รัชกาลที่ ๕๘ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ กรุงครหิต(คันธุลี) ปี พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๘

 สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ 

กรุงครหิต(คันธุลี) ปี พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕

 

 

-ในรัชกาลที่ ๕๘-๕๙ มีกษัตริย์ครองราชสมบัติ ๒ พระองค์พร้อมกัน คือ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ และขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่๑) จึงใช้เนื้อหาสาระเดียวกัน

 

ปี พ.ศ.๑๙๑๒ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาอู่ทอง(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) เสด็จสวรรคต นายกพระรามเมศวร ได้ครองเมืองศรีอยุธยา ไว้ชั่วคราว เพื่อรอให้ จักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์(พระยาตาม้าอาแจ๊ะ) เสด็จจากเมืองครหิต(คันธุลี) มาทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ ขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ พระบรมราชาธิราช มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) นำกองทัพมายึดอำนาจ กรุงศรีอยุธยา และตั้งตัวเป็น มหาจักรพรรดิ ว่าราชการที่ กรุงศรีอยุธยา โดยแต่งตั้งให้ นายกพระรามเมศวร เป็น จักรพรรดิพระรามเมศวร ว่าราชการที่ กรุงละโว้ ต่อมา สภามนตรี มีมติให้ เจ้าทองลั่น เดินทางไปรับตำแหน่งนายก แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ว่าราชการที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นรัชกาลที่ ๕๘

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๒๕) หรือ พระบรมราชาธิราช ทราบข่าวการสวรรคต จึงยกกองทัพจาก เมืองลพบุรี มายัง กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๓ เพื่อเข้ายึดครอง กรุงศรีอยุธยา และได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่วน สมเด็จพระราเมศวร ได้เสด็จไปรับราชการเป็น จักรพรรดิ ว่าราชการ ณ เมืองลพบุรี ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนด พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม บันทึกว่า...

...ครั้นถึงศักราช ๗๓๑(พ.ศ.๑๙๑๒) ปีระกา เอกศก สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี สมเด็จพระรามเมศวร เสด็จมาแต่เมืองลพบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติ

ครั้นถึงศักราช ๗๓๒(พ.ศ.๑๙๑๓) ปีจอ โทศก สมเด็จพระบรมราชาธิราช(ขุนหลวงพะงั่ว) เข้ามาแต่ เมืองสุพรรณบุรี เสนาบดีกราบทูลว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จเข้ามา สมเด็จพระราเมศวร ก็ออกไปอัญเชิญเสด็จเข้ามาพระนคร ถวายราชสมบัติ ถวายบังคมลาขึ้นไปลพบุรี ดังเก่า... 

 (กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๒)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ มหาจักรพรรดิพระบรมราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ ขุนหลวงพะงั่ว แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระพนมวัน(พระภู) หรือ พระภูวัน หรือ พระภู ราชวงศ์พระร่วง เป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าพระยาศรีราชา(พ่อพระยาปืนไฟ) ราชวงศ์พระยาร่วง เป็น มหาอุปราช แห่ง ราชอาณาจักรเสียม ว่าราชการ ณ เมืองนครศรีธรรมราช ส่วน จักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ กลายเป็น มหาจักรพรรดิ ตกบันลัง จึงสร้างกองทัพว่าราชการอยู่ที่ กรุงครหิต(คันธุลี) เพื่อเตรียมก่อตั้ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง  

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ พระเจ้าแสงคาเลียต แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา สวรรคต

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ต้องการจัดระเบียบโลก โดยต้องการให้แว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ตกไปเป็นเมืองขึ้น ของ มหาอาณาจักรจีน จึงมีพระบรมราชโองการ มอบให้ คณะราชทูต เดินทางไปแจ้งต่อ มหาราชา ของ อาณาจักรต่างๆ ตามการบัญชา ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู พระบรมราชโองการ มีข้อความว่า...

...ในอดีตที่ผ่านมา มหาอาณาจักรจีน ซึ่งเป็นผู้ปกครองโลก ได้มีความมุ่งมั่นอยู่กับคนทั้งหลายที่มีชีวิตอยู่ในโลก ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ได้เอาพระทัยใส่ สอดส่องอย่างสม่ำเสมอต่อพวกเขาทั้งหลาย ไม่ว่าอยู่ไกล หรือ อยู่ใกล้ จาก มหาอาณาจักรจีน อย่างเท่าเทียมกัน ในพระทัยของพระองค์ และมีความประสงค์ที่มั่นคงอยู่เสมอที่ต้องการเห็นมนุษย์ชาติ มีแต่ความรื่นเริง ความสงบ และ ความสุข

เพราะเหตุนี้ มหาอาณาจักรจีน จึงได้สร้างความสงบ ความสุข ขึ้นมาก่อน จึงจะเป็นที่ไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งพิง ของ อาณาจักร ต่างๆ ที่ตั้งอยู่รอบๆ ดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ออกไป

เนื่องจาก เจ้าชายในราชวงศ์หงวน นั้น มีแต่ความชั่วร้าย เต็มไปด้วยตัณหา มีความโง่เง่า และ อ่อนแอ จิตใจของพวกเขา มิได้ถูกโน้มน้าวให้หันมาเอาใจใส่ ความทุกข์ ของ ราษฎร และดวงวิญญาณ ของ บรรพชน ที่ต้องไปทำหน้าที่ประจำอยู่ตามแนวชายแดน ฉันรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจ ที่ดวงวิญญาณประชาชนเหล่านั้นถูกเหยียบย่ำทำลาย

บัดนี้ ฉันได้ตั้งกองทัพอันยิ่งใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ประกอบด้วยทหารที่รักชาติขึ้นแล้ว และทำให้ภาวะที่ขาดระเบียบแบบแผนในดินแดน มหาอาณาจักรจีน ได้สิ้นสุดลงแล้ว และ บัดนี้ ทหาร และ ประชาชนในดินแดน มหาอาณาจักรจีน ได้ยกย่องให้ฉัน ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในนามของ ผู้ปกครองจักรวาล แห่ง ราชวงศ์หมิง และมีชื่อของรัชกาลนี้ว่า รัชกาลฮุงหวู ตั้งแต่ ๒ ปี มาแล้ว เมื่อกองทัพของฉัน สามารถยึดครองราชย์ธานี ของ ราชวงศ์หงวน เป็นผลสำเร็จ และทำให้ มหาอาณาจักรจีน ทั้งหมด มีแต่ความสงบ ร่มเย็น

จากนั้น จามปา(เวียตนามใต้) อันหนำ(เวียตนามเหนือ) เกาหลี และ อาณาจักรอื่นๆ ก็ได้นำสิ่งของบรรณาการมาถวาย ปีนี้ ฉันได้ส่งนายพลคนหนึ่ง นำกองทัพจีน ไปทำสงครามปราบปรามทางเหนือ จากนั้นจึงได้ทราบว่า เจ้าชายแห่ง ราชวงศ์หงวน ได้เสด็จสวรรคต แล้ว พระเจ้าหลานเธอ ของ พระองค์ ถูกจับกุมคุมขัง ฉันจึงได้แต่งตั้งข้าหลวง ไปทำการปกครอง ตามแบบอย่าง ของ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ในราชวงศ์ก่อนๆ เรียบร้อยแล้ว

ฉันมีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องการจัดระเบียบโลก เพื่อต้องการให้ ประชาชนทั้งในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน และ นอกดินแดน มหาอาณาจักรจีน มีความสงบสุข และโดยที่ อาณาจักรต่างๆ ที่ตั้งอยู่ห่างไกล ยังไม่ทราบเหตุการณ์ ฉันจึงได้ส่งคณะราชทูตมาแจ้งเรื่องราวให้ทราบ และให้ อาณาจักรต่างๆ เร่งรัดส่งเครื่องราชบรรณาการ มาถวาย และ ยอมอ่อนน้อม ต่อ มหาอาณาจักรจีน โดยดี ตามที่เคยส่งมาในสมัยราชวงศ์หงวน มาก่อน...  

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๖๘-๖๙)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต มาติดตามให้ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา , อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เกาะสุมาตรา และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร เกาะสุมาตรา , อาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูต ไปถวายบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อให้เป็นรัฐภายใต้การคุ้มครองของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อให้ มหาอาณาจักรจีน มีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมะละกา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ส่งคณะราชทูต มาติดตามให้ พระเจ้าสุริยวงศ์ราชาธิราช ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะ กรุงพระนครหลวง ให้ส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อให้เป็นรัฐภายใต้การคุ้มครองของ มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

...รัชกาลฮ่องเต้ฮุงหวู วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๑๙๑๓ ฮ่องเต้ฮุงหวู ได้มีคำสั่งให้ กรมพิธีการทูต ทำการส่งคณะราชทูต ไปยัง ราชอาณาจักรเจนละ เพื่อประกาศให้ ราชอาณาจักรเจนละ(กัมพูชา) ทราบว่า ราชวงศ์หมิง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ แผ่นดิน มหาอาณาจักรจีน แล้ว จึงให้ส่งเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ ในฐานะที่ ราชอาณาจักรเจนละ(กัมพูชา) เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน ดังสมัยราชวงศ์หงวน ดังเดิม...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๐)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ส่งคณะราชทูต มาติดตามให้ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงพระนครหลวง ให้ส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อให้เป็นรัฐภายใต้การคุ้มครองของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...ปีที่ ๓ ในรัชกาล ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๓) เมื่อวันที่ ๕ เดือน ๙ ฮ่องเต้ฮุงหวู ส่งราชทูตชื่อ จงเจิ้น แซ่หลี่ เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางมายัง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู เพื่อนำพระราชสาส์น ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู มาถวายให้แก่ กษัตริย์พระองค์ใหม่ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา พร้อมสิ่งของที่ระลึก มาถวาย ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

(หนังสือ หมิงสื่อลู่ ประจำวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๑๙๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต มาเจรจาให้ มหาราชาเจ้าเสือเปงฟ้า ส่งช้างเผือก พร้อมด้วยแสงเก้าก้อน ทอง ๑๐๐ ฮอง เพชรพลอย ๑๐ เม็ด และช้างอีก ๑๕ เชือก ไปยัง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ได้ส่งเงินทอง และผ้าไหมต่างๆ มาให้กับ มหาราชาเจ้าเสือเปงฟ้า เป็นการตอบแทน พร้อมกับแต่งตั้งให้ มหาราชาเจ้าเสือเปงฟ้า มีตำแหน่งเป็น เจ้าแสนหวี ผิงเหมี่ยน

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ พระเจ้าสุริยวงศ์ราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๐๐-๑๙๑๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง เสด็จสวรรคต พระบรมราม(พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๒๓) หรือ สมเด็จกัมพูชาธิราช ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ พระเจ้าบรมราม(บู-เออ-นา) (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๒๓) พระราชโอรส ของ พระลำพงราชา(พ.ศ.๑๘๙๔-๑๘๙๕) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-โจฬะ) ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เพื่อขอให้ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ให้ความคุ้มครองต่อ ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง ด้วย มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมพระราชสาส์นที่เขียนขึ้นบนแผ่นทองคำ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ พระเจ้ามหาโม แห่ง อาณาจักรโพธิ์ใน(พูนิ) เกาะบอร์เนียว ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการแด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตามการบัญชา ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) โดยมิได้ส่งเครื่องราชบรรณาการ โดยแจ้งต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ว่า อาณาจักรโพธิ์ใน(พูนิ) ถูก อาณาจักรซูลูมา ทำสงครามรุกราน เข้าปล้นสะดมไปใหม่ๆ ยังอ่อนแอ และยากจน ขอผัดผ่อนการส่งราชบรรณาการไปอีก ๓ ปี แท้จริง เมื่อราชทูตถูกคาดคั้น จึงทราบความจริงว่า ขณะนั้น อาณาจักรโพธิ์ใน ขึ้นกับ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา อ้างว่า พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ คัดค้านมิให้ส่งเครื่องราชบรรณาการ เมื่อราชทูตถูกข่มขู่ กล่าวว่า แม่แต่ อาณาจักรมัชฌปาหิ ก็ยังเกรงกลัว มหาอาณาจักรจีน ทำไม อาณาจักรโพธิ์ใน จึงไม่กลัว มหาอาณาจักรจีน เป็นที่มาให้ พระเจ้ามหาโม ต้องส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ต่อ มหาอาณาจักรจีน ตามคำขู่ ด้วย

 (อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๓ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งราชทูตชื่อ หลงจนจุ่น เป็นหัวหน้าคณะราชทูต มาสร้างความสัมพันธ์ไมตรี กับ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาบรมราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ ขุนหลวงพะงั่ว แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๑๓ ฮ่องเต้ฮุงหวู ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ หลู-จง-จุ่น มาสร้างความสัมพันธ์ไมตรี กับ สมเด็จเจ้าพระยาบรมราชาธิราช(ซาน-เดี่ย-เจา-ปิ-ยา) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ราชทูตได้อัญเชิญ พระราชสาส์น พร้อมถวายเครื่องราชบรรณาการเป็น ผ้าไหมหลากสี และ ปฏิทินหลวงมาทูลเกล้าแด่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมราชาธิราช(ซาน-เดี่ย-เจา-ปิ-ยา) ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๘๖-๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยา หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูต ชื่อ อินทร์กุมาร(เจ้านครอินทร์) ร่วมเดินทางไปกับราชทูตจีน ชื่อ หลูจุงจุ่น เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...ปีที่ ๔ ในรัชกาลฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๔) เมื่อวันที่ ๒๒ เดือน ๙ ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยา) แห่ง อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่ง เจ้าอินทรกุมาร(เจา-อิน-กู-มาร) เป็นผู้ควบคุมคณะราชทูต เดินทางมาพร้อมกับ ราชทูตจีน ชื่อ จุงเจิ้น แซ่หลี่ เพื่อไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งมี ช้างฝึกอย่างดี ๖ เชือก เต่า ๖ ขา และสินค้าพื้นเมืองอื่นๆ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ราชทูตเจ้าอินทร์กุมาร(เจ้านครอินทร์) ได้ถวายพระราชสาส์น แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู พร้อมกับได้กราบทูลต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู ว่า ประชาชน ของ ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้บีบบังคับให้ สมเด็จพระราเมศวร ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ กษัตริย์ ซึ่งขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยมิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ให้ส่งมอบราชสมบัติให้กับ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาที่ ๑(หลวงพะงั่ว) ในขณะที่ปัจจุบัน สมเด็จพระรามเมศวร ยังคงครองราชย์สมบัติ ว่าราชการอยู่ที่ เมืองละโว้ อยู่ ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนดให้ต้องปฏิบัติ...

(จิตร ภูมิศักดิ์ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าที่ ๓๖๙)

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๘๖-๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ มหาราชาพระภู (มา-หา-ลา-ชา-ปา-ลา-ปู) หรือ พระพนมวัน หรือ พระภู แห่ง ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ พระยามหาพรหม(พระยาพรหมทัต) เมืองเชียงราย มหาอุปราช แห่ง ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ยกกองทัพ จำนวน ๘๐,๐๐๐ คน ไปปิดล้อม เมืองกำแพงเพชร ซึ่งปกครองโดย พระยาญาณดิศ(พระเจ้าติปัญญา) เพื่อขอ พระแก้วมรกต และ พระพุทธสิหิงส์ ไปประดิษฐาน ณ เมืองเชียงราย ราชอาณาจักรลานนา ขุนหลวงพะงั่ว ยกกองทัพไปช่วย แต่ พระยามหาพรหม(พระยาพรหมทัต) ได้นำพระพุทธรูป ทั้งสององค์ ไปประดิษฐาน ณ เมืองเชียงราย เรียบร้อยแล้ว ตำนานพระแก้วมรกต บันทึกว่า...

...แต่นั้นมาข้างหน้า ยังมีพระยาองค์หนึ่ง มีนามปรากฏชื่อว่า พระยาพรหมทัต ท่านครองราชย์สมบัติในเมืองเชียงราย ซึ่ง พระยาพรหมทัต องค์นั้น ท่านก็ได้เป็นมิตร เป็นไมตรี กับ พระเจ้ากำแพงเพชร มาแต่ก่อน ครั้นได้ทราบว่า เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้พระแก้วมรกต มาปฏิบัติรักษา ดังนั้นท่านก็มีความปรารถนา อยากได้พระแก้วมรกต ขึ้นมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงราย ท่านจึงพาเอาเสนาอำมาตย์ ไพร่พลทั้งปวง ลงมาสู่เมืองกำแพงเพชร อันเป็นพระสหายได้แล้ว ท่านก็แห่ พระแก้วมรกต ไปประดิษฐาน ณ เมืองเชียงราย ท่านก็ได้ปฏิบัติรักษาเป็นนิตย์ทุกวัน มิได้ขาด แม้คนทั้งปวง ก็เข้ามานมัสการบูชา เสมอทุกวัน มิได้ขาด นั้นแล...

(นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต หน้าที่ ๙๖ และ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง หัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยเฉพาะ เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) ซึ่งไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) หรือ ขุนพล จูหยวนจาง(พ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๙๙) แห่ง ราชวงศ์หมิง นำกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ ชาวมองโกล ออกจากดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้ติมุ แห่ง ราชวงศ์หงวน(มองโกล) สามารถหลบหนีไปยัง มหาอาณาจักรมองโกล เป็นผลสำเร็จ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ จักรพรรดิแจบองอ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) บริเวณ แคว้นตาเกี๋ย บริเวณปากแม่น้ำตาเกี๋ย ผลของสงคราม กองทัพอาณาจักรไตเวียต พ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ ปากแม่น้ำตาเกี๋ย และ ที่เมืองฮานอย

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ มหาราชา เจ้าฟ้างุ้ม(พ.ศ.๑๘๙๖-๑๙๑๔) แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงลานช้าง(เชียงทอง) ไม่เอาใจใส่ราชการ จึงถูกคณะเสนาอำมาตย์ บังคับให้สละราชสมบัติ มหาราชาเจ้าฟ้างุ้ม จึงหลบหนีไปอยู่ที่ เมืองน่าน และ สวรรคต ในอีก ๒ ปี ถัดมา ส่วนอาณาจักรอ้ายลาว กรุงลานช้าง มี ท้าวอุ่นเมือง(พ.ศ.๑๙๑๔-?) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาลถัดมา มีพระนามว่า พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ

(สิลา วีระวงศ์ ประวัติศาสตร์ลาว หน้าที่ ๖๑)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ มหาราชา เจ้าเสือห่มฟ้า(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๑๔) แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง เสด็จสวรรคต มหาราชา เสือเหยียบฟ้า(พ.ศ.๑๙๑๔-๑๙๑๖) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาล ถัดมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๘)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ พระเจ้าสวาสอแก(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๔) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ นัดพบกับ พระเจ้าพินยาอู ราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี กรุงหงสาวดี(พะโค) ณ ชายแดน ของ อาณาจักรหงสาวดี เพื่อแลกเปลี่ยนของขวัญซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมกันวางแผนทำสงครามกับ อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ ขุนนางสายราชวงศ์ผัวหมา และ ประชาชนทมิฬอาแจ๊ะ แห่ง แคว้นยาไข(ยะไข่) มีพระราชสาส์น เพื่อเสนอให้ พระเจ้าสวาสอแก(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๔) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงอังวะ จัดส่ง กษัตริย์ ราชวงศ์ผัวหมา ไปปกครอง แคว้นยะไข่ เนื่องจาก กษัตริย์องค์เดิม เสด็จสวรรคต

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ พระเจ้าสวาสอแก(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๔) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงอังวะ ส่งกองทัพเข้าปรามปราม เชื้อสายราชวงศ์คำ และ ประชาชนชาวไทยใหญ่ ที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู บาดเจ็บล้มตาย จำนวนมาก ประชาชน ชาวไทยใหญ่ เจ้าของดินแดนดั้งเดิม ได้อพยพไปตั้งรกรากในดินแดน ของ อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง เป็นจำนวนมาก จนถึงปี พ.ศ.๑๙๓๖

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) พระนาม เจ้า-ปา-ซาน-ฮู-เอ๋อ-หน่า ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...วันปิ่งเฉิน เดือน ๑๑ รัชศกฮุงหวู(วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๑๙๑๔) มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) พระนาม เจ้า-ปา-ซาน-ฮู-เอ๋อ-หน่า ได้ส่งคณะราชทูต ราชทูตชื่อ นายยี่-จี๋-หลาง กับคณะ มาถวาย พระราชสาส์น ถวายเครื่องราชบรรณาการ และถวายพระพรสำหรับวันขึ้นปีใหม่ ศกหน้า ฮ่องเต้ได้พระราชทานปฏิทิน ต้าถ่งลี่ แด่ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ รวมทั้งแพรไหม ทองลายเฉียง และพระราชทาน สายสะพายซาโหล ผ้าแพรลายเฉียง ตามลำดับยศถาบรรดาศักดิ์ ด้วย...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๐)

ปี พ.ศ.๑๙๑๔ พระยากือนา(พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘) แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ได้สร้างวัด ณ อุทยานป่าไม้ต้นพะยอม เรียกชื่อว่า วัดบุปผาราม(วัดสวนดอก) และใช้เป็นที่จำพรรษา ของ พระสุมนเถระ ณ กรุงเชียงใหม่   

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๘)

ปี พ.ศ.๑๙๑๕ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) เมืองในการปกครอง ของ อาณาจักรสุโขทัย โดยมี พระยาไชแก้ว และ พระยากำแหง เป็นเจ้าเมือง เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) ซึ่งไม่ยอมขึ้นต่อ ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา พระยาไชแก้ว และ พระยากำแหง ได้ออกสู้รบกับ กองทัพหลวงของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว ผลของสงคราม พระยาไชแก้ว ตายในสงคราม ส่วน พระยาคำแหง และไพร่พลทั้งหลาย หนีเข้าเมืองได้ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช) จึงต้องยกกองทัพกลับราชธานี เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) จึงยังไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๕ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง คณะราชทูตได้เข้าเฝ้า ฮ่องเต้ฮุงหวู หลังจากที่ได้เข้าเฝ้าครั้งที่แล้ว ๓ เดือน มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๑๕ ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยา) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา มอบให้ นายศรี นายศิลา และ นายสิทธิ เป็นคณะราชทูต เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับได้ทำการอัญเชิญ พระราชสาส์น ซึ่งเป็นคำถวายพระพรชัยมงคล ในพระราชโอกาสขึ้นปีใหม่ ของ มหาอาณาจักรจีน ไปทูลเกล้า แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ด้วย ...

(จิตร ภูมิศักดิ์ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าที่ ๓๖๙)

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๑๕ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ส่ง แม่ทัพสุยต๊ะ ยกกองทัพใหญ่ ข้ามทะเลทรายโกบี เข้ายึดครองราชย์ธานี เมืองคาราคอรัม ราชธานี ของ อาณาจักรมองโกล เป็นผลสำเร็จ สามารถเผาเมือง ราบเป็นหน้ากลอง 

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๒๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๕ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ส่งราชทูตจีน ชื่อ จาง โคจิง เดินทางนำคำบัญชา ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) มายัง อาณาจักรมัชฌปาหิ ขากลับ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปพร้อมกับ คณะราชทูตจีน ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมพระราชสาส์นที่เขียนขึ้นบนแผ่นทองคำ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๙๑๖ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ พระยาโพธิ์(เปาหยาฟู) ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๑๖ สมเด็จเจ้าพระยา(ขุนหลวงพะงั่ว) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ พระยาโพธิ์(เปาหยาฟู) ได้นำ หมีดำ ชะนี ไม้ฝาง และสินค้าพื้นเมืองอื่นๆ เป็นเครื่องราชบรรณาการ ถวายแด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตามราชประเพณี หลังจากนั้น ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงรับสั่งให้ ต้อนรับคณะราชทูต ของ ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา เป็นอย่างดี...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๘๗-๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๑๖ พระราชมารดา(พระนางเอี้ยง) ของ สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุรินทรารักษ์ ซึ่งเป็น พระขนิษฐา ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช) และเป็น อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิพระเจ้าอู่ทอง เป็นหัวหน้าขุนนาง ควบคุมคณะราชทูต เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เพื่อร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ว่า มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช ทำการแย่งชิงราชย์สมบัติจาก สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์(ซาน-เดี่ย-เจา-บี-ยา-ซู่-หลี-เช-โล-ลา) แต่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ไม่ยอมต้อนรับ คณะราชทูต ชุดนี้ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงคันธุลี มีบันทึกว่า...

  (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๙๑๖ จักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์(ตาม้าชนะอาแจ๊ะ) ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) โดยมี พระพนมวัน(พระภู) เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการ ณ กรุงศรีธรรมราช และมี พระยาศรีราชา หรือ พระยาปืนไฟ เป็นนายก ว่าราชการที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๙๑๖ มหาราชาตาม้าชนะอาแจ๊ะ หรือ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี และถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๖ พระยากือนา(พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘) มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรลานนา กรุงเชียงใหม่ ได้สร้าง พระธาตุเจดีย์วัดสวนดอก และ พระธาตุเจดีย์ดอยสุเทพ ณ ยอดภูเขา ดอยสุเทพ พร้อมกับสร้าง วัดพระธาตุดอยสุเทพ ณ กรุงเชียงใหม่ เพื่อบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ พระสุมนเถระ นำมาจาก กรุงสุโขทัย  

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑๓๘)

ปี พ.ศ.๑๙๑๖ มหาราชา เสือเหยียบฟ้า (พ.ศ.๑๙๑๔-๑๙๑๖) แห่ง ราชอาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง เสด็จสวรรคต มหาราชา เสือห่มฟ้า (พ.ศ.๑๙๑๕-๑๙๔๘) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาล ถัดมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๘)

ปี พ.ศ.๑๙๑๖ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) พระนาม เจ้า-ปา-ซาน-ฮู-เอ๋อ-หน่า ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...วันเกิงหยิน เดือน ๑๐ เหมันฤดู ปีที่ ๖ ในรัชศกฮุงหวู(วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๑๙๑๖) มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) พระนาม เจ้า-ปา-ซาน-ฮู-เอ๋อ-หน่า ได้ส่งคณะราชทูต โดยมี ราชทูตชื่อ นายยี่-จี๋-หลาง กับคณะ มาถวาย พระราชสาส์น ถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นสิ่งของพื้นเมือง ฮ่องเต้ฮุงหวู ได้พระราชทาน ปฏิทิน ต้าถ่งลี่ สำหรับปีหน้า แด่ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ รวมทั้งแพรไหม ทองลายเฉียง และพระราชทาน สายสะพายซาโหล ผ้าแพรลายเฉียง ตามลำดับยศถาบรรดาศักดิ์ และรองเท้าหุ้มข้อสูง พร้อมถุงเท้า ด้วย...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๐)

ปี พ.ศ.๑๙๑๗ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา รับสั่งให้ พระเถรธรรมากัลป์ญาณ ทำการบูรณะ พระศรีรัตนมหาธาตุ ทางทิศตะวันออก หน้าพระบรรพชั้นสิงห์ สูง ๑๙ วา ยอดนภศูล สูง ๓ วา

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๗ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๑๗ ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช) แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา มอบให้ รัชทายาท(พระราชโอรส) มีพระนามว่า เจ้านครอินทร์(เจา-ลู่-ฉวิน) ผู้เป็นเจ้า ครองเมืองสุพรรณบุรี(ซู-เหมิน) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เพื่อส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายแด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย เจ้านครอินทร์ ได้นำแผนที่ ของ ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ไปถวายแด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ด้วย...   

(จิตร ภูมิศักดิ์ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าที่ ๓๖๙-๓๗๐)

ปี พ.ศ.๑๙๑๗ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้บรรยายถึงสถานการณ์ ของ ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงสงสัย ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู มาก มีบันทึกว่า...

...ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ทรงวิเคราะห์ถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ว่า ก่อนหน้านั้น เชื้อสายราชวงศ์ ของ อาณาจักรหลอหู ไม่มีความกล้าหาญ และไม่เชี่ยวชาญในการทำสงคราม อาจเป็นเหตุให้ ประชาชนใน ราชอาณาจักรหลอหู จึงต้องทรงเลือก ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช) ขึ้นมาเป็น มหาราชา เพื่อปกครอง อาณาจักรหลอหู แม้ว่า ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช) จะส่งคณะราชทูตมาแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงในราชสำนัก ของ อาณาจักรหลอหู และส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ ตามราชประเพณี คณะราชทูต ได้รับการต้อนรับ และเลี้ยงดู จาก ฮ่องเต้ฮุงหวู เป็นอย่างดี อีกทั้ง ได้มีการมอบสิ่งของกำนัน ตอบแทน ตามราชประเพณี เช่นที่เคยปฏิบัติมา แต่หลังจากนั้น ได้มี กษัตริย์(สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์) อีกพระองค์หนึ่ง ของ อาณาจักรหลอหู(สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ อีก พร้อมกับมี พระราชสาส์น มาถวายแด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ด้วย พระองค์(ฮ่องเต้ฮุงหวู) พิจารณาเรื่องราวต่างๆ แล้ว จึงไม่ยอมต้อนรับคณะราชทูต อีกคณะหนึ่ง...

  (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๘๙-๙๐)

ปี พ.ศ.๑๙๑๗ จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า ดินแดนเกาะสุมาตรา ได้แตกแยกเป็น ๓ ก๊ก มีมหาราชา ปกครองถึง ๓ พระองค์ คือ พระเจ้ามานะหะ(กรุงโพธิ์กลิงค์บัง) , พระเจ้าแสงศรีจูหลัน(ปาสัย) และ พระเจ้าทมิฬอาแจ๊ะ(สมุทร)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๗ มหาราชามาหะนะ(พระเจ้ามานะปาเล็มบัง) แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เกาะสุมาตรา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๗ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูต ชื่อ นายชูศรี นายไชยา และ นายศรีเทพ ได้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง แต่เรือสำเภาของ คณะราชทูต ได้ถูกวาตภัย ล่มลงบริเวณ เกาะไหหลำ เป็นเหตุให้ ขุนนางเกาะไหหลำ ชื่อ ศรีบา ได้ช่วยเหลือ และรายงานต่อ ขุนนางเมืองกวางตุ้ง ชื่อ ยี่เหวิน ได้นำเครื่องราชบรรณาการ ไปถวาย มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๑๗ มีขุนนางของ ราชอาณาจักรหลอหู เดินทางมาจากเกาะไหหลำ ชื่อ นายศรีบา(ชา-หลี-บา) ถูกขุนนางจีน จากเกาะไหหลำ ติดต่อมายัง ขุนนางเมืองกวางตุ้ง ชื่อ ยี่เหวิน ให้ช่วยส่งเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ด้วย โดยได้กราบทูลผ่าน ขุนนางยี่เหวิน เพื่อให้รายงานต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู ว่า เมื่อเดือนที่ ๘ ของปีที่แล้ว(พ.ศ.๑๙๑๖) คณะราชทูต ของ อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ชื่อ นายชูศรี นายไชยา และ นายศรีเทพ ได้นำเครื่องราชบรรณาการ มาถวายแด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ของ มหาอาณาจักรจีน แต่เมื่อเรือสำเภาแล่นมาถึง ทะเลหมูดำ(หวูจูหยาง) ก็ถูกพายุพัดกระหน่ำ จนเรือสำเภา เสียหาย และได้ลอยไปยังบริเวณเกาะไหหลำ บรรดาขุนนางจีน ที่เกาะไหหลำ ได้ช่วยชีวิต ไว้ และได้ขอความช่วยเหลือมายัง ข้าพเจ้า(ศรีบา) เพื่อให้ช่วยรวบรวมเครื่องราชบรรณาการ ที่คงเหลือจากการประสบวาตภัย เช่น ไม้ฝาง กำยาน ผ้าฝ้ายขุนสัตว์ ผ้าปัก และสิ่งของอื่นๆ แล้วนำมาถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู

ยี่เหวิน ขุนนางเมืองกวางตุ้ง ได้ถวายรายงานความเห็นเพิ่มเติมต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู ว่า ตัวเขา มีความสงสัยต่อ ราชทูตชื่อ นายศรีบา ผู้นี้ ว่า เครื่องราชบรรณาการนี้ อาจเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อการค้า ก็อาจเป็นได้ หลังจากการสืบสวนแล้วพบว่า นายศรีบา ไม่ได้นำสินค้าอื่นๆ มาอีก ซึ่งโดยปกติแล้ว คณะทูตที่นำเครื่องราชบรรณาการอย่างเป็นทางการ จะต้องทำไปด้วย และข้ออ้างของเขาที่ว่า สามารถกู้เครื่องราชบรรณาการจากเรือที่อับปางนั้น ก็ไม่อาจทำให้ ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงวางพระทัยได้ ฮ่องเต้ฮุงหวู สงใสว่า เขาอาจเป็นเพียงพ่อค้าต่างชาติ ที่เป็นชาวไทย คนหนึ่ง เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ฮ่องเต้ฮุงหวู จึงมีพระบัญชาให้ กองราชเลขาธิการ และ ขุนนางในกองพิธีการ มิให้มีพิธีการต้อนรับ พระราชสาส์น ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา มีบันทึกว่า

ในสมัยโบราณ ในบรรดาขุนนาง ของ เจ้าผู้ครองนครต่างๆ นั้น จะสามารถเข้าเฝ้า ฮ่องเต้ อย่างไม่เป็นทางการทุกๆ ๒ ปี และจะมีการเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการทุกๆ ๓ ปี สำหรับนอกดินแดนจีน ประเทศราช ๙ แห่ง ของ มหาอาณาจักรจีน นั้น จะไปเยือน มหาอาณาจักรจีน ๓ ปี ต่อ ๑ ครั้ง การถวายผลผลิตท้องถิ่นต่างๆ เพื่อแสดงว่าพวกเขามีความจริงใจ และมีความอ่อนน้อมต่อ มหาอาณาจักรจีน มิได้มีความหมายอื่น มีแต่เพียง อาณาจักรเกาหลี เท่านั้น ที่รู้พิธีการ และการใช้เครื่องดนตรี ในราชพิธีต่างๆ เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่กล่าวมา ฮ่องเต้ฮุงหวู จึงมีบัญชาการให้พวก ประเทศราช อาณาจักรต่างๆ ส่งคณะราชทูตมาบรรณาการทุกๆ ๓ ปี โดยเฉพาะอาณาจักรต่างๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรไตเวียต(อันหนำ) อาณาจักรโจฬะ อินเดียใต้(อาณาจักรทมิฬโจฬะ) อาณาจักรบาลี(เกาะบาหลี) อาณาจักรชวา(อาณาจักรมัชฌิมา) อาณาจักรบอร์เนียว(อาณาจักรโพธิ์ใน) อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) อาณาจักรหลอหู(กรุงศรีอยุธยา) และ อาณาจักรกำพูชา(เขมร-โจฬะ)

เนื่องจาก ประเทศราช อาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ได้ส่งคณะราชทูต นำเครื่องราชบรรณาการ มาถวายอย่างสม่ำเสมอ เป็นความเหนื่อยยาก และ เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป บัดนี้ ไม่มีความจำเป็นที่ อาณาจักรเหล่านั้น จะต้องส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ทุกปี อีก บรรดาขุนนาง ของ มหาอาณาจักรจีน ควรจะแจ้งให้บรรดาอาณาจักรต่างๆ ทั้งหมดที่กล่าวมา ทราบโดยทั่วกัน ด้วย...   

  (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๐-๙๑)

ปี พ.ศ.๑๙๑๗ มหาราชาเจ้าฟ้างุ่ม แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งหลบหนี มาอาศัยอยู่ที่ เมืองน่าน เสด็จสวรรคต

ปี พ.ศ.๑๙๑๗ เจ้านครอินทร์ รัชทายาท เจ้าเมืองสุพรรณบุรี พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช ได้ส่ง เจ้าสีจิฉาง(เจา-ชี-ลี-จิ-ฉาง) เป็น หัวหน้าคณะราชทูต ของ พระองค์ เพื่อนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายแด่ มกุฎราชกุมาร(เจ้าชายหยุงโล้) ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

   (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๑)

ปี พ.ศ.๑๙๑๘ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา มอบให้ รัชทายาท(พระเจ้าหลานเธอ) มีพระนามว่า สมเด็จพระรามราชา(โป-โล-ชู) ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ สมเด็จพระราเมศวร เป็นหัวหน้าคณะขุนนาง ควบคุมคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ของ มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...เดือน ๑๐ ปี พ.ศ.๑๙๑๘ ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช) แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา มอบให้ รัชทายาท มีพระนามว่า สมเด็จพระรามราชา(โป-โล-ชู) เป็นหัวหน้าคณะขุนนาง ควบคุมคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ตามราชประเพณี เรือของท่านราชทูต จึงเดินทางมาถึง และได้เข้าเฝ้า ฮ่องเต้ฮุงหวู เมื่อเดือน ๑๐ ทางฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงเลี้ยงต้อนรับ คณะราชทูต และได้พระราชทานสิ่งของที่ระลึก ด้วย...  

   (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๑๘ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา มอบให้ รัชทายาท ซึ่งมีพระนามว่า เจ้านครอินทร์ ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ พระอนุชา ของ ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช) เป็นหัวหน้าคณะขุนนาง ควบคุมคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...เดือน ๑๑ ปี พ.ศ.๑๙๑๘ ขุนหลวงพะงั่ว แห่ง อาณาจักรหลอหู มอบให้ เจ้านครอินทร์ ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ พระอนุชา ของ ขุนหลวงพะงั่ว เป็นหัวหน้าคณะขุนนาง ควบคุมคณะราชทูต ชื่อ นายเปาลุ่น ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ ตามราชประเพณี เมื่อเรือสำเภา แล่นมาถึง ชายฝั่ง อาณาจักรจามปา ก็ถูกพายุพัดกระหน่ำ อย่างรุนแรง ทำให้การเดินทางต้องล่าช้าออกไป ส่วนเรือ ของ อุปทูต เจ้าชานโตโล ได้ลมดีกว่า จึงเดินทางถึงก่อน เป็นลำแรก เมื่อเดือน ๘ ของปี พ.ศ.๑๙๑๘ ต้องรออีก ๒ เดือนต่อมา เรือของท่านราชทูต จึงเดินทางมาถึง และได้เข้าเฝ้า ฮ่องเต้ เมื่อเดือน ๑๑ ทางฮ่องเต้ ทรงเลี้ยงต้อนรับ คณะราชทูต และได้พระราชทานสิ่งของที่ระลึก เช่นเดียวกับ คณะราชทูต ชุดที่เพิ่งเดินทางกลับไป...

   (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๑๘ ขุนสามแก้ว เจ้าเมืองพิษณุโลก ไม่ยอมขึ้นต่อ อาณาจักรหลอหู เป็นเหตุให้ ขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองพิษณุโลก สามารถจับตัว ขุนสามแก้ว ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก พร้อมกับทำการกวาดครอบครัวชาวเมืองพิษณุโลก มายัง กรุงศรีอยุธยา ด้วย

 (กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๘ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) รับสั่งให้ จักรพรรดิพ่อปืนไฟ กรุงศรีธรรมราช นำกองทัพไปร่วมกับ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ผลของสงคราม พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา สามารถทำสงครามป้องกันราชธานี กรุงจากาต้า อย่างเต็มที่ จักรพรรดิพ่อปืนไฟ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้าอีเหนา ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรดาหา กรุงดาหา แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๘ และ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๙๑๘ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) รับสั่งให้ จักรพรรดิพ่อปืนไฟ กรุงศรีธรรมราช นำกองทัพไปร่วมกับ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงจัมบี เกาะสุมาตรา ผลของสงคราม พระเจ้าอาทิตย์วรมัน แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงจัมบี สวรรคต ในสงคราม จักรพรรดิพ่อปืนไฟ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้ามานะชวาลา พระราชโอรส ของ ตาม้าชนะอาแจ๊ะ หรือ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงจัมบี แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๘ และ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๙๑๘ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน อ้างว่า ได้ถูกกองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ทำสงครามรุกราน มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๗๙)

ปี พ.ศ.๑๙๑๘ พระเจ้าแสงสีจูหลัน แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงปาสัย เกาะสุมาตรา ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เพื่อขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน อ้างว่า ได้ถูกกองทัพของ ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ทำสงครามรุกราน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๘ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) รับสั่งให้ จักรพรรดิพ่อปืนไฟ กรุงศรีธรรมราช นำกองทัพไปร่วมกับ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงปาสัย เกาะสุมาตรา ผลของสงคราม พระเจ้าแสงสีจูหลัน แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงปาสัย สามารถหลบหนีไปได้ จักรพรรดิพ่อปืนไฟ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาปาสัย ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง แคว้นปาสัย ให้ขึ้นต่อ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง แทนที่

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๘ และ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๙๑๙ มหาราชา มานะชวลิต หรือ มานะชวาลา พระราชโอรส ของ มหาราชาตาม้าชนะอาแจ๊ะ แห่ง ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี และถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๙๑๙ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาพระบรมราชาธิราช แห่ง อาณาจักรหลอหู(ละโว้) กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) อีกครั้งหนึ่ง โดยมี พระยากำแหง และ ท้าวผากอง ซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) ซึ่งไม่ยอมขึ้นต่อ อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ได้ออกสู้รบกับ ขุนหลวงพะงั่ว ผลของสงคราม พระยาคำแหง และ ท้าวผากอง เห็นว่าสู้กับกองทัพหลวงของ ขุนหลวงพะงั่ว ไม่ได้ จึงเลิกกองทัพหนี ขุนหลวงพะงั่ว นำกองทัพหลวงเข้าตามตี กองทัพของ ท้าวผากอง แตกพ่าย สามารถจับท้าวพระยาเสนาขุนหมื่น ครั้งนั้นมาก แล้วทัพหลวงเสด็จกลับคืน กรุงศรีอยุธยา

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๑๙ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ มหาราชาเมาลิก เป็นผู้ปกครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงกูกัง(โพธิ์กลิงค์บัง) เกาะสุมาตรา แทนที่ พระเจ้ามาหะนะปาเล็มบัง(พระเจ้ามานะชวาลา) ซึ่งถูกกองทัพของ อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ทำสงครามขับไล่ ออกไป จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

...อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงกูกัง เกาะสุมาตรา ก็ถูกปราบปราม โดย มหาราชาแห่ง เกาะชวา เรียบร้อยแล้ว และ เมื่อ มหาราชา(พระเจ้าราชัชนคร) แห่ง เกาะชวา(อาณาจักรมัชฌปาหิ) ทรงทราบว่า ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทรงแต่งตั้งมหาราชา(เมาลิก) ขึ้นปกครอง กรุงกูกัง เกาะสุมาตรา แทนที่ เรียบร้อยแล้ว เป็นเหตุให้ มหาราชา(พระเจ้าราชัชนคร) แห่ง เกาะชวา ทรงพิโรธ มาก จึงได้ส่งกองทหาร มาซุ่มเฝ้าสังเกตการณ์ ว่า มหาอาณาจักรจีน จะทำเช่นใดต่อไป และต่อมา มหาราชา(พระเจ้าราชัชนคร) แห่ง เกาะชวา ได้สั่งฆ่า คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน เสีย และภายหลังเหตุการณ์ครั้งนั้น กรุงกูกัง(โพธิ์กลิงค์บัง) เกาะสุมาตรา ก็ค่อยๆ ยากจนลง และไม่เคยส่งเครื่องราชบรรณาการ มาให้กับ มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง อีกเลย

ขณะนั้น อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ได้ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงกูกัง เกาะสุมาตรา ได้อย่างราบคาบ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองกุกัง เมื่อกรุงโพธิ์กลิงค์บัง ถูกทำลายลง ดินแดนทั้งหมด ก็ยุ่งเหยิง และ พวกชวา(พระเจ้าราชัชนคร แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ) ก็ไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ ชาวจีน ซึ่งได้ถูกส่งไปตั้งหลักแหล่งลงที่ เมืองกูกัง(โพธิ์กลิงค์บัง) เกาะสุมาตรา ก็ต้องลุกขึ้นจับอาวุธ ป้องกันตนเอง มีชาวจีน คนหนึ่ง จากเมืองหนานหาย แคว้นกวางตุ้ง ชื่อว่า เหลียงตาหมิง ซึ่งได้เคยพำนักอยู่ที่นั่น มาเป็นเวลานาน และได้เดินทางท่องเที่ยวไปในทะเล เล่าว่า มีชาวจีน หลายพันคน จากแคว้นฟูเกี้ยน และ กวางตุ้ง เป็นบริวาร ได้เลือก เหลียงตาหมิง ขึ้นมาเป็นหัวหน้า คอยต่อสู้กับ ชวา(พระเจ้าราชัชนคร) อีกครั้งหนึ่ง...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๘๖-๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๑๙ พระยาผากอง ราชวงศ์ด้ำพงศ์กาว แห่ง แคว้นกาวเทศ(น่าน) ได้ส่งกองทัพจาก เวียงน่าน ไปช่วย พระมหาธรรมราชาที่ ๒ มหาราชา แห่ง อาณาจักรสุโขทัย เพื่อทำสงครามกับ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราช) แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๙๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๐ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตียึดครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงจัมบี เกาะสุมาตรา เป็นผลสำเร็จ มหาราชา พระเจ้าแสงจูเลียตจูหลัน ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ สวรรคตในสงคราม พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า จึงมอบให้ ราชวงศ์ชนชาติกลิงค์ ขึ้นปกครอง กรุงจัมบี เกาะสุมาตรา ในรัชกาลถัดมา

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๘๖-๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๒๐ มหาราชาพระเจ้าฮายัม วูรุค(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) แห่ง อาณาจักรมัชฌปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ประกาศให้ อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ปกครองประชาชนในดินแดนต่างๆ ของ หมู่เกาะชวา และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงจัมบี เกาะสุมาตรา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๒๐ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.๑๙๒๐ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

 ...ปี พ.ศ.๑๙๒๐ มีคณะราชทูตจาก อาณาจักรชวาตะวันออก(อาณาจักรมัชปาหิ) กรุงจากาต้า ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู ฮ่องเต้ฮุงหวู ทรงเห็นว่า ราชทูตที่ส่งไป ขาดความสุภาพ และ ความจริงใจ ต่อ มหาอาณาจักรจีน จึงสั่งให้กักคณะราชทูตไว้ระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะทรงอนุญาตให้เดินทางกลับ...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๗๗-๗๙)

ปี พ.ศ.๑๙๒๐ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๒๐ เดือน ๙ ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราช) แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา มอบให้ พระราชโอรส มีพระนามว่า เจ้านครอินทร์(เจา-ลู่-ฉวิน-อิน) เป็นผู้ควบคุม คณะราชทูต เพื่อส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายแด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ของ มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้ ทรงยินดีมาก ฮ่องเต้ ได้ทรงพระราชทานค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ให้แก่ เจ้านครอินทร์ รวมทั้งเสื้อคลุม ๘ ชุด หลังจากนั้น ฮ่องเต้ ได้ทำการออกประกาศพระราชหฤษฎีกา ดังนี้

อาณาประชาราษฎร์ ต่างมีความสุข เนื่องจากได้รับพรจากสวรรค์ และ ผืนแผ่นดิน แห่ง อาณาจักรหลอหู พลเมืองชาวจีน และ ชาวต่างประเทศ อาจจะมีความแตกต่างกัน แต่ทุกคนล้วนมีสิทธิ์ได้รับพรจาก สวรรค์ หากว่าเรากตัญญูต่อสวรรค์ต่อไป เรา และ อาณาประชาราษฎร์ ของเรา จะได้รับรางวัลตอบแทน ด้วยความสุขชั่วนิจนิรันดร์ ขุนหลวงพะงั่ว(ซานเดียเจาปิยา) บรรลุผลสำเร็จในหลักการเหล่านี้ โดยการทำให้พลเมืองชนชาติหลอหู มีความสุข และได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ อย่างสม่ำเสมอ ถ้าจะเปรียบเทียบกับ กษัตริย์ ของ ประเทศอื่นๆ แล้ว ขุนหลวงพะงั่ว แห่ง อาณาจักรหลอหู เป็นผู้ที่ได้รับความสำเร็จอย่างมหาศาล และสมควรได้รับคำสรรเสริญ และรางวัลจาก มหาอาณาจักรจีน เราได้เลือกโอกาสที่คณะราชทูต ของ อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา นำช้างมามอบให้เป็นเครื่องราชบรรณาการ และเราได้ถวายตราตั้ง สำหรับ มหาราชา ของ อาณาจักรหลอหู แก่ มหาราชา ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราช) พร้อมเสื้อคลุมปัก ด้วย นับจากนี้ไป มหาราชา ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราช) ควรจะปกครองพลเมือง ชาวหลอหู ด้วยสันติสุข ชั่วนิรันดร ต่อไป...   

(จิตร ภูมิศักดิ์ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าที่ ๓๖๘)

   (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๒๐ นักเดินเรือชาวอาหรับ ชื่อ อิบ บาตูตะ ซึ่งเดินเรือมายัง มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๔๗ ได้บันทึกถึง สภาพของเรือสำเภาจีน เมื่อประมาณปี ๑๙๒๐-๑๙๒๑ ว่า...

...เรือสำเภาจีน เมื่อแล่นเลียบชายฝั่ง สามารถแล่นด้วยความเร็วประมาณ ๖ ไมล์เศษ ต่อ ๑ ชั่วโมง พวกนายเรือ และพ่อค้า จะนอนค้างอ้างแรมในเรือได้อย่างสบาย เรือสำเภาของพ่อค้าจีน ที่เมืองกวางเจา และ เมืองกวางตุ้ง นั้น แต่ละลำมีสี่ดาดฟ้า มีห้องนอนเฉพาะ มีห้องนอนโถงสำหรับพ่อค้า บางห้อง มีพื้นที่สำราญ ต่างๆ ด้วย มีกุญแจ สำหรับปิดห้อง เป็นส่วนบุคคล แต่ละคน อาจนำภรรยาหลวง หรือ ภรรยาน้อย ไปด้วยก็ได้ ลูกเรือบางราย นั้น มีลูกๆ ติดไปในห้องนอน ด้วย อีกทั้งยังมีสวนครัว สำหรับปลูกขิง ฯลฯ ไว้ในถังไม้ อีกต่างหาก ด้วย...

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๗๖)

ปี พ.ศ.๑๙๒๐ จักรพรรดิแจบองอ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) บริเวณ แคว้นบินดิน ผลของสงคราม กองทัพของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) พ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ บ้านจ่าบ้าน จักรพรรดิตรานดัวตอง สวรรคตในสงครามครั้งนั้น 

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๒๐ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งคณะราชทูต มายัง อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา เพื่อทำการมอบตราตั้ง ให้กับ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้ปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ อย่างเป็นทางการ และมอบหนังสือเดินทางให้แก่ คณะราชทูต แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ง่ายต่อการเดินทางเข้าไปยัง มหาอาณาจักรจีน ครั้งต่อไป เป็นการใช้หนังสือเดินทางครั้งแรก ระหว่าง อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา กับ มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๒๐ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่ง หวางเฮง เลขานุการชั้นที่ ๒ แห่ง กรมพิธีการ ชวนฉือไส แห่ง กองราชเลขาธิการ และ ชาฉือหมิน ผู้ตรวจราชการประจำมณฑล ให้เป็นหัวหน้าคณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อทำการอัญเชิญสาส์นตราตั้ง พระราชสาส์น สิ่งของพระราชทาน และ พระราชกฤษฎีกา ของ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน มาถวายแด่ ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราช) แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ก๊ก ด้วย...  

ปี พ.ศ.๑๙๒๐ เป็นต้นมา คำว่า ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ถูกนำมาใช้ในตราตั้ง อย่างเป็นทางการ มหาอาณาจักรจีน ไม่ยอมรับอำนาจของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) 

ปี พ.ศ.๑๙๒๑ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) พระนาม สมเด็จกัมพูชาธิราช(ซาน-ต๋า-กาน-อู๋-เจ๋อ-ฉือ-ต้า-จื้อ) ได้ส่งคณะราชทูตเดินทางตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๑๙๒๐ เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง และไปถึง กรุงนานกิง เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๑๙๒๑ มีบันทึกว่า...

...วันซิ่นไฮ่ เดือน ๑๒ ปีที่ ๑๐ ในรัชศกฮุงหวู(วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๑๙๒๑) มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ทรงพระนามว่า ซาน-ต๋า-กาน-อู๋-เจ๋อ-ฉือ-ต้า-จื้อ(สมเด็จกัมพูชาธิราช) ได้ส่งคณะราชทูต โดยมี ราชทูตชื่อ นายเม่ย กับคณะ มาถวาย พระราชสาส์น ถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นสิ่งของพื้นเมือง และ ถวายพระพร เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ได้พระราชทาน สายสะพายซาโหล ผ้าแพรลายเฉียง แด่ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) และ พระราชทานเสื้อผ้าไหม แก่ คณะราชทูต ตามยศถาบรรดาศักดิ์ ด้วย...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๔๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๑ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) อีกครั้งหนึ่ง โดยมี พระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมืองซากังราว ซึ่งไม่ยอมขึ้นต่อ ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา แต่ครั้งนี้ พระมหาธรรมราชา ออกมาถวายบังคม ยอมนำเอา เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) ไปขึ้นต่อ อาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา โดยดี

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๒๑ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง ราชอาณาจักรหลอหู กรุงศรีอยุธยา มีชัยชนะเหนือ ราชอาณาจักรสุโขทัย กรุงสุโขทัย โดยเด็ดขาด เป็นเหตุให้ ราชอาณาจักรหลอหู นำ แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรสุโขทัย มารวมกับ อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ดังเดิม

    (สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๙๓)

ปี พ.ศ.๑๙๒๑ เมื่อ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้รับสารตราตั้ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ จาก ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จึงทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พระบรมราชาธิราชที่ ๑) ว่าราชการที่ กรุงศรีอยุธยา โดยมี นายกพระยารามเมศวร เป็น จักรพรรดิพระยารามเมศวร ว่าราชการที่ เมืองลพบุรี และมี พระยาอินทราชา(เจ้านครอินทร์) เป็น นายกสมเด็จพระอินทราชา ว่าราชการที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นรัชกาลที่ ๖๐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา อย่างเป็นทางการ

ปี พ.ศ.๑๙๒๑ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๙๒๑ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราช) แห่ง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มอบให้ เจ้านครอินทร์(เจา-ลู่-ฉวิน-อิน) ซึ่งเป็นพระราชโอรส นำคณะราชทูต เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับมี พระราชสาส์น เพื่อแจ้งแก่ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ว่า พระราชบิดา คือ ขุนหลวงพะงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราช) ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง ราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา เป็น รัชกาลใหม่ อีกครั้งหนึ่งแล้ว และได้นำเครื่องราชบรรณาการ ถวายแด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู ตามราชประเพณี ด้วย...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๙๒๑ พระยาทัด(ทัดเจ้า) แห่ง แคว้นปาหัง อาณาจักรมาลัยรัฐ ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตามที่ ฮ่องเต้ฮุงหวู มีบัญชามา มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๒ สมเด็จกำพูชาธิราช ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนครหลวง ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๒ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

 (อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๒ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๙๒๓ สมเด็จพระบรมราม(พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๒๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรกัมพูชา(เขมร-ขอม) กรุงพระนครหลวง ได้เสด็จสวรรคต และมี พระเจ้าธรรมโศกราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๒๓-๑๙๓๐) ซึ่งเป็นพระอนุชา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรกัมพูชา(เขมร) กรุงพระนครหลวง ในรัชการถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๓ พระเจ้าธรรมโศกราชาธิราช(พ.ศ.๑๙๒๓-๑๙๓๐) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรกัมพูชา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนครหลวง ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน เนื่องจาก ราชอาณาจักรเสียม ทำสงครามรุกราน มีบันทึกว่า...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๑)

ปี พ.ศ.๑๙๒๓ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)หรือ พระเจ้าพัฒนา แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

 (อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๓ จักรพรรดิแจบองอ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) บริเวณ แคว้นตาเกี๋ย และ กรุงฮานอย อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม กองทัพของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) พ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย และ กรุงฮานอย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๖)

ปี พ.ศ.๑๙๒๓ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพไป เมืองเชียงใหม่ และส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองลำปาง แต่ไม่สามารถยึดครองได้ จึงได้ส่งพระราชสาส์น ให้เจ้าเมืองนครลำปาง ให้ออกมาถวายบังคม ยอมขึ้นต่อ ราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา โดยดี หลังจากนั้น กองทัพหลวง จึงยกทัพกลับ

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๓)

ปี พ.ศ.๑๙๒๔ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน มอบให้ แม่ทัพหมู่อิง ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองต้าลี่ และ เมืองลี่เจียง ของ แคว้นยูนนาน แห่ง อาณาจักรน่านเจ้า และได้ทำสงครามยึดครองดินแดน เขตฟันทอง ต่างๆ ด้วย ผลของสงครามครั้งนั้น แคว้นเชียงรุ้ง ของ อาณาจักรเชียงแสน ได้ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ มหาอาณาจักรจีน โดยดี เจ้าเมืองเชียงรุ้ง จึงได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น เจ้าแสนหวี ผิงเหมี่ยน  

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๓)

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๘๗)

ปี พ.ศ.๑๙๒๔ พระเจ้าสวาสอแก(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๔) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง อาณาจักรพม่า กรุงอังวะ พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อร่วมมือกันทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโกสมพี ของ ชนชาติไทย

(หม่องทินอู ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๘๗-๘๘)

ปี พ.ศ.๑๙๒๔ ฮ่องเต้ฮุงหวู(หงอู่) (พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ราชวงศ์หมิง มอบให้ แม่ทัพสุยโต๊ะ เข้าทำสงคราม ทำการกวาดล้าง กองทัพมองโกล ออกจากดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สุด(ใกล้ อาณาจักรโกสมพี) ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๒๖)

ปี พ.ศ.๑๙๒๔ มหาราชาเสือห่มฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จึงได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งจาก ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) เป็น ข้าหลวง เจ้าฟ้าเมืองมาว แสนหวี ผิงเหมี่ยน แต่ มหาราชาเสือห่มฟ้า ด้านหนึ่งยอมรับตำแหน่ง ข้าหลวง ซึ่งเป็นขุนนางท้องถิ่น ของ ราชวงศ์หมิง อีกด้านหนึ่ง ก็ใช้เมืองมาว เป็นฐานที่มั่น ดำเนินการขยายอำนาจเข้ายึดครอง ดินแดนต่างๆ ของ อาณาจักรโกสมพี กลับคืน อย่างลับๆ อีกด้วย จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

...ในรัชสมัย ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) เมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๔ อาณาจักรยูนนาน ถูก กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามปราบปราม ราบคาบ ในปีต่อมา เจ้าเสือวักฟ้า ได้เข้าโจมตี เขตฟันทอง ในฤดูหนาว นั้น เสือวักฟ้า ได้ออกไปล่าสัตว์ ที่ เมืองเจล้าน และ เมืองตี(หนานเตี้ยน) ขุนนางของเขาชื่อ ต๋าลู่ฟาง และ พรรคพวก ได้ยกเสือห่มฟ้า พระราชโอรส ของ มังซา ขึ้นเป็น เจ้าฟ้า(มหาราชา) และทำการปลงพระชน เสือวักฟ้า ขณะที่พระองค์ เสด็จออกนอกพระราชวัง... 

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๔)

ปี พ.ศ.๑๙๒๔ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒) แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ  กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

 ...ปี พ.ศ.๑๙๒๔ มีคณะราชทูตจาก อาณาจักรชวาตะวันตก(อาณาจักรมัชปาหิ) กรุงจากาต้า ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู เป็นทาสคนผิวดำ จำนวน ๓๐๐ คน และ ผลผลิตท้องถิ่นอื่นๆ ด้วย...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๕ บันทึก ของ แคว้นยูนนาน ในหนังสือ ยูนนาน จีวู้ เชาหวง ของ จางต้าน ได้ทำการบันทึกถึงเรื่องราว ของ อาณาจักรโกสมพี ถึงเรื่องราวที่ มหาราชาเสือข่านฟ้า สวรรคต และ พระเจ้าหลานเธอ มีพระนามว่า เสือห่มฟ้า ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่ ว่า...

...ปีที่ ๑๕ ในรัชกาล ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่งราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๒๕) กองทัพ ของ ฮ่องเต้ฮุงหวู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรยูนนาน ขณะนั้น มหาราชาเสือข่านฟ้า สวรรคต แล้ว หลานของเขามีพระนามว่า เสือห่มฟ้า ได้สืบทอดเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว ขณะนั้น มหาราชาเสือห่มฟ้า ยังคงมีอิทธิพล อยู่มาก ปัญหา ของ อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว กลายเป็นปัญหาสำคัญที่ชี้ขาดว่า อำนาจ ของ ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน จะรักษาอำนาจปกครองเหนือชนท้องถิ่น อย่างมั่นคงได้อีกต่อไป หรือไม่...   

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๙๒๕ พระเจ้าราชัชนคร(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๓๒)แห่ง อาณาจักรมัชปาหิ กรุงจากาต้า เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

 ...ปี พ.ศ.๑๙๒๕ มีคณะราชทูตจาก อาณาจักรชวาตะวันตก(อาณาจักรมัชปาหิ) กรุงจากาต้า ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุงหวู เป็นทาสคนผิวดำ ชายหญิง จำนวน ๑๐๐ คน พร้อมไข่มุกเม็ดโต และพริกไทย ๗๕,๐๐๐ ชั่ง...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๘๐)

ปี พ.ศ.๑๙๒๕ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มอบให้ แม่ทัพหมู่อิง ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรยูนนาน กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง เป็นผลสำเร็จ และเปลี่ยนเป็นแคว้นหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับ ใช้กำลังทหารจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ คน ประจำอยู่ที่ แคว้นยูนนาน ด้วย

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๙๒๕ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮุงหวู(พ.ศ.๑๙๑๑-๑๙๔๑) ราชวงศ์หมิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๙๒๕ มหาจักรพรรดิขุนหลวงพะงั่ว(พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๒๕) หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู กรุงศรีอยุธยา เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี เจ้าทองลั่น ซึ่งเป็นพระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติได้ ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวร ได้เสด็จมาจากเมืองลพบุรี เข้าไปในพระราชวังหลวง จับเอา เจ้าทองลั่น ไปพิฆาตเสีย ณ วัดโคกพระยา แล้ว สมเด็จพระรามเมศวร ก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชปกครอง อาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา

(กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารสยาม ฉบับบริติชมิวเซี่ยม กรุงลอนดอน พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๓)

 

ปี พ.ศ.๑๙๒๕ สมเด็จพระรามเมศวร เมืองลพบุรี ยกกองทัพจาก เมืองละโว้ เข้ายึดอำนาจจาก เจ้าทองลั่น ซึ่งตั้งตนเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา เป็นผลสำเร็จ และได้ส่ง คณะราชทูต ไปเจรจากับ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ ให้ร่วมมือกัน โดยจะแต่งตั้งให้เป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ 

 

Visitors: 54,195