รัชกาลที่ ๑๙ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๑๙ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา 

กรุงสานโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘

 

-ในรัชกาลที่ ๑๙-๒๐ มีกษัตริย์ครองราชสมบัติ ๒ พระองค์พร้อมกัน คือ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา และมหาจักรพรรดิพ่อศรีมงคลอาทิตย์ จึงใช้เนื้อหาสาระเดียวกัน

 

 

ปี พ..๑๕๐๓ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ(พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีจุฬา จึงเสด็จขึ้นมาเป็น มหาจักรพรรดิศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) โดยมี จักรพรรดิศรีซอ เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อศรีจุลนีพรหมทัต เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๑๙

ปี พ.ศ.๑๕๐๓ เชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร สาย มหาจักรพรรดิท้าวภคทัต แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว ซึ่งสืบทอดราชวงศ์มาถึง มหาราชาท้าวมงคล แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงอโยธยาศรีเทพราม ได้ส่งกองทัพจาก กรุงศรีอยุธยาศรีเทพราม เข้ายึดครอง ราชธานี กรุงละโว้ ของ อาณาจักรละโว้ ไว้ได้ แล้วประกาศความชอบธรรมในการสืบทอดราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีมงคลอาทิตย์ ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ จึงประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ กรุงละโว้ เป็นรัชกาลที่ ๒๐ เช่นเดียวกัน โดยมี จักรพรรดิพ่ออาทิตย์ ปกครองเมืองจักรพรรดิ อยู่ที่ เมืองอโยธยาศรีเทพราม มี พ่ออุฉิต เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงละโว้  

ปี พ..๑๕๐๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง ฮ่องเต้กังตี้(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ได้เข้าเฝ้า ฮ่องเต้กังตี้(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง เมื่อเดือนกันยายน พงศาวดารจีน ได้ทำการบันทึก เปลี่ยนชื่อเรียก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ จากเดิมที่เรียกว่า ชีลี โฟชิ โดยเรียกชื่อใหม่ว่า ซานโฟชิ หลังจากที่มีการขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกันไปนาน มีบันทึกเนื้อหาสั้นๆว่า

...เจียนหลงศก ปีแรก (..๑๕๐๓) เดือนเก้า(กันยายน) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซาน โฟชิ) มีพระนามว่า ศรีจุฬา(ซีลี-จูลา) ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อว่า เจ้าตี๋ แซ่หลี(หลีเจ้าตี๋) มาถวายเครื่องบรรณาการ ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

ปี พ.ศ.๑๕๐๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ มหาจักรพรรดิพ่อศรีมงคลอาทิตย์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ ได้ส่งคณะมนตรี เป็นคณะราชทูต ไปเจรจาร่วมกัน ณ เมืองยะลา(โพธิ) ด้วยการประสานงานเพื่อแก้ความขัดแย้ง ของ สภาโพธิ์

ปี พ.ศ.๑๕๐๓ มหาราชาชัยอินทร์ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้กังตี้(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ..๑๕๐๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ (ไชยา)  ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ไปยัง ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยได้เข้าเฝ้า ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม คุณทองแถม นาทจำนง ได้แปลจดหมายเหตุดังกล่าว มีเนื้อหาสั้นๆว่า...

...คายเป่าศก ปีที่สอง ในฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม ปีถัดมา(.ศ.๑๕๐๔) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิ พ่อศรีจุฬา(ชีลี-จูลา) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูตมีชื่อว่า ผู-เม่เป็นราชทูตมาถวายราชบรรณาการอีก  ต่อมา ในฤดูหนาวปีเดียวกัน มหาจักรพรรดิ พ่อศรีจุฬา(ชีลี-จูลา) ได้ส่งราชทูตชื่อ ฉา-เหย่-เจียอุปทูตชื่อ เจีย-หมอ-จามาถวายเครื่องราชบรรณาการอีก

ในช่วงเวลาเดียวกัน เหตุการณ์ครั้งนั้น ยังมีอีกก๊กหนึ่ง เรียกชื่อว่า เซียม-หลอ(เสียม-หลอ) มี มหาจักรพรรดิ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีมงคลอาทิตย์ (หลี่-ซี-หลิน-หนาน-หมี-ญี-หลาย) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นสิ่งของท้องถิ่น เป็นราชบรรณาการพร้อมกันกับ สหราชอาณาจักรเสียม (ซาน-โฟชิ) ด้วย...

(แปลโดยนายทองแถม นาถจำนง)

ปี พ.ศ.๑๕๐๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และ มหาจักรพรรดิพ่อศรีมงคลอาทิตย์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ ได้ร่วมกันประกาศสัตยาบรรณ ร่วมกัน จัดรูปแบบการปกครองใหม่ เรียกว่า สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ หรือ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ โดยยินยอมให้ อาณาจักรละโว้ ยกระดับการปกครองเป็น สหราชอาณาจักรละโว้ มีมหาจักรพรรดิ เป็นผู้ปกครอง เป็นรูปแบบ สหพันธรัฐ เรียกว่า สหพันธรัฐสามโพธิ์(ซานโฟชิ) หรือ สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๕๐๔ เป็นต้นมา  

ปี พ.ศ.๑๕๐๔ สหราชอาณาจักรละโว้ ประกอบด้วย ๑๕ อาณาจักร คือ อาณาจักรละโว้(ลพบุรี) , อาณาจักรลานนา(เชียงใหม่) , อาณาจักรพิง(ฝาง) , อาณาจักรแสนหวี(โกสมพี) , อาณาจักรศรีชาติตาลู(พุกาม) , อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) , อาณาจักรโยนก(แพร่) , อาณาจักรอีสานใต้(อุบล) อาณาจักรอีสานกลาง(โคราช) , อาณาจักรอีสานเหนือ(อุดร) , อาณาจักรอ้ายลาว(ลานช้าง) , อาณาจักรโพธิ์ใน(อ้ายลาวภาคใต้) , อาณาจักรคามลังกา(ขอม) , อาณาจักรสิบสองพันนา(เชียงตุง) และ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เป็นต้น

ปี พ.ศ.๑๕๐๔ สหราชอาณาจักรเสียม ประกอบด้วย ๖ อาณาจักร คือ อาณาจักรชวาภูมิ(ภาคใต้ตอนบน) , อาณาจักรคุณหลวง(มาลายู) , อาณาจักรปัจจันต์(ปาเล็มบัง) , อาณาจักรม้าตาราม(ซุนดา) , อาณาจักรศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว-ตะวันตก) และ อาณาจักรตากาลก(ฟิลิปินส์) เป็นต้น   

ปี พ.ศ.๑๕๐๔ อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ที่ไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ประด้วย ๗ อาณาจักร คือ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) , อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรเวียตน้ำ(มินดาเนา) , อาณาจักรกาลี้(บอร์เนียว-ตะวันออก) , อาณาจักรชวาตะวันออก(เกาะชวา-ตะวันออก) , อาณาจักรบาลี(เกาะบาหลี) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตราตะวันออก) เป็นต้น

ปี พ.. ๑๕๐๔ เดือนพฤศจิกายน มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับมีพระราชสาส์น แจ้งแก่ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เป็นทางการ เพื่อแจ้งให้ทราบว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู เรียบร้อยแล้ว บันทึกมีว่า...  

... คายเป่าศก ปีที่สอง เดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.๑๕๐๔ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(ชีลี-จูลา) ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ราชทูตได้รายงานต่อ ฮ่องเต้ ว่า ประเทศของเขานั้น ขณะนี้มีชื่อใหม่ว่า สหราชอาณาจักรเสียมละโว้(เสียม-หลอหู) เรียบร้อยแล้ว...

ปี พ.ศ.๑๕๐๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...ฤดูวสันต์ คายเป่าศก ปีที่สาม (.ศ.๑๕๐๕) เดือนมีนาคม มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มีพระนามว่า ศรีจุฬา(ชีลี-จูลา) ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ หลี่-หลู-หลินอุปทูตชื่อ หลี่-ยา-หม้อพร้อมกับขุนนางติดตามคณะ มีชื่อว่าจา-จา-ปี้มาถวายเครื่องราชบรรณาการ สิ่งของต่างๆ มากมาย ขากลับไป ฮ่องเต้ ทรงพระราชทานสิ่งของคือ หางจามรีขาว เครื่องกระเบื้องเคลือบสีขาว เครื่องเงิน และ เครื่องม้าหุ้มด้วยผ้าไหมจำนวน ๒ สำรับเป็นสิ่งตอบแทนแด่ มหาจักรพรรดิ ด้วย...

(แปลโดยนายทองแถม นาถจำนง)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

ปี พ.ศ.๑๕๐๕ มหาราชาชัยอินทร์ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

      ปี พ.ศ.๑๕๐๗ มหาราชา อุโสระหัน(พ.ศ.๑๔๗๔-๑๕๐๗) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม ถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ โดย เจ้าชายคุณโซ กะยวงผะยู ราชวงศ์คำ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม มีพระนามว่า มหาราชา คุณโซ กะยวงผะยู(พ.ศ.๑๕๐๗-๑๕๒๙) และได้รับเอามเหสี ของ มหาราชา อุโสระหัน ๓ พระองค์ มาเป็นพระชายา ต่อไปด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๕๐๘ มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า แยกตัวออกเป็นอิสระ ประกาศเอกราช จาก มหาอาณาจักรจีน สำเร็จ

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๖)

ปี พ.ศ.๑๕๐๘ มหาราชาชัยอินทร์ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้ทำการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ พุทธศาสถาน ที่เมืองโพธิ์นคร ซึ่งถูกกองทัพของ ทมิฬโจฬะ ปล้นสะดมไป เมื่อ ๑๕ ปี ก่อน พร้อมกับได้ทรงประดิษฐาน รูปเทพธิดา ทำด้วย ศิลา ขึ้นด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๕๑๑ มหาราชาราเชนทร(พ.ศ.๑๔๘๗-๑๕๑๑) หรือ พระเจ้าราเชนทรวรมัน แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงอินทปัต(นครธม) เสด็จสวรรคต มีพระนามเมื่อสวรรคต ว่า ศิวโลก โดยมี มหาราชาราชัยวรรมเทพ(พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔) หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ พระราชโอรส ขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงอินทปัต(นครธม) ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๙)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๖๐)

      ปี พ.ศ.๑๕๑๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

       ...คายเป่าศก ปีที่สิบสอง(พ.ศ.๑๕๑๔) เดือนเมษายน มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(ชีลี-จูลา) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูตมีชื่อว่า หลี่-เหอ-หม้อ ได้นำ แก้วผลึก และ น้ำมันดิน มาถวายแด่ ฮ่องเต้ ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๑๔ พระเจ้าชัยอินทร์ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

      ปี พ.ศ.๑๕๑๔ แคว้นเสฉวน ของ มหาอาณาจักรจีน ทำการพิมพ์ พระไตรปิฎก ของ พระพุทธศาสนา จำนวน ๕,๐๔๘ เล่ม ออกเผยแพร่ทั่ว มหาอาณาจักรจีน รวมทั้ง เกาหลี และ ญี่ปุ่น

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๕๑๕ มหาราชาชัยอินทร์ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ได้เสด็จสวรรคต มหาราชาปรเมศวร ขึ้นครองราชย์ใหม่ ในดินแดนของ อาณาจักรฉานชาติ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๑๕ พระเจ้าปรเมศวร ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๑๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...คายเป่าศก ปีที่สิบสาม(.ศ.๑๕๑๕) เดือนเมษายน มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) มีพระนามว่า ศรีจุฬา(ชีลี-จูลา) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการอีก มีสิ่งของต่างๆ หลายชนิด มาถวาย แด่ ฮ่องเต้ไท่จู่ ด้วย...

(แปลโดยนายทองแถม นาถจำนง)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...คายเป่าศก ปีที่สิบห้า (.ศ.๑๕๑๗) เดือนมีนาคม มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มีพระนามว่า ศรีจุฬา(ชีลี-จูลา) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ มี งาช้าง เครื่องหอมยู่เซียง (Frankin cense) น้ำหอมกลิ่นกุหลาบ(ว่าน-สุ้ย-เจ่า) อินทผลัมหมื่นปี เปี่ยน-เถา(น่าจะเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง) น้ำตาลกรวด แหวน แก้วผลึก ขวด กระจกเงา ต้นปะการัง มาถวาย แด่ ฮ่องเต้ ด้วย...

(แปลโดยนายทองแถม นาถจำนง)

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๑๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

       ...คายเป่าศก ปีที่สิบหก(พ.ศ.๑๕๑๘) เดือนธันวาคม มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ-ไชยา) มีพระนามว่า ศรีจุฬา(ชีลี จูลา) ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อ พระยาถัวฮั่น (ผูเยีย-ถัวฮั่น) มาถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นสิ่งของต่างๆ อีก ฮ่องเต้ไท่จู่ ทรงพระราชทานหมวก เข็มขัด ภาชนะ และ เงิน เป็นของตอบแทน ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

 

      ปี พ..๑๕๑๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีจุฬา(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ เสด็จสวรรคต

Visitors: 54,249