คำนำเว็ปไซต์

                                

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                 คำนำ

 

         เว็บไซต์อุษาคเนย์นิว จตุคามรามเทพ กับ ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย  นี้ เป็นเว็บไซต์ที่ ๒ ที่ใช้เผยแพร่ประวัติศาสตร์ไทย ที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ของสังคมไทย เป็นฉบับที่สมบูรณ์แบบที่สุดเพียงฉบับเดียว ที่สามารถนำเราออกจากกับดักทางประวัติศาสตร์ของชาติตะวันตกได้สำเร็จ ปริศนาของชนชาติและอาณาจักรต่างในดินแดนสุวรรณภูมิมีที่มาที่ไปชัดเจน จึงมีความสำคัญในระดับภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อุษาคเนย์)

        ซึ่งค้นคว้าและเรียบเรียงโดยท่านอาจารย์เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ทำไมต้องเป็นท่านอาจารย์เสนีย์อนุชิต ท่านไม่ได้เป็นนักประวัติศาสตร์สายตรงที่มีชื่อเสียง ท่านเป็นเพียงวิศวกรทางเทคโนโลยี่ แต่สายตระกูลของท่านสืบทอดมาจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทำให้มีความจำเป็นต้องเท้าความให้ท่านผู้สนใจได้กระจ่างแจ้งในเรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย

        ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก ๑ ปี กับ ๔ เดือน (เสียกรุง ตรงกับวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐) พระยายมราชสิน ได้รับโปรดเกล้าให้ ดำรงตำแหน่ง พระยาจักรี ขุนนางอำมาตย์ชั่ว ฝ่ายฉ้อราษฎร์บังหลวง เกรงพระยาจักรีสินจะแย่งราชสมบัติไปให้เจ้าฟ้าอุทุมพร ซึ่งพวกตัวเองจะเสียผลประโยชน์ จึงยอมไส้ศึกให้พม่าพยายามเกลี่ยกล่อมให้พระเจ้าเอกทัศน์ยอมแพ้และเป็นเมืองขึ้นพม่า แต่พระองค์ไม่ยอมแพ้ทำให้เหล่าขุนนางชั่ว ใช้เพทุบายก็ทำลายความแข็งแกร่งของกองทัพ โดยให้พรรคพวกตัวเองเผาเมือง แล้วใส่ความพระยาจักรีสิน ซึ่งแม่ทัพที่แข็งแกร่งที่สุด พระเจ้าเอกทัศน์ ทรงหลงเชื่อรับสั่งให้นำพระยาจักรีสิน มาประหารชีวิต

        ในวันเสาร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๓๐๙ ซึ่งเป็นปีจอ ทำให้พระยาจักรีสินต้องนำทหารส่วนหนึ่ง ยกกองทัพออก จากค่ายวัดพิชัย มีเป้าหมายเดินทางไปยังเมืองบางละมุง ซึ่งมีนายบุญเมือง ลูกน้องเก่า เป็นเจ้าเมือง หลังจากนั้น ได้เดินทางต่อไปที่ อ.ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี และใช้เป็นฐานมั่นสะสมอาวุธและกำลัง เพื่อเตรียมช่วยเหลือพระเจ้าเอกทัศน์รักษาเมือง และได้ทำจดหมายชี้แจงความจริงเรื่องเผาและเรื่องการส่งกำลังจากท่าชนะเพื่อช่วยกรุงศรีอยุธยา ก็ไม่ถึงพระเจ้าเอกทัศน์ ทำให้กรุงศรีอยุธยาถึงจุดจบ

         การที่พระยาจักรีสิน เลือกเมืองท่าชนะเป็นฐานที่มั่นในการสะสมกำลังและอาวุธ เพื่อช่วยเหลือกรุงศรีอยุธยา เฉกเช่นเดียวกับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ที่ละทิ้งกรุงคูบัวเมืองหลวงของสหราชอาณาจักรอู่ทองในปีพ.ศ.๑๑๙๕ ในสงครามแย่งช้างกับชาติทมิฬโจฬะและกลิงค์มอญ แล้วใช้เมืองไชยา เป็นฐานที่มั่นสะสมกำลังและอาวุธเพื่อกอบกู้อาณาจักรต่างๆที่ถูกมอญกลิงค์ในอาณาจักรอิสานปุระยึดครองคืนในภายหลัง

         แสดงว่าพระยาจักรีสิน ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยซึ่งเป็นภาษาขอม ในใบลาน ชื่อตำนานขุนหลวงใหญ่ไกลโศก จึงทำให้พระองค์แตกฉานในภาษาขอมและประวัติศาสตร์ไทยอย่างมาก

         ทำให้สันนิฐานได้ว่า ในช่วงที่พระยาจักรกรีสิน หลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา ได้นำตำนานขุนหลวงใหญ่ไกลโศกไปด้วย หรือ หม่อมเจ้านกเอี้ยง มารดาพระยาจักรีสิน อาจนำมาไว้ที่เมืองพริบพรีที่เพชรบุรี อยู่ในช่วงที่ต้องหลบหนีภัย เช่นกัน

         หลังจากนั้นจึงนำไปเก็บรักษาไว้ที่ บ้านวังพวกราชวงศ์ ทีบ้านร้อยเรือน(บ้านที่เหลือแต่ร่องรอยของเรือน ในสำเนียงใต้คนภาคกลางฟังแล้วจะเพี้ยนเป็น บ้านร้อยเรือน)อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี จนถึงทุกวันนี้ และจะต้องทำพิธีบวงสรวงทุกๆปี        ลูกหลานสายตรงสมเด็จพระเจ้าตากสินจะถูกบังคับให้ท่องจำประวัติศาสตร์ไทยในตำนานนี้สืบมาจนถึงรุ่นของท่านอาจารย์เสนีย์อนุชิต ที่ท่านมีแรงบันดาลใจที่ต้องการพิสูจน์ความเป็นจริงในตำนาน แม้ว่าเนื้อหาในตำนานจะมีความสมบูรณ์ถึง ๗๐%แล้วก็ตาม โดยการใช้หลักฐานการบันทึกของจีน ศรีลังกาอินเดีย อาหรับ และเชื่อมโยงเนื้อ ตำนานพื้นบ้านต่างๆ เข้ากับสถานที่สำคัญต่างๆใน อ.ไชยาและ อ.ท่าชนะ เช่น นำเรื่องราวการขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์สองพี่น้อง(พ่อหะนิมิตรกับพ่อศรีชัยนาท)ของอาณาจักรศรีโพธิ์(เสียม)

         ในช่วงเกิดสุริยุปราคาแหวนเพชร ณ ต.ละเม็ด อ.ไชยา หลังจากนั้น อีก ๗ วัน กษัตริย์สองพี่น้องก็ทำพิธีไชยาภิเษก ณ ภูเขาสุวรรณคีรี ท่านสามารถพิสูจน์ทางดาราศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ ให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลย้อนกลับในอดีต พิสูจน์ได้ถึงการเกิด สุริยุปราคาแหวนเพรชจริง ณ. ต.ละเม็ด ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๑๒๐๒

         ซึ่งก็แสดงอาณาจักรศรีโพธิ์(เสียม) ถูกสถาปณาขึ้นในวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๑๒๐๒

         อีกเรื่องหนึ่ง หลังจากชาติตะวันตกได้ยุคครองเกาะชวาและเกาะสุมาตราได้แล้ว ก็พยายามโยงใยที่จะให้ศูนย์กลางอำนาจรัฐของอาณาจักรศรีโพธิ์(เสียม) หรือ ศรีวิชัยอยู่ที่เมืองตะเล็มบัง เกาะสุมาตรา ของพวกทมิฬอาแจะ เพื่อความชอบธรรมในการจะยึดครองดินแดนไทยตั้งเพชรบุรีถึงช่องแคบม้าละกา(มะละกา)

         โดยอ้างอิงการแปลหลักฐานจากศิลาจารึกเซกันบูติกที่ค้นพบที่เกาะสุมาตรา ว่าในช่วงเดือนเม.ย. พ.ศ. ๑๒๐๔ กษัตริย์จากเมืองตะเล็มบัง ยกทัพเข้าโจมตีเมืองศรีโพธิ์แตก ยึดครองได้สำเร็จ แล้วตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมืองตะเล็มปัง

          แต่ในความเป็นจริงท่านอาจารย์เสนีย์อนุชิต แย้งว่า การยกทัพทางเรือยุคสมัยต้องอาศัยลมมรสุมเพื่อนำเรือไปถึงที่หมาย ซึ่งระยะในขณะนั้นเป็นช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ นั้นหมายว่ากองทัพเรือของกรุงศรีโพธิ์ (ไชยา)นำโดยพ่อหะนิมิตร นำพลจำนวน ๒๑,๒๔๔ เดินทางตามกระแสมรสุมไปสู่จุดนัดพบกับกองทัพม้าของพ่อศรีชัยนาทจำนวนม้า ๒๐๐๐ ม้าที่เกาะตาม้าศรีชัยนาท หรือ เกาะตาม้าสิก หรือ เกาะสิงห์โพธิ์(สิงคโป)ซึ่งเดินทัพมาจากเมืองตาม้ากลิงค์ หรือ ตามพรลิงค์ หรือ ตะมะลี หรือ ตั่นหม่าลิงค์ หรือ นาคอน (นครศรีธรรมราช) จากนั้นเดินเข้าโจมตีเมืองตะเล็มบังจนสำเร็จ และให้เจ้าชายภาณุ พระราชโอรสของขุนราม(จตุคามรามเทพ)เป็นผู้ปกครองใหม่

          เพียงสองเหตุการณ์นี้ก็สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องของตำนานบวกความสามารถของอาจารย์ที่โต้แย้งชาติตะวันตกได้โดยไม่มีนักวิชาการสายตรงเคยทำได้มาก่อน

         นอกจากนี้ยังนำเอกสารอ้างอิงต่างๆมาสนับสนุน เช่น บันทึกของอเล็กซานเดอร์ พ่อค้าชาวกรีกที่เข้ามาในยุคสมัยมหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เอกสารพ่อค้าชาวอาหรับที่เข้ามาค้าขายในช่วงยุคต้นๆของกรุงศรีโพธิ์ เอกสารบันทึกของจีน ตั้งแต่ยุคสัมริดและยุคเหล็ก(จีนค้นพบแร่เหล็กและถลุงเหล็กใช้มาตั้ง ก่อนพ.ศ.๓๐๐ ปี)เป็นต้นมา

         จึงทำให้เชื่อได้ว่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ย้อนยุคของท่านอาจารย์เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ที่อนุญาตทางเว็บไซต์อุษาคเนย์ มาเผยแพร่ มีที่มา ที่ไปชัดเจน สามารถพิสูจน์ได้

ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใฝ่รู้ประวัติศาสตร์ทุกท่าน

และหากผิดพลาดประการใดต้องกราบขออภัยด้วยครับ

 

                                                                             ขอแสดงความนับถือ

                                                                         ชัยวลัญช์ ธนาเกียรติชาคร

                                                                               ๑ กันยายน ๒๕๖๐

 

                                                                  www.usakanaenew.com/index.php

Visitors: 50,636