รัชกาลที่ ๓๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสมรวิชัย กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๘๘-๑๖๑๑

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๓๒ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีสมรวิชัย 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๘๘-๑๖๑๑

 

 

ปี พ.ศ.๑๕๘๘ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘) สวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีสมรวิชัย ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี เป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีสมรวิชัย(พ.ศ.๑๕๘๘-๑๖๑๑) โดยมี นายกพ่อปาณฑยะ เป็น จักรพรรดิพ่อปาณฑยะ และมี พ่อมาฆะพร เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๓๒

      ปี พ.ศ.๑๕๙๐ พระเจ้าชัยปรเมศวรที่ ๑ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ประกาศก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ประกาศให้ อาณาจักรจามปา เป็นอาณาจักร ปกครองอิสระ 

ปี พ.ศ.๑๕๙๐ พระเจ้าชัยปรเมศวรที่ ๑ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ มหาราชา แห่ง อาณาจักรไตเวียต มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๕๙๑ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑(พ.ศ.๑๕๕๓-๑๕๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงนครวัด ได้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๕๙ ไว้ที่ปราสาทหินพิมาย มีข้อความจารึกว่า...

...พระพุทธเจ้าองค์ใด ที่ได้ทรงอุบัติขึ้นมา ทำให้โลกสม่ำเสมอ ตั้งแต่โลกนี้ ถึง โลกุตร มีพระพักตร์ ๔ ทิศ ประหนึ่งว่า เกรงมารทั้ง ๔ ทิศ ขอนมัสการ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ศกศักราชที่ ๙๖๘(พ.ศ.๑๕๙๑) พระองค์ใด ที่ประกอบด้วยดอกบัว มีพระบาทสม่ำเสมอ อันตั้งอยู่บนดอกบัว แม้จะมีภาวะหลายอย่าง แต่ประกอบด้วยภาวะทั้งหมด เป็นสภาพอันหนึ่ง คือ ศูนย์ภาวะ ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าองค์นั้น เพื่อความเจริญ

มีกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สุริยะวรมะ ซึ่งมีพระบาท อันกษัตริย์ทั้งหลายบูชาแล้ว...มีทรัพย์สมบัติมาก ไม่รู้หมด มีธรรมอันหนาแน่นในโลกนี้โดยแท้...รับใช้ ประกอบด้วย พรหมและวิษณุ เป็นต้นไหว้...

(ธรรมทาส พานิช พนมทวาราวดี ศรีวิชัย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ หน้าที่ ๑๔๗-๑๔๘)

ปี พ.ศ.๑๕๙๒ พระเจ้าไอลังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงกุหะริปัน เกาะชวา เสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ อาณาจักรม้าตาราม แตกออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรชังคละ กรุงกหุริปัน เกาะชวา ตะวันออก และ อาณาจักรเกเดรี กรุงดาหา หรือ กรุงเกเดรี เกาะชวาตะวันตก

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๙)

ปี พ.ศ.๑๕๙๓ เกิดการก่อกบฏ ในดินแดน ของ อาณาจักรจามปา (เวียตนามใต้) เนื่องจาก พระเจ้าชัยปรเมศวรที่ ๑ ประกาศก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ราชาหลายแว่นแคว้น จึงไม่ยอมขึ้นต่อ เป็นเหตุให้ พระเจ้าชัยปรเมศวร วรมัน ที่-๑ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้มอบให้ แม่ทัพศรีเทวราช ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ เข้าปราบปรามพวกก่อกบฏ ตามดินแดน แคว้นปานฑุรัง เป็นผลสำเร็จ

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๕๙๓ ปรากฏจารึกในภาษาไพร่ ของจามปา กล่าวถึงคำว่า เสียม ด้วย

(พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย หน้าที่ ๑๑๔)

ปี พ.ศ.๑๕๙๓ พระเจ้าชัยปรเมศวร วรมัน ที่-๑ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

      ปี พ.ศ.๑๕๙๓ นักปรัชญาชาวจีน ชื่อ เฉิงอี้(พ.ศ.๑๕๗๖-๑๖๕๐) ได้พัฒนา ลัทธิขงจื้อ ขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง 

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๙)

ปี พ.ศ.๑๕๙๓ มหาราชาพระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๑(พ.ศ.๑๕๕๓-๑๕๙๓) ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครธม) เสด็จสวรรคต ศิลาจารึกปราสาทโรลุ กล่าวว่า สวรรคต เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือนผาลคุณ ศกศักราช ๙๗๑(พ.ศ.๑๕๙๔) ได้รับพระราชทานพระนามภายหลังสิ้นพระชนว่า นิรวาณบท ผู้ครองราชย์สมบัติต่อจากพระองค์ คือ พระเจ้าอรวินทหรัท(พ.ศ.๑๕๙๓-๑๔๙๔) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลถัดมา

      (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๘๙)

ปี พ.ศ.๑๕๙๔ ขุนนางทมิฬโจฬะ ชื่อ อรวินทหรัท นำพวกขุนนาง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา ได้พยายามก่อกบฏขึ้นมาในดินแดนทางภาคใต้ ของ อาณาจักรคามลังกา พระเจ้าอุทิตย์(พ.ศ.๑๕๙๕-๑๖๐๙) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครธม) ได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราม สำเร็จ  

      ปี พ.ศ.๑๕๙๕ อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๕๙๕ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.๑๕๙๔ ขุนนาง ราชวงศ์ เจ้าอ้ายไต พยายามทำสงคราม เข้ายึดอำนาจดินแดน อาณาจักรคามลังกา ภาคใต้ กลับคืน มหาราชาพระองค์ใหม่ ของ อาณาจักรคามลังกา ภาคใต้ มีพระนามว่า พระเจ้าอุทิตย์(พ.ศ.๑๕๙๔-๑๖๐๙) หรือ พระเจ้าอุทิตย์วรมันที่ ๒ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ มีหัวหน้ากบฏ ชื่อ อรวินทหรัท เป็นหัวหน้ากบฏ ศิลาจารึก กล่าวว่า...

...ได้เกิดกบฏขึ้นในดินแดนทางใต้ ของ ประเทศ(อาณาจักรคามลังกา) โดยมี อรวินทหรัท เป็นหัวหน้ากบฏ ท่านผู้นี้เชี่ยวชาญอย่างจบสิ้นในการใช้ศร เป็นหัวหน้า ของ กองทัพแห่งผู้กล้า ผู้ซึ่งได้แบกน้ำหนักแผ่นดินครึ่งหนึ่งไว้ด้วยอำนาจ ทางภาคใต้ของประเทศ เมื่อรบแพ้ขุนพลสงคราม กบฏ ผู้นี้ ก็หนีอย่างรวดเร็วที่สุด เข้าไปอยู่ในดินแดน ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๐)

ปี พ.ศ.๑๕๙๕ มหาราชาอุทิตย์(พ.ศ.๑๕๙๔-๑๖๐๙) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครธม) ได้สร้าง ภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นที่ ปราสาทปาปวน เพื่อประดิษฐาน ศิวลึงค์ ซึ่งสร้างด้วย ทองคำ ศิลาจารึกภาษาสันสกฤต หลักหนึ่ง จารึกกล่าวว่า...

       ...เนื่องจากท่ามกลางดินแดนชมพูทวีป(สุวรรณภูมิ) ได้มี ภูเขาสุวรรณคีรี ตั้งอยู่ท่ามกลางที่ประทับ ของ บรรดาเหล่าเทวดา พระองค์จึงโปรดให้สร้าง ภูเขาทอง(ภูเขาสุวรรณคีรี) ขึ้นกลางราชธานี ของ พระองค์(มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์) พระองค์(พระเจ้าอุทิตย์) จึงโปรดเกล้าให้ทำการสร้าง ภูเขาสุวรรณคีรี เพื่อเป็นการประกวดประขัน ขึ้นด้วย บนยอด ภูเขาสุวรรณคีรี แห่งนี้ ภายใน ศาสนสถาน ที่สร้างด้วยทองคำ ซึ่งได้ส่องแสงด้วยประกายจากสวรรค์ พระองค์ ได้ทรงสร้าง ศิวลึงค์ทองคำ ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ ของ ๓ ทั้งโลก ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๙๐)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๖๖-๖๗)

ปี พ.ศ.๑๕๙๕ พระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ ๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้ เสด็จสวรรคต พระเจ้าราเชนทรเทวะ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๕๙๖ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง รับสั่งให้ทำสงครามขับไล่ ชนชาติอ้ายไต ออกจากมณฑลยูนาน กวางโจ กวางสี และ กวางตุ้ง อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงครามครั้งนั้น ชนชาติอ้ายไต ต้องอพยพหนีภัยสงครามลงมายัง อาณาจักรหลินยี่ ทำให้กำเนิด อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ขึ้นมาอีก อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

      ปี พ.ศ.๑๕๙๖ ชนชาติไต อาณาจักรไตจ้วง พ่ายแพ้สงครามต่อกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ทำให้ชนชาติไต จาก มณฑลหูหนาน กวางเจา อพยพลงมายังอาณาจักรหลินยี่ภาคเหนือ เรียกชื่อใหม่ว่า อาณาจักรไตเวียต

(พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย หน้าที่ ๘๕)

      ปี พ.ศ.๑๕๙๙ พระเจ้าชัยปรเมศวร วรมัน ที่-๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๕๙๙ เกิดสงครามครูเสด ระหว่าง คริสเตียน กับ มุสลิม เกิดสงครามยืดเยื้อ ๔๐๐ ปี

ปี พ.ศ.๑๖๐๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสมรวิชัย(พ.ศ.๑๕๘๘-๑๖๑๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ร่วมกับ อาณาจักรศรีลังกา ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง ครบรอบพุทธศักราช ๑๖๐๐ ปี ที่ อาณาจักรศรีลังกา ปรากฏหลักฐานใน ศิลาจารึกมาทิริคีรี จารึกว่า มหาจักรพรรดิพ่อสมรวิชัย (พ่อศรีเทพ) กับ พระเจ้ามหินทร์ ที่ ๖ ทรงร่วมกันจัดงาน เฉลิมฉลองครบรอบ ๑๖ พุทธศตวรรษ (พุทธชัยนดี) ขึ้นที่ นครอนุราชปุระ อาณาจักรศรีลังกา อย่างมโหฬาร

      ปี พ.ศ.๑๖๐๐ พระเจ้าอนิรุทธ(พ.ศ.๑๕๘๗-๑๖๒๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) กรุงเสทิม(สุธรรม) เรื่องพระไตรปิฎก ผลของสงคราม กองทัพ ของ พระเจ้าอนิรุทธ ได้ทำการปิดล้อม กรุงสุธรรม(เสทิม) เป็นเวลา ๓ เดือน มหาราชา แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ยอมแพ้ และ อาณาจักรหงสาวดี กรุงเสทิม(สุธรรม) กลายเป็นประเทศราช ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๖๐๐ เป็นต้นมา

    (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๖๐๓ พระเจ้าชัยปรเมศวรที่ ๑ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ ให้กับ มหาราชา แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) โดยส่งมาแล้วระหว่างปี พ.ศ.๑๕๙๐-๑๖๐๓ เป็นจำนวน ๕ ครั้ง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๖๐๔ พระเจ้าชัยปรเมศวร วรมัน ที่-๑ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้เสด็จ สวรรคต พระเจ้าภัทรวรมัน ที่-๓ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาลถัดมา เป็นเวลาช่วงสั้นๆ ประมาณ ๖ เดือน

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๖๐๔ พระเจ้าภัทรวรมัน ที่-๓ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้เสด็จ สวรรคต พระเจ้ารุทรวรมันที่ ๓  ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๖๐๕ พระเจ้ารุทรวรมัน ที่-๓ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๕)

      ปี พ.ศ.๑๖๐๖ พระเจ้ารุทรวรมัน ที่-๓ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาราชา ของ อาณาจักรไตเวียต มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๖๐๖ พระเจ้าราเชนทรเทวะ แห่ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ สวรรคต เป็นเหตุให้ พระเจ้าวีระราเชนทรที่ ๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ขึ้นครองราชย์สมบัติ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียภาคใต้ เป็นรัชกาลถัดมา พร้อมกับพยายามสร้างกำลังทหาร เพื่อทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๖๐๖ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต ฮ่องเต้อิงจง(พ.ศ.๑๖๐๖-๑๖๑๐) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เป็นรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๖๐๖ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ซึ่งมีแต่พระราชธิดาถึง ๑๓ พระองค์ และไม่มีพระราชโอรส แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ได้เสด็จสวรรคต ญาติลูกพี่ลูกน้อง พระนาม เจ้าซู่ ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน มีพระนามว่า ฮ่องเต้อิงจง(พ.ศ.๑๖๐๖-๑๖๑๐) ได้ขึ้นปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เรียกว่า รัชสมัย ซีหนิง แห่ง ราชวงศ์ซ้อง(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๒๒) ในรัชกาลนี้ ฮ่องเต้อิงจง(พ.ศ.๑๖๐๖-๑๖๑๐) เป็นโรคจิต เกรงถูกลอบปลงพระชนม์ตลอดเวลา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๗๖)

ปี พ.ศ.๑๖๐๘ พระเจ้ารุทรวรมัน ที่-๓ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาราชา ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๖๐๘ ได้เกิดกบฏขึ้นในดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของ อาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าอุทิตย์วรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๕๙๔-๑๖๐๙) โดยมี ขุนพลกำเวา เป็นหัวหน้ากบฏ ศิลาจารึก กล่าวว่า...

       ...ผู้โปรดปรานที่คล่องแคล่ว ของ มหาราชา เคยเป็นวีรบุรุษผู้กล้า มีนามว่า กำเวา มหาราชาได้ทรงแต่งตั้งให้เขา เป็น ขุนพล แห่ง กองทัพ เขาผู้นี้มืดมนอยู่ในประกายแห่งเกียรติยศ และครุ่นคิดอยู่แต่ในใจที่จะให้ความพินาศบังเกิดแก่บุคคลซึ่งได้เคยให้ความโปรดปราน อันด้วยประกอบด้วยอำนาจนี้แก่เขา เขาจึงได้ยกกองทัพออกจากเมือง ภายหลังจากการที่ได้ทำร้ายแก่ขุนพลสงคราม ที่บริเวณลูกคาง แล้ว ขุนพลกำเวา ก็ถูกฆ่าด้วยลูกศร ๓ ดอก...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

      ปี พ.ศ.๑๖๐๘ ได้เกิดกบฏขึ้นในดินแดนทางทิศตะวันออก ของ อาณาจักรคามลังกา เป็นเหตุให้ พระเจ้าอุทิตย์วรมันที่ ๒(พ.ศ.๑๕๙๔-๑๖๐๙) แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครธม) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม หัวหน้ากบฏ มีชื่อว่า สลวัต เป็นผลสำเร็จ และได้สร้างศิลาจารึก จารึกไว้ กล่าวว่า...

       ...บุคคลผู้มีนามว่า สลวัต และมีน้องชายนามว่า สิทธิการ รวมทั้งนักรบอีกคนหนึ่งนามว่า สศานติภูวนะ ทั้งสามคน ได้ก่อจลาจลขึ้น ขุนพลสงคราม ได้ปราบทั้งสามคนลงได้อย่างรวดเร็ว และได้ฉลองชัยชนะด้วยการสร้าง ศาสนสถาน หลายแห่ง...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๖๐๙ พระเจ้าอุทิตย์(พ.ศ.๑๕๙๔-๑๖๐๙) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครธม) เสด็จสวรรคต พระอนุชา มีพระนามว่า พระเจ้าหรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๖๑๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้าง ความสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้อิงจง(พ.ศ.๑๖๐๖-๑๖๑๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

 “...ซีหนิงศก ปีที่สิบ (.ศ.๑๖๑๐) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ(ซานโฟชิ-ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต พร้อมพระราชสาส์น และ เครื่องราชบรรณาการ มายัง มหาอาณาจักรจีน ราชทูตมีชื่อว่า ตี้-หัว-เจีย-หลัว(ทิวากร หรือ เทวกุล หรือ เจ้าหลวงเทพ) ฮ่องเต้ ทรงแต่งตั้งราชทูตให้ยศเป็น เป่า-สุ้น-มู่-หัว-ต้า-เจียง-จวิน พร้อมกันนั้น ฮ่องเต้ ทรงตอบพระราชสาส์น กลับไปยัง มหาจักรพรรดิ ด้วยความรัก และทรงซาบซึ้งในความเคารพ ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) เป็นอย่างมาก ฮ่องเต้ ทรงพระราชทาน ยศศักดิ์ ให้เป็นเกียรติ แก่ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) อีกด้วย….”

ปี พ.ศ.๑๖๑๐ ฮ่องเต้อิงจง(พ.ศ.๑๖๐๖-๑๖๑๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ได้เสด็จสวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า เซิ่นจง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน มีพระนามว่า ฮ่องเต้เซิ่นจง(พ.ศ.๑๖๑๐-๑๖๒๘) เรียกว่า รัชสมัย หยวนเฟิง แห่ง ราชวงศ์ซ้อง

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๗๖)

ปี พ.ศ.๑๖๑๑ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ โดย มหาจักรพรรดิ พระเจ้าวีระราเชนทรที่ ๑ ร่วมกับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬ เช่น อาณาจักรทมิฬโจฬะ-อินเดียใต้ , อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) , อาณาจักรศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว-ตะวันตก) , อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) , อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) วางแผนทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ อีกครั้งหนึ่ง

      ปี พ.ศ.๑๖๑๑ พระเจ้ารุทรวรมัน ที่-๓ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาราชา ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๖๑๑ สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เกิดขึ้นในปลายปี พ.ศ.๑๖๑๑ เนื่องจาก พระเจ้ารุทรวรมัน ที่-๓ ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ หรือ ฉานชาติ) ของ มหาราชาลียันตอง จึงถูก อาณาจักรไตเวียต ร่วมกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามตอบโต้ อย่างรุนแรง เข้ายึดครอง เมืองบานอย(แคว้นคิเยิน) และเข้าโจมตี เมืองนครหลวงวิชัย ผลของสงคราม พระเจ้ารุทรวรมัน ที่-๓ ต้องหลบหนีออกไปจาก เมืองนครหลวงวิชัย ในเวลากลางคืน หนีเข้าไปในดินแดน ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ประชาชนในเมืองจึงยอมพ่ายแพ้ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ จึงสามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๖๑๑ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลายเป็น อาณาจักรหนึ่ง ที่ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๖๑๑ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.๑๖๑๑ สงคราม ณ สมรภูมิ กรุงกะฑาหะ แคว้นไทรบุรี เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เข้ายึดครอง กรุงกะฑะหะ กลับคืน ผลของสงคราม กองทัพ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ สามารถเข้ายึดครองแคว้นไทรบุรี กลับคืน สำเร็จ มหาราชามหาธรรมปรัพฑา ต้องหลบหนีไปยังอินเดียใต้

ปี พ.ศ.๑๖๑๑ เกิดสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรศรีลังกา เกิดขึ้นเมื่อ มหาจักรพรรดิ พระเจ้าวีระราเชนทรที่ ๑ แห่ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้ ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรศรีลังกา ซึ่งปกครองโดย พระเจ้ามหินทรที่ ๖ ผลของสงคราม พระเจ้ามหินทรที่ ๖ ต้องทิ้ง พระนคร และอพยพไพร่พล ไปตั้งรับศึกอยู่ที่ บ้านอาราวัน ในตำบล มาตาเล ต่อมา เกิดการรบกันที่ สมรภูมิ ภูเขาศิคิคีรี การรบเป็นไปอย่างยืดเยื้อ

ปี พ.ศ.๑๖๑๑ เกิดสงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) กองทัพของ อาณาจักรศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว-ตะวันตก) ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) ผลของสงคราม จักรพรรดิพ่อปาณฑยะ  ได้ยกทัพเรือ เข้าปะทะกับ กองทัพทมิฬโจฬะ ผลของสงคราม กองทัพ ของ อาณาจักรศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว-ตะวันตก) บาดเจ็บล้มตาย จำนวนมาก ต้องพ่ายแพ้สงคราม กลางทะเล ส่วนที่เหลือ ต้องถอยทัพ กลับไป

 ปี พ.ศ.๑๖๑๑ เกิดสงคราม ณ สมรภูมิ ราชธานี กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เกิดสงครามในอ่าวบ้านดอน ระหว่าง กองทัพของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) กับ กองทัพหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ผลของสงคราม กองทัพทมิฬโจฬะ ของ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไป ส่วน มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(พ่อสมร) ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการทำสงคราม ครั้งนั้น ด้วย

 

ปี พ.ศ.๑๖๑๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสมรวิชัย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ สวรรคต

Visitors: 54,355