รัชกาลที่ ๓๘ มหาจักรพรรดิพ่อมาณาพร กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๖๖๔-๑๖๙๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๓๘ 

มหาจักรพรรดิพ่อมาณาพร 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๖๖๔-๑๖๙๘

 

      ปี พ.ศ.๑๖๖๔ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อมาณาพร ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อมาณาพร โดยมี พ่อศรีมหาพรหมทัต เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อศรีไชยา(ไชยโคปะ) เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๓๘  

      ปี พ.ศ.๑๖๖๖ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร) กรุงพระนคร(นครวัด) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี ราชอาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อ้างว่า มหาราชา แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ให้ที่พักพิง แก่ ชนชาติไทย ชาวขอม ชาวจามปาศักดิ์ ที่หลบหนีออกไปจาก ราชอาณาจักรคามลังกา สร้างกองทัพก่อกบฏ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

ปี พ.ศ.๑๖๖๗ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี กบฏ ชนชาติไทย ในดินแดน ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

      ปี พ.ศ.๑๖๖๗ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง โดยนำทหาร ๒๐,๐๐๐ คน เข้าโจมตี เมืองแง่อัน ในฤดูใบไม้ร่วง แต่กองทัพของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ถูกขับไล่ออกจาก เมืองแง่อัน ในฤดูใบไม้ร่วง โดย แม่ทัพกองบิน แม่ทัพ ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ทำการซุ่มตีกองทัพของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงต้องถอยทัพกลับ

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

ปี พ.ศ.๑๖๖๗ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ส่งกองทัพเรือ ในฤดูใบไม้ร่วง มีเรือสำเภา มากกว่า ๗๐๐ ลำ ออกไปทำการ ปล้นสะดม เมืองต่างๆ ทางชายฝั่งทะเล ของ แคว้นถ่านหัว ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง แล้วถอยทัพกลับ

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

ปี พ.ศ.๑๖๖๘ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ถูกกดดันให้สละราชย์สมบัติ พระราชโอรส มีพระนามว่า ฉินจง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีพระนามว่า ฮ่องเต้ฉินจง(พ.ศ.๑๖๖๘-๑๖๗๐) เป็นรัชกาลสุดท้าย ของ ราชวงศ์ซ้อง

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๘๒)

ปี พ.ศ.๑๖๖๘-๑๖๗๓ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ร่วมกับ กองทัพทมิฬโจฬะ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อย่างต่อเนื่อง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

      ปี พ.ศ.๑๖๖๙ พระเจ้าหริวรมันที่-๕ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ฉินจง(พ.ศ.๑๖๖๘-๑๖๗๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗)

ปี พ.ศ.๑๖๗๐ ฮ่องเต้ฉินจง(พ.ศ.๑๖๖๘-๑๖๗๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ถูกกดดันให้สละราชสมบัติ พระราชโอรส มีพระนามว่า จ้าวโก แห่ง ราชวงศ์ซ้องใต้ กรุงนานกิง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีพระนามว่า ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) เป็นรัชกาลแรก ของ ราชวงศ์ซ้อง-ใต้

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๘๘)

ปี พ.ศ.๑๖๗๐ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน รู้จักใช้อาวุธ ระเบิด มาใช้ในการทำสงคราม ทั้งทางบก และทางน้ำ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้องใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จึงสั่งให้ สร้างกองทัพเรือขนาดใหญ่ เพื่อทำสงครามรุกราน อาณาจักรต่างๆ ทันที

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๖๗๐ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้องใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง รับสั่งให้ตั้งกองทัพเรือขึ้นใหม่ โดยตั้งกองทัพเรืออิสระขึ้นใหม่ ติดตั้ง อาวุธปืน และ ระเบิด โดยในระระยะแรกๆ มี ๑๑ กองเรือ มีทหารเรือ ๓,๐๐๐ คน ได้ขยายกองเรือ ออกเป็น ๒๐ กองเรือ เมื่อปี พ.ศ.๑๖๘๐ มีทหารเรือถึง ๕๒,๐๐๐ คน

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๙)

ปี พ.ศ.๑๖๗๑ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปสร้างสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

      ...ปี พ.ศ.๑๖๗๑ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เกาจง ของ มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๖๗๕) ได้ประทานตำแหน่งอันสูง แก่ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ(เขมร) มีตำแหน่งเป็น จินพูปินเชน ฮ่องเต้เกาจง ถือว่า มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ(เขมร) ทรงเป็นเจ้าประเทศราช ผู้ยิ่งใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง...

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

      ปี พ.ศ.๑๖๗๓ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าปราบปราม อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับบังคับให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อยู่ภายใต้ การปกครอง ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) และต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ อาณาจักรไตเวียต ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

      ปี พ.ศ.๑๖๗๔ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒  แห่ง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) เข้าทำสงครามโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ผลของสงคราม ต้องถอยทัพกลับมา และต้องหันกลับไปส่งเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ใหม่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗)

ปี พ.ศ.๑๖๗๔ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรเจนละ(ขอม-เขมร)ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปสร้างสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

       “...ปี พ.ศ.๑๖๗๔ มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้เกาจง ทรงรับสั่งให้ แก้ไขความยุ่งยากลำบากทางการค้า ระหว่าง อาณาจักรเจนละ(เขมร) กับ มหาอาณาจักรจีน ให้ได้รับการพิจารณาแก้ไข ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๘)

      ปี พ.ศ.๑๖๗๔ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปให้กับ จักรพรรดิหลีถานตอง แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ใหม่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

ปี พ.ศ.๑๖๗๕ ชาวอาหรับชื่อ ฮารากี ได้เดินทางมาที่ ภูเขาสุวรรณคีรี และได้บันทึกหลักฐานต่างๆ ไว้เป็นหลักฐาน มีบันทึกถึง เรื่องราวต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีบันทึกว่า...

....เมื่อใดก็ตามที่เกิดการกบฏ หรือประชาชนในบ้านเมืองถูกกดขี่ หรือเกิดความยุ่งเหยิงต่างๆ ขึ้นในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน หรือ ประเทศอินเดีย ทั้ง ชาวจีน และชาวอินเดีย ก็มักจะอพยพหลบภัยความเดือดร้อน จากบ้านเมืองของตนเอง เข้ามาตั้งรกราก และทำมาหากิน ในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซาโปก) โดยมาก มักจะอพยพเข้ามาตั้งรกรากอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ ที่เป็นดินแดนภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซาโปก) สำหรับชาวจีน ที่อพยพเข้ามา มักจะมีความประพฤติดี มีมารยาทอ่อนน้อม สามารถติดต่อคุ้นเคยกับชาวพื้นเมือง สามารถอยู่ด้วยกัน ด้วยความยุติธรรม ชาวจีน จึงได้รับความสะดวกในการประกอบกิจการงานต่างๆ ด้วยเหตุนี้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซาโปก-ไชยา) จึงมีพลเมืองเป็นจำนวนมาก ชาวต่างชาติ ชาติต่างๆ ที่เดินทางมาค้าขาย มักจะแวะ มาพักอยู่ตาม เมืองท่าต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซาโปก-ไชยา) อยู่เสมอ...

ปี พ.ศ.๑๖๗๕ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ทำสงครามกับ อาณาจักรจุรเชน เป็นสงครามใหญ่ครั้งแรกที่มีการใช้ อาวุธปืน และ ระเบิด ระหว่างกัน ผลของสงคราม มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง ต้องเสียดินแดนลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ไปหมดสิ้น ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ต้องทำสัญญาสงบศึก และต้องยอมส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ อาณาจักรจุรเชน เพื่อขอยุติสงคราม

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๕๖)

      ปี พ.ศ.๑๖๗๕ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(ขอม) ได้ร่วมกับ กองทัพทมิฬโจฬะ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง แต่ถูกขับไล่ออกไป

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

      ปี พ.ศ.๑๖๗๘ พระเจ้าวรรเมศวร แห่ง อาณาจักรเกเดรี กรุงเกเดรี เกาะชวา ขึ้นครองราชย์สมบัติ

      ปี พ.ศ.๑๖๗๙ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปให้กับ จักรพรรดิหลีถานตอง แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ใหม่ เนื่องจากเกรงว่า อาณาจักรไตเวียต จะทำสงคราม ปราบปราม

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

ปี พ.ศ.๑๖๗๙ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าปราบปราม ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับบังคับให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ จักรพรรดิ หลีถานตอง แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๖๗๙

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

      ปี พ.ศ.๑๖๘๒ พระเจ้าหริวรมันที่-๕ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต พระเจ้าชัยอินทรวรมัน ที่-๓ แห่ง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗)

      ปี พ.ศ.๑๖๘๔ พระเจ้าชัยอินทรวรมัน ที่-๓ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ร่วมกับ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) แต่ถูกกองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ถือ ยกกองทัพเข้าปราบปรามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗)

      ปี พ.ศ.๑๖๘๘ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ผลของสงคราม กองทัพของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สามารถยึดครอง เมืองวิชัย(เมืองบินดิน) อันเป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนสำเร็จ ส่วน พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้สูญหายไประหว่างการทำสงคราม ครั้งนี้ หลังจากนั้น พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ได้ตั้งพระองค์เอง เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นส่วนหนึ่ง ของ ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ด้วย จารึกปราสาทบ้านธาตุ ได้จารึกว่า...

       ...พระราชา แห่ง ประเทศอื่นๆ ที่พระองค์ต้องการจะทำสงครามปราบปราม ก็ได้เดินทางมาถวายเครื่องราชบรรณาการ พระองค์(พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒) ได้เสด็จไปเองในประเทศแห่งศัตรู และได้ทำให้เกียรติยศ แห่ง พระรฆุ(เชื้อราชวงศ์ของ จตุคามรามเทพ หมายถึง มหาราชาต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ) ผู้มีชัยชนะ ต้องลดหย่อนลง...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗ และ ๑๙๕-๑๙๖)

      ปี พ.ศ.๑๖๘๘ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ผลของสงคราม ถูกต่อต้าน ต้องถอยทัพกลับมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๘)

ปี พ.ศ.๑๖๙๐ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) ได้ส่ง มหาราชาหริเทพ ซึ่งเป็น พระอนุชา ของ อัครมเหสี ของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ จาก อาณาจักรคามลังกา ไปปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้-ภาคเหนือ) กรุงวิชัย ส่วนเชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา ภาคใต้ ได้มอบให้ พระเจ้ารุทรวรมันที่ ๔ ปกครองอยู่ที่  อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้-ภาคใต้) กรุงปาณฑุรัง เป็นมหาราชาผู้ปกครอง ทำสงครามกอบกู้เอกราช กลับคืน

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๘ และ ๑๙๖)

      ปี พ.ศ.๑๖๙๐ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปสร้างสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๘)

      ปี พ.ศ.๑๖๙๐ พระเจ้ารุทรวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้-ภาคใต้) สวรรคต พระเจ้าชัยหริวรมัน ที่ ๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้-ภาคใต้) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ใช้ เมืองปาณฑุรังค์ เป็นฐานที่มั่นในการทำสงครามกู้ชาติ กลับคืน ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๑๖๙๒

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๖)

      ปี พ.ศ.๑๖๙๒ พระเจ้าชัยหริวรมัน ที่ ๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงปาณฑุรัง ได้ รวบรวมชาวขอม , ชาวจามปา และ ชาวเสียม ตั้งกองทหารขึ้น นำโดย แม่ทัพสังกร เข้าทำสงครามกู้ชาติ สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองวิชัย ราชธานี กลับคืนเป็นผลสำเร็จ ศิลาจารึก เมืองมิเซิน กล่าวถึงสงครามกู้ชาติ ครั้งนั้นว่า...

       ...กองทัพของ แม่ทัพสังกร ได้พ่ายแพ้ไปในปี พ.ศ.๑๖๙๑ บนที่ราบแห่ง ราชปุระ กองทัพขอม(อาณาจักรคามลังกา) อีกกองทัพหนึ่ง ซึ่งเข้มแข็งยิ่งกว่า ๑๐๐ เท่า ก็ต้องพ่ายแพ้กองทัพของ พระเจ้าหริวรมันที่ ๑ ณ เมืองวีรปุระ เช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ จึงทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าชายพระองค์หนึ่ง ทรงมีพระนามว่า หริเทพ ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ มเหสีพระองค์แรกของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ เป็นมหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา กรุงวิชัย พระเจ้าหริวรมัน ที่ ๑ แห่ง อาณาจักรจามปา กรุงปาณฑุรัง ได้ทรงยกกองทัพเข้าโจมตี กรุงวิชัย และ ที่ราบแห่ง มหิศะ ได้ทรงมีชัยในสงคราม สามารถสังหาร มหาราชาหริเทพ สำเร็จ พระองค์สามารถทำลาย ทั้งบรรดาเสนาบดี และกองทัพ ของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ให้ต้องสูญสิ้นไป พระเจ้าหริวรมันที่ ๑ จึงได้เสด็จเข้าสู่ราชธานี กรุงวิชัย และได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๒ เป็นการสิ้นสุดการครอบครองของ ขอม เหนือ อาณาจักรจามปา ลงทันที..

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๘ และ ๑๙๖)

      ปี พ.ศ.๑๖๙๒ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) แห่ง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้ส่ง มหาราชาหริ(พระเจ้าชัยหริวรมันที่ ๑) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงปาณฑุรัง ในรัชกาลถัดมา อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) จึงกลายเป็นอีก อาณาจักรหนึ่ง ภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) อีกครั้งหนึ่ง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๘)

      ปี พ.ศ.๑๖๙๓ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามรุกราน อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งใกล้ฤดูฝน อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึง ฤดูกาล จึงต้องถอยทัพกลับ หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศเวียตนาม บันทึกว่า...

       ...ปี พ.ศ.๑๖๙๓ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) แห่ง อาณาจักรขอม(คามลังกา) ได้ส่งกองทัพเข้ารุกราน อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ครั้งใหม่ โดยทางบก และเป็นผลร้ายกว่าที่เคยเป็นมาแล้ว การยกกองทัพครั้งนี้ กระทำในฤดูใบไม้ผลิ โดยไม่คำนึงถึง ฤดูฝน เมื่อเดินทัพเข้าสู่ เดือนกันยาย ถึง ตุลาคม เกิดฝนตกอย่างหนัก จึงสร้างความเสียหายให้กับกองทัพของ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒ เป็นอันมาก ทหารในกองทัพส่วนใหญ่ ล้วนเจ็บป่วยเป็นไข้ ในขณะที่เดินทัพผ่าน ภูเขา วูแวน ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทัพเข้าสู่ ทิวเขาญวน และเมื่อเดินทัพมาถึง เมืองแง่อัน กองทัพขอม ก็อ่อนแอ ไม่สามารถทำการรบพุ่งได้ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒ ต้องสั่งถอยทัพกลับ โดยไม่มีการรบพุ่ง...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๖)

      ปี พ.ศ.๑๖๙๓ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นตาเกี๋ย ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) กลับคืน ผลของสงคราม พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) พ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับมา

ปี พ.ศ.๑๖๙๓ มหาราชาชัยหริวรมันที่ ๑ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงปาณฑุรัง ใช้โอกาสในขณะที่ เกิดสงคราม ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) โดยมีกองทัพ อาณาจักรคามลังกา(ขอม) เข้าไปช่วยเหลือกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงวิชัย ราชธานี ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แต่ ต่อมา อาณาจักรไตเวียต ได้ส่งกองทัพมา ทำสงครามปราบปราม ศิลาจารึกเมืองมิเชิน จารึกว่า...

...พระราชาแห่งพวกยวนะ(ยวน-อาณาจักรไตเวียต) เมื่อทรงทราบว่า มหาราชา แห่ง อาณาจักรกำพูชา ได้ทรงสร้างอุปสรรคให้แก่ พระเจ้าชัยหริวรมัน จึงได้ทรงแต่งตั้ง เจ้าชายแห่ง อาณาจักรจามปา ผู้มีพระนามว่า วงศ์ราช ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา พร้อมกับได้พระราชทาน เสนาบดีชาวยวนะ ให้หลายคน รวมทั้งกองทัพของ ชาวยวนะ ที่กล้าหาญ อย่างยิ่ง เป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ คน และ ๑๐๐๐...... กองทัพนี้ ได้รุกลงมาจนถึงที่ราบ แห่ง ทัลวา ดังนั้น พระเจ้าชัยหริวรมัน จึงได้นำกองทัพทั้งหมดแห่ง เมืองวิชัย เข้าต่อสู้กัน กองทัพทั้งสองฝ่ายได้สู้รบกันอย่างดุร้าย พระเจ้าชัยหริวรมัน ก็ทรงมีชัยชนะในสงคราม กับ มหาราชาวงศ์ราช กองทัพพวกยวนะ ได้ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๘)

      ปี พ.ศ.๑๖๙๓ พระยาอาทิตย์ราช แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงหิรัญภุญชัย ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรลานนา

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๖๔)

      ปี พ.ศ.๑๖๙๔ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) เสด็จสวรรคต ในสงคราม หลังจากนั้น พระเจ้าธรณีนทรวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๙๔-๑๖๙๘) ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา เป็น พระเจ้าน้า หรือ พระอนุชา ของ พระนางนเรนทรลักษมี ซึ่ง เป็นพระราชมารดา ของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรเจนละ(ขอม) ซึ่งอาจจะมิได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ณ เมืองนครธม ในรัชกาล ถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๘)

      (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๘)

ปี พ.ศ.๑๖๙๔ มหาราชาชัยหริวรมันที่ ๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองอมราวดี ใน แคว้นกวางนัม กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๘)

ปี พ.ศ.๑๖๙๖ มหาราชา พระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ แห่ง อาณาจักรศรีลังกา ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีลังกา เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๑๐)

ปี พ.ศ.๑๖๙๗ ชาวอาหรับชื่อ เอดรีซี ได้เขียนบทความขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๖๙๗ ได้กล่าวถึง ดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ว่า...

...กล่าวกันว่า เมื่อเกิดกบฏขึ้นมาในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน หรือ เกิดการกดขี่ ขึ้น และ เกิดความยุ่งยากขึ้นในดินแดน ประเทศอินเดีย ชาวจีน ก็จะอพยพเข้ามาตั้งรกราก และทำมาค้าขาย ในดินแดนผืนแผ่นดินใหญ่ (สุวรรณภูมิ) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) และในดินแดนหมู่เกาะต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ด้วย ชาวจีน จะทำการติดต่อค้าขาย กับ ชาวพื้นเมือง ทั้งนี้ก็ด้วยความยุติธรรม ความประพฤติดี มีประเพณีอันอ่อนน้อม จะได้รับความสะดวกในกิจการงาน ด้วยเหตุนี้ เกาะต่างๆ จึงมีพลเมืองชาวจีน เป็นจำนวนมาก และมีชาวต่างประเทศ เดินทางมาแวะพัก เสมอ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๑-๖๒)

ปี พ.ศ.๑๖๙๗ พระเจ้าธรณีนทรวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๙๔-๑๖๙๘) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ เป็นผลสำเร็จ แล้วประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรโจฬะ-ละโว้(เจนละ-หลอหู) ขึ้นแข่งขันกับ สหราชอาณาจักรเสียม-ลังกา และเริ่มส่งคณะราชทูต ไปขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง

ปี พ.ศ.๑๖๙๘ สหราชอาณาจักรโจฬะ-ละโว้(เจนละ-หลอหู) ได้ส่งคณะราชทูต ไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๖๗๐-๑๗๐๕) ราชวงศ์ซ้อง-ใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงนานกิง จดหมายเหตุจีน ของ ม้าต้วนหลิน บันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๖๙๘ สมัยราชวงศ์ซ้อง มี มหาจักรพรรดิ(พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒) แห่ง สหราชอาณาจักรโจฬะ-ละโว้(เจนละ-หลอหู) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูตได้กราบทูลต่อ ฮ่องเต้เกาจง ว่า ประเทศของเขา ได้รวมกับ อาณาจักรละโว้ และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า สหราชอาณาจักรโจฬะ-ละโว้(เจนละ-หลอหู) เรียบร้อยแล้ว...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๙)

      (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๘)

ปี พ.ศ.๑๖๙๘ พระยาอาทิตย์ราช ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง อาณาจักรลานนา กรุงหิรัญภุญชัย ได้รับคำสั่งจาก จักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต ให้ร่วมส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ กลับคืนเป็นผลสำเร็จ แต่ พระยาสรรพสิทธิ์ ราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรละโว้ ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรลานนา กรุงหิรัญภุญชัย ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ เช่นกัน มีกษัตริย์ ราชวงศ์มอญ จึงได้เข้าปกครอง อาณาจักรลานนา กรุงหิรัญภุญชัย ต่อมา อีก ๗ พระองค์

(สวัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๖๔-๖๕)

ปี พ.ศ.๑๖๙๘ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มอบให้ จักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต แห่ง นครศรีธรรมราช ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๙๓-๑๖๙๘) แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู สวรรคต ในสงคราม ภายหลังสงคราม จักรพรรดิพ่อศรีมหาพรหมทัต ได้โปรดเกล้าให้ พระยาอาทิตย์ราช ราชวงศ์สุริยวงศ์ เข้าปกครอง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๖๙๘ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๙๓-๑๖๙๘) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู(อาณาจักรคามลังกา) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) สวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงละโว้ พระเจ้ายโสวรมันที่-๒(พ.ศ.๑๖๙๘-๑๗๐๙) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรคามลังกา(ขอม-เขมร) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ในรัชกาลถัดมา ศิลาจารึก กล่าวว่า...

...พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๙๓-๑๖๙๘) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู(อาณาจักรคามลังกา) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) สวรรคต ในสงคราม เนื่องจากได้ยกกองทัพไปทำสงครามปราบกบฏ ณ ดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ...

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๗๗)

 

ปี พ.ศ.๑๖๙๘ มหาจักรพรรดิพ่อมาณาภรณ์ (พระชนมายุ ๖๔ พรรษา) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เสด็จสวรรคต ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระเจ้ามาณาภรณ์เทวะตุงคะ

Visitors: 54,203