รัชกาลที่ ๗ มหาจักรพรรดิพ่อสิริกิติ กรุงศรีโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๖๙

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๗

มหาจักรพรรดิพ่อสิริกิติ 

กรุงศรีโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๖๙ 

 

ปี พ.ศ.๑๓๔๕ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) หรือ พ่อสมราครวีระ เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อสิริกิตติ พระราชโอรส และเป็นพี่น้องต่างมารดา ของ พระยาเกตุมาลา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิพ่อสิริกิติ(พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๖๙) โดยมี พ่อพระยาใหญ่ เป็น จักรพรรดิ และมี เจ้าพระยาเล็ก(ศรีพาลบุตร) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์เล็ก ของ พ่อพระทอง เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๗

ปี พ.ศ.๑๓๔๕ สภาโพธิ มีมติ พระราชทานพระนามใหม่หลังสวรรคต ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(สมราครวีระ หรือ สิทธิยาทตรา) หรือ มหาจักรพรรดิสมราครวีระ หลังจากสวรรคต มีพระนามว่า พระเจ้าสิทธิยาตราบรมเทพ หรือ พระเจ้าสิทธิยาตรา วรมะเทพ

ปี พ.ศ.๑๓๔๕ พระยาอ้ายศรี(พ.ศ.๑๓๔๔-๑๓๕๐) ราชวงศ์คำ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู ก่อกบฏ ต่อ มหาจักรพรรดิพ่อสิริธรรมกิติ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยมี ..... หรือ พระราชโอรส นามว่า ..... เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เพื่อขอเป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๙๕)

ปี พ.ศ.๑๓๔๖ พระเจ้าหริวรมัน แห่ง อาณาจักรฉานชาติ(เวียตนามเหนือ) และ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี กองทัพ ของ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นผลสำเร็จ

      ปี พ.ศ.๑๓๔๖ พระนางชเยษฐารยา(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๔๙) มหารายา แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงสมโพธิ์ ทรงสร้าง พุทธศาสนาสถาน หลายแห่ง ณ เมืองสมโพธิ์(สมโบ) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ มหาราชา ชเยษฐา พระภัสดา ซึ่ง สวรรคต ในสงคราม ในการต่อสู้ กับกองทัพ ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร)

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่)

ปี พ.ศ.๑๓๔๖ มหาจักรพรรดิพ่อสิริกิตติ(พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๖๙) ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ ประเทศอาหรับ เพื่อใช้เป็นดุลถ่วงกับ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง อีกด้วย จะเห็นว่า เหตุการณ์หลังจากนั้น มีชาวอาหรับที่เดินทางมายังดินแดนต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ และได้ทำการบันทึกเรื่องราวของ อาณาจักรศรีโพธิ์ และกลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๓๔๗ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ อีบูฮอดาร์บีห์ ได้เดินทางมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อปี พ.ศ.๑๓๔๗ โดยได้เดินทางมายัง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ถึงที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี เกาะดอนขวาง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) พร้อมกับได้ทำการบันทึกเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ เมืองนครหลวง กรุงศรีโพธิ์ สภาพของ ประชาชน ทั่วไป และกล่าวถึงที่ตั้ง และ สภาพทั่วไป ของ พระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) รวมถึง สระบัวกษัตริย์ ๒ พี่น้อง ไว้เป็น จดหมายเหตุอาหรับ โดยที่ อีบูฮอดาร์บีห์ เรียกชื่อ กรุงศรีโพธิ์ ว่า กรุงเซโปก และเรียกชื่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ว่า ประเทศเซโปก โดยนำชื่อเมืองนครหลวง มาใช้เรียกชื่อ สหราชอาณาจักรเสียม บันทึก ของ อีบูฮอดาร์บีห์ มีบันทึกว่า...

...ประชาชนใน กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ซึ่งเป็นเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ชอบสร้างบ้านเรือนด้วยไม้ไผ่ ชอบสร้างบ้านเรือนอยู่ตามริมน้ำ หรือสร้างบ้านเรือนเป็นเรือนแพอยู่ตามริมน้ำ ประชาชนใน เมืองศรีโพธิ์ ชอบการพนัน การชนไก่ เป็นชีวิตจิตใจ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม จึงต้องจัดให้มีบ่อนชนไก่ แทบทุกมุมเมือง ของ ทุกๆ แว่นแคว้น และ ทุกๆ อาณาจักร ที่อยู่ภายใต้การปกครอง เมื่อมีการชนไก่ ประชาชนจะพนัน การชนไก่ ด้วยทองคำ ตัวแทนของ มหาจักรพรรดิ เป็นผู้จัดเก็บภาษี จากผู้ที่ชนะการพนันชนไก่ โดยแบ่งเป็นทองคำมาครึ่งหนึ่ง จากทองคำทั้งหมดที่ผู้ชนะการพนันชนไก่ ได้รับ และนำทองคำที่เก็บภาษีดังกล่าว มาเก็บรักษาไว้ ณ ท้องพระคลังหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์

เมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) นั้น มีเมืองนครหลวงชื่อว่า ศรีโพธิ์(เซโปก) โดยมีศูนย์กลางบริหารอำนาจรัฐ ตั้งอยู่ที่ในพื้นที่ซึ่งเป็นเกาะ(เกาะดอนขวาง) มีศูนย์กลางอำนาจรัฐตั้งอยู่บริเวณภูเขา(ภูเขาสุวรรณคีรี) แห่งหนึ่ง ซึ่งมีน้ำพุร้อน ผุดไหลออกมาจากภูเขา(สุวรรณคีรี) ดังกล่าว เป็นประจำ ในพื้นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ณ กรุงศรีโพธิ์ นั้น มีพระราชวังหลวงของ มหาจักรพรรดิ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ ภูเขา(สุวรรณคีรี) ดังกล่าว ด้วย และถือว่า เป็นภูเขาที่ศักดิ์สิทธิ์ ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ด้วย

บริเวณทิศตะวันตกของ ภูเขา(สุวรรณคีรี) ซึ่งเป็นภูเขาที่ถือเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ที่ยิ่งใหญ่ เป็น ทะเล เรียกชื่อว่า อ่าวศรีโพธิ์(อ่าวเซโปก) ซึ่งเป็นอ่าวในทะเล ที่เหมาะสมในการจอดเรือสำเภา มาก เพราะสามารถหลบลมพายุได้ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) มีกองเรือสำเภาค้าขาย เป็นกองเรือทรัพย์สินส่วนพระองค์ ของ มหาจักรพรรดิ ด้วย อีกทั้ง ในอ่าวศรีโพธิ์ มีเรือสินค้าของพ่อค้า นาๆชาติ เป็นจำนวนมาก ได้นำเรือสำเภาค้าขาย มาจอดทอดสมออยู่ในบริเวณพื้นที่ อ่าวศรีโพธิ์(เซโปก) เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อมองไปในพื้นที่บริเวณอ่าวศรีโพธิ์(เซโปก) จึงเต็มไปด้วยกองเรือสำเภาค้าขาย สินค้านาๆ ชนิด

บริเวณ ภูเขา(สุวรรณคีรี) ซึ่งมีน้ำพุร้อน ผุดไหล ออกมาเป็นประจำ นั้น มีพระราชวังหลวงของ มหาจักรพรรดิ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ ภูเขาดังกล่าว ด้วย ภูเขา(สุวรรณคีรี) นี้ ถือเป็นภูเขาที่ศักดิ์สิทธิ์ ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ มหาจักรพรรดิ จะใช้พื้นที่ บริเวณยอดภูเขา ที่กล่าวมา ใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้ง พิธีมหาบรมราชาภิเษก ของ มหาจักรพรรดิ อีกด้วย บริเวณภูเขา(สุวรรณคีรี) มีพระราชวังประทับร้อน ของ มหาจักรพรรดิ อยู่ด้วย บริเวณเนินเขา ของ ภูเขา(สุวรรณคีรี) ใกล้ถ้ำ เป็นที่ตั้งของ พระราชมณเฑียร เพื่อใช้ในการว่าราชการ ของ มหาจักรพรรดิ บริเวณหน้าถ้ำ มีสระน้ำศักดิสิทธิ์ ซึ่งรับน้ำจากบ่อน้ำพุร้อน ที่ผุดไหลออกมาจากบริเวณเนินภูเขา(สุวรรณคีรี) ด้วย สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ดังกล่าว มหาจักรพรรดิ สมเด็จพระราชินี พระราชบุตร และ พระราชธิดา อีกทั้ง พวกราชวงศ์ ทั้งหลาย ของ มหาจักรพรรดิ ใช้เป็นที่สรงน้ำ เป็นประจำทุกวัน ด้วย

บริเวณพื้นที่ตรงข้าม พระราชมณเฑียร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินเขา ของ ภูเขา(สุวรรณคีรี) และใช้เป็นที่ว่าราชการของ มหาจักรพรรดิ นั้น มีสระบัวอยู่ ๒ สระ(สระบัวกษัตริย์ ๒ พี่น้อง) ซึ่งน้ำในสระบัว จะขึ้นลงตามระดับน้ำทะเล โดยน้ำทะเลไม่สามารถไหลเข้าไปยังสระบัวได้ ที่สระบัวแห่งนี้ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ซึ่งร่ำรวยมาก จะนำทองคำแท่ง ขนาดเท่าแท่งอิฐ ทิ้งลงไปในสระบัว สระหนึ่งสระใด ใน ๒ สระ วันละ ๑ แท่ง เมื่อสิ้นรัชกาล มหาจักรพรรดิ พระองค์ใหม่ ที่ขึ้นครองราชย์สมบัติ จะนำทองคำแท่ง จากสระบัว ขึ้นมานับว่า มหาจักรพรรดิ ที่เสด็จสวรรคตไปแล้ว นั้น ได้ครองราชย์สมบัติ นับได้ว่า เป็นเวลานานเท่าใด มหาจักรพรรดิ พระองค์ใหม่ จะต้องนำทองคำแท่ง ดังกล่าว ไปจัดสรรแบ่งปันให้กับ พวกราชวงศ์  หรือ เพื่อทำการกุศล ทองคำแท่ง ส่วนที่เหลือ จะถูกนำไปเก็บรักษาไว้ ณ ท้องพระคลังหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม เพื่อให้ มหาจักรพรรดิ รัชกาลถัดไป สืบทอดราชประเพณี ในการนำทองคำแท่ง เท่าแท่งอิฐ ทิ้งลงในสระบัว สระหนึ่งสระใดใน ๒ สระ วันละ ๑ แท่ง เพื่อสืบทอดราชประเพณี ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ต่อไป...

ปี พ.ศ.๑๓๔๗ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ อีบูฮอดาร์บีห์ ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ เป็น จดหมายเหตุอาหรับ ของ อีบู ฮอดาร์บีห์ ได้ทำการบันทึกถึง อาณาจักร ต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ และความกว้างใหญ่ ตลอดไปถึงสภาพทั่วไป ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ที่กำลังรุ่งเรืองในขณะนั้นว่า...

...มหาราชาแห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) เป็นเจ้าของดินแดนผืนแผ่นดินใหญ่(ดินแดนสุวรรณภูมิ) และดินแดนหมู่เกาะทั้งมวล(ดินแดนเกษียรสมุทร) ในดินแดนทะเลจีนตอนใต้ เราเรียกชื่อประเทศนี้ว่า ประเทศศรีโพธิ์(เซโปก) หรือ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ประเทศนี้ เป็น ประเทศที่ยิ่งใหญ่ทางทะเล มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก ประกอบด้วยหลายอาณาจักร แต่ละอาณาจักร มีมหาราชา ทำการปกครอง แต่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองอันเดียวกัน โดยมี มหาจักรพรรดิ ซึ่งประทับอยู่ที่ เมืองศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ซึ่งเป็น เมืองนครหลวง เป็นผู้ปกครองดินแดนทั้งหมด โดยที่ มหาจักรพรรดิ จะเป็นผู้ปกครอง มหาราชา ของแต่ละ อาณาจักร ทั่วทั้งประเทศ อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อนำ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) มารวมกัน จึงกลายเป็น ประเทศที่ยิ่งใหญ่ มาก

ทั่วทั้งดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) จึงมีพลเมือง และทหารทุกๆ อาณาจักร เมื่อนำมารวมกัน จะมีจำนวนพลเมืองมากมาย เหลือที่จะพรรณนา นับได้ ถ้าหากว่า จะเดินเรือให้เร็วที่สุด เพียงเพื่อเดินทางไปยังดินแดน ของ อาณาจักรต่างๆ ทั่วทุกหมู่เกาะ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) แล้ว แม้ว่าจะใช้เวลาอยู่ในดินแดนของ ประเทศนี้ อีกถึง ๒ ปี ก็ไม่สามารถที่จะเดินทางไปได้ ทั่วดินแดนของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ได้ครบถ้วน... 

ปี พ.ศ.๑๓๔๗ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ อีบูฮอดาร์บีห์ ได้เดินทางมายัง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ได้กล่าวถึงสินค้าต่างๆ ของสหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ไว้ในบันทึก จดหมายเหตุอาหรับ ของ อีบู ฮอดาร์บีห์ ว่า...

...สินค้าสำคัญของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ซึ่งเป็นที่ต้องการของ พ่อค้าชาวอาหรับ ว่า มีเครื่องหอมสารพัดชนิด เช่น พิมเสน การพลู ไม้หอม ไม้จันทน์ อบเชย ไม้ฝาง และของอื่นๆ...

ปี พ.ศ.๑๓๔๘ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ อีบูฮอดาร์บีห์ ได้เดินทางกลับไปยัง ประเทศอาหรับ อ่าวเปอร์เซีย ได้พบกับ ราชทูต สุไลมาน เพื่อให้คำแนะนำแก่ สุไลมาน ที่เตรียมเดินทางมา สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และสำรวจดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ เป็นรายต่อไป

ปี พ.ศ.๑๓๔๘ ฮ่องเต้เต๋อจง(พ.ศ.๑๓๒๒-๑๓๔๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เสด็จสวรรคต หลี่ซ่ง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้ซ่นจง(พ.ศ.๑๓๔๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา โดยได้ครองราชย์สมบัติ เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ถึง ๑ ปี ก็เกิดเจ็บป่วยหนัก

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๘)

ปี พ.ศ.๑๓๔๘ ฮ่องเต้ซ่นจง(พ.ศ.๑๓๔๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ป่วยหนัก ต้องสละราชย์สมบัติ เป็นเหตุให้ หลี่จุน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เซี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๘)

ปี พ.ศ.๑๓๔๘ อาณาจักรมิเชน ของ ชนชาติทิเบต ตั้งอยู่ระหว่าง มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า กับ อาณาจักรโกสมพี (แสนหวี) ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้เซี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน เนื่องจากถูก มหาอาณาจักรน่านเจ้า รุกราน

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๙๘)

ปี พ.ศ.๑๓๔๗ พระนางชเยษฐารยา(พ.ศ.๑๓๒๓-๑๓๒๙) แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงสมโพธิ์(สมโบ) สละราชสมบัติให้ พระยาเกตุมาลา พระเจ้าหลานเธอ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เมื่อ ศ.ศ.๗๒๔(พ.ศ.๑๓๔๗) โดยมี พระนางกัมพูชาลักษมี เป็นอัครมเหสี และมี พระนางปราณเทวี เป็น มเหสีฝ่ายซ้าย พระนางกัมพูชาลักษมี มีพระอนุชา มีพระนามว่า พระวิษณุวละ ซึ่งได้รับการเฉลิมพระนามใหม่ว่า พระลักษมีนทร ตำแหน่งพระคลังข้างที่

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๖๓)

(รศ. ดร.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ปราสาทเขาพระวิหาร พ.ศ.๒๕๓๖ หน้าที่ ๕๖)

ปี พ..๑๓๔๗ พระยาเกตุมาลา(พ.ศ.๑๓๔๙-๑๓๙๒) หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่-๒ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(พ.ศ.๑๓๑๖-๑๓๔๕) กับ พระนางทวดี มีพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น เจ้าพระยาเกตุมาลา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงนครธม(อินทปัต) มีพระนามว่า พระเจ้าเกตุมาลา โดยใช้ เมืองอินทระ(อินทปัต) เป็นเมืองราชธานี ของ ราชอาณาจักรคามลังกา พระยาเกตุมาลา มีพระราชโอรส กับ พระนางกัมพูชาลักษมี คือ ธรรมวรรธนะ

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๖๓)

(รศ. ดร.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ปราสาทเขาพระวิหาร พ.ศ.๒๕๓๖ หน้าที่ ๕๖)

ปี พ.ศ.๑๓๕๐ พระยาอ้ายศรี(พ.ศ.๑๓๔๔-๑๓๕๐) ราชวงศ์คำ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) เสด็จสวรรคต มหาราชา เป็นเหตุให้ พระยาม่วง(พ.ศ.๑๓๕๐-๑๓๗๙) ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครองดินแดน อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๓๕๐ ฮ่องเต้เชี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ส่งคณะราชทูตจีน ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาราชายุงเฉียง หรือ มหาราชา พระยาม่วง(พ.ศ.๑๓๕๐-๑๓๗๙) หรือ คุณโมฉัง ราชวงศ์คำ แห่ง ราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) เสนอให้ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน จดหมายเหตุจีน ได้บันทึกถึงสภาพของ ราชธานี เมืองโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ดังนี้...

...เมื่อเวลาที่มหาราชาแห่ง กรุงปยู จะเสด็จตรวจราชการในระยะทางสั้นๆ มหาราชาจะใช้เปลทองคำ และถ้าระยะการเดินทางยาว มหาราชาจะทรงใช้ช้าง มหาราชา มีมเหสี และ พระสนม หลายร้อยคน กำแพงของราชธานียาวประมาณ ๑๖๐ ลี้ ประกอบด้วยอิฐเคลือบสีเขียวด้วย และมีคูเมือง ลงเขื่อนอิฐ อีกชั้นหนึ่ง กำแพงเมือง มีประตู ๑๒ ประตู และมีป้อมอยู่ที่มุมกำแพงเมือง ด้วย

ประชาชน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู มีหลายหมื่นครอบครัว บ้านมีหลังคามุงด้วยแผ่นตะกั่วและดีบุก มีวัดทางพระพุทธศาสนา มากกว่า ร้อยวัด ประดับด้วยทอง เงิน และภาพเขียนหลายสี รวมทั้งพรหมถัก ในพระราชวัง มีระฆังตั้งอยู่ ๒ ใบ ใบหนึ่งหล่อด้วยทองคำ อีกใบหนึ่งหล่อด้วยเงิน พวกเขาจะเคาะระฆังนี้ ถ้ากรุงปยู ถูกรุกราน ทั้งนี้ก็เพื่อรับคำทำนายจากเสียงระฆังทองคำ ด้วย ใกล้พระราชวัง มีเทวรูปช้างใหญ่ สูง ๑๐๐ ฟุต และผู้ที่มีคดี ก็จะมาคุกเข่าอยู่ต่อหน้า เทวรูปช้างเผือก ตัวนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำการทบทวนความผิดภายในจิตใจของตนเอง ว่า ได้รับความยุติธรรม หรือ อยุติธรรม สำหรับคดีความ ของ ตนเอง ถ้าประชาชนได้รับความทุกข์ทรมาน มหาราชา ก็จะทรงคุกเข่าลงต่อหน้ารูปช้างนั้น ทรงเผาเครื่องหอม และสารภาพความผิดที่พระองค์ได้ทรงกระทำขึ้น

บรรดาสตรี จะรวบผมเกล้าไว้เหนือศีรษะ โดยเกล้าเป็นมวยใหญ่ ประดับดอกไม้ ซึ่งทำด้วยดีบุก ไข่มุก และ อัญมณีต่างๆ ทุกนางต่างถือพัด ส่วนสัตรีชั้นสูง จะแขวนพัด ๕-๖ อัน ไว้ที่เข็มขัด เด็กชาย และเด็กหญิง โกนผมเมื่อมีอายุได้ ๗ ขวบ และจะต้องเข้าไปศึกษาอยู่ประจำในวัด หรือ สำนักนางชี เขาจะอยู่ที่นั่น จนกระทั่งอายุ ๒๐ ปี เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา และหลังจากนั้น ก็จะออกมามีชีวิต อยู่ในโลกภายนอกใหม่ เสื้อผ้าของพวกเขาเหล่านี้ ประกอบด้วยผ้าฝ้ายสีขาว และเข็มขัดสีแดง มีสีคล้ายเมฆ ที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ยามอุทัย พวกเขาไม่นิยมใช้ผ้าไหม โดยกล่าวว่า ความพยายามในการแสวงหาผ้าไหม นั้น จะทำให้ชีวิตมีอุปสรรค

ประชาชนชาวปยู นิยมรักความสงบ และเกลียดชังการฆ่าฟัน พวกเขาไม่ใช้โซ่ตรวน หรือเครื่องทรมานอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้ต้องหาซึ่งถูกมัดไว้เฉยๆ ผู้กระทำผิด ย่อมถูกเฆี่ยนด้วยไม้ไผ่ บนหลัง โดยเฆี่ยน ๕ ที สำหรับความผิดรุนแรง และ ๓ ที สำหรับความผิดเบาบาง การฆ่าคน เท่านั้น จะถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต ประชาชนชาวปยู ไม่ใช้ทั้งไขมัน และ น้ำมัน พวกเขาใช้เทียน ทำด้วยขี้ผึ้งหอม ใช้เหรียญเงิน ทำเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ค้าขายกับ อาณาจักรข้างเคียง ด้วยการส่งออก ผ้าขาว และไหดินเผา มีดนตรีที่แปลกประหลาดโดยเฉพาะ และมีการฟ้อนรำที่ละเอียดอ่อน...  

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ หน้าที่ ๙๕-๙๖)

ปี พ.ศ.๑๓๕๐ มหาราชายุงเฉียง หรือ พระยาคุณม่วง หรือ มหาราชาคุณโมฉัง(พ.ศ.๑๓๕๐-๑๓๗๙) แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จึงได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เซี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โดยมี พระอนุชา หรือ พระราชโอรส มีพระนามว่า พระยาสุนันทนะ(พ.ศ.๑๓๗๙-๑๔๑๗) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เสด็จไปยังดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๙๔)

ปี พ.ศ.๑๓๕๐ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ สุไลมาน ได้เดินทางมายัง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อประมาณปี พ..๑๓๔๕ ถึง พ..๑๓๕๕ หลังจากที่ อีบู ฮอดาร์บีห์ เคยเดินทางมาก่อน ประมาณ ๒ ปี สุไลมาน ได้เดินทางมาที่ ราชธานี ซึ่งเป็นแคว้นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์(เสียม) และบางแว่นแคว้น แล้วได้ทำการบันทึกข้อมูลต่างๆ เก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน ราชทูตสุไลมาน ได้กล่าวถึงความกว้างใหญ่ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) และให้รายละเอียดมากกว่าที่ ราชทูตอีบู ฮอดาร์บีห์ ได้เคยบันทึกไว้มากมาย

ปี พ.ศ.๑๓๕๐ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ สุไลมาน ได้เดินทางมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยได้เดินทางมายัง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ถึงที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี เกาะดอนขวาง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อปี พ.ศ.๑๓๕๐ พร้อมกับได้ทำการบันทึกเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ ราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) สภาพของ ประชาชน ทั่วไป และกล่าวถึงที่ตั้ง และ สภาพทั่วไป ของ พระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) รวมถึง สระบัวกษัตริย์ ๒ พี่น้อง ไว้เป็น จดหมายเหตุอาหรับ โดยที่ สุไลมาน ได้เรียกชื่อ กรุงศรีโพธิ์ ว่า กรุงเซโปก คือ ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน สุไลมาน เรียกชื่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ว่า ประเทศเซโปก เช่นเดียวกับที่ มหาอาณาจักรจีน เรียกชื่อว่า ประเทศชิลิ-โฟชิ โดยนำชื่อเมืองนครหลวง มาใช้เรียกชื่อ สหราชอาณาจักรเสียม บันทึก ของ สุไลมาน มีบันทึกในเรื่องนี้ ว่า...

...คณะพวกเรา ได้เดินทางจาก อาหรับ มาถึงดินแดนของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) โดยได้เดินทางมาถึง เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) อันเป็นเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม คณะพวกเรา ได้มีโอกาสให้เดินทางเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ณ พระราชวังหลวง อันเป็นที่ตั้ง ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ด้วย

ในดินแดนแคว้นนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) นั้น มีบ้านเรือนติดต่อกันไม่ขาดสาย  ชาวอาหรับคนหนึ่ง คือ อีบูฮอดาร์บีห์ ซึ่งเคยเดินทางมาก่อน เคยเล่าให้ พวกเรารับฟังว่า  ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ นั้น เมื่อไก่ขันในช่วงเวลาใกล้รุ่ง ซึ่งไก่ก็จะขันเหมือนกับที่พบเห็นในดินแดนของชาวอาหรับ แตกต่างกันที่ ไก่ที่ขันในดินแดนของ สหราชอาณาจักรเสียม นั้น เวลาขัน ก็จะขันรับถ่ายทอดกันไป อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะทางยาวไกลไปถึง ๑๐๐ ปาราชัง(ประมาณ ๖๒๕ กิโลเมตร) หรือมากกว่านั้น โดยมิได้ขาดตอน ทั้งนี้เพราะเหตุว่า มีหมู่บ้านต่างๆ ตั้งอยู่ติดต่อกันไป โดยไม่ขาดสาย

ท่านเจ้าของอาณาจักรนี้ เป็น พระราชา พวกเขาเรียกคำนำหน้ากันว่า มหาจักรพรรดิ เป็นผู้ปกครองดินแดนแห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ทั้งหมด มหาจักรพรรดิ ประทับประจำอยู่ที่ กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) โดยประทับอยู่ในพื้นที่ๆ ซึ่งเป็นเกาะ(เกาะดอนขวาง) มีน้ำล้อมรอบ เช่นเดียวกัน เกาะที่ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ประทับอยู่เป็นประจำ นั้น มีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์มาก ไม่แพ้ดินแดนใด ๆ

เมื่อ คณะพวกเรา ได้มีโอกาสเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ นั้น คณะพวกเรา จึงได้มีโอกาส เดินทางไปยังบริเวณ ภูเขา(สุวรรณคีรี) แห่งหนึ่ง ในแผ่นดินเกาะ เพื่อเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิ ตามหมายกำหนด ในขณะที่ คณะพวกเรา เดินทางมารอการเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิ นั้น คณะพวกเรา ได้มายืนอยู่ที่ บริเวณเนินเขาหน้าถ้ำ ของ ภูเขา(สุวรรณคีรี) ซึ่งเบื้องหน้าของพวกเรา เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้น้ำจากน้ำพุร้อน ซึ่งผุดไหลมาลงไปในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ดังกล่าว ซึ่ง มหาจักรพรรดิ และ พวกราชวงศ์ จะใช้น้ำในสระนี้ สรงน้ำ เป็นประจำทุกวัน

พื้นที่ซึ่ง ใกล้ๆ กับ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ของ มหาจักรพรรดิ เป็นเนินเขา มีพระราชมณเฑียร ซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการ ของ มหาจักรพรรดิ เมื่อยืนที่หน้าถ้ำ ของ ภูเขา(สุวรรณคีรี) แล้วมองออกไปเบื้องหน้า จะมองเห็น ทิวเขา(นางเอ) ซึ่งเป็นทิวเขาที่เป็น อาณาเขตของเมืองนครหลวง มองเห็นทะเล ซึ่งเป็นอ่าว ชื่อ อ่าวศรีโพธิ์(เซโปก) ทะเล ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับภูเขา มองเห็นลำคลอง ๒ คลองที่ไหลลงสู่ทะเล อย่างชัดเจน ตรงข้าม พระราชมณเฑียร มีสระบัว อยู่ ๒ สระ มี ลำคลอง และ ลำธาร ต่อเชื่อมกับ สระบัว น้ำจืดจะไหลลงสู่สระบัว และไหลลงสู่ทะเล อ่าวศรีโพธิ์ เป็นที่แปลกประหลาดมาก สระบัวทั้ง ๒ สระ ตั้งอยู่ติดต่อกับทะเล ทำให้ น้ำในสระบัวทั้ง ๒ สระ ขึ้นลงตามระดับน้ำทะเล โดยที่น้ำเค็ม จากทะเล อ่าวศรีโพธิ์ ไม่สามารถไหลเข้ามาในสระบัว ทำให้ ดอกบัวในสระ ตายได้ คณะพวกเรา ได้พบเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ตามที่ท่าน อีบูฮอดาบีห์ ได้เคยเล่าให้พวกเรารับทราบ มาก่อนหน้านี้ แล้ว

สิ่งหนึ่งที่พ่อค้าชาวอาหรับหลายคน ได้กล่าวถึงกันมาก และสมควรที่จะจะนำมากล่าวไว้อีก ก็คือ ในเวลาเช้า ของทุกๆวัน มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) จะเสด็จมาประทับว่าราชการ ณ พระราชมณเฑียร  บริเวณเนินเขาใกล้ถ้ำ ตรงข้ามกับ สระบัว ๒ สระ โดยที่ มหาจักรพรรดิ จะหันหน้าไปสู่สระบัว ในเวลาเดียวกัน มหาดเล็ก ก็จะนำ ทองคำแท่ง ขนาดเท่าแท่งอิฐ มาถวายให้กับ มหาจักรพรรดิ จำนวน ๑ แท่ง เป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิ ก็จะมีพระราชดำรัสให้ ขุนนาง นำทองคำแท่ง เท่าแท่งอิฐ โยนลงไปในสระบัว สระหนึ่งสระใด ทันที

เนื่องจาก มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) เป็นผู้ควบคุมเส้นทางการค้า ทางทะเลในภูมิภาคตะวันออก มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม จึงเป็น มหาจักรพรรดิ ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ถึงขั้นที่สามารถนำ ทองคำแท่ง โยนลงไปในสระบัว ใกล้ๆ กับ พระราชวังที่ประทับ วันละ ๑ แท่งได้ จนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน และถือเป็น ราชประเพณี ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม ราวกับว่าพระองค์ท่าน มีหนี้สินกับสระบัว ดังกล่าวจำนวนมากมาย พระองค์ จึงมีความผูกพันอยู่กับ การโยนก้อนทองคำแท่ง ลงในสระบัว ดังกล่าว เหมือนกับที่ กษัตริย์ แห่ง กรุงเวนิส มีความผูกพันอยู่กับ ท้องมหาสมุทร แตกต่างกันเพียงว่า มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) นั้น มีอำนาจทางทะเล ยิ่งใหญ่กว่า พระราชา แห่ง กรุงเวนิส มากมาย หลายเท่านัก

เมื่อคณะพวกเรา ได้มีโอกาสเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ณ พระราชมณเฑียร บริเวณ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์(ภูเขาสุวรรณคีรี) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ มหาจักรพรรดิ นั้น คณะพวกเราได้พบกับ สระบัว ๒ สระ ตามที่อีบู ฮอดาร์บีห์ เคยมาพบเห็นก่อนหน้านี้แล้ว สระบัวทั้ง ๒ สระ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับ ราชมณเฑียร ซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการของ มหาจักรพรรดิ มีลำคลอง(คลองใต้โหรง) และลำธาร เชื่อมกับสระบัวทั้งสองสระ ก่อนที่น้ำจากลำคลอง (คลองใต้โหรง) จะไหลลงสู่ทะเล อ่าวศรีโพธิ์ นั้น เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้น้ำในสระบัว สามารถขึ้นลงได้ตามระดับน้ำทะเล โดยที่น้ำเค็มจากทะเล ไม่สามารถไหลเข้าไปยังสระบัวทั้ง ๒ สระ ได้

มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ได้ตรัสให้พวกเราฟัง ในขณะที่น้ำในสระบัวทั้ง ๒ สระ ลดลงตามระดับน้ำทะเล คณะพวกเรา มองเห็นกองก้อนทองคำแท่ง ในสระบัว ทั้ง ๒ สระ ที่โผล่มาพ้นผิวน้ำ และกองทองคำแท่ง ได้กระทบกับแสงพระอาทิตย์ เกิดการสะท้อนแสง เป็นประกาย ระยิบระยับให้พวกเราฟังว่า จงดูสมบัติของ สหราชอาณาจักรเสียม พร้อมกับชี้ไปที่สระบัว และตรัสว่า นี่คือท้องพระคลังของฉัน เป็นภาพประทับใจที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่ำรวยของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) อย่างมากมาย และมีความร่ำรวยเหนือกว่า ประเทศ ใดๆ ในโลกนี้...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๕๑-๕๒)

ปี พ.ศ.๑๓๕๐ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ สุไลมาน ได้เขียนบันทึก เป็น จดหมายเหตุอาหรับที่เขียนบันทึกโดย สุไลมาน ได้กล่าวถึง อาณาจักร และ แว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ทั้งดินแดนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ คือ ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ที่ตั้งอยู่ในดินแดนหมู่เกาะใหญ่ ในทะเลจีนใต้  โดยได้ระบุชื่อหมู่เกาะ และชื่อเมืองท่า ไว้อย่างชัดเจน มากล่าวไว้ด้วย โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่ง บันทึกว่า...

... สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) มีเมืองนครหลวงชื่อ ศรีโพธิ์(เซโปก) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเล หันหน้าไปทางดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ระยะทางจากเมืองนครหลวง(กรุงศรีโพธิ์) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) เทียบได้กับ เมื่อเดินทางไปโดยทางเรือไป มุ่งไปยังดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน จะใช้เวลาประมาณ หนึ่ง เดือนในทะเล แต่ถ้าลมดี ก็อาจจะสามารถเดินทางไปถึง เร็วกว่านั้น ท่านผู้ปกครอง ของ สหราชอาณาจักร แห่งนี้ เขาเรียกชื่อกันว่า มหาจักรพรรดิ

กล่าวกันว่า อาณาจักร ต่างๆ ในดินแดนผืนแผ่นดินใหญ่(ดินแดนสุวรรณภูมิ) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) มีความยาวตลอดแนวดินแดน ยาวถึง ๙๐๐ ปาราชัง(ประมาณ ๕,๖๒๕ กิโลเมตร เพราะ ระยะทาง ๑ ปาราชัง เท่ากับ ๖.๒๕ กิโลเมตร) ในขณะเดียวกัน มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ยังเป็นเจ้าแห่งดินแดน อาณาจักร ที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ(ดินแดนเกษียรสมุทร) อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่เหยียดยาวออกไปอีกถึง ๑,๐๐๐ ปาราชัง(๖,๒๕๐ กิโลเมตร) หรือ มากกว่านั้น

เมืองศรีบูชา(ศรีโพธิ์ช้า-เกาะบอร์เนียว) , เมืองรามี(เมืองตามราม หรือ ตารุมา) และ เมืองกาละ(เมืองสมุทร-เกาะสุมาตรา) เป็นเมืองท่าส่วนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในดินแดนของหมู่เกาะใหญ่(ดินแดนเกษียรสมุทร) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) หมู่เกาะเหล่านี้ อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ทั้งสิ้น และเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง ประเทศอาหรับ กับ มหาอาณาจักรจีน เรือสำเภาที่เดินทางจากเมืองท่าโอมาน หรือ อ่าวเปอร์เซีย ที่มุ่งหน้าเดินทางไปยังดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน มักจะต้องจอดทอดสมอ แวะพักที่เมืองท่าเหล่านี้ ทั้งสิ้น

ในบริเวณดินแดนต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ มีอาณาจักรหนึ่ง(อาณาจักรชวาภูมิ) ซึ่ง มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงเซโปก(ศรีโพธิ์-ไชยา) ปกครองอยู่ด้วย นอกจากนั้นมี เกาะศรีบูชา(ศรีโพธิ์ช้า-เกาะบอร์เนียว) เป็น อาณาจักรหนึ่ง(อาณาจักรศรีโพธิ์ช้า) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) อยู่ด้วย เกาะศรีบูชา(บอร์เนียว) นี้ มีความยาวถึง ๔๐๐ ปาราชัง (ประมาณ ๒,๕๐๐ กิโลเมตร) มีเมืองศรีบูชา(บรูไน) เป็นเมืองท่าที่สำคัญ

มีอาณาจักรหนึ่ง(อาณาจักรม้าตาราม) ที่ตั้งอยู่ในดินแดนหมู่เกาะ ตั้งอยู่ที่ เกาะรามี(เกาะราม-เกาะชวา) มีพื้นที่ยาวถึง ๘๐๐ ปาราชัง(ประมาณ ๕,๐๐๐ กิโลเมตร) มีเมืองรามี(เมืองราม หรือ ตาราม หรือ ตารุมา บนเกาะชวา) เป็นเมืองท่าที่สำคัญ ของ อาณาจักร นี้

อ่าวศรีโพธิ์

 

ดอนขวาง

 

ยังมีอีกหนึ่ง อาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะ ซึ่งได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ด้วย คือ อาณาจักรในดินแดนของ เกาะกาละ(อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง-เกาะสุมาตรา) มีเมืองกาละ(เมืองสมุทร) ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองท่าที่สำคัญ เมืองนี้ตั้งอยู่ครึ่งทาง ระหว่าง ดินแดนของมหาอาณาจักรจีน กับ ดินแดนเปอร์เซีย เรือที่แล่นจากอ่าวโอมาน ต้องเดินทางมาแวะพักที่เมืองท่ากาละ(เมืองสมุทร) แห่งนี้ เป็นประจำ อีกทั้ง เรือสำเภาค้าขายจากเมืองท่ากาละ(เมืองสมุทร) ก็เดินทางไปค้าขายยังอ่าวโอมาน เป็นประจำ ด้วยเช่นเดียวกัน

 

สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ของ เส้นทางเดินเรือสำคัญ ๓ สาย ที่พ่อค้าจำเป็นต้องเดินทางผ่าน ไปยังประเทศต่างๆ ทางทิศตะวันออก ล้วนจำเป็นต้องเสียภาษี ให้กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางได้ 

ด้วยทำเลที่ตั้งของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ทำให้ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ สามารถเรียกเก็บภาษี ค่าผ่านทาง จากพ่อค้าต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องเกรงกลัวการแก้แค้นจากผู้ใด ตราบเท่าที่ดินแดนหมู่เกาะใหญ่ทั้ง สามหมู่เกาะ(เกาะสุมาตรา เกาะชวา และ เกาะบอร์เนียว) ยังคงเป็นดินแดนภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ อยู่

ส่วน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรเจนละ(เขมร) ไม่มีอำนาจทางทะเล จึงไม่สามารถควบคุมเส้นทางเดินเรือทะเลได้ และดูเสมือนว่า มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ มิได้ส่งคณะราชทูต เพื่อส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปให้กับ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน แต่อย่างใดเลย…”

ปี พ.ศ.๑๓๕๐ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ สุไลมาน ได้เขียนบันทึก เป็น จดหมายเหตุอาหรับ ของ สุไลมาน ได้กล่าวถึง อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ซึ่ง อีบู ฮอดาร์บีห์ ไม่เคยกล่าวถึงมาก่อน แต่ สุไลมาน ได้กล่าวถึงดินแดนของ อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ว่า ดินแดนของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) นั้น ประกอบด้วย ๒ พื้นที่ มีทะเลขวางกั้น คือ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) กลายเป็น อาณาจักร ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มาก่อน โดยได้นำตำนานมาเล่าถึงความเป็นมาที่ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ถูกกองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม เข้ายึดครอง และต้องกลายมาเป็น อาณาจักรภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ และยังให้ข้อมูลว่า ดินแดน เกาะศรีบูชา(เกาะบอร์เนียว) บางส่วน นั้น เคยมีความผูกพันธุ์ กับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) อีกด้วย บันทึกสุไลมาน มีเนื้อหาว่า...

...อาณาจักรโจฬะ(เจนละ) แบ่งออกเป็นสองส่วน มีทะเลขวางกั้น เป็นอาณาจักรที่ผลิตยาดำออกขาย ตั้งอยู่บนเส้นแวงเดียวกัน กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เชโปก) ระยะเวลาในการเดินเรือ ระหว่างดินแดนทั้งสองพื้นที่ ต้องใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ ๑๐๒๐ วัน ขึ้นกับสภาพของลม อาณาเขตทางทิศเหนือ(อาณาจักรโจฬะน้ำ) และ ทิศใต้(อาณาจักรโจฬะบก) ของ พื้นที่ทั้งสอง ติดต่อถึงกันด้วยทางทะเล...

ปี พ.ศ.๑๓๕๐ คณะราชทูตอาหรับ มีราชทูต ชื่อ สุไลมาน ได้เขียนบันทึกถึง สภาพของศูนย์กลางอำนาจรัฐ อาณาจักรศรีโพธิ์ และตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับ เศียรอศูร ซึ่งเป็นเรื่องราว ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ว่า ได้เคยยกกองทัพออกไปทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะ(เจนละ) โดยไม่เสียเลือดเนื้อ โดยมีบันทึกว่า...

...มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ(เขมร) ทรงปรารถนาที่จะทอดพระเนตรเห็น พระเศียร ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ใส่ถาดมาถวายต่อพระพักตร์ ของ พระองค์ เมื่อ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ทราบข่าว ก็ทรงแสร้งที่จะเสด็จไปประพาสตามเกาะต่างๆ ในดินแดน สหราชอาณาจักร ของ พระองค์ แต่แท้ที่จริงแล้ว มหาจักรพรรดิ กลับทรงตระเตรียมกองทัพเรือ เพื่อยกกองทัพไปทำสงครามปราบปราม อาณาจักรเจนละ(เขมร) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้แล่นเรือมุ่งสู่ อาณาจักรเจนละ แล้วแล่นเรือไปตามแม่น้ำ จนถึงเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรเจนละ(เขมร) สามารถทำสงคราม จับกุม มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ สำเร็จ หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิ ได้รับสั่งให้ตัดพระเศียร ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเจนละ(เขมร) เสีย ต่อจากนั้นจึงรับสั่งให้อำมาตย์ ของ อาณาจักรคามลังกา จัดหาผู้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรเจนละ แทนที่ต่อไป เมื่อ มหาจักรพรรดิ เสด็จกลับมายัง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิ ทรงโปรดให้อบพระเศียรที่ตัดมา พร้อมกับใส่ในโถ ส่งไปถวาย มหาราชา อาณาจักรเจนละ พระองค์ใหม่ พร้อมกับตักเตือนให้ระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิให้ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก) ต่อไป

เมื่อข่าวนี้ ทราบไปถึง มหาจักรพรรดิ แห่ง ประเทศอินเดีย และ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ต่างก็ทรงเห็นความสำคัญ ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(เซโปก-ไชยา) ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนๆ และตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา มหาราชา ของ อาณาจักรเจนละ(เขมร) เมื่อบรรทมตื่นในตอนเช้า ก็จะหันพระพักตร์ ไปยังทิศ เมืองหลวง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อก้มพระองค์ลงกับพื้น เพื่อแสดงความเคารพ ต่อ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เรื่อยมา...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๔๓)

      ปี พ.ศ.๑๓๕๑ จักรพรรดิอีมูชน(พ.ศ.๑๓๒๑-๑๓๕๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้เสด็จสวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า จักรพรรดิชนโก๊ะกวน(พ.ศ.๑๓๕๑) ขึ้นครองราชย์สมบัติได้ ๓ เดือน

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

      ปี พ.ศ.๑๓๕๑ จักรพรรดิชนโก๊ะกวน(พ.ศ.๑๓๕๑) แห่ง มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า กรุงตาลี่ ขึ้นครองราชย์สมบัติได้เพียง ๓ เดือน ได้เสด็จสวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า จักรพรรดิกวนกุงเชง(พ.ศ.๑๓๕๑-๑๓๕๗) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๑๒ พรรษา มีการสร้างความสัมพันธ์กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา สู่ดินแดน ของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า อย่างรวดเร็ว มีการสร้างวัด และ พระบรมธาตุเจดีย์ ขึ้นอย่างมากมาย ในดินแดนของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

      ปี พ.ศ.๑๓๕๒ พระเจ้าหริวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา และ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี กองทัพ ของ ฮ่องเต้เชี่ยนจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๙)

ปี พ..๑๓๕๕ ฮ่องเต้เชี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ได้เข้าแทรกแซง กิจการภายใน ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยการสนับสนุนให้รัฐ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ประกาศแยกตัวออกจากอำนาจการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๔๕)

ปี พ..๑๓๕๖ ฮ่องเต้เชี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ได้ประสบความสำเร็จในการยุยงให้ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) แยกตัวออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๔๕)

ปี พ.ศ.๑๓๕๖ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ประกาศก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยการส่ง คณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ ฮ่องเต้เซี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๔๕)

ปี พ.ศ.๑๓๕๖ พระเจ้าเกตุมาลา หรือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงพระนครธม ประกาศก่อกบฏ ไม่ยอมขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) พร้อมกับส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เซี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๖๘)

(ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๘๙)

ปี พ.ศ.๑๓๕๖ มหาราชา ปะรุง ปะตะตัน แห่ง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เซี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

(อาณาจักรทะเลใต้ ภาค ๒ หน้าที่ ๒๕)

ปี พ.ศ.๑๓๕๗ มหาจักรพรรดิพ่อศิริกิตติ(พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๖๙) แห่ง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) รับสั่งให้ จักรพรรดิพ่อกิตติ แห่ง กรุงตาม้ากลิงค์ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม กรุงปัตตานี แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ จนสำเร็จ และได้นำเจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง ของ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) สายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร มาเป็นพระชายา และต่อมา พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ จักรพรรดิพ่อกิติ และกลายเป็น ราชาปกครอง แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๓๕๗ จักรพรรดิกวนกงเชง(พ.ศ.๑๓๕๑-๑๓๕๗) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้ทำสงครามกับ ฮ่องเต้เชี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ เมืองเกียติงชู ในมณฑลเสฉวน เพราะ มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในดินแดนมณฑลเสฉวน

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๓๕๗ จักรพรรดิกวนกงเชง(พ.ศ.๑๓๕๑-๑๓๕๗) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ โดย นายทหารชั้นผู้ใหญ่รักษาพระองค์ จนกระทั่ง สวรรคต พระราชโอรส ของ พระองค์ มีพระนามว่า กวนลี หรือ กวนลีเชง ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ มีพระนามว่า จักรพรรดิกวนลีเชง(พ.ศ.๑๓๕๗-๑๓๖๗) เป็นรัชกาลถัดมา

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๓๖๐ พระเจ้าหริวรมัน แห่ง ราชอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้สร้าง ศาสนาสถาน ทางพุทธศาสนา ขึ้นที่ เมืองโพธิ์นคร โดยเสนาบดี ชื่อว่า ปา

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๓๐)

ปี พ.ศ.๑๓๖๐ พระเจ้าหริวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สวรรคต และมี พระราชโอรส คือ พระเจ้าวิกรานต วรมัน ที่ ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรจามปา แทนที่

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๓๐)

ปี พ.ศ.๑๓๖๐ พระเจ้าวิกรานตวรมัน ที่ แห่ง อาณาจักรจามปา (เวียตนามใต้) ได้สร้าง ศาสนสถาน ทาง พระพุทธศาสนา เรียกว่า ศาสนสถานโพธิ์นคร ขึ้นที่ เมืองญาตรัง และที่ เมืองมองดุค

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๓๐)

ปี พ.ศ.๑๓๖๑ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ประกาศก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยการส่ง คณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ ฮ่องเต้เซี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีบันทึกว่า...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๔๕)

ปี พ.ศ.๑๓๖๒ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เซียนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อถวายพระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ไปประดิษฐานยังดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกว่า...

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๔๕)

ปี พ.ศ.๑๓๖๒ ฮ่องเต้เซียนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ทรงตื่นเต้นยินดีมาก เมื่อทรงทราบข่าวว่า มีพระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า มาประดิษฐานอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ณ เมืองส่านซี ฮ่องเต้เซียนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง จึงได้ทำพิธีต้อนรับอย่างเอิกเกริกมโหฬาร ทำให้ขุนนางที่นับถือลัทธิขงจื้อ พากันคัดค้านอย่างแข็งขัน และประณามพระพุทธศาสนา ว่า เป็นศาสนา ของ ชาวต่างชาติ แต่ ฮ่องเต้เซียนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ไม่สนพระทัยในเสียงคัดค้าน คงยืนกรานจัดพิธีต้อนรับ พระบรมสารีริกธาตุ อย่างใหญ่หลวง ในโอกาสที่นำมาประดิษฐาน ในพระราชวัง

  (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๘)

ปี พ.ศ.๑๓๖๓ ฮ่องเต้เซี่ยนจง(พ.ศ.๑๓๔๘-๑๓๖๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน สวรรคต เนื่องจาก ขันทีลอบวางยาพิษ เป็นเหตุให้ หลี่ฉุน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้มู่จง(พ.ศ.๑๓๖๓-๑๓๖๗) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๙)

ปี พ.ศ.๑๓๖๗ จักรพรรดิกวนลีเชง(พ.ศ.๑๓๕๗-๑๓๖๗) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ได้เสด็จสวรรคต พระอนุชา มีพระนามว่า จักรพรรดิกวนเฟงยู(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๔๐๒) ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๗ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ เป็นรัชกาลถัดมา

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๓๖๗ ฮ่องเต้มู่จง(พ.ศ.๑๓๖๓-๑๓๖๗) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน สวรรคต เนื่องจาก ตกหลังม้าเป็นอัมพาต เป็นเหตุให้ จิ้งจง ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ ฮ่องเต้มู่จง(พ.ศ.๑๓๖๓-๑๓๖๗) มีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้จิ้งจง(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๓๖๙) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๙)

ปี พ.ศ.๑๓๖๙ เจ้าพระยาศรีพาลบุตร วางแผนก่อกบฏ เนื่องจากเหตุการณ์ก่อนที่ มหาจักรพรรดิพ่อสิริกิตติ(พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๖๙) จะเสด็จสวรรคต นั้น จักรพรรดิพ่อพระใหญ่ ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ พ่อสิริกิตติ เป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม ว่าราชการอยู่ที่ กรุงตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) ต้องเป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ และ นายกกิติ เป็น นายก ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ แต่ เจ้าพระยาศรีพาลบุตร ต้องการขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงวางแผนก่อกบฏ เข้ายึดอำนาจ ขึ้นครองราชย์สมบัติ

ปี พ.ศ.๑๓๖๙ ฮ่องเต้จิ้งจง(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๓๖๙) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ถูกลอบปลงพระชนม์ สวรรคต เป็นเหตุให้ หลี่อั้ง ซึ่งเป็นพระอนุชา ต่างมารดา ของ ฮ่องเต้จิ้งจง(พ.ศ.๑๓๖๗-๑๓๖๙) มีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เหวินจง(พ.ศ.๑๓๖๙-๑๓๘๓) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๒๐)

 

ปี พ..๑๓๖๙ มหาจักรพรรดิพ่อศิริกิตติ(พ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๖๙) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เสด็จสวรรคต จักรพรรดิพ่อพระใหญ่ เป็น มหาจักรพรรดิ ในรัชกาลถัดมา

 

Visitors: 54,280