รัชกาลที่ ๓๙ มหาจักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๖๙๘-๑๗๐๗

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๓๙ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๖๙๘-๑๗๐๗

 

ปี พ.ศ.๑๖๙๘ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อมาณาพร เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต โดยมี พ่อศรีไชยา(ไชยโคปะ) เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อศรีพรหมทัต เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๓๙  

ปี พ.ศ.๑๖๙๘ มหาราชาชัยหริวรมันที่ ๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้องใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จดหมายเหตุจีน ได้มีบันทึกไว้อย่างสั้นๆ มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๙)

ปี พ.ศ.๑๖๙๘ พระเจ้ายโสธรวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๙๘-๑๗๐๓) แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแด่ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน เมื่อ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๑๖๙๘ จดหมายเหตุจีน ในหนังสืออี้ไห่ ประมวลโดย หวางอิ้งหลิน บรรพ ๑๕๔ บันทึกว่า...

...วันที่ ๒๙ เดือน ๑๑ ปีรัชศก เส้าชิงที่ ๒๕(วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๑๖๙๘) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู ได้ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ถวายช้าง ๒ เชือก ฯลฯ...

(ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๓)

ปี พ.ศ.๑๖๙๙ มหาจักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จดหมายเหตุจีน ได้มีบันทึกไว้อย่างสั้นๆ สามารถแปลได้ว่า...

...จาวซิ่งศก ปีที่ ๒๖ (.ศ.๑๖๙๙) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต(ซี-ลี่-หมา-เสีย-หลัว-ถัว) พร้อมกับได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ ตามราชประเพณี ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ดำรัสว่า ...ชาวแดนไกลมานอบน้อม เรายินดีในความจงรักภักดี มิได้เห็นประโยชน์จากเครื่องบรรณาการดอก...มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ได้ฝาก ไข่มุก มามอบให้กับ สมุหนายกฉิมกุ้ย ด้วย แต่ขณะนั้น สมุหนายกฉินกุ้ย ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ทาง ฮ่องเต้เกาจง จึงทรงรับไว้แทน...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๑ )

(แปลโดย นายทองแถม นาถจำนง)

ปี พ.ศ.๑๗๐๓ มหาราชาชัยหริวรมันที่ ๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองปานฑุรัง ราชธานี ของ ราชอาณาจักรเวียตน้ำ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ หลังจากทำการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลา ๕ ปี

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๘)

ปี พ.ศ.๑๗๐๓ พระเจ้าชคตะศรีธรรมโศก(พ.ศ.๑๖๙๓-๑๗๐๙) แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงนครธม กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พระเจ้ายโสวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๙๘-๑๗๐๓) แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา กรุงพระนครหลวง(นครธม) สวรรคต ในสงคราม เจ้าชายชัยวรมันที่ ๗ พระราชโอรส ของ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒ สามารถหลบหนีไปยัง อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าไตรภูวนาถ(พ.ศ.๑๗๐๓-๑๗๐๙) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรกัมพูชา ในรัชกาลถัดมา

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๘๕)

      (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๘)

ปี พ.ศ.๑๗๐๓ ได้เกิดจลาจลในดินแดน ของ ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-โจฬะ) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) จารึกที่ ปราสาทบันทายฉะมา จารึกว่า พวกก่อกบฏตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีชื่อว่า วาหุ ภายใต้การนำของหัวหน้ากบฏ ชื่อ พระเจ้าไตรภูวนาทิตย์ ราชวงศ์ขอมไทย ได้ลอบปลงพระชนม์ พระเจ้ายโสวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๙๘-๑๗๐๓) สวรรคต พระเจ้าไตรภูวนาท(พ.ศ.๑๗๐๓-๑๗๐๙) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงนครวัด ในรัชกาลถัดมา

 (เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๗๘)

      (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๘)

ปี พ.ศ.๑๗๐๔ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ทำสงครามกับ อาณาจักรจุรเชน อีกครั้งหนึ่ง เพื่อยึดครอง ดินแดนแม่น้ำแยงซีเกียง กลับคืน แต่ผลของสงคราม กองทัพเรือของ มหาอาณาจักรจีน ถูกระเบิดทำลาย จมลงทั้งสิ้น ๖๐๐ ลำ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๖)

ปี พ.ศ.๑๗๐๕ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง พ่ายแพ้สงครามต่อ อาณาจักรจุรเชน จึงถูกกดดันให้สละราชย์สมบัติ พระราชโอรสบุญธรรม มีพระนามว่า จ้าวเซิ่น แห่ง ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ กรุงนานกิง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีพระนามว่า ฮ่องเต้เซี่ยวจง(พ.ศ.๑๗๐๕-๑๗๓๒) เป็นรัชกาลที่ ๒ ของ ราชวงศ์ซ้อง-ใต้

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๘๘)

 

ปี พ.ศ.๑๗๐๗ กองทัพ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต (พระชนมายุ ๔๙ พรรษา) สวรรคต ในสงคราม(จากหลักฐานของศรีลังกา) ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระเจ้ามหาพรหมทัต วรมะเทวะ

Visitors: 54,229