รัชกาลที่ ๔๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีปราบ(ศรีปราลัมพัฒน์) กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๗๒๖-๑๗๓๖

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๒ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีปราบ(ศรีปราลัมพัฒน์) 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๗๒๖-๑๗๓๖

 

 

    ปี พ.ศ.๑๗๒๖ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีปราบ(ศรีปราลัมพัฒน์) ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีปราบ(พ.ศ.๑๗๒๖-๑๗๓๖) โดยมี พ่อสุรนารายณ์ เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อมาฆะ เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๔๒ 

ปี พ.ศ.๑๗๒๖ เจ้าชายสุรนารายณ์ (พระชนมายุ ๑๘ พรรษา) พระราชโอรส ของ พ่อศรีไชยา ถูกเรียกตัวให้มารับราชการ เป็น เจ้าเมืองคลองหิต(คันธุลี) เพื่อรองรับตำแหน่ง จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ให้มาว่าราชการประจำ ที่เมืองคลองหิต (คันธุลี)

ปี พ.ศ.๑๗๒๗ เจ้าชายวิทยานันทนะ สายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ-ขอม แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้เสด็จไปยัง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ไปอยู่อาศัยกับ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) เพื่อวางแผนกู้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน ศิลาจารึกภาษาจามปา ที่เมืองมิเชิน ในดินแดนของ ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้จารึกว่า...

...ในขณะที่พระองค์(เจ้าชายวิทยานันทนะ) ทรงพระเยาว์อยู่ ในปีศักราช ๑๑๐๔(พ.ศ.๑๗๒๗) เจ้าชายวิทยานันทนะ ได้เสด็จไปยัง ราชอาณาจักรขอม(อาณาจักรคามลังกา) พระราชา(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) แห่ง ราชอาณาจักรขอม เล็งเห็นว่า เจ้าชายพระองค์นี้ ทรงประกอบด้วย มหาบุรุษลักษณะ ๓๓ ประการ จึงทรงโปรดปราน และได้ทรงสอนวิทยาการ รวมทั้งยุทธวิธี ทุกอย่างประทานให้สมดังที่อยู่ในราชสกูล

ในระหว่างนั้น มีเมืองๆ หนึ่งชื่อ เมืองมัลยัง ในดินแดน ราชอาณาจักรขอม เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยประชาชนที่ชั่วร้าย และประชาชนชาวขอม ก็หลงเชื่อ เมืองนี้จึงคิดกบฏต่อ พระราชาขอม(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) พระองค์ทรงเห็นว่า เจ้าชายวิทยานันทนะ ทรงมีความรู้ในยุทธวิธี จึงโปรดให้นำกองทัพขอมไปปราบ เมืองมัลลัง เจ้าชายก็ทรงกระทำได้สำเร็จ ดังที่พระราชาขอม(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ทรงต้องการ จึงโปรดแต่งตั้ง เจ้าชายวิทยานันทนะ เป็น สมเด็จพระยุพราช และประทานสิ่งเพลินเพลิน และทรัพย์สินทั้งปวง บรรดาที่มีอยู่ใน ราชอาณาจักรขอม ให้กับ พระองค์...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๐๒)

ปี พ.ศ.๑๗๒๘ เจ้าชายสุรนารายณ์ ซึ่งมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษา พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีไชยา ได้ออกผนวช ณ วัดศรีราชัน (วัดสังข์ประดิษฐ์)

ปี พ.ศ.๑๗๒๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีปราบ(พ.ศ.๑๗๒๖-๑๗๓๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ รับสั่งให้ เจ้าเมืองคลองหิต (คันธุลี) ได้สร้างพระพุทธรูป พระนาคปรก เป็นเทวรูปจำลอง มหาจักรพรรดิ พ่อศรีพรหมทัต ซึ่งได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระเจ้าศรีมัตไตรโลกยราช เมาลิภูษณะ วรมะเทวะ เป็นเทวรูป แบบสัมฤทธิ์ เพื่อให้สาธุชนเมืองต่างๆ เคารพนับถือ จารึกกล่าวว่า...

...ศักราช ๑๑๐๕ (พ.ศ.๑๗๒๘) ปีเถาะนักกษัตริย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เชษฐมาศ วันพุธ มีพระบรมราชโองการให้ มหาเสนาบดี คลาไน ผู้รักษา เมืองครหิต (คันธุลี) อาราธนา มรเตง ศรีบาโน ให้ทำปฏิมากรนี้ สัมฤทธิ์ มีน้ำหนัก ๑ ภาวะ ๒ ตุละ ทองคำมีราคา ๑๐ ตำลึง สถาปนา เทวรูป กัมรเตง อัญมหาราช ศรีมัตไตรโลกยราช เมาลิภูษณะ วรมะเทวะ(มหาจักรพรรดิ พ่อไตรโลกยราช) ขึ้นเพื่อให้มหาชนทั้งปวง ผู้มีศรัทธาอนุโศกนา บูชานมัสการ เพื่อจะได้ถึงสรรค์เพชรญาณ...

ปี พ.ศ.๑๗๒๙ พระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ แห่ง อาณาจักรศรีลังกา สวรรคต พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๒ เป็นผู้ครองราชสมบัติ ปกครอง อาณาจักรศรีลังกา เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๑ )

ปี พ.ศ.๑๗๒๙ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ได้สร้าง ปราสาทตาพรหม เพื่อประดิษฐาน เทวรูป ของ พระชนนี คือ พระนางชัยราชจุฑามณี ภายใต้รูปของ นางปรัชญาปารมิตา เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด พระมารดา ของ บรรดาพระพุทธเจ้า และรูปของ ท่านชัยมังคลารถ ซึ่งเป็น พระราชครู ของ พระเจ้าชัยวรมันที่๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ขึ้นด้วย ศิลาจารึก ปราสาทตาพรหม จารึกไว้ว่า...

...พระองค์(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม-เขมร) กรุงนครวัด ได้รับสั่งให้ สร้างโรงพยาบาลเหล่านี้ สามารถให้บริการได้ถึง ๘๓๘ หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่มารับบริการถึง ๘๐,๐๐๐ คน

พระองค์ ได้สร้างถนนระหว่างอาณาจักร และได้สร้างที่พักคนเดินทาง ทุกๆ ระยะ ๑๖ กิโลเมตร ตลอดเส้นทางหลัก ระหว่าง เมืองพระนคร กับ ราชธานี ของ ราชอาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) มีที่พักคนเดินทาง ๕๗ แห่ง และสร้างเส้นทางเดินทาง ระหว่าง เมืองพระนครหลวง กับ ปราสาทหินพิมาย มีที่พักคนเดินทาง ๑๗ แห่ง

พระองค์(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ได้ทรงเห็นถึงความดีงาม ของ โลก เต็มเปี่ยมพระหฤทัย พระองค์ทรงปฏิญาณว่า เราจะช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสาร ด้วยคุณธรรม และ ราชกิจอันดีงาม จึงขอให้พระราชา แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งสืบต่อจากเรา จงตั้งอยู่ในความดี พร้อมด้วยมเหสี และ นักสนม ข้าราชบริพาร และมิตรสหาย ให้ไปถึงแดนสุขาวดี ที่ปลอดพ้นต่อโรคา ทั้งปาง...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๐๖ )

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๙๐-๙๑)

ปี พ.ศ.๑๗๓๐ พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๒ แห่ง ราชอาณาจักรศรีลังกา เสด็จสวรรคต พระเจ้านิสสังกะมัลละ(บางเล่มเรียก พระเจ้ากิตติสังกะ) ขึ้นครองราชย์สมบัติ  มีอรรคมเหสี มีพระนามว่า พระนางสุภัทรา พระนาง มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง กับ พระเจ้านิสสังกะมัลละ มีพระนามว่า เจ้าหญิงวังกะสุนทรี ต่อมาได้มาเป็นอรรคมเหสี ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และต่อมา ได้มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าชายมาฆะ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ในเวลาต่อมา เช่นเดียวกัน

ปี พ.ศ.๑๗๓๐ พระเจ้าศรีธรรมโศก หรือ พระเจ้าพนมศิริชัย หรือ กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย(หมอ-หลัว-ปา-กาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย) แห่ง ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู กรุงกำแพงเพชร ได้ยกกองทัพเรือ มานำ พระแก้วมรกต ไปประดิษฐาน ณ เมืองกำแพงเพชร

(นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๗๓๐ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนลี่ฟู(อาณาจักรโจลี้โพธิ์-กำแพงเพชร) มีพระนามว่า กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย(หมอ-หลัว-ปา-กาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย) หรือ พระเจ้าพนมศิริชัย ได้ยกกองทัพเรือไปนำ พระแก้วมรกต จาก กรุงศรีอยุธยา มาประดิษฐานไว้ ณ เมืองกำแพงเพชร ตำนานพระแก้วมรกต บันทึกว่า..

...อยู่ต่อมา เจ้าพระยากำแพงเพชร(พระเจ้าพนมศิริชัย) ก็ลอยลงมาทูลขอ พระแก้วมรกต ขึ้นไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองกำแพงเพชร ท่านก็ได้ปฏิบัติรักษา พระแก้วมรกต ต่อไป มินานเท่าใด เจ้าพระยากำแพงเพชร ก็ได้ราชบุตร คนหนึ่ง ครั้นราชบุตรคนนั้น เจริญใหญ่ ขึ้นแล้ว เจ้าพระยากำแพงเพชร ก็ตั้งขึ้น เป็นเจ้าเมืองละโว้...

(นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๗๓๐ เกิด สงครามครูเสด ครั้งที่ ๒ ระหว่าง ชาวคริสต์ กับ ชาวมุสลิม สืบเนื่องมาจาก ในปี พ.ศ.๑๖๓๙ ชาวคริสเตียน ได้รวมตัวกันประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ยกกองทัพเข้าฆ่าฟันผู้นับถือศาสนาอิสลาม จำนวนมาก และต่อมาได้ยกกองทัพเข้าโจมตี กรุงคอนสแตนติโนเปิล ราชธานี ของ อาณาจักรเตอร์กี ผลของสงคราม ชาวคริสเตียน ถูกฆ่าตาย จำนวนมาก ที่เหลือรอดตายเพียงไม่กี่คน มีการทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็ม ระหว่างกัน ชาวมุสลิม เสียชีวิตไปประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน กรุงยารูซาเล็ม ก็ถูกชาวคริสเตียน ยึดครองกลับคืนเป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๖๘๗ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๑๗๓๐ กษัตริย์อียิปต์ ได้ทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็ม กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง

(ร.ศ.นันทนา กปิลกาญจน์ ประวัติศาสตร์ และ อารยธรรมโลก หน้าที่ ๒๖๗)

ปี พ.ศ.๑๗๓๒ ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีพระชนมายุ ๖๑ พรรษา ถูกกดดันให้สละราชย์สมบัติ พระราชโอรสบุญธรรม มีพระนามว่า จ้าวเซิ่น แห่ง ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ กรุงนานกิง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีพระนามว่า ฮ่องเต้กว่างจง(พ.ศ.๑๗๓๒-๑๗๓๗) เป็นรัชกาลที่ ๓ ของ ราชวงศ์ซ้อง-ใต้

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๙๐)

ปี พ.ศ.๑๗๓๓ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจรจา กับ จักรพรรดิหลีเคาตอง แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เพื่อทำสัญญาไม่รุกรานต่อกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ ราชอาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้-ภาคใต้) กรุงครามปุระ เตรียมทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้-ภาคเหนือ) กรุงวิชัย กลับคืน ในอนาคต

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๐ )

ปี พ.ศ.๑๗๓๓ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔ แห่ง ราชอาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้-ภาคใต้) กรุงครามปุระ ได้ส่งกองทัพเรือ เข้าโจมตี อาณาจักรกำพูชา(เขมร) อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม ต้องถอยทัพกลับ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๐ )

ปี พ.ศ.๑๗๓๓ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ทรงมอบให้ เจ้าชายวิทยานันทนะ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย ของ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔ เป็นการล้างแค้น ผลของสงคราม กองทัพขอม จาก ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) สามารถยึดครองราชย์ธานี กรุงวิชัย ของ ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับการขนเอา ศิวลึงค์ ไปหมดสิ้น เจ้าชายวิทยานันทนะ สามารถยึดครอง ราชธานี กรุงวิชัย ของ อาณาจักรจามปา เป็นผลสำเร็จ กองทัพอื่นๆ สามารถยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ทั่วทั้ง ราชอาณาจักร เป็นผลสำเร็จ สามารถจับกุม พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔ แห่ง ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้ ภาคเหนือ) พร้อมพวกราชวงศ์ เป็นเชลยศึก นำกลับไปยัง ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงยโสธรปุระ(นครธม) เพื่อสำเร็จโทษ ในเวลาต่อมา ด้วย

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๐ และ ๒๐๒-๒๐๓)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๗๓๓ เมื่อ ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย ถูกยึดครองโดย ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เป็นเหตุให้ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ได้แบ่งแยก ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้ ภาคเหนือ) กรุงวิชัย ปกครองโดย พระเจ้าสูรยชัยวรรมเทพ(เจ้าชายอิน) ซึ่งเป็นพี่เขย ของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และ ราชอาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้ ภาคใต้) กรุงปานฑุรัง ปกครองโดย พระเจ้าสูรยวรรมเทพ(เจ้าชายวิทยานันทนะ) ส่วน พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรจามปา กรุงวิชัย ได้ถูกจับเป็นเชลยศึก ถูกนำกลับไปยัง กรุงยโสธรปุระ(นครธม) และถูกสำเร็จโทษ ในเวลาต่อมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๐ และ ๒๐๒)

ปี พ.ศ.๑๗๓๔ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ได้สร้างปราสาทชัยศรี(ปราสาทพระขรรค์) ณ เมืองยโสธรปุระ(นครธม) อย่างลวกๆ เพื่อใช้ประดิษฐาน เทวรูป ของ พระราชบิดา ของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ คือ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒ ภายใต้รูป ของ พระโพธิสัตว์โลเกศวร ซึ่งมีพระนามว่า ชัยวรรเมศวร ศิลาจารึก ได้จารึกว่า...

...พระเจ้าอยู่หัว(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ทรงพระราชทานเมืองหลวง พร้อมพระราชวังอันเรืองรอง ของ ข้าศึก ให้แก่แม่ทัพนายกอง และปวงทหาร ไปครอบครอง พระองค์ได้ทรงพระราชทานป่าของข้าศึก ให้แก่สัตว์น้อยใหญ่ อาศัยอยู่ในป่ากว้าง พระองค์ ยังได้พระราชทานป่า ในแผ่นดินของพระองค์ ให้กับเชลยศึก เข้าไปหักร้างถางพง สร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นอยู่อาศัย เพื่อแสดงถึงความมีน้ำพระทัยกว้างขวาง และการสร้างความยุติธรรม

พระเจ้าอยู่หัว(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) โปรดเกล้าให้ ทำ ชยะตะตะกะ เป็นดังคันฉ่องมงคล ฉายแสงเลื่อมพรายแห่งสุวรรณ รัตนะ และ บุปผามาลา มีเกาะงดงาม ท่ามกลางห้วงน้ำ ช่วยชำระบาป และ ความเศร้าหมอง ของผู้มาสักการะ เป็นนาวานำเขาเหล่านั้น ข้ามห้วงโอฆะสงสาร

ที่นี่ มีผู้ชาย ๔๐๐ คน พระชั้นผู้ใหญ่ ๑๘ รูป พระอื่นๆ อีก ๒,๗๔๐ รูป มีผู้ช่วยทำงาน ๒,๒๓๒ คน นางระบำ ๖๑๕ นาง ราษฎรอีก ๑๒,๖๔๐ คน รวมทั้งคนอื่นๆ ต้องมาอยู่ที่นี่ ซึ่งก็คือชายหญิง ๖๖,๖๒๕ คน มีหน้าที่ทำงานรับใช้เทพเจ้า รวมจำนวนเบ็ดเสร็จทั้งหมด ๗๙,๓๖๕ คน มีทั้งชาวพม่า จาม และ ฯลฯ...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๐๗)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๘๙ , ๙๒-๙๕)

ปี พ.ศ.๑๗๓๕ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ได้สร้างปราสาทชัยศรี(ปราสาทพระขรรค์) ณ เมืองยโสธรปุระ(นครธม) ได้จารึกกล่าวถึง ประเทศเมืองขึ้นของ ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงนครธม ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้ง ราชอาณาจักรหลอหู(กรุงละโว้) ราชอาณาจักรสุวรรณปุระ(กรุงครหิต) สามพูกปัฎฏณะ เมืองสิงห์(กาญจนบุรี) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เป็นต้น

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๙)

ปี พ.ศ.๑๗๓๕ สุลต่าน โมฮัมหมัด คอรี ซึ่งเป็น มุสลิมเตอร์ก มหาราชาผู้ปกครอง อาณาจักรคาสนี อินเดีย สามารถทำสงครามยึดครอง กรุงเดลี ราชธานี ของ ประเทศอินเดีย เป็นผลสำเร็จ

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๗)

ปี พ.ศ.๑๗๓๕ สุลต่าน โมฮัมหมัด คอรี ซึ่งเป็น มุสลิมเตอร์ก มหาราชาผู้ปกครอง อาณาจักรคาสนี อินเดีย สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองพาราณสี แห่ง รัฐอุตรประเทศ และทำสงครามเข้ายึดครอง รัฐพิหาร เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ กองทัพมุสลิมเตอร์ก ส่งกองทัพทมิฬโจฬะ อินเดีย เข้าเผาทำลายวัดทางพุทธศาสนา ฆ่าพระภิกษุ จำนวนมาก โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยนาลันทา กองทัพทมิฬโจฬะ ได้ฆ่าตัดศีรษะ พระภิกษุ ประมาณ ๕๐๐ ท่าน โดยไม่มีการต่อสู้

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๗)

ปี พ.ศ.๑๗๓๕ สุลต่าน โมฮัมหมัด คอรี ซึ่งเป็น มุสลิมเตอร์ก มหาราชาผู้ปกครอง อาณาจักรคาสนี อินเดีย สามารถ ใช้กองทัพทมิฬโจฬะ ทำสงครามยึดครอง แคว้นเบงกอล ฆ่าพระภิกษุ เผาทำลายวัด อย่างราบคาบ พระพุทธศาสนา จึงถูกทำลายไปจาก ประเทศอินเดีย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๓๕ เป็นต้นมา

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๗)

ปี พ.ศ.๑๗๓๕ เกิด สงครามครูเสด ครั้งที่ ๓ ระหว่าง ชาวคริสต์ กับ ชาวมุสลิม ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๓๐-๑๗๓๕ สืบเนื่องมาจาก ในปี พ.ศ.๑๗๓๐ กษัตริย์อียิปต์ ได้ทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็ม กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง เป็นที่มาให้ในปี พ.ศ.๑๗๓๓ กองทัพชาวคริสเตียน ชาวครูเสด ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็ม กลับคืน แต่แม่ทัพสิ้นพระชนมายุ เสียก่อน ต่อมา สุลต่าน สะลาดิน ได้ยอมลงนามในสัญญา เมื่อปี พ.ศ.๑๗๓๕ ยินยอมให้ชาวคริสเตียน เดินทางไปจาริกแสวงบุญ ณ กรุงยูริซาเล็ม ได้โดยเสรี สงครามจึงยุติลง

(ร.ศ.นันทนา กปิลกาญจน์ ประวัติศาสตร์ และ อารยธรรมโลก หน้าที่ ๒๖๙)

 

ปี พ.ศ.๑๗๓๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีปราบ(พ.ศ.๑๗๒๖-๑๗๓๖) พระชนมายุ ๓๐ พรรษา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เสด็จสวรรคต พระองค์ได้รับการถวายพระนามใหม่ว่า พระเจ้าศรีปลัมพัฒน์วรมะเทวะ

Visitors: 54,199