รัชกาลที่ ๓๗ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๖๓๖-๑๖๖๔

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๓๗ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๖๓๖-๑๖๖๔

 

ปี พ.ศ.๑๖๓๖ เมื่อ มหาจักรพรรดิ พ่อกัสปะ สวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี (พระชนมายุ ๒๖ พรรษา) พระราชโอรส ของ พระนางจันทราวดี กับ พระเจ้ามหินทรที่- (ศรีลังกา) ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี โดยมี นายกพ่อมาณาภรณ์ เป็น จักรพรรดิ และมี นายกพ่อศรีพรหมทัต เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นรัชกาลที่ ๓๗

ปี พ.ศ.๑๖๓๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี ได้ประกาศให้ อาณาจักรศรีลังกา เป็นอาณาจักรหนึ่ง ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์

ปี พ.ศ.๑๖๓๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี ได้ส่งคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เพื่อสร้างความสัมพันธไมตรี ถวายเครื่องราชบรรณาการ และ พระราชสาส์น แด่ ฮ่องเต้เจ๋อจง(พ.ศ.๑๖๒๘-๑๖๔๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๖๓๗ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี ได้ส่งคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เพื่อสร้างความสัมพันธไมตรี ถวายเครื่องราชบรรณาการ และ พระราชสาส์น แด่ ฮ่องเต้เจ๋อจง(พ.ศ.๑๖๒๘-๑๖๔๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๖๓๙ เกิด สงครามครูเสด ครั้งที่ ๑ ในทวีปยุโรป ระหว่าง ชาวคริสต์ กับ ชาวมุสลิม สืบเนื่องมาจาก ในปี พ.ศ.๑๖๑๙ อาณาจักรตรุกี ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงยูริซาเล็ม ไปครอบครองเป็นผลสำเร็จ แล้วขัดขวาง ชาวคริสเตียน เข้าไปจาริกแสวงบุญ ณ กรุงยูริซาเล็ม จนกระทั่งในปี พ.ศ.๑๖๓๙ ชาวคริสเตียน ได้รวมตัวกันประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ยกกองทัพเข้าฆ่าฟันผู้นับถือศาสนาอิสลาม จำนวนมาก และต่อมาได้ยกกองทัพเข้าโจมตี กรุงคอนสแตนติโนเปิล ราชธานี ของ อาณาจักรเตอร์กี ผลของสงคราม ชาวคริสเตียน ถูกฆ่าตาย จำนวนมาก ที่เหลือรอดตายเพียงไม่กี่คน

(ร.ศ.นันทนา กปิลกาญจน์ ประวัติศาสตร์ และ อารยธรรมโลก หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๗)

ปี พ.ศ.๑๖๔๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี ได้ส่งคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เพื่อสร้างความสัมพันธไมตรี ถวายเครื่องราชบรรณาการ และ พระราชสาส์น แด่ ฮ่องเต้เจ๋อจง(พ.ศ.๑๖๒๘-๑๖๔๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๖๔๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี ได้ส่งคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เพื่อสร้างความสัมพันธไมตรี ถวายเครื่องราชบรรณาการ และ พระราชสาส์น แด่ ฮ่องเต้เจ๋อจง(พ.ศ.๑๖๒๘-๑๖๔๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

      ปี พ.ศ.๑๖๔๒ พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๒ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งยอมส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ อาณาจักรไตเวียต มาโดยตลอด ได้เริ่มก่อกบฏ โดยส่งกองทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นทางภาคเหนือ จำนวน ๓ แว่นแคว้น ซึ่งสูญเสียให้กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เมื่อปี พ.ศ.๑๖๑๒ แต่สามารถยึดครองมาได้เพียง ๒-๓ เดือน ก็ถูกอาณาจักรไตเวียต ยึดครองกลับคืน

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗)

ปี พ.ศ.๑๖๔๕ ฮ่องเต้เจ๋อจง(พ.ศ.๑๖๒๘-๑๖๔๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีพระชนมายุ ๒๓ พรรษา ได้เสด็จสวรรคต พระอนุชา มีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา มีพระนามว่า ฮุ่ยจง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีพระนามว่า ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) เรียกว่า รัชสมัย แห่ง ราชวงศ์ซ้อง

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๘๐)

ปี พ.ศ.๑๖๔๕ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ได้สร้างจารึกไว้ที่ หลุมศพ บนเกาะชวา เรียกชื่อว่า จารึกเลรัน แสดงให้เห็นถึงการเข้ามา ของ ศาสนาอิสลาม ในดินแดนเกาะชวา เกิดขึ้นแล้ว

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๖๔๖ มหาราชากยันชิตถา แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เป็นคณะราชทูตคณะแรก ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ที่เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๖)

ปี พ..๑๖๔๙ มหาราชากยันชิตถา แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน จดหมายเหตุจีนได้บันทึกว่า...

...มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องบรรณาการ และได้กราบทูลต่อ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ของ มหาอาณาจักรจีน ว่า อาณาจักรต่างๆ ของ ทมิฬโจฬะ ทั้งหมด ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) เรียบร้อยแล้ว...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๖)

ปี พ.ศ.๑๖๕๐ พระเจ้าธรณีนธร(พ.ศ.๑๖๒๓-๑๖๕๐) หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครวัด) เสด็จสวรรคต ต่อมา พราหมณ์ทิวากร ได้ทำพิธีราชาภิเษก พระเชษฐา คือ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๑ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรคามลังกา ในรัชกาลถัดมา จารึกพนมสันดัก และ จารึกปราสาทบ้านธาตุ จารึกว่า...

...โดยมิได้ปรารถนาราชสมบัติ เมื่อมหาราชาผู้เป็นพระอนุชา สวรรคต แล้ว ด้วยความเมตากรุณาอย่างแท้จริง ประกอบกับได้รับคำวิงวอนจากปวงชน ซึ่งไม่มีผู้คุ้มครอง พระองค์จึงได้ทรงปกครองแผ่นดิน ด้วยความระมัดระวัง...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๓)

ปี พ.ศ.๑๖๕๐ ปรากฏคำว่า เสียม ในจารึกรูปปั้นที่ นครวัด

(พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย หน้าที่ ๑๑๕ และ ๑๒๒)

ปี พ.ศ.๑๖๕๐ กำเนิด จดหมายเหตุจาวจูกัว บันทึกโดย เจาจูกัว แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโดย เพรตเดริค เฮิท และ รอคฮิล ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ ซึ่งได้กล่าวถึง เรื่องราวของเมืองต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ และยังกล่าวถึงเมืองนครหลวง  และที่ตั้งพระราชวังหลวง ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี อีกด้วยว่า เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) มีการกล่าวถึง ตำนานการกำเนิด ภูเขาสุวรรณคีรี และกล่าวถึงถ้ำใหญ่  ของ ภูเขาสุวรรณบรรพต ว่า มีน้ำเค็ม ซึ่งมีความเค็มเท่ากับน้ำทะเล ขังอยู่ในถ้ำใหญ่ ตลอดเวลา และยังกล่าวถึง โซ่เรือที่ปากอ่าวศรีโพธิ์ (บริเวณปากคลองท่าปูน) ที่ใช้ในการควบคุมการเข้าออก ของ เรือสำเภา เพื่อการควบคุมการเก็บภาษี และ  ความปลอดภัยของศูนย์กลางอำนาจรัฐ บริเวณที่ตั้งพระราชวังหลวง อีกด้วย

ปี พ.ศ.๑๖๕๐ ชาวจีน ชื่อ จาวจูกัว อาชีพเดิม เป็นนายด่านศุลกากร ไม่เคยเดินทางมาสำรวจอาณาจักรศรีโพธิ์ ด้วยตนเอง แต่ได้รวบรวมเรื่องราวของ อาณาจักรศรีโพธิ์ เขียนไว้ใน หนังสือ จู-ฟัน-เจ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเมืองต่างๆ และ เมืองนครหลวง ซึ่งได้พยายามนำมาแปลทั้งหมด แต่ในที่นี้ จะนำเพียงบางเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมากล่าวถึง เท่านั้น มีเนื้อหาที่กล่าวไว้ว่า

กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) เป็น ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ระหว่าง อาณาจักรเจนละ(เขมร) กับ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ช้า(โชโป-บอร์เนียว) กรุงสานโพธิ์ (ซานโฟชิ-ไชยา) เป็น ราชธานี ทำหน้าที่ปกครอง อาณาจักรต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๑๕ อาณาจักร กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) ตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ อยู่บนฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ อาณาจักรจามปา(ชวนชู) อีกด้านหนึ่ง ของ ฝั่งทะเล เป็น แคว้นพังงา(ปังงา) ราชธานี กรุงสานโพธิ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของ แคว้นพังงา(ปังงา) ด้วย

ฤดูหนาวของ กรุงสานโพธิ์(สานโฟชิ-ไชยา) มีระยะเวลา มีไม่เกิน ๑ เดือน สามารถใช้เวลาในการเดินทางจาก กรุงสานโพธิ์ ไปยัง เมืองลิงยามูน ใช้เวลาไม่เกิน ๑ เดือน หนึ่งในสามของเรือสำเภาค้าขาย จะต้องผ่าน ราชธานี กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ด้วย

ประชาชนส่วนใหญ่ในราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ จะใช้นามสกุล แซ่พวก (เนื่องจาก ชาวไทย มักจะใช้คำพูดถึงผู้อื่น โดยใช้คำสรรพนาม คำว่า พวก นำหน้า) กำแพงเมืองของ ราชธานี กรุงสานโพธิ์ ถูกสร้างโดยอิฐ มีความยาวโดยรอบประมาณ ๑๗ ลี้(ประมาณ ๘ กิโลเมตร)

มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) จะเสด็จโดยทางเรือ มีร่ม ทำด้วยผ้าแพรไหม คอยกางกั้น มีทหารองค์รักษ์ รักษาพระองค์ เส้นทางที่เสด็จผ่าน จะปูลาดด้วยทองคำ มีทหารองค์รักษ์ รักษาพระองค์ จะคอยรักษาความปลอดภัย ตลอดเส้นทางที่ มหาจักรพรรดิ ต้องเสด็จผ่าน

ประชาชนในราชธานี กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มักจะสร้างบ้านเรือนอยู่ตามริมฝั่งน้ำ หรือสร้างบ้านเป็นเรือนแพ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ประชาชนคนเหล่านี้ จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี ให้รัฐ ประชาชนใน ราชธานี มีความเชี่ยวชาญในการต่อสู้ทั้งทางบก และ ทางน้ำ ทุกคนพร้อมเข้าร่วมสงครามทันที เมื่อใดก็ตามที่เกิดสงคราม พวกเขาจะเข้าสังกัดกองทหาร ที่มีผู้บังคับบัญชา พวกเขาจะเข้าต่อสู้อย่างกล้าหาร โดยไม่กลัวความตาย  เพื่อรักษาแผ่นดินของ สหราชอาณาจักร ของพวกเขาไว้ ทหารทุกคน จะต้องเตรียมอาวุธให้พร้อม และ ต้องเตรียมเสบียงอาหารที่จำเป็นไปเอง ไม่มีชนชาติใดที่มีความกล้าหาญเปรียบได้กับชนชาตินี้อีกแล้ว เพราะเมื่อมีการเผชิญหน้ากับข้าศึกศัตรู ทหารจะเข้าต่อสู้โดยไม่กลัวความตาย เพื่อทำลายข้าศึก ทันที

ประชาชนในราชธานี กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) ไม่ใช้เงินเหรียญทองแดงที่เจอะรูกลาง ในการซื้อขายสินค้า แต่จะใช้เงินเบี้ย และ เงินที่ทำด้วยโลหะเงิน(เงินหัวนะโม) มาใช้ในธุรกิจการค้าขายสินค้าต่างๆ

เหล้าในราชธานี กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ทำจากดอกไม้ ทำจากต้นมะพร้าว ทำจากต้นจาก ต้นตาล และน้ำผึ้ง เหล้าทุกชนิด มีวิธีการหมักพิเศษ มิได้หมักด้วยเชื้อยีช แต่ดื่มแล้วก็เมา เช่นเดียวกัน

พระราชสาสน์ทางการทูต ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) จะถูกเขียนขึ้นในแผ่นทองคำ เพื่อให้กับ มหาจักรพรรดิ ลงพระนาม พวกขุนนางราชทูต มีความรู้ภาษาจีน เป็นอย่างดี

กฎหมายต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) มีมากมาย หลายประเภท กฎหมายต่างๆ จะใช้บังคับควบคุมประชาชน ทุกๆ คนในดินแดนภายใต้การปกครอง ของ มหาจักรพรรดิ ให้ต้องปฏิบัติตาม อย่างเข้มงวด ผู้ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง

เมื่อ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) สวรรคต ประชาชนที่เป็นสามัญชนทั่วไป ต้องทำพิธีถวายบังคม ขุนนาง และบุคคลต่างๆ ผู้ใกล้ชิดกับ มหาจักรพรรดิ จะต้องถูกคัดเลือกให้ตายตาม เรียกกันว่า ชีวิตผู้ใกล้ชิด ต้องตายตาม เพื่อไปรับใช้ มหาจักรพรรดิ ในสรวงสวรรค์

มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา เรียกชื่อว่า ภูเขาทอง(ภูเขาสุวรรณคีรี) และ ภูเขาเงิน(ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาลาวสูง) ซึ่งมีการสร้าง เทวรูป ทองคำ จำลองรูปลักษณ์จริง ของ มหาจักรพรรดิ ทุกๆ รัชกาล เพื่อให้ประชาชนทุกๆ คน ใช้เคารพบูชา บวงสรวงเซ่นไหว้ ต่อไป มีการสร้างดอกบัวทองคำ รองรับพระพุทธรูปทองคำ ดังกล่าว ทุกรูป ด้วย

เมื่อประชาชนผู้ใดก็ตาม ในราชธานี กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) เกิดการเจ็บป่วยหนัก จะมีการทำบุญ ถวายสังฆทาน สะเดาะเคราะห์ โดยเชื่อกันว่า การทำกุศล ดังกล่าว จะทำให้บรรเทา หรือ หายเจ็บป่วย หรือ สามารถต่อยืดอายุได้

มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) สวมหมวกทองคำทรงสูง ประดับด้วยเพชรหลายร้อยเม็ด หมวกของ มหาจักรพรรดิ นี้ จะหนักมาก จะถูกนำไปใช้ในพิธีกรรมที่สำคัญ เท่านั้น มหาจักรพรรดิ จะทรงสวมหมวก ดังกล่าว ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนรัชกาล เช่น ถ้า พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิ จะขึ้นครองราชสมบัติ ก็จะต้องใช้หมวกดังกล่าว ตกทอดต่อมา ด้วย

มีตำนานเก่าแก่ เล่าถึงการกำเนิดดินแดนราชธานี กรุงสานโพธิ์ แห่งนี้ว่า นานมามากแล้ว แผ่นดินในราชธานี กรุงสานโพธิ์ (ซานโฟชิ-ไชยา) นั้น เคยเกิดรอยแตกของเปลือกโลก แผ่นดินแตกแยกออกมา ทันที่ทันใด กำเนิดภูเขา(ภูเขาสุวรรณคีรี) และ กำเนิดถ้ำใหญ่ ณ ภูเขา นั้น ขึ้นมาทันที่ทันใด สัตว์ป่า และ วัวควาย ต่างวิ่งหนีไปยังภูเขาที่เพิ่งกำเนิดขึ้น ด้วยความตกใจ และสัตว์ป่าดังกล่าว ต้องตาย ได้กลายเป็นอาหารของมนุษย์ ไปในที่สุด ในยุคสมัยต่อๆ มา ได้กำเนิดกอไผ่ และต้นไม้อื่นๆ ได้งอกขึ้นปกปิดรอยแตกของแผ่นดินเปลือกโลก ดังกล่าว จนไม่ปรากฏร่องรอย ให้พบเห็น อีกต่อไป

สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มี ราชธานี ตั้งอยู่ที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีพระราชวังตั้งอยู่ทั่วไปในเมืองนครหลวง  มีภูเขาลูกหนึ่ง(ภูเขาสุวรรณคีรี) เป็นศูนย์กลาง ของ สหราชอาณาจักรเสียม ซึ่งมีพระราชวังหลวงตั้งอยู่ใกล้ภูเขาแห่งนี้ ภูเขาลูกนี้(ภูเขาสุวรรณคีรี) มีถ้ำใหญ่อยู่ถ้ำหนึ่ง  ซึ่งมีน้ำเค็ม มีความเค็มเท่ากับน้ำทะเล ผุดออกมา ขังอยู่ตลอดทั้งปี ประชาชนในเมืองนครหลวง เล่าตำนานการเกิดภูเขา(ภูเขาสุวรรณคีรี) ดังกล่าวว่า ในยุคที่นานมากแล้ว เกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินได้เกิดแตกแยกออกจากกันอย่างรุนแรง จนกระทั่งได้เกิดภูเขา(ภูเขาสุวรรณคีรี) นี้ขึ้น เหตุการณ์ครั้งนั้น รอยแตกของแผ่นดินเป็นร่องลึก จนทำให้สัตว์ต่างๆ  ไม่สามารถเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันได้ แต่ในยุคสมัยต่อๆมา  กอไผ่ได้งอกขึ้นข้างๆ รอยแตกลึกดังกล่าว จนกระทั่งแผ่นดินค่อยๆเชื่อมเป็นผืนเดียวกัน และสัตว์ป่าต่างๆ จึงสามารถเดินทางติดต่อกันได้อีกครั้งหนึ่ง

สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็น ประเทศที่กว้างใหญ่มาก ตั้งอยู่กลางทะเลหลวง(ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก กับ มหาสมุทรอินเดีย) จึงมีอำนาจในการควบคุมช่องแคบ (มะละกา) ซึ่งบรรดาเรือเดินสินค้า ไม่ว่าจะเดินทางไปทางทิศใด เพื่อเดินทางไปยังดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน หรือ เดินทางมาจาก มหาอาณาจักรจีน เพื่อเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ล้วนต้องผ่านเมืองท่าสำคัญต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ทั้งสิ้น

ในสมัยก่อน มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักร แห่งนี้ ได้เคยขึงโซ่เหล็ก ไว้ที่ปากอ่าว(ปากคลองท่าปูน) เพื่อป้องกันปากอ่าวเอาไว้ เพื่อป้องกันการรุกราน ราชธานี ของข้าศึก โซ่เหล็กนี้ มีกลไก จักรกล สามารถควบคุมให้โซ่เหล็กปิดปากอ่าว สามารถยกขึ้นลงได้ เมื่อพวกเขา ต้องการให้เรือสำเภา ผ่านเข้าไป พวกเขาก็จะควบคุมเครื่องจักรกุล ให้หย่อนโซ่เหล็ก ลงไปในทะเล ทำให้เรือสำเภา สามารถแล่นผ่านไปได้ แต่ถ้าข้าศึกจะเข้ามา พวกเขาจะควบคุมเครื่องจักรกุล เพื่อยกโซ่เหล็ก ให้สูงขึ้น โดยที่เรือของข้าศึก จะไม่สามารถแล่นผ่านเข้าไปยังอ่าว ได้ ในภาวะที่สงบ ไม่มีสงคราม เรือสำเภาทุกลำที่ผ่านมายังราชธานี กรุงสานโพธิ์ จะต้องผ่านโซ่เรือนี้ เพื่อแล่นเข้าไปเสียภาษี ตามที่กฎหมาย กำหนด ถ้าเรือลำใดไม่ยอมแวะเสียภาษี ค่ารักษาน่านน้ำ เรือรบ ของ กองทัพเรือ แห่ง สหราชอาณาจักร นี้ จะแล่นออกไปติดตาม เรือสำเภาสินค้า ลำนั้นทันที ตามที่กฎหมายกำหนดให้ ทหารเรือ ต้องปฏิบัติ และตามที่ สหราชอาณาจักรนี้ ได้ออกกฎหมายไว้ ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ทหารเรือ จะเข้าจับกุม ควบคุมเอาเรือสำเภาสินค้านั้นไปยึดครอง เป็นประกันไว้ ทันที

หลังจากไม่มีสงคราม ในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ มาหลายปี ประชาชนในราชธานี จึงอยู่กันอย่างสงบสุข โซ่เหล็ก ณ ปากอ่าว นี้ ก็ถูกเลิกใช้ไปชั่วคราว และถูกลากมากองอยู่บนฝั่งทะเลปากอ่าว(ศรีโพธิ์) ประชาชนในราชธานี กรุงสานโพธิ์ เชื่อว่า โซ่เหล็ก นี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ เทียบเท่ากับ เทวรูป ของ มหาจักรพรรดิ เรือสำเภาที่ผ่านเข้ามาทุกลำ ต้องทำพิธีเซ่นไหว้ โซ่เหล็กปากอ่าว นี้ด้วย เมื่อมีการใช้น้ำมัน ขัดโซ่เหล็ก ดังกล่าว โซ่เหล็ก ก็จะมันแวววาววับ เหมือนกับของใหม่ๆ แม้แต่ จระเข้  ก็ยังไม่กล้าผ่าน โซ่เหล็ก ณ ปากอ่าว(ศรีโพธิ์) ดังกล่าว ด้วย

หากพ่อค้าเรือสำเภาผู้ใด แล่นเรือสำเภาผ่าน โดยไม่จอดแวะ เสียภาษีค่ารักษาน่านน้ำ กองทัพเรือ ประจำ ราชธานี กรุงสานโพธิ์ ทำหน้าที่แล่นเรือตรวจราชการ ทหารเรือตรวจราชการ จะส่งกองเรือ เข้าโจมตีผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ทันที  โดยกองทหารเรือ ตรวจราชการ พร้อมที่จะสละชีวิต ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้ ราชธานี กรุงสานโพธิ์ จึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่ยิ่งใหญ่ ด้วย

สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ยังมี นครรัฐ ต่างๆ ที่เป็น เมืองท่าค้าขาย ที่สำคัญ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ซึ่งมี พระราชา เป็นผู้ปกครอง นครรัฐ ดังกล่าว ที่ถูกใช้เป็นเมืองท่าสำคัญ มีไม่ต่ำกว่า ๑๕ นครรัฐ มี นครรัฐ เมืองท่า ต่างๆ ดังต่อไปนี้ เช่น เมืองปาหัง(เป็งโฟง) , ตรังกานู(เต็งยานอง) , สมุทรสาคร(หลัง-ยา-สิ-เกีย) , กลันตัน (กิเลนตัน) , โพธิ์กลิงค์ตัน-กันตัง (โพโลอัน) , โพธิ์กลิงค์-ปัตตานี (โฮ-โล-ติง) , เสียมใหม่ (เซียน-ไม-พรุยายชี) , ยะลา (พา-ตา) , นครศรีธรรมราช (ตั้ม-มา-ลิง) , คันธุลี (เกียโลหิต) , ปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา(ปาลิปอง) , ซุนดา เกาะชวา(ซินโด) , กัมเป-สุมาตรา(เกียนไป) , ลามุรี-สุมาตรา(ลัน-บู-ลิ) และ ซีลอน-ศรีลังกา(ซีลอน) เป็นต้น

สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้เริ่มต้นมีความสัมพันธ์ทางการทูตใหม่ กับ มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่ยุคสมัยของ รัชกาลของ ฮ่องเต้เฉียงยู สมัยราชวงศ์ถัง(ปี พ.ศ.๑๔๔๗-๑๕๐๐) ในสมัยรัชกาลของ ฮ่องเต้เฉียนหลง (..๑๕๐๓-๑๕๐๖) สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ๓ ครั้ง ต่อมา ในรัชกาลของ ฮ่องเต้ชุนหัว (..๑๕๓๕) มีเรื่องราวว่า สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) มีความขัดแย้งกับ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ (เชโป-บอร์เนียว) จึงได้ขอร้องให้ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ให้ความคุ้มครอง อารักขาแก่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ซานโฟชิ) ด้วย

ในปีที่-๖ รัชกาลของ ฮ่องเต้เฮียนปิง (..๑๕๔๖) มีบันทึกในพงศาวดารจีน กล่าวถึง ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) กับ ฮ่องเต้เฮียนปิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกในพงศาวดารจีน บันทึกว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้มีการก่อสร้างวัดทางพุทธศาสนาขึ้นมาวัดหนึ่ง ในราชธานี กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เพื่อเป็นเกียรติให้กับ ฮ่องเต้เฮียนปิง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เนื่องในวันเฉลิมพระชนพรรษา ของ ฮ่องเต้เฮียนปิง หลังจากที่ มหาจักรพรรดิศรีจุลนีพรหมทัต แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ทำการก่อสร้างวัดดังกล่าว เสร็จเรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิศรีจุลนีพรหมทัต มีความปรารถนา ที่จะให้ ฮ่องเต้เฮียนปิง ช่วยพระราชทานชื่อวัด และขอให้มอบระฆังจีน ให้กับวัดที่สร้างขึ้น ๑ ใบ ด้วย ฮ่องเต้เฮียนปิง ได้ตอบสนองความปรารถนา ของ มหาจักรพรรดิศรีจุลนีพรหมทัต ด้วยการพระราชทานพระนามให้กับวัดนั้นว่า วัดเฉิงเทียนวันชู(วัดธารน้ำใจพระหมื่นปี) พร้อมกับได้พระราชทานระฆังจีน ให้กับวัดดังกล่าวไปให้ ๑ ใบ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ แห่ง สัมพันธไมตรี ระหว่าง ๒ ประเทศ ในอนาคต

ในช่วงรัชกาล ของ ฮ่องเต้เฉียงฟู(..๑๕๔๗๑๕๖๕) และ ช่วงรัชกาลฮ่องเต้ยวงยู (..๑๖๒๑-๑๖๓๗) ของ มหาอาณาจักรจีน นั้น สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้มีคณะราชทูต เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน อย่างต่อเนื่อง พร้อมพระราชสาสน์ และ ถวายเครื่องราชบรรณาการที่เป็นสิ่งของต่างๆ ด้วย

กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ซึ่งเป็น ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ นั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของแคว้นพังงา(พังงาอิน)

สินค้าพื้นเมืองที่สำคัญของ ราชธานี กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มี กระ การบูร ไม้หอมชนิดต่างๆ ไม้เนื้อแข็ง กานพลู ไม้จันทร์ อบเชย นอกจากนี้ยังมี ไข่มุก กำยาน ยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ งาช้าง ปะการัง แก้วตาแมว อำพัน สินค้าที่ทำจากฝ้ายและใบตาล สินค้าเหล่านี้ ล้วนเป็นสินค้าที่พ่อค้าชาวอาหรับ ล้วนมีความต้องการ ทั้งสิ้น

พ่อค้าสำเภา จากชาติต่างๆ ที่มาค้าขาย ณ ราชธานี กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) นั้น ต่างนัดหมายมาชุมนุมกันอย่างคึกคักในตลาด กรุงสานโพธิ์ เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน โดยใช้ ทองคำ เงิน เครื่องเคลือบ(ถ้วยชาม) ผ้าลูกไม้ ผ้าแพรไหม และ การบูร เป็นสินค้าแลกเปลี่ยน ระหว่างกัน...

(เพรตเดริค เฮิท และ รอคฮิล จดหมายเหตุเจาจูกัว ปี พ.ศ.๒๕๑๐ หน้าที่)

ปี พ.ศ.๑๖๕๐ ชาวจีน ชื่อ จาวจูกัว ได้ทำการบันทึกเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ไว้ เรียกว่า จดหมายเหตุจาวจูกัว ซึ่งได้กล่าวถึงนครรัฐต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ซึ่งล้วนมี มหาราชา เป็นผู้ปกครอง อย่างน้อย มีไม่ต่ำกว่า ๑๕ นครรัฐ ซึ่งเป็นนครรัฐทางทะเล ที่เรือสำเภาเดินทางแวะผ่าน ดังต่อไปนี้

       “...เป็งโฟง(เมืองปาหัง) , เต็งยานอง(ตรังกานู) , ลิง-ยา-สิ-เกีย(สมุทรสาคร) , กิเลนตัน(กะลันตัน) , โพ-โล-อัน(ตรัง) , ยิ-โล-ติง(ปัตตานี) , เซียน-ไม(พรุยายชี) , พา-ตา(ยะลา) , ตั้ม-มา-ลิง(นครศรีธรรมราช) , เกีย-โล-หิ(คันธุลี) , ปา-ลิ-ฟอง(ปาเล็มบัง) , ซิน-โต(ซุนดา) , เกียน-ไป(กัมเป  ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะสุมาตรา) , ลัน-วู-ลี(เมืองลามูรี ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ ของ เกาะสุมาตรา) และ ซี-เลน(ศรีลังกา)...

ปี พ..๑๖๕๐ บันทึกของ จาวจูกัว ได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆ จากพ่อค้าชาวจีน โดยกล่าวถึง แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) มีเรื่องราวต่างๆ ซึ่ง จาวจูกัว ได้จดบันทึกไว้ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๖๕๐ มีบันทึกว่า... 

...เราสามารถเดินทางโดยเรือสำเภา จาก เมืองตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) มายัง เมืองหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) โดยการเล่นเรือเป็นเวลา ๖ วัน ๖ คืน ตามเส้นทางเดินเรือระหว่าง ๒ แคว้นนี้

กฎเกณฑ์อันเป็น กฎหมาย ของ แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) นี้ มีเป็นของตนเอง ประชาชนนุ่งโสร่ง และไม่สรวมรองเท้า และรู้จักการตัดผม

สินค้าประจำของ แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) คือ งาช้าง  เขากวาง  เขาควาย ไม้หอม และ คามโป

ในด้านการค้ากับต่างประเทศ ประชาชนในแคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ใช้การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน เช่นสินค้าประเภท ข้าว ผ้าไหม และ เครื่องสวมใส่อื่นๆ  การคำนวณราคาในการแลกสิ่งของระหว่างกัน นั้น ประชาชนจะต้องนำมาเทียบราคากับทอง และเงิน เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้า เบื้องต้น เช่น ข้าว หนึ่งถัง หรือ สองถัง แลกเปลี่ยนกับ เงิน หรือทอง เท่าใด เพื่อนำไปแลกกับ สินค้าอื่นๆ ซึ่งถูกกำหนดราคา เป็นจำนวน เงิน หรือ ทอง เช่นกัน

แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ขึ้นกับการปกครอง ของ อาณาจักรสานโพธิ์ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงซานโพธิ์(ไชยา)...

ปี พ.ศ.๑๖๕๒ ปรากฏหลักฐาน ศิลาจารึก ในดินแดน ของ แคว้นกระทะราม (ไทรบุรี) ปรากฏพระนาม กษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นสายราชวงศ์ไศเลนทร์ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ เรียบร้อยแล้ว

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๑)

ปี พ.ศ.๑๖๕๒ มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา และ อาณาจักรเกียวฉี(เวียตนามเหนือ) ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ฮ่องเต้ฮุ่ยจง จัดให้มีพิธีต้อนรับ พร้อมๆ กัน

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๗)

ปี พ..๑๖๕๕ พระเจ้ากยันชิตถา(พ.ศ.๑๖๒๗-๑๖๕๕) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต ด้วยโรคชรา พระเจ้าชัยสูร(พ.ศ.๑๖๕๕-๑๗๑๐) หรือ พระเจ้าจันสู หรือ พระเจ้าอลองคสิถุ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๗)

ปี พ.ศ.๑๖๕๖ พระเจ้าชัยอินทรวรมัน ที่-๒ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต พระเจ้าหริวรมันที่-๕ ซึ่งเป็น พระเจ้าหลานเธอ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาลถัดมา

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗)

      ปี พ.ศ.๑๖๕๖ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๑ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครวัด) เสด็จสวรรคต เนื่องจากถูกแย่งชิงอำนาจจาก พระราชปนัดดา(เหลน) เจ้าชายผู้ยังทรงเป็นหนุ่ม เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงปรารถนาที่จะได้เกียรติยศ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๔)

      ปี พ.ศ.๑๖๕๖ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) แห่ง ราชอาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรคามลังกา ในรัชการถัดมา ศิลาจารึกปราสาทบ้านธาตุ และ จารึก ปราสารทจรุง ได้บันทึก ว่า...

       ...เจ้าชายผู้นี้ ทรงเป็นหนุ่ม เมื่อสำเร็จการศึกษา แล้ว ก็ทรงปรารถนาที่จะได้พระเกียรติยศ แห่ง ราชวงศ์ของพระองค์ ในขณะนั้น เกียรติยศนี้ ได้อยู่ในความอารักขาของ ผู้ใหญ่ ๒ ท่าน เจ้าชายพระองค์นี้ มีพระนามว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ นั่นเอง...

...หลังจากการทำสงครามรบพุ่งกันตลอดทั้งวัน พระเจ้าศรีธรณีนทรวรมัน ก็ถูกพระเจ้าศรีสุริยวรมัน ทรงปลดออกจากพระราชอำนาจ โดยที่ไม่อาจที่จะป้องกันได้...

...หลังจากการปลดปล่อยมหาสมุทรแห่งกองทัพ ของ พระองค์ ไปเหนือพื้นที่แห่งการสู้รบแล้ว พระองค์ได้ทรงกระทำการรบพุ่ง อย่างรุนแรง โดยได้ทรงกระโจนขึ้นไปเหนือศีรษะช้างทรง ของ พระราชาผู้เป็นศัตรู พร้อมกับได้ทำการประหารพระราชาองค์นั้นเสีย ดุจดังพระยาครุฑ ที่โฉบลงมายังยอดเขา ได้พิฆาตพระยานาค ฉะนั้น...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๔)

ปี พ.ศ.๑๖๕๗ มหาราชา แห่ง อาณาจักรหิรัญภุญชัย ราชวงศ์มอญ ส่งกองทัพยึดครอง อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ผลของสงคราม อาณาจักรละโว้ ตกอยู่ในความครอบครอง ของ ราชวงศ์มอญ และต่อมา อาณาจักรละโว้-มอญ เริ่มขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ทันที

ปี พ.ศ.๑๖๕๘ มหาราชา แห่ง อาณาจักรละโว้(หลอหู) ปกครองโดย ราชวงศ์มอญ ได้ทำการก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๙)

      (ศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน้าที่ ๒๔๘)

      ปี พ.ศ.๑๖๕๙ พระเจ้าหริวรมันที่-๕ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๗)

      ปี พ.ศ.๑๖๕๙ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนคร(นครวัด) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

ปี พ.ศ.๑๖๖๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม มหาราชา ราชวงศ์มอญ แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ ผลของสงคราม กองทัพเสียม สามารถทำสงครามขับไล่ราชวงศ์มอญ ออกจากดินแดน ราชอาณาจักรละโว้ เป็นผลสำเร็จ 

ปี พ.ศ.๑๖๖๒ นักเดินเรือชาวจีน ได้เริ่มนำเข็มทิศ มาใช้ในการเดินเรือ เป็นไปตามหลักฐาน การบันทึก ของ จู-ยือ ได้พรรณนาถึงวิธีการใช้เข็มทิศว่า...

...เวลากลางคืน ต้นหนดูดาว เพื่อให้ทราบว่า เรืออยู่ที่ไหน เวลากลางวันก็ดูพระอาทิตย์ เวลาอากาศมืดมัว ก็จะดูเข็มทิศที่ชี้ไปทางทิศใต้ เป็นสำคัญ...

      (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๙)

ปี พ.ศ.๑๖๖๓ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒(พ.ศ.๑๖๕๖-๑๖๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา(ขอม) กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ฮุ่ยจง(พ.ศ.๑๖๔๕-๑๖๖๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๕)

 

ปี พ.ศ.๑๖๖๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬามณี แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีพระชนมายุ ๕๔ พรรษา เสด็จสวรรคต (จากหลักฐาน ของศรีลังกา) ได้รับพระราชทานนามว่า พระเจ้าศรีจุฬามณี วรมะเทวะ

Visitors: 54,260