คำแนะนำ การศึกษาประวัติศาสตร์ ก่อน สุโขทัย

 

 

 

 

 

 

 

คำแนะนำ

ของเว็บไซต์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ก่อน สุโขทัย

 

          ผมขอแนะนำให้ทุกท่านที่สนใจการศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนยุค ได้ทำความเข้าใจในบริบทโดยรวมของสภาพต่างๆในยุคนั้นก่อน เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ชนเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ในขณะนั้น และระบอบการปกครอง ในรูปแบบสหราชอาณาจักร เป็นระบอบธรรมาธิปไตย กษัตริย์ต้องทำตามมติของสภาปุโรหิต ซึ่งถูกถ่วงดุลด้วยสภาโพธิ ซึ่งแตกต่างระบอบรวมศูนย์อำนาจ แบบมหาอาณาจักรจีน หรือ แบบราชาธิปไตย(สมบูรณาญาสิทธิราชย์) ในสมัยอยุธยาที่เราคุ้นเคย นอกจากนี้ยังมีการกระจายอำนาจ ไปสู่อาณาจักรต่างๆ มีตำแหน่งต่างๆของกษัตริย์ที่เราไม่คุ้ยเคย รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางอำนาจรัฐ ตลอดเวลาตามเงื่อนไขที่เกิดขึ้น จึงอาจนำมาซึ่งความสับสน ไม่เข้าใจ ทำให้ไม่อยากเรียนรู้

         ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ศึกษาและวิเคราะห์บริบทในเรื่องต่างๆ ดังนี้

๑.เผ่าพันธุ์และเชื้อชาติของผู้คนในดินแดนอุษาคเนย์

๒.ภูมิประเทศ ของดินแดนในแถบนี้เมื่อ หนึ่งถึงสองพันปีที่ผ่านมามิได้มีสภาพดังเช่นปัจจุบันนี้

๓.การปกครองในรูปแบบ สหราชอาณาจักร ระบบธรรมาธิปไตย (ก่อนจะเข้าสู่ยุค สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์)ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรูปแบบรวมอำนาจ ของมหาอาณาจักรจีน หรือ ระบอบราชาธิปไตย(สมบูรณาญาสิทธิราช)ที่เราคุ้นชิน

 

         ๑.เผ่าพันธุ์และเชื้อชาติของผู้คนในดินแดนอุษาคเนย์

         เมื่อกว่า ๕๐๐๐ ปีแล้ว ชนชาติอ้ายไต จากดินแดนทางตอนใต้ของจีนได้ลงมาสำรวจดินแดนในสุวรรณภูมิ และสร้างเมืองต่างๆขึ้นเช่น เมืองพรหมทัศน์ ที่บริเวณถ้ำคูหาภิมุข ยะลา สร้างเมืองมิถิลา (ไชยา สุราษฎร์ธานี) เมืองทองแสนขัน ที่อุตรดิตถ์ และเมืองสุธรรม ที่ อ.สิชล นครศรีธรรมราช

          ในขณะนั้น มีชนพื้นแขกดำหรือพวกนาค(มิลักขะ)เผ่าต่างอาศัยอยู่ก่อนแล้ว มีหัวหน้าเป็นสตรี อาศัยอยู่ในถ้ำ ยังไม่มีอารยะธรรม ไม่รูจักใช้ไฟ ยังกินของดิบ นับเลขได้ หนึ่งถึงสองเท่านั้น

         หลังจากนั้น อีกสองพันปี พญาวสุ(สังข์พราหมณ์)พระราชบิดาของ พระกฤษณะ ได้หนีภัยจากอินเดียมาสร้างเมืองบนเกาะแห่งหนึ่ง(เกาะชวา)ในดินแดนเกษียรสมุทร ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าดุร้าย มนุษย์กินคน ต่อมาได้อพยพหนีภัยจากการุกรานของพญากงส์มายังเมืองมิถิลา เมื่อ พระกฤษณะ ปราบพญากงส์ได้ พญาวสุพระนางเทวกีและพลราม ก็กลับอินเดีย พระกฤษณะสร้างเมืองพระกฤษณะ บนเกาะนั้น ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าเกาะพระกฤษ(เกาะชบา หรือ เกาะราม หรือเกาะชวา)สามพันกว่าปีที่ผ่าน ชนชาติอ้ายไตและชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข   จนกระ

ทั่งในปีพ.ศ.๒๗๗ พระเจ้าอโศกมหาราช ยกทัพเข้าโจมตีอาณาจักรโจฬะและอาณาจักรกลิงค์รัฐ

แตกพ่ายเกิดการอพยพครั้งใหญ่เข้าสู่ดินแดนเกษียรสมุทรและสุวรรณภูมิ

จำนวนสองแสนคนบางส่วนเข้าสู่เกาะทมิฬอาแจะ(เกาะสุมาตรา) บางส่วนเข้า

ตั้งรกรากทางตอนใต้ของประเทศพม่าในปัจจุบัน ตลอดจนริมฝั่งทะเลด้านตะวันออก บริเวณ

อ.ท่าฉาง,เมืองคลองหิต(แหล่งแร่ทองคำ) คลองกลิงค์ อ.ท่าชนะและฝั่งตะวันตก บริเวณปากน้ำ

กระบี่ ปากน้ำทุ่งสง จนถึงปากน้ำระนอง ของไทยในปัจจุบัน

         พวกทมิฬจำนวนสองแสนคนบางส่วนอพยพสู่เกาะพระกฤษ(เกาะชวา)เรียกว่าพวกโจฬะน้ำ บางพวกอพยพเข้าสู่ดินแดนเขมรในปัจจุบัน เรียกว่าพวกโจฬะบก ซึ่งเมื่อผสมกับคนพื้นเมืองกลายเป็นพื้นของพวกฆ่าแม่(ขแมร์ หรือ เขมร)ในเวลาต่อมา บางส่วน ตั้งรกรากทางทิศตะวันตกของภูเขาศก จ.พังงา เมื่อผสมกับคนพื้นเมืองแล้วกลายเป็นพื้นฐานของ รัฐพวกมากหรือ ผัวหม่า หรือ พม่าในปัจจุบัน

        ชนพื้นเมืองแขกดำที่อยู่รวมกันกับพวกโจฬะและกลิงค์ จะถูกเรียกว่า อ้าว้า หรือ อ้าโว้ หรือ อาวะ หรือ อังวะ พวกศรีลังกา ขอมฆ่าแม่และกลิงค์เรียกเพี้ยนเป็น ชะวา

        ชนพื้นเมืองแขกดำที่อยู่รวมกับชาวไตจะเรียก พวกลั่วะ หรือ ละว้า หรือ ละโว้

        พวกกลิงค์ผสมกับแขกดำ เกิดสายพันธ์ กลิงค์มอญ เป็นพื้นฐานของคนมอญในอาณาจักรอิสานปุระและมอญในปัจจุบัน

        พวกกลิงค์ผสมทมิฬโจฬะ เกิดสายพันธ์ รามัญ อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกบริเวณ อ.กะเปอร์ จ.ระนองในปัจจุบัน

        หลังจากนั้นอีก ๔๓ ปี ในปีพ.ศ.๓๒๐ ความสงบสุขและสันติสุข ของชนชาติไตก็หมด เริ่มถูกรุกรานจากพวกโจฬะและพวกกลิงค์มอญที่มีพวกแขกดำเป็นพวก และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามต่างๆพวกโจฬะและพวกกลิงค์มอญหลอกใช้ชนพื้นเมืองแขกดำเป็นเครื่องมือในการรุกรานชนชาติไต และสุดท้ายจีนก็หลอกใช้พวกทมิฬโจฬะและพวกกลิงค์มอญเป็นเครื่องมือในการรุกรานชนชาติไต ชนชาติไตเสียชีวิตนับแสนคน ศูนย์กลางอำนาจรัฐถูกเผ่าทำลายอย่างไม่เหลือซากนับสิบครั้ง  มหาจักรพรรดิ จักรพรรดิ นายก มหาราชาและราชา สวรรคตในสนามรบนับสิบพระองค์

 

        ๒.ภูมิประเทศ ของดินแดนในแถบนี้เมื่อ หนึ่งถึงสองพันปีที่ผ่านมามิได้มีสภาพดังเช่นปัจจุบัน เช่น

           เกาะสุวรรณภูมิ ได้แก่พื้นตั้งแต่ช่องแคบม้าละกา(มาเลเซีย) จนถึงช่องแคบพรหมทัศน์(โพธิ์นารายณ์) (ยะลา)เชื่อมทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน ผ่านทางแม่น้ำกันตัน ตรัง ผ่านทุ่งส่ง สู่ทะเลที่ปากพนัง

                                             

 

          เกาะแก้วพิสดาร(อ.เคียนซา จ.สุราษฏร์ธานี)บริเวณแม่น้ำหลวง(ตาปี)ในสมัยนั้นเป็นเกาะแก่งมากมาย

          เมืองโกสมพี บริเวณสวนโมขพลาราม รอบบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลก่อน

          ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง ต.ละเม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ถูกล้อม

รอบด้วยทะเลมาก่อน

                             

          ทะเลเว้าเข้าไปถึงช่องเม็กอุบลราชธานี ในตำนานอุรงคธาตุ พระพุทธเจ้าเดินทางโดย

ทางเรือจนถึงเมืองสกลนคร เมืองแคมหนองคันเทเสื้อน้ำ (เมืองเวียงจันทร์)

 

                       

 

ถ้าเรามีความรู้ ความเข้าใจถึงสภาพภูมิศาสตร์ซึ่งจะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราก็จะเข้าใจ

ถึงทำเลที่ตั้งของเมืองต่างๆหรือเส้นการเดินเรือในอดีต ทีเชื่อมโยงกัน ทำให้คนในยุคนั้นเดินทาง

เชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวกสบาย  ตลอดจนการเดินเรือเพื่อไปทำสงคราม

 

        ๓.การปกครองรูปแบบ สหราชอาณา ในระบบ ธรรมาธิปไตย ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรูปแบบอาณาจักร ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่เราคุ้นชินการ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงเมืองหลวง ไปตามความเหมาะสม

 

           การปกครองของ สหราชอาณาจักรเทียน ระบบ ธรรมาธิปไตย

          พระเจ้าสุมิตร(ท้าวหารคำ) เป็นผู้นำวิชาการปกครอง ตามตำราอรรถศาสตร์ ของ เกาฎิลย์§-ซึ่งกำเนิดขึ้นในสมัยพระเจ้าจันทร์คุปต์(พ.ศ.๒๒๒-๒๔๖) อินเดีย มาปรับปรุงดัดแปลงให้สอดคล้องกับการสร้างรัฐทางพระพุทธศาสนา รูปแบบ สหราชอาณาจักร มาแนะนำให้ จักรพรรดิท้าวกูเวร ใช้เป็นรูปแบบการปกครองชนชาติอ้ายไต ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนชื่อ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นชื่อใหม่ว่า สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๐๔ เป็นต้นมา ทำให้ ดินแดนสุวรรณภูมิ ของ ชนชาติอ้ายไต ขยายตัวออกเป็น อาณาจักรต่างๆ อย่างรวดเร็ว

        เป็นรูปแบบการปกครองหนึ่งในระบบธรรมาธิปไตย มี พระธรรมนูญ(กฎมณเฑียรบาล) เป็นกฎหมายสูงสุด ของ สหราชอาณาจักรเทียน มี กฎหมายอาญา และ กฎหมายแพ่ง รองรับ พระธรรมนูญ โดยมี สภาปุโรหิต เป็นสภาสูงสุด ตำแหน่ง สมาชิกสภาปุโรหิต ส่วนใหญ่จะเป็นพระญาติผู้อาวุโส หรือ พระอาจารย์ ของ มหาจักรพรรดิ สภาปุโรหิต จึงมีอำนาจในการแต่งตั้ง หรือ ถอดถอน หรือ ลงโทษ ตำแหน่งสูงสุดในการปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน คือตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ และ นายก ได้ นอกจากนั้น ยังมี สภาโพธิ ซึ่งประกอบด้วย ภิกษุ หรือ ตาผ้าขาว ผู้สอบผ่านวิชาพระไตรปิฎก ในพระพุทธศาสนา เป็นสภาที่เป็นดุลถ่วงกับ สภาปุโรหิต อีกด้วย เพื่อควบคุมการใช้กฎหมาย ในอรรถคดีต่างๆ ให้ได้รับการตัดสินคดีความ สอดคล้องกับ พระธรรมคำสั่งสอน ของ พระพุทธองค์ เรียกว่า ยุติคดีอย่างมีศีลธรรม หรือ ยุติธรรม มิได้ยุติตามตัวหนังสือกฎหมาย ที่ใช้การตีความแตกต่างกันไป

        การปกครองระบบธรรมาธิปไตย รูปแบบ สหราชอาณาจักร นั้น ประกอบด้วย อาณาจักรต่างๆ หลายอาณาจักร แต่ละอาณาจักร ประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งปกครองโดย ราชา รวมกันตั้งแต่ ๓ แว่นแคว้นขึ้นไป มีอาณาเขตติดต่อกัน ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ รวมกันเรียกว่า อาณาจักร ซึ่งปกครองโดย มหาราชา เมื่อนำมารวมกัน เรียกว่า สหราชอาณาจักร มีตำแหน่งที่สำคัญ ๔ ตำแหน่ง คือ มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ, นายก และ มหาราช

        ๑.ตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ(พระอินทร์) เป็นตำแหน่งสูงสุด ของ สหราชอาณาจักร เมืองที่ มหาจักรพรรดิ ทำหน้าที่บริหารงาน เรียกว่า เมืองมหาจักรพรรดิ หรือ ราชธานี หรือ เมืองหลวง ซึ่งเป็นคนละเมือง หรือ คนละแว่นแคว้น หรือ คนละอาณาจักร กับ เมืองจักรพรรดิ หรือ เมืองนายก ก็ได้ ดังนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิ รัชกาลหนึ่งๆ พ้นจากตำแหน่ง จักรพรรดิ จะขึ้นดำรงตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ตามที่กฎหมายพระธรรมนูญ กำหนด ทันที ตำแหน่ง นายก ก็จะถูกเลื่อนเป็นตำแหน่ง จักรพรรดิ ทันที เช่นกัน

         สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ จะร่วมกันสรรหา ตำแหน่ง นายก ขึ้นใหม่ โดยคัดเลือกจาก มหาราชา จาก อาณาจักรต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิก ของ สหราชอาณาจักร มาดำรงตำแหน่ง ดังนั้น เมืองจักรพรรดิ ในรัชกาลที่แล้ว จะกลายเป็น เมืองมหาจักรพรรดิ หรือ ราชธานี ในรัชกาลใหม่ จะเห็นว่า การปกครองรูปแบบ สหราชอาณาจักร จะทำให้ เมืองราชธานี เปลี่ยนแปลงทุกรัชกาล สร้างความสับสนให้กับนักประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นอย่างมาก

         มหาจักรพรรดิ(พระอินทร์) คือ ผู้ที่มีความรอบรู้ และ ผู้มีประสบการณ์ ทุกๆ ด้าน ถือเป็น จอมทัพ มีบทบาทภาระหน้าที่ กำหนด แนวทาง นโยบาย และติดตามการบริหารงาน การทำสงคราม ของ จักรพรรดิ และ นายก ในการบริหารงานทั่วทั้ง สหราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามแนวทางนโยบายที่กำหนด เมื่อ มหาจักรพรรดิ สวรรคต ถือเป็นเทพชั้น พระอินทร์ ในภาวะปกติ ตำแหน่งของ มหาจักรพรรดิ จะต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา เพื่อไปดำรงตำแหน่ง สมาชิก ของ สภาปุโรหิต โดยตำแหน่ง ทันที

         ๒.ตำแหน่ง จักรพรรดิ(พระพรหม) คือ ผู้มีความสามารถทางการทหาร และ การบริหารงาน เคยผ่านงานในตำแหน่ง นายก มาก่อน จึงมีหน้าที่ควบคุม กองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักร ในการรักษาเขตแดน ป้องกันการรุกรานของต่างชาติ และ ทำสงครามปราบปรามข้าศึก นอกจากนั้น จักรพรรดิ ยังทำหน้าที่ ติดตาม ควบคุม และให้คำแนะนำช่วยเหลือการบริหารงาน ของ นายก อีกด้วย ถ้าหากว่า จักรพรรดิ พระองค์ใด สวรรคต ก่อนที่ มหาจักรพรรดิ จะพ้นตำแหน่ง ด้วยเหตุใดก็ตาม จักรพรรดิ จะได้รับการยกย่องเป็นเทพ ชั้น พระพรหม ในภาวะปกติ เมื่อ มหาจักรพรรดิ พ้นจากตำแหน่ง จักรพรรดิ จะขึ้นสู่ตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ตามที่กฎหมายพระธรรมนูญ กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที ดังนั้น เมืองจักรพรรดิ จะกลายเป็น เมืองมหาจักรพรรดิ หรือ ราชธานี ทันที เว้นแต่ จักรพรรดิ พระองค์นั้น เสด็จไปใช้ ราชธานี เดิม ของ มหาจักรพรรดิ เป็น ราชธานี ก็ได้

         ๓.ตำแหน่ง นายก(พระยม) คือ ผู้ควบคุมการบริหารงาน ๓ องค์กรใหญ่ คือ สมุหนายก , สมุหกลาโหม และ ศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามแนวทางนโยบายที่กำหนด เมื่อสวรรคต นายก จะถูกจัดชั้นเทพให้เป็น พระยม ส่วนในภาวะปกติ เมื่อ จักรพรรดิ พ้นจากตำแหน่ง นายก จะขึ้นสู่ตำแหน่ง จักรพรรดิ ตามที่กฎหมายพระธรรมนูญ กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที ส่วนตำแหน่ง นายก พระองค์ใหม่ สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ จะร่วมกันคัดเลือกจาก มหาราชา ของ อาณาจักร ต่างๆ มาแทนที่ ทันที เช่นกัน

         ๔.ตำแหน่ง มหาราชา(พระนารายณ์) คือ ผู้ปกครอง อาณาจักรต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิก ของ สหราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามแนวทางนโยบาย ที่กำหนด เมื่อสวรรคต จะถูกจัดชั้นเทพเป็น พระนารายณ์ ตำแหน่ง มหาราชา จะต้องปลดเกษียรเมื่อมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา กลายเป็นสมาชิก ของ สภาปุโรหิต โดยตำแหน่ง เช่นเดียวกัน ส่วน มหาราชา ที่มีทั้งคุณธรรม และ ความสามารถ จะถูกคัดเลือกให้ไปดำรงตำแหน่ง นายก นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งรองจาก มหาราชา อีก ๒ ตำแหน่ง ในการปกครอง อาณาจักรต่างๆ คือ ตำแหน่ง มหาอุปราช(ท้าวเวสสุวัณ) และตำแหน่ง รัฐนายก(ท้าวชัยมงคล) ส่วนตำแหน่งรองลงมา คือ พระราชา และ พระราชินี ของ แว่นแคว้นต่างๆ จะถูกเรียกว่า ขุนเมือง และ ขุนวัง ตามลำดับ 

         เช่น ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในระยะเริ่มต้น ตั้งอยู่ที่ เมืองเทียน(ยะลา) และเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ไปอยู่ที่ เมืองมิถิลา(ไชยา) เมืองคามลังกา(จันทบุรี) เมืองราชคฤห์(โพธาราม-ราชบุรี) , เมืองโพธิสาร(พุนพิน-สุราษฎร์ธานี) และย้ายกลับมายัง เมืองเทียน(ยะลา) อีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง เมืองเทียน(ยะลา) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเทียนสน(ยะลา) อีกครั้งหนึ่ง ในปลายสมัย ของ สหราชอาณาจักรเทียน

          ถ้าท่านได้ทำความเข้าใจถึงบริบทเหล่านี้แล้ว ก็ขอให้ทุกท่านสนุกสนานและเพลิดเพลินกับการศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ไทยย้อนยุคของท่านอาจารย์เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐนะครับ

 

                                                                                 ขอแสดงความนับถือ

                                                                             ชัยวลัญช์ ธนาเกียรติชาคร

                                                                       www.usakanaenew.com/index.php

 

 



§- ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๑ พ.ศ.๒๕๓๖ หน้าที่ ๑๘๒-๑๙๖

 

 

 

 

 

 

 

 

     

Visitors: 54,291