รัชกาลที่ ๖๔ สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๙๔๙-๑๙๕๐

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๖๔ 

สมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ 

กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๙๔๙-๑๙๕๐

 

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ใช้ กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เพื่อควบคุม ราชอาณาจักรหลอหู โดยมี สมเด็จเจ้าพระยามานะชวาลา(พ่อพระยาปืนไฟ) หรือ พระยามานะชีวาลี เป็น จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ ว่าราชการที่ กรุงศรีธรรมราช และมี เจ้าพระยาศรีราชา หรือ พระยาพระยาตากร้อ เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ พระเจ้าเปเตรง ดาหา(อีเหนา) แห่ง อาณาจักรดาหา(อาณาจักรมัชฌปาหิ) กรุงจากาต้า เกาะชวา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรตาม้าเปล ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ เกาะชวา เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ(พ.ศ.๑๙๓๒-๑๙๗๒) หรือ พระเจ้ายังวิสยา ต้องหลบหนีไปร้องเรียนต่อ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน อาณาจักรตาม้าเปล จึงล่มสลายลง นายพลเจิ้งหัว ได้ทำการบันทึกเรื่องนี้ว่า...

...ในปี พ.ศ.๑๙๔๙ ขณะที่ คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน พักอยู่ในดินแดนเกาะชวาตะวันออก คือ อาณาจักรตาม้าเปล นั้น อาณาจักรมัชฌปาหิ ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรตาม้าเปล จนถูกทำลาย ทหารจีนที่อยู่ในราชธานี ของ อาณาจักรตาม้าเปล ถูกฆ่าตายไป ๑๗๐ คน เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เรียกร้องค่าเสียหายเป็นทองคำจาก อาณาจักรมัชฌปาหิ(อาณาจักรดาหา) เป็นจำนวน ๖๐,๐๐๐ ธาเอิล ซึ่งมากมายจน อาณาจักรมัชฌปาหิ(อาณาจักรดาหา) กรุงจากาต้า ไม่สามารถจ่ายได้ครบ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) ตรัสต่อขุนนาง ว่า อะไรที่ฉันต้องการจากคนเหล่านั้น ที่เป็นประเทศห่างไกล เพราะฉันต้องการให้พวกเขาได้รู้สำนึกผิด ฉันไม่ต้องการให้ มหาอาณาจักรจีน ร่ำรวยจากเงินทองของเขา...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๔)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งคณะราชทูตมาทวง เครื่องราชบรรณาการจาก มหาราชา เจ้าเสือชี้ฟ้า (พ.ศ.๑๙๔๘-๑๙๖๑) แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง แต่ มหาราชาเจ้าเสือชี้ฟ้า แจ้งแก่ราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ว่า ตั้งแต่โบราณกาล อาณาจักรโกสมพี ไม่เคยเป็นข้า ของ มหาอาณาจักรจีน พร้อมทั้งท้าทายให้ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพเข้ามาโจมตี อาณาจักรโกสมพี

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๒๕)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) รับสั่งให้ จักรพรรดิพ่อพระยาปืนไฟ(พระธรรมราชา) กรุงศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองมะละกา(แมนจูเจ้าเก้า) แคว้นมาลายู กลับคืน พระเจ้าปรเมศวร ได้หลบหนีไปอาศัยอยู่กับชาวประมงในดินแดน หมู่เกาะห้า อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา หลังจากนั้น สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ได้ส่ง พระยามะละกาไทย ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เข้าปกครอง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู ต่อไป

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ มหาราชาเชนสุย แห่ง อาณาจักรกูกัง(โพธิ์กลิงค์บัง) เกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นชาวจีนกวางตุ้ง ส่งคณะราชทูต ซึ่งเป็นลูกชาย และ หลานชาย ส่งเครื่องราชบรรณาการ เป็นสิ่งของพื้นเมืองต่างๆ ตามที่ ฮ่องเต้หยุงโล้ ได้บัญชา และได้รับพระราชทานสิ่งของกลับมา ด้วย

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ ราชา แห่ง แคว้นโพธิ์ใน(บรูไน) เกาะบอร์เนียว ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตามที่ฮ่องเต้ มีบัญชาผ่าน นายพลเจิ้งหัว มา มีบันทึกว่า...

...สลัดเมาซู อยู่ในดินแดน ของ แคว้นโพธิ์ใน ได้ออกท่องเที่ยว ออกปล้นสะดม โดยทั่วไป สลัดเมาซู ได้รับการคุ้มครอง จาก ราชา ของ แคว้นโพธิ์ใน โดยต้องจ่ายผลประโยชน์ให้กับ พระราชา ครึ่งหนึ่ง ทุกเที่ยวที่สามารถออกไปปล้นสะดมได้มา

ถึงเวลานี้ ประชาชนในแคว้นโพธิ์ใน นับถือศาสนาอิสลามไปแล้วโดยสมบูรณ์ ที่นี่ ประชาชนกินเนื้อหมูไม่ได้ ผู้ฝ่าฝืน มีโทษถึงตาย ประชาชนเล่าว่า ที่สุเหร่า มีการฆ่าสัตว์ต่างๆ เพื่อการบวงสรวงเซ่นไหว้ เป็นประจำ...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๒)

ปี พ.ศ.๑๙๔๙ พระเจ้ามังฆ้อง(พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๖๓) ราชวงศ์ผัวหมา แห่ง ราชอาณาจักรพม่า กรุงอังวะ สั่งให้ แม่ทัพ มังกยอชวา พระราชโอรส นำกองทัพเข้าทำสงครามล้างแค้น กับ พระเจ้าสอบอ แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี เกิดการรบแบบตัวต่อตัว ผลของสงคราม แม่ทัพ มังกยอชวา สามารถสังหาร พระเจ้าสอบอ สวรรคต ในสงคราม และพยายามส่งกองทัพเข้าปิดล้อม กรุงแสนหวี ราชธานี แห่ง อาณาจักรโกสมพี แต่ต้องถอยทัพกลับ เนื่องจาก กองทัพมอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองแปร

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า หน้าที่ ๙๒)

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ นายพลเจิ้งหัว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง สำเร็จภารกิจ ปฏิบัติการครั้งที่ ๑(พ.ศ.๑๙๔๘-๑๙๕๐) ในการทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จึงนำกองทัพเรือ เดินทางกลับกรุงนานกิง เมื่อฤดูใบไม้ร่วง ของปี พ.ศ.๑๙๕๐ พร้อมกับ คณะราชทูต ของ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง เมืองมะละกา แคว้นมาลายู จำนวน ๕๔๐ คน เพื่อเดินทางไปขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้หยุงโล้(พ.ศ.๑๙๔๑-๑๙๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๕๒)

 

ปี พ.ศ.๑๙๕๐ มหาจักรพรรดิสมเด็จเจ้าพระยาสุรินทรารักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา ย้ายราชธานี มายัง กรุงครหิต(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากผลของสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตเวียต

Visitors: 54,271