รัชกาลที่ ๒๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๒๑ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔

 

ปี พ..๑๕๑๘ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) สวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีซอ จึงเสด็จขึ้นมาเป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยมี พ่อศรีจุลนีพรหมทัต เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อศรีมาลา เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๒๑

      ปี พ.ศ.๑๕๑๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...ปีที่สิบหก(.ศ,๑๕๑๘) มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(ชีลี-ซอ) ได้ส่งราชทูตชื่อ พระยาธนู(ผู-เจีย-ถัว-หลัว) มาถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็น พระพุทธรูปแก้วผลึก ผ้าไหมหลากสี เขี้ยว นอแรด และ เครื่องหอม ต่างๆ ด้วย...

(แปลโดย นายทองแถม นาถจำนง)

ปี พ.ศ.๑๕๑๙ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต พระราชโอรส ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน มีพระนามว่า ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) เรียกว่า รัชสมัย ไท่ผิงซิ่งกั๋ว แห่ง ราชวงศ์ซ้อง(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๒๒) ในรัชกาลนี้ อาณาจักรอู๋เย่(เสี่ยงไฮ้) และ อาณาจักรเป่ยฮั่น ที่แยกตัวออกเป็นอิสระ ได้ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ ราชวงศ์ซ้อง โดยดี  

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๖๕)

ปี พ.ศ.๑๕๒๐ มหาราชาเอียงถา แห่ง อาณาจักรโพนิ(โพธิ์ใน-บอร์เนียว) ได้ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) และได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยได้เดินทางไปกับเรือสำเภา ของ พ่อค้าจีน ชื่อ ปูลูชิ มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๑)

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาคที่ ๒ หน้าที่ ๔๑)

ปี พ.ศ.๑๕๒๒ พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๒ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าแลฮวน แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ ได้ขึ้นครองราชย์ใหม่ ในดินแดนของ อาณาจักรจามปา เรียกว่า อาณาจักรเวียตน้ำ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

       ...ไท่ผิงซิ่งกั๋วศก ปีที่ ๔(พ.ศ.๑๕๒๓) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มีพระนามว่า ศรีซอ(ชีลี-ซอ)  ได้ส่งคณะราชทูต ชื่อ พระยาธนู มาถวายเครื่องราชบรรณาการ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...ไท่ผิงซิ่งกั๋วศก ปีที่ห้า (.ศ.๑๕๒๔) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิ พ่อศรีซอ(เซี่ย-ฉือ) ได้ส่งราชทูตชื่อ เจ้าหลงเหมย(ฉา-หลง-เหมย) เป็นราชทูตมา  ในปีนั้น ทางแต้จิ๋ว(กวางตุ้ง) รายงานขึ้นมาว่า มีพ่อค้าสำเภาชาว กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) มีชื่อว่า หลี่-ฝู-ฮุ้ย ได้นำเครื่องหอม  นอแรด และงาช้าง บรรทุกเรือสำเภา มายัง เมืองแฮเค้า (ไหโชว) แต่ประสบลมไม่ดี ต้องลอยเรืออยู่ถึง ๖๐ วัน จึงถึง เมืองแต้จิ๋ว(กวางตุ้ง) เครื่องหอมนั้น ได้จัดส่งไปยัง เมืองกวางเจา หมดแล้ว...

(แปลโดย นายทองแถม นาถจำนง)

ปี พ.ศ.๑๕๒๕ ชนชาติทมิฬ แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(ไดโค เวียต) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าปรเมศวร แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ได้เสด็จสวรรคต ในสงคราม พระเจ้าอินทรวรมัน ที่ ๔ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) มีเมืองนครหลวงที่ เมืองอินทรปุระ

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒-๑๓๓)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๖ มหาราชาแกตอง แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(หลินยี่-เวียตนามเหนือ) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒-๑๓๓)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๖ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

       ...ปี พ.ศ.๑๕๒๖ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา-ซานโฟชิ) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูตแจ้งว่า ภิกษุจีน ชื่อ ฟายู ได้เดินทางกลับจาก อินเดีย ภายหลังจากการเดินทางไปสืบคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ได้เดินทางกลับมาถึง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงซานโพธิ์ ด้วย และได้พบกับ พระภิกษุชาวอินเดีย ซึ่งมีชื่อว่า พระวิมลศรี(วิ-โม-โล-ชีลี) ได้สนทนา กับ พระภิกษุฟายู พร้อมกับแสดงความปรารถนาที่จะเดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อช่วยแปลพระคัมภีร์ พระพุทธศาสนา ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...ยงชีศก ปีที่สอง(.ศ.๑๕๒๘) มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูตชื่อ จิน-ฮัว-ฉา เป็นนายสำเภา ด้วย ราชทูต ได้ถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นสินค้าพื้นเมือง เป็นราชบรรณาการ...

ปี พ.ศ.๑๕๒๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงอินทปุระ ผลของสงคราม สามารถยึดครอง เมืองอินทรปุระ สำเร็จ พร้อมกับได้ทำการส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ กองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรเวียตน้ำ(มินดาเนา) ให้ออกไปจาก อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ภายหลังสงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) ได้ทรงแต่งตั้งให้ มหาราชาลือแกตอง ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๘ พระเจ้าแลฮวน แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ผลของสงคราม มหาราชาแกตอง แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สวรรคต ในสงคราม ประชาชน ชนชาติอ้ายไต ต้องอพยพ หนีภัยสงครามไปตั้งรกรากในดินแดน เกาะไหหลำ และ แคว้นกวงจิง ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒-๑๓๓)

ปี พ.ศ.๑๕๒๘ พระเจ้าโลกบาล แห่ง อาณาจักรม้าตาราม (มะตะราม) เกาะชวา ได้ยกทัพเข้าโจมตี อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เกาะสุมาตรา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และต้องทำสงครามระหว่างกัน ต่อมา ระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) กับ อาณาจักรม้าตาราม เรื่อยมา

ปี พ.ศ.๑๕๒๘ อาณาจักรทมิฬโจฬะ แห่ง อินเดียใต้ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรปาณฑัย อินเดีย เป็นผลสำเร็จ จึงเตรียมขยายอิทธิพล เข้าสู่ ดินแดนเกษียรสมุทร

ปี พ.ศ.๑๕๒๙ พระเจ้าลือแกตอง ราชวงศ์ทมิฬ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒-๑๓๓)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๙ พระเจ้าหริวรมัน ที่-๒ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

       ...มีการแลกเปลี่ยนเครื่องราชบรรณาการ กับ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ต่อมา มหาอาณาจักรจีน ยอมปล่อยเชลยศึก ๓๖๐ คน ซึ่งถูกขังอยู่ที่แคว้นตาเกี๋ย ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒-๑๓๓)

      ปี พ.ศ.๑๕๒๙ ราชากุนโส(พ.ศ.๑๕๐๗-๑๕๒๙) หรือ มหาราชา คุณโซ กะยวงผะยู พระราชโอรส ของ พระยาสิงห์ ราชวงศ์คำ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ถูกพระราชโอรส คือ เจ้าชายกะสิโย และ เจ้าชายโสกะเต พระราชโอรส ของ ราชาราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) บังคับให้ออกผนวช และ มหาราชา กะสิโย(พ.ศ.๑๕๒๙-๑๕๓๕) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๕๒๙ ศาสนาอิสลาม เข้าสู่ประเทศอินเดีย ครั้งที่ ๒ เมื่อชาวอาหรับจากประเทศอาฟกานิสถาน ได้ส่งกองทัพเข้ามายึดครองดินแดนภาคเหนือของประเทศอินเดีย เป็นผลสำเร็จ และได้นำศาสนาอิสลาม เข้ามาในประเทศอินเดีย มีเจตนาเข้ามาปล้นชิงทรัพย์สิน เข้ายึดโบสถ์ฮินดู และ วัดทางพระพุทธศาสนา ดำเนินการสิงสำคัญ ๓ ประการ คือ เก็บกวาดทรัพย์สินอันมีค่า จับเชลยศึกไปขายเป็นทาส และทำลายสิ่งก่อสร้างสำคัญ ของ ศาสนาอื่นๆ เมื่อชาวอาหรับ สถาปนาอำนาจรัฐ ขึ้นมาแล้ว ก็จะสร้างความแตกต่างระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลาม กับ ศาสนาอื่น กำหนดให้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ต้องเสียภาษี การจาริกแสวงบุญ ในกรณีเกิดคดีความ ต้องตัดสินด้วยกฎหมายอิสลาม เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องนับถือศาสนาอิสลาม เท่านั้น

ปี พ.ศ.๑๕๓๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

       ...ปี พ.ศ.๑๕๓๑ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา-ซานโฟชิ) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๓)

ปี พ..๑๕๓๑ ในเดือนธันวาคม มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันกับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...ตวนก้งศก ปีแรก(..๑๕๓๑) สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ได้ส่งราชทูตชื่อ พระยาธนูหลี (ผู-เจี่ย-ถัว-หลี) มาถวายเครื่องราชบรรณาการ เมื่อราชทูต ซาน-โฟ-ชิ เดินทางกลับมาถึงเมืองกวางตุ้ง ก็ทราบข่าวว่า สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ กรุงสานโพธิ์ ของตนเอง เกิดสงคราม กับ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์(เชโป-เกาะบอร์เนียว) คณะราชทูตจึงต้องพักคอยอยู่ที่ เมืองกวางตุ้งอีก ๑ ปี เพื่อรอให้สงครามสงบ...

ปี พ..๑๕๓๑ ในเดือนที่ ๑๒ มหาจักรพรรดิ พ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันกับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...ตวนก้งศก ปีแรก(..๑๕๓๑) สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ได้ส่งราชทูตชื่อ พระยาธนูหลี (ผู-เจี่ย-ถัว-หลี) มาถวายเครื่องราชบรรณาการ เมื่อราชทูต ซาน-โฟ-ชิ เดินทางกลับมาถึงเมืองกวางตุ้ง ก็ทราบข่าวว่า สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ กรุงสานโพธิ์ ของตนเอง เกิดสงคราม กับ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์(เชโป-เกาะบอร์เนียว) คณะราชทูตจึงต้องพักคอยอยู่ที่ เมืองกวางตุ้งอีก ๑ ปี เพื่อรอให้สงครามสงบ...

ปี พ.ศ.๑๕๓๒ พระเจ้าหริ หรือ พระเจ้าหริวรมัน ที่-๒ ราชวงศ์ไศเลนทร์ แห่ง ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) นำประชาชนลุกขึ้นทำการโค่นล้ม พระเจ้าลือแกตอง และขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

      ปี พ.ศ.๑๕๓๓ เกิดสงครามระหว่าง มหาราชาหริ(พระเจ้าหริวรมัน ที่-๒) แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กับ พระเจ้าศรีอีสาน ภัทเรศวร แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) อย่างต่อเนื่อง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

      ปี พ.ศ.๑๕๓๓ มหาราชา พระเจ้าธรรมวงศ์ (โอรส หรือ ราชบุตรเขย ของ พระเจ้ามกุฎวงศ์วรรธนะ) แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา และเริ่มมีนโยบาย ทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๑)

      ปี พ.ศ.๑๕๓๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

       ...ปี พ.ศ.๑๕๓๓ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(ชีลี-ซอ) ได้ส่งคณะราชทูต มีชื่อว่า พระยาหลี แซ่หัว(ผูเจีย-หัวหลี)มาถวายเครื่องราชบรรณาการ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๓)

      ปี พ.ศ.๑๕๓๔ เกิดสงคราม ระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ซึ่งเป็น ชนชาติอ้ายไต กับ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ กรุงศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว) จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

       ...ในฤดูหนาว ของ ฉุนฮั่วศก ปีที่สาม(..๑๕๓๕) ทางเมืองกวางเจา ได้ถวายรายงานว่าเมื่อปีที่แล้ว(พ.ศ.๑๕๓๔) ราชทูตชื่อ พระยาหลี แซ่หัว(ผูเจีย-หัวหลี) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เมื่อเดินทางกลับจากราชการทูต มาถึง เมืองกวางตุ้ง(หนานไห่) ก็ได้ทราบข่าวว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ของตนถูก กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ช้า(เชโป-ศรีโพธิ์ช้า-เกาะบอร์เนียว) ทำสงครามรุกราน เป็นเหตุให้ ราชทูตพระยาหลี ต้องพำนักอยู่ที่ เมืองกวางตุ้ง(หนานไห่) เป็นเวลา ๑ ปี เพื่อรอให้สงครามสงบ ครั้งถึงฤดูหนาว ปีนี้(พ.ศ.๑๕๓๕) คณะราชทูต เพิ่งจะเดินเรือไปถึง เมืองจ้านเฉิง(อาณาจักรหลินยี่) เพื่อรอฟังข่าวสงคราม และทราบข่าวว่า สงครามยังไม่สงบ  จนกระทั่ง ลมไม่ดี ต้องตัดสินใจกลับมายัง เมืองกวางตุ้ง อีกครั้งหนึ่ง ราชทูตพระยาหลี จึงขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ มีพระราชสาสน์ ไปถึง ฮ่องเต้ เพื่อให้มีพระราชสาส์น อธิบายให้ทาง มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซาน-โฟชิ) เข้าใจคณะราชทูต ด้วย ฮ่องเต้ไท่จง(พ.ศ.๑๕๑๙-๑๕๔๐) ทรงมีพระบรมราชานุญาติ ให้ตอบสนองคำร้องขอ...

      ปี พ.ศ.๑๕๓๔ กองทัพของ สหราชอาณาจักรทมิฬโจฬะ กรุงศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว) ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) รวมทั้งส่งกองทัพเข้าโจมตี กรุงสานโพธิ์(ไชยา) อันเป็นราชธานี ด้วย เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) ต้องส่งกองทัพ เข้าต่อสู้กับ กองทัพเรือ จำนวนมาก ของ ข้าศึก ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) ถูกศรอาบยาพิษ บาดเจ็บสาหัส กองทัพของ นายกศรีมาลา สามารถทำลายกองทัพของ ข้าศึกทมิฬโจฬะ ให้ต้องถอยทัพ ไปได้

 

      ปี พ.ศ.๑๕๓๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีซอ(พ.ศ.๑๕๑๘-๑๕๓๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เสด็จสวรรคต เนื่องจากบาดเจ็บสาหัส 

Visitors: 54,423