รัชกาลที่ ๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อศรีชวา กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๔๕๕-๑๔๗๒

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๑๗

มหาจักรพรรดิพ่อศรีชวา 

กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๔๕๕-๑๔๗๒ 

 

ปี พ..๑๔๕๕ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อศรีชวา จึงเสด็จขึ้นมาเป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีชวา(พ.ศ.๑๔๕๕-๑๔๗๒) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ โดยมี พ่อศรีคุปตะหะริ เป็น จักรพรรดิ และมี พ่อศรีจุฬา เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๑๗

ปี พ.ศ.๑๔๕๖ มหาราชา พระเจ้าบาลีตุง แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงจากาต้า สวรรคต พระเจ้าทักษะ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เป็นรัชกาลถัดมา และได้ประกาศตั้ง ศักราชสันชัย ขึ้นใช้ในดินแดน อาณาจักรม้าตาราม เริ่มนับเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๑๒๕๙

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๙)

ปี พ.ศ.๑๔๕๖ ฮ่องเต้จูยิ่วกุย(พ.ศ.๑๔๕๐-๑๔๕๕) ราชวงศ์โฮ่เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต เนื่องจาก ม่อตี้ ซึ่งเป็นพระอนุชา ต่างมารดา ลอบสังหาร เพื่อแย่งชิงอำนาจ และขึ้นครองราชย์สมบัติ เรียกว่า ฮ่องเต้ม่อตี้(พ.ศ.๑๔๕๖-๑๔๖๖) ราชวงศ์โฮ่เหลียง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๑)

ปี พ.ศ.๑๔๕๘ พระเจ้าอุคระเสน แห่ง อาณาจักรบาหลี กรุงสิงหมนทพ หรือ สิงหทวาลปุระ เกาะบาหลี ขึ้นครองราชย์สมบัติ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๕๐)

ปี พ..๑๔๕๙ ชาวอาหรับผู้หนึ่งมีนามว่า อาบู เชค ฮัสซัน ได้รวบรวมบันทึกของสุไลมาน ไปจัดพิมพ์เผยแพร่ เอกสารการพิมพ์จดหมายเหตุอาหรับของ สุไลมาน จึงโด่งดังไปถึง มหาอาณาจักรจีน บันทึกการพิมพ์จดหมายเหตุ ของ สุไลมาน ถูกเผยแพร่ในหมู่ชาวอาหรับ มีชื่อเสียงโด่งดังมายาว นาน จนกระทั่งปี พ..๒๒๖๑ ซึ่งตรงกับรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา บาทหลวงเรอโนโดต์ ได้นำจดหมายเหตุของ สุไลมาน มาแปล และตีพิมพ์เผยแพร่ ในทวีปยุโรป และมีการนำมาแปลต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ.๑๔๕๙ แม่ทัพฮวงเชา แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามปราบปรามพวกนับถือศาสนาอิสลาม จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ คน ณ เมืองชานตุง แล้วส่งกองทัพเข้ายึดเมืองลกเอี๋ยน ราชธานี ของ มหาอาณาจักรจีน แล้วตั้งตนเป็น ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีพระนามว่า ฮ่องเต้ม่อตี้(พ.ศ.๑๔๕๖-๑๔๖๖) ราชวงศ์โฮ่เหลียง เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้ แห่ง ราชวงศ์ถัง ต้องลี้ภัยไปอยู่ที่ ทางทิศตะวันตก ของ แคว้นเสฉวน ใกล้พรหมแดนทิเบต

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๑๕)

ปี พ.ศ.๑๔๖๑ พระเจ้าอินทรวรมัน ที่-๓ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้สร้างเทวรูป พระภัควดี ด้วยทองคำ พร้อมกับสรรเสริญ ความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับ วรรณคดี และ ปรัชญา ไว้ที่ศิลาจารึก เมืองโพธิ์นคร เมืองญาตรัง ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

      ปี พ.ศ.๑๔๖๑ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ทำสงครามรุกราน อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ของ ชนชาติอ้ายไต สามารถส่งกองทัพเข้าโจมตี เมืองญาตรัง พร้อมกับได้ยึดครอง ประติมากรรม เทวรูป ทองคำ พระภัควดี ไปด้วย ศิลาจารึก จึงสาปแช่ง กองทัพ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ว่า เป็นกองทัพที่เต็มไปด้วย ความโลภ และความชั่วร้าย ต่างๆ อย่างมากมาย สงครามเป็นไปอย่าง ยืดเยื้อ ในที่สุด กองทัพของ พระเจ้าราเชนทร วรมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ต้องพ่ายแพ้สงคราม อย่างย่อยยับ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

      ปี พ.ศ.๑๔๖๑ พระเจ้าอินทรวรมัน ที่-๓ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) ได้ทำสงครามขับไล่ กองทัพของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ออกจากดินแดน เป็นผลสำเร็จ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๔๖๒ มหาราชา พระเจ้าทักษะ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงจากาต้า สวรรคต พระเจ้าตุโลตุง ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๙)

ปี พ.ศ.๑๔๖๕ มหาราชาหรรษา(พ.ศ.๑๔๔๕-๑๔๖๕) หรือ พระเจ้าหรรษวรมัน ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา เสด็จสวรรคต มีพระนามเมื่อสวรรคต ว่า รุทรโลก โดยมี มหาราชาอีสาน(พ.ศ.๑๔๖๕-๑๔๖๘) หรือ พระเจ้าอีสานวรมัน ที่ ๑ ขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๖)

ปี พ.ศ.๑๔๖๖ ฮ่องเต้ม่อตี้(พ.ศ.๑๔๕๖-๑๔๖๖) ราชวงศ์โฮ่เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต เนื่องจาก ถูกลอบสังหาร เพื่อแย่งชิงอำนาจ และ หลีฉุนหวี สายราชวงศ์ถัง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้จวงจง(พ.ศ.๑๔๖๖-๑๔๖๙) ราชวงศ์โฮ่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๒)

ปี พ.ศ.๑๔๖๘ มหาราชาอีสาน(พ.ศ.๑๔๖๕-๑๔๖๘) หรือ พระเจ้าอีสานวรมันที่-๑ ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา เสด็จสวรรคต มีพระนามเมื่อสวรรคต ว่า ? โดยมี มหาราชาศรีอีสาน(พ.ศ.๑๔๖๘-๑๔๗๑) หรือ พระเจ้าอีสานวรมัน ที่ ๒ พระราชโอรส ขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๖)

ปี พ.ศ.๑๔๖๖ ฮ่องเต้จวงจง(พ.ศ.๑๔๖๖-๑๔๖๙) ราชวงศ์โฮ่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต เนื่องจาก ถูกสังหาร เพื่อแย่งชิงอำนาจ และ หลีซือหยวน สายราชวงศ์โฮ่ถัง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้หมิงจง(พ.ศ.๑๔๖๙-๑๔๗๖) ราชวงศ์โฮ่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๒)

ปี พ.ศ.๑๔๗๐ มหาอุปราชพระเจ้าวาวะ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงม้าตาราม ทรงออกผนวช จึงได้รับพระนามใหม่ว่า พระเจ้าวาคีศวร

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๙)

ปี พ.ศ.๑๔๗๒ มหาราชา พระเจ้าโลตุงคะ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงจากาต้า สวรรคต พระเจ้าวาวะ หรือ พระเจ้าวาคีศวร ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๙)

ปี พ.ศ.๑๔๗๑ มหาราชาศรีอีสาน(พ.ศ.๑๔๖๘-๑๔๗๑) หรือ พระเจ้าอีสานวรมัน ที่ ๒ ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครวัด ได้เสด็จสวรรคต ได้รับพระราชทานพระนามเมื่อสวรรคต ว่า บรมรุทรโลก และมี มหาราชา ศิวบท(พ.ศ.๑๔๗๑-๑๔๘๔) หรือ พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๔ พระราชโอรส ขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครวัด ในรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๖)

ปี พ.ศ.๑๔๗๒ มหาราชา พระเจ้าวาวะ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงม้าตาราม ออกผนวช พระเจ้าสิณฑก ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม กรุงจากาต้า เป็นรัชกาลถัดมา โดยได้ย้ายราชธานี ไปตั้งใหม่ ทางภาคตะวันออก ของ เกาะชวา ระหว่าง ภูเขาสุเมรุ และ ภูเขาวิลิส มีศิลาจารึก ของ พระเจ้าไอลังกา ได้จารึกกล่าวถึง พระเจ้าสิณฑก มีใจความว่า...

...เมื่อ พระเจ้าสิณฑก สวรรคต แล้ว พระราชธิดา ของ พระองค์ทรงพระนามว่า พระนางอีศานตุงควิชยา ได้ทรงเสกสมรส กับ พระเจ้าโลกบาล ซึ่งได้ขึ้นปกครอง อาณาจักรม้าตาราม พระนางมีพระราชโอรส ทรงพระนามว่า มกุฎวงศ์วรรธนะ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อ และต่อมา พระราชธิดา ของ พระเจ้ามกุฎวงศ์วรรธนะ ทรงพระนามว่า พระนางมเหนทรทัตตา ก็ได้เสกสมรส กับ เจ้าชายแห่ง อาณาจักรบาหลี...

 

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๙-๕๐)

Visitors: 54,425