รัชกาลที่ ๑๖ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๑๖

มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ 

กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕ 

 

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๑๗) พ่ายแพ้สงครามต่อ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๑๗) ในปี พ..๑๔๑๗ และต้องหนีมาบวชเป็นพระภิกษุในประเทศอินเดีย มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ จึงได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ณ ภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นเป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ โดยมี จักรพรรดิพ่อศรีชวา เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการอยู่ที่ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็น เมืองจักรพรรดิ และมี นายกพ่อศรีคุปตะหริ เป็น นายก เป็นรัชกาลที่ ๑๖

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) เปลี่ยนชื่อ ราชธานี กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) เป็นชื่อใหม่ว่า กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) มีความหมายถึง เป็นราชธานี ผู้สืบสานพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๔๑๗ เป็นต้นมา

ปี พ..๑๔๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น พระองค์เล็งเห็นว่า อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ในดินแดนเกษียรสมุทร หรือ ดินแดนหมู่เกาะทะเลใต้ ที่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์นั้น ได้ประกาศก่อกบฏ ประกาศแยกตัวออกจากการปกครองของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) อย่างเด็ดขาด ตั้งแต่สมัยที่ สหราชอาณาจักรเสียม ได้แตกแยกออกเป็น ๓ ก๊ก ดังนั้นเมื่อ มหาจักรพรรดิ พ่อคุณอรรณพ รวบรวมดินแดน สหราชอาณาจักรเสียม เป็นปีกแผ่นแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นชื่อใหม่ว่า กรุงสานโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปเจรจา กับ อาณาจักรต่างๆ ทางทิศเหนือ เพื่อให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม ต่อไป คือ อาณาจักรละโว้(ลพบุรี) , อาณาจักรลานนา(เชียงใหม่) , อาณาจักรพิง(ฝาง) , อาณาจักรแสนหวี(โกสมพี) , อาณาจักรศรีชาติตาลู(พุกาม) , อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) , อาณาจักรโยนก(แพร่) , อาณาจักรเชียงแสน(เงินยาง) , อาณาจักรอีสานใต้(อุบล) อาณาจักรอีสานกลาง(โคราช) , อาณาจักรอีสานเหนือ(อุดร) , อาณาจักรอ้ายลาว(ลานช้าง) , อาณาจักรโพธิ์ใน(อ้ายลาวภาคใต้) , อาณาจักรคามลังกา(ขอม) , อาณาจักรสิบสองพันนา(เชียงตุง) และ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) เป็นต้น

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาจักรพรรดิพ่ออาทิตย์ แห่ง อาณาจักรละโว้(ขอม) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชาอินทร์ราช แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว(ลานช้าง) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรโพธิ์ใน(เวียงจันทร์) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรโยนก(แพร่) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรพิง(ฝาง) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรแสนหวี(โกสมพี) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา พระยาสุนันทะ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู(พุกาม) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ แล้วแต่งตั้งให้ พระยาสิงห์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรอีสานใต้(อุบล) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรอีสานเหนือ(อุดร) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ สหราชอาณาจักรเสียม ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ มหาราชา ? แห่ง อาณาจักรอีสานกลาง(โคราช) ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ดังเดิม เป็นผลสำเร็จ

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ มหาจักรพรรดิ พ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม อาณาจักรศรีชาติตาลู ซึ่งก่อกบฏ มหาราชา พระยาสุนันทะ(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๑๗) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม เสด็จสวรรคต มหาราชาสิงห์ หรือ มหาราชาเทียนโค(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๗๔) ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๔๑๗ มหาจักรพรรดิ พ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้ คณะราชทูต ไปเจรจา กับ อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติมอญ ดังต่อไปนี้ คือ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) , อาณาจักรจามปา(เวียตนสมใต้) , อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) , อาณาจักรเชียงแสน(เงินยาง) และ อาณาจักรลานนา(เชียงใหม่) เป็นต้น

ปี พ.ศ.๑๔๑๘ มหาราชาภูมีศวร(พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒) (พระลักษมีนทร ภูมีศวร ครามัสวามิน หรือ บรมพุทธโลก) แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ได้สร้าง พระพุทธสถาน ขนาดใหญ่ ขึ้นที่ เมืองดงเดือน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ เมืองมิเซิน คือ วัดลักษมีนทรโลเกศวร

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๐)

ปี พ.ศ.๑๔๑๘ เกิดความขัดแย้ง ระหว่าง จักรพรรดิชิลง(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๒๐) แห่ง มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า กรุงตาลี่ กับ มหาอาณาจักรจีน เนื่องจาก จักรพรรดิชิลง(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๒๐) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ไม่ได้รับการรับรองจาก ฮ่องเต้ชีจง(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๓๑) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพราะ ฮ่องเต้ชีจง(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๓๑) ราชวงศ์ถัง ได้ออกประกาศ ห้ามมิให้เจ้าผู้ครองแว่นแคว้นต่างๆ มีชื่อคำว่า ลง อยู่ด้วย เป็นเหตุให้ จักรพรรดิชิลง(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๒๐) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์ ของ ฮ่องเต้ชีจง(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๓๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย เป็นเหตุให้ จักรพรรดิชิลง(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๒๐) ได้ประกาศขึ้นเป็น ฮ่องเต้ ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ด้วย พร้อมกับ ประกาศรวบรวมดินแดนจีน ให้ขึ้นต่อการปกครอง ของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า ด้วย

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ จักรพรรดิชิลง(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๒๐) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองเฉินตู เมืองหลวง ของ มณฑลเสฉวน แต่ต้องพ่ายแพ้สงครามต่อ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน และ จักรพรรดิชิลง(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๒๐) ได้เสด็จสวรรคต เพราะทรงประชวร ในสงครามครั้งนั้นด้วย เป็นเหตุให้ พระราชโอรส ของ จักรพรรดิชิลง(พ.ศ.๑๔๐๒-๑๔๒๐) ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา พระนามว่า จักรพรรดิลงชน(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๔๐) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ในรัชกาลถัดมา

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ ฮ่องเต้ซีจง(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๓๑) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ทำสัญญาสันติภาพ กับ จักรพรรดิลงชน(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๔๐) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ พร้อมกับมอบ พระราชธิดา ของ ฮ่องเต้ชีจง(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๓๑) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ให้ไปอภิเษกสมรส กับ จักรพรรดิลงชน(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๔๐) พร้อมกับส่ง ขุนนาง และ บ่าวไพร่ มาอยู่ที่ กรุงตาลี่ ราชธานี ของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า เพื่อสืบความลับ ของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า ในอนาคต เป็นเหตุให้ รัฐบุรุษ ของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า ถูกฆ่าตายไป เป็นจำนวนมาก พร้อมกับ ขุนนางจีน ได้มารับราชการกลายเป็น รัฐบุรุษจีน แทนที่

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ ฮ่องเต้ซีจง(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๓๑) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน จัดพิมพ์ปฏิทิน ประเภทฉีกรายวัน มาใช้เป็นครั้งแรก

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ..๑๔๒๐ พระวิโรจน์ราชา มหาราชา แห่ง อาณาจักรกำพูชา(เขมร) กรุงพนมมันตัน เสด็จสวรรคต เนื่องจาก กบฏ เป็นเหตุให้ มหาราชพระอุทัยราชา ผู้เป็นพระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง ราชอาณาจักรกำพูชา(เขมร) กรุงพนมมันตัน ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ พระเจ้าชัยวรรธนะ(พ.ศ.๑๓๙๓-๑๔๒๐) หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๓ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา เมืองหริหราลัย เสด็จสวรรคต พระองค์ ได้รับพระราชทานพระนามหลังจากสวรรคต ว่า พระวิษณุโลก และมี พระอินราช(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒) หรือ พระเจ้าอินทรวรมัน ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์ ของ พระเจ้าปฤถีวีนทรวรมัน เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง ปกครอง อาณาจักรคามลังกา เมืองพระนคร(นครวัด) ในรัชกาลถัดมา โดยประทับอยู่ที่ เมืองหริหราลัย คือ หมู่บ้านร่อลวย ในปัจจุบัน จารึกพระโค จารึกถึงเรื่องราวของ พระอินราช ว่า...

...ในการศึก ซึ่งเปรียบประดุจห้วงมหาสมุทรที่ข้ามได้ยาก พระองค์ทรงใช้ศีรษะ ของ ข้าศึกผู้เหี้ยมห้าว เป็นสะพานให้กองทัพของพระองค์เดินผ่านไป

พระอินทร์ คงเหนื่อยที่จะเสกสรรกษัตริย์หลายพระองค์ ท่าจึงได้เนรมิตกษัตริย์พระองค์นี้ ทรงพระนามว่า อินทรวรมัน ให้เป็นผู้นำความสุขมาสู่ไตรภพ เพียงพระองค์เดียว...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๐)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๕๔)

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการแด่ ฮ่องเต้ชีจง(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๓๑) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรหลินยี่ เป็นผลสำเร็จ แล้ว อพยพประชาชน จาก อาณาจักรโกสมพี เข้ามาตั้งรกราก พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) เป็น อาณาจักรหนึ่ง ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเสียม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๔๒๐ เป็นต้นมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๐)

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ร่วมกับ กองทัพของ อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) จากการปกครอง ของ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เป็นผลสำเร็จ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) จึงกลายเป็น อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ด้วย

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) มีอิทธิพลเหนือ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) มีเมืองนครหลวง อยู่ที่ เมืองอินทรปุระ แคว้นกวางนัม ของ ประเทศเวียตนาม ในปัจจุบัน จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า อาณาจักรหลินยี่ เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อใหม่ว่า อาณาจักรฉานเส็ง(ฉานชาติ) แปลว่า เมืองแห่งชนชาติฉาน

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๐)

ปี พ.ศ.๑๔๒๐ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) เป็นผลสำเร็จ แล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรกำโพธิ์ช้า(เขมร) หรือ อาณาจักรกำพูชา(เขมร) พร้อมกับส่ง มหาราชาวิโรจน์ ขึ้นปกครอง กลายเป็น อาณาจักรหนึ่ง ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเสียม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๔๒๐ เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.๑๔๒๒ พระเจ้าอินทร์(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒) หรือ พระเจ้าอินทรวรมัน แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครวัด ได้สร้างปราสาทอิฐ ๖ หลัง เรียกว่า ปราสาทปรเมศวร ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ตั้งพระราชวังของ พระเจ้าเกตุมาลา มีการสร้างเทวรูป พระชนก และ พระราชชนนี ของ พระเจ้าอินทราช ไว้ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๑)

ปี พ.ศ.๑๔๒๒ พระเจ้าอินทราช(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒) หรือ พระเจ้าอินทรวรมัน แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครวัด ได้สร้าง ศาสนสถาน เพื่อประดิษฐาน ราชศิวลึงค์อินทเรศวร ตามราชประเพณี

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๑)

ปี พ.ศ.๑๔๒๒ พระเจ้าอินทร์(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒) หรือ พระเจ้าอินทรวรมัน แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครวัด ได้สร้าง ปราสาทอิฐ ๔ หลัง เพื่อใช้ประดิษฐาน เทวรูป พระชนก พระชนนี อัยกา อัยกี ของพระองค์ ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๓)

ปี พ.ศ.๑๔๒๕ มหาราชา พระเจ้าระไก แห่ง อาณาจักรม้าตาราม สวรรคต ได้รับพระราชทาน พระนามใหม่ว่า สัชชโนตสวตุงคะ และมี ? ขึ้นครองราชย์สมบัติ

ปี พ.ศ.๑๔๒๕ ขุนนางจีนที่เมืองเซ่งโต ของ มหาอาณาจักรจีน ได้ทำการจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ อิทธิพล ของ หยิน-หยาง มาเผยแพร่ เป็นครั้งแรก

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๓๔)

ปี พ.ศ.๑๔๒๙ พระเจ้าอินทราช(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒) หรือ พระเจ้าอินทรวรมัน แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงหะริหราลัย ได้สร้างศิลาจารึกไว้ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เป็นจารึกทางพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ.๑๔๒๙ หลังจากเข้าทำสงครามยึดครองดินแดน ของ อาณาจักรอีสานปุระ ได้สำเร็จ ข้อความในจารึก จารึกว่า...

...พระราชอำนาจ ของ พระเจ้าอินทราช(พระเจ้าอินทรวรมัน) กษัตริย์ผู้ครองโลก ที่ทรงพิชิตได้ และ สถาปนาไว้ ณ ภูเขาพระสุเมรุ ทรงมั่นคงยิ่งกว่าสุริยเทพ ที่บางเวลาอยู่ไกล

กษัตริย์ พระองค์นี้ เปรียบเสมือนศิราภรณ์ ที่ร้อยกรองด้วยดอกมะลิเหนือพระเศียรอันหยิ่งยโส ของ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน รวมทั้ง กษัตริย์ แห่ง ราชอาณาจักรจามปา และ ราชอาณาจักรชวาทวีป(เสียม)...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๒)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๕๔-๕๕)

ปี พ.ศ.๑๔๓๐ มหาราชา พระเจ้าระไก กะรุนวังคี แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ขึ้นครองราชย์สมบัติ

ปี พ.ศ.๑๔๓๑ ฮ่องเต้ซีจง(พ.ศ.๑๔๑๖-๑๔๓๑) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน สวรรคต เป็นเหตุให้ หลียี่ เป็นพระอนุชา มีพระชนมายุ เพียง ๒๑ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้จาวจง(พ.ศ.๑๔๓๑-๑๔๔๗) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๓๒)

ปี พ.ศ.๑๔๓๒ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรคามลังกา เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าอินทราช สวรรคต ในสงคราม

ปี พ.ศ.๑๔๓๒ พระเจ้าอินทราช(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒) หรือ พระเจ้าอินทรวรมัน แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงหริหราลัย ได้เสด็จ สวรรคต ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า อีศวรโลก โดยมี พระเจ้ายโสวรรธนะ(พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๔๕) หรือ พระเจ้ายโสวรมัน ที่ ๑ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงยโสธรปุระ ในรัชกาลถัดมา พระองค์ได้สร้างเทวาลัย บน ปราสาทเขาพระวิหาร ด้วย

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๒)

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๕๖-๕๗)

ปี พ..๑๔๓๒ พระเจ้าอุทัยราชา(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒) ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา สวรรคต เป็นเหตุให้ มหาราชาปทุมสุริยวงศ์(พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๔๕) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา ปกครอง ราชอาณาจักรคามลังกา จึงได้ยก เมืองพระนคร ให้ไปสร้าง เมืองนครวัด เพื่อใช้เป็น ราชธานี และใช้เป็นสถานที่ประดิษฐาน ของ พระแก้วมรกต ด้วย

 (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่)

ปี พ.ศ.๑๔๓๒ พระเจ้ายโสวรรธนะ(พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๔๕) หรือ พระเจ้ายโสวรมัน ที่ ๑ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงยโสธรปุระ โปรดให้สร้าง พระนครศรียโสธรปุระ เป็น ราชธานี ศิลาจารึกสต๊อก ก๊ก ธม ได้จารึกไว้ว่า...

...พระเจ้ายโสธรวรมัน โปรดให้สร้าง พระนครศรียโสธรปุระ เป็น ราชธานี และให้อัญเชิญ เทวราช ต่างๆ จาก กรุงหริหราลัย มายังราชธานี แห่งใหม่ และโปรดให้สร้าง เทวาลัย ณ พนมกันดาล ด้วย...

(เดวิด แชนด์เลอร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ หน้าที่ ๕๗)

ปี พ.ศ.๑๔๓๓ มหาราชา พระเจ้าระไก กะรุนวังคี แห่ง อาณาจักรม้าตาราม สวรรคต มหาราชา พระเจ้า ระไก ลิมุส ดยะ เดเวนดรา ขึ้นครองราชย์สมบัติ

  (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่)

ปี พ.ศ.๑๔๓๙ มหาราชา พระเจ้าระไก ลิมุส ดยะ เดเวนดรา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม สวรรคต มหาราชา พระเจ้าระไก วตูหุมาลัง ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่)

ปี พ.ศ.๑๔๔๐ จักรพรรดิลงชน(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๔๐) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้เสด็จสวรรคต โดยถูกลอบปลงพระชนม์ โดยพวกขันทีจีน ซึ่งติดตาม พระราชธิดาจีน เป็นเหตุให้ พระราชโอรส ซึ่งมีพระนามว่า จักรพรรดิชุนวาเช็ง(พ.ศ.๑๔๔๐-๑๔๔๕) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา พร้อมกับได้ทำการสำเร็จโทษ ขุนนางจีน ผู้ลอบสังหาร จักรพรรดิลงชน(พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๔๐) ซึ่งเป็นพระราชบิดา ด้วย

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๔๔๑ มหาราชาภูมีศวร(พระเจ้าอินทรวรมัน ที่ ๒) แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) เสด็จสวรรคต มหาราชาชัยศักดิ์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๐-๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๔๔๑-๑๔๔๖ พระญาติ ของ พระนางตรีภูวนเทวี อัครมเหสี ของ มหาราชาชัยศักดิ์ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) มีนามว่า โพธิ์กลิงค์ โพธิ และ ขุนราชทวาร เสด็จไปจาริกแสวงบุญ ณ อาณาจักรเสียม(ชวาภูมิ) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อนำพระพุทธศาสนา มาเผยแพร่ ในดินแดนของ อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) ทำให้ พระพุทธศาสนา เผยแพร่สู่ดินแดน ของ อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) อย่างรวดเร็ว

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๔๔๒ มหาราชาบาลีตุง แห่ง อาณาจักรม้าตาราม ขึ้นครองราชสมบัติ

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๔๔๕ จักรพรรดิชนวาเช็ง(พ.ศ.๑๔๔๐-๑๔๔๕) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้เสด็จสวรรคต โดยถูกลอบปลงพระชนม์ โดยพวกขันทีจีน ชื่อ เชงไม พระราชโอรส ซึ่งยังเป็นทารก ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติในขณะที่เป็นทารก เป็นเหตุให้ ขันทีเชงไม ลอบสังหารพระราชโอรสพระองค์นี้ พร้อมพวกราชวงศ์อีก ๘๐๐ คน ราชวงศ์สีหนุโล ซึ่งครอบครอง มหาอาณาจักรน่านเจ้า มาเป็นเวลา ๒๕๕ ปี จึงสิ้นสุดลง อาณาจักรน่านเจ้า จึงตกเป็น แคว้นหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน ในเวลาต่อมา

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๔๔๕ ชาวอาหรับชื่อ อิบอัล ฟาดีห์ เดินทางมายังดินแดน อาณาจักรศรีโพธิ์ โดยได้บันทึกไว้มี เนื้อหาหลายอย่าง แต่อยู่ระหว่างการ ศึกษาเปรียบเทียบ จากผู้แปลหลายราย มีเนื้อหาบางส่วนที่สามารถนำมากล่าวในที่นี้ มีเนื้อหาว่า

... สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(เซ-โปก) มีเมืองท่าสำคัญคือ เมืองสานโพธิ์(เซโปก) และ เมืองกาละ(สมุทรา-เกาะสุมาตรา) เป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ อีกทั้ง ยังมี เมืองโบรุส(ยะลา) ก็รวมอยู่ในสหราชอาณาจักร นี้ด้วย และเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าต่างๆ มากมาย เช่น การบูร กานพลู  ไม้จันทร์  ลูกจันทน์   นกแก้วของประเทศนี้  สามารถพูดภาษาอาหรับ  เปอร์เซีย  อินเดีย  และ ภาษากรีกได้ด้วย…”

ปี พ.ศ.๑๔๔๕ มหาราชายโสวรรธนะ(พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๔๕) หรือ พระเจ้ายโสวรมันราชวงศ์ปทุมวงศ์แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา เสด็จสวรรคต มีพระนามเมื่อสวรรคต ว่า พระบรมศิวโลก และมี มหาราชาหรรษา(พ.ศ.๑๔๔๕-๑๔๖๕) หรือ พระเจ้าหรรษวรมัน ขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็น มหาราชา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา เป็นรัชกาลถัดมา จารึกปราสาทปักษีจำกรุง ได้กล่าวถึง อาณาเขต ของ ราชอาณาจักรคามลังกา ว่า...

...อาณาเขตจด แคว้นสูกษมะ-กามราช ทะเล อาณาจักรจามปา และ มหาอาณาจักรจีน...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๕-๑๗๖)

ปี พ.ศ.๑๔๔๖ มหาราชาชัยศักดิ์(พระราชโอรส ของ มหาราชาชัยศักดิ์) แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) เสด็จสวรรคต มหาราชาชัยสิงห์ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๐-๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๔๔๖ ชาวอาหรับชื่อ อิบอัล ฟาดีห์ ได้เดินทางมายังดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ โดยได้บันทึก เรื่องราวเกี่ยวกับ สินค้าของ สหราชอาณาจักรเสียม มีบันทึกว่า...

...เมืองเซโปก(ไชยา) และ เมืองกาละ(เมืองสมุทร-เกาะสุมาตรา) เป็นเมืองในการปกครองของ สหราชอาณาจักร เดียวกัน เมืองโบรุส(โพธิ-ยะลา) ก็รวมอยู่ในการปกครอง ของ มหาอาณาจักรนี้ ด้วย และเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าสินค้า เช่น การบูร กานพลู ไม้จันทร์ ลูกจันทน์ เป็นเรื่องที่แปลกใจว่า นกแก้วของ มหาอาณาจักรเซโปก(สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์) นี้ สามารถพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย  ภาษาอินเดีย  และ ภาษากรีก ได้ด้วย…”

ปี พ.ศ.๑๔๔๖ ชาวอาหรับชื่อ อิบน์ โรเดห์ ได้เดินทางเข้ามายัง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) และได้กล่าวถึงเรื่องราว ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ ไว้มากมาย โดยกล่าวเปรียบเทียบความร่ำรวย ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ กับ มหาจักรพรรดิ แห่ง ประเทศอินเดีย มีบันทึกไว้ว่า...

...ในบรรดา มหาจักรพรรดิ ของ ประเทศต่างๆ รวมถึง ประเทศอินเดีย ไม่มี มหาจักรพรรดิ พระองค์ใด ที่จะร่ำรวยกว่า มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(เซโปก-ไชยา)...

ปี พ.ศ.๑๔๔๗ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เข้าปกครอง อาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ มาเป็น อาณาจักรหนึ่ง ภายใต้การปกครอง

ปี พ.ศ.๑๔๔๗ ฮ่องเต้จาวจง(พ.ศ.๑๔๓๑-๑๔๔๗) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน สวรรคต เป็นเหตุให้ หลีจู ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ ฮ่องเต้จาวจง องค์ที่ ๙ มีพระชนมายุ เพียง ๑๒ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้อายจง(พ.ศ.๑๔๔๗-๑๔๕๐) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๓๔)

ปี พ.ศ.๑๔๔๗ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้อายจง(พ.ศ.๑๔๔๗-๑๔๕๐) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง

ปี พ..๑๔๔๗ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ได้เริ่มส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง พบหลักฐานว่า จดหมายเหตุจีน มิได้เรียกชื่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) ว่า ชีลี-โฟชิ (ศรีโพธิ์) อีกแล้ว กลับเรียกชื่อใหม่ว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ หรือ ซาน-โฟชิ(สานโพธิ์) จดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูตดังกล่าว คุณทองแถม นาถจำนง แปลไว้มีเนื้อหาอย่างสั้นๆ ที่ให้ความหมายว่า

...ราชวงศ์ถาง เทียนอิ้วศก ปีแรก (..๑๔๔๗) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ซานโฟชิ) ได้ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูต มีชื่อว่า พระยาหลี แซ่ลี่(ผูเยล-ลี่หลี) ฮ่องเต้จาวจง ทรงแต่งตั้งให้ เอกอัครราชทูต ให้ดำรงตำแหน่งยศเป็น ขุนพลสยบแดนไกล(หนิง-หย่วน-เจียง-จวิน) ด้วย....

ปี พ.ศ.๑๔๕๐ ฮ่องเต้อายจง(พ.ศ.๑๔๔๗-๑๔๕๐) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง สวรรคต เป็นการสิ้นอำนาจ ของ ราชวงศ์ถัง พวกนายทหารเก่าต่างพากันแย่งชิงที่จะสืบทอดราชย์สมบัติ ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ขุนศึก ไท่จู สามารถแย่งชิงอำนาจ สำเร็จ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เรียกว่า ฮ่องเต้ไท่จู(พ.ศ.๑๔๕๐-๑๔๕๕) ราชวงศ์โฮ่เหลียง เป็นรัชกาลถัดไป

 (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๑๕)

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๐)

ปี พ.ศ.๑๔๐๐-๑๔๕๐ จดหมายเหตุจีน ได้บันทึกถึง ชัยชนะ ของ อาณาจักรกัมพูชา(เขมร) ว่า...

...ชายแดน ของ ประเทศกัมพูชา มีการต่อเรือสำเภา ใบสีขาว เป็นจำนวนนับ พันๆ ลำ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๗๕)

ปี พ.ศ.๑๔๕๐ พระเจ้าบาลีตุง แห่ง อาณาจักรบาลี ได้ทำจารึก ว่า...

...มหาราชาสันชัย เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม และเป็นปฐมวงศ์ ของ ราชวงศ์สันชัย มหาราชา ของ อาณาจักรม้าตาราม มีพระนามว่า ปะนังกะรัน...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๓๙)

ปี พ.ศ.๑๔๕๓ รัชสมัย มหาราชา พระเจ้าบาลีตุง แห่ง อาณาจักรม้าตาราม กรุงจากาต้า พระเจ้าทักษะ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เป็น มหาอุปราช ได้ประกาศตั้ง ศักราชสันชัย ขึ้นใช้ในดินแดน อาณาจักรม้าตาราม เริ่มนับเมื่อ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๑๒๕๙ เป็น ศักราชสันชัย ปีที่ ๑

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๙)

ปี พ.ศ.๑๔๕๓ มหาราชาชัยสิงห์ แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) เสด็จสวรรคต มหาราชาอินทราช(พระเจ้าอินทรวรมัน ที่-๓) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนาม) เป็นรัชกาลถัดมา

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๓๑)

ปี พ.ศ.๑๔๕๓ มหาราชาบาลีตุง แห่ง อาณาจักรม้าตาราม สวรรคต มหาราชาทักษะ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรม้าตาราม กรุงจากาต้า

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๔๘)

ปี พ.ศ.๑๔๕๕ ฮ่องเต้ไท่จู(จูเวิน) (พ.ศ.๑๔๕๐-๑๔๕๕) ราชวงศ์โฮ่เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงไคฟง สวรรคต เนื่องจาก จูยิ่วกุย ซึ่งเป็นพระราชโอรส ลอบสังหาร เพื่อแย่งชิงอำนาจ และขึ้นครองราชย์สมบัติ เรียกว่า ฮ่องเต้จูยิ่วกุย(พ.ศ.๑๔๕๕-๑๔๕๖) ราชวงศ์โฮ่เหลียง เป็นเวลาเพียง ๘ เดือน เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๕๐-๓๕๑)

 

ปี พ..๑๔๕๕ มหาจักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ(พ.ศ.๑๔๑๗-๑๔๕๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์(ไชยา) ได้เสด็จสวรรคต ทำให้ จักรพรรดิพ่อศรีชวา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงสานโพธิ์ (ไชยา) เป็นรัชกาลถัดมา

Visitors: 54,195