รัชกาลที่ ๔๙ มหาจักรพรรดิพ่อขุนบานเมือง กรุงสุโขทัย ปี พ.ศ.๑๘๑๘-๑๘๒๒

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๙ 

มหาจักรพรรดิพ่อขุนบานเมือง 

กรุงสุโขทัย ปี พ.ศ.๑๘๑๘-๑๘๒๒

 

ปี พ.ศ.๑๘๑๘ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม สวรรคต จักรพรรดิ พ่อขุนบานเมือง จึงได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อขุนบานเมือง กรุงสุโขทัย โดยมี นายกพ่อมหาสงครามลือ เป็น จักรพรรดิพ่อพระยามหาสงครามลือ ว่าราชการที่ กรุงครหิต(คันธุลี) และมี พระยารามราช กรุงสุโขทัย เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย เป็นรัชกาลที่ ๔๙

ปี พ.ศ.๑๘๑๘ จักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ และ นายกพ่อขุนรามราช แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงคันธุลี ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตียึดครอง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน

ปี พ.ศ.๑๘๑๘ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ทราบว่า สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย สาละวนอยู่กับการทำสงคราม กับ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) จึงถือโอกาส ส่งกองทัพเข้ายึดครองดินแดน ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี และ อาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๘๑๘ มาโคโปโล เดินทางโดยทางบก ไปอยู่ที่ มหาอาณาจักรจีน จนถึงปี พ.ศ.๑๘๔๕ ได้เขียนบันทึกยืนยันว่า ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้นำทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำสงคราม อาณาจักร ต่างๆ ไปแจกจ่ายเป็นทานให้กับประชาชน คนยากคนจน ๓๐,๐๐๐ คน ต่อวัน ทุกๆ วัน

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๒)

ปี พ.ศ.๑๘๑๙ จักรพรรดิพระยามหาสงครามลือ กรุงครหิต(คันธุลี) สาละวนอยู่กับการทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน

ปี พ.ศ.๑๘๑๙ กองทัพของ จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง สามารถส่งกองทัพเข้าพิชิต เมืองหางโจ ซึ่งเป็นราชธานีของ ฮ่องเต้กงตี้(พ.ศ.๑๘๑๗-๑๘๑๙) แห่ง ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ เป็นผลสำเร็จ แม่ทัพลู่ซิ่วฟู แบก ฮ่องเต้กงตี้ ซึ่งมีพระชนมายุ ๘ พรรษา กระโดดลงทะเล สวรรคต เป็นการจบสิ้นราชวงศ์ซ้อง-ใต้ และ ราชวงศ์มองโกล สามารถเข้ายึดครอง มหาอาณาจักรจีน ได้อย่างเด็ดขาด

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๐๔)

ปี พ.ศ.๑๘๑๙ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) ราชวงศ์หงวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ ขุนผางคำ เชื้อสายราชวงศ์ ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโกสมพี ทำการควบคุมเส้นทางสายที่ ๖ โดยมีสำนักงานอยู่ที่ เมืองมาว(โกสมพี)

 (สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๘๒๐ มหาราชานรสีหบดี แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ส่งกองทัพเข้าทำสงครามรุกราน เมืองบ้านหม้อ ของ อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว ซึ่งเป็นเขตปกครอง เขตฟันทอง ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นเหตุให้ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว ได้ขอกำลังจาก ฮ่องเต้กุบไลข่าน ไปช่วยปราบปราม กองทัพของ มหาราชานรสีหบดี

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๒๐๑)

ปี พ.ศ.๑๘๒๐ กองทัพมองโกล ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ส่ง แม่ทัพ นัสเซอร์ อุดดิน มารวบรวมประชาชนชาวไทยใหญ่ เข้าร่วมทำสงครามปราบปราม การรุกราน ของ พระเจ้านรสีหบดี(พ.ศ.๑๗๙๙-๑๘๓๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม(พม่า) ซึ่งทำสงครามรุกราน อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว(โกสมพี) เกิดการสู้รบกันอย่างหนัก ณ สมรภูมิงาซองจัน มาโคโปโล ได้ทำการบันทึกเกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ ว่า...

...กษัตริย์พม่า มีช้าง ๒,๐๐๐ ตัว แต่ละตัวจะมีค่าย (กูบช้าง) ที่ทำอย่างมั่นคง ทำด้วยไม้สักแข็งแรง ช้างแต่ละตัว จะมีทหารขี่อยู่ ประมาณ ๑๒-๑๖ คน มีอาวุธครบมือ ซึ่งได้แก่ แหลน หลาว หอก สำหรับคนที่นั่งเหนือกูบช้าง เป็นผู้ใช้ช้างแต่ละตัว ใส่เกาะทำด้วยไม้ไผ่ แขวนรอบตัวเพื่อป้องกันอาวุธ นอกจากนี้ ยังมีทหารม้า และ กองทัพเดินเท้าอีก ๖๐,๐๐๐ คน นับเป็นกองทัพที่ดีมาก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน หลังจากสงครามครั้งนั้น ฮ่องเต้กุบไลข่าน ก็เริ่มให้ความสำคัญกับ กองทัพช้าง และเริ่มเลี้ยงช้างไว้จำนวนหนึ่ง ด้วย...

  (สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๒๐๒)

ปี พ.ศ.๑๘๒๑ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ทราบว่า อาณาจักรละโว้ สาละวนอยู่กับการทำสงคราม กับ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) จึงถือโอกาส ส่งกองทัพเข้ายึดครองดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรเสียม ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ไปครอบครอง

ปี พ.ศ.๑๘๒๑ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ส่งคณะราชทูตมาติดต่อกับ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ให้เสด็จไปเข้าเฝ้า ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) เพื่อวางแผนทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย แต่ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๕ ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้กุบไลข่าน แทนที่ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้กุบไลข่าน ไม่พอพระทัย มีบันทึกจดหมายเหตุจีนว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๓)

ปี พ.ศ.๑๘๒๑ จักรพรรดิพ่อมหาสงครามลือ กรุงครหิต(คันธุลี) สั่งถอนทัพจาก อาณาจักรกำพูชา(เขมร-โจฬะ) เพื่อส่งกองทัพเข้าไปช่วยเหลือ อาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) และ เพื่อยกกองทัพเข้าขับไล่ ชนชาติกลิงค์ ของ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร ออกจากดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ อีกด้วย

ปี พ.ศ.๑๘๒๒ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีชัยในสงครามในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน อย่างเด็ดขาด จึงได้ตั้ง ราชวงศ์หงวน ขึ้นเป็น ฮ่องเต้ ผู้ปกครองดินแดน มหาอาณาจักรจีน พระองค์ จึงพยายามที่จะมีอำนาจเหนือประเทศต่างๆ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) จึงเริ่มขยายอิทธิพล เข้าครอบครองดินแดน สุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ทันที

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๓)

ปี พ.ศ.๑๘๒๒ มหาราชาพระยาศรีทูล แห่ง มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรเสียม กรุงศรีธรรมราชปุระ ยกกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่กองทัพของ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร ให้ออกจาก อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี

ปี พ.ศ.๑๘๒๒ มหาราชาพระยาศรีทูล มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรเสียม กรุงศรีธรรมราชปุระ ร่วมกับ จักรพรรดิพ่อมหาสงคราม-ลือ เป็นผู้ยกกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ ทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ออกจากดินแดน ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรเสียม ด้วย แต่ทราบข่าวว่า ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) กรุงพระนครหลวง ทำสงครามรุกราน สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ด้วย

ปี พ.ศ.๑๘๒๒ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ได้ขายเส้นทางเป็น ๖ เส้นทาง และได้ตั้งสำนักงาน เพื่อเตรียมทำสงครามปราบปราม อาณาจักรศรีชาติตาลู(พม่า) เพื่อทำการควบคุมเส้นทางต่างๆ ๖ สาย เพื่อเตรียมส่งกองทัพมาทำสงคราม กับ อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) กรุงพุกาม คือเส้นทางต่างๆ ดังนี้ คือ

(๑) เส้นทางตะวันออก ผ่าน เมืองเจิ้นคัง หรือ เมืองแสง (เมืองแข็ง)

(๒) เส้นทางตะวันตก ผ่าน เมืองเจี้ยนหนิง

(๓) เส้นทาง ผ่าน เมืองเจิ้นซี

(๔) เส้นทางเมืองขอน (เมืองหมางซื่อ)   

(๕) เส้นทาง เมืองมาว (เมืองหลูชวน)

(๖) เส้นทาง เมืองผิงเหมี่ยน

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๓)

 

ปี พ.ศ.๑๘๒๒ กองทัพของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ทำสงครามรุกราน กรุงละโว้ อีกครั้งหนึ่ง มหาจักรพรรดิพ่อขุนบานเมือง และ พ่อขุนรามราช ส่งกองทัพเข้าต่อต้าน ณ สมรภูมิ เมืองละโว้ ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อขุนบานเมือง สวรรคต ในสงคราม พ่อขุนรามราช จึงต้องถอยทัพกลับมารักษา ราชธานี กรุงสุโขทัย อีกครั้งหนึ่ง

Visitors: 54,425