รัชกาลที่ ๑๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๑๘

มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ 

กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓

 

ปี พ..๑๔๗๒ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อชวา(พ.ศ.๑๔๕๕-๑๔๗๒) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ จึงเสด็จขึ้นมาเป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ(พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ(พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓) โดยมี จักรพรรดิศรีจุฬา เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อศรีซอ เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๑๘

ปี พ.ศ.๑๔๗๔ มหาราชาสิงห์ หรือ มหาราชาเทียนโค(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๗๔) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู ถูก ชาวสวน ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) คนทำสวนในพระราชวังหลวง ลอบสังหาร ขณะเสด็จไปเก็บแตงกวา แล้วขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม มีพระนามว่า มหาราชา อนุโสระหัน(พ.ศ.๑๔๗๔-๑๕๐๗)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๙๙)

ปี พ.ศ.๑๔๗๖ ฮ่องเต้หมิงจง(พ.ศ.๑๔๖๙-๑๔๗๖) ราชวงศ์โฮ่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต เนื่องจาก ถูกสังหาร เพื่อแย่งชิงอำนาจ และ หลีฉงเคอ สายราชวงศ์โฮ่ถัง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้หมิ่นตี้(พ.ศ.๑๔๗๖-๑๔๗๗) ราชวงศ์โฮ่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๓)

ปี พ.ศ.๑๔๗๗ ฮ่องเต้หมิ่นตี้(พ.ศ.๑๔๗๖-๑๔๗๗) ราชวงศ์โฮ่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต เนื่องจาก ถูกสังหาร เพื่อแย่งชิงอำนาจ และ หลีฉงโฮ่ สายราชวงศ์โฮ่ถัง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้ม่อตี้(พ.ศ.๑๔๗๗-๑๔๗๙) ราชวงศ์โฮ่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๓)

ปี พ.ศ.๑๔๗๙ ฮ่องเต้ม่อตี้(พ.ศ.๑๔๗๗-๑๔๗๙) ราชวงศ์โฮ่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต เนื่องจาก ถูกสังหาร เพื่อแย่งชิงอำนาจ และ สือจิ้งถัง สายราชวงศ์โฮ่จิ้น ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เกาจู(พ.ศ.๑๔๗๙-๑๔๘๕) ราชวงศ์โฮ่จิ้น แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๓)

ปี พ.ศ.๑๔๘๐ มหาราชา นรปิติสิงห์(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๘๐) ราชวงศ์ภคทัตต์ แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา เสด็จสวรรคต มหาราชามงคล(พ.ศ.๑๔๘๐-๑๕๐๓) แห่ง ราชวงศ์ภคทัตต์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ราชธานี ของ อาณาจักรละโว้ ได้ย้ายจาก กรุงศรีอยุธยา ไปอยู่ที่ กรุงละโว้ อีกครั้งหนึ่ง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๘๕)

ปี พ.ศ.๑๔๘๒ มีศิลาจารึก ซึ่งขุดพบที่ เมืองอโยธยาศรีเทพราม ระบุศกศักราช ๑๔๘๒ จารึกเป็นภาษาสันสกฤต และ ภาษาขอม ได้กล่าวถึงพระนามของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรจานาศะปุระ ซึ่งสืบทอดมาจาก มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) มีจารึกข้อความตอนหนึ่งว่า...

...มหาราชาพระองค์แรก คือ พระเจ้าภคทัตต์ และต่อจากนั้น อีกหลายชั่วคน ก็สืบราชวงศ์มาถึง เจ้าชายสุนทรปรากรม และพระราชโอรส ของ พระองค์ คือ เจ้าชายสุนทร แล้วถึงพระราชาอีก ๒ พระองค์ คือ พระเจ้านรปิติสิงห์ และ พระเจ้ามงคล ทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรส ของ เจ้าชายสุนทร พระเจ้ามงคล เป็นผู้สร้างจารึกหลักนี้ และได้ทรงสร้างรูปพระเทวี เพื่ออุทิศถวาย แด่พระราชมารดา ของ พระองค์ ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๘๕)

ปี พ.ศ.๑๔๘๒ มหาราชามงคล แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงอโยธยาศรีเทพราม ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรต่างๆ รอบๆ อาณาจักรละโว้ กลับคืน

ปี พ.ศ.๑๔๘๒ พระเจ้าอุคระเสน แห่ง อาณาจักรบาหลี กรุงสิงหมนทพ หรือ สิงหทวาลปุระ เกาะบาหลี สวรรคต และมี พระเจ้า ? ขึ้นครองราชย์สมบัติ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๐)

ปี พ.ศ.๑๔๘๔ มหาราชา ศิวบท(พ.ศ.๑๔๗๑-๑๔๘๔) หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่-๔ ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครวัด เสด็จสวรรคต มีพระนามเมื่อสวรรคต ว่า บรมศิวบท โดยมี มหาราชาท้าวพรหม(พ.ศ.๑๔๘๔-๑๔๘๗) หรือ พระเจ้าหรรษวรมัน ที่ ๒ ขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงนครวัด ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗)

ปี พ.ศ.๑๔๘๕ ฮ่องเต้เกาจู(พ.ศ.๑๔๗๙-๑๔๘๕) ราชวงศ์โฮ่จิ้น แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต และพระราชโอรส สือจังกุ้ย สายราชวงศ์โฮ่จิ้น ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้สือจังกุ้ย(พ.ศ.๑๔๘๕-๑๔๘๙) ราชวงศ์โฮ่จิ้น รัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๔)

ปี พ.ศ.๑๔๘๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ(พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรม้าตาราม กรุงม้าตาราม เกาะชวา เป็นเหตุให้ มหาราชา พระเจ้าสินทก ต้องอพยพไพร่พล ไปตั้งราชธานี ใหม่ ทางทิศตะวันออก ของ เกาะชวา เรียกว่า อาณาจักรชวาตะวันออก ต่อมา มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ(พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ โปรดเกล้าให้ เจ้าชาย แห่ง เมืองซุนดา มีพระนามว่า มหาราชาซุนดา เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๐)

ปี พ.ศ.๑๔๘๕ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา กลายเป็น อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เมื่อปี พ.ศ.๑๔๕๘ อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ..๑๔๘๖ นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ มีนามว่า มาซูดี ได้บันทึกถึงความมั่นคง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ว่า

...มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงเซ-โปก(สานโพธิ์-ไชยา) มีเกาะมากมาย เช่น เกาะกาละ(เกาะสุมาตรา) , เกาะศรีบูชา(ศรีโพธิ์ช้า-เกาะบอร์เนียว) และเกาะอื่นๆ ในทะเลจีน นั้น เขาถวายพระนามของพระราชาผู้ปกครองว่า มหาจักรพรรดิ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) นั้น มีประชาชนเป็นจำนวนมาก และมี กองทัพที่ใหญ่หลวงมาก ด้วย  ไม่มีผู้ใดที่สามารถเดินทางโดยเรือที่เร็วที่สุด ไปรอบๆเกาะที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้ภายในเวลา ๒ ปี ได้

มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(เซโปก-ไชยา) มีสินค้าประเภท เครื่องหอม และไม้หอม นาๆ ชนิด ที่ ประเทศ อื่นๆ ไม่สามารถมีได้ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ของ มหาจักรพรรดิ มีสินค้ามากมาย เช่น การบูร  ไม้กฤษณา กานพลู ไม้จันทร์ ชะมดเชียง กระวาน และ ลีปลี(พริกขี้หนู) เป็นต้น...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

      (จากหนังสือโบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่ ของ การศึกษาวิเคราะห์ แหล่งโบราณคดี รอบอ่าวบ้านดอน ของ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หน้าที่ ๗๒ )

ปี พ.ศ.๑๔๘๗ มหาราชาท้าวพรหม(พ.ศ.๑๔๘๔-๑๔๘๗) หรือ พระเจ้าหรรษวรมัน ที่ ๒ ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครวัด เสด็จสวรรคต มีพระนามเมื่อสวรรคต ว่า พรหมโลก และมี มหาราชาราเชนทร(พ.ศ.๑๔๘๗-๑๕๑๑) หรือ พระเจ้าราเชนทรวรมัน ขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา ในรัชกาลถัดมา และได้ย้ายเมืองนครหลวงกลับมาที่ เมืองโสธรปุระ อีกครั้งหนึ่ง

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗)

ปี พ.ศ.๑๔๘๙ ฮ่องเต้สือจังกุ้ย(พ.ศ.๑๔๘๕-๑๔๘๙) ราชวงศ์โฮ่จิ้น แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต เพราะถูกแย่งชิงราชสมบัติจาก หลิวจือเวียน สายราชวงศ์โฮ่ฮั่น ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เกาจู(พ.ศ.๑๔๘๙-๑๔๙๐) ราชวงศ์โฮ่ฮั่น แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง รัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๕)

ปี พ.ศ.๑๔๙๐ ฮ่องเต้เกาจู(พ.ศ.๑๔๘๙-๑๔๙๐) ราชวงศ์โฮ่ฮั่น แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต พระราชโอรสคือ หลิวเฉิงอิ้ว พระชนมายุ ๑๘ พรรษา สายราชวงศ์โฮ่ฮั่น ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้อินตี้(พ.ศ.๑๔๙๐-๑๔๙๔) ราชวงศ์โฮ่ฮั่น รัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๕)

ปี พ.ศ.๑๔๙๑ มหาราชา พระเจ้าสินทก แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา สวรรคต พระเจ้าโลกบาล เป็นพระราชบุตรเขย ของ พระเจ้าสินทก ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรม้าตาราม

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๐)

ปี พ.ศ.๑๔๙๔ ฮ่องเต้อินตี้(พ.ศ.๑๔๙๐-๑๔๙๔) ราชวงศ์โฮ่ฮั่น แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ถูกแม่ทัพกัวเว่ย กดดันให้สละราชสมบัติ แม่ทัพกัวเว่ย สายราชวงศ์โฮ่โจ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้ไท่จู(พ.ศ.๑๔๙๔-๑๔๙๗) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง รัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๕)

ปี พ.ศ.๑๔๙๔ พระเจ้าอินทรวรมัน ที่-๓ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่จู(พ.ศ.๑๔๙๔-๑๔๙๗) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๔๙๕ มหาราชาราเชนทร(พระเจ้าราเชนทร วรมัน) แห่ง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นผลสำเร็จ ศิลาจารึกบัตชุม จารึกว่า...

...พระรัศมี ของ พระองค์ ได้เผาผลาญ ราชอาณาจักร ของ ศัตรู เริ่มต้นด้วย ประเทศจามปา...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๔๙๖ มหาอุปราช ราชัยวรรมเทพ(พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔) ราชวงศ์ปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา ปกครองอยู่ที่ เมืองนครวัด ได้ลักลอบนำ พระแก้วมรกต หนีออกจาก กรุงพระนครธม(อินทปัต) อาณาจักรคามลังกา มายัง กรุงนครวัด เนื่องจากเกิดสงคราม ในเมือง นครธม แล้วพระองค์ได้สร้าง นครวัด ให้เป็นที่ประดิษฐาน ของ พระแก้วมรกต ตำนานพระแก้วมรกต เมืองเหนือ บันทึกว่า...

...ครั้นพระแก้วมรกต เข้าไปอยู่ใน ลังกาทวีป ได้นาน ๒๐๐ ปีแล้ว...

ในกาลครั้งนั้น มีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าอนุรุธราชาธิราช ท่านก็ได้ครองราชย์สมบัติในพระนครพุกาม และกษัตริย์พระองค์นั้น มีฤทธิ์ศักดานุภาพนัก อาจสามารถเหาะไปด้วยล่องอากาศเวหาได้ พระเจ้าอนุรุธราชาธิราช พระองค์นั้น ท่านก็คำนับยังพระศาสนาเป็นที่สุด ท่านก็ได้ปฏิบัติรักษา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสงฆ์เจ้า เป็นนิจมิได้ขาด ที่นั้น ยังมีพระภิกษุเจ้าองค์หนึ่ง มีนามปรากฏชื่อว่า สีลขันธ์ ได้อุปสมบทภาวะเป็นภิกษุสงฆ์ได้ ๕ พรรษา ท่านนั้นได้ร่ำเรียนมาก มีปัญญาก็ฉลาดนัก ท่านก็ยังพิจารณาดูยังพระไตรปิฎกธรรม อันมีอยู่ในเมืองพุกาม ที่นั้น ท่านก็เห็นว่า พระไตรปิฎก นั้นผิดอักขระพยัญชนะ หาถูกต้องไม่ ท่านจึงไหว้พระอาจารย์อันอยู่ในวิหารที่นั้นว่า ข้าแต่พระอาจารย์เจ้า ซึ่งเราทั้งปวง ได้กระทำบรรพชากรรม แลอุปสมบทกรรม มาแต่ก่อนนั้น ผิดเสียแล้ว แลด้วยว่า ไม่ถูกอักขระพยัญชนะ บัดนี้เราจะคิดอ่านสถานใดดีเล่า....อันตัวข้านี้ ก็ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุแล้ว แต่จะขึ้นหรือไม่ขึ้น ก็หารู้ไม่ ควรแต่พวกตู จะไปอุปสมบทในเมืองลังกาทวีปเถิด ท่านพิจารณาเห็นอย่างนั้นแล้ว ท่านจึงเข้าไปกราบทูลต่อ พระเจ้าอนุรุธราชาธิราช อันเป็นเจ้าแห่ง นครพุกาม นั้นว่า ดูกร มหาบพิตรพระราชสมภาร พระองค์จงเข้าพระทัยในถ้อยคำ อาตมาจะมาถวายพระพร ณ บัดนี้เถิด ซึ่งพระไตรปิฎกทั้งปวง อันมีอยู่ในเมืองของพระองค์นี้ ยังผิดอยู่ ไม่ถูกต้องตามอักขระพยัญชนะเลย แม่ว่าเราจะทำบรรพชากรรม และอุปสมบทกรรม มาแต่ข้างหลังนั้น เป็นผิดเสียแล้วแล พระองค์เจ้า จงทรงพิจารณาแก้ไขด้วยเถิด

พระสีลขันธ์ภิกษุ จึงกราบทูลว่า พระไตรปิฎกที่ไม่ผิดอักขระพยัญชนะ นั้น พระมหาพุทธโฆษาจารย์เถระเจ้า ได้เขียนไว้ในเมืองลังกาทวีปนั้น เป็นอันบริสุทธิ์นักหนาแล...

บัดนี้ จะกล่าวถึง พระเจ้าอินทปัต นั้นก่อน ครั้นพระองค์ได้พระแก้วมรกต แล้ว พระองค์ก็ทรงตรัสแก่เสนาอำมาตย์ ให้บอกแก่ชาวเมืองทั้งปวง ทั่วไป ในพระนครทั้งปวงแล้ว ก็พร้อมใจกันมาร่วมฉลองบูชา พระแก้วเจ้าด้วยสิ่งทั้งปวง อันควรบูชา เป็นอันมากนักหนา อยู่มาแต่นั้น พระองค์ก็ปฏิบัติรักษาพระแก้วเจ้า เป็นนิจ มิได้ขาดนั้นแล แต่นั้น พระพุทธศาสนา ของ พระบรมพุทธครูเจ้านั้น ก็รุ่งเรืองงามไปทั่วสากล ชมพูทวีปทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่ง พระแก้วเจ้านั้นแล พระแก้วเจ้าองค์นั้น ก็ตั้งอยู่ในเมืองอินทปัต นั้น สิ้นกาลนานนัก ได้หลายชั่วพระมหากษัตริย์ ซึ่งครองราชย์ในเมืองอินทปัต นั้น ท่านก็ได้ปฏิบัติรักษา บูชาพระแก้วเจ้าต่อไป นั้นแล...  

(ธรรมทาส พานิช พนม ทวาราวดี ศรีวิชัย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ หน้าที่ ๒๒๕-๒๒๗)

ปี พ..๑๔๙๖ ฮ่องเต้ไท่จู(พ.ศ.๑๔๙๔-๑๔๙๗) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ได้พยายามจัดพิมพ์หนังสือของตนเองได้เป็นครั้งแรก โดยการแกะไม้เป็นแบบพิมพ์ เพื่อพิมพ์หนังสือให้ได้เหมือนกับที่ชาวอาหรับ ทำได้มาก่อน

ปี พ.ศ.๑๔๙๗ ฮ่องเต้ไท่จู(พ.ศ.๑๔๙๔-๑๔๙๗) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต พระราชโอรสบุญธรรม ชื่อ ซือจง หรือ ไซ่หรง สายราชวงศ์โฮ่โจว ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้ซือจง(พ.ศ.๑๔๙๗-๑๕๐๒) ราชวงศ์โฮ่โจว รัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๖)

ปี พ.ศ.๑๔๙๘ ฮ่องเต้ซือจง(พ.ศ.๑๔๙๗-๑๕๐๒) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สั่งยุบวัดทางพระพุทธศาสนา ทั้งหมด ๓๐,๓๖๖ วัด ยกเว้นวัดไว้ ๒,๖๙๘ วัด ซึ่งสวดมนต์เป็นภาษาจีน ทำให้เกิดความขัดแย้งกับ ชาวพุทธ อย่างรุนแรง

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๕)

ปี พ.ศ.๑๕๐๐ ชาวอาหรับชื่อ อับราฮัม บินวาซิบซ่า ได้เดินทางมาที่ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้มากมายเช่นเดียวกัน

      ปี พ.ศ.๑๕๐๑ พระเจ้าอินทรวรมัน ที่-๓ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

      ปี พ.ศ.๑๕๐๒ พระเจ้าอินทรวรมัน ที่-๓ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ซือจง(พ.ศ.๑๔๙๗-๑๕๐๒) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

      ปี พ.ศ.๑๕๐๒ พระเจ้าอินทรวรมัน ที่-๓ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้เสด็จสวรรคต มหาราชาชัยอินทร์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๕๐๒ ฮ่องเต้ซือจง(พ.ศ.๑๔๙๗-๑๕๐๒) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต พระราชโอรสซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๗ พรรษา ชื่อ กังตี้ สายราชวงศ์โฮ่โจว ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้กังตี้(พ.ศ.๑๕๐๒-๑๕๐๓) ราชวงศ์โฮ่โจว โดยมีพระราชมารดา พระนามว่า พระนางกวงยิ่น เป็นผู้สำเร็จราชการ เป็นรัชกาลสุดท้าย ของ ราชวงศ์โฮ่โจว

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๗)

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๖)

ปี พ.ศ.๑๕๐๓ เจ้าความยิ่น แม่ทัพของ ฮ่องเต้กังตี้(พ.ศ.๑๕๐๒-๑๕๐๓) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ส่งกองทัพเข้ายึดอำนาจขึ้นเป็นปฐมฮ่องเต้ ของราชวงศ์ซ้อง ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน มีพระนามว่า ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) เรียกว่า รัชสมัยคายเป่า แห่ง ราชวงศ์ซ้อง(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๒๒) ใช้นโยบายหลอกลวงยุแหย่ แทนการใช้กำลังทหาร กับ อาณาจักรต่างๆ ที่อยู่ข้างเคียง

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๖)

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๗)

ปี พ.ศ.๑๕๐๓ ฮ่องเต้กังตี้(พ.ศ.๑๕๐๒-๑๕๐๓) ราชวงศ์โฮ่โจว แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ถูกแย่งชิงราชสมบัติ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ในรัชกาลถัดมา

    (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๗)

ปี พ.ศ.๑๕๐๓ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง ได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี กับ มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ(พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จดหมายเหตุจีน ได้บันทึกถึงสภาพกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ว่า...

...ราชธานีกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีที่ราบ ดินดี เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ผลผลิตที่สำคัญ คือ ข้าว ปอ ถั่ว ไม่มีข้าวสาลี ประชาชนต้องเสียภาษี ๑ ใน ๑๐ ของผลผลิตที่ได้

เกลือ ได้จากการต้มน้ำทะเล สัตว์เลี้ยงมี ปลา เต่า เป็ด ไก่ ห่าน และวัวควาย มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ประชาชนเลี้ยงไว้เพื่อฆ่าเป็นอาหาร

ผลไม้ที่ประชาชนนิยมปลูกไว้กิน มี มะละกอ มะพร้าว กล้วย อ้อย และเผือก

สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีเหมืองแร่ทองคำ เหมืองแร่เงิน สินค้าที่สำคัญ มี ทองคำ เงิน นอแรด ลิกนัมอโล ไม้หอม ผักชี พริกไทย หมาก แร่กำมะถัน และ ไม้ฝาง ประชาชน นิยมเลี้ยงไหม เพื่อใช้ทำผ้าไหมสีเหลือง และบาง ผ้าทำจากฝ้าย ก็มี ด้วย

สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ เขาใช้โลหะเงิน มาปั๊ม เป็นเงินตรา

บ้านเรือน ของ ประชาชน ในกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) สวยงาม ประชาชนนิยมมุงหลังคาด้วยกระเบื้องสีเขียว และ สีเหลือง เมื่อพ่อค้าจีน เดินทางมาค้าขาย จะได้รับการต้อนรับเหมือนแขกสำคัญ ในศาลาอาคารสาธารณะ มีอาหารการกิน มากมาย และ สะอาด ไว้บริการแขกผู้มาเยือน ด้วย

สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ไม่ส่งเสริมการผลิตชา แต่พวกเขาทำเหล้าจากต้นมะพร้าว และต้นตาล มีรสหอม อร่อยดี

ที่กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ไม่มีการลงโทษด้วยการทรมานร่างกาย การกระทำผิดทุกอย่าง จะถูกลงโทษด้วยการปรับเป็นทองคำ มากน้อย ขึ้นกับลักษณะ ของ ความผิด ขโมยและโจร เท่านั้น ที่ถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต

มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ทรงเกล้ามวยผมไว้เหนือพระเศียร ห้อยระฆังทอง ทรงชุดผ้าไหม สวมรองเท้าหนังสัตว์ ประทับบนพระที่นั่ง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คณะขุนนาง ที่ต้องเข้าเฝ้าว่าราชการประจำวัน ต้องทำความเคารพด้วยการโค้งคำนับ ๓ ครั้ง ก่อนถอยออกไปเมื่อ มหาจักรพรรดิ เสด็จออก ในการเสด็จออกนอกพระราชวัง มหาจักรพรรดิ จะประทับบนหลังช้าง หรือบนราชรถ มีทหารรักษาพระองค์ ประมาณ ๕๐๐-๗๐๐ นาย ทำหน้าที่ติดตาม รักษาความปลอดภัย เมื่อประชาชนพบเห็น มหาจักรพรรดิ ขณะเสด็จผ่าน จะต้องลงนั่งคุกเข่า ยกมือพนมไหว้ เพื่อทำความเคารพ จนกว่า ขบวนเสด็จ จะผ่านพ้นไป

ในขณะที่พบเห็นนั้น มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ ของ มหาจักรพรรดิ ทำหน้าที่อยู่ใน คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีที่สำคัญ ๔ ตำแหน่ง(เวียง วัง คลัง นา) เรียกว่า หลวงเทียน(โลกิเตียน) ได้ร่วมบริหารบ้านเมืองอยู่ด้วย ขุนนางใน คณะรัฐมนตรี ไม่มีรายได้ที่แน่นอน จะได้รับค่าจ้างเป็นครั้งคราวจากรายได้ของแผ่นดิน นอกจากนั้น มีข้าราชการต่างๆ มากกว่า ๓๐๐ คน ทำหน้าที่บริหารด้านพลเรือน ทำหน้าที่ทางด้านบัญชี มีข้าราชการชั้นล่างอีกประมาณ ๑,๐๐๐ ตำแหน่ง ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ภายในราชธานี และทำหน้าที่รักษาท้องพระคลังหลวง

ด้านการทหาร นายพล ของ กองทัพต่างๆ ได้รับค่าจ้างประจำทุก ๖ เดือน เป็นทองคำหนัก ๑๐ ทาเอล มีทหารรักษาราชธานี ประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน รับเงินค่าจ้างทุกๆ ๖ เดือน มากน้อยแตกต่างกัน ตามตำแหน่ง

ประชาชนในราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ไม่นิยมใช้แม่สื่อในการแต่งงาน เมื่อหญิงชาย เกิดความรักระหว่างกัน และญาติทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันแล้วว่าจะให้แต่งงานกัน ฝ่ายเจ้าบ่าว ต้องให้ทองคำเป็นสินสอดแก่ญาติเจ้าสาว หลังจากนั้น จึงจะเข้าสู่พิธีแต่งงานตามประเพณี ได้

ในเดือน ๕ ของทุกปี ประชาชนในกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จะออกท่องเที่ยวงานแข่งเรือ อย่างสนุกสนาน พอถึงเดือน ๑๐ จะมีประเพณี เดินทางแข่งขันขึ้นสู่ยอดภูเขา(ภูเขานางเอ) เพื่อไปร่วมชุมนุมกัน ณ ยอดภูเขาต่างๆ อย่างสนุกสนาน มีการแข่งขันขี่ม้าขึ้นภูเขา ซึ่งต้องหาม้าพันธุ์ดีมาฝึกเข้าร่วมแข่งขัน ในประเพณีดังกล่าว บางคนไม่สามารถเดินทางขึ้นภูเขาได้ จะต้องใช้คนหาม ขึ้นภูเขา

เครื่องดนตรี ในกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มี ขลุ่ย กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ และ เกราะไม้ พวกเขาทำการร่ายรำร่วมกัน(รำกลองยาว หรือ รำวง) หญิงสาวร่ายรำ(กลองยาว) สวยงามมาก

 หญิงสาว นิยมปล่อยผมยาว มีผ้าพันไว้ที่หน้าอก และปล่อยลงยาวไปถึงหัวเข่า

เมื่อมีคนป่ายหนัก พวกเขาไม่นิยมกินยาอันได ได้แต่อ้อนวอนต่อ พระพุทธเจ้า ให้หายป่วย ประชาชนทุกคน มีแต่ชื่อตัว ไม่มีชื่อสกุล ใช้เรียกด้วย...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๕-๒๖)

ปี พ.ศ.๑๕๐๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ(พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓) และ มหาจักรพรรดิศรีมงคลอาทิตย์ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้ไท่จู่(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๑๙) ปฐมฮ่องเต้ ราชวงศ์ซ้อง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง มีบันทึกว่า...

...เจียนหลงศก ปีแรก (.ศ.๑๕๐๓) เดือนเก้า(กันยายน) มหาจักรพรรดิ พ่อศรีคุปตะหะริ(ซี-ลี-คู-ต้า-เสีย-หลี่-ถาน) ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างสัมพันธไมตรี และ ถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูตชื่อ เจ้าตี๋ แซ่หลี(หลี-เจาตี๋) เป็นราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการ มาถวายบรรณาการ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๒)

      ปี พ.ศ.๑๕๐๓ มหาราชามงคล(พ.ศ.๑๔๘๐-๑๕๐๓) ราชวงศ์ภคทัตต์ แห่ง อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ เสด็จสวรรคต พระยามงคลอาทิตย์(พ.ศ.๑๕๐๓-๑๕๔๑) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรละโว้ กรุงละโว้ ในรัชกาลถัดไป

 

      ปี พ..๑๕๐๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีคุปตะหะริ(พ.ศ.๑๔๗๒-๑๕๐๓) เสด็จสวรรคต

Visitors: 56,608