รัชกาลที่ ๒๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะ กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๒๔

 มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะ 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘

 

ปี พ.ศ.๑๕๖๐ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีมาลา(พ.ศ.๑๕๕๑-๑๕๖๐) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) สวรรคต เป็นที่มาให้ เจ้าชายจูหลิน(พ่อศรีสุริยะ) ซึ่งยังทรงพระเยาว์ มีพระชนมายุเพียงประมาณ ๑๗ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะ(พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยมี พ่อสงครามวิชัย เป็น จักรพรรดิ ณ กรุงนครศรีธรรมราช และมี

ปี พ.ศ.๑๕๖๐ พระนางเม่งกุ้ย อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีมาลา และเป็น พระราชชนนี ของ มหาจักรพรรดิพ่อจูหลิน ได้ออกบวช เป็นแม่ชี ได้ไปจำพรรษา อยู่ที่ เมืองพรุยายชี มาตั้งแต่ได้ พระราชทานเพลิงพระบรมศพ ของ มหาจักรพรรดิพ่อมาลา ตามราชประเพณี จึงมีพระนามใหม่ว่า พระนางแม่ชีเม่งกุ้ย

ปี พ.ศ.๑๕๖๐ มหาจักรพรรดิพ่อจูหลิน(พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ฮ่องเต้เจิ้นจง(พ.ศ.๑๕๔๐-๑๕๖๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ได้ทรงต้อนรับคณะราชทูตเหนือกว่าคณะราชทูตรัฐอื่นๆ  คุณทองแถม นาทจำนง ได้แปลไว้มีเนื้อหาว่า...

 ...เทียนสี่ศก (..๑๕๖๐) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีพระนามว่า ศรีสุริยะเทพ(ชี-ลี-ชู-อู้-จา-ผู-หมี) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ราชทูตมีชื่อว่า ผู-แหม-ชี(พระนางแม่ชีเม่งกุ้ย) เป็นหัวหน้าคณะทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็น พระสุพรรณบัฎ ไข่มุก งาช้าง คัมภีร์พุทธศาสนาภาษาสันสกฤต และ ทาสชาวพื้นเมือง ดินแดนขุนหลวง(อาณาจักรมาลัยรัฐ) ฮ่องเต้ ทรงมีพระราชานุญาติ ให้คณะราชทูตเข้าเฝ้า ณ พระตำหนัก หุ้ย-หลิง-กวน โดยจัดให้ คณะราชทูต เดินทางไปเที่ยววัด ไท่-ชิงและ วัด บึง-จิน-หมิง อีกด้วย เมื่อ คณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เดินทางกลับไป ทาง ฮ่องเต้เจิ้นจง(พ.ศ.๑๕๔๐-๑๕๖๕) ได้ ทรงพระราชทาน พระราชสาสน์ และสิ่งของตอบแทน กลับไปด้วย...

ปี พ.ศ.๑๕๖๓ พระเจ้าหริวรมัน ที่-๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงวิชัย ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าปรเมศวร วรมัน ที่-๓ ได้ขึ้นครองราชย์ ปกครอง อาณาจักรจามปา กรุงวิชัย แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ..๑๕๖๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยเทพ(พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘) หรือ ราชาจูหลิน มีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงสุนทรี พระราชธิดาของ พระเจ้ามหินทรที่-๔ แห่ง อาณาจักรศรีลังกา โดยยังมิได้ออกผนวชเป็นพระภิกษุ ตามราชประเพณี จึงมีพระราชมารดา พระนางชีเม่งกุ้ย เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มาโดยตลอด

ปี พ.ศ.๑๕๖๓ เจ้าชายไอลังกา แห่ง อาณาจักรบาหลี เป็นคู่มั่น กับ เจ้าหญิง แห่ง อาณาจักรม้าตาราม ได้มาบวชเป็นนักพรต อยู่ที่ สำนักนักพรตเขาวนคีรี เกาะชวา เป็นแกนนำในการต่อสู้ อาณาจักรม้าตาราม กลับคืน จาก สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ ใช้เมืองสุราบาย่า เกาะชวา เป็นฐานที่มั่น ในการสร้างกองทัพกู้ชาติ ขึ้นใหม่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๖-๕๗)

ปี พ.ศ.๑๕๖๓ เจ้าชายไอร์ลังกา แห่ง อาณาจักรบาหลี เป็นคู่มั่น กับ เจ้าหญิง แห่ง อาณาจักรม้าตาราม ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรม้าตาราม กรุงสุราบาย่า เกาะชวา-ตะวันออก มีพระนามว่า ศรีมหาราชา ระไก ฮะลุ ศรีโลเกศวรธรรมวงศ์ไอร์ลังคะ อนันตวิกระโมตตุงคเทพ เป็นรัชกาลที่ ๒๓

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๗)

ปี พ..๑๕๖๔ พระนางสุนทรี ได้ประสูติ เจ้าชายศรีเทพ พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยเทพ(พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘) หรือ ราชาจูหลิน กับ พระนางสุนทรี เจ้าชายศรีเทพ พระองค์นี้ จะเป็น มหาจักรพรรดิ ผู้ทำสงครามกอบกู้เอกราช ขับไล่ข้าศึกทมิฬ ออกไปจากดินแดน สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ในเหตุการณ์หลังจากการสูญเสียเอกราช ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ครั้งที่-๑

ปี พ.ศ.๑๕๖๔ มหาอุปราชหลีไถตอง แห่ง อาณาจักรไตเวียต (เวียตนามเหนือ) ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรจามปา (เวียตนามใต้) สามารถยึดครอง แคว้นกวางบิน กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๕๖๔ พระเจ้าปรเมศวร วรมัน ที่-๓ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เจิ้นจง(พ.ศ.๑๕๔๐-๑๕๖๕) ราชวงศ์ซ้อง ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๕๖๕ ฮ่องเต้เจิ้นจง(พ.ศ.๑๕๔๐-๑๕๖๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต พระราชโอรส พระนาม เหรินจง ซึ่งมีแต่พระราชธิดาถึง ๑๓ พระองค์ และไม่มีพระราชโอรส ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีพระนามว่า ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) เรียกว่า รัชสมัย เทียนเซิ่ง แห่ง ราชวงศ์ซ้อง(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๒๒) ในรัชกาลนี้ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ได้พยายามปฏิรูประบบราชการ ถือเอความรู้จากทฤษฎี และจากการปฏิบัติ มาคัดเลือกข้าราชการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ มหาอาณาจักรจีน 

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๗๖)

ปี พ.ศ.๑๕๖๖ นั้น มหาจักรพรรดิจูหลัน(พระเจ้าราเชนทรที่-๑) แห่ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ ได้ทำการประชุมวางแผนทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ร่วมกับ มหาราชา แห่ง อาณาจักรต่างๆ ซึ่งปกครองโดย เชื้อสายทมิฬโจฬะ และ เชื้อสายกลิงค์ ในดินแดนเกษียรสมุทร และ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งนับถือ ศาสนาพราหมณ์ หมายถึง อาณาจักรโจฬะ(อินเดียใต้) , อาณาจักรศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว-ตะวันตก) , อาณาจักรกำพูชา(เขมร และ ขอม) , อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรกาลี้(บอร์เนียว-ตะวันออก) , อาณาจักรบาหลี(เกาะบาหลี) และ อาณาจักรม้าตาราม(เกาะชวา)

ปี พ.ศ.๑๕๖๗ ฮ่องเต้เหรินจง(พ.ศ.๑๕๖๕-๑๖๐๖) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง จัดพิมพ์ ธนบัตร ขึ้นมาใช้ครั้งแรกในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน เนื่องจากมีผู้ลักลอบ เหรียญทองแดง จำนวนมากไปยัง มหาอาณาจักรญี่ปุ่น อาณาจักรตาโกลก(ฟิลิปินส์) อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ และ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นจำนวนมาก จึงเกิดการขาดแคลนเหรียญทองแดง ไปใช้ในดินแดน มหาอาณาจักรจีน

      (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๐)

ปี พ..๑๕๖๗ มหาจักรพรรดิพระเจ้าราเชนทรที่-(ราชาจูหลัน) แห่ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ ทราบข่าวว่า มหาจักรพรรดิพ่อจูหลิน แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ยังทรงพระเยาว์ ไม่มีประสบการณ์ ในการทำสงคราม จึงกลายเป็นโอกาสที่เหมาะสม ในการทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา)

ปี พ..๑๕๖๗ มีประกาศพระราชนิยม ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะเทพ(พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้มีพระบรมราชโองการ สั่งให้ทุกแว่นแคว้น ทำการสวดมนต์ เพื่อเพิ่มบารมีให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อจูหลิน(พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘) หรือ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะเทพ มีการค้นพบจารึกที่ อาณาจักรละโว้ มีบันทึก มีคำแปลว่า...

ศักราช ๙๔๔ (..๑๕๖๗) วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะเทพ (พระบาทกัมรเตง กำตวน อัญศรีสุริยวรมเทวะ) มีพระบัญฑูร ตรัสว่า พระราชนิยมนี้ ให้บุคคลทั้งหลาย ถือเป็นสมาจาร ต่อไป คือในสถานที่อยู่ของดาบสทั้งหลาย หรือ ของพระภิกษุฝ่ายมหายานทั้งหลาย หรือ ของภิกษุ ฝ่ายสถวิระ ทั้งหลายก็ดี ให้ท่านทั้งหลายที่ได้บวชโดยจริงใจ เพื่ออุทิศส่วนกุศล (ถวาย ตบะ) แก่ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะเทพ (พระบาทกัมรเตง กำตวน อัญศรีสริยวรมเทวะ) ด้วย

ถ้าผู้ใด เข้ามา ทำธุราจาร ในโบส วนาวาส ต่างๆ แลมารบกวนดาบส ซึ่งถือโยคธรรม ไม่ให้ (ได้รับความสะดวก)  ในการสวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล (ถวาย ตบะ) แด่ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะเทพ (พระบาทกำมรแตง กำตวน อัญศรีสุริยวรมเทวะ) โปรดเกล้ารับสั่งให้ ให้จับผู้นั้นมานำขึ้นศาลสภา เพื่อจะได้ฟังคดีที่ควรจะถูกตัดสิน อย่างเคร่งที่สุด

ผู้นำสมาจารนี้คือ  พระ……………เศรษฐี

ปี พ.ศ.๑๕๖๗ มหาราชาแห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง (ปาเล็มบัง) เกาะสุมาตรา ได้โปรดให้สร้างเทวรูป พระโลกนาถ คือ พระโพธิสัตว์โลเกศวร ประทับยืน อยู่ท่ามกลางนางดารา ๒ ข้าง เมื่อปี พ.ศ.๑๕๖๗ ค้นพบเทวรูปนี้ ที่ เมืองตะปะนะลิ เกาะสุมาตรา ตะวันตก

ปี พ.ศ.๑๕๖๗ พระเจ้ากัมพุช(พ.ศ.๑๕๕๑-๑๕๖๗) ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรกัมพุช(ละโว้)  กรุงอโยธยา เสด็จสวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงยโสธรปุระ(นครธม) พระยาอาทิตย์อุทัย(พ.ศ.๑๕๖๗-๑๕๖๙) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรกัมพุช(ละโว้) กรุงละโว้ ในรัชกาลถัดมา

ปี พ..๑๕๖๘ พระนางสุนทรี อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิศรีสุริยะเทพ(พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘) หรือ ราชาจูหลิน กำลังทรงพระครรภ์ เจ้าหญิงจันทราวดี อยู่ เมื่อทราบว่า จะเกิดสงคราม จึงได้ไปประทับอยู่ที่ เมืองพรุยายชี (เสียมใหม่)

ปี พ.ศ.๑๕๖๘ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ กรุงเชโป(กำโพธิ์ช้า-บอร์เนียว) ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามเข้ายึดครอง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ..๑๕๖๘ พระเจ้าราเชนทรที่-(ราชาจูหลัน) แห่ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียภาคใต้ ได้ประชุมมหาราชา เชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ และ สายราชวงศ์ชนชาติกลิงค์ ผู้นับถือศาสนาฮินดู ในดินแดนเกษียรสมุทร และดินแดนสุวรรณภูมิ คือ อาณาจักรศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว-ตะวันตก) , อาณาจักรม้าตาราม(เกาะชวา) , อาณาจักรกาลี้(บอร์เนียว-ตะวันออก) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ส่วนอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ อาณาจักรกำโพธิ์ช้า(เขมร) ล้วนเป็นผู้นับถือศาสนาฮินดู เพื่อร่วมกันวางแผนทำสงคราม กับ มหาจักรพรรดิพ่อจูหลิน แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ผู้นับถือพระพุทธศาสนา มีการวางแผนระดมกองทัพเรือ เข้ามาเตรียมพร้อม เพื่อเตรียมเข้าโจมตี แว่นแคว้นต่างๆ ที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเล พร้อมๆ กัน ศิลาจารึกตันชอ จารึกว่า...

...พระเจ้าราเชนทร (มหาจักรพรรดิจูหลัน) ได้เสด็จนำกองทัพเรือ เดินทางข้ามทะเลอันเต็มไปด้วยระลอกคลื่น สามารถจับกุม มหาราชาสงครามวิชัย(สังกรมวิชยตุงคะ) มหาราชา แห่ง แคว้นกะทะราม(ไทรบุรี) พร้อมด้วยช้าง จำนวนมาก ที่มีอยู่ในกองทัพของพระองค์  สามารถยึดได้ทรัพย์สมบัติ ได้เป็นจำนวนมาก  ที่ มหาราชา ของ แคว้นกระทะราม(ไทรบุรี) ได้สะสมไว้ อย่างชอบธรรม

พระเจ้าราเชนทร(จูหลัน) สามารถยึดได้ประตูชัย(ประตูนพชัย) ที่มีชื่อว่า วิทยาธรโทรณะ อันเป็นประตูเมือง ของ เมืองนครหลวง(กรุงสานโพธิ์-ไชยา) อันมโหฬาร() ประตูนี้ มีประตูเล็ก ซึ่งถูกตกแต่งอย่างสวยงาม ประดับประดาด้วยเพชรพลอย

พระเจ้าราเชนทร(จูหลัน) สามารถยึดได้  () รัฐปันนาย(เมืองปาไน-สุมาตรา) ซึ่งเป็นรัฐที่เต็มเปี่ยมในอ่างเก็บน้ำ  () รัฐมาลายู(มะละกา) ซึ่งมีภูเขาเป็นป้อมปราการล้อมรอบ () รัฐมะยิรูติงกัม(สระทิ้งพระ) ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเล(ทะเลสาบสงขลา) ดูประหนึ่งคูเมือง () รัฐอ้ายลังกาสุกะ(ปัตตานี) ซึ่งเก่งกล้าในการรบ () รัฐมัมปะลัม(เมืองเสทิม-หงสาวดี) ซึ่งมีน้ำลึกเป็นแนวป้องกันเมือง () รัฐเมวิลัมบังกัม(คามลังกา) ซึ่งมีแนวกำแพงเมืองที่สง่างาม () รัฐวาไลยพันดุรุ(ปาณฑุรัง-จามปา) ซึ่งมีวิไลยพันดุรุ(ป้อมปราการที่แข็งแรง)() รัฐตาลัยตักโกลัม(ตาโกลา-กันตัง) มีเมืองซึ่งได้รับการยกย่องจากนักปราชญ์ว่า เชี่ยวชาญทางวิทยาการ  (๑๐) รัฐตามพรลิงค์กัมเมือง(นครศรีธรรมราช) ซึ่งยิ่งใหญ่ และมีความสามารถในการรบ (๑๑) รัฐอีลามุรีเดแอม(ลามมุรี-สุมาตรา) ซึ่งเป็นเมืองที่ทำการรบพุ่งอย่างดุเดือด (๑๒) รัฐนักกะวารัม (ปาเล็มบัง) ซึ่งเป็นเมืองที่มีสวนผลไม้ใหญ่โต และมีน้ำผึ้งเป็นอันมาก (๑๓) รัฐกะทะราม (แคว้นไทรบุรี) ซึ่งเป็นเมืองที่มีกำลังทหารมากมาย และป้องกันโดยทะเลลึก...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๕)

 

ปี พ..๑๕๖๘ พระเจ้าราเชนทรที่-(ราชาจูหลัน) แห่ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียภาคใต้ สามารถจับกุม เจ้าหญิงโอเม่งกิว ซึ่งเป็น พระราชธิดาของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีมาลา และเป็น พระขนิษฐา ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุริยะเทพ(พ.ศ.๑๕๖๐-๑๕๖๘) เป็นพระชายา ของ ราชาจูหลัน

Visitors: 54,244