รัชกาลที่ ๒๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๒๒ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑

 

ปี พ..๑๕๓๔ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) สวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต จึงเสด็จขึ้นมาเป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) โดยมี จักรพรรดิพ่อศรีมาลา เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อชีวก เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๒๒

ปี พ.ศ.๑๕๓๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต จาก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ไปสัมพันธ์ทางการทูตกับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยมีคณะราชทูต ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม ต่างกล่าวถึง อาณาจักรเชโป(ศรีโพธิ์ช้า-บอร์เนียว) ส่งกองทัพเข้ารุกราน จดหมายเหตุจีน มีบันทึกว่า...

...ในฤดูหนาว ของ ฉุนฮั่วศก ปีที่สาม (..๑๕๓๕) ฮ่องเต้ได้รับทราบข่าวจาก เมืองกวางเจา ว่า คณะราชทูต จาก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) ซึ่งเดินทางมาเมื่อ ๒ ปี ก่อน ครั้งแรก ได้ทราบข่าวจากพ่อค้าทางทะเลใต้ ว่า สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ถูก สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ กรุงศรีโพธิ์ช้า(เชโป-บอร์เนียว) ทำสงครามรุกราน ด้วยเหตุนี้ ท่านราชทูต จึงต้องพักอยู่ที่ เมืองกวางตุ้ง เป็น เวลา ๑ ปี และต่อมาในฤดูใบไม้ผลิ ของปี พ.ศ.๑๕๓๔ ท่านราชทูต พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยัง อาณาจักรหลินยี่ ของ ท่านราชทูต เอง แต่ท่านราชทูต ยังไม่ได้รับข่าวดี ท่านจึงต้องเดินทางกลับเข้ามายัง เมืองกวางตุ้ง ของ มหาอาณาจักรจีน อีก พร้อมกับได้มีพระราชสาส์น กราบทูลขอให้ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทรงออกพระบรมราชโองการว่า สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) อยู่ในความคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๓)

ปี พ.ศ.๑๕๓๕ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ กรุงกำโพธิ์ช้า(บอร์เนียว) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๕๓๕ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ กรุงศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ท่านราชทูต ได้กราบทูลต่อ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ว่า ประเทศของตน กำลังทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา)...

ปี พ.ศ.๑๕๓๕ มหาราชา แห่ง อาณาจักร บรามัน(บาหลี) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๐)

ปี พ.ศ.๑๕๓๕ มหาราชา ธรรมราชเจ้า(ทาราดเจา) แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๕๓๕ เดือนที่ ๑๒ มหาราชาธรรมราชเจ้า แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ราชทูตกล่าวว่า บัดนี้ ฮ่องเต้ไท่จง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีความทรงธรรม อีกครั้งหนึ่ง อาณาจักรของพวกเรา จึงนำเครื่องราชบรรณาการ มาแสดงความจงรักษ์ภักดี

ราชทูตเล่าว่า มีพ่อค้าใหญ่ชาวจีนชื่อ เกียนกิ มีเรือหลายลำ เป็นผู้บริการนำคณะราชทูต เดินทางมา ราชทูตให้ข้อมูลว่า มหาจักรพรรดิ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม มีพระนามเดิมว่า อาจิ มารยา มีอัครมเหสี มีพระนามว่า ลาเคย นสาโบลิ ตำแหน่งอัครมเหสี เรียกชื่อว่า โพโห พินิ และยังกล่าวว่า อาณาจักรของพวกเขา เป็นศัตรู กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และได้ทำสงครามระหว่างกัน เป็นประจำ ส่วนอาณาจักรเพื่อนบ้าน ที่ชื่อ อาณาจักรพรากมัน(เกาะบาหลี) นั้น กษัตริย์ จะมีความสามารถพิเศษ คือสามารถอ่านรู้ใจคน ใครจะทำอะไร พระองค์จะสามารถรับรู้ก่อนเสมอ...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๖)

ปี พ.ศ.๑๕๓๕ รายงานการวิจัยของ นายโรกุโร กุวาตะ นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ได้สรุปเหตุการณ์จากจดหมายเหตุจีน ในปี พ..๑๕๓๕ ว่า...

...สงครามในปี พ.ศ.๑๕๓๕ นั้น กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ เริ่มเป็นฝ่ายรุกในการทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ กรุงโศรีโพธิ์ช้า(ศรีโพธิ์ช้า-เกาะบอร์เนียว) ดังนั้นในปีดังกล่าว(พ.ศ.๑๕๓๕) คณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ กรุงโศรีโพธิ์ช้า(ศรีโพธิ์ช้า-เกาะบอร์เนียว) ได้ส่งคณะราชทูตเดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับได้ฟ้องร้องต่อ ฮ่องเต้ไท่จง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ว่า ประเทศของตนเองถูก สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ทำสงครามรุกราน ด้วย ฮ่องเต้จีน จึงไม่ก้าวก่ายทั้ง ๒ ฝ่าย ในสงครามครั้งนี้...

      ปี พ.ศ.๑๕๓๕ มหาราชา กะสิโย(พ.ศ.๑๕๒๙-๑๕๓๕) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม(โพธิ์คาม) สวรรคต และ อุปราชโสกะเต(พ.ศ.๑๕๓๕-๑๕๘๗) พระอนุชา ราชาราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๕๓๘ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ประกาศควบคุมการค้ากับต่างประเทศ ให้ รัฐบาลจีน เป็นผู้ค้าขายกับต่างประเทศโดยตรง

      (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๐)

ปี พ.ศ.๑๕๓๘ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทำการพิมพ์ ธนบัตร มาใช้ในดินแดน ของ แคว้นเสฉวน เป็นครั้งแรก

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๕๓๘-๑๕๔๐ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ยกกองทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) อย่างต่อเนื่อง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒-๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๕๔๐ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต พระราชโอรส ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน มีพระนามว่า ฮ่องเต้เจิ้นจง(พ.ศ.๑๕๔๐-๑๕๖๕) เรียกว่า รัชสมัย เสียนผิง แห่ง ราชวงศ์ซ้อง(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๒๒) ในรัชกาลนี้ ราชวงศ์ซ้อง ยอมซื้อสันติภาพจากอาณาจักรที่เข้มแข็ง ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง 

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๗๑)

ปี พ.ศ.๑๕๔๑ มหาราชามงคลอาทิตย์(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๔๑) ราชวงศ์ภคทัตต์ แห่ง สหราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ เสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ มหาอุปราช พ่ออาทิตย์ พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา พ่ออาทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๔๔) ปกครอง สหราชอาณาจักรละโว้ กรุงอโยธยาศรีเทพราม โดยมี นายกอุฉิต เป็น มหาอุปราช พ่ออุฉิต ว่าราชการอยู่ที่ กรุงละโว้ และมี เจ้าพระยากำโพช เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงอโยธยาศรีเทพราม

ปี พ.ศ.๑๕๔๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เพื่อช่วยเหลือ อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ)

      ปี พ.ศ.๑๕๔๒ มหาราชาหริ(พระเจ้าหริวรมัน ที่-๒) แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงอินทรปุระ ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้ายังปุกุวิชัย ได้ขึ้นครองราชย์ ปกครอง อาณาจักรจามปา แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๓)

      ปี พ.ศ.๑๕๔๓ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน รู้จักนำ ดินปืน ไปทำ ระเบิด ซึ่งขว้างด้วยมือ หรือยิงออกไปด้วยหน้าไม้ ในการทำสงครามรบพุ่ง กับ กองทัพของพวกเหลียง เป็นครั้งแรก

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๔๑)

ปี พ.ศ.๑๕๔๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ผลของสงคราม กองทัพเสียม-หลอ สามารถยึดครองเมืองนครหลวง กรุงอินทรปุระ ของ ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นผลสำเร็จ แต่ พระเจ้ายังปุกุวิชัย สามารถหลบหนีไปได้

      ปี พ.ศ.๑๕๔๓ พระเจ้ายังปุกุวิชัย แห่ง ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงอินทรปุระ ได้ย้ายเมืองนครหลวง ไปตั้งใหม่ที่ เมืองวิชัย(เมืองบินดิน ในปัจจุบัน)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ มหาราชา พระยาอาทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๕๑) แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงนครวัด เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าราชัยวรรมเทพ(พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔) หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา เสด็จสวรรคตในสงคราม แล้วโปรดเกล้าให้ มหาอุปราช พระยาอุทัยทิตย์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา ในรัชกาลถัดมา พระยาอุทัยทิตย์ ได้ทรงขยายระบบชลประทาน ใน เมืองพระนคร(นครวัด) ให้กว้างขวางออกไป สร้างถนนหนทาง ระหว่าง ราชอาณาจักรคามลังกา กับ ราชอาณาจักรอีสานปุระ และ ราชอาณาจักรละโว้ เพิ่มขึ้น จำนวนมาก

 (จิตร ภูมิศักดิ์ สังคมไทย ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยศรีอยุธยา สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ๒๕๔๗ หน้าที่ ๑๐๕)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๖๓-๖๔)

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ พระเจ้าราชัยวรรมเทพ(พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔) หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา เสด็จสวรรคต ได้รับการถวายพระนามเมื่อสวรรคต ว่า บรมศิวโลก โดยมี มหาราชา พระยาอุทัยทิตย์ หรือ พระเจ้าอุทัยทิตย์วรมันที่ ๑ ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ พระราชโอรส ของ พระยาอาทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๕๑) แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงอโยธยา ขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชาอุทัยทิตย์ แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงอินทปัต(นครธม) ในรัชกาลถัดมา

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๖๑)

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ มหาราชา พระยาอาทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๕๑) ราชวงศ์ปทุมวงศ์สุริยวงศ์ แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอโยธยา ทราบข่าวว่า น้ำท่วมใหญ่ใน กรุงอินทปัต(นครธม) ของ อาณาจักรคามลังกา จึงเกรงว่า พระแก้วมรกต จะฉิบหาย จึงยกกองทัพใหญ่ เข้ายึดครอง นครอินทปัต(นครธม) ของ อาณาจักรคามลังกา เป็นผลสำเร็จ มหาราชาชัยวรรมเทพ(พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕) แห่ง อาณาจักรคามลังกา สวรรคต ในสงคราม มหาราชาพ่ออาทิตย์ ได้อัญเชิญ พระแก้วมรกต กลับมายัง กรุงศรีอยุธยา ตำนานพระแก้วมรกต บันทึกว่า...

...แต่นั้น ยังมีมหาเถรเจ้าองค์หนึ่ง ท่านก็ยกเอาพระแก้วเจ้า กับทั้งพวกคนทั้งปวงที่อยู่รักษาพระแก้วเจ้า ขึ้นสู่สำเภาลำหนึ่งแล้ว ก็ออกหนีไปจากเมืองอินทปัต ก็ขึ้นไปสู่บ้านแห่งหนึ่ง ฝ่ายหนเหนือ นั้นแล

บัดนี้ จะกล่าวถึงพระมหากษัตริย์เจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าอาทิตย์ราช พระองค์ก็ได้ครองราชย์สมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยา ครั้นพระองค์ได้ทรงทราบว่า นำท่วมเมืองอินทปัต แล้ว พระองค์ก็ทรงวิตกเป็นอันมาก กลัวแต่พระแก้วเจ้าจะฉิบหายเสีย พระองค์ก็เสด็จจาก กรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วย จตุรงคเสนา ทแกล้วทหาร เป็นอันมาก ครั้นไปถึง เมืองอินทปัตมหานคร แล้ว พระองค์ก็ได้ทำการสืบสวน จนได้พระแก้วมรกต แล้ว พระองค์ก็กวาดเอาผู้คน ที่อยู่กับ พระแก้วเจ้านั้น เป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับ กรุงศรีอยุธยา

ครั้น พระเจ้าอาทิตย์ราช ได้พระแก้วมรกต มาแล้ว ก็มีน้ำพระทัยเลื่อมใสยินดีใน พระแก้วมรกต เป็นที่สุด พระองค์ก็ทรงตรัสแก่ เสนาอำมาตย์ราชมนตรีทั้งปวง ให้จัดแจงแต่งการ พระแก้วมรกต เป็นอันมาก ด้วยสิ่งต่างๆ เป็นต้นว่า แก้ว และ เงินคำ เป็นประธานแล้ว จึงให้ป่าวร้องแก่รัฐบาลทั้งปวง ให้ไป ในทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ฝ่ายผู้คนทั้งปวงที่อยู่ในทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ นั้น ก็นำมาซึ่งสิ่งของ แก้วแหวน และเงินคำ ธูปเทียน และ ดอกไม้ อันมีกลิ่นสุคนธรสต่างๆ มาพร้อมกันแล้ว ก็ทำการฉลองบูชา พระแก้วมรกต เป็นเวลา ๑ เดือน แล้วก็ทำการเชิญ พระแก้วมรกต ไปประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อันประดับประดาด้วยแก้ว และเงินคำ อันงามบริสุทธิ์ เป็นเหตุให้ พระเจ้าอาทิตย์ราช ทรงปิติโสมนัส หาที่สุดมิได้...

ด้วยเดชานุภาพ ของ พระแก้วมรกต ทำให้ พระพุทธศาสนา ก็เจริญรุ่งเรือง งดงามมากนัก ณ กรุงศรีอยุธยา หาที่จะประมาณมิได้ พระแก้วมรกต นั้น ประดิษฐาน ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นเวลานาน สืบมาได้หลายรัชกาล...

(นายธรรมทาส พานิช พระแก้วมรกต ของไทย หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙)

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ พระเจ้าอุทัยทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๔-๑๕๕๓) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) ได้เปลี่ยนที่ตั้ง ราชธานี ของ ราชอาณาจักรคามลังกา จาก เมืองยโสธรปุระ(นครธม) ไปยัง เมืองพระนคร(นครวัด) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๕๔๔ เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงรับสั่งให้ทำลายเทวรูปเคารพทางศาสนาพราหมณ์ ไปจำนวนมาก และได้สร้างคำปฏิญาณ โดยนำขุนนางถึง ๔,๐๐๐ คน มาทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อหน้า สาธารณะชน คำจารึกคำปฏิญาณ จารึกข้อความว่า...

...ถ้าพวกข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้ ไม่รักษาคำสัตย์สาบาน ที่ให้ไว้แก่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุ ยิ่งยืนนาน พระองค์ย่อมลงทัณฑ์ เหล่าข้าพระพุทธเจ้า ได้ทุกประการ ถ้าเหล่าข้าพระพุทธเจ้าหลีกลี้ ไม่รักษาคำสัตย์ ขอให้ชาติหน้า ต้องไปเสวยทุกข์ในนรกขุมที่ ๓๒ นานตราบเท่าที่ ดวงอาทิตย์ ยังคงสาดแสงอยู่

หากผู้ใด ได้ปฏิบัติตามคำสัตย์สาบาน ท่านจะได้รับราชานุมัติ ตามหลักการศาสนา ให้เป็นผู้รับผิดชอบด้านการบริหาร ได้อาหารเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ผู้ที่อุทิศตน จงรักษ์ภักดี ต่อ พระมหากษัตริย์... 

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๘๐ และ ๑๘๖)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๖๒-๖๓)

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ พระเจ้ามิลักษณ์ขุ พระนามว่า มหาราชาพกราช แห่ง ราชวงศ์มอญ มหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรศรีพิง กรุงหริภุญชัย(ลำพูน) ทราบข่าวว่า กองทัพใหญ่ ของ มหาราชา พระยาอาทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๕๑) แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงอโยธยา ติดภาระศึกใหญ่ ณ อาณาจักรคามลังกา เป็นเหตุให้ มหาราชาพกราช จึงฉวยโอกาสยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงละโว้ เมืองมหาอุปราช ของ อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งปกครองโดย มหาอุปราชพระยาอุฉิต(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๔๔) ผลของสงคราม กองทัพของ มหาอุปราช พระยาอุฉิต(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๔๔) กรุงละโว้ จึงต้องยกกองทัพ ออกมาสู้นอกเมือง เพื่อถ่วงเวลา พร้อมกับ ส่งม้าเร็วนำพระราชสาส์น ไปรายงานต่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ให้ทรงทราบ และเสนอแผนให้ใช้โอกาส ดังกล่าว เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหริภุญชัย กลับคืนจาก ราชวงศ์มอญ ทันที

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) รับสั่งให้ จักรพรรดิ พ่อชีวก หรือ พระยาชีวก ทำการยกกองทัพใหญ่ ทั้งกองทัพบก และ กองทัพเรือ จำนวน ๗๐,๐๐๐ คน จาก แคว้นสิริธรรมนคร(นครศรีธรรมราช) มุ่งหน้าสู่ กรุงละโว้ อาณาจักรละโว้ เพื่อทำการปิดล้อมกองทัพ ของ มหาราชาพระยาพกราช กษัตริย์ราชวงศ์มอญ ไว้ พร้อมกับมอบให้ มหาอุปราชพระยาอุฉิต(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๔๔) เร่งส่งกองทัพเข้ายึดครอง กรุงหิรัญภุญชัย(ลำพูน) ของ อาณาจักรศรีพิง กลับคืนเป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ กองทัพมอญ ของ พระยาพกราช ราชวงศ์มอญ พ่ายแพ้สงคราม จึงต้องถอยทัพหลบหนีไปยัง เมืองเชียงราย อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และไม่มีอาณาจักรปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จึงสามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหิรัญภุญชัย กลับคืนจากชนชาติมอญ แล้วส่ง เจ้าพระยากัมโพช ราชวงศ์ปทุมวงศ์ ขึ้นเป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลถัดมา  

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ เกิดสงคราม ๓ ทัพ แย่งชิง กรุงละโว้ เมืองนครหลวง ของ อาณาจักรละโว้ พงศาวดารเหนือ ได้บันทึกไว้ว่า...

...มีมหาราชา ๒ อาณาจักร คือ มหาราชาตราพะกะราช แห่ง อาณาจักรหิรัญภุญชัย ได้ยกกองทัพเข้ามาโจมตี กรุงละโว้ อาณาจักรละโว้ ซึ่งปกครองโดย มหาราชาอุจจิตตะราช ในขณะที่ มหาราชาทั้ง ๒ อาณาจักร กำลังจะทำสงครามต่อสู้ระหว่างกัน จักรพรรดิ กรุงสิริธรรมนคร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ทรงพระนามว่า จักรพรรดิพ่อสุชิต ได้นำกองทัพใหญ่ ทั้งกองทัพบก และ กองทัพเรือ จำนวนมหาศาล มายัง กรุงละโว้ ด้วย เป็นเหตุให้ ทั้ง มหาราชาตราพะกะราช แห่ง อาณาจักรหิรัญภุญชัย และ มหาราชาอุจจิตตะราช แห่ง อาณาจักรละโว้ ต่างพยายามหนีมุ่งหน้าไปยัง อาณาจักรหิรัญภุญชัย กองทัพของ มหาราชาอุจจิตตะราช แห่ง อาณาจักรละโว้ สามารถยกกองทัพขึ้นไปถึง เมืองหิรัญภุญชัย ของ อาณาจักรหิรัญภุญชัย ก่อน จึงประกาศเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรหิรัญภุญชัย พร้อมกับยึดครอง อัครมเหสี ของ มหาราชาตราพกราช มาเป็นพระชายา ส่วน มหาราชามหาราชาอุจจิตตะราช แห่ง อาณาจักรหิรัญภุญชัย เมื่อทราบว่า พ่ายแพ้ จึงนำกองทัพลงเรือ หลบหายไปทางทิศใต้

ภายหลังการแก้ไขความขัดแย้งดังกล่าว จักรพรรดิพ่อสุชิต กรุงสิริธรรมนคร ก็นำกองทัพเข้ายึดครอง เมืองละโว้ พร้อมกับโปรดเกล้าให้ มหาราชากำโพช ซึ่งเป็นพระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรละโว้ เป็นรัชกาลถัดมา และอีก ๓ ปี ต่อมา มหาราชากำโพช แห่ง อาณาจักรละโว้ ได้ยกกองทัพเข้าไปทำสงครามปราบปราม มหาราชาอุจจิตตะราช แห่ง อาณาจักรหิรัญภุญชัย แต่ พ่ายแพ้สงคราม ต้องยกกองทัพกลับมายัง อาณาจักรละโว้...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๘๘)

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ จดหมายเหตุจีน สมัยราชวงศ์ซ้อง ได้บันทึกถึงเรื่องราวความขัดแย้ง ระหว่าง อาณาจักรหิรัญภุญชัย กับ อาณาจักรละโว้ จนกระทั่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ มอบให้ จักรพรรดิ แห่ง นครศรีธรรมราช ยกกอทัพไปทำสงครามปราบปราม มีบันทึกว่า...

...มีมหาราชา ๒ พระองค์ แย่งกันเข้าครอบครองเมืองละโว้ และยังมี มหาราชาอีกพระองค์หนึ่ง เสด็จขึ้นมาทางทิศใต้ ก็ได้ทรงตัดสินข้อพิพาทนี้ ด้วยการกรีทาทัพเข้าครอบครอง เมืองละโว้ เสียเอง ต่อจากนั้น มหาราชาผู้ครองราชย์สมบัติ เมืองละโว้ คือ ราชาแห่งกัมโพช ด้วยการกรีทาทัพขึ้นไปต่อสู้ กับมหาราชาพระองค์ก่อน ของ อาณาจักรละโว้ ซึ่งบัดนี้ ได้เข้าครอบครอง อาณาจักรหิรัญภุญชัย แต่ก็พ่ายแพ้กลับมา...

ปี พ.ศ.๑๕๔๔ มหาราชา พระยาอาทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๔-๑๕๕๑) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ต่อหน้า พระแก้วมรกต ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา เป็นครั้งที่ ๒ อีกครั้งหนึ่ง

(จิตร ภูมิศักดิ์ สังคมไทย ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยศรีอยุธยา สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ๒๕๔๗ หน้าที่ ๑๐๕)

ปี พ..๑๕๔๕ มหาอาณาจักรทมิฬโจฬะ แห่ง อินเดียภาคใต้ ได้ยกกองทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ ราชอาณาจักรศรีลังกา เป็นผลสำเร็จ แล้วนำ ราชอาณาจักรศรีลังกา มารวมอยู่ภายใต้การปกครอง ของ มหาอาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้

ปี พ.ศ.๑๕๔๕ ราชอาณาจักรศรีลังกา ถูกเปลี่ยนชื่อและเรียกชื่อใหม่ว่า ราชอาณาจักรชนนาถปุระ ทำสงครามกู้เอกราช กลับคืนจากการยึดครอง ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ อินเดียใต้

ปี พ.ศ.๑๕๔๕ เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) กับ ราชอาณาจักรคามลังกา โดยกองทัพของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง ราชอาณาจักรเจนละ(เขมร) ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรคามลังกา สงครามยืดเยื้อเป็นเวลากว่า ๑ ปี ผลของสงคราม มหาราชาชัยวรรมเทพ(พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔) แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงอินทปัต(นครวัด) สวรรคต ในสงคราม มหาราชาอุทัยทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๕-๑๕๕๓) หรือ พระยาแกรก ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนคร(นครวัด) ในรัชกาลต่อมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๕๔๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายแด่ ฮ่องเต้เจิ้นจง(พ.ศ.๑๕๔๐-๑๕๖๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน จดหมายเหตุจีนได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ วัด-เฉิง-เทียน-วัน-ชู หรือเมื่อแปลเป็นภาษาไทยว่า วัดธารน้ำใจพระหมื่นปี หรือที่ประชาชนผู้สูงอายุในท้องที่ เรียกชื่อว่า วัดธาร โดยมีจดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ และ มหาอาณาจักรจีน ได้จดบันทึกไว้ว่า ในปี พ.ศ.๑๕๔๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึก เนื้อหาว่า

...เสียนผิงศก ปีที่หก(พ.ศ.๑๕๔๖) มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ มีพระนามว่า ศรีจุลนีพรหมทัต(ซีลี-โจ-หลัว-อู๋-หนี-ฝอ-หมา-เถียว-หัว) ได้ส่งคณะราชทูต ราชทูต ชื่อ เจ้าผาย แซ่หลี(หลี-เจา-ผาย) อุปทูตชื่อ  อู๋-ถัว-หลี่-หนาน-เปย”  มาถวายราชบรรณาการ พร้อมกับมีพระราชสาส์น กราบทูลว่า สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(สาน-โฟชิ) ได้สร้างวัดทางพระพุทธศาสนา ขึ้นในวาระการเฉลิมพระชนมพรรษา ของ ฮ่องเต้เจิ้นจง ขึ้นวัดหนึ่ง จึงขอพระราชทานชื่อวัด เป็นภาษาจีน และขอ ระฆัง หนึ่งใบ ฮ่องเต้เจิ้นจง ทรงโปรด จึงพระราชทานชื่อวัดว่า วัดธารน้ำใจพระหมื่นปี(เฉิง-เทียน-ว่าน-โส้ว) ฮ่องเต้เจิ้นจง ยังทรงรับสั่งให้หล่อระฆังจีนขึ้นมา ๑ ใบ เพื่อพระราชทานให้กับวัด ดังกล่าว พร้อมกันนั้น ฮ่องเต้เจิ้นจง ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ ราชทูตเจ้าผาย(หลีเจ้าผาย) มีตำแหน่งเป็น ขุนพลผู้นอบน้อมต่อคุณธรรม(กุย-เต๋อ-เจียง- จวิน) ส่วนอุปทูต (อู๋ถัว-หลี่-หนาน-เปย) มีตำแหน่งเป็น ขุนพลสร้างความสงบสุข(หนิง-ฮั่ว-เจียง-จวิน)...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๕๓)

ปี พ.ศ.๑๕๔๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ส่งกองทัพไปช่วย อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เพื่อทำสงครามกับ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ

ปี พ.ศ.๑๕๔๗ พระเจ้าปุกุวิชัย แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เจิ้นจง(พ.ศ.๑๕๔๐-๑๕๖๕) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...อาณาจักรจามปา ได้ย้ายเมืองนครหลวงจาก กรุงอินทรปุระ ไปสร้างใหม่ที่ เมืองวิชัย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๓)

ปี พ..๑๕๔๙ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรม้าตาราม (เกาะชวา) กรุงจากาต้า (ม้าตาราม) เกาะชวา กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม ประสบความสำเร็จ มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม (เกาะชวา) ต้องหลบหนีไปตั้งรกรากที่ อาณาจักรกาลี้ (บอร์เนียว-ตะวันออก)

ปี พ.ศ.๑๕๕๐ พระเจ้าราชราชะ แห่ง มหาอาณาจักรโจฬะ อินเดียใต้ ได้ทรงอวดอ้างว่า พระองค์ทรงทำสงครามปราบปราม และยึดครองเกาะต่างๆ เป็นจำนวนถึง ๑๒,๐๐๐ เกาะ ได้ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ ขึ้นปกครอง ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์

ปี พ.ศ.๑๕๕๐-๑๕๖๐ เกิดอหิวาตกโรค ในดินแดน เมืองหิรัญภุญชัย แห่ง อาณาจักรลานนา(ศรีพิง) กรุงหิรัญภุญชัย เป็นเหตุให้ ประชาชนต้องอพยพออกจากเมืองไปอยู่ที่ แคว้นลานนา เป็นเหตุให้ กรุงหิรัญภุญชัย ร้างไป  ๑๐ ปี

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๐๐)

ปี พ.ศ.๑๕๕๑ มหาราชา พระยาอาทิตย์(พ.ศ.๑๕๔๑-๑๕๕๑) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรละโว้  กรุงอโยธยา เสด็จสวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงอินทปัต(นครธม) พระเจ้ากัมพุช(พ.ศ.๑๕๕๑-๑๕๖๗) ราชวงศ์ปทุมสุริยะวงศ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๕๕๑ พระยากัมพุช(พ.ศ.๑๕๕๑-๑๕๖๗) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงศรีอโยธยา ประกาศผนวก ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครหลวง(นครวัด) รวมเข้ากับ ราชอาณาจักรละโว้ เรียกชื่อใหม่ว่า กัมพุชประเทศ หรือ ประเทศกัมพูชา หรือ สหราชอาณาจักรกัมพุช-ละโว้ 

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๖๓)

 

ปี พ..๑๕๕๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุลนีพรหมทัต(พ.ศ.๑๕๓๔-๑๕๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เสด็จ สวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีมาลา(พ.ศ.๑๕๕๑-๑๕๖๐) พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์ ปกครอง กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ในรัชกาลถัดมา

Visitors: 54,280