รัชกาลที่ ๕๐ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๘๒๒-๑๘๒๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕๐ 

มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ 

กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๘๒๒-๑๘๒๘

 

ปี พ.ศ.๑๘๒๒ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อขุนบานเมือง เสด็จสวรรคต ณ สมรภูมิ กรุงละโว้ เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ จึงทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ ว่าราชการที่ กรุงครหิต(คันธุลี) โดยมี นายกขุนรามราช ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิพ่อขุนรามราช ว่าราชการที่ กรุงสุโขทัย และมี พระยาเสือสงคราม เป็น นายกพระยาเสือสงคราม ว่าราชการอยู่ที่ กรุงครหิต(คันธุลี) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) เป็นรัชกาลที่ ๕๐

ปี พ.ศ.๑๘๒๒ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีอำนาจเหนือดินแดน มหาอาณาจักรจีน อย่างสมบูรณ์ จึงได้ส่งคณะราชทูต มาติดต่อกับ พระเจ้ากฤตนคร(พระเจ้ากรธนากร) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา มีพระราชสาส์น ให้ พระเจ้ากฤตนคร ส่งเจ้านายที่สำคัญ และ เชื้อสายราชวงศ์ ไปเป็นตัวประกันไว้ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เพื่อแสดงความจงรักษ์ภักดี ต่อ มหาอาณาจักรจีน เพื่อยอมเป็นประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน โดยดี เพราะ มหาอาณาจักรจีน ต้องการมีอิทธิพลควบคุมดินแดนบริเวณ ช่องแคบมะละกา มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๒๓ รัชสมัย ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ฮ่องเต้ ได้ส่งคณะราชทูต มาติดต่อกับ มหาราชาพระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ฮ่องเต้ มีพระราชสาส์นให้ พระเจ้ากฤตนคร ส่งเจ้านายที่สำคัญ และ เชื้อสายราชวงศ์ ไปเป็นตัวประกันไว้ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อแสดงความจงรักษ์ภักดี ต่อ มหาอาณาจักรจีน เพื่อยอมเป็นประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน โดยดี...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

ปี พ.ศ.๑๘๒๓ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) ราชวงศ์หงวน(มองโกล) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง เตรียมส่งกองทัพเข้าทำสงคราม อาณาจักรเกเดรี

ปี พ.ศ.๑๘๒๓ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูต มายัง พระเจ้ากฤตนคร(พระเจ้ากรธนากร) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เพื่อหารือในการทำสงครามรุกราน สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๒๓ รัชสมัย ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ฮ่องเต้ ได้ส่งคณะราชทูต มาติดต่อกับ มหาราชาพระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ฮ่องเต้ มีพระราชสาส์นให้ พระเจ้ากฤตนคร เสด็จไปเข้าเฝ้า ฮ่องเต้ ด้วยพระองค์เอง เพื่อวางแผนทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี)...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

ปี พ.ศ.๑๘๒๓ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูตมาติดต่อกับ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕(พระเจ้าหริเทพ) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ให้เสด็จไปเข้าเฝ้า ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) เพื่อวางแผนทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย แต่ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕ ได้ส่งเพียงคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แทนที่ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ไม่พอพระทัย จึงเตรียมทำสงครามรุกราน ทันที มีบันทึกจดหมายเหตุจีนว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๒๓ รัชสมัย ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต มาติดต่อกับ มหาราชาพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕(พระเจ้าหริเทพ) แห่ง อาณาจักรจามปา กรุงวิชัย ให้เสด็จไปเข้าเฝ้า ฮ่องเต้ เพื่อวางแผนทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย แต่ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕ ได้ส่งเพียงคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ แทนที่เท่านั้น เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้ ไม่พอพระทัยมาก พระองค์จึงเตรียมทำสงครามกับ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ทันที...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๘๒๓ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นอันหนำ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องพ่ายแพ้สงครามสงครามอย่างยับเยิน ต้องถอยทัพกลับไป

ปี พ.ศ.๑๘๒๓ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นตองอู(พม่า) เป็นของ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ที่หลบหนีมาจากทิศตะวันตก ของ เกาะสุมาตรา เนื่องจากการทำสงคราม ของ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๑๓

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๑๗)

ปี พ.ศ.๑๘๒๓ แม่ทัพกองทัพช้าง ราชวงศ์มอญ ชื่อ มะกะโท อภิเษกสมรส กับ พระราชธิดา ของ พ่อขุนรามราช ได้ไปปกครอง อาณาจักรหงสาวดี กรุงเมาะตะมะ ประกาศแยกตัวออกจาก อาณาจักรศรีชาติตาลู

 (หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๗๗)

ปี พ.ศ.๑๘๒๔ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งขุนนางจีน ชื่อ โชกาตู และ ลิวเชน ให้เข้ามาตั้งเขตการปกครอง แบบของ มองโกล ขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นเหตุให้ เจ้าชายหริชิต พระราชโอรส ของ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕(พระเจ้าหริเทพ) ได้ทำการปลุกระดมประชาชนขึ้นต่อต้าน มหาอาณาจักรจีน เพื่อขัดขวางการสร้างรัฐภายใต้การคุ้มครอง ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ไม่พอพระทัยมาก

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๘๒๔ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ ๒ แต่พ่ายแพ้กองทัพญี่ปุ่น อย่างยับเยิน เป็นครั้งที่ ๒

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๓๖ และ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๒๔ ขุนนางจีน ชื่อ จูเจิ้นเหิง บันทึกว่า ชาวไคโร ใน ประเทศอียิบ ได้มาสอนชาวจีน ให้ทำน้ำตาลยา อย่างใหม่ของ มหาอาณาจักรจีน คือ น้ำมัน ที่สกัดจาก ต้นกระเบา ในดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ซึ่งสามารถใช้แก้โรคผิวหนังได้

 (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๕)

ปี พ.ศ.๑๘๒๔ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูต มายัง พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เพื่อวางแผนทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) มีบันทึกว่า...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

ปี พ.ศ.๑๘๒๔ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ส่งกองทัพเรือเข้ายึดครอง กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ สามารถหลบหนีไปได้ เมืองสานโพธิ์(ไชยา) ถูกเผาทำลาย พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองต่างๆ ไปถึงแม่น้ำเพชรบุรี ผลของสงคราม เกิดสงครามยืดเยื้อต่อมาอีก ๘ ปี

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ มหาจักรพรรดิ พ่อมหาสงครามลือ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ย้ายที่ตั้งพระราชวังหลวง จาก บริเวณวัดศรีราชัน ไปตั้งใหม่ บริเวณ เกาะกันไพรี ภูเขาคันธุลี เรียกว่า อาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน แต่ได้ถูกกองทัพเรือ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ยึดเอาตัวราชทูตไว้ และทำการประหารชีวิต คณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ทั้งหมด จดหมายเหตุจีน สมัยราชวงศ์หงวน บันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๘๒๕ รัชสมัยของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ได้รับรายงานจากเมืองกวางตุ้ง ว่า มีคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(เกียโลหิต ก๊ก) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน แต่ คณะราชทูต ได้ถูกกองทัพเรือ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ทำการจับกุมตัวคณะราชทูตไว้ และทำการประหารชีวิต คณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(เกียโลหิต ก๊ก) ทั้งหมด...

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๕)

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๒๖ และ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ยกกองทัพเข้าโจมตี สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำสงครามยึดครองดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ไปถึง แม่น้ำเพชรบุรี สงครามยืดเยื้อ ต่อเนื่องอีก ๗ ปี

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงหะส่าหรี เกาะชวา ร่วมกับ พันธมิตร ยกกองทัพเข้าโจมตี สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เพื่อยึดครองดินแดน อาณาจักรเสียม ไปถึง แม่น้ำเพชรบุรี ถูกกองทัพ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ตอบโต้กลับ ต้องถอยทัพกลับ

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ บันทึกในหนังสือนครกฤตตาคม ของ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๘ ได้กล่าวถึงดินแดน ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรเสียม ที่ถูกกองทัพของ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา มีดังต่อไปนี้...

...ดินแดนประเทศราช ในแหลมมาลายู ประกอบด้วย แคว้นปาหัง แคว้นหุชง แคว้นตานะ(ยะโฮ-ยี่หุน) แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) แคว้นไทรบุรี แคว้นกลันตัน แคว้นตรังกานู แคว้นนคร(นครศรีธรรมราช) แคว้นปะกะ(ใต้ตาคุณ) แคว้นมุวา(ทางทิศใต้ ของ ยะโฮ) แคว้นตาคุณ(ตรังกานู) แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) แคว้นสังหยังหุชุน(แหลมราชาโด) แคว้นเกลัง(ตรัง) แคว้นเกดะ(เมืองเกดะ ไทรบุรี) แคว้นเชเร(เมืองหนึ่งในแคว้นไทรบุรี) แคว้นกันจาบ และ แคว้นนิราน

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๗-๘๘)

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ บันทึกในหนังสือนครกฤตตาคม ของ อาณาจักรมัชฌปาหิ เกาะชวา ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๘ ได้กล่าวถึงดินแดน เกาะสุมาตรา ที่ถูกกองทัพของ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา มีดังต่อไปนี้...

ส่วนดินแดนประเทศราช บนเกาะสุมาตรา ประกอบด้วย แคว้นจัมบี(ปากแม่น้ำตาราม) แคว้นปาเล็มบัง(กูกัง) แคว้นการิตัง(ทางใต้ของเมืองอินคีรี) แคว้นเตบา(ต้นแม่น้ำจัมบิ) แคว้นธรรมาศรัย(ต้นน้ำบะตังหริ) แคว้นกัณฑิส(เหนือเมืองธรรมาศรัย) แคว้นกะวาส(ทางตะวันตก ของ กัณฑิส) แคว้นมะนังกะโบ แคว้นสิยัก แคว้นเรกัน(เมืองโรกัน) แคว้นกมปัน แคว้นปาไน แคว้นกัมเป แคว้นหรุ(ใต้เมืองกัมเป) แคว้นมันฑหิกลิงค์ แคว้นตุมิหัง แคว้นปรรลาก แคว้นบะรัต(ฝั่งตะวันตก ของ แหลมหะฉิน) และ แคว้นบารุส...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๗-๘๘)

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ จักรพรรดิพ่อขุนรามราช แห่ง กรุงสุโขทัย ยกทัพจาก กรุงสุโขทัย มาช่วยกองทัพ ของ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ โดยได้ทำการบัญชาการรบอยู่ที่เมืองเพชรบุรี เพื่อทำสงครามขับไล่ กองทัพของ พระเจ้ากรธนากร(พระเจ้ากฤตนคร) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา จนกระทั่ง กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) สามารถทำสงครามขับไล่กองทัพของ พระเจ้ากรธนากร(พระเจ้ากฤตนคร) และกองทัพทมิฬอาแจ๊ะ ออกไปได้ กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) สามารถยึดครอง กรุงมะละกา แคว้นมาลายู กลับคืนเป็นผลสำเร็จ ทำให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) เริ่มมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมะละกา อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสร้างความไม่พอพระทัยให้กับ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน เป็นอย่างมาก

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งคณะราชทูตชื่อ เหอจี่จี้ มาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสุโขทัย มาพบกับ พ่อขุนรามราช ณ เมืองเพชรบุรี ในขณะที่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ทำสงครามกับ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ขั้นเด็ดขาด ราชทูต เหอจี่จี้ เสนอให้ จักรพรรดิพ่อขุนรามราช ทำการก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) เพื่อเป็นรัฐภายใต้การคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ จักรพรรดิพ่อขุนรามคำแหง ส่งกองทัพไปประจันหน้า กับ กองทัพ ของ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ที่ คลองกระแชง(วัดพลับพลาชัย) ในขณะที่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ส่งราชทูตชื่อ เหอจี่จี้ มาขอเข้าเฝ้าพ่อขุนรามคำแหง ณ เมืองเพชรบุรี เนื่องจาก มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงคันธุลี สาละวนอยู่กับการส่งกองทัพเข้าโจมตีกองทัพของ อาณาจักรเกเดรี และ พันธมิตร ของ อาณาจักรเกเดรี ที่ส่งกองทัพเข้ามารุกราน ดินแดนสุวรรณภูมิ

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพเข้าโจมตียึดครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา กลับคืน ผลของสงคราม สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย สามารถเข้าโจมตีกองทัพของ อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา จนแตกพ่าย มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ มอบให้กองทัพของ นายกพระยาเสือสงคราม แห่ง กรุงครหิต(คันธุลี) สามารถส่งกองทัพบุกไปถึงเกาะชวา สามารถโจมตีกองทัพ ของ พระเจ้ากรธนากร พ่ายแพ้ยับเยิน จนกระทั่ง พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) ต้องหลบหนีไปยัง เกาะชวาตะวันออก

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ หลังจากที่ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เป็นผลสำเร็จแล้ว มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา เป็น ประเทศราช ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๘๒๕ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชานรสีหบดี(พ.ศ.๑๗๙๗-๑๘๓๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) กรุงพุกาม แต่ มหาราชานรสีหบดี รับสั่งให้ สังหาร คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ทั้งหมด ด้วยเห็นว่า คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ทำยโสโอหัง มาก ไม่ยอมถอดรองเท้าขณะเข้าเฝ้า และเตรียมส่งกองทัพ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี กลับคืน

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๘๒๖ มหาราชานรสีหบดี (พ.ศ.๑๗๙๗-๑๘๓๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) กรุงพุกาม ได้ส่งกองทัพเข้ไปยังชายแดน ของ อาณาจักรโกสมพี ในเขตแม่น้ำหลวง เป็นเหตุให้ เจ้าฟ้า แห่ง อาณาจักรโกสมพี รายงานไปยัง ราชสำนัก ของ มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) จึงมอบให้ แม่ทัพนัสเซอร์ อุดดิน ยาตราทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรศรีชาติตาลู ณ สมรภูมิ งาซอนจาน ผลของสงคราม กองทัพของ มหาราชานรสีหบดี พ่ายแพ้สงคราม กองทัพ ของ  แม่ทัพนัสเซอร์ อุดดิน ยาตราทัพเข้า ทำลายป้อมค่าย ของ มหาราชานรสีหบดี บริเวณ เมืองบ้านหม้อ เสียหายอย่างยับเยิน พร้อมกับ ส่งกองทัพเข้าปิดล้อม ราชธานี กรุงพุกาม ในเวลาต่อมา ด้วย

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๘๒๖ มหาราชา แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ก่อกบฏ ต่อ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า พ.ศ.๒๕๑๙ หน้าที่ ๖๙)

ปี พ.ศ.๑๘๒๖ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มอบให้ เจ้าชายโตคน พระราชโอรส ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามรุกราน แคว้นตาเกี๋ย ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ทำสงครามยึดครอง ราชธานี ของ แคว้นตาเกี๋ย และเพื่อทำการข่มขวัญ อาณาจักรต่างๆ เพื่อให้ ราชวงศ์มองโกล เข้ามาจัดระบบการปกครองของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ให้ขึ้นต่อ มหาอาณาจักรจีน โดยดี ผลของสงคราม เจ้าชายโตคน สามารถยึดครองราชย์ธานี ของ แคว้นตาเกี๋ย ได้ในระยะแรก แต่ต่อมา ได้พ่ายแพ้สงคราม มหาราชาตรายานตอง ณ แคว้นถานหัว กองทัพของ เจ้าชายโตคน ถูกกองทัพ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ทำสงครามขับไล่ กองทัพทัพของ เจ้าชายโตคน ต้องถอยทัพหนีขึ้นไปทางภาคเหนือ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ขุนนางจีน ชื่อ ขุนพลโชกาตู ซึ่งกำลังส่งกองทัพเข้ารุกราน อาณาจักรจามปา ต้องถอนกองทัพจาก อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เข้าช่วยเหลือ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ในดินแดน ของ อาณาจักรไตเวียต แต่ในที่สุด กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ต้องพ่ายแพ้สงครามอย่างยับเยิน ขุนพลโชกาตู ถูกตัดศีรษะ หลังจากพ่ายแพ้สงครามในดินแดน ของ อาณาจักรไตเวียต เจ้าชายโตคน พยายามส่งกองทัพเข้ายึดครอง กรุงฮานอย ราชธานี ของ อาณาจักรไตเวียต เกิดสงครามยืดเยื้อไปถึงปี พ.ศ.๑๘๒๘

   (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓ และ ๒๑๑)

ปี พ.ศ.๑๘๒๗ พระเจ้ากฤตนคร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากรธนากร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ซึ่งหลบหนีไปยัง เกาะชวาตะวันออก ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรบาหลี เกาะบาหลี เป็นผลสำเร็จ สามารถจับมหาราชา ของ อาณาจักรบาหลี เกาะบาหลี มาเป็นเชลยศึก ได้ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

ปี พ.ศ.๑๘๒๗ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงเปอร์ลัก เกาะสุมาตรา-ตะวันตก ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๒๗ พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงสมุทร หรือ กรุงปาไส เกาะสุมาตรา-ตะวันตก ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๔)

ปี พ.ศ.๑๘๒๗ พระเจ้าสังข์อาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงลามุรี เกาะสุมาตรา-ภาคกลาง ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๗๕)

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๘(พ.ศ.๑๗๘๖-๑๘๓๘) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) โปรดให้สร้าง ปราสาทหินองค์สุดท้าย คือ ปราสาทหินมันกาลาธา ณ เมืองพระนคร(นครวัด) ศิลาจารึก จารึกว่า...

 (เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๑๑๑-๑๑๒)

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ตั้งสำนักงานแสนหวี ขึ้นที่ อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี เพื่อทำหน้าที่ปราบขวัญราษฎร ของ อาณาจักรโกสมพี มิให้เกิดการกระด้างกระเดื่อง และให้ยอมรับการอยู่ภายใต้อำนาจ ของ มหาอาณาจักรจีน โดยดี

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๓-๑๓๔)

 

ปี พ.ศ.๑๘๒๘ มหาจักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงครหิต(คันธุลี) สวรรคต ในสงคราม

Visitors: 54,248