รัชกาลที่ ๔๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๑ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖

 

 

     ปี พ.ศ.๑๗๑๑ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีไชยา(ศรีไชยโคปะ) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) โดยมี พ่อศรีปราบ(ศรีปราลัมพัฒน์) เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อสุรนารายณ์ เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๔๑ 

ปี พ.ศ.๑๗๑๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีไชยา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้รับพระราชทานพระนาม ภายหลังการสวรรคต โดยได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระเจ้าศรีชัยโคปะวรมะเทวะ

(หลักฐานจากจดหมายเหตุจีน และ ศรีลังกา)

ปี พ.ศ.๑๗๑๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) แห่ง มหาอาณาจักรจีน จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๗๑๑ มีคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูตแจ้งว่า มหาจักรพรรดิ พระองค์เดิม เสด็จสวรรคต และ พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่...

      ปี พ.ศ.๑๗๑๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มอบให้ จักรพรรดิ แห่ง กรุงศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แล้วส่ง พระยาศรีภูวนาทิตย์อีศวรทวีป(พ.ศ.๑๗๑๒-๑๗๕๘) ไปปกครอง อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๗๑๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มอบให้ จักรพรรดิ แห่ง กรุงศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔(พ.ศ.๑๗๐๙-๑๗๑๒) สวรรคต ในสงคราม สหราชอาณาจักรเสียม ได้แต่งตั้งให้ พระเจ้าตรีภูวนาทิต(พ.ศ.๑๗๑๒-๑๗๒๐) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรคามลังกา ในรัชกาลถัดมา ผลของสงครามครั้งนี้ จักรพรรดิพ่อศรีภูวนาทิต พระเชษฐา ของ พระเจ้าตรีภูวนาทิต ถูกซุ่มโจมตี ขณะยกทัพกลับ สวรรคต ในสงคราม ต้องนำพระบรมศพ กลับไปยัง กรุงละโว้

ปี พ.ศ.๑๗๑๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) รับสั่งให้สร้าง จารึกดงแม่นางเมือง หลักที่ ๓๕ พบที่ดงแม่นางเมือง อำเภอบรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ ขุนศรีธรรมโศก กับบ้านเมืองในแถบนั้น มีเนื้อหาในจารึกที่แสดงว่า พระเจ้าอโศก แห่ง นครศรีธรรมราช สวรรคต ว่า...

...อโศกมหาราช ผู้ทรงธรรม เดชะอำนาจ และมีความกล้าหาญ หาผู้เสมอมิได้ ได้รับสั่งมายัง พระเจ้ากรุงสุนัตว่า ท่านจงให้ที่นาบูชาพระธาตุ พระเจ้ากรุงสุนัต(ดงแม่นางเมือง) จึงประกาศพระกระแสบรมราชโองการให้ประชาชนทราบว่า….(ชำรุด)..

สิ่งสักการะ บูชา ที่มหาราชาธิราช ผู้มีพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมโศก ถวายแด่พระสรีระธาตุ ซึ่งมีพระนามว่า  กัมรเตง ชคตะ ศรีธรรมโศก ณ ตำบล ธานยะปุระ เช่น ในบัญชีนี้ ข้าบาทมูลผู้มีวรรณะ ทุกเหล่า ๒๐๑๒ พาน ๒๒ ถ้วยเงิน ๒๒ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ นาค ๑๐ สิวิกา เป็นพระบูชา วันหนึ่งข้าวสาร ๔๐ ลิตร

มหาเสนาผู้หนึ่งชื่อ ศรีภูวนาทิตย์อิศวรทวีป(แห่ง อาณาจักรละโว้) ได้นำกระแสพระบรมราชโองการ ของ พระราชาธิราช(มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ) มายัง กรุงสุนัต(ดงแม่นางเมือง) ผู้ครอบครอง ณ ธานยปุระ(อาณาจักรละโว้) บัณฑูรให้ ถวายที่นา ซึ่งได้กำหนดเขตไว้แล้ว เป็นพระบูชา กัมมรเตง ชคตะ ในศักราช ๑๐๘๙(พ.ศ.๑๗๑๒) ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ วันอาทิตย์ บูรพา ษาฒฤกษ์ เพลา ๑ นาฬิกา..

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ )

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๘)

ปี พ.ศ.๑๗๑๓ พระเถระชาวมอญ อาศัยอยู่ในเมืองพุกาม ชื่อ พระอุตราชีวะ พร้อมคณะเดินทางไปนมัสการพระบรมธาตุที่ศรีลังกา มีสามเณรชาวมอญเมืองพะสิม ชื่อ ฉปัฏ เป็นศิษย์ ติดตามไปด้วย และได้บวชเป็นพระภิกษุที่ เกาะศรีลังกา ส่วน พระอุตราชีวะ เดินทางกลับ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๗๑๓ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการต่อ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ได้มีบันทึกไว้อย่างสั้นๆ มีบันทึกว่า...

 (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๓๙)

ปี พ..๑๗๑๓ พระเจ้านรสูร(พ.ศ.๑๗๑๐-๑๗๑๓)ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต และ พระเจ้านรสิงห์(พ.ศ.๑๗๑๓-๑๗๑๖) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลถัดมา

      (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๐๘)

ปี พ.ศ.๑๗๑๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

...มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตมายัง มหาอาณาจักรจีน มีพระราชสาส์น ขอซื้อทองแดง เพื่อบรรทุกเรือสำเภา กลับไปใช้ยัง ประเทศของตน พร้อมกับขอให้ ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) แห่ง มหาอาณาจักรจีน อำนวยความสะดวกในการขอว่าจ้างช่างจีน หล่อหลอมทองแดง ทำให้เป็นกระเบื้องทองแดง เพื่อนำไปใช้สำหรับมุงหลังคา พระราชฐาน ณ ราชธานี ซึ่ง ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ทรงอนุมัติ แต่ ฮ่องเต้เซี่ยวจง หาได้จัดหาช่างจีน ทำการหล่อหลอมทองแดงไม่ เพราะเป็นงานด่วน...

ปี พ..๑๗๑๓ พระเจ้านรสิงห์(พ.ศ.๑๗๑๓-๑๗๑๖) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต และ พระเจ้านรปิติชัยสูร(พ.ศ.๑๗๑๖-๑๗๕๓) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลถัดมา

      (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๐๘)

ปี พ.ศ.๑๗๑๖ สุลต่าน โมฮัมหมัด คอรี ขึ้นปกครอง อาณาจักรฆาชนี(ลุ่มแม่น้ำสินธุ) แทนที่

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๗)

ปี พ.ศ.๑๗๑๘ สุลต่าน โมฮัมหมัด คอรี ซึ่งเป็น มุสลิมเตอร์ก มหาราชาผู้ปกครอง อาณาจักรคาสนี อินเดีย สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นมูลตาล ในอินเดีย เป็นผลสำเร็จ แล้วยังส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นสินธุ และ แคว้นปัญจาบ ให้อยู่ในการปกครอง ของ มุสลิมเตอร์ก อีกด้วย

 (ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๗)

ปี พ.ศ.๑๗๑๙ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๑ )

ปี พ.ศ.๑๗๒๐ ได้เกิดความขัดแย้งในการจัดเก็บภาษี เรือสำเภาสินค้า ของพ่อค้าจีน  ซึ่งเดินทางผ่านช่องแคบมะละกา ทำให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่าง มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) กับ ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง

ปี พ.ศ.๑๗๒๐ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ทำสงครามยึดครอง เมืองยโสธรปุระ ของ แคว้นเสียมเรียบ(นครธม) แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครธม) เป็นผลสำเร็จ จดหมายเหตุจีน คือ หนังสือ ลิงไวไตตา ของ จีนได้บันทึกว่า...

...เจ้าชายองค์หนึ่ง(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ซึ่งได้หลบหนีไปยู่ที่ อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) ได้ร่วมกับชาวจีน ๒ คน ซึ่งเรือล่ม ได้อาศัยอยู่ในดินแดนชายฝั่งทะเล อาณาจักรเวียตน้ำ ชาวจีนคนหนึ่ง ได้ฝึกสอนวิชาการทำสงครามให้กับเจ้าชายองค์นั้น ครั้นได้เวลาเมื่อปี พ.ศ.๑๗๒๐ ชาวจีน ทั้ง ๒ คน ได้ร่วมกับ เจ้าชายองค์นั้น นำกองทัพเรือ แล่นไปตามแม่น้ำโขง ผ่านทะเลสาบหลวง แม่น้ำเสียมเรียบ เข้าทำสงครามยึดครอง เมืองยโสธรปุระ(นครธม) ของ แคว้นเสียมเรียบ ได้อย่างน่าตะลึงงัน เจ้าชายได้ทำการปล้นนครแห่งนี้ ได้ทรัพย์สินจำนวนมาก และได้ทำการปลงพระชนม์ กษัตริย์(พระเจ้าตรีภูวนาถ ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์) โดยไม่ฟังเสียงร้องขอชีวิต ด้วยพระองค์เอง...

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๗๒๐ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) ได้ร่วมกับกองทัพของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรกำพูชา(เขมร) กรุงพระนครหลวง(นครธม) ผลของสงคราม พระเจ้าศรีภูวนาทิตย์(พระเจ้าศรีภูวนาถ) สวรรคต ในสงคราม เนื่องจากเรือของชาวจีน ได้มาแตก ณ อาณาจักรจามปา ตามหนังสือ ลิงไวไตตา ของ จีน ได้บันทึกถึงเรื่องราวของสงครามครั้งนี้ ไว้ว่า...

...มหาราชา แห่ง อาณาจักรจันเฉง(อาณาจักรจามปา) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี ราชธานี ของ ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) อย่างไม่ทันรู้เนื้อ รู้ตัว ด้วยกองทัพเรืออันเข้มแข็ง ได้เข้าปล้นสะดม ราชธานี พร้อมกับได้ทำการประหารชีวิต มหาราชา(พระเจ้าตรีภูวนาทิตย์) แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) โดยไม่ยอมฟังเสียงร้อง ขอ สันติภาพ หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น จึงได้เกิดความเกลียดชังระหว่างกัน อย่างใหญ่หลวง ซึ่งมีผลประจักษ์อยู่ในปีที่ ๕ แห่งศักราชฉิงยวน(พ.ศ.๑๗๓๓)...    

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๙ )

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๘๖)

ปี พ.ศ.๑๗๒๐ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรเวียตน้ำ กรุงพานฑุรัง และ ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) กรุงพนมมันตัน เป็นผลสำเร็จ จดหมายเหตุจีน ของ ม้าต้วนหลิน ได้ทำการบันทึกไว้ใน หนังสือเหวินเชี่ยนทงเข่า บรรพ ๓๓๒ วิเคราะห์ต่างประเทศ บทที่ ๙ หัวข้อ เกี่ยวกับ ราชอาณาจักรเจนละ มีบันทึกว่า...

 ...วันข้างขึ้น พระจันทร์เต็มดวง เดือน ๕ ปีที่ ๔ รัชศก ฉุนซี(เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๑๗๒๐) มีกองทัพ ของ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ได้ยกกองทัพเรือ เข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ไปครอบครองเป็นผลสำเร็จ มหาราชา(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่า จะต้องทำสงครามล้างแค้นต่อ ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กรุงจ้านเฉิง ให้จงได้...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๓)

ปี พ.ศ.๑๗๒๐ พระเจ้าตรีภูวนาทิตย์(พ.ศ.๑๗๑๒-๑๗๒๐) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรกำพูชา(เขมร) สวรรคตในสงคราม พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรเวียตน้ำ พระราชโอรส ของ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรกำพูชา(เขมร) กรุงนครธม ในรัชกาลถัดมา ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงนครธม จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๗๒๐ เป็นต้นมา ศิลาจารึก ของ พระชายา ของ พระเจ้าชัยวรมันที่-๗ กล่าวว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา ตกอยู่ในสภาพที่มีกษัตริย์ปกครอง หลายพระองค์

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ หน้าที่ ๑๓๙-๑๔๐ และ ๒๕๐)

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๘)

ปี พ..๑๗๒๑ ขุนนางจีน ชื่อ จู-ฉู-เฟ ได้รวบรวมเรื่องราวการค้าต่างประเทศ โดยได้เขียนบันทึกไว้ เรียกชื่อว่า หนังสือ หลิงไหวไตต้า เพื่อใช้เผยแพร่ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องราวของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ในช่วงเวลาดังกล่าว มีบันทึกว่า...

... สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นดินแดนที่กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ บนเส้นทางเดินเรือของชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะ พ่อค้าเรือสำเภา ที่ต้องเดินทางมาค้าขายกับ มหาอาณาจักรจีน หรือ ต้องเดินเรือจาก มหาอาณาจักรจีน กลับไปยังประเทศอื่นๆ สำหรับพ่อค้าเรือสำเภาชาวต่างชาติ ที่ได้นำสินค้ามาค้าขายกับ มหาอาณาจักรจีน แล้ว จะไม่มีสินค้าของประเทศใดเกินกว่าสินค้า ของ มหาอาณาจักรตาชิ(อาหรับ) ไปได้  สินค้าสำคัญต่อจากนั้น ก็คือ สินค้าของ อาณาจักรเชโป(บอร์เนียว) สินค้าสำคัญ รองลงมาอีก ก็คือ สินค้าของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ สินค้าของ ราชอาณาจักรจันเป(จัมบี-สุมาตรา) ซึ่งได้ส่งคณะราชทูตของตนเองไปสร้างความสัมพันธ์ กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๖๒๒ , พ.ศ.๑๖๒๕ , พ.ศ.๑๖๓๑ ด้วย….”

(แปลจากหนังสือคาบสมุทรทอง ของ พอล วิลลี่)

ปี พ.ศ.๑๗๒๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน แต่ ฮ่องเต้เซี่ยวจง (พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ไม่ต้อนรับ เนื่องจากไม่พอใจเรื่องการเก็บภาษีผ่านช่องแคบมะละกา ในราคาแพง บันทึกจดหมายเหตุจีน ได้ทำการบันทึกไว้อย่างสั้นๆ ว่า...

...ฉุนซีศก ปีที่ห้า (.ศ.๑๗๒๑) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชี) ได้ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการอีก ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ทรงรับสั่งให้รับรองคณะราชทูต ที่เมืองเฉวียนโจว โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงพระราชวัง ของ ฮ่องเต้เซี่ยวจง โดยให้พักรับรองที่ เมืองจ๋วนเกียว มณฑลฮกเกี้ยน ส่วนพระราชสาส์น ทางฮ่องเต้เซี่ยวจง รับสั่งให้เชิญพระราชสาสน์ ของ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เข้าสู่พระราชวัง ข้อความในพระราชสาส์น กล่าวว่า มหาจักรพรรดิ(พ่อศรีพรหมทัต) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ แจ้งว่า พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยสืบราชย์สมบัติ ต่อจากพระราชบิดา เมื่อปี พ.ศ.๑๗๑๑ ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนด อย่างสมพระเกียติ เท่านั้น...

(จากหนังสือคาบสมุทรทอง ของ พอลวิลลี่)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๑ )

ปี พ..๑๗๒๑ เกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับ การเก็บภาษี บริเวณ ช่องแคบมะละกา เนื่องจาก ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ได้ส่งกองเรือขนาดใหญ่ พร้อม อาวุธปืน และ ระเบิด เข้ามาทำการข่มขวัญ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยไม่ยอมเสียภาษี และ ค่าธรรมเนียมต่างๆ แก่ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ปรากฏหลักฐาน ที่นักประวัติศาสตร์ชื่อ โจวชา-วี่เฟย ได้กล่าวถึงเรื่องราวในเหตุการณ์ วิกฤต เมื่อปี พ..๑๗๒๑ มีบันทึกว่า...

...เรือสำเภา แห่ง กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ที่ออกแล่น กางใบออกไปสู่ดินแดนทางทะเลใต้ มีรูปลักษณะใหญ่โต ประดุจบ้านเรือน เมื่อกางใบออกรับลม เหมือนดั่งก้อนเมฆลอยอยู่เต็มท้องฟ้า หางเสือของเรือสำเภา ก็ใหญ่ยาวหลายสิบศอก จึงสามารถบรรทุกคนได้ ลำละ หลายร้อยคน สามารถบรรจุข้าวปลาอาหารให้พอเพียงที่จะใช้ในกองทัพเรือ ได้เป็นเวลายาวนานถึง ๑ ปี และยังมีแจวข้างเรือสำเภา อีก ๕ คู่ คู่หนึ่ง จะมีพลแจวจำนวน ๘ คน...

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๙)

(จากหนังสือ คาบสมุทรทอง ของ พอล วิลลี่)

ปี พ..๑๗๒๑ บันทึกของ จาวจูกัว ได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆ จากพ่อค้าชาวจีน ข้อความส่วนใหญ่ นำมาจากหนังสือลิงไวไตต้า (แต่งขึ้นในปี พ.ศ.๑๗๒๑) โดยได้กล่าวถึง อาณาจักรโพธิ์ใน(โพนิ) เกาะบอร์เนียวตะวันตก ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ราชอาณาจักรศรีโพธิ์(เชโป) และเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า ราชอาณาจักรชูจิตัน มีบันทึกว่า...

...เพื่อป้องกันมิให้มีการลักลอบส่งเหรียญทองแดง ออกมานอกดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ทางราชสำนักจีน ได้มีคำสั่งมิให้ติดต่อค้าขาย กับ อาณาจักรเชโป (ราชอาณาจักรศรีโพธิ์ใน-บอร์เนียว) เป็นหลายครั้ง แต่พวกพ่อค้าต่างด้าว ก็พยายามหลอกลวง รัฐบาลจีน ด้วยการเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรเชโป เสียใหม่ เป็นชื่อ ชูจิตัน แทนที่...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๖ )

ปี พ.ศ.๑๗๒๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) มีพระบรมราชโองการ ให้ทุกแว่นแคว้น ต้องทำการเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ จากพ่อค้าเรือสำเภาจีน ตามที่กฎหมายกำหนด หากว่าเรือสำเภาข้าขายของ พ่อค้าจีนลำใด เข้าไปค้าขาย โดยไม่ยอมเสียค่าภาษี ให้ส่งกองทัพเรือ เข้าบีบบังคับ และ ให้ทำการจับกุม พ่อค้าเรือสำเภาจีน มาลงโทษ

      ปี พ.ศ.๑๗๒๒ พระเจ้าวรรเมศวร แห่ง ราชอาณาจักรเกเดรี กรุงเกเดรี เกาะชวา สวรรคต เป็นเหตุให้ พระเจ้ากาเมศวร ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง ราชอาณาจักรเกเดรี กรุงเกเดรี เกาะชวา แทนที่

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๖๓ )

ปี พ.ศ.๑๗๒๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เริ่มทำสงครามกับกองทัพเรือของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเรือสินค้าของพ่อค้าจีน ไม่ยอมเสียค่าธรรมเนียม และ ภาษีต่างๆ ตามกฎหมายที่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) กำหนดให้ปฏิบัติ เกิดตำนาน ดอนคุกจีน ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๗๒๓ พระพนมศิริชัย พระราชโอรส ของ พระเจ้าศรีภูวนาทิตย์ แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ได้อพยพไพร่พลจาก ปากน้ำโพธิ์ ไปตั้งเมืองใหม่ที่ เมืองซากังราว(กำแพงเพชร) แล้วได้ก่อสร้างกำแพงขึ้น เพื่อต่อต้านการรุกราน ของข้าศึก แล้วเปลี่ยนชื่อ เมืองซากังราว เป็น เมืองกำแพงเพชร ประกาศตั้ง ราชอาณาจักรโจรลี้โพธิ์(เจนลี่ฟู) มีราชธานีอยู่ที่ เมืองกำแพงเพชร

(นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๗๒๓ พระพนมศิริชัย แห่ง ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู(อาณาจักรโจลี้โพธิ์-กำแพงเพชร) มีพระนามว่า กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย(หมอ-หลัว-ปา-กาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย) หรือ พระพนมศิริชัย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีบันทึกในหนังสือ ซุ่งหุ้ยเอี้ยว บรรพ ๘๑๑๘ บทว่าด้วย พวกฟานอี้ มีบันทึกว่า...

...วันที่ ๑๔ เดือน ๘ ปีที่ ๖ รัชศก ชิ่งหยวน(วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๑๗๔๓) กรมการเมืองซิ่งหยวน รายงานว่า มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู(โจลี้โพธิ์-กำแพงเพชร) พระนามว่า หมอ-หลัว-ปากาน-อู้-ติง-เอิน-ซือ-หลี่-ฝัง-ฮุย(กัมรเตง อัญศรี ฝังฮุย) ได้ครองราชย์มาแล้วเป็นเวลา ๒๐ ปี...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๒)

ปี พ.ศ.๑๗๒๔ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ณ กรุงยโสธรปุระ(นครธม) และได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี กองทัพเรือ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เป็นการล้างแค้น ผลของสงคราม กองทัพเรือ ของ อาณาจักรไตเวียต แตกพ่าย

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๔๐)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๘๖-๘๘)

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๙)

ปี พ.ศ.๑๗๒๔ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗(พ.ศ.๑๗๒๐-๑๗๖๒) แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงยโสธรปุระ(นครธม) นำเชลยศึกที่ได้รับจาก อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) มาสร้างถนน ระหว่าง เมืองพระนครหลวง(นครธม) กับ อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรอีสานปุระ กรุงพิมาย และได้ใช้เชลยศึกนับแสนคน มานำหินทราย และ หินปูน มาสร้างปราสาทต่างๆ เช่น ปราสาทบายน เพื่อแสดงภาพสลัก การศึกอันโหดร้าย กับ ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จนกระทั่ง หินทราย และ หินปูน เริ่มหมดไป

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๘๖-๘๘)

ปี พ.ศ.๑๗๒๔ เกิดคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ ขึ้นในดินแดน ประเทศพม่า โดยพระภิกษุชื่อ พระฉปัฏ , พระสิวลีเถระ(มาจากแคว้นตามะลิปติ  บังกลาเทศ) , พระตามลินทรเถระ(พระราชโอรสของ พระเจ้ากัมโพช) , พระอานันทเถระ(ชาวเมืองกาญจีปุรัม ในอินเดียใต้) , พระราหุลเถระ(ชาวศรีลังกา)

 

ปี พ.ศ.๑๗๒๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพรหมทัต(พ.ศ.๑๗๑๑-๑๗๒๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีพระชนมายุ ๔๒ พรรษา เสด็จสวรรคต ในสงคราม ได้รับพระนามเมื่อสวรรคตว่า ศรีมัตไตรโลกยราช เมาลิภูษณะ วรมะเทวะ(มหาจักรพรรดิ พ่อไตรโลกยราช)

Visitors: 54,280