รัชกาลที่ ๑๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๑๐ 

มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร 

กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔ 

 

 -ในรัชกาลที่ ๑๐-๑๑ มีกษัตริย์ครองราชสมบัติ ๒ พระองค์พร้อม คือมหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตรและมหาจักรพรรดิพ่อกิติ(กุณลนพ) จึงใช้เนื้อหาสาระเดียวกัน


     ปี พ.ศ.๑๓๗๐ จักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร พระราชโอรส ของ พ่อพระทอง กับ พระนางดารา เสด็จมาจาก เมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) โดยมี จักรพรรดิพ่อศรีพาลใหญ่ เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการอยู่ที่ เมืองนครศรีธรรมราช และมี นายกพ่อศรีพาลกลาง เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๑๐ และมี เจ้าพระยาศรีพาลเล็ก เป็นแม่ทัพใหญ่ อยู่ที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

      ปี พ.ศ.๑๓๗๐ มหาจักรพรรดิพ่อกิติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) ซึ่งเพิ่งเสด็จหนีมายัง กรุงปัตตานี แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) อาณาจักรมาลัยรัฐ ได้สร้าง เทวรูป ของ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ปฐมมหาจักรพรรดิ ผู้ทำสงครามรวบรวมดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นปึกแผ่น โดยทำการสร้างและปลุกเสก ณ เมืองยะลา(เทียนสน) เพื่อนำไปใช้เป็น พระประธาน ในการทำพิธี มหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ ใหม่ เพื่อเป็น มหาจักรพรรดิ ปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี พร้อมกับได้ทำการสร้าง และปลุกเสก พระพิมพ์ดินดิบ มหาจักรพรรดิ ท้าวกูเวร ให้ประชาชน ของ สหราชอาณาจักรเสียม ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ใช้บวงสรวงเซ่นไหว้ ทำสงครามกอบกู้ดินแดน กลับคืน จาก มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร

      ปี พ.ศ.๑๓๗๐ มหาจักรพรรดิพ่อกิตติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) หรือ มหาจักรพรรดิกุณลนพ และ นายกเจ้าคุณอรรณพ(พระราชโอรส ของ พ่อกิติ) สามารถหลบหนีไปยัง กรุงปัตตานี อาณาจักรมาลัยรัฐ เพื่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น พร้อมกับได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ อีกครั้งหนึ่ง ณ กรุงปัตตานี อาณาจักรมาลัยรัฐ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อกิตติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) โดยมี จักรพรรดิพ่อคุณอรรณพ เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นม้าละกา(มะละกา) และมี นายกพ่อศรีชวา เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี เป็นรัชกาลที่ ๑๑ เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรเสียม แตกแยก ออกเป็น ๒ ก๊ก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๓๗๐ เป็นต้นมา

      ปี พ.ศ.๑๓๗๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ และ มหาจักรพรรดิพ่อกิตติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี ช่วงชิงกันส่ง คณะราชทูตไป เจรจากับ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม ให้มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ ก๊ก ตนเอง ต่างฝ่ายต่างอ้างความชอบธรรม ในการขึ้นครองราชย์สมบัติ พร้อมกับทำการกล่าวหา ใส่ความ ซึ่งกันและกัน

      ปี พ.ศ.๑๓๗๐ ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ทราบข่าว จึงส่งคณะราชทูต มาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี เพื่อเข้าไปมีอิทธิพล ในพื้นที่ ช่องแคบม้าละกา(มะละกา)

ปี พ.ศ.๑๓๗๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ยื่นคำขาดให้ มหาจักรพรรดิพ่อกิติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี ให้ยอมรับอำนาจรัฐ ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มิฉะนั้นต้องทำสงครามระหว่างกัน

ปี พ..๑๓๗๑ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ(ไชยา) ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบ มหาจักรพรรดิพ่อกิติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี แต่ทำสงครามปราบปราม ไม่สำเร็จ ต้องถอยทัพกลับไป

ปี พ..๑๓๗๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ(ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบ มหาจักรพรรดิพ่อกิติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) หลักฐานของ ประเทศศรีลังกา กล่าวว่า มีการทำสงครามต่อเนื่องกันถึง ๔ ปี จนถึงปี พ..๑๓๗๕

ปี พ.ศ.๑๓๗๔ มหาจักรพรรดิพ่อกิติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี(ไชยา) ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๔๕)

ปี พ..๑๓๗๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม มหาจักรพรรดิพ่อกิติ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี ผลของสงคราม มหาราชาพ่อศรีสมร มหาราชา แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี สวรรคต ในสงคราม

ปี พ.ศ.๑๓๗๕ จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) ราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) ผลของสงคราม กองทัพของ จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า ไม่สามารถตี กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) แตก จึงได้ทำการกวาดต้อนประชาชนชาวเมืองปยู ประมาณ ๓,๐๐๐ คน กลับไปยัง มหาอาณาจักรน่านเจ้า

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๙๖-๙๗)

ปี พ.ศ.๑๓๗๕ จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้ทำการกวาดต้อน และอพยพประชาชน ชนชาติอ้ายไต จำนวน ๓,๐๐๐ คน จาก เมืองฮาลิน(ปยู) ราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู ให้ไปตั้งรกรากในดินแดน เมืองคุณมิง ของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๙๖)

ปี พ.ศ.๑๓๗๘ มหาราชา แห่ง อาณาจักรมิเชน ของ ชนชาติทิเบต ตั้งอยู่ที่ เมืองกะโยกเซ ระหว่าง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ กับ อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน เนื่องจาก ถูกกองทัพของ จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า ทำสงครามรุกราน จดหมายเหตุจีน มีบันทึกว่า...

 (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๙๘)

ปี พ.ศ.๑๓๗๘ จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามกับ อาณาจักรมิเชน ของ ชนชาติทิเบต ผลของสงคราม อาณาจักรมิเชน พ่ายแพ้สงคราม ประชาชนชาวทิเบต จำนวนมาก อพยพหนีภัยสงครามเข้าไปตั้งรกราก ณ แคว้นปยู และ แคว้นพุกาม อาณาจักรศรีชาติตาลู

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๙๘)

ปี พ.ศ.๑๓๗๘ มหาราชา ปะรุง ปะตะตัน แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๕)

ปี พ.ศ.๑๓๗๙ จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า มาแล้ว ๑๒ ปี ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง มณฑลเสฉวน จากการครอบครอง ของ ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยได้ยกกองทัพเข้าไปตี เมืองเฉินตู เป็นผลสำเร็จ กองทัพของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า ได้ขนเอาสมบัติ หนังสือ พร้อมกับทำการกวาดต้อนคนหนุ่มๆ ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต กลับมายังดินแดนของ มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๓๗๙ จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) แห่ง มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรมิเชน ของ ชนชาติทิเบต เป็นเหตุให้ ชนชาติทิเบต ในดินแดน ของ อาณาจักรมิเชน ได้อพยพเข้าไปตั้งรกราก ในดินแดน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู และเริ่มเข้าไปสมรสเกี่ยวดอง กับ เชื้อสายราชวงศ์ ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู

ปี พ.ศ.๑๓๗๙ พระยาม่วง(คุณโมฉัง)(พ.ศ.๑๓๕๐-๑๓๗๙) ราชวงศ์คำ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู เสด็จสวรรคต พระยาสุนันทะ(พ.ศ.๑๓๗๙-๑๓๙๒) พระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) เป็นรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๓๗๙ ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นตาเกี๋ย ของ อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) สงครามยืดเยื้อไปอีก ๓๐ ปี ถึงปี พ.ศ.๑๔๐๙

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๑๕)

ปี พ..๑๓๗๙ มหาจักรพรรดิพ่อกิตติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน

ปี พ..๑๓๘๐ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี จนสำเร็จ สามารถยึดครอง กรุงปัตตานี ไว้ได้ มหาจักรพรรดิพ่อกิตติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) ต้องอพยพไพร่พล หลบหนีไปอยู่อาศัยที่ อาณาจักรศรีลังกา เกาะศรีลังกา ชั่วคราว

ปี พ..๑๓๘๑ มหาราชา กะรุง (ปะตะปัน) แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา สวรรคต ในสงคราม มหาอุปราชปิกะตัน ซึ่งอภิเษกสมรสกับ พระนางปราโมทวรรชนี ซึ่งเป็นพระพี่นาง ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๓๘๑ พระเจ้าปิกะตัน แห่ง อาณาจักรม้าตาราม ประกาศไม่ยอมรับอำนาจ ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ที่แย่งราชย์สมบัติ จากพระเจ้าหลานเธอ มหาจักรพรรดิพ่อกิตติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) และเป็นผู้ฆ่าพวกราชวงศ์ ตายไป เป็นจำนวนมาก

ปี พ.ศ.๑๓๘๒ มหาอุปราชปิกะตัน แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ประกาศแยกตัวออกเป็น อาณาจักรอิสระ ไม่ยอมขึ้นต่ออำนาจรัฐของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๓๘๓ มหาอุปราชปิกะตัน แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ได้ประกาศทำสงคราม กับ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) อย่างเต็มที่

ปี พ.ศ.๑๓๘๓ อาณาจักรต่างๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นส่วนใหญ่ อาณาจักรต่างๆ จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร ด้วยความกลัว

ปี พ.ศ.๑๓๘๓ อาณาจักร และ แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนเกษียรสมุทร คือ หมู่เกาะชวา และ หมู่เกาะศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว) ได้กลายเป็นดินแดน อาณาจักร และ แว่นแคว้น ที่ขึ้นต่ออำนาจของ มหาราชาปิกะตัน แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ด้วย ยกเว้น อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง (ปาเล็มบัง) ยังยอมรับในอำนาจ ของ มหาจักรพรรดิ พ่อกิตติ เช่นเดิม

ปี พ.ศ.๑๓๘๓ ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ถูกลอบปลงพระชนม์ สวรรคต เป็นเหตุให้ หลี่เอี๋ยน ซึ่งเป็นพระอนุชา ต่างมารดา ของ ฮ่องเต้เหวินจง และศรัทธาในลัทธิเต๋า อย่างแรงกล้า ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๓๘๓-๑๓๘๙) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๒๑)

ปี พ.ศ.๑๓๘๔ ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๓๘๓-๑๓๘๙) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ร่วมกับ ขุนนาง นับถือลัทธิเต๋า ทำการต่อต้านพระพุทธศาสนา อย่างรุนแรง

  (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๒๒)

ปี พ.ศ.๑๓๘๕-๑๓๙๘ จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงปัตตานี(โฮลิง) ได้ถูกทอดทิ้งเป็นเวลา ๑๓ ปี โดยย้ายเมืองหลวงใหม่ ไปอยู่ที่ เมืองโพ-ลู-เจีย-ชู ทางทิศตะวันออก ของ ปัตตานี

ปี พ.ศ.๑๓๘๕-๑๓๘๘ ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๓๘๓-๑๓๘๙) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ขัดขวางการเข้าไป ของ ศาสนาต่างชาติ ทำการต่อต้านพระพุทธศาสนา มีการฆ่าพระภิกษุ และ แม่ชี เป็นจำนวนมาก มีการสั่งปิด ทำลายวัด ทั้งยังเผาพระคัมภีร์ต่างๆ ต่อหน้ามหาชน ด้วย

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๑๖)

ปี พ.ศ.๑๓๘๕ มหาราชาปิกะตัน แห่ง อาณาจักรม้าตาราม ซึ่งอภิเษกสมรส กับ พระนางปราโมทวรรธนี พระราชธิดา ของ สมราครวีระ(พ่อพระทอง) หรือ สมรตุงคะเทวะ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรม้าตาราม

ปี พ.ศ.๑๓๘๖ ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๓๘๓-๑๓๘๙) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ออกพระราชกฤษฎีกา ยกเลิกการนับถือศาสนาพุทธ ซึ่ง ชาวจีน นับถือเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งบังคับให้ชาวต่างชาติ ห้ามแต่งกายแตกต่างกับ ชาวจีน ด้วย

   (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๒๒)

ปี พ.ศ.๑๓๘๘ ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๓๘๓-๑๓๘๙) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีคำสั่งให้ตรวจตราลงทะเบียนพระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งสมบัติ ของ คณะสงค์ ด้วย พบว่า มีวัดทางพระพุทธศาสนากว่า ๔,๖๐๐ แห่ง มีศาลทางพระพุทธศาสนา จำนวน ๔๐,๐๐๐ แห่ง มีพระภิกษุ และชี จำนวน ๒๖๐,๕๐๐๐ รูป หลังจากนั้น ๓ เดือน ราชสำนักจีน สั่งให้ริบสมบัติ ของ คณะสงฆ์ เสียสิ้น พระพุทธรูป ถูกนำมาหล่อเป็น เหรียญกษาปณ์ ส่วนพระเหล็ก จะถูกนำมาหลอม เพื่อทำเครื่องมือ ทำไร่ ทำนา ส่วนเทวรูป ซึ่งสร้างด้วย เงิน ทองคำ หรือ หยก หรือของมีค่าอื่นๆ ให้ส่งเข้าท้องพระคลัง ทั้งหมด จนกระทั่ง เดือน ๘ ของปี พ.ศ.๑๓๘๘ ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๓๘๓-๑๓๘๙) มีคำสั่งให้ทำลายวัด ๔,๖๐๐ วัด ให้พระและชี สึก ๒๖๐,๕๐๐ รูป ให้ทำลายศาล ๔๐,๐๐๐ แห่ง ให้นักสอนศาสนาต่างชาติ เปลี่ยนเป็นสามันชน

 (คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๑๙-๑๒๐)

  (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๒๒)

ปี พ.ศ.๑๓๘๙ ฮ่องเต้อู่จง(พ.ศ.๑๓๘๓-๑๓๘๙) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ถูกลอบวางยาพิษ สวรรคต เป็นเหตุให้ เสียนจง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เสียนจง(พ.ศ.๑๓๘๙-๑๔๐๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๒๕)

ปี พ.ศ.๑๓๘๙ จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) แห่ง มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้ยกกองทัพเข้าไปถึงดินแดน ของ อาณาจักรฉานชาติ หรือ อาณาจักรไตเวียต ซึ่งถูก มหาอาณาจักรจีน ยึดครองไป และทำการกดขี่ ชนชาติอ้ายไต อย่างรุนแรง

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๓๘๙ ฮ่องเต้เสียนจง(พ.ศ.๑๓๘๙-๑๔๐๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ได้พยายามฟื้นฟู พระพุทธศาสนา ขึ้นมาในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๒๕)

ปี พ.ศ.๑๓๙๒ ท้าวเกตุมาลา(พ.ศ.๑๓๔๙-๑๓๙๒) ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงอินทระ(นครธม) เสด็จสวรรคต ณ กรุงนครธม หรือ เมืองหริหราลัย มีพระชนมายุ ๗๐ พรรษา ได้รับพระราชทานพระนามเมื่อ สวรรคต ว่า พระปรเมศวร และมี มหาราชาธรรมฤทธิ์(พ.ศ.๑๓๙๒-๑๓๙๓) สามีน้องสาว ของ พระเกตุมาลา ผู้มีความสามารถในการคล้องช้าง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงอินทระ(นครธม) ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๓๙๒ หลักฐานศิลาจารึกของ ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงสมโพธิ์ จารึกว่า ในปี พ..๑๓๙๒ พระเจ้าเกตุมาลา พระราชโอรสของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ผู้เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) สวรรคต ต่อมา พระเจ้าธรรมฤทธิ์(พ.ศ.๑๓๙๒-๑๓๙๓) สามีของน้องสาวของ พระเกตุมาลา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรคามลังกา พระองค์ได้ประกาศแยก ราชอาณาจักรคามลังกา เป็นอิสระ ไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร

ปี พ.ศ.๑๓๙๒ อีบูฮอดาร์บี้ ได้ใช้ชีวิตในวัยชรา ทำการเขียนบันทึก อีบู ฮอดาร์บีห์ ทำการเขียนบันทึกเรื่องราวของ อาณาจักรศรีโพธิ์ไว้เป็นหลักฐาน สำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ..๑๓๙๒ กลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันจดหมายเหตุอาหรับ ขึ้นเรียบร้อย

ปี พ.ศ.๑๓๙๒ พระเจ้าปยินบยา(พ.ศ.๑๓๙๒-๑๔๐๒) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) จาก อาณาจักรมิเชน ผู้ปกครอง แคว้นโพธิคาม(พุกาม) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามเข้ายึดครอง ราชธานี กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) เป็นผลสำเร็จ มหาราชา พระยาสุนันทะ(พ.ศ.๑๓๗๙-๑๓๙๒) สามารถหลบหนีไปได้ พระเจ้าปยินบยา(พ.ศ.๑๓๙๒-๑๔๐๒) จึงสร้างราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู ขึ้นใหม่ โดยย้ายไปอยู่ที่ เมืองโพธิคาม(พุกาม)

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๓๙๒ มหาราชา พระยาสุนันทะ(พ.ศ.๑๓๗๙-๑๓๙๒) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) นำกองทัพกลับมายึดครอง กรุงปยู(โพธิ์อู่ติ่ง) กลับคืน ส่วน พระเจ้าปยินบยา(พ.ศ.๑๓๙๒-๑๔๐๒)  ราชวงศ์ทิเบต ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงพุกาม โดยใช้ กรุงพุกาม เป็นราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู และพยายามทำสงครามปราบปรามแว่นแคว้นข้างเคียง ให้ยองขึ้นต่อ กรุงพุกาม

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๓๙๒ พระเจ้าปยินบยา(พ.ศ.๑๓๙๒-๑๔๐๒) ราชวงศ์ทิเบต(มิเชน) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิคาม(พุกาม) ได้สร้างกำแพงเมือง ล้อมเมืองพุกาม อย่างแข็งแรง เพื่อป้องกันการรุกราน โดยใช้เมืองพุกาม เป็นราชธานี ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู เข้าทำสงครามยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ให้ยอมจำนน ชนชาติทิเบต จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในดินแดน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู แทนที่ ชนชาติอ้ายไต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๓๙๒ เป็นต้นมา

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ หน้าที่ ๙๗)

ปี พ.ศ.๑๓๙๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชอาณาจักรคามลังกา พระธรรมฤทธิ์(พ.ศ.๑๓๙๒-๑๓๙๓) สวรรคต ในสงคราม ต่อมา พระเจ้าชัยวรรธนะ(พ.ศ.๑๓๙๓-๑๔๒๐) หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๓ พระราชโอรส ของ พระเจ้าธรรมฤทธิ์ เป็นมหาราชา ผู้เชี่ยวชาญในการล่าช้าง สืบทอดราชสมบัติ ปกครอง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงหริหราลัย ในรัชกาลถัดมา

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๑๖๙)

ปี พ.ศ.๑๓๙๔ สุไลมาน ได้ใช้ชีวิตในวัยชราทำการบันทึกเรื่องราวของอาณาจักรศรีโพธิ์ ไว้เป็นหลักฐาน จนสำเร็จ

ปี พ..๑๓๙๔ นั้น มหาราชาปิกะตัน แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ประกาศสร้างพันธมิตรกับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ไม่ยอมรับการขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๓๙๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ยกกองทัพเข้าทำสงคราปราบปราม อาณาจักรม้าตาราม ที่เกาะชวา สงครามระลอกที่-๒ จึงเกิดขึ้น

ปี พ.ศ.๑๓๙๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ยกกองทัพเข้าทำสงคราปราบปราม อาณาจักรม้าตาราม ที่เกาะชวา ผลของสงคราม มหาราชาปิกะตัน มหาราชา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ถูกจับมาเป็นเชลยศึก และถูกสำเร็จโทษ ประหารชีวิต ที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จึงสร้างความเคียดแค้น ให้กับ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา เป็นอันมาก

ปี พ..๑๓๙๔ มหาราชากะยุวะนิ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก เกาะราม เป็นชื่อใหม่ว่า เกาะชวา ส่วน เกาะศรีโพธิ์ช้า(บอร์เนียว) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น เกาะกำโพธิ์ช้า(บอร์เนียว) ประกาศสามัคคีกับผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ ประกาศทำสงครามศาสนา กับ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๓๙๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา แต่เริ่มพ่ายแพ้สงคราม ต่อ กองทัพของ มหาราชา กะยุวะนิ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา จักรพรรดิพ่อศรีพาลใหญ่ สวรรคต ในสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร ต้องถอยทัพกลับมาที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ศิลาจารึก ยะติงนังหรัด ซึ่งกล่าวถึงสงคราม ครั้งนั้น โดยสรุปว่า...

...สงครามรบพุ่ง ระหว่าง กองทัพของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ กับ มหาราชากะยุวะนิ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา มีการรบกันอย่างรุนแรง ถึงขั้น กองทัพทั้งสอง ยกกองทัพออกมาประจัญบานกัน กลางทุ่งนา ผลของสงคราม กองทัพของ มหาราชากะยุวะนิ ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในสงครามครั้งนั้น กองทัพ ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) แตกพ่ายยับเยิน ต้องถอยร่นเข้ายึดป้อมแห่งหนึ่ง ทางภาคตะวันตก ของ เกาะชวา ไว้เป็นที่มั่นสุดท้าย แต่ไม่สามารถต้านทานการโจมตี ของ กองทัพของ มหาราชากะยุวะนิ ได้ กองทัพของ มหาจักรพรรดิ พ่อศรีพาลบุตร ต้องถอยทัพ หลบหนีข้าม ช่องแคบซุนดา ไปขึ้นฝั่งเกาะกาละ(สุมาตรา)...

ปี พ..๑๓๙๔ มหาจักรพรรดิ กะยุวะนิ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนเกษียรสมุทร หมู่เกาะทะเลใต้ รวมทั้งแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนของ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง (ปาเล็มบัง) เกาะกาละ(สุมาตรา) ด้วย พร้อมกับ ประกาศสร้าง สหราชอาณาจักรม้าตาราม ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.๑๓๙๔ มหาจักรพรรดิพ่อกิติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี ได้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ อาณาจักร โพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) จนกระทั่ง สามารถทำสงครามขับไล่ กองทัพของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา กลับไปได้

ปี พ.ศ.๑๓๙๔  จักรพรรดิ กะยุวะนิ แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ได้ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรม้าตาราม ประกอบด้วย ๕ อาณาจักร คือ อาณาจักรม้าตาราม , อาณาจักรบาลี , อาณาจักรกาลี้(บอร์เนียวตะวันออก) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว-ตะวันตก) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

      ปี พ.ศ.๑๓๙๔ นายกพ่อศรีชวา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี ยกกองทัพจาก แคว้นม้าละกา(มะละกา) เข้าทำสงครามยึดครอง นครศรีธรรมราช กลับคืน เป็นผลสำเร็จ

      ปี พ.ศ.๑๓๙๔ มหาจักรพรรดิพ่อกิติ(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงปัตตานี ยกกองทัพจาก กรุงปัตตานี แคว้นโพธิ์กลิงค์ เข้าทำสงครามยึดครอง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) สามารถหลบหนี เดินบกข้ามภูเขา ออกสู่ทะเลกันตาพาน(อันดามัน) เข้าสู่แคว้นพังงา

 

ปี พ.ศ.๑๓๙๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร(พ.ศ.๑๓๗๐-๑๓๙๔) ซึ่งสามารถหลบหนีไปยัง แคว้นพังงา ได้รวบรวมไพร่พล จากแคว้นพังงา และแคว้นใกล้เคียง ของ อาณาจักรเสียม(ชวาภูมิ) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงกะฑาหะ แคว้นไทรบุรี เป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิพ่อศรีพาลบุตร จึงประกาศใช้ กรุงกะฑาหะ แคว้นไทรบุรี เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงกะฑาหะ(กระทะราม) แคว้นไทรบุรี ทันที

Visitors: 54,239