รัชกาลที่ ๓๕ มหาจักรพรรดิพ่อไชยโคปะ(พ่อศรีไชยา) กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๖๑๘-๑๖๒๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๓๕ 

มหาจักรพรรดิพ่อไชยโคปะ(พ่อศรีไชยา) 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๖๑๘-๑๖๒๘

 

 

ปี พ.ศ.๑๖๑๘ เมื่อ มหาจักรพรรดิ พ่อมาฆะพร สวรรคต จักรพรรดิพ่อไชยโคปะ ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อไชยโคปะ (พ่อไชยา) โดยมี นายกพ่อกัสปะ เป็น จักรพรรดิ และมี นายกพ่อศรีจุฬามณี เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นรัชกาลที่ ๓๕

ปี พ.ศ.๑๖๑๘ พระเจ้าหริวรมันที่ ๔ (ถาง หรือ วิษณุมูรตี) แห่งราชวงศ์ทมิฬโจฬะ สายราชวงศ์ พระนางใบมะพร้าว(พระนางโสมา) แห่ง อาณาจักรจามปา กรุงวิชัย เริ่มก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ และเริ่มทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) กลับคืน พร้อมกับร้องขอกำลังจาก มหาอาณาจักรจีน มาช่วยเหลือ ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๖)

ปี พ.ศ.๑๖๑๙ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ร่วมกับกองทัพของ พระเจ้าหริวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ร่วมกันส่งกองทัพ เข้าช่วยเหลือ ยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) กลับคืนให้กับ พระเจ้าหริวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรกำพูชา ผลของสงคราม กองทัพทั้ง ๒ ชาติ รุกไปถึงแม่น้ำโขง สามารถยึดครอง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ไปครอบครองเป็นผลสำเร็จ แต่ได้รับการต่อต้านจาก กองทัพของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา สงครามจึงยืดเยื้อไปถึงปี พ.ศ.๑๖๒๓

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๖)

ปี พ.ศ.๑๖๑๙ มหาอาณาจักรจีน ร้องขอให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ยกกองทัพเข้าทำสงครามกับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ณ แคว้นตาเกี๋ย ผลของสงคราม แม่ทัพกัวคุย ของ มหาอาณาจักรจีน ได้รุกมาถึง เมืองลังเซิน เพื่อมุ่งหน้าเดินทัพต่อไปยัง เมืองฮานอย อันเป็นนครหลวง ของ อาณาจักรไตเวียต กองทัพของขุนพลกัวคุย ถูกทำลายอย่างย่อยยับ ต้องถอยทัพกลับไป ส่วนการรบของ อาณาจักรจามปา และ อาณาจักรกำพูชา ซึ่งกำลังทำสงครามยึดครอง เมืองแง่อัน เมื่อทราบข่าวว่า กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน พ่ายแพ้สงครามอย่างยับเยิน จึงเร่งถอยทัพกลับไป หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน ได้บันทึกว่า...

       ...ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ต้องการส่งกองทัพเข้าไปยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) จึงได้มีพระราชสาส์น ไปยัง มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ให้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการทำสงคราม ด้วย ในขณะที่ กองทัพของ ขุนพลกัวคุย ของ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้รุกลงมาตามเมืองลังเซิน เพื่อมุ่งหน้าต่อไปยังเมืองฮานอย อันเป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) นั้น กองทัพของ อาณาจักรจาม(เวียตนามใต้) และ กองทัพของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ก็เข้าไปยึดครองเมืองแง่อัน ผลปรากฏว่า กองทัพจีน ถูกทำลายย่อยยับ เป็นเหตุให้ ทั้งกองทัพของ อาณาจักรจามปา และ กองทัพของ อาณาจักรกำพูชา ต้องถอยทัพไปด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๖ และ ๑๙๑-๑๙๒)

ปี พ.ศ.๑๖๒๐ มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ซานโฟชิ-ไชยา) เป็นราชทูตไปยัง ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ได้ให้การต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ แต่ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ผู้นี้ได้ปะทะคารม กับ ราชทูตของ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ ณ ราชสำนัก ของ มหาอาณาจักรจีน อย่างรุนแรง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๖๒๐ พระเจ้าอนิรุทธ(พ.ศ.๑๕๘๗-๑๖๒๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต เนื่องจาก การล่าสัตว์ เจ้าชาย กะยันชิถา หรือ พระเจ้าสอลู(พ.ศ.๑๖๒๐-๑๖๒๗) หรือ พระเจ้ามังลุลัง ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๓)

ปี พ.. ๑๖๒๐ จดหมายเหตุของ ม้าต้วนหลิน ได้บันทึกคัดลอก อธิบายข้อความในพงศาวดารจีน ในสมัยราชวงศ์ซ้อง หลังจากที่ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) สามารถทำสงครามยึดครอง สหราชอาณาจักรโจฬะ อินเดียใต้ เป็นผลสำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๖๑๓ โดย ขุนนางจีน ได้กราบทูล ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เมื่อปี พ.ศ.๑๖๒๐ มีบันทึกว่า

...สหราชอาณาจักรโจฬะ อินเดียใต้ ได้ตกเป็นเมืองขึ้น ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ซานโฟชี) ไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ ปี พ..๑๖๒๐...

ปี พ.ศ.๑๖๒๑ คณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ซานโฟชิ-ไชยา) เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์ เพื่อไปยัง มหาอาณาจักรจีน พร้อมเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) สิ่งของถวายมี แร่เงิน น้ำมันการบูร กำยาน และสิ่งของหายากในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๖๒๒ อาณาจักรจันเป (จัมบี) เกาะสุมาตรา ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๒)

ปี พ..๑๖๒๒ จดหมายเหตุจีน ซึ่งบันทึกไว้ในหนังสือ ไว ไต ตา สมัยราชวงศ์ซ้อง ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ มีบันทึกว่า... 

...ในปี พ.ศ.๑๖๒๒ อาณาจักร ต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ซานโฟชิ) ได้เกิดความแตกแยกระหว่างกัน แต่ละ อาณาจักร ล้วนพยายามส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยระบุว่ามี อาณาจักร ต่างๆ ดังต่อไปนี้ ซึ่งล้วนได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน คือ อาณาจักรจามปา (เวียตนามใต้) อาณาจักรตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) อาณาจักรลังกาสุกะ(ปัตตานี) อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) อาณาจักรซุนดา(ม้าตาราม) อาณาจักรลันบุรี เป็นต้น...

ปี พ.ศ.๑๖๒๒ ชาวอาหรับเชื่อ ฮารากี ได้เดินทางมาที่ ภูเขาสุวรรณคีรี และได้บันทึกหลักฐานต่างๆ ไว้เป็นหลักฐานมากมาย ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจค้น แต่ที่มีหนังสือหลายเล่มมักจะอ้างถึง มีบันทึกว่า

 “...เมื่อใดก็ตามที่เกิดการกบฏ หรือบ้านเมืองที่กดขี่ หรือเกิดความยุ่งเหยิงขึ้นในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน หรือ ประเทศอินเดีย  ชาวจีน และชาวอินเดีย ก็มักจะอพยพหลบภัยจากบ้านเมืองของตน เข้ามาทำมาหากิน ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(เซโปก-ไชยา) โดยมาอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ  ที่เป็นดินแดนภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(เซโปก-ไชยา) สำหรับชาวจีนที่อพยพเข้ามา มักจะมีความประพฤติดี มีมารยาทอ่อนน้อม  ติดต่อคุ้นเคยกับชาวพื้นเมืองด้วยความยุติธรรม ชาวจีน จึงได้รับความสะดวกในการประกอบกิจการงาน อาชีพต่างๆ ด้วยเหตุนี้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(เซโปก) จึงมีพลเมืองเป็นจำนวนมาก พ่อค้าสำเภา ชาวต่างชาติ จึงมักจะต้องแวะ มาพักอาศัย อยู่เสมอ...

      ปี พ.ศ.๑๖๒๒ เจ้าชายปาง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ร่วมกับ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน และ กองทัพของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) สามารถส่งกองทัพ ไปถึง แม่น้ำโขง ผลของสงคราม สามารถยึดครอง เมืองสัมโบ(ศัมภุปุระ) และได้จับ เจ้าชายศรีนันทวรรมเทพ แม่ทัพของ ราชอาณาจักรคามลังกา ไว้ได้ พร้อมกับได้ทำการปล้นสะดมทรัพย์สินต่างๆ ไปเป็นจำนวนมาก และได้ทำลาย ศาสนสถาน ทั้งหมด และได้กวาดต้อนเชลยศึก ชาวขอม ไปสร้าง ศาสนสถาน ณ ราชอาณาจักรจาปา ด้วย แล้วถอยทัพกลับไป ศิลาจารึก ได้กล่าวถึงสงครามครั้งนี้ว่า...

      ...ทรงปล่อยให้ทหารข้าศึก ซึ่งมีมากมาย ดุจคลื่นในมหาสมุทร สู้รบกันต่อไป ส่วนพระองค์ ทรงปีนหัวช้าง ของ ราชศัตรู สามารถปลงพระชนม์ เจ้าชายพระองค์นั้น(เจ้าชายปาง) ดุจพระยาครุฑ สังหารพระยานาค บนบรรพต...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๖ และ ๑๙๑)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๗๒)

ปี พ.ศ.๑๖๒๓ พระเจ้าหรรษา ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครวัด) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามล้างแค้น เข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ของ พระเจ้าหริวรมัน ที่ ๔ ผลของสงคราม เจ้าชายสุนันท เสนาบดี สมุหกลาโหม ถูกจับเป็นเชลยศึก หลักฐานศิลาจารึกที่ เมืองมิเซิน กล่าวว่า...

       ...พระองค์(พระเจ้าหริวรมันที่ ๔ แห่ง อาณาจักรจามปา) ได้ทรงทำสงครามปราบปราม กองทัพของ อาณาจักรกัมพูชา(อาณาจักรคามลังกา) ณ สมรภูมิ เมืองโสเมศวร ผลของสงคราม กองทัพจามปา สามารถจับ เจ้าชายศรีนันทวรรมเทพ ผู้ควบคุมกองทัพ ของ ราชอาณาจักรคามลังกา ไว้ได้ เจ้าชายพระองค์นี้ ได้เสด็จไปในกองทัพในฐานะของ เสนาบดีกลาโหม ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๖)

ปี พ.ศ.๑๖๒๓ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตจากกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ในขณะที่มีสงคราม ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ อาณาจักรไตเวียต และ อาณาจักรคามลังกา มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๖๒๓ คณะราชทูตของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ได้เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) ไปยัง มหาอาณาจักรจีน เมื่อคณะราชทูตเดินทางไปถึง เมืองกวางตุ้ง คณะราชทูตได้แจ้งว่า มีกิจการค้าของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) อยู่ใน เมืองกวางตุ้ง ด้วย ราชทูตได้นำพระราชสาสน์ ของ พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) ซึ่งได้เขียนพระราชสาส์น เป็นภาษาจีน ส่งให้กับผู้ควบคุมการค้าฝ่ายจีน พร้อมของขวัญ การบูรจากเมืองบารุส และ ผ้าฝ้าย ด้วย...

(แปลโดย นายทองแถม นาถจำนง)

ปี พ.ศ.๑๖๒๓ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) กรุงพนมมันตัน ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ของ ชนชาติอ้ายไต ไปครอบครองเป็นผลสำเร็จ

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๒๕๐)

ปี พ.ศ.๑๖๒๔ มหาราชาพระเจ้าหริวรมันที่ ๔ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(อาณาจักรเวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต และมี มหาราชา พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๒(เจ้าชายวาก) ซึ่งมีพระชนมายุ ๙ พรรษา ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา รัชกาลถัดมา

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๖)

ปี พ.ศ.๑๖๒๔ เจ้าชายปาง พระราชบิดา ของ เจ้าชายวาก(พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ ๒) แห่ง อาณาจักรจามปา เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ได้ทำพิธีราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา แทนที่ และต้องยอมส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) อย่างต่อเนื่อง

    (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๖)

ปี พ.ศ.๑๖๒๕ คณะราชทูต ๓ ท่าน แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อนำเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งมี ดอกบัวทองคำฝังไข่มุก การบูรจาก เมืองบารุส และ สิ่งอื่นๆ อันเป็นของหายาก ไปถวายแด่ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๖๒๕ อาณาจักรจันเป (จัมบี) เกาะสุมาตรา ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๒)

ปี พ.ศ.๑๖๒๕ ได้เกิดการแย่งราชย์สมบัติ ระหว่าง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ในดินแดน ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) โดยที่ พระเจ้าสุริยะวรมันที่ ๒ สามารถแย่งชิงราชย์สมบัติจาก พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๑ เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๖๒๕ พระเจ้าหรรษา วรมัน ที่ ๓ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครวัด สวรรคต พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรคามลังกา แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๖๒๕ พระเจ้าศรีมหาราชา(ศรีมาทะชา) แห่ง สหราชอาณาจักรโพธิ์ใน(พูนิ) กรุงโพธิ์ใน (บอร์เนียว-ตะวันตก) แห่ง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางจาก ราชธานี กรุงโพธิ์ ใน ไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อนำเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายแด่ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง หลังจากนั้นก็หายไปจนถึงปี พ.ศ.๑๙๑๓ มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๖๑)

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาคที่ ๒ หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๖๒๕ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ได้สร้างจารึกไว้ที่ หลุมศพ บนเกาะชวา เรียกชื่อว่า จารึกเลรัน แสดงให้เห็นถึงการเข้ามา ของ ศาสนาอิสลาม ในดินแดนเกาะชวา เกิดขึ้นแล้ว

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๘๓)

ปี พ.ศ.๑๖๒๖ คณะราชทูต ๓ ท่าน ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เพื่อนำเอาเครื่องราชบรรณาการ และ พระราชสาส์น ไปถวายแด่ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๖๒๗ มีคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เดินทางจาก ราชธานี กรุงสานโพธิ์ เพื่อนำเอาเครื่องราชบรรณาการ และ พระราชสาส์น ไปถวายแด่ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

ปี พ.ศ.๑๖๒๗ พระเจ้าสอลู(พ.ศ.๑๖๒๐-๑๖๒๗) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม สวรรคต พระเจ้ากยันชิตถา(พ.ศ.๑๖๒๗-๑๖๕๕) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๕)

ปี พ.ศ.๑๖๒๘ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา ได้เสด็จสวรรคต พระราชโอรส มีพระชนมายุเพียง ๑๐ พรรษา มีพระนามว่า เจ๋อจง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีพระนามว่า ฮ่องเต้เจ๋อจง(พ.ศ.๑๖๒๘-๑๖๔๕) เรียกว่า รัชสมัย แห่ง ราชวงศ์ซ้อง

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๘๐)

 

ปี พ.ศ.๑๖๒๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีไชยา มีพระชนมายุ ประมาณ ๓๔ พรรษา ได้เสด็จสวรรคต พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระเจ้าชัยโคปะ วรมะเทวะ

Visitors: 54,439