รัชกาลที่ ๓๔ มหาจักรพรรดิ พ่อมาฆะพร กรุงสานโพธิ์ พ.ศ.๑๖๑๒-๑๖๑๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๓๔ 

มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร 

กรุงสานโพธิ์ พ.ศ.๑๖๑๒-๑๖๑๘

 

ปี พ.ศ.๑๖๑๒ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อปาณฑยะ สวรรคต จักรพรรดิพ่อมาฆะพร ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี เป็น มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร โดยมี นายกพ่อชัยโคปะ เป็น จักรพรรดิพ่อไชยโคปะ และมี นายกพ่อกัสปะ เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ เป็นรัชกาลที่ ๓๔

ปี พ.ศ.๑๖๑๒ พระเจ้าวีระราเชนทรที่ ๑ มหาราชา แห่ง อาณาจักรทมิฬโจฬะ-อินเดียใต้ ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ แต่ต้องพ่ายแพ้ และต้องถอยทัพ กลับไป

ปี พ.ศ.๑๖๑๒ พระเจ้าวีระราเชนทรที่ ๑ มหาราชา แห่ง อาณาจักรทมิฬโจฬะ-อินเดียใต้ ได้นำกองทัพเรือ ที่เดินทางกลับมาจากพ่ายแพ้สงคราม กับ กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ได้นำกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรศรีลังกา สามารถจับกุม มหาราชา พระเจ้ามหินทรที่ ๖ ไปเป็นเชลยศึก ขังไว้ที่ อาณาจักรโจฬะ อินเดียใต้

ปี พ.ศ.๑๖๑๒ อาณาจักรศรีลังกา ภายหลังจากถูก อาณาจักรโจฬะ-อินเดียใต้ ยึดครอง ได้ออกทำสงครามยึดครองดินแดนกลับคืน และเกิดความแตกแยกออกเป็นก๊กต่างๆ ทั่วไป หลังจากนั้น เจ้าชายวิชัยพาหุ ได้สะสมกำลังอยู่เป็นเวลา ๑๗ ปี เมื่อสิ้นรัชกาลของ พระเจ้าวีระราเชนทร ที่ ๑ แห่ง อาณาจักรโจฬะ-อินเดียใต้ จึงได้ทำสงครามกอบกู้เอกราชเป็นผลสำเร็จ และได้ตั้งเมืองนครหลวงใหม่ อยู่ที่ กรุงอนุราชปุระ เกาะศรีลังกา

ปี พ.ศ.๑๖๑๒ พระเจ้าวีระราเชนทรที่ ๑ แห่ง อาณาจักรโจฬะ-อินเดียใต้ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า พระเจ้าอธิราเชนทร์ เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ มหาราชา แห่ง อาณาจักรทมิฬโจฬะ-อินเดียใต้ แต่ในเวลาไม่นาน พระเจ้าอธิราเชนทร์ ถูกแก่งแย่งอำนาจกันขึ้นใน อาณาจักรโจฬะ-อินเดียใต้ อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๖๑๒ เจ้าชายกุโลตุง เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์ไศเลนทร์ สายพระนางโอเม่งกิว ได้ส่งพระราชสาส์นลับ กราบทูลให้ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร ทราบข่าว เพื่อวางแผนทำสงคราม เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ถือโอกาส เตรียมส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรทมิฬโจฬะ-อินเดียใต้

ปี พ.ศ.๑๖๑๒ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้รับรายงานข่าวความขัดแย้งในดินแดน ของ อาณาจักรทมิฬโจฬะ-อินเดียใต้ จาก เจ้าชายกุโลตุง จึงมอบให้ จักรพรรดิพ่อมาณะพร นำพระราชสาส์นลับ พร้อมด้วยขบวนกองทัพเรือใหญ่ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ไปสมทบกับ กองทัพของ แคว้นปาณฑัย อินเดียใต้ เพื่อเตรียมนัดหมายทำสงครามล้างแค้น กับ อาณาจักรทมิฬโจฬะ-อินเดียใต้ ซึ่งได้ยกกองทัพมาโจมตี สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เมื่อปี พ.ศ.๑๖๑๑ จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิพ่อปาณฑยะ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) บาดเจ็บสาหัส และ สวรรคต ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๖๑๒ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง จดหมายเหตุจีน มีบันทึก...

...ปีแรก หยวนเฟิงศก (.ศ.๑๖๑๒) มีคณะราชทูตของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) เดินทางมายัง มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ มี ทองคำขาว ไข่มุก เครื่องหอมรมควัน(ผอ-ลวี่-ซวิน-ลู่-เซียง) และสิ่งของแปลกๆ ในดินแดนของ ราชธานีสานโพธิ์(ซานโฟชิ) มาถวาย ทางข้าหลวงของ เมืองกวางเจา ได้รับพระสุพรรณบัฏ แล้วให้รออยู่ก่อน จากนั้นจึงนำส่ง พระราชสาส์น ถึงพระราชวัง ของ ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) พระองค์ทรงซาบซึ้งที่คณะราชทูต อุตส่าห์ เดินทางมาจาก หนทางไกลโพ้น ทุกๆ คราว จึงทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ ตอบแทนให้อย่างดี...

(แปลโดย นายทองแถม นาถจำนง)

ปี พ.ศ.๑๖๑๓ ระหว่างการยึดอำนาจ ในราชธานี ของ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้ นั้น ราชากุโลตุง (เจ้าชายกุโลตุงคะเทวะ) ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร์ ฝ่ายสัตรี เชื้อสายเจ้าอ้ายไต ได้ร่วมมือกับ กองทัพของ แคว้นปาณฑัย และ กองทัพจากแคว้นสิงหล เข้ายึดครองราชย์ธานี ของ อาณาจักรทมิฬโจฬะ สามารถจับกุม มหาราชา พระเจ้าอธิราเชนทร์ แห่ง อาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้ พร้อมกับได้ทำการสำเร็จโทษ มหาราชา พระเจ้าอธิราเชนทร์ ด้วย เมื่อเสร็จภารกิจแล้ว ราชากุโล ได้ประกาศขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรทมิฬโจฬะ เป็นรัชกาล ถัดมา

ปี พ.ศ.๑๖๑๓ จักรพรรดิพ่อมาฆะพร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ได้ร่วมกับ กองทัพของ แคว้นปาณฑัย อินเดียใต้ ส่งกองทัพ เข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ มหาราชาอธิราเชนทร์ เป็นผลสำเร็จ แล้วมอบให้ ราชากุโลตุง(กุโลตุงคะเทวะ) เชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร เชื้อสายชนชาติอ้ายไต ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรทมิฬโจฬะ เรียกพระนามว่า มหาราชา พระเจ้ากุโลตุงโจฬะที่ ๑

ปี พ.ศ.๑๖๑๓ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้ เป็นผลสำเร็จ สามารถยึดทรัพย์สิน ซึ่ง อาณาจักรทมิฬโจฬะ เคยปล้นสะดมไป เมื่อปี พ.ศ.๑๕๖๘ กลับคืน กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้เป็นจำนวนมาก

ปี พ.ศ.๑๖๑๓ มหาราชา พระเจ้ากุโลตุงโจฬะที่ ๑ ใช้กำลังกองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ช่วยรักษาอำนาจ อาณาจักรทมิฬโจฬะ ไว้ แล้วประกาศให้ อาณาจักรทมิฬโจฬะ เป็น อาณาจักรหนึ่ง ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๖๑๓ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.๑๖๑๓ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม ชนชาติทมิฬ ในดินแดนของ เกาะศรีลังกา เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับได้เชิญ มหาราชา พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีลังกา โดยมีนครหลวงตั้งอยู่ที่ เมืองอนุราชปุระ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๖๑๓ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.๑๖๑๓ พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ ประกาศให้ อาณาจักรศรีลังกา กลายเป็น อาณาจักรหนึ่ง ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๖๑๓ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...ปีที่สองในรัชกาล (พ.ศ.๑๖๑๓) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ยัง มหาอาณาจักรจีน มหาจักรพรรดิ ได้ถวายเงินจำนวน ๖๔,๐๐๐ เหรียญกษาปณ์ เงินแท่งอีก ๑๕,๐๐๐ ตำลึง ฮ่องเต้ ทรงแต่งตั้งให้ราชทูต ฉวิน-ถัว-หัว-หลัว มีตำแหน่งเป็น ขุนพลสยบแดนไกล(หนิง-หย่วน-เจียง-จวิน) และแต่งตั้งอุปทูต ถัว-ผาง-ย่า-หลี ให้มีตำแหน่งเป็น ขุนพลพิทักษ์ราบรื่น (เป่า-สุ้น-หลาง-เจียง) พร้อมกันนั้น ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ได้พระราชทานสิ่งของให้กับ มหาจักรพรรดิ โดยได้พระราชทานเข็มขัดทองคำ ภาชนะทองคำขาว อาภรณ์ม่วงและสิ่งของมอบให้กับ พระภิกษุ พร้อมหนังสือรับรอง ฮ่องเต้เซิ่นจง ทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ ตามที่ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ขอมา ด้วย...

ปี พ.ศ.๑๖๑๔ พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ แห่ง อาณาจักรศรีลังกา สามารถส่งกองทัพ เข้าขับไล่ การรุกราน ของ อาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้ เป็นผลสำเร็จ ก่อนหน้านี้ พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ เคยร้องขอให้ มหาราชาอนิรุทธ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ส่งกองทัพไปช่วย มาก่อน แต่ มหาราชาอนิรุทธ มิได้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ แต่อย่างใด

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๒)

ปี พ.ศ.๑๖๑๖ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...ปีที่ห้า(พ.ศ.๑๖๑๖) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ได้ส่งคณะราชทูต มายัง มหาอาณาจักรจีน ราชทูตมีชื่อว่า ผี-ว่า อุปทูตชื่อ หู-เซียน มีขุนนางผู้ติดตาม มีชื่อว่า ตี้-หัว-เจีย-หลัว ได้มาเข้าเฝ้า ฮ่องเต้ เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ มี ดอกบัวทองคำประดับมุก เครื่องหอม หลงเหน่า(โมรา) ฮ่องเต้ ทรงแต่งตั้งให้ ราชทูต ผี-ว่า เป็น หนิง-หย่วน-เจียง-จวินแต่งตั้งให้อุปทูต หูเซียน และขุนนางผู้ติดตาม ตี้-หัว-เจีย-หลัว เป็น นายทหารรักษาพระองค์(หลวงเจียง) เมื่อขุนนางควบคุมคณะราชทูต ตี้-หัว-เจียน-หลัว เดินทางกลับไปถึง หยางชิว ก็เกิดป่วยหนัก ถึงแก่กรรม ฮ่องเต้ ทรงพระราชทานผ้าไหมให้ ๕๐ พับ ให้กับ คณะราชทูต ด้วย...

(แปลโดย นายทองแถม นาถจำนง)

ปี พ.ศ.๑๖๑๖ พวกหมาน(อาณาจักร ๑๒ พันนา) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กระด้างกระเดื่องต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ประกาศแยกตัวออกเป็นเอกราช พร้อมกับได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกไว้ว่า...

...ปีที่ห้า (.ศ๑๖๑๖) หัวหน้าชาวหมาน ทางใต้กวางเจา ใช้ชื่อ ถางผู้เป็นราชธิดาของผู้ปกครองก๊ก ได้ส่งพระราชสาส์น พร้อมเครื่องราชบรรณาการ เป็น ผ้าเครื่องหอม หลงเหน่า (โมรา) ให้นายท่าเรือ  ซุน-เสี้ยงซุน-เสี้ยง มิกล้ารับ  จึงถวายรายงานเข้ามาถึง ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) พระองค์ทรงมีพระราชโองการกลับไปว่า เห็นจะเป็นแต่เพียงระดับขุนนางส่งมา จึงให้มอบผ้าฝ้ายเป็นของตอบแทน เท่านั้น...

ปี พ.ศ.๑๖๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกสั้นๆว่า...

...ปีที่หก(พ.ศ.๑๖๑๗) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต มายัง มหาอาณาจักรจีน ราชทูตมีชื่อว่า วา-ต่า-หัว-หม่าน และอุปทูตชื่อ หลัว-ซี-ซา-เหวิน ฮ่องเต้ ทรงแต่งตั้งราชทูต ให้เป็น ขุนพล(เจียงจวิน) ส่วนอุปทูต ได้รับแต่งตั้งให้เป็น นายทหารรักษาพระองค์(หลาง- เจียง) ส่วน ขุนนางผู้ติดตามคณะราชทูต ชื่อ ซี-หลี่-ซา-เหวิน แต่งตั้งให้เป็น นายทหารรักษาพระองค์(หลางเจียง) ด้วย...

(แปลโดย นายทองแถม นาถจำนง)

ปี พ.ศ.๑๖๑๗ พระเจ้ารุทรวรมันที่ ๓ แห่ง อาณาจักรจามปา กรุงวิชัย สวรรคต พระเจ้าหริวรมันที่ ๔ (ถาง หรือ วิษณุมูรตี) แห่งราชวงศ์ทมิฬโจฬะ สายราชวงศ์ พระนางใบมะพร้าว(พระนางโสมา) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา กรุงวิชัย ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๖)

 

ปี พ.ศ.๑๖๑๘ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะพร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ เสด็จ สวรรคต

Visitors: 54,236