รัชกาลที่ ๔๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีไชยโคปะ(ศรีไชยา) กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๗๐๗-๑๗๑๑

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๔๐ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีไชยโคปะ(ศรีไชยา) 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๗๐๗-๑๗๑๑

 

        ปี พ.ศ.๑๗๐๗ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อมหาพรหมทัต เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีชัยโคปะ ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีไชโคปะ(พ่อศรีไชยา) โดยมี พ่อศรีพรหมทัต เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อศรีปราบ เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๔๐ 

      ปี พ.ศ.๑๗๐๗ ภายหลังการพระราชทานเพลิง พระบรมศพ ของ มหาจักรพรรดิ พ่อศรีมหาพรหมทัต เรียบร้อยแล้ว สภาโพธิ ได้ถวายพระนามใหม่ว่า พระเจ้ามหาพรหมทัตวรมะเทวะ

ปี พ.ศ.๑๗๐๗ พระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ แห่ง อาณาจักรศรีลังกา ทรงกระทำสังคายนา พระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ ถือเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่กระทำในดินแดน อาณาจักรศรีลังกา

(จากหลักฐานจารึกกัลยานี)

ปี พ.ศ.๑๗๐๘ พ่อค้าไทย จาก ราชอาณาจักรเจนลี้ฟู(โจลี้โพธิ์-กรุงท่าตาโก) เกิดทุพภิกขภัย ฯลฯ ซึ่งได้หลบหนีภัยสงคราม ไปอาศัยอยู่ใน เมืองหมิงโจว ของ มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับเงินตราติดตัวไปจำนวนมาก และได้เสียชีวิตลง ในปี พ.ศ.๑๗๐๘ และขุนนางจีน ต้องการยึดทรัพย์สิน จำนวนมาก ให้เป็นของ เจ้าเมือง แต่ เจ้าป๋อกุย เจ้าเมืองหมิงโจว ได้คัดค้านไว้ จดหมายเหตุจีน ได้ทำการบันทึกเรื่องนี้ไว้ใน หนังสือกงขุ้ย โดย โหลวอิน บรรพ ๘๖ บันทึกว่า...

...เมื่อปีที่ ๑ รัชศก เฉียนเต้า(พ.ศ.๑๗๐๘) ได้เกิดทุพภิกขภัย ฯลฯ มีพ่อค้าใหญ่ นายหนึ่ง จาก ราชอาณาจักรเจนลี่ฟู(ราชอาณาจักรโจลี้โพธิ์ กรุงนครสวรรค์) ได้ถึงแก่กรรม ณ เมืองหมิงโจว พ่อค้าผู้นั้น ได้นำเงินตรา จำนวนมาก ติดตัวมาด้วย ขุนนางจึงเสนอขอให้ เจ้าเมืองหมิงโจว ทำการริบทรัพย์สมบัติ ของ พ่อค้า เป็นของหลวงเสีย เจ้าป๋อกุย เจ้าเมืองหมิงโจว กล่าวว่า อาคันตุกะ ผู้มาจากแดนไกล ประสบเคราะห์กรรม ถึงแก่กรรมที่นี่ จะใจดำถึงขนาดฉกฉวยถือเอาเป็นประโยชน์ ได้เช่นนั้นหรือ เจ้าป๋อกุย เจ้าเมืองหมิงโจว จึงได้จัดโลงศพ และจัดการพิธีบรรจุศพให้ และได้กำชับให้ ญาติพี่น้อง และบริวาร ดูแลการขนย้ายศพ นำกลับประเทศให้ดี

เมื่อไม่นานมานี้ มีบุคคลสำคัญถึงแก่กรรม ก็ได้ยึดสวนไร่นา มาเป็นของหลวงเสีย บัดนี้ พวกเขาได้ประจักถึงการปกครองด้วยคุณธรรม ของ มหาอาณาจักรจีน ก็มีความประทับใจ และใคร่ยึดถือ เอาเป็นแบบอย่างบ้าง ก็ได้ยกเลิกกฎหมาย เรื่องการยึดเอาทรัพย์สินเป็นของหลวงเสีย บุคคลที่เดินทางมายัง มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง ได้กล่าวอีกว่า ทางครอบครัว ของ พ่อค้าที่ถึงแก่กรรม ได้บริจาคเงินทั้งหมดที่ได้นำกลับไป เพื่อสร้างสถูป ๓ องค์ พร้อมทั้งให้วาดภาพเจ้าเมือง เจ้าป๋อกุย ตั้งไว้ และอธิษฐานขอให้มีอายุมั่น ขวัญยืน ชาวประเทศโพ้นทะเลต่างๆ เมื่อได้ทราบเรื่องนี้ ต่างก็ประทับใจ และมีความเคารพนับถือ เจ้าป๋อกุย กันโดยทั่วหน้า แม้ถึงปัจจุบัน เมื่อคนของ ประเทศต่างๆ นำเครื่องราชบรรณาการ เดินทางผ่านมาถึง เมืองหมิงโจว ก็จะสอบถามถึง สารทุกข์สุกดิบ ของ เจ้าเมืองหมิงโจว เสมอ...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๓)

ปี พ.ศ.๑๗๐๘ พระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ แห่ง อาณาจักรศรีลังกา ยกกองทัพเข้าตี อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม สามารถจับกุม พระเจ้าอลิงสินธุ ไปสำเร็จโทษ ประหารชีวิต

ปี พ.ศ.๑๗๐๙ พระเจ้าไตรภูวนาท(พ.ศ.๑๗๐๓-๑๗๐๙) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) เสด็จสวรรคต ในสงคราม เนื่องจาก กองทัพของ ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) และ ราชอาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้-ภาคใต้) ถือโอกาสส่งกองทัพเข้ายึดครอง ราชธานี กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ของ ราชอาณาจักรคามลังกา(ขอม) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าชัยอินทวรมันที่-๔(พ.ศ.๑๗๐๙-๑๗๑๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เสด็จมาจาก อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้-ภาคใต้) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ในรัชกาลถัดมา เป็นเหตุให้ ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) และ ราชอาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้-ภาคใต้) จนถึงปี พ.ศ.๑๗๑๒ อีกครั้งหนึ่ง

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๗๘)

ปี พ.ศ.๑๗๐๙ พระเจ้าไตรภูวนาท(พ.ศ.๑๗๐๓-๑๗๐๙) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) เสด็จสวรรคต ในสงคราม พระเจ้าชัยอินทวรมันที่-๔(พ.ศ.๑๗๐๙-๑๗๑๒) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เสด็จมาจาก อาณาจักรเยตน้ำ(เวียตนามใต้-ภาคใต้) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ในรัชกาลถัดมา

 ปี พ.ศ.๑๗๐๙ พระเจ้าชัยอินทวรมันที่-๔(พ.ศ.๑๗๐๙-?) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง ร่วมกับอาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าชคตะศรีธรรมโศก(พ.ศ.๑๖๙๘-๑๗๐๙) แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ สวรรคต ในสงคราม พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) กรุงครามปุระ ได้ส่งกษัตริย์ทมิฬโจฬะ มาปกครอง อาณาจักรละโว้ ในรัชกาลถัดมา

ปี พ..๑๗๑๐ พระเจ้าชัยสูร(พ.ศ.๑๖๕๕-๑๗๑๐) หรือ พระเจ้าจันสู หรือ พระเจ้าอลองคสิถุ ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต เนื่องด้วยถูกพระราชโอรส ลอบสังหาร และ พระเจ้านรสูร(พ.ศ.๑๗๑๐-๑๗๑๓) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลถัดมา

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๘)

ปี พ.ศ.๑๗๑๐ พระเจ้าชัยหริวรมันที่ ๑ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ พระเจ้าชัยอินทรวรมัน ที่ ๔ แห่ง เมืองครามปุระ อดีตขุนนางผู้สูงศักดิ์ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๙)

ปี พ.ศ.๑๗๑๐ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงครามปุระ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรโจฬะ(เจนละ) ส่งคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ราชวงศ์ซ้องใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จดหมายเหตุจีน ได้มีบันทึกไว้อย่างสั้นๆ มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๗๑๐ สมัยราชวงศ์ซ้อง มี มหาจักรพรรดิ(พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๔) แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ(เจนละ) กรุงครามปุระ ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูตได้กราบทูลต่อ ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) ว่า ประเทศของเขา ทางทิศเหนือ ติดต่อกับ อาณาจักรจามปา(จันเฉง-ภาคเหนือ) ทางทิศใต้ และ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทะเล ทางทิศตะวันตก จด อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม และ ทางทิศใต้ จด อาณาจักรเกียโลหิต(สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์) ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๙ และ ๑๙๙)

.ศ.๑๗๑๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีไชยโคปะ(ศรีไชยา) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เสด็จ 

Visitors: 54,293