุงโล้ ทรงมีพระราชดำรัสว่า..

...ทหารจีน หนีไปเอง ทำไมจึงไปเอาคนของเขา เข้ามาเกี่ยวข้องให้เขาต้องชดใช้ แล้วสามคนที่ได้มานี้ ก็ส่งภาษากับเราไม่รู้เรื่อง เราจะใช้เขาได้อย่างไร นอกจากนั้นแล้ว พวกเขาต่างก็มีครอบครัวกันทั้งสิ้น อยู่ที่นี่ จะมีความสุขหรือ ให้กระทรวงพิธีกรรม จัดหาเสื้อผ้าให้เขา จ่ายค่าเดินทางตามระยะใกล้ไกล ส่งตัวกลับคืน เมืองเจนละ ด้วย..

ราชเลขานุการ หลีจื้อกัง และ คนอื่นๆ กราบบังคมทูลว่า

...พวกข้าพเจ้า มีความเห็นว่า คนจีนคงไม่หนีไปอยู่กับพวกเขา อาจถูกพวกนั้น ซ่อนตัวไว้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรคืน ๓ คนนั้น กลับไป

ฮ่องเต้หยุงโล้ ทรงมีพระราชดำรัส ตอบว่า

เราจะต้องไม่ฝืนครรลองธรรม ผู้เป็นฮ่องเต้ ย่อมปฏิบัติต่อบุคคลทั้งหลาย ตามบัญชา แห่ง สวรรค์...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๗ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มอบให้ จีนฮ่อ ข้าหลวง ปกครอง แคว้นยูนนาน ยกกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ โดยส่งกองทัพใหญ่เข้าปิดล้อม กรุงเชียงแสน เนื่องจาก อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ไม่ยอมส่งส่วย และเป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน พระยาสามฝั่งแกน ได้นำกองทัพจาก เมืองเชียงใหม่ เชียงแสน ฝาง เชียงราย เชียงของ และ พะเยา เข้าต่อสู้กับกองทัพ ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ผลของสงคราม กองทัพจีนฮ่อ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม กองทัพของ อาณาจักรลานนา ยกกองทัพเข้าติดตามกองทัพ ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ไปถึง แคว้นสิบสองพันนา สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองยอง มาเป็นของ อาณาจักรลานนา เป็นผลสำเร็จ

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ มหาราชา เสือห่มฟ้า (พ.ศ.๑๙๑๕-๑๙๔๘) แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง เสด็จสวรรคต มหาราชา เสือชี้ฟ้า (พ.ศ.๑๙๔๘-๑๙๖๑) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาล ถัดมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๘)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ สมเด็จพ่อพระยา(เจ้าพันหัว) แห่ง ราชอาณาจักรโจฬะ(เขมร) เสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าพระยา หรือ พระเจ้าสุริยวรมัน ซึ่งเป็นพระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรโจฬะ(เขมร) ในรัชกาลถัดมา ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๑๙๔๘ มีบันทึกว่า...

...วันจี๋หยิ่ว เดือน ๗ ปีที่ ๓ รัชศก หยุงโล้(วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๑๙๔๘) มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ พระนาม สมเด็จเจ้าพระยา(ซาน-เดี่ย-เจา-พี-หยา) ได้ส่งราชทูต ชื่อ นายใหม่ และ คณะ นำสิ่งของพื้นเมือง มาถวายเครื่องราชบรรณาการ และกราบบังคมทูลว่า มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ คือ สมเด็จพ่อพระยา สวรรคต แล้ว ฮ่องเต้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานเงิน ทอง แก่ นายใหม่ และ คณะตามลำดับยศถาศักดิ์

วันซินฮ่าย เดือน ๗ ปีที่ ๓ รัชศก หยุงโล้(วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๑๙๔๘) โปรดให้ส่งหวางจือ เจ้าพนักงานในกระทรวงราชพิธี ไปคำนับพระศพ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ สมเด็จพ่อพระยา และมีพระบรมราชโองการให้ บี๋จิ๋น ขุนนางตำแหน่ง จี้ซื่อตรง กับ หวางจง ขุนนางตำแหน่ง เน่ยสือ นำพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สมเด็จเจ้าพระยา พระราชโอรสองค์โต ของ มหาราชาเจนละ ที่สวรรคต นั้น เป็น มหาราชาแห่ง ราชอาณาจักรเจนละ ในรัชกาลถัดมา อีกทั้งได้พระราชทาน เงิน ทอง และสิ่งของอื่นๆ ตามโบราณราชประเพณี แล้วให้ส่งราชทูต นายใหม่ และ คณะ เดินทางกลับ...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๒๒๒)

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๔)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งเชื้อสายราชวงศ์ตรัน แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) พร้อมทหารจีน ๕,๐๐๐ คน เข้าปกครอง อาณาจักรไตเวียต กรุงฮานอย แต่ถูกกองทัพของ มหาราชาเลอฉีลี ส่งกองทัพเข้าโจมตี กองทหารจีน ๕,๐๐๐ คน และ เชื้อสาย ราชวงศ์ตรัน เสียชีวิต หมดสิ้น เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม มหาราชาเลอฉีลี แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เกิดสงครามต่อเนื่อง เป็นเวลา ๒๐ ปี

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๔๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งราชทูตชื่อ นายแสงจูเสียม เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เมื่อเดือน ๗ มีบันทึกว่า...

...เดือนที่ ๗ ปี พ.ศ.๑๙๔๘ สมเด็จพระรามราชา แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งราชทูตชื่อ แสงจูเสียม(เซ็ง-จู-เสียม) เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ตรัสแก่ ราชทูต ให้ช่วยกราบทูลต่อ สมเด็จพระรามราชา ว่า อย่าได้ทรงรุกราน อาณาจักรจามปา อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ และ อาณาจักรแมนจูเจ้ากัว(มาลายู กรุงมะละกา) อีกเลย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งราชทูตชื่อ นายโบ-ลัง-จิ-ฉือ เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ถึงกรุงนานกิง เมื่อเดือนที่ ๑๑ มีบันทึกว่า...

...เดือนที่ ๑๑ ปี พ.ศ.๑๙๔๘ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่งราชทูตชื่อ นายโบ-ลัง-จิ-ฉือ-ตี่ แสงจูเสียม(เซ็ง-จู-เสียม) เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตามที่กำหนด และเพื่อชี้แจงเรื่อง ผู้ทำสงครามรุกราน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ และ อาณาจักรแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา)...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มอบให้ นายพลเจิ้งหัว ซึ่งเป็นชาวยูนนาน นับถือศาสนาอิสลาม บิดาเป็น หัดยี เคยเดินทางไป เมืองเมกกะ มาแล้ว เดิมมีสกุล แซ่หม่า ภายหลังเปลี่ยนเป็น แซ่เจิ้ง ได้นำขบวนเรือ ๖๒ ลำ พร้อมทหารเรือจำนวน ๒๗,๘๗๐ คน มีอาวุธ คือ ระเบิด ปืนใหญ่ ปืนนกสับ ขบวนเรือบรรทุกสินค้า ผ้าไหม และ เครื่องถ้วยชาม ไปจำหน่าย เพื่อแลกกับเสบียงอาหาร ด้วย ขบวนเรือได้เดินทางออกจาก เมืองนานกิง ไปถึง เมืองฟูเกี้ยน ในฤดูร้อน ของปี พ.ศ.๑๙๔๘ เพื่อการออกปฏิบัติการครั้งที่ ๑ คือ ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) และ ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) กลับคืนให้กับ พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ สำเร็จ 

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๕๑-๔๕๒)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ ปฏิบัติการครั้งที่ ๑(พ.ศ.๑๙๔๘-๑๙๕๐) ของ นายพลเจิ้งหัว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งกองทัพเรือ ออกปฏิบัติการครั้งที่ ๑ เรือแล่นจาก เมืองซูเจา ไปยัง เมืองฟูเกี้ยน เป้าหมายคือ ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ให้เป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๐ พร้อมกับ ส่งพระบรมราชโองการ แจ้งบัญชา ของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ให้อาณาจักรต่างๆ ยอมอ่อนน้อมต่อ มหาอาณาจักรจีน โดยดี นายพลเจิ้งหัว เดินทางกลับ กรุงนานกิง ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ.๑๙๕๐ ปรากฏว่า มีคณะราชทูต จากอาณาจักรต่างๆ เดินทางไปยอมอ่อนน้อม ต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) เป็นจำนวนมาก

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๕๒)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มอบให้ นายพลเรือเจิ้งหัว(จางฟู่) ส่งกองทัพเรือใหญ่ เข้าทำสงครามกับ แคว้นอันหนำ แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) สงครามยืดเยื้อถึงปี พ.ศ.๑๙๕๐ นายพลเจิ้งหัว ส่งกองเรือเดินทางสู่ ดินแดน เสียม ชวา สุมาตรา ลังกา อาหรับ และ อาฟริกา จนถึงปี พ.ศ.๑๙๗๔ เป็นจำนวน ๗ ครั้ง

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๖)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มอบให้ นายพลเรือเจิ้งหัว(จางฟู่) ส่งกองทัพเรือใหญ่ ไปคุ้มครอง พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา แห่ง อาณาจักรตาม้าเปล(เกาะชวาตะวันออก) เพื่อขัดขวางมิให้ อาณาจักรดาหา กรุงจากาต้า ส่งกองทัพเข้ายึดครอง

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์โจฬะ แห่ง อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา ส่งคณะราชทูต พร้อมครอบครัว เดินทางไปขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ขอเป็น ประเทศภายใต้การคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ สมเด็จพระสุริยวรมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะ(เขมร) กรุงพระนครหลวง ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เพื่อขอความคุ้มครอง จาก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๒)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ พระเจ้าสายนุลิ อภิติงกิ แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร เกาะสุมาตรา ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๔)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ มหาราชากามา แห่ง อาณาจักรโพธิ์ใน(พูนิ) เกาะบอร์เนียว ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๘ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่งคณะราชทูต พร้อมตราตั้ง แต่งตั้งให้ มหาราชากามา เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรโพธิ์ใน เกาะบอร์เนียว ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) มีพระราชสาส์น ห้าม อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา เรียกบรรณาการจาก อาณาจักรโพธิ์ใน เกาะบอร์เนียว อีกต่อไป

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ กองทัพของ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง รับสั่งให้ กองทัพเรือ ของ นายพลเจิ้งหัว เข้าโจมตี แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ผลของสงคราม เกิดการสู้รบกันอย่างยืดเยื้อต่อไป จนถึงปี พ.ศ.๑๙๕๐ ผลของสงคราม กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน สามารถยึดครอง ราชธานี ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เป็นผลสำเร็จ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นอันหนำ เป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง สงครามครั้งนั้น กองทัพจีน สามารถควบคุมตัว นายโพธิ สมาชิกคนหนึ่ง ของ คณะราชทูตไทย แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเรือสำเภาแตก มาส่งที่ กรุงศรีอยุธยา ด้วย

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๘)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ สงครามภายในดินแดน ของ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ระหว่าง เจ้าชายวีรภูมิ พระราชโอรส ของ พระเจ้าราชัชนคร ที่ประสูติจาก พระสนม กับ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา สิ้นสุดลง เจ้าชายวีรภูมิ ซึ่งมีฐานที่มั่น ทางทิศตะวันออก ของ เกาะชวา สิ้นพระชนม์ ในสงคราม อาณาจักรมัชฌปาหิ จึงเสื่อมโทรม ลงอย่างรวดเร็ว ผลของสงครามครั้งนี้ ทำให้ เจ้าชายปรเมศวร ซึ่งอยู่ข้าง เจ้าชายวีรภูมิ ต้องนำกำลังพล หลบหนีไปขออาศัยอยู่ที่ เกาะตาม้าซิก ซึ่งปกครองโดย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ สมเด็จพระรามราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยาฯ ส่งคณะราชทูต ราชทูตชื่อ อ้ายศิลา เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อชี้แจงว่า ผู้ที่ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) และ อาณาจักรมาลายู กรุงมะละกา คือ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) มีบันทึกว่า...

...เดือน ๙ ปี พ.ศ.๑๙๔๙ พระรามราชา แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูต ราชทูตชื่อ อ้ายศิลา เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการตามราชประเพณี และเพื่อชี้แจงเรื่อง ผู้ทำสงครามรุกราน อาณาจักรจามปา อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ และ อาณาจักรแมนจูเจ้ากัว(มะละกา)...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง กรุงศรีอยุธยา และใช้ กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ

 

รัชกาลที่ ๖๒ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๙๔๙-๑๙๕๐

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ใช้ กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เพื่อควบคุม ราชอาณาจักรหลอหู โดยมี สมเด็จเจ้าพระยามานะชวาลา(พ่อพระยาปืนไฟ) หรือ พระยามานะชีวาลี เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ ว่าราชการที่ กรุงศรีธรรมราช และมี เจ้าพระยาศรีราชา หรือ พระยาพระยาตากร้อ เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ พระเจ้าเปเตรง ดาหา(อีเหนา) แห่ง อาณาจักรดาหา(อาณาจักรมัชฌปาหิ) กรุงจากาต้า เกาะชวา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรตาม้าเปล ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ เกาะชวา เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา ต้องหลบหนีไปร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน อาณาจักรตาม้าเปล จึงล่มสลายลง นายพลเจิ้งหัว ได้ทำการบันทึกเรื่องนี้ว่า...

...ในปี พ.ศ.๑๙๔๙ ขณะที่ คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน พักอยู่ในดินแดนเกาะชวาตะวันออก คือ อาณาจักรตาม้าเปล นั้น อาณาจักรมัชฌปาหิ ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรตาม้าเปล จนถูกทำลาย ทหารจีนที่อยู่ในราชธานี ของ อาณาจักรตาม้าเปล ถูกฆ่าตายไป ๑๗๐ คน เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เรียกร้องค่าเสียหายเป็นทองคำจาก อาณาจักรมัชฌปาหิ(อาณาจักรดาหา) เป็นจำนวน ๖๐,๐๐๐ ธาเอิล ซึ่งมากมายจน อาณาจักรมัชฌปาหิ(อาณาจักรดาหา) กรุงจากาต้า ไม่สามารถจ่ายได้ครบ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ตรัสต่อขุนนาง ว่า อะไรที่ฉันต้องการจากคนเหล่านั้น ที่เป็นประเทศห่างไกล เพราะฉันต้องการให้พวกเขาได้รู้สำนึกผิด ฉันไม่ต้องการให้ มหาอาณาจักรจีน ร่ำรวยจากเงินทองของเขา...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๔)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งคณะราชทูตมาทวง เครื่องราชบรรณาการจาก มหาราชา เจ้าเสือชี้ฟ้า (พ.ศ.๑๙๔๘-๑๙๖๑) แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง แต่ มหาราชาเจ้าเสือชี้ฟ้า แจ้งแก่ราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ว่า ตั้งแต่โบราณกาล อาณาจักรโกสมพี ไม่เคยเป็นข้า ของ มหาอาณาจักรจีน พร้อมทั้งท้าทายให้ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพเข้ามาโจมตี อาณาจักรโกสมพี

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๕)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) รับสั่งให้ จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ(พระธรรมราชา) กรุงศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองมะละกา(แมนจูเจ้าเก้า) แคว้นมาลายู กลับคืน พระเจ้าปรเมศวร ได้หลบหนีไปอาศัยอยู่กับชาวประมงในดินแดน หมู่เกาะห้า อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา หลังจากนั้น สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ได้ส่ง พระยามะละกาไทย ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เข้าปกครอง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู ต่อไป

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ มหาราชาเชนสุย แห่ง อาณาจักรกูกัง(โพธิ์กลิงค์บัง) เกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นชาวจีนกวางตุ้ง ส่งคณะราชทูต ซึ่งเป็นลูกชาย และ หลานชาย ส่งเครื่องราชบรรณาการ เป็นสิ่งของพื้นเมืองต่างๆ ตามที่ ฮ่องเต้หยุงโล้ ได้บัญชา และได้รับพระราชทานสิ่งของกลับมา ด้วย

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ ราชา แห่ง แคว้นโพธิ์ใน(บรูไน) เกาะบอร์เนียว ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตามที่ฮ่องเต้ มีบัญชาผ่าน นายพลเจิ้งหัว มา มีบันทึกว่า...

...สลัดเมาซู อยู่ในดินแดน ของ แคว้นโพธิ์ใน ได้ออกท่องเที่ยว ออกปล้นสะดม โดยทั่วไป สลัดเมาซู ได้รับการคุ้มครอง จาก ราชา ของ แคว้นโพธิ์ใน โดยต้องจ่ายผลประโยชน์ให้กับ พระราชา ครึ่งหนึ่ง ทุกเที่ยวที่สามารถออกไปปล้นสะดมได้มา

ถึงเวลานี้ ประชาชนในแคว้นโพธิ์ใน นับถือศาสนาอิสลามไปแล้วโดยสมบูรณ์ ที่นี่ ประชาชนกินเนื้อหมูไม่ได้ ผู้ฝ่าฝืน มีโทษถึงตาย ประชาชนเล่าว่า ที่สุเหร่า มีการฆ่าสัตว์ต่างๆ เพื่อการบวงสรวงเซ่นไหว้ เป็นประจำ...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ สั่งให้ แม่ทัพ มังกยอชวา พระราชโอรส นำกองทัพเข้าทำสงครามล้างแค้น กับ พระเจ้าสอบอ แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี เกิดการรบแบบตัวต่อตัว ผลของสงคราม แม่ทัพ มังกยอชวา สามารถสังหาร พระเจ้าสอบอ สวรรคต ในสงคราม และพยายามส่งกองทัพเข้าปิดล้อม กรุงแสนหวี ราชธานี แห่ง อาณาจักรโกสมพี แต่ต้องถอยทัพกลับ เนื่องจาก กองทัพมอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองแปร

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ นายพลเจิ้งหัว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง สำเร็จภารกิจ ปฏิบัติการครั้งที่ ๑(พ.ศ.๑๙๔๘-๑๙๕๐) ในการทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จึงนำกองทัพเรือ เดินทางกลับกรุงนานกิง เมื่อฤดูใบไม้ร่วง ของปี พ.ศ.๑๙๕๐ พร้อมกับ คณะราชทูต ของ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู จำนวน ๕๔๐ คน เพื่อเดินทางไปขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๕๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ย้ายราชธานี มายัง กรุงครหิต(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากผลของสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตเวียต

Visitors: 54,261