รัชกาลที่ ๓๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(สมรวิชัย) กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๓๑ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(สมรวิชัย)

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘

 

 

ปี พ.. ๑๕๗๑ พ่อศรีเทพ (สมรวิชโยตุง)(พระชนม์มายุ ๗ พรรษา) พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อจูหลิน ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิศรีเทพ(พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘) ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เป็นรัชกาลที่ ๓๑ ว่าราชการที่ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยมี พระนางชีพราหมณ์สุนทรี เป็นผู้สำเร็จราชการ มี นครหลวง อยู่ที่ เมืองพรุยายชี หรือ เมืองเสียมใหม่ โดยมิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ เป็นเพียงการทำตาม ราชประเพณี ของ ฮ่องเต้เหรินจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เท่านั้น

ปี พ.ศ.๑๕๗๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ซึ่งมีพระชนมายุ ๗ พรรษา ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง โดยมี พระนางแม่ชีเม่งกุ้ย ซึ่งเป็น สมเด็จย่า ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ เป็นขุนนางผู้ติดตาม หัวหน้าคณะราชทูต มีบันทึกสั้นๆว่า...

 ...เทียนเซิ่งศก ปีที่หก(..๑๕๗๑) เมื่อเดือนแปด มี มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) มีพระนามว่า ศรีเทพ(ชี-ลี-เต๋-หัว) ได้ส่งคณะราชทูต มาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต ราชทูต มีชื่อว่า พระยาธนูศรี(ผู-เจี่ย-ถัว-หลัว-เซ) กับอุปทูต และพ่านกวน ขุนนางผู้ติดตามมีชื่อว่า สมเด็จย่า(ย่า-เจีย-หู) เป็นต้น คณะราชทูตได้นำเครื่องของพื้นเมืองมาถวายตามธรรมเนียม ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ตรัสว่า แต่เดิมเมื่อก๊กที่อยู่ห่างไกล ส่งคณะราชทูต มาถวายราชบรรณาการนั้น ฮ่องเต้เหรินจง ได้ทรงพระราชทานเข็มขัดประดับทอง สลับเงิน เป็นสิ่งตอบแทน แต่ครั้งนี้ ฮ่องเต้เหรินจง ทรงพระราชทานเข็มขัดทองล้วน เป็นสิ่งตอบแทน...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๖)

      ปี พ.ศ.๑๕๗๑ พระเจ้าไอลังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงสุราบาย่า เกาะชวา ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี เจ้าชายภีษมประภาวะ ผู้ปกครอง แคว้นหนึ่ง ในเกาะชวา เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๗)

ปี พ.ศ.๑๕๗๓ พระเจ้าไอลังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงสุราบาย่า เกาะชวา ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี เจ้าชายวิชัย  แห่ง แคว้นเวงเก บนที่ราบมาดิอุน ทางทิศตะวันออก ของ เกาะชวา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๗)

ปี พ.ศ.๑๕๗๓ สุลต่าน มาหมุด แห่ง อาณาจักรฆาชนี(ลุ่มแม่น้ำสินธุ) สวรรคต

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๗)

ปี พ.ศ.๑๕๗๔ พระเจ้าไอลังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงสุราบาย่า เกาะชวา ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี เจ้าชายอธมาปนุท พร้อมกับทำการเผาราชธานี เสียสิ้น

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๗)

ปี พ.ศ.๑๕๗๕ พระเจ้าไอลังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงสุราบาย่า เกาะชวา ได้ทรงยกกองทัพ ทรงกำจัดสตรี จารึกระบุว่า ..สตรีผู้มีกำลังแข็งแรง น่ากลัวดั่ง นางราชสีห์.. ให้ออกไปจาก อาณาจักรม้าตาราม หลังจากนั้น พระเจ้าไอลังกา ได้ทำสงครามรบพุ่ง กับ เจ้าชายแห่ง แคว้นวรุวริ และได้ย้อนกลับมารบพุ่งกับ เจ้าชายวิชัย แห่ง แคว้นเวงเกร์ อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม เจ้าชายวิชัย ต้องทิ้งพระชายา โอรส ธิดา ทรัพย์สมบัติ และราชรถ ไว้

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๗)

ปี พ.ศ.๑๕๗๘ พระเจ้าไอลังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงสุราบาย่า เกาะชวา ได้ทรงสร้าง ศาสนสถาน มีชื่อว่า ศรีวิชยาศรม ขึ้นมาในดินแดน เกาะชวา เพื่อเป็นสถานที่รักษา ผลิตยาสมุนไพร ขึ้นมาด้วย พระเจ้าไอลังคะ จัดให้ กวีชื่อ กันวะ ทำการแต่งวรรณคดี เรื่อง อรชุนวิวาหะ เป็นเรื่องราวที่เปรียบเทียบสรรเสริญการเสกสมรส ของ พระเจ้าไอลังกา กับ เจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๘-๕๙)

ปี พ.ศ.๑๕๘๐ พระเจ้าไอลังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงสุราบาย่า เกาะชวา ได้ทรงทำสงครามชนะข้าศึก มีอิทธิพล เหนือดินแดนเกาะชวา ทั้งหมด พระเจ้าไอลังกา ได้สร้าง เมืองกุหะริปัน เป็นราชธานี แห่งใหม่ ของ อาณาจักรม้าตาราม

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๗)

ปี พ.ศ.๑๕๘๒ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑(พ.ศ.๑๕๕๓-๑๕๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงนครวัด ได้สร้างศิลาจารึกหลักที่ เค-๓๘๐ ไว้ที่ปราสาทหินเขาพระวิหาร มีข้อความจารึกว่า...

...ศกศักราชที่ ๙๕๙(พ.ศ.๑๕๘๒) ศรีราชปติวรมะ แห่ง อวาธยปุระ ได้กราบทูลต่อ พระเจ้าสุริยะวรมะเทวะ ว่า ศรีสุกรรม กัมสเตง เป็นผู้ภักดี ได้พยายามรักษาซ่อมแซม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่ออุทิศแด่ ศรีสิขเรศวร และแด่ ศรีวฤทเธศวร ไว้เป็นอย่างดี ตลอดเวลา...

 (ธรรมทาส พานิช พนมทวาราวดี ศรีวิชัย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ หน้าที่ ๑๕๒)

ปี พ.ศ.๑๕๘๔ พระเจ้าไอลังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงกุหะริปัน เกาะชวา ทรงสร้าง ศาสนสถาน ขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ เจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ แห่ง ราชวงศ์ไศเลนทร์ มีพระนามว่า สงครามวิชัยธรรมประสา โทตะตุงคะเทวี ซึ่งเจ้าหญิงพระองค์นี้ ได้หนีไปยัง เกาะชวา ในสมัยที่ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ ทำสงครามยึดครอง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ และพระนางได้เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๕๘๔

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๘)

ปี พ.ศ.๑๕๘๕ พระเจ้าชัยสิงห์ วรมัน ที่-๒ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่ง คณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง โดยได้แจ้งแก่ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ว่า พระองค์ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา พระองค์ใหม่ ต่อจาก พระเจ้าวิกรานต วรมัน ที่-๔ ของ อาณาจักรจามปา เรียบร้อยแล้ว

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

      ปี พ.ศ.๑๕๘๖ พระเจ้าชัยสิงห์ วรมัน ที่-๒ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่ง กองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ของ มหาราชาหลีไถตอง สามารถเข้าปล้นสะดมเมืองต่างๆ ตามชายฝั่งทะเล ของ อาณาจักรไตเวียต ได้รับความเสียหาย จำนวนมาก

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

      ปี พ.ศ.๑๕๘๗ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าสนับสนุน มหาราชาหลีไถตอง แห่ง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าชัยสิงห์ วรมัน ที่-๒ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ถูกตัดพระเศียร ในสนามรบ

      ปี พ.ศ.๑๕๘๗ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับ ขนเอา นางสนมกำนัน ของ พระเจ้าชัยสิงห์ วรมันที่ ๒ กลับไปยัง อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เป็นจำนวนมาก ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

      ปี พ.ศ.๑๕๘๗ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๕๘๗ เป็นต้นมา สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ส่ง มหาราชาปรเมศวร(พระเจ้าปรเมศวรวรมันที่ ๑) ไปปกครอง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๕๘๗ พระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ ๑ พร้อมกับ พระนางกองแก้ว ได้เดินทางมาที่ กรุงกะฑาหะ แคว้นไทรบุรี สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เพื่อมาสืบข่าว เพราะได้ทราบข่าวว่า พระนางแม่ชีสุนทรี เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการ ปลุกระดมประชาชนให้ลุกขึ้นต่อต้าน ชนชาติทมิฬโจฬะ ของ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ และ กำลังบวชชีพราหมณ์อยู่

ปี พ.ศ.๑๕๘๗ มหาราชา โลกะเต(พ.ศ.๑๕๓๕-๑๕๘๗) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ถูกลอบปลงพระชนม์ โดย เจ้าชายอนิรุทธ(แปลว่า ปราศจากอุปสรรค) หรือ อนุรุทธ(แปลว่า สงบ) หรือ เจ้าชายอโนรธา ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชากุนโส ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แล้วขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม มีพระนามว่า พระเจ้าอนิรุทธ(พ.ศ.๑๕๘๗-๑๖๒๐) แล้วได้ทำการก่อกบฏ ประกาศแยก อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๕๘๗ เป็นต้นมา

  (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๕๘๗ มหาราชา พระเจ้าอนิรุทธ(พ.ศ.๑๕๘๗-๑๖๒๐) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ได้เสด็จไปยัง มหาอาณาจักรน่านเจ้า เพื่อไปเอาพระเขี้ยวแก้ว พระเจ้าอนิรุทธ ได้เสด็จไปเยือน อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว ด้วย เจ้าเมืองไทยใหญ่ หลายเมือง ได้มาเข้าเฝ้า ด้วย และเมื่อ พระเจ้าอนิรุทธ เสด็จไปแวะประทับ ณ เมืองมาว มหาราชา แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว ได้ถวายราชธิดา มีพระนามว่า พระนางเจ้ามานละ ให้เป็นพระสนม ของ พระเจ้าอนิรุทธ ด้วย ต่อมา พระนางเจ้ามานละ ได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เรียบร้อยแล้ว ได้ถูกมเหสี องค์อื่นๆ ซึ่งเป็นสายราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) ใส่ร้ายป้ายสีว่า พระนางเจ้ามานละ เป็นแม่มด  และพร้อมใจกันขับไล่ พระนางเจ้ามานละ ออกจากพระราชวัง พระนางเจ้ามานละ จึงเสด็จกลับไปยัง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว พร้อมกับได้สร้างเจดีย์ชื่อ เจดีย์ชเวสะยัน เป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม กับ อาณาจักรโกสมพี กรุงมาว ในเวลาต่อมา     

(สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐)

ปี พ.ศ.๑๕๘๗ ตำราพิชัยสงคราม ของ กองทัพ ของ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้พรรณนาถึงการใช้ ดินปืน มาใช้ในการทำสงคราม

      (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๕๘๗ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑(พ.ศ.๑๕๕๓-๑๕๙๓) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา(ขอม-เขมร) กรุงนครวัด ได้สร้างศิลาจารึก ไว้ที่บ้านสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ มีข้อความจารึกว่า...

...ศกศักราชที่ ๙๖๔(พ.ศ.๑๕๘๗) พระเจ้าสุริยะวรมะเทวะได้ทำการปฏิสังขรณ์ ปราสาทนี้...

 (ธรรมทาส พานิช พนมทวาราวดี ศรีวิชัย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ หน้าที่ ๑๕๓)

ปี พ.ศ.๑๕๘๘ เกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม กับ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงกะฑาหะ แคว้นไทรบุรี อาณาจักรมาลัยรัฐ (มาลายู) เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบ พระเจ้ามหาสธรรมปรัพฑา ณ กรุงกะฑาหะ แคว้นไทรบุรี ผลของสงคราม พระเจ้ามหาสธรรมปรัพฑา ต้องหลบหนีออกจาก แคว้นกะฑาหะ (ไทรบุรี) แต่ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘) บาดเจ็บสาหัส ในสงคราม

 

ปี พ.ศ.๑๕๘๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีเทพ(พ.ศ.๑๕๗๑-๑๕๘๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เสด็จสวรรคต

 

Visitors: 54,261