รัชกาลที่ ๔๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีไสณรงค์สงคราม กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๘๑๓-๑๘๑๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๘ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีไสณรงค์สงคราม 

กรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ.๑๘๑๓-๑๘๑๘

 

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ เมื่อ มหาจักรพรรดิ พ่อพระยาร่วงโรจน์ราช เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม เป็น มหาจักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม กรุงศรีอยุธยา โดยมี นายกพ่อขุนบานเมือง เป็น จักรพรรดิพ่อขุนบานเมือง กรุงสุโขทัย และมี พ่อขุนรามราช เป็น นายกพ่อขุนรามราช กรุงสุโขทัย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ เป็นรัชกาลที่ ๔๘

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ สภาโพธิ ได้พระราชทานพระนามใหม่ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วงโรจน์ราช หลังจากการสวรรคต และได้ทำพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ เรียบร้อย มีพระนามใหม่ว่า พระร่วงโรจน์ฤทธิ์

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ มหาอุปราชขุนศรีทูล แห่ง อาณาจักรเสียม กรุงกลิงค์ชวากะรัฐ(คันธุลี) ได้ยกกองทัพมายึดครอง เมืองลานสกา เพื่อเตรียมนำกองทัพเข้ายึดครอง นครศรีธรรมราช กลับคืน ต่อไป หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม โปรดเกล้าให้ ขุนอินธารา ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาราชาพระยาศรีทูล เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองธารา(บ้านนาเดิม) ด้วย

ปี พ.ศ.๑๘๑๓ เกิด สงครามครูเสด ครั้งที่ ๘ ระหว่าง ชาวคริสต์ กับ ชาวมุสลิม ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๙๔-๑๘๑๓ หลังจากที่ ชาวคริสเตียน ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงไคโร ราชธานี ของ ประเทศอียิปต์ เมื่อปี พ.ศ.๑๗๙๔ จนกระทั่ง กองทัพ ชาวคริสเตียน พ่ายแพ้สงคราม เสียชีวิตจำนวนมาก ต่อมา ในปี พ.ศ.๑๘๑๓ ชาวมุสลิม ได้นำกองทัพ เตมูจิน จาก มหาอาณาจักรมองโกล มาทำสงครามกับ ชาวคริสเตียน ดินแดนต่างๆ ของ ชาวคริสเตียน ถูกยึดครองไปเป็นจำนวนมาก

(ร.ศ.นันทนา กปิลกาญจน์ ประวัติศาสตร์ และ อารยธรรมโลก หน้าที่ ๒๗๐)

ปี พ.ศ.๑๘๑๔ จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล ซึ่งเป็น พระเจ้าหลานเธอ ของ จักรพรรดิแจงกิสข่าน ได้สถาปนาราชวงศ์หยวน ขึ้นปกครอง มหาอาณาจักรจงกั๋ว(จีน) หรือ มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง มีพระนามว่า ฮ่องเต้ซื่อจูหว่างตี้ หรือ จักรพรรดิกุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๐๔)

ปี พ.ศ.๑๘๑๔ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ตั้งสำนักงานดูแลความสงบในดินแดน เขตฟันทอง ขึ้น และ ได้แบ่งเขตฟันทอง ออกเป็น ๒ เขต ตามเส้นทางยุทธศาสตร์ทางการค้า คือ เส้นทางตะวันออก (เส้นทาง เจิ้นคัง) คือเส้นทางผ่านเมืองแสง หรือ เมืองแข็ง และ เส้นทางตะวันตก (เส้นทางเจี๋ยนหนิง) เส้นทางทั้งสองเส้นทาง นี้ มหาอาณาจักรจีน สร้างขึ้นเพื่อเตรียมทำสงคราม กับ อาณาจักรโกสมพี และต่อมาเส้นทางทั้ง ๒ นี้ ได้มีบทบาทต่อมาที่ มหาอาณาจักรจีน สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ในเวลาต่อมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๘๑๔ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ มหาอุปราชพระยาศรีทูล แห่ง อาณาจักรเสียม(ชวาภูมิ) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ว่าราชการอยู่ที่ เมืองลานสกา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช กลับคืน แล้วส่งเมืองคืนให้กับ พ่อพระยาพงศ์สุรา เป็น มหาราชา ปกครองแคว้นนครศรีธรรมราช แทนที่ นายศรีธนู อีกครั้งหนึ่ง ส่วน มหาอุปราชพระยาศรีธนู ได้ว่าราชการอยู่ที่ เมืองลานสะกา(อ.ลานสกา นครศรีธรรมราช)

ปี พ.ศ.๑๘๑๔ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ส่งคณะราชทูตไปยัง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว เสนอให้ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง โดยดี และให้ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโกสมพี ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชานรสีหบดี แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) กรุงพุกาม เพื่อชักจูงให้ มหาราชานรสีหบดี ยินยอมสวามิภักดิ์ ต่อ มหาอาณาจักรจีน โดยดี เช่นกัน 

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๒๐๑)

ปี พ.ศ.๑๘๑๕ กองทัพ ของ ฮ่องเต้ตูจง(พ.ศ.๑๘๐๗-๑๘๑๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง สามารถใช้อาวุธ ปืนไฟ และ ระเบิด และ อาวุธลูกหนูไฟ ทำสงครามขัดขวางการรุกราน ของ กองทัพมองโกล เป็นผลสำเร็จ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๘๑๕ มหาราชาพ่อมหาพงศ์สุรา สวรรคต มหาจักรพรรดิพ่อศรีไสณรงค์สงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงอโยธยาศรีเทพราม จึงโปรดเกล้าให้ มหาอุปราช พระยาศรีทูล ซึ่งปกครองอยู่ที่ เมืองลานสกา(อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช) ไปเป็น มหาราชา ปกครอง แคว้นนครศรีธรรมราช ว่าราชการอยู่ที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๑๕ เป็นต้นมา โดยมี พ่อพระยาอินธารา เป็น มหาอุปราช ว่าราชการอยู่ที่ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ของ อาณาจักรชวาภูมิ

ปี พ.ศ.๑๘๑๕ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ มหาราชาพระยาศรีทูล และ ตาผ้าขาว มาร่วมกันบุรณะ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เนื่องจาก มุสลิมกลิงค์โจฬะ จาก อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ได้เข้ามาเผาทำลาย วัดทางพุทธศาสนสถาน เพื่อนำศาสนาอิสลาม มาแทนที่ เกิดความเสียหายมาก

ปี พ.ศ.๑๘๑๕ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม แห่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยา มีพระบรมราชโองการให้ มหาราชาพระยาศรีมหาราชา-ศรีธนู ทำการบูรณวัดต่างๆ ในดินแดน ของ ราชอาณาจักรเสียม ซึ่งถูกกองทัพของ ชนชาติกลิงค์ เผาทำลาย ดังนี้

(๑) พระมหาเถระ สุทธิชาติพงศ์รื้อ นำญาติโยมจาก ขนอม ไปบูรณะ วัดมังคุด(อ.ขนอม)

(๒) พระมหาเถระ รังศรีรื้อ นำญาติโยมจาก โองพะตาล(บ้านตาล ต.นาเคียน อ.เมือง นครศรีธรรมราช) ไปบูรณะ วัดขนุน(อ.ควนขนุน)

(๓) พระมหาเถระ เพชร จาก วัดยายคลัง นำญาติโยมไปบูรณะ วัดจันทร์มาลี

(๔) พระมหาเถระ มังคลาจารย์ มาจากวัดกุฏิหลวง นำญาติโยมไปบูรณะ วัดหรดีพระธาตุ

(๕) พระมหาเถระ โชติมาล จาก วัดปากโวก เขาพระบาท(ร่อนพิบูล) นำญาติโยมไปบูรณะ วัดฝาง(อ.ร่อนพิบูล)

(๖) พระมหาเถระ สรรเพชร จากวัดโองพระตาล นำญาติโยมมาบูรณะ วัดอาคเนย์พระธาตุ

(๗) พระมหาเถระ อนุริทธ จาก แคว้นยโสธร นำญาติโยมไปบูรณะ วัดประดู่

(๘) พระมหาเถระ พงศา จาก เมืองเพชรบุรี นำญาติโยมไปบูรณะ วัดอาคเนย์พระธาตุ

(๙) พระมหาทศศรี(เปรียญธรรม) จาก วัดพระเดิม นำญาติโยมไปบูรณะ วัดตะโนดพายัพพระมหาธาตุ

(๑๐) พระมหาเถระ มงคล นำญาติโยมจาก เมืองลังกา มาบูรณะ วัดพลับ

 

ปี พ.ศ.๑๘๑๕ มหาราชาพระยาศรีทูล สวรรคต พระยาอินธารา ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระยาศรีทูล ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาอุปราช ของ ราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีธรรมราชปุระ โดยมี พ่อพระยาคลองหิต(คันธุลี) เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรเสียม(ชวาภูมิ) ว่าราชการอยู่ที่ กรุงกลิงค์ชวากะรัฐ(คันธุลี)

ปี พ.ศ.๑๘๑๕ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชานรสีหบดี(พ.ศ.๑๗๙๗-๑๘๓๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) กรุงพุกาม แต่ มหาราชานรสีหบดี รับสั่งให้ สังหาร คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ทั้งหมด ด้วยเห็นว่า คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ทำยโสโอหัง มาก ไม่ยอมถอดรองเท้าขณะเข้าเฝ้า และเตรียมส่งกองทัพ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี กลับคืน กลายเป็นต้นเหตุ ของ สงคราม ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ อาณาจักรศรีชาติตาลู (พม่า) ในเวลาต่อมา

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๓๕ และ ๒๐๑)

ปี พ.ศ.๑๘๑๖ พระเจ้าเม็งราย(พ.ศ.๑๘๐๔-๑๘๕๔) แห่ง อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงราย ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรพิง เมืองฝาง เป็นผลสำเร็จ แล้วส่ง อ้ายฟ้า ชนชาติอ้ายไต เป็นไส้ศึก อยู่ที่ แคว้นหิรัญภุญชัย

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๒๗)

ปี พ.ศ.๑๘๑๖ กองทัพมองโกล ของ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) สามารถผลิต ปืนไฟ และ ระเบิด จำนวนมาก มาใช้ในสงคราม เป็นผลสำเร็จ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๘๑๗ ฮ่องเต้ตูจง(พ.ศ.๑๘๐๗-๑๘๑๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงหางโจ ถูกกดดันให้สละราชสมบัติ พระราชโอรส ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๔ พรรษา มีพระนามว่า กงตี้ แห่ง ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ กรุงหางโจ ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงหางโจ มีพระนามว่า ฮ่องเต้กงตี้(พ.ศ.๑๘๑๗-๑๘๑๙) เป็นรัชกาลสุดท้าย ของ ราชวงศ์ซ้อง-ใต้

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๔๐๓)

ปี พ.ศ.๑๘๑๗ การคิดเลข โดยการใช้ ลูกคิด ได้ถูกถ่ายทอดจาก มหาอาณาจักรจีน ไปใช้ในดินแดน ของ ประเทศญี่ปุ่น และ รัชเชีย อย่างแพร่หลาย

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๖๕)

ปี พ.ศ.๑๘๑๗ ฮ่องเต้กุบไลข่าน(พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๓๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงปักกิ่ง ยกกองทัพเข้าโจมตี ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ ๑ แต่พ่ายแพ้ กองทัพของ มหาอาณาจักรญี่ปุ่น อย่างยับเยิน

(สืบแสง พรหมบุญ ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ ระหว่างจีนกับไทย หน้าที่ ๓๖)

ปี พ.ศ.๑๘๑๘ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะสุมาตรา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ(มาลายู) กรุงปัตตานี เข้าทำลาย ศาสนสถาน ทางพระพุทธศาสนา เมืองใด ถูกยึดครอง กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ ก็จะบังคับให้ ประชาชน เข้ารีต นับถือ ศาสนาอิสลาม ด้วย

ปี พ.ศ.๑๘๑๘ พระเจ้ากฤตนคร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นปาหัง ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๙)

 

ปี พ.ศ.๑๘๑๘ พระเจ้ากรธนากร(พ.ศ.๑๘๑๑-๑๘๓๕) หรือ พระเจ้ากฤตนคร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงสิงห่าส่าหรี เกาะชวา ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรเสียม กรุงครหิต(คันธุลี) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม เพื่อยึดครองดินแดน อาณาจักรชวาภูมิ มาถึง เมืองเพชรบุรี ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิ พ่อพระยาศรีไสณรงค์สงคราม สวรรคต ในสงคราม และ สงครามครั้งนี้ ยืดเยื้อต่อไปจนถึงปี พ.ศ.๑๘๒๕ เป็นเวลารวมกัน ประมาณ ๗ ปี

Visitors: 54,261