รัชกาลที่ ๔๓ มหาจักรพรรดิ พ่อศรีสุรนารายณ์ กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๗๓๖-๑๗๕๖

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๓ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรนารายณ์

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๗๓๖-๑๗๕๖

 

   ปี พ.ศ.๑๗๓๖ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีปราบ(พ.ศ.๑๗๒๖-๑๗๓๖) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีสุรนารายณ์ ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรนารายณ์ โดยมี พ่อมาฆะ เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อสุรนารายณ์(ปราลัมพัฒนา)เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๔๓ 

ปี พ.ศ.๑๗๓๖ ศาสนาอิสลาม ได้เข้าไปมีอำนาจปกครองบ้านเมืองในดินแดน ของ อินเดีย ตลอดดินแดน แนวแม่น้ำคงคา ทั้งหมด คงมี แคว้นเบงกอล ซึ่งเรียกชื่อว่า วังกะรัฐ ที่ประชาชนยังคงนับถือ พระพุทธศาสนา เนื่องจาก ได้เกิด ลัทธิใหม่ ทางพระพุทธศาสนา ขึ้นอีก เรียกว่า ลัทธิตันตระ เป็นพุทธศาสนาแบบมหายาน เจือปนด้วยคติในลัทธิฮินดู อย่างแพร่หลาย

ปี พ.ศ.๑๗๓๗ ฮ่องเต้กว่างจง(พ.ศ.๑๗๓๒-๑๗๓๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ถูกกดดันให้สละราชสมบัติ พระราชโอรส มีพระนามว่า หนิงจง แห่ง ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ กรุงนานกิง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีพระนามว่า ฮ่องเต้หนิงจง(พ.ศ.๑๗๓๗-๑๗๖๗) เป็นรัชกาลที่ ๔ ของ ราชวงศ์ซ้อง-ใต้

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๙๐)

ปี พ.ศ.๑๗๓๗ พระเจ้ากาเมศวร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงเกเดรี เกาะชวา สวรรคต เป็นเหตุให้ พระเจ้ากฤตชัย ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงเกเดรี เกาะชวา แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๓ )

ปี พ.ศ.๑๗๓๗ ในรัชสมัยของ พระเจ้ากฤตชัย แห่ง อาณาจักรเกเดรี มีการแต่งวรรณคดี เรื่องอิเหนา (หิโน) เป็นเรื่องของ มเหสี ของ พระเจ้ากาเมศวร คือ นางบุษบา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่ง แคว้นชังคละ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๓ )

ปี พ.ศ.๑๗๓๗ เจ้าชายมาฆะ (พระชนมายุ ๑๕ พรรษา) ลักลอบได้เสียกับ ธิดา ของ เจ้าเมืองกำแพงเพชร จนกระทั่ง ประมาณปี พ.ศ.๑๗๓๘ ธิดาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้ประสูติ เจ้าชายโรจน์ (พระยาร่วง) พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ เจ้าชายมาฆะ และ ธิดาของ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ผู้ทำสงครามกอบกู้เอกราช ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๗๓๙ พระเจ้านิสสังกะมัลละ (พระเจ้ากิตติสังกะ) มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีลังกา ซึ่งเป็น พระราชบิดา ของ เจ้าหญิงวังกะสุนทรี และ เจ้าชายมาฆะ เสด็จสวรรคต

ปี พ.ศ.๑๗๔๒ เนื่องจาก มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรเวียตน้ำ กรุงพานฑุรัง และ ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) กรุงพนมมันตัน เป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๒๐ ต่อมา ในปี พ.ศ.๑๗๔๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามล้างแค้นต่อ ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ในเรื่องนี้ จดหมายเหตุจีน ของ ม้าต้วนหลิน ได้ทำการบันทึกไว้ใน หนังสือเหวินเชี่ยนทงเข่า บรรพ ๓๓๒ วิเคราะห์ต่างประเทศ บทที่ ๙ หัวข้อ เกี่ยวกับ ราชอาณาจักรเจนละ มีบันทึกว่า...

 ...วันข้างขึ้น พระจันทร์เต็มดวง เดือน ๕ ปีที่ ๔ รัชศก ฉุนซี(เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๑๗๒๐) มีกองทัพ ของ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ได้ยกกองทัพเรือ เข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ไปครอบครองเป็นผลสำเร็จ มหาราชา(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่า จะต้องทำสงครามล้างแค้นต่อ ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ให้จงได้

ครั้นถึง วันจี่เว่ย ปีที่ ๕ รัชศกชิ่งหยวน(พ.ศ.๑๗๔๒) จึงได้ยกกองทัพใหญ่ เข้ายึดครอง ราชอาณาจักรไตเวียต กรุงจ้านเฉิง สามารถเปลี่ยนตัวกษัตริย์ โดยได้ตั้งคนของ เจนละ ขึ้นครองอำนาจ แทนที่ ดังนั้น ปัจจุบัน ราชอาณาจักรไตเวียต กรุงจ้านเฉิง จึงเป็นประเทศที่ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเจนละ ด้วย

เจนลี่ฟู ก็เป็นประเทศที่ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเจนละ ด้วย ประเทศนี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับ ราชอาณาจักรคามลังกาเหนือ กรุงโพธิ์ซื่อหลาน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับ เติงหลิวเหมย ตำบลหมู่บ้านที่อยู่ใต้การปกครอง ๖๐ กว่าแห่ง...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๔)

ปี พ.ศ.๑๗๔๓ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนลี่ฟู(อาณาจักรโจลี้โพธิ์-กำแพงเพชร) พระนาม กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย(หมอ-หลัว-ปากาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ และถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน บันทึกในหนังสือ ซุ่งหุ้ยเอี้ยว บรรพ ๘๑๑๘ บทว่าด้วย พวกฟานอี้ มีบันทึกว่า...

...วันที่ ๑๔ เดือน ๘ ปีที่ ๖ รัชศก ชิ่งหยวน(วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๑๗๔๓) กรมการเมืองซิ่งหยวน รายงานว่า มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู(โจลี้โพธิ์-กำแพงเพชร) พระนามว่า หมอ-หลัว-ปากาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย(กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย) ได้ครองราชย์มาแล้วเป็นเวลา ๒๐ ปี ทรงจัดส่งคณะราชทูต ตำแหน่ง ช่างเตี้ยนกวน มีนามว่า สือ-หลัว-ป๋า-จื้อ-เหมา-เอี้ยน-อู้-หลู และ คณะได้นำพระราชสาส์น ทำด้วยทองคำ เป็นแบบม้วน มหาราชา ทรงลงประนามาภิไทย มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ได้แก่ ช้างเผือก ๒ เชือก และสิ่งของพื้นเมือง(งาช้าง ๒๐ งา นอระมาด ๕๐ นอ ผ้าพื้นเมือง ๔๐ ผืน) ฮ่องเต้ ทรงมีรับสั่งให้ทางเมืองซิ่งหยวน จัดการรับรอง ณ บ้านพักรับรอง สำหรับสิ่งของพื้นเมือง ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ ไปทำการควบคุมดูแล นำมา ส่วนช้าง ให้จัดการเลี้ยง ณ สถานที่อันสะดวก และเหมาะสม และให้คอยฟังคำสั่งต่อไป

กัปตันเรือ ชื่อ ผูเต๋อซิว กราบบังคมทูลว่า นับตั้งแต่เดือน ๓ ปีนี้ ได้เดินทางออกจากฝั่ง เมื่อวันที่ ๒๒ เดือน ๕ ได้ออกสู่ทะเล จากปากน้ำ ของ ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู เคราะห์ดีที่ได้ลมทิศใต้ แล่นเรือทั้งเวลากลางวันกลางคืน ใช้เวลา ๖๐ วัน ถึงอำเภอติ่งไห่ เมื่อวันที่ ๑ เดือน ๑๐ ขุนนางตำแหน่งใจจื้อ(รองอัครเสนาบดี) ได้เข้าเฝ้า นำเรื่องกราบบังคมทูล ฮ่องเต้ รับสั่งว่า พระราชสาส์น ของ ประเทศเจนลี้ฟู ได้พบเห็นแล้ว รู้สึกน่าขบขัน เป็นแบบม้วนเล็กๆ ที่ทำด้วยทองคำ และเขียนตัวอักษร อีกม้วนหนึ่งบนเปลือกไม้ มีลักษณะหงิกๆ งอๆ อ่านไม่ออก ตลับฝังมุก สำหรับใส่พระราชสาส์น ก็หักชำรุดเสีย ๑ ขา เป็นของหยาบของถูกเสียเหลือเกิน ในจำนวนนี้ ยังมีผ้าแพรย้อมสี ๒-๓ ชั่ง นี่คงจะเป็นประเทศเล็กๆ ชายขอบมหาสมุทร ฐานะเท่ากับโจวเล็กๆ แห่งหนึ่ง เท่านั้น

เซี่ยเซินผู่ ได้กราบบังคมทูล ฮ่องเต้ว่า ตัวหนังสือ ของ พวกฟาน(หมายถึงตัวหนังสือของต่างประเทศที่ยังไม่เจริญ) คล้ายคลึงกับ สัญลักษณ์ ของ ดนตรี อย่างมาก ไม่ทราบว่า กล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง ระหว่างที่ ฮ่องเต้ จะเสด็จลงจากบัลลังก์ ทางเมืองชิ่งหยวน ได้นำล่ามมาถึง ฮ่องเต้ทรงรับสั่งว่า ขอให้ล่ามจัดแปลมาได้ ต่อจากนั้น ทางเมืองซิ่งหยวน ก็กราบบังคมทูลว่า ผูเต๋อซิว กับพวก และ อู๋เหวินเว่ยล่าม ได้ทำการแปลข้อความในพระราชสาส์น แบบม้วนที่ทำด้วยทองคำ ส่วนอักษร ของ พวกฟาน บนม้วนเปลือกไม้ ตามที่ ผูเต๋อซิว และพวกแปลแล้ว ได้ความว่า เป็นคู่ฉบับ ของ พระราชสาส์นม้วนทองคำ ทางประเทศเจนลี้ฟู จึงจัดให้ ชาวหนานเป่ย เขียนตัวอักษรพวกฟาน ลงไป เพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ครั้นแล้วจึงได้นำถวายแด่องค์ฮ่องเต้

เมื่อวันที่ ๑๕ ฮ่องเต้ทรงรับสั่งให้ เซี๊ยซื่อยวน แต่พระบรมราชโองการตอบ พร้อมทั้งให้เบิกแพรโล่สีแดง ๑,๐๐๐ พับ แพรย้อมสีแดง ๒๐๐ พับ พร้อมกับได้พระราชทานสิ่งของให้กับผู้ที่มาถวายพระราชสาส์น ของ ประเทศเจลี่ฟู ตามลำดับ และให้จัดส่งกลับประเทศ สำหรับเครื่องปั้นดินเผา นั้น ให้ทางเมืองชิ่งหยวน รับซื้อมา เป็นการพระราชทาน ในวันเดียวกันนั้น ทรงรับสั่งให้ กรมจื้อจื้อ ชายฝั่งทะเล จัดการส่งต่อช้างเผือกทั้งสองเชือก จากประเทศเจิ้นลี่ฟู ไปยังเมืองสิงไจ้(หางโจว)

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๑)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๑๑ )

ปี พ.ศ.๑๗๔๓ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู กรุงกำแพงเพชร ประกาศเอกราช ไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเจนละ บันทึก ของ ม้าต้วนหลิน ได้อ้างถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๒๐ เนื่องจาก มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรเวียตน้ำ กรุงพานฑุรัง และ ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) กรุงพนมมันตัน เป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๒๐ ต่อมา ในปี พ.ศ.๑๗๔๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามล้างแค้นต่อ ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จนกระทั่งในปี พ.ศ.๑๗๔๓ ราชอาณาจักรจูลี้ฟู ได้ประกาศเอกราช ไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเจนละ ในเรื่องนี้ จดหมายเหตุจีน ของ ม้าต้วนหลิน ได้ทำการบันทึกไว้ใน หนังสือเหวินเชี่ยนทงเข่า บรรพ ๓๓๒ วิเคราะห์ต่างประเทศ บทที่ ๙ หัวข้อ เกี่ยวกับ ราชอาณาจักรเจนละ มีบันทึกว่า...

 ...วันข้างขึ้น พระจันทร์เต็มดวง เดือน ๕ ปีที่ ๔ รัชศก ฉุนซี(เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๑๗๒๐) มีกองทัพ ของ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ได้ยกกองทัพเรือ เข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ไปครอบครองเป็นผลสำเร็จ มหาราชา(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่า จะต้องทำสงครามล้างแค้นต่อ ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ให้จงได้

ครั้นถึง วันจี่เว่ย ปีที่ ๕ รัชศกชิ่งหยวน(พ.ศ.๑๗๔๒) จึงได้ยกกองทัพใหญ่ เข้ายึดครอง ราชอาณาจักรไตเวียต กรุงจ้านเฉิง สามารถเปลี่ยนตัวกษัตริย์ โดยได้ตั้งคนของ เจนละ ขึ้นครองอำนาจ แทนที่ ดังนั้น ปัจจุบัน ราชอาณาจักรไตเวียต กรุงจ้านเฉิง จึงเป็นประเทศที่ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเจนละ ด้วย

เจนลี่ฟู(โจลี้โพธิ์ กรุงสุโขทัย) ก็เป็นประเทศที่ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเจนละ ด้วย ประเทศนี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับ ราชอาณาจักรคามลังกาเหนือ กรุงโพธิ์ซื่อหลาน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับ เติงหลิวเหมย(มอญ) ตำบลหมู่บ้านที่อยู่ใต้การปกครอง ๖๐ กว่าแห่ง

ครั้นถึงปีที่ ๖ รัชศกชิ่งหยวน(พ.ศ.๑๗๔๓) ทางเมืองชิ่งหยวน รายงานมาว่า มหาราชา เจ้าผู้ครอง ประเทศเจนลี้ฟู(โจลี้โพธิ์ กรุงสุโขทัย) ได้ขึ้นครองราชย์มาแล้ว ๒๐ ปี ได้ส่งคณะราชทูต นำพระราชสาส์น และถวายเครื่องราชบรรณาการ อันได้แก่ช้างเผือก ๒ เชือก และสิ่งของพื้นเมืองต่างๆ ฮ่องเต้ รับสั่งให้ มอบสิ่งของ เป็นเครื่องตอบแทน มากเป็นพิเศษ พร้อมทั้งรับสั่งว่า ราชทูตของ ประเทศเจนลี้ฟู(โจลี้โพธิ์ กรุงสุโขทัย) ต้องเดินทางทางทะเล เป็นระทางแสนไกล ต่อไปจึงให้งดเว้น มิให้ต้องมาถวายเครื่องราชบรรณาการ อีก...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๔)

ปี พ.ศ.๑๗๔๕ เมืองวังกะรัฐ แห่ง แคว้นเบงกอล ถูกกองทัพอิสลาม ทำสงครามเข้าครอบครอง ประชาชนผู้นับถือพระพุทธศาสนา ถูกบังคับให้เข้ารีต นับถือศาสนาอิสลาม พระพุทธศาสนา จึงเริ่มหมดไปจาก ประเทศอินเดีย

ปี พ.ศ.๑๗๔๕ กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย(หมอ-หลัว-ปากาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย) แห่ง อาณาจักรเจนลี่ฟู(อาณาจักรโจลี้โพธิ์-บอร์เนียวตะวันตก) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ และถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หนิงจง(พ.ศ.๑๗๓๗-๑๗๖๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน(ของจาวจูกัว) มีบันทึกว่า...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๒๑๑ )

ปี พ.ศ.๑๗๔๕ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนลี่ฟู(อาณาจักรโจลี้โพธิ์-กำแพงเพชร) พระนาม กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย(หมอ-หลัว-ปา-กาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย) หรือ พระพนมศิริชัย ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ และถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน บันทึกในหนังสือ ซุ่งหุ้ยเอี้ยว บรรพ ๘๑๑๘ บทว่าด้วย พวกฟานอี้ มีบันทึกว่า...

...วันที่ ๑๒ เดือน ๙ ปีที่ ๒ รัชศก เจียไท่(วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๑๗๔๕) มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู(โจลี้โพธิ์-สุโขทัย) พระนามว่า หมอ-หลัว-ปากาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย(กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย) ได้จัดส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ได้แก่ ช้างเผือก ๒ เชือก และ ผ้าแพรโตหลัวจิ่น ๑๐ ผืน ผ้าผืนใหญ่สำหรับคลุมช้าง ๒ ผืน ฮ่องเต้ ทรงมีรับสั่งให้ กรมจื้อจื้อ ชายฝั่งทะเล จัดการส่งต่อไปยัง เมืองสิงไจ และคงให้หน่วยงานถังฝาง จัดส่งทหาร ๒ นาย ไปดูแลระหว่างการเดินทางด้วย...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๑)

ปี พ.ศ.๑๗๔๖ พระเจ้าตรีภพนาทิตย์ บวรธรรมราช แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ได้แต่งคัมภีร์โพธิวงศ์ ขึ้นในปี พ.ศ.๑๗๔๖

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๑๑)

ปี พ.ศ.๑๗๔๖ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกำพูชา(ขอม-เขมร) ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ราชอาณาจักรกำพูชา (ขอม-เขมร) และเริ่มสะสมกำลังทหาร และไพร่พล โดยร่วมมือกับ อาณาจักรอื่นๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๗๔๖ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกำพูชา(ขอม-เขมร) กรุงนครวัด ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๗๔๗ เตมูจิน สามารถทำสงครามรวบรวม แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมองโกล ซึ่งแตกแยกออกเป็น ๓ ก๊ก เป็นผลสำเร็จ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๘)

ปี พ.ศ.๑๗๔๗ เกิด สงครามครูเสด ครั้งที่ ๔ ระหว่าง ชาวคริสต์ กับ ชาวมุสลิม ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๓๕-๑๗๖๑ สืบเนื่องมาจาก ตัวแทนชาวคริสเตียน ได้ยอมลงนามในสัญญา เมื่อปี พ.ศ.๑๗๓๕ ยินยอมให้ชาวคริสเตียน เดินทางไปจาริกแสวงบุญ ณ กรุงยูริซาเล็ม ได้โดยเสรี สงครามจึงยุติลง แต่ชาวคริสเตียนอีกส่วนหนึ่ง ไม่พอใจ จึงยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็มกลับคืน เป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ.๑๗๔๗ และยังส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงคอนสแตนติโนเปิล ได้รับความเสียหายอย่างหนัก สงครามระหว่างศาสนา จึงเกิดขึ้น อีกครั้งหนึ่ง

(ร.ศ.นันทนา กปิลกาญจน์ ประวัติศาสตร์ และ อารยธรรมโลก หน้าที่ ๒๖๙)

ปี พ.ศ.๑๗๔๘ พระเจ้ากฤตชัย แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงเกเดรี เกาะชวา สวรรคต เป็นเหตุให้ พระเจ้า? ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรเกเดรี กรุงเกเดรี เกาะชวา แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๓ )

ปี พ.ศ.๑๗๔๘ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนลี่ฟู(อาณาจักรโจลี้โพธิ์-สุโขทัย) พระนาม กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย(หมอ-หลัว-ปากาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย) หรือ พระพนมศิริชัย ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้หนิงจง(พ.ศ.๑๗๓๗-๑๗๖๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง เมื่อวันที่ ๒๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๑๗๔๘ จดหมายเหตุจีน บันทึกไว้ในหนังสือ ซุ่งหุ้ยเอี้ยว บรรพ ๘๑๑๘ มีบันทึกว่า...

...ปีที่ ๑ รัชศก ไคสี่ วันที่ ๒๓ เดือน ๘(วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๑๗๔๘) ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู ได้มาถวายช้างเผือก ๑ เชือก งาช้าง ๒ กิ่ง นอระมาด ๑๐ งอ ฮ่องเต้ มีรับสั่งให้ทางเมืองซิ่งหยวน จัดสถานที่รับรอง แก่ คณะราชทูต และ ขุนนาง ของ ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู พร้อมกับรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ จัดการส่งพระราชสาส์น งาช้าง และ นอระมาด ไปยังพระราชวังหลวง ฮ่องเต้ ทรงตรัสถามด้วยว่า ถ้าหากว่า พระราชสาส์น เป็นภาษา ของ พวกฟาน ก็ให้แปลมาอย่างละเอียดรอบคอบ พร้อมทั้งให้ทำการประเมินมูลค่า ราคาของสิ่งของ ที่ ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู นำมาถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ แล้วรายงานต่อ กระทรวงซ่างซู เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณา กำหนดมาตรฐานในการเบิกจ่ายสิ่งของ เพื่อพระราชทานเป็นการตอบแทน ส่วนช้างที่นำมาถวาย ให้ กรมจื้อจื้อ ชายฝั่งทะเล ดำเนินการจัดส่งต่อไปยัง เมืองสิงไจ้ คำแปลของพระราชสาส์น สามารถแปลได้ดังนี้...

ชีลี-มา-ซี-ถัว-ป๋า-หลัว-ฮง ได้สดับรับฟังข่าวคราว จึงเกิดความเชื่อมั่นต่อ มหาอาณาจักรจีน และใฝ่ใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เนื่องจาก ซินโจว ตั้งอยู่ใกล้ มหาอาณาจักรจีน ทางซินโจว จึงมอบหมายให้ขุนนางทหารมีนามว่า อาน-จู๋-หนาน-ผัง-ปอ-หลัว-ชา เดินทางออกมาสอบถามข่าวคราวจากกัปตันเรือ ของ มหาอาณาจักรจีน ครั้งนี้ ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู ได้มอบหมายให้ ขุนนางนายทหารผู้หนึ่ง เดินทางออกไป

สิ่งของที่นำมาถวาย มิได้ขาดตกบกพร่อง ได้แก่ช้างพัง ๑ เชือก งาช้าง ๑ คู่ รวมหนัก ๙๒ ชั่ง นอระมาด ๑๐ นอ รวมน้ำหนัก ๑๑ ชั่ง นำมาถวาย มหาอาณาจักรจีน ทั้งสิ้น มุ่งหวังเพื่อให้ฮ่องเต้ ทรงตอบพระราชสาส์น ด้วย ทั้งนี้ด้วยเจตนารมณ์ คือ ต้องการทราบเจตนารมณ์ ของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อต่อไป ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู จะนำเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายทุกปี มิให้ขาด

ในระหว่างเดือน ๑ๆ ขอมอบหมายบุคคล นำหนังสือแจ้งตอบมา ครั้งนี้ เมื่อวันที่ ๙ เดือน ๔ เรือได้เดินทางออกจากท่าเรือ ได้สั่งให้ไปที่ สิงไจ้ ได้พบเสนาบดี เพื่อนำความกราบบังคมทูล ชีลี-มา-ซี-ถัว-ป๋า-หลัว-ฮง ขอถวาย

ต่อมา ทางเมืองซิ่งหยวน ได้รายงานว่า ได้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ ตามพระบรมราชโองการ เมื่อ ปีรัชศก ชิ่งหยวนที่ ๖(พ.ศ.๑๗๔๓) กล่าวคือ ได้เบิกจ่ายข้าวสาร แป้งสาลี และ สุรา เพื่อรับรองขุนนาง ของ พวกฟาน แล้ว สำหรับช้างที่นำมาถวาย ปรากฏว่า ระหว่างเดินทาง ได้ประสบกับ ลมพายุ คลื่นลมรุนแรง ทำให้ช้างขาหักทั้ง ๔ ขา และช้างก็เจ็บป่วยเป็นไข้ ไม่ดื่มน้ำกินหญ้า แล้วตายเสีย ส่วนงาช้าง และพระราชสาส์น ประทับตราครั่ง ซึ่งได้นำมาถวายนั้น  ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ดูแล นำถวายแล้ว

ฮ่องเต้ ทรงรับสั่ง ให้ทาง เซี๊ยซือเอี้ยน แต่งพระราชสาส์นตอบกลับ พร้อมทั้งพระราชทาน แพรโล่ แพรกิมย้อมสีแดง ๑๐๐ พับ แพรกิมย้อมสีแดง ๑๐๐ พับ และพระราชทานแพรย้อมสีแดง ๕๐ พับ แก่ คณะราชทูต ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทางเมืองชิ่งหยวน แจกจ่ายสิ่งของเงินตรา และจัดการรับรอง ณ เรือนพักรับรอง แล้วดำเนินการดูแลให้เดินทางกลับ พร้อมกันนั้น ได้กำชับกัปตันเรือ ให้ชี้แจงแก่คณะราชทูต ของ ราชอาณาจักรเจนลี้ฟูว่า เนื่องจากต้องเดินทางไกลทางทะเล ต่อไปจึงขอให้มิต้องมาถวายเครื่องราชบรรณาการอีก...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๒๑๑ )

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๒)

ปี พ.ศ.๑๗๔๘ กองทัพมองโกล ของ เตมูจิน ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ ฮ่องเต้หนิงจง(พ.ศ.๑๗๓๗-๑๗๖๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ผลของสงคราม สงครามยืดเยื้อไปถึงปี พ.ศ.๑๗๕๐ กองทัพ ของ เตมูจิน ต้องถอยทัพกลับ เพราะตกใจ อาวุธระเบิด และ ปืนไฟ ของ กองทัพ มหาอาณาจักรจีน 

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๕)

ปี พ.ศ.๑๗๔๙ กองทัพมุสลิม ชาวอาฟกานิสถาน ในอินเดีย สามารถทำสงครามยึดครองราชย์ธานี กรุงเดลี ของ ประเทศอินเดีย เป็นผลสำเร็จ สามารถสถาปนา รัฐอิสลาม ขึ้นมาในประเทศอินเดีย เป็นผลสำเร็จ กรุงเดลี จึงถูกปกครองโดยสุลต่าน มุสลิม ๕ ราชวงศ์ ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๔๙-๒๐๖๙ เป็นยุคสมัยแห่งการกดขี่ การนองเลือดในประเทศอินเดีย ยาวนาน ๓๒๐ ปี

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๗)

ปี พ.ศ.๑๗๔๙ หัวหน้าเผ่าต่างๆ ของ ชนชาติมองโกล ประชุมกันที่ เมืองคาราคูรัม มีมติยกให้ เตมูจิน เป็นใหญ่กว่าใครทั้งหมด จึงได้ทำพิธีปราบดาภิเษก ขึ้นเป็น จักรพรรดิ ของ อาณาจักรมองโกล มีพระนามว่า แจงกิสข่าน แปลว่า จักรพรรดิ ผู้ยิ่งใหญ่ ทั่วทุกท้องทะเล

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๘-๑๕๙)

ปี พ.ศ.๑๗๔๙ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) ส่ง ขุนหลวงนรนัย ขุนนางขอมเชื้อพระวงศ์ จาก อาณาจักรคามลังกา(ขอม-โจฬะ) ให้แสร้งหลบหนีออกไปเป็นไส้ศึก ณ ราชธานี ของ อาณาจักรละโว้ จนกระทั่งได้เป็นขุนนางสำคัญ ของ อาณาจักรละโว้ ได้ช่วยสืบความลับให้กับ สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) เพื่อวางแผนทำสงครามยึดครอง

ปี พ.ศ.๑๗๕๐ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) กรุงนครวัด ได้ส่งกองทัพทมิฬโจฬะ ร่วมกับ กองทัพพันธมิตร สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๗๕๐ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู(ขอม-เขมร) มี ราชอาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง คือ ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู ราชอาณาจักรเติงหลิวเหมย ราชอาณาจักรพุกาม ราชอาณาจักรหยุงหลี่ และ ราชอาณาจักรหลอหู ฯลฯ ในเรื่องนี้ จดหมายเหตุจีน บันทึกโดย หย่งเล่อต้าเตียน ได้เขียนบันทึกไว้ใน หนังสือต้าเต๋อหนานไห่จื้อ บรรพ ๑๑๙๐๗ มีบันทึกว่า...

...สหราชอาณาจักรเจนละ(กรุงยโสธรปุระ) ปกครอง ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู(กรุงกำแพงเพชร) ราชอาณาจักรเติงหลิวเหมย(กรุงเสทิม-มอญ) ราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ราชอาณาจักรหยุงหลี่ และ ราชอาณาจักรหลอหู(กรุงละโว้) ฯลฯ...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๔)

ปี พ..๑๗๕๓ พระเจ้านรปิติชัยสูร(พ.ศ.๑๗๑๖-๑๗๕๓) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต และ พระเจ้าถิโลมินโล(พ.ศ.๑๗๕๓-๑๗๗๔) หรือ พระเจ้าตรีภพนาทิตย์ บวรธรรมราช(พ.ศ.๑๗๕๓-๑๗๗๔) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

      (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๑๑)

ปี พ.ศ.๑๗๕๔ พระเจ้าตรีภพนาทิตย์ บวรธรรมราช(พ.ศ.๑๗๕๓-๑๗๗๔) ราชวงศ์มิเชน แห่ง ราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ปกครอง ราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

      (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๑๑)

ปี พ.ศ.๑๗๕๔ สุลต่าน มากา กษัตริย์มุสลิม แห่ง แคว้นกลิงค์รัฐ(แคว้นโอริสา) ได้นำกองทัพกลิงค์ ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เข้าทำสงครามโจมตี อาณาจักรศรีลังกา สามารถยึดครอง ราชธานี เมืองโพธิ์ลอน นะรุวะ เป็นผลสำเร็จ สามารถทำลายเมือง ทำลายโบราณสถาน ทำลายวัดทางพระพุทธศาสนา เสียหาย ย่อยยับ อาณาจักรศรีลังกา ของ สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา กรุงสานโพธิ์(ไชยา) จึงแตกแยกออกเป็น แว่นแคว้น เล็กๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๕๔ เป็นต้นมา ศาสนาอิสลาม จึงเริ่มเข้าสู่ ดินแดนเกาะศรีลังกา

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๗)

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๗๕๔ เกิดความขัดแย้งในดินแดน ของ เกาะชวา โดยที่ อาณาจักรม้าตาราม (มะตะราม) แห่ง เกาะชวา ถูกแบ่งแยกออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรจังกาละ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ อาณาจักรม้าตาราม และ อาณาจักรเกเดรี กรุงม้าตาราม

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๗๕๕ กองทัพมองโกล ของ จักรพรรดิแจงกิสข่าน(เตมูจิน) แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล ซึ่งได้เทคโนโลยี การผลิต อาวุธปืนไฟ และ ระเบิด จาก อาณาจักรจุรเชน(บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ยึดครองดินแดน มหาอาณาจักรจีน สามารถส่งกองทัพเข้าไปถึง กรุงปักกิ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงปักกิ่ง กองทัพ ของ จักรพรรดิแจงกิสข่าน(เตมูจิน) สามารถใช้ อาวุธระเบิด ระเบิดทำลายกำแพงเมืองปักกิ่ง เป็นผลสำเร็จ สามารถยึดครอง ราชธานีกรุงปักกิ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ ส่วน ฮ่องเต้หนิงจง(พ.ศ.๑๗๓๗-๑๗๖๗) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน สามารถหลบหนีไปยัง เมืองไคฟง ได้ พลเมืองชาวจีน ถูกจับเป็นเชลยศึก เป็นจำนวนมาก 

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๙)

ปี พ.ศ.๑๗๕๕  กองทัพของ จักรพรรดิแจงกิสข่าน(เตมูจิน) แห่ง มหาอาณาจักรมองโกล และ พันธมิตร สามารถทำสงครามยึดครองดินแดน แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ในพื้นที่ เกาะสุมาตราตะวันตก เป็นผลสำเร็จ กำเนิด อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงจัมบี ขึ้นมาทางทิศตะวันตก ของ เกาะสุมาตรา อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๗๕๕ พระราชโอรส ของ พระพนมศิริชัย(พระเจ้าศรีธรรมโศก) ซึ่งปกครอง เมืองละโว้ ได้ขอ พระแก้วมรกต จากพระราชบิดา ไปประดิษฐาน ณ เมืองละโว้ ตำนานพระแก้วมรกต บันทึกว่า..

...ฝ่ายพระยาราชบุตร ผู้ปกครอง เมืองละโว้ ท่านก็ยกเอา พระแก้วมรกต จาก เมืองกำแพงเพชร พาหนีไปยัง เมืองละโว้ แล้ว ท่านก็ได้ปฏิบัติรักษา พระแก้วมรกต อยู่ ๑ ปี ๙ เดือน...

(นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต หน้าที่ ๘๖-๘๗)

ปี พ.ศ.๑๗๕๕ เจ้าชายโรจน์ฤทธิ์(พระร่วง) พระราชโอรส ของ จักรพรรดิพ่อมาฆะ มีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงสร้อยสุวรรณ หรือ พระนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ พระยาพนมศิริชัย มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรโจรลี้โพธิ์(เจนลี่ฟู) กรุงกำแพงเพชร(ซากังราว)

ปี พ.ศ.๑๗๕๖ พระราชโอรส ของ พระพนมศิริชัย ซึ่งปกครอง เมืองละโว้ ซึ่งได้ขอ พระแก้วมรกต ไปประดิษฐาน ณ เมืองละโว้ เป็นเวลา ๑ ปี ๙ เดือน ได้ส่ง พระแก้วมรกต กลับคืนไปประดิษฐาน ณ เมืองกำแพงเพชร ดังเดิม เนื่องจาก มีกองทัพ ของ ราชอาณาจักรเจนละ ยกกองทัพมายึดครอง กรุงละโว้ ตำนานพระแก้วมรกต บันทึกว่า...

...ฝ่ายพระยาราชบุตร ผู้ปกครอง เมืองละโว้ ท่านก็ยกเอา พระแก้วมรกต จาก เมืองกำแพงเพชร พาหนีไปยัง เมืองละโว้ แล้ว ท่านก็ได้ปฏิบัติรักษา พระแก้วมรกต อยู่ ๑ ปี ๙ เดือน ท่านก็นำเอา พระแก้วมรกต กลับมาส่งให้กับ เจ้าเมืองกำแพงเพชร อันเป็นพระราชบิดา ของ ท่านนั้นแล...

(นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต หน้าที่ ๘๖-๘๗ และ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๗๕๖ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรละโว้ เป็นผลสำเร็จ พระแก้วมรกต อยู่ที่ กรุงละโว้ ๑ ปี ๙ เดือน ต้องนำกลับไปยัง เมืองกำแพงเพชร อีกครั้งหนึ่ง ตำนานพระแก้วมรกต บันทึกว่า...

 ...ฝ่ายพระยาราชบุตร ผู้ปกครอง เมืองละโว้ ท่านก็ยกเอา พระแก้วมรกต จาก เมืองกำแพงเพชร พาหนีไปยัง เมืองละโว้ แล้ว ท่านก็ได้ปฏิบัติรักษา พระแก้วมรกต อยู่ ๑ ปี ๙ เดือน ท่านก็นำเอา พระแก้วมรกต กลับมาส่งให้กับ เจ้าเมืองกำแพงเพชร อันเป็นพระราชบิดา ของ ท่านนั้นแล...

(นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๗๕๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรนารายณ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๗๕๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรนารายณ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) สามารถขับไล่ กองทัพของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) และ พันธมิตร ออกไปจากดินแดน ราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ชั่วคราว

 

      ปี พ.ศ.๑๗๕๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรนารายณ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามกับ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) ณ สมรภูมิ กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรนารายณ์ บาดเจ็บสาหัส ต้องถอยทัพกลับ และเสด็จสวรรคต กลางทะเล อ่าวบ้านดอน

Visitors: 54,407